ดอกไม้ และวัชพืช
- Raphin Phraiwal
- Verified User
- โพสต์: 1342
- ผู้ติดตาม: 0
ดอกไม้ และวัชพืช
โพสต์ที่ 1
ดอกไม้ และวัชพืช
Peter Lynch นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดท่านหนึ่ง ได้เคยกล่าวถึงพฤติกรรมอย่างหนึ่งของผู้ลงทุนในหุ้นว่า นักลงทุนทั่วไป โดยเฉพาะนักลงทุนที่ยังด้อยประสบการณ์มักจะเด็ดดอกไม้ และรดน้ำวัชพืช (Pulling the flowers and watering the weeds)
ดอกไม้หมายถึงหุ้นดี ซึ่งนักลงทุนมักจะรีบร้อนทำกำไรเมื่อราคาของหุ้นตัวนั้นเริ่มปรับตัวสูงขึ้น เพราะว่าพวกเขารู้สึกว่าการมีกำไรนั้นพิสูจน์ว่าพวกเขาคิดถูกต้อง(ที่ซื้อหุ้นตัวนี้) และแน่นอน การทำกำไรทำให้พวกเขารู้สึกดี เขาจึงรีบร้อนขายเพราะกลัว(ไปเอง)ว่ากำไรที่มีอยู่อาจหายไปถ้าเขาไม่รีบฉวยโอกาส ซึ่งการกระทำเช่นนี้ มักจะทำให้เขาพลาดโอกาสงามที่จะทำกำไรมหาศาลเมื่อหุ้นตัวนั้นเกิดปรับตัวต่อไปอีก โดยอาจปรับตัวขึ้นไปหลายๆเท่าจากราคาที่พวกเขาซื้อมา
ส่วนวัชพืชนั้น หมายถึงหุ้นไม่ดีที่นักลงทุนเหล่านั้นซื้อไว้ ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม เช่น ซื้อตามคนอื่นโดยไม่ได้วิเคราะห์เอง เมื่อราคาหุ้นเหล่านั้นปรับตัวลดลง (ในระยะยาวราคาหุ้นจะปรับตัวตามผลกำไรของบริษัท ซึ่งถ้าบริษัทใดขาดทุนหรือไม่สามารถทำกำไรได้ดี ราคาหุ้นของบริษัทนั้นย่อมลดลงไปด้วย) พวกเขาก็กลับลังเลที่จะขาย เพราะการขายเท่ากับเป็นการพิสูจน์ว่า เขาผิดพลาด เขาจึงมักเลื่อนเวลาที่รับรู้ความเจ็บปวดนั้นออกไป โดยหวังว่า ราคาหุ้นตัวนั้นจะกลับมา ซ้ำร้าย เขามักจะซื้อหุ้นตัวนั้นเพิ่ม เพื่อที่จะเฉลี่ยต้นทุนให้ถูกลง ซึ่งเปรียบเสมือนการรดน้ำวัชพืช และในที่สุดแล้ว เขาจะขาดทุนหนักกว่าการตัดใจถอนวัชพืชไปตั้งแต่แรก
นักลงทุนที่พอมีประสบการณ์ นั่นก็คือ นักลงทุนที่เรียนรู้จากความผิดพลาดของตัวเอง (การเรียนรู้จากความผิดพลาดเริ่มต้นจากการยอมรับความผิดพลาดก่อน) รวมทั้งนักลงทุนที่ใฝ่หาความรู้จากประสบการณ์ของคนอื่น โดยการอ่านเรื่องราวของนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ ฯลฯจะสามารถก้าวพ้นกับดักแห่งอารมณ์ดังกล่าวมาได้ และเขาจะทำตรงกันข้ามกับสิ่งที่นักลงทุนประเภทแรกทำ เมื่อเขารู้ตัวว่าวิเคราะห์ผิดพลาด (ซื้อวัชพืชเข้ามา) หรือ พื้นฐานของกิจการของบริษัทที่เขาถือหุ้นอยู่เกิดเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ดีอย่างถาวร(ดอกไม้กลายพันธุ์เป็นวัชพืช) เขาก็จะขายหุ้นตัวนั้นออกไปทันที (ถอนวัชพืชทิ้ง) ถึงแม้ว่ามันจะขาดทุนก็ตาม ส่วนหุ้นที่ดีซึ่งเขาวิเคราะห์แล้วจนมั่นใจ เขาก็จะหมั่นรดน้ำพรวนดิน นั่นก็คือ หมั่นติดตามข่าวสารของบริษัท และลงทุนเพิ่มเมื่อมีโอกาส (ถ้าเขามองว่าราคาเมื่อเทียบกับมูลค่ายังถูกหรือสมเหตุสมผลอยู่)
