อุตสาหกรรมสิ่งทอและแฟชั่น
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news03/12/07
โพสต์ที่ 61
ยกระดับสถาบันสิ่งทอ
อัด100ล.หวังปั้น เป็นศูนย์พัฒนาฯ ดันนิคมฯฟอกย้อม
โพสต์ทูเดย์ กระทรวงอุตสาห กรรม เจียดงบกว่า 100 ล้านบาท ให้สถาบันสิ่งทอ ยกชั้นขึ้นสู่ศูนย์กลางในการพัฒนาสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ รมช.อุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวง อุตสาหกรรม ได้จัดสรรงบประมาณปี 2551 ให้สถาบันสิ่งทอเป็นเงิน กว่า 100 ล้านบาท เพื่อนำไปปรับเปลี่ยนบทบาทการทำงานของสถาบันฯ ให้เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยอย่างครบวงจร โดยทำหน้าที่พัฒนาประสิทธิภาพการผลิต เพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ รวมทั้งพัฒนาผู้ประกอบการ ให้สามารถทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา โครงการกรุงเทพเมืองแฟชั่น ได้ดำเนินการไปบางส่วนแล้ว ทั้งการสร้างโรงเรียน และพัฒนาผู้ประกอบการแฟชั่นใน สาขาที่มีความสำคัญ ซึ่งมีความจำเป็น ต้องสานต่อโดยดำเนินกิจกรรมที่คล้ายคลึงกัน เพื่อต่อยอดอุตสาหกรรมสิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่มของไทย ให้มีศักยภาพแข่งขันกับต่างประเทศได้
ขณะนี้ถือว่าเป็นช่วงการปรับฐานของอุตสาหกรรมสิ่งทอ และทำให้อุตสาหกรรมมีความเข้มแข็ง แม้จะมีส่วนหนึ่งต้องปิดตัวไป แต่ ผู้ประกอบการรายใหม่ยังเกิดขึ้นและนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ ในการผลิต ซึ่งถือว่าก้าวสู่ยุคใหม่ ของอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย โดยมีการส่งออกปีละ 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งปีนี้จะขยายตัว 2% นายปิยะบุตร กล่าว
นายปิยะบุตร กล่าวต่อไปว่า กระทรวงอุตสาหกรรม พยายามผลักดันให้เอกชนที่รับจ้างผลิต (โออีเอ็ม) พัฒนาตนเอง เป็นผู้ออกแบบและผลิต (โอดีเอ็ม) เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าและสร้างความแตกต่างของสินค้าในตลาดทั่วไป
หากกลุ่มผู้รับจ้างผลิต ต้องการทำธุรกิจสิ่งทอต่อไป จะต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าเพิ่ม ไม่ใช่ใช้ความได้เปรียบเรื่องแรงงานเป็นหลักในการแข่งขัน เพราะไทยมีปัญหาขาดแคลนแรงงานและแนวโน้มค่าแรงมีแต่เพิ่มขึ้นสูงกว่าประเทศคู่แข่ง รมช.อุตสาหกรรม กล่าว
สำหรับความคืบหน้าของนิคมอุตสาหกรรมฟอกย้อม ขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือร่วมกับภาคเอกชนที่พร้อมเข้าไปบริหารจัดการนิคมฯ หากเบื้องต้นยังไม่สามารถดำเนินการได้เอง กระทรวงอุตสาหกรรมจะมอบหมายให้ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เข้าไปบริหารก่อน ส่วนพื้นที่ตั้งนิคมฯ คาดว่าอยู่ใน จ.กาญจนบุรี เพราะมีแหล่งน้ำ มีระบบการขนส่ง และใกล้พื้นที่ตั้งโรงงานสิ่งทอ ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญ
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=206948
อัด100ล.หวังปั้น เป็นศูนย์พัฒนาฯ ดันนิคมฯฟอกย้อม
โพสต์ทูเดย์ กระทรวงอุตสาห กรรม เจียดงบกว่า 100 ล้านบาท ให้สถาบันสิ่งทอ ยกชั้นขึ้นสู่ศูนย์กลางในการพัฒนาสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ รมช.อุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวง อุตสาหกรรม ได้จัดสรรงบประมาณปี 2551 ให้สถาบันสิ่งทอเป็นเงิน กว่า 100 ล้านบาท เพื่อนำไปปรับเปลี่ยนบทบาทการทำงานของสถาบันฯ ให้เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยอย่างครบวงจร โดยทำหน้าที่พัฒนาประสิทธิภาพการผลิต เพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ รวมทั้งพัฒนาผู้ประกอบการ ให้สามารถทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา โครงการกรุงเทพเมืองแฟชั่น ได้ดำเนินการไปบางส่วนแล้ว ทั้งการสร้างโรงเรียน และพัฒนาผู้ประกอบการแฟชั่นใน สาขาที่มีความสำคัญ ซึ่งมีความจำเป็น ต้องสานต่อโดยดำเนินกิจกรรมที่คล้ายคลึงกัน เพื่อต่อยอดอุตสาหกรรมสิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่มของไทย ให้มีศักยภาพแข่งขันกับต่างประเทศได้
ขณะนี้ถือว่าเป็นช่วงการปรับฐานของอุตสาหกรรมสิ่งทอ และทำให้อุตสาหกรรมมีความเข้มแข็ง แม้จะมีส่วนหนึ่งต้องปิดตัวไป แต่ ผู้ประกอบการรายใหม่ยังเกิดขึ้นและนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ ในการผลิต ซึ่งถือว่าก้าวสู่ยุคใหม่ ของอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย โดยมีการส่งออกปีละ 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งปีนี้จะขยายตัว 2% นายปิยะบุตร กล่าว
นายปิยะบุตร กล่าวต่อไปว่า กระทรวงอุตสาหกรรม พยายามผลักดันให้เอกชนที่รับจ้างผลิต (โออีเอ็ม) พัฒนาตนเอง เป็นผู้ออกแบบและผลิต (โอดีเอ็ม) เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าและสร้างความแตกต่างของสินค้าในตลาดทั่วไป
หากกลุ่มผู้รับจ้างผลิต ต้องการทำธุรกิจสิ่งทอต่อไป จะต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าเพิ่ม ไม่ใช่ใช้ความได้เปรียบเรื่องแรงงานเป็นหลักในการแข่งขัน เพราะไทยมีปัญหาขาดแคลนแรงงานและแนวโน้มค่าแรงมีแต่เพิ่มขึ้นสูงกว่าประเทศคู่แข่ง รมช.อุตสาหกรรม กล่าว
สำหรับความคืบหน้าของนิคมอุตสาหกรรมฟอกย้อม ขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือร่วมกับภาคเอกชนที่พร้อมเข้าไปบริหารจัดการนิคมฯ หากเบื้องต้นยังไม่สามารถดำเนินการได้เอง กระทรวงอุตสาหกรรมจะมอบหมายให้ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เข้าไปบริหารก่อน ส่วนพื้นที่ตั้งนิคมฯ คาดว่าอยู่ใน จ.กาญจนบุรี เพราะมีแหล่งน้ำ มีระบบการขนส่ง และใกล้พื้นที่ตั้งโรงงานสิ่งทอ ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญ
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=206948
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news06/12/07
โพสต์ที่ 62
สิ่งทอไทยเทงบ 3พันล.เพิ่มผลิต รับโอลิมปิก-ยูโร
โพสต์ทูเดย์ บริษัทสิ่งทอรายใหญ่ของไทย 30 ราย เตรียมลงทุนเพิ่มอีกไม่น้อยกว่า 3 พันล้านบาท ในปีหน้า
นายวัลลภ วิตนากร รองเลขาธิการสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย กล่าวว่า ปี 2551 บริษัทผู้ผลิตเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่มในประเทศไทย มีแผนขยายลงทุนรวมกันไม่ต่ำกว่า 3 พันล้านบาท เพื่อขยายกำลังการผลิตเพิ่มเพื่อรองรับยอดสั่งซื้อที่จะเพิ่มขึ้นจากเสื้อประเภทกีฬาที่จะใช้ในการแข่งขันโอลิมปิกที่กรุงปักกิ่ง และการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2008
ปีหน้ายังเป็นปีดาวรุ่งของอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม เพราะตลาดญี่ปุ่นและอาเซียนมีออร์เดอร์ต่อเนื่อง ทำให้ผู้ผลิตลงทุนเพิ่มขึ้น และอีกส่วนหนึ่งจะเข้าไปตั้งโรงงาน ในประเทศเพื่อนบ้านด้วยทั้งลาวและเวียดนาม นายวัลลภ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าจะไม่มีการปิดโรงงานสิ่งทอเหมือนในอดีตที่ผ่านมาอีก เนื่องจากผู้ประกอบการที่อยู่ปัจจุบันมีความเข้มแข็งและปรับตัวได้ในระดับหนึ่ง
สำหรับการส่งออกสินค้าเครื่องนุ่งห่ม ปี 2551 ของไทยจะขยายตัว 10% จากปี 2550 หรือคิดเป็นมูลค่า 3.8-4 พันล้านเหรียญสหรัฐ และหลังจากที่ประเทศไทยลงนามในหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) จะทำให้การส่งออกเครื่องนุ่งห่มไปญี่ปุ่นขยายตัวได้อีก 30% หรือมูลค่า 250 ล้านเหรียญสหรัฐ
ด้านนายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมสิ่งทอของไทยยังมีศักยภาพโดยเฉพาะอุตสาหกรรมต้นน้ำที่ผลิตผ้าผืน ซึ่งเวียดนามนำเข้าไปเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป
ปีหน้าอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจะเป็น 1 ในอุตสาหกรรมหลักที่ทำให้การส่งออกของไทยปีหน้ามีการขยายตัวนอกจากยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และอาหาร นายจักรมณฑ์ กล่าว
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=207510
โพสต์ทูเดย์ บริษัทสิ่งทอรายใหญ่ของไทย 30 ราย เตรียมลงทุนเพิ่มอีกไม่น้อยกว่า 3 พันล้านบาท ในปีหน้า
นายวัลลภ วิตนากร รองเลขาธิการสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย กล่าวว่า ปี 2551 บริษัทผู้ผลิตเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่มในประเทศไทย มีแผนขยายลงทุนรวมกันไม่ต่ำกว่า 3 พันล้านบาท เพื่อขยายกำลังการผลิตเพิ่มเพื่อรองรับยอดสั่งซื้อที่จะเพิ่มขึ้นจากเสื้อประเภทกีฬาที่จะใช้ในการแข่งขันโอลิมปิกที่กรุงปักกิ่ง และการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2008
ปีหน้ายังเป็นปีดาวรุ่งของอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม เพราะตลาดญี่ปุ่นและอาเซียนมีออร์เดอร์ต่อเนื่อง ทำให้ผู้ผลิตลงทุนเพิ่มขึ้น และอีกส่วนหนึ่งจะเข้าไปตั้งโรงงาน ในประเทศเพื่อนบ้านด้วยทั้งลาวและเวียดนาม นายวัลลภ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าจะไม่มีการปิดโรงงานสิ่งทอเหมือนในอดีตที่ผ่านมาอีก เนื่องจากผู้ประกอบการที่อยู่ปัจจุบันมีความเข้มแข็งและปรับตัวได้ในระดับหนึ่ง
สำหรับการส่งออกสินค้าเครื่องนุ่งห่ม ปี 2551 ของไทยจะขยายตัว 10% จากปี 2550 หรือคิดเป็นมูลค่า 3.8-4 พันล้านเหรียญสหรัฐ และหลังจากที่ประเทศไทยลงนามในหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) จะทำให้การส่งออกเครื่องนุ่งห่มไปญี่ปุ่นขยายตัวได้อีก 30% หรือมูลค่า 250 ล้านเหรียญสหรัฐ
ด้านนายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมสิ่งทอของไทยยังมีศักยภาพโดยเฉพาะอุตสาหกรรมต้นน้ำที่ผลิตผ้าผืน ซึ่งเวียดนามนำเข้าไปเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป
ปีหน้าอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจะเป็น 1 ในอุตสาหกรรมหลักที่ทำให้การส่งออกของไทยปีหน้ามีการขยายตัวนอกจากยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และอาหาร นายจักรมณฑ์ กล่าว
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=207510
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news08/12/07
โพสต์ที่ 63
โกลด์ไมน์-บิวตี้เจมส์โตรับJTEPA + ยักษ์ค้าปลีกการ์เมนต์/อัญมณีญี่ปุ่นแห่ลงออเดอร์ล็อตใหญ่
ส่งออกการ์เมนต์-อัญมณีรายใหญ่ รับอานิสงส์ JTEPA เต็มๆ ล่าสุดโกลด์ไมน์การ์เม้นท์ส้มหล่น "ยูนิโคล"ยักษ์ค้าปลีกเสื้อผ้ารายใหญ่สุดจากแดนซามูไร สั่งออเดอร์ล็อตใหญ่ส่งขาย 750 ช็อปทั่วประเทศ ชี้ปี 2552 แค่ลูกค้ารายเดียวคาดดันส่งออกการ์เมนต์ไทยไปญี่ปุ่นโตกว่า 10% ขณะที่บิวตี้เจมส์ได้ 4 ลูกค้ารายใหม่ช่วยดันยอดขายอัญมณีกว่า 300 สาขา
จากความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น(JTEPA) ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 เป็นต้นมา ส่งผลให้สินค้าหลายกลุ่มที่ได้เริ่มทยอยลดภาษี รวมถึงกลุ่มที่ต้องยกเลิกภาษีทันทีได้รับประโยชน์ ซึ่งขณะนี้ได้บังเกิดผลที่เป็นรูปธรรมชัดเจนเพิ่มมากขึ้น
นายสุชาติ จันทรานาคราช กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลด์ไมน์ การ์เม้นท์ จำกัด บริษัทส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปแนวหน้าของเมืองไทย เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ว่า ล่าสุดบริษัทได้ประสบความสำเร็จในการเจรจาธุรกิจกับบริษัท ยูนิโคล จำกัด(UNICLO) บริษัทค้าปลีกเสื้อผ้ารายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นในการสั่งผลิตเสื้อผ้าไปจำหน่ายในญี่ปุ่น และตลาดอื่นๆ ภายใต้แบรนด์ UNICLO โดยจะเริ่มส่งสินค้าได้ราวเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนของปีหน้า
ทั้งนี้ยูนิโคลได้ตั้งเป้าหมายที่จะสั่งซื้อจากบริษัทจำนวน 3 แสนตัว/เดือน หรือ 3.6 ล้านตัว/ปี โดยเสื้อผ้าที่สั่งผลิตจะอยู่ในกลุ่มเสื้อเชิ้ตสุภาพบุรุษ เพื่อนำไปจำหน่ายในร้านค้าปลีกของยูนิโคลซึ่งมีอยู่ประมาณ 750 สาขาทั่วประเทศญี่ปุ่น หรือคิดเป็นสัดส่วนกว่า 95% ของปริมาณที่สั่งผลิต ส่วนอีก 5% จะส่งไปจำหน่ายในร้านค้าปลีกของบริษัทในจีน ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา และยุโรปอีกประมาณ 30 สาขารวมแล้วเกือบ 800 สาขาทั่วโลก
สำหรับปัจจัยสำคัญที่ทำให้ทางยูนิโคลได้มาสั่งซื้อเสื้อผ้าจากบริษัทในครั้งนี้ มีส่วนสำคัญปัจจุบันยูนิโคลมีการสั่งซื้อเสื้อผ้าจากโรงงานผลิตในประเทศจีนสัดส่วนกว่า 89% ของการสั่งซื้อจากทั่วโลก ดังนั้นจึงต้องการลดการพึ่งพาการสั่งซื้อจากจีนลง ขณะที่จากข้อตกลง JTEPA การค้าสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มระหว่างไทย-ญี่ปุ่นจะยกเลิกภาษีเป็น 0 ทันทีนับแต่ความตกลงมีผลบังคับใช้ จึงเป็นโอกาสที่ยูนิโคลจะย้ายฐานการสั่งซื้อมาไทยมากขึ้น
"ญี่ปุ่นเขาทำอะไรมีการวางแผนอย่างดี โดยเสื้อผ้าที่สั่งจากเราเขาจะค่อยๆ ลงออเดอร์และเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ โดยมีเป้าหมายจะซื้อจากโกลด์ไมน์ฯ 3 แสนตัวต่อเดือน ซึ่งในอดีตยูนิโคลเคยเข้ามาดิวกับเราหลายครั้งแล้ว แต่ยังไม่มีธุรกรรมระหว่างกันเกิดขึ้น เพราะยังไม่มีสิ่งจูงใจ แต่จากความตกลง JTEPA เป็นแรงจูงใจให้เขาหันมาสั่งซื้อจากไทยมากขึ้นจากก่อนหน้ามีการสั่งซื้อเสื้อผ้าจากผู้ผลิตไทยอยู่แล้วรายหนึ่งคือไนซ์กรุ๊ปเป็นกางเกงลำลอง ซึ่งการย้ายฐานจากจีนมาซื้อจากไทยแค่ 1-2% ก็ถือว่าเยอะมากแล้วสำหรับเรา" นายสุชาติ กล่าวและว่า
ปัจจุบันบริษัทมีกำลังการผลิตเสื้อเชิ้ตสุภาพบุรุษ และชุดชั้นในสุภาพสตรี 550,000-600,000 ตัว/เดือน การได้ออเดอร์ล็อตใหญ่ดังกล่าวบริษัทต้องลงทุนในการเพิ่มจักรและเพิ่มคนงานอีกจำนวนหนึ่งรองรับ และจากคำสั่งซื้อล็อตใหญ่ดังกล่าวจะทำให้บริษัทมีการส่งออกไปตลาดญี่ปุ่นปี 2551 ในสัดส่วนประมาณ 25% ของการส่งออกในภาพรวมของบริษัท จากในปีนี้และในปีที่ผ่านมามีการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาสัดส่วน 60% สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย และตลาดอื่นๆ สัดส่วน 40% ซึ่งการขยายตลาดส่งออกไปญี่ปุ่นจะช่วยลดผลกระทบตลาดสหรัฐที่อยู่ในภาวะชะลอตัว เนื่องจากปัญหาซับไพรม์(หนี้ด้อยคุณภาพภาคอสังหาริมทรัพย์)ได้เป็นอย่างดี แม้เวลานี้ลูกค้าส่วนใหญ่ของบริษัทในสหรัฐจะยังสั่งซื้อเป็นปกติก็ตาม
นายสุชาติ กล่าวด้วยว่า จากคำสั่งซื้อของญี่ปุ่นคาดจะมีผลให้ยอดขายของบริษัทในปี 2551 ขยายตัวจากปี 2550 ประมาณ 20-25% จากปีนี้คาดจะขยายตัวจากปี 2549 ประมาณ 15% (ปี 2549 โกลด์ไมน์ฯมียอดขาย 32 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1,216 ล้านบาท คำนวณที่ค่าเงินบาทเฉลี่ยทั้งปี 38 บาท/ดอลลาร์)และในปี 2552 หากบริษัทสามารถผลิตป้อนให้กับยูนิโคลได้เต็มเพดานที่ 300,000 ตัว/เดือน ยอดขายของบริษัทเพียงบริษัทจะคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 8% ของการส่งออกการ์เมนต์ไทยไปญี่ปุ่นในภาพรวม(ปี 2549 ไทยส่งออกเครื่องนุ่งห่มไปญี่ปุ่น 218 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
ด้านสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับซึ่งเป็นสินค้าอีกรายการหนึ่งที่ได้รับการการลดภาษีลงเป็น 0% ทันทีตามข้อตกลง JTEPA นายสุริยน ศรีอรทัยกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท บิวตี้เจมส์กรุ๊ป จำกัด ผู้ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับรายใหญ่ เปิดเผยว่า ล่าสุดบริษัทได้ประสบความสำเร็จในการเจรจาธุรกิจกับผู้ค้าปลีกอัญมณีและเครื่องประดับรายใหญ่ในญี่ปุ่นรวม 4 ราย ซึ่งมีเอาต์เลต(ร้านค้าปลีก)รวมกันกว่า 300 แห่งทั่วเกาะญี่ปุ่นหนึ่งในจำนวนนั้นคือบริษัท ซาซามิ จำกัด(SASAMI)ซึ่งมีเอาท์เลตอยู่กว่า 70 แห่ง ปัจจุบันบริษัทส่งออกไปญี่ปุ่นในสัดส่วน 20% ของยอดขาย(ปี 2550 บิวตี้เจมส์คาดมียอดขายรวมทุกตลาด 7,650 ล้านบาท)ใน 2551 เฉพาะตลาดญี่ปุ่นวางเป้าขยายตัวไม่ต่ำกว่า 15%
http://www.thannews.th.com/detialNews.p ... issue=2276
ส่งออกการ์เมนต์-อัญมณีรายใหญ่ รับอานิสงส์ JTEPA เต็มๆ ล่าสุดโกลด์ไมน์การ์เม้นท์ส้มหล่น "ยูนิโคล"ยักษ์ค้าปลีกเสื้อผ้ารายใหญ่สุดจากแดนซามูไร สั่งออเดอร์ล็อตใหญ่ส่งขาย 750 ช็อปทั่วประเทศ ชี้ปี 2552 แค่ลูกค้ารายเดียวคาดดันส่งออกการ์เมนต์ไทยไปญี่ปุ่นโตกว่า 10% ขณะที่บิวตี้เจมส์ได้ 4 ลูกค้ารายใหม่ช่วยดันยอดขายอัญมณีกว่า 300 สาขา
จากความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น(JTEPA) ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 เป็นต้นมา ส่งผลให้สินค้าหลายกลุ่มที่ได้เริ่มทยอยลดภาษี รวมถึงกลุ่มที่ต้องยกเลิกภาษีทันทีได้รับประโยชน์ ซึ่งขณะนี้ได้บังเกิดผลที่เป็นรูปธรรมชัดเจนเพิ่มมากขึ้น
นายสุชาติ จันทรานาคราช กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลด์ไมน์ การ์เม้นท์ จำกัด บริษัทส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปแนวหน้าของเมืองไทย เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ว่า ล่าสุดบริษัทได้ประสบความสำเร็จในการเจรจาธุรกิจกับบริษัท ยูนิโคล จำกัด(UNICLO) บริษัทค้าปลีกเสื้อผ้ารายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นในการสั่งผลิตเสื้อผ้าไปจำหน่ายในญี่ปุ่น และตลาดอื่นๆ ภายใต้แบรนด์ UNICLO โดยจะเริ่มส่งสินค้าได้ราวเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนของปีหน้า
ทั้งนี้ยูนิโคลได้ตั้งเป้าหมายที่จะสั่งซื้อจากบริษัทจำนวน 3 แสนตัว/เดือน หรือ 3.6 ล้านตัว/ปี โดยเสื้อผ้าที่สั่งผลิตจะอยู่ในกลุ่มเสื้อเชิ้ตสุภาพบุรุษ เพื่อนำไปจำหน่ายในร้านค้าปลีกของยูนิโคลซึ่งมีอยู่ประมาณ 750 สาขาทั่วประเทศญี่ปุ่น หรือคิดเป็นสัดส่วนกว่า 95% ของปริมาณที่สั่งผลิต ส่วนอีก 5% จะส่งไปจำหน่ายในร้านค้าปลีกของบริษัทในจีน ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา และยุโรปอีกประมาณ 30 สาขารวมแล้วเกือบ 800 สาขาทั่วโลก
สำหรับปัจจัยสำคัญที่ทำให้ทางยูนิโคลได้มาสั่งซื้อเสื้อผ้าจากบริษัทในครั้งนี้ มีส่วนสำคัญปัจจุบันยูนิโคลมีการสั่งซื้อเสื้อผ้าจากโรงงานผลิตในประเทศจีนสัดส่วนกว่า 89% ของการสั่งซื้อจากทั่วโลก ดังนั้นจึงต้องการลดการพึ่งพาการสั่งซื้อจากจีนลง ขณะที่จากข้อตกลง JTEPA การค้าสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มระหว่างไทย-ญี่ปุ่นจะยกเลิกภาษีเป็น 0 ทันทีนับแต่ความตกลงมีผลบังคับใช้ จึงเป็นโอกาสที่ยูนิโคลจะย้ายฐานการสั่งซื้อมาไทยมากขึ้น
"ญี่ปุ่นเขาทำอะไรมีการวางแผนอย่างดี โดยเสื้อผ้าที่สั่งจากเราเขาจะค่อยๆ ลงออเดอร์และเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ โดยมีเป้าหมายจะซื้อจากโกลด์ไมน์ฯ 3 แสนตัวต่อเดือน ซึ่งในอดีตยูนิโคลเคยเข้ามาดิวกับเราหลายครั้งแล้ว แต่ยังไม่มีธุรกรรมระหว่างกันเกิดขึ้น เพราะยังไม่มีสิ่งจูงใจ แต่จากความตกลง JTEPA เป็นแรงจูงใจให้เขาหันมาสั่งซื้อจากไทยมากขึ้นจากก่อนหน้ามีการสั่งซื้อเสื้อผ้าจากผู้ผลิตไทยอยู่แล้วรายหนึ่งคือไนซ์กรุ๊ปเป็นกางเกงลำลอง ซึ่งการย้ายฐานจากจีนมาซื้อจากไทยแค่ 1-2% ก็ถือว่าเยอะมากแล้วสำหรับเรา" นายสุชาติ กล่าวและว่า
ปัจจุบันบริษัทมีกำลังการผลิตเสื้อเชิ้ตสุภาพบุรุษ และชุดชั้นในสุภาพสตรี 550,000-600,000 ตัว/เดือน การได้ออเดอร์ล็อตใหญ่ดังกล่าวบริษัทต้องลงทุนในการเพิ่มจักรและเพิ่มคนงานอีกจำนวนหนึ่งรองรับ และจากคำสั่งซื้อล็อตใหญ่ดังกล่าวจะทำให้บริษัทมีการส่งออกไปตลาดญี่ปุ่นปี 2551 ในสัดส่วนประมาณ 25% ของการส่งออกในภาพรวมของบริษัท จากในปีนี้และในปีที่ผ่านมามีการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาสัดส่วน 60% สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย และตลาดอื่นๆ สัดส่วน 40% ซึ่งการขยายตลาดส่งออกไปญี่ปุ่นจะช่วยลดผลกระทบตลาดสหรัฐที่อยู่ในภาวะชะลอตัว เนื่องจากปัญหาซับไพรม์(หนี้ด้อยคุณภาพภาคอสังหาริมทรัพย์)ได้เป็นอย่างดี แม้เวลานี้ลูกค้าส่วนใหญ่ของบริษัทในสหรัฐจะยังสั่งซื้อเป็นปกติก็ตาม
นายสุชาติ กล่าวด้วยว่า จากคำสั่งซื้อของญี่ปุ่นคาดจะมีผลให้ยอดขายของบริษัทในปี 2551 ขยายตัวจากปี 2550 ประมาณ 20-25% จากปีนี้คาดจะขยายตัวจากปี 2549 ประมาณ 15% (ปี 2549 โกลด์ไมน์ฯมียอดขาย 32 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1,216 ล้านบาท คำนวณที่ค่าเงินบาทเฉลี่ยทั้งปี 38 บาท/ดอลลาร์)และในปี 2552 หากบริษัทสามารถผลิตป้อนให้กับยูนิโคลได้เต็มเพดานที่ 300,000 ตัว/เดือน ยอดขายของบริษัทเพียงบริษัทจะคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 8% ของการส่งออกการ์เมนต์ไทยไปญี่ปุ่นในภาพรวม(ปี 2549 ไทยส่งออกเครื่องนุ่งห่มไปญี่ปุ่น 218 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
ด้านสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับซึ่งเป็นสินค้าอีกรายการหนึ่งที่ได้รับการการลดภาษีลงเป็น 0% ทันทีตามข้อตกลง JTEPA นายสุริยน ศรีอรทัยกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท บิวตี้เจมส์กรุ๊ป จำกัด ผู้ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับรายใหญ่ เปิดเผยว่า ล่าสุดบริษัทได้ประสบความสำเร็จในการเจรจาธุรกิจกับผู้ค้าปลีกอัญมณีและเครื่องประดับรายใหญ่ในญี่ปุ่นรวม 4 ราย ซึ่งมีเอาต์เลต(ร้านค้าปลีก)รวมกันกว่า 300 แห่งทั่วเกาะญี่ปุ่นหนึ่งในจำนวนนั้นคือบริษัท ซาซามิ จำกัด(SASAMI)ซึ่งมีเอาท์เลตอยู่กว่า 70 แห่ง ปัจจุบันบริษัทส่งออกไปญี่ปุ่นในสัดส่วน 20% ของยอดขาย(ปี 2550 บิวตี้เจมส์คาดมียอดขายรวมทุกตลาด 7,650 ล้านบาท)ใน 2551 เฉพาะตลาดญี่ปุ่นวางเป้าขยายตัวไม่ต่ำกว่า 15%
http://www.thannews.th.com/detialNews.p ... issue=2276
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news10/12/07
โพสต์ที่ 64
ตลาดเครื่องประดับยอดวูบ ยูบิลลี่เปิดศึกสงครามราคา
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 10 ธันวาคม 2550 16:28 น.
