ทุนนิยมที่มีหัวใจ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
กูรูขอบสนาม
Verified User
โพสต์: 987
ผู้ติดตาม: 0

ทุนนิยมที่มีหัวใจ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

เป็นหวัดงอมแงม นอนซมอยู่ที่บ้าน ดูถ่ายทอดรัฐพิธีอย่างเดียว
เลยไม่ได้เข้ามาตั้งกระทู้หลายวันเลย
ได้แต่ตอบสั้นๆในบางกระทู้ซึ่งผิดวิสัย :oops:
สำหรับท่านผู้อ่านที่อยากจะรู้ต่อเนื่องเสี้ยวประวัติศาสตร์ของ ปตท.กับกูรูนั้น
ขอผลัดไว้วันหลังนะครับ
รอให้สมองปลอดโปร่งจากการถูกไวรัสเกาะกุม
ค่อยๆลำดับขด Celebrum (เอ..ใช่หรือเปล่านะ มองส่วนความทรงจำน่ะ)
มาทะยอยถ่ายทอด

เพราะเป็นหวัดนี่แหละ เลยอดไปร่วมฟังการเสนอผลงานทางวิชาการของคณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ที่ผ่านมา
เฝ้าร้อ รอ ว่ามีใครจะสรุปมาให้เพิ่มพูนปัญญาหรือไม่
มือซนคลิกเจอเวปไซค์อันหนึ่ง
ได้นำเสนอถ่ายทอดครอบคลุมประเด็นต่างๆพอสมควร
ทุนนิยมที่มีหัวใจ : ทางเลือกใหม่แห่งการพัฒนา โดย สฤณี อาชวานันทกุล
เธอเป็นเจ้าของเวปดัง คนชายขอบ ที่มีมุมมองต่อโลกทุนนิบยมอีกแง่หนึ่งซึ่งน่าสนใจ

หากใครต้องการอ่านฉบับเต็มเชิญที่
ทุนนิยมที่มีหัวใจ

ท่อนหนึ่งของการนำเสนอผลงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนมีดังนี้
ในแง่ตลาดการเงิน สฤณีเห็นว่า
นักลงทุนในตลาดหุ้นทั่วไปก็ยังมองมิติเดียวเรื่องกำไรอยู่
ดังนั้น ในแง่ของตลาดการเงินก็ต้องมีตลาดการเงิน
มีนักลงทุนแบบใหม่ ที่ยินดีจะลงทุน และระดมทุนในธุรกิจเพื่อสังคม
ในด้านธนาคารเองก็ต้องเริ่มคิดนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งตอนนี้เริ่มมีสิ่งที่เรียกว่า Patient Capital หรือนักลงทุนที่อดทน
ถ้าเป็นนักลงทุนปกติอาจจะยอมรับความเสี่ยงที่จะเสียเงินลงทุนปีแรกแค่ 10% และอาจต้องการผลตอบแทน 30%
แต่ถ้าเป็นนักลงทุนที่อดทนต้องเข้าใจว่าธุรกิจเพื่อสังคมมันยาก
ต้องใช้เวลานาน อาจต้องขาดทุนเยอะ คุณอาจจะยอมให้ขาดทุนในปีแรกๆ ได้ถึง 50% ผลตอบแทนอาจจะแค่ 10% ก็ได้
จะเห็นว่าเรื่องต่างๆ แบบนี้กำลังเกิดขึ้น ในอเมริกากับลอนดอนมีคนทำตลาดการลงทุนเพื่อสังคม (Social Investment Market) แล้ว
กูรูเองก็เคยค้นคว้าเรื่องกองทุนที่ลงทุนในธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคม
ที่เรียกว่า SRI  Social Responsible Investment
แต่ยังไม่ได้รูปธรรมที่ชัดเจนถึงกับเขียนเป็นกรณีศึกษาได้
(เช่น ผลประกอบการ โมเดลของธุรกิจ ความยั่งยืนของบริษัท)
ซึ่งถ้าสามารถเกิดขึ้นจริง ก็อาจจะเป็นทางเลือกสำหรับนักลงทุน
ที่ต้องการลงทุนในธุรกิจอันไม่ฝืนกับมาตรฐานศึลธรรมส่วนตัว
หุ้นบางตัวในตลาดหลักทรัพย์ ถ้าดูแต่เฉพาะประเภทของกิจการล่ะก้อ...ใช่เลย
อย่าง Solar Tron แต่มันไม่เชื้อชวนกับการลงทุนระยะยาวเสียเลย
หรือใครยังเชื่อมั่นในกิจการอยู่

เพื่อนๆมีความเห็นอย่างไรบ้าง
ทุนนิยมจะอ่อนโยน แซมดอกไม้ให้นุ่มนวลจริงหรือ

เออ..ขอไปจามสองสามครั้งก่อน
เดี๋ยวไวรัสจะแพร่เข้ามาในเครื่อง
หายดีแล้ว ค่อยกลับมาร่ายใหม่ :bow:
oonngg51
Verified User
โพสต์: 332
ผู้ติดตาม: 0

ทุนนิยมที่มีหัวใจ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

คุณ สฤณี (คนชายชอบ) เป็นหนึ่งในบล๊อกเกอร์ที่ผมติดตามอ่านมานานครับ

สนใจเรื่องอื่นๆ ติดตามได้ที่  http://www.fringer.org/
เงินทองหน่ะมายา ข้าวปลาสิของจริง
ข้าวของเครื่องใช้ก็มายา สุขีใจกายถึงดีจริง
...
Verified User
โพสต์: 1817
ผู้ติดตาม: 0

ทุนนิยมที่มีหัวใจ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

หายไวๆนะครับ
แมงเม่าบินเข้ากลางใจ
ภาพประจำตัวสมาชิก
cryptonian_man
Verified User
โพสต์: 585
ผู้ติดตาม: 0

ทุนนิยมที่มีหัวใจ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

มันพูดยากนะครับ พี่กูรู ที่จะให้ทุนนิยมมันอ่อนโยน เห็นอกเห็นใจ คิดถึงหัวใจคน เพราะทุนนิยมก้อบอกแล้วว่านิยมทุน กิจการต้องสร้างผลตอบแทนสูงสุด การที่จะทำผลตอบแทนสูงสุดได้ก้อต้องเริ่มตั้งแต่ลดค่าใช้จ่าย ลดต้นทุน อะไรต่อมิอะไรที่จะทำให้ได้กำไร

แต่ปัจจุบันผมว่าทุนนิยมก้ออ่อนโยนลงมาแล้วนะครับ ลองนึกถึงสมัยก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม คนงานเหมืองแร่ในอังกฤษเนี่ย มีชีวิตแบบที่น่าอดสูมาก ปัจจุบันยังพอมีสหภาพแรงงานมาช่วยหน่อย (แม้จะไม่ได้มากก้อตาม)

เพียงแต่ทุนนิยมปัจจุบันแม้จะดูอ่อนโยนขึ้นแต่อีกด้านหนึ่งก้อเผาผลาญ กัดกินสังคมโลกไปเยอะเหมือนกัน

