ใครๆก็ว่าต้นทุนแพงขึ้น
- Pn3um0n1a
- Verified User
- โพสต์: 1935
- ผู้ติดตาม: 0
ใครๆก็ว่าต้นทุนแพงขึ้น
โพสต์ที่ 1
สินค้าการเกษตร บอกต้นทุนสูง อาหารสัตว์ก็แพง
รับเหมา บอกวัสดุก่อสร้างแพง
ใครๆก็ว่าน้ำมันแพงขึ้น
อะไรๆ ก็แพงหมด
แล้ว ใครเป็นคนได้รับผลประโยชร์ครับ?
ผู้ผลิตสินค้าต้นน้ำ?
แล้วมีใครบ้าง เหรอครับ
วงจรนี้เริ่มจากใคร เพราะ อะไร เป็นสาเหตุหลักๆ
ใครก็ได้ อธิบายทีครับ
รับเหมา บอกวัสดุก่อสร้างแพง
ใครๆก็ว่าน้ำมันแพงขึ้น
อะไรๆ ก็แพงหมด
แล้ว ใครเป็นคนได้รับผลประโยชร์ครับ?
ผู้ผลิตสินค้าต้นน้ำ?
แล้วมีใครบ้าง เหรอครับ
วงจรนี้เริ่มจากใคร เพราะ อะไร เป็นสาเหตุหลักๆ
ใครก็ได้ อธิบายทีครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 876
- ผู้ติดตาม: 0
ใครๆก็ว่าต้นทุนแพงขึ้น
โพสต์ที่ 2
ผมว่าคนที่ได้ประโยชน์คือคนที่สามารถกักตุนสินค้าได้ คือ พ่อค้าคนกลาง ครับ
ก่อนตรุษจีนผมไปพบลูกค้าร้านวัสดุก่อสร้างร้านนึง ไปถึงบอกเฮียไม่อยู่ ไปโอนเงิน 2 ล้าน จ่ายค่าเหล็ก กะมาสต็อก ฟันกำไรเวลาเห็นปรับขึ้น
ยี่ปั๊ว ซาปั๊ว ที่มีสต็อกเก็บไว้ ก็ฟันกำไรเนื้อๆ
ก่อนตรุษจีนผมไปพบลูกค้าร้านวัสดุก่อสร้างร้านนึง ไปถึงบอกเฮียไม่อยู่ ไปโอนเงิน 2 ล้าน จ่ายค่าเหล็ก กะมาสต็อก ฟันกำไรเวลาเห็นปรับขึ้น
ยี่ปั๊ว ซาปั๊ว ที่มีสต็อกเก็บไว้ ก็ฟันกำไรเนื้อๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 1992
- ผู้ติดตาม: 0
ใครๆก็ว่าต้นทุนแพงขึ้น
โพสต์ที่ 3
เริ่มต้น คงเป็นจาก "น้ำมัน" มังครับ
น้ำมันเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ ราคาจึงขึ้นกับ supply-demand
ตอนนี้ demand มาก supply เท่าเดิม ราคาเลยแพง
พอน้ำมันแพง พลังงานทางเลือกเลยแจ้งเกิด ผลผลิตหลาย ๆ อย่างที่เกี่ยวข้องกับ น้ำมัน และพลังงานทางเลือก ไม่ว่าโดยตรงและโดยอ้อม เลยมีราคาแพง
ของบางอย่างเช่นสินค้าเกษตรบางชนิด ดูยังไงก็ไม่เกี่ยว ก็ดันไปเกี่ยวข้องจนได้ เพราะพอพลังงานทางเลือกแพง คนเลยหันไปปลูกพืชพวกนั้น สินค้าเกษตรบางอย่างเลยปลูกน้อยลง
สรุปว่า เด็ดดอกไม้ สะเทือนถึงดวงดาว
น้ำมันเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ ราคาจึงขึ้นกับ supply-demand
ตอนนี้ demand มาก supply เท่าเดิม ราคาเลยแพง
พอน้ำมันแพง พลังงานทางเลือกเลยแจ้งเกิด ผลผลิตหลาย ๆ อย่างที่เกี่ยวข้องกับ น้ำมัน และพลังงานทางเลือก ไม่ว่าโดยตรงและโดยอ้อม เลยมีราคาแพง