ตลาดอัญมณีเครื่องประดับทั้งในและต่างประเทศยอดวูบ ปัจจัยลบรุมเร้า ยูบิลลี่ หวังปลายปีตลาดกลับมาคึกคักรับไฮซีซั่น ล่าสุดอัดสงครามราคา ส่งแหวนสองวงราคาเดียว หั่นราคาเกือบครึ่ง คาดดันยอดขายสิ้นปีโต 20% เข้าเป้า
นายบุญกิต จิตรงามปลั่ง ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ เปิดเผยกับผู้จัดการรายวันว่า การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้มีการเติบโต 1% และคาดว่าทั้งปีนี้การส่งออกจะเติบโตไม่เกิน 10% ทั้งนี้เป็นเพราะได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ส่งผลให้ยอดขายลดลง 10% อย่างไรก็ตามแม้ว่าค่าเงินบาทจะอ่อนลง แต่ภาพรวมของธุรกิจส่งออกยังค่อนข้างอันตราย เนื่องจากเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาค่อนข้างประสบปัญหา อีกทั้งยังมีปัจจัยลบภายในประเทศ จากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่ชะลอตัวลง พฤติกรรมของคนไทยมีความระมัดระวังในการจับจ่ายใช้สอย
นายคงเดช โอฬารรติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูบิลลี่ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจจำหน่ายเพชรและเครื่องประดับเพชร ภายใต้ชื่อ เพชรยูบิลลี่ เปิดเผยกับผู้จัดการรายวันว่า ภาพรวมตลาดอัญมณีและเครื่องประดับในปีนี้คาดว่าจะหดตัวลง 10-15% เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่หดตัวลง ซึ่งเป็นสภาพเดียวที่เกิดขึ้นกับช่วงวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 แต่ปีนี้สภาพตลาดค่อยๆ ซึมมากกว่า ทั้งนี้พบว่ากลุ่มอัญมณีและเครื่องประดับที่ได้รับผลกระทบ คือ สินค้าระดับราคา 2 หมื่นบาท เพราะมีกลุ่มเป้าหมายวัยทำงาน ส่วนสินค้าราคาระดับ 5 หมื่นบาทกระทั่งถึงแสนบาทไม่ได้รับผลกระทบ
ขณะเดียวกันด้านการส่งออก ขณะนี้ประเทศไทยมีคู่แข่งสำคัญอย่างจีน โดยเฉพาะอินเดียซึ่งก่อนหน้านี้เน้นแต่การส่งออกวัตถุดิบ แต่ล่าสุดหันมาผลิตอัญมณีและเครื่องประดับส่งออก ส่วนฮ่องกงก็เริ่มมาจับธุรกิจประเภทนี้เช่นกัน สำหรับแผนการตลาดในช่วง 4 เดือนที่เหลือ บริษัทเน้นคอนเซปต์แหวนสองวงราคาเดียว โดยจากราคาปกติ 70,000 บาท เหลือเพียง 39,800 บาท เพื่อกระตุ้นยอดขายในช่วงโค้งสุดท้าย ซึ่งทั้งปีบริษัทตั้งเป้ามีการเติบโต 20% สำหรับผลประกอบการในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมานี้ บริษัทมีการเติบโต 5% ต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้ เมื่อเทียบปีที่ผ่านมาเติบโต 20%
ปลายปีนี้คาดว่าตลาดอัญมณีและเครื่องประดับจะมีความคึกคักมากขึ้น เพราะมีปัจจัยบวกจากการเลือกตั้ง มีเงินสะพัดผ่านเข้ามาในระบบ ประกอบกับเป็นช่วงไฮซีซั่นหรือเทศกาลเฉลิมฉลองส่งท้ายปลายปี คาดว่าคนไทยคงจะออกมาจับจ่ายใช้สอย นายคงเดช กล่าวว่า
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000146103
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 10 ธันวาคม 2550 16:28 น.
ตลาดอัญมณีเครื่องประดับทั้งในและต่างประเทศยอดวูบ ปัจจัยลบรุมเร้า ยูบิลลี่ หวังปลายปีตลาดกลับมาคึกคักรับไฮซีซั่น ล่าสุดอัดสงครามราคา ส่งแหวนสองวงราคาเดียว หั่นราคาเกือบครึ่ง คาดดันยอดขายสิ้นปีโต 20% เข้าเป้า
นายบุญกิต จิตรงามปลั่ง ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ เปิดเผยกับผู้จัดการรายวันว่า การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้มีการเติบโต 1% และคาดว่าทั้งปีนี้การส่งออกจะเติบโตไม่เกิน 10% ทั้งนี้เป็นเพราะได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ส่งผลให้ยอดขายลดลง 10% อย่างไรก็ตามแม้ว่าค่าเงินบาทจะอ่อนลง แต่ภาพรวมของธุรกิจส่งออกยังค่อนข้างอันตราย เนื่องจากเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาค่อนข้างประสบปัญหา อีกทั้งยังมีปัจจัยลบภายในประเทศ จากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่ชะลอตัวลง พฤติกรรมของคนไทยมีความระมัดระวังในการจับจ่ายใช้สอย
นายคงเดช โอฬารรติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูบิลลี่ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจจำหน่ายเพชรและเครื่องประดับเพชร ภายใต้ชื่อ เพชรยูบิลลี่ เปิดเผยกับผู้จัดการรายวันว่า ภาพรวมตลาดอัญมณีและเครื่องประดับในปีนี้คาดว่าจะหดตัวลง 10-15% เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่หดตัวลง ซึ่งเป็นสภาพเดียวที่เกิดขึ้นกับช่วงวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 แต่ปีนี้สภาพตลาดค่อยๆ ซึมมากกว่า ทั้งนี้พบว่ากลุ่มอัญมณีและเครื่องประดับที่ได้รับผลกระทบ คือ สินค้าระดับราคา 2 หมื่นบาท เพราะมีกลุ่มเป้าหมายวัยทำงาน ส่วนสินค้าราคาระดับ 5 หมื่นบาทกระทั่งถึงแสนบาทไม่ได้รับผลกระทบ
ขณะเดียวกันด้านการส่งออก ขณะนี้ประเทศไทยมีคู่แข่งสำคัญอย่างจีน โดยเฉพาะอินเดียซึ่งก่อนหน้านี้เน้นแต่การส่งออกวัตถุดิบ แต่ล่าสุดหันมาผลิตอัญมณีและเครื่องประดับส่งออก ส่วนฮ่องกงก็เริ่มมาจับธุรกิจประเภทนี้เช่นกัน สำหรับแผนการตลาดในช่วง 4 เดือนที่เหลือ บริษัทเน้นคอนเซปต์แหวนสองวงราคาเดียว โดยจากราคาปกติ 70,000 บาท เหลือเพียง 39,800 บาท เพื่อกระตุ้นยอดขายในช่วงโค้งสุดท้าย ซึ่งทั้งปีบริษัทตั้งเป้ามีการเติบโต 20% สำหรับผลประกอบการในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมานี้ บริษัทมีการเติบโต 5% ต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้ เมื่อเทียบปีที่ผ่านมาเติบโต 20%
ปลายปีนี้คาดว่าตลาดอัญมณีและเครื่องประดับจะมีความคึกคักมากขึ้น เพราะมีปัจจัยบวกจากการเลือกตั้ง มีเงินสะพัดผ่านเข้ามาในระบบ ประกอบกับเป็นช่วงไฮซีซั่นหรือเทศกาลเฉลิมฉลองส่งท้ายปลายปี คาดว่าคนไทยคงจะออกมาจับจ่ายใช้สอย นายคงเดช กล่าวว่า
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000146103
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news27/12/07
โพสต์ที่ 65
"ส.อัญมณี"ขู่เปลี่ยนผู้จัดงานป่วนแน่ "สอ."ถอดใจยอมคืนงานบางกอกเจมส์
กรมส่งเสริมการส่งออกเปลี่ยนใจนาทีสุดท้าย หลังถูกนายกสมาคมผู้ค้าอัญมณีฯ "วิชัย อัศรัสกร" ร่ายมนตร์ชี้แจงข้อดีข้อเสีย หากกรมจะขอคืนงานบางกอกเจมส์กลับไปจัดเอง สุดท้ายชั่งน้ำหนักเสียมากกว่าได้ จึงตัดสินใจยอมให้สมาคมกลับเข้ามา บริหารจัดงานบางกอกเจมส์ ครั้งที่ 41 ต่อ ขณะที่สมาคมประกาศวาระเร่งด่วนแก้ไขข้อบังคับที่สมาชิกเห็นว่าไม่โปร่งใสทันที
ในที่สุดสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ โดยนายวิชัย อัศรัสกร นายกสมาคมก็สามารถช่วงชิงงานบางกอกเจมส์ (Bangkok Gems & Jewelry Fair) ครั้งที่ 41 กลับคืนมาได้หลังจากที่กรมส่งเสริมการส่งออกในฐานะ "เจ้า ของงาน" ตัวจริงได้แสดงเจตนารมณ์ด้วยการทำหนังสือถึงสมาคมขอคืนงานบางกอกเจมส์กลับมาบริหารเอง โดยให้เหตุผลว่าที่ผ่านมาสมาคมเกิดความวุ่นวายในการเลือกตั้ง กรรมการบริหารสมาคมชุดใหม่จึงอยากให้สมาชิกสมาคมเคลียร์ปัญหาภายในให้เสร็จเรียบร้อยเสียก่อน
ล่าสุดนายวิชัย อัศรัสกร นายกสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ กล่าวกับ "ประชา ชาติธุรกิจ" ว่า หลังจากที่สมาคมได้มีโอกาสเข้าไปชี้แจงกับกระทรวงพาณิชย์ และกรมส่งเสริมการ ส่งออกถึงปัญหาอุปสรรคที่ "อาจจะ" เกิดขึ้นหากเกิดการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารจัดงานบางกอกเจมส์อย่างกะทันหัน
ปรากฏทั้ง 2 หน่วยงานยอมรับว่าทางสมาคมมีความพร้อมในการบริหารการจัดงานบางกอกเจมส์ในภาวะปัจจุบันมากกว่า ดังนั้นกรมส่งเสริมการ ส่งออกจึงเปิดโอกาสให้สมาคมเป็นผู้บริหารงานแสดงสินค้าบางกอกเจมส์เดือนกุมภาพันธ์ 2551 ครั้งที่ 41 ต่อไปก่อน
สำหรับความวุ่นวายในสมาคมที่เกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้นั้น ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงาน เข้ามาว่า นายพรชัย ชื่นชมลดา อดีตนายกสมาคมคนที่ผ่านมาได้ทำหนังสือมายังกรมส่งเสริมการ ส่งออกในเดือนกันยายนเพื่อ "ขอคืนอำนาจ" ใน การจัดงานบางกอกเจมส์กลับมายังกรมส่งเสริมการส่งออก โดยให้เหตุผลว่าสมาคมกำลังเกิดความวุ่นวายและมีความขัดแย้งภายในอย่างรุนแรง เกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อการจัดงานบางกอกเจมส์ ครั้งที่ 41
ทั้งนี้ ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในสมาคมส่งผล มาจากศาลอุทธรณ์ ได้มีคำพิพากษาตามคำฟ้องของบริษัทเจียรพุฒิเจมส์ แฟคตอรี่ ยื่นฟ้อง สมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับไว้กับศาลแพ่ง เพื่อขอให้ศาลสั่งเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญสมาคมครั้งที่ 1/2548 ในคราวการเลือกตั้งกรรมการบริหารสมาคมชุดของนายพรชัย ชื่นชมลดา นายกสมาคมในขณะนั้นเนื่องจากมีการดำเนินการเลือกตั้งที่ไม่โปร่งใสและผิดข้อบังคับของสมาคม
ผลปรากฏว่านายพรชัย ชื่นชมลดา ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่จะหมดวาระการดำรงตำแหน่งนายกสมาคมในเดือนตุลาคม 2550 ได้ประนีประนอมยอมความกับบริษัทเจียรพุฒิเจมส์ฯ โดยยอมรับว่าการเลือกตั้งกรรมการบริหาร สมาคมชุดของตนในอดีตนั้น "มีการกระทำที่ขัดกับข้อบังคับของสมาคม" ส่งผลให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาในวันที่ 24 ตุลาคม 2550 สั่งเพิกถอนมติการเลือกตั้งนายกสมาคมในปี 2548
"เมื่อกรรมการบริหารสมาคมชุดของนายพรชัย (ปี 2548) ถูกคำสั่งศาลให้เพิกถอนไปแล้วจึงส่ง ผลกระทบให้การเลือกตั้งกรรมการบริหารสมาคมชุดปัจจุบันที่มีนายวิชัย อัศรัสกร อาจจะกลายเป็นโมฆะไปด้วย เรื่องที่เกิดขึ้นมาจึงกลายเป็นการ ชิงไหวชิงพริบระหว่างสมาชิกสมาคม 2 กลุ่ม สุดท้ายนายวิชัยจึงได้ยื่นขอคุ้มครองฉุกเฉินชั่ว คราวต่อศาลฎีกาให้ระงับการเปลี่ยนแปลงราย ชื่อคณะกรรมการบริหารสมาคมชุดปัจจุบันไว้ก่อน"
พร้อมกันนั้นนายวิชัย อัศรัสกร นายกสมาคม ได้เข้าชี้แจงเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับกรมส่งเสริมการส่งออก และยืนยัน "ความพร้อม" ในการจัดงานบางกอกเจมส์ รวมทั้งผลเสียหากกรมส่งเสริมการส่งออกยังยืนยันที่จะจัดงานเอง สุดท้ายกรมจึงตัดสินใจคืนงานบางกอกเจมส์กลับมาให้สมาคมบริหารงานอีกครั้งหนึ่ง
สำหรับนโยบายเร่งด่วนของสมาคมในปี 2551 นั้น นายวิชัยกล่าวว่า จะเร่งสร้างความสมานฉันท์และความเข้มแข็งในหมู่สมาชิก โดยจะมุ่งแก้ไขข้อบังคับที่เป็นปมปัญหาความขัดแย้งภายในสมาคมช่วงระยะ 8 ปีของการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสมาคมที่ถูกมองว่า "ไม่โปร่งใส"
นอกจากนี้ ทางสมาคมมีนโยบายจัดตั้งคณะกรรมการกลั่นกรอง ขึ้นมาชุดหนึ่งประกอบด้วย รองอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก อดีตนายกสมาคม และคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ อีกหลายท่าน เพื่อพิจารณาวางระเบียบกฎเกณฑ์ในการอนุมัติและเบิกจ่ายเงิน
ฉะนั้นโครงการต่างๆ ของสมาคมในอนาคตจะต้องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองก่อนจะเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการของสมาคมตามลำดับ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจนโปร่งใสในการจัดซื้อ จัดจ้าง การประมูลต่างๆ ของสมาคมในอนาคต
http://matichon.co.th/prachachat/pracha ... ionid=0203
กรมส่งเสริมการส่งออกเปลี่ยนใจนาทีสุดท้าย หลังถูกนายกสมาคมผู้ค้าอัญมณีฯ "วิชัย อัศรัสกร" ร่ายมนตร์ชี้แจงข้อดีข้อเสีย หากกรมจะขอคืนงานบางกอกเจมส์กลับไปจัดเอง สุดท้ายชั่งน้ำหนักเสียมากกว่าได้ จึงตัดสินใจยอมให้สมาคมกลับเข้ามา บริหารจัดงานบางกอกเจมส์ ครั้งที่ 41 ต่อ ขณะที่สมาคมประกาศวาระเร่งด่วนแก้ไขข้อบังคับที่สมาชิกเห็นว่าไม่โปร่งใสทันที
ในที่สุดสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ โดยนายวิชัย อัศรัสกร นายกสมาคมก็สามารถช่วงชิงงานบางกอกเจมส์ (Bangkok Gems & Jewelry Fair) ครั้งที่ 41 กลับคืนมาได้หลังจากที่กรมส่งเสริมการส่งออกในฐานะ "เจ้า ของงาน" ตัวจริงได้แสดงเจตนารมณ์ด้วยการทำหนังสือถึงสมาคมขอคืนงานบางกอกเจมส์กลับมาบริหารเอง โดยให้เหตุผลว่าที่ผ่านมาสมาคมเกิดความวุ่นวายในการเลือกตั้ง กรรมการบริหารสมาคมชุดใหม่จึงอยากให้สมาชิกสมาคมเคลียร์ปัญหาภายในให้เสร็จเรียบร้อยเสียก่อน
ล่าสุดนายวิชัย อัศรัสกร นายกสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ กล่าวกับ "ประชา ชาติธุรกิจ" ว่า หลังจากที่สมาคมได้มีโอกาสเข้าไปชี้แจงกับกระทรวงพาณิชย์ และกรมส่งเสริมการ ส่งออกถึงปัญหาอุปสรรคที่ "อาจจะ" เกิดขึ้นหากเกิดการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารจัดงานบางกอกเจมส์อย่างกะทันหัน
ปรากฏทั้ง 2 หน่วยงานยอมรับว่าทางสมาคมมีความพร้อมในการบริหารการจัดงานบางกอกเจมส์ในภาวะปัจจุบันมากกว่า ดังนั้นกรมส่งเสริมการ ส่งออกจึงเปิดโอกาสให้สมาคมเป็นผู้บริหารงานแสดงสินค้าบางกอกเจมส์เดือนกุมภาพันธ์ 2551 ครั้งที่ 41 ต่อไปก่อน
สำหรับความวุ่นวายในสมาคมที่เกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้นั้น ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงาน เข้ามาว่า นายพรชัย ชื่นชมลดา อดีตนายกสมาคมคนที่ผ่านมาได้ทำหนังสือมายังกรมส่งเสริมการ ส่งออกในเดือนกันยายนเพื่อ "ขอคืนอำนาจ" ใน การจัดงานบางกอกเจมส์กลับมายังกรมส่งเสริมการส่งออก โดยให้เหตุผลว่าสมาคมกำลังเกิดความวุ่นวายและมีความขัดแย้งภายในอย่างรุนแรง เกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อการจัดงานบางกอกเจมส์ ครั้งที่ 41
ทั้งนี้ ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในสมาคมส่งผล มาจากศาลอุทธรณ์ ได้มีคำพิพากษาตามคำฟ้องของบริษัทเจียรพุฒิเจมส์ แฟคตอรี่ ยื่นฟ้อง สมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับไว้กับศาลแพ่ง เพื่อขอให้ศาลสั่งเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญสมาคมครั้งที่ 1/2548 ในคราวการเลือกตั้งกรรมการบริหารสมาคมชุดของนายพรชัย ชื่นชมลดา นายกสมาคมในขณะนั้นเนื่องจากมีการดำเนินการเลือกตั้งที่ไม่โปร่งใสและผิดข้อบังคับของสมาคม
ผลปรากฏว่านายพรชัย ชื่นชมลดา ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่จะหมดวาระการดำรงตำแหน่งนายกสมาคมในเดือนตุลาคม 2550 ได้ประนีประนอมยอมความกับบริษัทเจียรพุฒิเจมส์ฯ โดยยอมรับว่าการเลือกตั้งกรรมการบริหาร สมาคมชุดของตนในอดีตนั้น "มีการกระทำที่ขัดกับข้อบังคับของสมาคม" ส่งผลให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาในวันที่ 24 ตุลาคม 2550 สั่งเพิกถอนมติการเลือกตั้งนายกสมาคมในปี 2548
"เมื่อกรรมการบริหารสมาคมชุดของนายพรชัย (ปี 2548) ถูกคำสั่งศาลให้เพิกถอนไปแล้วจึงส่ง ผลกระทบให้การเลือกตั้งกรรมการบริหารสมาคมชุดปัจจุบันที่มีนายวิชัย อัศรัสกร อาจจะกลายเป็นโมฆะไปด้วย เรื่องที่เกิดขึ้นมาจึงกลายเป็นการ ชิงไหวชิงพริบระหว่างสมาชิกสมาคม 2 กลุ่ม สุดท้ายนายวิชัยจึงได้ยื่นขอคุ้มครองฉุกเฉินชั่ว คราวต่อศาลฎีกาให้ระงับการเปลี่ยนแปลงราย ชื่อคณะกรรมการบริหารสมาคมชุดปัจจุบันไว้ก่อน"
พร้อมกันนั้นนายวิชัย อัศรัสกร นายกสมาคม ได้เข้าชี้แจงเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับกรมส่งเสริมการส่งออก และยืนยัน "ความพร้อม" ในการจัดงานบางกอกเจมส์ รวมทั้งผลเสียหากกรมส่งเสริมการส่งออกยังยืนยันที่จะจัดงานเอง สุดท้ายกรมจึงตัดสินใจคืนงานบางกอกเจมส์กลับมาให้สมาคมบริหารงานอีกครั้งหนึ่ง
สำหรับนโยบายเร่งด่วนของสมาคมในปี 2551 นั้น นายวิชัยกล่าวว่า จะเร่งสร้างความสมานฉันท์และความเข้มแข็งในหมู่สมาชิก โดยจะมุ่งแก้ไขข้อบังคับที่เป็นปมปัญหาความขัดแย้งภายในสมาคมช่วงระยะ 8 ปีของการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสมาคมที่ถูกมองว่า "ไม่โปร่งใส"
นอกจากนี้ ทางสมาคมมีนโยบายจัดตั้งคณะกรรมการกลั่นกรอง ขึ้นมาชุดหนึ่งประกอบด้วย รองอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก อดีตนายกสมาคม และคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ อีกหลายท่าน เพื่อพิจารณาวางระเบียบกฎเกณฑ์ในการอนุมัติและเบิกจ่ายเงิน
ฉะนั้นโครงการต่างๆ ของสมาคมในอนาคตจะต้องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองก่อนจะเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการของสมาคมตามลำดับ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจนโปร่งใสในการจัดซื้อ จัดจ้าง การประมูลต่างๆ ของสมาคมในอนาคต
http://matichon.co.th/prachachat/pracha ... ionid=0203
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news27/12/07
โพสต์ที่ 66
ปัญหา "ซับไพรม" ลามไม่หยุด ส.อัญมณีแนะประกันความเสี่ยง
นอกจากปัญหาภายในสมาคมแล้ว ล่าสุดสมาคมอัญมณีได้ส่งสัญญาณเตือนถึงสมาชิกให้เตรียมรับมือปัญหาซับไพรมที่คาดว่า จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของสหรัฐอย่างรุนแรงในช่วงไตรมาสแรกปี 2551 นายวารินทร์ อัสสมงคล กรรมการผู้จัดการ บริษัท โนเวลล์ ครีเอชั่น จำกัด ในฐานะเลขาธิการสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับจึงได้ส่งสัญญาณเตือนให้สมาชิกจัดทำ "ระบบประกันความเสี่ยง" กรณีลูกค้าเบี้ยวไม่จ่ายเงินควบคู่ไปกับการประกันความเสี่ยงค่าเงินกับเอ็กซิมแบงก์ เพื่อลดความเสี่ยงที่เกิดจากวิกฤตซับไพรมในปีหน้า