แต่เราก้อหลีกเลี่ยงไม่ได้อีก คงอยู่ที่ว่าเมื่อไหร่คนจะตระหนักว่ามันเป็นปัญหากันเสียที


พูดแล้วอยากหนีไปอยู่ป่า แต่ก้อกลัวไปเจอสนามกอล์ฟแล้วก้อกลัวโดนข้อหาบุกรุกป่าสงวน อิอิอิ
เขาว่า "หลังจากปากพองจากการดื่มนมร้อน เราจะเป่าโยเกิร์ตให้เย็นก่อนตักเข้าปาก"
แต่ทำไมตรูไม่เข็ด เคาะขวาไวตลอดเนี่ย
Belffet
Verified User
โพสต์: 1211
ผู้ติดตาม: 0

ทุนนิยมที่มีหัวใจ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ลองอ่านหนังสือ Small is Beautiful ดูสิครับ

ผู้เขียนเสนอวิธีการสร้างองค์กรแบบที่แตกต่างจากบริษัทที่เป็นๆอยู่ในปัจจุบัน

แต่บริษัทของเขารับรองได้ว่าไม่ถูกใจผู้ถือหุ้นทั่วไปของทุกวันนี้แน่นอนครับ ถ้าผู้ถือหุ้นยังคงเห็นว่ากำไรต่อหุ้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของบริษัทเสมอ
นายสต็อก
Verified User
โพสต์: 777
ผู้ติดตาม: 0

อ้างแต่ทุนนิยม...น่าเบื่อๆ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ใคร...ชอบกินอิฐ หิน ปูน ทราย ก็เชิญครับ!!!
ผมขอใช้ทุนมาซื้ออาหารอร่อยเลี้ยงปากท้อง
กับครอบครัว ยามหิวๆ ดีกว่า...

ตึกรามบ้านช่อง...ใหญ่โตหรูหรา ตามฐานะก็
สบายใจแล้วครับ ทำอย่างกับว่า คุณเพิ่งปลูก
บ้านปีนี้เป็นปีแรก

บ้านสมัยยุคหิน...มันหายไปไหนหมดครับ
จึงเหลือแต่บ้านยุคสมัยใหม่ คนเรามีบ้าน
พักอาศัยกัน นับหมื่นๆ ปี จะมาบอก แค่ตอน
มีครอบครัว ต้องสร้างบ้าน ผมว่ามันตลกๆ
ยังไงก็ไม่รู้ สงสัย ถูกพวกชอบสร้างฝันวาดภาพ
สร้างบ้านเมือง กล่อมประสาท ทุกวัน จึงหลง
เชื่อตาม พวกเค้า เฉกเช่นกันกับ กระแสที่อ้างแต่
คำว่า ทุนนิยม...ทุนนิยม!

ปลูกบ้าน สร้างตึก กัน...ก่อนหาเงิน หรือว่า
หาเงิน...ก่อนปลูกบ้านสร้างตึก

อยากจะรู้จริงๆ!!!!! :evil:

#===========#===========#
:=)
#===========#===========#
แผ่วเบา
Verified User
โพสต์: 391
ผู้ติดตาม: 0

ทุนนิยมที่มีหัวใจ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

มันเป็นทุนนิยมที่ไม่ได้ละทิ้งเรื่องประสิทธิภาพ หรือสนใจมิติทางสังคมแล้วขาดทุน ความเชื่อมั่นของคนที่เชื่อแนวคิดแบบนี้ ท้ายที่สุดแล้วก็คือความเชื่อว่าบริษัทที่จะอยู่ได้ยั่งยืนจริงก็คือบริษัทที่มีหัวใจ ซึ่งมันก็อาจไม่ได้ขัดอะไรกับทุนนิยมที่เราคุ้นเคยกัน ฉะนั้น ถ้าคุณเป็นผู้บริหารก็เป็นภาระของคุณที่จะไปหว่านล้อมให้ผู้ถือหุ้นเชื่อว่าถ้าดำเนินการตามนั้นแล้วจะดีกับผู้ถือหุ้นอย่างไร สฤณีกล่าวทิ้งทาย
ผมว่ามีโอกาสเป็นไปได้สูงเหมือนกันในอนาคต
ทุนนิยมนั้นก็เป็นสุดโต่งด้านหนึ่ง
สังคมนิยมก็เป็นสุดโต่งอีกด้านหนึ่งเช่นกัน

ที่ผ่านมา
สังคมนิยมสร้างความเจ็บปวดรวดร้าวให้รัสเซียไม่น้อย
ผู้นำด้านสังคมนิยมของโลก  ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง
ถ้าคาร์ล มาร์คซึ่งเป็นปรมาจารย์ด้านเศรษศาสตร์ที่โด่งดังคนหนึ่งของโลก
มาเห็นผลลัพธ์ที่เกิดกับรัสเซีย
ที่เกิดกับจีน
คงจะต้องกุมขมับ
ปวดหัวไปเป็นปีๆ

แต่ทุนนิยมเอง
แม้จะได้ชัยชนะเหนือสังคมนิยมแทบจะเบ็ดเสร็จ
แต่ก็ทิ้งรอยมลทินไว้ไม่น้อย
แน่นอนว่าทุนนิยมนั้นมีดีมากมาย
แต่ข้อเสียที่น้อยนิดกลับเริ่มก่อตัวทวีจำนวนขึ้นเรื่อยๆ
ในอนาคตน่าจะเห็นชัดยิ่งขึ้น

เช่นกัน
สังคมนิยมที่พ่ายแพ้ไปแล้ว
ก็ใช่จะแพ้แล้วแพ้เลย
ข้อดีอันน้อยนิดก็เริ่มกลับตีตื้นด้วยข้อด้อยที่ชัดขึ้นของทุนนิยมเอง

ผมว่า
ส่วนผสมที่ลงตัวระหว่างทุนนิยมกับสังคมนิยม
น่าจะเป็นคำตอบของมนุษยชาติในอนาคต

สุดโต่งทางไหนก็ไม่ดี
ส่วนผสมที่พอเหมาะต่างหาก
ที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพ
และประสิทธิผลสูงสุด
Dech
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4940
ผู้ติดตาม: 1

ทุนนิยมที่มีหัวใจ

โพสต์ที่ 8

โพสต์

หายป่วยเร็วๆนะครับพี่

ผู้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปีที่แล้ว Muhammad Yunus, 2006 Nobel Peace Prize Laureate

http://nobelprize.org/prize_announcements/peace/

คงเกี่ยวกับหัวข้อบ้างไม่มากก็น้อยครับ

http://en.wikipedia.org/wiki/Muhammad_Yunus

Muhammad Yunus (Bengali: মুহাম্মদ ইউনুস, pronounced Muhammôd Iunus) (born June 28, 1940) is a Bangladeshi banker and economist. He, a former professor of economics, is famous for his successful application of the concept of microcredit, the extension of small loans to entrepreneurs too poor to qualify for traditional bank loans. Yunus is also the founder of Grameen Bank. In 2006, Yunus and the bank were jointly awarded the Nobel Peace Prize, "for their efforts to create economic and social development from below."[1] Yunus himself has received several other national and international honors. He is the author of Banker to the Poor and a founding board member of Grameen Foundation. In early 2007 Yunus showed interest in launching a political party in Bangladesh named Nagorik Shakti (Citizen Power), but later discarded the plan. He is one of the founding members of Global Elders.
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
กูรูขอบสนาม
Verified User
โพสต์: 987
ผู้ติดตาม: 0

