ปตท. : ประเด็นการถูกฟ้องร้อง
- vichit
- Verified User
- โพสต์: 15833
- ผู้ติดตาม: 0
ปตท. : ประเด็นการถูกฟ้องร้อง
โพสต์ที่ 1
ปตท. : ประเด็นการถูกฟ้องร้อง
จากกรณีที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและพวกรวม 5 คน (ผู้ฟ้องคดี) ได้ยื่นฟ้องนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (ผู้ถูกฟ้องคดี) ต่อศาลปกครองสูงสุด ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนพระราชกฤษฎีกาสองฉบับที่ตราขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 (พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจฯ) ในกระบวนการแปลงสภาพจากการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เป็นบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) (ปตท.)
ประกอบด้วยพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ศ.2544 และพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2544 โดยศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งลงวันที่ 4 กันยายน 2549 รับคำฟ้องดังกล่าวไว้พิจารณา
สำหรับประเด็นสำคัญของการฟ้องร้อง มีดังนี้คือ
๐กระบวนการตราพระราชกฤษฎีกาไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน และเนื้อหาขัดต่อบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจฯ และไม่เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 (รัฐธรรมนูญ)
๐การตราพระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับ มีผลทำให้มีการโอนที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไปให้ ปตท. ที่มีฐานะเป็นเอกชน ทำให้ ปตท. ได้รับเอกสิทธิ์เหนือเอกชนทั่วไป
๐ การที่ ปตท. ได้รับโอนอำนาจมหาชนของรัฐ ได้แก่ อำนาจเวนคืนที่ดิน อำนาจประกาศเขตและรอนสิทธิเหนือพื้นดินของเอกชน ไม่สอดคล้องกับหลักการตามรัฐธรรมนูญ
๐ การตราพระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับ เป็นการใช้ดุลยพินิจไม่ถูกต้อง ทำให้ประชาชนได้รับความเสียหาย และไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
๐ การตราพระราชกฤษฎีกาไม่คํานึงถึงประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและประชาชน ในขณะที่เป็นการเอื้อประโยชน์ต่อเอกชนและนายทุนในตลาดหลักทรัพย?ซึ่งรวมถึงนายทุนต่างชาติด้วยอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งยังไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงที่จะทําให้ต้นทุนการผลิตพลังงานเชื้อเพลิงต่างๆ ราคาถูกลงแต่อย่างใด
๐ วิธีการกระจายหุ้นของ ปตท. ไม่ได้สร้างโอกาสให้กับประชาชนโดยทั่วไปเพื่อเข้าถึงการซื้อหุ้นได้อย่างเท่าเทียมกัน และปรากฏว่าหุ้นกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มคนบางกลุ่มเท่านั้น
สรุปการชี้แจงบางส่วนของ ปตท.
-ทุกขั้นตอนการแปรรูป ปตท. ถูกต้องตามกฎหมาย ศาลเคยวินิจฉัยไม่ขัดรัฐธรรมนูญ และมีอำนาจ สิทธิตามกฎหมาย
ปตท. มั่นใจว่าการแปรรูป ปตท. มีความโปร่งใส และดำเนินการถูกต้องทุกขั้นตอนของ พ.ร.บ. ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 โดย ปตท. ได้รับโอนอำนาจ สิทธิ และประโยชน์พิเศษที่มีอยู่ตามกฎหมายเดิม มายังบริษัทใหม่เท่าที่จำเป็นต่อการดำเนินงานที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมตาม พ.ร.บ.ทุนฯ และสิทธิส่วนนี้จะหมดไปเมื่อ ปตท. มิได้มีสภาพเป็นรัฐวิสาหกิจ (รัฐถือหุ้นน้อยกว่า 50%)
ในเรื่องการวางระบบขนส่งปิโตรเลียมทางท่อนั้น ศาลปกครองสูงสุดได้เคยมีคำพิพากษาว่า ปตท. สามารถวางระบบขนส่งปิโตรเลียมทางท่อได้ นอกจากนี้ ศาลรัฐธรรมนูญได้เคยวินิจฉัยว่าการยุบเลิกรัฐวิสาหกิจ ปตท. ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ อีกทั้งการแปรรูป ปตท. ก็ไม่ได้มีผลประโยชน์ทับซ้อนแต่อย่างใด โดยคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจทุกชุด มีคุณสมบัติถูกต้องตามกฎหมาย และกรณีการถือหุ้นของคุณมนู เลียวไพโรจน์ และคุณวิเศษ จูภิบาล ได้รับยกเว้นตาม พ.ร.บ.ทุนฯ มาตรา 12 และมาตรา 18
-กระจายหุ้น IPO โปร่งใส ราคาเหมาะสม มีเม็ดเงินใหม่เพื่อปรับโครงสร้างหนี้และขยายการลงทุน
การระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ของ ปตท. ไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มใด เนื่องจากมีการกระจายหุ้นตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ ในราคา IPO ที่ 35 บาทต่อหุ้น ซึ่งการกระจายหุ้น IPO ในครั้งนั้น ได้มีการตรวจสอบโดย ก.ล.ต. ในปี 2545 และราคาหุ้น ปตท. ก็อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและในช่วงนั้น (SET Index 305 จุด) ซึ่งราคาหุ้น ปตท. ก็ขึ้นลงในระดับใกล้เคียงกับราคาจองซื้ออยู่ถึงเกือบปี และบางช่วงก็มีราคาต่ำสุดถึง 29 บาท
ทั้งนี้ด้วยเงินที่ได้จากการระดมทุน บวกกับความคล่องตัวในการบริหารจัดการหลังแปรรูป ทำให้ปตท. สามารถเร่งปรับโครงสร้างหนี้ และปรับโครงสร้างธุรกิจ ประกอบกับการขยายและต่อยอดธุรกิจให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว จึงทำให้ราคาหุ้น ปตท. ปรับสูงขึ้นเป็นลำดับ
-อำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของ ปตท. เป็นของรัฐและคนไทยตลอดไป เพราะปตท. ยังมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ
หลังการแปรรูป ปตท. ยังคงสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจมาตลอด ตามมติ ครม.เมื่อปลายปี 2544 ที่กำหนดให้ภาครัฐถือหุ้นใน ปตท. มากกว่า 51% และปัจจุบัน รัฐก็ยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ทั้งทางตรงและทางอ้อมรวม 68% นอกจากนี้เมื่อรวมกับสถาบันการเงิน กองทุนไทย เช่นกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ สำนักงานประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทต่างๆ และผู้ถือหุ้นรายย่อยไทย อีกประมาณกว่า 12% แล้ว รัฐและคนไทย มีสัดส่วนการถือหุ้น ปตท. รวมกันกว่า 80% จึงเห็นว่า สิทธิและผลประโยชน์ต่างๆ ของปตท. ยังคงเป็นของชาติและประชาชนไทย
-ทุนที่รัฐถือครองอยู่มีมูลค่าเพิ่มจาก 2 หมื่นล้านบาท เป็น 5 แสนล้านบาท หลังแปรรูป ปตท. ส่งเงินเข้ารัฐรวมกว่า 1.4 แสนล้านบาท
การแปรรูป ปตท. ไม่ใช่การขายสมบัติชาติ แต่เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสมบัติของชาติ สร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศ และช่วยให้สามารถพึ่งพาตัวเองได้โดยไม่เป็นภาระของรัฐ วันนี้ทุนที่รัฐถือครอง 68% มีมูลค่าประมาณ 500,000 ล้านบาท มากกว่าทุนที่รัฐถือครอง 100% ก่อนการแปรรูป ซึ่งมีมูลค่าเพียง 20,000 ล้านบาท เท่านั้น นอกจากนี้ กลุ่ม ปตท. สามารถนำเงินส่งรัฐในรูปภาษีและเงินปันผลตั้งแต่ปี 2545-ปัจจุบัน รวมกว่า 140,000 ล้านบาท และกำไรส่วนที่เหลือได้นำไปใช้เพื่อลงทุนขยายกิจการรองรับความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้น สร้างความมั่นคงและช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
ธุรกิจ ปตท. ไม่ได้ผูกขาด ธุรกิจท่อส่งก๊าซ เอกชนลงทุนได้
ธุรกิจก๊าซของ ปตท. ไม่มีการผูกขาด บริษัทที่ได้รับสัมปทานในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมสามารถจำหน่ายก๊าซโดยตรงและวางท่อส่งก๊าซได้ภายใต้ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม และที่สำคัญ ปตท.ไม่ได้เป็นผู้กำหนดโครงสร้างราคาขายก๊าซให้ กฟผ. หรืออัตราค่าผ่านท่อ โดยทั้งหมดอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมาตลอดทั้งก่อนและหลังแปรรูป
-ยืนยันการไม่แยกท่อฯ ไม่มีใครเสียประโยชน์ รัฐกำกับค่าผ่านท่อฯ 4 ปี ราคายังคงเดิม
ปตท.จะเดินหน้าแยกกิจการท่อก๊าซ ซึ่งปัจจุบันมีการแบ่งแยกทรัพย์สินและผลการดำเนินงานทางบัญชีอยู่แล้ว โดยจะนำเสนอขออนุมัติจากคณะกรรมการ ปตท. และผู้ถือหุ้นต่อไป
-ปตท.ไม่มีกำไรจากราคาเนื้อก๊าซโดยตรง รายได้เป็นของผู้ผลิตที่ได้รับสัมปทาน และรัฐกำกับดูแลเช่นกัน
สำหรับราคาเนื้อก๊าซ รัฐก็เป็นผู้กำกับดูแลราคาด้วยเช่นกัน และเป็นรายได้ของกลุ่มผู้สำรวจและผลิตที่ได้รับสัมปทานทั้งหมด ปตท.ไม่ได้รับประโยชน์โดยตรง และในช่วงที่ผ่านมา ปตท.ได้เจรจาลดราคาก๊าซกับกลุ่มผู้ขายได้กว่า 14,000 ล้านบาท และในอนาคตจะทยอยปรับลดอีก โดยหลังแปรรูปราคาก๊าซเพิ่มขึ้นเพียง 27% ขณะที่ราคาน้ำมันดิบตลาดโลกเพิ่มขึ้นถึง 143% และราคาก๊าซของไทยก็ยังถูกกว่าอีกหลายประเทศ
-แปรรูปทำให้ฐานะการเงิน ปตท. เข้มแข็ง รับภาระแทนผู้บริโภค
จากฐานะการเงินที่เข้มแข็งหลังการแปรรูป ทำให้ ปตท. เพิ่มขีดความสามารถในการดูแลบริหารกิจการพลังงานในฐานะบริษัทพลังงานแห่งชาติได้มากกว่าก่อนการแปรรูป เช่น รักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันและก๊าซหุงต้ม และการสนับสนุนนโยบายพลังงานของรัฐในการลดราคาก๊าซ เพื่อพยุงค่า Ft ในช่วงวิกฤติพลังงาน สำหรับราคาน้ำมันที่สูงขึ้นนั้น เป็นการปรับขึ้นตามราคาตลาดโลก แต่ขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่า นอกจากนี้ราคาก๊าซหุงต้มของไทยก็เพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าตลาดโลกเช่นกัน โดยสรุปแล้ว ปตท. รับภาระแทนผู้บริโภคในส่วนของราคาน้ำมัน ก๊าซหุงต้ม และช่วยพยุงค่าไฟฟ้า
-ดำเนินงานภายใต้หลักธรรมาภิบาลเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศและประชาชน
ปตท. มีการบริหารจัดการตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชน กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี นอกจากนี้ คณะกรรมการ ปตท. ยังเป็นคณะกรรมการที่ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิในทุกสาขา สามารถกำหนดทิศทางและนโยบายให้ ปตท.เจริญก้าวหน้าเป็นลำดับ
ความเห็นศาลปกครองก่อนหน้านี้ต่อแนวทางการพิจารณาคดี
เมื่อปลายเดือนมกราคม 2550 ตุลาการศาลปกครองสูงสุด คาดจะวินิจฉัยคดีแปรรูป บมจ.ปตท. ได้ภายในช่วง 6 เดือนนี้ (ภายในกรกฎาคม) โดยการวินิจฉัยคดีดังกล่าวไม่มีแนวทางพิเศษที่แตกต่างไปจากคดีอื่น นายจรัญ หัตถกรรม ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด กล่าวว่า คำตัดสินของศาลปกครองครั้งนี้ จะถือเป็นที่สิ้นสุด เนื่องจากเป็นคำตัดสินของศาลปกครองสูงสุด
โดยแนวทางพิจารณาคดี ปตท.จะใช้แนวทางเดียวกับการพิจารณาคดีแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เนื่องจากประเด็นที่ยื่นฟ้อง มีลักษณะเดียวกัน แต่ไม่ใช่ว่าคำตัดสินจะต้องออกมาเหมือนกัน ขึ้นอยู่กับพยานหลักฐาน โดยหลักสำคัญสูงสุดของการตัดสิน ขึ้นอยู่กับว่าการแปรรูป ปตท.ขัดต่อกฎหมายตามที่ผู้ร้องยื่นฟ้องมาหรือไม่
ประเด็นการแยกอำนาจรัฐของปตท.ออกมาให้กับภาครัฐ
เมื่อ 6 พฤศจิกายน 2549 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) อนุมัติหลักการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.ฎ.กำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของ ปตท. โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 26 แห่ง พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 ให้ตั้งคณะกรรมการกำกับกิจการก๊าซธรรมชาติ เพื่อรับโอนอำนาจรัฐที่อยู่กับ ปตท.มาไว้ที่องค์กรนี้ ก่อนที่จะมีกฎหมายการประกอบกิจการพลังงาน ออกมาในอนาคต อำนาจดังกล่าว ประกอบด้วยอำนาจการประกาศเขต อำนาจการรอนสิทธิเหนือพื้นดินของเอกชน และอำนาจในการเวนคืนที่ดิน ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการแข่งขันทางธุรกิจ และควบคุมการใช้อำนาจทางกฎหมายให้เป็นไปโดยถูกต้อง
ในเรื่องดังกล่าว ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกา กำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550 พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 2)) โดยลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2550 และมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันประกาศดังกล่าว ดังนั้นจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2550 เป็นต้นไป
มองว่า การโอนอำนาจดังกล่าว ก็เพื่อสร้างความชัดเจน ก่อนที่จะมีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ประกอบกิจการพลังงาน รวมทั้งการมีองค์กรกำกับดูแลดังกล่าวในส่วนของกิจการก๊าซ จะเข้าไปดูแลเฉพาะท่อส่งก๊าซแทน ปตท.ที่เป็นผู้ดูแลก่อนหน้านั้น จะช่วยผ่อนปรนประเด็นการฟ้องร้อง ปตท.ได้ด้วย และจะสร้างเงื่อนไขที่เป็นธรรมมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ปตท.ยังมีสิทธิการเป็นเจ้าของท่อส่งก๊าซธรรมชาติ แม้จะโอนอำนาจการรอนสิทธิในพื้นที่ให้กลับคืนมาเป็นของรัฐ
หมายเหตุ :ฝ่ายวิจัยฯ ของดความคิดเห็นและตัดบางส่วนในบทความออก โดยเฉพาะในประเด็นที่มีการนำเสนอน้ำหนักการตัดสินครั้งนี้ เพราะคอลัมน์นี้เป็นการนำเสนอในมุมกว้าง
บทความนี้นำมาจากบริษัทหลักทรัพย์ บีฟิท จำกัด (มหาชน) วิเคราะห์วันที่ 18 มิถุนายน 2550
จากกรณีที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและพวกรวม 5 คน (ผู้ฟ้องคดี) ได้ยื่นฟ้องนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (ผู้ถูกฟ้องคดี) ต่อศาลปกครองสูงสุด ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนพระราชกฤษฎีกาสองฉบับที่ตราขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 (พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจฯ) ในกระบวนการแปลงสภาพจากการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เป็นบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) (ปตท.)
