งบการเงิน CVD ไตรมาสที่ 4 น่าสนใจทีเดียวครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
งบการเงิน CVD ไตรมาสที่ 4 น่าสนใจทีเดียวครับ
โพสต์ที่ 1
CVD ตั้งแต่ถูกกลุ่มมาลีนนท์ซื้อกิจการไป ก็มีการเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานมาโดยตลอด
ในงบการเงินไตรมาสที่ 4 บริษัทมีการรับรู้ผลขาดทุนจากการยกเลิกหน่วยงานภายในบริษัท จำนวนสูงมากถึง 173.44 ล้านบาท ทำให้ปีนี้บริษัทมียอดขาดทุนสุทธิสูงถึง 200.18 ล้านบาท
สิ่งที่ตามมาก็คือ บริษัทมี ส่วนผู้ถือหุ้นลดลงจากปีก่อน จาก 739.68 ล้านบาท เหลือเพียง 501.45 ล้านบาท
สินทรัพย์รวมของบริษัทลดลงจากปีก่อน จาก 804.70 ล้านบาท เหลือเพียง 572.18 ล้านบาท
-------------------------------------------------------------------------------------
สิ่งที่ผมอยากจะถามก็คือ สินทรัพย์ของบริษัท และส่วนผู้ถือหุ้น ในปีนี้ เปรียบเทียบกับ ปีก่อน แตกต่างกันขนาดนั้นเลยหรือ
ที่ดิน เครื่องจักร รถยนต์ อุปกรณ์ต่างๆของบริษัทก็ยังอยู่ครบ
เพียงแต่ ณ.วันนี้ บริษัทอยากจะบอกว่า สินทรัพย์บางอย่างของบริษัทไม่มีมูลค่าแล้ว ทั้งๆที่ไตรมาสที่แล้วก็ยังมีมูลค่าเป็นร้อยๆล้านบาทอยู่เลย
ถ้าใครใช้งบการเงินปีก่อน หรือแม้แต่ไตรมาสก่อน แล้วเชื่อว่า บริษัทมีมูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมด มีส่วนผู้ถือหุ้น ตามงบการเงิน แล้วลงทุนโดยพิจารณาจากตัวเลขนั้น วันนี้เมื่อดูงบการเงินไตรมาสล่าสุด ก็คงตกใจอย่างมาก
ทุกวันนี้ เรายังสามารถเชื่อตัวเลข มูลค่าสินทรัพย์ มูลค่าส่วนผู้ถือหุ้น ที่ปรากฏอยู่ในงบการเงินได้มากน้อยแค่ไหน
แล้ว ROA และ ROE ที่ VI มักจะใช้กัน จะเชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน
ในงบการเงินไตรมาสที่ 4 บริษัทมีการรับรู้ผลขาดทุนจากการยกเลิกหน่วยงานภายในบริษัท จำนวนสูงมากถึง 173.44 ล้านบาท ทำให้ปีนี้บริษัทมียอดขาดทุนสุทธิสูงถึง 200.18 ล้านบาท
สิ่งที่ตามมาก็คือ บริษัทมี ส่วนผู้ถือหุ้นลดลงจากปีก่อน จาก 739.68 ล้านบาท เหลือเพียง 501.45 ล้านบาท
สินทรัพย์รวมของบริษัทลดลงจากปีก่อน จาก 804.70 ล้านบาท เหลือเพียง 572.18 ล้านบาท
-------------------------------------------------------------------------------------
สิ่งที่ผมอยากจะถามก็คือ สินทรัพย์ของบริษัท และส่วนผู้ถือหุ้น ในปีนี้ เปรียบเทียบกับ ปีก่อน แตกต่างกันขนาดนั้นเลยหรือ
ที่ดิน เครื่องจักร รถยนต์ อุปกรณ์ต่างๆของบริษัทก็ยังอยู่ครบ
เพียงแต่ ณ.วันนี้ บริษัทอยากจะบอกว่า สินทรัพย์บางอย่างของบริษัทไม่มีมูลค่าแล้ว ทั้งๆที่ไตรมาสที่แล้วก็ยังมีมูลค่าเป็นร้อยๆล้านบาทอยู่เลย
ถ้าใครใช้งบการเงินปีก่อน หรือแม้แต่ไตรมาสก่อน แล้วเชื่อว่า บริษัทมีมูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมด มีส่วนผู้ถือหุ้น ตามงบการเงิน แล้วลงทุนโดยพิจารณาจากตัวเลขนั้น วันนี้เมื่อดูงบการเงินไตรมาสล่าสุด ก็คงตกใจอย่างมาก
ทุกวันนี้ เรายังสามารถเชื่อตัวเลข มูลค่าสินทรัพย์ มูลค่าส่วนผู้ถือหุ้น ที่ปรากฏอยู่ในงบการเงินได้มากน้อยแค่ไหน
แล้ว ROA และ ROE ที่ VI มักจะใช้กัน จะเชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
งบการเงิน CVD ไตรมาสที่ 4 น่าสนใจทีเดียวครับ
โพสต์ที่ 2
CVD ประกาศเลิกขายพวกแผ่นทั้งหมด มีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์เหล่านั้นอีกต่างหาก
จุดนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงหน้ามือเป็นหลังเท้าครับ
กิจการเปลี่ยนแปลงไปเป็นกิจการที่ทำสื่อ ไม่ใช่กิจการที่ขายสื่อ
พี่ chatchai ต้องไปดูค่า goodview ของลิขสิทธิ์ และการตัดค่าเสื่อมราคา
น่าจะหมกอยู่แถวนั้นครับ
จุดนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงหน้ามือเป็นหลังเท้าครับ
กิจการเปลี่ยนแปลงไปเป็นกิจการที่ทำสื่อ ไม่ใช่กิจการที่ขายสื่อ
พี่ chatchai ต้องไปดูค่า goodview ของลิขสิทธิ์ และการตัดค่าเสื่อมราคา
น่าจะหมกอยู่แถวนั้นครับ
- atsu
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1220
- ผู้ติดตาม: 1
งบการเงิน CVD ไตรมาสที่ 4 น่าสนใจทีเดียวครับ
