(เกมจับผิด)หมายเหตุเรื่องหนี้สงสัยจะสูญ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
miracle
Verified User
โพสต์: 18364
ผู้ติดตาม: 1

(เกมจับผิด)หมายเหตุเรื่องหนี้สงสัยจะสูญ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ไปอ่านมาบริษัทหนึ่งเจอในหมายเหตุระบุไว้ดังนี้
2.5 ลูกหนี้และตั๋วเงินรับการค้า
บริษัทแสดงลูกหนี้และตั๋วเงินรับการค้า โดยหักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ซึ่งเป็นจำนวนที่คาดว่าจะเรียกเก็บไม่ได้จากลูกหนี้ทั้งสิ้นที่มีอยู่โดยประมาณจากประสบการณ์การเรียกเก็บหนี้ในอดีต และการวิเคราะห์ฐานะของลูกหนี้ในปัจจุบัน โดยมีอัตราค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญดังนี้
อายุหนี้ อัตราค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (ร้อยละ)
ค้างชำระเกิน 6 เดือน แต่ไม่เกิน 1 ปี 50
ค้างชำระตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป 100
แต่ในหมายเหตุอีกข้อหนึ่งทำจริงเป็นแบบนี้
พันบาท
2550 2549
มากกว่า 3 เดือนถึง 6 เดือน 785 318
มากกว่า 6 เดือนถึง 12 เดือน 1,914 279
มากกว่า 12 เดือนขึ้นไป 1,660 4,196
          รวม 4,359 4,793
ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 1,966 4,194
แบบนี้น่าจะไปทวงไหมว่า มันผิดจากกรอบจัดทำ

แล้วไปดูในหน้าแรกของการส่งงบ
ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป ซึ่งกำหนดให้ข้าพเจ้าต้องวางแผนและปฏิบัติงาน เพื่อให้ได้ความเชื่อมั่นอย่างมีเหตุผลว่างบการเงินแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญหรือไม่ การตรวจสอบรวมถึงการใช้วิธีการทดสอบหลักฐานประกอบรายการทั้งที่เป็นจำนวนเงินและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน การประเมินความเหมาะสมของหลักการบัญชีที่กิจการใช้และประมาณการเกี่ยวกับรายการทางการเงินที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งผู้บริหารเป็นผู้จัดทำขึ้น ตลอดจนการประเมินถึงความเหมาะสมของการแสดงรายการที่นำเสนอในงบการเงินโดยรวม ข้าพเจ้าเชื่อว่าการตรวจสอบดังกล่าวให้ข้อสรุปที่เป็นเกณฑ์อย่างเหมาะสมในการแสดงความเห็นของข้าพเจ้า
แบบนี้ มันน่าเชื่อถืองบตัวนี้ไหมเนี่ย
เกมจับผิด

ฮิฮิ
:)
miracle
Verified User
โพสต์: 18364
ผู้ติดตาม: 1

(เกมจับผิด)หมายเหตุเรื่องหนี้สงสัยจะสูญ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ต้องตีความคำว่าเกิน 6 เดือน กับ คำว่า มากกว่า 6 เดือน
ว่ามันหมายความอย่างเดียวกันหรือเปล่า

อันนี้แปลไทยเป็นไทยอีกแล้วครับท่าน
ฮิฮิ
:)
ภาพประจำตัวสมาชิก
naris
Verified User
โพสต์: 6726
ผู้ติดตาม: 1

(เกมจับผิด)หมายเหตุเรื่องหนี้สงสัยจะสูญ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

อาจจะเชื่อถือไม่ได้ หรือ อาจจะมีเหตุผลที่น่าเชื่อถือได้ก็สามารถยกเว้นได้ครับ เพราะเคยเจอรูปแบบนี้มาแล้วได้โทรไปถามกับCFOเขาก็ให้เหตุผลมาว่าเป็นลูกหนี้ที่เป็นหน่วยงานราชการ สามารถเก็บได้แน่นอน เลยไม่ได้ตั้งสำรองตามรูปแบบบัญชี และทางผู้รับรองบัญชีเขาก็โอเชครับคุณมิราเคิล
แต่ตัวที่ยกมานี้ไม่รู้ได้ครับ :lol:
ราคาระยะสั้นตามข่าว--ราคาระยะยาวตามผลกำไร
miracle
Verified User
โพสต์: 18364
ผู้ติดตาม: 1

(เกมจับผิด)หมายเหตุเรื่องหนี้สงสัยจะสูญ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ประเด็นของผมคือ
กฏมันออกมากว้างทำให้ผู้ปฏิบัติเลือกกรอบมาปฏิบัติ
ซึ่งผู้ปฏิบัติก็เขียนชัดเจนแล้วว่าปฏิบัติตามนี้
แต่ทำไมผู้ปฏิบัติถึงได้ทำนอกกรอบ (ห้ามอ้างว่าที่นี้เมืองไท)
แล้วผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบยังรองรับงบตัวนี้ได้อีก
ซึ่งไม่ชี้แจงให้ชัดเจนไปว่า มีข้อยกเว้นเนื่องจากมีหน่วยงานรัฐด้วยหรือเปล่า

บ้างครั้ง ต้องถามแบบนี้ไปในที่ประชุม แล้วให้ขอจดลงบันทึก
เนื่องจาก เป็นเรื่องที่น่าซีเรียสหน่อย เพราะตั้งกติกาแล้ว ไม่ทำตาม
มีผลกระทบต่อบริษัทบรรภิบาลในอนาคต ที่ประเมินแล้วเกณฑ์ดี แต่จริงๆ มันเป็นแบบนี้หรือ

:)
:)
nasathit
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 73
ผู้ติดตาม: 0

(เกมจับผิด)หมายเหตุเรื่องหนี้สงสัยจะสูญ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

จริงๆ แล้วมาตรฐานบัญชีฉบับใหม่ ไม่อนุญาตให้ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญในลักษณะแบบนี้แล้ว (general allowance for doubtful debts) แต่ให้ผู้บริหารและผู้สอบบัญชี ต้องสอบทานลูกหนี้เป็นรายตัวเลยว่า สามารถเรียกเก็บหนี้ได้เต็มจำนวนหรือไม่ ซึ่งในกรณีนี้เข้าใจว่าอัตราค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่เขียนไว้ว่าเกิน ๖ เดือน แต่ไม่เกิน ๑ ปี ตั้ง ๕๐ % และเกิน ๑ ปี ตั้ง ๑๐๐ % เป็นนโยบายบัญชีคร่าวๆ ของบริษัท แต่พอผู้บริหารและผู้สอบบัญชีได้สอบทานลูกหนี้เป็นรายตัวแล้ว อาจพบว่าไม่จำเป็นต้องตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญตามตัวเลข ๕๐ % และ ๑๐๐ % ตามลำดับ

