กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news21/01/08
โพสต์ที่ 271
โอเปคไม่สนสหรัฐฯ ร้องเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมัน
โอเปคไม่ได้ความสนใจต่อการร้องขอให้เพิ่มกำลังการผลิตจาก ประเทศสหรัฐฯ ซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่บริโภคพลังงานขนาดใหญ่ของโลก ทางด้านรัฐมนตรีพลังงานของสหรัฐฯ แซม บอดแมน ได้เรียกร้องให้โอเปคเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมัน โดยนายแซม บอดแมน และ ปธน. บุช เห็นพ้องกันว่า ราคาน้ำมันที่สูงส่งผลต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ และการเพิ่มกำลังการผลิตจะช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดได้ ด้านเลขาธิการโอเปค อับดุลเลาะห์ อัล-บาดรี บอกว่ากำลังจับตาดูตลาดน้ำมันใกล้ชิดและพร้อมที่เพิ่มกำลังการผลิตอยู่เสมอเมื่อตลาดต้องการ
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
โอเปคไม่ได้ความสนใจต่อการร้องขอให้เพิ่มกำลังการผลิตจาก ประเทศสหรัฐฯ ซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่บริโภคพลังงานขนาดใหญ่ของโลก ทางด้านรัฐมนตรีพลังงานของสหรัฐฯ แซม บอดแมน ได้เรียกร้องให้โอเปคเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมัน โดยนายแซม บอดแมน และ ปธน. บุช เห็นพ้องกันว่า ราคาน้ำมันที่สูงส่งผลต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ และการเพิ่มกำลังการผลิตจะช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดได้ ด้านเลขาธิการโอเปค อับดุลเลาะห์ อัล-บาดรี บอกว่ากำลังจับตาดูตลาดน้ำมันใกล้ชิดและพร้อมที่เพิ่มกำลังการผลิตอยู่เสมอเมื่อตลาดต้องการ
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news23/01/08
โพสต์ที่ 272
เวเนซุเอล่าชี้กลุ่มโอเปค ไม่จำเป็นผลิตน้ำมันเพิ่ม
รัฐมนตรีน้ำมันของเวเนซุเอล่ายังไม่เห็นถึงความจำเป็นที่กลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออกหรือโอเปคจะต้องเพิ่มการผลิตน้ำมัน แม้ว่าจะถูกกดดันจากหลายประเทศโดยเฉพาะสหรัฐฯ พร้อมกับแสดงความเห็นว่า ราคาน้ำมันที่เคลื่อนไหวอยู่ในขณะนี้ชี้ให้เห็นว่า มีการเก็งกำไร
นายราฟาเอล รามิเรซ รัฐมนตรีน้ำมันของเวเนซุเอล่า กล่าวว่า กลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออกไม่จำเป็นจะต้องเพิ่มการผลิตน้ำมัน แม้ว่าจะถูกกดดันจากหลายประเทศโดยเฉพาะสหรัฐฯ
ทั้งนี้ นายราฟาเอล เห็นว่าราคาน้ำมันที่เคลื่อนไหวอยู่ในขณะนี้ชี้ให้เห็นว่า มีการเก็งกำไร โดยถ้อยแถลงดังกล่าวขึ้นไม่นาน หลังนายแซมมวล บ็อดแมน รัฐมนตรีพลังงานของสหรัฐฯได้เรียกร้องอีกครั้งหนึ่งให้ซาอุดิอาระเบีย ซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของกลุ่มโอเปคขยายเพดานการผลิตน้ำมันเพื่อควบคุมราคาไม่ให้พุ่งสูงเกินไปที่อาจจะทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว
โดยนายบ็อดแมนคาดหวังว่า ซาอุดิอาระเบียจะสามารถผลักดันให้กลุ่มโอเปคตัดสินใจเพิ่มการผลิตในการประชุมรัฐมนตรีน้ำมันของกลุ่มโอเปคที่กรุงเวียนนาของออสเตรียในวันที่ 1 กุมภาพันธ์นี้ได้
สำหรับราคาซื้อขายน้ำมันในตลาดโลกเมื่อวานนี้ลดลง เนื่องจากเกรงกันว่า ความต้องการใช้พลังงานอาจลดลง เพราะภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ โดยราคาน้ำมันดิบชนิดไลท์ที่จะส่งมอบกันในเดือนกุมภาพันธ์ในการซื้อขายด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ลดลง 1.76 เหรียญสหรัฐอยู่ที่ 88.81 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบชนิดเบรนท์แถบทะเลเหนือที่จะส่งมอบกันในเดือนมีนาคมลดลง 1.46 เหรียญสหรัฐอยู่ที่ 84.47 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
http://www.settrade.com/S17_ContentDisp ... egoryId=16
รัฐมนตรีน้ำมันของเวเนซุเอล่ายังไม่เห็นถึงความจำเป็นที่กลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออกหรือโอเปคจะต้องเพิ่มการผลิตน้ำมัน แม้ว่าจะถูกกดดันจากหลายประเทศโดยเฉพาะสหรัฐฯ พร้อมกับแสดงความเห็นว่า ราคาน้ำมันที่เคลื่อนไหวอยู่ในขณะนี้ชี้ให้เห็นว่า มีการเก็งกำไร
นายราฟาเอล รามิเรซ รัฐมนตรีน้ำมันของเวเนซุเอล่า กล่าวว่า กลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออกไม่จำเป็นจะต้องเพิ่มการผลิตน้ำมัน แม้ว่าจะถูกกดดันจากหลายประเทศโดยเฉพาะสหรัฐฯ
ทั้งนี้ นายราฟาเอล เห็นว่าราคาน้ำมันที่เคลื่อนไหวอยู่ในขณะนี้ชี้ให้เห็นว่า มีการเก็งกำไร โดยถ้อยแถลงดังกล่าวขึ้นไม่นาน หลังนายแซมมวล บ็อดแมน รัฐมนตรีพลังงานของสหรัฐฯได้เรียกร้องอีกครั้งหนึ่งให้ซาอุดิอาระเบีย ซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของกลุ่มโอเปคขยายเพดานการผลิตน้ำมันเพื่อควบคุมราคาไม่ให้พุ่งสูงเกินไปที่อาจจะทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว
โดยนายบ็อดแมนคาดหวังว่า ซาอุดิอาระเบียจะสามารถผลักดันให้กลุ่มโอเปคตัดสินใจเพิ่มการผลิตในการประชุมรัฐมนตรีน้ำมันของกลุ่มโอเปคที่กรุงเวียนนาของออสเตรียในวันที่ 1 กุมภาพันธ์นี้ได้
สำหรับราคาซื้อขายน้ำมันในตลาดโลกเมื่อวานนี้ลดลง เนื่องจากเกรงกันว่า ความต้องการใช้พลังงานอาจลดลง เพราะภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ โดยราคาน้ำมันดิบชนิดไลท์ที่จะส่งมอบกันในเดือนกุมภาพันธ์ในการซื้อขายด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ลดลง 1.76 เหรียญสหรัฐอยู่ที่ 88.81 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบชนิดเบรนท์แถบทะเลเหนือที่จะส่งมอบกันในเดือนมีนาคมลดลง 1.46 เหรียญสหรัฐอยู่ที่ 84.47 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
http://www.settrade.com/S17_ContentDisp ... egoryId=16
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news25/01/08
โพสต์ที่ 273
น้ำมันโลกดิ่งต่ำกว่า $87 ชี้เศรษฐกิจสหรัฐฯถดถอย โดย กระแสหุ้น
ราคาน้ำมันในตลาดโลกดิ่งวูบกว่า 4 ดอลลาร์ มาอยู่ในระดับ 86 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล นักวิเคราะห์หวั่นเศรษฐกิจสหรัฐฯ ถดถอย จนไม่สนใจปัจจัยอื่นๆที่ในเวลาปกติจะผลักให้ราคาน้ำมันถีบตัวสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความไม่สงบในไนจีเรีย ท่าทีของโอเปกที่บ่งชี้ว่าอาจไม่เพิ่มปริมาณการผลิต
สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานว่า สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบไลท์สวีทครูด สำหรับส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ ซื้อขายกันในตลาดลอนดอน เมื่อวันที่ 22 มค. มีราคาลดลง 4.46 ดอลลาร์ จากราคาปิดที่ตลาดไนเม็กซ์ ในนครนิวยอร์ก เมื่อวันศุกร์ (18) มาซื้อขายกันที่ 86.11 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ต่อมาราคาสัญญาน้ำมันดิบไลท์สวีทครูดขยับมาซื้อขายที่ 87.31 ดอลลาร์ ทั้งนี้ เมื่อวันจันทร์ (21) ตลาดไนเม็กซ์ไม่มีการกำหนดราคาปิด เนื่องจากตัวตลาดจริงๆปิดทำการเนื่องในวันมาร์ติน ลูเธอร์ คิง ซึ่งถือเป็นวันหยุดประจำชาติของสหรัฐฯ ขณะที่สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบเบรนท์ สำหรับส่งมอบเดือนมีนาคม ที่ตลาดลอนดอน เมื่อวานนี้ มีราคาลดลง 1.73 ดอลลาร์ จากราคาปิดที่ลอนดอน เมื่อวันศุกร์ มาซื้อขายกันที่ 85.78 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
สำหรับการซื้อขายที่ตลาดในสิงคโปร์ เมื่อวานนี้สัญญาน้ำมันดิบไลท์สวีทครูด มีราคาลดลง 3.87 ดอลลาร์ จากราคาปิดที่นิวยอร์ก เมื่อวันศุกร์ มาซื้อขายกันที่ 86.70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ขณะที่สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ มีราคาลดลง 1.93 ดอลลาร์ จากราคาปิดที่ลอนดอน เมื่อวันศุกร์ มาซื้อขายกันที่ 85.58 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