โพสต์ที่ 3
ขอแย้งให้เข้าประเด็นนิดนึงว่านี่คงไม่ใช่ประเด็นที่พี่ฉัตรชัยแกต้องการบอกครับmiracle เขียน:พี่ chatchai ต้องไปดูค่า goodview ของลิขสิทธิ์ และการตัดค่าเสื่อมราคา
น่าจะหมกอยู่แถวนั้นครับ
ประเด็นคงอยู่ที่ตรงนี้มากกว่าครับคุณมิราเคิล
ทุกวันนี้ เรายังสามารถเชื่อตัวเลข มูลค่าสินทรัพย์ มูลค่าส่วนผู้ถือหุ้น ที่ปรากฏอยู่ในงบการเงินได้มากน้อยแค่ไหน
-
- Verified User
- โพสต์: 1992
- ผู้ติดตาม: 0
งบการเงิน CVD ไตรมาสที่ 4 น่าสนใจทีเดียวครับ
โพสต์ที่ 4
เห็นด้วยกับเฮียฉัตร กับคุณ atsu ครับ
บางบริษัทตีค่าของพวกนี้อยู่ในงบดุล ทำให้ดูเหมือนว่ากิจการมันดูใหญ่โตมากทั้ง ๆ ที่ภายในอาจจะกลวงโบ๋
ผมไม่ค่อยห่วงมูลค่าผู้ถือหุ้นในงบดุลเท่าไหร่หรอก เพราะมันคือผลพวงจากการหักลบกลบหนี้สิน ออกจากสินทรัพย์
ปัญหาคือกิจการ (รวมถึงผู้สอบบัญชี) ตีค่า "ทรัพย์สิน" ในด้านสินทรัพย์ในบัญชีไตรมาสที่แล้ว หรือปีที่แล้วอย่างไร พวกสินค้าคงคลัง ที่นับวันจะด้อยค่า และด้อยเร็วมาก ๆ อย่างพวก software ทั้งหลาย (หนัง เพลง ฯลฯ) รวมถึงสิทธิการใช้ลิขสิทธิ์ทั้งหลาย ที่ CVD เก็บหรือมีอยู่
ตัวอย่างบันลือโลกทำนองเดียวกัน คือการประกาศการตัดขาดทุนของ AOL Time Warner พร้อม ๆ กับการถอดชื่อนำหน้า (AOL) ออก เพื่อตัดทรัพย์สินด้อยค่าทั้งหมดที่มีอยู่ ซึ่งเขาออกมายอมรับว่าเป็นการตัดทางบัญชีเพื่อให้งบดุลสะท้อนมูลค่ากิจการตามความเป็นจริง
ปีที่ตัดขาดทุน บ.เขารายงานการขาดทุน $99 Billion :shock:
แสดงว่าที่ผ่านมา มูลค่าทางบัญชี มัน "ยัดไส้" มากมายขนาดนั้นเลย
บางบริษัทตีค่าของพวกนี้อยู่ในงบดุล ทำให้ดูเหมือนว่ากิจการมันดูใหญ่โตมากทั้ง ๆ ที่ภายในอาจจะกลวงโบ๋
ผมไม่ค่อยห่วงมูลค่าผู้ถือหุ้นในงบดุลเท่าไหร่หรอก เพราะมันคือผลพวงจากการหักลบกลบหนี้สิน ออกจากสินทรัพย์
ปัญหาคือกิจการ (รวมถึงผู้สอบบัญชี) ตีค่า "ทรัพย์สิน" ในด้านสินทรัพย์ในบัญชีไตรมาสที่แล้ว หรือปีที่แล้วอย่างไร พวกสินค้าคงคลัง ที่นับวันจะด้อยค่า และด้อยเร็วมาก ๆ อย่างพวก software ทั้งหลาย (หนัง เพลง ฯลฯ) รวมถึงสิทธิการใช้ลิขสิทธิ์ทั้งหลาย ที่ CVD เก็บหรือมีอยู่
ตัวอย่างบันลือโลกทำนองเดียวกัน คือการประกาศการตัดขาดทุนของ AOL Time Warner พร้อม ๆ กับการถอดชื่อนำหน้า (AOL) ออก เพื่อตัดทรัพย์สินด้อยค่าทั้งหมดที่มีอยู่ ซึ่งเขาออกมายอมรับว่าเป็นการตัดทางบัญชีเพื่อให้งบดุลสะท้อนมูลค่ากิจการตามความเป็นจริง
ปีที่ตัดขาดทุน บ.เขารายงานการขาดทุน $99 Billion :shock:
แสดงว่าที่ผ่านมา มูลค่าทางบัญชี มัน "ยัดไส้" มากมายขนาดนั้นเลย
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
งบการเงิน CVD ไตรมาสที่ 4 น่าสนใจทีเดียวครับ
โพสต์ที่ 5
ดูจากงบแล้ว
สินทรัพย์ที่หดตัวลดลงมากมาจาก
เงินลงทุนตามวิธีราคาทุน - สุทธิ <--อันนี้งบเดี่ยว แต่งบรวมไม่กระทบ
(ไปดูข้อแปดแล้วร้องน่าครับอันนี้)
ค่าความนิยม - สุทธิ <-- อันนี้งบรวมเห็นๆๆครับ
อันนี้น่าจะถามเพิ่มเติมว่า Good View ของอะไรเพราะอีกที่แล้วยังอยู่ 100 ล้านกว่าบาท แต่มันตัดปีเดียวเกลี้ยงแสดงว่าต้องขายสินทรัพย์นั้นออก ถึงได้ตัดหมด เพราะค่า Good View มันอยู่กับตัวแบรนด์ของสินค้า
ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ - สุทธิ<---อันนี้ก็งบรวม
อันนี้ต้องถามว่าขายให้ใครครับ
บริษัทแม่ไม่ได้ถือครองแต่ลูกถือครองมันงงอยู่น่า
มันสอดคล้องกับคำประกาศของผู้บริหารไม่ใช่หรือครับ
ว่าตัดกิจการที่ขายแผ่นออกไปนี่น่า
งบก็สะท้อนออกมาก็ถูกต้องแต่ว่า มีอะไรซ่อนนอกเหนือจากนั้นอีกหรือเปล่า
แต่ว่าอ่านงบแล้วใจเย็นๆ มองภาพแล้วถามดีกว่าไหมครับ
เพราะกิจการนี้ปีที่แล้วมีการเปลี่ยนแปลงมาก
สินทรัพย์ที่หดตัวลดลงมากมาจาก
เงินลงทุนตามวิธีราคาทุน - สุทธิ <--อันนี้งบเดี่ยว แต่งบรวมไม่กระทบ
(ไปดูข้อแปดแล้วร้องน่าครับอันนี้)
ค่าความนิยม - สุทธิ <-- อันนี้งบรวมเห็นๆๆครับ
อันนี้น่าจะถามเพิ่มเติมว่า Good View ของอะไรเพราะอีกที่แล้วยังอยู่ 100 ล้านกว่าบาท แต่มันตัดปีเดียวเกลี้ยงแสดงว่าต้องขายสินทรัพย์นั้นออก ถึงได้ตัดหมด เพราะค่า Good View มันอยู่กับตัวแบรนด์ของสินค้า
ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ - สุทธิ<---อันนี้ก็งบรวม
อันนี้ต้องถามว่าขายให้ใครครับ
บริษัทแม่ไม่ได้ถือครองแต่ลูกถือครองมันงงอยู่น่า
มันสอดคล้องกับคำประกาศของผู้บริหารไม่ใช่หรือครับ
ว่าตัดกิจการที่ขายแผ่นออกไปนี่น่า
งบก็สะท้อนออกมาก็ถูกต้องแต่ว่า มีอะไรซ่อนนอกเหนือจากนั้นอีกหรือเปล่า
แต่ว่าอ่านงบแล้วใจเย็นๆ มองภาพแล้วถามดีกว่าไหมครับ
เพราะกิจการนี้ปีที่แล้วมีการเปลี่ยนแปลงมาก
- MO101
- Verified User
- โพสต์: 3226
- ผู้ติดตาม: 1
งบการเงิน CVD ไตรมาสที่ 4 น่าสนใจทีเดียวครับ
โพสต์ที่ 7
ทุกวันนี้ เรายังสามารถเชื่อตัวเลข มูลค่าสินทรัพย์ มูลค่าส่วนผู้ถือหุ้น ที่ปรากฏอยู่ในงบการเงินได้มากน้อยแค่ไหน
เชื่อได้ยากแต่ดีกว่าไม่มีอะไรให้ดู
ก็คงต้องฝึกฝนกันหนักหน่อย
เช่นถ้าเรามองสาวที่เดินผ่านมา แล้วเราไม่แน่ใจ ว่า ญ. จริง
หรือกระเทยปลอมตัวมา เราก็ปล่อยผ่าน
เชื่อได้ยากแต่ดีกว่าไม่มีอะไรให้ดู
ก็คงต้องฝึกฝนกันหนักหน่อย
เช่นถ้าเรามองสาวที่เดินผ่านมา แล้วเราไม่แน่ใจ ว่า ญ. จริง
หรือกระเทยปลอมตัวมา เราก็ปล่อยผ่าน
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
งบการเงิน CVD ไตรมาสที่ 4 น่าสนใจทีเดียวครับ
โพสต์ที่ 8
คำว่าเชื่อได้หรือไม่
คำนี้ใช้สำหรับผู้บริหารจะเหมาะสมกว่า
เพราะ ผู้บริหารเป็นคนให้ข่าว
มันสะท้อนออกมาในตัวงบทุกตัว
ซึ่ง งบดุลเกิดจาก
สินทรัพย์ = หนี้สิน + ทุน
สินทรัพย์ - ค่าใช้จ่าย = หนี้สิน + ทุน + รายได้
ซึ่งสินทรัพย์นั้น เปลี่ยนแปลงไปไหนได้ นอกจากอยู่ในตัวมันเอง
หรือเปลี่ยนแปลงเป็นทุน
ถ้าสินทรัพย์เพิ่ม อะไรเพิ่มคือ หนี้สินหรือทุนเพิ่ม
เล่นกันแค่นั้นล่ะ
แต่มองให้ออกว่า เขาทำบัญชีแล้ว เอาตัวไหนออกมาให้มึนหัวจะดีกว่าครับ
คำนี้ใช้สำหรับผู้บริหารจะเหมาะสมกว่า
เพราะ ผู้บริหารเป็นคนให้ข่าว
มันสะท้อนออกมาในตัวงบทุกตัว
ซึ่ง งบดุลเกิดจาก
สินทรัพย์ = หนี้สิน + ทุน
สินทรัพย์ - ค่าใช้จ่าย = หนี้สิน + ทุน + รายได้
ซึ่งสินทรัพย์นั้น เปลี่ยนแปลงไปไหนได้ นอกจากอยู่ในตัวมันเอง
หรือเปลี่ยนแปลงเป็นทุน
ถ้าสินทรัพย์เพิ่ม อะไรเพิ่มคือ หนี้สินหรือทุนเพิ่ม
เล่นกันแค่นั้นล่ะ
แต่มองให้ออกว่า เขาทำบัญชีแล้ว เอาตัวไหนออกมาให้มึนหัวจะดีกว่าครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
งบการเงิน CVD ไตรมาสที่ 4 น่าสนใจทีเดียวครับ
โพสต์ที่ 9
ดูต่อในส่วนของหนี้สิน กลับเพิ่มขึ้น
เหลือบไปดูข้างล่าง
เจอสองรายการที่ผิดปกติคือ
1. จำนวนหุ้นมันลดลง แสดงว่ามีการซื้อคืนหุ้น และลดทุนจดทะเบียนหรือเปล่า
2. ทำไมกำไรสะสม ยังไม่ได้จัดสรรถึงได้ลดลง แบบมีนัยสำคัญ
จุดนี้สงสัยว่า ทำไมถึงแสดงขาดทุนได้ในจุดนี้
มันไม่ได้บอกที่นี้เพราะเนื่องจากรายการนี้มันกระทบจากงบกำไรขาดทุน
ซึ่งในงบกำไรขาดทุน มีรายการค่าใช้จ่ายตัวหนึ่งที่น่าสนใจคือ
"ขาดทุนจากการดำเนินงานที่ยกเลิก"
ไปอ่านที่หมายเหตุ
งานนี้ประเด็นคือ งบมันน่าเชื่อถือหรือเปล่า
ต้องถาม
1. sec
2. ผู้ตรวจสอบบัญชี
ซึ่งผู้ตรวจสอบบัญชี ให้ผ่าน งานนี้ต้องระ SEC ว่าอย่างไงต่อไป
เพราะ SEC มีบทเรียนมามากแล้ว
เหลือบไปดูข้างล่าง
เจอสองรายการที่ผิดปกติคือ
1. จำนวนหุ้นมันลดลง แสดงว่ามีการซื้อคืนหุ้น และลดทุนจดทะเบียนหรือเปล่า
2. ทำไมกำไรสะสม ยังไม่ได้จัดสรรถึงได้ลดลง แบบมีนัยสำคัญ
จุดนี้สงสัยว่า ทำไมถึงแสดงขาดทุนได้ในจุดนี้
มันไม่ได้บอกที่นี้เพราะเนื่องจากรายการนี้มันกระทบจากงบกำไรขาดทุน
ซึ่งในงบกำไรขาดทุน มีรายการค่าใช้จ่ายตัวหนึ่งที่น่าสนใจคือ
"ขาดทุนจากการดำเนินงานที่ยกเลิก"
ไปอ่านที่หมายเหตุ
ฮิฮิ22.การดำเนินงานที่ยกเลิกของบริษัทย่อย
ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทของบริษัทใหญ่ เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2551 ได้อนุมัติแผนการยกเลิกส่วนงานธุรกิจจัดหาและจัดจำหน่ายภาพยนตร์พร้อมลิขสิทธิ์ เนื่องจากในปี 2551 บริษัท ไม่ได้รับสิทธิ์ในการจัดจำหน่ายภาพยนตร์วีซีดี และดีวีดี ของค่าย Sony Pictures Home Entertainment และค่ายเมเจอร์อื่นๆ การยกเลิกการดำเนินงานนั้นประกอบด้วย ส่วนงานที่ 2 ทั้งหมดซึ่งประกอบธุรกิจหลักเกี่ยวกับการจำหน่ายภาพยนตร์วีดีโอซีดี และดีวีดี พร้อมลิขสิทธิ์ ส่วนงานที่ 3 ในส่วนของการจัดหา และจำหน่ายลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ และส่วนงานที่ 1 ในส่วนของการให้บริการบรรจุหีบห่อสินค้าและให้เช่าพื้นที่คลังสินค้า