ทางแก้ไขที่ถูกต้อง คือ ไม่ควรเขียนอัตราค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญแบบนี้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินครับ เพราะจะทำให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจผิดได้ อย่างไรก็ตามในกรณีนี้ การที่หน้ารายงานของผู้สอบบัญชีเป็นแบบไม่มีเงื่อนไข แล้วพบภายหลังว่าลูกหนี้ที่คิดว่าไม่มีปัญหา เกิดมีปัญหาขึ้นมา ก็อาจมีการดำเนินการเอาผิดกับผู้สอบบัญชีได้ครับผม

ผมมองในแง่ดีว่ากรณีนี้เค้าคงไม่ได้ทำนอกกรอบ เพราะเขียนไว้ว่าประมาณจากประสบการณ์การเรียกเก็บหนี้ในอดีต และการวิเคราะห์ฐานะของลูกหนี้ในปัจจุบัน (คาดว่าได้ทำแล้ว) และผู้สอบก็ (น่าจะ) สอบทานแล้วครับ (ตอบในฐานะคนแวดวงเดียวกัน ฮิ ฮิ)

ส่วนในฐานะผู้ถือหุ้นและผู้ใช้งบการเงิน คงต้องคอยติดตามตอนต่อไปครับ :-)
miracle
Verified User
โพสต์: 18364
ผู้ติดตาม: 1

(เกมจับผิด)หมายเหตุเรื่องหนี้สงสัยจะสูญ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

มองในตอนที่ทำงบครับ
ว่าตอนที่ทำงบนั้นใช้อะไร
ไม่ใช่ว่า มองตอนนี้เทียบกับอนาคตที่ยังไม่รู้ว่ามาตราฐานนั้นออกหรือยัง
ซึ่งอาจจะทำให้คาดเคลื่อนได้

ซึ่งนั้นคือ The power of now
:)
:)
ภาพประจำตัวสมาชิก
nanakorn
Verified User
โพสต์: 636
ผู้ติดตาม: 0

Re: (เกมจับผิด)หมายเหตุเรื่องหนี้สงสัยจะสูญ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

miracle เขียน:ไปอ่านมาบริษัทหนึ่งเจอในหมายเหตุระบุไว้ดังนี้
ผมว่า ส่วนที่ขีดเส้นใต้ไว้เป็นส่วนที่บริษัทจะใช้ในการตัดลูกหนี้บางคนออก เช่นตามตัวอย่างลูกหนี้ที่เป็นราชการที่คุณ Naris ให้ไว้  ประโยคที่ตามมาเป็นอัตราที่ใช้ในการคิดสำหรับลูกหนี้ที่ไม่ได้ถูกคัดออก

ส่วนตัวผมเห็นว่า น่าจะต้องใช้หลักการเดียวกันทั้งหมด ไม่ว่าลูกหนี้จะเป็นใคร จะได้ตัด Human Factor ออก  ไม่อย่างนั้น จะเป็นช่องให้หลบตัวเลขหนี้จะสูญมากๆได้
Everything I do, I do it for you.
miracle
Verified User
โพสต์: 18364
ผู้ติดตาม: 1

(เกมจับผิด)หมายเหตุเรื่องหนี้สงสัยจะสูญ

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ใครเป็นคนตั้งหนี้สงสัยจะสูญ
ก็คือคณะกรรมการบริษัทประชุมหารือแล้วตั้ง
เผื่อมีปัญหาลูกหนี้ไม่จ่ายเงินจริงๆ
ซึ่งเป็นเหตุให้เชื่อได้ว่า หนี้ก้อนนี้เก็บไม่ได้จริงๆ

แต่มีมาตราฐานทางบัญชีเขียนไว้ข้างต้นแล้ว
เป็นแนวทางนำไปใช้ บริษัททำกรอบเรียบร้อยแล้ว
บริษัทต้องเดินตามกรอบที่บริษัทตั้งไว้
ถ้าเดินนอกกรอบ แล้วนักลงทุนคนไหนมีความเชื่อมันในตัวงบที่ทำให้อ่านได้
:)
:)
sattaya
Verified User
โพสต์: 1372
ผู้ติดตาม: 1

(เกมจับผิด)หมายเหตุเรื่องหนี้สงสัยจะสูญ

โพสต์ที่ 9

โพสต์

nasathit เขียน:จริงๆ แล้วมาตรฐานบัญชีฉบับใหม่ ไม่อนุญาตให้ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญในลักษณะแบบนี้แล้ว (general allowance for doubtful debts) แต่ให้ผู้บริหารและผู้สอบบัญชี ต้องสอบทานลูกหนี้เป็นรายตัวเลยว่า สามารถเรียกเก็บหนี้ได้เต็มจำนวนหรือไม่ ซึ่งในกรณีนี้เข้าใจว่าอัตราค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่เขียนไว้ว่าเกิน ๖ เดือน แต่ไม่เกิน ๑ ปี ตั้ง ๕๐ % และเกิน ๑ ปี ตั้ง ๑๐๐ % เป็นนโยบายบัญชีคร่าวๆ ของบริษัท แต่พอผู้บริหารและผู้สอบบัญชีได้สอบทานลูกหนี้เป็นรายตัวแล้ว อาจพบว่าไม่จำเป็นต้องตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญตามตัวเลข ๕๐ % และ ๑๐๐ % ตามลำดับ

ทางแก้ไขที่ถูกต้อง คือ ไม่ควรเขียนอัตราค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญแบบนี้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินครับ เพราะจะทำให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจผิดได้ อย่างไรก็ตามในกรณีนี้ การที่หน้ารายงานของผู้สอบบัญชีเป็นแบบไม่มีเงื่อนไข แล้วพบภายหลังว่าลูกหนี้ที่คิดว่าไม่มีปัญหา เกิดมีปัญหาขึ้นมา ก็อาจมีการดำเนินการเอาผิดกับผู้สอบบัญชีได้ครับผม

ผมมองในแง่ดีว่ากรณีนี้เค้าคงไม่ได้ทำนอกกรอบ เพราะเขียนไว้ว่าประมาณจากประสบการณ์การเรียกเก็บหนี้ในอดีต และการวิเคราะห์ฐานะของลูกหนี้ในปัจจุบัน (คาดว่าได้ทำแล้ว) และผู้สอบก็ (น่าจะ) สอบทานแล้วครับ (ตอบในฐานะคนแวดวงเดียวกัน ฮิ ฮิ)

ส่วนในฐานะผู้ถือหุ้นและผู้ใช้งบการเงิน คงต้องคอยติดตามตอนต่อไปครับ :-)
เห็นด้วยกับพี่ nasathit ครับ

ขออนุญาตถามต่อครับ
1. ทำไมต้องตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ และค่าเผื่อที่ว่ามีผลต่องบการเงินอย่างไร
2. ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ สูงไป ผลกระทบคือ ?
3. ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ต่ำไป ผลกระทบคือ ?
RONNAPUM
Verified User
โพสต์: 1455
ผู้ติดตาม: 0