นายโรเบิร์ต ลัฟลิน แห่งเอ็มเอฟโกลบัล กล่าวว่า ตลาดน้ำมันเมื่อวานนี้ถูกขับเคลื่อนโดยราคาหุ้นในตลาดทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างในตลาดสหรัฐฯ โดยตลาดหุ้นสำคัญๆ ในเอเชียดิ่งฮวบลงมากถึง 8% เนื่องจากนักลงทุนที่ตื่นตระหนกหวั่นวิตกว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯอาจทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจโลกหยุดชะงักราคาสินค้าโภคภัณฑ์เกือบทุกชนิดต่างก็ดิ่งลง เนื่องจากเทรดเดอร์หวั่นวิตกว่าความต้องการวัตถุดิบทั่วโลกจะอ่อนตัวลง
ความรู้สึกในตอนนี้ก็คือ ผลกระทบจากวิกฤตซับไพรม์ในสหรัฐฯอาจแพร่กระจายสู่ญี่ปุ่นและยุโรป โทบิน กอรีย์ นักยุทธศาสตร์สินค้าโภคภัณฑ์ แห่งคอมมอนเวลธ์ แบงก์ ในออสเตรเลีย กล่าว
ณ ตอนนี้ มีหลักฐานชี้ให้เห็นแล้วว่า ดีมานด์น้ำมันกลั่น เช่น น้ำมันทำความร้อน และน้ำมันเบนซิน ลดลงเนื่องจากฤดูหนาวที่อุ่นกว่าปกติ และราคาน้ำมันในที่พุ่งสูงในช่วงต้นปีนี้ ทำให้ผู้ผลิตน้ำมันกลั่นบางรายในสหรัฐฯ ยุโรป และเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ จะตัดลดปริมาณการผลิต
นอกจากนี้ เทรดเดอร์ กล่าวว่า ความรู้สึกแง่ลบที่แผ่ซ่านไปทั่วตลาดการเงินนั้น เกิดขึ้นในขณะที่บรรดาเทรดเดอร์ก็พากันเทขายสินค้าโภคภัณฑ์เพื่อนำเงินสดมาชดเชยส่วนต่างระหว่างราคาในช่วงที่พุ่งสูงลิ่วกับราคาในช่วงที่ดิ่งฮวบ
ด้านโกลด์แมน แซกส์ วาณิชธนกิจยักษ์ใหญ่แห่งวอลล์สตรีท กล่าวว่าหากนักเก็งกำไรพากันเทขายน้ำมันในตลาดทั้งหมด ราคาอาจดิ่งลงสู่ระดับไม่ถึง 90 ดอลลาร์ อย่างไรก็ดี ปัจจัยพื้นฐานด้านดีมานด์และซับพลายอาจทำให้พวกกองทุนไม่สามารถเทขายได้ทั้งหมด
ส่วนสตีฟ โรว์ลส์ นักวิเคราะห์แห่งบริษัทหลักทรัพย์ซีเอฟซี ซีย์มัวร์ ในฮ่องกง กล่าวว่า ไม่น่าจะเป็นไปได้ที่เราจะได้เห็นราคาน้ำมันดีดกลับในเร็วๆนี้ สืบเนื่องจากสถานการณ์อันยากลำบากในตลาด
ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ชี้ให้เห็นถึงปัจจัยต่างๆที่โดยปกติแล้วจะทำให้ราคาน้ำมันดีดตัวสูงขึ้น เช่น คำกล่าวของชาติสมาชิกองค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ที่มองว่าตลาดมีซับพลายอยู่เพียงพอ และความไม่สงบในไนจีเรีย ซึ่งเป็นชาติผู้ผลิตน้ำมันดิบรายใหญ่ที่สุดในแอฟริกา
อย่างไรก็ดี โรว์ลส์ กล่าวว่า ภัยคุกคามต่อซับพลายที่ไนจีเรียเกิดขึ้นมานานมากจนกระทั่งไม่ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของนักลงทุนอีกต่อไป ในเวลานี้ ทุกคนต่างจับตาดูภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯ
http://www.settrade.com/S17_ContentDisp ... okerId=IPO
ราคาน้ำมันในตลาดโลกดิ่งวูบกว่า 4 ดอลลาร์ มาอยู่ในระดับ 86 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล นักวิเคราะห์หวั่นเศรษฐกิจสหรัฐฯ ถดถอย จนไม่สนใจปัจจัยอื่นๆที่ในเวลาปกติจะผลักให้ราคาน้ำมันถีบตัวสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความไม่สงบในไนจีเรีย ท่าทีของโอเปกที่บ่งชี้ว่าอาจไม่เพิ่มปริมาณการผลิต
สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานว่า สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบไลท์สวีทครูด สำหรับส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ ซื้อขายกันในตลาดลอนดอน เมื่อวันที่ 22 มค. มีราคาลดลง 4.46 ดอลลาร์ จากราคาปิดที่ตลาดไนเม็กซ์ ในนครนิวยอร์ก เมื่อวันศุกร์ (18) มาซื้อขายกันที่ 86.11 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ต่อมาราคาสัญญาน้ำมันดิบไลท์สวีทครูดขยับมาซื้อขายที่ 87.31 ดอลลาร์ ทั้งนี้ เมื่อวันจันทร์ (21) ตลาดไนเม็กซ์ไม่มีการกำหนดราคาปิด เนื่องจากตัวตลาดจริงๆปิดทำการเนื่องในวันมาร์ติน ลูเธอร์ คิง ซึ่งถือเป็นวันหยุดประจำชาติของสหรัฐฯ ขณะที่สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบเบรนท์ สำหรับส่งมอบเดือนมีนาคม ที่ตลาดลอนดอน เมื่อวานนี้ มีราคาลดลง 1.73 ดอลลาร์ จากราคาปิดที่ลอนดอน เมื่อวันศุกร์ มาซื้อขายกันที่ 85.78 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
สำหรับการซื้อขายที่ตลาดในสิงคโปร์ เมื่อวานนี้สัญญาน้ำมันดิบไลท์สวีทครูด มีราคาลดลง 3.87 ดอลลาร์ จากราคาปิดที่นิวยอร์ก เมื่อวันศุกร์ มาซื้อขายกันที่ 86.70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ขณะที่สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ มีราคาลดลง 1.93 ดอลลาร์ จากราคาปิดที่ลอนดอน เมื่อวันศุกร์ มาซื้อขายกันที่ 85.58 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
นายโรเบิร์ต ลัฟลิน แห่งเอ็มเอฟโกลบัล กล่าวว่า ตลาดน้ำมันเมื่อวานนี้ถูกขับเคลื่อนโดยราคาหุ้นในตลาดทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างในตลาดสหรัฐฯ โดยตลาดหุ้นสำคัญๆ ในเอเชียดิ่งฮวบลงมากถึง 8% เนื่องจากนักลงทุนที่ตื่นตระหนกหวั่นวิตกว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯอาจทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจโลกหยุดชะงักราคาสินค้าโภคภัณฑ์เกือบทุกชนิดต่างก็ดิ่งลง เนื่องจากเทรดเดอร์หวั่นวิตกว่าความต้องการวัตถุดิบทั่วโลกจะอ่อนตัวลง
ความรู้สึกในตอนนี้ก็คือ ผลกระทบจากวิกฤตซับไพรม์ในสหรัฐฯอาจแพร่กระจายสู่ญี่ปุ่นและยุโรป โทบิน กอรีย์ นักยุทธศาสตร์สินค้าโภคภัณฑ์ แห่งคอมมอนเวลธ์ แบงก์ ในออสเตรเลีย กล่าว
ณ ตอนนี้ มีหลักฐานชี้ให้เห็นแล้วว่า ดีมานด์น้ำมันกลั่น เช่น น้ำมันทำความร้อน และน้ำมันเบนซิน ลดลงเนื่องจากฤดูหนาวที่อุ่นกว่าปกติ และราคาน้ำมันในที่พุ่งสูงในช่วงต้นปีนี้ ทำให้ผู้ผลิตน้ำมันกลั่นบางรายในสหรัฐฯ ยุโรป และเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ จะตัดลดปริมาณการผลิต
นอกจากนี้ เทรดเดอร์ กล่าวว่า ความรู้สึกแง่ลบที่แผ่ซ่านไปทั่วตลาดการเงินนั้น เกิดขึ้นในขณะที่บรรดาเทรดเดอร์ก็พากันเทขายสินค้าโภคภัณฑ์เพื่อนำเงินสดมาชดเชยส่วนต่างระหว่างราคาในช่วงที่พุ่งสูงลิ่วกับราคาในช่วงที่ดิ่งฮวบ
ด้านโกลด์แมน แซกส์ วาณิชธนกิจยักษ์ใหญ่แห่งวอลล์สตรีท กล่าวว่าหากนักเก็งกำไรพากันเทขายน้ำมันในตลาดทั้งหมด ราคาอาจดิ่งลงสู่ระดับไม่ถึง 90 ดอลลาร์ อย่างไรก็ดี ปัจจัยพื้นฐานด้านดีมานด์และซับพลายอาจทำให้พวกกองทุนไม่สามารถเทขายได้ทั้งหมด
ส่วนสตีฟ โรว์ลส์ นักวิเคราะห์แห่งบริษัทหลักทรัพย์ซีเอฟซี ซีย์มัวร์ ในฮ่องกง กล่าวว่า ไม่น่าจะเป็นไปได้ที่เราจะได้เห็นราคาน้ำมันดีดกลับในเร็วๆนี้ สืบเนื่องจากสถานการณ์อันยากลำบากในตลาด
ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ชี้ให้เห็นถึงปัจจัยต่างๆที่โดยปกติแล้วจะทำให้ราคาน้ำมันดีดตัวสูงขึ้น เช่น คำกล่าวของชาติสมาชิกองค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ที่มองว่าตลาดมีซับพลายอยู่เพียงพอ และความไม่สงบในไนจีเรีย ซึ่งเป็นชาติผู้ผลิตน้ำมันดิบรายใหญ่ที่สุดในแอฟริกา
อย่างไรก็ดี โรว์ลส์ กล่าวว่า ภัยคุกคามต่อซับพลายที่ไนจีเรียเกิดขึ้นมานานมากจนกระทั่งไม่ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของนักลงทุนอีกต่อไป ในเวลานี้ ทุกคนต่างจับตาดูภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯ
http://www.settrade.com/S17_ContentDisp ... okerId=IPO
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news25/01/08
โพสต์ที่ 274
คาดอีก 14 ปีชาติน้ำมันรวยกว่า $6 ล้านล้าน
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 25 มกราคม 2551 01:43 น.