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 ราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ของส่วนงานที่ 2 และ 3 มีจำนวน 145.15 ล้านบาท และ 84.96 ล้านบาท ตามลำดับ และหนี้สินมีจำนวน 58.41 ล้านบาท และ 9.78 ล้านบาท ตามลำดับ และมีผลขาดทุนจากการดำเนินงานก่อนหักภาษีเงินได้จำนวน 134.26 ล้านบาท และ 3.74 ล้านบาท ตามลำดับ
ในระหว่างปี 2550 กระแสเงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมดำเนินงานของส่วนงานที่ 2 มีจำนวน 36.81 ล้านบาท และกระแสเงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมดำเนินงานของส่วนงานที่ 3 มีจำนวน 12.21 ล้านบาท กระแสเงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมลงทุนของส่วนงานที่ 2 และ 3 มีจำนวน 55.47 ล้านบาท และ 15.3 ล้านบาท ตามลำดับ มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนสุทธิของสินทรัพย์ของส่วนงานที่ 2 และ 3 มีจำนวน 86.74 ล้านบาท และ 75.18 ล้านบาท ตามลำดับ ทำให้บริษัทใหญ่ต้องรับรู้ผลขาดทุนจากการยกเลิกส่วนงานก่อนหักภาษีเงินได้ของส่วนงานที่ 2 และ 3 และส่วนงานที่ 1 เฉพาะส่วนที่เกี่ยวเนื่องกันดังกล่าวข้างต้นในงบการเงินรวม เป็นจำนวนเงินประมาณ 173.44 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย
- การตัดจำหน่ายสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน
- ค่าความนิยมจำนวน 77.99 ล้านบาท
- สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีจำนวน 18.35 ล้านบาท
- การรับรู้ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์
- ค่าเผื่อมูลค่าสินค้าล้าสมัยจำนวน 8.29 ล้านบาท
- ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของลูกหนี้การค้าจำนวน 17.76 ล้านบาท
- ค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์ถาวรจำนวน 21.96 ล้านบาท
- ค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์หมุนเวียนอื่นจำนวน 3.98 ล้านบาท
- เงินชดเชยพนักงาน
- เงินชดเชยพนักงานเนื่องจากการให้ออกจากงานจำนวน 25.11 ล้านบาท
บริษัทรับรู้ผลขาดทุนจากการยกเลิกส่วนงานก่อนหักภาษีเงินได้ดังกล่าวข้างต้นในงบการเงินเฉพาะกิจการ เป็นจำนวนเงินประมาณ 252.03 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย
- การตัดจำหน่ายสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน
- สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีจำนวน 4.35 ล้านบาท
- การรับรู้ผลขาดทุนจาการด้อยค่าของสินทรัพย์
- การด้อยค่าของเงินลงทุนในบริษัทย่อยจำนวน 243.31 ล้านบาท
- เงินชดเชยพนักงาน
- เงินชดเชยพนักงานเนื่องจากการให้ออกจากงานจำนวน 4.37 ล้านบาท
ผลขาดทุนจากการยกเลิกส่วนงานของส่วนงานที่ 2 ส่วนงานที่ 3 และส่วนงานที่ 1 เฉพาะส่วนที่เกี่ยวเนื่องกันดังกล่าวได้แสดงรวมไว้ในค่าใช้จ่ายอื่นในงบกำไรขาดทุน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2550 ภายใต้หัวข้อ ขาดทุนจากการดำเนินงานที่ยกเลิก
งานนี้ประเด็นคือ งบมันน่าเชื่อถือหรือเปล่า
ต้องถาม
1. sec
2. ผู้ตรวจสอบบัญชี
ซึ่งผู้ตรวจสอบบัญชี ให้ผ่าน งานนี้ต้องระ SEC ว่าอย่างไงต่อไป
เพราะ SEC มีบทเรียนมามากแล้ว
- Pn3um0n1a
- Verified User
- โพสต์: 1935
- ผู้ติดตาม: 0
งบการเงิน CVD ไตรมาสที่ 4 น่าสนใจทีเดียวครับ
โพสต์ที่ 10
พี่มิครับ
พี่ฉัตร น่าจะเตือน การที่เรา ดูแต่ตัวเลขน่ะครับ
ยกตัวอย่างกรณ๊นี้ให้เห็นว่า บางที ถึงตัดกำไร ขาดทุนพิเศษ ออกไป ก็ยังเชื่อไม่ได้ 100% จนกว่าจะรู้จัก A / E ทั้งหมดของเค้า...
มั้งครับ
พี่ฉัตร น่าจะเตือน การที่เรา ดูแต่ตัวเลขน่ะครับ
ยกตัวอย่างกรณ๊นี้ให้เห็นว่า บางที ถึงตัดกำไร ขาดทุนพิเศษ ออกไป ก็ยังเชื่อไม่ได้ 100% จนกว่าจะรู้จัก A / E ทั้งหมดของเค้า...