ทุนนิยมที่มีหัวใจ

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ขอบคุณเพื่อนๆที่ห่วงใย ตอนนี้หายเกือบปกติแล้วครับ
แต่อากาศช่วงนี้เหมือนถูกกดๆอย่างไรไม่รู้
จะหนาวก็ไม่ใช่  จะร้อนหรือ ก็ออกจะแล้งมากกว่า
เหมือนรอการก่อเกิดอะไรสักอย่าง...บรื๋อ

เอามาถึงเรื่อง"ทุนนิยมที่มีหัวใจ"ตามหัวข้อดีกว่า
หลายๆความคิดเห็นทำให้มีมุมมองแตกฉาน

สำหรับกูรูนั้น
บริษัทใดที่ดำเนินธุรกิจในลักษณะดังกล่าว
คงเป็นไปได้ยากที่จะดึงดูดนักลงทุนประเภทลำธารหลัก (Main Stream)
เพราะกฏเหล็กของนักลงทุนข้อแรกก็คือ  ห้ามขาดทุน
ดอกผล กำไรมากน้อยแค่ไหนไม่สำคัญ แต่เงินต้นต้องอยู่ครบ
หากลงทุนแล้ว ยังมีแนวโน้มว่า ต้องเติมเงินอีก
(เหมือนธนาคารเติมเงินไม่รู้จบแห่งหนึ่งขณะนี้)
นักลงทุนประเภทดังกล่าวคงถอดใจทิ้ง
ถึงแม้ธุรกิจจะย้ำนักย้ำหนาว่าเพื่อสังคมก็ตามเถอะ
(กรณีบางจากในอดีต คงบอกอะไรได้บ้าง คนรักบางจากตอนนั้นล่าชื่อเป็นกุรุสแต่ก็ไม่สามารถกู้สถานการณ์)
ฉะนั้นคงต้องหาวิธีระดมทุนอื่นๆจากคนรู้จัก เพื่อนฝูง แม้กระทั่งลูกค้า
เช่น นิตยสารคุณภาพฉบับหนึ่งขาดเงินทุนในการขยายงาน  โฆษณาก็ขายไม่ค่อยได้
(เพราะอาจจะตั้งกฏเกณฑ์ว่าต้องไม่ขัดกับนโยบายของหนังสือ)
ก็สามารถระดมเงินจากคนอ่านที่เป็นแฟนประจำ ขอให้สมัครสมาชิกล่วงหน้า 1-2 ปี
(หรืออาจจะเสนอขายหุ้นให้กับผู้อ่านไปเลย เท่ากับมอบสิทธิ์ของความเป็นเจ้าของหนังสือไปด้วย)
ดังนี้เท่ากับเป็นการเกื้อกูลกันทั้ง 2 ฝ่าย

ในกรณีนี้ ผู้ที่สมัครสมาชิกล่วงหน้าก็เป็นนักลงทุนเช่นกัน
เพียงแต่ไม่ได้ลงทุนเพื่อหวังผลกำไรเป็นตัวเงิน
แต่ซื้อความมั่นคงว่า อาหารสมองฉบับนี้ยังมีพร้อมเสริฟ์ในภายภาคหน้า
เป็นพันธะสัญญาที่ซื้อกันด้วยใจมากกว่าตัวเลขสะระตะกำไร ขาดทุน
อันนี้คือตัวอย่างง่ายๆของ ทุนนิยมที่มีหัวใจ เท่าที่คิดได้

กูรูทำการบ้านลองค้นหาบริษัทใหญ่ๆของไทยที่มีศักยภาพสามารถระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์
แต่ปฏิเสธแนวทางขยายกิจการด้วยวิธีนี้
แล้วก็เจอ กลุ่มบริษัท แปลน  ที่มีแนวคิดธุรกิจน่าสนใจ

อันว่าบริษัทแปลนนี้ เกิดจากแรงรวมใจของเหล่าอดีตนักกิจกรรม
ก่อตั้งเป็น สำนักงานสถาปนิกชื่อ แปลน อาร์คิเดท มีที่ตั้งอยู่แถวสาธร(มีระฆังอยู่บนตึก ตีเช้า -เย็นเสียงกังวาน)
สร้างชื่อเสียงจากผลงานชนะเลิศการอออกแบบตึกสำนักงานใหญ่ของ ปตท. ถนนวิภาวดี เมื่อปี  2526
จากนั้นก็ขยายหน่วยงานออกสู่ แปลน กราฟฟิค (ออกแบบไดอารี่และปฏิทิน งานพิมพ์ต่างๆ)
ขยายสู่ แปลน  พับลิชชิ่ง เจ้าของ รักลูก นิตยสารสำหรับคุณแม่ที่ขายดีที่สุดของประเทศ
ขยายสู่ แปลน ทอยส์ บริษัท ผลิตของเล่นเด็กรายใหญ่
ขยายสู่ แปลน มัลติมีเดีย  งาน presentation และ organizer
ขยายสู่ แปลน เอสเตท ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ขยายสู่ โรงเรียนรุ่งอรุณ  โรงเรียนวิถีพุทธ แนวศึกษาทางเลือก
ขยายสู่อื่นๆอีกมากมาย
รวมทั้งศูนย์ศิลปะ แสงอรุณ (ตั้งชื่อตามอาจารย์แสงอรุณ รัตกสิกร  สถาปนิกผู้รักต้นไม้เป็นชีวิตจิตใจ) โรงเรียนเพลินพัฒนา

ทุกวันนี้ แปลนกรุ๊ป จึงเป็นกลุ่มธุรกิจที่เติบโตและแตกขยายบนเส้นทางทุนนิยม
แต่ปฎิเสธทุนนิยมบนเงื่อนไขของการแสวงหากำไรสูงสุด

ลองอ่านคำสัมภาษณ์ของเหล่าผู้บริหารแปลนกรุ๊ปที่คัดย่อมาบางส่วน
อาจจะทำให้เพื่อนๆได้เห็นว่า ทุนนิยมที่มีหัวใจนั้นมีอยู่จริง ในสังคมจริง
เพียงแต่ไม่อยู่ในลำธารหลักของการดำเนินธุรกิจทั่วไป
จุดยืน :ไม่แสวงกำไรสูงสุด คือหลักมั่นคงขององค์กร

"เขียนจุดยืนอย่างนี้ไว้ทำไม...ทำธุรกิจแล้วไม่แสวงกำไรสูงสุด ทำไปทำไม หลอกตัวเองหรือเปล่า"

