กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news01/12/07

โพสต์ที่ 211

โพสต์

พลังงานเริ่มก้าวแรกลอยตัวก๊าซหุงต้มราคาพุ่ง18 บาทต่อกก.

30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 17:21:00

พลังงานประกาศปรับขึ้นราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นก๊าซหุงต้ม 1.20 บาท/กก. ทำให้ราคาขายปลีกก๊าซหุงต้มเพิ่มเป็น 18.01 บาท/กก.ก้าวแรกก่อนเดินหน้าลอยตัว ลดภาระชดเชยกองทุนน้ำมันเดือนละ 279 ล้านบาท

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า ในวันนี้ (30 พย.) กระทรวงพลังงาน ได้พิจารณาปรับราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นของก๊าซหุงต้มเพิ่มขึ้น 1.20 บาท/กก. ทำให้ราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ใช้ในรถยนต์เพิ่มขึ้น 65 สต./ลิตร และราคาจำหน่ายปลีกก๊าซหุงต้ม จะอยู่ที่ 18.01 บาท/กก. หรือราคาก๊าซหุงต้มถัง 15 กก. เพิ่มขึ้น 18 บาท/ถัง เป็น 270 บาท/ถัง (จากเดิมราคาก๊าซหุงต้มอยู่ที่ระดับ 16.81 บาท/กก. หรือ 252 บาท/ถัง 15 กก.) เพื่อลดภาระการชดเชยเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องจ่ายชดเชยราคาก๊าซหุงต้มประมาณ 279 ล้านบาท/เดือน

สาเหตุที่กระทรวงพลังงานมีความจำเป็น ต้องปรับราคาก๊าซหุงต้มในครั้งนี้ เนื่องจากพบว่าในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลได้ใช้นโยบายตรึงราคาขายปลีกก๊าซหุงต้มมาโดยตลอด โดยใช้เงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เก็บจากน้ำมันชนิดอื่นมาจ่ายชดเชย จนมีผลให้ราคาขายปลีกก๊าซหุงต้มต่ำกว่าน้ำมันชนิดอื่นๆ ทำให้เกิดการใช้ก๊าซหุงต้มแทน

ภาคขนส่ง ผู้ใช้รถยนต์ได้เปลี่ยนมาใช้ก๊าซหุงต้มแทนน้ำมันเบนซิน และภาคอุตสาหกรรมได้เปลี่ยนมาใช้แทนน้ำมันเตา โดยเฉพาะในภาคขนส่งนั้น พบว่าปริมาณการใช้ก๊าซหุงต้มเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด ในปี 2549 ที่ผ่านมา มีการใช้เพิ่มถึงร้อยละ 51.6 และในปี 2550 นี้ มีการใช้เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.7

นอกจากนี้ ราคาก๊าซหุงต้มในประเทศที่จำหน่ายต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ส่งผลให้เกิดการลักลอบส่งออก ทำให้สูญเสียเงินจากกองทุนน้ำมันฯ รวมทั้งการใช้ก๊าซหุงต้มมาเป็นเชื้อเพลิงทดแทนในเครื่องยนต์เพิ่มขึ้น ทำให้ขาดรายได้จากการส่งออกและสูญเสียโอกาสจากการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากว่า

ราคาก๊าซหุงต้มได้ถูกชดเชย 2 ระดับ คือ การชดเชยโดยตรงจากกองทุนน้ำมัน โดยผู้ใช้น้ำมันเบนซินและดีเซล ต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมันเพื่อมาชดเชยผู้ใช้ก๊าซหุงต้ม ซึ่งไม่เป็นธรรมต่อผู้ใช้น้ำมันที่มีทั่วประเทศ และมีการชดเชยโดยอ้อม จากผู้ผลิตก๊าซหุงต้ม จากการที่รัฐบาลได้กำหนดราคาก๊าซหุงต้มอยู่ในระดับไม่เกิน 320 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน ในขณะที่ราคาตลาดโลกอยู่ในระดับประมาณ 740 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน ทำให้เกิดส่วนต่างด้านราคา ซึ่งเป็นแรงจูงใจให้ผู้ผลิต และผู้ค้าก๊าซหุงต้ม อยากส่งออกมากกว่าจำหน่ายในประเทศ โดยการปรับราคาครั้งนี้ เป็นการลดภาระการชดเชยจากกองทุนน้ำมัน และได้มีการกำหนดสูตรราคา ณ โรงกลั่นให้สามารถเปลี่ยนแปลงตามราคาตลาดโลกได้เล็กน้อย พร้อมกับการยกเลิกการเก็บเงินเข้ากองทุนจากการส่งออกก๊าซหุงต้ม นายวีระพลกล่าว

ดังนั้น ภาครัฐจึงมีความจำเป็นต้องมีการปรับราคา เพื่อลดภาระการชดเชยจากกองทุนน้ำมันฯ และค่อยๆ ปรับราคาให้สะท้อนราคาตามต้นทุนจริงที่ควรเป็น เพื่อไม่ให้เกิดการบิดเบือน
http://www.bangkokbiznews.com/2007/11/3 ... sid=207424
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news01/12/07

โพสต์ที่ 212

โพสต์

ทุ่มทุน100ล้านผุดปั๊มเอ็นจีวี "มหาชัยขนส่ง"บุกตลาดภาคใต้

"มหาชัยขนส่ง" สบช่องน้ำมันแพง ทุ่มทุน 100 ล้าน ผุดสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ-น้ำมัน ปตท.ครบวงจร ตรงข้ามมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ รุกขยายไปยังสุราษฎร์ -นครศรีฯ พร้อมเปิดรับดีลเลอร์ทั่วภาคใต้รับตลาดเติบโต

นายภควัต ศิริมหาชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็นจีวี พาวเวอร์ จำกัด ทายาทเจ้าของธุรกิจขนส่งรายใหญ่ภาคใต้ "มหาชัยขนส่ง" เปิดเผยถึงการเข้ามาลงทุนสร้างสถานีบริการก๊าซเอ็นจีวี ที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา แบบครบวงจรว่า บริษัทได้วางแผนลงทุนมาเกือบ 1 ปีแล้ว โดยใช้เงินลงทุนประมาณ 100 ล้านบาทสำหรับธุรกิจให้บริการก๊าซธรรมชาติ -น้ำมัน รวมทั้งการติดตั้งถัง เอ็นจีวี และการซ่อมบำรุง โดยใน ปีนี้ลงทุนในช่วงแรกราว 50 ล้านบาทสร้างสถานีบริการบนพื้นที่ 10 ไร่ฝั่งตรงข้ามมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ และได้เปิดให้บริการไปแล้วเมื่อวันที่ 23 พ.ย.2550 และยังมีศูนย์อาหาร ร้านกาแฟอเมซอน เซเว่นอีเลฟเว่น และในปีหน้าจะลงทุนอีกราว 50 ล้านบาท

นอกจากนั้นจะมีการลงทุนเพิ่มในส่วนของศูนย์บริการรับติดตั้งถังเอ็นจีวี โดยจะเน้นเฉพาะรถใหญ่ อาทิ รถบัส รถทัวร์ รถบรรทุก หัวลาก ส่วนรถเล็ก รถเก๋งมีศูนย์บริการที่ถนน 30 เมตรหาดใหญ่ กำลังได้รับความสนใจจากลูกค้าทั่วไป กลุ่มองค์กร หน่วยงานราชการ และบริษัทต่างๆ

"สาเหตุที่บริษัทกล้าลงทุนในยุคเศรษฐกิจไม่ดี เพราะมองเห็นว่าน้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้น และมีรถบรรทุกขนส่งในเครือรวมกันราว 500 คัน หากหันมาใช้ก๊าซเอ็นจีวีจะลดต้นทุนขนส่งได้มาก ก่อนหน้านี้ได้ไปศึกษาและเปิดให้บริการรับติดตั้งถังเอ็นจีวีที่กรุงเทพฯ ทำให้บริษัทมีความเชี่ยวชาญและมีมาตรฐานได้รับการรับรองทุกขั้นตอนจาก ปตท." นายภควัตกล่าวและว่า

ในต้นปีหน้าบริษัทจะขยายการลงทุนไปยัง จ.สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช พร้อมเปิดรับตัวแทนจำหน่ายทั่วภาคใต้ด้วย โดยมีรูปแบบการลงทุนอย่างครบวงจร ทั้งสถานีบริการ รับติดตั้งและซ่อมบำรุง คาดว่าจะต้องใช้เงินลงทุนแห่งละประมาณ 40 ล้านบาท "ตอนนี้เราได้ติดตั้งถังก๊าซเอ็นจีวีรถขนส่งในเครือไปแล้ว 50% หรือประมาณ 200 กว่าคัน

ซึ่งช่วยประหยัดค่าเชื้อเพลิงได้ 40,000-50,000 บาท/คัน ราคาติดตั้งอยู่ที่ประมาณ 30,000-60,000 บาท ช่วงนี้เรามีโปรโมชั่นลดให้ 10,000 บาท รับประกัน 1 ปี นอกจากนั้นยังมีระบบเงินผ่อนกับทางอิออนและทางกสิกรแบงก์ให้บริการสินเชื่ออีกด้วย" นายภควัตกล่าว
http://matichon.co.th/prachachat/pracha ... ionid=0211
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news03/12/07

โพสต์ที่ 213

โพสต์

แรงเทขายหุ้นกลุ่มพลังงานกดดันหุ้นไทยร่วง 1.81% - ข่าว 18.00 น.
--------------------------------------------------------------------------------
Posted on Monday, December 03, 2007
ตลาดหุ้นไทยวันนี้เคลื่อนไหวผันผวน โดยในช่วงเช้าดัชนีไดัปรับตัวไปทดสอบแนวต้านที่ 850 จุด ก่อนที่จะปรับตัวลดลง จากแรงเทขายทำกำไรในหุ้นใลค่าตลาดสูง โดยเฉพาะช่วงท้ายตลาดที่มีแรงขายค่อนข้างมาก กดดัชนีลงไปต่ำสุดที่ 830.94 จุด ก่อนที่จะขึ้นมาปิดการซื้อขายได้เล็กน้อยที่ระดับ 831.12 จุด ปรับลดลง 15.32 จุด หรือ 1.81% มูลค่าการซื้อขายทั้งสิ้น 16,939.82 ล้านบาท โดยต่างชาติขายสุทธิ 1,671 ล้านบาท

นายทวีรัชต์ มัททวีวงศ์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิคราะห์หลักทรัพย์ บล.ไซรัส บอกว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยวันนี้ ปิดตัวสวนทางกับทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศส่วนใหญ่ที่ปรับเพิ่มขึ้นตามดัชนีดาวโจนส์ จากความหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ(FED)อาจมีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยและกระทรวงคลังเตรียมจะออกมาตรการช่วยเหลือธุรกิจอสังหาฯที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาซับไพร์ม

นอกจากนี้ สาเหตุที่ทำให้ตลาดหุ้นไทยปิดลบนั้น ยังอาจเกิดจากตลาดที่ยังไม่มีปัจจัยบวกใหม่ที่จะกระตุ้นจิตวิทยาการลงทุนได้อย่างชัดเจน ประกอบกับราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับลดลงกว่า 2 ดอลลาร์สหรัฐมาปิดตลาดที่ราคา 88.71 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังนักค้าน้ำมันคาดว่ากลุ่มโอเปกจะปรับเพิ่มกำลังการผลิต ก็ส่งผลให้มีแรงขายในกลุ่มพลังงานออกมา ฉุดให้ดัชนีฯช่วงบ่ายปรับลดลงต่อเนื่อง
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news05/12/07

โพสต์ที่ 214

โพสต์

วิเคราะห์แนวโน้มราคาน้ำมันรอบสัปดาห์

4 ธันวาคม พ.ศ. 2550 17:39:00

สรุปสถานการณ์น้ำมันวันที่ 27 พ.ย. 3 ธ.ค. 50 และคาดการณ์แนวโน้มราคาน้ำมันวันที่ 4 - 10 ธ.ค. 50

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :  
 น้ำมันดิบ : ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ปรับตัวลดลงเกือบ 9 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล หรือลดลงร้อยละ 9 ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยปิดที่ 89.16 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล เนื่องจากตลาดคาดการณ์ว่า โอเปกจะประกาศเพิ่มเพดานการผลิตน้ำมันดิบที่ประมาณ 5 แสนบาร์เรลต่อวัน ในการประชุมวันพุธนี้ และความกังวลว่าเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา จะชะลอตัวลงจากปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ที่ด้อยคุณภาพซึ่งยังส่งผลกระทบอยู่ในขณะนี้ แม้ว่าท่อขนส่งน้ำมันดิบจากแคนาดามายังสหรัฐฯเกิดระเบิดขึ้นเมื่อวันพุธที่แล้ว และส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวขึ้นไปถึง 5 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรลในการซื้อขายระหว่างวัน แต่ราคาก็ได้ปรับลดลงอย่างรวดเร็วก่อนปิดตลาด หลังจากที่เหตุการณ์ดังกล่าวไม่ได้ส่งผลกระทบรุนแรงอย่างที่คาดการณ์ไว้

คาดว่าราคาน้ำมันดิบ WTI ในช่วงถัดไปมีแนวโน้มปรับตัวลดลง

   เนื่องจากปัจจัยบวกที่ส่งผลให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันดิบอย่างที่ควรจะเป็น  แสดงถึงภาวะตลาดที่กำลังอยู่ในช่วงขาลง โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่า โอเปกจะปรับเพิ่มเพดานการผลิตในการประชุมวันที่ 5 ธ.ค. นี้ ซึ่งจะส่งผลให้ตลาดคลายความกังวลเกี่ยวกับอุปทานน้ำมันดิบที่อยู่ในภาวะตึงตัวลงได้ อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องรอดูผลการประชุมของโอเปก เพราะหากโอเปกไม่เพิ่มกำลังการผลิตตามที่คาดการณ์ไว้ อาจส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 90-95 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล ได้อีกครั้ง

    นอกจากนี้ธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจมีการประกาศลดอัตราดอกเบี้ย ประมาณร้อยละ 0.25 ในการประชุมในวันที่  11 ธ.ค. ที่จะถึงนี้ เพื่อแก้ไขวิกฤติสินเชื่อในประเทศ และให้ความมั่นใจแก่สาธารณชนว่าจะสามารถควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่อาจเกิดขึ้นหลังการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยได้ ซึ่งการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจะส่งผลให้เงินสกุลดอลลาร์อ่อนค่าลง และอาจมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนไปยังสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น น้ำมัน ทำให้ราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้นได้

    น้ำมันเบนซิน : ราคาน้ำมันเบนซินในภูมิภาคปรับตัวลดลงถึง 8 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรลในช่วงที่ผ่านมา โดยมาปิดที่ราคา 96.38 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามราคาน้ำมันดิบดูไบที่ปรับตัวลดลงกว่า 6 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรลในช่วงเวลาเดียวกัน ประกอบกับข่าวที่ว่าผู้นำเข้าน้ำมันเบนซินรายใหญ่ของภูมิภาคอย่างอินโดนีเซียจะลดการนำเข้าน้ำมันเบนซิน สำหรับไตรมาส 1/2551 ลงถึงร้อยละ 35 เนื่องจากโรงกลั่นในประเทศวางแผนที่จะเพิ่มกำลังการผลิตทดแทนการนำเข้า

คาดว่าราคาน้ำมันเบนซินในช่วงถัดไปมีแนวโน้มอ่อนตัวลงเล็กน้อย หากราคาน้ำมันดิบไม่แกว่งตัวมากนัก การลดการนำเข้าของอินโดนีเซียยังคงกดดันราคาน้ำมันเบนซินในภูมิภาคต่อไป รวมทั้งโรงกลั่นในไต้หวันประกาศว่าจะกลับมาเดินเครื่องตามปกติในต้นสัปดาห์หน้า หลังจากที่ปิดไปเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาจากปัญหาทางเทคนิค

   อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันเบนซินได้รับแรงหนุนจากอุปทานในภูมิภาคที่ตึงตัว โดยที่ปริมาณน้ำมันคงคลังของสิงคโปร์ในสัปดาห์ก่อนอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 17 เดือน สาเหตุจากจีนลดการส่งออกลง และเวียดนามยังคงเข้ามาซื้ออย่างต่อเนื่อง แม้ว่าได้มีการปรับขึ้นราคาขายปลีกในประเทศแล้วก็ตาม นอกจากนี้ยังคาดว่าจะมีการขนย้ายน้ำมันจากภูมิภาคไปขายยังออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เพิ่มขึ้น เพื่อรองรับการเดินทางท่องเที่ยวในช่วงฤดูร้อนของทางซีกโลกใต้ ยิ่งส่งผลให้อุปทานน้ำมันเบนซินในภูมิภาคมีจำกัด

    น้ำมันอากาศยาน/น้ำมันก๊าด: ราคาน้ำมันอากาศยานและน้ำมันก๊าดในช่วงที่ผ่านมาปรับตัวลดลงค่อนข้างแรง โดยได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันดิบที่อ่อนตัวลง โดยมาปิดที่ราคา 107.32 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล อย่างไรก็ตามอุปทานในภูมิภาคในช่วงที่ผ่านมายังคงตึงตัวอยู่ จากการที่จีนนำเข้าน้ำมันอากาศยานเพิ่มเติม เพื่อรองรับฤดูกาลท่องเที่ยวในช่วงปีใหม่ รวมทั้งเกาหลีใต้ส่งออกน้ำมันก๊าดลดลง เพื่อสำรองไว้ใช้ทำความร้อนในฤดูหนาวนี้

    คาดว่าราคาน้ำมันอากาศยานและน้ำมันก๊าดในภูมิภาคน่าจะอ่อนตัวลงเล็กน้อย หากราคาน้ำมันดิบไม่ปรับเปลี่ยนมากนัก แต่ตลาดในภูมิภาคยังคงแข็งแกร่งอยู่ เนื่องจากอุปสงค์ในภูมิภาคยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่อุปทานยังคงตึงตัวในช่วงระยะสั้นนี้ อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะมีน้ำมันส่งออกมาขายในภูมิภาคเพิ่มขึ้นหลังจากที่โรงกลั่นส่วนใหญ่เดินเครื่องเต็มกำลังการผลิต ซึ่งมีส่วนช่วยกดดันราคา