เอเจนซี - บริษัทที่ปรึกษาด้านการจัดการยักษ์ใหญ่แถลงรายงานคาดชาติผู้ผลิตน้ำมันแถบอ่าวเปอร์เซียจะมีรายได้มากกว่า 6,000,000 ล้านดอลลาร์ ในอีก 14 ปีข้างหน้า เตือนหากชาติเหล่านี้ทุ่มรายได้มหาศาลลงทุนอย่างไม่รอบคอบก็จะเกิดผลกระทบกระเทือนใหญ่หลวงซึ่งอาจยืดเยื้อนานหลายสิบปี
แมคคินซีย์ โกลบัล อินสติติวต์ แถลงรายงานเมื่อวานนี้ (24) คาดการณ์ว่า หากราคาน้ำมันในตลาดโลกซื้อขายกันที่ 70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ชาติสมาชิกสภาความร่วมมือแห่งอ่าวเปอร์เซีย(จีซีซี) 6 ประเทศ จะมีรายได้จากการส่งออกมากถึง 6,200,000 ล้านดอลลาร์ ในอีก 14 ปีข้างหน้า มากกว่ารายได้ในปัจจุบันถึง 3 เท่า
แมคคินซีย์ยังคาดการณ์ต่อว่า หากราคาน้ำมันอยู่ในระดับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ชาติผู้ผลิตน้ำมันแถบอ่าวเปอร์เซีย อันได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คูเวต กาตาร์ โอมาน และบาห์เรน จะมีรายได้เกือบถึง 9,000,000 ล้านดอลลาร์ และถึงแม้ราคาน้ำมันจะลดฮวบไปซื้อขายกันที่ 50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ชาติเหล่านี้ก็จะมีรายได้สะสมมากถึง 4,700,000 ล้านดอลลาร์ ในอีก 14 ปีข้างหน้า
สำหรับการคาดการณ์ตัวเลขการลงทุนของชาติผู้ผลิตน้ำมันในตะวันออกกลางนั้น หากสมมติว่า ราคาน้ำมันซื้อขายกันที่ 70 ดอลลาร์ และมูลค่าการลงทุนในประเทศเหล่านี้เพิ่มขึ้นปีละ 6.1% ซึ่งเป็นอัตราโดยเฉลี่ยในช่วง 14 ปีที่ผ่านมา ชาติเหล่านี้จะมีเงินสำหรับลงทุนในต่างประเทศ 3,500,000 ล้านดอลลาร์ นับตั้งแต่ปัจจุบันนี้จนถึงปี2020 คิดเป็นมูลค่าเกือบ 2 เท่าตัวของมูลค่าทรัพย์สินในต่างประเทศ ของชาติเหล่านี้ในปัจจุบัน
แมคคินซีย์ กล่าวว่า ตัวเลือกในการลงทุนของชาติผู้ผลิตน้ำมันเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ย สภาพคล่อง และตลาดการเงินไปทั่วโลก
"ทรัพย์สมบัติก้อนใหม่นี้มาพร้อมกับความเสี่ยง....การไหลบ่าของสภาพคล่องเข้าสู่ตลาดโลกอาจทำให้เกิดภาวะราคาสินทรัพย์ฟองสบู่ การปล่อยกู้อย่างหละหลวม และการใช้เงินทุนโลกอย่างด้อยคุณภาพ"แมคคินซีย์เตือน
บริษัทที่ปรึกษาด้านการจัดการแห่งนี้ แนะนำว่า ชาติร่ำรวยแถบอ่าวเปอร์เซียควรนำรายได้จากการส่งออกน้ำมันมูลค่ามหาศาล มาหมุนเวียนในตลาดเงินทุนโลก เพื่อทำให้ภาวะเงินเฟ้อลดลงและเพิ่มกำไรต่อรายได้ของชาติเหล่านี้
แมคคินซีย์ยังคาดการณ์ว่า สิ้นปี 2006 ชาติสมาชิกจีซีซีถือครองสินทรัพย์ต่างประเทศ มูลค่า 1,900,000 ล้านดอลลาร์ มากกว่ามูลค่าสินทรัพย์ต่างประเทศในปี 2003 กว่า 2 เท่าตัว และเกือบเท่ากับขนาดเศรษฐกิจอินเดียรวมกับบราซิล หรือมูลค่าตลาดของบริษัท 10 อันดับแรกในรายชื่อบริษัทยักษ์ใหญ่ 500 บริษัท จัดทำโดยนิตยสารฟอร์จูน
แมคคินซีย์ยังคาดว่า การลงทุนในอนาคตน่าจะมาจากทั้งภาครัฐ เช่น ธนาคารกลาง บริษัทที่รัฐเป็นเจ้าของ กองทุนเพื่อการลงทุนภาครัฐ และภาคเอกชน เช่น เอกชนผู้มั่งคั่ง และบริษัทเอกชน
นักเศรษฐศาสตร์บางคน มองว่า นักลงทุนเงินหนาเหล่านี้น่าจะเป็นผลดีต่อตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาที่เกิดวิกฤติสินเชื่อตึงตัว ดังเช่นในปัจจุบัน
ทว่า กองทุนเพื่อการลงทุนภาครัฐซึ่งที่ผ่านมาช่วยกอบกู้ธนาคารรายใหญ่นั้น ก็ดำเนินกิจการอย่างไม่โปร่งใส ปล่อยให้นักลงทุนทั่วโลกคาดเดาว่ากองทุนเหล่านี้จัดสรรบัญชีอย่างไรและมีเป้าหมายระยะยาวอย่างไร การที่ผู้เล่นรายใหญ่ที่ไม่โปร่งใสเข้ามาในตลาดอาจทำให้สัญญาณต่างๆเกี่ยวกับราคาที่นักลงทุนรายอื่นจำเป็นต้องเฝ้าติดตามนั้น ขุ่นมั่วไป
นอกจากนี้ แมคคินซีย์ยังเตือนว่า ความผิดพลาดที่กองทุนเพื่อการลงทุนภาครัฐก่อ หากรวมกับความผิดพลาดของนักลงทุนรายใหญ่อื่นๆ เช่น เฮดจ์ฟันด์ ผู้จัดการสินทรัพย์โลก ก็จะส่งผลกระทบกระเทือนไปไกลมาก
http://www.manager.co.th/Around/ViewNew ... 0000010166
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 25 มกราคม 2551 01:43 น.
เอเจนซี - บริษัทที่ปรึกษาด้านการจัดการยักษ์ใหญ่แถลงรายงานคาดชาติผู้ผลิตน้ำมันแถบอ่าวเปอร์เซียจะมีรายได้มากกว่า 6,000,000 ล้านดอลลาร์ ในอีก 14 ปีข้างหน้า เตือนหากชาติเหล่านี้ทุ่มรายได้มหาศาลลงทุนอย่างไม่รอบคอบก็จะเกิดผลกระทบกระเทือนใหญ่หลวงซึ่งอาจยืดเยื้อนานหลายสิบปี
แมคคินซีย์ โกลบัล อินสติติวต์ แถลงรายงานเมื่อวานนี้ (24) คาดการณ์ว่า หากราคาน้ำมันในตลาดโลกซื้อขายกันที่ 70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ชาติสมาชิกสภาความร่วมมือแห่งอ่าวเปอร์เซีย(จีซีซี) 6 ประเทศ จะมีรายได้จากการส่งออกมากถึง 6,200,000 ล้านดอลลาร์ ในอีก 14 ปีข้างหน้า มากกว่ารายได้ในปัจจุบันถึง 3 เท่า
แมคคินซีย์ยังคาดการณ์ต่อว่า หากราคาน้ำมันอยู่ในระดับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ชาติผู้ผลิตน้ำมันแถบอ่าวเปอร์เซีย อันได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คูเวต กาตาร์ โอมาน และบาห์เรน จะมีรายได้เกือบถึง 9,000,000 ล้านดอลลาร์ และถึงแม้ราคาน้ำมันจะลดฮวบไปซื้อขายกันที่ 50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ชาติเหล่านี้ก็จะมีรายได้สะสมมากถึง 4,700,000 ล้านดอลลาร์ ในอีก 14 ปีข้างหน้า
สำหรับการคาดการณ์ตัวเลขการลงทุนของชาติผู้ผลิตน้ำมันในตะวันออกกลางนั้น หากสมมติว่า ราคาน้ำมันซื้อขายกันที่ 70 ดอลลาร์ และมูลค่าการลงทุนในประเทศเหล่านี้เพิ่มขึ้นปีละ 6.1% ซึ่งเป็นอัตราโดยเฉลี่ยในช่วง 14 ปีที่ผ่านมา ชาติเหล่านี้จะมีเงินสำหรับลงทุนในต่างประเทศ 3,500,000 ล้านดอลลาร์ นับตั้งแต่ปัจจุบันนี้จนถึงปี2020 คิดเป็นมูลค่าเกือบ 2 เท่าตัวของมูลค่าทรัพย์สินในต่างประเทศ ของชาติเหล่านี้ในปัจจุบัน
แมคคินซีย์ กล่าวว่า ตัวเลือกในการลงทุนของชาติผู้ผลิตน้ำมันเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ย สภาพคล่อง และตลาดการเงินไปทั่วโลก
"ทรัพย์สมบัติก้อนใหม่นี้มาพร้อมกับความเสี่ยง....การไหลบ่าของสภาพคล่องเข้าสู่ตลาดโลกอาจทำให้เกิดภาวะราคาสินทรัพย์ฟองสบู่ การปล่อยกู้อย่างหละหลวม และการใช้เงินทุนโลกอย่างด้อยคุณภาพ"แมคคินซีย์เตือน