(เกมจับผิด)หมายเหตุเรื่องหนี้สงสัยจะสูญ

โพสต์ที่ 10

โพสต์

sattaya เขียน: เห็นด้วยกับพี่ nasathit ครับ

ขออนุญาตถามต่อครับ
1. ทำไมต้องตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ และค่าเผื่อที่ว่ามีผลต่องบการเงินอย่างไร
2. ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ สูงไป ผลกระทบคือ ?
3. ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ต่ำไป ผลกระทบคือ ?
กำไรแล้วก็กำไรแล้วก็กำไร
อย่าทำตัวเป็นนักแสดง เป็นเพียงผู้ดูก็พอ..
nasathit
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 73
ผู้ติดตาม: 0

(เกมจับผิด)หมายเหตุเรื่องหนี้สงสัยจะสูญ

โพสต์ที่ 11

โพสต์

มองในตอนที่ทำงบครับ ว่าตอนที่ทำงบนั้นใช้อะไร [เชื่อว่าตอนที่ทำงบ ผู้บริหารและผู้สอบบัญชีใช้ประสบการณ์การเรียกเก็บหนี้ในอดีต และการวิเคราะห์ฐานะของลูกหนี้ในปัจจุบัน ซึ่งก็เป็นประมาณการที่ดีที่สุดในขณะนั้นครับ คร่าวๆ ก็อาจจะดูว่าหลังวันที่ในงบการเงิน เช่น กรณีนี้คาดว่าเป็นวันที่ ๓๑ ธันวา ๕๐ จนถึงวันที่ในรายงานของผู้สอบบัญชี ซึ่งเดาว่าอาจจะประมาณกลางๆ เดือนกุมภา ๕๑ ลูกหนี้เหล่านี้มีการชำระหนี้คืนบริษัทหรือไม่ และถ้ายังไม่ชำระ ผู้บริหารมีการดำเนินการอย่างไรต่อไป และเชื่อได้แค่ไหนว่าบริษัทจะได้รับชำระหนี้คืน]

ส่วนสมมติฐานของคุณ nanakorn ก็เป็นไปได้ครับ ซึ่งจริงๆ แล้วตอนที่ผมเคยสอบทานลูกหนี้การค้าของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ มันก็ต้องใช้ดุลยพินิจร่วมกับผู้บริหารเหมือนกันนะครับ อย่างงี้ถือว่าเป็น Human Factor ได้มั้ยครับ :-) อย่างไรก็ตามการสอบทานนี้ ก็ต้องใช้ข้อมูลและหลักฐานแวดล้อมอื่นประกอบด้วยนะครับ ไม่ใช่ใช้ดุลยพินิจอย่างเดียว ^__^

ส่วนผู้ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ คือ ผู้บริหารครับ อาจหมายถึง ผู้มีอำนาจสูงสุดด้านบัญชีของบริษัท (ถ้าดูจากหน้ารายงานของผู้สอบบัญชีก็จะเขียนไว้เลยครับ ว่าผู้สอบบัญชีได้ประเมินความเหมาะสมของหลักการบัญชีที่กิจการใช้และประมาณการเกี่ยวกับรายการทางการเงินที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งผู้บริหารเป็นผู้จัดทำขึ้น) ซึ่งกรณีนี้ผู้สอบบัญชีได้ประเมินลูกหนี้ที่มีสาระสำคัญแล้ว พบว่าโอเช ไม่ต้องตั้งค่าเผื่อตามนโยบายที่เขียนเอาไว้ (แต่จะโอเชจริงหรือเปล่า อาจต้องดูกันต่อไป เพราะที่เคยคิดว่าโอเช ปรากฎว่าไตรมาสต่อมาไม่โอเช ก็ต้องตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มเติม และก็จะมีเครื่องหมายคำถามตามมา ว่าที่ผู้สอบบัญชีบอกว่าโอเชตอนสิ้นปีนี้ คุณใช้หลักฐานอะไรมาสนับสนุน)

มาถึงคำถามของน้อง sattaya ครับ

๑. ทำไมต้องตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ และค่าเผื่อที่ว่ามีผลต่องบการเงินอย่างไร [ขอตอบว่าเพื่อแสดงมูลค่าที่แท้จริงของลูกหนี้การค้า ว่าที่บริษัทขายๆ กันไปนั้น มันสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้จริงหรือเปล่า ถ้าไม่จริง หมายความว่าเราต้องตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มเติม ซึ่งก็มีผลต่องบการเงิน คือ ทำให้มูลค่าลูกหนี้การค้าในงบดุลลดลงไป (ถ้าดูในงบดุล มันจะเขียนว่าลูกหนี้การค้า - สุทธิ น่ะครับ หมายถึง ลูกหนี้การค้าทั้งหมดหักด้วยค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ) พร้อมทั้งเพิ่มค่าใช้จ่ายที่เรียกว่า "ค่าหนี้สงสัยจะสูญ" ในงบกำไรขาดทุน ด้วยจำนวนที่เท่ากัน (ถ้าดูในงบกำไรขาดทุน เค้าจะรวมอยู่ในบรรทัดค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารครับ) ซึ่งโดยรวมจะทำให้สินทรัพย์และกำไรสุทธิของบริษัทลดลงครับ แต่ไม่มีผลต่อกระแสเงินสดจากการดำเนินงานในงบกระแสเงินสดครับ (เอ๊ะใช่มั้ยครับ พี่ฉัตรชัยที่เคารพ :D )]

๒. และ ๓. การตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ สูงหรือต่ำไป ผลกระทบก็คือ ทำให้งบการเงิน (ทั้งงบดุลและงบกำไรขาดทุน) ไม่ได้สะท้อนภาพความเป็นจริงของกิจการออกมาครับ ถ้าตั้งสูงเกินไป จะทำให้สินทรัพย์และกำไรสุทธิต่ำกว่าความเป็นจริง แต่ถ้าตั้งต่ำเกินไป ก็จะทำให้สินทรัพย์และกำไรสุทธิสูงกว่าความเป็นจริง (แต่อย่าถามพี่ต่อนะครับว่าความเป็นจริง คืออะไร เพราะพี่ก็ตอบไม่ได้เหมือนกันครับ ฮุ ฮุ)
miracle
Verified User
โพสต์: 18364
ผู้ติดตาม: 1

(เกมจับผิด)หมายเหตุเรื่องหนี้สงสัยจะสูญ

โพสต์ที่ 12

โพสต์

งบการเงินจัดทำโดยฝ่ายบัญชีของบริษัท จัดทำเมื่อวันที่ 31/12/2550
แต่ผู้ตรวจสอบบัญชี กว่าตรวจสอบและลงความเห็น กินเวลานาน มันไม่เอาข้อมูล ณ เวลานั้นมาคิดหรือครับ

มันต้องไม่เอาอะไรที่นอกเหนือจากเวลาดังกล่าวต้องตัดทิ้งไปซิ
ไม่ฉะนั้นแล้ว ข้อมูลมันผิดเพี้ยงไปหมดไม่ใช่หรือครับ

ทุกอย่างต้องไปพูดในเรื่อง ณ เวลาที่จัดทำงบ ไม่ใช่หรือ
ถ้าคุณตอบคำถามนี้ผิดพลาดไป งานนี้ทุกอย่างมันไขว้เขว้หมดครับ