   นอกจากนี้ควรจับตามองสภาพอากาศในแถบเอเชียเหนืออย่างใกล้ชิด ถ้าอากาศในช่วงเดือน ธ.ค. ถึง ก.พ. หนาวกว่าปกติ จะทำให้ญี่ปุ่นต้องนำเข้าน้ำมันก๊าดเพิ่มขึ้น เป็นปัจจัยหนุนให้ราคาปรับขึ้น แต่จะเพิ่มขึ้นเท่าไรนั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงของสภาพอากาศ ถ้าอากาศหนาวในระดับปกติก็จะไม่มีผลต่อราคามากนัก โดยมองว่าปริมาณน้ำมันก๊าดคงคลังของญี่ปุ่นที่ปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำอยู่ น่าจะเพียงพอต่อความต้องการ

    น้ำมันดีเซล : ราคาน้ำมันดีเซลปรับตัวลดลงมาปิดที่ 102.90 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ตลาดเอเชียยังคงได้รับแรงหนุนจากความต้องการน้ำมันสำหรับใช้ทำความร้อนที่เพิ่มขึ้นจากทางยุโรปและสหรัฐฯ ขณะที่ปริมาณน้ำมันคงคลังของกลุ่มประเทศดังกล่าวอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ

    คาดว่าราคาน้ำมันดีเซลในช่วงถัดไปน่าจะทรงตัวอยู่และปรับตัวสูงขึ้นในระยะสั้นๆ ถ้าราคาน้ำมันดิบไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก เนื่องจากยุโรปและสหรัฐฯ ยังคงมีความต้องการน้ำมันสำหรับใช้ทำความร้อนอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีโอกาสขนย้ายน้ำมันไปขายที่ประเทศดังกล่าวมากขึ้น รวมทั้งจีนอาจจะนำเข้าน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น  ส่งผลให้อุปทานในภูมิภาคจะยังคงตึงตัวต่อไปในระยะนี้

   อย่างไรก็ตามตลาดคาดว่าการเปลี่ยนคุณภาพน้ำมันที่ใช้ทำความร้อนให้มีค่ากำมะถันลดลงในยุโรป จะส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันดังกล่าวไม่มากนัก เนื่องจากโรงกลั่นส่วนใหญ่สามารถผลิตได้ตามมาตรฐานนี้ รวมทั้งอุปทานน้ำมันก็น่าจะปรับเพิ่มขึ้น หลังจากที่โรงกลั่นส่วนใหญ่ในยุโรปกลับมาเดินเครื่องหลังจากปิดซ่อมบำรุงประจำปี  มีส่วนกดดันราคาได้บ้าง

    น้ำมันเตา : ราคาน้ำมันเตาปรับตัวลดลงเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับราคาน้ำมันดิบที่อ่อนค่ามากในช่วงที่ผ่านมา โดยมาปิดที่ 71.88 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล เนื่องจากจีนนำเข้าลดลง ในขณะที่เกาหลีใต้และตะวันออกกลางส่งออกเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีอุปทานส่วนเกินในภูมิภาค

    คาดว่าราคาน้ำมันเตาในช่วงถัดไปน่าจะปรับขึ้นเล็กน้อย ถ้าราคาน้ำมันดิบไม่แกว่งตัวมากนัก โดยคาดว่าอุปทานส่วนเกินจะหมดไป หลังจากที่ยุโรปส่งน้ำมันเตาเข้ามาขายยังภูมิภาคสำหรับงวดเดือน ธ.ค. ลดลง รวมทั้งคาดว่าในสัปดาห์หน้าจีนน่าจะนำเข้าน้ำมันเตาเพิ่มขึ้น เพื่อมากลั่นเพิ่มคุณค่าเป็นน้ำมันสำเร็จรูป จากการที่โรงกลั่นของจีนเพิ่มกำลังการผลิต ในขณะเดียวกัน คาดว่าญี่ปุ่นและเกาหลีใต้จะนำเข้าน้ำมันเตากำมะถันต่ำเพิ่มขึ้น เพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้าให้ความร้อนในช่วงฤดูหนาวที่กำลังจะมาถึงนี้โดยที่ญี่ปุ่นต้องใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นทดแทนโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ปิดซ่อมบำรุงหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหวในช่วงกลางปีที่ผ่านมา

ที่มา : บริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) http://www.bangkokbiznews.com/2007/12/0 ... sid=208456
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news05/12/07

โพสต์ที่ 215

โพสต์

เวเนซูเอล่า ชี้ ราคาน้ำมันดิบแตะ 100 เหรียญปีหน้า
นายราฟาเอล รามิเรส รัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันเวเนซูเอล่า กล่าวว่า ราคาน้ำมันดิบในตลาดสำคัญของโลกปีหน้า จะเคลื่อนไหวใกล้เคียงกับราคาในปีนี้ และอาจมีโอกาสได้เห็นราคาพุ่งขึ้นแตะระดับ 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลในปีหน้า ถึงแม้ว่าจะไม่มีปัจจัยลบกรณีที่เกี่ยวกับความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศในดินแดนตะวันออกกลาง นอกจากนี้ รัฐมนตรีน้ำมันเวเนซูเอล่า กล่าวเสริมว่า เวเนซูเอล่า เตรียมเสนอให้กลุ่มโอเปก ขายน้ำมันดิบในต้นทุนต่ำให้กับประเทศที่ยากจนทั่วโลก และสร้างราคาให้มีเสถียรภาพระดับ 100 เหรียญ
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news06/12/07

โพสต์ที่ 216

โพสต์

ฟื้นโครงการสำรวจหินน้ำมันแม่สอด

โพสต์ทูเดย์ ปิยสวัสดิ์ ปลุกผีโครงการสำรวจแหล่งหินน้ำมัน ที่แม่สอด จ.ตาก สั่งกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติเร่งขออาชญาบัตรกำหนดพื้นที่ศึกษา


นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รมว.พลังงาน กล่าวว่า จากแนวโน้มราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้มีแนวคิดที่จะศึกษาโครงการหินน้ำมัน ที่ อ.แม่สอด จ.ตาก จากก่อนหน้านี้เคยศึกษามาและได้ยกเลิกไป เนื่องจากไม่คุ้มค่ากับการลงทุน โดยจะเข้าไปสำรวจพื้นที่ดังกล่าวเพื่อพัฒนาหินน้ำมันให้มีผลในเชิงพาณิชย์

ก่อนหน้านี้ได้ยกเลิกโครงการหินน้ำมัน ที่แม่สอดไปเพราะราคาน้ำมันถูกเลยไม่คุ้ม แต่เมื่อราคาน้ำมันอยู่ในระดับนี้ จึงสนใจมารื้อฟื้นโครงการขึ้นมาอีกครั้ง เพราะเดิมเคยศึกษาโดยกองเชื้อเพลิงธรรมชาติ ซึ่งอยู่ในกรมทรัพยากรธรรมชาติ แต่ขณะนี้คนที่ทำงานในกองดังกล่าว ได้ย้ายมาอยู่ที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติสังกัดกระทรวงพลังงาน แต่อำนาจตามกฎหมายเป็นเรื่องกฎหมายแร่ จึงต้องขออนุมัติอาชญาบัตรพิเศษของกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งรอ ครม.อนุมัติ เมื่อผ่านความเห็นชอบ กระทรวงพลังงานจะเข้าไปสำรวจทันที นายปิยสวัสดิ์ กล่าว

ด้านนายไกรฤทธิ์ นิลคูหา อธิบดีกรม เชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวว่า ได้ยื่นเรื่องขออาชญาบัตรพิเศษ เพื่อขอสำรวจพื้นที่แหล่งหินน้ำมัน ที่แม่สอด จ.ตาก มีขอบเขตการสำรวจ 100 ตารางเมตร กำหนดระยะเวลา 4 ปี โดยได้เสนอเรื่องรอการพิจารณาจากที่ประชุม ครม.ไปแล้ว ซึ่งเชื่อว่าจะได้ประโยชน์จากการพัฒนาพื้นที่หินน้ำมันดังกล่าว อันเป็นแหล่งพลังงานใหม่มารองรับความต้องการใช้ที่เกิดขึ้นในอนาคต

สำหรับแหล่งหินน้ำมันส่วนใหญ่อยู่ทางภาคเหนือของประเทศ โดยเฉพาะแหล่งหินน้ำมันแม่สอดซึ่งเป็นแหล่งหินน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน โดยจากการสำรวจแหล่งหินน้ำมันระหว่างปี 25172526 พบแหล่งหินน้ำมันจำนวน 9 แห่ง มีปริมาณสำรองทางธรณีวิทยารวมกันไม่น้อยกว่า 1.1 หมื่นล้านเมตริกตัน ซึ่งการใช้ประโยชน์จากหินน้ำมัน สามารถเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าได้ เพื่อเป็นพลังงานทดแทนอีกรูปแบบหนึ่ง

นายอนุสรณ์ เนื่องผลมาก อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) กล่าวว่า มีการทำข้อตกลงร่วมกันระหว่าง กพร.และกรมเชื้อเพลิง โดย กพร. ได้สำรองพื้นที่ส่วนหนึ่งไว้ให้หน่วยงานราชการในการสำรวจ แต่กระบวนการผลิตยังต้องผ่านเกณฑ์ของทาง กพร.และกรมป่าไม้ก่อน

ทั้งนี้ โครงการหินน้ำมันสามารถทำเป็นเชื้อเพลิงได้ 2 รูปแบบ คือ 1.นำมากลั่นแทนน้ำมันดิบ 2.นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงแทนถ่านหิน ซึ่งส่วนมากนิยมนำมาใช้แทนถ่านหินมากกว่า โดยปัจจุบันประเทศที่เป็นผู้นำ เทคโนโลยีนี้ คือ เอสโตเนียกับสหรัฐอเมริกา

นายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำมัน และอดีตผู้บริหารจากบริษัท บางจาก ปิโตรเลียม กล่าวว่า กรณีที่ภาครัฐตัดสินใจลดการอุดหนุนราคาก๊าซหุงต้มเป็นนโยบายที่เหมาะสมแล้ว เพราะในอดีตเมื่อมีการ อุดหนุนจากภาครัฐเป็นเวลานาน ทำให้โครงสร้างของก๊าซหุงต้มถูกบิดเบือน และเกิดการนำก๊าซหุงต้มไปใช้ผิดประเภท โดยเมื่อปี 2549 มียอดผู้ใช้รถยนต์หันไปใช้ก๊าซหุงต้มเป็นเชื้อเพลิงสูงขึ้นถึง 51% ในขณะที่ปี 2550 นี้ มียอดใช้เพิ่มขึ้นมากกว่า 20% และเชื่อว่าภายใน 2 ปี หากยังมีการใช้ก๊าซฯ ในปริมาณเพิ่มขึ้นดังกล่าว ก๊าซหุงต้มที่ ผลิตได้ในเมืองไทยจะไม่พอใช้ และอาจต้องนำเข้าจากต่างประเทศ

วันนี้อย่าลืมว่าประเทศไทยนำเข้าก๊าซฯ จากประเทศพม่า 30% จากการใช้ทั้งหมดภายในประเทศ ต่อไปอาจต้องนำเข้าก๊าซฯ จากมาเลเซีย ดังนั้นถ้ายังตรึงราคาก๊าซหุงต้มกองทุนน้ำมันฯ ก็อาจจะติดลบ 8-9 แสนล้านบาท เพราะต้องเอาเงินไปชดเชยเหมือนรัฐบาลในอดีตที่ผ่านมา นายมนูญ กล่าว
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=207509
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news06/12/07

โพสต์ที่ 217

โพสต์

ราคาน้ำมันดิบโลกผันผวน : ทุกฝ่ายเตรียมพร้อมรับมือ

6 ธันวาคม พ.ศ. 2550 12:27:00

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :    น้ำมัน เป็นพลังงานที่สำคัญประเภทหนึ่งที่ประชาชนทุกกลุ่มล้วนต้องเกี่ยวข้องทั้งการดำเนินชีวิตประจำวันโดยเฉพาะในการเดินทาง รวมไปถึงการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาคการผลิตต่างๆ ที่ใช้น้ำมันเป็นส่วนประกอบในขั้นตอนการผลิต ซึ่งการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมันโดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำมันดิบที่เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการแปรรูปสู่   ผลิตภัณฑ์น้ำมันประเภทต่างๆ ย่อมจะส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงต้นทุนในการผลิตสินค้าและบริการที่จะเชื่อมโยงสู่ราคาสินค้าและบริการที่จะปรับสูงขึ้นจนกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชนผู้บริโภคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  

   หากพิจารณาแนวโน้มราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน (ดังแสดงในภาพที่ 1) จะพบว่าการเพิ่มสูงขึ้นของราคาน้ำมันดิบในช่วงเวลาในอดีตและปัจจุบันมีลักษณะค่อนข้างแตกต่างกัน โดยในอดีตนั้นการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมันจะเกิดจากสถานการณ์ที่ผิดปกติ เช่น ภาวะสงครามในประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ในตะวันออกกลาง การจลาจลหรือประท้วงหยุดการผลิตของประเทศผู้ผลิตน้ำมัน ซึ่งเหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้จะมีผลกระทบทำให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้นเพียงระยะเวลาหนึ่ง และจะปรับตัวลดลงหลังจากเหตุการณ์ยุติลง ขณะที่ในช่วงเวลาประมาณปี 2545 เป็นต้นมา ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะเกิดจากเหตุการณ์ที่ผิดปกติบ้างบางระยะ แต่เมื่อสิ้นสุดเหตุการณ์ต่างๆ ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกกลับไม่ลดลงเหมือนเช่นในอดีตที่ผ่านมา แต่กลับทรงตัวและเพิ่มสูงขึ้นต่อไปอีก  

   สิ่งที่น่าสังเกตอีกประเด็นหนึ่งคือ หากพิจารณาราคาน้ำมันดิบที่ขจัดผลของอัตราเงินเฟ้อออกไป ซึ่งเป็นการเทียบราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบในตลาดโลกในแต่ละช่วงเวลาภายใต้ฐานราคาในช่วงเวลาเดียวกัน (ดังแสดงในภาพที่ 2) จะสังเกตได้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่าราคาน้ำมันดิบในช่วงเวลาปัจจุบันได้ขยับตัวสูงขึ้นมาอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับช่วงเวลาที่เกิดวิกฤตน้ำมันครั้งที่ 2 ในช่วงปี 2522 2524 ซึ่งในอดีตราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบได้ขึ้นไปสูงสุดในเดือนมกราคม 2524 ที่ 38.85 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หรือเท่ากับ 90.02 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ณ ราคาปี 2549 ขณะที่ราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบตลาด WTI สหรัฐอเมริกา และตลาด Brent อังกฤษในเดือนพฤศจิกายน 2550 อยู่ที่ 93.81 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หรือเท่ากับ 90.52 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ณ ราคาปี 2549 ซึ่งการสูงขึ้นของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกนี้ เป็นสิ่งที่น่าพิจารณาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงว่าเป็นอย่างไรในแต่ละช่วงเวลา

  โดยทั่วไปตามกลไกตลาดในช่วงเวลาใดที่เศรษฐกิจโลกขยายตัว หรือมีปริมาณความต้องการน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มากกว่าปริมาณน้ำมันดิบที่ผลิตได้ ย่อมส่งผลทำให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น และในช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์ที่ผิดปกติ เช่น ภาวะสงครามในประเทศผู้ผลิตน้ำมัน ย่อมส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับเพิ่มสูงขึ้นด้วย ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐจะมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับราคาน้ำมันดิบ กล่าวคือเมื่อใดที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นๆ จะส่งผลต่อราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่อ้างอิงกับเงินดอลลาร์สหรัฐให้เพิ่มสูงขึ้น

  เนื่องจากผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันจะขยับขึ้นราคาน้ำมันที่จะขายให้เพิ่มสูงขึ้นเพื่อชดเชยกับมูลค่าที่จะได้รับที่ลดลงจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้จากการศึกษาการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ขจัดความแตกต่างจากอิทธิพลของอัตราเงินเฟ้อออกไปแล้ว และปัจจัยต่างๆ ที่คาดว่าจะกำหนดราคาเฉลี่ยของน้ำมันดิบในตลาดโลกในแต่ละช่วงเวลาสามารถสรุปได้ดังนี้

   ปี พ.ศ. 2513 2528 ซึ่งครอบคลุมช่วงเวลาการเกิดวิกฤตน้ำมันครั้งที่ 1 และ 2 ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ (Fundamental Factors) ทั้งอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของโลกที่แท้จริง รวมถึงปริมาณความต้องการบริโภคและปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในตลาดโลก รวมถึงปัจจัยทางความรู้สึกของผู้ซื้อและผู้ขาย (Sentimental Factors) คือ สถานการณ์ผิดปกติที่ไม่ใช่ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เช่น การเกิดสงครามอิรัก-อิหร่าน จะมีความสัมพันธ์เชิงกำหนดต่อราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบในตลาดโลกที่สามารถสังเกตได้และมีความสัมพันธ์ระหว่างกันทางสถิติ เช่น ในปี 2519 อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่แท้จริงอยู่ที่ประมาณ 5.1% ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นจากปีก่อนหน้าประมาณ 3% ส่งผลให้ราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้นจากปีที่ผ่านมาประมาณ 4 %

  ขณะที่ในปี 2520 การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่แท้จริงอยู่ที่ประมาณ 4.3 % ซึ่งลดลงจากปีก่อนหน้าประมาณ 0.8 % ส่งผลให้ราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบในตลาดโลกลดต่ำลงจากปีที่ผ่านมาประมาณ 1.3 % ในส่วนของปี 2523 ซึ่งเป็นปีที่เกิดสงครามอิรัก อิหร่าน ทำให้ปริมาณน้ำมันดิบที่ผลิตเพื่อการจำหน่ายในตลาดโลกลดต่ำลงถึง 4.5 % จากปี 2522 ที่กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 66.97 ล้านบาร์เรลต่อวัน ลดลงเหลือ 63.99 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งกระทบต่อราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบในตลาดโลกให้ปรับเพิ่มสูงขึ้นถึง 137.44% จากปี 2519 ที่ราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบในตลาดโลกอยู่ที่ 13.34 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หรือเท่ากับ 37.04 ดอลลาร์สหรัฐ ณ ราคาปี 2549 เพิ่มสูงขึ้นเป็น 35.95 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หรือเท่ากับ 87.96 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ณ ราคาปี 2549

