คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 2509
- ผู้ติดตาม: 1
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์ที่ 31
อยากบอกพวกม็อบกฟผ. ว่า ถ้าทำไปด้วยความบริสุทธิ์ใจจริง และเห็นแก่ประโยชน์ของประชาชนจริง
กลับไปทำงานของตัวเองซะทีสิ (โว้ย)
ผมไม่ได้จ่ายภาษีและค่าไฟฟ้า เพื่อจ้างคนมาประท้วงด้วยเงินเดือนแพงๆ นะ
ถ้าอยากประท้วงจริงๆ ก็ไปประท้วงตอนเช้า ตอนเที่ยง ตอนเย็น และเสาร์อาทิตย์ ก็พอ เบียดเบียนเวลาทำงานมามากพอแล้ว (โว้ย)
กลับไปทำงานของตัวเองซะทีสิ (โว้ย)
ผมไม่ได้จ่ายภาษีและค่าไฟฟ้า เพื่อจ้างคนมาประท้วงด้วยเงินเดือนแพงๆ นะ
ถ้าอยากประท้วงจริงๆ ก็ไปประท้วงตอนเช้า ตอนเที่ยง ตอนเย็น และเสาร์อาทิตย์ ก็พอ เบียดเบียนเวลาทำงานมามากพอแล้ว (โว้ย)
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์ที่ 32
ผมคิดว่าการนำรัฐวิสาหกิจเข้าตลาดหลักทรัพย์นั้นก็มีประโยชน์พอสมควร การแปลงเป็นบริษัทมหาชนก็โอเคครับ
การตรวจสอบอาจจะมีมากขึ้น ตรวจสอบได้ง่ายขึ้น แต่พอมาคิดใหม่ บริษัทเอกชนรายใหญ่ๆที่จดทะเบียนในตลาดอย่แล้ว พวกเรารายย่อยมีสิทธิมีเสียงมากน้อยแค่ไหนครับเนี่ยะ เราตรวจสอบอะไรได้บ้าง ผมว่าได้แต่เข้าประชมและยกมือสอบถาม แต่ก็ไม่ค่อยมีผลอะไร ตัวอย่างการบินไทย เป็นยังไงครับ
ส่งที่น่าห่วงก็คือการเปลี่ยนจากรัฐวิสาหกิจที่ผกขาด มาเป็นบริษัทมหาชนที่ผกขาด และจดทะเบียนในตลาดด้วย ปัจจบันมีรัฐวิสาหกิจที่เป็นบริการขั้นพื้นฐานและผกขาดที่ไหนเข้าตลาดบ้างครับ
บริษัทมหาชนที่จดทะเบียน ก็ชอบที่จะมีกำไรมากสด ผ้บริหารก็หวังที่จะมีกำไรมากสด เพื่อที่จะได้โบนัสมากๆ มีผลงานมากๆ
ผมว่าการเข้าตลาดอาจจะไม่ได้ช่วยอะไรนอกจากเพิ่มเงินทน ลดเงินทนจากรัฐบาล รัฐบาลจะได้มีเงินเหลือนำไปทำอย่างอื่น
แต่การเปิดให้มีการแข่งขันกันแบบโทรศัพท์พื้นฐานน่าจะช่วยได้มาก
ดจากอตสาหกรรมโทรศัพท์ และอตสาหกรรมธนาคารซิครับ พอมีการแข่งขันมากขึ้น การบริการก็ดีขึ้น ราคาก็ลดลง องค์การโทรศัพท์ก็ไม่เห็นต้องเข้าจดทะเบียนเลยครับ บริการก็ดีขึ้นมากเลยครับ
การตรวจสอบอาจจะมีมากขึ้น ตรวจสอบได้ง่ายขึ้น แต่พอมาคิดใหม่ บริษัทเอกชนรายใหญ่ๆที่จดทะเบียนในตลาดอย่แล้ว พวกเรารายย่อยมีสิทธิมีเสียงมากน้อยแค่ไหนครับเนี่ยะ เราตรวจสอบอะไรได้บ้าง ผมว่าได้แต่เข้าประชมและยกมือสอบถาม แต่ก็ไม่ค่อยมีผลอะไร ตัวอย่างการบินไทย เป็นยังไงครับ
ส่งที่น่าห่วงก็คือการเปลี่ยนจากรัฐวิสาหกิจที่ผกขาด มาเป็นบริษัทมหาชนที่ผกขาด และจดทะเบียนในตลาดด้วย ปัจจบันมีรัฐวิสาหกิจที่เป็นบริการขั้นพื้นฐานและผกขาดที่ไหนเข้าตลาดบ้างครับ
บริษัทมหาชนที่จดทะเบียน ก็ชอบที่จะมีกำไรมากสด ผ้บริหารก็หวังที่จะมีกำไรมากสด เพื่อที่จะได้โบนัสมากๆ มีผลงานมากๆ
ผมว่าการเข้าตลาดอาจจะไม่ได้ช่วยอะไรนอกจากเพิ่มเงินทน ลดเงินทนจากรัฐบาล รัฐบาลจะได้มีเงินเหลือนำไปทำอย่างอื่น
แต่การเปิดให้มีการแข่งขันกันแบบโทรศัพท์พื้นฐานน่าจะช่วยได้มาก
ดจากอตสาหกรรมโทรศัพท์ และอตสาหกรรมธนาคารซิครับ พอมีการแข่งขันมากขึ้น การบริการก็ดีขึ้น ราคาก็ลดลง องค์การโทรศัพท์ก็ไม่เห็นต้องเข้าจดทะเบียนเลยครับ บริการก็ดีขึ้นมากเลยครับ
-
- ผู้ติดตาม: 0
แสดงความคิดเห็นด้วยครับ
โพสต์ที่ 33
ขอบอกถึงเรื่องการผลิตไฟฟ้าก่อนนะครับ
เนื่องจากการผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย เราจะใช้ก๊าซธรรมชาติ 70 %
ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งจะเป็นพลังงานที่รับมาจาก ปตท.
ในส่วนขอการจัดหาพลังงาน ทางปตท.จะเป็นผู้จัดสรรให้กับโรงไฟฟ้าที่ต้อง
การใช้ ซึ่ง ในส่วนของโรงไฟฟ้าบางปะกง จะเป็นผู้ใช้หลักในภาคตะวันออก
เชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตของโรงไฟฟ้าบางปะกง จะใช้ก๊าซธรรมชาติครับ
ในส่วนของการแปรรูปการไฟฟ้า กฟผ. จะเ็ป็นองค์กรหลักในการผลิตไฟฟ้า
ซึ่งหน้าที่หลักคือ จัดหากำลังผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอกับความต้องการ
โดยกระจายผ่าน กฟน กฟภ ไปให้แก่ประชาชน
กฟผ. ยังทรัพย์สินอีกหลายอย่างที่ยังไม่แบ่งสันให้ลงตัว ซึ่งได้แก่
เขื่อน และพื้นที่เขื่อน , แนวสายส่งที่พาดผ่านทั่วประเทศและพื้นที่ป่าไม้ ,
ที่ดินที่ตั้งสถานีไฟฟ้า ฯลฯ
ทรัพย์สินเหล่านี้ อยากทราบว่า สมควรเข้าำไปรวมไว้ในบริษัทมหาชนหรือไม่
เพราะขณะนี้ที่มีการแปรรูป ทรัพย์สินส่วนนี้ไม่ใครพูดถึงเลย ไม่ทราบว่า
มีท่านใดนึกถึงส่วนนี้บ้าง
ยังเป็นที่กังวลอีกในเรื่องความโปร่งใสในการกระจายหุ้นให้กับประชาชน
ผมไม่แน่ใจว่า จะตื่นไปกี่โมงดีที่จะได้รับการจัดสรรหุ้น เพราะขนาด ปตท.
ยังใช้เวลา 1.17 นาทีเอง และ่ท่านคิดว่า เราสามารถไปจองหุ้นได้หรือ
ในการกระจายหุ้นเอง อยากให้มองถึงว่า ทรัพย์สิน กฟผ. เป็นของปชช. 62 ล้าน แต่กำลังจะตกมาอยู่้ในมือของคนประมาณ ไม่เกิน 400000 คน ส่วนหนึ่ง
ท่านคิดว่าเหมาะสมหรือไม่ อยากลองให้ช่วยตอบด้วย
ถ้ามีข้อสงสัยเกี่ยวกับ กฟผ. ลองถามมานะครับ จะพยายามตอบเท่าที่ตอบได้
ยินดีแลกเปลี่ยนความคิดเห้น
เนื่องจากการผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย เราจะใช้ก๊าซธรรมชาติ 70 %
ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งจะเป็นพลังงานที่รับมาจาก ปตท.
ในส่วนขอการจัดหาพลังงาน ทางปตท.จะเป็นผู้จัดสรรให้กับโรงไฟฟ้าที่ต้อง
การใช้ ซึ่ง ในส่วนของโรงไฟฟ้าบางปะกง จะเป็นผู้ใช้หลักในภาคตะวันออก
เชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตของโรงไฟฟ้าบางปะกง จะใช้ก๊าซธรรมชาติครับ
ในส่วนของการแปรรูปการไฟฟ้า กฟผ. จะเ็ป็นองค์กรหลักในการผลิตไฟฟ้า
ซึ่งหน้าที่หลักคือ จัดหากำลังผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอกับความต้องการ
โดยกระจายผ่าน กฟน กฟภ ไปให้แก่ประชาชน
กฟผ. ยังทรัพย์สินอีกหลายอย่างที่ยังไม่แบ่งสันให้ลงตัว ซึ่งได้แก่
เขื่อน และพื้นที่เขื่อน , แนวสายส่งที่พาดผ่านทั่วประเทศและพื้นที่ป่าไม้ ,
ที่ดินที่ตั้งสถานีไฟฟ้า ฯลฯ
ทรัพย์สินเหล่านี้ อยากทราบว่า สมควรเข้าำไปรวมไว้ในบริษัทมหาชนหรือไม่
เพราะขณะนี้ที่มีการแปรรูป ทรัพย์สินส่วนนี้ไม่ใครพูดถึงเลย ไม่ทราบว่า
มีท่านใดนึกถึงส่วนนี้บ้าง
ยังเป็นที่กังวลอีกในเรื่องความโปร่งใสในการกระจายหุ้นให้กับประชาชน
ผมไม่แน่ใจว่า จะตื่นไปกี่โมงดีที่จะได้รับการจัดสรรหุ้น เพราะขนาด ปตท.
ยังใช้เวลา 1.17 นาทีเอง และ่ท่านคิดว่า เราสามารถไปจองหุ้นได้หรือ
ในการกระจายหุ้นเอง อยากให้มองถึงว่า ทรัพย์สิน กฟผ. เป็นของปชช. 62 ล้าน แต่กำลังจะตกมาอยู่้ในมือของคนประมาณ ไม่เกิน 400000 คน ส่วนหนึ่ง
ท่านคิดว่าเหมาะสมหรือไม่ อยากลองให้ช่วยตอบด้วย
ถ้ามีข้อสงสัยเกี่ยวกับ กฟผ. ลองถามมานะครับ จะพยายามตอบเท่าที่ตอบได้
ยินดีแลกเปลี่ยนความคิดเห้น
-
- ผู้ติดตาม: 0
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์ที่ 34
งั้นถามผู้ผลิตไฟ เพราะเข้าใจว่าเป็นคนของกฟผ.นะครับ
จากกระทู้เห็นมีอยู่เนืองๆที่จะด่าว่าการประท้วงของกฟผ.เป็นการเสียเวลา
ซึ่งการประเมินค่าของการประท้วงเองผมคิดว่าขึ้นอยู่กับเนื้อหา
ใช่แต่จะเห็นเป็นรำคาญก็ไม่ชอบใจได้
ดังนั้น ผมจึงอยากถามเนื้อหาของการประท้วง
อ่านๆดูแล้วเหมือนกับ กฟผ.เองนั้นก็เห็นด้วยกับการแปรรูป
แต่ยังไม่เห็นดีกับวิธีการจัดสรรใช่หรือไม่ ?
หากทั้งหมดทั้งสิ้นตกลงกันได้ กฟผ.เองก็ยินดีจะแปรรูปใช่หรือไม่ ?
หากตกลงกันได้ คิดว่าการแปรรูปนั้นทำให้กฟผ.เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมขึ้นได้อย่างไร ? และหากไม่แปรรูป กฟผ.สามารถทำประโยชน์ต่อส่วนรวมได้อย่างนั้นหรือไม่ ?
ผมคิดว่าการกระจายหุ้นยังเป็นเหตุเล็กน้อย (แต่เห็นใหญ่เพราะใกล้ตัว)
ที่สุดท้าย คนซื้อได้ก็อาจจะไม่ใช่คนที่ได้เป็นเจ้าของ
จากกระทู้เห็นมีอยู่เนืองๆที่จะด่าว่าการประท้วงของกฟผ.เป็นการเสียเวลา
ซึ่งการประเมินค่าของการประท้วงเองผมคิดว่าขึ้นอยู่กับเนื้อหา
ใช่แต่จะเห็นเป็นรำคาญก็ไม่ชอบใจได้
ดังนั้น ผมจึงอยากถามเนื้อหาของการประท้วง
อ่านๆดูแล้วเหมือนกับ กฟผ.เองนั้นก็เห็นด้วยกับการแปรรูป
แต่ยังไม่เห็นดีกับวิธีการจัดสรรใช่หรือไม่ ?