ทั้งนี้ ปัญหาซับไพรมในตลาดสหรัฐเริ่มส่งสัญญาณที่น่าเป็นห่วงมาตั้งแต่ช่วงกลางปี 2550 สังเกตได้จากยอดส่งออกสินค้าอัญมณีเครื่องประดับของไทยในช่วง 10 เดือนแรก (มกราคม-ตุลาคม) ของปี 2550 เติบโตแค่ 2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากปัญหาซับไพรมส่งผลกระทบต่อชาวอเมริกันกลุ่มผู้มีรายได้น้อย จึงทำให้ยอดขายสินค้าเครื่องทองประดับอัญมณีคุณภาพระดับล่างที่มีมูลค่ายอดขายต่อชิ้นเฉลี่ย 30-120 เหรียญสหรัฐตกอยู่ในภาวะชะลอตัว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่นำเข้ามาจากประเทศอินเดียและจีน
"ตั้งแต่ช่วงกลางปี 2550 ไทยถูกสหรัฐตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) สินค้าเครื่องประดับทองคุณภาพระดับล่าง ทำให้สินค้าส่งเข้าไปจำหน่ายในตลาดสหรัฐต้องเสียภาษีนำเข้า 6% ส่งผลให้ไทยหมดโอกาสในการส่งออกสินค้าในกลุ่มนี้ โดยตลาดที่เหลืออยู่ของไทย ได้แก่ สินค้าเครื่องประดับทองคุณภาพ ระดับปานกลางที่มีมูลค่ายอดขายต่อชิ้นเฉลี่ย 120-400 เหรียญสหรัฐ กับสินค้าเครื่องประดับทองคุณภาพระดับสูงที่มีมูลค่าตั้งแต่ 400 เหรียญสหรัฐขึ้นไป" นายวารินทร์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้สมาคมก็ยังไม่สามารถระบุได้ว่าสินค้าเครื่องประดับทองทั้ง 2 กลุ่มของไทยที่ยังพอมีโอกาสในตลาดสหรัฐ เริ่มได้รับผลกระทบจากปัญหาซับไพรมแล้วหรือยัง ในประเด็นนี้คงต้องรอให้ร้านค้าอัญมณีในตลาดสหรัฐสรุปตัวเลขยอดขายและชำระเงินค่า สินค้าที่จำหน่ายในช่วงเทศกาลคริสต์มาสและ ปีใหม่ ภายในช่วงเดือนมกราคม 2551 กลับมาก่อน
"เราจึงจะสามารถสรุปผลกระทบจาก ซับไพรมที่ชัดเจนออกมาได้" นายวารินทร์กล่าว
ด้าน นายวิชัย อัศรัสกร นายกสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับโดยรวมของไทยในปี 2550 อยู่ที่ 1.7 แสนล้านบาท โดยมีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2549 ประมาณ 20% อย่างไรก็ตามหากประเมินจากสถิติปริมาณการใช้สินค้าอัญมณีทั่วโลกในปีนี้เชื่อว่า ตลาดการส่งออกของไทยในปีหน้ายังมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ไทยมีปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกหลายประการ เช่น ภาวะเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอจากผลกระทบปัญหาซับไพรม ปัญหาค่าเงินบาทแข็งกรณีไทยถูกตัดสิทธิ GSP ฯลฯ โดยใน ปีหน้าทางสมาคมมุ่งเน้นการขยายตลาดส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทยในกลุ่มตลาดใหม่ เช่น อินเดีย จีน ตะวันออกกลาง ยุโรปตะวันออก ฯลฯ ส่วนยอดขายในสหรัฐ-สหภาพยุโรป-ญี่ปุ่นซึ่งเป็นกลุ่มตลาดหลัก "คงจะไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก"
http://matichon.co.th/prachachat/pracha ... ionid=0203
นอกจากปัญหาภายในสมาคมแล้ว ล่าสุดสมาคมอัญมณีได้ส่งสัญญาณเตือนถึงสมาชิกให้เตรียมรับมือปัญหาซับไพรมที่คาดว่า จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของสหรัฐอย่างรุนแรงในช่วงไตรมาสแรกปี 2551 นายวารินทร์ อัสสมงคล กรรมการผู้จัดการ บริษัท โนเวลล์ ครีเอชั่น จำกัด ในฐานะเลขาธิการสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับจึงได้ส่งสัญญาณเตือนให้สมาชิกจัดทำ "ระบบประกันความเสี่ยง" กรณีลูกค้าเบี้ยวไม่จ่ายเงินควบคู่ไปกับการประกันความเสี่ยงค่าเงินกับเอ็กซิมแบงก์ เพื่อลดความเสี่ยงที่เกิดจากวิกฤตซับไพรมในปีหน้า
ทั้งนี้ ปัญหาซับไพรมในตลาดสหรัฐเริ่มส่งสัญญาณที่น่าเป็นห่วงมาตั้งแต่ช่วงกลางปี 2550 สังเกตได้จากยอดส่งออกสินค้าอัญมณีเครื่องประดับของไทยในช่วง 10 เดือนแรก (มกราคม-ตุลาคม) ของปี 2550 เติบโตแค่ 2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากปัญหาซับไพรมส่งผลกระทบต่อชาวอเมริกันกลุ่มผู้มีรายได้น้อย จึงทำให้ยอดขายสินค้าเครื่องทองประดับอัญมณีคุณภาพระดับล่างที่มีมูลค่ายอดขายต่อชิ้นเฉลี่ย 30-120 เหรียญสหรัฐตกอยู่ในภาวะชะลอตัว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่นำเข้ามาจากประเทศอินเดียและจีน
"ตั้งแต่ช่วงกลางปี 2550 ไทยถูกสหรัฐตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) สินค้าเครื่องประดับทองคุณภาพระดับล่าง ทำให้สินค้าส่งเข้าไปจำหน่ายในตลาดสหรัฐต้องเสียภาษีนำเข้า 6% ส่งผลให้ไทยหมดโอกาสในการส่งออกสินค้าในกลุ่มนี้ โดยตลาดที่เหลืออยู่ของไทย ได้แก่ สินค้าเครื่องประดับทองคุณภาพ ระดับปานกลางที่มีมูลค่ายอดขายต่อชิ้นเฉลี่ย 120-400 เหรียญสหรัฐ กับสินค้าเครื่องประดับทองคุณภาพระดับสูงที่มีมูลค่าตั้งแต่ 400 เหรียญสหรัฐขึ้นไป" นายวารินทร์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้สมาคมก็ยังไม่สามารถระบุได้ว่าสินค้าเครื่องประดับทองทั้ง 2 กลุ่มของไทยที่ยังพอมีโอกาสในตลาดสหรัฐ เริ่มได้รับผลกระทบจากปัญหาซับไพรมแล้วหรือยัง ในประเด็นนี้คงต้องรอให้ร้านค้าอัญมณีในตลาดสหรัฐสรุปตัวเลขยอดขายและชำระเงินค่า สินค้าที่จำหน่ายในช่วงเทศกาลคริสต์มาสและ ปีใหม่ ภายในช่วงเดือนมกราคม 2551 กลับมาก่อน
"เราจึงจะสามารถสรุปผลกระทบจาก ซับไพรมที่ชัดเจนออกมาได้" นายวารินทร์กล่าว
ด้าน นายวิชัย อัศรัสกร นายกสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับโดยรวมของไทยในปี 2550 อยู่ที่ 1.7 แสนล้านบาท โดยมีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2549 ประมาณ 20% อย่างไรก็ตามหากประเมินจากสถิติปริมาณการใช้สินค้าอัญมณีทั่วโลกในปีนี้เชื่อว่า ตลาดการส่งออกของไทยในปีหน้ายังมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ไทยมีปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกหลายประการ เช่น ภาวะเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอจากผลกระทบปัญหาซับไพรม ปัญหาค่าเงินบาทแข็งกรณีไทยถูกตัดสิทธิ GSP ฯลฯ โดยใน ปีหน้าทางสมาคมมุ่งเน้นการขยายตลาดส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทยในกลุ่มตลาดใหม่ เช่น อินเดีย จีน ตะวันออกกลาง ยุโรปตะวันออก ฯลฯ ส่วนยอดขายในสหรัฐ-สหภาพยุโรป-ญี่ปุ่นซึ่งเป็นกลุ่มตลาดหลัก "คงจะไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก"
http://matichon.co.th/prachachat/pracha ... ionid=0203
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news14/01/08
โพสต์ที่ 67
บีโอไออนุมัติลัคกี้ฯ ขยายลงทุน190ล.
โพสต์ทูเดย์ บีโอไอ อนุมัติส่งเสริมการลงทุนบริษัท ลัคกี้ สปินนิ่ง 190 ล้านบาท ขยายผลิตเส้นด้ายคุณภาพสูงส่งออก
นางหิรัญญา สุจินัย ที่ปรึกษาด้านการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า คณะอนุกรรมการพิจารณาโครงการส่งเสริมการลงทุนได้อนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนแก่บริษัท ลัคกี้ สปินนิ่ง ในการขยายกิจการผลิตเส้นด้าย ปีละประมาณ 1.13 ล้านกิโลกรัม ใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 190 ล้านบาท ตั้งโรงงานอยู่ใน จ.สิงห์บุรี
สำหรับการขยายกิจการครั้งนี้จะเป็นการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดจากประเทศญี่ปุ่นมาพัฒนารูปแบบการปั่นด้าย ซึ่งจะทำให้เส้นด้ายมีคุณสมบัติที่มีความนุ่มและเส้นใยเรียบกว่าเส้นด้ายทั่วไป คาดจะทำให้เกิดการใช้วัตถุดิบในประเทศ เช่น เส้นใยชนิดต่างๆ เช่น คอตตอน ไนลอน มูลค่ากว่าปีละ 65 ล้านบาท
สำหรับบริษัท ลัคกี้ สปินนิ่ง ได้รับส่งเสริมการลงทุนในกิจการผลิตเส้นด้ายตั้งแต่ปี 2545 มีกำลังการผลิตปีละ 26,012,000 กิโลกรัม และมีบริษัทในเครือซึ่งเป็นผู้ผลิต เสื้อผ้าสำเร็จรูปในประเทศไทย กำลังผลิตปีละ 9.8 แสนชิ้น ใน จ.ปทุมธานีด้วย
รายงานข่าวจากบีโอไอ แจ้งว่า ในปี 2550 มียอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ (เอฟดีไอ) มูลค่าถึง 5.02 แสนล้านบาท จากมูลค่าขอรับการส่งเสริมการลงทุน 6.55 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 63% เทียบกับปีก่อน
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=214440
โพสต์ทูเดย์ บีโอไอ อนุมัติส่งเสริมการลงทุนบริษัท ลัคกี้ สปินนิ่ง 190 ล้านบาท ขยายผลิตเส้นด้ายคุณภาพสูงส่งออก
นางหิรัญญา สุจินัย ที่ปรึกษาด้านการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า คณะอนุกรรมการพิจารณาโครงการส่งเสริมการลงทุนได้อนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนแก่บริษัท ลัคกี้ สปินนิ่ง ในการขยายกิจการผลิตเส้นด้าย ปีละประมาณ 1.13 ล้านกิโลกรัม ใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 190 ล้านบาท ตั้งโรงงานอยู่ใน จ.สิงห์บุรี
สำหรับการขยายกิจการครั้งนี้จะเป็นการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดจากประเทศญี่ปุ่นมาพัฒนารูปแบบการปั่นด้าย ซึ่งจะทำให้เส้นด้ายมีคุณสมบัติที่มีความนุ่มและเส้นใยเรียบกว่าเส้นด้ายทั่วไป คาดจะทำให้เกิดการใช้วัตถุดิบในประเทศ เช่น เส้นใยชนิดต่างๆ เช่น คอตตอน ไนลอน มูลค่ากว่าปีละ 65 ล้านบาท
สำหรับบริษัท ลัคกี้ สปินนิ่ง ได้รับส่งเสริมการลงทุนในกิจการผลิตเส้นด้ายตั้งแต่ปี 2545 มีกำลังการผลิตปีละ 26,012,000 กิโลกรัม และมีบริษัทในเครือซึ่งเป็นผู้ผลิต เสื้อผ้าสำเร็จรูปในประเทศไทย กำลังผลิตปีละ 9.8 แสนชิ้น ใน จ.ปทุมธานีด้วย
รายงานข่าวจากบีโอไอ แจ้งว่า ในปี 2550 มียอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ (เอฟดีไอ) มูลค่าถึง 5.02 แสนล้านบาท จากมูลค่าขอรับการส่งเสริมการลงทุน 6.55 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 63% เทียบกับปีก่อน
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=214440
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news14/01/08
โพสต์ที่ 68
เคหะสิ่งทอไทยในตลาดสหรัฐฯปี51 ส่งออกมีปัจจัยเสี่ยง
การส่งออกเคหะสิ่งทอของไทยไปยังตลาดสหรัฐฯในปี 2551 คาดว่านอกจากถูกกระทบจากปัญหาเงินบาทของไทยที่ยังคงแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งยังต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่ชะลอตัวอันเป็นผลจากปัญหาสินเชื่อภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯที่ส่งผลกระทบรุนแรงกว่าที่คาดไว้
ทั้งนี้การส่งออกเคหะสิ่งทอไปยังตลาดสหรัฐฯที่ชะลอตัวลงจะส่งผลกระทบต่อภาพรวมการส่งออกเคหะสิ่งทอของไทยด้วยเช่นเดียวกัน เพราะสหรัฐฯเป็นตลาดส่งออกเคหะสิ่งทอสำคัญคิดเป็นสัดส่วนที่สูง ดังนั้นผู้ประกอบการจึงต้องเตรียมมาตรการรองรับผลกระทบ โดยเฉพาะการกระจายตลาดส่งออกเพื่อกระจายความเสี่ยงจากการพึ่งพาตลาดสหรัฐฯจึงนับเป็นทางเลือกที่ผู้ประกอบการเคหะสิ่งทอของไทยควรนำมาใช้ในปี 2551
อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญก็คือผู้ประกอบการจำเป็นต้องยกระดับคุณภาพสินค้าให้เพิ่มสูงขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการแข่งขันด้านราคากับประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ำจึงจะช่วยให้เคหะสิ่งทอของไทยมีบทบาทในตลาดโลกอย่างมีศักยภาพได้ต่อไปในระยะยาว
การส่งออกเคหะสิ่งทอของไทยอันประกอบไปด้วยสินค้าหลากหลายประเภทที่ใช้ตกแต่งอาคารบ้านเรือน ที่พักอาศัยทั้งในห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องครัว อาทิ เช่น ผ้าปูที่นอน หมอน ผ้าคลุมเตียง ผ้าม่าน ผ้าปูโต๊ะ พรมตกแต่งผนัง พรมปูพื้นไปยังตลาดสหรัฐฯในช่วง 10 ปีนับตั้งแต่ปี 2540-2549 เติบโตเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 16.3 ต่อปี แต่มาในปี 2550 คาดว่ามูลค่าการส่งออกจะชะลอตัวลงโดยมีการเติบโตเพียงประมาณร้อยละ 2.4 ในขณะที่ ปี 2551 คาดว่ามูลค่าการส่งออกจะยังคงมีแนวโน้มชะลอตัวลงต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ส่วนหนึ่งนอกจากเกิดจากปัญหาเงินบาทของไทยที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้คู่แข่งที่สำคัญอย่างจีน อินเดีย ปากีสถาน ก้าวขึ้นมามีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในตลาดเคหะสิ่งทอของสหรัฐฯและที่สำคัญคือปัญหากำลังซื้อของภาคประชาชนสหรัฐฯที่ถูกกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ รวมทั้งการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯทำให้การจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคชาวสหรัฐฯเป็นไปในทิศทางที่ประหยัดค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายด้านการตกแต่งอาคารที่พักอาศัย ซึ่งปัจจัยดังกล่าวนับว่าส่งผลกระทบต่อภาพรวมการส่งออกเคหะสิ่งทอของไทยอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง เนื่องจากสหรัฐฯ นับเป็นตลาดส่งออกเคหะสิ่งทอที่สำคัญรายใหญ่อันดับหนึ่งของไทย คิดเป็นสัดส่วนสูงถึงประมาณร้อยละ 38 ของมูลค่าการส่งออกเคหะสิ่งทอทั้งหมดที่มีมูลค่าประมาณ 350 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ดังนั้น ผู้ส่งออกเคหะสิ่งทอของไทย ควรพิจารณาหาช่องทางกระจายตลาดส่งออกเคหะสิ่งทอไปยังตลาดอื่นๆ โดยเฉพาะตลาดที่มีจำนวนประชากรและกำลังซื้อสูง อาทิ สหภาพยุโรป รวมทั้งตลาดที่ไทยมีข้อตกลงทางการค้า อาทิ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และที่สำคัญ ได้แก่ จีนซึ่งนอกจากเศรษฐกิจจะมีการขยายตัวสูงจนส่งผลให้จำนวนคนชั้นกลางและสูงมีเพิ่มขึ้นแล้ว การเป็นเจ้าภาพจัดงานแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่จะเริ่มขึ้นในเดือนสิงหาคม 2551 ยังส่งผลให้จีนมีความต้องการเคหะสิ่งทอที่มีคุณภาพเพื่อใช้ตกแต่งอาคารโรงแรม ที่พักอาศัยรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเดินทางไปยังจีนเป็นจำนวนมากอีกด้วย
สำหรับสหรัฐอเมริกาแล้ว เป็นประเทศผู้นำเข้าสินค้าประเภทเคหะสิ่งทอรายใหญ่ของโลก ทั้งนี้จากข้อมูลของ United States International Trade Commission พบว่า สหรัฐฯมีการนำเข้าเคหะสิ่งทอจากทั่วโลกคิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ จาก 5,797.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2546 เพิ่มขึ้นมาเป็น 6,752.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐและ 7,977.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2547 และปี 2548 ในขณะที่ปี 2549 มูลค่านำเข้าเคหะสิ่งทอของสหรัฐฯเพิ่มขึ้นเป็น 8,718.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับในช่วง 10 เดือนแรกปี 2550 สหรัฐฯนำเข้าเคหะสิ่งทอคิดเป็นมูลค่า 7,553.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้เคหะสิ่งทอที่สหรัฐฯมีการนำเข้าในสัดส่วนที่สูงเรียงตามลำดับ ได้แก่ ผ้าใช้ในห้องนอน พรม ผ้าใช้ในห้องน้ำและห้องครัว ผ้าม่าน ผ้าห่ม และผ้าใช้บนโต๊ะอาหาร โดยเป็นที่น่าสังเกตว่า สหรัฐฯมีการนำเข้าเคหะสิ่งทอที่เน้นด้านคุณภาพจากประเทศในยุโรป ในขณะที่สินค้าที่มีคุณภาพปานกลางจะนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง รวมทั้งตุรกี และเม็กซิโก ส่วนสินค้าที่ต้องแข่งขันด้านราคาจะนำเข้าจากประเทศที่มีค่าจ้างแรงงานต่ำอาทิ จีน(ส่วนแบ่งประมาณร้อยละ 36.7 ของมูลค่านำเข้าเคหะสิ่งทอสหรัฐฯในปี 2550) อินเดีย(ส่วนแบ่งประมาณร้อยละ 24.6ของมูลค่านำเข้าเคหะสิ่งทอสหรัฐฯ) และปากีสถาน(ส่วนแบ่งประมาณร้อยละ 13.8 ของมูลค่านำเข้าเคหะสิ่งทอสหรัฐฯ) ในขณะที่ไทย มีส่วนแบ่งประมาณร้อยละ 1.3 ของมูลค่านำเข้าเคหะสิ่งทอสหรัฐฯ ทั้งนี้ แม้ว่า มูลค่าการส่งออกเคหะสิ่งทอของไทยไปยังตลาดสหรัฐฯจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ส่วนแบ่งตลาดกลับมีแนวโน้มลดลงกล่าวคือจากส่วนแบ่งตลาดประมาณร้อยละ 1.8 ในปี 2546 ลดลงมาเหลือร้อยละ 1.5 ในปี 2548 และร้อยละ 1.3 ในปี 2549 ทั้งนี้เพราะการผลิตเคหะสิ่งทอของไทยนอกจากจะผลิตสินค้าที่มีคุณภาพจับตลาดผู้มีรายได้ปานกลางถึงสูงแล้ว บางส่วนยังเน้นผลิตสินค้าที่แข่งขันด้านราคาซึ่งส่วนนี้ได้ถูกคู่แข่งแย่งตลาดไปค่อนข้างมาก
ทิศทางการส่งออกเคหะสิ่งทอของไทยไปตลาดสหรัฐฯ
เป็นที่น่าสังเกตว่า นับตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมาการส่งออกเคหะสิ่งทอของไทยไปยังตลาดสหรัฐฯขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาเป็นลำดับ โดยข้อมูลจากกรมศุลกากรพบว่า การส่งออกเคหะสิ่งทอของไทยไปยังตลาดสหรัฐฯจากที่มีมูลค่าเพียง 32 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2540 ปรับเพิ่มขึ้นมาเป็น 78.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2545 และ 122.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2549 หรือคิดเป็นอัตราการขยายตัวเฉลี่ยในช่วงปี 2540-2549 ประมาณร้อยละ 16.1 ต่อปี แต่อย่างไรก็ตาม การส่งออกเคหะสิ่งทอของไทยไปยังตลาดสหรัฐฯเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวในปี 2550 ซึ่งส่วนหนึ่งนอกจากเกิดจากปัญหาเงินบาทของไทยที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องจนส่งผลให้เคหะสิ่งทอของไทยสูญเสียศักยภาพการแข่งขันให้กับสินค้าจากประเทศที่มีต้นทุนต่ำจากจีน อินเดีย และปากีสถาน และที่สำคัญคือปัญหากำลังซื้อของภาคประชาชนสหรัฐฯที่ถูกกระทบจากวิกฤตสินเชื่อซับไพร์ม (Subprime Mortgages หรือ สินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ปล่อยให้แก่ลูกหนี้ที่มีความเสี่ยงสูง) ที่นำไปสู่การชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมทั้งการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวกระทบโดยตรงต่อความต้องการบริโภคสินค้าของภาคประชาชนโดยเฉพาะกำลังซื้อของสินค้าในกลุ่มเคหะสิ่งทอ น่าจะได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก ส่งผลให้มูลค่าส่งออกเคหะสิ่งทอของไทยไปตลาดสหรัฐฯปี 2550 มีประมาณ 125 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯขยายตัวเล็กน้อยร้อยละ 2.4