  ปี พ.ศ. 2529 - 2539 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ราคาน้ำมันมีความผันผวน ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์ที่สามารถอธิบายถึงการเคลื่อนไหวของราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบในตลาดโลกได้ลดลง โดยสถานการณ์ที่ผิดปกติจะเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงกำหนดต่อราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบในตลาดโลกอย่างชัดเจนมากขึ้น เช่น ในปี 2533 ที่สหรัฐอเมริกาบุกอิรัก ส่งผลให้ราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบในตลาดโลกมีค่าเท่ากับ 22.99 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หรือเท่ากับ 35.46 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ณ ราคาปี 2549 ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นถึง 22 % จากปี 2532 ที่มีราคาเฉลี่ยตลอดทั้งปีอยู่ที่ 18.89 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หรือมีค่าเท่ากับ 29.12 ดอลลาร์สหรัฐ ณ ราคาปี 2549

   ปี พ.ศ. 2540 - 2550 อันเป็นช่วงเวลานับตั้งแต่การเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย ถึงปี 2550 ที่ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เช่น อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่แท้จริง รวมถึงปริมาณความต้องการบริโภคน้ำมันดิบในตลาดโลก และปริมาณน้ำมันดิบที่ผลิตเพื่อการจำหน่ายในตลาดโลก กับราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบในตลาดโลกมีความสัมพันธ์ที่ไม่ชัดเจน กล่าวคือ ราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบในตลาดโลกมีการปรับตัวสูงขึ้นเฉลี่ยถึงปีละ 11.66 % ขณะที่ปริมาณความต้องการบริโภคน้ำมันดิบในตลาดโลก ปริมาณน้ำมันดิบที่ผลิตเพื่อจำหน่ายในตลาดโลก และอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่แท้จริงของโลก มีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยต่อปีเพียง 1.6 % 1.65 % และ 4.18 % ตามลำดับ ซึ่งการสูงขึ้นอย่างมากของราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบในตลาดโลกน่าจะเกิดจากอิทธิพลที่เด่นชัดของปัจจัยอื่นมากกว่าปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ  

   หากพิจารณาในช่วงเวลาตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมา อันเป็นช่วงเวลาที่ราคาเฉลี่ยของน้ำมันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยทางการเงินและการลงทุน อาทิ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่พิจารณาผ่านดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่แท้จริง และความผันผวนของตลาดหุ้นพิจารณาจากส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของดัชนี  S&P 500 จะสามารถพบความสัมพันธ์เชิงกำหนดต่อราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบในตลาดโลกอย่างชัดเจน (ดังภาพที่ 3) และมีความสัมพันธ์ในทางสถิติ ซึ่งค่าเงินดอลลาร์สหรัฐจะมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบในตลาดโลกนั่นคือ โดยเฉลี่ยแล้วเมื่อดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมีค่าลดลง 1 จุดเมื่อเทียบกับเงินตราสกุลอื่นๆ  จะส่งผลให้ราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 2.36 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งน่าจะเป็นผลจากการเก็งกำไรของผู้ค้าน้ำมัน ด้วยลักษณะของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่อ้างอิงกับเงินดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงอันหมายถึงผลตอบแทนที่ผู้ค้าน้ำมันจะได้รับในรูปเงินดอลลาร์จะมีค่าลดลง ผู้ค้าน้ำมันจึงพยายามชดเชยผลตอบแทนที่จะสูญเสียไปจากค่าเงินด้วยการปรับขึ้นราคาน้ำมันให้สูงขึ้น

  ขณะที่ความผันผวนของดัชนี S&P 500 ของสหรัฐอเมริกามีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบในตลาดโลก กล่าวคือ เมื่อดัชนี S&P 500 ในช่วงเวลาหนึ่งมีการกระจายตัว เพิ่มมากขึ้น 1 จุด จะส่งผลให้ราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 0.26 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่บ่งชี้เบื้องต้นถึงความไม่เชื่อมั่นในภาวะตลาดหุ้นของนักลงทุน เมื่อตลาดหุ้นมีความผันผวนเพิ่มมากขึ้นจึงหันมาถือครองสินค้าที่เป็นปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่มีความมั่นคงและเป็นที่ต้องการของตลาดโลกมากกว่า เช่น น้ำมัน ปัจจัยทั้งสองจึงเป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบในตลาดโลกในระยะหลังนี้      

   การปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกในระยะหลัง จากอิทธิพลที่เด่นชัดของปัจจัยทางการเงิน และการลงทุนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการเก็งกำไรมากกว่าจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แท้จริงนี้ อาจส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกในช่วงเวลาปัจจุบันยังคงมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่องและอาจจะเพิ่มสูงขึ้นได้อีกหากได้รับปัจจัยสนับสนุนจากเหตุการณ์ที่ผิดปกติ เช่น สถานการณ์ความไม่สงบในตะวันออกกลาง ซึ่งจะมีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตของภาคการผลิต รวมถึงค่าครองชีพของประชาชนผู้บริโภคอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่มีสัดส่วนการบริโภคน้ำมันเมื่อเทียบกับ GDP ที่สูงกว่าประเทศอื่นทั้ง อินเดีย จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น (ดังแสดงในภาพที่ 4) อันแสดงถึงผลกระทบที่จะเกิดแก่ประเทศไทย หากราคาน้ำมันดิบยังคงสูงขึ้นย่อมจะกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยมากกว่าประเทศอื่น  

   อีกทั้งประเทศไทยจำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศในปริมาณค่อนข้างสูงในแต่ละปี โดยในปี 2549 ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้นำเข้าน้ำมันดิบประมาณ 48,000 ล้านลิตร ซึ่งมีมูลค่าสูงถึง 753,783 ล้านบาท หรือเป็นสัดส่วนการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศที่สูงถึงประมาณร้อยละ 87 ของกำลังการผลิตรวม ซึ่งแม้ว่าในปี 2548 ประเทศไทยจะมีปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบลดลง และค่อนข้างทรงตัวในปี 2549 แต่มูลค่าการนำเข้ากลับเพิ่มสูงขึ้นจากภาวะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก ซึ่งการที่ราคาน้ำมันดิบได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนต.ค- พ.ย.2550 ย่อมส่งผลกระทบอย่างมากต่อประเทศไทยทั้งในส่วนของต้นทุนการผลิตของภาคการผลิต และค่าครองชีพของประชาชนทั้งทางตรงจากการเดินทาง และทางอ้อมจากการผลักภาระต้นทุนการผลิตของผู้ผลิตมายังผู้บริโภคผ่านทางราคาสินค้าอุปโภคและบริโภคที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งประชาชนและภาครัฐควรตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นและตื่นตัวในการหาแนวทางป้องกันและแก้ไขอย่างเร่งด่วน

  ทั้งนี้จากนโยบายและแผนพัฒนาพลังงานของประเทศในช่วงปีที่ผ่านมาทั้งมาตรการส่งเสริมการสำรวจพัฒนาแหล่งเชื้อเพลิงปิโตรเลียมทั้งในประเทศและเขตพื้นที่ทับซ้อนกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งส่งผลให้กำลังการผลิตน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติในประเทศเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนใช้พลังงานอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้พลังงานทดแทน (Alternative energy) ทั้งการใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) และก๊าซโซฮอล์ (Gasohol) ซึ่งนำแอลกอฮอล์สัดส่วน 10% ที่สกัดได้จากวัตถุดิบทางการเกษตรภายในประเทศ อาทิ มันสำปะหลัง อ้อย และข้าวโพดมาผสมกับน้ำมันเบนซินในสัดส่วน 90% รวมถึงไบโอดีเซล (Biodiesel) ซึ่งผลิตจากน้ำมันพืชต่างๆ ทั้งน้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม น้ำมันละหุ่ง น้ำมันถั่วลิสง รวมถึงน้ำมันจากสัตว์ เช่น น้ำมันหมู โดยมาตรการต่างๆ ได้รับความร่วมมือที่ดีจากประชาชนและภาคการผลิต ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการร่วมมือกันประหยัด ลดการใช้พลังงาน ลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ รวมถึงการแสวงหาพลังงานทดแทนด้วยศักยภาพภายในประเทศ ซึ่งรัฐบาลควรให้การสนับสนุนและดำเนินการตามแผนนโยบายที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการรณรงค์ให้ประชาชนร่วมมือกันใช้พลังงานอย่างประหยัด รวมถึงกำหนดมาตรการส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้พลังงานทดแทนให้มากขึ้น อาทิ การขยายสถานีบริการและให้เงินอุดหนุนการติดตั้งอุปกรณ์ก๊าซธรรมชาติ(NGV) ในรถยนต์

  นอกจากนั้นควร สนับสนุนกระบวนการวิจัยพลังงานทดแทนทั้งกระบวนการผลิตเอทานอลจากพืชต่างๆ เช่น อ้อย และ    มันสำปะหลัง ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นเพื่อให้ได้ปริมาณเอทานอลต่อหน่วยวัตถุดิบเพิ่มมากขึ้น รวมถึงกระบวนการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพให้มีความบริสุทธิ์มากขึ้นเพื่อให้ต้นทุนต่อหน่วยจากพลังงานทั้งสองต่ำลง อันจะทำให้เกิดความคุ้มค่าในการผลิตและบริโภคเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์จากน้ำมันดิบที่มีแนวโน้มราคาสูงขึ้น รวมถึงการสนับสนุนพัฒนาระบบขนส่งทางรางที่ทันสมัยให้ครอบคลุมพื้นที่ในประเทศให้มากขึ้น และระบบการจัดการขนส่ง logistic ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น อันจะเป็นการลดปริมาณการใช้น้ำมันจากการขนส่งทางถนน

ที่มา : บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด
http://www.bangkokbiznews.com/2007/12/0 ... sid=208913
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news06/12/07

โพสต์ที่ 218

โพสต์

กลุ่มโอเปก ไม่เพิ่มกำลังการผลิต ชี้ ประชุมใหม่ 1 ก.พ.ปีหน้า
กลุ่มโอเปก มีมติไม่เพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดิบจากทั้งหมด 13 ประเทศสมาชิก หลังสิ้นสุดการประชุมเมื่อวันที่ 5 ธ.ค.ที่ผ่านไป โดยให้เหตุผลเพิ่มเติมว่า กลุ่มโอเปก ผลิตน้ำมันดิบในตลาดโลกอย่างเพียงพอต่อการบริโภคของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก และไม่เห็นเหตุผลสำคัญใด ๆ รวมถึงความจำเป็นในขณะนี้ ที่จะต้องเพิ่มกำลังการผลิตตามเสียงเรียกร้อง ทั้งนี้ การประชุมของกลุ่มโอเปกในปี้นี้ได้สิ้นสุดลงแล้ว และจะเริ่มต้นการประชุมประจำปี 2551 ครั้งแรกในวันที่ 1 ก.พ.ปีหน้า ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบนิวยอร์ก ปิดต่ำกว่า 88 เหรียญ
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news07/12/07

โพสต์ที่ 219

โพสต์

คณะกก.นโยบายพลังงานเห็นชอบแผนตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ข่าว 21.00 น.

Posted on Friday, December 07, 2007
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีกระทรวงพลังงาน บอกว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มีมติเห็นชอบแผนการจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการผลิตไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฉบับสมบูรณ์ ประกอบด้วย แนวทางการดำเนินการในช่วงปี 2551 2553 ด้านกฎหมายและข้อผูกพันระหว่างประเทศ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการพัฒนาบุคลากรและเทคโนโลยี ด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม และยังเห็นชอบการจัดตั้งสำนักงานพัฒนาโครงสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ โดยให้ นายณอคุณ สิทธิพงศ์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาโครงการไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news07/12/07

โพสต์ที่ 220

โพสต์

ผู้ค้าน้ำมันหวั่นผลกระทบเร่งใช้ไบโอดีเซล - ข่าว 18.00 น.
--------------------------------------------------------------------------------
Posted on Friday, December 07, 2007
นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.บางจากปิโตรเลียม บอกว่า การที่รัฐบาลกำหนดให้ใช้ B2 ตามแผนในวันที่ 1 เมษายน 2551 จะทำให้ความต้องการใช้ไบโอดีเซล (B100) เพิ่มเป็นวันละกว่า 1 ล้านลิตร จากปัจจุบันวันละ 5-6 แสนลิตร แต่ถ้ารัฐบาลประกาศให้ใช้เร็วขึ้น ก็ควรต้องมั่นใจว่า มีวัตถุดิบเพียงพอในการผลิตไบโอดีเซลให้ได้มาตรฐานด้วย เพราะผู้ผลิตที่ได้มาตรฐานในปัจจุบันมีอยู่ไม่กี่แห่ง รวมทั้งราคาไบโอดีเซลก็ถือว่ามีราคาสูงมาก แต่การที่ผู้ค้าน้ำมันขายในราคาที่ถูกกว่าน้ำมันดีเซล เนื่องจากได้รับการอุดหนุนจากภาครัฐด้วยการไม่เก็บภาษีสรรพสามิต และเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และยังได้รับการชดเชยจากเงินกองทุนน้ำมัน

ขณะที่นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน บอกว่า การส่งเสริมให้มีการผลิตไบโอดีเซล B100 นั้น จะตั้งอยู่บนพื้นฐานที่มีวัตถุดิบเพียงพอใช้ภายในประเทศ โดยต้องไม่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งจะไม่คุ้มกับที่ไทยจะต้องสูญเสียเงินตราต่างประเทศมากขึ้น

ทั้งนี้ ยอมรับว่าปัจจุบันน้ำมันปาล์มดิบ ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตไบโอดีเซล มีราคาสูงมาก โดยมีราคาประมาณลิตรละ 33 บาท ขณะที่ราคาน้ำมันดีเซลจากสิงคโปร์ที่ไม่รวมภาษี จะอยู่ที่ลิตรละ 22 บาท ส่วนสาเหตุที่กระทรวงพลังงานยังคงบังคับให้บริษัทน้ำมันจำหน่าย B2 โดยยังไม่ถึงระดับ B5 เพราะต้องมีการส่งเสริมการปลูกปาล์มให้มากขึ้นกว่าในปัจจุบันก่อน ซึ่งหากรัฐบาลบังคับให้ใช้น้ำมัน B5 ก็จะต้องผลิตไบโอดีเซลมากถึงวันละ 2.5 ล้านลิตร คาดว่าจะใช้เวลาอีก 4 ปี ในการส่งเสริมให้มีการใช้ B5 ทดแทนน้ำมันดีเซล
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news07/12/07

โพสต์ที่ 221

โพสต์

กพช.ได้ผู้ชนะโรงไฟฟ้า IPP 4 ราย ตัวเก็งไม่ติดโผ - ข่าว 18.00 น.

Posted on Friday, December 07, 2007
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน บอกว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มีมติคัดเลือกผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเอกชนขนาดใหญ่และการรับซื้อไฟฟ้า (IPP) จากเอกชน จำนวน 4 ราย กำลังการผลิต 4,400 เมกกะวัตต์ เพิ่มขึ้นจากเดิมที่จะรับซื้อ 3,200 เมกะวัตต์ โดยมีราคารับซื้อไฟฟ้าเฉลี่ย อยู่ที่ 2.135 2.648 บาทต่อหน่วย

สำหรับเอกชนที่ชนะการประกวดราคา IPP ครั้งนี้ ประกอบด้วย โครงการของบริษัท Gheco-One ซึ่งเป็นการร่วมทุนของ บมจ.โกลว์ พลังงาน และบมจ.เหมราชพัฒนาที่ดิน , โครงการของบริษัท National Power Supply ขนาด 540 เมกะวัตต์ ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งมี บมจ.โกลว์ พลังงานเป็นผู้ถือหุ้น , โครงการของบริษัท Siam Energy ขนาด 1,600 เมกะวัตต์ ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง และโครงการของบริษัท Power Generation Supply ขนาด 1,600 เมกะวัตต์ ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง

สำหรับโรงไฟฟ้าของกลุ่มบมจ.ผลิตไฟฟ้า บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง และบมจ.ไทยออยล์ ที่เคยเป็นตัวเต็งในการชนะประมูล กลับไม่ติด 1 ใน 4 รายชื่อผู้ที่ชนะประมูลครั้งนี้

นายปิยสวัสดิ์บอกว่า เนื่องจากกำลังการผลิตที่ประมูลได้ครั้งนี้มีสูงถึง 4,400 เมกะวัตต์ มากกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ จึงได้เลื่อนการประมูลโรงไฟฟ้า IPP ครั้งใหม่ออกไป จากแผนเดิมที่จะเปิดประมูลในปี 2558-2560 เป็นปี 2559-2561 แทน

สำหรับกรณีของ บมจ.ราชบุรี โฮลดิ้ง นายปิยสวัสดิ์บอกว่า ยังมีโอกาสที่จะได้รับเป็นผู้ชนะประมูล หากผลการตรวจสอบพบว่า ไม่ได้เป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งผิดเงื่อนไขประมูล และมีการเสนอราคาต่ำกว่าผู้ที่ชนะการประมูลครั้งนี้ โดยผู้ที่ชนะการประมูลครั้งนี้ จะต้องจัดทำมาตรฐานสิ่งแวดล้อม (EIA) และประชาพิจารณ์ภายในต้นปีหน้า ถึงจะสามารถเซ็นสัญญาซื้อขายไฟฟ้าได้

รมว.พลังงานบอกอีกว่า สำหรับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำนวน 2,800 เมกะวัตต์ จะต้องเลื่อนการก่อสร้างออกไปอีก 1 ปี เป็นก่อสร้างในปี 2558-2561 แทน จากเดิมปี 2557-2560 เนื่องจากจัดหาสถานที่ก่อสร้างไม่ทันตามกำหนด
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news07/12/07

โพสต์ที่ 222

โพสต์

น้ำมันดิบตลาดโลก พุ่งกว่า 3 เหรียญ ปิดสูงกว่า 90 เหรียญ
ตลาดน้ำมันดิบในแหล่งสำคัญของโลก กลับมาคึกคักอีกครั้ง โดยราคาซื้อขายสูงสุดระหว่างวันที่ตลาดนิวยอร์ก สหรัฐ คืนที่ผ่านมาแตะที่ระดับบาร์เรลละ 90.73 เหรียญ พุ่งขึ้นมากกว่า 3 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งนับเป็นระดับราคาที่สูงสุดในรอบเกือบ 1 เดือนครั้งใหม่ หรือนับตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งในวันที่ สอดรับกับราคาน้ำมันดิบ เบร็นท์ อังกฤษทะเลเหนือ ที่ทะยานพุ่งขึ้นปิดยืนเหนือกว่า 90 เหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ ปัจจัยที่กดดันให้ราคาย้อนกลับพุ่งขึ้นสูงครั้งใหม่ เกิดจากนักลงทุนกลับมาเป็นกังวลกับน้ำมันสำรองที่ลดลง
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news07/12/07