หากทั้งหมดทั้งสิ้นตกลงกันได้ กฟผ.เองก็ยินดีจะแปรรูปใช่หรือไม่ ?
หากตกลงกันได้ คิดว่าการแปรรูปนั้นทำให้กฟผ.เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมขึ้นได้อย่างไร ? และหากไม่แปรรูป กฟผ.สามารถทำประโยชน์ต่อส่วนรวมได้อย่างนั้นหรือไม่ ?
ผมคิดว่าการกระจายหุ้นยังเป็นเหตุเล็กน้อย (แต่เห็นใหญ่เพราะใกล้ตัว)
ที่สุดท้าย คนซื้อได้ก็อาจจะไม่ใช่คนที่ได้เป็นเจ้าของ
- ayethebing
- Verified User
- โพสต์: 2125
- ผู้ติดตาม: 0
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์ที่ 35
เอ สงสัยว่าจะไม่ใช่เนื้อหากระมัง เพราะข้อเรียกร้องคือ หยุดการแปรรูป โดยไม่ได้สนใจแก้ปัญหาการกระจายหุ้นครับ
ผมเองก็ไม่ได้เถียงว่าการกระจายหุ้นมีปัญหา แต่มันก็ต้องแก้ที่ปัญหาสิครับไม่ใช่พอมีปัญหาแล้วก็เลยไม่ทำเลย
ถามหน่อยว่าตอนนี้การไฟฟ้าเป็นของคนไทยทั้งชาติ อย่างที่กฟผ. พูดกัน ถ้าอย่างนั้นถ้าเราจะเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารกฟผ. บ้างได้มั้ยอยากรู้นะ ถ้าผมไปถามผู้บริหารกฟผ.ถึงผลการดำเนินงานบ้างจะได้มั้ย งบก็เปิดเผยให้สาธารณะรู้ทุกไตรมาสได้มั้ย อ้าวก็ของผมเหมือนกันนี่นา
ผมเองก็ไม่ได้เถียงว่าการกระจายหุ้นมีปัญหา แต่มันก็ต้องแก้ที่ปัญหาสิครับไม่ใช่พอมีปัญหาแล้วก็เลยไม่ทำเลย
ถามหน่อยว่าตอนนี้การไฟฟ้าเป็นของคนไทยทั้งชาติ อย่างที่กฟผ. พูดกัน ถ้าอย่างนั้นถ้าเราจะเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารกฟผ. บ้างได้มั้ยอยากรู้นะ ถ้าผมไปถามผู้บริหารกฟผ.ถึงผลการดำเนินงานบ้างจะได้มั้ย งบก็เปิดเผยให้สาธารณะรู้ทุกไตรมาสได้มั้ย อ้าวก็ของผมเหมือนกันนี่นา
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
-
- ผู้ติดตาม: 0
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์ที่ 36
ผมมองว่า ปัญหาการกระจายหุ้นนั้น
เป็นเพียงปัญหาของการแบ่งสรรผลประโยชน์ไม่ลงตัวเท่านั้นเอง
อย่าอ้างประเทศชาติเลย แบ่งยังไงก็ไม่ทำให้องค์กรดีขึ้น
แค่ทำให้ใครรวยขึ้นแค่นั้นเอง
ปัญหาใหญ่ที่ควรคิด คือเราควร การแปรรูปหรือปฎิรูป
เหตุใดจึงควรแปรรูป เหตุใจจึงควรปฎิรูป
อย่างข้อเรียกร้องขอตรวจสอบจากประชานชนนั้นก็เป็นข้อเสนอที่ดีอันหนึ่ง
หากกฟผ.จะไม่ยอมทั้งแปรรูปและไม่ยอมปฎิรูป
ก็ย่อมแสดงให้เห็นว่าเป็นการรักษาผลประโยชน์ของตัวเองของพนักงานกฟผ.
เป็นเพียงปัญหาของการแบ่งสรรผลประโยชน์ไม่ลงตัวเท่านั้นเอง
อย่าอ้างประเทศชาติเลย แบ่งยังไงก็ไม่ทำให้องค์กรดีขึ้น
แค่ทำให้ใครรวยขึ้นแค่นั้นเอง
ปัญหาใหญ่ที่ควรคิด คือเราควร การแปรรูปหรือปฎิรูป
เหตุใดจึงควรแปรรูป เหตุใจจึงควรปฎิรูป
อย่างข้อเรียกร้องขอตรวจสอบจากประชานชนนั้นก็เป็นข้อเสนอที่ดีอันหนึ่ง
หากกฟผ.จะไม่ยอมทั้งแปรรูปและไม่ยอมปฎิรูป
ก็ย่อมแสดงให้เห็นว่าเป็นการรักษาผลประโยชน์ของตัวเองของพนักงานกฟผ.
-
- ผู้ติดตาม: 0
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์ที่ 37
ในส่วนของการประท้วงส่วนหนึ่งเป็นห่วงเรื่องการกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ว่าจะตกไปอยู่ในมือของคนกลุ่ม
หนึ่งกลุ่มเดียวที่ได้รับประโยชน์จากการกระจายหุ้นในตลาด
ในความคิดเห็น พนักงานส่วนมากจะยินดีในการปฏิรูปองค์กรมากกว่า ที่นำหุ้นเข้าไปในตลาด เนื่องจากการลงทุน
ในตลาดหุ้น พนักงานส่วนมากก็ไม่ได้มีความรู้เรื่องนี้ เมื่อองค์กรจะกระจายหุ้น ความชัดเจนในต่างๆก็ยังไม่มี
การปรัยปรุงองค์กร แท้จริงควรจะต้องมีการปรับปรุงประสิทธิภาพก่อนใช้หรือไม่ เมื่อยังไม่ได้มีการปรับปรุงแต่นำ
เช้าไปกระจายหุ้นในตลาด ผมคิดว่าการทำงานก็ยังคงเหมือนๆเดืม เนื่องจากเราไม่ได้มีการปรับปรุงมาก่อน
จะให้มีความโปร่งใส ในด้านบัญชี ผมว่าแท้จริงแล้ว กฟผ. ยังคงต้องอ้างอิงนโยบายจากรัฐบาลอยู่ดี
ไม่ได้มีอิสระในการบริหารอย่างแท้จริง
ในส่วนของประสิทธิภาพองค์กร กฟผ. จัดอยู่ในรัฐวิสาหกิจขั้นดี ที่มีการปฏิบัติงานทีี่ดีอยู่แล้ว ในส่วนของการ
ขึ้นค่ากระแสไฟฟ้านั้น ผมคิดว่า ประชาชนทั่วไป ยังขาดความเข้าใจอยู่มาก เนื่องจากพลังงานที่เราใช้ในการผลิตไฟ
นั้น จะรับมาจาก ปตท. และมีการนำพลังงานจากถ่านหินมาเสริม ค่ากระแสไฟฟ้าจึงขึ้นอยู่กับค่าเชื้อเพลิิง เป็น
ส่วนใหญ๋ และทางกฟผ. ไม่อำนาจในการตัดสินใจในการขึ้นค่า ft แต่อยู่กับคณะกรรมการที่มาจากรัฐบาล
ถ้าลองสังเกตดู ทำไมรัฐบาลบอกว่าจะไม่ให้ขึ้นค่าไฟ 1 ปี คิดว่าเมื่อเป็นบริษัทนั้นจะถูกต้องหรือไม่
ในส่วนดัวคิดว่า น่าจะมีการปรับปรุงองค์กรให้มีความคล่องตัวมากขึ้น มากกว่าที่นำเข้าไปสู่ตลาดหลักทรัพย์
หนึ่งกลุ่มเดียวที่ได้รับประโยชน์จากการกระจายหุ้นในตลาด
ในความคิดเห็น พนักงานส่วนมากจะยินดีในการปฏิรูปองค์กรมากกว่า ที่นำหุ้นเข้าไปในตลาด เนื่องจากการลงทุน
ในตลาดหุ้น พนักงานส่วนมากก็ไม่ได้มีความรู้เรื่องนี้ เมื่อองค์กรจะกระจายหุ้น ความชัดเจนในต่างๆก็ยังไม่มี
การปรัยปรุงองค์กร แท้จริงควรจะต้องมีการปรับปรุงประสิทธิภาพก่อนใช้หรือไม่ เมื่อยังไม่ได้มีการปรับปรุงแต่นำ
เช้าไปกระจายหุ้นในตลาด ผมคิดว่าการทำงานก็ยังคงเหมือนๆเดืม เนื่องจากเราไม่ได้มีการปรับปรุงมาก่อน
จะให้มีความโปร่งใส ในด้านบัญชี ผมว่าแท้จริงแล้ว กฟผ. ยังคงต้องอ้างอิงนโยบายจากรัฐบาลอยู่ดี
ไม่ได้มีอิสระในการบริหารอย่างแท้จริง
ในส่วนของประสิทธิภาพองค์กร กฟผ. จัดอยู่ในรัฐวิสาหกิจขั้นดี ที่มีการปฏิบัติงานทีี่ดีอยู่แล้ว ในส่วนของการ
ขึ้นค่ากระแสไฟฟ้านั้น ผมคิดว่า ประชาชนทั่วไป ยังขาดความเข้าใจอยู่มาก เนื่องจากพลังงานที่เราใช้ในการผลิตไฟ
นั้น จะรับมาจาก ปตท. และมีการนำพลังงานจากถ่านหินมาเสริม ค่ากระแสไฟฟ้าจึงขึ้นอยู่กับค่าเชื้อเพลิิง เป็น
ส่วนใหญ๋ และทางกฟผ. ไม่อำนาจในการตัดสินใจในการขึ้นค่า ft แต่อยู่กับคณะกรรมการที่มาจากรัฐบาล
ถ้าลองสังเกตดู ทำไมรัฐบาลบอกว่าจะไม่ให้ขึ้นค่าไฟ 1 ปี คิดว่าเมื่อเป็นบริษัทนั้นจะถูกต้องหรือไม่
ในส่วนดัวคิดว่า น่าจะมีการปรับปรุงองค์กรให้มีความคล่องตัวมากขึ้น มากกว่าที่นำเข้าไปสู่ตลาดหลักทรัพย์
-
- ผู้ติดตาม: 0
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์ที่ 38
น่าสนใจครับ ดูเหมือนว่าการปฎิรูปองค์กรไม่ใช่สิ่งที่เข้าใจกันได้ง่ายๆ
ก็เหมือนกับราชอื่นๆที่อำนาจยังคงถูกดึงอยู่ที่ส่วนกลาง
เมื่อเป็นเช่นนี้อยู่ การเอาหุ้นเข้าตลาด ก็เอื้อประโยชน์ต่อผู้มีอำนาจอย่างอเนกอนันต์
เนื่องเพราะสามารถมีผลประโยชน์โดยสุจริตได้ไม่ขัดเขิน อย่างที่เป็นอยู่และคงจะเป็นต่อๆไป
ความข้างบนนี้เป็นสิ่งที่ผมคิดเอาเอง จริงๆต้องการรู้ความคิดของคนกฟผ.(ผู้ผลิตไฟ)
ในการที่จะทำให้องค์กรมีประสิทธิภาพและเป็นบรรษัทภิบาลนั้นทำได้อย่างไร?
(ไม่คิดว่าต้องหลักการที่เลิศหรู ไม่ต้องมีวิชาการสูงส่ง เอาแค่เป็นคำสนทนาบนโต๊ะกินข้าวก็พอ)
ขอเริ่มจากบทแรก หากกฟผ.ได้รับพรอันวิเศษ(ฝัน) กฟผ.ต้องการให้องค์กรเป็นอย่างไร มีอำนาจในการจัดการทางใด
(... ขอเริ่มต้นเพียงเท่านี้ก่อน เมื่อกระจ่างในส่วนนี้แล้ว จึงค่อยคุยกันในส่วนต่อๆไป
ซึ่งแน่นอน เมื่อมีอำนาจแล้วก็ต้องมีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบตามมา...)
นี่นับเป็นคำถามจากผมซึ่งไม่มีความรู้ในองค์กรและการบริหารจัดการของกฟผ.
แต่อันที่จะตัดสิน ผมก็ได้แต่ถามตามประสาคนไม่รู้ เอาไว้ประดับสมอง
เพราะไม่ต้องการแค่ดูจากภายนอกแล้ววิจารณ์ได้เป็นวรรคเป็นเวร
(จริงๆมีคนตอบทางด้านแปรรูปด้วยก็ดี จะได้เปรียบเทียบกันได้ถนัดถนี่
เห็นสนับสนุนกันหลายท่าน มีท่านใดจะเอื้อเฟื้อออกความเห็นเป็นตัวแทนหรือเปล่าน่ะ)
ผมคงถามไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเบื่อกันไปข้างหนึ่ง...
ก็เหมือนกับราชอื่นๆที่อำนาจยังคงถูกดึงอยู่ที่ส่วนกลาง
เมื่อเป็นเช่นนี้อยู่ การเอาหุ้นเข้าตลาด ก็เอื้อประโยชน์ต่อผู้มีอำนาจอย่างอเนกอนันต์
เนื่องเพราะสามารถมีผลประโยชน์โดยสุจริตได้ไม่ขัดเขิน อย่างที่เป็นอยู่และคงจะเป็นต่อๆไป
ความข้างบนนี้เป็นสิ่งที่ผมคิดเอาเอง จริงๆต้องการรู้ความคิดของคนกฟผ.(ผู้ผลิตไฟ)
ในการที่จะทำให้องค์กรมีประสิทธิภาพและเป็นบรรษัทภิบาลนั้นทำได้อย่างไร?