ในขณะที่ทิศทางการส่งออกเคหะสิ่งทอของไทยไปยังตลาดสหรัฐฯในปี 2551นอกเหนือจากปัจจัยด้านเงินบาทของไทยที่คาดว่าจะยังคงแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่(CONSENSUS) คาดว่าเงินบาทในปี 2551 จะมีค่าเฉลี่ยที่ประมาณ 32.60 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯเทียบกับเงินบาทในปี 2550 ที่มีค่าเฉลี่ยประมาณ 34.6 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้เคหะสิ่งทอไทยที่เน้นแข่งขันด้านราคาสูญเสียความสามารถด้านการแข่งขันให้กับเคหะสิ่งทอจากประเทศที่มีต้นทุนต่ำจากจีน อินเดีย และปากีสถานเพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกันปัญหาต่างๆที่สหรัฐฯเผชิญในปี 2550 โดยเฉพาะปัญหาการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯจะเริ่มส่งผลอย่างชัดเจนในปี 2551 ซึ่งผลกระทบจะขยายตัวไปสู่ภาคธุรกิจอื่นๆรวมทั้งภาคการจ้างงานที่มีแนวโน้มการว่างงานเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ภาคประชาชนหันมาออมเงินมากขึ้นและชะลอการบริโภค ซึ่งก็จะกระทบต่อมูลค่าการนำเข้าเคหะสิ่งทอของสหรัฐฯที่ชะลอตัวลงตามไปด้วย
ซึ่งจากปัจจัยดังกล่าว ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า จะกระทบต่อภาพรวมการส่งออกเคหะสิ่งทอของไทยในปี 2551 เป็นอย่างมาก เนื่องจากสหรัฐฯ ถือเป็นตลาดส่งออกเคหะสิ่งทอ รายใหญ่อันดับหนึ่งของไทยคิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 38 ของมูลค่าการส่งออกเคหะสิ่งทอทั้งหมดของไทย รองลงมา ได้แก่ ตลาดญี่ปุ่นคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13.9 ของมูลค่าการส่งออกเคหะสิ่งทอของไทย และออสเตรเลียคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.4 ของมูลค่าการส่งออกเคหะสิ่งทอของไทย โดยมูลค่าการส่งออกเคหะสิ่งทอรวมทั้งหมดของไทยในปี 2550 ที่ผ่านมามีมูลค่าประมาณ 330 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.4 สำหรับปี 2551 นี้เนื่องจากปัจจัยภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง โดยเฉพาะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ดังนั้นมูลค่าการส่งออกเคหะสิ่งทอโดยรวมของไทยในปี 2551 จึงน่าจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง โดยคาดว่าอัตราเติบโตมีประมาณร้อยละ 5-10 หรือคิดเป็นมูลค่าส่งออกประมาณ 347-363 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ทั้งนี้ผู้ประกอบการจะต้องพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพ รวมทั้งการออกแบบสินค้าที่มีความโดดเด่นหลากหลาย แตกต่างจากประเทศคู่แข่ง ทั้งนี้เพื่อเลี่ยงการแข่งขันในตลาดที่เน้นข้อได้เปรียบด้านต้นทุน และหันไปจับตลาดระดับกลางถึงบนของสหรัฐฯที่ให้ความสำคัญด้านคุณภาพสินค้าเป็นสำคัญ ซึ่งการแข่งขันยังไม่รุนแรงมากนัก ในขณะเดียวกัน ผู้ส่งออกเคหะสิ่งทอของไทยควรพิจารณาหันไปเจาะตลาดส่งออกอื่นๆที่มีศักยภาพ โดยอาศัยจุดเด่นของเคหะสิ่งทอไทยที่สำคัญ อันเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศอันได้แก่ คุณภาพสินค้า และการออกแบบลวดลายและสีสันสินค้าที่ทันสมัยตรงกับรสนิยมของแต่ละตลาด โดยตลาดที่เคหะสิ่งทอของไทยมีโอกาสขยายการส่งออกได้แก่ ตลาดที่ประชากรมีกำลังซื้อสูง รวมทั้งตลาดที่ไทยมีการทำข้อตกลงการค้า ซึ่งจะทำให้ไทยได้เปรียบทางด้านภาษี
http://www.settrade.com/S17_ContentDisp ... egoryId=16
การส่งออกเคหะสิ่งทอของไทยไปยังตลาดสหรัฐฯในปี 2551 คาดว่านอกจากถูกกระทบจากปัญหาเงินบาทของไทยที่ยังคงแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งยังต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่ชะลอตัวอันเป็นผลจากปัญหาสินเชื่อภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯที่ส่งผลกระทบรุนแรงกว่าที่คาดไว้
ทั้งนี้การส่งออกเคหะสิ่งทอไปยังตลาดสหรัฐฯที่ชะลอตัวลงจะส่งผลกระทบต่อภาพรวมการส่งออกเคหะสิ่งทอของไทยด้วยเช่นเดียวกัน เพราะสหรัฐฯเป็นตลาดส่งออกเคหะสิ่งทอสำคัญคิดเป็นสัดส่วนที่สูง ดังนั้นผู้ประกอบการจึงต้องเตรียมมาตรการรองรับผลกระทบ โดยเฉพาะการกระจายตลาดส่งออกเพื่อกระจายความเสี่ยงจากการพึ่งพาตลาดสหรัฐฯจึงนับเป็นทางเลือกที่ผู้ประกอบการเคหะสิ่งทอของไทยควรนำมาใช้ในปี 2551
อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญก็คือผู้ประกอบการจำเป็นต้องยกระดับคุณภาพสินค้าให้เพิ่มสูงขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการแข่งขันด้านราคากับประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ำจึงจะช่วยให้เคหะสิ่งทอของไทยมีบทบาทในตลาดโลกอย่างมีศักยภาพได้ต่อไปในระยะยาว
การส่งออกเคหะสิ่งทอของไทยอันประกอบไปด้วยสินค้าหลากหลายประเภทที่ใช้ตกแต่งอาคารบ้านเรือน ที่พักอาศัยทั้งในห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องครัว อาทิ เช่น ผ้าปูที่นอน หมอน ผ้าคลุมเตียง ผ้าม่าน ผ้าปูโต๊ะ พรมตกแต่งผนัง พรมปูพื้นไปยังตลาดสหรัฐฯในช่วง 10 ปีนับตั้งแต่ปี 2540-2549 เติบโตเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 16.3 ต่อปี แต่มาในปี 2550 คาดว่ามูลค่าการส่งออกจะชะลอตัวลงโดยมีการเติบโตเพียงประมาณร้อยละ 2.4 ในขณะที่ ปี 2551 คาดว่ามูลค่าการส่งออกจะยังคงมีแนวโน้มชะลอตัวลงต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ส่วนหนึ่งนอกจากเกิดจากปัญหาเงินบาทของไทยที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้คู่แข่งที่สำคัญอย่างจีน อินเดีย ปากีสถาน ก้าวขึ้นมามีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในตลาดเคหะสิ่งทอของสหรัฐฯและที่สำคัญคือปัญหากำลังซื้อของภาคประชาชนสหรัฐฯที่ถูกกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ รวมทั้งการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯทำให้การจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคชาวสหรัฐฯเป็นไปในทิศทางที่ประหยัดค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายด้านการตกแต่งอาคารที่พักอาศัย ซึ่งปัจจัยดังกล่าวนับว่าส่งผลกระทบต่อภาพรวมการส่งออกเคหะสิ่งทอของไทยอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง เนื่องจากสหรัฐฯ นับเป็นตลาดส่งออกเคหะสิ่งทอที่สำคัญรายใหญ่อันดับหนึ่งของไทย คิดเป็นสัดส่วนสูงถึงประมาณร้อยละ 38 ของมูลค่าการส่งออกเคหะสิ่งทอทั้งหมดที่มีมูลค่าประมาณ 350 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ดังนั้น ผู้ส่งออกเคหะสิ่งทอของไทย ควรพิจารณาหาช่องทางกระจายตลาดส่งออกเคหะสิ่งทอไปยังตลาดอื่นๆ โดยเฉพาะตลาดที่มีจำนวนประชากรและกำลังซื้อสูง อาทิ สหภาพยุโรป รวมทั้งตลาดที่ไทยมีข้อตกลงทางการค้า อาทิ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และที่สำคัญ ได้แก่ จีนซึ่งนอกจากเศรษฐกิจจะมีการขยายตัวสูงจนส่งผลให้จำนวนคนชั้นกลางและสูงมีเพิ่มขึ้นแล้ว การเป็นเจ้าภาพจัดงานแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่จะเริ่มขึ้นในเดือนสิงหาคม 2551 ยังส่งผลให้จีนมีความต้องการเคหะสิ่งทอที่มีคุณภาพเพื่อใช้ตกแต่งอาคารโรงแรม ที่พักอาศัยรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเดินทางไปยังจีนเป็นจำนวนมากอีกด้วย
สำหรับสหรัฐอเมริกาแล้ว เป็นประเทศผู้นำเข้าสินค้าประเภทเคหะสิ่งทอรายใหญ่ของโลก ทั้งนี้จากข้อมูลของ United States International Trade Commission พบว่า สหรัฐฯมีการนำเข้าเคหะสิ่งทอจากทั่วโลกคิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ จาก 5,797.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2546 เพิ่มขึ้นมาเป็น 6,752.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐและ 7,977.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2547 และปี 2548 ในขณะที่ปี 2549 มูลค่านำเข้าเคหะสิ่งทอของสหรัฐฯเพิ่มขึ้นเป็น 8,718.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับในช่วง 10 เดือนแรกปี 2550 สหรัฐฯนำเข้าเคหะสิ่งทอคิดเป็นมูลค่า 7,553.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้เคหะสิ่งทอที่สหรัฐฯมีการนำเข้าในสัดส่วนที่สูงเรียงตามลำดับ ได้แก่ ผ้าใช้ในห้องนอน พรม ผ้าใช้ในห้องน้ำและห้องครัว ผ้าม่าน ผ้าห่ม และผ้าใช้บนโต๊ะอาหาร โดยเป็นที่น่าสังเกตว่า สหรัฐฯมีการนำเข้าเคหะสิ่งทอที่เน้นด้านคุณภาพจากประเทศในยุโรป ในขณะที่สินค้าที่มีคุณภาพปานกลางจะนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง รวมทั้งตุรกี และเม็กซิโก ส่วนสินค้าที่ต้องแข่งขันด้านราคาจะนำเข้าจากประเทศที่มีค่าจ้างแรงงานต่ำอาทิ จีน(ส่วนแบ่งประมาณร้อยละ 36.7 ของมูลค่านำเข้าเคหะสิ่งทอสหรัฐฯในปี 2550) อินเดีย(ส่วนแบ่งประมาณร้อยละ 24.6ของมูลค่านำเข้าเคหะสิ่งทอสหรัฐฯ) และปากีสถาน(ส่วนแบ่งประมาณร้อยละ 13.8 ของมูลค่านำเข้าเคหะสิ่งทอสหรัฐฯ) ในขณะที่ไทย มีส่วนแบ่งประมาณร้อยละ 1.3 ของมูลค่านำเข้าเคหะสิ่งทอสหรัฐฯ ทั้งนี้ แม้ว่า มูลค่าการส่งออกเคหะสิ่งทอของไทยไปยังตลาดสหรัฐฯจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ส่วนแบ่งตลาดกลับมีแนวโน้มลดลงกล่าวคือจากส่วนแบ่งตลาดประมาณร้อยละ 1.8 ในปี 2546 ลดลงมาเหลือร้อยละ 1.5 ในปี 2548 และร้อยละ 1.3 ในปี 2549 ทั้งนี้เพราะการผลิตเคหะสิ่งทอของไทยนอกจากจะผลิตสินค้าที่มีคุณภาพจับตลาดผู้มีรายได้ปานกลางถึงสูงแล้ว บางส่วนยังเน้นผลิตสินค้าที่แข่งขันด้านราคาซึ่งส่วนนี้ได้ถูกคู่แข่งแย่งตลาดไปค่อนข้างมาก
ทิศทางการส่งออกเคหะสิ่งทอของไทยไปตลาดสหรัฐฯ
เป็นที่น่าสังเกตว่า นับตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมาการส่งออกเคหะสิ่งทอของไทยไปยังตลาดสหรัฐฯขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาเป็นลำดับ โดยข้อมูลจากกรมศุลกากรพบว่า การส่งออกเคหะสิ่งทอของไทยไปยังตลาดสหรัฐฯจากที่มีมูลค่าเพียง 32 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2540 ปรับเพิ่มขึ้นมาเป็น 78.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2545 และ 122.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2549 หรือคิดเป็นอัตราการขยายตัวเฉลี่ยในช่วงปี 2540-2549 ประมาณร้อยละ 16.1 ต่อปี แต่อย่างไรก็ตาม การส่งออกเคหะสิ่งทอของไทยไปยังตลาดสหรัฐฯเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวในปี 2550 ซึ่งส่วนหนึ่งนอกจากเกิดจากปัญหาเงินบาทของไทยที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องจนส่งผลให้เคหะสิ่งทอของไทยสูญเสียศักยภาพการแข่งขันให้กับสินค้าจากประเทศที่มีต้นทุนต่ำจากจีน อินเดีย และปากีสถาน และที่สำคัญคือปัญหากำลังซื้อของภาคประชาชนสหรัฐฯที่ถูกกระทบจากวิกฤตสินเชื่อซับไพร์ม (Subprime Mortgages หรือ สินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ปล่อยให้แก่ลูกหนี้ที่มีความเสี่ยงสูง) ที่นำไปสู่การชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมทั้งการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวกระทบโดยตรงต่อความต้องการบริโภคสินค้าของภาคประชาชนโดยเฉพาะกำลังซื้อของสินค้าในกลุ่มเคหะสิ่งทอ น่าจะได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก ส่งผลให้มูลค่าส่งออกเคหะสิ่งทอของไทยไปตลาดสหรัฐฯปี 2550 มีประมาณ 125 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯขยายตัวเล็กน้อยร้อยละ 2.4
ในขณะที่ทิศทางการส่งออกเคหะสิ่งทอของไทยไปยังตลาดสหรัฐฯในปี 2551นอกเหนือจากปัจจัยด้านเงินบาทของไทยที่คาดว่าจะยังคงแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่(CONSENSUS) คาดว่าเงินบาทในปี 2551 จะมีค่าเฉลี่ยที่ประมาณ 32.60 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯเทียบกับเงินบาทในปี 2550 ที่มีค่าเฉลี่ยประมาณ 34.6 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้เคหะสิ่งทอไทยที่เน้นแข่งขันด้านราคาสูญเสียความสามารถด้านการแข่งขันให้กับเคหะสิ่งทอจากประเทศที่มีต้นทุนต่ำจากจีน อินเดีย และปากีสถานเพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกันปัญหาต่างๆที่สหรัฐฯเผชิญในปี 2550 โดยเฉพาะปัญหาการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯจะเริ่มส่งผลอย่างชัดเจนในปี 2551 ซึ่งผลกระทบจะขยายตัวไปสู่ภาคธุรกิจอื่นๆรวมทั้งภาคการจ้างงานที่มีแนวโน้มการว่างงานเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ภาคประชาชนหันมาออมเงินมากขึ้นและชะลอการบริโภค ซึ่งก็จะกระทบต่อมูลค่าการนำเข้าเคหะสิ่งทอของสหรัฐฯที่ชะลอตัวลงตามไปด้วย
ซึ่งจากปัจจัยดังกล่าว ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า จะกระทบต่อภาพรวมการส่งออกเคหะสิ่งทอของไทยในปี 2551 เป็นอย่างมาก เนื่องจากสหรัฐฯ ถือเป็นตลาดส่งออกเคหะสิ่งทอ รายใหญ่อันดับหนึ่งของไทยคิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 38 ของมูลค่าการส่งออกเคหะสิ่งทอทั้งหมดของไทย รองลงมา ได้แก่ ตลาดญี่ปุ่นคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13.9 ของมูลค่าการส่งออกเคหะสิ่งทอของไทย และออสเตรเลียคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.4 ของมูลค่าการส่งออกเคหะสิ่งทอของไทย โดยมูลค่าการส่งออกเคหะสิ่งทอรวมทั้งหมดของไทยในปี 2550 ที่ผ่านมามีมูลค่าประมาณ 330 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.4 สำหรับปี 2551 นี้เนื่องจากปัจจัยภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง โดยเฉพาะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ดังนั้นมูลค่าการส่งออกเคหะสิ่งทอโดยรวมของไทยในปี 2551 จึงน่าจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง โดยคาดว่าอัตราเติบโตมีประมาณร้อยละ 5-10 หรือคิดเป็นมูลค่าส่งออกประมาณ 347-363 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ทั้งนี้ผู้ประกอบการจะต้องพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพ รวมทั้งการออกแบบสินค้าที่มีความโดดเด่นหลากหลาย แตกต่างจากประเทศคู่แข่ง ทั้งนี้เพื่อเลี่ยงการแข่งขันในตลาดที่เน้นข้อได้เปรียบด้านต้นทุน และหันไปจับตลาดระดับกลางถึงบนของสหรัฐฯที่ให้ความสำคัญด้านคุณภาพสินค้าเป็นสำคัญ ซึ่งการแข่งขันยังไม่รุนแรงมากนัก ในขณะเดียวกัน ผู้ส่งออกเคหะสิ่งทอของไทยควรพิจารณาหันไปเจาะตลาดส่งออกอื่นๆที่มีศักยภาพ โดยอาศัยจุดเด่นของเคหะสิ่งทอไทยที่สำคัญ อันเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศอันได้แก่ คุณภาพสินค้า และการออกแบบลวดลายและสีสันสินค้าที่ทันสมัยตรงกับรสนิยมของแต่ละตลาด โดยตลาดที่เคหะสิ่งทอของไทยมีโอกาสขยายการส่งออกได้แก่ ตลาดที่ประชากรมีกำลังซื้อสูง รวมทั้งตลาดที่ไทยมีการทำข้อตกลงการค้า ซึ่งจะทำให้ไทยได้เปรียบทางด้านภาษี
http://www.settrade.com/S17_ContentDisp ... egoryId=16
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news15/01/08
โพสต์ที่ 69
แผนรีโนฯแตกแบรนด์บุก
โพสต์ทูเดย์ รีโนฯ เดินหน้าแตกแบรนด์ต่อเนื่อง ไตรมาสแรกนี้ปั้นยี่ห้อ ซีออม เสื้อผ้าชาย พร้อมลงทุนเฉียด 200 ล้าน ขยายช็อป เอทูแซด ปั้นแฟล็กชิปสโตร์ ดันยอดปีนี้เป้าโต 20%
นางวิลาสินี สุวัตถี ผู้จัดการทั่วไป บริษัท รีโน (ประเทศไทย) ผู้ผลิตและจำหน่ายเสื้อผ้ายี่ห้อ เอทูแซด (AIIZ) กล่าวว่า ปีนี้จะทำตลาดเชิงรุกต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา ด้วยการแตกแบรนด์เสื้อผ้าเข้ามาทำตลาดมากขึ้น เพื่อรองรับตลาดแฟชั่นในประเทศไทยที่การแข่งขันรุนแรง เห็นได้จากการเปิดตัวแบรนด์เนมใหม่ๆ กลุ่มแฟชั่นนำเข้าจากต่างประเทศจำนวนมากตั้งแต่ปีที่ผ่านมา โดยบริษัทได้เปิดตัวร้านเสื้อผ้าแบรนด์เนมใหม่ คือ มังกี ซี (Monkey See) เวิร์คชอป (Work Shop) ไปตั้งแต่ปีก่อน และ ปีนี้จะเปิดอีก 2-3 แบรนด์ใหม่
สำหรับไตรมาสแรก ราวเดือน มี.ค. ปีนี้ บริษัทเตรียมเปิดตัวสินค้าแฟชั่นแบรนด์เนมใหม่ คือ ซีออม (Z HOME) ภายใต้แนวคิด ซิตีลุค จับกลุ่มเป้าหมายผู้ชายวัยเริ่มต้นทำงานขึ้นไป ด้วยเสื้อผ้าชุดทำงาน เสื้อผ้าลำลอง และของแต่งกายประเภทต่างๆ เพื่อขยายฐานลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น คาดสาขาหรือจุดจำหน่ายแรกจะเปิดร่วมกับเครือในศูนย์การค้าเซ็นทรัล
ขณะแบรนด์ มังกี ซี จับกลุ่มเป้าหมายเสื้อผ้าวัยรุ่นแนวสตรีตแวร์ ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ส่วนแบรนด์ เวิร์คชอป จะเป็นร้านเสื้อผ้า มัลติแบรนด์เนมแฟชั่นชั้นนำจากต่างประเทศ ที่บริษัทเป็นผู้ไปจัดซื้อหรือเมอร์ชันไดซ์ในประเทศต่างๆ บริษัทเตรียมงบราว 100-200 ล้านบาท สำหรับขยายร้านและจุดจำหน่ายแบรนด์ เอทูแซด เพิ่มปีนี้ 10 จุด จากปัจจุบันมี 370 แห่ง และลงทุนร้านที่ขายสินค้าในเครือหลายยี่ห้อขนาดใหญ่หรือแฟล็กชิปสโตร์ โดยจะเปิดที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ 600 ตร.ม.