มันไม่ใช่ Point In Time ที่คุณสามารถ รู้ได้เลยว่า เวลานี้บริษัทนี้มีงบเป็นเช่นไร

แล้วยิ่งผู้ตรวจสอบใช้ข้อมูลในปัจจุบันตีความว่า ลูกหนี้รายนี้หรือรายอื่นๆ มีความสามารถชำระได้ในตอนนี้ มันควรจัดทำในงบไตรมาส 1/2551 เพราะเหตุการณ์มันเกิด ณ ไตรมาสนี้ไม่ใช่หรือครับ
:)
miracle
Verified User
โพสต์: 18364
ผู้ติดตาม: 1

(เกมจับผิด)หมายเหตุเรื่องหนี้สงสัยจะสูญ

โพสต์ที่ 13

โพสต์

อันนี้ถ้าหากเป็นเรื่องของ timing ตัดทิ้งไปได้ครับ
เพราะงบการเงินมันได้กล่าวถึงเวลา ณ ตอนนั้นในส่วนของงบดุล
ซึ่งงบดุลมันตัดทุกอย่างทิ้งในช่วงเวลาที่เดินหลังจากวันที่ออกงบดุล

ถ้าหากใครผิด concept ตัวนี้และเป็นผู้ตรวจสอบบัญชี
มันผิดพลาดจนต้องไปถามว่า คุณซื้อใบปริญญามาหรือเปล่า

:)
:)
ภาพประจำตัวสมาชิก
krisy
Verified User
โพสต์: 736
ผู้ติดตาม: 0

(เกมจับผิด)หมายเหตุเรื่องหนี้สงสัยจะสูญ

โพสต์ที่ 14

โพสต์

แอบงงกับความเห็นคุณ miracle นิดหน่อย แต่ถ้าคุณ miracle คิดว่า งบดุลลงวันที่วันไหนแล้วรายการที่เกิดหลังจากนั้นต้องตัดออกให้หมดไม่รวมมาคิดแบบนี้ เพราะงบดุล cutoff วันนี้ เราว่าคุณอาจจะไม่เข้าใจการทำงบ

งบดุลแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ในเวลาที่ระบุ = ถูกต้อง
แต่ต้องดูวันที่ที่ผู้สอบบัญชีออกรายงานด้วย (สมมติ 15/2/51) เพราะนั้นเป็นวันสุดท้ายที่ทำการตรวจสอบ ปกติผู้สอบจะต้องตรวจรายการที่อยูในงบการเงิน ณ วันที่ในงบดุลแต่มีรายการต่อเนื่องมาถึงวันที่ 15/2/51 ด้วย ด้วย 2 เหตุผลใหญ่

- รายการลูกหนี้เจ้าหนี้ที่อยู่ในงบดุล วิธีตรวจที่ดีที่สุดควรจะเป็นดูเงินสดรับจ่ายที่เกิดจริง เพราะเป็นตัวที่จบรายการซื้อขาย
- มาตรฐานบัญชีเรื่อง รายการที่เกิดหลังวันที่ในงบการเงิน บังคับให้ดูว่า งบการเงินที่แสดง 31/12/50 มีส่วนไหนที่อนาคตจะผิดเพี้ยนไปไหม เพราะเป็นห่วงกลัวผู้ใช้งบเข้าใจผิด

ถ้าผู้สอบตัดรายการหลัง 31/12/50 ออกไปโดยไม่ดูเลย รับรองว่าผู้ใช้งบจะได้เจอความน่าสะพรึงกลัวของการแต่งงบทุกรูปแบบ
ตัวอย่างง่ายๆ แต่งยอดขาย มียอดขายอ้วนๆบันทึกมาวันที่ 27/12/50 แล้วคืนสินค้า 12/1/51 ผู้สอบจะดูความสมเหตุสมผล ถ้าดูแล้วไม่ดี แต่งงบแน่ๆ จะหักรายการขายนั้นออกงบปี 50 เพราะไม่งั้นผู้ใช้งบจะหลงคิดไปว่า กิจการโตจริงๆ

สำหรับโจทย์ที่ตั้งมา เราว่าที่คุณ naris ตอบ ตามนั้นเลยค่ะ เพิ่มเติมอีกนิด สมมติว่าถ้าตั้งค่าเผื่อหนี้ตามที่ระบุ กำไรหายไป 7 แสน (คร่าวๆนาค้า) คนใช้งบก็จะ "โอ้ว ทำไม ทำงานแย่อย่างนี้" พอมางบ 31/3/51 เนื่องจากลูกหนี้ที่ค้างนานนั้นความจริงอาจจะจ่ายมาตั้งแต่ 31/1/51 แล้ว งบไตรมาสก็จะ reverse ค่าเผื่อออก กำไรก็ดีทันทีเลย ผู้ใช้งบ "แหม บริษัทเก่งจัง กำไรดี" ถ้าเป็นแบบนี้ งบดุลไม่ได้สะท้อนฐานะที่แท้จริงนะคะ เพราะมีการลงรายการที่ไม่ได้เกิดประโยชน์ลงไป เข้าใจผิดเปล่าๆ ดังนั้น ถ้าผู้สอบตรวจการจ่ายตังของลูกหนี้รายไหนได้ก่อน 15/2/51 (วันที่ที่ออกรายงาน) เค้าจะไม่ตั้งค่าเผื่อค่ะ

ตอบยาวไปหน่อยค่ะ แต่รู้สึกว่า การที่กล่าวหาว่าใครซื้อใบปริญญามา และผู้สอบมี CPA ด้วยเนี่ย โดยที่คุณไม่ได้อยู่ในสายงานนั้น ออกจะแรงไปหน่อยนะคะ
.....Give Everything but not Give Up.....
ภาพประจำตัวสมาชิก
krisy
Verified User
โพสต์: 736
ผู้ติดตาม: 0

(เกมจับผิด)หมายเหตุเรื่องหนี้สงสัยจะสูญ

โพสต์ที่ 15

โพสต์

ปล. คุณ miracle ค่ะ

ข้อความข้างบน เขียนเองก็รู้สึกไม่สบายใจเอง สงสัยรีบเขียนไปนิด เลยดูห้วนไปหน่อย อ่านแล้วอย่าเคืองเราเลยนะคะ
.....Give Everything but not Give Up.....
sattaya
Verified User
โพสต์: 1372
ผู้ติดตาม: 1

(เกมจับผิด)หมายเหตุเรื่องหนี้สงสัยจะสูญ

โพสต์ที่ 16

โพสต์

miracle เขียน:งบการเงินจัดทำโดยฝ่ายบัญชีของบริษัท จัดทำเมื่อวันที่ 31/12/2550
แต่ผู้ตรวจสอบบัญชี กว่าตรวจสอบและลงความเห็น กินเวลานาน มันไม่เอาข้อมูล ณ เวลานั้นมาคิดหรือครับ

มันต้องไม่เอาอะไรที่นอกเหนือจากเวลาดังกล่าวต้องตัดทิ้งไปซิ
ไม่ฉะนั้นแล้ว ข้อมูลมันผิดเพี้ยงไปหมดไม่ใช่หรือครับ