(ไม่คิดว่าต้องหลักการที่เลิศหรู ไม่ต้องมีวิชาการสูงส่ง เอาแค่เป็นคำสนทนาบนโต๊ะกินข้าวก็พอ)
ขอเริ่มจากบทแรก หากกฟผ.ได้รับพรอันวิเศษ(ฝัน) กฟผ.ต้องการให้องค์กรเป็นอย่างไร มีอำนาจในการจัดการทางใด
(... ขอเริ่มต้นเพียงเท่านี้ก่อน เมื่อกระจ่างในส่วนนี้แล้ว จึงค่อยคุยกันในส่วนต่อๆไป
ซึ่งแน่นอน เมื่อมีอำนาจแล้วก็ต้องมีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบตามมา...)
นี่นับเป็นคำถามจากผมซึ่งไม่มีความรู้ในองค์กรและการบริหารจัดการของกฟผ.
แต่อันที่จะตัดสิน ผมก็ได้แต่ถามตามประสาคนไม่รู้ เอาไว้ประดับสมอง
เพราะไม่ต้องการแค่ดูจากภายนอกแล้ววิจารณ์ได้เป็นวรรคเป็นเวร
(จริงๆมีคนตอบทางด้านแปรรูปด้วยก็ดี จะได้เปรียบเทียบกันได้ถนัดถนี่
เห็นสนับสนุนกันหลายท่าน มีท่านใดจะเอื้อเฟื้อออกความเห็นเป็นตัวแทนหรือเปล่าน่ะ)
ผมคงถามไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเบื่อกันไปข้างหนึ่ง...
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4940
- ผู้ติดตาม: 1
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์ที่ 39
เห็นด้วยกะพี่ chatchai อีกแล้วครับท่าน
แปรรูปไป ยังไงเสียผลดีก็ตกกับรัฐบาลกะพรรคพวกมากกว่าประชาชนแน่นอน
ลดหนี้แล้ว ได้อะไร หนี้สาธารณะลดลง ก็ลงไปสิแล้วไงต่อละครับ ต่างชาติมองว่าประเทศดีขึ้นไม่มีหนี้ หนี้ลด แล้วไง เดียวหน่วยงานอื่นๆก็กู้อีกได้ จะลดได้เท่าไรกัน ตัดกันเข้าไปถนน ระบบขนส่งมวลชนใหญ่ มีหรือเปล่า อีกกี่ปีละ รัฐวิสาหกิจที่เข้าตลาดหุ้นไปแล้ว หรือกำลังจะเข้า เป็นหน่วยงานที่มีกำไร มีปัญญาใช้หนี้แน่ๆ นะครับ ประชาชนได้อะไรครับ
ผู้ถือหุ้น รายย่อยๆๆๆ จะมีสิทธิไปถามได้ แต่ขอถามว่าจะมีกำลังพอจะไปเปลี่ยนนโยบายการทำงานในองค์กรได้ หรือ ผู้บริหารจะรับฟังหรือเปล่า
รายย่อย ซื้อแล้วจะเก็บไปช่วยลูกชั่วหลานหรือเปล่า คงมีแต่น้อย ก็แค่เก็งกำไร สมมุติขึ้นมา 2-3 เท่า จะไม่ขายหรือครับ ผมว่าขึ้นมา 1 เท่า ไม่ขายหมด ก็คลาดเครียดเรโชไปแล้ว ถ้าขายแล้วจะซื้อคืนหรือเปล่า ก็คงบอกว่าแพงแล้ว จะซื้อทำไม ไปเก็งกำไรตัวอื่นดีก่า ลุยๆๆ มีให้เก็ง เกร็ง กันอีกเยอะ
ชัวร์
แปรรูปไป ยังไงเสียผลดีก็ตกกับรัฐบาลกะพรรคพวกมากกว่าประชาชนแน่นอน
ลดหนี้แล้ว ได้อะไร หนี้สาธารณะลดลง ก็ลงไปสิแล้วไงต่อละครับ ต่างชาติมองว่าประเทศดีขึ้นไม่มีหนี้ หนี้ลด แล้วไง เดียวหน่วยงานอื่นๆก็กู้อีกได้ จะลดได้เท่าไรกัน ตัดกันเข้าไปถนน ระบบขนส่งมวลชนใหญ่ มีหรือเปล่า อีกกี่ปีละ รัฐวิสาหกิจที่เข้าตลาดหุ้นไปแล้ว หรือกำลังจะเข้า เป็นหน่วยงานที่มีกำไร มีปัญญาใช้หนี้แน่ๆ นะครับ ประชาชนได้อะไรครับ
ผู้ถือหุ้น รายย่อยๆๆๆ จะมีสิทธิไปถามได้ แต่ขอถามว่าจะมีกำลังพอจะไปเปลี่ยนนโยบายการทำงานในองค์กรได้ หรือ ผู้บริหารจะรับฟังหรือเปล่า
รายย่อย ซื้อแล้วจะเก็บไปช่วยลูกชั่วหลานหรือเปล่า คงมีแต่น้อย ก็แค่เก็งกำไร สมมุติขึ้นมา 2-3 เท่า จะไม่ขายหรือครับ ผมว่าขึ้นมา 1 เท่า ไม่ขายหมด ก็คลาดเครียดเรโชไปแล้ว ถ้าขายแล้วจะซื้อคืนหรือเปล่า ก็คงบอกว่าแพงแล้ว จะซื้อทำไม ไปเก็งกำไรตัวอื่นดีก่า ลุยๆๆ มีให้เก็ง เกร็ง กันอีกเยอะ
ชัวร์
-
- ผู้ติดตาม: 0
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์ที่ 40
เรื่องการปฎิรูปองค์กร กฟผ. คงต้องใช้เวลาในการปรับเปลี่ยน
เนือ่งจาก เป้นองค์กรที่มีการก่อตั้งมาหลายปี พนักงานรุ่นเก่ายังคงมีความเคยชินในการทำงาน
คงต้องมีการฝึกฝนพัฒนาทรัพยากรบุคคลเป็นอันดับแรก และจะต้องได้รับ
ความร่วมมือที่ดีจากฝ่ายบริหารด้วย เนื่องจากจะต้องได้รับการสนับสนุน
ในด้านต่างๆ จากฝ่ายบริหาร
เมื่อเราได้มีการพัฒนาบุคคล ก็จะก่อเกิดการพัฒนาองค์กรขึ้นมาเป็นระดับ
พนักงานกฟผ. ผมคิดว่ามีความสามารถในการปรับเปลี่ยนได้ แต่อาจจะมี
ส่วนหนึ่งที่อาจจะปรับตัวไม่ได้ ก็ควรมีโครงการเกษียณอายุออกมา
เท่าที่สังเกต มีพนักงานบางส่วน อยากให้มีโครงการนี้ออกมาเนีื่องมีความ
กลัวในเรื่องการปรับปรุงองค์กร ก็เป็นพนักงานระดับล่าง เสียส่วนมาก
เนือ่งจาก เป้นองค์กรที่มีการก่อตั้งมาหลายปี พนักงานรุ่นเก่ายังคงมีความเคยชินในการทำงาน
คงต้องมีการฝึกฝนพัฒนาทรัพยากรบุคคลเป็นอันดับแรก และจะต้องได้รับ
ความร่วมมือที่ดีจากฝ่ายบริหารด้วย เนื่องจากจะต้องได้รับการสนับสนุน
ในด้านต่างๆ จากฝ่ายบริหาร
เมื่อเราได้มีการพัฒนาบุคคล ก็จะก่อเกิดการพัฒนาองค์กรขึ้นมาเป็นระดับ
พนักงานกฟผ. ผมคิดว่ามีความสามารถในการปรับเปลี่ยนได้ แต่อาจจะมี
ส่วนหนึ่งที่อาจจะปรับตัวไม่ได้ ก็ควรมีโครงการเกษียณอายุออกมา
เท่าที่สังเกต มีพนักงานบางส่วน อยากให้มีโครงการนี้ออกมาเนีื่องมีความ
กลัวในเรื่องการปรับปรุงองค์กร ก็เป็นพนักงานระดับล่าง เสียส่วนมาก
-
- ผู้ติดตาม: 0
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์ที่ 41
ฝ่ายบริหารที่กล่าวถึง เป็นฝ่ายของบริหารซึ่งมาจากรัฐบาล หรือของกฟผ.เองครับ
หากเป็นฝ่ายบริหารของกฟผ.เอง
ทางกลุ่มชุมนุมมองเห็นความสนับสนุนนี้ของทางฝ่ายบริหารอย่างไร
หากเป็นฝ่ายของรัฐบาล ใครคือผู้เกี่ยวข้องครับ ... นายก หรือเปล่าครับ
การฝึกฝนพัฒนาบุคคลก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้องค์กรทำงานได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ มีความคิดสร้างสรรค์ มีความรักในองค์กร
ส่วนโครงการเกษียณอายุนั้น ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้องค์กรมีความคล่องตัว
มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น
นอกนั้น กฟผ.เองคงต้องมีมาตราการวัดผลอย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อให้การบริการ หรือ การทำงานเป็นไปเพื่อความพอใจสูงสุดแก่ลูกค้า ซึ่งเป็นประชาชนทั่วไป
ท้ายนี้คงจะถามความเห็น ข้อขัดแย้ง หรือทางแก้ไข
ในข้อกล่าวหาบางส่วนที่ผมเคยได้ยินที่มีต่อ กฟผ. (จริงๆน่าจะรวมๆไปถึงรัฐวิสาหกิจโดยทั่วไป)
(1) สวัสดิการพนักงานดูเหมือนจะมากเกินงาม
(2) มีการนำไฟฟ้ามาใช้ส่วนตัว
(3) มีการทำงานที่สบาย ... ประมาณว่า เช้าชามเย็นชาม
จริงเท็จอย่างไร ก็ช่วยขยายความครับ ผมเพียงถ่ายทอดเท่าที่พอได้ฟังเท่านั้น
ไม่ได้จะคิดกล่าวหา แต่อยากฟังความเห็นสองด้านครับ
หากเป็นฝ่ายบริหารของกฟผ.เอง
ทางกลุ่มชุมนุมมองเห็นความสนับสนุนนี้ของทางฝ่ายบริหารอย่างไร
หากเป็นฝ่ายของรัฐบาล ใครคือผู้เกี่ยวข้องครับ ... นายก หรือเปล่าครับ
การฝึกฝนพัฒนาบุคคลก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้องค์กรทำงานได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ มีความคิดสร้างสรรค์ มีความรักในองค์กร
ส่วนโครงการเกษียณอายุนั้น ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้องค์กรมีความคล่องตัว
มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น
นอกนั้น กฟผ.เองคงต้องมีมาตราการวัดผลอย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อให้การบริการ หรือ การทำงานเป็นไปเพื่อความพอใจสูงสุดแก่ลูกค้า ซึ่งเป็นประชาชนทั่วไป
ท้ายนี้คงจะถามความเห็น ข้อขัดแย้ง หรือทางแก้ไข
ในข้อกล่าวหาบางส่วนที่ผมเคยได้ยินที่มีต่อ กฟผ. (จริงๆน่าจะรวมๆไปถึงรัฐวิสาหกิจโดยทั่วไป)
(1) สวัสดิการพนักงานดูเหมือนจะมากเกินงาม
(2) มีการนำไฟฟ้ามาใช้ส่วนตัว
(3) มีการทำงานที่สบาย ... ประมาณว่า เช้าชามเย็นชาม
จริงเท็จอย่างไร ก็ช่วยขยายความครับ ผมเพียงถ่ายทอดเท่าที่พอได้ฟังเท่านั้น
ไม่ได้จะคิดกล่าวหา แต่อยากฟังความเห็นสองด้านครับ
-
- ผู้ติดตาม: 0
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์ที่ 42
ขอถามด้วยคนนะครับว่า " ทำไมเมื่อจะมีการแปรรูปการไฟฟ้า จึงมีคนของการไฟฟ้ามาประท้วงและบอกว่าการแปรรูปจะทำให้ค่าไฟแพงขึ้น คล้ายกับว่าการออกมาประท้วง เพื่อปกป้องผลประโยชน์ประชาชนเพราะกลัวค่าไฟจะแพงขึ้น จะทำให้คนเดือดร้อน แต่ทำไมก่อนๆๆ หน้านี้ ทุกครั้งที่มีการปรับค่าไฟให้แพงขึ้น ผมกลับไม่เคยเห็นคนในการไฟฟ้าจะออกมาประท้วง เพื่อปกป้องผลประโยชน์แทนประชาชนเลยละครับ ผมเห็นมีแต่จะออกมาบอกประชาชนว่าต้นทุนอันโน้น อันนี้แพงขึ้น จึงมีความจำเป็นต้องปรับค่าไฟ "
-
- ผู้ติดตาม: 0
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์ที่ 43
อันที่จริงผมคิดว่าจะหยุดเขียนเรื่องนี้ไปเสียแล้ว
เนื่องจาก ผู้ผลิตไฟ คงเบื่อต่อคำถามผม
แลคิดว่าผมคงไม่เป็นกลาง มีคำถามในเชิงโจมตีกฟผ.ไปดังนั้น
แต่อย่าลืมว่า กฟผ.ไม่อาจบริสุทธิ์ และให้ประชาชนยืนอยู่ข้างได้อย่างเต็มที่
หากประชาชนยังมีความสงสัยในตัวของกฟผ.อยู่หลายส่วน
แต่สิ่งที่ทำให้ผมเขียนเรื่องนี้อีกครั้ง เพราะโฆษณาที่เห็นทางทีวีเร็วๆนี้
ผมได้ดูโฆษณาเรื่องการแปรรูปของรัฐบาลแล้วให้เป็นกังวลยิ่งนัก
ผมต้องขอเรียกว่าเป็นการโฆษณา และยังคิดว่าเป็นโฆษณาชวนเชื่ออีกด้วย!