ประกอบด้วยพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ศ.2544 และพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2544 โดยศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งลงวันที่ 4 กันยายน 2549 รับคำฟ้องดังกล่าวไว้พิจารณา
สำหรับประเด็นสำคัญของการฟ้องร้อง มีดังนี้คือ
๐กระบวนการตราพระราชกฤษฎีกาไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน และเนื้อหาขัดต่อบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจฯ และไม่เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 (รัฐธรรมนูญ)
๐การตราพระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับ มีผลทำให้มีการโอนที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไปให้ ปตท. ที่มีฐานะเป็นเอกชน ทำให้ ปตท. ได้รับเอกสิทธิ์เหนือเอกชนทั่วไป
๐ การที่ ปตท. ได้รับโอนอำนาจมหาชนของรัฐ ได้แก่ อำนาจเวนคืนที่ดิน อำนาจประกาศเขตและรอนสิทธิเหนือพื้นดินของเอกชน ไม่สอดคล้องกับหลักการตามรัฐธรรมนูญ
๐ การตราพระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับ เป็นการใช้ดุลยพินิจไม่ถูกต้อง ทำให้ประชาชนได้รับความเสียหาย และไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
๐ การตราพระราชกฤษฎีกาไม่คํานึงถึงประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและประชาชน ในขณะที่เป็นการเอื้อประโยชน์ต่อเอกชนและนายทุนในตลาดหลักทรัพย?ซึ่งรวมถึงนายทุนต่างชาติด้วยอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งยังไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงที่จะทําให้ต้นทุนการผลิตพลังงานเชื้อเพลิงต่างๆ ราคาถูกลงแต่อย่างใด
๐ วิธีการกระจายหุ้นของ ปตท. ไม่ได้สร้างโอกาสให้กับประชาชนโดยทั่วไปเพื่อเข้าถึงการซื้อหุ้นได้อย่างเท่าเทียมกัน และปรากฏว่าหุ้นกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มคนบางกลุ่มเท่านั้น
สรุปการชี้แจงบางส่วนของ ปตท.
-ทุกขั้นตอนการแปรรูป ปตท. ถูกต้องตามกฎหมาย ศาลเคยวินิจฉัยไม่ขัดรัฐธรรมนูญ และมีอำนาจ สิทธิตามกฎหมาย
ปตท. มั่นใจว่าการแปรรูป ปตท. มีความโปร่งใส และดำเนินการถูกต้องทุกขั้นตอนของ พ.ร.บ. ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 โดย ปตท. ได้รับโอนอำนาจ สิทธิ และประโยชน์พิเศษที่มีอยู่ตามกฎหมายเดิม มายังบริษัทใหม่เท่าที่จำเป็นต่อการดำเนินงานที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมตาม พ.ร.บ.ทุนฯ และสิทธิส่วนนี้จะหมดไปเมื่อ ปตท. มิได้มีสภาพเป็นรัฐวิสาหกิจ (รัฐถือหุ้นน้อยกว่า 50%)
ในเรื่องการวางระบบขนส่งปิโตรเลียมทางท่อนั้น ศาลปกครองสูงสุดได้เคยมีคำพิพากษาว่า ปตท. สามารถวางระบบขนส่งปิโตรเลียมทางท่อได้ นอกจากนี้ ศาลรัฐธรรมนูญได้เคยวินิจฉัยว่าการยุบเลิกรัฐวิสาหกิจ ปตท. ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ อีกทั้งการแปรรูป ปตท. ก็ไม่ได้มีผลประโยชน์ทับซ้อนแต่อย่างใด โดยคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจทุกชุด มีคุณสมบัติถูกต้องตามกฎหมาย และกรณีการถือหุ้นของคุณมนู เลียวไพโรจน์ และคุณวิเศษ จูภิบาล ได้รับยกเว้นตาม พ.ร.บ.ทุนฯ มาตรา 12 และมาตรา 18
-กระจายหุ้น IPO โปร่งใส ราคาเหมาะสม มีเม็ดเงินใหม่เพื่อปรับโครงสร้างหนี้และขยายการลงทุน
การระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ของ ปตท. ไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มใด เนื่องจากมีการกระจายหุ้นตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ ในราคา IPO ที่ 35 บาทต่อหุ้น ซึ่งการกระจายหุ้น IPO ในครั้งนั้น ได้มีการตรวจสอบโดย ก.ล.ต. ในปี 2545 และราคาหุ้น ปตท. ก็อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและในช่วงนั้น (SET Index 305 จุด) ซึ่งราคาหุ้น ปตท. ก็ขึ้นลงในระดับใกล้เคียงกับราคาจองซื้ออยู่ถึงเกือบปี และบางช่วงก็มีราคาต่ำสุดถึง 29 บาท
ทั้งนี้ด้วยเงินที่ได้จากการระดมทุน บวกกับความคล่องตัวในการบริหารจัดการหลังแปรรูป ทำให้ปตท. สามารถเร่งปรับโครงสร้างหนี้ และปรับโครงสร้างธุรกิจ ประกอบกับการขยายและต่อยอดธุรกิจให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว จึงทำให้ราคาหุ้น ปตท. ปรับสูงขึ้นเป็นลำดับ
-อำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของ ปตท. เป็นของรัฐและคนไทยตลอดไป เพราะปตท. ยังมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ
หลังการแปรรูป ปตท. ยังคงสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจมาตลอด ตามมติ ครม.เมื่อปลายปี 2544 ที่กำหนดให้ภาครัฐถือหุ้นใน ปตท. มากกว่า 51% และปัจจุบัน รัฐก็ยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ทั้งทางตรงและทางอ้อมรวม 68% นอกจากนี้เมื่อรวมกับสถาบันการเงิน กองทุนไทย เช่นกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ สำนักงานประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทต่างๆ และผู้ถือหุ้นรายย่อยไทย อีกประมาณกว่า 12% แล้ว รัฐและคนไทย มีสัดส่วนการถือหุ้น ปตท. รวมกันกว่า 80% จึงเห็นว่า สิทธิและผลประโยชน์ต่างๆ ของปตท. ยังคงเป็นของชาติและประชาชนไทย
-ทุนที่รัฐถือครองอยู่มีมูลค่าเพิ่มจาก 2 หมื่นล้านบาท เป็น 5 แสนล้านบาท หลังแปรรูป ปตท. ส่งเงินเข้ารัฐรวมกว่า 1.4 แสนล้านบาท
การแปรรูป ปตท. ไม่ใช่การขายสมบัติชาติ แต่เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสมบัติของชาติ สร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศ และช่วยให้สามารถพึ่งพาตัวเองได้โดยไม่เป็นภาระของรัฐ วันนี้ทุนที่รัฐถือครอง 68% มีมูลค่าประมาณ 500,000 ล้านบาท มากกว่าทุนที่รัฐถือครอง 100% ก่อนการแปรรูป ซึ่งมีมูลค่าเพียง 20,000 ล้านบาท เท่านั้น นอกจากนี้ กลุ่ม ปตท. สามารถนำเงินส่งรัฐในรูปภาษีและเงินปันผลตั้งแต่ปี 2545-ปัจจุบัน รวมกว่า 140,000 ล้านบาท และกำไรส่วนที่เหลือได้นำไปใช้เพื่อลงทุนขยายกิจการรองรับความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้น สร้างความมั่นคงและช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
ธุรกิจ ปตท. ไม่ได้ผูกขาด ธุรกิจท่อส่งก๊าซ เอกชนลงทุนได้
ธุรกิจก๊าซของ ปตท. ไม่มีการผูกขาด บริษัทที่ได้รับสัมปทานในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมสามารถจำหน่ายก๊าซโดยตรงและวางท่อส่งก๊าซได้ภายใต้ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม และที่สำคัญ ปตท.ไม่ได้เป็นผู้กำหนดโครงสร้างราคาขายก๊าซให้ กฟผ. หรืออัตราค่าผ่านท่อ โดยทั้งหมดอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมาตลอดทั้งก่อนและหลังแปรรูป
-ยืนยันการไม่แยกท่อฯ ไม่มีใครเสียประโยชน์ รัฐกำกับค่าผ่านท่อฯ 4 ปี ราคายังคงเดิม
ปตท.จะเดินหน้าแยกกิจการท่อก๊าซ ซึ่งปัจจุบันมีการแบ่งแยกทรัพย์สินและผลการดำเนินงานทางบัญชีอยู่แล้ว โดยจะนำเสนอขออนุมัติจากคณะกรรมการ ปตท. และผู้ถือหุ้นต่อไป
-ปตท.ไม่มีกำไรจากราคาเนื้อก๊าซโดยตรง รายได้เป็นของผู้ผลิตที่ได้รับสัมปทาน และรัฐกำกับดูแลเช่นกัน
สำหรับราคาเนื้อก๊าซ รัฐก็เป็นผู้กำกับดูแลราคาด้วยเช่นกัน และเป็นรายได้ของกลุ่มผู้สำรวจและผลิตที่ได้รับสัมปทานทั้งหมด ปตท.ไม่ได้รับประโยชน์โดยตรง และในช่วงที่ผ่านมา ปตท.ได้เจรจาลดราคาก๊าซกับกลุ่มผู้ขายได้กว่า 14,000 ล้านบาท และในอนาคตจะทยอยปรับลดอีก โดยหลังแปรรูปราคาก๊าซเพิ่มขึ้นเพียง 27% ขณะที่ราคาน้ำมันดิบตลาดโลกเพิ่มขึ้นถึง 143% และราคาก๊าซของไทยก็ยังถูกกว่าอีกหลายประเทศ
-แปรรูปทำให้ฐานะการเงิน ปตท. เข้มแข็ง รับภาระแทนผู้บริโภค
จากฐานะการเงินที่เข้มแข็งหลังการแปรรูป ทำให้ ปตท. เพิ่มขีดความสามารถในการดูแลบริหารกิจการพลังงานในฐานะบริษัทพลังงานแห่งชาติได้มากกว่าก่อนการแปรรูป เช่น รักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันและก๊าซหุงต้ม และการสนับสนุนนโยบายพลังงานของรัฐในการลดราคาก๊าซ เพื่อพยุงค่า Ft ในช่วงวิกฤติพลังงาน สำหรับราคาน้ำมันที่สูงขึ้นนั้น เป็นการปรับขึ้นตามราคาตลาดโลก แต่ขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่า นอกจากนี้ราคาก๊าซหุงต้มของไทยก็เพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าตลาดโลกเช่นกัน โดยสรุปแล้ว ปตท. รับภาระแทนผู้บริโภคในส่วนของราคาน้ำมัน ก๊าซหุงต้ม และช่วยพยุงค่าไฟฟ้า