โพสต์ที่ 223

โพสต์

กระทรวงพลังงานเร่งใช้บี 2 เร็วขึ้น 2 เดือน ส่วนบี 100 รอผลผลิตปาล์ม ด้านค่ายรถขานรับ

ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวถึงกระแสพระราชดำรัสเรื่องไบโอดีเซล ว่า ไบโอดีเซลมี 2 ประเภท คือ ไบโอดีเซลชุมชน และไบโอดีเซลเชิงพาณิชย์ ซึ่งกระทรวงพลังงานจะร่นระยะเวลาบังคับผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายน้ำมันผสมไบโอดีเซล บี 100 สัดส่วน 2% ภายในวันที่ 1 ก.พ.2551 จากเดิมวันที่ 1 เม.ย.2551 เพื่อขยายการใช้ไบโอดีเซลเร็วขึ้น พร้อมหารือผู้ค้าน้ำมัน และโรงกลั่น เกี่ยวกับการมี น้ำมัน บี 2 เพื่อจำหน่ายในสถานีบริการเร็วขึ้น คาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้

ปัจจุบันราคาไบโอดีเซลต่ำกว่าน้ำมันดีเซล 1 บาทต่อลิตร ทำให้ยอดใช้ไบโอดีเซล บี 100 เพิ่มขึ้นจาก 5,000 ลิตรต่อวันในปี 2549 มาเป็น 4 แสนลิตรต่อวัน และคาดว่าเมื่อบังคับจำหน่ายน้ำมัน บี 2 ในปีหน้าจะส่งผลให้ยอดใช้ไบโอดีเซล เพิ่มขึ้นเป็น 1.2 ล้านลิตรต่อวัน

ส่วนไบโอดีเซล บี 5 หรือน้ำมันที่ผสมไบโอดีเซล 5% กระทรวงพลังงานจะออกประกาศเป็นมาตรการบังคับผู้ค้าน้ำมันจำหน่ายบี 5 ในสถานีบริการเร็ว ๆ นี้ ขึ้นอยู่กับความพร้อมของผลผลิตปาล์ม

ส่วนไบโอดีเซลชุมชน ต้องรณรงค์ชุมชนให้นำน้ำมันพืชใช้แล้วมาใช้ผลิตบี 100 มากขึ้น เพราะที่ผ่านมาส่วนใหญ่นำน้ำมันใช้แล้วไปใช้ซ้ำ หรือนำไปทิ้งกระทบสิ่งแวดล้อม ขณะที่การให้แรงจูงใจอื่นๆ คิดว่าไม่จำเป็น เพราะขณะนี้ราคารับซื้อน้ำมันพืชสูงขึ้นถึง 20 บาทต่อลิตรอย่างไรก็ตาม เครื่องยนต์ทางการเกษตรหรือเครื่องยนต์รอบต่ำ เช่น รถอีแต๋น เครื่องปั๊มน้ำ สามารถใช้ไบโอดีเซล 100% ได้ ซึ่งขณะนี้บริษัท บางจาก จำหน่ายไบโอดีเซลชุมชนร่วมกับสหกรณ์

นายพรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงพลังงาน ว่า ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.2551 ทุกปั๊มน้ำมันจะไม่มีดีเซล 100% จำหน่ายแต่จะเปลี่ยนเป็นไบโอดีเซล สูตร บี 2 ขณะที่สูตรบี 5 ยังมีการจำหน่ายราคาถูกกว่า 1 บาทต่อลิตร และในอนาคตจะเพิ่มการผสมไบโอดีเซลให้เพิ่มมากขึ้นจากสูตรบี 5 เป็นบี 10 และพร้อมจะหาทางพัฒนาเป็นสูตรบี 100 ขณะที่ยังไม่สามารถเพิ่มไบโอดีเซลผสมในปริมาณที่สูง เนื่องจากปริมาณปาล์มไม่เพียงพอ จึงต้องเร่งส่งเสริมการปลูกปาล์ม และเร็ว ๆ นี้จะหารือกับค่ายรถยนต์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรฯเรื่องการขยายพื้นที่การปลูกปาล์ม ร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งพม่า กัมพูชา และ ลาว ให้กลายเป็นกลุ่มผู้ปลูกน้ำมัน เหมือนกลุ่มโอเปคที่เป็นกลุ่มผู้ผลิตน้ำมัน

นายพรชัยกล่าวด้วยว่า กระทรวงพลังงานร่วมมือกับมูลนิธิชัยพัฒนา กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และ บริษัทปตท.จำกัด (มหาชน) ดำเนินการโครงการทดลองปลูกปาล์มน้ำมันในทุ่งรังสิต จ.ปทุมธานี แทนทำไร่ส้มที่มีปัญหาดินเปรี้ยว ซึ่งปรากฏว่าปลูกทดแทนได้ดี ดังนั้น จึงเตรียมแผนผลักร่วมกันเปลี่ยนทุ่งส้ม เป็นทุ่งปาล์มน้ำมัน พื้นที่ 5,000 ไร่ ทำเป็นคอมเพล็กซ์ไบโอดีเซล โดยจะมีโรงหีบน้ำมัน โรงงานผลิตไบโอดีเซล โรงงานนำกากปาล์มน้ำมันมาผลิตโรงไฟฟ้าเอสพีพี และหากมีกากเหลือใช้ก็จะวิจัยนำไปใช้ ประโยชน์แบบครบวงจรให้มากที่สุด คาดเห็นผลใน 3-5 ปีข้างหน้า
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news10/12/07

โพสต์ที่ 224

โพสต์

ชาติส่งออกน้ำมันใช้ใน ปท.เพิ่มสูง กูรูชี้อีก 10 ปีจะกลายเป็น 'ผู้นำเข้า' อื้อ

โดย ผู้จัดการออนไลน์
10 ธันวาคม 2550 08:51 น.
 
ผู้เชี่ยวชาญหลายคนชี้ว่าในอนาคตประเทศผู้ส่งออกน้ำมันอาจกลายเป็นประเทศผู้นำเข้าเนื่องจากดีมานด์ที่เพิ่มขึ้น
 
      เอเอฟพี/นิวยอร์กไทมส์
- ผู้เชี่ยวชาญและรายงานจากหน่วยงานระหว่างประเทศชี้ในอีก 10 ปีข้างหน้า ชาติ ผู้ส่งออก น้ำมันชั้นนำของโลกบางประเทศอาจเปลี่ยนเป็นชาติ ผู้นำเข้า น้ำมัน เนื่องจากดีมานด์ในประเทศเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ตลาดน้ำมันของโลกเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ สำหรับปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนบทบาทของชาติเหล่านี้นั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะยอดการซื้อรถที่เพิ่มขึ้นมาก และนโยบายของรัฐบาลที่ให้เงินอุดหนุนน้ำมัน ทำให้ประชาชนใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง
     
       หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ รายงานบนเว็บไซต์เมื่อวันเสาร์ (8) โดยอ้างคำกล่าวของผู้เชี่ยวชาญและรายงานการคาดการณ์โดยหน่วยงานระหว่างประเทศ ระบุว่า ปัจจุบันนี้เศรษฐกิจของชาติผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่หลายประเทศกำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วมากจนกระทั่งความต้องการพลังงานในประเทศเพิ่มสูงขึ้นมาก ทำให้ปริมาณการส่งออกน้ำมันลดลง
     
       ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า หากยังเป็นเช่นนี้ต่อไปหลายชาติผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลกอาจจำเป็นต้องเริ่มนำเข้าน้ำมันภายใน 10 ปีข้างหน้า เพื่อนำมาเป็นพลังงานสำหรับรถยนต์ใหม่ อาคารบ้านเรือน และธุรกิจ
     
       ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า อินโดนีเซียได้เปลี่ยนบทบาทจากผู้ส่งออกมาเป็นผู้นำเข้าน้ำมันแล้ว ขณะที่รายงานคาดการณ์บางชิ้นระบุว่าเม็กซิโก ผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่เป็นอับดับ2ให้แก่สหรัฐฯ อาจเริ่มนำเข้าน้ำมันภายใน 5 ปี และไม่นานหลังจากนั้น อิหร่านซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก ก็จะกลายเป็นผู้นำเข้าน้ำมัน
     
       เอมี มเยอร์ส จาฟฟ์ นักวิเคราะห์น้ำมันแห่งไรซ์ยูนิเวอร์ซิตี กล่าวว่า การที่ชาติผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่หลายประเทศกำลังจะไม่ได้เป็นผู้ส่งออกน้ำมันสุทธิอีกต่อไป ในอีก 5 - 10 ปีข้างหน้านั้น ถือเป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรงยิ่ง
     
       รายงานชิ้นล่าสุดของซีไอบีซี เวิลด์ มาร์เก็ตส์ ระบุว่า 40% ของปริมาณการผลิตในซาอุดีอาระเบียที่เพิ่มขึ้นในระหว่างปี 2007-2010 หมดไปกับความต้องการน้ำมันภายในประเทศ ขณะที่กว่าครึ่งหนึ่งของปริมาณการส่งออกน้ำมันของอิหร่านที่วาณิชธนกิจแห่งนี้คาดว่าจะลดลง อาจเป็นผลมาจากการบริโภคน้ำมันภายในประเทศ
     
       รายงานของซีไอบีซี เวิลด์ มาร์เก็ตส์ ยังระบุว่าอัตราการใช้น้ำมันในประเทศที่พุ่งสูงขึ้นในรัสเซีย เม็กซิโก และชาติสมาชิกองค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) อาจทำให้ปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบลดลงมากถึง 2.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ภายในสิ้นทศวรรษนี้
     
       ยอดส่งออกน้ำมันดิบที่ลดลงข้างต้น คิดเป็นราว 3% ของดีมานด์น้ำมันดิบทั่วโลก อาจฟังดูไม่มากนัก แต่ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าดีมานด์น้ำมันไม่ยืดหยุ่นเอาเสียเลย และโลกก็มีขีดความสามารถทางการผลิตที่ยังไม่ได้ใช้เหลือน้อยมากจนกระทั่งถึงแม้น้ำมันจะขาดแคลนเพียงเล็กน้อยก็อาจทำให้ราคาพุ่งขึ้น ทั้งนี้ เมื่อปี 2002 การประท้วงของคนงานในเวเนซุเอลาทำให้ปริมาณการผลิตทั่วโลกลดลง 3% แต่ส่งผลให้ราคาน้ำมันพุ่งขึ้น 26% ภายในไม่กี่สัปดาห์
     
       การที่ชาติผู้ส่งออกน้ำมันเปลี่ยนมาเป็นผู้นำเข้าไม่จำเป็นต้องหมายความว่าน้ำมันจะขาดแคลน ทว่า ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า สิ่งนี้อาจหมายความว่าตลาดจะเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยจำนวนประเทศส่งออกน้ำมันจะลดลง ขณะที่แหล่งน้ำมันที่ผิดแปลกจากแหล่งอื่นๆ ดังเช่นทรายน้ำมันในแคนาดาจะเริ่มมีความสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับสหรัฐฯ นอกจากนี้ น่าจะมีแรงกดดันมากขึ้นที่บีบให้เปิดพื้นที่ที่ปัจจุบันยังปิดอยู่ เพื่อดำเนินการขุดเจาะและผลิตน้ำมัน
     
       ข้อมูลของรัฐบาลระบุว่า การบริโภคน้ำมันภายในประเทศของชาติผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ 5 ประเทศ อันได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย รัสเซีย นอร์เวย์ อิหร่าน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ในปี 2006 เพิ่มขึ้น 5.9% จากเมื่อปี 2005 ขณะที่ปริมาณการส่งออกลดลงกว่า 3%
     
       ชาติผู้ผลิตน้ำมันบางประเทศ เช่น บาห์เรน คูเวต กาตาร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มียอดการบริโภคน้ำมันต่อหัวมากกว่าสหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นชาติผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่ของโลก
     
       รายงานคาดการณ์ดีมานด์น้ำมันของซีไอบีซี กล่าวว่า ในหลายชาติผู้ส่งออกน้ำมันซึ่งรวมถึงซาอุดีอาระเบีย คูเวต และลิเบียนั้น ดีมานด์น้ำมันภายในประเทศจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าตัว ใน 10 ปี
     
       ในชาติผู้ผลิตน้ำมันที่มีประชากรจำนวนมาก ดังเช่นอินโดนีเซีย รัสเซีย และเม็กซิโก ยอดการเป็นเจ้าของรถที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การบริโภคน้ำมันเพิ่มขึ้นมาก
     
       นอกจากนี้ ผู้ส่งออกน้ำมันบางประเทศยังใช้นโยบายควบคุมราคาและใช้เงินอุดหนุนน้ำมันเพื่อทำให้ประชาชนซื้อน้ำมันได้ในราคาถูก นโยบายเช่นนี้ได้รับความนิยมในหมู่ประชาชน แต่ผู้เชี่ยวชาญมองว่าเป็นการเอื้อให้เกิดนิสัยการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง ทั้งนี้ ประชาชนในซาอุดีอาระเบีย อิหร่าน และอิรักซื้อน้ำมันเบนซินได้ในราคา 30-50 เซ็นต์ต่อ 1 แกลลอน ขณะที่ชาวเวเนซุเอลาจ่ายเพียง 7 เซ็นต์ต่อ 1 แกลลอน
http://www.manager.co.th/Around/ViewNew ... 0000145883
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news10/12/07

โพสต์ที่ 225

โพสต์

90 เหรียญต่อบาร์เรล การตั้งรับของ "ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์"
ท่ามกลางความผันผวนของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวม รวมทั้งประเทศไทย อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่งผลให้ นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ถูกตั้ง "คำถาม" ถึงการดูแลพลังงานภายในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาน้ำมัน กับการประกาศขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม และแนวโน้มของสถานการณ์พลังงานที่จะเกิดขึ้นในช่วงต้นปีหน้า

- สถานการณ์พลังงานตอนนี้

การที่กลุ่มโอเปกตัดสินใจไม่เพิ่มกำลังการผลิตในขณะนี้ ก็เพราะโอเปกกำลังมีความสุขกับราคาน้ำมันที่ 90 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรลอยู่ โอเปกไม่เชื่อว่าจะมีอะไรมาทดแทนน้ำมันได้เร็วในช่วงนี้ จึงไม่ยอมเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นมา หรือหากมีการเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นจริงกว่าที่กำลังการผลิตใหม่จะเข้ามาก็จะเป็นช่วงเดือนกุมภาพันธ์ปี 2551 ซึ่งในช่วงนั้นมีการคาดการณ์กันว่าเศรษฐกิจของโลกจะชะลอตัว นั่นหมายถึงว่าการใช้น้ำมันจะลดลงด้วย

ฉะนั้นปีหน้าราคาน้ำมันจะเป็นอย่างไรนั้นก็ขึ้นอยู่ที่ว่า เศรษฐกิจของโลกจะเป็นอย่างไรด้วย หากเศรษฐกิจชะลอตัว กลุ่ม OPEC ก็อาจจะลดกำลังการผลิตลงได้ โดยในช่วงปี 2549 กลุ่มโอเปกได้เพิ่มกำลังการผลิตไปแล้วที่ 1.2 ล้านลิตร/วัน และในช่วงกลางปี 2550 ก็เพิ่มกำลังผลิตอีก 500,000 บาร์เรล/วัน ซึ่งมีผลไปแล้วเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ราคามันก็ตกลงมาเร็ว ตอนนี้คงไม่มีใครที่จะคาดการณ์ราคาน้ำมันได้ สำหรับราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศ ผมไม่อยากจะเดา ความจริงหากเราไม่ลดเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ในส่วนของน้ำมันดีเซลตอนนี้ราคาน้ำมันดีเซลอาจจะแตะที่ระดับ 30 บาท/ลิตรไปแล้วก็ได้

ความจริงในวันที่รัฐบาลชุดใหม่เข้ามาบริหารประเทศ คงไม่เหลืออะไรไว้ให้เล่นเท่าไร ส่วนการคาดการณ์ที่ว่า ราคาน้ำมันจะเข้าขั้นวิกฤตหรือไม่นั้น ผมถือว่าราคาน้ำมันในช่วงนี้ "สูงที่สุด" ในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา แต่การต้องนำเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาเป็นกลไกในการชดเชยราคา อีกหรือไม่นั้น ผมยังคิดว่าไม่จำเป็น แต่หาก จำเป็นจริงๆ ก็ทำได้ แต่ต้องทำในระยะสั้นๆ ไม่ควรนำมาใช้จนกองทุนมีหนี้ มีภาระผูกพันมากมาย เหมือนที่ผ่านมาในอดีต

- ทำไมตัดสินใจลอยตัวก๊าซหุงต้มเอาในช่วงนี้

การขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม หรือ LPG ถือเป็นส่วนหนึ่งของนโนบายที่กระทรวงพลังงานตั้งไว้ว่า เราจะทำ เดี๋ยวจะหาว่าเราเป็นขิงแก่ เข้ามาแล้วไม่ยอมทำอะไร เราปรับราคาก๊าซขึ้นไปที่ระดับ 1.20 บาท/กิโลกรัม เพื่อต้องการให้มันสะท้อนต้นทุน

เดิมทีนั้นราคา LPG จะยึดตามที่รัฐบาลเป็นผู้กำหนดราคา แต่ต่อจากนี้ไปราคาก๊าซจะเริ่มเป็นไปตามกลไกของผม ขอเรียนว่าเรื่อง LPG เป็นเรื่องที่เราตั้งใจตั้งแต่เข้ามาทำงาน แต่ในขณะนี้ก็มีคนเตรียมฉวยโอกาสนำเรื่องนี้ขึ้นมาเป็นประเด็นทางการเมือง หาเสียงกัน

- ยังเร่งส่งเสริมไบโอดีเซลอยู่หรือไม่

สำหรับไบโอดีเซลตอนนี้ เรายังอุดหนุนราคาอยู่ในส่วนของไบโอดีเซล B 100 อยู่ที่ประมาณ 8-9 บาท/ลิตร จากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อให้ช่วงเริ่มต้นมันสามารถไปได้ เหมือนกับ แก๊สโซฮอล์ ที่เรายังต้องอุดหนุนราคาอยู่ ซึ่งวันนี้ยอดการใช้มันก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ยอดการใช้ ไบโอดีเซล (B 5) ในปี 2549 ที่ผ่านมาอยู่ที่ประมาณ 100,000 ลิตร/วัน แต่ตอนนี้เพิ่มมาเป็น 3.5 ล้านลิตร/วันแล้ว