นักลงทุนที่ชำนาญมักจะผิดพลาดน้อยมาก เขามักจะเป็นผู้มองเห็นและซื้อดอกไม้ตั้งแต่มันยังไม่บาน และเขาจะมีความใจเย็นและความอดทนที่จะรอให้มันเติบโตและเบ่งบาน แปลงของเขาจึงมักเต็มไปด้วยดอกไม้ที่สวยงาม เขามักจะไม่ต้องถอนวัชพืช เพราะวัชพืชเหล่านั้นมักไม่มีโอกาสได้เกิดในแปลงดอกไม้ของเขาเลย
ขอย้อนกลับไปที่นักลงทุนประเภทแรก อะไรที่ทำให้เขาพลาด อะไรที่ทำให้เขาซื้อวัชพืชเข้ามา อะไรที่ทำให้เขาเลี้ยงดูมันต่อไป เป็นเพราะพวกเขาชอบวัชพืชเหล่านั้นหรือ ใครบ้างอยากจะซื้อวัชพืชเข้าในพอร์ตตัวเองถ้าเขารู้ว่ามันเป็นวัชพืช อะไรที่ทำให้เขารีบร้อนขายดอกไม้ออกไป ถ้าเขารู้ว่ามันเป็นดอกไม้เขาจะขายออกไปหรือ จริงๆแล้ว การไม่รู้และการไม่พยายามที่จะศึกษาความแตกต่างระหว่างดอกไม้และวัชพืชต่างหาก ที่ทำให้เขาผิดพลาดบ่อยๆ
นอกจากความไม่รู้แล้วนักลงทุนผู้ด้อยประสบการณ์มักจะมีเรื่องของอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย กับดักของอารมณ์มีมากมายหลายชนิดซึ่งอยู่นอกเหนือความสามารถของผมที่จะอธิบาย จึงขอแนะนำหนังสือ 'จิตวิทยาการลงทุน' หรือ The Psychology of Investing แต่งโดย จอห์น อาร์ นอฟซิงเกอร์ (John R.Nofsinger) แปลโดย คุณพรชัย รัตนนนทชัยสุข หรือพี่ WEB แห่ง www.thaivi.com
ก่อนจากกัน ขอฝากสั้นๆว่า ความรู้นั้น สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ ส่วนอารมณ์ก็สามารถฝึกกันได้ ไม่มีอะไรยากเกินไปครับ
คอยพบกับ ดอกไม้ และ วัชพืช ภาค 2 ครับ
เขียนโดย นักลงทุนผู้ด้อยประสบการณ์
รพินทร์ ไพรวัลย์
Peter Lynch นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดท่านหนึ่ง ได้เคยกล่าวถึงพฤติกรรมอย่างหนึ่งของผู้ลงทุนในหุ้นว่า นักลงทุนทั่วไป โดยเฉพาะนักลงทุนที่ยังด้อยประสบการณ์มักจะเด็ดดอกไม้ และรดน้ำวัชพืช (Pulling the flowers and watering the weeds)
ดอกไม้หมายถึงหุ้นดี ซึ่งนักลงทุนมักจะรีบร้อนทำกำไรเมื่อราคาของหุ้นตัวนั้นเริ่มปรับตัวสูงขึ้น เพราะว่าพวกเขารู้สึกว่าการมีกำไรนั้นพิสูจน์ว่าพวกเขาคิดถูกต้อง(ที่ซื้อหุ้นตัวนี้) และแน่นอน การทำกำไรทำให้พวกเขารู้สึกดี เขาจึงรีบร้อนขายเพราะกลัว(ไปเอง)ว่ากำไรที่มีอยู่อาจหายไปถ้าเขาไม่รีบฉวยโอกาส ซึ่งการกระทำเช่นนี้ มักจะทำให้เขาพลาดโอกาสงามที่จะทำกำไรมหาศาลเมื่อหุ้นตัวนั้นเกิดปรับตัวต่อไปอีก โดยอาจปรับตัวขึ้นไปหลายๆเท่าจากราคาที่พวกเขาซื้อมา