ในการประชุมทีมงาน บริษัท แปลน พับลิชชิ่ง จำกัด ครั้งแรก เมื่อเดือนตุลาคม 2525
คุณครองศักดิ์ จุฬามรกต ผู้ริเริ่มก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการคนแรก แจ้งกับพนักงานว่า
บริษัทนี้ เพื่อนฝูงที่มีใจไปทางเดียวกันตั้งแต่หลัง 14 ตุลาคม 2516
ชวนกันมาลงขันก่อตั้งขึ้น อาทิ คุณชัย ราชวัตร คุณมนตรี จึงสิริรักษ์ คุณหมอสมิง เก่าเจริญ คุณเกียรติ ปรัชญาศิลปวุฒิ คุณปรีชา รุ่งรุจิไพศาล คุณกนิษฐา ปวีณะโยธิน คุณพีรกิจ กี่ศิริ ร่วมกับเพื่อนในกลุ่มบริษัทแปลนฯ เพราะอยากทำงานทางสังคมที่สามารถสื่อสารความคิดกับผู้คนในสังคมได้...

"ธรรมชาติของธุรกิจก็คือ การแสวงหากำไรสูงสุด
แต่ผู้ถือหุ้นของเรา ขอแค่บริษัทอยู่ได้ ไม่ต้องการกำไรสูงสุด
จุดยืนของเราคือสร้างงานสื่อสารที่สร้างสรรค์เป็นประโยชน์ต่อสังคม"

.....จากวันนั้นถึงวันนี้ จุดยืนนี้ได้รับการตอกหมุด และท้าทายกระแสคลื่นลมแรงมานับครั้งไม่ถ้วน

แน่นอน ทำธุรกิจต้องหากำไร ไม่เอากำไรต้องไปทำมูลนิธิ ขอรับบริจาคเงินทำงานมาจากคนอื่น

เมื่อทำงาน...หักต้นทุนและค่าใช้จ่ายแล้วต้องมีกำไรเหลือก้อนหนึ่ง
ไม่เช่นนั้นจะเอาเงินที่ไหนมาพัฒนางาน พัฒนาคน และตอบแทนให้ผู้ที่เอาเงินมาลงทุน

เพียงแต่องค์กรของเราไม่มุ่งแสวงหากำไรสูงสุด (not maximized profit) ตามหลักการบริหารธุรกิจทั่วไป
เพราะเราเรียนรู้ว่า "กำไรสูงสุด" ที่แสวงหาอาจต้องแลกมาด้วยคุณค่าบางอย่าง...ความสุข ความภาคภูมิใจหรือศักดิ์ศรีของคนทำงาน
ความสามัคคีในองค์กร ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีในฐานะสมาชิกสังคม ฯลฯ
หรืออาจจะต้องแลกกับจรรยาบรรณของคนทำงานด้านสื่อ ???

บางงานเสมอทุน บางงานขาดทุนบ้างก็มี
เพื่อให้ได้คุณภาพสูงสุดเท่าที่เรามีศักยภาพ
หลายงานทำแบบให้เปล่า ระดมกำลังมาคิดค้นคว้าแบบให้เปล่า
เพราะเห็นแก่ประ โยชน์ที่เกิดกับส่วนรวม

อย่างไรก็ตาม ถัวๆ แล้วเรียกว่าพอมีกำไร ...ไม่มากนัก
แต่ก็พอจะดูแลคนที่ทำงานได้ พัฒนางานใหม่ๆ ได้
ผู้ถือหุ้นแรกๆ ก็ไม่ค่อยได้ผลตอบแทน เพิ่งมาได้ตอนหลังๆ
แต่ที่สำคัญ คนในองค์กรสามารถรักษา "จุดยืน" ที่ตั้งใจมุ่งมั่นเอาไว้ได้
จะได้มองตาใครๆ รวมทั้งมองตาตนเองในกระจกได้ โดยไม่ต้องหลบตา

หลายครั้งจุดยืนนี้ก็ถูกเขย่า คู่ค้าบางรายไม่สบอารมณ์
"คนอื่นเขายังรับโฆษณาของผมได้ สื่อของคุณไม่รับได้อย่างไร"
พนักงานขายบางคนเคยไม่ชอบใจ "หาเงินมาแล้วเนี่ย เอามั้ย"
บางครั้งพวกเราถามกันเองก็มี "ทำงานนี้แล้วไม่ได้กำไร ทำไปทำไม"

แรกๆ ก็ตอบกันไม่ได้ชัด รู้แต่ว่า ถ้าเอากำไรแบบนั้นแล้ว ทำใจไม่ลง...ฝืนความรู้สึก
เราเห็นด้วยกับใจตนเองมากกว่าจะเห็นด้วยกับตัวเลขในบัญชี

แต่หลังๆ ตอบได้ชัดถ้อยชัดคำขึ้นเรื่อยๆ "ก็ทำอย่างที่เป็นอยู่นี่ไง ทำงานให้ดี
ทำด้วยใจ ทำให้ถูกต้อง ทำอย่างเอื้อเฟื้อคนอื่น...ก็อยู่ได้อย่างวันนี้ไง"

ไม่รวยแต่ก็ไม่จน โดยเฉพาะไม่จนเพื่อน ไม่จนความรู้

ไม่ได้กำไรสูงสุดแต่ก็มั่นคงพอสมควร

มั่นคงทางวัตถุคือ พอมีกินมีใช้ ดูแลกันเองในองค์กรได้ตามสมควร
พึ่งตนเองได้ ไม่ (ค่อย) มีหนี้สิน

มั่นคงทางใจ คือ ทำงานแล้วมีความสุข ภูมิใจในสิ่งที่ทำ สบตาคนได้
ไม่ต้องนอนก่ายหน้าผาก

มั่นคงทางการเรียนรู้ คือ ยิ่งทำงานยิ่งเก่งขึ้น เรียนรู้กว้างขวางและลึกซึ้งขึ้น
มีองค์ความรู้ในตนเอง

มั่นคงทางสังคม คือ มีโอกาสได้สร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้คนอื่น มีผู้หลักผู้ใหญ่เพื่อนมิตรคอยเกื้อกูลเอ็นดู เข้าตาจนเมื่อไรมีผู้เต็มใจช่วยประคับประคอง

ความมั่นคงทั้งหมดนี้...เพราะมี "จุดยืน-ไม่แสวงกำไรสูงสุด"
เป็นหลักประกัน คอยกำกับวิถีปฏิบัติขององค์กรนั่นเอง

(จากหนังสือ "22 ปี 22 ประสบการณ์ รักลูก แฟมิลี่กรุ๊ป" เขียนโดย "สุภาวดี หาญเมธี")
Post มาเสียยืดยาว
ก็เพื่อลองหารูปแบบธุรกิจที่ดำเนินนอกกระแส
ทว่ายั่งยืนและอยู่ได้ กระทบร้อน กระทบหนาวจนถึงวันนี้
แผ่วเบา
Verified User
โพสต์: 391
ผู้ติดตาม: 0