ทุกอย่างต้องไปพูดในเรื่อง ณ เวลาที่จัดทำงบ ไม่ใช่หรือ
ถ้าคุณตอบคำถามนี้ผิดพลาดไป งานนี้ทุกอย่างมันไขว้เขว้หมดครับ

มันไม่ใช่ Point In Time ที่คุณสามารถ รู้ได้เลยว่า เวลานี้บริษัทนี้มีงบเป็นเช่นไร

แล้วยิ่งผู้ตรวจสอบใช้ข้อมูลในปัจจุบันตีความว่า ลูกหนี้รายนี้หรือรายอื่นๆ มีความสามารถชำระได้ในตอนนี้ มันควรจัดทำในงบไตรมาส 1/2551 เพราะเหตุการณ์มันเกิด ณ ไตรมาสนี้ไม่ใช่หรือครับ
งงเหมือนกันครับ

มีอยู่ประโยคนึงครับพี่มิราเคิล "เหตุการณ์หลังวันที่ในงบการเงิน" ผมคิดว่าจำเป็นนะครับที่ต้องเอาเรื่องหลังวันที่ในงบมาบอกหรือนำมาใช้ในการพิจารณางบที่จัดทำ เพราะถ้าเราต้องการลงทุนในกิจการใดคงไม่อยากรู้เพียงแค่เมื่อวานหรือวันนี้เค้าเป็นอย่างไรหรอกใช่ไหมครับ

บริษัท ก มีงบการเงินสวยหรูขายสินค้าเป็นเงินเชื่อทั้งหมด มีลูกหนี้รายใหญ่คือบริษัท ข ซึ่งไม่เคยเบี้ยวหนี้ 31 ธ.ค. 50 งบการเงินบริษัท ก แสดงยอดหนี้บริษัท ข ไว้จำนวน 100 ล้านบาท และยังไม่เลยกำหนดชำระ ถ้าวันที่ 31 ม.ค. 51 บริษัท ข ล้มละลาย และขณะนั้นผู้สอบบัญชีตรวจงบบริษัท ก อยู่

ถามว่าจะต้องบอกในงบการเงินหรือเปล่าครับ
1. ถ้าบอกแปลว่าใช้เหตุการณ์หลังวันที่ 31 ธ.ค. 50 มาตัดสินในงบนั้นอย่างนั้นหรือ
2. ถ้าไม่บอกคือปกปิดข้อมูลที่มีสาระสำคัญ
3. รอไว้บอกในงบไตรมาสที่ 1 ปี 51
ภาพประจำตัวสมาชิก
krisy
Verified User
โพสต์: 736
ผู้ติดตาม: 0

(เกมจับผิด)หมายเหตุเรื่องหนี้สงสัยจะสูญ

โพสต์ที่ 17

โพสต์

ตอบคุณ sattaya

รับรองว่า ถ้าล้มละลายแบบชัวร์ๆ ผู้สอบจะตัดจำหน่ายลูกหนี้รายนั้นและแสดงเป็นรายการพิเศษในงบกำไรขาดทุนและแสดงหมายเหตุค่ะ

ถ้าล้มไม่ชัวร์แบบรอหมายศาล ผู้สอบจะอาจจะตั้งค่าเผื่อ + แสดงรายการพิเศษ + หน้ารายงานผู้สอบจะระบุให้เอะใจค่ะ (ถ้าไม่ตั้งค่าเผื่อ จะมีหมายเหตุเรื่องเหตุการณ์หลังวันที่ในงบดุล)

เป็นคำตอบสุดท้ายค่ะ
.....Give Everything but not Give Up.....
ภาพประจำตัวสมาชิก
krisy
Verified User
โพสต์: 736
ผู้ติดตาม: 0

(เกมจับผิด)หมายเหตุเรื่องหนี้สงสัยจะสูญ

โพสต์ที่ 18

โพสต์

โทรคุยกะเพื่อนมาค่ะ

เรียกได้ว่าที่คุณ miracle จะเข้าใจว่างบดุลควร cut ที่วันที่นั้นก็ไม่ผิด เพราะ ดร. วรศักดิ์ ก็เคยเห็นในประเด็นเดียวกันนี้ (เพื่อนเราเคยฟังสัมมนา แต่มันจำไม่ได้ว่าสรุปยังไง) เนื่องจากข้อมูลมันจะ update ตลอดเวลาทำให้สาระในงบดุลไม่นิ่งสักที

เพียงแต่ถ้าไม่ดูรายการหลังวันที่เลย งบมันก็ไม่แสดงฐานะที่แท้จริงเหมือนกัน และทำให้เปิดโอกาสให้ผู้ใช้งบเข้าใจผิดได้มากมาย

ดังนั้น เรากะเพื่อนก็คิดว่า วันที่ในหน้ารายงานผู้สอบบัญชี จะเป็นตัว cutoff ฐานะทางการเงินในงบการเงินว่ารายการหลังจากนี้ที่เกี่ยวกับตัวเลขในงบดุลวันที่ 31/12/50 ไม่มีใครดูให้แล้วนา
.....Give Everything but not Give Up.....
miracle
Verified User
โพสต์: 18364
ผู้ติดตาม: 1

(เกมจับผิด)หมายเหตุเรื่องหนี้สงสัยจะสูญ

โพสต์ที่ 19

โพสต์

รายการนี้เกิดแล้วน่าครับ
ลูกหนี้การค้า มันซื้อสินค้าของบริษัทไปแล้ว
แต่ลูกหนี้มันจ่ายเกินเวลา ที่บริษัทให้เครดิตเทอม
บริษัทต้องพิจารณาการตั้งหนี้สงสัยจะสูญ

ซึ่งบริษัทพิจารณาแล้วพบว่า ลูกหนี้มีสิทธิในการเบี้ยว
ซึ่งการพิจารณาลูกหนี้นั้น พิจารณา ณ วันที่ทำงบการเงินขึ้นมา
ไม่ได้เกี่ยวกับ การซื้อขายที่เป็นเท็จครับ

มันคนละประเด็นที่ บริษัท A สั่งซื้อกับ บริษัทB เพื่อทำยอดหลอกครับ
อันนั้นไตรมาสต่อมาหรือปีต่อมา เห็นชัดเจน แต่มันไปฟ้องในตัวของงบกระแสเงินสดครับ

แต่ case ที่ผมบอก มันค้างอยู่คือ วางบิลไปแล้ว แต่ยังเก็บเงินไม่ได้ครับ สินทรัพย์ได้เปลี่ยนความเป็นเจ้าของไปแล้วครับ

ประเด็นของผู้ตรวจสอบบัญชีนั้น ต้องตรวจสอบข้อมูลลูกหนี้ ณ วันที่ทำงบดุลไม่ใช่หรือครับ
:)
miracle
Verified User
โพสต์: 18364
ผู้ติดตาม: 1