ในโฆษณานั้นได้กล่าวว่า กฟผ.มีหนี้สินมหาศาล ... ไม่แปรรูปไม่ได้แล้ว!
ในความคิดผม สำหรับประชาชนเจ้าของประเทศนั้น ผมคิดว่า
(1) มีสิ่งที่เราควรสนใจก่อนและผมคิดว่าสำคัญกว่า วิธีแก้หนี้สินมหาศาลของกฟผ.
สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ที่มาที่ไปของหนี้เหล่านั้น
สิ่งที่เราควรทวงถาม ควรค้นหา ควรศึกษา ว่าหนี้เหล่านั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร?
เกิดจากใคร? แล้วจะป้องกันแก้ไขได้อย่างไร?
หาไม่แล้ว อีกห้าปีสิบปีข้างหน้า กฟผ.คงมีหนี้ให้รายย่อยได้ซื้ออีก เป็นที่ถูกอกถูกใจ
ถ้าเป็นเช่นนี้ ก็เท่ากับเป็นการหลอกเอาเงินของประชาชนของรัฐบาล
มาแก้กันปลายเหตุ ไม่หาคนที่ต้องรับผิดชอบ
(2) จากหนี้ สู่ความห่วงใยถึงรายย่อย
อันนี้เป็นประเด็นรอง แต่ในฐานะรายย่อยผู้หนึ่งก็อดคิดไม่ได้ว่า
หนี้ขนาดนั้น การระดมทุนครั้งนี้ สามารถปลดเปลื้องได้หมดหรือไม่?
กฟผ.ใช้เงินขนาดนั้น อนาคตต้องใช้เงินเพิ่มอีกเท่าไหร่?
คำตอบของคำถามนี้ จะนำไปสู่การเพิ่มทุนครั้งใหม่หรือไม่?
จากที่ประสบมา หากมีการเพิ่มทุน ด้วยเงินก้อนใหญ่
ก็เห็นแต่จะมีกลุ่มทุนที่ได้รับส่วนแบ่งเนื้อก้อนโต
ผมจึงห่วงว่า ครั้งแรกที่เข้าสู่ตลาดรายย่อย อาจจะไม่เจ็บตัวนัก
แต่หลังจากนั้นไม่นาน เราต้องถูกตีหัวแบบโดนบังคับไม่ให้เจ็บหรือไม่ !
ซึ่งคงใช้เวลาไม่นานนัก เพราะผู้มีพระคุณจะรอนานไม่ได้...
หากรัฐบาลตั้งใจแก้ปัญหาจริง
หากรัฐบาลคิดถึงประชาชนจริง
ควรออกมาให้ความรู้ที่ถูกต้อง
ควรออกมาให้ข้อมูลที่กระจ่าง
หาควรที่จะมาทำ โฆษณาชวนเชื่อ เช่นนี้ไม่
หากความกระจ่างแล้ว ค่อยมาออกโฆษณาที่ว่านั้น
ผมก็จะเรียกมันว่า การประชาสัมพันธ์ ได้อย่างเต็มปาก
และจะชื่นชมปรบมือให้อย่างจริงใจ
เห็นคุณทักษิณ ให้ความสำคัญต่อการศึกษาเป็นอันมาก
จึงอยากจะให้ เหลียวมอง การศึกษาของสังคมนอกโรงเรียนบ้าง
รัฐบาลต้องหมั่นให้ความรู้ ความกระจ่าง แก่สังคม ให้สังคมคิดได้
การศึกษาในโรงเรียนนั้น เป็นแค่ 10-20% ของชีวิต
อย่าเพียงหวังฝากอนาคตทั้งสิ้นให้กับเด็กเลย
มันเป็นการเอาเปรียบ เห็นแก่ตัวและไม่รับผิดชอบของผู้ใหญ่ในวันนี้
เนื่องจาก ผู้ผลิตไฟ คงเบื่อต่อคำถามผม
แลคิดว่าผมคงไม่เป็นกลาง มีคำถามในเชิงโจมตีกฟผ.ไปดังนั้น
แต่อย่าลืมว่า กฟผ.ไม่อาจบริสุทธิ์ และให้ประชาชนยืนอยู่ข้างได้อย่างเต็มที่
หากประชาชนยังมีความสงสัยในตัวของกฟผ.อยู่หลายส่วน
แต่สิ่งที่ทำให้ผมเขียนเรื่องนี้อีกครั้ง เพราะโฆษณาที่เห็นทางทีวีเร็วๆนี้
ผมได้ดูโฆษณาเรื่องการแปรรูปของรัฐบาลแล้วให้เป็นกังวลยิ่งนัก
ผมต้องขอเรียกว่าเป็นการโฆษณา และยังคิดว่าเป็นโฆษณาชวนเชื่ออีกด้วย!
ในโฆษณานั้นได้กล่าวว่า กฟผ.มีหนี้สินมหาศาล ... ไม่แปรรูปไม่ได้แล้ว!
ในความคิดผม สำหรับประชาชนเจ้าของประเทศนั้น ผมคิดว่า
(1) มีสิ่งที่เราควรสนใจก่อนและผมคิดว่าสำคัญกว่า วิธีแก้หนี้สินมหาศาลของกฟผ.
สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ที่มาที่ไปของหนี้เหล่านั้น
สิ่งที่เราควรทวงถาม ควรค้นหา ควรศึกษา ว่าหนี้เหล่านั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร?
เกิดจากใคร? แล้วจะป้องกันแก้ไขได้อย่างไร?
หาไม่แล้ว อีกห้าปีสิบปีข้างหน้า กฟผ.คงมีหนี้ให้รายย่อยได้ซื้ออีก เป็นที่ถูกอกถูกใจ
ถ้าเป็นเช่นนี้ ก็เท่ากับเป็นการหลอกเอาเงินของประชาชนของรัฐบาล
มาแก้กันปลายเหตุ ไม่หาคนที่ต้องรับผิดชอบ
(2) จากหนี้ สู่ความห่วงใยถึงรายย่อย
อันนี้เป็นประเด็นรอง แต่ในฐานะรายย่อยผู้หนึ่งก็อดคิดไม่ได้ว่า
หนี้ขนาดนั้น การระดมทุนครั้งนี้ สามารถปลดเปลื้องได้หมดหรือไม่?
กฟผ.ใช้เงินขนาดนั้น อนาคตต้องใช้เงินเพิ่มอีกเท่าไหร่?
คำตอบของคำถามนี้ จะนำไปสู่การเพิ่มทุนครั้งใหม่หรือไม่?
จากที่ประสบมา หากมีการเพิ่มทุน ด้วยเงินก้อนใหญ่
ก็เห็นแต่จะมีกลุ่มทุนที่ได้รับส่วนแบ่งเนื้อก้อนโต
ผมจึงห่วงว่า ครั้งแรกที่เข้าสู่ตลาดรายย่อย อาจจะไม่เจ็บตัวนัก
แต่หลังจากนั้นไม่นาน เราต้องถูกตีหัวแบบโดนบังคับไม่ให้เจ็บหรือไม่ !
ซึ่งคงใช้เวลาไม่นานนัก เพราะผู้มีพระคุณจะรอนานไม่ได้...
หากรัฐบาลตั้งใจแก้ปัญหาจริง
หากรัฐบาลคิดถึงประชาชนจริง
ควรออกมาให้ความรู้ที่ถูกต้อง
ควรออกมาให้ข้อมูลที่กระจ่าง
หาควรที่จะมาทำ โฆษณาชวนเชื่อ เช่นนี้ไม่
หากความกระจ่างแล้ว ค่อยมาออกโฆษณาที่ว่านั้น
ผมก็จะเรียกมันว่า การประชาสัมพันธ์ ได้อย่างเต็มปาก
และจะชื่นชมปรบมือให้อย่างจริงใจ
เห็นคุณทักษิณ ให้ความสำคัญต่อการศึกษาเป็นอันมาก
จึงอยากจะให้ เหลียวมอง การศึกษาของสังคมนอกโรงเรียนบ้าง
รัฐบาลต้องหมั่นให้ความรู้ ความกระจ่าง แก่สังคม ให้สังคมคิดได้
การศึกษาในโรงเรียนนั้น เป็นแค่ 10-20% ของชีวิต
อย่าเพียงหวังฝากอนาคตทั้งสิ้นให้กับเด็กเลย
มันเป็นการเอาเปรียบ เห็นแก่ตัวและไม่รับผิดชอบของผู้ใหญ่ในวันนี้
- Chachacha
- Verified User
- โพสต์: 68
- ผู้ติดตาม: 0
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์ที่ 44
ผมอ่านใน 56-1 ของ EGCOMP เค้าบอกเรื่อง Ft ไว้อย่างนี้ครับ
สูตรค่าไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) โดยค่าไฟฟ้าส่วนหนึ่งจะแปรผันตามต้นทุนเชื้อเพลิงและอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเรียกว่าสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Fuel Adjustment Charge หรือ Ft) ที่มีการประกาศเปลี่ยนแปลงทุก 4 เดือน
http://www.egat.or.th/epd/index-1.html
รายละเอียดทั้งหมดของค่า Ft ครับ ถ้าไม่อยากปวดหัว อย่าเปิดไปดูเลย
สูตรค่าไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) โดยค่าไฟฟ้าส่วนหนึ่งจะแปรผันตามต้นทุนเชื้อเพลิงและอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเรียกว่าสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Fuel Adjustment Charge หรือ Ft) ที่มีการประกาศเปลี่ยนแปลงทุก 4 เดือน
http://www.egat.or.th/epd/index-1.html
รายละเอียดทั้งหมดของค่า Ft ครับ ถ้าไม่อยากปวดหัว อย่าเปิดไปดูเลย
เดี๋ยวเจอกัน
- sirivajj
- Verified User
- โพสต์: 985
- ผู้ติดตาม: 0
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์ที่ 45
ผมคิดว่า บรรดาม๊อบที่ยังต่อต้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจนั้น
ยึดติดอยู่กับกรอบแห่งความคิดแห่งประโยชน์ของตัวเองและพวกพ้อง
ทำให้ข้อคัดค้านการแปรรูปวนไปวนมาด้วยข้ออ้างในการคัดค้านเดิมๆ เช่น ขายชาติ ขายสมบัติของแผ่นดิน ค่าไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้น เป็นต้นนั้น ฟังไม่ขึ้น ขาดน้ำหนักเหตุผลให้น่าเชื่อถือ
ส่วนเรื่องความโปร่งใส นั้นทางรัฐฯ ก็ได้แก้ไขและกฏเกณฑ์เพื่อปรับปรุงให้
ดียิ่งขึ้น
ในขณะที่ประเด็นของรัฐที่ต้องการให้เกิดการแปรรูปเพื่อลดภาระหนี้สิน ในการค้ำประกัน และเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานของรัฐวิสาหกิจ กับพัฒนาตลาดทุน นั้น ไม่เห็นว่า จะมีข้อคัดค้านให้แก้ไข ยกเลิกจากทางกลุ่มที่คัดค้านที่น่ารับฟังได้เลยครับ มีแต่เลี่ยงไปเลี่ยงมา อ้างไปอ้างมา ด้วยเหตุผลอื่น
ผมว่า ค่าไฟฟ้า คงจะถูกลงได้อีก ถ้าประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน กฟผ. จำนวนหนึ่งทำงานอย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง และมีการปรับปรุงสวัสดิการพนักงานให้สมเหตุสมผลยิ่งขึ้นครับ
ผมว่า ข้าราชการเขามีพัฒนาการปฏิรูปตัวเองไปแล้ว ถึงคราวที่ พนักงานรัฐวิสาหกิจบางกลุ่มบางพวกที่ทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ สมควรจะพัฒนาบ้างแล้ว ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของประเทศชาตินะครับ
ปล. ที่ผมว่า บางกลุ่มบางพวก เพราะคนดีดีเขาก็มีครับ
ยึดติดอยู่กับกรอบแห่งความคิดแห่งประโยชน์ของตัวเองและพวกพ้อง
ทำให้ข้อคัดค้านการแปรรูปวนไปวนมาด้วยข้ออ้างในการคัดค้านเดิมๆ เช่น ขายชาติ ขายสมบัติของแผ่นดิน ค่าไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้น เป็นต้นนั้น ฟังไม่ขึ้น ขาดน้ำหนักเหตุผลให้น่าเชื่อถือ
ส่วนเรื่องความโปร่งใส นั้นทางรัฐฯ ก็ได้แก้ไขและกฏเกณฑ์เพื่อปรับปรุงให้
ดียิ่งขึ้น
ในขณะที่ประเด็นของรัฐที่ต้องการให้เกิดการแปรรูปเพื่อลดภาระหนี้สิน ในการค้ำประกัน และเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานของรัฐวิสาหกิจ กับพัฒนาตลาดทุน นั้น ไม่เห็นว่า จะมีข้อคัดค้านให้แก้ไข ยกเลิกจากทางกลุ่มที่คัดค้านที่น่ารับฟังได้เลยครับ มีแต่เลี่ยงไปเลี่ยงมา อ้างไปอ้างมา ด้วยเหตุผลอื่น
ผมว่า ค่าไฟฟ้า คงจะถูกลงได้อีก ถ้าประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน กฟผ. จำนวนหนึ่งทำงานอย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง และมีการปรับปรุงสวัสดิการพนักงานให้สมเหตุสมผลยิ่งขึ้นครับ
ผมว่า ข้าราชการเขามีพัฒนาการปฏิรูปตัวเองไปแล้ว ถึงคราวที่ พนักงานรัฐวิสาหกิจบางกลุ่มบางพวกที่ทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ สมควรจะพัฒนาบ้างแล้ว ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของประเทศชาตินะครับ
ปล. ที่ผมว่า บางกลุ่มบางพวก เพราะคนดีดีเขาก็มีครับ
What do you mean.?