มั้งครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
งบการเงิน CVD ไตรมาสที่ 4 น่าสนใจทีเดียวครับ
โพสต์ที่ 12
สรุปในเรื่องนี้ผมมองแบบนี้ล่ะกัน
1. ผู้บริหารออกข่าวมานานแล้วว่า กิจการต้องปรับตัว
2. แปลกใจว่า ทำไมค่า Good view ของบริษัทลูกนั้นมากขนาดนั้น แล้วตัดปีเดียวทิ้งทั้งหมด ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ตอนที่ซื้อมาราคาแพงมาก ผู้บริหารคิดอะไรอยู่ในตอนที่ซื้อกิจการนั้นมา
3. ตัวเลขเชื่อถือได้หรือไม่
จุดนี้ลองไปถามผู้ตรวจสอบบัญชี ซึ่งได้รับเงินจากบริษัทว่า คุณเชื่อถือบัญชีของบริษัทที่คุณสอบหรือไม่ (อาจจะได้คำตอบดีก็เป็นไปได้)
อย่าลืมว่า SEC ต้องตรวจสอบบัญชีตัวนี้อีกครั้งหนึ่ง
หากมีอะไรผิดปกติ SEC สามารถขอแก้ไขงบย้อนหลังได้
ถ้าหาก CASE นี้เป็น CASE ซึ่งเป็นปกติของการทำธุรกรรมก็ไม่มีปัญหาอะไร
แต่หากเป็น CASE ไม่ธรรมดางานนี้ ต้องให้ผู้รู้อธิบายว่า กลยุทธ์ในการนี้คืออะไรด้วย จะได้เก็บไว้ในคลังความรู้ (เก็บในหัว)
4. แล้วผู้บริหารของ BEC ที่ซื้อหุ้น CVD นั้นมองเห็นอะไรในตัว CVD ณ วันที่ซื้อและ วันนี้ยังมองเห็นสิ่งเดียวกันหรือเปล่า มีอะไรที่มองเห็นแล้วแตกต่างกันหรือเปล่า แล้วอนาคตมันยืนอยู่ที่จุดไหน
5. กิจการของ CVD เคยเจออุปสรรคแบบนี้มาก่อนหรือเปล่า
ถ้าไม่เจอ แล้วคราวนี้มันอยู่รอดในโลกธุรกิจในปัจจุบันได้หรือไม่
6. ที่ดิน อาคาร สิ่งปลูกสร้างต่างๆ บริษัทนี้ไม่ได้เป็นเจ้าของเอง แต่ให้บริษัทลูกเป็นเจ้าของ อันนี้ต้องถามว่า ใครซื้อไป (ต้องไปหาข่าวว่าขายให้ใคร งานนี้บริษัทลูกขายแล้วต้องแจ้งกับทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือเปล่า)
7. คุณคิดว่ากิจการนี้ถึงจุดต่ำสุดหรือยัง
มีแค่นี้ล่ะคร้าบ
1. ผู้บริหารออกข่าวมานานแล้วว่า กิจการต้องปรับตัว
2. แปลกใจว่า ทำไมค่า Good view ของบริษัทลูกนั้นมากขนาดนั้น แล้วตัดปีเดียวทิ้งทั้งหมด ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ตอนที่ซื้อมาราคาแพงมาก ผู้บริหารคิดอะไรอยู่ในตอนที่ซื้อกิจการนั้นมา
3. ตัวเลขเชื่อถือได้หรือไม่
จุดนี้ลองไปถามผู้ตรวจสอบบัญชี ซึ่งได้รับเงินจากบริษัทว่า คุณเชื่อถือบัญชีของบริษัทที่คุณสอบหรือไม่ (อาจจะได้คำตอบดีก็เป็นไปได้)
อย่าลืมว่า SEC ต้องตรวจสอบบัญชีตัวนี้อีกครั้งหนึ่ง
หากมีอะไรผิดปกติ SEC สามารถขอแก้ไขงบย้อนหลังได้
ถ้าหาก CASE นี้เป็น CASE ซึ่งเป็นปกติของการทำธุรกรรมก็ไม่มีปัญหาอะไร
แต่หากเป็น CASE ไม่ธรรมดางานนี้ ต้องให้ผู้รู้อธิบายว่า กลยุทธ์ในการนี้คืออะไรด้วย จะได้เก็บไว้ในคลังความรู้ (เก็บในหัว)
4. แล้วผู้บริหารของ BEC ที่ซื้อหุ้น CVD นั้นมองเห็นอะไรในตัว CVD ณ วันที่ซื้อและ วันนี้ยังมองเห็นสิ่งเดียวกันหรือเปล่า มีอะไรที่มองเห็นแล้วแตกต่างกันหรือเปล่า แล้วอนาคตมันยืนอยู่ที่จุดไหน
5. กิจการของ CVD เคยเจออุปสรรคแบบนี้มาก่อนหรือเปล่า
ถ้าไม่เจอ แล้วคราวนี้มันอยู่รอดในโลกธุรกิจในปัจจุบันได้หรือไม่
6. ที่ดิน อาคาร สิ่งปลูกสร้างต่างๆ บริษัทนี้ไม่ได้เป็นเจ้าของเอง แต่ให้บริษัทลูกเป็นเจ้าของ อันนี้ต้องถามว่า ใครซื้อไป (ต้องไปหาข่าวว่าขายให้ใคร งานนี้บริษัทลูกขายแล้วต้องแจ้งกับทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือเปล่า)
7. คุณคิดว่ากิจการนี้ถึงจุดต่ำสุดหรือยัง
มีแค่นี้ล่ะคร้าบ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14784
- ผู้ติดตาม: 1
งบการเงิน CVD ไตรมาสที่ 4 น่าสนใจทีเดียวครับ
โพสต์ที่ 13
โค้ด: เลือกทั้งหมด
แล้ว ROA และ ROE ที่ VI มักจะใช้กัน จะเชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน
เพราะฉะนั้น การดู ROA ROE ก็มีหลักเพิ่มเติมว่าควรดู หลายๆปีครับ และก็ดูเรื่องอื่นๆด้วย เช่นแนวโน้มของ อุตสาหกรรม นั้นๆ ว่าโตมากน้อยแค่ไหน
หาก ไม่ดู ROA ROE ไม่ดู PE แล้วจะดูอะไรครับ ดูเงินสดอย่างเดียวหรือ ถามว่าเงินสด นี่ อยู่ดีๆ ให้บริษัทลูกกู้ หรือ อยู่ดีๆ แจก esop จะเชื่อได้หรือ
ก็เชื่อไม่ได้ทั้งนั้นแหละ แต่ก็ต้องดูครับ
และเลือกตัวที่ดีที่สุด
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3352
- ผู้ติดตาม: 1
งบการเงิน CVD ไตรมาสที่ 4 น่าสนใจทีเดียวครับ
โพสต์ที่ 16
ผมว่าถ้าไม่เข้าใจตัวธุรกิจ การเปลี่ยนแปลง และแนวโน้้มที่จะเกิดขึ้น
เอาแต่ดูงบดุล งบกระแสเงินสด หรือค่าอัตราส่วนต่างๆ ถึงจะมีมาตรฐานการบัญชีที่ดีขนาดไหน หรือลงได้ถูกต้องขนาดไหน มันก็เอาไปใช้งานไม่ได้หรอกครับ
เอาแต่ดูงบดุล งบกระแสเงินสด หรือค่าอัตราส่วนต่างๆ ถึงจะมีมาตรฐานการบัญชีที่ดีขนาดไหน หรือลงได้ถูกต้องขนาดไหน มันก็เอาไปใช้งานไม่ได้หรอกครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 2496
- ผู้ติดตาม: 0
งบการเงิน CVD ไตรมาสที่ 4 น่าสนใจทีเดียวครับ
โพสต์ที่ 17
แม่นแย้ว เห็นด้วยค่ะpicatos เขียน:ผมว่าถ้าไม่เข้าใจตัวธุรกิจ การเปลี่ยนแปลง และแนวโน้้มที่จะเกิดขึ้น
เอาแต่ดูงบดุล งบกระแสเงินสด หรือค่าอัตราส่วนต่างๆ ถึงจะมีมาตรฐานการบัญชีที่ดีขนาดไหน หรือลงได้ถูกต้องขนาดไหน มันก็เอาไปใช้งานไม่ได้หรอกครับ
กรณี cvd เมื่อหลายสิบปีก่อนต้องถือเป็นระดับผู้นำ ในกลุ่มธุรกิจนี้
แต่เมื่อ เทคโนโลยีเปลี่ยนไป และไม่ใช่ค่อยๆเปลี่ยน
ผู้บริหารปรับตัวตามไม่ทัน จะว่าด้วยเป็นการฝืนเทรนด์ หรือ อ่านไม่ขาดก็ตามที
ก็ไม่มีแม้แต่คำว่า เจ๊า
...เจ๊ง ล้วนๆ...