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=214641
โพสต์ทูเดย์ รีโนฯ เดินหน้าแตกแบรนด์ต่อเนื่อง ไตรมาสแรกนี้ปั้นยี่ห้อ ซีออม เสื้อผ้าชาย พร้อมลงทุนเฉียด 200 ล้าน ขยายช็อป เอทูแซด ปั้นแฟล็กชิปสโตร์ ดันยอดปีนี้เป้าโต 20%
นางวิลาสินี สุวัตถี ผู้จัดการทั่วไป บริษัท รีโน (ประเทศไทย) ผู้ผลิตและจำหน่ายเสื้อผ้ายี่ห้อ เอทูแซด (AIIZ) กล่าวว่า ปีนี้จะทำตลาดเชิงรุกต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา ด้วยการแตกแบรนด์เสื้อผ้าเข้ามาทำตลาดมากขึ้น เพื่อรองรับตลาดแฟชั่นในประเทศไทยที่การแข่งขันรุนแรง เห็นได้จากการเปิดตัวแบรนด์เนมใหม่ๆ กลุ่มแฟชั่นนำเข้าจากต่างประเทศจำนวนมากตั้งแต่ปีที่ผ่านมา โดยบริษัทได้เปิดตัวร้านเสื้อผ้าแบรนด์เนมใหม่ คือ มังกี ซี (Monkey See) เวิร์คชอป (Work Shop) ไปตั้งแต่ปีก่อน และ ปีนี้จะเปิดอีก 2-3 แบรนด์ใหม่
สำหรับไตรมาสแรก ราวเดือน มี.ค. ปีนี้ บริษัทเตรียมเปิดตัวสินค้าแฟชั่นแบรนด์เนมใหม่ คือ ซีออม (Z HOME) ภายใต้แนวคิด ซิตีลุค จับกลุ่มเป้าหมายผู้ชายวัยเริ่มต้นทำงานขึ้นไป ด้วยเสื้อผ้าชุดทำงาน เสื้อผ้าลำลอง และของแต่งกายประเภทต่างๆ เพื่อขยายฐานลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น คาดสาขาหรือจุดจำหน่ายแรกจะเปิดร่วมกับเครือในศูนย์การค้าเซ็นทรัล
ขณะแบรนด์ มังกี ซี จับกลุ่มเป้าหมายเสื้อผ้าวัยรุ่นแนวสตรีตแวร์ ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ส่วนแบรนด์ เวิร์คชอป จะเป็นร้านเสื้อผ้า มัลติแบรนด์เนมแฟชั่นชั้นนำจากต่างประเทศ ที่บริษัทเป็นผู้ไปจัดซื้อหรือเมอร์ชันไดซ์ในประเทศต่างๆ บริษัทเตรียมงบราว 100-200 ล้านบาท สำหรับขยายร้านและจุดจำหน่ายแบรนด์ เอทูแซด เพิ่มปีนี้ 10 จุด จากปัจจุบันมี 370 แห่ง และลงทุนร้านที่ขายสินค้าในเครือหลายยี่ห้อขนาดใหญ่หรือแฟล็กชิปสโตร์ โดยจะเปิดที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ 600 ตร.ม.
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=214641
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news29/01/08
โพสต์ที่ 70
300โรงทอระส่ำผ้าจีนทุ่มตลาด พาณิชย์เริ่มเป๋เจอค้านถก'เอดี'
300โรงทอผ้าป่วนหนัก ครวญจีนทุ่มตลาดไม่ยั้งกว่า 10 ล้านหลาต่อเดือน กลืนตลาดไทยแล้วกว่าครึ่ง 2 ปีปิดตัวกว่า 10 ราย กลุ่มเส้นใยฯ ร้องกระทบเป็นลูกโซ่ ด้านกลุ่มการ์เมนต์ยอมรับ ใช้ผ้าผืนนำเข้าจากจีนสัดส่วนกว่า 50% ชี้ถูกกว่าผ้าไทยอื้อ- แถมช่วยลดความเสี่ยงค่าบาทได้ ด้านพาณิชย์เปิดไต่สวนทุ่มตลาดส่อเค้าเหลว กลุ่มฟอกย้อมฯ ค้านหัวชนฝา อ้างผลดีโรงทอไม่กี่โรง แต่อุตสาหกรรมต่อเนื่องแย่
จากกรณีอุตสาหกรรมกรรมสิ่งทอไทยเผชิญมรสุมหลายปัจจัยลบรอบด้าน ทั้งเงินบาทแข็งค่า แบงก์ไม่ปล่อยกู้ ผู้นำเข้าหันไปสั่งออเดอร์จากผู้ประกอบการรายใหญ่ แล้วตัดหางไม่สั่งซื้อจากรายย่อย ส่งผลให้ในปี 2550 มีโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า(การ์เมนต์) ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมปลายน้ำของสิ่งทอต้องปิดตัวลงไปกว่า 100 โรง ล่าสุดในปี2551 กลุ่มโรงงานทอผ้าต้นน้ำของสิ่งทอกำลังเดินตามรอยทยอยปิดกิจการ จากผลพวงสินค้าจีนที่เข้ามาทุ่มตลาดอย่างหนัก
นายสมศักดิ์ ศรีสุภรวาณิชย์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมทอผ้าไทย เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า กลุ่มโรงงานทอผ้าทั่วประเทศ กำลังได้รับผลกระทบอย่างหนัก จากสินค้าจีนที่ส่งเข้ามาทุ่มตลาด สืบเนื่องจากจีนมีกำลังผลิตผ้าทอมหาศาล ทำให้มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ(อีโคโนมี ออฟ สเกล) อีกทั้งสินค้ายังมีความหลากหลายมากกว่าไทย นอกจากนี้ผลพวงจากการจัดทำเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีนที่มีผลบังคับใช้แล้ว ทำให้เวลานี้ภาษีนำเข้าผ้าทอจากจีนเสียภาษีเพียง 5% (ปีหน้าลดเป็น 0%)ทำให้เอื้อต่อการนำเข้าเพิ่มจำนวนมากขึ้น
จากผลพวงดังกล่าวทำให้โรงงานทอผ้าในประเทศที่มีอยู่ประมาณ 200-300 โรง ในจำนวนนี้เป็นสมาชิกของสมาคมฯประมาณ 100 รายในภาพรวมได้ปิดตัวเองลงไปแล้วกว่า 10 โรง เนื่องจากไม่สามารถแข่งขันได้โดยโรงงานที่ปิดตัวไปมีทั้งรายเล็กรายใหญ่ ขณะที่โรงงานที่ยังเปิดดำเนินกิจการอยู่ต้องลดกำลังการผลิตลงจากเดิมเฉลี่ย 10-20% โดยปรับตัวหันไปทำตลาดส่งออกมากขึ้นเพื่อชดเชยตลาดที่สูญเสีย ซึ่งเวลานี้ภาพรวมผ้าผืนหรือผ้าทอของไทยส่งออกสัดส่วนกว่า 50% จากในอดีตส่งออกไม่เกิน 30%
"ปัจจุบันไทยนำเข้าผ้าทอจากต่างประเทศมากกว่า 10 ล้านหลาต่อเดือน ในจำนวนนี้สัดส่วนกว่า 90% เป็นนำเข้าจากประเทศจีน หากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้อาจมีโรงทอปิดตัวเพิ่มขึ้น ส่วนรายที่เหลืออยู่ก็ต้องปรับตัวแข่งขันให้ได้ อยากให้โรงงานการ์เมนต์ หรือโรงงานที่เกี่ยวเนื่องหากสามารถใช้ผ้าที่ผลิตในประเทศได้ก็ขอให้ใช้ เพราะไม่เช่นนั้นแล้วเมื่อโรงทออยู่ไม่ได้อุตสาหกรรมต่อเนื่องก็จะกระทบด้วย"
สอดคล้องกับนายเจน นำชัยศิริ นายกสมาคมอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เส้นใยสังเคราะห์ ที่กล่าวว่า จากผลกระทบสินค้าจากจีนที่ทำให้โรงงานทอผ้าต้องปิดตัว ส่วนที่เหลือก็ต้องลดกำลังนั้น ขณะนี้ได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเส้นใยแล้วเช่นกัน เพราะทำให้การใช้เส้นใย และเส้นด้ายในการทอผ้าลดลง ซึ่งขณะนี้โรงงานผลิตเส้นด้าย และเส้นใยมีทั้งลดกำลังการผลิตลง ส่วนที่ไม่ลดก็หันไปส่งออกมากขึ้น ซึ่งสมาคมอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลว่าปริมาณการผลิตในภาพรวมลดลงไปเท่าใด
ด้านนายวัลลภ วิตนากร เลขาธิการ สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย กล่าวยอมรับว่า โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม(การ์เมนต์)ในประเทศ หันไปนำเข้าผ้าผืนจากจีนเพื่อใช้ในการผลิตมากขึ้จริง เนื่องจากผ้าจีนมีความหลากหลาย และมีราคาต่ำกว่าผ้าที่ผลิตในประเทศเฉลี่ย 15-20% นอกจากนี้ยังเป็นผลจากช่วง 2 ปีที่ผ่านมา การแข็งค่าของเงินบาท ทำให้เอื้อต่อนำเข้า ภาพรวมเวลานี้ไทยใช้ผ้าที่ผลิตในประเทศและผ้านำเข้าสัดส่วนประมาณ 50:50 ส่วนใหญ่นำเข้าจากจีน จากอดีตสัดส่วนอยู่ที่ 70:30
"ต้นทุนผ้าถือเป็นต้นทุนการผลิตสัดส่วนกว่า 60% ของโรงงานการ์เมนต์ เมื่อค่าเงินบาทแข็งเอื้อต่อการนำเข้า ขณะที่การส่งออกมีความเสี่ยงจากเงินบาทที่ผันผวน เราจึงต้องออฟเซ็ต(หักกลบ)กันเพื่อลดความเสี่ยง"
อนึ่ง จากผ้าทอของจีนที่ส่งเข้ามาทุ่มตลาดไทยเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตในประเทศ ในปลายปีที่ผ่านมาทางสมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยภายใต้การนำของนายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล นายกสมาคมฯได้ยื่นเรื่องต่อกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์เพื่อขอให้เปิดไต่สวน และใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด(เอดี) สินค้าจากจีน 3 รายการ ประกอบด้วยผ้าทอที่ทำด้วยฝ้าย และผ้าทอที่ทำด้วยเส้นใยสั้นโพลีเอสเตอร์ ในพิกัด 5208.11.00000 พิกัด 5208.12.00000 และพิกัด 5513.11.00000 ซึ่งคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุน(คทอ.)ได้ประกาศเปิดไต่สวนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2550
ล่าสุดแหล่งข่าวจากกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ (พณ.)เปิดเผยว่า รับทราบปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมดแล้ว และกำลังอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ข้อคิดเห็นว่า สมควรจะใช้มาตรการเอดีกับสินค้าจีนหรือไม่ และหากใช้มาตรการจะส่งผลกระทบอย่างไร โดยผู้เกี่ยวข้องมีทั้งบริษัทส่งออกของจีน สมาคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ผ้าผืนของไทย คาดว่าจะสามารถสรุปข้อคิดเห็นและจะสามารถประกาศใช้มาตรการเอดี หรือยุติการไต่สวนได้เร็วๆ นี้
อย่างไรก็ดี "ฐานเศรษฐกิจ"ได้สอบถามไปยังสมาคมที่เกี่ยวข้องว่ามีเหตุผลอันควรหรือไม่ที่ไทยจะใช้มาตรการเอดีกับสินค้าผ้าจากจีน โดยนายสมศักดิ์ ศรีสุภรวาณิชย์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมทอผ้าไทยเปิดเผยว่า ได้ลงนามสนับสนุนให้มีการใช้มาตรการเอดีกับสินค้าจีนไปแล้ว เพราะหากไม่ใช้จะกระทบต่อกลุ่มโรงงานทอผ้าอย่างรุนแรง และอาจต้องปิดกิจการมากขึ้น ส่วนอัตราภาษีเอดีจะเป็นเท่าใดนั้นขึ้นกับดุลยพินิจของคณะกรรมการฯ
ส่วนนายวัลลภ วิตนากร เลขาธิการสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย กล่าวว่า ทางสมาคมฯได้ทำหนังสือตอบไปแล้วว่าไม่คัดค้านการไต่สวน ซึ่งทางสมาคมฯห่วงเพียงเรื่องเดียวหากมีการใช้มาตรการเอดีกับจีนคือ การนำเข้าวัตถุดิบจากจีนเข้ามาโดยต้องเสียภาษีเพิ่ม จะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากมากขึ้นเพราะต้องให้แบงก์การันตีเพื่อขอคืนภาษีตามมาตรา 19 ทวิ หากผู้ส่งออกมีปัญหาส่งออกไม่หมดจะต้องแบกรับภาระในส่วนนี้ทำให้มีต้นทุนเพิ่มขึ้น
ขณะที่นายนพดล เปี่ยมกุลวนิช นายกสมาคมอุตสาหกรรมฟอกย้อมพิมพ์ และตกแต่งสิ่งทอไทย กล่าวว่าไม่เห็นด้วยกับการใช้มาตรการเอดีกับสินค้าจากประเทศจีน เนื่องจากผลการตรวจสอบผู้ผลิตที่จำเป็นต้องใช้สินค้าประเภทดังกล่าวเป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตให้ลูกค้าที่มีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศและในประเทศบางส่วน แยกเป็นเพื่อการฟอกย้อมประมาณ 30 บริษัท และเพื่อการพิมพ์ประมาณ 40 บริษัท ส่วนใหญ่ชี้ว่า การใช้มาตรการเอดีกับสินค้าจีนจะเป็นผลดีกับโรงงานทอผ้าเพียงไม่กี่โรงที่ไม่มีการปรับเปลี่ยนการผลิตสินค้าพื้นฐานให้สามารถแข่งขันได้ แต่จะเป็นผลเสียกับโรงงานฟอกย้อม และพิมพ์จำนวนมาก รวมทั้งโรงงานผลิตเครื่องนุ่งห่มอีกหลายโรงที่จำเป็นต้องใช้ผ้าชนิดดังกล่าว
ขณะเดียวกันจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนโดยรวมของสินค้าผ้าผืนไทยที่ส่งออกในปริมาณมาก ซึ่งปัจจุบันกำลังขยายตัวได้ดีและจะส่งผลกระทบต่อยุทธศาสตร์การเป็นฐานการผลิตผ้าผืนเพื่อจำหน่ายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อาจต้องสะดุดลงด้วย นอกจากนี้ปัจจุบันอุตสาหกรรมฟอกย้อมฯของไทยสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดี และต้องการความหลากหลายของวัตถุดิบจากจีน หากจำกัดให้ซื้อเฉพาะผ้าดิบที่ทอในไทยจะทำให้เกิดปัญหาด้านความหลากหลายและปริมาณไม่เพียงพอ
http://www.thannews.th.com/detialNews.p ... issue=2291
300โรงทอผ้าป่วนหนัก ครวญจีนทุ่มตลาดไม่ยั้งกว่า 10 ล้านหลาต่อเดือน กลืนตลาดไทยแล้วกว่าครึ่ง 2 ปีปิดตัวกว่า 10 ราย กลุ่มเส้นใยฯ ร้องกระทบเป็นลูกโซ่ ด้านกลุ่มการ์เมนต์ยอมรับ ใช้ผ้าผืนนำเข้าจากจีนสัดส่วนกว่า 50% ชี้ถูกกว่าผ้าไทยอื้อ- แถมช่วยลดความเสี่ยงค่าบาทได้ ด้านพาณิชย์เปิดไต่สวนทุ่มตลาดส่อเค้าเหลว กลุ่มฟอกย้อมฯ ค้านหัวชนฝา อ้างผลดีโรงทอไม่กี่โรง แต่อุตสาหกรรมต่อเนื่องแย่
จากกรณีอุตสาหกรรมกรรมสิ่งทอไทยเผชิญมรสุมหลายปัจจัยลบรอบด้าน ทั้งเงินบาทแข็งค่า แบงก์ไม่ปล่อยกู้ ผู้นำเข้าหันไปสั่งออเดอร์จากผู้ประกอบการรายใหญ่ แล้วตัดหางไม่สั่งซื้อจากรายย่อย ส่งผลให้ในปี 2550 มีโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า(การ์เมนต์) ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมปลายน้ำของสิ่งทอต้องปิดตัวลงไปกว่า 100 โรง ล่าสุดในปี2551 กลุ่มโรงงานทอผ้าต้นน้ำของสิ่งทอกำลังเดินตามรอยทยอยปิดกิจการ จากผลพวงสินค้าจีนที่เข้ามาทุ่มตลาดอย่างหนัก
นายสมศักดิ์ ศรีสุภรวาณิชย์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมทอผ้าไทย เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า กลุ่มโรงงานทอผ้าทั่วประเทศ กำลังได้รับผลกระทบอย่างหนัก จากสินค้าจีนที่ส่งเข้ามาทุ่มตลาด สืบเนื่องจากจีนมีกำลังผลิตผ้าทอมหาศาล ทำให้มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ(อีโคโนมี ออฟ สเกล) อีกทั้งสินค้ายังมีความหลากหลายมากกว่าไทย นอกจากนี้ผลพวงจากการจัดทำเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีนที่มีผลบังคับใช้แล้ว ทำให้เวลานี้ภาษีนำเข้าผ้าทอจากจีนเสียภาษีเพียง 5% (ปีหน้าลดเป็น 0%)ทำให้เอื้อต่อการนำเข้าเพิ่มจำนวนมากขึ้น
จากผลพวงดังกล่าวทำให้โรงงานทอผ้าในประเทศที่มีอยู่ประมาณ 200-300 โรง ในจำนวนนี้เป็นสมาชิกของสมาคมฯประมาณ 100 รายในภาพรวมได้ปิดตัวเองลงไปแล้วกว่า 10 โรง เนื่องจากไม่สามารถแข่งขันได้โดยโรงงานที่ปิดตัวไปมีทั้งรายเล็กรายใหญ่ ขณะที่โรงงานที่ยังเปิดดำเนินกิจการอยู่ต้องลดกำลังการผลิตลงจากเดิมเฉลี่ย 10-20% โดยปรับตัวหันไปทำตลาดส่งออกมากขึ้นเพื่อชดเชยตลาดที่สูญเสีย ซึ่งเวลานี้ภาพรวมผ้าผืนหรือผ้าทอของไทยส่งออกสัดส่วนกว่า 50% จากในอดีตส่งออกไม่เกิน 30%
"ปัจจุบันไทยนำเข้าผ้าทอจากต่างประเทศมากกว่า 10 ล้านหลาต่อเดือน ในจำนวนนี้สัดส่วนกว่า 90% เป็นนำเข้าจากประเทศจีน หากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้อาจมีโรงทอปิดตัวเพิ่มขึ้น ส่วนรายที่เหลืออยู่ก็ต้องปรับตัวแข่งขันให้ได้ อยากให้โรงงานการ์เมนต์ หรือโรงงานที่เกี่ยวเนื่องหากสามารถใช้ผ้าที่ผลิตในประเทศได้ก็ขอให้ใช้ เพราะไม่เช่นนั้นแล้วเมื่อโรงทออยู่ไม่ได้อุตสาหกรรมต่อเนื่องก็จะกระทบด้วย"
สอดคล้องกับนายเจน นำชัยศิริ นายกสมาคมอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เส้นใยสังเคราะห์ ที่กล่าวว่า จากผลกระทบสินค้าจากจีนที่ทำให้โรงงานทอผ้าต้องปิดตัว ส่วนที่เหลือก็ต้องลดกำลังนั้น ขณะนี้ได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเส้นใยแล้วเช่นกัน เพราะทำให้การใช้เส้นใย และเส้นด้ายในการทอผ้าลดลง ซึ่งขณะนี้โรงงานผลิตเส้นด้าย และเส้นใยมีทั้งลดกำลังการผลิตลง ส่วนที่ไม่ลดก็หันไปส่งออกมากขึ้น ซึ่งสมาคมอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลว่าปริมาณการผลิตในภาพรวมลดลงไปเท่าใด
ด้านนายวัลลภ วิตนากร เลขาธิการ สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย กล่าวยอมรับว่า โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม(การ์เมนต์)ในประเทศ หันไปนำเข้าผ้าผืนจากจีนเพื่อใช้ในการผลิตมากขึ้จริง เนื่องจากผ้าจีนมีความหลากหลาย และมีราคาต่ำกว่าผ้าที่ผลิตในประเทศเฉลี่ย 15-20% นอกจากนี้ยังเป็นผลจากช่วง 2 ปีที่ผ่านมา การแข็งค่าของเงินบาท ทำให้เอื้อต่อนำเข้า ภาพรวมเวลานี้ไทยใช้ผ้าที่ผลิตในประเทศและผ้านำเข้าสัดส่วนประมาณ 50:50 ส่วนใหญ่นำเข้าจากจีน จากอดีตสัดส่วนอยู่ที่ 70:30
"ต้นทุนผ้าถือเป็นต้นทุนการผลิตสัดส่วนกว่า 60% ของโรงงานการ์เมนต์ เมื่อค่าเงินบาทแข็งเอื้อต่อการนำเข้า ขณะที่การส่งออกมีความเสี่ยงจากเงินบาทที่ผันผวน เราจึงต้องออฟเซ็ต(หักกลบ)กันเพื่อลดความเสี่ยง"
อนึ่ง จากผ้าทอของจีนที่ส่งเข้ามาทุ่มตลาดไทยเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตในประเทศ ในปลายปีที่ผ่านมาทางสมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยภายใต้การนำของนายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล นายกสมาคมฯได้ยื่นเรื่องต่อกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์เพื่อขอให้เปิดไต่สวน และใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด(เอดี) สินค้าจากจีน 3 รายการ ประกอบด้วยผ้าทอที่ทำด้วยฝ้าย และผ้าทอที่ทำด้วยเส้นใยสั้นโพลีเอสเตอร์ ในพิกัด 5208.11.00000 พิกัด 5208.12.00000 และพิกัด 5513.11.00000 ซึ่งคณะกรรมการพิจารณาการทุ่มตลาดและการอุดหนุน(คทอ.)ได้ประกาศเปิดไต่สวนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2550
ล่าสุดแหล่งข่าวจากกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ (พณ.)เปิดเผยว่า รับทราบปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมดแล้ว และกำลังอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ข้อคิดเห็นว่า สมควรจะใช้มาตรการเอดีกับสินค้าจีนหรือไม่ และหากใช้มาตรการจะส่งผลกระทบอย่างไร โดยผู้เกี่ยวข้องมีทั้งบริษัทส่งออกของจีน สมาคมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ผ้าผืนของไทย คาดว่าจะสามารถสรุปข้อคิดเห็นและจะสามารถประกาศใช้มาตรการเอดี หรือยุติการไต่สวนได้เร็วๆ นี้