ของบางอย่างเช่นสินค้าเกษตรบางชนิด ดูยังไงก็ไม่เกี่ยว ก็ดันไปเกี่ยวข้องจนได้ เพราะพอพลังงานทางเลือกแพง คนเลยหันไปปลูกพืชพวกนั้น สินค้าเกษตรบางอย่างเลยปลูกน้อยลง
สรุปว่า เด็ดดอกไม้ สะเทือนถึงดวงดาว
- Pn3um0n1a
- Verified User
- โพสต์: 1935
- ผู้ติดตาม: 0
ใครๆก็ว่าต้นทุนแพงขึ้น
โพสต์ที่ 4
[quote="mprandy"]เริ่มต้น คงเป็นจาก "น้ำมัน" มังครับ
น้ำมันเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ ราคาจึงขึ้นกับ supply-demand
ตอนนี้ demand มาก supply เท่าเดิม ราคาเลยแพง
พอน้ำมันแพง พลังงานทางเลือกเลยแจ้งเกิด ผลผลิตหลาย ๆ อย่างที่เกี่ยวข้องกับ น้ำมัน และพลังงานทางเลือก ไม่ว่าโดยตรงและโดยอ้อม เลยมีราคาแพง
ของบางอย่างเช่นสินค้าเกษตรบางชนิด ดูยังไงก็ไม่เกี่ยว ก็ดันไปเกี่ยวข้องจนได้ เพราะพอพลังงานทางเลือกแพง คนเลยหันไปปลูกพืชพวกนั้น สินค้าเกษตรบางอย่างเลยปลูกน้อยลง
สรุปว่า เด็ดดอกไม้ สะเทือนถึงดวงดาว
น้ำมันเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ ราคาจึงขึ้นกับ supply-demand
ตอนนี้ demand มาก supply เท่าเดิม ราคาเลยแพง
พอน้ำมันแพง พลังงานทางเลือกเลยแจ้งเกิด ผลผลิตหลาย ๆ อย่างที่เกี่ยวข้องกับ น้ำมัน และพลังงานทางเลือก ไม่ว่าโดยตรงและโดยอ้อม เลยมีราคาแพง
ของบางอย่างเช่นสินค้าเกษตรบางชนิด ดูยังไงก็ไม่เกี่ยว ก็ดันไปเกี่ยวข้องจนได้ เพราะพอพลังงานทางเลือกแพง คนเลยหันไปปลูกพืชพวกนั้น สินค้าเกษตรบางอย่างเลยปลูกน้อยลง
สรุปว่า เด็ดดอกไม้ สะเทือนถึงดวงดาว
-
- Verified User
- โพสต์: 1992
- ผู้ติดตาม: 0
ใครๆก็ว่าต้นทุนแพงขึ้น
โพสต์ที่ 5
ผมว่าแล้วแต่จะมองว่าเราดูกันที่ระยะสั้นหรือระยะยาว
ในระยะยาว ไม่ว่าสินค้าโภคภัณฑ์ชนิดใด ราคามันควรจะเพิ่มขึ้น เพราะถ้าไม่เพิ่มคงไม่มีใครทำธุรกิจที่แพ้เงินเฟ้อ
แต่ถ้ามองระยะสั้นหรือกลาง สินค้าโภคภัณฑ์มีราคาขึ้นลงตาม supply-demand อยู่ดี ในอดีตเราเคยเห็นราคาน้ำมันต่ำเตี้ย ($10/barrel) และสูงเสียดฟ้า ($80/barrel สมัยโน้น ซึ่งเทียบค่าเงินแล้วสูงกว่าปัจจุบันเยอะ) ในอนาคตก็ยังคงเห็นความผันผวนอยู่ดี แม้ว่าอาจจะไม่กว้างมากเหมือนในอดีต เนื่องจากการรวมกลุ่มของประเทศผู้ผลิตน้ำมันที่เป็นปึกแผ่นมากขึ้น (มีผลประโยชน์ร่วมกัน) และการใช้พลังงานทางเลือกที่จะเป็นปัจจัยที่ควบคุมพิสัย (range) ของราคาให้ผันผวนน้อยลง
ราคาสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้องอาจจะดูแพงขึ้นในช่วงนี้ แต่ถ้ามองดูจะเห็นว่ามันมี lag period อยู่พอสมควร (เทียบกับราคาน้ำมันที่ขึ้น แต่สินค้ายังไม่ได้ขึ้น) ซึ่งน่าจะเกิดการผ่องถ่ายต้นทุนผ่านมาทางราคาขายทีละขั้นไปเรื่อย ๆ ซึ่งถ้าราคาน้ำมันคงที่แล้ว เวลาผ่านไปซัก 6-9 เดือน ราคาสินค้าก็ควรจะเข้าสู่ระยะคงที่เหมือนกัน
ในระยะยาว ไม่ว่าสินค้าโภคภัณฑ์ชนิดใด ราคามันควรจะเพิ่มขึ้น เพราะถ้าไม่เพิ่มคงไม่มีใครทำธุรกิจที่แพ้เงินเฟ้อ
แต่ถ้ามองระยะสั้นหรือกลาง สินค้าโภคภัณฑ์มีราคาขึ้นลงตาม supply-demand อยู่ดี ในอดีตเราเคยเห็นราคาน้ำมันต่ำเตี้ย ($10/barrel) และสูงเสียดฟ้า ($80/barrel สมัยโน้น ซึ่งเทียบค่าเงินแล้วสูงกว่าปัจจุบันเยอะ) ในอนาคตก็ยังคงเห็นความผันผวนอยู่ดี แม้ว่าอาจจะไม่กว้างมากเหมือนในอดีต เนื่องจากการรวมกลุ่มของประเทศผู้ผลิตน้ำมันที่เป็นปึกแผ่นมากขึ้น (มีผลประโยชน์ร่วมกัน) และการใช้พลังงานทางเลือกที่จะเป็นปัจจัยที่ควบคุมพิสัย (range) ของราคาให้ผันผวนน้อยลง
ราคาสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้องอาจจะดูแพงขึ้นในช่วงนี้ แต่ถ้ามองดูจะเห็นว่ามันมี lag period อยู่พอสมควร (เทียบกับราคาน้ำมันที่ขึ้น แต่สินค้ายังไม่ได้ขึ้น) ซึ่งน่าจะเกิดการผ่องถ่ายต้นทุนผ่านมาทางราคาขายทีละขั้นไปเรื่อย ๆ ซึ่งถ้าราคาน้ำมันคงที่แล้ว เวลาผ่านไปซัก 6-9 เดือน ราคาสินค้าก็ควรจะเข้าสู่ระยะคงที่เหมือนกัน
-
- Verified User
- โพสต์: 1455
- ผู้ติดตาม: 0
ใครๆก็ว่าต้นทุนแพงขึ้น
โพสต์ที่ 7
สถานการณ์จะเปลี่ยนไปอย่างไร ผมคิดว่าถ้าไม่ทำพฤติกรรมของคนเปลี่ยนได้มาก.... มันก็ไม่น่าจะมีผลกับบริษัทเท่าไหร่หรอกมั้งครับ เช่นถ้าบอกว่าน้ำมันแพง แล้วคนออกมาบ่น กันพักหนึ่ง สุดท้ายก็กลับไปใช้น้ำมันเหมือนเดิม ....ไม่ก็ไม่น่าตื่นเท่าไหร่ แต่ถ้าเมื่อที่พฤติกรรมของคนเปลี่ยนเมื่อไหร่อันนั้นน่าตื่นเต้นดีครับ...เพราะว่ามันเป็นดอกาสที่ทำให้เราได้ค้นหาบริษัทที่จะมารองรับการเปลี่ยนไปของพฤติกรรมของคน.....
อย่าทำตัวเป็นนักแสดง เป็นเพียงผู้ดูก็พอ..
-
- Verified User
- โพสต์: 1992
- ผู้ติดตาม: 0
ใครๆก็ว่าต้นทุนแพงขึ้น
โพสต์ที่ 8
หูย.. ถ้าใครรู้ว่าราคามันจะสูงไปถึงเท่าไหร่ สูงไปอีกกี่ปี ก็รวยเละสิครับPn3um0n1a เขียน:แล้วราคาวัตถุดิบจะสูงไปขนาดไหนครับ
อย่าง กากถั่วเหลือง ที่นำมาผลิตน้ำมันได้ มีแนวโน้มจะสูงขึ้นไปอีกกี่ปี กี่เท่า
ราคาวัสดุก่อสร้างที่แพงขึ้นเรื่อยๆ มาจากอะไรเป็นสาเหตุหลัก และจะแพงขึ้นจนถึงเมื่อไหร่กัน?