ทุนนิยมที่มีหัวใจ

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ผมชอบบริษัทที่สามารถทำกำไรได้สูงสุด
เพราะเป็นตัวชี้วัดที่จะพูดได้เต็มปากเต็มคำว่า
องค์กรของคุณมีประสิทธิภาพสูงสุด
และมีประสิทธิผลทั้งต่อลูกค้าและผู้ถือหุ้นสูงสุดได้
กำไรสูงสุดไม่จำเป็นต้องตั้งเกณฑ์ว่าต้องสูงสุดทุกปี
แต่ในระยะยาวแล้วสามารถทำได้ก็พอใจแล้ว

หลายๆท่านที่รังเกียจทุนนิยม
อาจจะบอกว่าองค์กรของเราไม่จำเป็นต้องเน้นกำไรสูงสุด
ซึ่งผมคิดว่าในระยะสั้นๆไม่กี่ปี
องค์กรนั้นอาจจะสามารถขับเคลื่อนสมาชิกในองค์กรให้ทำงานเต็มประสิทธิภาพได้
แต่ในระยะยาวๆก็มีโอกาสเหมือนกันที่พนักงานในองค์กร(อาจจะไม่รวมผู้บริหารหรือผู้ก่อตั้ง)
จะเกิดความเฉื่อยชา อู้งาน เอาเปรียบเพื่อนร่วมงาน และเอาเปรียบองค์กร
ด้วยวัฒนธรรมองค์กรที่ครึ่งบกครึ่งน้ำไม่ค่อยเหมือนชาวบ้านเขานี่เอง

ผมชอบทุนนิยมที่มีหัวใจก็เพราะว่า
"มันเป็นทุนนิยมที่ไม่ได้ละทิ้งเรื่องประสิทธิภาพ"
แม้จะผสมผสานมิติทางสังคมไปด้วย

ถ้าเพิ่มการดูแลทางสังคมไปแล้วทำให้ประสิทธิภาพด้อยลง
ก็เป็นเรื่องน่าเสียดาย
และในระยะยาวแล้วเรื่องสังคมจะเป็นข้ออ้างของการด้อยประสิทธิภาพด้วยซ้ำ
เพราะเรื่องสังคมเป็นสิ่งที่วัดได้ยากกว่า
และในระยะยาวแล้ว
องค์กรเหล่านี้มักจะช่วยเหลือสังคมได้ไม่มาก

การช่วยสังคมนอกจากจะพึ่งหัวใจ(น้ำใจ)เป็นหลักแล้ว
กำลังที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ เงิน นั่นเอง
บ่อยครั้งที่ "มีแรง มีใจ มีอุดมการณ์"
แต่ไม่มีกำลังเงิน การช่วยเหลือก็ทำได้ไม่เต็มที่
เผลอๆองค์กรเหล่านี้จะกลับกลายมาเป็นภาระสังคมในอนาคตด้วยซ้ำ

ถามว่า ถ้าจะเอาทั้งสองทางทั้งสังคมทั้งกำไรเต็มประสิทธิภาพแบบนี้
ในชีวิตจริงๆจะทำได้จริงๆหรือ

ผมว่าทำได้ครับ
แต่ต้องการผู้บริหารที่เก่ง
มีอุดมการณ์แน่วแน่  และสามารถวิ่งทันโลกได้
สามารถปรับตัวและมีความยืดหยุ่นในเรื่องหยุมหยิม
แต่มั่นคงในเรื่องหลักๆ

เท่าที่ผมได้มีโอกาสรู้จักธุรกิจบ้าง
และที่ผมเห็นว่าเข้าเค้า
ก็คือ se-ed

ผมว่า se-ed เป็นตัวอย่างที่สัมผัสได้จริง
ขององค์กรต้นแบบ  "ทุนนิยมที่มีหัวใจ"
ที่ไม่ได้ละทิ้งหรือหยวนๆในแง่ประสิทธิภาพ

ขอคารวะคุณทนงและพนักงานทุกท่านครับ

แต่ผมไม่มีหุ้นตัวนี้นะครับ
ชื่นชมก็จริงแต่ก็ไม่จำเป็นต้องครอบครอง   :lol:
terati20
Verified User
โพสต์: 1104
ผู้ติดตาม: 0

ทุนนิยมที่มีหัวใจ

โพสต์ที่ 11

โพสต์

กลัว ว่าบริษัทต่างๆจะมอง CSR เป็นเเค่ การตลาดเเนวทางใหม่มากกว่านะครับ! ไว้ลดการกระทบกระทั่ง เวลาบริษัทโดนโจมตี


ผมยังเชื่อว่า บริษัทที่ดีจะต้องทำกำไรสูงสุด โดยคนอื่นต้องอยู่ได้ ไม่เอาเปรียบ supplier, พนักงาน,  ลูกค้า จนเกินไป
ไม่เอาเปรียบสังคม ทำลายสิ่งเเวดล้อม ชุมชน
ไม่ติดสินบน ราชการ etc เเค่ไม่ทำพวกนี้บริษัทก็ช่วยสังคมได้มากเเล้ว
สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นในเบื้องต้น ตั้งอยู่ เเละดับไปในที่สุด
Belffet
Verified User
โพสต์: 1211
ผู้ติดตาม: 0

ทุนนิยมที่มีหัวใจ

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ที่ผ่านมา
สังคมนิยมสร้างความเจ็บปวดรวดร้าวให้รัสเซียไม่น้อย
ผู้นำด้านสังคมนิยมของโลก  ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง
ถ้าคาร์ล มาร์คซึ่งเป็นปรมาจารย์ด้านเศรษศาสตร์ที่โด่งดังคนหนึ่งของโลก
มาเห็นผลลัพธ์ที่เกิดกับรัสเซีย
ที่เกิดกับจีน
คงจะต้องกุมขมับ
ปวดหัวไปเป็นปีๆ
ผมเป็นคนหนึ่งที่เคยคิดว่าสังคมนิยมคือสหภาพโซเวียตที่ล่มสลาย เป็นระบบเศรษฐกิจที่เป็นผู้แพ้หลังสงครามเย็น

แต่ความเป็นจริงแล้วเปล่าเลยครับ หากจะพูดว่าสหภาพโซเวียตปกครองและดำเนินเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมก็เฉพาะในยุคสมัยของ เลนิน (Lenin) เท่านั้น

หากลองย้อนกลับไปศึกษาระบบเศรษฐกิจและการปกครองในยุคสมัยของ Lenin จะเห็นว่าเศรษฐกิจเฟื่องฟูเต็มที่ เนื่องจาก Lenin โค่นล้มระบอบกษัตริย์ที่เอาเปรียบประชาชน เลิกทำสงครามกับภายนอก หันมาแก้ปัญหาภายในแทน การปกครองเป็นแบบ bottom up อย่างแท้จริง เนื่องเพราะสมาชิกสภาเป็นตัวแทนชาวนาและกรรมกรโดยตรง