บริษัทที่ปรึกษาด้านการจัดการแห่งนี้ แนะนำว่า ชาติร่ำรวยแถบอ่าวเปอร์เซียควรนำรายได้จากการส่งออกน้ำมันมูลค่ามหาศาล มาหมุนเวียนในตลาดเงินทุนโลก เพื่อทำให้ภาวะเงินเฟ้อลดลงและเพิ่มกำไรต่อรายได้ของชาติเหล่านี้
แมคคินซีย์ยังคาดการณ์ว่า สิ้นปี 2006 ชาติสมาชิกจีซีซีถือครองสินทรัพย์ต่างประเทศ มูลค่า 1,900,000 ล้านดอลลาร์ มากกว่ามูลค่าสินทรัพย์ต่างประเทศในปี 2003 กว่า 2 เท่าตัว และเกือบเท่ากับขนาดเศรษฐกิจอินเดียรวมกับบราซิล หรือมูลค่าตลาดของบริษัท 10 อันดับแรกในรายชื่อบริษัทยักษ์ใหญ่ 500 บริษัท จัดทำโดยนิตยสารฟอร์จูน
แมคคินซีย์ยังคาดว่า การลงทุนในอนาคตน่าจะมาจากทั้งภาครัฐ เช่น ธนาคารกลาง บริษัทที่รัฐเป็นเจ้าของ กองทุนเพื่อการลงทุนภาครัฐ และภาคเอกชน เช่น เอกชนผู้มั่งคั่ง และบริษัทเอกชน
นักเศรษฐศาสตร์บางคน มองว่า นักลงทุนเงินหนาเหล่านี้น่าจะเป็นผลดีต่อตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาที่เกิดวิกฤติสินเชื่อตึงตัว ดังเช่นในปัจจุบัน
ทว่า กองทุนเพื่อการลงทุนภาครัฐซึ่งที่ผ่านมาช่วยกอบกู้ธนาคารรายใหญ่นั้น ก็ดำเนินกิจการอย่างไม่โปร่งใส ปล่อยให้นักลงทุนทั่วโลกคาดเดาว่ากองทุนเหล่านี้จัดสรรบัญชีอย่างไรและมีเป้าหมายระยะยาวอย่างไร การที่ผู้เล่นรายใหญ่ที่ไม่โปร่งใสเข้ามาในตลาดอาจทำให้สัญญาณต่างๆเกี่ยวกับราคาที่นักลงทุนรายอื่นจำเป็นต้องเฝ้าติดตามนั้น ขุ่นมั่วไป
นอกจากนี้ แมคคินซีย์ยังเตือนว่า ความผิดพลาดที่กองทุนเพื่อการลงทุนภาครัฐก่อ หากรวมกับความผิดพลาดของนักลงทุนรายใหญ่อื่นๆ เช่น เฮดจ์ฟันด์ ผู้จัดการสินทรัพย์โลก ก็จะส่งผลกระทบกระเทือนไปไกลมาก
http://www.manager.co.th/Around/ViewNew ... 0000010166
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news25/01/08
โพสต์ที่ 275
การประชุมสุดยอดผู้นำโลกพรุ่งนี้ เตรียมเรียกร้องโอเปกเพิ่มกำลีงการผลิตน้ำมัน ช่วยลด Hamburgur crisis
Posted on Friday, January 25, 2008
นายโนบูโอะ ทานากะ ผู้อำนวยการบริหารสำนักงานพลังงานสากล (IEA) กล่าวว่า กลุ่มผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่ โดยเฉพาะ สหรัฐ อังกฤษ และญี่ป่น ล้วนแล้วแต่มีความกังวลต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันแพง ดังนั้น จะมีการหรือร่วมกันในการประชุมผู้นำเศรษฐกิจโลก ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ วันพรุ่งนี้ เพื่อเรียกร้องให้กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) เพิ่มการผลิตเพื่อทำให้ราคาลดลงในการประชุมวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้ เพื่อช่วยกันแก่ไขปัญหาเศรษฐกิจโลก อันเนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐ (Hamburgur crisis) ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นต้นเหตุของวิกฤตการเงินโลก ในทศวรรษ 2550 ต่อจากไทย (Tom-yum Kung Crisis) ในปี 2540
" เราคิดว่าระดับสต็อกในปัจจุบันน่าเป็นห่วง ขณะที่ราคาน้ำมันอยู่ในระดับสูงมาก ซึ่งแสดงว่าตลาดยังคงตึงตัวอยู่ ดังนั้น การที่ราคาน้ำมันในปัจจุบันยังสูงอยู่ จึงเป็นเรื่องที่จะต้องแลกเปลี่ยนความเห็นร่วมกัน และผมก็หวังว่า สิ่งที่ IEA เสนอจะได้รับการยอมรับ และกดดันให้เพิ่มกำลังการผลิต ในที่สุด " นายทานากะกล่าว
http://www.moneychannel.co.th/BreakingN ... fault.aspx
Posted on Friday, January 25, 2008
นายโนบูโอะ ทานากะ ผู้อำนวยการบริหารสำนักงานพลังงานสากล (IEA) กล่าวว่า กลุ่มผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่ โดยเฉพาะ สหรัฐ อังกฤษ และญี่ป่น ล้วนแล้วแต่มีความกังวลต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันแพง ดังนั้น จะมีการหรือร่วมกันในการประชุมผู้นำเศรษฐกิจโลก ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ วันพรุ่งนี้ เพื่อเรียกร้องให้กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) เพิ่มการผลิตเพื่อทำให้ราคาลดลงในการประชุมวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้ เพื่อช่วยกันแก่ไขปัญหาเศรษฐกิจโลก อันเนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐ (Hamburgur crisis) ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นต้นเหตุของวิกฤตการเงินโลก ในทศวรรษ 2550 ต่อจากไทย (Tom-yum Kung Crisis) ในปี 2540
" เราคิดว่าระดับสต็อกในปัจจุบันน่าเป็นห่วง ขณะที่ราคาน้ำมันอยู่ในระดับสูงมาก ซึ่งแสดงว่าตลาดยังคงตึงตัวอยู่ ดังนั้น การที่ราคาน้ำมันในปัจจุบันยังสูงอยู่ จึงเป็นเรื่องที่จะต้องแลกเปลี่ยนความเห็นร่วมกัน และผมก็หวังว่า สิ่งที่ IEA เสนอจะได้รับการยอมรับ และกดดันให้เพิ่มกำลังการผลิต ในที่สุด " นายทานากะกล่าว
http://www.moneychannel.co.th/BreakingN ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news28/01/08
โพสต์ที่ 276
ก๊าซหุงต้มจ่อขึ้นราคา
โดย Post Digital 28 มกราคม 2551 20:00 น.
โรงงานบรรจุก๊าซเตรียมขอปรับราคาก๊าซหุงต้ม 3-5 บาทต่อ 1 ถัง รอกรมการค้าภายในอนุมัติก่อน
นายชิษณุพงศ์ รุ่งโรจน์งามเจริญ นายกสมาคมก๊าซปิโตรเลียม กล่าวว่า โรงบรรจุก๊าซได้มีหนังสือแจ้งขอปรับราคาขายก๊าซขึ้น เนื่องจากต้นทุนค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้นมีผลตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 โดยจะปรับราคาก๊าซหุงต้มขนาดถัง 15 กิโลกรัม ขึ้น 3- 5 บาท/ถัง ทำให้ราคาขายขนาดถัง 15 กิโลกรัมเพิ่มขึ้นจาก 280-285 บาท เป็น 285-290 บาท และขนาดถัง 48 กิโลกรัมเพิ่มขึ้นจาก 820 บาท เป็น 830 บาท การปรับราคาเป็นไปตามเพดานที่แจ้งไว้กับกรมการค้าภายใน โดยเป็นไปตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
ด้านนายวีระพล จิระประดิษฐกุล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า แม้โรงบรรจุก๊าซจะปรับราคาเพิ่มขึ้นตามเพดานที่ขอไว้กับกรมการค้าภายใน แต่ผู้ค้าปลีกยังไม่สามารถปรับราคาขายกับประชาชนได้ โดยจะต้องรอการอนุมัติจากกรมการค้าภายในก่อน อย่างไรก็ตาม เห็นว่าค่าการตลาดของราคาก๊าซยังสูงอยู่คือ 3.2626 บาท/กก. ถือว่าสูงเมื่อเทียบกับค่าการตลาดของราคาน้ำมัน
http://www.posttoday.com/breakingnews.php?id=217432
โดย Post Digital 28 มกราคม 2551 20:00 น.