เรื่องวัสดุก่อสร้าง โดยเฉพาะปูนซีเมนต์ ราคาขึ้นกับน้ำมันและพลังงานอื่น ๆ อย่างยิ่ง ทั้งขั้นตอนการทำ (ใช้เยอะมาก) กับการขนส่ง
ส่วนวัสดุอื่น ๆ เช่นเหล็ก ก็ขึ้นกับวงจรโภคภัณฑ์ ตอนนี้ขาขึ้นพอดี
-
- Verified User
- โพสต์: 1992
- ผู้ติดตาม: 0
ใครๆก็ว่าต้นทุนแพงขึ้น
โพสต์ที่ 10
เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ และผมว่า สถานการณ์ที่จะทำให้คนปรับตัวได้ดีที่สุด ก็คือสถานการณ์ที่ดูเหมือนจะเป็นภัยคุกคามกับตัวเองRONNAPUM เขียน:สถานการณ์จะเปลี่ยนไปอย่างไร ผมคิดว่าถ้าไม่ทำพฤติกรรมของคนเปลี่ยนได้มาก.... มันก็ไม่น่าจะมีผลกับบริษัทเท่าไหร่หรอกมั้งครับ เช่นถ้าบอกว่าน้ำมันแพง แล้วคนออกมาบ่น กันพักหนึ่ง สุดท้ายก็กลับไปใช้น้ำมันเหมือนเดิม ....ไม่ก็ไม่น่าตื่นเท่าไหร่ แต่ถ้าเมื่อที่พฤติกรรมของคนเปลี่ยนเมื่อไหร่อันนั้นน่าตื่นเต้นดีครับ...เพราะว่ามันเป็นดอกาสที่ทำให้เราได้ค้นหาบริษัทที่จะมารองรับการเปลี่ยนไปของพฤติกรรมของคน.....
ในกรณีอย่างนี้ ภัยคุกคามก็คือ การคุกคามกระเป๋าเงินนี่แหละ
ถ้าราคาน้ำมันมันแพงขึ้น คนจะประหยัดลง (ที่ชัดเจนอีกอย่างคือการเพิ่มส่วนต่างราคาน้ำมันปกติกับ E10 ช่วยเพิ่มสัดส่วนการใช้ E10 ได้มาก) แต่การบิดเบือนกลไกตลาดโดยเข้าไปพยุงราคา จะทำให้คนไม่ยอมปรับตัว การจะหวังให้คนมีสำนึกขึ้นมาโดยอัตโนมัติแล้วพร้อมใจกันลดการใช้ คงต้องรออีกหลายชาติกว่าจะสำเร็จ
- Isamu
- Verified User
- โพสต์: 167
- ผู้ติดตาม: 0
ใครๆก็ว่าต้นทุนแพงขึ้น
โพสต์ที่ 11
ผมไม่เห็นว่าในระยะยาวของต่างๆจะมีราคาแพงแบบไม่มีที่สิ้นสุดได้ มีแค่ความนิยมในเปลี่ยนกันไปในสิ่งต่างๆ เมื่อหมดความนิยมเราก็จะเห็นราคาที่แท้จริง
ในระยะสั้นเราอาจจะเห็นการเพิ่มขึ้นของสินค้าต่างๆ ตามๆกันมาในช่วง 2-3 ปีมานี้เนื่องจาก ความกลัว ว่าจะขาดแคลน และ ความโลภ ของการเก็งกำไรราคาซื้อขายล่วงหน้าของสินค้า commodity ต่างๆ คนที่จะได้ประโยชน์มากที่สุดคงจะเป็น hedge fund ที่สามารถเข้าถึงตลาด commodity มากกว่านักลงทุนกลุ่มอื่นๆ สำหรับผู้ผลิตสินค้า commodity เอง เช่น น้ำมันหรือถ่านหินนั้น ในช่วงแรกดูเหมือนจะได้ประโยชน์จากราคาที่สูงขึ้น แต่ต่อมาจะต้องเผชิญกับความยากลำบากในการตัดสินใจในเรื่องของการตัดสินใจขยายกำลังการผลิต เนื่องจากต้องอิงราคาสินค้านั้นว่าจะเป็นเท่าใดในอนาคต แล้วเทียบกับที่ต้องลงทุนไปว่ารับได้หรือไม่ ธุรกิจ commodity เข้ายากออกยาก ถ้าตัดสินใจผิด ราคาในอนาคตไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ต้องขาดทุนไปนานหลายปี