ในช่วงเมษายนปี 2551 กระทรวงพลังงานประกาศให้มีการจำหน่ายน้ำมันไบโอดีเซล B 2 (เนื้อน้ำมัน 98% ผสม B 100 2%) ผมเชื่อมั่นว่า ซัพพลายจะเพียงพอ ปัจจุบันมีการผลิต B 100 เพื่อนำไปผสมเป็น B 2 และ B 5 ประมาณ 500,000 ลิตร/วัน และจะมีโรงงานผลิต B 100 เพิ่มขึ้นมาอีกตั้งแต่ในช่วงปีหน้า รวมแล้วจะมีกำลังผลิตทั้งสิ้น 1.5 ล้านลิตร/วัน จาก 8 โรงผลิต ตามการใช้ที่เพิ่มขึ้นด้วย

ด้านสถานีบริการจำหน่ายโดยเฉพาะเรื่อง ของหัวจ่ายน้ำมันนั้น ก็ไม่ได้เข้าไปเร่ง ใครพอมีหัวจ่ายก็จำหน่ายไป ซึ่งในอนาคตมันก็จะเพิ่มขึ้นแน่นอน

- แต่วัตถุดิบปาล์มที่ผลิต B 100 อาจไม่พอ

เรื่องของน้ำมันปาล์ม ขณะนี้กระทรวง พาณิชย์รับว่าจะไปดูแลให้ไม่มีปัญหา และพอรองรับทั้งภาคการบริโภค (น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์) และป้อนเข้าสู่การผลิตพลังงาน ซึ่งกระทรวงพาณิชย์เองก็ยืนยันกลับมาวว่า ตอนนี้ปริมาณน้ำมันปาล์มยังพอใช้ในประเทศ โดยที่ยังไม่ต้อง มีการนำเข้า

- ปีหน้าจะมี E 20 (เบนซินผสมเอทานอล 20%)

ปัจจุบันแก๊สโซฮอล์มีปริมาณการใช้อยู่ที่ 6.3 ล้านลิตร/วัน และที่สำคัญในช่วงต้นปีหน้าจะเริ่มมีผู้ค้าน้ำมันหลายราย "ยกเลิก" การจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 95 แล้ว เพื่อมาจำหน่ายแก๊สโซฮอล์แทน ฉะนั้นผมเชื่อว่าปลายปี 2550 น่าจะมียอดการใช้แก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้นเป็น 7 ล้านลิตร/วัน ทำให้ในเดือนมกราคม 2551 น่าจะเพิ่มเป็น 8 ล้านลิตร/วันได้

สำหรับผู้ค้าน้ำมันที่เตรียมยกเลิกการขายเบนซิน 95 ก็มีบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สถานีบริการน้ำมัน JET ของบริษัท ปตท. และบริษัท ระยองเพียวรีไฟน์เออร์ จำกัด (มหาชน)

ตอนนี้มีผู้ค้าน้ำมันหลายรายเตรียมที่จะมีการจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E 20 ในช่วงเดือนมกราคมปี 2551 นี้ด้วย ในช่วงเริ่มต้นคงจะ มีเพียง E 20 ในส่วนที่มาจากเบนซิน 95 เท่านั้นก่อน

ล่าสุดได้มีการหารือร่วมกับผู้ค้าน้ำมันแต่ละ รายว่าจะให้มีการเร่งยกเลิกการจำหน่าย เบนซิน 95 เร็วขึ้นจาก 1 เมษายน 2551 มาเป็น 1 กุมภาพันธ์ 2551 ได้หรือไม่ ซึ่งเร็วๆ นี้น่าจะได้คำตอบว่าจะสามารถเร่งได้หรือไม่ เพราะโรงกลั่นทุกโรงต้องกลับไปปรับแผนการผลิตใหม่ แต่จากทิศทางในปัจจุบันที่การใช้แก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้นรวมถึงซัพพลายเอทานอลที่ยังล้นตลาดอยู่ในขณะนี้น่าจะมีความเป็นไปได้

ส่วนรถเก่าที่ไม่สามารถใช้แก๊สโซฮอล์ได้ก็ยังมีทางเลือกต่อไป คือ มีสถานีบริการน้ำมันบางแห่งที่ยังจำหน่ายน้ำมันเบนซินออกเทน 91-95 อยู่ต่อไป อาจจะมีจำนวนน้ำมันหมุนเวียนวันละ 500,000-1 ล้านลิตร เพื่อช่วยเหลือรถเก่าเหล่านี้ ไม่ใช่จะให้เลิกไปทั้งหมด

- ภารกิจสำคัญของกระทรวงตอนนี้

เรื่องสำคัญที่สุดตอนนี้คงเป็นกรณีที่ศาลปกครองเตรียมตัดสินชี้ขาดกรณีการแปรรูปของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 14 ธันวาคมนี้ ซึ่งผมก็หวังว่าน่าจะเรียบร้อย แต่ที่ผ่านมาจะเห็นว่าอีกฝ่ายจะพยายามออกมาให้ข่าว ซึ่งผมเองก็มองว่ามันไม่ถูกต้อง ช่วงนี้จะเห็นว่ามีการออกมาโจมตีกันทางอ้อม แม้แต่หน่วยงานรอบข้างก็โดนกันหมด

ผมเองและคนที่เกี่ยวข้องได้เคลียร์หุ้นทั้งหมดที่ถือไว้หมดแล้ว (กรณีถูกกล่าวหาว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนถือหุ้นพลังงานผ่านทางกองทุนต่างๆ หรือมีหุ้นโดยตรง) ตอนนี้ไม่เหลือแล้ว ตัวเลขที่มูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภคกล่าวอ้างถึงนั้นคือ "กำไรที่หายไป" จากการนั่งในตำแหน่งรัฐมนตรี มันไม่มีทางกลับไปถือได้เหมือนเดิม แถมซ้ำยังมาถูกด่าอีก มันแย่มาก

อย่างไรก็ตามผมอยากให้รอคำตัดสินของ ศาลที่จะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้มากกว่า ในขณะนี้นั้นถือว่าบริษัท ปตท.ไม่ได้มีอำนาจอะไรแล้ว มีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทุกอย่างเราจะพยายามมองให้เป็น positive ทั้งนี้เราได้มองหลายๆ ทางเลือกต่อกรณีดังกล่าว ไม่ว่าผลตัดสินชี้ขาดจะออกมาอย่างไร เราเองมีแผนมารองรับแน่นอน และที่ผ่านมาก็หารือกับบริษัท ปตท.อย่างต่อเนื่อง
http://matichon.co.th/prachachat/pracha ... ionid=0203
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news10/12/07

โพสต์ที่ 226

โพสต์

ใช้ "ส่วนต่าง" ราคาน้ำมัน จูงใจเติมแก๊สโซฮอล์-ไบโอดีเซล

กระทรวงพลังงาน มีนโยบายส่งเสริมให้มีการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์กับไบโอดีเซล เพื่อที่จะลดการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ และเพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรในประเทศ โดยมีเป้าหมายว่าจะมีการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์อยู่ที่ประมาณ 8 ล้านลิตร/วัน ในช่วงสิ้นปี 2550 รวมกับการส่งเสริมด้านราคา โดยใช้กลไกของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาปรับเพิ่ม "ส่วนต่าง" ของราคาน้ำมันเบนซินให้ "สูงกว่า" ราคาน้ำมัน แก๊สโซฮอล์

โดยส่วนต่างราคาของเบนซิน 95 อยู่ที่ 4 บาท/ลิตร และเบนซิน 91 อยู่ที่ 3.50 บาท/ลิตร และสำหรับผู้จำหน่ายได้ปรับเพิ่ม "ค่าการตลาด" น้ำมันแก๊สโซฮอล์ให้สูงกว่าน้ำมันเบนซิน ซึ่งในปัจจุบันค่าการตลาดน้ำมันแก๊สโซฮอล์ "สูงกว่า" น้ำมันเบนซินปกติอยู่ที่ 90 สตางค์/ลิตร

ในช่วงปี 2550 ที่ผ่านมา หลังจากที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกได้ปรับตัวสูงขึ้นไปอย่าง ต่อเนื่อง จนปัจจุบันแตะที่ราคากว่า 90 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรลนั้น ส่งผลให้ผู้บริโภคหันมาใช้พลังงานทางเลือกมากขึ้น เนื่องจากมีราคาถูกกว่า ในช่วงเดือนมกราคม 2550 มีปริมาณการใช้แก๊สโซฮอล์อยู่ที่ 3.5 ล้านลิตร/วันเท่านั้น หลังจากนั้นปริมาณการใช้มาเพิ่มแบบกระโดดในช่วงเดือนพฤษภาคม มีการใช้อยู่ที่ 4.5 ล้านลิตร/วัน และล่าสุดในเดือนพฤศจิกายนมีการใช้อยู่ที่ 6.5 ล้านลิตร/วัน และคาดว่าในเดือนธันวาคมอยู่ที่ 7 ล้านลิตร/วัน ปัจจุบันมีสถานีบริการน้ำมันที่จำหน่ายแก๊สโซฮอล์อยู่รวม 3,743 แห่ง แบ่งเป็นสถานีบริการน้ำมันของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 1,189 แห่ง บริษัท เชลล์ในประเทศไทย จำกัด จำนวน 548 แห่ง บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จำนวน 516 แห่ง สถานีบริการน้ำมันคาลเท็กซ์ของบริษัท เชฟรอน จำกัด จำนวน 369 แห่ง บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) จำนวน 734 แห่ง บริษัท สยามสหบริการ จำกัด (มหาชน) จำนวน 62 แห่ง สถานีบริการน้ำมันเจ็ท จำนวน 146 แห่ง บริษัท ปิโตรนาสรีเทล (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 85 แห่ง บริษัท ภาคใต้เชื้อเพลิง จำกัด จำนวน 29 แห่ง บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) จำนวน 1 แห่ง บริษัท ระยองเพียว ริฟายเออร์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 64 แห่ง

สำหรับ ไบโอดีเซล (B100) นั้น กระทรวงพลังงานมีนโยบายจูงใจให้ผู้บริโภคหันมาใช้น้ำมันไบโอดีเซลด้วยการมีส่วนต่างระหว่างน้ำมันดีเซลและไบโอดีเซลอยู่ที่ 70 สตางค์/ลิตร และได้มาปรับเพิ่มส่วนต่างเพื่อจูงใจเพิ่มเป็น 1 บาท/ลิตรในปัจจุบัน โดยยอดขายไบโอดีเซล (B100) เพิ่มขึ้นจากที่มีปริมาณการใช้เพียง 0.179 ล้านลิตร/เดือน ในปี 2549 จนในปัจจุบันมีการใช้ไบโอดีเซลอยู่ที่ 13.05 ล้านลิตร/เดือนในเดือนพฤศจิกายน 2550 ที่ผ่านมา แบ่งเป็นไบโอดีเซล (B5) ที่ 4.65 ล้านลิตร และไบโอดีเซล (B2) ที่ 8.40 ล้านลิตร
http://matichon.co.th/prachachat/pracha ... ionid=0203
ภาพประจำตัวสมาชิก
ครรชิต ไพศาล
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 4637
ผู้ติดตาม: 1

กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี

โพสต์ที่ 227

โพสต์

เดียวนี้ ดูภาพถ่าย ดาวเทียมใน Google Earth
ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news11/12/07

โพสต์ที่ 228

โพสต์

เพิ่มเป้าพลังงานทดแทน 8 ล้านลิตร/วัน

โดย Post Digital 11 ธันวาคม 2550 13:51 น.

กระทรวงพลังงานเพิ่มเป้ายอดใช้พลังงานทดแทนเป็น 8 ล้านลิตร/วัน

วันนี้ (11ธ.ค.) นายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวในการสัมมนา "อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์จะรุ่งโรจน์ หรือ ร่วงโรยในปี 51" ว่า กระทรวงพลังงาน มีเป้าหมายจะให้มีการใช้พลังงานทดแทนให้มากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของพลังงานทดแทนที่ใช้แทนน้ำมัน จากปัจจุบันมีการใช้สูงสุดที่ 6 ล้านลิตรต่อวัน เป็น 8 ล้านลิตรต่อวัน ในช่วงต้นปีหน้า และทำให้สัดส่วนของการใช้พลังงานทดแทนทั้งหมดเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 4 เป็นร้อยละ 8 ของการใช้พลังงานหลัก อย่างไรก็ตาม ในส่วนของอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ จะมีส่วนช่วยในการช่วยประหยัดพลังงานได้ โดยการนำมูลสุกรที่มีผู้เลี้ยงจำนวนมากในประเทศไทยมาทำเป็นพลังงานชีวมวลใช้ภายในฟาร์มของตนเอง

นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) จะให้การสนับสนุนการลงทุนของผู้ประกอบการด้านพลังงานทดแทนขนาดเล็กอย่างเต็มที่ ตามนโยบายของกระทรวงพลังงาน
http://www.posttoday.com/breakingnews.php?id=208400
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news12/12/07

โพสต์ที่ 229

โพสต์

ราคาน้ำมันปีหน้ามีสิทธิทะลุ 100 เหรียญ

นายเทียนไชย จงพีร์เพียร นักวิชาการด้านพลังงาน บอกว่า แนวโน้มราคาน้ำมันในปี 2551 ยังคงเป็นปัจจัยที่น่าเป็นห่วงอยู่ เนื่องจากมีระดับราคาที่ไม่ต่างจากปี 2550 และ มีโอกาสปรับสูงขึ้นตามปริมาณความต้องการน้ำมันของโลก แม้จะคาดการณ์ว่าจะมีความต้องการชะลอตัวบ้าง แต่ก็อยู่ในระดับ 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยเฉพาะจีนและอินเดีย

ขณะที่กำลังการผลิตยังไม่มีความชัดเจนว่าจะมาจากส่วนใดเพราะกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่หรือโอเปก ที่มีกำลังผลิตส่วนเกินมาจากซาอุดิอาระเบีย เท่านั้น ทำให้ราคาเฉลี่ยยังอยู่ในระดับที่สูงกว่า 90 เหรียญต่อบาร์เรล โดยบางช่วงราคาน้ำมันดิบอาจขยับไปอยู่ที่ระดับ 100 เหรียญต่อบาร์เรลได้เช่นกัน ทั้งนี้ต้องรอการประชุมโอเปกในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ว่าจะมีการเพิ่มการผลิตได้มากน้อยเพียงใด

ส่วนราคาน้ำมันสำเร็จรูป โรงกลั่นทั่วโลกได้ใช้กำลังการผลิตเต็มกว่า 90% แล้ว และผู้ผลิตเองก็พอใจกับระดับราคาน้ำมันที่สูงและไม่เห็นการขยายการลงทุนเพิ่มในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ดังนั้นหลายประเทศจึงหันมาสนใจพลังงานทดแทนควบคู่กันไป

ด้านนายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญ ด้านน้ำมัน และอดีตผู้บริหารบางจากปิโตรเลียม บอกว่า ราคาน้ำมันในปี 2551 เฉลี่ยในช่วงฤดูที่มีการใช้มากจะอยู่ที่ประมาณ 90- 95 เหรียญต่อบาร์เรล โดยช่วงไตรมาสแรกความต้องการจะลดลงมาอยู่ที่ระดับ 80-85 เหรียญต่อบาร์เรล ซึ่งปัจจัยที่ต้องติดตามได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐจะขยายตัวลดลงมากน้อยเพียงใด

ขณะที่นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทน้ำมันบางจาก บอกว่า แม้ราคาน้ำมันในตลาดโลกจะปรับลดลงแต่เมื่อพิจารณาถึงค่าการตลาดน้ำมันที่ได้รับ ยังไม่อยู่ในระดับที่เหมาะสม ดังนั้นจะขอเวลาพิจารณาอีก 1-2 วัน หากแนวโน้มราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับลด ราคาขายปลีกน้ำมันก็จะลดลงทันที แต่จะให้ความสำคัญกับราคาน้ำมันดีเซลก่อนเป็นอันดับแรก
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news15/12/07

โพสต์ที่ 230

โพสต์

มั่นใจดีเซลบี5วิ่งฉิว ปี54แทนบี2ทั้งหมด
กรมพลังงานฯ มั่นใจยอดใช้ไบโอดีเซล บี 5 จะเพิ่มขึ้น ตามลำดับ และสามารถทดแทนการใช้ดีเซล บี 2 ได้ภายในปี 2554


นายพานิช พงศ์พิโรดม อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กล่าวภายหลังเปิดตัวโครงการ ภาพรวมการใช้ไบโอดีเซลในประเทศไทย ว่า ขณะนี้ปริมาณการผลิตไบโอดีเซลบริสุทธิ์ 100% หรือ บี 100 ในไทย เพียงพอกับความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เฉลี่ย 1 ล้านลิตรต่อวัน โดยตั้งแต่เดือน ก.พ. 2551 จะมีมาตรการบังคับให้ผู้ผลิตน้ำมันต้องปรับสูตรน้ำมันดีเซลให้ผสม บี 100 ในสัดส่วน 2% เรียกว่า บี 2 ส่งผลให้ความต้องการใช้ไบโอดีเซลจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.5 ล้านลิตรต่อวัน สอดคล้องกับปริมาณการผลิตที่ปีหน้าจะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 2.1 ล้านลิตรต่อวัน

ทั้งนี้ จากมาตรการส่งเสริมการใช้น้ำมันดีเซล บี 5 โดยกำหนดส่วนต่างราคาให้ถูกกว่าดีเซลปกติ 1 บาทต่อลิตร ทำให้มียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นจาก 1.9 แสนลิตรต่อวัน เป็น 3.1 ล้านลิตรต่อวัน ในเดือน พ.ย. 2550 และมีความเป็นไปได้ว่า ภายในปี 2554 ยอดการใช้ บี 5 จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นจนมาแทนที่การใช้น้ำมัน บี 2 อย่างแน่นอน ซึ่งเมื่อถึงตอนนั้น มาตรการชดเชยราคาอาจไม่จำเป็นต้องใช้อีกต่อไป

ขณะนี้มีโรงงานผลิตไบโอดีเซลเชิงพาณิชย์ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมธุรกิจพลังงาน 8 แห่ง กำลังการผลิตรวม 1.5 ล้านลิตรต่อวัน และในปี 2551 จะมีกำลังการผลิตไบโอดีเซลรวม 2.1 ล้านลิตรต่อวัน ซึ่งเพียงพอกับความต้องการในการนำมาผสมเป็นไบโอดีเซลอย่างแน่นอน สอดคล้องกับปริมาณการใช้ บี 5 ที่จะเพิ่มขึ้นตามลำดับ และค่ายรถยนต์ก็ได้ออกมารับประกันว่า ไม่มีปัญหาต่อเครื่องยนต์ นายพานิช กล่าว
http://www.msnth.com/msn/money2/content ... 343&ch=227
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news15/12/07