อย่างไรก็ดี "ฐานเศรษฐกิจ"ได้สอบถามไปยังสมาคมที่เกี่ยวข้องว่ามีเหตุผลอันควรหรือไม่ที่ไทยจะใช้มาตรการเอดีกับสินค้าผ้าจากจีน โดยนายสมศักดิ์ ศรีสุภรวาณิชย์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมทอผ้าไทยเปิดเผยว่า ได้ลงนามสนับสนุนให้มีการใช้มาตรการเอดีกับสินค้าจีนไปแล้ว เพราะหากไม่ใช้จะกระทบต่อกลุ่มโรงงานทอผ้าอย่างรุนแรง และอาจต้องปิดกิจการมากขึ้น ส่วนอัตราภาษีเอดีจะเป็นเท่าใดนั้นขึ้นกับดุลยพินิจของคณะกรรมการฯ
ส่วนนายวัลลภ วิตนากร เลขาธิการสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย กล่าวว่า ทางสมาคมฯได้ทำหนังสือตอบไปแล้วว่าไม่คัดค้านการไต่สวน ซึ่งทางสมาคมฯห่วงเพียงเรื่องเดียวหากมีการใช้มาตรการเอดีกับจีนคือ การนำเข้าวัตถุดิบจากจีนเข้ามาโดยต้องเสียภาษีเพิ่ม จะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากมากขึ้นเพราะต้องให้แบงก์การันตีเพื่อขอคืนภาษีตามมาตรา 19 ทวิ หากผู้ส่งออกมีปัญหาส่งออกไม่หมดจะต้องแบกรับภาระในส่วนนี้ทำให้มีต้นทุนเพิ่มขึ้น
ขณะที่นายนพดล เปี่ยมกุลวนิช นายกสมาคมอุตสาหกรรมฟอกย้อมพิมพ์ และตกแต่งสิ่งทอไทย กล่าวว่าไม่เห็นด้วยกับการใช้มาตรการเอดีกับสินค้าจากประเทศจีน เนื่องจากผลการตรวจสอบผู้ผลิตที่จำเป็นต้องใช้สินค้าประเภทดังกล่าวเป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตให้ลูกค้าที่มีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศและในประเทศบางส่วน แยกเป็นเพื่อการฟอกย้อมประมาณ 30 บริษัท และเพื่อการพิมพ์ประมาณ 40 บริษัท ส่วนใหญ่ชี้ว่า การใช้มาตรการเอดีกับสินค้าจีนจะเป็นผลดีกับโรงงานทอผ้าเพียงไม่กี่โรงที่ไม่มีการปรับเปลี่ยนการผลิตสินค้าพื้นฐานให้สามารถแข่งขันได้ แต่จะเป็นผลเสียกับโรงงานฟอกย้อม และพิมพ์จำนวนมาก รวมทั้งโรงงานผลิตเครื่องนุ่งห่มอีกหลายโรงที่จำเป็นต้องใช้ผ้าชนิดดังกล่าว
ขณะเดียวกันจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนโดยรวมของสินค้าผ้าผืนไทยที่ส่งออกในปริมาณมาก ซึ่งปัจจุบันกำลังขยายตัวได้ดีและจะส่งผลกระทบต่อยุทธศาสตร์การเป็นฐานการผลิตผ้าผืนเพื่อจำหน่ายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อาจต้องสะดุดลงด้วย นอกจากนี้ปัจจุบันอุตสาหกรรมฟอกย้อมฯของไทยสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดี และต้องการความหลากหลายของวัตถุดิบจากจีน หากจำกัดให้ซื้อเฉพาะผ้าดิบที่ทอในไทยจะทำให้เกิดปัญหาด้านความหลากหลายและปริมาณไม่เพียงพอ
http://www.thannews.th.com/detialNews.p ... issue=2291
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news31/01/08
โพสต์ที่ 71
ขอรัฐเอื้อนโยบาย หนุนธุรกิจอัญมณี
โพสต์ทูเดย์ สมาคมอัญมณีฯ ประกาศตัว ไม่ต้องการรัฐบาลใหม่ช่วยเงินทุน ขอแค่นโยบายสนับสนุน
นายวิชัย อัศรัสกร นายกสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ กล่าวว่า เมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาลเสร็จสิ้น จะขอเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงการคลัง เพื่อเสนอแผนพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีไทย โดยจะขอให้รัฐบาลสนับสนุนเพียง 3 ประการคือ
1.ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ จัดเก็บภาษีในอัตรา 0% โดยปราศจากเงื่อนไขใดๆ สำหรับผู้นำเข้า หรือนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามา ซื้ออัญมณีและเครื่องประดับในไทย
2.อำนวยความสะดวกพิธีการศุลกากรในการนำเข้าและส่งออก ให้รวดเร็วขึ้น ถึงแม้ว่าจะปรับเป็นระบบไร้เอกสารแล้วก็ตาม แต่ที่ ผ่านมายังพบว่านักลงทุนไม่ได้ รับความสะดวกเท่าที่ควร และ 3.ต้องการให้รัฐบาลประกาศนโยบายในการสนับสนุนอุตสาหกรรมที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม
เราขอแค่การสนับสนุนด้าน นโยบายที่ชัดเจน เราไม่ต้องการขอเงิน เพราะในอุตสาหกรรมนี้ ตลาด มีมูลค่า 2 แสนล้านบาทอยู่แล้ว มีฐานช่างฝีมือนับล้านคน หากได้ รับการสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรม เชื่อว่าเม็ดเงินจะไหลเข้าประเทศ อีกนับแสนล้านบาท นายวิชัย กล่าว
นายกสมาคมอัญมณีฯ กล่าวว่า ไทยจะต้องยึดฮ่องกงและดูไบเป็น ต้นแบบ ในฐานะฐานการผลิตและส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับทองคำของโลก โดยจะต้องทำให้ วัตถุดิบจากทั่วโลกหลั่งไหลเข้ามา ให้ช่างฝีมือคนไทยปรับมูลค่าก่อนส่งออกไป
ในระหว่างวันที่ 27 ก.พ.-2 มี.ค. นี้ จะจัดงานมหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับที่จะมีผู้ซื้อรายใหญ่กว่า 3 หมื่นราย จาก 100 กว่าประเทศทั่วโลก เข้ามาซื้อหาอัญมณีและเครื่องประดับรวมทั้งติดต่อธุรกิจกับไทย จึงเป็นโอกาสอันดีที่ จะแสดงให้เห็นถึงความพร้อมในการเป็นศูนย์กลางการส่งออกอัญมณีของไทย ที่รัฐบาลควรจะ ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ซื้อ เพื่อสร้างความประทับใจและจูงใจนักลงทุน จะทำให้มูลค่าการซื้อขายปกติที่ 2 หมื่นล้านบาท ในงาน ปรับตัวเพิ่มขึ้นด้วย
ด้านนายสันติ วิลาศศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ภาครัฐและเอกชนควรจะร่วมมือกันในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และเห็นว่าการหารือระหว่างกันจะเป็นแนวทางแก้ปัญหาที่ดี เพราะภาคเอกชนมีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยสภาอุตสาหกรรม ก็สามารถช่วยเหลือในแง่ของการพัฒนาอุตสาหกรรม เพราะทราบข้อมูลเชิงลึกและแนวทางแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=218017
โพสต์ทูเดย์ สมาคมอัญมณีฯ ประกาศตัว ไม่ต้องการรัฐบาลใหม่ช่วยเงินทุน ขอแค่นโยบายสนับสนุน
นายวิชัย อัศรัสกร นายกสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ กล่าวว่า เมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาลเสร็จสิ้น จะขอเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงการคลัง เพื่อเสนอแผนพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีไทย โดยจะขอให้รัฐบาลสนับสนุนเพียง 3 ประการคือ
1.ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ จัดเก็บภาษีในอัตรา 0% โดยปราศจากเงื่อนไขใดๆ สำหรับผู้นำเข้า หรือนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามา ซื้ออัญมณีและเครื่องประดับในไทย
2.อำนวยความสะดวกพิธีการศุลกากรในการนำเข้าและส่งออก ให้รวดเร็วขึ้น ถึงแม้ว่าจะปรับเป็นระบบไร้เอกสารแล้วก็ตาม แต่ที่ ผ่านมายังพบว่านักลงทุนไม่ได้ รับความสะดวกเท่าที่ควร และ 3.ต้องการให้รัฐบาลประกาศนโยบายในการสนับสนุนอุตสาหกรรมที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม
เราขอแค่การสนับสนุนด้าน นโยบายที่ชัดเจน เราไม่ต้องการขอเงิน เพราะในอุตสาหกรรมนี้ ตลาด มีมูลค่า 2 แสนล้านบาทอยู่แล้ว มีฐานช่างฝีมือนับล้านคน หากได้ รับการสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรม เชื่อว่าเม็ดเงินจะไหลเข้าประเทศ อีกนับแสนล้านบาท นายวิชัย กล่าว
นายกสมาคมอัญมณีฯ กล่าวว่า ไทยจะต้องยึดฮ่องกงและดูไบเป็น ต้นแบบ ในฐานะฐานการผลิตและส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับทองคำของโลก โดยจะต้องทำให้ วัตถุดิบจากทั่วโลกหลั่งไหลเข้ามา ให้ช่างฝีมือคนไทยปรับมูลค่าก่อนส่งออกไป
ในระหว่างวันที่ 27 ก.พ.-2 มี.ค. นี้ จะจัดงานมหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับที่จะมีผู้ซื้อรายใหญ่กว่า 3 หมื่นราย จาก 100 กว่าประเทศทั่วโลก เข้ามาซื้อหาอัญมณีและเครื่องประดับรวมทั้งติดต่อธุรกิจกับไทย จึงเป็นโอกาสอันดีที่ จะแสดงให้เห็นถึงความพร้อมในการเป็นศูนย์กลางการส่งออกอัญมณีของไทย ที่รัฐบาลควรจะ ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ซื้อ เพื่อสร้างความประทับใจและจูงใจนักลงทุน จะทำให้มูลค่าการซื้อขายปกติที่ 2 หมื่นล้านบาท ในงาน ปรับตัวเพิ่มขึ้นด้วย
ด้านนายสันติ วิลาศศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ภาครัฐและเอกชนควรจะร่วมมือกันในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และเห็นว่าการหารือระหว่างกันจะเป็นแนวทางแก้ปัญหาที่ดี เพราะภาคเอกชนมีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยสภาอุตสาหกรรม ก็สามารถช่วยเหลือในแง่ของการพัฒนาอุตสาหกรรม เพราะทราบข้อมูลเชิงลึกและแนวทางแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=218017
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news04/02/08
โพสต์ที่ 72
อัญมณีเล็งพบ2รมว.เศรษฐกิจ
โพสต์ทูเดย์ สมาคมอัญมณี ประกาศตัวไม่ขอรัฐบาลใหม่สนับสนุนเงินทุน ขอเพียงมีนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมที่ชัดเจน
นายวิชัย อัศรัสกร นายกสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ กล่าวว่า เมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาล เสร็จสิ้น จะขอเข้าพบ รมว.พาณิชย์ และ รมว.คลัง เพื่อเสนอแผนพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีไทย
โดยจะ ขอให้รัฐบาลสนับสนุนเพียง 3 ประการประกอบด้วย
1.ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ จัดเก็บภาษีในอัตรา 0% โดยปราศจากเงื่อนไขใดๆ สำหรับผู้นำเข้า หรือนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาซื้ออัญมณีและเครื่องประดับในไทย
2.อำนวยความสะดวกพิธีการศุลกากรในการนำเข้าและส่งออกให้รวดเร็วขึ้น ถึงแม้ว่าจะปรับเป็นระบบไร้เอกสารแล้วก็ตาม แต่ที่ผ่านมายังพบว่านักลงทุนไม่ได้รับความสะดวกเท่าที่ควร และ
3.ต้องการให้รัฐบาลประกาศนโยบายในการสนับสนุนอุตสาหกรรมที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม
เราขอแค่การสนับสนุนด้าน นโยบายที่ชัดเจน เราไม่ต้องการขอเงิน เพราะในอุตสาหกรรมนี้มีตลาดมีมูลค่า 2 แสนล้านบาทอยู่แล้ว มีฐานช่างฝีมือนับล้านคน หากได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมเชื่อว่าเม็ดเงินจะไหลเข้าประเทศอีกนับแสนล้านบาท นายวิชัย กล่าว
นายกสมาคมอัญมณีฯ เห็นว่าไทยจะต้องยึดฮ่องกงและดูไบเป็นต้นแบบในฐานะฐานการผลิตและส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับทองคำของโลก โดยจะต้องทำให้วัตถุดิบจากทั่วโลกหลั่งไหลเข้ามาให้ช่างฝีมือคนไทยปรับมูลค่าก่อนส่งออกไป เพื่อสร้างมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมอัญมณีของไทย
ทั้งนี้ ในระหว่างวันที่ 27 ก.พ.-2 มี.ค. นี้ จะมีการจัดงานมหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับที่จะมีผู้ซื้อรายใหญ่กว่า 3 หมื่นราย จาก 100 กว่าประเทศทั่วโลก เข้ามาซื้อหาอัญมณีและเครื่องประดับรวมทั้งติดต่อธุรกิจกับไทย
การจัดงานครั้งนี้จึงเป็นโอกาสดีที่จะแสดงให้เห็นถึงความพร้อมในการเป็นศูนย์กลางการส่งออกอัญมณีของไทย ที่รัฐบาลควรจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ซื้อ เพื่อสร้างความประทับใจและจูงใจนักลงทุน จะทำให้มูลค่าการซื้อขายปกติที่ 2 หมื่นล้านบาท ในงานปรับตัวเพิ่มขึ้นด้วย
ด้านนายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เห็นว่า ภาครัฐและเอกชนควรจะร่วมมือกันในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และเห็นว่าการหารือระหว่างกันจะเป็นแนวทางแก้ปัญหาที่ดี
ภาคเอกชนมีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่ง ส.อ.ท. สามารถช่วยเหลือด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม เพราะทราบข้อมูลเชิงลึกและแนวทางแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ นายสันติ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ปี 2550 ที่ผ่านมาประเทศไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับทั้งสิ้นมูลค่า 1.85 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 32.39% จากปี 2549 ที่มีมูลค่า 1.39 แสนล้านบาท
ตลาดหลักในการส่งออกอัญมณีของไทย คือ สหรัฐอเมริกาที่มีส่วนแบ่งประมาณ 30% ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับทั้งหมด นอกจากนี้ ยังมีสหภาพยุโรป (อียู) ญี่ปุ่น อินเดีย และประเทศในตะวันออกกลาง
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=218739
โพสต์ทูเดย์ สมาคมอัญมณี ประกาศตัวไม่ขอรัฐบาลใหม่สนับสนุนเงินทุน ขอเพียงมีนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมที่ชัดเจน
นายวิชัย อัศรัสกร นายกสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ กล่าวว่า เมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาล เสร็จสิ้น จะขอเข้าพบ รมว.พาณิชย์ และ รมว.คลัง เพื่อเสนอแผนพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีไทย
โดยจะ ขอให้รัฐบาลสนับสนุนเพียง 3 ประการประกอบด้วย
1.ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ จัดเก็บภาษีในอัตรา 0% โดยปราศจากเงื่อนไขใดๆ สำหรับผู้นำเข้า หรือนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาซื้ออัญมณีและเครื่องประดับในไทย
2.อำนวยความสะดวกพิธีการศุลกากรในการนำเข้าและส่งออกให้รวดเร็วขึ้น ถึงแม้ว่าจะปรับเป็นระบบไร้เอกสารแล้วก็ตาม แต่ที่ผ่านมายังพบว่านักลงทุนไม่ได้รับความสะดวกเท่าที่ควร และ
3.ต้องการให้รัฐบาลประกาศนโยบายในการสนับสนุนอุตสาหกรรมที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม
เราขอแค่การสนับสนุนด้าน นโยบายที่ชัดเจน เราไม่ต้องการขอเงิน เพราะในอุตสาหกรรมนี้มีตลาดมีมูลค่า 2 แสนล้านบาทอยู่แล้ว มีฐานช่างฝีมือนับล้านคน หากได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมเชื่อว่าเม็ดเงินจะไหลเข้าประเทศอีกนับแสนล้านบาท นายวิชัย กล่าว
นายกสมาคมอัญมณีฯ เห็นว่าไทยจะต้องยึดฮ่องกงและดูไบเป็นต้นแบบในฐานะฐานการผลิตและส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับทองคำของโลก โดยจะต้องทำให้วัตถุดิบจากทั่วโลกหลั่งไหลเข้ามาให้ช่างฝีมือคนไทยปรับมูลค่าก่อนส่งออกไป เพื่อสร้างมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมอัญมณีของไทย
ทั้งนี้ ในระหว่างวันที่ 27 ก.พ.-2 มี.ค. นี้ จะมีการจัดงานมหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับที่จะมีผู้ซื้อรายใหญ่กว่า 3 หมื่นราย จาก 100 กว่าประเทศทั่วโลก เข้ามาซื้อหาอัญมณีและเครื่องประดับรวมทั้งติดต่อธุรกิจกับไทย
การจัดงานครั้งนี้จึงเป็นโอกาสดีที่จะแสดงให้เห็นถึงความพร้อมในการเป็นศูนย์กลางการส่งออกอัญมณีของไทย ที่รัฐบาลควรจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ซื้อ เพื่อสร้างความประทับใจและจูงใจนักลงทุน จะทำให้มูลค่าการซื้อขายปกติที่ 2 หมื่นล้านบาท ในงานปรับตัวเพิ่มขึ้นด้วย
ด้านนายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เห็นว่า ภาครัฐและเอกชนควรจะร่วมมือกันในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และเห็นว่าการหารือระหว่างกันจะเป็นแนวทางแก้ปัญหาที่ดี
ภาคเอกชนมีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่ง ส.อ.ท. สามารถช่วยเหลือด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม เพราะทราบข้อมูลเชิงลึกและแนวทางแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ นายสันติ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ปี 2550 ที่ผ่านมาประเทศไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับทั้งสิ้นมูลค่า 1.85 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 32.39% จากปี 2549 ที่มีมูลค่า 1.39 แสนล้านบาท
ตลาดหลักในการส่งออกอัญมณีของไทย คือ สหรัฐอเมริกาที่มีส่วนแบ่งประมาณ 30% ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับทั้งหมด นอกจากนี้ ยังมีสหภาพยุโรป (อียู) ญี่ปุ่น อินเดีย และประเทศในตะวันออกกลาง
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=218739
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news04/02/08
โพสต์ที่ 73
ปั้น160แบรนด์เสื้อผ้ายึดอาเซียน + รัฐผนึกเอกชนลุยตั้งศูนย์ค้าส่ง 9 ปท.ชิงธงผู้นำแฟชั่น
รัฐ-เอกชนผนึกกำลังปั้น 160 แบรนด์เสื้อผ้าไทยโกอินเตอร์ เล็งเปิดศูนย์ค้าส่งใน 9 ประเทศอาเซียนยึดผู้นำแฟชั่น-ช่วยเพิ่มยอดส่งออก สเต็ปสองเตรียมเปิดไนท์ มาร์เก็ต 3 ย่านค้าดังโบ๊เบ๊ ประตูน้ำ จตุจักรหวังดูดนักช็อปทั้งไทยและเทศ เพิ่มช่องทางตลาดครบวงจร