สำหรับผู้ผลิตสินค้าโดยทั่วไปก็จะถูกกดดันอย่างหนัก เนื่องจากราคาสินค้าต่างๆที่สูงขึ้นจะทำให้การบริโภคลดลง ผู้บริโภคจะตัดรายการซื้อที่ไม่จำเป็นออกและใช้เหตุผลเรื่องราคามากขึ้น ผู้ผลิตจึงไม่สามารถผลักภาระต้นทุนไปยังผู้บริโภคได้มากนัก ต้องกลับไปปรับปรุงกระบวนการผลิต และลดต้นทุนด้านอื่นแทน ซึ่งมักจะทำได้จำกัด
ในระยะยาวผู้ที่จะได้ประโยชน์คือ บริษัทที่ยอดเยี่ยม ที่มีสินค้าที่ตอบสนองต่อความต้องการจริงๆของผู้บริโภค ซึ่งสามารถผลักภาระต้นทุนไปยังผู้บริโภคได้และคู่แข่งยังจะไม่สามารถเข้าทำตลาดได้เนื่องจากต้องกลับไปปรับปรุงกระบวนการผลิต และลดต้นทุนด้านอื่นอยู่เพื่อให้ผ่านวิกฤตไป ยกตัวอย่างเช่นก่อนวิกฤตเศษฐกิจคราวก่อน เราอาจรู้จักหมู่บ้านจัดสรรหลายๆเจ้า แต่หลังวิกฤตเศษฐกิจ เราได้ยินชื่อ Land and house มากกว่าเจ้าอื่นๆ
โดยสรุป ผมสนใจเฉพาะธุรกิจที่ยอดเยี่ยม โดยไม่สนใจสภาวะแวดล้อมมากนัก เพราะทุกบริษัทต้องเจอเหมือนๆกัน ยังไงก็ตามวิธีที่อาจารย์นิเวศน์ ได้เคยเขียนไว้ยังใช้ได้อยู่เสมอครับ
ในระยะสั้นเราอาจจะเห็นการเพิ่มขึ้นของสินค้าต่างๆ ตามๆกันมาในช่วง 2-3 ปีมานี้เนื่องจาก ความกลัว ว่าจะขาดแคลน และ ความโลภ ของการเก็งกำไรราคาซื้อขายล่วงหน้าของสินค้า commodity ต่างๆ คนที่จะได้ประโยชน์มากที่สุดคงจะเป็น hedge fund ที่สามารถเข้าถึงตลาด commodity มากกว่านักลงทุนกลุ่มอื่นๆ สำหรับผู้ผลิตสินค้า commodity เอง เช่น น้ำมันหรือถ่านหินนั้น ในช่วงแรกดูเหมือนจะได้ประโยชน์จากราคาที่สูงขึ้น แต่ต่อมาจะต้องเผชิญกับความยากลำบากในการตัดสินใจในเรื่องของการตัดสินใจขยายกำลังการผลิต เนื่องจากต้องอิงราคาสินค้านั้นว่าจะเป็นเท่าใดในอนาคต แล้วเทียบกับที่ต้องลงทุนไปว่ารับได้หรือไม่ ธุรกิจ commodity เข้ายากออกยาก ถ้าตัดสินใจผิด ราคาในอนาคตไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ต้องขาดทุนไปนานหลายปี
สำหรับผู้ผลิตสินค้าโดยทั่วไปก็จะถูกกดดันอย่างหนัก เนื่องจากราคาสินค้าต่างๆที่สูงขึ้นจะทำให้การบริโภคลดลง ผู้บริโภคจะตัดรายการซื้อที่ไม่จำเป็นออกและใช้เหตุผลเรื่องราคามากขึ้น ผู้ผลิตจึงไม่สามารถผลักภาระต้นทุนไปยังผู้บริโภคได้มากนัก ต้องกลับไปปรับปรุงกระบวนการผลิต และลดต้นทุนด้านอื่นแทน ซึ่งมักจะทำได้จำกัด
ในระยะยาวผู้ที่จะได้ประโยชน์คือ บริษัทที่ยอดเยี่ยม ที่มีสินค้าที่ตอบสนองต่อความต้องการจริงๆของผู้บริโภค ซึ่งสามารถผลักภาระต้นทุนไปยังผู้บริโภคได้และคู่แข่งยังจะไม่สามารถเข้าทำตลาดได้เนื่องจากต้องกลับไปปรับปรุงกระบวนการผลิต และลดต้นทุนด้านอื่นอยู่เพื่อให้ผ่านวิกฤตไป ยกตัวอย่างเช่นก่อนวิกฤตเศษฐกิจคราวก่อน เราอาจรู้จักหมู่บ้านจัดสรรหลายๆเจ้า แต่หลังวิกฤตเศษฐกิจ เราได้ยินชื่อ Land and house มากกว่าเจ้าอื่นๆ