ส่วนช่องสามที่เข้าไปซื้อ cvd อันนี้มิทราบได้ ก็ต้องอ่านตามเขาเหมือนกัน ว่าเขาซื้ออะไร เพื่ออะไร เกิดอะไร ดี หรือเสีย ต่อกิจการหลักของเขา อย่างไร ในอนาคตหรือไม่ (หรือคำนวนว่าจะซื้อแค่ซากทรัพย์สินที่เหลือ นั่นคุ้มแล้วหรืออย่างไร)
ราคาแผ่น เมื่อก่อนเป็นร้อยๆ เดี๋ยวนี้ขนาดลดแหลก 19 บาท เด็กๆบอก พี่บ้าเป่า โหลดแว๊บเดียวเอง มาอะไรตั้ง 19 บาท
- CEO
- Verified User
- โพสต์: 1243
- ผู้ติดตาม: 0
งบการเงิน CVD ไตรมาสที่ 4 น่าสนใจทีเดียวครับ
โพสต์ที่ 18
เฮ้อ
ผมถึงว่าการบัญชีควรได้รับการปฏิวัติไงครับ
อุตสาห์แกะงบกันไม่ได้หลับได้นอน แต่มีคนบางคนแอบหัวเราะชอบใจ
ดูอะไรต้องดูกันระยะยาวจริงๆ
ผมถึงว่าการบัญชีควรได้รับการปฏิวัติไงครับ
อุตสาห์แกะงบกันไม่ได้หลับได้นอน แต่มีคนบางคนแอบหัวเราะชอบใจ
ดูอะไรต้องดูกันระยะยาวจริงๆ
การซื้อกิจการอาจไม่ใช่การเทคโอเวอร์ และการเทคโอเวอร์ ก็ไม่จำเป็นต้องเข้าซื้อหุ้น..
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
งบการเงิน CVD ไตรมาสที่ 4 น่าสนใจทีเดียวครับ
โพสต์ที่ 19
ผิดครับCEO เขียน:เฮ้อ
ผมถึงว่าการบัญชีควรได้รับการปฏิวัติไงครับ
อุตสาห์แกะงบกันไม่ได้หลับได้นอน แต่มีคนบางคนแอบหัวเราะชอบใจ
ดูอะไรต้องดูกันระยะยาวจริงๆ
ถ้าคุณรู้ตัวธุรกิจว่า "ดี" นั้นคือการเข้าใจตัวบริษัท
แต่งบมันบอกว่า คุณซื้อได้หรือยัง
ทำไมหลายคนไม่ซื้อตอนช่วงที่บริษัทกำลัง peak ซื้อตอนที่มีปัญหาจนถึงจุดๆหนึ่ง ทุกคนมองไม่เห็นว่ามันจะอยู่ได้ แต่ก็มีคนกล้าที่ซื้อ เพราะ ตัวธุรกิจและตัวงบบอก
หรือบ้างคนซื้อเพราะ ธุรกิจเริ่มฟื้นตัว คือ ธุรกิจเดิมๆ แต่มีปัญหาช่วงครั้งช่วงครั้ง อันนี้งบก็ confirm
นั้นคือ หัวใจว่า คุณรู้ตัวธุรกิจของบริษัทที่คุณถือมากน้อยแค่นั้นในประเด็นนี้
แต่ประเด็นของ CVD อ่านข้างบนก็แล้วกัน
- Ryuga
- Verified User
- โพสต์: 1771
- ผู้ติดตาม: 0
งบการเงิน CVD ไตรมาสที่ 4 น่าสนใจทีเดียวครับ
โพสต์ที่ 20
:lol:MO101 เขียน:เชื่อได้ยากแต่ดีกว่าไม่มีอะไรให้ดู
ก็คงต้องฝึกฝนกันหนักหน่อย
เช่นถ้าเรามองสาวที่เดินผ่านมา แล้วเราไม่แน่ใจ ว่า ญ. จริง
หรือกระเทยปลอมตัวมา เราก็ปล่อยผ่าน
:lovl:poppo เขียน:ไข่ลวก อร่อยกว่าไข่เจียว แต่ไม่สุกพอ อาจติดเชื้อหวัดนกถึงตายได้
Low Profile High Profit
หมากล้อมเย้ยยุทธจักร
หมากล้อมเย้ยยุทธจักร
- BOONPARUEY
- Verified User
- โพสต์: 184
- ผู้ติดตาม: 0
งบการเงิน CVD ไตรมาสที่ 4 น่าสนใจทีเดียวครับ
โพสต์ที่ 21
... ตัวเลขในบัญชี คือ " หลุมดักเซียน " ...
... ถ้าได้สร้างธุรกิจด้วยตัวเองและสำเร็จอยู่รอดจนปัจจุบันถึงจะเข้าใจถ่องแท้
... ตัวเลขบิดเบือน + ประมาณการคาดการณ์อนาคต + คุณภาพสำนักสอบบัญชี + ระดับความมั่นใจในความรู้ + ระดับความอยากได้ + อัตตา + องค์รวมของแรงกรรม = ระดับของความเสียหายที่จะัได้รับ ...