- ayethebing
- Verified User
- โพสต์: 2125
- ผู้ติดตาม: 0
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์ที่ 46
เห็นแล้วครับสูตร ft เอามาให้ดูเล่นๆ
หลักการของ ft ตามความเห็นของผมก็คือ การตั้งราคาแบบ cost-plused นั่นเอง ดังนั้นเมื่อไหร่ที่มี margin คงที่ คือแบบว่าดำเนินการยังไงก็คงไม่ขาดทุนละครับ
ที่น่าสนใจมากๆ และอยากรู้คือ ค่า NF ในสูตรซึ่งคือต้นทุนการดำเนินงานของ กฟผ. ที่ไปอิงกับดัชนีผู้บริโภค เมื่อเทียบกับของจริงที่เกิดขึ้นแล้วจะเป็นยังไง แตกต่างกันมากแค่ไหน
พอเห็นสูตรแล้ว อยากขำ ทำให้โปร่งใสแบบนี้เหรอ เอาสูตรอะไรไม่รู้ ยากแบบ shift loss (ตัวช่วยในการแปล คำแรกอ่านตรงตัว คำหลังแปลเป็นภาษาไทย) ไม่มีใครจะสามารถเข้าใจได้หรอกครับ1.วัตถุประสงค์
1.1) เพื่อให้ค่าไฟฟ้าสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงของต้นทุน ที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของการไฟฟ้า
1.2) เพื่อให้การไฟฟ้ามีแรงจูงใจในการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความคล่องตัวในการดำเนินงาน
1.3) เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเป็นธรรมต่อผู้ใช้ไฟฟ้า
1.4) เพื่อให้สามารถรองรับการปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้าในอนาคตได้
......
หลักการของ ft ตามความเห็นของผมก็คือ การตั้งราคาแบบ cost-plused นั่นเอง ดังนั้นเมื่อไหร่ที่มี margin คงที่ คือแบบว่าดำเนินการยังไงก็คงไม่ขาดทุนละครับ
ที่น่าสนใจมากๆ และอยากรู้คือ ค่า NF ในสูตรซึ่งคือต้นทุนการดำเนินงานของ กฟผ. ที่ไปอิงกับดัชนีผู้บริโภค เมื่อเทียบกับของจริงที่เกิดขึ้นแล้วจะเป็นยังไง แตกต่างกันมากแค่ไหน
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
-
- ผู้ติดตาม: 0
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์ที่ 47
ต้องขอโทษด้วยเนื่องจากว่า ได้ติดงานบำรุงรักษาอุปกรณ์
อยากจะขอชี้แจงเรื่องต่างๆดังนี้นะครับ
คุณ sirivajj "ผมคิดว่า บรรดาม๊อบที่ยังต่อต้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจนั้น
ยึดติดอยู่กับกรอบแห่งความคิดแห่งประโยชน์ของตัวเองและพวกพ้อง
ทำให้ข้อคัดค้านการแปรรูปวนไปวนมาด้วยข้ออ้างในการคัดค้านเดิมๆ เช่น ขายชาติ ขายสมบัติของแผ่นดิน ค่าไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้น เป็นต้นนั้น ฟังไม่ขึ้น ขาดน้ำหนักเหตุผลให้น่าเชื่อถือ "
ผมอยากจะขอชี้แจงเรื่องการคัดค้านการแปรรูปดังนี้นะครับ
ในการแปรรูปกฟผ. เป็นบริษัท มหาชน คนที่ได้รับประโยชน์สูงสุดน่าจะเป็น
นักลงทุนที่อยู่ใน ตลท. ใช่ไหมครับ ในสัดส่วนต่อประชาชนทั้งประเทศแล้ว
น่าจะไม่เกิน 2 % ของประชาชน 60 ล้านคนในส่วนของกฟผ. เป็นรัฐวิสาหกิจ
ขั้นพืื้้นฐานในการพัฒนาประเทศ ซึ่งมีผลกระทบต่อประชาชนโดยส่วนรวม
เมื่อเราได้นำ สิ่งที่เป็นของคนไทยทั้งประเทศมากระจายหุ้น ( ขาย ) ให้กับ
คนเพียง 2 % เท่านั้้น ท่่านคิดว่าสิ่งนี้ถูกต้องหรือไม่
และ ในเมื่อผลกระทบที่เกิดขึ้นในอนาคต ยังไม่มีความแน่นอนว่า ค่าไฟฟ้า
จะมีแนวโน้มที่ลดลง ท่านคิดว่า นี่เป็นความเสี่ยงมากหรือไม่
อยากจะขอชี้แจงเรื่องต่างๆดังนี้นะครับ
คุณ sirivajj "ผมคิดว่า บรรดาม๊อบที่ยังต่อต้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจนั้น
ยึดติดอยู่กับกรอบแห่งความคิดแห่งประโยชน์ของตัวเองและพวกพ้อง
ทำให้ข้อคัดค้านการแปรรูปวนไปวนมาด้วยข้ออ้างในการคัดค้านเดิมๆ เช่น ขายชาติ ขายสมบัติของแผ่นดิน ค่าไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้น เป็นต้นนั้น ฟังไม่ขึ้น ขาดน้ำหนักเหตุผลให้น่าเชื่อถือ "
ผมอยากจะขอชี้แจงเรื่องการคัดค้านการแปรรูปดังนี้นะครับ
ในการแปรรูปกฟผ. เป็นบริษัท มหาชน คนที่ได้รับประโยชน์สูงสุดน่าจะเป็น
นักลงทุนที่อยู่ใน ตลท. ใช่ไหมครับ ในสัดส่วนต่อประชาชนทั้งประเทศแล้ว
น่าจะไม่เกิน 2 % ของประชาชน 60 ล้านคนในส่วนของกฟผ. เป็นรัฐวิสาหกิจ
ขั้นพืื้้นฐานในการพัฒนาประเทศ ซึ่งมีผลกระทบต่อประชาชนโดยส่วนรวม
เมื่อเราได้นำ สิ่งที่เป็นของคนไทยทั้งประเทศมากระจายหุ้น ( ขาย ) ให้กับ
คนเพียง 2 % เท่านั้้น ท่่านคิดว่าสิ่งนี้ถูกต้องหรือไม่
และ ในเมื่อผลกระทบที่เกิดขึ้นในอนาคต ยังไม่มีความแน่นอนว่า ค่าไฟฟ้า
จะมีแนวโน้มที่ลดลง ท่านคิดว่า นี่เป็นความเสี่ยงมากหรือไม่
-
- ผู้ติดตาม: 0
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์ที่ 48
ทั้งสองนั้นแหละครับ เนื่องจาก กฟผ. เป็นองค์กรที่ถูกกำกับดูแล จากกระทรวงฝ่ายบริหารที่กล่าวถึง เป็นฝ่ายของบริหารซึ่งมาจากรัฐบาล หรือของกฟผ.เองครับ
พลังงาน โดย รัฐบาล มีสิทธิ์ ในการแต่งตั้ง และปลดออก บอร์ด การไฟฟ้า
อย่างนี้ ทำให้รัฐบาลมีอิทธิพลในการบริหารงานของกฟผ.มาก เมื่อได้แปรรูป
เข้าไปในตลท. ย่อมมีผลกระทบแน่นอน ไม่ทราบว่าผุ้ใช้ไฟ คิดเห็นอย่างไร[/quote]
-
- ผู้ติดตาม: 0
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์ที่ 49
ความจริงที่หายไปในหนังโฆษณาชุดล่าสุดเรื่อง กฟผ.
ประสาท มีแต้ม
กลุ่มศึกษาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน สงขลา
1. คำนำ
ผมได้ชมหนังโฆษณาชุดล่าสุดในโทรทัศน์ที่พยายามบอกถึงเหตุผลของรัฐบาลในการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) แล้วรู้สึกว่าต้องเขียนบทความชิ้นนี้ทันที ทั้งนี้เพราะมีข้อมูลสำคัญบางอย่างได้ถูกบิดเบือนและทำให้คิดต่อไปได้ว่า แล้วสิ่งอื่นๆ ที่รัฐบาลจะทำในอนาคตจะถูกบิดเบือนอีกไหม
ในฐานะที่ได้ติดตามข้อมูลด้านพลังงานทั้งก๊าซธรรมชาติและกิจการไฟฟ้ามานาน ผมจึงสามารถจับได้ไล่ทันว่าข้อมูลใดบ้างได้ถูกบิดเบือนหรือถูกทำให้หายไป ดังนั้นผมจึงขอนำเสนอข้อมูลที่ได้หายไปเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ใช้ประกอบการพิจารณา สำหรับข้อมูลดิบที่ผมใช้ในการวิเคราะห์นี้มาจากกระทรวงพลังงานซึ่งท่านที่สามารถใช้อินเตอร์เนตค้นหาได้ที่ www.eppo.go.th/vrs/VRS61.pdf <http://www.eppo.go.th/vrs/VRS61.pdf> (หน้าที่ 63)
เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ ผมจะเปรียบเทียบกิจการไฟฟ้าที่มีความซับซ้อน(และมีตัวเลขเยอะแยะ)กับกิจการคิวรถแท็กซี่ซึ่งจะทำให้เข้าใจได้ง่ายและสามารถนำไปเล่าสู่กันฟังภายใต้การผูกขาดการใช้สื่อแต่เพียงผู้เดียวของภาครัฐ
2. สาระสำคัญของหนังโฆษณา
เนื้อความในโฆษณาดังกล่าวมีสาระสำคัญว่า ขณะนี้ทาง กฟผ. มีโรงไฟฟ้าที่สามารถผลิตได้เพียงประมาณ 50% ของพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดที่คนไทยทั้งประเทศใช้ ที่เหลืออีก 50% เป็นการผลิตของโรงไฟฟ้าของเอกชน ดังนั้นถ้าไม่มีการระดมทุนแล้วจะเอาทุนที่ไหนมาสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ เมื่อเศรษฐกิจโตขึ้นxxxส่วนการผลิตของ กฟผ.ก็จะลดต่ำลงเรื่อยๆ นอกจากนี้ทาง กฟผ.ยังมีหนี้สินถึง 1 แสน 4 หมื่นล้านบาท จึงจำเป็นต้องระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์
3. ความจริงที่หายไป
จากสาระดังกล่าว เราพบว่ามีความจริง 2 ประการที่หายไป
ประการแรก คือทรัพย์สินของ กฟผ. มีอยู่ถึง 4 แสนล้านบาท การมีหนี้สินถึง 1.4 แสนล้านบาทก็ต้องถือว่ายังมีความมั่นคงทางการเงินอยู่และมีกำไรทุกปี ดีกว่ารัฐวิสาหกิจอื่นๆ อีกจำนวนมาก อาจจะดีกว่าฐานะของคนไทยทั้งประเทศที่มีหนี้สาธารณะถึง 52% ของรายได้ต่อปีเสียอีก หรือว่าจะต้องนำประเทศไทยไประดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ด้วย!