-ดำเนินงานภายใต้หลักธรรมาภิบาลเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศและประชาชน
ปตท. มีการบริหารจัดการตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชน กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี นอกจากนี้ คณะกรรมการ ปตท. ยังเป็นคณะกรรมการที่ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิในทุกสาขา สามารถกำหนดทิศทางและนโยบายให้ ปตท.เจริญก้าวหน้าเป็นลำดับ
ความเห็นศาลปกครองก่อนหน้านี้ต่อแนวทางการพิจารณาคดี
เมื่อปลายเดือนมกราคม 2550 ตุลาการศาลปกครองสูงสุด คาดจะวินิจฉัยคดีแปรรูป บมจ.ปตท. ได้ภายในช่วง 6 เดือนนี้ (ภายในกรกฎาคม) โดยการวินิจฉัยคดีดังกล่าวไม่มีแนวทางพิเศษที่แตกต่างไปจากคดีอื่น นายจรัญ หัตถกรรม ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด กล่าวว่า คำตัดสินของศาลปกครองครั้งนี้ จะถือเป็นที่สิ้นสุด เนื่องจากเป็นคำตัดสินของศาลปกครองสูงสุด
โดยแนวทางพิจารณาคดี ปตท.จะใช้แนวทางเดียวกับการพิจารณาคดีแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เนื่องจากประเด็นที่ยื่นฟ้อง มีลักษณะเดียวกัน แต่ไม่ใช่ว่าคำตัดสินจะต้องออกมาเหมือนกัน ขึ้นอยู่กับพยานหลักฐาน โดยหลักสำคัญสูงสุดของการตัดสิน ขึ้นอยู่กับว่าการแปรรูป ปตท.ขัดต่อกฎหมายตามที่ผู้ร้องยื่นฟ้องมาหรือไม่
ประเด็นการแยกอำนาจรัฐของปตท.ออกมาให้กับภาครัฐ
เมื่อ 6 พฤศจิกายน 2549 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) อนุมัติหลักการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.ฎ.กำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของ ปตท. โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 26 แห่ง พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 ให้ตั้งคณะกรรมการกำกับกิจการก๊าซธรรมชาติ เพื่อรับโอนอำนาจรัฐที่อยู่กับ ปตท.มาไว้ที่องค์กรนี้ ก่อนที่จะมีกฎหมายการประกอบกิจการพลังงาน ออกมาในอนาคต อำนาจดังกล่าว ประกอบด้วยอำนาจการประกาศเขต อำนาจการรอนสิทธิเหนือพื้นดินของเอกชน และอำนาจในการเวนคืนที่ดิน ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการแข่งขันทางธุรกิจ และควบคุมการใช้อำนาจทางกฎหมายให้เป็นไปโดยถูกต้อง
ในเรื่องดังกล่าว ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกา กำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550 พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 2)) โดยลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2550 และมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันประกาศดังกล่าว ดังนั้นจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2550 เป็นต้นไป
มองว่า การโอนอำนาจดังกล่าว ก็เพื่อสร้างความชัดเจน ก่อนที่จะมีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ประกอบกิจการพลังงาน รวมทั้งการมีองค์กรกำกับดูแลดังกล่าวในส่วนของกิจการก๊าซ จะเข้าไปดูแลเฉพาะท่อส่งก๊าซแทน ปตท.ที่เป็นผู้ดูแลก่อนหน้านั้น จะช่วยผ่อนปรนประเด็นการฟ้องร้อง ปตท.ได้ด้วย และจะสร้างเงื่อนไขที่เป็นธรรมมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ปตท.ยังมีสิทธิการเป็นเจ้าของท่อส่งก๊าซธรรมชาติ แม้จะโอนอำนาจการรอนสิทธิในพื้นที่ให้กลับคืนมาเป็นของรัฐ
หมายเหตุ :ฝ่ายวิจัยฯ ของดความคิดเห็นและตัดบางส่วนในบทความออก โดยเฉพาะในประเด็นที่มีการนำเสนอน้ำหนักการตัดสินครั้งนี้ เพราะคอลัมน์นี้เป็นการนำเสนอในมุมกว้าง
บทความนี้นำมาจากบริษัทหลักทรัพย์ บีฟิท จำกัด (มหาชน) วิเคราะห์วันที่ 18 มิถุนายน 2550
-
- Verified User
- โพสต์: 149
- ผู้ติดตาม: 0
ปตท. : ประเด็นการถูกฟ้องร้อง
โพสต์ที่ 2
-ทุนที่รัฐถือครองอยู่มีมูลค่าเพิ่มจาก 2 หมื่นล้านบาท เป็น 5 แสนล้านบาท หลังแปรรูป ปตท. ส่งเงินเข้ารัฐรวมกว่า 1.4 แสนล้านบาท
หุ้นราคาแพง เพราะกำไรดี
กำไรดี เพราะส่วนต่างจากต้นทุนและราคาขาย
"มาจากการขูดรีดจากประชาชนผู้ใช้พลังงาน
ทั้งประเทศ "
ปตท ตอนนี้หวังทำกำไรสูงสุดอย่างเดียว
เพราะต้องคำนึงถึงผู้ถือหุ้น ไม่ได้คิดถึง
ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศที่ต้องลำบาก
กับค่าครองชีพที่สูงขึ้นทุกวันๆ
หุ้นราคาแพง เพราะกำไรดี
กำไรดี เพราะส่วนต่างจากต้นทุนและราคาขาย
"มาจากการขูดรีดจากประชาชนผู้ใช้พลังงาน
ทั้งประเทศ "
ปตท ตอนนี้หวังทำกำไรสูงสุดอย่างเดียว
เพราะต้องคำนึงถึงผู้ถือหุ้น ไม่ได้คิดถึง
ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศที่ต้องลำบาก
กับค่าครองชีพที่สูงขึ้นทุกวันๆ
เงินทองไม่เข้าใครออกใคร
จะซื้อจะขายหุ้นก็รับผิดชอบกันเองอย่าไปโทษใคร
จะซื้อจะขายหุ้นก็รับผิดชอบกันเองอย่าไปโทษใคร
-
- Verified User
- โพสต์: 3763
- ผู้ติดตาม: 0
ปตท. : ประเด็นการถูกฟ้องร้อง
โพสต์ที่ 3
ขูดรีดอย่างไรบ้างครับ รบกวนคุณ june1500 แจกแจงรายละเอียดเพื่อเป็นข้อมูลให้พวกเราด้วยครับjune1500 เขียน:-ทุนที่รัฐถือครองอยู่มีมูลค่าเพิ่มจาก 2 หมื่นล้านบาท เป็น 5 แสนล้านบาท หลังแปรรูป ปตท. ส่งเงินเข้ารัฐรวมกว่า 1.4 แสนล้านบาท
หุ้นราคาแพง เพราะกำไรดี
กำไรดี เพราะส่วนต่างจากต้นทุนและราคาขาย
"มาจากการขูดรีดจากประชาชนผู้ใช้พลังงาน
ทั้งประเทศ "
ปตท ตอนนี้หวังทำกำไรสูงสุดอย่างเดียว
เพราะต้องคำนึงถึงผู้ถือหุ้น ไม่ได้คิดถึง
ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศที่ต้องลำบาก
กับค่าครองชีพที่สูงขึ้นทุกวันๆ
ส่วนที่บอกคำนึงถึงผู้ถือหุ้นอย่างเดียวนี่ใช้อะไรมาวัดเป็นเกณฑ์ครับ
ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศต้องลำบาก เอ แล้วถ้าเราไม่อิงกับราคาตลาดมันจะไม่เป็นการบิดเบือนกลไกของตลาดหรือครับ และทุกครั้งที่มีการบิดเบือนสุดท้ายเราก็ต้องจ่ายแพงเพิ่มขึ้นอยู่ดี เพราะไม่ขึ้นภาษีก็ต้องลดการัฒนาอะไรบางอย่าลงไป ทำไมเราไม่คิดว่าราคาเชื้อเพลิงที่แพงขึ้นเป็นโอกาสให้หลายๆ องค์กรรวมถึงตัวเราคิดถึงเรื่องการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นครับ ผมว่าประเทศไทยคงไม่ได้เป็นประเทศเดียวที่ต้องประสบปัญหานี้นะครับ
และอีกข้อนึง ตอน ptt กำไร ดีก็โอเครับ แต่เนื่องจากธุรกิจแบบ ptt ถือได้ว่าเป็นวัฏจักรแบบหนึ่ง ตอน ptt ก่อนเข้าตลาดก็ขาดทุนในหลายๆ สายงานธุรกิจ ถ้ามีวันนึงกลับไปขาดทุนแบบนั้นอีก จะมีใครช่วยเหลือ ptt บ้างไหมครับ หรือว่าต้องปล่อยให้เป็นแบบ bcp ?
Impossible is Nothing
-
- Verified User
- โพสต์: 3763
- ผู้ติดตาม: 0
ปตท. : ประเด็นการถูกฟ้องร้อง
โพสต์ที่ 4
อืม ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว ขออีกประเด็นครับ .....
ตอนนี้ ptt ทำอะไร กำไรอย่างไร ใครๆ ก็รู้เพราะถูก Spot light ส่องเอาวไว้ตลอด แล้วถ้าต้องเอากลับเข้าไปหลังฉากแล้วนี่ คิดว่าการตรวจสอบจะเพียงพอไหมครับ?
ตอนนี้ ptt ทำอะไร กำไรอย่างไร ใครๆ ก็รู้เพราะถูก Spot light ส่องเอาวไว้ตลอด แล้วถ้าต้องเอากลับเข้าไปหลังฉากแล้วนี่ คิดว่าการตรวจสอบจะเพียงพอไหมครับ?
Impossible is Nothing
- Sumotin
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
ปตท. : ประเด็นการถูกฟ้องร้อง
โพสต์ที่ 5
ขอโทษนะครับ ผมไม่เห็นว่าขูดรีดยังไง ได้ดูราคา crude oil ย้อนหลังหรือเปล่าว่าตอนที่ราคาน้ำมัน 9-10 บาทต่อลิตร ราคา crude oil แค่ไม่ถึง $20 ต่อ บาเรล เลย ตอนนี้ประมาณ $100/barrel จะให้น้ำมัน 9-10 บาท หรือไงครับjune1500 เขียน:-ทุนที่รัฐถือครองอยู่มีมูลค่าเพิ่มจาก 2 หมื่นล้านบาท เป็น 5 แสนล้านบาท หลังแปรรูป ปตท. ส่งเงินเข้ารัฐรวมกว่า 1.4 แสนล้านบาท
หุ้นราคาแพง เพราะกำไรดี
กำไรดี เพราะส่วนต่างจากต้นทุนและราคาขาย
"มาจากการขูดรีดจากประชาชนผู้ใช้พลังงาน
ทั้งประเทศ "
ปตท ตอนนี้หวังทำกำไรสูงสุดอย่างเดียว
เพราะต้องคำนึงถึงผู้ถือหุ้น ไม่ได้คิดถึง
ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศที่ต้องลำบาก
กับค่าครองชีพที่สูงขึ้นทุกวันๆ
ประชาชนลำบากเพราะไม่รู้จักปรับตัวเองแหละครับ ต้องมีการให้ความรู้ ทรัพยากร ธรรมชาติทุกอย่างมีหมดไปเสมอแหละครับ
ของให้ เอาความจริงมาพูดดีกว่านะครับ ประเทศเรานี่ใช้น้ำมันถูก อันดับต้นๆของโลกแล้วด้วย เขมรที่ พัฒนาน้อยกว่าเรายังใช้แพงกว่าเลยนะครับ รายได้ต่อคนเค้าก็น้อยกว่า เรานะครับ ลองคิดดูดีๆว่าผิดที่ตัวเราเองหรือเปล่า
Timing is everything, no matter what you do.