เรื่องมาบิดเบือนหลังยุค Lenin คือในยุคของ Stalin ยาวไปจนถึงยุคของ Mao Tse Tung ที่ได้รับอิทธิพลแบบ Stalin มาเป็นส่วนใหญ่ การปกครองและรูปแบบเศรษฐกิจในขณะนั้นไม่ใช่สังคมนิยม แต่เป็น "ทุนนิยมโดยรัฐ" คำว่าทุนนิยมโดยรัฐก็คือ รัฐตั้งตัวเป็นนายทุนและมองประชาชนเป็นกรรมกร ประชาชนผลิตอะไรออกมา รัฐก็จะยึดส่วนเกินไป จากนั้นก็เอาไปสร้างและพัฒนาอาวุธ

ในยุคสมัยสตาลิน โซเวียตจึงเจริญก้าวหน้า่มากทางด้านอาวุธและทหาร แต่ต่อมาไม่นานสุดท้ายทุนนิยมโดยรัฐก็ไปไม่รอด

ประเด็นสำคัญคือการดำเนินงานของสตาลินเป็นรูปแบบของทุนนิยมแบบหนึ่ง แต่สตาลินจำเป็นที่จะต้องยืนยันว่ารูปแบบของเขาเป็นแบบสังคมนิยมต่อประชาชนและชาวโลก ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ตัวเองขัดแย้งกับวีรบุรุษของคนโซเวียตอย่างเลนิน

ทุนนิยมโดยรัฐที่ถูกแปะหน้าด้วยคำว่าสังคมนิยมจึงสร้างความเข้าใจผิดต่อผู้คนมาจนถึงทุกวันนี้ีครับ

หากอยากจะรู้ว่า คาร์ล มาร์กซ (Karl Marx) มีความเห็นว่าระบบเศรษฐกิจและการปกครองแบบสังคมนิยมเป็นอย่างไร ผมแนะนำว่าไม่ควรศึกษาประเทศจีน หรือโซเวียตในสมัยหลังๆ แต่ควรอ่านข้อเขียนของ Marx เองเลยจะดีที่สุด และป้องกันการเข้าใจผิดครับ

แนะนำ Communist Manifesto (แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์) โดย Marx & Engels
ภาพประจำตัวสมาชิก
cryptonian_man
Verified User
โพสต์: 585
ผู้ติดตาม: 0

ทุนนิยมที่มีหัวใจ

โพสต์ที่ 13

โพสต์

[quote="Belffet"][quote]ที่ผ่านมา
สังคมนิยมสร้างความเจ็บปวดรวดร้าวให้รัสเซียไม่น้อย
ผู้นำด้านสังคมนิยมของโลก
เขาว่า "หลังจากปากพองจากการดื่มนมร้อน เราจะเป่าโยเกิร์ตให้เย็นก่อนตักเข้าปาก"
แต่ทำไมตรูไม่เข็ด เคาะขวาไวตลอดเนี่ย
ภาพประจำตัวสมาชิก
path2544
Verified User
โพสต์: 543
ผู้ติดตาม: 0

มาแชร์ความเห็นด้วยคน...

โพสต์ที่ 14

โพสต์

ทุนนิยมที่มีหัวใจ สำหรับผม ก็คือ

สินค้าที่มาจากโครงการพระราชดำรัส ของ พระเจ้าอยู่หัว และพระราชินีของเราไงครับ ซึ่งพระองค์ทรงแสดงให้คนไทยเห็นมานานแล้ว แต่เราคนไทยล่ะครับ เห็นหรือยัง  :idea:  :idea:

สินค้าต่างๆ นั้น เกิดจากที่ พระองค์ทรง เพื่อรับซื้อสินค้าจากประชาชนชาวนา หรือ เกิดจากโครงการทดลองของพระองค์ แล้วนำออกขายเพื่อนำเงินมาหมุนเวียน เป็นเศรษฐกิจพอเพียง และทุนนิยมที่มีหัวใจ อย่างแท้จริง

เป็นสินค้าที่ดี มีคุณภาพ ราคาสินค้าบางอย่างอาจแพงกว่าท้องตลาดเล็กน้อย แต่ผมก็ใช้ และจะใช้ตลอดไป อีกทั้งหากมีสินค้าใดที่ออกมาแล้วผมสามารถใช้ได้ตามฐานะ และการอยู่อย่างพอเพียงขอผม ผมก็จะใช้อีก อาทิเช่น

ข้าวสารจิตรดา
น้ำผึ้งจิตรดา
สบู่
ยาสีฟัน ยาสระผม
แยมผลไม้
ชาสมุนไพร
กาแฟสด
ผัก ผลไม้
เครื่องใช้ต่างๆ เช่น ผ้าของชาวเขา
ฯลฯ  

และสินค้าอีกมากมาย
ไม่เก่งทั้งวิเคราะห์เทคนิค ปัจจัยพื้นฐาน แต่เราก็ยังรั้นที่จะรวยเพราะหุ้น
กูรูขอบสนาม
Verified User
โพสต์: 987
ผู้ติดตาม: 0

ทุนนิยมที่มีหัวใจ

โพสต์ที่ 15

โพสต์

สวัสดีอีกครั้งครับ
เพิ่งได้มาเปิดกระทู้ เพราะไม่สบายอีกรอบ
หลังจากที่ฟื้นขึ้นมา ก็อวดกล้าไปเดินเหิรตากแดด ตากฝุ่นในที่อโคจร
กลับมานอนระทมอีกรอบ
เออ..สงสัยสังขารเราจะไม่เที่ยงเสียแล้ว ไม่เจียมตัวสงวนกายเลย แก่จวนนี้แล้ว

ชะอุ้ย..เผลอหลุดปากพูดไปได้  กูรูเพิ่ง 25 เองนี่นา
ไม่เอา ไม่เอา ฝืนกายหยัดยืนขึ้นมาใหม่ ตอบกระทู้สนุกๆดีกว่า

เลยได้อ่านประวัติศาสตร์ปรัชญาสังคมนิยมของปู่หมากด้วยแหะ  ดี...ดี
ขอแจมหน่อย เมื่อวานได้พลิกผ่านๆอ่านหนังสือในห้องสมุดเรื่อง..อะไรหว่า ดูซิจำไม่ได้
ประมาณว่า The Business of Fortune Teller
มีกล่าวถึงคุณปู่หมากในฐานะนักพยากรณ์ทางสังคมศาตร์และการเมือง
ปู่หมากพยากรณ์ไว้ว่า (ขณะนั้น) สังคมในภายภาคหน้าจะเป็น Classless
ด้วยการนำของเหล่าประเทศพัฒนาเป็นหัวหอกสู่สังคมนิยมกรรมาชีพ ( Proletarian Society)
แต่ไม่ไช่พรวดเดียว แต่มี 3 ลำดับขั้น (รายละเอียดเยอะมาก ขอข้าม)
แต่คำพยากรณ์ของปู่หมากก็ไม่ได้ไปตามนั้น
เพราะระหว่างเวลาดังกล่าว  มีเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นมากมาย
เช่นการปฏิวัติอุตสาหกรรม การปรับปรุงคุณภาพของระบบการผลิต
การค้นพบเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่แทนแรงงานราคาถูก ฯลฯ
ประเทศที่พัฒนา กระโดดหลุดจากกรอบพยากรณ์ไปอีกขั้วหนึ่ง
ขณะที่ประเทศด้อยพัฒนากลับรับคำพยากรณ์เต็มๆ
(เอ..แต่ในสายตาของกูรูน่าจะตรงข้ามมากกว่า
คือ เพราะระบบคอมมิวนิสต์กรรมาชีพต่างหาก เลยทำให้ประเทศไม่พัฒนา)
เอาละ ที่เขียนก็เพราะอยากจะแชร์ว่า คำพยากรณ์ของ Futurist ทั้งหลาย
อาจจะคลาดเคลื่อนด้วยปัจจัยหรือวิวัฒนาการที่เราไม่คาดคิดก็ได้