โพสต์ที่ 231

โพสต์

พลังงานเร่งแจกเครื่องผลิตไบโอดีเซลชุมชน400เครื่องปีหน้า

13 ธันวาคม พ.ศ. 2550 16:44:00

พลังงานเร่งแจกเครื่องไบโอดีเซลชุมชน 400 เครื่องในปี 2551 หวังลดภาระชุมชนจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :
นายพานิช พงศ์พิโรดม อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เปิดเผยว่า ในปี 2551 พพ.จะเร่งส่งเสริมให้ชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และเทศบาล เข้าร่วมโครงการผลิตไบโอดีเซลชุมชน ใช้เองในท้องถิ่น ซึ่งสามารถใช้ไบโอดีเซลบริสุทธิ์ (บี 100 ) เติมในเครื่องยนต์การเกษตรได้

ทั้งนี้เพื่อลดภาระจากราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสุงขึ้น และส่งเสริมให้ชุมชนนำวัตถุดิบในท้องถิ่น เช่น น้ำมันพืชใช้แล้วมาผลิตเป็นไบโอดีเซล ซึ่งสามารถใช้ทดแทนน้ำมันดีเซล ได้ 100 % โดยพพ.จะเร่งจัดหาเครื่องผลิตไบโอดีเซลชุมชนให้ได้ 400 แห่งภายในปี 2551 จากปัจจุบันที่มีการติดตั้งแล้ว 72 แห่ง ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จากสำนักงานโครงการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (พพพ.) 120 ล้านบาทหรือ เครื่องละ 3 แสนบาท

ในส่วนของไบโอดีเซลเชิงพาณิชย์นั้น ขณะนี้มียอดจำหน่ายไบโอดีเซล บี 5 หรือน้ำมันดีเซลที่มี บี 100 ผสมในดีเซล 5 % ในระดับที่เพิ่มขึ้น จากเดือนพฤศจิกายน 2549 ที่มียอดการใช้อยู่ที่ 190,000 ลิตรต่อวันเป็น 3.1 ล้านลิตรต่อวันในเดือนพฤศจิกายน 2550

ส่วนวัตถุดิบนั้น.มั่นใจว่าจะมีปริมาณการผลิตไบโอดีเซลในประเทศ เพียงพอต่อความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยขณะนี้มีโรงงานผลิตบี 100 ในที่ขึ้นทะเบียนกับกรมธุรกิจพลังงาน จำนวน 8 โรงงาน กำลังการผลิต 1.5 ล้านลิตรต่อวัน และหากรวมกำลังการผลิตของบริษัทไทยโอลิโอเคมี จำกัด อีก 6 แสนลิตรต่อวัน จะทำให้ต้นปี 2551 กำลังการผลิตไบโอดีเซลรวมจะเท่ากับ 2.1 ล้านลิตรต่อวัน

ขณะที่ความต้องการใช้บี 100 จะอยู่ในระดับ 1 ล้านลิตรต่อวัน หลังจากมาตรการบังคับให้มีการผสม บี 100 ในดีเซลไม่เกิน 2 % ภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 มีผลบังคับใช้

นายประพนธ์ วงษ์ท่าเรือ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานทดแทน พพ. กล่าวว่า ขณะนี้ประชาชนให้ความสนใจเติมไบโอดีเซล บี 5 ที่มีจำหน่ายในสถานีบริการน้ำมันปตท.และบางจากจำนวนมาก โดยยอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นกว่า 50 % ภายหลังราคาไบโอดีเซลต่ำกว่าดีเซล 1 บาทต่อลิตร โดยยอดจำหน่ายเพิ่มจาก 100,000 ลิตรต่อวันในเดือนตุลาคม 2550 เป็น 155,510 ลิตรต่อวันในเดือนพฤศจิกายน 2550 และคาดว่าจะเพิ่มต่อเนื่อง
http://www.bangkokbiznews.com/2007/12/1 ... sid=211129
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news15/12/07

โพสต์ที่ 232

โพสต์

วิเคราะห์แนวโน้มราคาน้ำมัน

14 ธันวาคม พ.ศ. 2550 11:11:00



กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ปัจจัยที่มีผลต่อราคาน้ำมัน (13 ธ.ค.50)  

   น้ำมันดิบ : ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ปรับตัวลดลง 1.90 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล เนื่องจาก

   ตลาดกังวลว่ามาตรการร่วมกันที่จะช่วยบรรเทาภาวะสภาพคล่องตึงตัวของ ธนาคารกลางสหรัฐฯ และธนาคารกลางอื่นๆ จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในวงกว้าง และอาจส่งผลให้อุปสงค์น้ำมันดิบชะลอตัวลง ประกอบกับสถาบันการเงินของสหรัฐฯ ก็ไม่แน่ใจในมาตรการดังกล่าวด้วยว่าจะสามารถแก้ปัญหาได้              

   นักค้าน้ำมันเทขายทำกำไรระยะสั้นเมื่อวานนี้ จากราคาน้ำมันดิบที่ทะยานสูงขึ้นอย่างมาก        

   อย่างไรก็ตาม Valero Energy แถลงว่าหน่วย FCC (กำลังการผลิต 85,000 บาร์เรล/วัน) ที่โรงกลั่นในรัฐเท็กซัส (กำลังการผลิต 245,000 บาร์เรล/วัน) เป็นหน่วยกลั่นเดียวที่กลับมาเดินเครื่องได้ หลังจากเกิดปัญหาขัดข้องเมื่อวันที่ 3 ธ.ค. ที่ผ่านมา      

   น้ำมันเบนซิน : ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.54 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ตามราคาน้ำมันดิบดูไบที่แข็งค่าขึ้น ประกอบกับ

   นักค้าน้ำมันคาดการณ์ว่าอุปสงค์น้ำมันเบนซินยังแข็งแกร่งและอุปทานในภูมิภาคยังอยู่ในภาวะตึงตัว เป็นปัจจัยหนุนตลาดน้ำมันในเอเชีย

   เวียดนามซื้อน้ำมันเบนซินออกเทน 92 เพิ่มอีกจำนวน 10,000 ตัน สำหรับการส่งมอบเดือนม.ค.51 ส่งผลให้อุปทานน้ำมันเบนซินในภูมิภาคปรับลดลง

   อย่างไรก็ตาม ปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังของสิงคโปร์ ปรับเพิ่มขึ้น 44,000 บาร์เรล มาอยู่ที่ 7.334 ล้านบาร์เรล สิ้นสุด ณ วันที่ 12 ธ.ค. 50 ทำสถิติสูงสุดในรอบ 9 สัปดาห์  

   ตลาดคาดการณ์ว่าอินโดนีเซียจะนำเข้าน้ำมันเบนซินจำนวน 3.6 ล้านบาร์เรล ในงวดเดือน ม.ค. 51 ลดลงเมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค. ที่นำเข้าจำนวน 4.2 ล้านบาร์เรล เนื่องจากอุปสงค์ชะลอตัวลง และปริมาณน้ำมันคงคลังในประเทศยังอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้อุปทานน้ำมันเบนซินในภูมิภาคมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น

   น้ำมันก๊าดและอากาศยาน : ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.97 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ตามราคาน้ำมันดิบดูไบที่แข็งค่าขึ้น ประกอบกับ

   การที่เกาหลีใต้เลื่อนการลดภาษีน้ำมันก๊าดมาเป็นเดือนม.ค. 51 ส่งผลให้ผู้บริโภครอที่จะซื้อน้ำมันหลังจากลดแล้ว และมีส่วนทำให้อุปทานน้ำมันก๊าดในเกาหลีใต้อยู่ในภาวะล้นตลาด  

   มีปริมาณการซื้อขายเบาบางเมื่อวานนี้ และไม่มีการซื้อขายใดๆ

   อย่างไรก็ตาม ปริมาณน้ำมันคงคลังของปากีสถาน อยู่ในระดับต่ำที่ 38,000 ตัน ทำให้ปากีสถานต้องนำเข้าน้ำมันก๊าดเพื่อให้เพียงพอต่อการใช้ในประเทศ โดยปริมาณที่เหลืออยู่นั้น สามารถใช้ได้เพียง 5 วัน  มีส่วนอุปทานน้ำมันก๊าดในภูมิภาคปรับลดลง

    น้ำมันดีเซล : ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.92 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ตามราคาน้ำมันดิบดูไบที่แข็งค่าขึ้น ประกอบกับ

   ผู้ค้ามองว่าอุปทานน้ำมันดีเซลในภูมิภาคยังตึงตัวอยู่  เนื่องจากมีแรงซื้อเข้ามาจากจีนและมีการขนย้ายไปขายยังยุโรป ที่จำนวนประมาณ 500,000 - 800,000 ตัน ส่งผลให้อุปทานน้ำมันดีเซลในภูมิภาคปรับลดลง  

   ในการซื้อขายระหว่างวันวานนี้ ผู้ค้ารายใหญ่ 2 รายประมูลซื้อน้ำมันดีเซลกำมะถันต่ำ 0.5% และกำมะถัน 0.25% ส่งผลให้อุปทานน้ำมันดีเซลในภูมิภาคมีแนวโน้มปรับลดลง  

   อย่างไรก็ตาม ปริมาณน้ำมัน middle distillate คงคลังของสิงคโปร์ ปรับเพิ่มขึ้น 254,000 บาร์เรล มาอยู่ที่ 6.924 ล้านบาร์เรล สิ้นสุด ณ วันที่ 12 ธ.ค. 50 ส่งผลให้อุปทานน้ำมันดีเซลปรับเพิ่มขึ้น

   น้ำมันเตา: ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.82 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ตามราคาน้ำมันดิบดูไบที่แข็งค่าขึ้น ประกอบกับ

   ปริมาณน้ำมันเตาคงคลังประจำสัปดาห์ของสิงคโปร์ปรับลง 564,000 บาร์เรล มาอยู่ที่ 13.020 ล้านบาร์เรล สิ้นสุด ณ วันที่ 12 ธ.ค. 50 มีส่วนลดอุปทานน้ำมันเตาในภูมิภาคที่อยู่ในภาวะล้นตลาดลงได้บ้าง

   อย่างไรก็ตาม ปริมาณการซื้อขายในตลาดเบาบาง โดยเฉพาะขาดแรงซื้อจากจีน  มีส่วนกดดันราคา ในตลาด

   คาดว่าอุปสงค์น้ำมันเตาที่ใช้เติมเรือชะลอตัวลงเมื่อใกล้ถึงสิ้นปี ส่งผลให้อุปทานน้ำมันเตาในภูมิภาคปรับเพิ่มขึ้น

   อินโดนีเซียคาดว่าจะนำเข้าน้ำมันเตาความหนืดต่ำ จำนวน 4 ลำเรือ สำหรับงวดเดือนม.ค. ซึ่งเป็นปริมาณที่ลดลงเมื่อเทียบกับที่นำเข้าจำนวน 6 ลำเรือในเดือน ธ.ค. ส่งผลให้อุปทานน้ำมันเตามีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น
         
ที่มา : บล.ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)
http://www.bangkokbiznews.com/2007/12/1 ... sid=211379
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news15/12/07

โพสต์ที่ 233

โพสต์

ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ เบอร์ 1 ปตท. ในวันที่ก๊าซราคา 800 เหรียญ

นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้นำในธุรกิจพลังงานของประเทศ ได้แสดงมุมมองสถานการณ์พลังงานของประเทศ ในการเสวนาเรื่อง "น้ำมันแพงเราจะอยู่กันอย่างไร" ที่จัดโดย กองบรรณาธิการมติชน รวมถึงความคิดเห็นที่มีต่อโครงสร้างราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ภายหลังจากที่กระทรวงพลังงาน ได้ประกาศปรับราคาก๊าซหุงต้มขึ้นไปอีก ก.ก.ละ 1.20 บาท เมื่อเร็วๆ นี้

นำเข้าพลังงาน 1 ล้านล้านบาทต่อปี

นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ได้กล่าวถึงการวิเคราะห์เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นจะมีผลกระทบต่อราคาน้ำมันในประเทศอย่างไร ในเมื่อไทยเป็นประเทศที่นำเข้าพลังงานเป็นหลักว่า ความจริงแล้วเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเป็นเพียงตัวช่วยเล็กน้อยเท่านั้น หากน้ำมันยังแพงขึ้นเรื่อยๆ เชื่อว่า จะกระทบเศรษฐกิจไทยแน่นอน แต่จะกระทบมากหรือกระทบน้อยขึ้นอยู่กับว่า มีการใช้น้ำมันมากน้อยแค่ไหน เราพยายามลดการพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ โดยเฉพาะตอนนี้เราก็เร่งเรื่องพลังงานทดแทนอย่าง แก๊สโซฮอล์ และ ไบโอดีเซล หรือของเหลือของเสียต่างๆ กระทรวงพลังงาน ก็ผลักดันให้มีการใช้ พยายามที่จะใช้การบริหารจัดการการใช้พลังงาน หรือ DSM (Demand Sight Management) อย่างมีประสิทธิภาพ "แต่วันนี้มันก็ยังไม่พอ"

การใช้พลังงานในปัจจุบันแบ่งเป็นภาคการขนส่งร้อยละ 30 ใช้ในภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ร้อยละ 30 และมากกว่าร้อยละ 20 การใช้จะอยู่ในบ้านที่อยู่อาศัยและธุรกิจการค้า ฉะนั้นการบริหารการใช้ให้เน้นที่ที่ตัวใหญ่ๆ บริหารการใช้พลังงานขนส่งอย่างไรให้ใช้พลังงานน้อยลง

นอกจากนี้การใช้พลังงานทั้งหมดยังแบ่งเป็น การใช้น้ำมันร้อยละ 40 ใช้ก๊าซธรรมชาติร้อยละ 30 และใช้ถ่านหินอยู่ที่ร้อยละ 20 การใช้พลังงานทั้งหมดที่ว่านี้ ยังมีการนำเข้าน้ำมันสูงถึงร้อยละ 80 นำเข้าก๊าซธรรมชาติร้อยละ 20 เพราะเรายังโชคดีที่ทียังมีก๊าซ ให้ได้ใช้จากอ่าวไทย ส่วนถ่านหินไทยก็ยังมีการนำเข้า สรุปแล้ว ไทยต้องนำเข้าพลังงานในแต่ละปีสูงถึง 1 ล้านล้านบาท เฉพาะแค่การนำเข้าน้ำมันอย่างเดียวอยู่ที่ 800,000-900,000 ล้านบาท

เมื่อราคาน้ำมันแพงขึ้นยิ่งทำให้เราต้องเสียเงินมากขึ้น สำหรับสำรองพลังงานแต่ละประเภทในวันนี้มองว่า เป็นระดับที่ไม่ได้สร้างความหวั่นวิตกว่าจะขาดแคลนแบ่งเป็นสำรองถ่านหินอยู่ที่ 100 ปี สำรองน้ำมันอยู่ที่ 40 ปี ซึ่งจำนวน 2 ใน 3 อยู่ในประเทศกลุ่มตะวันออกกลาง

ให้ระวังสถานะกองทุนน้ำมัน

การนำเข้าพลังงานของประเทศไทยในปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 60 ของพลังงานที่ใช้ทั้งหมดและส่วนใหญ่ยังเป็นน้ำมัน ในเมื่อบ้านเรายังคงต้องนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ เมื่อใดที่ราคาน้ำมันปรับขึ้นก็จะกระทบต่อต้นทุนทุกเรื่อง ดุลการชำระเงินก็จะเพิ่มขึ้น แต่ไทยยังโชคดีที่เงินบาทแข็งค่าขึ้น ทุก 1 บาทที่แข็งค่าขึ้นจะส่งผลให้ราคาน้ำมันลดลงประมาณ 50 สตางค์/ลิตร แต่ทั้งนี้ค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นมากๆ ไม่ได้เพราะ เรายังต้องห่วงในเรื่องของภาคการส่งออกด้วยที่อาจจะได้รับผลกระทบ

ฐานราคาน้ำมันดิบที่ 80-90 เหรียญสหรัฐ/ บาร์เรล จะสะท้อนไปยังราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ราคา 100 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล และจะสะท้อนออกมาเป็นราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศอยู่ที่ 32-33 บาท/ลิตร เช่นในขณะนี้ แต่สำหรับโครงสร้างราคาน้ำมันดีเซลในประเทศวันนี้ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ลดการเก็บเงินส่งเข้ากองทุน ส่งผลให้ราคาน้ำมันดีเซล ยังมีราคาเพียง 28 บาท/ลิตร ทั้งที่ความเป็นจริงน่าจะแตะที่ 30 บาทไปแล้ว แต่ไม่แน่ใจว่า หากราคาน้ำมันยังวิ่งขึ้นไปอีก ทุกอย่างอาจจะเปลี่ยนก็ได้โดยเฉพาะการใช้กลไกจากกองทุนน้ำมันฯ

นายประเสริฐกล่าวว่า วันนี้รูมของภาครัฐเหลือไม่มาก เพราะอย่างวันนี้การเก็บเงินส่งเข้ากองทุน ที่มากที่สุดคือ การเก็บจากน้ำมันเบนซิน 95 แต่ในขณะเดียวกันก็มีนโยบายส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอล์ ผู้บริโภคก็หันไปเติมมากขึ้น ดังนั้นเงินส่วนที่จะเก็บเข้ากองทุนน้ำมันฯจากเบนซิน 95 ก็น้อยลง หรือแม้แต่ในส่วนของน้ำมันดีเซลที่ค่อนข้างเป็นเงินก้อนใหญ่ของกองทุน แต่วันนี้ก็มีการเก็บเงินเพียง 70 สตางค์/ลิตรจากผู้ใช้

แม้ว่ากองทุนน้ำมันฯจะลดการ "ชดเชย" ในส่วนของก๊าซหุงต้ม (LPG) ลงด้วยการประกาศขึ้นราคา ณ หน้าโรงกลั่นอีก 1.20 บาท/กิโลกรัม แต่ก็ยังต้องนำเงินไปโปรโมต น้ำมันไบโอดีเซลต่อ หลังจากที่เคยโปรโมตในส่วนของน้ำมันแก๊ส โซฮอล์มาแล้ว รัฐต้องการส่งเสริมพลังงานที่มันเป็น green product ซึ่งยังต้องนำเงินจากกองทุนเข้าไปส่งเสริม ทั้งพลังงานจากลม-แกลบ หรือ ไบโอแมส พลังงานเหล่านี้ยังแพงอยู่ อย่างไรก็ตามรัฐบาลยังต้องเรียกเก็บเงินจากบางส่วนอยู่ เงินที่เคยตั้งไว้ วันนี้กำลังจะหมดในขณะที่สถานะของกองทุนที่มั่นคงก็ยังมีความจำเป็นอยู่