ประการที่สอง เรื่องที่ทาง กฟผ.มีส่วนแบ่งการตลาดเพียงประมาณ 50% เรื่องนี้ต้องอาศัยข้อมูลประกอบการพิจารณา ขอท่านผู้อ่านโปรดอ่านอย่างช้าๆสักนิดนะครับ
3.1 นับถึงเดือนมิถุนายน 2546 ประเทศไทยมีกำลังการผลิต
ไฟฟ้ารวมกันถึง 25,647 เมกะวัตต์ แต่มีความต้องการสูงสุดของทั้งปีเพียงที่ 18,121 เมกะวัตต์ หรือมีกำลังผลิตสำรองอยู่ถึง 42% เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ ผมจะเปรียบโรงไฟฟ้าเป็นรถแท็กซี่ ส่วนจำนวนไฟฟ้าที่ผลิตได้เทียบเป็นจำนวนผู้โดยสาร และเพื่อให้เห็นxxxส่วนของการใช้งานของรถแท็กซี่ ผมขอเปรียบให้จำนวนผู้โดยสารในวันที่มีมากสูงสุดมีจำนวน 100 คน (18,121 เมกะวัตต์) ดังนั้นในวันนั้นประเทศไทยมีรถแท็กซี่อยู่ทั้งหมด 142 คัน (รถ 1 คันเทียบเท่าโรงไฟฟ้า 180 เมกะวัตต์คิดเป็นมูลค่าประมาณ 6,300 ล้านบาท)
จากตัวเลขดังกล่าวทำให้เรารู้สึกได้ว่า คิวนี้มีรถมากเกินไป เพราะมีสำรองถึง 42 คัน หากคิดย้อนกลับไปคิดเป็นกิจการโรงไฟฟ้า การมีโรงไฟฟ้าสำรองถึง 42% นั้นต้องถือว่ามีมากเกินไป (ซึ่งปกติเขามักสำรองที่ 15% ท่านนายกฯทักษิณเคยกล่าวเมื่อต้นปี 2545 ว่า ประเทศไทยมีโรงไฟฟ้าสำรองคิดเป็นมูลค่าถึง 4 แสนล้านบาท เนื่องจากการคำนวณที่ผิดพลาด ทำให้คนไทยต้องเสียค่าไฟฟ้าแพง)
3.2 ในจำนวนรถทั้งหมด 142 คัน ปรากฏว่าเป็นของ กฟผ. 84 คันหรือคิดเป็น 59% ของจำนวนรถทั้งหมดของคิว ที่เหลือ 41%(หรือ 58 คัน) เป็นของบริษัทเอกชน
3.3 ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2546 พบว่ารถของ กฟผ. ได้รับผู้โดยสารรวมเพียง 52% (แต่มีรถอยู่ 59%) ในขณะที่รถของเอกชนได้รับผู้โดยสาร 48%(แต่มีรถอยู่ 41%)
จากข้อมูลนี้ทำให้เราได้เห็นภาพชัดเจนขึ้นว่า นายคิว นี้ไม่มีความเป็นธรรมอย่างยิ่ง คำถามก็คือว่า ใครคือนายคิว จึงได้ปล่อยให้รถของ กฟผ. หรือของคนไทยทุกคนต้องว่างงานเป็นจำนวนมาก
4. ใครคือนายคิว?
คำตอบคือ กฟผ. เองนั่นแหละที่เป็นนายคิว เพราะ กฟผ. เป็นผู้ควบคุมระบบส่งไฟฟ้าหรือควบคุมถนน แต่ผู้ที่อยู่เบื้องหลังเกณฑ์การจัดคิวแบบนี้คือใคร
คำตอบคือรัฐบาลไทยนั่นเอง เพราะนโยบายมาจากรัฐบาล โดยรัฐบาลไทยได้เซ็นสัญญาที่เรียกว่า ไม่ใช้ก็ต้องจ่าย กล่าวคือเป็นสัญญาที่ได้ประกันความเสี่ยงให้กับบริษัทเอกชนที่ว่า เมื่อบริษัทสามารถผลิตไฟฟ้าได้แล้ว ทาง กฟผ. ต้องรับซื้อไฟฟ้าจากบริษัทอย่างน้อย 85% ของจำนวนที่บริษัทผลิตได้เพื่อนำไปขายต่อให้กับประชาชน
โปรดอย่าลืมว่า ในระบบทั้งหมดเรามีรถอยู่ 142 คันแต่มีผู้โดยสารไม่เกิน 100 ราย ด้วยสัญญาแบบนี้ กฟผ. จึงจำเป็นต้องปล่อยรถของตนเองออกให้น้อยลง เพราะถึงปล่อยรถของตนเองออกมา ก็ต้องจ่ายเงินให้รถของเอกชนอยู่ดี ตามสัญญา ไม่ซื้อก็ต้องจ่าย
5. กฟผ. เสียรายได้ปีละ 17,500 ล้านบาท
ในปี 2546 ทั้งปี คนไทยใช้ไฟฟ้าประมาณ 1 แสน 1 หมื่นล้านหน่วยคิดเป็นมูลค่าประมาณ 275,000 ล้านบาท ดังนั้นปริมาณไฟฟ้า 1% มีค่าเท่ากับ 2,750 ล้านบาท
จากหัวข้อ 3.3 ที่รถของ กฟผ. มีอยู่ถึง 59% แต่ได้รับผู้โดยสารเพียง 52% คือหายไปถึง 7% (เพราะไปเพิ่มให้รถของเอกชน) ดังนั้นด้วยการจัดคิวที่ไม่เป็นธรรมนี้ได้ทำให้ กฟผ. ขาดรายได้ไปถึงปีละ 17,500 ล้านบาท
เงินรายได้ที่หายไปจาก กฟผ.จำนวน 19,250 ล้านบาทนี้ เป็นค่าเชื้อเพลิงประมาณ 11,900 ล้านบาท(หรือประมาณ 68%ของรายได้) ดังนั้นรายได้ที่เหลืออีกประมาณ 6,000 ล้านบาทจึงถือได้ว่าเอากำไรล้วนๆ ของ กฟผ.ไปให้กับบริษัทเอกชนนั่นเอง เพราะว่าต้นทุนค่าสายส่งและค่าบริหารไม่จำเป็นต้องจ่ายเพิ่มอีกแล้ว
เงินก้อนนี้ตกปีละ 6,000 ล้านบาทนี้เป็นเงินที่ผู้ใช้ไฟฟ้าเป็นผู้จ่าย ได้หายไปจาก กฟผ. ซึ่งเป็นสมบัติของคนไทยทุกคน แต่กลับไหลไปสู่กระเป๋าของบริษัทเอกชนเพราะนโยบายการจัดคิวที่ผิดพลาดของรัฐบาลไทย
ที่กล่าวมาแล้วเป็นข้อมูลปี 2546 แต่ที่ทางราชการไทยได้วางแผนไว้สำหรับปี 2547 กลับสาหัสมากกว่านี้คือ รถของ กฟผ. จะได้รับผู้โดยสารเพียง 48% (ทั้งๆที่มีโรงไฟฟ้าหรือรถเพิ่มขึ้นอีก 2 คันที่จังหวัดกระบี่ รวมรถของ กฟผ.มี 60%) รถของบริษัทเอกชนจะได้รับผู้โดยสาร 52%
ความอยุติธรรมนี้จะเพิ่มขึ้นจาก 7% ในปี 2546 เป็น 12% ในปี 2547 เฉพาะส่วนที่ไม่เป็นธรรมนี้คิดเป็นกำไรล้วนๆ ถึงหนึ่งหมื่นล้านบาทต่อปี
5. สรุป
ที่ได้กล่าวมาแล้ว ผมได้ชี้ให้เห็นว่าในหนังโฆษณาชุดนี้รัฐบาลทักษิณได้หลอกลวงคนไทยไว้ 3 ประเด็น คือ
(1) บอกแต่จำนวนหนี้สินแต่ไม่บอกจำนวนทรัพย์สินที่มีมากกว่า
(2) จำนวนโรงไฟฟ้าล้นเกินถึง 42% แทนที่จะเป็น 15% และ
(3) ปิดบังความจริงเรื่องการจัดคิวที่ไม่เป็นธรรมซึ่งกำหนดโดยรัฐบาลเอง ส่งผลให้รัฐบาลสูญเสียรายได้และเอกชนได้ประโยชน์ถึงปีละ 6,000 ล้านบาท
ผมคิดว่าสิ่งที่คนไทยต้องตั้งคำถามอีก 4 ข้อ คือ
(1) ยังมีสิ่งที่หลอกลวงที่บทความนี้ยังไม่ได้กล่าวถึงอีกไหม
(2) นี่เป็นการหลอกลวงครั้งสุดท้ายของรัฐบาลหรือไม่
(3) เงินค่าโฆษณาทางโทรทัศน์มาจากไหน ใครเป็นเจ้าของสถานีโทรทัศน์ซึ่งรับเงินค่าโฆษณาแล้วนำความเท็จมาให้ประชาชน
และ (4) แล้วเราจะเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าภายใต้การปิดกั้นข่าวสารได้อย่างไร
ประสาท มีแต้ม
กลุ่มศึกษาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน สงขลา
1. คำนำ
ผมได้ชมหนังโฆษณาชุดล่าสุดในโทรทัศน์ที่พยายามบอกถึงเหตุผลของรัฐบาลในการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) แล้วรู้สึกว่าต้องเขียนบทความชิ้นนี้ทันที ทั้งนี้เพราะมีข้อมูลสำคัญบางอย่างได้ถูกบิดเบือนและทำให้คิดต่อไปได้ว่า แล้วสิ่งอื่นๆ ที่รัฐบาลจะทำในอนาคตจะถูกบิดเบือนอีกไหม
ในฐานะที่ได้ติดตามข้อมูลด้านพลังงานทั้งก๊าซธรรมชาติและกิจการไฟฟ้ามานาน ผมจึงสามารถจับได้ไล่ทันว่าข้อมูลใดบ้างได้ถูกบิดเบือนหรือถูกทำให้หายไป ดังนั้นผมจึงขอนำเสนอข้อมูลที่ได้หายไปเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ใช้ประกอบการพิจารณา สำหรับข้อมูลดิบที่ผมใช้ในการวิเคราะห์นี้มาจากกระทรวงพลังงานซึ่งท่านที่สามารถใช้อินเตอร์เนตค้นหาได้ที่ www.eppo.go.th/vrs/VRS61.pdf <http://www.eppo.go.th/vrs/VRS61.pdf> (หน้าที่ 63)
เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ ผมจะเปรียบเทียบกิจการไฟฟ้าที่มีความซับซ้อน(และมีตัวเลขเยอะแยะ)กับกิจการคิวรถแท็กซี่ซึ่งจะทำให้เข้าใจได้ง่ายและสามารถนำไปเล่าสู่กันฟังภายใต้การผูกขาดการใช้สื่อแต่เพียงผู้เดียวของภาครัฐ
2. สาระสำคัญของหนังโฆษณา
เนื้อความในโฆษณาดังกล่าวมีสาระสำคัญว่า ขณะนี้ทาง กฟผ. มีโรงไฟฟ้าที่สามารถผลิตได้เพียงประมาณ 50% ของพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดที่คนไทยทั้งประเทศใช้ ที่เหลืออีก 50% เป็นการผลิตของโรงไฟฟ้าของเอกชน ดังนั้นถ้าไม่มีการระดมทุนแล้วจะเอาทุนที่ไหนมาสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ เมื่อเศรษฐกิจโตขึ้นxxxส่วนการผลิตของ กฟผ.ก็จะลดต่ำลงเรื่อยๆ นอกจากนี้ทาง กฟผ.ยังมีหนี้สินถึง 1 แสน 4 หมื่นล้านบาท จึงจำเป็นต้องระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์
3. ความจริงที่หายไป
จากสาระดังกล่าว เราพบว่ามีความจริง 2 ประการที่หายไป
ประการแรก คือทรัพย์สินของ กฟผ. มีอยู่ถึง 4 แสนล้านบาท การมีหนี้สินถึง 1.4 แสนล้านบาทก็ต้องถือว่ายังมีความมั่นคงทางการเงินอยู่และมีกำไรทุกปี ดีกว่ารัฐวิสาหกิจอื่นๆ อีกจำนวนมาก อาจจะดีกว่าฐานะของคนไทยทั้งประเทศที่มีหนี้สาธารณะถึง 52% ของรายได้ต่อปีเสียอีก หรือว่าจะต้องนำประเทศไทยไประดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ด้วย!
ประการที่สอง เรื่องที่ทาง กฟผ.มีส่วนแบ่งการตลาดเพียงประมาณ 50% เรื่องนี้ต้องอาศัยข้อมูลประกอบการพิจารณา ขอท่านผู้อ่านโปรดอ่านอย่างช้าๆสักนิดนะครับ
3.1 นับถึงเดือนมิถุนายน 2546 ประเทศไทยมีกำลังการผลิต
ไฟฟ้ารวมกันถึง 25,647 เมกะวัตต์ แต่มีความต้องการสูงสุดของทั้งปีเพียงที่ 18,121 เมกะวัตต์ หรือมีกำลังผลิตสำรองอยู่ถึง 42% เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ ผมจะเปรียบโรงไฟฟ้าเป็นรถแท็กซี่ ส่วนจำนวนไฟฟ้าที่ผลิตได้เทียบเป็นจำนวนผู้โดยสาร และเพื่อให้เห็นxxxส่วนของการใช้งานของรถแท็กซี่ ผมขอเปรียบให้จำนวนผู้โดยสารในวันที่มีมากสูงสุดมีจำนวน 100 คน (18,121 เมกะวัตต์) ดังนั้นในวันนั้นประเทศไทยมีรถแท็กซี่อยู่ทั้งหมด 142 คัน (รถ 1 คันเทียบเท่าโรงไฟฟ้า 180 เมกะวัตต์คิดเป็นมูลค่าประมาณ 6,300 ล้านบาท)
จากตัวเลขดังกล่าวทำให้เรารู้สึกได้ว่า คิวนี้มีรถมากเกินไป เพราะมีสำรองถึง 42 คัน หากคิดย้อนกลับไปคิดเป็นกิจการโรงไฟฟ้า การมีโรงไฟฟ้าสำรองถึง 42% นั้นต้องถือว่ามีมากเกินไป (ซึ่งปกติเขามักสำรองที่ 15% ท่านนายกฯทักษิณเคยกล่าวเมื่อต้นปี 2545 ว่า ประเทศไทยมีโรงไฟฟ้าสำรองคิดเป็นมูลค่าถึง 4 แสนล้านบาท เนื่องจากการคำนวณที่ผิดพลาด ทำให้คนไทยต้องเสียค่าไฟฟ้าแพง)
3.2 ในจำนวนรถทั้งหมด 142 คัน ปรากฏว่าเป็นของ กฟผ. 84 คันหรือคิดเป็น 59% ของจำนวนรถทั้งหมดของคิว ที่เหลือ 41%(หรือ 58 คัน) เป็นของบริษัทเอกชน
3.3 ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2546 พบว่ารถของ กฟผ. ได้รับผู้โดยสารรวมเพียง 52% (แต่มีรถอยู่ 59%) ในขณะที่รถของเอกชนได้รับผู้โดยสาร 48%(แต่มีรถอยู่ 41%)
จากข้อมูลนี้ทำให้เราได้เห็นภาพชัดเจนขึ้นว่า นายคิว นี้ไม่มีความเป็นธรรมอย่างยิ่ง คำถามก็คือว่า ใครคือนายคิว จึงได้ปล่อยให้รถของ กฟผ. หรือของคนไทยทุกคนต้องว่างงานเป็นจำนวนมาก
4. ใครคือนายคิว?