โดยสรุป ผมสนใจเฉพาะธุรกิจที่ยอดเยี่ยม โดยไม่สนใจสภาวะแวดล้อมมากนัก เพราะทุกบริษัทต้องเจอเหมือนๆกัน ยังไงก็ตามวิธีที่อาจารย์นิเวศน์ ได้เคยเขียนไว้ยังใช้ได้อยู่เสมอครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1372
- ผู้ติดตาม: 1
ใครๆก็ว่าต้นทุนแพงขึ้น
โพสต์ที่ 14
เริ่มจากน้ำมันแพง ทำให้สินค้าที่มีราคาอิงกับน้ำมัน กิจกรรมที่ใช้น้ำมัน หรือผลผลิตจากน้ำมัน ไม่ว่าจะเป็น ก๊าซธรรมชาติ ค่าขนส่ง และวัตถุดิบสำหรับหลายๆอุตสาหกรรม ถ้าจะมองให้ลึกกว่านั้น ผลของการที่น้ำมันดิบแพงขึ้น ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ
เมื่อราคาน้ำมันแพง พลังงานทางเลือกย่อมเข้ามา ผลที่ตามมาคือ เกิดdemand ของพืชน้ำมันจำนวนมหาศาล ทำให้ราคาพืชน้ำมันอย่าง ปาล์ม มันสำปะหลัง สูงขึ้นตามกลไกตลาด
ผลตามมาหลังจากราคาพืชน้ำมันราคาดี คือ เกษตรกรหันมาปลูกพืชน้ำมันกันมาก ทำให้พื้นที่ปลูกพืชอื่นลดลง
ผมคิดว่าราคาสินค้าเกษตรในปีนี้น่าจะแพงขึ้นกว่าเดิมอีก สาเหตุหลักๆคงมาจาก คนหันมาปลูกพืชน้ำมันกันมาก ยิ่งไปกว่านี้ ในไม่ช้าคงมีการบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อการปลูกพืชน้ำมัน เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมาอีก
เรื่องต้นทุนวัสดุก่อสร้างคงได้รับผลกระทบมาจากที่จีนก่อสร้างสนามกีฬาใหญ่ยักที่ใช้เหล็กจำนวนมหาศาล ส่งผลให้ราคาเหล็กถีบตัวสูงขึ้นอย่างมาก
เมื่อราคาน้ำมันแพง พลังงานทางเลือกย่อมเข้ามา ผลที่ตามมาคือ เกิดdemand ของพืชน้ำมันจำนวนมหาศาล ทำให้ราคาพืชน้ำมันอย่าง ปาล์ม มันสำปะหลัง สูงขึ้นตามกลไกตลาด
ผลตามมาหลังจากราคาพืชน้ำมันราคาดี คือ เกษตรกรหันมาปลูกพืชน้ำมันกันมาก ทำให้พื้นที่ปลูกพืชอื่นลดลง
ผมคิดว่าราคาสินค้าเกษตรในปีนี้น่าจะแพงขึ้นกว่าเดิมอีก สาเหตุหลักๆคงมาจาก คนหันมาปลูกพืชน้ำมันกันมาก ยิ่งไปกว่านี้ ในไม่ช้าคงมีการบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อการปลูกพืชน้ำมัน เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมาอีก
เรื่องต้นทุนวัสดุก่อสร้างคงได้รับผลกระทบมาจากที่จีนก่อสร้างสนามกีฬาใหญ่ยักที่ใช้เหล็กจำนวนมหาศาล ส่งผลให้ราคาเหล็กถีบตัวสูงขึ้นอย่างมาก
สติมา ปัญญาเกิด
-
- Verified User
- โพสต์: 1455
- ผู้ติดตาม: 0
ใครๆก็ว่าต้นทุนแพงขึ้น