... ที่รู้และเข้าใจเพราะสร้างธุรกิจจนสำเร็จมากับมือ ...
... ๖๐ % ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดเป็นบริษัทชั้นเลว ...
... ๒๐ % อยู่ระหว่างทางสองแพร่ง - ทำทุกอย่างเพื่อพวกพ้อง หรือ ยืนหยัดเพื่อโตไปอย่างมีศักดิ์ศรี ...
... ๑๐ % กำลังพัฒนาและมีคุณภาพไปได้กับการค้าเสรี ...
... ๕ % กำลังเติบโตช้า ๆ แบบไม่มีชื่อเสีย ...
... ๕ % เป็นบริืษัทชั้นดีเชื่อใจได้ ...
... ที่น่าสนใจและจดจำก็คือ นักลงทุนทุกคนจะเริ่มต้นและฝ่าฟันไปด้วยข้อมูลเชิงปริมาณ จนมีประสบการณ์มากพอ ก็จะลงท้ายด้วยความสำเร็จที่ข้อมูลเชิงคุณภาพ ...
... หลาย ๆ คนบอกว่าเอาบรมครูต่าง ๆ เป็นแนวทางแต่การปฏิบัติกลับยึดมั่นกับข้อมูลเชิงปริมาณอย่างเหนียวแน่น ...
... ฉนั้นผลที่ได้จะต้องเป็นแนวเดียวกับบรมครูคือช่วงแรกต้องฝ่าฟันไปมากมาย
จนไปค้นพบและได้บทสรุปที่ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ช่วงท้าย ...
... ลองสร้างธุรกิจให้สำเร็จขึ้นมาสักธุรกิจหนึ่งสิ แล้วจะเข้าใจว่าทำไมตัวเลขในบัญชีถึงได้ออกมาเป็นอย่างนั้น ...
... แล้วจะได้เป็นนักลงทุนในหุ้นที่ฉลาด และ รู้จริงมากขึ้น ...
... ถ้าสร้างไม่ได้ หรือ แม้แต่คิดก็ยากแล้วไซร้ ...
... ก่อนลงทุนในหุ้นให้เริ่มดูที่ประวัติเจ้าของบริษัท + ผู้บริหาร + ผู้ถือหุ้นใหญ่(ที่กำกับบริษัท) + ประวัติผลงานบริษัท ( วอร์เรนจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับบริษัทที่ไม่มีประวัติมายาวนานพอ) ...
... วอร์เรนให้เลือกบริษัทที่มีประวัติที่ดีเป็นหลักชัยในการเข้าลงทุน ...
... เมื่อได้บริษัทที่ดีแล้ว ต่อให้มีความรู้บัญชีแบบงู ๆ ปลา ๆ ก็สำเร็จได้ ...
... เพราะค่าทุกค่าในบัญชีเป็นค่าจริง ไม่ต้องมานั่งหลังขดหลังแข็งแกะงบดึกดื่นหรอก ...
... แล้วทำไมถึงต้องมานั่งแกะงบ และ วิเคราะห์บัญชีกันมากมายล่ะ ? ...
... ก็เพราะกำลังเข้ามาเล่นเกม " เซียน เหนือ เซียน " ไงล่ะ !!!! ...
... เซียนฝ่ายหนึ่งเป็นบริษัทขี้โกง ...
... เซียนอีกฝ่ายหนึ่งเป็น.... ผู้รอบรู้ และ ไม่รอบรู้....แต่อยากได้ผล
ประโยชน์ในการเข้าลงทุน ...
... มันก็เหมือนกับเรากำลังจะลงทุนกับคนอื่นที่เราไม่รู้จักนิสัยเขามาก่อน
จนต้องมาทำสัญญา ที่มีทนายชั้นดีร่างให้ แต่ก็ลงท้ายด้วยการฟ้องร้องกัน
ในเหตุที่มาจากการไม่ซื่อต่อกัน ...
... ต่างกับการลงทุนกับคนที่เรารู้จักนิสัยดี ...
... เราเอาเงินไปลงทุนกับเพื่อนที่เราไม่แน่ใจได้ ๑๐๐ % ปัญหามันเลยเกิด ...
... ปัญหาเรื่องตัวเลขในบัญชีนั้นมันไม่รู้จบหรอก นะ มันจะพัฒนาไปเรื่อยตราบใดที่ยังไว้ใจกันไม่ได้ระหว่างบริษัทกับนักลงทุน ...
... ก็เพราะฝืนคำครูไปทำในสิ่งที่ครูเรียกว่า " TOO HARD " ไงล่ะั !!!
... ถ้าไม่โลภมากเกินไป ก็มีบริษัทชั้นดีตั้ง ๑๐ % ในตลาดให้เราร่วมลงทุนโดยไม่ต้องกังวลกับตัวเลขในบัญชีอะไรมากมาย ...
... หาไม่ยากหรอก ถ้ามองหาความดีก็จะเจอ แต่ถ้าโลภก็จะเจอ " หลุม "
... หมายเหตุ : ข้อมูลข้างต้นเหมาะสำหรับน้องใหม่ลงทุน นะ ไม่เหมาะสำหรับเซียน นะจะบอกให้ ...
... ตามนั้น ...
...
:cheers:
... ถ้าได้สร้างธุรกิจด้วยตัวเองและสำเร็จอยู่รอดจนปัจจุบันถึงจะเข้าใจถ่องแท้
... ตัวเลขบิดเบือน + ประมาณการคาดการณ์อนาคต + คุณภาพสำนักสอบบัญชี + ระดับความมั่นใจในความรู้ + ระดับความอยากได้ + อัตตา + องค์รวมของแรงกรรม = ระดับของความเสียหายที่จะัได้รับ ...
... ที่รู้และเข้าใจเพราะสร้างธุรกิจจนสำเร็จมากับมือ ...
... ๖๐ % ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดเป็นบริษัทชั้นเลว ...
... ๒๐ % อยู่ระหว่างทางสองแพร่ง - ทำทุกอย่างเพื่อพวกพ้อง หรือ ยืนหยัดเพื่อโตไปอย่างมีศักดิ์ศรี ...
... ๑๐ % กำลังพัฒนาและมีคุณภาพไปได้กับการค้าเสรี ...
... ๕ % กำลังเติบโตช้า ๆ แบบไม่มีชื่อเสีย ...
... ๕ % เป็นบริืษัทชั้นดีเชื่อใจได้ ...