ทำไมไทยใช้ก๊าซหุงต้ม "ถูกกว่า" ผู้ผลิต

ราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) ตลาดโลกในวันนี้ได้พุ่งไปอยู่ที่ 800 เหรียญสหรัฐ/ตันแล้ว ในขณะที่ราคาขายในบ้านเราถูกกำหนดราคาไว้ที่ 315-320 เหรียญสหรัฐ/ตัน หรือต่างกันถึง 500 เหรียญสหรัฐ/ตัน ขณะที่ราคาขายปลีก ก๊าซหุงต้มที่แท้จริง ควรจะปรับขึ้นไปอีกประมาณ 16-17 บาท/กิโลกรัม แต่ที่กระทรวงพลังงาน ประกาศปรับขึ้นไปเพียง 1.20 บาท/กิโลกรัม แต่ในความรู้สึกของผู้บริโภคมันเดือดร้อนกันมากๆ

ประเทศไทยเป็นประเทศที่ต้องนำเข้าพลังงาน เรามีบางส่วนที่ผลิตก๊าซหุงต้มได้จากอ่าวไทย จากกระบวนการผลิตที่โรงแยกก๊าซ ซึ่งประมาณร้อยละ 50-60 ก๊าซหุงต้มเราผลิตจากก๊าซธรรมชาติ ซึ่งความจริงราคา หรือต้นทุนต่างๆ ก็เชื่อมโยงกับราคาน้ำมันทั้งสิ้น ราคาก๊าซหุงต้มบางช่วงเคยมีราคาแตะที่ 300-400 เหรียญสหรัฐ/ตัน แต่ไม่เคยมีราคาช่วงใดเลยที่ต่ำกว่า 315 เหรียญสหรัฐ/ตัน แม้กระทั่งผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกอย่าง ประเทศซาอุดีอาระเบีย ก็ยังขายก๊าซหุงต้มอยู่ที่ราคา 800 เหรียญสหรัฐ/ตัน

"แต่พี่ไทยนี่เจ๋งเป็นบ้า ขายก๊าซหุงต้มต่ำกว่าซาอุฯได้ ตอนนี้โครงสร้างมันเบี้ยวไปแล้ว คนก็เฮโลกันมาใช้ก๊าซแทนน้ำมัน ความต้องการจากภาคขนส่งเพิ่มมากขึ้น กำลังผลิตก๊าซหุงต้มจากโรงแยกก๊าซของ ปตท.เดิมทีเคยส่งออกให้ได้พอหายใจขึ้นมาได้บ้าง แต่ตอนนี้ ปตท.ส่งออกก๊าซได้น้อยลง" นายประเสริฐกล่าว

สุดท้ายอาจต้องนำเข้า LPG

ภายในปี 2551 นี้ นายประเสริฐเชื่อว่า ประเทศไทยจะไม่เหลือก๊าซหุงต้มให้ส่งออกอีกแล้ว แถมยังต้องมีการ "นำเข้า" ก๊าซหุงต้มจากต่างประเทศเพิ่มเติมเข้ามาด้วย เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้น หากยังไม่มีมาตรการสกัดกั้นการใช้ก๊าซหุงต้มในรถยนต์ รวมถึงการใช้ในภาคอุตสาหกรรม ความจริงก็ไม่ยุติธรรมสำหรับผู้ใช้น้ำมันที่ต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อไปชดเชยให้การใช้ก๊าซในภาคอุตสาหกรรมกับภาคการขนส่งด้วย

ปัญหาที่นายประเสริฐ ตั้งคำถามก็คือ "แล้วใครจะเป็นผู้นำเข้าก๊าซหุงต้ม ?" เมื่อต้องนำเข้าที่ราคา 800 เหรียญสหรัฐ/ตัน เพื่อนำมาขายในราคา 315-320 เหรียญสหรัฐ/ตัน ในที่สุดอาจจะต้องเป็นบริษัท ปตท. ต่อจากนี้ก๊าซ LPG จะกลายเป็นปัญหาใหญ่ ซึ่งความจริงเป็นปัญหาที่เราปล่อยมายาวนานด้วย แล้วใครจะเข้ามาแก้เรื่องนี้ เพราะวันนี้ก๊าซหุงต้มได้กลายเป็น "สินค้าการเมือง" ไปแล้ว การจะตัดสินใจอย่างไรก็ตามแต่จะกระทบทุกครัวเรือน หากต้องขึ้นราคาก๊าซหุงต้มเพื่อให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ก็ต้องขึ้นไปถึง 16 บาท/กิโลกรัมเลยทีเดียว

"ชาติหน้าไม่มีทาง แล้วใครที่เป็นคนตรึงราคาก๊าซเอาไว้ ใครที่จะกล้าเข้ามาแก้ เมื่อแก้แล้วมันถูกด่า" นายประเสริฐกล่าว

หรือแม้หากว่าจะมีการแก้ไข แล้วแก้ไขได้ไม่ดีพอ ในที่สุดผู้ประกอบการต่างๆ ก็ไม่ต้องการที่จะลงทุนสร้างโรงแยกก๊าซเพิ่ม ฉะนั้นก่อนหน้านี้ที่บริษัท ปตท.ตั้งเป้าหมายที่จะขึ้น โรงแยกก๊าซโรงที่ 7 "คงต้องคิดกันนานหน่อย"

แต่การปรับราคาก๊าซขึ้นไปที่ 1.20 บาท/ กิโลกรัม ล่าสุด ผมเชื่อว่าท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ท่านคงเห็นว่ามันเป็นปัญหาเลยต้องรีบแก้ไขก่อน "ผมเดาใจท่านนะ"

สุดท้าย นายประเสริฐได้ชี้ให้เห็นถึงภาพรวมราคาก๊าซหุงต้มในปี 2550 นี้ว่า ราคาก๊าซหุงต้มขณะนี้อยู่ที่ราว 500-800 เหรียญสหรัฐ/ตัน หรือเฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ที่ 600 เหรียญสหรัฐ/ตัน ราคาในประเทศขายอยู่ที่ 320 เหรียญสหรัฐ/ตัน "ส่วนต่าง" ที่เกิดขึ้น 270-280 เหรียญสหรัฐ/ตัน

ผู้ค้าในประเทศต้องเสียโอกาสเมื่อเทียบกับการส่งออกก๊าซไปขายในตลาดโลก เพราะเราใช้ของที่ถูกกว่ายักษ์ใหญ่ สำหรับตัวเลขการใช้ก๊าซหุงต้มที่ 30 ล้านตัน/ปี คูณด้วยส่วนต่างที่เกิดขึ้น 270-280 เหรียญสหรัฐ/ตัน จะมีเม็ดเงินที่เสียโอกาสไปของธุรกิจก๊าซหุงต้ม 800 ล้านเหรียญสหรัฐ (อัตราแลกเปลี่ยนที่ 34 บาท) หรือประมาณ 27,000 ล้านบาท

"ในจำนวนนี้เป็นของบริษัท ปตท.กว่าครึ่งแล้ว ถือว่าเป็นเงินก้อนโตเลยทีเดียว แล้วนี่เดือนหน้าราคาก๊าซหุงต้มจะแตะที่ราคา 800 เหรียญสหรัฐ/ตัน ภาระมันก็จะวิ่งขึ้นไปอีก จะให้ผมทำอย่างไรดี"
http://matichon.co.th/prachachat/pracha ... ionid=0203
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news17/12/07

โพสต์ที่ 234

โพสต์

รัฐมนตรีน้ำมันอัลจีเรีย ชี้กลุ่มโอเปก อาจเพิ่มการผลิตปีหน้า
นาย ชาคิป เคอิล รัฐมนตรีน้ำมันอัลจีเรีย ซึ่งเป็น 1 ใน 12 สมาชิกกลุ่มโอเปก กล่าวเมื่อวานที่ผ่านมาว่า ในการประชุมประจำปีของกลุ่มโอเปกครั้งแรกของปีหน้า ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 1 ก.พ.2551 นั้น มีโอกาสสูงมากเมื่อเทียบกับการตัดลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบ ที่กลุ่มโอเปก อาจจะตัดสินใจปรับเพิ่มขึ้นกำลังการผลิตของทั้งกลุ่ม เนื่องจาก แนวโน้มการใช้น้ำมันดิบทั่วโลกในช่วงฤดูหนาวเพิ่มขึ้น และภาวะเศรษฐกิจโดยทั่วไป อาจขยายตัวดีขึ้นจากที่คาดไว้ ทั้งนี้ นาย ชาคิป เคอิล จะขึ้นนั่งตำแหน่งประธานกลุ่มโอเปกคนใหม่ในปีหน้า

โอเปคประกาศคงคาดการณ์อุสงค์น้ำมันทั่วโลกปี 51 ที่ 1.3 ล้านบาร์เรล/วัน
กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) ประกาศคงคาดการณ์อัตราการขยายตัวของความต้องการน้ำมันทั่วโลกในปี 2550 ไว้เท่าเดิมที่ 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน และคงคาดการณ์ในปี 2551 ไว้ที่ 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน สถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศที่เริ่มคลี่คลายไปในทางที่ดีและเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง ทำให้แรงกดดันที่มีต่อราคาน้ำมันนั้น ลดลงด้วย โอเปคสามารถผลิตน้ำมันได้ในสัดส่วนเกือบ 40% ของปริมาณการผลิตน้ำมันดิบทั่วโลก
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news17/12/07

โพสต์ที่ 235

โพสต์

น้ำมันตลาดเอเชียปรับเพิ่ม ปัจจัยสหรัฐเจออากาศหนาว  
 
ราคาน้ำมันตลาดเอเชียพุ่งขึ้นรอบใหม่ หลังสหรัฐเจอภาวะอากาศหนาว กระตุ้นการบริโภคน้ำมันให้เพิ่มขึ้น

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 17 ธ.ค.ว่า ราคาน้ำมันไลท์ สวีท งวดส่งมอบล่วงหน้าเดือนม.ค.ได้ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 91.77 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หรือเพิ่มขึ้น 50 เซนต์ ที่ตลาดน้ำมันสิงคโปร์จากการซื้อขายน้ำมันจากตลาดนิวยอร์ก จากปัจจัยการประเมินการณ์ว่า สหรัฐจะเพิ่มปริมาณการบริโภคน้ำมันขึ้นหลังต้องประสบกับภาวะอากาศหนาวในขณะนี้ โดยก่อนหน้านี้ ราคาน้ำมันในตลาดสหรัฐได้ลดลง 98 เซนต์ อยู่ที่ 91.27 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากรัฐบาลสหรัฐออกรายงานว่า ภาวะเงินเฟ้อของค่าใช้จ่ายผู้บริโภคได้เพิ่มขึ้น 0.8% ทำให้เกิดกระแสคาดว่าว่า ภาวะดังกล่าวจะกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค และลดความต้องการใช้พลังงานลง
http://matichon.co.th/prachachat/news_title.php?id=817
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news17/12/07

โพสต์ที่ 236

โพสต์

ครม.ไฟเขียวสัมปทานปิโตรเลียม 7 ราย "ทีพีไอ-เชฟรอน" ติดโผ

โดย ผู้จัดการออนไลน์
11 ธันวาคม 2550 16:37 น.

      ครม. อนุมัติออกสัมปทานปิโตรเลียม ให้ผู้ยื่นคำขอ 7 ราย พร้อมเห็นชอบให้พื้นที่บ้านห้วยกะโหลก อ.แม่สอด จ.ตากเป็นเขตศึกษาพัฒนาแหล่งหินน้ำมัน พร้อมเห็นชอบลงนาม MOU ความร่วมมือด้านน้ำมันและก๊าซธรรมชาติไทย-บาห์เรน
     
      นายไชยา ยิ้มวิไล โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดว่าในวันนี้(11 พ.ย.) คณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้อนุมัติการออกสัมปทานปิโตรเลียมแก่ผู้ยื่นคำขอสัมปทานจำนวน 7 ราย ประกอบด้วย พื้นที่บนบก 5 ราย และในอ่าวไทย 2 ราย โดย 2 ใน 7 รายที่เป็นบริษัทของคนไทย ได้แก่ บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) และบริษัท เชฟรอน ปิโตรเลียม (ประเทศไทย) จำกัด
     
      นอกจากนี้คณะรัฐมนตรียังเห็นชอบให้กำหนดพื้นที่บริเวณบ้านห้วยกะโหลก อ.แม่สอด จ.ตาก จำนวน 104 ตารางกิโลเมตร เป็นเขตสำหรับการศึกษาสำรวจ เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาแหล่งดินน้ำมันตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และมอบหมายให้กระทรวงพลังงานโดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เป็นผู้ศึกษาสำรวจเพื่อกำหนดแนวทางพัฒนาแหล่งดินน้ำมันในพื้นที่ที่กำหนดดังกล่าวเป็นเวลา 4 ปี
     
      นอกจากนี้ ครม.ยังอนุมัติและเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือด้านน้ำมันและก๊าซธรรมชาติระหว่างรัฐบาลบาห์เรนและไทย หรือ MOU (Memorandum of Understanding between the Government of the Kingdom of Bahrain and the Government of the Kingdom of Thailand on Enhancement of Mutual Cooperation in the Field of Oil and Gas) ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ
     
      พร้อมทั้งอนุมัติให้กระทรวงพลังงานร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ สามารถพิจารณาปรับปรุงถ้อยคำในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญของความร่วมมือได้ตามความเหมาะสมที่จะมีการลงนามกับบาห์เรน เพื่อให้สามารถบังเกิดผลเป็นรูปธรรมในการส่งเสริมความร่วมมือด้านน้ำมันและก๊าซธรรมชาติระหว่างรัฐบาลบาห์เรนและไทยในระหว่างการเดินทางไปเยือนบาห์เรนของนายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 10-12 ธันวาคม 2550
     
      "การเริ่มต้นมีผลบังคับใช้และวันสิ้นสุด บันทึกความเข้าใจฯ ดังกล่าว จะมีผลบังคับใช้นับตั้งแต่วันลงนามเป็นระยะเวลา 3 ปี ทั้งนี้ การต่ออายุแต่ละครั้งจะต้องแจ้งอีกฝ่ายให้ทราบเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างน้อย 3 เดือน ก่อนวันที่สิ้นสุดของบันทึกความเข้าใจฯ ดังกล่าว"
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000146728
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news18/12/07

โพสต์ที่ 237

โพสต์

ลั่น7วันล้างหนี้กองทุนน้ำมันเกลี้ยง

โพสต์ทูเดย์ ปิยสวัสดิ์ ฟุ้ง อีก 7 วัน สางหนี้กองทุนน้ำมันหมดเกลี้ยง


นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รมว.พลังงาน กล่าวว่า สถานการณ์กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงขณะนี้มียอดหนี้คงเหลือเพียง 401 ล้านบาท คาดอีก 7 วัน จะชำระหนี้ได้ทั้งหมด เป็นผลจากการเร่งเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน ทำให้มีรายได้ไปชำระหนี้ได้เร็วขึ้น

ขณะที่ภาพรวมสถานการณ์การใช้พลังงานของประเทศไทย หลังจากยกเลิกการตรึงราคาน้ำมัน ทำให้ราคาขายปลีกในประเทศปรับขึ้นสูงสุดในรอบ 150 ปี และมีผล ให้ยอดการใช้น้ำมันมีอัตราลดลง ต่อเนื่อง ปีนี้เฉลี่ยติดลบ 0.6% โดยเฉพาะดีเซลมียอดการใช้ลดลงไป 20% ในขณะที่เบนซินมียอดการใช้ลดลง 10%

สำหรับปริมาณการนำเข้าน้ำมันสุทธิของไทยปีนี้อยู่ที่ 6.54 แสนบาร์เรลต่อวัน ลดลง 2.7% และมีมูลค่าอยู่ที่ 5.68 แสนล้านบาท ลดลง 4.8% เมื่อเทียบกับปีก่อน

อนาคตมีเป้าหมายลดสัดส่วนอัตราการใช้พลังงานต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) เหลือแค่ 0.68 ต่อ 1 และจะทำให้สัดส่วนการใช้น้ำมันต่อการใช้พลังงานลดลงเหลือแค่ 33.6% ภายในปี 2554 ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลก

นายปิยสวัสดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า มาตรการยกเลิกตรึงราคาน้ำมันทำให้ราคาสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง แม้จะทำให้ราคาขายปลีกในประเทศสูงสุดในรอบ 150 ปีก็ตาม แต่ประชาชนยังมีพลังงานทางเลือกอย่างแก๊สโซฮอล์และไบโอดีเซล ที่มีส่วนต่างราคาถูกกว่าน้ำมันปกติ

โดยเฉพาะยอดการใช้แก๊สโซฮอล์ ปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 7 ล้านลิตรต่อวัน และเพิ่มเป็น 8 ล้านลิตรต่อวัน ในปีหน้า ไบโอดีเซลสัดส่วน บี 5 มียอดการใช้เพิ่มเป็น 3.1 ล้านลิตรต่อวัน มีปริมาณเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม หากมองในภาพรวมมาตรการต่างๆ ที่ส่งเสริมให้ประชาชนลดการใช้พลังงานในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ลดการนำเข้าน้ำมันกว่า 1.03 แสนบาร์เรลต่อวัน คิดเป็นมูลค่าปีละ 9 หมื่นล้านบาท

สำหรับการดำเนินนโยบายด้านการผลิตไฟฟ้า ขณะนี้ได้ปรับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (พีดีพี) 2007 ใหม่ โดยกำหนดโครงการที่จะจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบอย่างชัดเจนจนถึงปี 2558 ไว้หมดแล้ว ได้แก่ โรงไฟฟ้าใหม่ 4 แห่ง จากการเปิดประมูล ผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ (ไอพีพี) โครง การไฟฟ้าในลาว 6 โครงการ

ทั้งหมดมีเป้าหมายเพื่อลดการใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้า เนื่องจากอนาคตก๊าซจะมีปริมาณจำกัดและราคาปรับเพิ่มขึ้น

สิ่งที่รัฐบาลใหม่จะต้องเข้ามาดำเนินการต่อคือ การจัดหากำลังการผลิตไฟฟ้าหลังปี 2558 โดยเฉพาะแผนการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินและโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่จะมีความจำเป็นมากขึ้น
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=209618
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news20/12/07