โพสต์ที่ 15
ถ้าราคาน้ำมันมันแพงขึ้น คนจะประหยัดลง (ที่ชัดเจนอีกอย่างคือการเพิ่มส่วนต่างราคาน้ำมันปกติกับ E10 ช่วยเพิ่มสัดส่วนการใช้ E10 ได้มาก) แต่การบิดเบือนกลไกตลาดโดยเข้าไปพยุงราคา จะทำให้คนไม่ยอมปรับตัว การจะหวังให้คนมีสำนึกขึ้นมาโดยอัตโนมัติแล้วพร้อมใจกันลดการใช้ คงต้องรออีกหลายชาติกว่าจะสำเร็จ[/quote]
ในสถาการณ์ราคาน้ำมันราคาแพง จนมีนโยบายบอกว่า จะต้องใช้น้ำมัน e10บ้าง e20 บ้าง นั้น กว่าผู้บริโภคจะปรับตัวได้ก็คงอีกนานอ่ะครับ .. เนื่องจากผู้บริโภคยังยึดติดกับของเดิมอยู่.. และประเด็นที่ผมคิดว่าน่าสำคัญที่สุดที่ไม่ทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยน ก็คือผู้ผลิตนั้นเองครับ..เพราะว่าผู้ผลิตเองยังไม่สามาถตอบสนองความต้องการของภาครัฐ ได้ 100 % เนื่องจากต้องสูญเสียเงินค่อยข้างมาก .. ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทดสอบ การเปลี่ยนชิ้นส่วน ต่างๆ ในเคื่องยนต์ ...รถที่มีการโฆณาต่างๆ ที่บอกว่าสามารถใช้ได้แล้วนั้น โดยส่วนตัวแล้วไม่เชื่อว่าสามารถใช้ได้โดยไม่มีผลต่ออุปกรณ์ต่างๆ เอาแค่วพวก ซีลต่างๆ ที่อยู่ในเครื่องยนต์ รถรุ่นเก่าบริษัทยังไม่ได้เปลี่ยนเลย แต่บอกว่าสามารถใช้ได้ โดยไม่มีการสึกหรอใดๆ ( โดยหลักการณ์แล้วซีลต่างที่ผลิตขึ้นมาจะทนการกัดกร่อนได้เฉพาะ สารเคมีเท่านั้น เพราะเขาไม่ค่อยที่จะให้ทนได้หลายชนิดหรอก เปลืองเงินเขาเปล่าๆ )
ในสถาการณ์ราคาน้ำมันราคาแพง จนมีนโยบายบอกว่า จะต้องใช้น้ำมัน e10บ้าง e20 บ้าง นั้น กว่าผู้บริโภคจะปรับตัวได้ก็คงอีกนานอ่ะครับ .. เนื่องจากผู้บริโภคยังยึดติดกับของเดิมอยู่.. และประเด็นที่ผมคิดว่าน่าสำคัญที่สุดที่ไม่ทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยน ก็คือผู้ผลิตนั้นเองครับ..เพราะว่าผู้ผลิตเองยังไม่สามาถตอบสนองความต้องการของภาครัฐ ได้ 100 % เนื่องจากต้องสูญเสียเงินค่อยข้างมาก .. ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทดสอบ การเปลี่ยนชิ้นส่วน ต่างๆ ในเคื่องยนต์ ...รถที่มีการโฆณาต่างๆ ที่บอกว่าสามารถใช้ได้แล้วนั้น โดยส่วนตัวแล้วไม่เชื่อว่าสามารถใช้ได้โดยไม่มีผลต่ออุปกรณ์ต่างๆ เอาแค่วพวก ซีลต่างๆ ที่อยู่ในเครื่องยนต์ รถรุ่นเก่าบริษัทยังไม่ได้เปลี่ยนเลย แต่บอกว่าสามารถใช้ได้ โดยไม่มีการสึกหรอใดๆ ( โดยหลักการณ์แล้วซีลต่างที่ผลิตขึ้นมาจะทนการกัดกร่อนได้เฉพาะ สารเคมีเท่านั้น เพราะเขาไม่ค่อยที่จะให้ทนได้หลายชนิดหรอก เปลืองเงินเขาเปล่าๆ )
อย่าทำตัวเป็นนักแสดง เป็นเพียงผู้ดูก็พอ..