โรงงานบรรจุก๊าซเตรียมขอปรับราคาก๊าซหุงต้ม 3-5 บาทต่อ 1 ถัง รอกรมการค้าภายในอนุมัติก่อน
นายชิษณุพงศ์ รุ่งโรจน์งามเจริญ นายกสมาคมก๊าซปิโตรเลียม กล่าวว่า โรงบรรจุก๊าซได้มีหนังสือแจ้งขอปรับราคาขายก๊าซขึ้น เนื่องจากต้นทุนค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้นมีผลตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 โดยจะปรับราคาก๊าซหุงต้มขนาดถัง 15 กิโลกรัม ขึ้น 3- 5 บาท/ถัง ทำให้ราคาขายขนาดถัง 15 กิโลกรัมเพิ่มขึ้นจาก 280-285 บาท เป็น 285-290 บาท และขนาดถัง 48 กิโลกรัมเพิ่มขึ้นจาก 820 บาท เป็น 830 บาท การปรับราคาเป็นไปตามเพดานที่แจ้งไว้กับกรมการค้าภายใน โดยเป็นไปตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
ด้านนายวีระพล จิระประดิษฐกุล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า แม้โรงบรรจุก๊าซจะปรับราคาเพิ่มขึ้นตามเพดานที่ขอไว้กับกรมการค้าภายใน แต่ผู้ค้าปลีกยังไม่สามารถปรับราคาขายกับประชาชนได้ โดยจะต้องรอการอนุมัติจากกรมการค้าภายในก่อน อย่างไรก็ตาม เห็นว่าค่าการตลาดของราคาก๊าซยังสูงอยู่คือ 3.2626 บาท/กก. ถือว่าสูงเมื่อเทียบกับค่าการตลาดของราคาน้ำมัน
http://www.posttoday.com/breakingnews.php?id=217432
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news30/01/08
โพสต์ที่ 277
หุ้นพลังงานยังน่าลุ้นทั้งน้ำมัน โรงกลั่น โรงไฟฟ้า และถ่านหิน
--------------------------------------------------------------------------------
Posted on Wednesday, January 30, 2008
ในการสัมมนา เคล็ดลับวิธีวิเคราะห์ หมวดพลังงานและปิโตรเคมี แนวโน้มและหุ้นเด่น ในงานมหกรรมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ 2551 ปีที่ 6 ได้กล่าวถึงการแบ่งประเภทหุ้นในกลุ่มพลังงานออกเป็น 5 หมวดด้วยกันคือ
1. หมวดน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เช่น บมจ. ปตท. (PTT) และ บมจ. ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP)
2. หมวดโรงกลั่น เช่น บมจ. ไทยออยล์ (TOP)
3. หมวดถ่านหิน เช่น บมจ. บ้านปู (BANPU)
4. หมวดผลิตไฟฟ้า เช่น บมจ. ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง (RATCH)
5. หมวดการบริการ เช่น บมจ. บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ (BAFS)
ผู้เชี่ยวชาญแนะลงทุนธุรกิจพลังงานครบวงจรดีกว่าธุรกิจที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
นายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานให้ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจน้ำมันว่า ในภาพรวมธุรกิจนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ
1. ธุรกิจต้นน้ำ (Upstream) คือ ผู้ทำธุรกิจขุดเจาะและสำรวจ ซึ่งในประเทศไทยมีเพียงบริษัทเดียวคือ PTTEP
2. ธุรกิจปลายน้ำ (Downstream) แบ่งเป็น
2.1 ธุรกิจโรงกลั่น (Refinery) เช่น TOP
2.2 ธุรกิจการตลาด เช่น สถานีบริการน้ำมัน ผู้ให้บริการน้ำมันเตาสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
กลุ่มธุรกิจปลายน้ำจะมีรายได้หลักมาจาก 2 ทางด้วยกันคือ
- ค่าการกลั่น (Gross Refinery Margin: GRM) ส่วนต่างระหว่างราคาน้ำมันสำเร็จรูปกับราคาน้ำมันดิบ
- ค่าการตลาด (Marketing Margin: MKM) ส่วนต่างระหว่างราคาขายปลีกหน้าสถานีบริการน้ำมันกับราคาหน้าโรงกลั่น
ทั้งนี้ กำไรของกลุ่มธุรกิจปลายน้ำจะขึ้นอยู่กับส่วนต่างของค่าการกลั่นและค่าการตลาด โดยบริษัทที่ทำทั้งธุรกิจโรงกลั่นและธุรกิจการตลาดไปพร้อม ๆ กันจะเรียกว่าเป็น Integrated Company เช่น บมจ. บางจาก (BCP) ที่ธุรกิจจะพึ่งพาซึ่งกันและกัน และสามารถตอบรับกับสถานการณ์น้ำมันที่ผันผวนได้เป็นอย่างดี เนื่องจากธุรกิจน้ำมันมีความเสี่ยงสูง ในบางครั้งค่าการกลั่นสามารถสร้างรายได้ได้ดีกว่าค่าการตลาด และในทางกลับกันในบางช่วงเวลาก็ต้องพึ่งพารายได้จากค่าการตลาดแทนค่าการกลั่น
ส่วน PTT นับเป็นเอกชนรายเดียวของประเทศไทยที่ทำธุรกิจต้นน้ำและปลายน้ำไปพร้อมกัน (Fully Integrated) จึงได้รับความนิยมสูงจากนักลงทุนต่างชาติ เพราะในต่างประเทศบริษัทผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่จำเป็นต้องทำธุรกิจให้ครบวงจรเพื่อที่จะสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้
ปัจจัยกดดันราคาน้ำมันปีนี้เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง
ปัจจัยที่มีผลต่อราคาน้ำมันได้แก่
1. ปัจจัยพื้นฐานที่ส่งผลกระทบโดยตรง เช่น เรื่อง Demand Supply และภาวะเศรษฐกิจ
2. ปัจจัยทางด้านเทคนิค เฉพาะธุรกิจน้ำมัน การกลั่น การขนส่ง และการซ่อมบำรุง
3. ปัจจัยทางด้านจิตวิทยา ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ราคาน้ำมันผันผวนได้มากที่สุด อาทิ เสถียรภาพทางการเมืองของประเทศผู้ผลิต สงคราม และการก่อการร้ายโจมตีท่อส่งน้ำมัน เป็นต้น
4. ภัยธรรมชาติ
5. เก็งกำไรในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) ซึ่งมีส่วนทำให้ราคาน้ำมันมีโอกาสบิดเบือนได้มากที่สุด เดิมปัจจัยนี้จะมีผลต่อราคาน้ำมันเพียง 5% เท่านั้น แต่ในปัจจุบันการลงทุนของกองทุนเพื่อการเก็งกำไร (Hedge Fund) ทำให้ปัจจัยด้านการเก็งกำไรนี้เพิ่มสัดส่วนความสำคัญต่อการกำหนดราคาน้ำมันถึง 20-25%
6. ค่าเงินและอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ โดยเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงทำให้กองทุนต่าง ๆ โยกเงินมาเก็งกำไรในราคาน้ำมันแทน
ปี 2550 เป็นปีที่คนส่วนใหญ่รู้สึกว่าราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น แต่ที่จริงแล้วหากคิดเป็นราคาเฉลี่ยตลอดทั้งปีจะไม่สูงนัก สำหรับการคาดการณ์ราคาน้ำมันในปีนี้สูงสุดอยู่ที่ 100-120 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาเรล ต่ำสุดอยู่ที่ 80-85 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาเรล ส่วนราคาเฉลี่ยของราคาน้ำมันที่ซื้อขายในตลาดต่าง ๆ ในปีนี้เป็นดังนี้
- ตลาดนิวยอร์ค 80-100 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาเรล
- เบรนท์ทะเลเหนือ 70-90 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาเรล
- น้ำมันดิบดูไบ 60-80 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาเรล
- น้ำมันเบนซินในประเทศ 30-35 บาทต่อลิตร
- น้ำมันดีเซล 28-30 บาทต่อลิตร
สำหรับปัจจัยที่จะมีผลกระทบต่อราคาน้ำมันในระยะนี้ได้แก่ การใช้น้ำมันของผู้ใช้รายใหญ่คือ สหรัฐฯที่เศรษฐกิจชะลอตัวลง การประชุมของกลุ่มประเทศผู้ค้าน้ำมัน (โอเปก) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 1 ก.พ. 51 เรื่องกำลังการผลิต ปริมาณน้ำมันสำรอง เหตุการณ์ความไม่สงบในภูมิภาคตะวันออกกลาง และสภาพอากาศในประเทศตะวันตกที่ไม่หนาวอย่างที่คาดกัน
นายมนูญยังกล่าวอีกว่า กิจการพลังงานของประเทศไทยจะมาถึงจุดเปลี่ยนที่สำคัญเมื่อมีการผ่านพ.ร.บ. การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 และมีการตั้งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (Regulator) ขึ้นมากำกับดูแลกิจการพลังงานทั้งหมดของประเทศในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ หรือการดูแลเรื่องท่อก๊าซ เป็นต้น
บล.ซีมิโก้แนะลงทุนหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าปันผลดี แม้ผลประมูล IPP จะผ่านไปแล้ว
นายธีรภัทร เมธานุเคราะห์ ผู้จัดการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ซีมิโก้ กล่าวว่า สหรัฐฯเป็นผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่ติดอันดับหนึ่งสี่ของโลก และบริโภคถ่านหินหนึ่งในห้าของโลก ซึ่งหมายความว่า ถ้าเศรษฐกิจของสหรัฐฯถดถอย ก็จะมีความเป็นไปได้ที่การใช้น้ำมันของโลกจะชะลอตัวลง และทำให้ราคาน้ำมันลดลงตามไปด้วย และอาจส่งผลต่อเนื่องไปยังผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่ทำธุรกิจด้านน้ำมัน แต่อย่างไรก็ตาม ภาวะราคาน้ำมันลดลงนี้อาจเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้น เพราะความต้องการใช้น้ำมันของโลกเพิ่มสูงขึ้นทุกปี อันเป็นผลมาจากแหล่งผลิตและการผลิต (Supply) ขยายตัวไม่ทันตามความต้องการของผู้ใช้ ดังนั้นหากราคาน้ำมันและราคาหุ้นพลังงานลดลงเพียงชั่วคราว ก็ถือเป็นโอกาสที่จะเข้าซื้อเพื่อสะสมหุ้นพลังงาน
นักวิเคราะห์จากบล.ซีมิโก้ยังกล่าวถึงการลงทุนในหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าว่า ยังน่าสนใจอยู่แม้ว่าการประมูลโรงไฟฟ้าเอกชนขนาดใหญ่ (IPP) ได้ผ่านไปแล้ว โดยตัวเก็งอย่าง บมจ. ผลิตไฟฟ้า (EGCO) และ RATCH ไม่ชนะการประมูล และการประมูลครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นในอีก 3 ปีข้างหน้าก็ตาม เพราะหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าถือว่าเป็นหุ้นที่มีกระแสเงินสดที่มั่นคง ความเสี่ยงต่ำ และสามารถจ่ายเงินปันผลได้อย่างสม่ำเสมอ เหมาะสำหรับการลงทุนระยะยาว โดยซีมิโก้แนะลงทุนใน บมจ. โกลว์ พลังงาน (GLOW) และ RATCH