หันกลับมาหัวข้อ ทุนนิยมที่มีหัวใจ ดีกว่า
อยากจะเสริมต่ออีกนิดในความเห็นของหลายๆท่าน
ทุนนิยมที่มีหัวใจน่าจะรักษาสมดุลระหว่าง ทุนนิยมและมนุษย์นิยมด้วยกัน
รักษาดุลยลักษณ์ระหว่างประสิทธิภาพของผลงาน และคุณภาพของชีวิตไปพร้อมๆกัน
รักษาความมั่นคั่งของทรัพยากร(ที่ไม่ใช่เงินอย่างเดียว อาจหมายถึงสินทรัพย์ทางปัญญา บุคคลากรเก่งๆ สมองไม่ไหล )
และความมั่นคงของการดำรงชีวิตควบคู่กัน

ทุนนิยมที่มีหัวใจน่าจะเน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ  
ใส่ใจผลกระทบที่เกิดขึ้นมากกว่ายอดขายที่จะเห็นเบื้องหน้า
สอดส่องและตรวจสอบกระบวนการทำงาน/ผลิตเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้นตลอด
ไม่ละเลยบุคคล ผู้เกี่ยวข้อง ลูกค้า  supplier ว่าควรจะได้รับปฎิบัติอย่างเหมาะสมเช่นกัน
(ขอคันปากนิดหนึ่ง ห้างใหญ่ๆมี่ประกาศนโยบาย CSR รักษ์โลกทั้งหลาย  
ประทานโทษ Treat ลูกจ้าง และ Supplier เหมือนเกลียดคนทั้งโลกเลย เฮอ...  :roll: )

ว่าแล้วก็ขอยกตัวอย่างหนังเรื่องหนึ่งที่สะท้อนหัวใจของกระทู้นี้ได้
ก็คือ Jerry Mcquire ที่พระเอกหล่อทอม ครุยส์ เล่น
หลายคนคงเคยผ่านตาทางจอทีวี ( หลายรอบแล้ว)
พระเอกเป็นนายหน้าบริษัทรวมดารานักกีฬาดังๆทั้งหลาย
ได้ผลกำไรจากค่าตัวนักกีฬาในสังกัดเมื่อถ่ายแบบโฆษณา หรือลงเล่นกีฬา
เพราะเป็นบริษัทใหญ่เลยรับเละนักกีฬาทุกคน  มองแต่ผลประโยชน์ต่อหน้า ละเลยทุกข์สุขเท่าที่ควร
กระทั่งวันหนึ่งพระเอกฉุกคิดขึ้นได้ ถึงคุณสมบัตินายหน้านักกีฬาในอุดมคติ
เลยร่างปรัชญาใหม่ของการเป็นAgencyที่ดี
ว่าควรจะเลือกเฟ้นคุณภาพมากขึ้น ไม่เห็นแก่ปริมาณเกินไป (ใครมาก็เอาหมด)
สร้างสายสัมพันธ์ที่โยงใยใกล้ชิด ไม่ได้มองเสมือนที่เป็นสินค้าที่จะต้องสูบเงินโดยเร็ว(และทิ้งเมื่อเหือดแห้ง)
เขาเสนอคัมภีร์ใหม่แก่เพื่อนร่วมงานทุกคน  พร้อมผลตอบรับต่อมา  คือ   ถูกไล่ออก
แต่ Jerry  Mcquire ก็ไม่ยอมแพ้ ดิ้นทุกวิถีทางเพื่อรักษาความมุ่งมั่นของตัวเอง
แม้จะมีแค่ลูกค้าในมือแค่รายเดียว จนกลับมาอยู่รอดได้

สิ่งที่ Jerry ทำไม่ได้วิเศษวิโสอะไรเกินกว่าคนธรรมดาที่มีหัวใจทำได้
ก็คือ ใส่ใจทุกข์สุขของลูกค้า  ตำหนิ ติเตียนเพื่อให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้น
ซื่อสัตย์และรักษาผลประโยชน์ที่ควรจะเป็นของลูกค้า
ไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากบรรดาผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลาย
ยอมอดกลั้น อดทนต่อแรงบีบทุกอย่างเพื่อให้ลูกค้าและตัวเองอยู่รอด
(ไม่ปล่อยให้ลูกค้าตายต่อหน้าต่อตา เอาตัวเองหนีไปก่อนหน้าแล้ว)

ทุนนิยมที่มีหัวใจ ไม่ใช่เรื่องยากเย็นหรือเกินความสามารถของคนเล็กๆที่อยู่เวียนว่ายในระบบทุนนิยมเลย

ถ้าคุณเปิดร้านอาหาร   ตำน้ำพริกแต่ละครกใส่หัวใจลงไปด้วย  นั่นก็ใช่...
ถ้าคุณเปิดร้านหนังสือ  แนะนำหนังสือดีๆวันละเล่มให้ลูกค้าคุณอย่างจริงใจ  นั่นก็ใช่
ถ้าคุณเป็นโบรกเกอร์ค้าหุ้น  แนะนำหุ้นปั่น...เอ๊ย...หุ้นดีๆ พร้อมข้อดี ข้อเสีย  
ความเสี่ยง และไม่เร่งให้ซื้อขายบ่อยเกินกำลังกระเป๋า นั่นก็ใช่


ลองถามตัวเองซิครับว่า  อาชีพที่คุณทำอยู่ สามารถใส่หัวใจลงไปได้มากน้อยแค่ไหน :D
Belffet
Verified User
โพสต์: 1211
ผู้ติดตาม: 0

ทุนนิยมที่มีหัวใจ

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ตามความเห็นส่วนตัว

ผมคิดว่าเราต้องแน่ใจจริงๆก่อนว่าทุนนิยมคืออะไร

เศรษฐกิจแบบทุนนิยมคือการเก็บกินส่วนเกินหรือสิ่งที่เรียกว่า "กำไร" จากธุรกิจและลูกจ้าง โดยมี "ทุน" เป็นปัจจัยสำคัญของการเก็บกิน