โพสต์ที่ 238

โพสต์

อนุมัติสัมปทานปิโตรเลียมรอบใหม่

โพสต์ทูเดย์ อนุมัติสัมปทานปิโตรเลียมรอบใหม่ 7 สัมปทาน 8 แปลงสำรวจ คาดมีเงินลงทุนเข้าประเทศช่วง 6 ปีแรก 4,130 ล้านบาท


นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รมว.พลังงาน กล่าวภายหลังเป็นประธานลงนามสัญญาสัมปทานปิโตรเลียม รอบที่ 20 กับบริษัทผู้ได้รับสัมปทานว่า ถือเป็นครั้งแรกของการลงนามให้สัมปทานรอบใหม่ เพื่อได้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในเขตพื้นที่บนบกและในทะเลอ่าวไทย โดยมีผู้ได้รับสัมปทานครั้งนี้ 7 สัมปทาน 8 แปลงสำรวจ

ทั้งนี้ คาดว่าจะมีเงินลงทุนในระยะแรก 6 ปี มูลค่า 4,130 ล้านบาท โดยมีการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศต่อเนื่อง ทั้งด้านธรณีวิทยา การสำรวจธรณีฟิสิกส์ และเจาะสำรวจ 7 หลุม มีข้อผูกพันช่วงที่หนึ่ง 3 ปีแรก ใช้เงินลงทุน 42 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 1,470 ล้านบาท

รวมทั้งมีผลประโยชน์พิเศษในรูปโบนัสการให้ทุนการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่นเป็นเงิน 2 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 70 ล้านบาท หลังจากนั้น หากการสำรวจพบปิโตรเลียม จะลงทุนอีก 3 ปีหลัง 74 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 2,590 ล้านบาท

การเปิดให้สัมปทานรอบที่ 20 สะท้อนให้เห็นว่า ไทยมีศักยภาพด้านปิโตรเลียม สามารถชักชวนผู้ลงทุนทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่เข้ามาเพิ่มได้

ปัจจุบันไทยผลิตปิโตรเลียมจากแหล่งในประเทศเป็นก๊าซธรรมชาติ คอนเดนเสทและน้ำมันดิบ รัฐมีรายได้จากการประกอบกิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม 1.06 แสนล้านบาท เป็นค่าภาคหลวงปิโตรเลียม 3.3 หมื่นล้านบาท

ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ 7,197 ล้านบาท ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม 6.2 หมื่นล้านบาท และมีรายได้จากการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย 2,700 ล้านบาท

นายปิยสวัสดิ์ กล่าวว่า สัมปทานที่มีการลงนามในครั้งนี้ ได้แก่ 1.แปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G4/50 ให้กับบริษัทเชฟรอนปิโตรเลียม และบริษัท มิตซุย ออยล์ เอ็กซ์พลอเรชั่น 2.แปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G5/50 ให้กับบริษัท นิวคอสตอล

3.แปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G6/50 ให้กับบริษัท เชฟรอน ปิโตรเลียม บริษัท ปตท.สผ.โครงการไทย และบริษัทมิตซุย ออยล์ เอ็กซ์พลอเรชั่น 4.แปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทย หมายเลข G7/50 ให้กับบริษัท เชฟรอน ปิโตรเลียม บริษัทปตท.สผ.โครงการไทย บริษัท เฮสส์ เอ็กซ์โพลเรชั่น และบริษัท มิตซุย ออยล์ เอ็กซ์พลอเรชั่น

5.แปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทย หมายเลข G8/50 ให้กับริษัท ปตท.สผ.โครงการไทย บริษัท เชฟรอน ปิโตรเลียม และบริษัท มิตซุย ออยล์ 6.แปลงสำรวจบนบก หมายเลข L7/50 ที่ จ.พิษณุโลก อุตรดิตถ์ เลย และแปลง L13/50 ที่ จ.พิษณุโลก เพชรบูรณ์และพิจิตร ให้กับบริษัท ทวินซ่า ออยล์ และ 7.แปลงสำรวจบนบกหมายเลข L26/50 ที่ จ.อุบลราชธานี ให้บริษัท ซาลาแมนเดอร์ เอ็นเนอร์ยี่
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=210065
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news20/12/07

โพสต์ที่ 239

โพสต์

วิเคราะห์แนวโน้มราคาน้ำมัน

20 ธันวาคม พ.ศ. 2550 05:00:00

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ปัจจัยที่มีผลต่อราคาน้ำมัน

    น้ำมันดิบ : ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ปรับตัวลดลง 0.71 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล เนื่องจาก

    ตลาดกังวลว่าสภาพเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาจะกดดันราคาน้ำมัน แม้ว่าจะมีข่าวดีจากทางตลาดหุ้น โดยนักลงทุนหันกลับมาซื้อหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยีตัวใหญ่ เพราะเชื่อว่ากลุ่มเทคโนโลยีดังกล่าวจะสามารถรับมือกับผลกระทบของวิกฤติสินเชื่อได้                  

    รายได้รายไตรมาสของโกลด์แมน แซคส์ ซึ่งเป็นวาณิชธนกิจรายใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ ที่ประกาศออกมา ไม่สามารถให้ความมั่นใจแก่นักลงทุนให้คลายกังวลได้ว่าปีหน้าจะไม่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯ                                                  

    ศูนย์พยากรณ์อากาศของสหรัฐฯ คาดว่าอุณหภูมิในแถบตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดหลักของน้ำมันที่ใช้ทำความร้อน จะมีระดับสูงขึ้นกว่าระดับเฉลี่ยปกติในครึ่งหลังของเดือน ธ.ค.นี้  จึงมีผลต่ออุปสงค์ของน้ำมันดังกล่าว                                    

    ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ยังคงแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินยูโร แต่การที่มีช่วงวันหยุดยาวในสัปดาห์หน้า ส่งผลให้มีปริมาณการซื้อขายเบาบางในสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น น้ำมัน                                        

    น้ำมันเบนซิน : ราคาปรับตัวลดลง 0.80 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ตามราคาน้ำมันดิบดูไบที่อ่อนค่าลง ประกอบกับ

    ตลาดยังคงจับตาดูปริมาณการส่งออกน้ำมันเบนซินของจีนในเดือน ม.ค. หลังจากมีข่าวว่า จีนจะเพิ่มปริมาณการส่งออกน้ำมันเบนซินในเดือน ม.ค. เพิ่มขึ้นจากที่เคยส่งออกในเดือน ธ.ค. ที่เป็นปริมาณการส่งออกที่ค่อนข้างต่ำ ส่งผลให้อุปทานน้ำมันเบนซินในภูมิภาคมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น

    นักค้าน้ำมันต่างชะลอการซื้อขายเพื่อรอดูว่า อุปสงค์น้ำมันเบนซินจากผู้ซื้อรายใหญ่ของภูมิภาคจะยังคงรักษาระดับปริมาณการนำเข้าน้ำมันเบนซินในปี 2551 ไว้เทียบเท่ากับในปีนี้หรือไม่ เป็นปัจจัยลบกดดันราคาน้ำมันเบนซินในภูมิภาค

    ปริมาณการซื้อขายน้ำมันเบนซินในภูมิภาคค่อนข้างเบาบาง โดยไม่มีการตกลงซื้อขายแม้แต่รายการเดียวในตลาด สะท้อนให้เห็นถึงภาพตลาดน้ำมันเบนซินในภูมิภาคที่ไม่สดใสนัก

    อย่างไรก็ตาม อุปสงค์น้ำมันเบนซินในภูมิภาคยังคงทรงตัว เนื่องจากปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังยังคงทรงตัวอยู่ในระดับต่ำในช่วงสิ้นปี ส่งผลให้อุปทานน้ำมันเบนซินในภูมิภาคปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง

    น้ำมันก๊าดและอากาศยาน : ราคาปรับตัวลดลง 1.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ตามราคาน้ำมันดิบดูไบที่อ่อนค่าลง ประกอบกับ

    ไม่มีการนำเข้าน้ำมันก๊าดจากญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ แม้ว่าอุปทานน้ำมันดังกล่าวในภูมิภาคเอเชียเหนือจะอยู่ในภาวะตึงตัว เนื่องจากสภาพอากาศที่อบอุ่นและอัตราค่าระวางเรือที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้อุปทานน้ำมันก๊าดในภูมิภาคยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง

    ปริมาณการซื้อขายน้ำมันก๊าดและอากาศยานในภูมิภาคค่อนข้างเบาบาง โดยไม่มีการตกลงซื้อขายแม้แต่รายการเดียวในตลาด สะท้อนให้เห็นถึงสภาพตลาดน้ำมันก๊าดและอากาศยานในภูมิภาคที่ไม่สดใสนัก

    อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจีนอาจจะปรับลดภาษีการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูป 2% ซึ่งรวมถึงน้ำมันอากาศยาน และหากรัฐบาลตัดสินใจปรับลดอัตราภาษีดังกล่าวจะมีส่วนช่วยให้อุปสงค์น้ำมันสำเร็จรูปจากจีนปรับเพิ่มขึ้น ส่งผลให้อุปทานน้ำมันอากาศยานในภูมิภาคมีแนวโน้มปรับลดลง

    น้ำมันดีเซล : ราคาปรับตัวลดลง 0.84 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ตามราคาน้ำมันดิบดูไบที่อ่อนค่าลง ประกอบกับ

    มีปริมาณการเสนอซื้อน้ำมันดีเซลกำมะถัน 0.5% ในตลาดเบาบาง สะท้อนให้เห็นถึงสภาพตลาดน้ำมันดังกล่าวที่ไม่สดใสนัก เป็นปัจจัยลบกดดันราคา

    อย่างไรก็ตาม ผู้ค้ารายหนึ่งของจีนซื้อน้ำมันดีเซลเพิ่มเติมจำนวน 90,000 ตัน หรือคิดเป็นปริมาณทั้งสิ้น 240,000 ตันสำหรับการส่งมอบเดือน ม.ค. ขณะที่ผู้ค้าอีกรายของจีนซื้อน้ำมันดังกล่าวจำนวน 300,000 ตันสำหรับงวดเดือน ม.ค. เช่นกัน ส่งผลให้อุปทานน้ำมันดีเซลในภูมิภาคปรับลดลง

    การปรับลดภาษีนำเข้าน้ำมันดีเซลลง 17% ในอีก 4 เดือนข้างหน้าของจีนเป็นปัจจัยบวกสนับสนุนให้ตลาดซื้อขายน้ำมันดีเซลในภูมิภาคในไตรมาสที่ 1/2251 สดใส เนื่องจากจีนยังคงนำเข้าน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อคลี่คลายปัญหาอุปทานน้ำมันดีเซลในประเทศที่อยู่ในภาวะตึงตัว

    มีการขายน้ำมันดีเซลกำมะถัน 0.25% จำนวน 250,000 บาร์เรลสำหรับการส่งมอบต้นเดือน ม.ค. ในราคาที่สูงกว่าราคาขายครั้งก่อน สะท้อนให้เห็นถึงสภาพตลาดน้ำมันดีเซลที่ยังคงสดใส

    น้ำมันเตา: ราคาทรงตัว สวนทางกับราคาน้ำมันดิบดูไบที่อ่อนค่าลง เนื่องจาก

    มีข่าวว่า ผู้นำเข้าน้ำมันของจีนจะซื้อน้ำมันเตาชนิด Straight-run จากเกาหลีใต้และญี่ปุ่นสำหรับการส่งมอบครึ่งเดือนหลังของเดือน ธ.ค. และต้นเดือน ม.ค. ส่งผลให้อุปทานน้ำมันดังกล่าวในภูมิภาคมีแนวโน้มปรับลดลง

    ราคาน้ำมันเตาที่ใช้เติมเรือในภูมิภาคได้รับแรงสนับสนุนจากอุปสงค์ที่ปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจากเจ้าของเรือต้องการสำรองน้ำมันดังกล่าวไว้ ก่อนที่จะเข้าสู่ช่วงวันหยุดยาวในเทศกาลปีใหม่

    มีการเสนอซื้อน้ำมันเตาจำนวน 20,000 ตันเป็นวันที่ 2 ติดต่อกัน เป็นปัจจัยบวกสนับสนุนราคาน้ำมันเตาในภูมิภาค

    อย่างไรก็ตาม จีนนำเข้าน้ำมันเตาในเดือน พ.ย. เพียง 249,000 บาร์เรล ซึ่งเป็นปริมาณที่เกือบแตะสถิติต่ำสุดในปีนี้ เมื่อเทียบกับปริมาณการนำเข้าเฉลี่ย 5 ปีที่ 437,000 บาร์เรล

ที่มา : บริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) http://www.bangkokbiznews.com/2007/12/2 ... sid=213055
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news20/12/07

โพสต์ที่ 240

โพสต์

เอกชนแนะรัฐส่งเสริมการส่งออกเอทานอล แก้ปัญหาสินค้าล้นตลาดได้

Posted on Thursday, December 20, 2007
นายพิชัย ถิ่นสันติสุข ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ Hard Topic ทาง Money Channel ว่า หลังจากที่ราคาน้ำมันได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้คนไทยหันมาให้ความสำคัญกับพลังงานทางเลือกอย่างแก๊สโซฮอล์มากขึ้น ปัจจุบันผู้ผลิตเอทานอลสามารถขายเอทานอลเพื่อผสมเป็นแก๊สโซฮอล์ได้วันละกว่า 6 แสนลิตร จากกำลังการผลิตเอทานอลวันละ 1.15 ล้านลิตร ส่วนปลายปี 2551 กำลังการผลิตเอทานอลจะเพิ่มขึ้นเป็น 3 ล้านลิตรต่อวัน เนื่องจากโรงงานผลิตจะเริ่มก่อสร้างเสร็จ ดังนั้น จึงอยากให้ภาครัฐเร่งผลักดันการใช้แก๊สโซฮอล์ให้เพิ่มขึ้นเป็น 1.15 ล้านลิตรต่อวัน เพื่อลดช่องว่างระหว่างความต้องการใช้กับกำลังการผลิต

นอกจากนี้ ไบโอดีเซลก็กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ตามปัจจุบันรัฐบาลยังต้องอุดหนุนราคาไบโอดีเซลประมาณวันละ 10 ล้านบาท ไปจนกว่าราคาน้ำมันดีเซลจะสูงกว่าราคาน้ำมันปาล์ม ดังนั้น จึงอยากให้ภาครัฐส่งเสริมการใช้พืชน้ำมันชนิดอื่น เช่น สบู่ดำ เพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบทดแทนปาล์ม ซึ่งจะทำให้ภาครัฐลดจำนวนเงินอุดหนุนลงด้วย

นายพิชัยบอกว่า อยากให้ภาครัฐแบ่งสัดส่วนการใช้ปาล์ม กากน้ำตาล และมันสำปะหลัง ให้ชัดเจนว่า จะนำไปผลิตเป็นพลังงานทดแทนและอาหารอย่างละเท่าใด เพราะหากนำมาใช้โดยไม่มีการบริหารจัดการให้ดี ก็จะทำให้ทั้งราคาอาหาร และราคาพลังงานสูงขึ้นได้

นายพิชัยเชื่อว่า ปี 2551 ราคาน้ำมันจะไม่ลดลงแล้ว ส่วนราคาเอทานอลก็จะไม่ลดลงเช่นกัน จึงน่าจะเป็นโอกาสที่ดีของเกษตรกรและผู้ผลิตเอทานอล

ดร.วีระวุฒิ วัจนะพุกกะ กรรมการบริหาร สมาคมการค้า-ผู้ผลิตเอทานอลไทย กล่าวว่า สาเหตุที่ไทยมีเอทานอลล้นตลาด เนื่องจากรัฐบาลชุดก่อนได้มีนโยบายส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอล์ จึงได้สนับสนุนให้มีการสร้างโรงงานผลิตเอทานอล ขณะที่ผู้ประกอบการก็มองเห็นโอกาสในการลงทุน เพราะรัฐบาลได้ประกาศยกเลิกการใช้น้ำมันเบนซินในวันที่ 1 ม.ค. 50 ทำให้มีผู้มาขอใบอนุญาตทั้งหมด 49 ราย คิดเป็นกำลังการผลิตรวม 12.5 ล้านลิตรต่อวัน แต่เมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาลและยกเลิกนโยบายนี้ จึงส่งผลให้ผู้ผลิตเอทานอลเดือดร้อนมาก เนื่องจากในช่วงนั้นมีปริมาณเอทานอลสำรองกว่า 30 ล้านลิตร ในขณะที่ความต้องการแก๊สโซฮอล์ในช่วงนั้นมีเพียงประมาณ 3 แสนลิตรต่อวัน ทำให้ผู้ประกอบการบางส่วนที่สร้างโรงงานเสร็จแล้ว จำเป็นต้องปิดโรงงานชั่วคราว ส่วนโรงงานผลิตเอทานอลที่ยังไม่ได้สร้าง ผู้ประกอบการบางรายก็ได้ยกเลิกโครงการ และยอมถูกยึดเงินมัดจำค่าเครื่องจักร

ส่วนข้อเสนอที่ให้เพิ่มส่วนผสมเอทานอลในแก๊สโซฮอล์เป็น 20% เพื่อแก้ปัญหาเรื่องเอทานอลล้นตลาดนั้น ดร.วีระวุฒิบอกว่า จะทำให้ความต้องการเอทานอลเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 1.6 ล้านลิตร แต่ก็ยังน้อยกว่ากำลังการผลิตในช่วงปลายปี 2551 ที่จะมีทั้งหมด 3 ล้านลิตร ดังนั้น จึงอยากให้ภาครัฐส่งเสริมการส่งออกเอทานอลไปต่างประเทศ เพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้ด้วย

นอกจากนี้ยังอยากให้ภาครัฐจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาดูแลอุตสาหกรรมเอทานอลอย่างครบวงจรด้วย เพราะปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐแต่ละแห่งให้คำจำกัดความของเอทานอลต่างกัน ทำให้มีปัญหาในการทำธุรกิจ ขณะเดียวกันก็อยากให้ภาครัฐอนุญาตให้ผู้ผลิตเอทานอลสามารถจำหน่ายเอทานอลให้กับอุตสาหกรรมอื่น ๆ ภายในประเทศได้ด้วย เนื่องจากปัจจุบันผู้ผลิตเอทานอลจะต้องจำหน่ายผ่านองค์การสุราเท่านั้น หรือถ้าต้องการขายก็จะต้องเสียภาษีลิตรละ 400 บาท

ดร.วีระวุฒิเชื่อว่า อุตสาหกรรมเอทานอลของไทยสามารถแข่งขันกับต่างชาติได้ เพราะไทยมีวัตถุดิบเป็นของตนเอง ในขณะที่ความต้องการในตลาดโลกก็มีมาก
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Har ... fault.aspx