CAGR of 34% in the past 15 years of investment
CAGR of 34% in the past 15 years of investment
-
- Verified User
- โพสต์: 149
- ผู้ติดตาม: 0
ปตท. : ประเด็นการถูกฟ้องร้อง
โพสต์ที่ 6
จากคุณ : GABLIEL - [ 1 ธ.ค. 50 11:03:33 ]
ความคิดเห็นที่ 2
จากคุณ : Mr.Zack - [ 1 ธ.ค. 50 11:11:30 ]
ความคิดเห็นที่ 3
แล้วรัฐจะเอาเงินจากไหนมาซื้อคืนหรือ
สงสัยจะต้องเอาจากภาษี อ้อ... ตัดงบ NGO ให้หมดแล้วมันจะพอไหมเนี่ย
จากคุณ : IamQ - [ 1 ธ.ค. 50 11:15:33 ]
ความคิดเห็นที่ 4
อะไรก็เกิดขึ้นได้ถ้าอยู่ในประเทศสาระขัน
จากคุณ : @scholly@ - [ 1 ธ.ค. 50 12:05:37 ]
ความคิดเห็นที่ 5
กิจการไหนมีกำไร ส่งเงินเข้ารัฐ ก็จะโดนฟ้องให้กลายเป็นสมบัติชาติ..
กิจการไหนยิ่งขาดทุนหนักแบบ รถไฟไทย กับขสมก. ก็ยิ่งดี ให้เป็นหน้าที่รัฐต้องเอาเงินภาษีไปอุดหนุน พวกนี้บอกถูกต้องแล้ว
เพราะเราเป็นพลเมือง สาระขัน..
จากคุณ : คิดมากไปรึปล่าว..... - [ 1 ธ.ค. 50 17:33:41 ]
ความคิดเห็นที่ 6
กิจการไหนมีกำไร มีแนวโน้มทำกำไรได้ ก็จะมีคนหัวดี เอาไปแปรรูป
หากำไรจากทรัพยากรหรือทรัพย์สินของประเทศ หากำไร หาผลประโยชน์
เข้ากระเป๋า คนส่วนใหญ่ของประเทศซึ่งยังต้องพึ่งพาความช่วยเหลือ
จากรัฐบาล ได้แต่นั่งมองตาปริบๆ ทำอะไรไม่ได้ และต้องจ่ายค่า
ใช้จ่ายในราคาแพงขึ้นๆ ตามที่เขากำหนด อ้างว่า ตาม"ตลาดโลก"
ซึ่งจริงๆแล้วไม่จำเป็นต้องทำตามตลาดโลก ถ้ารัฐต้องการ subsidize
ประชาชนเพื่อหวังผลให้ความเป็นอยู่ และ ศก.ของประเทศ ดีขึ้น
กิจการที่เอาไปแปรรูป ล้วนแล้วแต่มี "วาระซ่อนเร้น" มีผลประโยชน์
ส่วนตัวเข้าไปเกี่ยวข้อง จริงหรือ "ที่เขาทำเพื่อชาติจริงๆ" ต้องเปิดโปง
กันออกมา
อย่า เพ้อเจ้อ เพ้อฝัน กันมาก ว่า การไปตามก้นประเทศที่เจริญแล้ว
แล้วจะดี ท่านปัญหาเหล่านั้นอาจจะตกมาอยู่ที่ตัวท่านเอง และลูกหลาน
ถ้าเอา "เดินตามก้น" เขา
อเมริกา บุก อิรัก ท่านคิดว่ามีความชอบธรรมหรือไม่
จริงๆแล้วเขาต้องการกำจัดผู้ก่อการร้ายจริงๆ หรือ ต้องการ "น้ำมัน"
คนส่วนใหญ่ของประเทศยังจน รายได้น้อย เราไม่ใช่ อเมริกา หรือ ประเทศ
ที่เจริญแล้ว
อีกเรื่อง ที่เป็นตัวอย่างที่น่าจะเห็นได้ชัด ก็คือเรื่องการศึกษา แอดมิสชั่น
ของรัฐบาลทีผ่านมา ป่านนี้ยังไม่ยอมรับกันเลยว่า ไม่ได้ผล เพราะมาตรฐาน
การศึกษาเรา ตจว แต่ละที่ ไม่เหมือนกัน และ ไม่สามารถลดการกวดวิชาได้
ตามทื่พูด และอีกหลายๆเรื่อง เพราะอยากตามทฤษฎี วิชาการ พูดกันน้ำ
ลายฟูมปาก อ้างเหตุผลสารพัดว่าทันสมัย สุดท้ายก็ หมดงบประมาณ
ประเทศไปเท่าไหร่ ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ ก็เพราะอะไร ถ้าไม่ใช่
"เห็นช้างขี้ก็ขี้ตามช้าง"
เพราะเราเป็น "พลเมือง สาระขัน" เห็นด้วย อย่างแรง ครับ
จากคุณ : ว
อีกแง่มุม ที่น่าฟัง นะครับ
แต่ที่แน่ๆ ตอนนี้ประชาชนเดือดร้อน
จากค่า lpg ที่ลอยตัว
ผมยังสงสัยไม่หายทำไมต้องมาลอยตัว
ตอนที่สภาพเศรษฐกิจเป็นแบบนี้
เหมือนเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์
ในขณะที่ ปตท ก็ทำกำไรมากขึ้น
ท่ามความลำบากในการดำเนินชีวิต
ประจำวัน
ทำไมไม่เลื่อนไปก่อน ให้สถานการณ์
ทางเศรษฐกิจดีกว่านี้
ผมไม่เถียงว่าผู้บริหารเก่ง
มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้
แต่ผมแย้งเรื่องแนวคิดในเป้าหมาย
ในการดำเนินงานที่เปลี่ยนไป
ตอนนี้เขามุ่งที่จะทำกำไรอย่างเดียว
ถ้ารัฐหวังกำไร ปันผลจาก ปตท
แล้วนำกำไรนั้นมาบริหารประเทศ
เพื่อให้ประเทศมี ศก ที่ดี
ผมว่า ออกนโยบาย subsidize เรือง
ราคาแก้ส lpg ผมว่าจะเป็นการช่วย
ประชาชนทุกครัวเรือนอย่างตรงๆมากกว่า
ลดค่าใช้จ่ายให้ชาวบ้านดีกว่าครับ
แค่นี้ ศก ก็ดีขึ้นส่วนหนึ่งแล้ว
แต่การปล่อยให้ lpg ลอยตัวตอนนี้ผม
ขอแย้ง และ เรื่องกลัวพวกรถจะแย่งใช้
ก็ควรออกนโยบายกันพวกรถมาแย่งใช้
ให้ชัดเจน ไม่ใช่มาเหมาะรวมแบบนี้
แย่ครับ ปตท ปีนี้กำไรแสนล้าน
ปีหน้าขอสัก 2 แสนล้านนะครับ
ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยกระจิดริดของปท
ดีใจมีความสุข แต่ชาวบ้าน
ที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศต้องทนลำบาก
กับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นทุกวันๆ
ผมว่ามันไม่คล้องจองกันยังไงก็ไม่รู้
แล้วแต่จะคิดกันครับ
แต่แก้ส เป็นทรัพยากรตามธรรมชาติของ
ประเทศที่ควรจะนำมาช่วยชาติ ช่วยชาวบ้าน
ไม่ใช่คิดแต่จะมาหากำไรจากของพวกนี้
ความคิดเห็นที่ 2
จากคุณ : Mr.Zack - [ 1 ธ.ค. 50 11:11:30 ]
ความคิดเห็นที่ 3
แล้วรัฐจะเอาเงินจากไหนมาซื้อคืนหรือ
สงสัยจะต้องเอาจากภาษี อ้อ... ตัดงบ NGO ให้หมดแล้วมันจะพอไหมเนี่ย
จากคุณ : IamQ - [ 1 ธ.ค. 50 11:15:33 ]
ความคิดเห็นที่ 4
อะไรก็เกิดขึ้นได้ถ้าอยู่ในประเทศสาระขัน
จากคุณ : @scholly@ - [ 1 ธ.ค. 50 12:05:37 ]
ความคิดเห็นที่ 5
กิจการไหนมีกำไร ส่งเงินเข้ารัฐ ก็จะโดนฟ้องให้กลายเป็นสมบัติชาติ..
กิจการไหนยิ่งขาดทุนหนักแบบ รถไฟไทย กับขสมก. ก็ยิ่งดี ให้เป็นหน้าที่รัฐต้องเอาเงินภาษีไปอุดหนุน พวกนี้บอกถูกต้องแล้ว
เพราะเราเป็นพลเมือง สาระขัน..
จากคุณ : คิดมากไปรึปล่าว..... - [ 1 ธ.ค. 50 17:33:41 ]
ความคิดเห็นที่ 6
กิจการไหนมีกำไร มีแนวโน้มทำกำไรได้ ก็จะมีคนหัวดี เอาไปแปรรูป
หากำไรจากทรัพยากรหรือทรัพย์สินของประเทศ หากำไร หาผลประโยชน์
เข้ากระเป๋า คนส่วนใหญ่ของประเทศซึ่งยังต้องพึ่งพาความช่วยเหลือ
จากรัฐบาล ได้แต่นั่งมองตาปริบๆ ทำอะไรไม่ได้ และต้องจ่ายค่า
ใช้จ่ายในราคาแพงขึ้นๆ ตามที่เขากำหนด อ้างว่า ตาม"ตลาดโลก"
ซึ่งจริงๆแล้วไม่จำเป็นต้องทำตามตลาดโลก ถ้ารัฐต้องการ subsidize
ประชาชนเพื่อหวังผลให้ความเป็นอยู่ และ ศก.ของประเทศ ดีขึ้น
กิจการที่เอาไปแปรรูป ล้วนแล้วแต่มี "วาระซ่อนเร้น" มีผลประโยชน์
ส่วนตัวเข้าไปเกี่ยวข้อง จริงหรือ "ที่เขาทำเพื่อชาติจริงๆ" ต้องเปิดโปง
กันออกมา
อย่า เพ้อเจ้อ เพ้อฝัน กันมาก ว่า การไปตามก้นประเทศที่เจริญแล้ว
แล้วจะดี ท่านปัญหาเหล่านั้นอาจจะตกมาอยู่ที่ตัวท่านเอง และลูกหลาน
ถ้าเอา "เดินตามก้น" เขา
อเมริกา บุก อิรัก ท่านคิดว่ามีความชอบธรรมหรือไม่
จริงๆแล้วเขาต้องการกำจัดผู้ก่อการร้ายจริงๆ หรือ ต้องการ "น้ำมัน"
คนส่วนใหญ่ของประเทศยังจน รายได้น้อย เราไม่ใช่ อเมริกา หรือ ประเทศ
ที่เจริญแล้ว
อีกเรื่อง ที่เป็นตัวอย่างที่น่าจะเห็นได้ชัด ก็คือเรื่องการศึกษา แอดมิสชั่น
ของรัฐบาลทีผ่านมา ป่านนี้ยังไม่ยอมรับกันเลยว่า ไม่ได้ผล เพราะมาตรฐาน
การศึกษาเรา ตจว แต่ละที่ ไม่เหมือนกัน และ ไม่สามารถลดการกวดวิชาได้
ตามทื่พูด และอีกหลายๆเรื่อง เพราะอยากตามทฤษฎี วิชาการ พูดกันน้ำ
ลายฟูมปาก อ้างเหตุผลสารพัดว่าทันสมัย สุดท้ายก็ หมดงบประมาณ
ประเทศไปเท่าไหร่ ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ ก็เพราะอะไร ถ้าไม่ใช่
"เห็นช้างขี้ก็ขี้ตามช้าง"
เพราะเราเป็น "พลเมือง สาระขัน" เห็นด้วย อย่างแรง ครับ
จากคุณ : ว
อีกแง่มุม ที่น่าฟัง นะครับ
แต่ที่แน่ๆ ตอนนี้ประชาชนเดือดร้อน
จากค่า lpg ที่ลอยตัว
ผมยังสงสัยไม่หายทำไมต้องมาลอยตัว
ตอนที่สภาพเศรษฐกิจเป็นแบบนี้
เหมือนเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์
ในขณะที่ ปตท ก็ทำกำไรมากขึ้น
ท่ามความลำบากในการดำเนินชีวิต
ประจำวัน
ทำไมไม่เลื่อนไปก่อน ให้สถานการณ์
ทางเศรษฐกิจดีกว่านี้
ผมไม่เถียงว่าผู้บริหารเก่ง
มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้
แต่ผมแย้งเรื่องแนวคิดในเป้าหมาย
ในการดำเนินงานที่เปลี่ยนไป
ตอนนี้เขามุ่งที่จะทำกำไรอย่างเดียว
ถ้ารัฐหวังกำไร ปันผลจาก ปตท
แล้วนำกำไรนั้นมาบริหารประเทศ
เพื่อให้ประเทศมี ศก ที่ดี
ผมว่า ออกนโยบาย subsidize เรือง
ราคาแก้ส lpg ผมว่าจะเป็นการช่วย
ประชาชนทุกครัวเรือนอย่างตรงๆมากกว่า
ลดค่าใช้จ่ายให้ชาวบ้านดีกว่าครับ
แค่นี้ ศก ก็ดีขึ้นส่วนหนึ่งแล้ว
แต่การปล่อยให้ lpg ลอยตัวตอนนี้ผม
ขอแย้ง และ เรื่องกลัวพวกรถจะแย่งใช้
ก็ควรออกนโยบายกันพวกรถมาแย่งใช้
ให้ชัดเจน ไม่ใช่มาเหมาะรวมแบบนี้
แย่ครับ ปตท ปีนี้กำไรแสนล้าน
ปีหน้าขอสัก 2 แสนล้านนะครับ
ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยกระจิดริดของปท
ดีใจมีความสุข แต่ชาวบ้าน
ที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศต้องทนลำบาก
กับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นทุกวันๆ
ผมว่ามันไม่คล้องจองกันยังไงก็ไม่รู้
แล้วแต่จะคิดกันครับ
แต่แก้ส เป็นทรัพยากรตามธรรมชาติของ
ประเทศที่ควรจะนำมาช่วยชาติ ช่วยชาวบ้าน
ไม่ใช่คิดแต่จะมาหากำไรจากของพวกนี้
เงินทองไม่เข้าใครออกใคร
จะซื้อจะขายหุ้นก็รับผิดชอบกันเองอย่าไปโทษใคร
จะซื้อจะขายหุ้นก็รับผิดชอบกันเองอย่าไปโทษใคร
- Sumotin
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
ปตท. : ประเด็นการถูกฟ้องร้อง
โพสต์ที่ 7
แต่อย่าลืมว่า ปตท จาก dividend ให้กับรัฐเยอะมากนะครับ สามารถเอาไป พัฒนาประเทศได้ เยอะ ถ้าให้กลับมาเป็นของรัฐ รัฐต้องแบกรับภาระน้ำมันเยอะมากนะครับ น้ำมันดิบสมัยนี้ แพงกว่า แต่ก่อนหลายเท่านะครับ จาก $15-20 เป็นจะ $100 ถ้ารัฐสนับสนุนจริง รัฐจะต้องตัดงบในการพัฒนาประเทศด้านอื่นๆ อีกเยอะมาสนับสนุน นะครับ เรื่องที่จะเอาไป พัฒนาด้าน transportation หรือ การศึกษา ก็อาจจะมีงบที่น้อยลงมากเลยนะครับ
เรื่อง ก๊าซ ธรรมชาติจริงๆของไทยจริงๆไม่ได้เยอะขนาด support ทั้งประเทศนะครับ แหล่งที่สำคัญมีที่ พม่า ถ้าเกิด พม่าปิดพรมแดน ซัก เดือนนี่ โรงไฟฟ้าขาดเชื้อเพลิง ต้องสั่งเชื้อเพลิงอย่างอื่นแทนจากข้างนอกอยู่ดีแหละครับ
ผมว่า ปตท.กำไรดีขึ้นมันไม่ได้เกี่ยวอะไรเลยนะครับ PTT เป็น บริษัทที่ขยายตัว ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อย่าง สผ. ก็ไปลงทุนในต่างประเทศ เรื่อง กำไร 200k ล้านนี่เป็นไปไม่ได้หรอกครับ ตัวที่ได้จากน้ำมันดิบราคาขึ้นจริงๆก็คือ สผ. ส่วนราคา ค่าการกลั่นมันแกว่งตัวขึ้นกับ demand กับ supply ส่วนปิโตเคมี ก็เป็น วัฎจักร ไม่ได้มีรายได้ต่อเนื่องหรอกครับ
ผมว่าให้ PTT เป็นแบบนี้ต่อไปแล้วหันมา พัฒนาพลังงานทดแทน หรือไม่ก็ ส่งเสริมจิตสำนึกในการประหยัดพลังงานจะดีกว่า ยกเว้นแต่ว่าแต่หละคนจะเห็นแต่ประโยชน์ส่วนตัวเท่านั้นหละครับ
นี่คือความเห็นผมนะครับ เพราะประเทศด้อยพัฒนากว่าเรายัง ใช้น้ำมันแพงกว่าเราเลย ทั้งๆที่ รายได้ต่อคนเค้าน้อยกว่า!!