คำตอบคือ กฟผ. เองนั่นแหละที่เป็นนายคิว เพราะ กฟผ. เป็นผู้ควบคุมระบบส่งไฟฟ้าหรือควบคุมถนน แต่ผู้ที่อยู่เบื้องหลังเกณฑ์การจัดคิวแบบนี้คือใคร
คำตอบคือรัฐบาลไทยนั่นเอง เพราะนโยบายมาจากรัฐบาล โดยรัฐบาลไทยได้เซ็นสัญญาที่เรียกว่า ไม่ใช้ก็ต้องจ่าย กล่าวคือเป็นสัญญาที่ได้ประกันความเสี่ยงให้กับบริษัทเอกชนที่ว่า เมื่อบริษัทสามารถผลิตไฟฟ้าได้แล้ว ทาง กฟผ. ต้องรับซื้อไฟฟ้าจากบริษัทอย่างน้อย 85% ของจำนวนที่บริษัทผลิตได้เพื่อนำไปขายต่อให้กับประชาชน
โปรดอย่าลืมว่า ในระบบทั้งหมดเรามีรถอยู่ 142 คันแต่มีผู้โดยสารไม่เกิน 100 ราย ด้วยสัญญาแบบนี้ กฟผ. จึงจำเป็นต้องปล่อยรถของตนเองออกให้น้อยลง เพราะถึงปล่อยรถของตนเองออกมา ก็ต้องจ่ายเงินให้รถของเอกชนอยู่ดี ตามสัญญา ไม่ซื้อก็ต้องจ่าย
5. กฟผ. เสียรายได้ปีละ 17,500 ล้านบาท
ในปี 2546 ทั้งปี คนไทยใช้ไฟฟ้าประมาณ 1 แสน 1 หมื่นล้านหน่วยคิดเป็นมูลค่าประมาณ 275,000 ล้านบาท ดังนั้นปริมาณไฟฟ้า 1% มีค่าเท่ากับ 2,750 ล้านบาท
จากหัวข้อ 3.3 ที่รถของ กฟผ. มีอยู่ถึง 59% แต่ได้รับผู้โดยสารเพียง 52% คือหายไปถึง 7% (เพราะไปเพิ่มให้รถของเอกชน) ดังนั้นด้วยการจัดคิวที่ไม่เป็นธรรมนี้ได้ทำให้ กฟผ. ขาดรายได้ไปถึงปีละ 17,500 ล้านบาท
เงินรายได้ที่หายไปจาก กฟผ.จำนวน 19,250 ล้านบาทนี้ เป็นค่าเชื้อเพลิงประมาณ 11,900 ล้านบาท(หรือประมาณ 68%ของรายได้) ดังนั้นรายได้ที่เหลืออีกประมาณ 6,000 ล้านบาทจึงถือได้ว่าเอากำไรล้วนๆ ของ กฟผ.ไปให้กับบริษัทเอกชนนั่นเอง เพราะว่าต้นทุนค่าสายส่งและค่าบริหารไม่จำเป็นต้องจ่ายเพิ่มอีกแล้ว
เงินก้อนนี้ตกปีละ 6,000 ล้านบาทนี้เป็นเงินที่ผู้ใช้ไฟฟ้าเป็นผู้จ่าย ได้หายไปจาก กฟผ. ซึ่งเป็นสมบัติของคนไทยทุกคน แต่กลับไหลไปสู่กระเป๋าของบริษัทเอกชนเพราะนโยบายการจัดคิวที่ผิดพลาดของรัฐบาลไทย
ที่กล่าวมาแล้วเป็นข้อมูลปี 2546 แต่ที่ทางราชการไทยได้วางแผนไว้สำหรับปี 2547 กลับสาหัสมากกว่านี้คือ รถของ กฟผ. จะได้รับผู้โดยสารเพียง 48% (ทั้งๆที่มีโรงไฟฟ้าหรือรถเพิ่มขึ้นอีก 2 คันที่จังหวัดกระบี่ รวมรถของ กฟผ.มี 60%) รถของบริษัทเอกชนจะได้รับผู้โดยสาร 52%
ความอยุติธรรมนี้จะเพิ่มขึ้นจาก 7% ในปี 2546 เป็น 12% ในปี 2547 เฉพาะส่วนที่ไม่เป็นธรรมนี้คิดเป็นกำไรล้วนๆ ถึงหนึ่งหมื่นล้านบาทต่อปี
5. สรุป
ที่ได้กล่าวมาแล้ว ผมได้ชี้ให้เห็นว่าในหนังโฆษณาชุดนี้รัฐบาลทักษิณได้หลอกลวงคนไทยไว้ 3 ประเด็น คือ
(1) บอกแต่จำนวนหนี้สินแต่ไม่บอกจำนวนทรัพย์สินที่มีมากกว่า
(2) จำนวนโรงไฟฟ้าล้นเกินถึง 42% แทนที่จะเป็น 15% และ
(3) ปิดบังความจริงเรื่องการจัดคิวที่ไม่เป็นธรรมซึ่งกำหนดโดยรัฐบาลเอง ส่งผลให้รัฐบาลสูญเสียรายได้และเอกชนได้ประโยชน์ถึงปีละ 6,000 ล้านบาท
ผมคิดว่าสิ่งที่คนไทยต้องตั้งคำถามอีก 4 ข้อ คือ
(1) ยังมีสิ่งที่หลอกลวงที่บทความนี้ยังไม่ได้กล่าวถึงอีกไหม
(2) นี่เป็นการหลอกลวงครั้งสุดท้ายของรัฐบาลหรือไม่
(3) เงินค่าโฆษณาทางโทรทัศน์มาจากไหน ใครเป็นเจ้าของสถานีโทรทัศน์ซึ่งรับเงินค่าโฆษณาแล้วนำความเท็จมาให้ประชาชน
และ (4) แล้วเราจะเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าภายใต้การปิดกั้นข่าวสารได้อย่างไร
- sirivajj
- Verified User
- โพสต์: 985
- ผู้ติดตาม: 0
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์ที่ 50
ผมอ่านที่ ผู้ผลิตไฟ เขียนแล้วก็สะท้อนใจ
ฝ่ายคัดค้านการแปรรูป ก็ว่าฝ่ายรัฐบิดเบือนปิดกั้นข่าวสาร
โดยที่จริงทั้งสองฝ่ายก็ทำอย่างเดียวกัน คือ เปิดเผยแต่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ฝ่ายตัวเอง และมองในมุมของตัวเอง โดยมี Hidden Agenda กันไว้
เพียงแต่เป้าประสงค์ของใครที่จะมีประโยชน์แก่ประชาชนมากกว่าเท่านั้นแหละครับ
อย่างที่ผมกล่าวไว้ส่วนหนึ่งนะครับ ว่า มันเป็นเรื่องของมุมมอง
ดังตัวอย่าง
"ในการแปรรูปกฟผ. เป็นบริษัท มหาชน คนที่ได้รับประโยชน์สูงสุดน่าจะเป็น
นักลงทุนที่อยู่ใน ตลท. ใช่ไหมครับ ในสัดส่วนต่อประชาชนทั้งประเทศแล้ว
น่าจะไม่เกิน 2 % ของประชาชน 60 ล้านคนในส่วนของกฟผ. เป็นรัฐวิสาหกิจ
ขั้นพืื้้นฐานในการพัฒนาประเทศ ซึ่งมีผลกระทบต่อประชาชนโดยส่วนรวม
เมื่อเราได้นำ สิ่งที่เป็นของคนไทยทั้งประเทศมากระจายหุ้น ( ขาย ) ให้กับ
คนเพียง 2 % เท่านั้้น ท่่านคิดว่าสิ่งนี้ถูกต้องหรือไม่ "
อันนี้ ผมมองว่า เป็นสิ่งที่ทำให้ประชาชนคนไทยทุกคนมีสิทธิในการเป็นเจ้าของ กฟผ. โดยทางตรงมากขึ้น เพราะสามารถลงทุนผ่าน ตลท. ได้ (ไม่ได้จำกัดนักลงทุนไว้ที่ 2% เพราะทุกคนก็สามารถลงทุนได้) สามารถติดตามผลประโยชน์จากประสิทธิภาพการบริหารดำเนินการของบริษัทฯ ที่ตัวเองลงทุนได้ ไม่ใช่ปล่อยปละให้เกิดการบริหารและการทำงานที่ขาดประสิทธิภาพในกลุ่มพนักงานบางกลุ่ม เรียกว่า เป็นการเอาประโยชน์เอาเปรียบประชาชนผู้จ่ายค่าไฟ ไปให้กับการทำงานที่ขาดประสิทธิภาพนะครับ
"ทรัพย์สินของ กฟผ. มีอยู่ถึง 4 แสนล้านบาท การมีหนี้สินถึง 1.4 แสนล้านบาทก็ต้องถือว่ายังมีความมั่นคงทางการเงินอยู่และมีกำไรทุกปี ดีกว่ารัฐวิสาหกิจอื่นๆ อีกจำนวนมาก อาจจะดีกว่าฐานะของคนไทยทั้งประเทศที่มีหนี้สาธารณะถึง 52% ของรายได้ต่อปีเสียอีก หรือว่าจะต้องนำประเทศไทยไประดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ด้วย! "
ผมมองว่า กฟผ.เองก็สามารถระดมเงินทุนมาใช้ในการลงทุนขยายกิจการเพิ่ม ประเทศชาติและประชาชนน่าจะได้ประโยชน์จากการที่รัฐ ไม่ต้องไปค้ำประกันหนี้สินให้ กฟผ. โดยไปค้ำประกันให้กับรัฐวิสาหกิจหรือภาครัฐฯ อื่นๆ ครับ ความเห็นแบบนี้คือ ผมไม่ได้ให้ความสำคัญไว้ที่ กฟผ. แต่ให้ความสำคัญที่ผลประโยชน์ที่น่าจะเกิดทั้งระบบและประชาชนครับ
อันนี้ เป็นความคิด ความเชื่อส่วนตัวล้วนๆ
ประเด็นอื่นที่คุณยกขึ้นมา ผมไม่ได้แสดงความเห็นครับ
ฝ่ายคัดค้านการแปรรูป ก็ว่าฝ่ายรัฐบิดเบือนปิดกั้นข่าวสาร
โดยที่จริงทั้งสองฝ่ายก็ทำอย่างเดียวกัน คือ เปิดเผยแต่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ฝ่ายตัวเอง และมองในมุมของตัวเอง โดยมี Hidden Agenda กันไว้
เพียงแต่เป้าประสงค์ของใครที่จะมีประโยชน์แก่ประชาชนมากกว่าเท่านั้นแหละครับ
อย่างที่ผมกล่าวไว้ส่วนหนึ่งนะครับ ว่า มันเป็นเรื่องของมุมมอง
ดังตัวอย่าง
"ในการแปรรูปกฟผ. เป็นบริษัท มหาชน คนที่ได้รับประโยชน์สูงสุดน่าจะเป็น
นักลงทุนที่อยู่ใน ตลท. ใช่ไหมครับ ในสัดส่วนต่อประชาชนทั้งประเทศแล้ว
น่าจะไม่เกิน 2 % ของประชาชน 60 ล้านคนในส่วนของกฟผ. เป็นรัฐวิสาหกิจ
ขั้นพืื้้นฐานในการพัฒนาประเทศ ซึ่งมีผลกระทบต่อประชาชนโดยส่วนรวม
เมื่อเราได้นำ สิ่งที่เป็นของคนไทยทั้งประเทศมากระจายหุ้น ( ขาย ) ให้กับ
คนเพียง 2 % เท่านั้้น ท่่านคิดว่าสิ่งนี้ถูกต้องหรือไม่ "
อันนี้ ผมมองว่า เป็นสิ่งที่ทำให้ประชาชนคนไทยทุกคนมีสิทธิในการเป็นเจ้าของ กฟผ. โดยทางตรงมากขึ้น เพราะสามารถลงทุนผ่าน ตลท. ได้ (ไม่ได้จำกัดนักลงทุนไว้ที่ 2% เพราะทุกคนก็สามารถลงทุนได้) สามารถติดตามผลประโยชน์จากประสิทธิภาพการบริหารดำเนินการของบริษัทฯ ที่ตัวเองลงทุนได้ ไม่ใช่ปล่อยปละให้เกิดการบริหารและการทำงานที่ขาดประสิทธิภาพในกลุ่มพนักงานบางกลุ่ม เรียกว่า เป็นการเอาประโยชน์เอาเปรียบประชาชนผู้จ่ายค่าไฟ ไปให้กับการทำงานที่ขาดประสิทธิภาพนะครับ
"ทรัพย์สินของ กฟผ. มีอยู่ถึง 4 แสนล้านบาท การมีหนี้สินถึง 1.4 แสนล้านบาทก็ต้องถือว่ายังมีความมั่นคงทางการเงินอยู่และมีกำไรทุกปี ดีกว่ารัฐวิสาหกิจอื่นๆ อีกจำนวนมาก อาจจะดีกว่าฐานะของคนไทยทั้งประเทศที่มีหนี้สาธารณะถึง 52% ของรายได้ต่อปีเสียอีก หรือว่าจะต้องนำประเทศไทยไประดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ด้วย! "
ผมมองว่า กฟผ.เองก็สามารถระดมเงินทุนมาใช้ในการลงทุนขยายกิจการเพิ่ม ประเทศชาติและประชาชนน่าจะได้ประโยชน์จากการที่รัฐ ไม่ต้องไปค้ำประกันหนี้สินให้ กฟผ. โดยไปค้ำประกันให้กับรัฐวิสาหกิจหรือภาครัฐฯ อื่นๆ ครับ ความเห็นแบบนี้คือ ผมไม่ได้ให้ความสำคัญไว้ที่ กฟผ. แต่ให้ความสำคัญที่ผลประโยชน์ที่น่าจะเกิดทั้งระบบและประชาชนครับ
อันนี้ เป็นความคิด ความเชื่อส่วนตัวล้วนๆ
ประเด็นอื่นที่คุณยกขึ้นมา ผมไม่ได้แสดงความเห็นครับ
What do you mean.?