ส่วนวัชพืชนั้น หมายถึงหุ้นไม่ดีที่นักลงทุนเหล่านั้นซื้อไว้ ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม เช่น ซื้อตามคนอื่นโดยไม่ได้วิเคราะห์เอง เมื่อราคาหุ้นเหล่านั้นปรับตัวลดลง (ในระยะยาวราคาหุ้นจะปรับตัวตามผลกำไรของบริษัท ซึ่งถ้าบริษัทใดขาดทุนหรือไม่สามารถทำกำไรได้ดี ราคาหุ้นของบริษัทนั้นย่อมลดลงไปด้วย) พวกเขาก็กลับลังเลที่จะขาย เพราะการขายเท่ากับเป็นการพิสูจน์ว่า เขาผิดพลาด เขาจึงมักเลื่อนเวลาที่รับรู้ความเจ็บปวดนั้นออกไป โดยหวังว่า ราคาหุ้นตัวนั้นจะกลับมา ซ้ำร้าย เขามักจะซื้อหุ้นตัวนั้นเพิ่ม เพื่อที่จะเฉลี่ยต้นทุนให้ถูกลง ซึ่งเปรียบเสมือนการรดน้ำวัชพืช และในที่สุดแล้ว เขาจะขาดทุนหนักกว่าการตัดใจถอนวัชพืชไปตั้งแต่แรก
นักลงทุนที่พอมีประสบการณ์ นั่นก็คือ นักลงทุนที่เรียนรู้จากความผิดพลาดของตัวเอง (การเรียนรู้จากความผิดพลาดเริ่มต้นจากการยอมรับความผิดพลาดก่อน) รวมทั้งนักลงทุนที่ใฝ่หาความรู้จากประสบการณ์ของคนอื่น โดยการอ่านเรื่องราวของนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ ฯลฯจะสามารถก้าวพ้นกับดักแห่งอารมณ์ดังกล่าวมาได้ และเขาจะทำตรงกันข้ามกับสิ่งที่นักลงทุนประเภทแรกทำ เมื่อเขารู้ตัวว่าวิเคราะห์ผิดพลาด (ซื้อวัชพืชเข้ามา) หรือ พื้นฐานของกิจการของบริษัทที่เขาถือหุ้นอยู่เกิดเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ดีอย่างถาวร(ดอกไม้กลายพันธุ์เป็นวัชพืช) เขาก็จะขายหุ้นตัวนั้นออกไปทันที (ถอนวัชพืชทิ้ง) ถึงแม้ว่ามันจะขาดทุนก็ตาม ส่วนหุ้นที่ดีซึ่งเขาวิเคราะห์แล้วจนมั่นใจ เขาก็จะหมั่นรดน้ำพรวนดิน นั่นก็คือ หมั่นติดตามข่าวสารของบริษัท และลงทุนเพิ่มเมื่อมีโอกาส (ถ้าเขามองว่าราคาเมื่อเทียบกับมูลค่ายังถูกหรือสมเหตุสมผลอยู่)
นักลงทุนที่ชำนาญมักจะผิดพลาดน้อยมาก เขามักจะเป็นผู้มองเห็นและซื้อดอกไม้ตั้งแต่มันยังไม่บาน และเขาจะมีความใจเย็นและความอดทนที่จะรอให้มันเติบโตและเบ่งบาน แปลงของเขาจึงมักเต็มไปด้วยดอกไม้ที่สวยงาม เขามักจะไม่ต้องถอนวัชพืช เพราะวัชพืชเหล่านั้นมักไม่มีโอกาสได้เกิดในแปลงดอกไม้ของเขาเลย
ขอย้อนกลับไปที่นักลงทุนประเภทแรก อะไรที่ทำให้เขาพลาด อะไรที่ทำให้เขาซื้อวัชพืชเข้ามา อะไรที่ทำให้เขาเลี้ยงดูมันต่อไป เป็นเพราะพวกเขาชอบวัชพืชเหล่านั้นหรือ ใครบ้างอยากจะซื้อวัชพืชเข้าในพอร์ตตัวเองถ้าเขารู้ว่ามันเป็นวัชพืช อะไรที่ทำให้เขารีบร้อนขายดอกไม้ออกไป ถ้าเขารู้ว่ามันเป็นดอกไม้เขาจะขายออกไปหรือ จริงๆแล้ว การไม่รู้และการไม่พยายามที่จะศึกษาความแตกต่างระหว่างดอกไม้และวัชพืชต่างหาก ที่ทำให้เขาผิดพลาดบ่อยๆ