ปล.ผมไม่มีหุ้น PTT หรือ ในกลุ่ม PTT ซักตัวเลยนะครับฉะนั้นไม่มี bias เรื่องหุ้นแน่นอนครับ
เรื่อง ก๊าซ ธรรมชาติจริงๆของไทยจริงๆไม่ได้เยอะขนาด support ทั้งประเทศนะครับ แหล่งที่สำคัญมีที่ พม่า ถ้าเกิด พม่าปิดพรมแดน ซัก เดือนนี่ โรงไฟฟ้าขาดเชื้อเพลิง ต้องสั่งเชื้อเพลิงอย่างอื่นแทนจากข้างนอกอยู่ดีแหละครับ
ผมว่า ปตท.กำไรดีขึ้นมันไม่ได้เกี่ยวอะไรเลยนะครับ PTT เป็น บริษัทที่ขยายตัว ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อย่าง สผ. ก็ไปลงทุนในต่างประเทศ เรื่อง กำไร 200k ล้านนี่เป็นไปไม่ได้หรอกครับ ตัวที่ได้จากน้ำมันดิบราคาขึ้นจริงๆก็คือ สผ. ส่วนราคา ค่าการกลั่นมันแกว่งตัวขึ้นกับ demand กับ supply ส่วนปิโตเคมี ก็เป็น วัฎจักร ไม่ได้มีรายได้ต่อเนื่องหรอกครับ
ผมว่าให้ PTT เป็นแบบนี้ต่อไปแล้วหันมา พัฒนาพลังงานทดแทน หรือไม่ก็ ส่งเสริมจิตสำนึกในการประหยัดพลังงานจะดีกว่า ยกเว้นแต่ว่าแต่หละคนจะเห็นแต่ประโยชน์ส่วนตัวเท่านั้นหละครับ
นี่คือความเห็นผมนะครับ เพราะประเทศด้อยพัฒนากว่าเรายัง ใช้น้ำมันแพงกว่าเราเลย ทั้งๆที่ รายได้ต่อคนเค้าน้อยกว่า!!
ปล.ผมไม่มีหุ้น PTT หรือ ในกลุ่ม PTT ซักตัวเลยนะครับฉะนั้นไม่มี bias เรื่องหุ้นแน่นอนครับ
Timing is everything, no matter what you do.
CAGR of 34% in the past 15 years of investment
CAGR of 34% in the past 15 years of investment
-
- Verified User
- โพสต์: 697
- ผู้ติดตาม: 0
ปตท. : ประเด็นการถูกฟ้องร้อง
โพสต์ที่ 8
สงสัย คนไม่เห็นด้วย ที่ว่า PTT ขูดรีดประชาชน คงต้องการให้มีการประกันราคาเกิดขึ้น ผมว่าคนชาติเราชอบอะไรที่บิดเบือน ให้รัฐลดภาษี ทำเงินบาทให้อ่อน โดยไม่สนใจต่อภาวะตลาดโลก
เมื่อรัฐเก็บภาษีไม่ได้ตามเป้า แถมหลายๆหน่วยงานโดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจ ขาดทุนตลอด แล้วรัฐจะมีเงินที่ไหน ก็ต้องไปกู้ยืมเงินต่างประเทศอีกตามเคย (คงชอบออกมาในรูปแบบนี้เนอะ)
เปลี่ยนแนวคิดได้แล้วครับ รัฐต้องมีรายได้จากการลงทุน
เมื่อรัฐเก็บภาษีไม่ได้ตามเป้า แถมหลายๆหน่วยงานโดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจ ขาดทุนตลอด แล้วรัฐจะมีเงินที่ไหน ก็ต้องไปกู้ยืมเงินต่างประเทศอีกตามเคย (คงชอบออกมาในรูปแบบนี้เนอะ)
เปลี่ยนแนวคิดได้แล้วครับ รัฐต้องมีรายได้จากการลงทุน
- Sumotin
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
ปตท. : ประเด็นการถูกฟ้องร้อง
โพสต์ที่ 10
ครับ ผมว่าถ้าเรื่อง IPO มีความผิดก็เล่นแต่พวกที่ได้ไป ส่วนเรื่อง ผูกขาดนี่ก็ไม่แน่ว่าจะไม่ดีนะครับ ผมว่าถ้าต่างชาติเข้ามาทำ ไงๆราคาก็ต้องขึ้นครับ เพราะเค้าไม่ทำขาดทุนแน่ๆ
เรื่องลงทุนนี่ผมว่าต้องให้ศึกษากันเยอะๆเลยครับ
อย่าง Singapore มี Temasek เป็น holding company โดย การทรวงการคลังเค้าถือหุ้น 100% เค้าก็สร้างผลตอบแทนต่อปี ประมาณ 20% ต่อปี ตลอด 32 ปีตั้งแต่เริ่มก่อตั้งนะครับ แล้วได้ยินว่าเร็วๆนี้ของจีนก็จะทำเหมือนกัน ส่วนเรื่อง สัดส่วนว่า Temasek ถือหุ้นอะไรบ้าง ลองเข้าเวปเค้าดูได้ ครับ เยอะมาก อย่าง deal ของ Shin ก็แค่ 4% (รวม Tender offer)ของ port เค้าเองครับ
^^ ช่วยกันพัฒนาประเทศดีกว่าครับ อย่าเห็นไทยเจริญก้าวหน้า
เรื่องลงทุนนี่ผมว่าต้องให้ศึกษากันเยอะๆเลยครับ
อย่าง Singapore มี Temasek เป็น holding company โดย การทรวงการคลังเค้าถือหุ้น 100% เค้าก็สร้างผลตอบแทนต่อปี ประมาณ 20% ต่อปี ตลอด 32 ปีตั้งแต่เริ่มก่อตั้งนะครับ แล้วได้ยินว่าเร็วๆนี้ของจีนก็จะทำเหมือนกัน ส่วนเรื่อง สัดส่วนว่า Temasek ถือหุ้นอะไรบ้าง ลองเข้าเวปเค้าดูได้ ครับ เยอะมาก อย่าง deal ของ Shin ก็แค่ 4% (รวม Tender offer)ของ port เค้าเองครับ
^^ ช่วยกันพัฒนาประเทศดีกว่าครับ อย่าเห็นไทยเจริญก้าวหน้า
Timing is everything, no matter what you do.