นายคมสรรค์ วิจิตรวิกรม ประธานคณะดำเนินงานโครงการสร้างมูลค่าเพิ่มภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอและแฟชั่น(โครงการสตรีท แฟชั่น รันเวย์) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ว่า ขณะนี้โครงการกำลังรุดไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดอยู่ระหว่างการสานต่อโครงการในระยะที่สอง โดยจะทำการคัดเลือกผู้ประกอบการค้าส่งและค้าปลีกเสื้อผ้าที่มีแบรนด์เป็นของตัวเองจากหลายแหล่งเข้าร่วมโครงการอีก 100 แบรนด์ อาทิ จากย่านโบ๊เบ๊ ประตูน้ำ จตุจักร และอื่นๆ จากเดิมสามารถคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการได้แล้ว 60 แบรนด์ ทั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี)ออกไปทำตลาดในต่างประเทศ
สำหรับการคัดเลือกผู้ประกอบการอีก 100 แบรนด์โครงการในครั้งนี้ คาดจะแล้วเสร็จก่อนงานแสดงสินค้าแฟชั่นเสื้อผ้า เครื่องหนัง และรองเท้า(BIFF&BIL2008) ที่จัดขึ้นในปลายเดือนสิงหาคมศกนี้ที่ไบเทค บางนา โดยมีแผนที่จะนำผู้ประกอบการที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการร่วมออกงาน BIFF&BIL2008 เพื่อพบปะกับลูกค้าจากต่างประเทศที่จะเข้ามาเจรจาติดต่อธุรกิจ ขณะเดียวกันมีแผนร่วมกับกรมส่งเสริมการส่งออกในการจัดคณะผู้แทนการค้าโดยนำพาสมาชิกออกไปโรดโชว์เพื่อเจรจาธุรกิจกับคู่ค้าในต่างประเทศ เพื่อขยายตลาดส่งออกต่อไป
"ในปีที่ผ่านมาโครงการได้นำพาสมาชิกร่วมงาน BIFF&BIL โดยจัดเป็นพาวิเลียนของโครงการสตรีท แฟชั่น รันเวย์โดยเฉพาะ ซึ่งหลายรายก็ได้ลูกค้าต่างประเทศ มีออร์เดอร์เข้ามาเป็นระยะ ขณะเดียวกันได้นำสมาชิกออกไปโรดโชว์ในต่างประเทศที่ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ หลายรายได้ลูกค้าและมีการสั่งซื้อต่อเนื่อง สรุปทั้งปี 2550 มียอดการค้าเกิดขึ้นแล้วกว่า 20 ล้านบาท ปีนี้เรามีแผนที่จะนำสมาชิกไปเจาะตลาดอินโดนีเซียและประเทศอื่นๆ ซึ่งอยู่ระหว่างเตรียมการ"
นายคมสรรค์ กล่าวว่า นอกจากพาสมาชิกออกไปโรดโชว์แล้ว โครงการยังได้หารือกับกรมส่งเสริมการส่งออก และ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.)ในการสนับสนุนด้านการเงิน โดยโครงการมีแผนที่จะจัดหาสถานที่ที่เหมาะสมในประเทศเพื่อนบ้านในการตั้งโชว์รูม หรือศูนย์ค้าส่งเสื้อผ้าแฟชั่นของไทย ในระยะแรกมีเป้าหมายจะตั้งใน 9 ประเทศย่านอาเซียน(ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน พม่า ลาว เวียดนาม และกัมพูชา) เนื่องจากไทยเป็นผู้นำแฟชั่นในภูมิภาคนี้อยู่แล้วโอกาสแจ้งเกิดคงไม่ยากนัก นอกจากนี้ได้หารือกับกรุงเทพมหานคร และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)ศึกษาความเป็นไปได้ในการเปิดตลาดค้าปลีกและค้าส่งเสื้อผ้าในเวลากลางคืน(ไนท์ มาร์เก็ต)เพื่อบริการแก่นักท่องเที่ยว และนักช็อปของไทยในย่านการค้าชื่อดังทั้งโบ๊เบ๊ ประตูน้ำ และจตุจักร ซึ่งจะช่วยเพิ่มยอดช่องทางการจัดจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศได้เพิ่มขึ้น
นายเอกพร พงค์ จีรทิพา ผู้ประกอบการเสื้อผ้าแบรนด์ Ray หนึ่งในผู้ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการกล่าวว่า ปัจจุบันบริษัททำธุรกิจค้าส่งเสื้อผ้าอยู่ในย่านประตูน้ำ โดยมีโรงงานผลิตเองและบางแบบว่าจ้างโรงงานอื่นผลิต ปัญหาที่ผ่านมาคือ ช่องทางการตลาดยังค่อนข้างจำกัดเพราะส่วนใหญ่ทำตลาดในประเทศ ส่วนตลาดต่างประเทศเป็นลักษณะนั่งรอลูกค้าเข้ามาติดต่อซื้อขาย การเข้าร่วมโครงการครั้งนี้ตั้งความหวังในการเจาะตลาดส่งออกมากขึ้น
"อยากให้ไทยเป็นเหมือนจีนคือ ไปประเทศไหนก็จะมีสินค้าจีนวางขาย หรือมีร้านซึ่งเป็นของคนจีนเกลื่อนไปหมดเพราะเขาเข้าไปเจาะตลาดอย่างจริงจัง หากเราทำได้แบบนั้นเสื้อผ้าแบรนด์เนมไทยจะส่งออกได้อีกมาก"
สอดคล้องกับนายจรัสชัย แสงนาค เจ้าของกิจการเสื้อผ้าแบรนด์ BOY T SHIRT ทั้งค้าปลีกและค้าส่ง กล่าวว่า ผู้ผลิตและผู้ค้าเอสเอ็มอีของไทยยังขาดทั้งเรื่องช่องทางการจำหน่ายในต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายในการออกไปโรดโชว์แต่ละครั้งก็สูง ซึ่งอยากให้ภาครัฐช่วยสนับสนุน ขณะที่นายไพโรจน์ มีพรบูชาโรจน์ เจ้าของกิจการเสื้อผ้าแบรนด์ VOLUME X กล่าวว่า ปัจจุบันสินค้าของบริษัทนอกจากตลาดในประเทศแล้ว มีลูกค้าประจำหลายรายจากต่างประเทศเข้ามาสั่งซื้อเป็นระยะ อาทิ แคนาดา แอฟริกาใต้ มาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง และฟิลิปปินส์ ส่วนใหญ่ระบุเสื้อผ้าไทยมีแฟชั่นที่หลากหลายและเป็นผู้นำในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งหากได้รับการสนับสนุนจะสามารถส่งออกได้อีกมาก
อนึ่ง โครงการสตรีท แฟชั่น รันเวย์ เป็นโครงการที่ สสว. และกรมส่งเสริมการส่งออกร่วมกับสมาคมชาวโบ๊เบ๊จัดทำขึ้น มีเป้าหมายเพื่อสร้างผู้ประกอบการเสื้อผ้ารายย่อยที่มีแบรนด์เนมเป็นของตัวเองในการยกระดับให้มีศักยภาพแข่งขันได้ในต่างประเทศ โดยเน้น การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อรวบรวมจุดอ่อนจุดแข็ง และวิเคราะห์อุปสรรคและแนวทางแก้ไขเพื่อนำมาใช้วางกลยุทธ์ในการดำเนินงาน และการสร้างเครื่องมือทางด้านอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้เป็นช่องทางในการทำตลาด และการสร้างแบรนด์ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์(อี-คอมเมิร์ซ)
http://www.thannews.th.com/detialnews.p ... issue=2293
รัฐ-เอกชนผนึกกำลังปั้น 160 แบรนด์เสื้อผ้าไทยโกอินเตอร์ เล็งเปิดศูนย์ค้าส่งใน 9 ประเทศอาเซียนยึดผู้นำแฟชั่น-ช่วยเพิ่มยอดส่งออก สเต็ปสองเตรียมเปิดไนท์ มาร์เก็ต 3 ย่านค้าดังโบ๊เบ๊ ประตูน้ำ จตุจักรหวังดูดนักช็อปทั้งไทยและเทศ เพิ่มช่องทางตลาดครบวงจร
นายคมสรรค์ วิจิตรวิกรม ประธานคณะดำเนินงานโครงการสร้างมูลค่าเพิ่มภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอและแฟชั่น(โครงการสตรีท แฟชั่น รันเวย์) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ว่า ขณะนี้โครงการกำลังรุดไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดอยู่ระหว่างการสานต่อโครงการในระยะที่สอง โดยจะทำการคัดเลือกผู้ประกอบการค้าส่งและค้าปลีกเสื้อผ้าที่มีแบรนด์เป็นของตัวเองจากหลายแหล่งเข้าร่วมโครงการอีก 100 แบรนด์ อาทิ จากย่านโบ๊เบ๊ ประตูน้ำ จตุจักร และอื่นๆ จากเดิมสามารถคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการได้แล้ว 60 แบรนด์ ทั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี)ออกไปทำตลาดในต่างประเทศ
สำหรับการคัดเลือกผู้ประกอบการอีก 100 แบรนด์โครงการในครั้งนี้ คาดจะแล้วเสร็จก่อนงานแสดงสินค้าแฟชั่นเสื้อผ้า เครื่องหนัง และรองเท้า(BIFF&BIL2008) ที่จัดขึ้นในปลายเดือนสิงหาคมศกนี้ที่ไบเทค บางนา โดยมีแผนที่จะนำผู้ประกอบการที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการร่วมออกงาน BIFF&BIL2008 เพื่อพบปะกับลูกค้าจากต่างประเทศที่จะเข้ามาเจรจาติดต่อธุรกิจ ขณะเดียวกันมีแผนร่วมกับกรมส่งเสริมการส่งออกในการจัดคณะผู้แทนการค้าโดยนำพาสมาชิกออกไปโรดโชว์เพื่อเจรจาธุรกิจกับคู่ค้าในต่างประเทศ เพื่อขยายตลาดส่งออกต่อไป
"ในปีที่ผ่านมาโครงการได้นำพาสมาชิกร่วมงาน BIFF&BIL โดยจัดเป็นพาวิเลียนของโครงการสตรีท แฟชั่น รันเวย์โดยเฉพาะ ซึ่งหลายรายก็ได้ลูกค้าต่างประเทศ มีออร์เดอร์เข้ามาเป็นระยะ ขณะเดียวกันได้นำสมาชิกออกไปโรดโชว์ในต่างประเทศที่ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ หลายรายได้ลูกค้าและมีการสั่งซื้อต่อเนื่อง สรุปทั้งปี 2550 มียอดการค้าเกิดขึ้นแล้วกว่า 20 ล้านบาท ปีนี้เรามีแผนที่จะนำสมาชิกไปเจาะตลาดอินโดนีเซียและประเทศอื่นๆ ซึ่งอยู่ระหว่างเตรียมการ"
นายคมสรรค์ กล่าวว่า นอกจากพาสมาชิกออกไปโรดโชว์แล้ว โครงการยังได้หารือกับกรมส่งเสริมการส่งออก และ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.)ในการสนับสนุนด้านการเงิน โดยโครงการมีแผนที่จะจัดหาสถานที่ที่เหมาะสมในประเทศเพื่อนบ้านในการตั้งโชว์รูม หรือศูนย์ค้าส่งเสื้อผ้าแฟชั่นของไทย ในระยะแรกมีเป้าหมายจะตั้งใน 9 ประเทศย่านอาเซียน(ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน พม่า ลาว เวียดนาม และกัมพูชา) เนื่องจากไทยเป็นผู้นำแฟชั่นในภูมิภาคนี้อยู่แล้วโอกาสแจ้งเกิดคงไม่ยากนัก นอกจากนี้ได้หารือกับกรุงเทพมหานคร และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)ศึกษาความเป็นไปได้ในการเปิดตลาดค้าปลีกและค้าส่งเสื้อผ้าในเวลากลางคืน(ไนท์ มาร์เก็ต)เพื่อบริการแก่นักท่องเที่ยว และนักช็อปของไทยในย่านการค้าชื่อดังทั้งโบ๊เบ๊ ประตูน้ำ และจตุจักร ซึ่งจะช่วยเพิ่มยอดช่องทางการจัดจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศได้เพิ่มขึ้น
นายเอกพร พงค์ จีรทิพา ผู้ประกอบการเสื้อผ้าแบรนด์ Ray หนึ่งในผู้ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการกล่าวว่า ปัจจุบันบริษัททำธุรกิจค้าส่งเสื้อผ้าอยู่ในย่านประตูน้ำ โดยมีโรงงานผลิตเองและบางแบบว่าจ้างโรงงานอื่นผลิต ปัญหาที่ผ่านมาคือ ช่องทางการตลาดยังค่อนข้างจำกัดเพราะส่วนใหญ่ทำตลาดในประเทศ ส่วนตลาดต่างประเทศเป็นลักษณะนั่งรอลูกค้าเข้ามาติดต่อซื้อขาย การเข้าร่วมโครงการครั้งนี้ตั้งความหวังในการเจาะตลาดส่งออกมากขึ้น
"อยากให้ไทยเป็นเหมือนจีนคือ ไปประเทศไหนก็จะมีสินค้าจีนวางขาย หรือมีร้านซึ่งเป็นของคนจีนเกลื่อนไปหมดเพราะเขาเข้าไปเจาะตลาดอย่างจริงจัง หากเราทำได้แบบนั้นเสื้อผ้าแบรนด์เนมไทยจะส่งออกได้อีกมาก"
สอดคล้องกับนายจรัสชัย แสงนาค เจ้าของกิจการเสื้อผ้าแบรนด์ BOY T SHIRT ทั้งค้าปลีกและค้าส่ง กล่าวว่า ผู้ผลิตและผู้ค้าเอสเอ็มอีของไทยยังขาดทั้งเรื่องช่องทางการจำหน่ายในต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายในการออกไปโรดโชว์แต่ละครั้งก็สูง ซึ่งอยากให้ภาครัฐช่วยสนับสนุน ขณะที่นายไพโรจน์ มีพรบูชาโรจน์ เจ้าของกิจการเสื้อผ้าแบรนด์ VOLUME X กล่าวว่า ปัจจุบันสินค้าของบริษัทนอกจากตลาดในประเทศแล้ว มีลูกค้าประจำหลายรายจากต่างประเทศเข้ามาสั่งซื้อเป็นระยะ อาทิ แคนาดา แอฟริกาใต้ มาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง และฟิลิปปินส์ ส่วนใหญ่ระบุเสื้อผ้าไทยมีแฟชั่นที่หลากหลายและเป็นผู้นำในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งหากได้รับการสนับสนุนจะสามารถส่งออกได้อีกมาก
อนึ่ง โครงการสตรีท แฟชั่น รันเวย์ เป็นโครงการที่ สสว. และกรมส่งเสริมการส่งออกร่วมกับสมาคมชาวโบ๊เบ๊จัดทำขึ้น มีเป้าหมายเพื่อสร้างผู้ประกอบการเสื้อผ้ารายย่อยที่มีแบรนด์เนมเป็นของตัวเองในการยกระดับให้มีศักยภาพแข่งขันได้ในต่างประเทศ โดยเน้น การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อรวบรวมจุดอ่อนจุดแข็ง และวิเคราะห์อุปสรรคและแนวทางแก้ไขเพื่อนำมาใช้วางกลยุทธ์ในการดำเนินงาน และการสร้างเครื่องมือทางด้านอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้เป็นช่องทางในการทำตลาด และการสร้างแบรนด์ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์(อี-คอมเมิร์ซ)
http://www.thannews.th.com/detialnews.p ... issue=2293
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news06/02/08
โพสต์ที่ 74
ยีนส์ลีเร่งอัดกิจกรรมสร้างอารมณ์ซื้อ
โพสต์ทูเดย์ ยีนส์ลีเร่งเครื่องรับกำลังซื้อซึมคู่แข่งอ่อนแรง เพิ่มงบการตลาด ขยายฐานวัยรุ่น หวังชิงส่วนแบ่งตลาดยีนส์ 3 พันล้าน
นายวราวุธ มัทนพจนารถ ผู้อำนวยการอาวุโส บริษัท เซ็นทรัลเทรดดิ้ง ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าภายใต้แบรนด์ ลี กล่าวว่า กำลังซื้อในกลุ่มสินค้าแฟชั่นยังไม่กระเตื้อง แม้จะมีรัฐบาลใหม่ แต่ภาพยังคงไม่ชัดเจน ทำให้ผู้บริโภคยังคงระมัดระวังการใช้จ่ายต่อเนื่อง โดยเฉพาะ 2 เดือนแรกของปีนี้ภาวะกำลังซื้อยังทรงตัว
นอกจากนี้ ยังเริ่มเห็นชัดเจนว่า คู่แข่งหันไปเล่นเรื่องราคาเป็นหลัก ซึ่งการลดราคาแสดงให้เห็นว่ายอดขายมีปัญหา และแม้จะช่วยกระตุ้นยอดขายได้ในระยะสั้น แต่ในระยะยาว จะทำให้แบรนด์เสียไป นายวราวุธ กล่าว
สำหรับกลยุทธ์การทำตลาดของแบรนด์ลีในปีนี้ จะเน้นทำกิจกรรมกับกลุ่มลูกค้าเป็นหลัก เพื่อกระตุ้นบรรยากาศการซื้อให้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานการณ์ที่ยังขาดความชัดเจน ทำให้บริษัทต้องเร่งจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายให้เร็วขึ้นและเพิ่มความถี่มากขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าผลิตภัณฑ์ในกลุ่มยีนส์ยังมีแนวโน้มการขยายตัวเพิ่มขึ้น จากไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป อาทิ สามารถใส่ยีนส์ในการทำงานได้มากขึ้น ทำให้เป็นการเพิ่มโอกาสและความถี่ในการสวมใส่
ปัจจุบันตลาดรวมยีนส์มีมูลค่า 3 พันล้านบาท และในปีนี้คาดว่าจะขยายตัวในอัตรา 10% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ขยายตัว 5-10%
ทั้งนี้ ยีนส์ลี จะเน้นทำตลาดมากขึ้น โดยเพิ่มงบการตลาดอีก 30% ในปีนี้ จาก 15 เป็น 20 ล้านบาท รวมทั้งเพิ่มความถี่ในการจัดกิจกรรมจากปกติไตรมาสละ 1 ครั้ง เป็น 2-3 ครั้ง พร้อมทั้งขยายฐานลูกค้าในกลุ่มอายุ 17-25 ปี ที่มีกำลังซื้อและนิยมเปลี่ยนแฟชั่นบ่อยกว่าลูกค้ากลุ่มเดิมในอายุ 25-35 ปี
กิจกรรมการตลาดหลักของลี จะเน้นที่กลยุทธ์บีโลว์ เดอะ ไลน์ เช่น การทำซีอาร์เอ็ม โดยเฉพาะในฐานสมาชิกลี คลับ ที่ปัจจุบันมีจำนวน 2 หมื่นคน และคาดว่าปีนี้จะเพิ่มเป็น 3 หมื่นคน ซึ่งสมาชิกกลุ่มลี คลับ จะมียอดซื้อ 2-3 พันบาทต่อครั้ง ขณะที่ลูกค้าทั่วไปจะมียอดซื้อ 1.5 พันบาทต่อครั้ง
ล่าสุดบริษัทได้จัดกิจกรรม ฟรี ฮัค รับเทศกาลวาเลนไทน์ ในวันที่ 14 ก.พ.นี้ โดยให้ส่วนลดพิเศษแก่คู่รักที่มาเป็นคู่ รับส่วนลด 50% โดยจะพร้อมกันในช็อปของลี 13 แห่งทั่วประเทศ
ตอนนี้ ถ้าไม่ใช่เทศกาล คนก็จะไม่ซื้อ เพราะฉะนั้น เราต้องหันมากระตุ้นบรรยากาศในช่วงเทศกาล เพื่อให้คนออกมาซื้อของมากขึ้น นายวราวุธ กล่าว
ในปีที่ผ่านมา ยีนส์ลี มีส่วนแบ่ง 20% จากตลาดยีนส์ มูลค่า 3 พันล้านบาท รองจากลีวายส์และ แรงเลอร์ ซึ่งทั้ง 3 รายมีส่วนแบ่งตลาดแตกต่างกัน 2-3% เท่านั้น และจากการบุกตลาดมากขึ้นในปีนี้ คาดว่าจะสามารถเพิ่มส่วนแบ่งตลาดได้อีก 5-10% หรือเพิ่มส่วนแบ่งได้เท่ากับผู้นำตลาดในขณะนี้
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=219208
โพสต์ทูเดย์ ยีนส์ลีเร่งเครื่องรับกำลังซื้อซึมคู่แข่งอ่อนแรง เพิ่มงบการตลาด ขยายฐานวัยรุ่น หวังชิงส่วนแบ่งตลาดยีนส์ 3 พันล้าน
นายวราวุธ มัทนพจนารถ ผู้อำนวยการอาวุโส บริษัท เซ็นทรัลเทรดดิ้ง ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าภายใต้แบรนด์ ลี กล่าวว่า กำลังซื้อในกลุ่มสินค้าแฟชั่นยังไม่กระเตื้อง แม้จะมีรัฐบาลใหม่ แต่ภาพยังคงไม่ชัดเจน ทำให้ผู้บริโภคยังคงระมัดระวังการใช้จ่ายต่อเนื่อง โดยเฉพาะ 2 เดือนแรกของปีนี้ภาวะกำลังซื้อยังทรงตัว
นอกจากนี้ ยังเริ่มเห็นชัดเจนว่า คู่แข่งหันไปเล่นเรื่องราคาเป็นหลัก ซึ่งการลดราคาแสดงให้เห็นว่ายอดขายมีปัญหา และแม้จะช่วยกระตุ้นยอดขายได้ในระยะสั้น แต่ในระยะยาว จะทำให้แบรนด์เสียไป นายวราวุธ กล่าว
สำหรับกลยุทธ์การทำตลาดของแบรนด์ลีในปีนี้ จะเน้นทำกิจกรรมกับกลุ่มลูกค้าเป็นหลัก เพื่อกระตุ้นบรรยากาศการซื้อให้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานการณ์ที่ยังขาดความชัดเจน ทำให้บริษัทต้องเร่งจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายให้เร็วขึ้นและเพิ่มความถี่มากขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าผลิตภัณฑ์ในกลุ่มยีนส์ยังมีแนวโน้มการขยายตัวเพิ่มขึ้น จากไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป อาทิ สามารถใส่ยีนส์ในการทำงานได้มากขึ้น ทำให้เป็นการเพิ่มโอกาสและความถี่ในการสวมใส่
ปัจจุบันตลาดรวมยีนส์มีมูลค่า 3 พันล้านบาท และในปีนี้คาดว่าจะขยายตัวในอัตรา 10% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ขยายตัว 5-10%
ทั้งนี้ ยีนส์ลี จะเน้นทำตลาดมากขึ้น โดยเพิ่มงบการตลาดอีก 30% ในปีนี้ จาก 15 เป็น 20 ล้านบาท รวมทั้งเพิ่มความถี่ในการจัดกิจกรรมจากปกติไตรมาสละ 1 ครั้ง เป็น 2-3 ครั้ง พร้อมทั้งขยายฐานลูกค้าในกลุ่มอายุ 17-25 ปี ที่มีกำลังซื้อและนิยมเปลี่ยนแฟชั่นบ่อยกว่าลูกค้ากลุ่มเดิมในอายุ 25-35 ปี