สำหรับหมวดปิโตรเคมีบล.ซีมิโก้แนะนำบมจ. ปตท.เคมิคอล (PTTCH) ซึ่งมีความโดดเด่นในสายโอเลนฟินส์ อีกทั้งยังมี Demand ในตลาดเติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมถึงราคาของผลิตภัณฑ์ที่กลับมาสูงอีกครั้งในช่วงต้นปี และในปี 2552 จะมีกำลังการผลิตจากการขยายไปในธุรกิจปิโตรเคมีขั้นปลายออกสู่ตลาด นอกจากนี้ยังแนะนำให้ ซื้อบมจ. ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น (PTTAR) เพราะในช่วงปลายปีกำลังการกลั่นน้ำมันที่เพิ่มขึ้นจะทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มจากปิโตรเคมีที่เป็นผลพลอยได้ตามมาด้วย โดยให้มูลค่าเหมาะสมไว้ที่ 53 บาท ซึ่งหากราคาลดลงก็ถือว่าเป็นจังหวะในการเข้าซื้อ
ส่วนกลุ่มน้ำมันยังคงแนะนำ PTTEP ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด นอกจากนี้ยังมี BCP ที่กิจการมีแนวโน้มฟื้นตัวจากค่าการกลั่นที่เพิ่มขึ้น การมีธุรกิจค้าปลีกของตัวเองผ่านทางสถานีบริการน้ำมัน รวมถึงโครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันเตา ก็ล้วนสร้างมูลค่าเพิ่มได้ทั้งสิ้น
บล. กิมเอ็งเผยราคาเป้าหมายหุ้นน่าลงทุน
นายกิติชาญ ศิริสุขอาชา ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) แนะหลักสำคัญในการเข้าลงทุนหุ้นกลุ่มพลังงานว่า ควรพิจารณาถึงศักยภาพในการทำธุรกิจว่ามีแนวโน้มที่กำไรจะเติบโตขึ้นหรือไม่ เหมือนกับหุ้น BANPU ที่ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นเกือบ 100% เพราะกำไรจากโรงไฟฟ้า BLCP และราคาถ่านหินในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น หรืออย่าง PTTEP ที่น่าจะมีผลกำไรเติบโตได้ดีในอนาคต อันเนื่องมาจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น และผลผลิตที่จะเพิ่มขึ้นจากแหล่งต่าง ๆ
โดย บล. กิมเอ็ง ให้มูลค่าที่เหมาะสมของหุ้นต่าง ๆ ไว้ดังนี้
- TOP 99.50 บาท
- PTTCH 150 บาท
- PTTEP 193 บาท
- PTTAR 55 บาท
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Sto ... fault.aspx
--------------------------------------------------------------------------------
Posted on Wednesday, January 30, 2008
ในการสัมมนา เคล็ดลับวิธีวิเคราะห์ หมวดพลังงานและปิโตรเคมี แนวโน้มและหุ้นเด่น ในงานมหกรรมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ 2551 ปีที่ 6 ได้กล่าวถึงการแบ่งประเภทหุ้นในกลุ่มพลังงานออกเป็น 5 หมวดด้วยกันคือ
1. หมวดน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เช่น บมจ. ปตท. (PTT) และ บมจ. ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP)
2. หมวดโรงกลั่น เช่น บมจ. ไทยออยล์ (TOP)
3. หมวดถ่านหิน เช่น บมจ. บ้านปู (BANPU)
4. หมวดผลิตไฟฟ้า เช่น บมจ. ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง (RATCH)
5. หมวดการบริการ เช่น บมจ. บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ (BAFS)
ผู้เชี่ยวชาญแนะลงทุนธุรกิจพลังงานครบวงจรดีกว่าธุรกิจที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
นายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานให้ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจน้ำมันว่า ในภาพรวมธุรกิจนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ
1. ธุรกิจต้นน้ำ (Upstream) คือ ผู้ทำธุรกิจขุดเจาะและสำรวจ ซึ่งในประเทศไทยมีเพียงบริษัทเดียวคือ PTTEP
2. ธุรกิจปลายน้ำ (Downstream) แบ่งเป็น
2.1 ธุรกิจโรงกลั่น (Refinery) เช่น TOP
2.2 ธุรกิจการตลาด เช่น สถานีบริการน้ำมัน ผู้ให้บริการน้ำมันเตาสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
กลุ่มธุรกิจปลายน้ำจะมีรายได้หลักมาจาก 2 ทางด้วยกันคือ
- ค่าการกลั่น (Gross Refinery Margin: GRM) ส่วนต่างระหว่างราคาน้ำมันสำเร็จรูปกับราคาน้ำมันดิบ
- ค่าการตลาด (Marketing Margin: MKM) ส่วนต่างระหว่างราคาขายปลีกหน้าสถานีบริการน้ำมันกับราคาหน้าโรงกลั่น
ทั้งนี้ กำไรของกลุ่มธุรกิจปลายน้ำจะขึ้นอยู่กับส่วนต่างของค่าการกลั่นและค่าการตลาด โดยบริษัทที่ทำทั้งธุรกิจโรงกลั่นและธุรกิจการตลาดไปพร้อม ๆ กันจะเรียกว่าเป็น Integrated Company เช่น บมจ. บางจาก (BCP) ที่ธุรกิจจะพึ่งพาซึ่งกันและกัน และสามารถตอบรับกับสถานการณ์น้ำมันที่ผันผวนได้เป็นอย่างดี เนื่องจากธุรกิจน้ำมันมีความเสี่ยงสูง ในบางครั้งค่าการกลั่นสามารถสร้างรายได้ได้ดีกว่าค่าการตลาด และในทางกลับกันในบางช่วงเวลาก็ต้องพึ่งพารายได้จากค่าการตลาดแทนค่าการกลั่น
ส่วน PTT นับเป็นเอกชนรายเดียวของประเทศไทยที่ทำธุรกิจต้นน้ำและปลายน้ำไปพร้อมกัน (Fully Integrated) จึงได้รับความนิยมสูงจากนักลงทุนต่างชาติ เพราะในต่างประเทศบริษัทผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่จำเป็นต้องทำธุรกิจให้ครบวงจรเพื่อที่จะสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้
ปัจจัยกดดันราคาน้ำมันปีนี้เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง
ปัจจัยที่มีผลต่อราคาน้ำมันได้แก่
1. ปัจจัยพื้นฐานที่ส่งผลกระทบโดยตรง เช่น เรื่อง Demand Supply และภาวะเศรษฐกิจ
2. ปัจจัยทางด้านเทคนิค เฉพาะธุรกิจน้ำมัน การกลั่น การขนส่ง และการซ่อมบำรุง
3. ปัจจัยทางด้านจิตวิทยา ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ราคาน้ำมันผันผวนได้มากที่สุด อาทิ เสถียรภาพทางการเมืองของประเทศผู้ผลิต สงคราม และการก่อการร้ายโจมตีท่อส่งน้ำมัน เป็นต้น
4. ภัยธรรมชาติ
5. เก็งกำไรในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) ซึ่งมีส่วนทำให้ราคาน้ำมันมีโอกาสบิดเบือนได้มากที่สุด เดิมปัจจัยนี้จะมีผลต่อราคาน้ำมันเพียง 5% เท่านั้น แต่ในปัจจุบันการลงทุนของกองทุนเพื่อการเก็งกำไร (Hedge Fund) ทำให้ปัจจัยด้านการเก็งกำไรนี้เพิ่มสัดส่วนความสำคัญต่อการกำหนดราคาน้ำมันถึง 20-25%
6. ค่าเงินและอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ โดยเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงทำให้กองทุนต่าง ๆ โยกเงินมาเก็งกำไรในราคาน้ำมันแทน
ปี 2550 เป็นปีที่คนส่วนใหญ่รู้สึกว่าราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น แต่ที่จริงแล้วหากคิดเป็นราคาเฉลี่ยตลอดทั้งปีจะไม่สูงนัก สำหรับการคาดการณ์ราคาน้ำมันในปีนี้สูงสุดอยู่ที่ 100-120 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาเรล ต่ำสุดอยู่ที่ 80-85 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาเรล ส่วนราคาเฉลี่ยของราคาน้ำมันที่ซื้อขายในตลาดต่าง ๆ ในปีนี้เป็นดังนี้
- ตลาดนิวยอร์ค 80-100 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาเรล
- เบรนท์ทะเลเหนือ 70-90 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาเรล
- น้ำมันดิบดูไบ 60-80 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาเรล
- น้ำมันเบนซินในประเทศ 30-35 บาทต่อลิตร
- น้ำมันดีเซล 28-30 บาทต่อลิตร
สำหรับปัจจัยที่จะมีผลกระทบต่อราคาน้ำมันในระยะนี้ได้แก่ การใช้น้ำมันของผู้ใช้รายใหญ่คือ สหรัฐฯที่เศรษฐกิจชะลอตัวลง การประชุมของกลุ่มประเทศผู้ค้าน้ำมัน (โอเปก) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 1 ก.พ. 51 เรื่องกำลังการผลิต ปริมาณน้ำมันสำรอง เหตุการณ์ความไม่สงบในภูมิภาคตะวันออกกลาง และสภาพอากาศในประเทศตะวันตกที่ไม่หนาวอย่างที่คาดกัน
นายมนูญยังกล่าวอีกว่า กิจการพลังงานของประเทศไทยจะมาถึงจุดเปลี่ยนที่สำคัญเมื่อมีการผ่านพ.ร.บ. การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 และมีการตั้งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (Regulator) ขึ้นมากำกับดูแลกิจการพลังงานทั้งหมดของประเทศในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ หรือการดูแลเรื่องท่อก๊าซ เป็นต้น
บล.ซีมิโก้แนะลงทุนหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าปันผลดี แม้ผลประมูล IPP จะผ่านไปแล้ว
นายธีรภัทร เมธานุเคราะห์ ผู้จัดการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ซีมิโก้ กล่าวว่า สหรัฐฯเป็นผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่ติดอันดับหนึ่งสี่ของโลก และบริโภคถ่านหินหนึ่งในห้าของโลก ซึ่งหมายความว่า ถ้าเศรษฐกิจของสหรัฐฯถดถอย ก็จะมีความเป็นไปได้ที่การใช้น้ำมันของโลกจะชะลอตัวลง และทำให้ราคาน้ำมันลดลงตามไปด้วย และอาจส่งผลต่อเนื่องไปยังผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่ทำธุรกิจด้านน้ำมัน แต่อย่างไรก็ตาม ภาวะราคาน้ำมันลดลงนี้อาจเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้น เพราะความต้องการใช้น้ำมันของโลกเพิ่มสูงขึ้นทุกปี อันเป็นผลมาจากแหล่งผลิตและการผลิต (Supply) ขยายตัวไม่ทันตามความต้องการของผู้ใช้ ดังนั้นหากราคาน้ำมันและราคาหุ้นพลังงานลดลงเพียงชั่วคราว ก็ถือเป็นโอกาสที่จะเข้าซื้อเพื่อสะสมหุ้นพลังงาน