ความเป็นทุนนิยมจึงแบ่งคนเป็น 2 กลุ่มคือ "ผู้มีทุนหรือมีปัจจัยการผลิต" กับ "ผู้ที่ไม่มี" โดยผู้ที่มีปัจจัยการผลิตคือคนที่เอาเปรียบลูกจ้างและคนที่ไม่มีปัจจัยการผลิต เช่น โรงงานที่จ่ายค่าแรงขั้นต่ำเท่านั้นให้แก่พนักงาน ส่วนเจ้าของก็เก็บกำไรไปจนหมด

ดังนั้นคำว่า "ทุนนิยมที่มีหัวใจ" จึงควรเริ่มที่ความสัมพันธ์ระหว่างคน 2 กลุ่มนี้ก่อนเป็นอันดับแรก นั่นคือการสร้าง "การครอบครองปัจจัยการผลิตแบบใหม่" ให้เกิดขึ้นภายในกิจการ

หนังสือชื่อ Small is beautiful ของ Schumacher ได้เขียนบทหนึ่งเกี่ยวกับ Ownership และ The New Ownership โดยระบุว่ากิจการสร้างหลักการที่จะจัดสรรผลกำไรให้กับพนักงานให้มากกว่านี้โดยจัดรูปแบบเป็น  Commonwealth เงินเดือนของทุกๆคนไล่ตั้งแต่ล่างสุดจนถึงสูงสุดจะต่างกันไม่เกิน 1:7
กำไรที่เกิดขึ้นจะนำมาแจกจ่ายให้กับพนักงานในอัตราที่สูง (ผมจำจำนวนเปอร์เซ็นต์ไม่ได้ แต่สูงมากเป็นเลข 2 หลักขึ้นไป ในขณะที่โบนัสของบริษัทส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะจ่ายอยู่ที่เลขหลักเดียวต้นๆเท่านั้น)

องค์กรแบบนี้เป็นการสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของให้เกิดขึ้นในตัวพนักงานทุกคนที่ทำงาน   จากผลการสำรวจองค์กรที่มีรูปแบบบริหารแบบนี้พบว่าผลกำไรสูงขึ้นต่อเนื่อง การประท้วงหรือข้อเรียกร้องของพนักงานลดลง การบริการและคุณภาพของสินค้าดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเนื่องจากทุกคน "ไม่ได้สักแต่ทำงานไปวันๆ" แต่ทำงานเพื่อบริษัทของตัวเองที่ตัวเองร่วมเป็นเจ้าของ ร่วมมีส่วนได้ส่วนเสียในกำไรด้วย"

นี่แหละคือ "ทุนนิยมที่มีหัวใจ" คนทำงานไม่ได้ทำงานแบบเซ็งๆไปวันๆ แต่ทำงานอย่างมีหัวใจ มีเป้าหมาย มีความสุข

ข้อเสียของระบบนี้คือผู้ประกอบการ หรือผู้ริเริ่มจะไม่ได้กำไรสูงสุดอย่างที่เคยได้ เพราะระบบนี้ไม่เอื้อให้ขูดรีดกรรมาชีพแบบที่ผ่านๆมา

และแน่นอน ผู้ถือหุ้นอย่างเราๆท่านๆที่อยู่ในเวบนี้ทุกคนย่อมไม่เห็นด้วยกับบริษัทแบบนี้เช่นกัน

จริงมั๊ยครับ?
thawattt
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 0

ทุนนิยมที่มีหัวใจ

โพสต์ที่ 17

โพสต์

ผมขอคิดต่างมุมติดหน่อยครับ

บางครั้งเราเชื่อว่า การทำ CSR นั้น จะเป็นเรื่องของการสร้างภาระต้นทุน เพราะองค์กรต้องออกไปให้การช่วยเหลือสังคมในรูปกิจกรรมต่าง ๆ และการได้ประโยชน์มักจะได้ทางอ้อมที่สังคมจะยอมรับองค์กรนั้น ๆ ในระยะยาวต่อไป

แต่มีมุมต่างก็คือ การทำ CSR กับการทำกำไรสุทธิที่เพิ่มขึ้น อาจไปด้วยกันแบบไม่ขัดเขินก็ได้

ลองดูตัวอย่างองค์กรแห่งหนึ่งครับ ทำธุรกิจพลังงานไฟฟ้า และ Green technology แถมยังได้เงินจากการดำเนินการดังกล่าวด้วยครับ

บริษัทนั้นคือ KSL ครับ นอกจากช่วยปกป้องสิ่งแวดล้อมของโลกซึ่งเป็นสิ่งที่สังคมต้องการแล้ว ยังได้เงินจากการสนับสนุนกิจกรรมดังกล่าวเพื่อเพิ่มผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นในระยะยาวอีกด้วยครับ


ก็เลยกลายเป็นว่า ทำ CSR และการทำกำไรสุทธิให้กับผู้ถือหุ้นมันไปด้วยกันได้แหะ

รายละเอียดตามข้อมูลที่บริษัทแจ้งตลาดครับ

ที่ ลข. 026/2550
                                            วันที่ 1 สิงหาคม 2550
เรื่อง       แจ้งข่าวโครงการโรงไฟฟ้าน้ำตาลขอนแก่นได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโครงการ CDM Project - Carbon Credit
เรียน       กรรมการและผู้จัดการ
          ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
        บริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน) ("บริษัท") ขอแจ้งให้ทราบว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร กลไกการ
พัฒนาที่สะอาด ภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC CDM Executive
Board) ได้มีมติอนุมัติการขึ้นทะเบียน (Registration) โครงการโรงไฟฟ้าน้ำตาลขอนแก่น ให้เป็นโครงการกลไกการ
พัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism หรือ CDM Project -Carbon Credit) ซึ่งโครงการของบริษัท ฯ
ดังกล่าว จะช่วยลดก๊าซเรือนกระจก
ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งในแต่ละปีจะทำให้บริษัทมีรายได้รับจากการขาย
คาร์บอนเครดิต
      โดยโครงการของบริษัท ถือได้ว่าเป็นกลุ่มโรงงานน้ำตาลแรกของประเทศไทย และเป็นโครงการที่สามของ
ประเทศไทย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน
ทั้งนี้ ความคืบหน้าของการดำเนินโครงการดังกล่าว บริษัทฯ จะแจ้งให้ทราบใน
โอกาสต่อไป
          จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ
                                                ขอแสดงความนับถือ
                                             ( นายจำรูญ ชินธรรมมิตร์ )
                                    ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่
                                         บริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน
ptaweesang
Verified User
โพสต์: 61
ผู้ติดตาม: 0

Re: มาแชร์ความเห็นด้วยคน...

โพสต์ที่ 18

โพสต์

[quote="path2544"]ทุนนิยมที่มีหัวใจ สำหรับผม ก็คือ

สินค้าที่มาจากโครงการพระราชดำรัส ของ พระเจ้าอยู่หัว และพระราชินีของเราไงครับ ซึ่งพระองค์ทรงแสดงให้คนไทยเห็นมานานแล้ว แต่เราคนไทยล่ะครับ เห็นหรือยัง
โพสต์โพสต์