(เกมจับผิด)หมายเหตุเรื่องหนี้สงสัยจะสูญ

โพสต์ที่ 20

โพสต์

การตั้งลูกหนี้ได้
คือการที่เราพลักภาระการรับผิดชอบในตัวสินค้าหรือบริการให้แก่ลูกค้าของเรา นั้นคืออะไร
คือ ลูกค้าได้รับสินค้าหรือได้รับการบริการเหล่านั้นแล้ว ถึงสามารถตั้งเป็นลูกหนี้ได้
ซึ่งเมื่อถึงครบกำหนดการจ่ายเงินในส่วนของเครดิตที่บริษัทให้ (อันนี้มีบ้างบริษัทที่สามารถขอเครดิตได้นานกว่าบริษัทอื่นได้ แต่ก็บอกเป็นช่วงเวลาเหมือนกัน หรือบอกเป็นกรณีพิเศษไป)
ถ้าหากเกินมากๆๆ ก็ตั้งเป็นหนี้สงสัยจะสูญไป ซึ่งก็คือ ผู้บริหารเห็นว่า ลูกหนี้ไม่มีปัญญาจ่ายเงินแน่นอน ซึ่งก็คือ case นี้
เหตุการณ์มันเกิดขึ้นก่อนการจัดทำงบ หรือ วันที่จัดทำงบ

ไม่ควรเราเวลาที่หลังจากจัดทำงบมาเกี่ยวข้องในการประเมินความสามารถการจ่ายหนี้ของลูกหนี้
:)
ภาพประจำตัวสมาชิก
Alastor
Verified User
โพสต์: 2590
ผู้ติดตาม: 0

(เกมจับผิด)หมายเหตุเรื่องหนี้สงสัยจะสูญ

โพสต์ที่ 21

โพสต์

3.5 ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
บริษัทและบริษัทย่อยตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเท่าจำนวนที่คาดว่าจะเสียหายจากการเรียกเก็บเงินไม่ได้จากลูกหนี้ผลเสียหายนี้ประมาณขึ้นจากการพิจารณาฐานะปัจจุบันและหลักประกันของลูกหนี้ โดยตั้งสำรองในอัตราร้อยละ 100 สำหรับลูกหนี้ที่มีอายุเกิน 120 วัน
ลูกหนี้และเช็ครับล่วงหน้า ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2550 และ 2549 แยกตามอายุหนี้ที่ค้างชำระได้ ดังนี้
บาท
งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะบริษัท
2550 2550 2549
ลูกหนี้อายุ 0 - 3 เดือน 111,571,594.00 111,571,594.00 167,555,129.19
ลูกหนี้อายุ มากกว่า 3 เดือน - 6 เดือน 8,715,586.72 8,715,586.72 1,666,005.28
ลูกหนี้อายุ มากกว่า 6 เดือน - 12 เดือน 864,416.51 864,416.51 3,079,954.73
ลูกหนี้อายุมากกว่า 12 เดือน ขึ้นไป 43,885,366.53 43,885,366.53 3,088,269.92
    รวม 165,036,963.76 165,036,963.76 175,389,359.12
หัก  ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (6,186,017.11) (6,186,017.11) (5,455,070.19)
ลูกหนี้การค้าสุทธิ 158,850,946.65 158,850,946.65 169,934,288.93
จากงบปี 2007 ของ ไอ้ลิง ครับ น่าจะตรงตามที่คุณ miracle บอก และ พี่ naris ได้อธิบายไว้แล้ว
Wir sind das Rar, der Stolz und der Wert
ภาพประจำตัวสมาชิก
krisy
Verified User
โพสต์: 736
ผู้ติดตาม: 0

(เกมจับผิด)หมายเหตุเรื่องหนี้สงสัยจะสูญ

โพสต์ที่ 22

โพสต์

เราเข้าใจ concept ที่อธิบายมาค่ะ แต่การที่ผู้สอบมาตรวจสอบภายหลังเพราะกว่างบจะเสร็จก็อาจใช้เวลาเป็นเดือน เพราะงั้นก็คือ เราจะตรวจดูความสามารถในการจ่ายหนี้ของลูกหนี้วันที่ 31/12/50 ว่าจะได้เงินคืนไหม ถ้าเกินเครดิตเทอม ผู้บริหารต้องตั้งค่าเผื่อตามนโยบาย แต่กว่าที่งบจะเสร็จ อาจมีการจ่ายมาก่อน ทำให้ผู้บริหารคิดว่าไม่ต้องตั้ง เพราะหลักฐานการรับเงินแน่นหนา ว่าหนี้ที่แสดงอยู่ยังไงก็ได้ตังค์

แต่ถ้าถามว่าต้องย้อนไป ณ วันที่ 31/12/50 สิว่าหนี้มันจะสูญไหม ต้องทำตามสิ่งที่คงอยู่ที่สิ้นปี คำตอบของเราก็เหมือนเดิมค่ะ ปีนี้ขาดทุน 7 แสนอีกปีกำไร 7 แสน มันจะไปบวกกลับใน cashflow ถูกต้อง แต่ถ้าอ่านงบไม่ดี ก็ต้องโทษตัวเองได้อย่างเดียวเท่านั้นค่ะ

รอความเห็นนักบัญชีท่านอื่นด้วยแล้วกันนะคะ

ปล. ถ้าทำได้อย่างแนวคิดของคุณ miracle จริง ดีมากเลยค่ะ เพราะงานของผู้สอบจะลดไปเยอะเลย
.....Give Everything but not Give Up.....
miracle
Verified User
โพสต์: 18364
ผู้ติดตาม: 1

(เกมจับผิด)หมายเหตุเรื่องหนี้สงสัยจะสูญ

โพสต์ที่ 23

โพสต์

อธิบายเพิ่ม
งบมันต้องทำกันตอนวันที่ 31/12/2550 หรือวันสิ้นเดือนหรือวันสิ้นไตรมาส
เดี๋ยวนี้มันใช้ระบบบัญชี ทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ทำกันไม่ใช่หรือครับ

ผมยังยืนยันว่า อย่างไงก็ต้องใช้ข้อมูลก่อนหรือวันปิดงบในการพิจารณา

ถ้าเป็น case ที่ยกมาเพิ่มเติมนั้น ก็ถือว่าอยู่ในส่วนของไตรมาสหนึ่งซิครับ
บัญชีมันตั้ง เครดิตกับเดบิต ในตอนนี้ตั้งเป็นหนี้สูญซึ่งทำให้ผลลัพธ์ ระหว่างเครดิตกับเดบิต ของลูกหนี้ที่ไม่สามารถจัดเก็บได้เป็นสูญ
รอการกำจัดออกจากระบบไป มันต้องมีที่มาที่ไปในการจำกัด