CAGR of 34% in the past 15 years of investment
CAGR of 34% in the past 15 years of investment
- abscisic
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 180
- ผู้ติดตาม: 0
ปตท. : ประเด็นการถูกฟ้องร้อง
โพสต์ที่ 11
ผมเป็นคนนึงที่เห็นด้วยกับการแปรรูปนะครับ
จริงๆผมก็ไม่ได้อยากโต้แย้งกับคุณ june1500 เพราะมองกันคนละมุม
แต่เหตุผลที่คุณบอกว่าแปรรูปแล้วราคาน้ำมัน แพงเนี้ย มันฟังไม่ขึ้นอะครับ ประเทศเรา ไม่มีบ่อน้ำมันนะครับ เราสั่งน้ำมันดิบเข้ามา เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์(มีผลิตได้นิดหน่อยที่กำแพงเพชร) และได้โปรดรับรู้ด้วยนะครับว่านำเข้ามาเราก็เอาเงินเราไปแลกนะครับ ถ้ากดราคาต่ำๆ ประชาชนไม่เดือดร้อนจริงเหรอ ถ้าน้ำมันถูกๆ ทุกคนก็ไม่ใส่ใจ ไม่ช่วยประหยัด ยอดนำเข้าน้ำมันก็จะสูง เราก็จะขาดดุลการค้า สุดท้ายเศรษฐกิจ ก็แย่อยู่ดี น้ำมันแพงอะดีแล้ว จะได้เลิกขับรถส่วนตัวกัน หัดขึ้นรถเมล์ รถไฟฟ้าบ้าง อย่าสบายกันจนเคยตัว
อีกอย่างนะครับ ถ้า PTT ไม่ได้แปรรูปเนี้ย ผมนึกไม่ออกเลยนะว่า ปัจจุบันการปิโตรเลียม(ชื่อเก่าPTT ตอนเป็นรัฐวิสาหกิจ)จะมีสภาพเป็นอย่างไง ผมว่าก็คงไม่ต่างจากหน่วยงานรัฐบาล ที่ทำงานเช้าชามเย็นชาม นั่งกินหัวคิวไปเรื่อย
คุณรู้ไหมครับ ก่อนแปรรูปอะ PTT แทบไม่ได้ขุดเจาะ เลยนะครับ เอาสัมปทานไปให้ unocal chevron ทำหมด พวกนี้เจาะเสร็จก็ขายขนเงินกลับประเทศ แต่ปัจจุบันเนี้ย PTT มีส่วนแบ่งการเจาะทั้งในประเทศและต่างประเทศ ถ้ายังเป็นการปิโตรอยู่ป่านเนี้ย คุณจะแย่กว่านี้ เพราะ พวกบริษัทต่างประเทศมันไม่ช่วยหรอกครับ ขายตามราคาตลาดโลกอย่างเดียว รับรองป่านเนี้ย ก๊าซหุงต้ม มันขึ้นไปตั้งแต่ สามสี่ปีที่แล้วด้วยซ้ำ ตอนนี้ PTT เค้าก็ช่วยตรึงราคาตั้งเท่าไหร่
คุณ june1500 ได้โปรดเปิดตาดูโลกได้แล้ว ประเทศไทยนะไม่ใช้พม่า ถึงจะมานั่งปิดประเทศไม่สนใจประเทศอื่น
ปล ผมไม่มีหุ้น PTT แม้แต่หุ้นเดียวนะครับ
ขอโทษด้วย ถ้าความเห็นผมอาจใช้คำพูดบางคำรุณแรงไปหน่อย
จริงๆผมก็ไม่ได้อยากโต้แย้งกับคุณ june1500 เพราะมองกันคนละมุม
แต่เหตุผลที่คุณบอกว่าแปรรูปแล้วราคาน้ำมัน แพงเนี้ย มันฟังไม่ขึ้นอะครับ ประเทศเรา ไม่มีบ่อน้ำมันนะครับ เราสั่งน้ำมันดิบเข้ามา เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์(มีผลิตได้นิดหน่อยที่กำแพงเพชร) และได้โปรดรับรู้ด้วยนะครับว่านำเข้ามาเราก็เอาเงินเราไปแลกนะครับ ถ้ากดราคาต่ำๆ ประชาชนไม่เดือดร้อนจริงเหรอ ถ้าน้ำมันถูกๆ ทุกคนก็ไม่ใส่ใจ ไม่ช่วยประหยัด ยอดนำเข้าน้ำมันก็จะสูง เราก็จะขาดดุลการค้า สุดท้ายเศรษฐกิจ ก็แย่อยู่ดี น้ำมันแพงอะดีแล้ว จะได้เลิกขับรถส่วนตัวกัน หัดขึ้นรถเมล์ รถไฟฟ้าบ้าง อย่าสบายกันจนเคยตัว
อีกอย่างนะครับ ถ้า PTT ไม่ได้แปรรูปเนี้ย ผมนึกไม่ออกเลยนะว่า ปัจจุบันการปิโตรเลียม(ชื่อเก่าPTT ตอนเป็นรัฐวิสาหกิจ)จะมีสภาพเป็นอย่างไง ผมว่าก็คงไม่ต่างจากหน่วยงานรัฐบาล ที่ทำงานเช้าชามเย็นชาม นั่งกินหัวคิวไปเรื่อย
คุณรู้ไหมครับ ก่อนแปรรูปอะ PTT แทบไม่ได้ขุดเจาะ เลยนะครับ เอาสัมปทานไปให้ unocal chevron ทำหมด พวกนี้เจาะเสร็จก็ขายขนเงินกลับประเทศ แต่ปัจจุบันเนี้ย PTT มีส่วนแบ่งการเจาะทั้งในประเทศและต่างประเทศ ถ้ายังเป็นการปิโตรอยู่ป่านเนี้ย คุณจะแย่กว่านี้ เพราะ พวกบริษัทต่างประเทศมันไม่ช่วยหรอกครับ ขายตามราคาตลาดโลกอย่างเดียว รับรองป่านเนี้ย ก๊าซหุงต้ม มันขึ้นไปตั้งแต่ สามสี่ปีที่แล้วด้วยซ้ำ ตอนนี้ PTT เค้าก็ช่วยตรึงราคาตั้งเท่าไหร่
คุณ june1500 ได้โปรดเปิดตาดูโลกได้แล้ว ประเทศไทยนะไม่ใช้พม่า ถึงจะมานั่งปิดประเทศไม่สนใจประเทศอื่น
ปล ผมไม่มีหุ้น PTT แม้แต่หุ้นเดียวนะครับ
ขอโทษด้วย ถ้าความเห็นผมอาจใช้คำพูดบางคำรุณแรงไปหน่อย
-
- Verified User
- โพสต์: 870
- ผู้ติดตาม: 0
ปตท. : ประเด็นการถูกฟ้องร้อง
โพสต์ที่ 12
ขสมก ก็ไม่ได้แปรรูป ทำไม ราคาค่ารถเมล์ ขึ้นตั้งเท่าตัวล่ะครับ
ก็เพราะต้นทุนเค้าขึ้น มันก็ต้องขึ้นราคา
น้ำมันแพงก็เพราะเราซื้อ มาแพง
สรุปใครที่บอกว่า ของแพง เพราะเข้าตลาด แปรรูป เพื่อผู้ถือหุ้นนี้ ลองคิดใหม่ดูน่ะครับ
ก็เพราะต้นทุนเค้าขึ้น มันก็ต้องขึ้นราคา
น้ำมันแพงก็เพราะเราซื้อ มาแพง
สรุปใครที่บอกว่า ของแพง เพราะเข้าตลาด แปรรูป เพื่อผู้ถือหุ้นนี้ ลองคิดใหม่ดูน่ะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 143
- ผู้ติดตาม: 0
ปตท. : ประเด็นการถูกฟ้องร้อง
โพสต์ที่ 13
ลองอ่านกระทู้ของพี่กูรูขอบสนามดูสิครับ จะได้ทราบว่า PTT ก่อนแปรรูปเป็นอย่างไร
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=30081
ผมเห็นด้วยกับการแปรรูปเพื่อให้บริษัททำงานได้มีประสิทธิภาพ และโปร่งใสมากขึ้นครับ
เรื่องที่ monopoly นี่ผมว่าแต่ก่อนนี้ก็ไม่ใช่นะ แต่เดี๋ยวนี้ทำไม PTT ถึงได้กลายเป็นเจ้าตลาด อันนี้ลองไปถามพี่ กูรูขอบสนาม ดูนะครับ
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=30081
ผมเห็นด้วยกับการแปรรูปเพื่อให้บริษัททำงานได้มีประสิทธิภาพ และโปร่งใสมากขึ้นครับ
เรื่องที่ monopoly นี่ผมว่าแต่ก่อนนี้ก็ไม่ใช่นะ แต่เดี๋ยวนี้ทำไม PTT ถึงได้กลายเป็นเจ้าตลาด อันนี้ลองไปถามพี่ กูรูขอบสนาม ดูนะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 149
- ผู้ติดตาม: 0
ปตท. : ประเด็นการถูกฟ้องร้อง
โพสต์ที่ 14
พอดีลืมเน้นตั้งแต่แรกครับ
คือผมแย้งแต่ การลอยตัว lpg ตอนนี้ เท่านั้นครับ
เข้าใจเรื่องการขึ้นราคาน้ำมัน และรับได้
การขึ้นราคา ปล่อยลอยตัว lpg ชาวบ้าน
เดือดร้อนทุกครับเรือน และ ไม่ถูกจังหวะ
แสดงให้เห็นว่า ปตท ทำอะไรไม่เคยคิด
ถึงความเดือดร้อนของชาวบ้าน
เพราะการแปรรูปทำให้เป้าหมายจาก
การช่วยชาติ เป็น การทำกำไรสูงสุด
แต่เพียงอย่างเดียว
คือผมแย้งแต่ การลอยตัว lpg ตอนนี้ เท่านั้นครับ
เข้าใจเรื่องการขึ้นราคาน้ำมัน และรับได้
การขึ้นราคา ปล่อยลอยตัว lpg ชาวบ้าน
เดือดร้อนทุกครับเรือน และ ไม่ถูกจังหวะ
แสดงให้เห็นว่า ปตท ทำอะไรไม่เคยคิด
ถึงความเดือดร้อนของชาวบ้าน
เพราะการแปรรูปทำให้เป้าหมายจาก
การช่วยชาติ เป็น การทำกำไรสูงสุด
แต่เพียงอย่างเดียว
เงินทองไม่เข้าใครออกใคร
จะซื้อจะขายหุ้นก็รับผิดชอบกันเองอย่าไปโทษใคร
จะซื้อจะขายหุ้นก็รับผิดชอบกันเองอย่าไปโทษใคร
-
- Verified User
- โพสต์: 1104
- ผู้ติดตาม: 0
ปตท. : ประเด็นการถูกฟ้องร้อง
โพสต์ที่ 15
PTT เเปรรูปเเล้วจ่ายเงินให้มากกว่าเเต่ก่อนละเปล่า
เข้าใจว่าตอน ipo จะได้ส่วนต่างราคาหุ้น+ divdend + ภาษี
1. เเต่ถ้าไม่เเปรรูปละ รายได้ที่เข้ารัฐจะน้อยกว่านี้ไหม น่าจะมีคนลองทำ model เทียบกันดู???
2. การเเปรรูปทำให้ PTT ดีขึ้นจริงหรือเปล่าหรือเป็น เพราะ cycle ของพลังงานเป็นขาขึ้น ???
3. PTT มีความสามารถเเข่งขันสูงขึ้นหรือเปล่า ถ้าเทียบ กับ Petrochina Petronas etc ??
4. ข้อดีที่ชอบมากๆ คือการมีปั๊ม PTT มากๆ จึงเป็นเครื่องมือให้รัฐบาลช่วยคุมราคา ถ้ามีเเต่ปั้มต่างชาติ เราคงต้องใช้น้ำมันเเพงกว่านี้มาก
5. ไม่อยากให้ลอยตัว LPG เพราะ ข้าวเเกงที่ผมกินทุกวันมันจะขึ้นราคา มันกระทบกับ คนจนมาก คนจนจะลองรับผลกระทบได้น้อยกว่าคนรวย
บ่นจบเเล้ว
เข้าใจว่าตอน ipo จะได้ส่วนต่างราคาหุ้น+ divdend + ภาษี
1. เเต่ถ้าไม่เเปรรูปละ รายได้ที่เข้ารัฐจะน้อยกว่านี้ไหม น่าจะมีคนลองทำ model เทียบกันดู???
2. การเเปรรูปทำให้ PTT ดีขึ้นจริงหรือเปล่าหรือเป็น เพราะ cycle ของพลังงานเป็นขาขึ้น ???
3. PTT มีความสามารถเเข่งขันสูงขึ้นหรือเปล่า ถ้าเทียบ กับ Petrochina Petronas etc ??
4. ข้อดีที่ชอบมากๆ คือการมีปั๊ม PTT มากๆ จึงเป็นเครื่องมือให้รัฐบาลช่วยคุมราคา ถ้ามีเเต่ปั้มต่างชาติ เราคงต้องใช้น้ำมันเเพงกว่านี้มาก
5. ไม่อยากให้ลอยตัว LPG เพราะ ข้าวเเกงที่ผมกินทุกวันมันจะขึ้นราคา มันกระทบกับ คนจนมาก คนจนจะลองรับผลกระทบได้น้อยกว่าคนรวย
บ่นจบเเล้ว
สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นในเบื้องต้น ตั้งอยู่ เเละดับไปในที่สุด
- newbie_12
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2912
- ผู้ติดตาม: 1
ปตท. : ประเด็นการถูกฟ้องร้อง
โพสต์ที่ 16
ไอ้ตอนยากจนอ่ะ ตอน IMF เข้ามาอ่ะ จะกู้เค้าก็กู้ไม่ได้ อยากลงทุนก็อยากลงทุนแต่ไม่มีตัง ทำอย่างไรดี ก็ต้อง IPO สิ
พอ IPO คนเค้าก็เอาเงินมาลงทุนกัน พอบริษัทกำไร มันก็ต้องคืนกำไรให้คนที่เค้ามาลงทุนบ้างสิ ซึ่งที่ไหนๆเค้าก็ทำแบบนี้
อย่าเห็นแก่ตัวกันนักดิ ไอ้ส่วนที่เค้าควรได้ เค้าก็ควรได้ส่วนนั้นจริงๆ
ถ้า ปตท ขาดทุน ใครจะเอาเงินไปคืนส่วนที่เค้าลงมาหล่ะ เค้าแบบรับความเสี่ยง เค้าก็ต้องได้รับผลตอบแทนบ้าง
งงจริงๆกับประเทศสาระขัน
พอ IPO คนเค้าก็เอาเงินมาลงทุนกัน พอบริษัทกำไร มันก็ต้องคืนกำไรให้คนที่เค้ามาลงทุนบ้างสิ ซึ่งที่ไหนๆเค้าก็ทำแบบนี้
อย่าเห็นแก่ตัวกันนักดิ ไอ้ส่วนที่เค้าควรได้ เค้าก็ควรได้ส่วนนั้นจริงๆ
ถ้า ปตท ขาดทุน ใครจะเอาเงินไปคืนส่วนที่เค้าลงมาหล่ะ เค้าแบบรับความเสี่ยง เค้าก็ต้องได้รับผลตอบแทนบ้าง
งงจริงๆกับประเทศสาระขัน
-
- Verified User
- โพสต์: 391
- ผู้ติดตาม: 0
ปตท. : ประเด็นการถูกฟ้องร้อง
โพสต์ที่ 18
จำได้ว่าตอน ปตท.เข้าตลาดราคา 35 บาท(หรือไงนี่แหละ)
หลังจากนั้นราคาหุ้นก็ตกต่ำอย่างยาวนานซื้อขายกันแถวๆ 28 บาท
คนที่ได้ ipo เจ็บตัวกันทั้งนั้น
มีแต่เสียงร้อง
ไม่น่าเลยตรู
เข็ดแล้วตรู
ตรูไปแย่งเขาจองทำไม
ซื้อในตลาดถูกกว่าอีก
โง่จริงหนอตรู
แต่พอวัฏจักรปิโตรเคมีกลับมา
หุ้นมันก็ขึ้น
atc ยังขึ้นจาก 3 บาท ไป 60
20เท่านะนั่น
หุ้นเรือที่ถึงรอบวัฏจักร
ก็ล้วนแล้วแต่ขึ้น 20 เด้งกันทั้งนั้น
ปตท.ก็ย่อมจะขึ้นด้วย
ก็ทำไมจะไม่ล่ะ
เดี๋ยวถึงรอบขาลง
มันก็ลง
ก็มันเป็นธรรมชาติ
ผมไม่กล้าเสี่ยงซื้อ ปตท.ที่ 28 บาท
ผมก็ยอมรับว่า
ผมก็ไม่สมควรได้กำไรจากปตท.