กิจกรรมการตลาดหลักของลี จะเน้นที่กลยุทธ์บีโลว์ เดอะ ไลน์ เช่น การทำซีอาร์เอ็ม โดยเฉพาะในฐานสมาชิกลี คลับ ที่ปัจจุบันมีจำนวน 2 หมื่นคน และคาดว่าปีนี้จะเพิ่มเป็น 3 หมื่นคน ซึ่งสมาชิกกลุ่มลี คลับ จะมียอดซื้อ 2-3 พันบาทต่อครั้ง ขณะที่ลูกค้าทั่วไปจะมียอดซื้อ 1.5 พันบาทต่อครั้ง
ล่าสุดบริษัทได้จัดกิจกรรม ฟรี ฮัค รับเทศกาลวาเลนไทน์ ในวันที่ 14 ก.พ.นี้ โดยให้ส่วนลดพิเศษแก่คู่รักที่มาเป็นคู่ รับส่วนลด 50% โดยจะพร้อมกันในช็อปของลี 13 แห่งทั่วประเทศ
ตอนนี้ ถ้าไม่ใช่เทศกาล คนก็จะไม่ซื้อ เพราะฉะนั้น เราต้องหันมากระตุ้นบรรยากาศในช่วงเทศกาล เพื่อให้คนออกมาซื้อของมากขึ้น นายวราวุธ กล่าว
ในปีที่ผ่านมา ยีนส์ลี มีส่วนแบ่ง 20% จากตลาดยีนส์ มูลค่า 3 พันล้านบาท รองจากลีวายส์และ แรงเลอร์ ซึ่งทั้ง 3 รายมีส่วนแบ่งตลาดแตกต่างกัน 2-3% เท่านั้น และจากการบุกตลาดมากขึ้นในปีนี้ คาดว่าจะสามารถเพิ่มส่วนแบ่งตลาดได้อีก 5-10% หรือเพิ่มส่วนแบ่งได้เท่ากับผู้นำตลาดในขณะนี้
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=219208
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news20/02/08
โพสต์ที่ 75
128 โรงงานสงทอเจ๊งยับ สุวิทย์สั่ง SME แบงก์อุ้ม
> อัดฉีดเม็ดเงินโละเครื่องจักรเก่าใส่เครื่องจักรใหม่ชุบชีวิต
อะโหชีวิตสุดรันทด 128 บริษัทสิ่งทอหยุดเดินเครื่องเหตุเพราะเครื่องจักรล้าสมัย ตามไม่ทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง รวมมูลค่าความ เสียหายนับพันล้าน หนำซ้ำโชคชะตายังเล่นตลกทำเรื่องขอสินเชื่อจากแบงก์ก็ถูกเมิน สวนทางคำคุยโอ้อวดของรัฐบาลที่บอกว่าช่วยเต็มที่ สุวิทย์ ออกโรง เคลียร์ด่วนให้เอสเอ็มอีแบงก์ปล่อยงบเปลี่ยนเครื่องจักร พร้อมเล็งปัดฝุ่นโปรเจกต์ กรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น นายกสมาคมเครื่องนุ่งห่มเชื่อหากพัฒนาจริงไทยผงาด เป็นผู้นำอาเซียนไม่ยาก ด้านกลุ่มโบ๊เบ๊ขู่อย่าเอื้อประโยชน์เฉพาะกลุ่ม ขณะที่ รมว. ท่องเที่ยวร่วมวงขอฟื้น พืชสวนโลก ด้วย
นายวิรัตน์ ตันเดชานุรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งทอ เปิดแผย สยามธุรกิจ ถึงภาพรวมของอุตสาหกรรมสิ่งทอในช่วงที่ผ่านมาว่ายังมีทิศทางที่สดใส แต่สาเหตุที่โรงงานหลายแห่งต้องปิดกิจการไม่ใช่เพราะอุตสาหกรรมนี้มีปัญหา แต่ส่วนหนึ่งเป็นผลเนื่องมาจากประสิทธิภาพของเครื่องจักรที่ล้าสมัย ไม่สามารถผลิตสินค้าได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า โดยในปีที่ผ่านมามีโรงงานสิ่งทอปิดกิจการเนื่องจากเครื่องจักรขาดประสิทธิภาพไปแล้ว 128 ราย
อย่างกรณีโรงงานไทยศิลป์ที่ปิดกิจการนั้นส่วนหนึ่งก็เนื่องมาจากเครื่องจักรขาดประสิทธิภาพ เขาพยายามขอสินเชื่อเพื่อซื้อเครื่องจักรใหม่ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งจะเห็นว่าตัวผู้บริหารเองก็แสดงความรู้สึกว่าไม่อยากปิดกิจการ เพราะเห็นว่าโอกาสทางธุรกิจในอุตสาหกรรมนี้ยังเปิดกว้าง และโรงงาน 128 แห่งที่ปิดกิจการส่วนใหญ่ก็เป็นโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า โรงงานฟอกย้อม ซึ่งเป็นโรงงานขนาดเล็กและมีเครื่องจักรเก่า ตามไม่ทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง ในขณะที่โรงงานใหม่ๆ ที่มีเครื่องจักรทันสมัยจะได้เปรียบอย่างมากด้านการแข่งขัน นายวิรัตน์ กล่าว
นายวิรัตน์ยังกล่าวถึงการนำโครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่นกลับมาทำใหม่ว่ายังไม่ทราบ แต่คิดว่ามีความเป็นไปได้ ซึ่งหากนำกลับมาทำใหม่จริงควรสร้างวิธีการทำให้ครอบคลุมทั้งระบบตั้งแต่ต้นนำถึงปลายน้ำ เนื่องจากโครงการเดิมเน้นที่ระบบปลายน้ำคือด้านการตลาดเป็นหลัก คือเน้นการดีไซน์และหาช่องทางการขาย ซึ่งทุกวันนี้การออกแบบเสื้อผ้าให้สวยอย่างเดียวคงขายไม่ได้ เพราะผู้ซื้อจะพิจารณาคุณสมบัติของเนื้อผ้าด้วยว่าดีหรือไม่ เคลือบสารอะไรบ้าง ซึ่งรัฐบาลต้องเข้ามาดูแลสนับสนุนให้ความรู้ในส่วนนี้ด้วย เพราะอุตสาหกรรมสิ่งทอนั้นเริ่มตั้งแต่เส้นใยกระทั่งผลิตเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูป
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... s_id=11636
> อัดฉีดเม็ดเงินโละเครื่องจักรเก่าใส่เครื่องจักรใหม่ชุบชีวิต
อะโหชีวิตสุดรันทด 128 บริษัทสิ่งทอหยุดเดินเครื่องเหตุเพราะเครื่องจักรล้าสมัย ตามไม่ทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง รวมมูลค่าความ เสียหายนับพันล้าน หนำซ้ำโชคชะตายังเล่นตลกทำเรื่องขอสินเชื่อจากแบงก์ก็ถูกเมิน สวนทางคำคุยโอ้อวดของรัฐบาลที่บอกว่าช่วยเต็มที่ สุวิทย์ ออกโรง เคลียร์ด่วนให้เอสเอ็มอีแบงก์ปล่อยงบเปลี่ยนเครื่องจักร พร้อมเล็งปัดฝุ่นโปรเจกต์ กรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น นายกสมาคมเครื่องนุ่งห่มเชื่อหากพัฒนาจริงไทยผงาด เป็นผู้นำอาเซียนไม่ยาก ด้านกลุ่มโบ๊เบ๊ขู่อย่าเอื้อประโยชน์เฉพาะกลุ่ม ขณะที่ รมว. ท่องเที่ยวร่วมวงขอฟื้น พืชสวนโลก ด้วย
นายวิรัตน์ ตันเดชานุรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งทอ เปิดแผย สยามธุรกิจ ถึงภาพรวมของอุตสาหกรรมสิ่งทอในช่วงที่ผ่านมาว่ายังมีทิศทางที่สดใส แต่สาเหตุที่โรงงานหลายแห่งต้องปิดกิจการไม่ใช่เพราะอุตสาหกรรมนี้มีปัญหา แต่ส่วนหนึ่งเป็นผลเนื่องมาจากประสิทธิภาพของเครื่องจักรที่ล้าสมัย ไม่สามารถผลิตสินค้าได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า โดยในปีที่ผ่านมามีโรงงานสิ่งทอปิดกิจการเนื่องจากเครื่องจักรขาดประสิทธิภาพไปแล้ว 128 ราย
อย่างกรณีโรงงานไทยศิลป์ที่ปิดกิจการนั้นส่วนหนึ่งก็เนื่องมาจากเครื่องจักรขาดประสิทธิภาพ เขาพยายามขอสินเชื่อเพื่อซื้อเครื่องจักรใหม่ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งจะเห็นว่าตัวผู้บริหารเองก็แสดงความรู้สึกว่าไม่อยากปิดกิจการ เพราะเห็นว่าโอกาสทางธุรกิจในอุตสาหกรรมนี้ยังเปิดกว้าง และโรงงาน 128 แห่งที่ปิดกิจการส่วนใหญ่ก็เป็นโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า โรงงานฟอกย้อม ซึ่งเป็นโรงงานขนาดเล็กและมีเครื่องจักรเก่า ตามไม่ทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง ในขณะที่โรงงานใหม่ๆ ที่มีเครื่องจักรทันสมัยจะได้เปรียบอย่างมากด้านการแข่งขัน นายวิรัตน์ กล่าว
นายวิรัตน์ยังกล่าวถึงการนำโครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่นกลับมาทำใหม่ว่ายังไม่ทราบ แต่คิดว่ามีความเป็นไปได้ ซึ่งหากนำกลับมาทำใหม่จริงควรสร้างวิธีการทำให้ครอบคลุมทั้งระบบตั้งแต่ต้นนำถึงปลายน้ำ เนื่องจากโครงการเดิมเน้นที่ระบบปลายน้ำคือด้านการตลาดเป็นหลัก คือเน้นการดีไซน์และหาช่องทางการขาย ซึ่งทุกวันนี้การออกแบบเสื้อผ้าให้สวยอย่างเดียวคงขายไม่ได้ เพราะผู้ซื้อจะพิจารณาคุณสมบัติของเนื้อผ้าด้วยว่าดีหรือไม่ เคลือบสารอะไรบ้าง ซึ่งรัฐบาลต้องเข้ามาดูแลสนับสนุนให้ความรู้ในส่วนนี้ด้วย เพราะอุตสาหกรรมสิ่งทอนั้นเริ่มตั้งแต่เส้นใยกระทั่งผลิตเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูป
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... s_id=11636
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news25/04/08
โพสต์ที่ 76
เสื้อผ้าทยอยย้าย รง.ผลิตจีนมาไทย
โพสต์ทูเดย์ ฐานการผลิตภาคอุตสาหกรรมหวนกลับไทย หลังค่าแรงจีนพุ่ง 23% และรัฐบาลจีนเลิกอุ้มภาคอุตสาหกรรมในประเทศ
นางพัชรวรรณ บุญนำทรัพย์ กรรมการบริหาร บริษัท ซานตา บาบาร่า อินเตอร์เนชั่นแนล ผู้ ผลิตและจัดจำหน่ายเสื้อผ้าแบรนด์ โปโล แอนด์ ยีนส์ บาย ซานตา บาบาร่า โปโล แอนด์ แรคเก็ต คลับ กล่าวว่า เนื่องจากรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ยกเลิกนโยบายการสนับสนุนการผลิตภาคอุตสาห กรรมภายในประเทศ เช่น การ ลดภาษีที่ดินและภาษีเครื่องจักร เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการจีนสามารถยืนได้ด้วยตัวเอง ประกอบกับการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ทำให้ปัจจุบันค่าแรงในจีนพุ่งขึ้น 23% ส่งผลให้ค่าแรงในไทยเทียบกับค่าแรงจีน มีต้นทุนใกล้เคียงกันหรือต่างกันเพียง 5% จากเดิมที่มีส่วนต่างกันมากถึง 25%
ดังนั้นนักลงทุนซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าต่างๆ จึงหันกลับมาจ้างแรงงานไทยและโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทยเป็นฐานการผลิตแทน เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องหนัง รองเท้า กระเป๋า เป็นต้น เพราะแรงงานไทยมีข้อได้เปรียบเรื่องคุณภาพและมีฝีมือที่ดีกว่า ซึ่งจะส่งผลให้ปีนี้ภาพรวมการรับจ้างผลิตเพื่อการส่งออก หรือโอดีเอ็ม ของบริษัท จะโตขึ้น 1015% จากปีก่อน ที่มียอดขายประมาณ 500 ล้านบาท นางพัชรวรรณ กล่าว
สำหรับภาพรวมของแบรนด์ โปโล แอนด์ ยีนส์ บาย ซานตา บาบาร่า โปโล แอนด์ แรคเก็ต คลับ ปีนี้ได้เปิดตัวสินค้าสำหรับเด็ก หรือ โปโล จูเนียร์ จับกลุ่มลูกค้าเด็กอายุตั้งแต่ 414 ปี ซึ่งเป็นตลาดใหม่ ที่มีช่องว่างทางการตลาด และ เสื้อผ้าหลายแบรนด์ได้หันเข้ามารุกในตลาดนี้มากขึ้น โดยในปีนี้ตั้งเป้าที่ จะขยายสาขาของกลุ่มเด็กให้ได้ 6 สาขา ด้วยงบการลงทุน 20 ล้านบาท
ทั้งนี้ สินค้าที่จับกลุ่มวัยรุ่นอายุ 14-25 ปี แบรนด์ โปโล ยีนส์ ซึ่งบริษัทพัฒนาเองมา 2 ปีแล้ว มีแผนที่จะส่งออกไปต่างประเทศเพิ่มขึ้น เช่น ไต้หวัน จีน ญี่ปุ่น เกาหลี จากปัจจุบันที่ส่งออกไปประเทศอินเดีย เวียนนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย
นอกจากนี้ บริษัทมีแผนที่จะเปิดแฟล็กชิปสโตร์ในประเทศจีน 2 แห่ง คือ ปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ ลงทุน 30 ล้านบาท เพราะจีนเป็นตลาดที่ใหญ่มีศักยภาพ ส่วนการเปิดแฟล็กชิปสโตร์ในไทยคาดอีก 12 ปีจะเปิด
ด้านนายสมเกียรติ โชคประจักษ์ชัด ผู้จัดการทั่วไปสายบริหารสินค้า A1A บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป กล่าวว่า ภาพรวมตลาดเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายชายไตรมาสแรกโตมากถึง 20% ขณะบริษัทปีนี้ตั้ง เป้าโต 15%
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=234375
โพสต์ทูเดย์ ฐานการผลิตภาคอุตสาหกรรมหวนกลับไทย หลังค่าแรงจีนพุ่ง 23% และรัฐบาลจีนเลิกอุ้มภาคอุตสาหกรรมในประเทศ
นางพัชรวรรณ บุญนำทรัพย์ กรรมการบริหาร บริษัท ซานตา บาบาร่า อินเตอร์เนชั่นแนล ผู้ ผลิตและจัดจำหน่ายเสื้อผ้าแบรนด์ โปโล แอนด์ ยีนส์ บาย ซานตา บาบาร่า โปโล แอนด์ แรคเก็ต คลับ กล่าวว่า เนื่องจากรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ยกเลิกนโยบายการสนับสนุนการผลิตภาคอุตสาห กรรมภายในประเทศ เช่น การ ลดภาษีที่ดินและภาษีเครื่องจักร เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการจีนสามารถยืนได้ด้วยตัวเอง ประกอบกับการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ทำให้ปัจจุบันค่าแรงในจีนพุ่งขึ้น 23% ส่งผลให้ค่าแรงในไทยเทียบกับค่าแรงจีน มีต้นทุนใกล้เคียงกันหรือต่างกันเพียง 5% จากเดิมที่มีส่วนต่างกันมากถึง 25%
ดังนั้นนักลงทุนซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าต่างๆ จึงหันกลับมาจ้างแรงงานไทยและโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทยเป็นฐานการผลิตแทน เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องหนัง รองเท้า กระเป๋า เป็นต้น เพราะแรงงานไทยมีข้อได้เปรียบเรื่องคุณภาพและมีฝีมือที่ดีกว่า ซึ่งจะส่งผลให้ปีนี้ภาพรวมการรับจ้างผลิตเพื่อการส่งออก หรือโอดีเอ็ม ของบริษัท จะโตขึ้น 1015% จากปีก่อน ที่มียอดขายประมาณ 500 ล้านบาท นางพัชรวรรณ กล่าว
สำหรับภาพรวมของแบรนด์ โปโล แอนด์ ยีนส์ บาย ซานตา บาบาร่า โปโล แอนด์ แรคเก็ต คลับ ปีนี้ได้เปิดตัวสินค้าสำหรับเด็ก หรือ โปโล จูเนียร์ จับกลุ่มลูกค้าเด็กอายุตั้งแต่ 414 ปี ซึ่งเป็นตลาดใหม่ ที่มีช่องว่างทางการตลาด และ เสื้อผ้าหลายแบรนด์ได้หันเข้ามารุกในตลาดนี้มากขึ้น โดยในปีนี้ตั้งเป้าที่ จะขยายสาขาของกลุ่มเด็กให้ได้ 6 สาขา ด้วยงบการลงทุน 20 ล้านบาท
ทั้งนี้ สินค้าที่จับกลุ่มวัยรุ่นอายุ 14-25 ปี แบรนด์ โปโล ยีนส์ ซึ่งบริษัทพัฒนาเองมา 2 ปีแล้ว มีแผนที่จะส่งออกไปต่างประเทศเพิ่มขึ้น เช่น ไต้หวัน จีน ญี่ปุ่น เกาหลี จากปัจจุบันที่ส่งออกไปประเทศอินเดีย เวียนนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย
นอกจากนี้ บริษัทมีแผนที่จะเปิดแฟล็กชิปสโตร์ในประเทศจีน 2 แห่ง คือ ปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ ลงทุน 30 ล้านบาท เพราะจีนเป็นตลาดที่ใหญ่มีศักยภาพ ส่วนการเปิดแฟล็กชิปสโตร์ในไทยคาดอีก 12 ปีจะเปิด
ด้านนายสมเกียรติ โชคประจักษ์ชัด ผู้จัดการทั่วไปสายบริหารสินค้า A1A บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป กล่าวว่า ภาพรวมตลาดเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายชายไตรมาสแรกโตมากถึง 20% ขณะบริษัทปีนี้ตั้ง เป้าโต 15%
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=234375
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news12/05/08
โพสต์ที่ 77
แฟชั่นแบรนด์เนมแห่ชิงเค้กตลาดไทย
โพสต์ทูเดย์ ซีเอ็มจี คาดอนาคตตลาดแฟชั่นแข่งดุ เหตุแบรนด์ต่างประเทศชิงยอดขายแบรนด์ไทยจากค่าเงินบาทแข็ง-เอฟทีเอ
นายจักรพงษ์ เฉลิมชัย ผู้อำนวยการอาวุโส บริษัท เซ็นทรัลเทรดดิ้ง ผู้ผลิต นำเข้าเสื้อผ้า และจัดจำหน่ายเสื้อผ้า ในห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลและโรบินสัน กล่าวว่า ช่วง 4 เดือนที่ผ่านมามีแบรนด์เสื้อผ้าจาก ต่างประเทศถูกนำเข้ามาทำตลาด ในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 10 แบรนด์ จากนักลงทุนต่างชาติที่มองการทำตลาดในไทยระยะยาวจาก 2 ปัจจัยบวกสนับสนุน คือ 1.ค่าเงินบาทไทยที่แข็งค่า ขึ้นเรื่อยๆ และ 2.มาตรการภาษีที่มีแนวโน้มลดลงจากข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างประเทศต่างๆ (เอฟทีเอ) ที่ประเทศไทยร่วมลงนามกับประเทศต่างๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น เป็นต้น
พร้อมคาดว่านับจากนี้ไป จะมีแบรนด์เสื้อผ้าจากต่างประเทศนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่ง ผลให้ตลาดเสื้อผ้าแฟชั่นในประเทศไทยในอนาคตจะแข่งขันรุนแรง และเป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะกระทบต่อยอดขายของสินค้าแบรนด์เนมท้องถิ่น หรือ โลคัล แบรนด์
นายจักรพงษ์ กล่าวว่า สำหรับเสื้อผ้าบุรุษยี่ห้อเอสแฟร์ ซึ่งเป็นแบรนด์ไทยนั้น ปีนี้ตั้ง เป้าเติบโต 15% จากปีที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตเพียง 5% โดยยอดขายของเอสแฟร์ ในปีนี้จะ มีสัดส่วนของการส่งออกเพิ่ม ขึ้นจาก 10% เป็น 20% โดยในอนาคตเตรียมรุกทำตลาดในต่างจังหวัดมากขึ้นด้วย
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=237521
โพสต์ทูเดย์ ซีเอ็มจี คาดอนาคตตลาดแฟชั่นแข่งดุ เหตุแบรนด์ต่างประเทศชิงยอดขายแบรนด์ไทยจากค่าเงินบาทแข็ง-เอฟทีเอ
นายจักรพงษ์ เฉลิมชัย ผู้อำนวยการอาวุโส บริษัท เซ็นทรัลเทรดดิ้ง ผู้ผลิต นำเข้าเสื้อผ้า และจัดจำหน่ายเสื้อผ้า ในห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลและโรบินสัน กล่าวว่า ช่วง 4 เดือนที่ผ่านมามีแบรนด์เสื้อผ้าจาก ต่างประเทศถูกนำเข้ามาทำตลาด ในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 10 แบรนด์ จากนักลงทุนต่างชาติที่มองการทำตลาดในไทยระยะยาวจาก 2 ปัจจัยบวกสนับสนุน คือ 1.ค่าเงินบาทไทยที่แข็งค่า ขึ้นเรื่อยๆ และ 2.มาตรการภาษีที่มีแนวโน้มลดลงจากข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างประเทศต่างๆ (เอฟทีเอ) ที่ประเทศไทยร่วมลงนามกับประเทศต่างๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น เป็นต้น
พร้อมคาดว่านับจากนี้ไป จะมีแบรนด์เสื้อผ้าจากต่างประเทศนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่ง ผลให้ตลาดเสื้อผ้าแฟชั่นในประเทศไทยในอนาคตจะแข่งขันรุนแรง และเป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะกระทบต่อยอดขายของสินค้าแบรนด์เนมท้องถิ่น หรือ โลคัล แบรนด์
นายจักรพงษ์ กล่าวว่า สำหรับเสื้อผ้าบุรุษยี่ห้อเอสแฟร์ ซึ่งเป็นแบรนด์ไทยนั้น ปีนี้ตั้ง เป้าเติบโต 15% จากปีที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตเพียง 5% โดยยอดขายของเอสแฟร์ ในปีนี้จะ มีสัดส่วนของการส่งออกเพิ่ม ขึ้นจาก 10% เป็น 20% โดยในอนาคตเตรียมรุกทำตลาดในต่างจังหวัดมากขึ้นด้วย
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=237521