... ที่น่าสนใจและจดจำก็คือ นักลงทุนทุกคนจะเริ่มต้นและฝ่าฟันไปด้วยข้อมูลเชิงปริมาณ จนมีประสบการณ์มากพอ ก็จะลงท้ายด้วยความสำเร็จที่ข้อมูลเชิงคุณภาพ ...
... หลาย ๆ คนบอกว่าเอาบรมครูต่าง ๆ เป็นแนวทางแต่การปฏิบัติกลับยึดมั่นกับข้อมูลเชิงปริมาณอย่างเหนียวแน่น ...
... ฉนั้นผลที่ได้จะต้องเป็นแนวเดียวกับบรมครูคือช่วงแรกต้องฝ่าฟันไปมากมาย
จนไปค้นพบและได้บทสรุปที่ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ช่วงท้าย ...
... ลองสร้างธุรกิจให้สำเร็จขึ้นมาสักธุรกิจหนึ่งสิ แล้วจะเข้าใจว่าทำไมตัวเลขในบัญชีถึงได้ออกมาเป็นอย่างนั้น ...
... แล้วจะได้เป็นนักลงทุนในหุ้นที่ฉลาด และ รู้จริงมากขึ้น ...
... ถ้าสร้างไม่ได้ หรือ แม้แต่คิดก็ยากแล้วไซร้ ...
... ก่อนลงทุนในหุ้นให้เริ่มดูที่ประวัติเจ้าของบริษัท + ผู้บริหาร + ผู้ถือหุ้นใหญ่(ที่กำกับบริษัท) + ประวัติผลงานบริษัท ( วอร์เรนจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับบริษัทที่ไม่มีประวัติมายาวนานพอ) ...
... วอร์เรนให้เลือกบริษัทที่มีประวัติที่ดีเป็นหลักชัยในการเข้าลงทุน ...
... เมื่อได้บริษัทที่ดีแล้ว ต่อให้มีความรู้บัญชีแบบงู ๆ ปลา ๆ ก็สำเร็จได้ ...
... เพราะค่าทุกค่าในบัญชีเป็นค่าจริง ไม่ต้องมานั่งหลังขดหลังแข็งแกะงบดึกดื่นหรอก ...
... แล้วทำไมถึงต้องมานั่งแกะงบ และ วิเคราะห์บัญชีกันมากมายล่ะ ? ...
... ก็เพราะกำลังเข้ามาเล่นเกม " เซียน เหนือ เซียน " ไงล่ะ !!!! ...
... เซียนฝ่ายหนึ่งเป็นบริษัทขี้โกง ...
... เซียนอีกฝ่ายหนึ่งเป็น.... ผู้รอบรู้ และ ไม่รอบรู้....แต่อยากได้ผล
ประโยชน์ในการเข้าลงทุน ...
... มันก็เหมือนกับเรากำลังจะลงทุนกับคนอื่นที่เราไม่รู้จักนิสัยเขามาก่อน
จนต้องมาทำสัญญา ที่มีทนายชั้นดีร่างให้ แต่ก็ลงท้ายด้วยการฟ้องร้องกัน
ในเหตุที่มาจากการไม่ซื่อต่อกัน ...
... ต่างกับการลงทุนกับคนที่เรารู้จักนิสัยดี ...
... เราเอาเงินไปลงทุนกับเพื่อนที่เราไม่แน่ใจได้ ๑๐๐ % ปัญหามันเลยเกิด ...
... ปัญหาเรื่องตัวเลขในบัญชีนั้นมันไม่รู้จบหรอก นะ มันจะพัฒนาไปเรื่อยตราบใดที่ยังไว้ใจกันไม่ได้ระหว่างบริษัทกับนักลงทุน ...
... ก็เพราะฝืนคำครูไปทำในสิ่งที่ครูเรียกว่า " TOO HARD " ไงล่ะั !!!
... ถ้าไม่โลภมากเกินไป ก็มีบริษัทชั้นดีตั้ง ๑๐ % ในตลาดให้เราร่วมลงทุนโดยไม่ต้องกังวลกับตัวเลขในบัญชีอะไรมากมาย ...
... หาไม่ยากหรอก ถ้ามองหาความดีก็จะเจอ แต่ถ้าโลภก็จะเจอ " หลุม "
... หมายเหตุ : ข้อมูลข้างต้นเหมาะสำหรับน้องใหม่ลงทุน นะ ไม่เหมาะสำหรับเซียน นะจะบอกให้ ...
... ตามนั้น ...
...
:cheers:
... " บุญ คือ เสบียงของคนไม่ประมาท " พุทธตรัส ...
- path2544
- Verified User
- โพสต์: 543
- ผู้ติดตาม: 0
งบการเงิน CVD ไตรมาสที่ 4 น่าสนใจทีเดียวครับ
โพสต์ที่ 22
ถ้าตามตำราว่าไว้ ปัจจุบันใช้ดูได้ แต่ไม่ 100% แล้วแล้ว ROA และ ROE ที่ VI มักจะใช้กัน จะเชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน
ใน ROA สำหรับตัว A นั้น ต้องมานั่งดูครับ อะไรทีเป็น A ที่ไม่แน่นอน ต้องตัดออกครับ เช่น Good view หรือพวก Amortisation พวกทรัพย์สินแปลกๆๆ ผมเอาออกหมดครับ เหลือแค่ที่มีมูลค่าจริงๆๆ เท่านั้น
แม้แต่ที่ดินที่ในงบประเมินไว้ต่ำกว่าความเป็นจริง ผมก็ไม่คิดถึงมูลค่าปัจจุบัน เพราะ ที่ดินแปลงนั้น ส่วนใหญ่นำไปจำนองธนาคาร แล้วได้เป็นวงเงินกู้ธนาคารมาซึ่งอาจสูงกว่ามูลค่าที่ดินหลายเท่าด้วยซ้ำไป แต่เราไม่รู้เพราะซ้อนในหนี้ระยะสั้นได้
ไม่เก่งทั้งวิเคราะห์เทคนิค ปัจจัยพื้นฐาน แต่เราก็ยังรั้นที่จะรวยเพราะหุ้น
- path2544
- Verified User
- โพสต์: 543
- ผู้ติดตาม: 0
งบการเงิน CVD ไตรมาสที่ 4 น่าสนใจทีเดียวครับ
โพสต์ที่ 24
[quote="chatchai"][quote="path2544"]ใน ROA สำหรับตัว A นั้น ต้องมานั่งดูครับ อะไรทีเป็น A ที่ไม่แน่นอน ต้องตัดออกครับ เช่น Good view หรือพวก
ไม่เก่งทั้งวิเคราะห์เทคนิค ปัจจัยพื้นฐาน แต่เราก็ยังรั้นที่จะรวยเพราะหุ้น