ไม่เคยไปอิจฉาคนที่กล้าซื้อเลย
ก็เขากล้าเสี่ยงเขาก็ควรได้กำไรไม่ใช่หรือ
จริงๆแล้ว ปตท. ได้กำไรจากน้ำมันเป็นหลักจริงหรือ
ขูดรีดประชาชนจริงหรือ
ไม่ใช่ได้กำไรจากแก๊สของ ปตท.สผ.จริงหรือ
ไม่ใช่ได้จากบริษัทลูกจริงหรือ
เขมร ลาว พม่า ประเทศเขามีค่าครองชีพต่ำกว่าไทยเยอะ
ไปลาวที คนไทยกลายเป็นเศรษฐีเป็นเสี่ยกันทั้งนั้น
พม่าก็ด้วย
เขมรก็ด้วย เว้นเสียแต่ไปนครวัด อันนั้นแพงหูฉี่
แต่ประเทศเหล่านี้ขายน้ำมันแพงกว่าไทยลิบลับ
ข้อเท็จจริงเหล่านี้บอกอะไรกับเราบ้างล่ะครับ
หลังจากนั้นราคาหุ้นก็ตกต่ำอย่างยาวนานซื้อขายกันแถวๆ 28 บาท
คนที่ได้ ipo เจ็บตัวกันทั้งนั้น
มีแต่เสียงร้อง
ไม่น่าเลยตรู
เข็ดแล้วตรู
ตรูไปแย่งเขาจองทำไม
ซื้อในตลาดถูกกว่าอีก
โง่จริงหนอตรู
แต่พอวัฏจักรปิโตรเคมีกลับมา
หุ้นมันก็ขึ้น
atc ยังขึ้นจาก 3 บาท ไป 60
20เท่านะนั่น
หุ้นเรือที่ถึงรอบวัฏจักร
ก็ล้วนแล้วแต่ขึ้น 20 เด้งกันทั้งนั้น
ปตท.ก็ย่อมจะขึ้นด้วย
ก็ทำไมจะไม่ล่ะ
เดี๋ยวถึงรอบขาลง
มันก็ลง
ก็มันเป็นธรรมชาติ
ผมไม่กล้าเสี่ยงซื้อ ปตท.ที่ 28 บาท
ผมก็ยอมรับว่า
ผมก็ไม่สมควรได้กำไรจากปตท.
ไม่เคยไปอิจฉาคนที่กล้าซื้อเลย
ก็เขากล้าเสี่ยงเขาก็ควรได้กำไรไม่ใช่หรือ
จริงๆแล้ว ปตท. ได้กำไรจากน้ำมันเป็นหลักจริงหรือ
ขูดรีดประชาชนจริงหรือ
ไม่ใช่ได้กำไรจากแก๊สของ ปตท.สผ.จริงหรือ
ไม่ใช่ได้จากบริษัทลูกจริงหรือ
เขมร ลาว พม่า ประเทศเขามีค่าครองชีพต่ำกว่าไทยเยอะ
ไปลาวที คนไทยกลายเป็นเศรษฐีเป็นเสี่ยกันทั้งนั้น
พม่าก็ด้วย
เขมรก็ด้วย เว้นเสียแต่ไปนครวัด อันนั้นแพงหูฉี่
แต่ประเทศเหล่านี้ขายน้ำมันแพงกว่าไทยลิบลับ
ข้อเท็จจริงเหล่านี้บอกอะไรกับเราบ้างล่ะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 987
- ผู้ติดตาม: 0
ปตท. : ประเด็นการถูกฟ้องร้อง
โพสต์ที่ 19
จำได้แม่นเลยว่แผ่วเบา เขียน:จำได้ว่าตอน ปตท.เข้าตลาดราคา 35 บาท(หรือไงนี่แหละ)
ผมไม่กล้าเสี่ยงซื้อ ปตท.ที่ 28 บาท
ผมก็ยอมรับว่า
ผมก็ไม่สมควรได้กำไรจากปตท.
ไม่เคยไปอิจฉาคนที่กล้าซื้อเลย
ก็เขากล้าเสี่ยงเขาก็ควรได้กำไรไม่ใช่หรือ
วันที่ ปตท.ลงมา 28 บาท เพราะมีข่าวร้ายเกิดขึ้น จำได้มั้ยเอ่ย
เอ้า..ก็เจอเรือขนน้ำมันเถื่อนกลางทะลอ่าวไทยอย่างไรเล่า
แถมมีข่าวว่าเป็นน้ำมันที่ขนให้ ปตท.ด้วย
โยนข่าวกันไปมาระหว่าง คนในปตท.แก้ตัวพัลวันกันเอง
หุ้นเลยหล่นตุ๊บลงมา แต่ชั่วข้ามวันเองนะครับ
แล้วก็กลับขึ้นไปใหม่
ฉะนั้นถ้าใครไม่ได้อยู่หน้าจอ จะไม่ได้ราคานี้เด็ดขาด
-
- Verified User
- โพสต์: 391
- ผู้ติดตาม: 0
ปตท. : ประเด็นการถูกฟ้องร้อง
โพสต์ที่ 20
อ้อ.......อีกนิดครับ
ปตท.เองไม่ใช่หรือ
ที่มักจะเป็นคนที่ลดราคาน้ำมันลงก่อนเชลล์ คาร์ลเท็กซ์ และเอสโซ่
หรือถ้าจะขึ้นราคา
ก็มักจะขึ้นทีหลังเขา
อย่างนี้
ถ้าไม่มีปตท.
คนไทยจะไม่โดนบริษัทน้ำมันต่างชาติโขกราคาเต็มๆ ตามใจฉันหรอกหรือ
รัฐจะไปสั่งบริษัทน้ำมันของต่างชาติให้ลดราคาตามใจชอบได้หรือ
ที่รัฐทำได้ก็คือ
สั่งลดที่ ปตท.เอง
เมื่อเราลด ต่างชาติก็ต้องลดตาม ไม่งั้นเขาก็ขายไม่ออกไม่ใช่หรือ
ถ้าจะทำอย่างนั้นได้
ปตท.ของเราก็จะต้องเข้มแข็ง
การบริหารองค์กรต้องมีประสิทธิภาพพอสมควร
ถ้าเป็นแบบรัฐวิสาหกิจทั่วๆไป
จะไปสู้ใครเขาได้
รถไฟ รถเมล์ เป็นตัวอย่างที่คลาสสิคของรัฐวิสาหกิจ
เช้าชามเย็นชาม
สมัยก่อนเป็นอย่างไร สมัยนี้ก็เป็นอย่างนั้น
ไม่เคยพัฒนาขึ้นเลย
ยิ่งโทรศัพท์เมื่อก่อน
โทรศัพท์บ้านนะครับ
บ้านใครมีถือว่าเท่มาก
ใครไม่มี ก็ทำเรื่องขอไปเถอะ
สามปีได้เบอร์ ถือว่าเร็วมากแล้ว
ทีนี้ ถ้าปตท.อ่อนแอเหมือนพวกข้างต้น
แข่งลดราคาไม่กี่เที่ยว
เราก็เจ๊งแล้ว
พอเราเจ๊ง
ทีนี้เขาจะโขกอย่างไรเราก็ต้องยอม
ก็เหลือแต่เขาผูกขาดใช่ไหมครับ
ก็ยังไงๆเราก็ต้องใช้น้ำมัน
จะแพงอย่างไร
ก็จะมีหลายส่วนหลายองค์กรต้องใช้น้ำมัน
ส่วนที่ว่านี้มีไม่ต่ำกว่า 80 % ของผู้ใช้น้ำมันทั้งหมดเลยทีเดียว
ดังนั้น
กาลจึงกลายเป็นว่า
แทนที่ ปตท.จะเป็นผู้ขูดรีดจากประชาชนเอาใจผู้ถือหุ้น
แต่กลายเป็น ปตท. นี่แหละ
ที่ป้องกันไม่ให้ต่างชาติมาขูดรีดประชาชนคนไทย
ปตท.เองไม่ใช่หรือ
ที่มักจะเป็นคนที่ลดราคาน้ำมันลงก่อนเชลล์ คาร์ลเท็กซ์ และเอสโซ่
หรือถ้าจะขึ้นราคา
ก็มักจะขึ้นทีหลังเขา
อย่างนี้
ถ้าไม่มีปตท.
คนไทยจะไม่โดนบริษัทน้ำมันต่างชาติโขกราคาเต็มๆ ตามใจฉันหรอกหรือ
รัฐจะไปสั่งบริษัทน้ำมันของต่างชาติให้ลดราคาตามใจชอบได้หรือ
ที่รัฐทำได้ก็คือ
สั่งลดที่ ปตท.เอง
เมื่อเราลด ต่างชาติก็ต้องลดตาม ไม่งั้นเขาก็ขายไม่ออกไม่ใช่หรือ
ถ้าจะทำอย่างนั้นได้
ปตท.ของเราก็จะต้องเข้มแข็ง
การบริหารองค์กรต้องมีประสิทธิภาพพอสมควร
ถ้าเป็นแบบรัฐวิสาหกิจทั่วๆไป
จะไปสู้ใครเขาได้
รถไฟ รถเมล์ เป็นตัวอย่างที่คลาสสิคของรัฐวิสาหกิจ
เช้าชามเย็นชาม
สมัยก่อนเป็นอย่างไร สมัยนี้ก็เป็นอย่างนั้น
ไม่เคยพัฒนาขึ้นเลย
ยิ่งโทรศัพท์เมื่อก่อน
โทรศัพท์บ้านนะครับ
บ้านใครมีถือว่าเท่มาก
ใครไม่มี ก็ทำเรื่องขอไปเถอะ
สามปีได้เบอร์ ถือว่าเร็วมากแล้ว
ทีนี้ ถ้าปตท.อ่อนแอเหมือนพวกข้างต้น
แข่งลดราคาไม่กี่เที่ยว
เราก็เจ๊งแล้ว
พอเราเจ๊ง
ทีนี้เขาจะโขกอย่างไรเราก็ต้องยอม
ก็เหลือแต่เขาผูกขาดใช่ไหมครับ
ก็ยังไงๆเราก็ต้องใช้น้ำมัน
จะแพงอย่างไร
ก็จะมีหลายส่วนหลายองค์กรต้องใช้น้ำมัน
ส่วนที่ว่านี้มีไม่ต่ำกว่า 80 % ของผู้ใช้น้ำมันทั้งหมดเลยทีเดียว
ดังนั้น
กาลจึงกลายเป็นว่า
แทนที่ ปตท.จะเป็นผู้ขูดรีดจากประชาชนเอาใจผู้ถือหุ้น
แต่กลายเป็น ปตท. นี่แหละ
ที่ป้องกันไม่ให้ต่างชาติมาขูดรีดประชาชนคนไทย
-
- Verified User
- โพสต์: 391
- ผู้ติดตาม: 0
ปตท. : ประเด็นการถูกฟ้องร้อง
โพสต์ที่ 21
ผมจำได้ว่าหุ้นเลยหล่นตุ๊บลงมา แต่ชั่วข้ามวันเองนะครับ
แล้วก็กลับขึ้นไปใหม่
ฉะนั้นถ้าใครไม่ได้อยู่หน้าจอ จะไม่ได้ราคานี้เด็ดขาด
ราคาหุ้นต่ำกว่า 35 บาท ซึ่งเป็นราคา ipo
ยาวนานสักหกเดือนได้มั้ง 29 มั่ง 31 มั่ง แถวๆนี้แหละ
ส่วน 28 บาท น่าจะเป็นพี่กูรูจำแม่นกว่า ตรงนี้ผมไม่ชัวร์
ใครมีกราฟย้อนหลังลองเอามาดูสิครับว่า
ราคาหุ้นมันขึ้นจาก 35 ไป 400+
แบบม้วนเดียวจบ โดยไม่เคยอ่อนตัวลงมาเลย
อย่างนี้จะได้โทษคนที่ใช้เส้นและอิทธิพลทางการเมืองจองได้
หรือว่ามันเคยอ่อนตัวต่ำกว่า 35 อย่างที่พี่กูรูและผมว่า
- เด็กตัวเล็กๆ
- Verified User
- โพสต์: 98
- ผู้ติดตาม: 0
ปตท. : ประเด็นการถูกฟ้องร้อง
โพสต์ที่ 22
ส่วนตัวผมว่าแปรรูปหรือไม่ ไม่ใช่ประเด็น แต่การที่เหมือนยังมีอำนาจของรัฐใช้อยู่ในบริษัท มหาชนนั้นไม่น่าจะถูกต้อง
STAY CALM & STAY INVEST
-
- Verified User
- โพสต์: 1104
- ผู้ติดตาม: 0
ปตท. : ประเด็นการถูกฟ้องร้อง
โพสต์ที่ 23
ผมลองอีกมุมนึง นะพี่ นี่คือกลยุทธ ปตททุบเจ้าอื่นให้ตาย โดย pricing ราคาต่ำ เเล้วจะได้ครอง ตลาดเจ้าเดียวหรือเปล่า?แผ่วเบา เขียน:อ้อ.......อีกนิดครับ
ปตท.เองไม่ใช่หรือ
ที่มักจะเป็นคนที่ลดราคาน้ำมันลงก่อนเชลล์ คาร์ลเท็กซ์ และเอสโซ่
หรือถ้าจะขึ้นราคา
ก็มักจะขึ้นทีหลังเขา
อย่างนี้
ถ้าไม่มีปตท.