นอกจากความไม่รู้แล้วนักลงทุนผู้ด้อยประสบการณ์มักจะมีเรื่องของอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย กับดักของอารมณ์มีมากมายหลายชนิดซึ่งอยู่นอกเหนือความสามารถของผมที่จะอธิบาย จึงขอแนะนำหนังสือ 'จิตวิทยาการลงทุน' หรือ The Psychology of Investing แต่งโดย จอห์น อาร์ นอฟซิงเกอร์ (John R.Nofsinger) แปลโดย คุณพรชัย รัตนนนทชัยสุข หรือพี่ WEB แห่ง www.thaivi.com
ก่อนจากกัน ขอฝากสั้นๆว่า ความรู้นั้น สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ ส่วนอารมณ์ก็สามารถฝึกกันได้ ไม่มีอะไรยากเกินไปครับ
คอยพบกับ ดอกไม้ และ วัชพืช ภาค 2 ครับ
เขียนโดย นักลงทุนผู้ด้อยประสบการณ์
รพินทร์ ไพรวัลย์
รักในหลวงครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 987
- ผู้ติดตาม: 0
ดอกไม้ และวัชพืช
โพสต์ที่ 2
สวัสดีครับ
สบายดีนะครับ
บทความเขียน อ่าน เข้าใจง่ายดีจัง
ไม่รู้เป็นไงเวลาเปรียบเทียบอะไรกับดอกไม้ ต้นไม้จะเข้าใจกันทันทีเลย
สงสัยมนุษย์สัมพันธ์กับธรรมชาติมาตั้งแต่เกิด
แต่ไม่ค่อยรู้ตัว
มีดอกไม้เยอะเหมือนกัน แต่ไปซื้อตอนบานมากไปแล้ว
และคิดว่าน่าจะบานต่อไปอีก เลยหุบเลย
นี่ก็รอพระอาทิตย์ส่องลงมา รอเวลาให้บานอีกที :lol:
สบายดีนะครับ
บทความเขียน อ่าน เข้าใจง่ายดีจัง
ไม่รู้เป็นไงเวลาเปรียบเทียบอะไรกับดอกไม้ ต้นไม้จะเข้าใจกันทันทีเลย
สงสัยมนุษย์สัมพันธ์กับธรรมชาติมาตั้งแต่เกิด
แต่ไม่ค่อยรู้ตัว
มีดอกไม้เยอะเหมือนกัน แต่ไปซื้อตอนบานมากไปแล้ว
และคิดว่าน่าจะบานต่อไปอีก เลยหุบเลย
นี่ก็รอพระอาทิตย์ส่องลงมา รอเวลาให้บานอีกที :lol:
- Minami_Kana
- Verified User
- โพสต์: 12
- ผู้ติดตาม: 0
ดอกไม้ และวัชพืช
โพสต์ที่ 8
แม้จะมีหุ้นดีแต่ยิ่งสูงยิ่งหนาว การทำกำไรแต่พอเพียงน่าจะเหมาะสมกว่า แต่หากลงทุนยาวก็ไม่ผิดอะไรอยู่ที่มุมมองของแต่ละคน
เราเป็นเพียงนักลงทุนธรรมดา ไม่ได้มีเงินเป็นถุงเป็นถัง ดังนั้นอย่าคาดหวังอะไรที่มันเกินไปนัก
และก็ เวลาดูราคาหลักทรัพย์ กรุณาดูในห้องที่มีแสงสว่างพอเพียงและดูห่างจากหน้าจอ 3 เมตร
และก็ เวลาดูราคาหลักทรัพย์ กรุณาดูในห้องที่มีแสงสว่างพอเพียงและดูห่างจากหน้าจอ 3 เมตร
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4940
- ผู้ติดตาม: 1
ดอกไม้ และวัชพืช
โพสต์ที่ 10
ขอบคุณสำหรับบทความดีๆครับ
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์