นักวิเคราะห์จากบล.ซีมิโก้ยังกล่าวถึงการลงทุนในหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าว่า ยังน่าสนใจอยู่แม้ว่าการประมูลโรงไฟฟ้าเอกชนขนาดใหญ่ (IPP) ได้ผ่านไปแล้ว โดยตัวเก็งอย่าง บมจ. ผลิตไฟฟ้า (EGCO) และ RATCH ไม่ชนะการประมูล และการประมูลครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นในอีก 3 ปีข้างหน้าก็ตาม เพราะหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าถือว่าเป็นหุ้นที่มีกระแสเงินสดที่มั่นคง ความเสี่ยงต่ำ และสามารถจ่ายเงินปันผลได้อย่างสม่ำเสมอ เหมาะสำหรับการลงทุนระยะยาว โดยซีมิโก้แนะลงทุนใน บมจ. โกลว์ พลังงาน (GLOW) และ RATCH
สำหรับหมวดปิโตรเคมีบล.ซีมิโก้แนะนำบมจ. ปตท.เคมิคอล (PTTCH) ซึ่งมีความโดดเด่นในสายโอเลนฟินส์ อีกทั้งยังมี Demand ในตลาดเติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมถึงราคาของผลิตภัณฑ์ที่กลับมาสูงอีกครั้งในช่วงต้นปี และในปี 2552 จะมีกำลังการผลิตจากการขยายไปในธุรกิจปิโตรเคมีขั้นปลายออกสู่ตลาด นอกจากนี้ยังแนะนำให้ ซื้อบมจ. ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น (PTTAR) เพราะในช่วงปลายปีกำลังการกลั่นน้ำมันที่เพิ่มขึ้นจะทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มจากปิโตรเคมีที่เป็นผลพลอยได้ตามมาด้วย โดยให้มูลค่าเหมาะสมไว้ที่ 53 บาท ซึ่งหากราคาลดลงก็ถือว่าเป็นจังหวะในการเข้าซื้อ
ส่วนกลุ่มน้ำมันยังคงแนะนำ PTTEP ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด นอกจากนี้ยังมี BCP ที่กิจการมีแนวโน้มฟื้นตัวจากค่าการกลั่นที่เพิ่มขึ้น การมีธุรกิจค้าปลีกของตัวเองผ่านทางสถานีบริการน้ำมัน รวมถึงโครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันเตา ก็ล้วนสร้างมูลค่าเพิ่มได้ทั้งสิ้น
บล. กิมเอ็งเผยราคาเป้าหมายหุ้นน่าลงทุน
นายกิติชาญ ศิริสุขอาชา ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) แนะหลักสำคัญในการเข้าลงทุนหุ้นกลุ่มพลังงานว่า ควรพิจารณาถึงศักยภาพในการทำธุรกิจว่ามีแนวโน้มที่กำไรจะเติบโตขึ้นหรือไม่ เหมือนกับหุ้น BANPU ที่ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นเกือบ 100% เพราะกำไรจากโรงไฟฟ้า BLCP และราคาถ่านหินในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น หรืออย่าง PTTEP ที่น่าจะมีผลกำไรเติบโตได้ดีในอนาคต อันเนื่องมาจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น และผลผลิตที่จะเพิ่มขึ้นจากแหล่งต่าง ๆ
โดย บล. กิมเอ็ง ให้มูลค่าที่เหมาะสมของหุ้นต่าง ๆ ไว้ดังนี้
- TOP 99.50 บาท
- PTTCH 150 บาท
- PTTEP 193 บาท
- PTTAR 55 บาท
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Sto ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news31/01/08
โพสต์ที่ 278
แนวโน้มโอเปคยังไม่เพิ่มการผลิตน้ำมัน
--------------------------------------------------------------------------------
โดย Post Digital 31 มกราคม 2551 14:06 น.
รมต.พลังงานคูเวตเผย ประชุมโอเปกพรุ่งนี้ ยังไม่เพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมัน
รัฐมนตรีกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นก่อนที่การประชุมโอเปคจะเริ่มต้นขึ้นในวันพรุ่งนี้ (1 ก.พ.) โดยนายซามัด อัล-อาวาดี รัฐมตรีกระทรวงพลังงานคูเวตกล่าวว่า โอเปคมีแนวโน้มจะคงปริมาณการผลิตไว้เท่าเดิม เนื่องจากภาวะในตลาดน้ำมันยังคงผันผวนและความต้องการน้ำมันมีแนวโน้มชะลอตัวลงในไตรมาส 2
"ผมไม่คิดว่าโอเปคจะเพิ่มหรือลดปริมาณการผลิตในการประชุมวันที่ 1 ก.พ.นี้ เพราะตลาดน้ำมันยังคงอยู่ในภาวะสมดุล เราคงต้องดูสถานการณ์ในไตรมาสที่ 2 และก่อนหน้านี้ซาอุดิอาระเบียได้เพิ่มการผลิตไปแล้ว แม้จะไม่มากนักก็ตาม" นายซามัดกล่าว
"เนื่องจากความต้องการพลังงานมีแนวโน้มปรับตัวลงตามฤดูกาล ทำให้เราคาดว่าโอกาสที่โอเปคจะเพิ่มปริมาณการผลิตมีแนวมาก ความต้องการพลังงานในช่วงฤดูใบไม้ผลิลดลงก็เพราะปริมาณการใช้น้ำมันฮีทติ้งออยล์ลดลง และความต้องการพลังงานจะเพิ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงฤดูร้อนซึ่งเป็นฤดูการขับขี่ยานยนต์ในสหรัฐ" เขากล่าว
นอกจากนี้ การที่ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลงทำให้อำนาจซื้อของกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันลดน้อยลงด้วย ซึ่งนักวิเคราะห์บางคนมองว่าประเด็นค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวจะเข้ามามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของโอเปคในการประชุมวันพรุ่งนี้ด้วย
ด้านนายอาลี อัล-ไนมี รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของซาอุดิอาระเบียและเลขาธิการโอเปค กล่าวว่า ปัจจัยพื้นฐานในตลาดน้ำมันยังคงดีอยู่ ซึ่งรวมถึงปัจจัยด้านอุปสงค์และอุปทาน ส่วนปัจจัยที่ทำให้ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นอย่างร้อนแรงในขณะนี้มาจากการเก็งกำไร ค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนตัวลง และภาวะติดขัดที่เกิดขึ้นในโรงกลั่นน้ำมัน
ขณะที่นายชากิบ เคลิล รมว.พลังงานของอัลจีเรียกล่าวว่า เขายังไม่เห็นความจำเป็นที่โอเปคจะเพิ่มปริมาณการผลิต และกล่าวว่าโอเปคจะตัดสินใจอย่างเหมาะสมว่าควรจะปรับเพิ่มหรือคงปริมาณการผลิตไว้เท่าเดิม
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า หากโอเปคผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้นจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโลกหรือไม่ นายเคลิลตอบว่า "ผมไม่คิดเช่นนั้น ขณะนี้เรากำลังเตรียมการประชุม และเราจะตัดสินใจในเรื่องนี้อย่างเหมาะสม ส่วนตัวผมเองมองว่าสต็อคน้ำมันทั่วโลกยังอยู่ในระดับที่เพียงพอ และคาดว่าความต้องการน้ำมันในไตรมาส 2 มีแนวโน้มชะลอตัวลง ในด้านเศรษฐกิจโลกก็มีแนวโน้มชะลอตัวลง ซึ่งเราต้องพิจารณาข้อมูลเหล่านี้ให้รอบด้าน"
http://www.posttoday.com/breakingnews.php?id=218094
--------------------------------------------------------------------------------
โดย Post Digital 31 มกราคม 2551 14:06 น.
รมต.พลังงานคูเวตเผย ประชุมโอเปกพรุ่งนี้ ยังไม่เพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมัน
รัฐมนตรีกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นก่อนที่การประชุมโอเปคจะเริ่มต้นขึ้นในวันพรุ่งนี้ (1 ก.พ.) โดยนายซามัด อัล-อาวาดี รัฐมตรีกระทรวงพลังงานคูเวตกล่าวว่า โอเปคมีแนวโน้มจะคงปริมาณการผลิตไว้เท่าเดิม เนื่องจากภาวะในตลาดน้ำมันยังคงผันผวนและความต้องการน้ำมันมีแนวโน้มชะลอตัวลงในไตรมาส 2
"ผมไม่คิดว่าโอเปคจะเพิ่มหรือลดปริมาณการผลิตในการประชุมวันที่ 1 ก.พ.นี้ เพราะตลาดน้ำมันยังคงอยู่ในภาวะสมดุล เราคงต้องดูสถานการณ์ในไตรมาสที่ 2 และก่อนหน้านี้ซาอุดิอาระเบียได้เพิ่มการผลิตไปแล้ว แม้จะไม่มากนักก็ตาม" นายซามัดกล่าว
"เนื่องจากความต้องการพลังงานมีแนวโน้มปรับตัวลงตามฤดูกาล ทำให้เราคาดว่าโอกาสที่โอเปคจะเพิ่มปริมาณการผลิตมีแนวมาก ความต้องการพลังงานในช่วงฤดูใบไม้ผลิลดลงก็เพราะปริมาณการใช้น้ำมันฮีทติ้งออยล์ลดลง และความต้องการพลังงานจะเพิ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงฤดูร้อนซึ่งเป็นฤดูการขับขี่ยานยนต์ในสหรัฐ" เขากล่าว
นอกจากนี้ การที่ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลงทำให้อำนาจซื้อของกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันลดน้อยลงด้วย ซึ่งนักวิเคราะห์บางคนมองว่าประเด็นค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวจะเข้ามามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของโอเปคในการประชุมวันพรุ่งนี้ด้วย
ด้านนายอาลี อัล-ไนมี รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของซาอุดิอาระเบียและเลขาธิการโอเปค กล่าวว่า ปัจจัยพื้นฐานในตลาดน้ำมันยังคงดีอยู่ ซึ่งรวมถึงปัจจัยด้านอุปสงค์และอุปทาน ส่วนปัจจัยที่ทำให้ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นอย่างร้อนแรงในขณะนี้มาจากการเก็งกำไร ค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนตัวลง และภาวะติดขัดที่เกิดขึ้นในโรงกลั่นน้ำมัน
ขณะที่นายชากิบ เคลิล รมว.พลังงานของอัลจีเรียกล่าวว่า เขายังไม่เห็นความจำเป็นที่โอเปคจะเพิ่มปริมาณการผลิต และกล่าวว่าโอเปคจะตัดสินใจอย่างเหมาะสมว่าควรจะปรับเพิ่มหรือคงปริมาณการผลิตไว้เท่าเดิม
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า หากโอเปคผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้นจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโลกหรือไม่ นายเคลิลตอบว่า "ผมไม่คิดเช่นนั้น ขณะนี้เรากำลังเตรียมการประชุม และเราจะตัดสินใจในเรื่องนี้อย่างเหมาะสม ส่วนตัวผมเองมองว่าสต็อคน้ำมันทั่วโลกยังอยู่ในระดับที่เพียงพอ และคาดว่าความต้องการน้ำมันในไตรมาส 2 มีแนวโน้มชะลอตัวลง ในด้านเศรษฐกิจโลกก็มีแนวโน้มชะลอตัวลง ซึ่งเราต้องพิจารณาข้อมูลเหล่านี้ให้รอบด้าน"
http://www.posttoday.com/breakingnews.php?id=218094
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news01/02/08
โพสต์ที่ 279
ยักษ์เคมีเบลเยียมลงทุนไทย6พันล.