- ayethebing
- Verified User
- โพสต์: 2125
- ผู้ติดตาม: 0
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์ที่ 51
ประทานโทษครับ หนี้สินสาธารณะ 52 % ที่ว่านะ มันรวมไอ้เจ้า 1.4 แสนล้านบาทที่คุณผู้ผลิตไฟบอกด้วยครับ
ถามว่าถ้ากฟผ. จะต้องปรับปรุงโรงไฟฟ้าที่เก่าๆ ที่มีในมือให้เพียงพอโดยไม่ต้องสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่ม เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สิน (ทีคุณผลิตไฟบอกว่าดีเสียเหลือเกิน) ต้องใช้เงินลงทุนอีกเท่าไหร่ และในสภาพการณ์ปัจจุบันของการเป็นรัฐวิสาหกิจ จะเอาเงินนั้นมาจากไหน ถ้าไม่ใช่การกู้ กู้แล้วหนี้ที่ว่าทำให้หนี้สาธารณะที่ว่าเพิ่มมากอีกเท่าไหร่
ผมว่าผมทำใจรับ logic ที่ว่าฐานะทางหนี้สินของกฟผ ดีกว่าคนไทยทั้งชาติและดีกว่าหนี้สินสาธารณะไม่ได้ครับ
ถามว่าถ้ากฟผ. จะต้องปรับปรุงโรงไฟฟ้าที่เก่าๆ ที่มีในมือให้เพียงพอโดยไม่ต้องสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่ม เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สิน (ทีคุณผลิตไฟบอกว่าดีเสียเหลือเกิน) ต้องใช้เงินลงทุนอีกเท่าไหร่ และในสภาพการณ์ปัจจุบันของการเป็นรัฐวิสาหกิจ จะเอาเงินนั้นมาจากไหน ถ้าไม่ใช่การกู้ กู้แล้วหนี้ที่ว่าทำให้หนี้สาธารณะที่ว่าเพิ่มมากอีกเท่าไหร่
ผมว่าผมทำใจรับ logic ที่ว่าฐานะทางหนี้สินของกฟผ ดีกว่าคนไทยทั้งชาติและดีกว่าหนี้สินสาธารณะไม่ได้ครับ
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
-
- ผู้ติดตาม: 0
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์ที่ 52
สงสัยจัง
หนี้สินก็เยอะ
ทำไม
คนการไฟฟ้า
ได้ใช้ไฟฟรี
ได้สวัสดิการมาก
เมื่อมีปัญหาที
ก็ไม่พอใจ
ออกมาเคลื่อนไหวประท้วง
ร่อนEMAILบ้าง POSTกระทู้ตามที่ต่างๆบ้าง
ทำไม
ทำไม
หนี้สินก็เยอะ
ทำไม
คนการไฟฟ้า
ได้ใช้ไฟฟรี
ได้สวัสดิการมาก
เมื่อมีปัญหาที
ก็ไม่พอใจ
ออกมาเคลื่อนไหวประท้วง
ร่อนEMAILบ้าง POSTกระทู้ตามที่ต่างๆบ้าง
ทำไม
ทำไม
-
- ผู้ติดตาม: 0
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์ที่ 53
อ่านแล้วสงสัยครับ ไม่แน่ใจในเจตนาคนเขียนบทความ
1. ทำไมเปรียบเทียหนี้ กฟผ กับทรัพย์สิน แต่เปรียบเทียบหนี้สาธารณะกับรายได้ต่อปี ทำไมไม่เปรียบกับทรัพย์สินทั้งประเทศ
2. ตกลงว่ารัฐบาลไหนครับที่ออกกฎหมายที่ทำให้ กฟผ เสียเปรียบ และเอกชนได้เปรียบ แล้วทำไม กฟผ. ไม่บอกรัฐบาลไปล่ะว่าเอกชนไม่ต้อง กฟผ. จะลงทุนเองมีเงินเหลือลงทุนตั้งมากมาย ผลิตไฟฟ้าได้ถูกกว่าเอกชนด้วย ไม่เห็นยกประเด็นนี้มาประท้วงเลย กฟผ. เองก็ไม่ได้ขายไฟในราคาต้นทุนที่ซื้อมาให้กับประชาชน แต่บวกกำไร (ถึงแท็กซี่เก่าตัวเองจะจอดอยู่ก็ยังเช่าแท็กซี่คนอื่นที่คิดว่าประหยัดน้ำมันกว่ามาคิดค่าโดยสารเต็มราคาอยู่ดี)
3. ปัญหาไฟฟ้าล้นตลาดในอดีตมาถึงปัจจุบันใช้เป็นผลมาจากเศรษฐกิจฟองสบู่แตกหรือไม่ และอนาคตจะเป็นอย่างไร โรงไฟฟ้าที่มีอยู่จะใช้พอจนถึงปีไหน และไม่ต้องมีโรงไฟฟ้าเพิ่มก็พอใช้ใช่หรือไม่
4. คงไม่มีการกระจายหุ้นใดที่จะถึงมือประชาชนทุกคน แต่การไม่กระจายหุ้นเลยก็คงไม่ถึงมือใครสักคนนอกจากผลประโยชน์กำไรที่แบ่งกันเองในองค์กร จนไม่มีเงินเหลือเก็บไว้ลงทุนแข่งขันกับเอกชน ปัจจุบันมีประชาชนคนไหนชื่นชอบและเชื่อว่า กฟผ. ประท้วงเพื่อประชาชน จนอยากจะออกมาประท้วงร่วมด้วย
ผมจึงเห็นว่า กฟผ. ควรแปรรูป เพื่อเป็นชนวนกระตุ้นให้เกิดการปฏิรูปองค์กร ให้ดำเนินกิจการมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะจะถูกตรวจสอบโดยผู้ถือหุ้น รัฐบาล และสื่อมวลชนมากขึ้น ปัญหาอยู่ที่การกระจายหุ้นว่าจะทำอย่างไรให้ลงตัว ไม่ให้หุ้นจำนวนมากตกไปอยู่ในกลุ่มผู้มีอำนาจและหวังผลประโยชน์
1. ทำไมเปรียบเทียหนี้ กฟผ กับทรัพย์สิน แต่เปรียบเทียบหนี้สาธารณะกับรายได้ต่อปี ทำไมไม่เปรียบกับทรัพย์สินทั้งประเทศ
2. ตกลงว่ารัฐบาลไหนครับที่ออกกฎหมายที่ทำให้ กฟผ เสียเปรียบ และเอกชนได้เปรียบ แล้วทำไม กฟผ. ไม่บอกรัฐบาลไปล่ะว่าเอกชนไม่ต้อง กฟผ. จะลงทุนเองมีเงินเหลือลงทุนตั้งมากมาย ผลิตไฟฟ้าได้ถูกกว่าเอกชนด้วย ไม่เห็นยกประเด็นนี้มาประท้วงเลย กฟผ. เองก็ไม่ได้ขายไฟในราคาต้นทุนที่ซื้อมาให้กับประชาชน แต่บวกกำไร (ถึงแท็กซี่เก่าตัวเองจะจอดอยู่ก็ยังเช่าแท็กซี่คนอื่นที่คิดว่าประหยัดน้ำมันกว่ามาคิดค่าโดยสารเต็มราคาอยู่ดี)
3. ปัญหาไฟฟ้าล้นตลาดในอดีตมาถึงปัจจุบันใช้เป็นผลมาจากเศรษฐกิจฟองสบู่แตกหรือไม่ และอนาคตจะเป็นอย่างไร โรงไฟฟ้าที่มีอยู่จะใช้พอจนถึงปีไหน และไม่ต้องมีโรงไฟฟ้าเพิ่มก็พอใช้ใช่หรือไม่
4. คงไม่มีการกระจายหุ้นใดที่จะถึงมือประชาชนทุกคน แต่การไม่กระจายหุ้นเลยก็คงไม่ถึงมือใครสักคนนอกจากผลประโยชน์กำไรที่แบ่งกันเองในองค์กร จนไม่มีเงินเหลือเก็บไว้ลงทุนแข่งขันกับเอกชน ปัจจุบันมีประชาชนคนไหนชื่นชอบและเชื่อว่า กฟผ. ประท้วงเพื่อประชาชน จนอยากจะออกมาประท้วงร่วมด้วย
ผมจึงเห็นว่า กฟผ. ควรแปรรูป เพื่อเป็นชนวนกระตุ้นให้เกิดการปฏิรูปองค์กร ให้ดำเนินกิจการมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะจะถูกตรวจสอบโดยผู้ถือหุ้น รัฐบาล และสื่อมวลชนมากขึ้น ปัญหาอยู่ที่การกระจายหุ้นว่าจะทำอย่างไรให้ลงตัว ไม่ให้หุ้นจำนวนมากตกไปอยู่ในกลุ่มผู้มีอำนาจและหวังผลประโยชน์
-
- Verified User
- โพสต์: 62
- ผู้ติดตาม: 0
คิดยังไงกับเรื่องกระจายหุ้น ไฟฟ้า-ประปา เข้าตลาดฯ บ้างครับ
โพสต์ที่ 54
เรื่องนี้มองได้ 2 ด้านครับ
ด้านดี -->มันเป็นการระดมทุนเพื่อนำไปลดหนี้สาธารณะ ทำให้ไม่เป็นภาระต่อรัฐบาล นอกจากนี้ยังเป็นการกระตุ้นให้ กฟผ ทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพราะมีกระจกสะท้อนคือ ราคาหุ้น (ดูอย่างการบินไทยเป็นตัวอย่าง)
ด้านเสีย-->ไฟฟ้ายังผูกขาดโดยเจ้าเดียวหลังจากIPO ดังนั้นอาจทำงานเหมือนเดิมโดยไม่รับรู้ Pressure จากผู้ถือหุ้น และ ค่าไฟอาจขึ้นเพื่อเพิ่มกำไร
ผมเห็นด้วยกับนาย toon ที่จะให้มีระบบ power pool เพื่อที่ผมสานารถจะซื้อไฟจากใครก็ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ข้อเสียของการกระจายหุ้นเข้าตลาดก็จะหมดไป
ด้านดี -->มันเป็นการระดมทุนเพื่อนำไปลดหนี้สาธารณะ ทำให้ไม่เป็นภาระต่อรัฐบาล นอกจากนี้ยังเป็นการกระตุ้นให้ กฟผ ทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพราะมีกระจกสะท้อนคือ ราคาหุ้น (ดูอย่างการบินไทยเป็นตัวอย่าง)
ด้านเสีย-->ไฟฟ้ายังผูกขาดโดยเจ้าเดียวหลังจากIPO ดังนั้นอาจทำงานเหมือนเดิมโดยไม่รับรู้ Pressure จากผู้ถือหุ้น และ ค่าไฟอาจขึ้นเพื่อเพิ่มกำไร
ผมเห็นด้วยกับนาย toon ที่จะให้มีระบบ power pool เพื่อที่ผมสานารถจะซื้อไฟจากใครก็ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ข้อเสียของการกระจายหุ้นเข้าตลาดก็จะหมดไป