คนไทยจะไม่โดนบริษัทน้ำมันต่างชาติโขกราคาเต็มๆ ตามใจฉันหรอกหรือ
รัฐจะไปสั่งบริษัทน้ำมันของต่างชาติให้ลดราคาตามใจชอบได้หรือ
ที่รัฐทำได้ก็คือ
สั่งลดที่ ปตท.เอง
เมื่อเราลด ต่างชาติก็ต้องลดตาม ไม่งั้นเขาก็ขายไม่ออกไม่ใช่หรือ
เรื่องเเปรรูปเเล้ว ประสิทธิภาพดีขึ้น นี่เเน่นอนเห็นด้วยดูจาก PTTEP เเต่ยังไม่เเน่ใจเรื่อง ท่อก๊าซว่ามันผูกขาดหรือเปล่า
ตัวที่โดนเรื่องผูกขาด น่าจะเป็น AOT มากกว่า..
สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นในเบื้องต้น ตั้งอยู่ เเละดับไปในที่สุด
-
- Verified User
- โพสต์: 697
- ผู้ติดตาม: 0
ปตท. : ประเด็นการถูกฟ้องร้อง
โพสต์ที่ 25
เดาเอาว่า ผลการตัดสินของศาลเกิดผลลบกับบริษัทแน่นอน โอกาศความน่าจะเป็น 99.99% :lol:
แต่น่าจะลบไม่มาก และตลาดตอนนี้ก็เริ่มทำการรับข่าวสารตรงนี้ไปแล้ว ราคาหุ้นลงมาก็ไปตามการรับรู้ข่าวสารนี้ด้วย
PTTEP ถ้าจำไม่ผิด เมื่อก่อนไม่ใช่รัฐวิสาหกิจน่ะ
แต่น่าจะลบไม่มาก และตลาดตอนนี้ก็เริ่มทำการรับข่าวสารตรงนี้ไปแล้ว ราคาหุ้นลงมาก็ไปตามการรับรู้ข่าวสารนี้ด้วย
PTTEP ถ้าจำไม่ผิด เมื่อก่อนไม่ใช่รัฐวิสาหกิจน่ะ
-
- Verified User
- โพสต์: 391
- ผู้ติดตาม: 0
ปตท. : ประเด็นการถูกฟ้องร้อง
โพสต์ที่ 26
ปัญหาที่พี่ june ติดใจไม่ใช่เรื่องแปรรูป
แต่ป็นเรื่องที่ปตท.จะขึ้นราคาแก๊ส
โดยมองว่าเป็นการทำเพื่อผลประโยชน์ผู้ถือหุ้น
ซึ่งมีกระจุกเดียว
แต่เกิดการขูดรีดประชาชนซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่
แต่ผมว่ามันเป็นปัญหาที่ต่อเนื่องกันเหมือนเรือพ่วง
ถ้าเขาเป็นมหาชนเขาก็ต้องหวังกำไร
ไม่อย่างนั้นใครจะมาร่วมหุ้นซึ่งมีความเสี่ยงกันทั้งนั้นที่จะขาดทุน
ถ้าไม่หวังกำไร
ก็ต้องเป็นของรัฐ เพราะรัฐไม่มีเจ้าภาพ
มีแต่คนจ้องจะเขมือบเค้ก
ถ้าเป็นรัฐวิสาหกิจการทำงานก็จะเป็นอย่างที่เห็น
ระยะเวลาที่ยาวนานได้พิสูจน์มาแล้วทั่วโลก
ว่ารัฐวิสาหกิจนั้นเป็นบ่อเกิดของผลประโยชน์สำหรับคนบางกลุ่มเช่นกัน
การทำงานอืดอาด เชื่องช้า เฉื่อยชา
ทั้งหมดส่งผลให้ต้นทุนสูง
พี่ terati20 บอกว่า
เสียดายที่ไม่มีใครทำโปรเจคเทียบกันระหว่างแปรรูปกับไม่แปรรูป
ผมก็เสียดายเช่นกัน
ไม่อย่างนั้นจะได้เห็นกันจะๆ
อย่างปตท.ปล่อยลอยตัวราคาแก๊ส ที่ราคา 500 บาท/ถัง(สมมตินะครับ)
ประชาชนจะบ่นเดือดร้อน
แต่ที่ราคานี้ ปตท.ได้กำไรงามเข้ากระเป๋าผู้ถือหุ้นและเข้ารัฐด้วย
แต่ที่ราคานี้ 500 บาท/ถังนี่แหละ
ปตท.ที่ไม่ได้แปรรูปอาจจะบอกว่าขาดทุนยับ
ต้องขาย 800 บาทถึงจะพออยู่ได้
เหมือนพม่าและเขมรเวลานี้
ถามว่าประชาชนเดือดร้อนกรณีไหนมากกว่ากัน
ถามว่าทำไมปตท.ที่ไม่ได้แปรรูปถึงมีต้นทุนสูงนักล่ะ
ต้องขาย 800 เลยหรือถึงจะอยู่ได้
แฮ่ ๆ ๆ การแข่งขันก็เป็นอย่างนี้แหละครับ
บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ส่วนใหญ่ก็เก่งกันนะครับ
แต่การคุมต้นทุนการบริหารจัดการที่แตกต่างกัน
ทำให้บางแห่งกำไรงาม อย่าง bat-3k เป็นต้น
บางแห่งขาดทุนยับอย่าง yuasa นี่ไง
นี่ขนาด yuasa มีรูปแบบเป็นเอกชน
มีบริษัทยักษ์ใหญ่หนุนหลัง
มีเทคโนโลยีสนับสนุนจากญี่ปุ่น
ยังขาดทุนยับ
แล้วถ้าเป็นบริษัทแบตเตอรี่ที่เป็นของราชการ
จะไปเหลือหรือครับ
แต่ป็นเรื่องที่ปตท.จะขึ้นราคาแก๊ส
โดยมองว่าเป็นการทำเพื่อผลประโยชน์ผู้ถือหุ้น
ซึ่งมีกระจุกเดียว
แต่เกิดการขูดรีดประชาชนซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่
แต่ผมว่ามันเป็นปัญหาที่ต่อเนื่องกันเหมือนเรือพ่วง
ถ้าเขาเป็นมหาชนเขาก็ต้องหวังกำไร
ไม่อย่างนั้นใครจะมาร่วมหุ้นซึ่งมีความเสี่ยงกันทั้งนั้นที่จะขาดทุน
ถ้าไม่หวังกำไร
ก็ต้องเป็นของรัฐ เพราะรัฐไม่มีเจ้าภาพ
มีแต่คนจ้องจะเขมือบเค้ก
ถ้าเป็นรัฐวิสาหกิจการทำงานก็จะเป็นอย่างที่เห็น
ระยะเวลาที่ยาวนานได้พิสูจน์มาแล้วทั่วโลก
ว่ารัฐวิสาหกิจนั้นเป็นบ่อเกิดของผลประโยชน์สำหรับคนบางกลุ่มเช่นกัน
การทำงานอืดอาด เชื่องช้า เฉื่อยชา
ทั้งหมดส่งผลให้ต้นทุนสูง
พี่ terati20 บอกว่า
เสียดายที่ไม่มีใครทำโปรเจคเทียบกันระหว่างแปรรูปกับไม่แปรรูป
ผมก็เสียดายเช่นกัน
ไม่อย่างนั้นจะได้เห็นกันจะๆ
อย่างปตท.ปล่อยลอยตัวราคาแก๊ส ที่ราคา 500 บาท/ถัง(สมมตินะครับ)
ประชาชนจะบ่นเดือดร้อน
แต่ที่ราคานี้ ปตท.ได้กำไรงามเข้ากระเป๋าผู้ถือหุ้นและเข้ารัฐด้วย
แต่ที่ราคานี้ 500 บาท/ถังนี่แหละ
ปตท.ที่ไม่ได้แปรรูปอาจจะบอกว่าขาดทุนยับ
ต้องขาย 800 บาทถึงจะพออยู่ได้
เหมือนพม่าและเขมรเวลานี้
ถามว่าประชาชนเดือดร้อนกรณีไหนมากกว่ากัน
ถามว่าทำไมปตท.ที่ไม่ได้แปรรูปถึงมีต้นทุนสูงนักล่ะ
ต้องขาย 800 เลยหรือถึงจะอยู่ได้
แฮ่ ๆ ๆ การแข่งขันก็เป็นอย่างนี้แหละครับ
บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ส่วนใหญ่ก็เก่งกันนะครับ
แต่การคุมต้นทุนการบริหารจัดการที่แตกต่างกัน
ทำให้บางแห่งกำไรงาม อย่าง bat-3k เป็นต้น
บางแห่งขาดทุนยับอย่าง yuasa นี่ไง
นี่ขนาด yuasa มีรูปแบบเป็นเอกชน
มีบริษัทยักษ์ใหญ่หนุนหลัง
มีเทคโนโลยีสนับสนุนจากญี่ปุ่น
ยังขาดทุนยับ
แล้วถ้าเป็นบริษัทแบตเตอรี่ที่เป็นของราชการ
จะไปเหลือหรือครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1230
- ผู้ติดตาม: 0
ปตท. : ประเด็นการถูกฟ้องร้อง
โพสต์ที่ 27
ทุกวันนี้ หลาย NGO น่ารำคาญมาก เชื่อว่ากระบวนความคิดน่าจะมีปัญหา ที่เห็นได้ชัด คือ ชอบมองปัญหาด้านเดียว แล้วค้านแบบหัวชนฝา ชอบแก้ปัญหาด้วยความเห็น แทนที่จะใช้ความรู้ ท้ายสุดก็คือ ทิ้งปัญหาอีกด้านหนึ่งไว้เหมือนเช่นเคย
ปล. จริง ๆ NGO ดี ๆ ก็มีมาก แต่ NGO ยอดแย่ ก็ไม่น้อย แถมซื้อได้ด้วย
ปล. จริง ๆ NGO ดี ๆ ก็มีมาก แต่ NGO ยอดแย่ ก็ไม่น้อย แถมซื้อได้ด้วย
- por_jai
- Verified User
- โพสต์: 14338
- ผู้ติดตาม: 0
ปตท. : ประเด็นการถูกฟ้องร้อง
โพสต์ที่ 29
8) แอบเชียร์หุ้น ปรับ6900ล้าน อ่ะแผ่วเบา เขียน: แฮ่ ๆ ๆ การแข่งขันก็เป็นอย่างนี้แหละครับ
บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ส่วนใหญ่ก็เก่งกันนะครับ
แต่การคุมต้นทุนการบริหารจัดการที่แตกต่างกัน
ทำให้บางแห่งกำไรงาม อย่าง bat-3k เป็นต้น
บางแห่งขาดทุนยับอย่าง yuasa นี่ไง
นี่ขนาด yuasa มีรูปแบบเป็นเอกชน
มีบริษัทยักษ์ใหญ่หนุนหลัง
มีเทคโนโลยีสนับสนุนจากญี่ปุ่น
ยังขาดทุนยับ
แล้วถ้าเป็นบริษัทแบตเตอรี่ที่เป็นของราชการ
จะไปเหลือหรือครับ
กรูเก่ง กิเลสเก่งกว่า
-
- Verified User
- โพสต์: 987
- ผู้ติดตาม: 0
ปตท. : ประเด็นการถูกฟ้องร้อง
โพสต์ที่ 30
[quote="lekmak333"]เดาเอาว่า ผลการตัดสินของศาลเกิดผลลบกับบริษัทแน่นอน โอกาศความน่าจะเป็น 99.99%