อธิบายเพิ่มเติม
case สมมุติ ตั้งหนี้สูญจำนวน 100 ล้านบาท เมื่อไตรมาสสี่
ลูกค้าไม่มีปัญญาจ่ายแน่นอน จึงตั้งไว้ แต่ไตรมาสสองของปีถัดมา
ลูกค้านำเงินมาจ่าย งานนี้ เกิดรายขึ้น แถมเป็นรายการกลับหนี้สงสัยจะสูญ ยิงเข้าที่กำไรในส่วนรายการพิเศษ และมีในส่วนของงบกระแสเงินสดบอกยืนยันว่าเก็บหนี้ได้ อันนี้คือสิ่งที่ควรเป็น ในงบ
แต่ถ้าหากยิ่งกว่านั้น ไตรมาสหนึ่ง แทงจากหนี้สงสัยจะสูญ เป็นหนี้สูญเลย แล้วเหตุการณ์ไตรมาสสองเก็บเงินได้ งานนี้ยิ่งเกิดรายการพิเศษมากเข้าไปใหญ่เลย อันนี้ฮาไม่ออกสำหรับคนอ่าน ว่ามันมาจากไหน


by the way
ขอบคุณ case ของ พี่นริศครับ
เดี๋ยวไปอ่านดูครับ

แต่งานนี้ concept คนทำงบกับผู้ตรวจสอบบัญชี
มันเป็นคนละคนกัน แต่ต้องเดินไปในแนวทางเดียวกัน
คนละแนวทางแล้วคนอ่านงบตายแน่นอน

ว่าแล้วกระทู้นี้ก็มีสาระมากขึ้น
:)
ภาพประจำตัวสมาชิก
firefox
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 125
ผู้ติดตาม: 1

(เกมจับผิด)หมายเหตุเรื่องหนี้สงสัยจะสูญ

โพสต์ที่ 24

โพสต์

ขอบคุณมากเลยครับ เป็นประโยชน์มากเลยสำหรับมือใหม่

ช่วยหาเกมส์แบบนี้มาเล่นอีกนะครับ จะคอยมาเก็บเกี่ยวความรู้
noooon010
Verified User
โพสต์: 2712
ผู้ติดตาม: 0

(เกมจับผิด)หมายเหตุเรื่องหนี้สงสัยจะสูญ

โพสต์ที่ 25

โพสต์

ขอบคุณ คุณmiracleมากๆนะครับ
อย่าลืมให้เวลากับครอบครัว และสังคมรอบๆข้างของคุณนะครับ

มีสติ และมีความสุขกับการลงทุนนะครับผม


นักลงทุนที่เก่งที่สุดมิใช่คนที่ซื้อขายไวที่สุด
แต่คือคนที่นำสติกลับมาได้เร็วที่สุด
หลายครั้งส่งคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้ผลตอบแทนมากกว่าซื้อผ่านnetหากเราขาดสติ
nasathit
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 73
ผู้ติดตาม: 0

(เกมจับผิด)หมายเหตุเรื่องหนี้สงสัยจะสูญ

โพสต์ที่ 26

โพสต์

"ผมยังยืนยันว่า อย่างไงก็ต้องใช้ข้อมูลก่อนหรือวันปิดงบในการพิจารณา"
[สิ่งที่คุณ miracle ยืนยัน ไม่ใช่สิ่งที่นักบัญชีและผู้สอบบัญชีปฏิบัติแน่นอนครับ อย่างน้อยก็ในขณะนี้ หรือ The power of now  :lol: ]

ประเด็นของผู้ตรวจสอบบัญชีนั้น ต้องตรวจสอบข้อมูลลูกหนี้ ณ วันที่ทำงบดุลไม่ใช่หรือครับ [อันนี้ก็ไม่ใช่ซะทีเดียวครับ]

เวลาที่นักบัญชีเราปิดงบ ใช่ครับมันต้องปิดตอนสิ้นปี ๓๑ ธันวาคม แต่มันมีมาตรฐานการสอบบัญชีอันนึงที่ว่าไว้เกี่ยวกับ "เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน" ตรงนี้สำคัญนะครับคุณ miracle เพราะเค้าพูดทำนองว่า ผู้สอบบัญชีต้องตรวจสอบเหตุการณ์หลังวันที่ในงบการเงิน เช่น ๓๑ ธันวาคม ๕๐ จนถึงวันที่ในรายงานของผู้สอบบัญชี ติ๊งต่างว่าเป็นกลางเดือนกุมภา ๕๑ (เพราะผมไม่มีข้อมูล) ถ้ามีเหตุการณ์ที่ทำให้เชื่อได้ว่าบัญชีที่แสดง ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคมนั้นไม่สะท้อนความเป็นจริง ผู้สอบบัญชีต้องปรับปรุงงบการเงิน หรือเปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ซึ่งกรณีนี้ก็คืองบปี ๕๐ ครับ ไม่ใช่ไตรมาส ๑ ของปี ๕๑

สำหรับ case สมมุตินั้น เดี๋ยวนี้จะไม่มีคำว่า "รายการพิเศษ" แล้วครับ เค้าถือว่าหนี้สงสัยจะสูญที่ได้รับคืน ถือเป็นรายการปกติทางธุรกิจ เพื่อไม่ให้มีการใช้ดุลยพินิจว่ารายการไหนพิเศษ/ไม่พิเศษ และที่สำคัญหนี้สงสัยจะสูญกะหนี้สูญมันไม่เหมือนกันนะครับ หนี้สูญนี่โดยปกติต้องมั่นใจจริงๆ ครับถึงจะตัดเป็นหนี้สูญ ประเภทมูลหนี้สูงนั้นต้องฟ้องร้องจนถึงที่สุด แต่ถ้ามูลหนี้ต่ำ มันต้องต่ำมากจนไม่คุ้มที่จะฟ้อง (ไม่งั้นสรรพากรไม่ยอมให้ตัดหนี้สูญแน่นอนครับ  :) ) ดังนั้นผมว่าเหตุการณ์ที่คุณ miracle ยกมามันไม่น่าจะเกิดขึ้น (หมายถึงว่าถ้ามูลค่าหนี้สูงเป็น ๑๐๐ ล้านน่ะครับ)

concept ของคนทำงบกับผู้สอบบัญชี อย่างน้อยก็ต้องยึดมาตรฐานเดียวกันครับ คือ มาตรฐานการบัญชี แต่ของผู้สอบฯ จะเพิ่มขึ้นไปอีกหน่อย คือ มีมาตรฐานการสอบบัญชีมากำกับดูแลด้วยครับ ซึ่งตัวอย่างก็คือ มาตรฐานการสอบบัญชี เรื่อง "เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน ครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
nanakorn
Verified User
โพสต์: 636
ผู้ติดตาม: 0

(เกมจับผิด)หมายเหตุเรื่องหนี้สงสัยจะสูญ

โพสต์ที่ 27

โพสต์

ผมไม่ใช่นักบัญชี แต่เข้าใจว่าหลักการต่างๆของนักบัญชีตั้งขึ้นมาเพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด

ถ้า ณ วันที่ 31/12/07 มีลูกหนี้เจ้าหนึ่งที่ติดหนี้เกิน 6 เดือนอยู่ 10 ล้านบาท  ปรากฎว่าวันที่ 15/01/08 ลูกหนี้เจ้านี้จ่ายหนี้คืนทั้งหมด ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่รายงานการเงินปี 07 จะทำเสร็จ ถ้าให้ผมคิดเอง ผมก็จะบอกว่า ในรายงานการเงินปี 07 น่าจะเป็นดังนี้
1) ณ วันที่ 31/12/07 ลูกหนี้เจ้านี้ติดหนี้บริษัทอยู่ 10 ล้านบาท  (ซึ่งเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง)
2) แต่ผมจะไม่ Classify ว่าเป็นหนี้สงสัยจะสูญ เพราะจริงๆแล้วมันไม่สงสัยว่าจะสูญ ได้รับเงินคืนมาแล้ว (ซึ่งก็เป็นข้อมูลที่ถูกต้อง)  

แต่ผมไม่ชอบส่วนที่บอกว่า ให้บริษัทพิจารณาทาง Qualitative ได้ด้วย เช่น ลูกหนี้เจ้าหนึ่ง ถึงแม้เวลาล่วงเลยมานานยังไม่จ่าย แต่บริษัทเจ้าหนี้มั่นใจว่ายังไงก็จ่ายแน่ ไม่ต้องรวมเป็นหนี้สงสัยจะสูญ  ตรงนี้จะเป็นช่องให้ซ่อนตัวเลขได้

กติกาจริงๆเป็นอย่างไร อยากทราบจริงๆครับ
Everything I do, I do it for you.
miracle
Verified User
โพสต์: 18364
ผู้ติดตาม: 1

(เกมจับผิด)หมายเหตุเรื่องหนี้สงสัยจะสูญ

โพสต์ที่ 28

โพสต์

ผมถามต่อน่าครับ
ในอดีต มีอยู่ตัวหนึ่ง ปัจจุบันคนถือตัวนี้กันมาก
คณะกรรมการ ตั้งหนี้สงสัยจะสูญเนื่องจากคดีความ ซึ่งไม่เคยตั้งเลย
แต่พองบจะออก (งบปีออก) มาตั้งหนี้สงสัยจะสูญ ด้วยเหตุผลที่เชื่อได้ว่า กำลังจะแพ้คดีความ
อันนี้ สามารถทำได้ เพราะ คณะกรรมการบอกว่า เหตุทำให้เชื่อได้ว่า แพ้คดีความ ซึ่งประเด็นนี้ ผมเองก็ถามในที่ประชุมแต่ลืมถามว่า มติที่ประชุมเมื่อไร

อันนี้ share ให้ฟังน่าครับ ถามต้องถามให้ครบ ห้ามลืมถามว่า มันปรับงบเมื่อไร ในประเด็นที่ว่า

แต่ หมายเหตุมันเป็นส่วนหนึ่งในการประกอบงบการเงิน
ถ้าแก้ไขในหมายเหตุ หลังจากวันที่งบออก ตัวงบก็ไม่ใช่งบของวันที่ ที่ระบุไว้ในตัวงบดุลซิครับ

งบดุลมันระบุเวลาจัดทำบนหัวนี่น่า ถ้าหากไม่ใช่เวลาดังกล่าว ตัวสินทรัพย์ หนี้สิ้น และส่วนของผู้ถือหุ้น เพิ่มขึ้นลดลงได้ตลอดเวลา ทุกวินาที
ใช่หรือไม่ครับ
:)
miracle
Verified User
โพสต์: 18364
ผู้ติดตาม: 1

(เกมจับผิด)หมายเหตุเรื่องหนี้สงสัยจะสูญ

โพสต์ที่ 29

โพสต์

concept ของงบดุลคือรายละเอียดของกิจการ ตั้งแต่ที่ตั้งมาจนถึงวันที่จัดทำงบดุล
ซึ่งหากแก้ไขค่าในงบดุลที่เคยออกไปแล้ว ต้องทำบัญชีใหม่ทั้งหมด
เช่นกรณีของ PICNI เป็นต้นที่สั่งให้แก้ไข งบดุล ตัวงบดุลที่แก้ไขยังคงเป็นวันที่เดี่ยวกับงบดุลตัวที่สั่งแก้ไข

นั้นคือ หากมีการปรับค่ารายการใดรายการหนึ่งของงบดุล ต้องทำงบดุลใหม่ในวันที่ปิดงวดไปแล้ว

แต่หมายเหตุมันมีทางให้ออกอยู่ข้อสุดท้ายที่เปิดเผยเหตุการณ์หลังจากวันที่จัดทำงบ ซึ่ง CASE ของผมไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติม ในส่วนต่างๆ

เปิดให้แล้วไม่ใช่ น่าสนุก ถ้ามีคนรู้ทัน
:)
nasathit
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 73
ผู้ติดตาม: 0

(เกมจับผิด)หมายเหตุเรื่องหนี้สงสัยจะสูญ

โพสต์ที่ 30

โพสต์

คุณ nanakorn เข้าใจถูกต้องแล้วครับผม ส่วนที่คุณ nanakorn ไม่ชอบ มันก็ใช่อีกนั่นแหละครับ แต่มันก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้สอบบัญชี จะเชื่อถือความมั่นใจของผู้บริหารของบริษัทนั้นๆ หรือไม่ครับ ถ้าไม่เชื่อ ก็ต้องให้ผู้บริหารปรับปรุงตัวเลขในงบการเงิน แต่ถ้าผู้บริหารไม่ยอมปรับปรุง ก็ต้องแจ้งให้ผู้ใช้งบการเงินรู้ในหน้ารายงานของผู้สอบบัญชีครับ ดังนั้นถ้าถามว่ากติกาเป็นอย่างไร ผมว่าในทางปฏิบัติต้องใช้วิธีตกลงร่วมกันระหว่างผู้บริหารกะผู้สอบบัญชีว่าตั้งเท่านี้พอนะ แต่คำว่าพอนี่แหละที่มันอาจมีปัญหาตามมาภายหลัง ฮิ ฮิ

ขออนุญาตคุณ miracle แก้ไขข้อมูลนิดนึงนะครับ ผมว่ากรณีที่ยกมาใหม่ ทางบัญชีน่าจะเป็นประมาณการหนี้สิน มากกว่าหนี้สงสัยจะสูญครับ กล่าวคือ เป็นหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากกำลังจะแพ้คดีความ และตอนนี้สามารถประมาณมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือแล้ว เลยต้องตั้งเป็นประมาณการหนี้สิน (ในงบดุลจะอยู่ในส่วนของหนี้สินครับ ซึ่งแตกกต่างจากหนี้สงสัยจะสูญที่เป็นสินทรัพย์ติดลบครับ) แต่ก่อนหน้านั้นเดาว่าในหมายเหตุประกอบงบ ก็น่าจะมีการพูดถึงเรื่องนี้ด้วย อาจจะอยู่ในหัวข้อหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นในภายหน้า หรือเหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน

ส่วนเรื่องตัวเลขในงบดุลมันอาจจะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาตราบใดที่ไม่เกินวันที่ในรายงานของผู้สอบบัญชีครับ  :P

พิมพ์ตอบไปเหมือนกับไปนั่งเรียนบัญชีอีกรอบเลยครับ  8)
โพสต์โพสต์