โพสต์ทูเดย์ ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์จากเบลเยียม ทุ่มกว่า 6 พันล้านบาท ลงทุนในไทย ชูนวัตกรรมเพิ่มมูลค่าจากไบโอดีเซล
นายสาธิต ชาญเชาวน์กุล เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมคณะ อนุกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้เห็นชอบให้การส่งเสริมการลงทุนแก่บริษัท โซลเวย์ จากประเทศเบลเยียม ให้ดำเนินกิจการผลิตอีพิคลอโรไฮดริน (EPICHLOROHYDRIN) ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ใช้ผลิตสารเคมี มูลค่าการลงทุน 6.069 พันล้านบาท
โรงงานดังกล่าวจะมีกำลังการผลิต ปีละประมาณ 1 แสนตัน ตั้งโครงการอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง
สำหรับโครงการผลิตอีพิคลอโรไฮดรินแห่งนี้ จะนำเทคโนโลยีการผลิตใหม่เข้ามาใช้ เพื่อให้การผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยจะใช้กลีเซอร์ลีนซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการผลิตไบโอดีเซลมาเป็นวัตถุดิบปีละ 1.1 แสนตัน ทำให้สามารถเพิ่มมูลค่าของผลพลอยได้จากการผลิตไบโอดีเซลในประเทศไทยด้วย
ทั้งนี้ อีพิคลอโรไฮดริน เป็นสารเคมี ที่ใช้ในเป็นวัตถุดิบในการผลิตสารเคมี อาทิ เรซินอีพอกซี ซึ่งใช้สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมอากาศยาน ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่กำลังเจริญเติบโตอย่างมากในประเทศไทย
นอกจากนี้ ยังพบว่าความต้องการใช้ อีพิคลอโรไฮดรินในตลาดโลกขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งยังใช้เป็นวัตถุดิบในการสังเคราะห์สารเคมีสำคัญอื่นๆ เช่น วัสดุยืดหยุ่น สารลดแรงตึงผิว และเรซินสังเคราะห์
สำหรับบริษัท โซลเวย์ เป็นผู้ผลิต อีพิคลอโรไฮดรินรายใหญ่อันดับ 4 ของโลก มีพนักงานประมาณ 2.9 หมื่นคน มีสำนักงาน 50 ประเทศทั่วโลก ซึ่งปี 2549 ที่ผ่านมา บริษัท โซลเวย์ มียอดขายรวมจาก 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์ คือเคมีภัณฑ์ พลาสติก และเวชภัณฑ์ สูงถึง 9.4 พันล้านยูโร
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=218242
โพสต์ทูเดย์ ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์จากเบลเยียม ทุ่มกว่า 6 พันล้านบาท ลงทุนในไทย ชูนวัตกรรมเพิ่มมูลค่าจากไบโอดีเซล
นายสาธิต ชาญเชาวน์กุล เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมคณะ อนุกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้เห็นชอบให้การส่งเสริมการลงทุนแก่บริษัท โซลเวย์ จากประเทศเบลเยียม ให้ดำเนินกิจการผลิตอีพิคลอโรไฮดริน (EPICHLOROHYDRIN) ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ใช้ผลิตสารเคมี มูลค่าการลงทุน 6.069 พันล้านบาท
โรงงานดังกล่าวจะมีกำลังการผลิต ปีละประมาณ 1 แสนตัน ตั้งโครงการอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง
สำหรับโครงการผลิตอีพิคลอโรไฮดรินแห่งนี้ จะนำเทคโนโลยีการผลิตใหม่เข้ามาใช้ เพื่อให้การผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยจะใช้กลีเซอร์ลีนซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการผลิตไบโอดีเซลมาเป็นวัตถุดิบปีละ 1.1 แสนตัน ทำให้สามารถเพิ่มมูลค่าของผลพลอยได้จากการผลิตไบโอดีเซลในประเทศไทยด้วย
ทั้งนี้ อีพิคลอโรไฮดริน เป็นสารเคมี ที่ใช้ในเป็นวัตถุดิบในการผลิตสารเคมี อาทิ เรซินอีพอกซี ซึ่งใช้สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมอากาศยาน ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่กำลังเจริญเติบโตอย่างมากในประเทศไทย
นอกจากนี้ ยังพบว่าความต้องการใช้ อีพิคลอโรไฮดรินในตลาดโลกขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งยังใช้เป็นวัตถุดิบในการสังเคราะห์สารเคมีสำคัญอื่นๆ เช่น วัสดุยืดหยุ่น สารลดแรงตึงผิว และเรซินสังเคราะห์
สำหรับบริษัท โซลเวย์ เป็นผู้ผลิต อีพิคลอโรไฮดรินรายใหญ่อันดับ 4 ของโลก มีพนักงานประมาณ 2.9 หมื่นคน มีสำนักงาน 50 ประเทศทั่วโลก ซึ่งปี 2549 ที่ผ่านมา บริษัท โซลเวย์ มียอดขายรวมจาก 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์ คือเคมีภัณฑ์ พลาสติก และเวชภัณฑ์ สูงถึง 9.4 พันล้านยูโร
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=218242
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news01/02/08
โพสต์ที่ 280
วิเคราะห์แนวโน้มราคาน้ำมัน
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 15:18:00
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ปัจจัยที่มีผลต่อราคาน้ำมัน 31 ม.ค. 51
น้ำมันดิบ : ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ปรับตัวลดลง 0.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ /บาร์เรล เนื่องจาก
มีรายงานว่า อัตราการว่างงานของสหรัฐอเมริกาปรับเพิ่มขึ้นเป็น 375,000 ราย ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 318,000 ราย ประกอบกับอัตราการใช้จ่ายส่วนบุคคลปรับลดลง 0.2% ทำสถิติต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่ปี 2546 ส่งผลให้ตลาดทวีความกังวลเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องของสหรัฐฯ ซึ่งอาจส่งให้อุปสงค์น้ำมันของสหรัฐฯ ปรับลดลงด้วย
ตลาดคาดการณ์ว่า ประเทศผู้ส่งออกน้ำมันจากกลุ่มโอเปก (ไม่รวมแองโกลาและเอกวาดอร์) จะปรับเพิ่มระดับเพดานการผลิตน้ำมันดิบเป็น 570,000 บาร์เรลต่อวันเป็นเวลา 4 สัปดาห์ จนถึงวันที่ 16 ก.พ. เป็นต้นไป ซึ่งปริมาณดังกล่าวถือเป็นสถิติที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่กลุ่มโอเปกปรับลดระดับเพดานการผลิตเมื่อเดือน พ.ย. ปี 2549 ส่งผลให้ตลาดคลายความกังวลเกี่ยวกับอุปทานน้ำมันดิบโลกลงบ้าง
อย่างไรก็ตาม เกิดเหตุเพลิงไหม้ถังเก็บน้ำมันจำนวน 4 ถังในชานเมืองด้านตะวันออกของรัฐเท็กซัส ส่งผลให้ตลาดมีความกังวลเกี่ยวกับอุปทานน้ำมันดิบของสหรัฐฯ แม้ว่าจะไม่มีรายงานความเสียหายจากเหตุการณ์ดังกล่าวก็ตาม
น้ำมันเบนซิน : ราคาปรับตัวลดลง 1.11 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ตามราคาน้ำมันดิบดูไบที่อ่อนค่าลง ประกอบกับ
ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 92 ในแถบชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯ ยังคงถือว่าต่ำ เมื่อเทียบกับราคาซื้อขายน้ำมันที่ตลาดสิงคโปร์ ทำให้ไม่มีโอกาสในการขนย้ายน้ำมันจากเอเชียเหนือไปขายยังภูมิภาคดังกล่าว ส่งผลให้อุปทานน้ำมันเบนซินในภูมิภาคยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง
โรงกลั่นน้ำมันแห่งหนึ่งของเกาหลีใต้ขายน้ำมันเบนซินออกเทน 92 จำนวน 250,000 บาร์เรล เข้ามายังตลาดสิงคโปร์สำหรับงวดสิ้นเดือน ก.พ. ส่งผลให้อุปทานน้ำมันเบนซินในภูมิภาคปรับเพิ่มขึ้น
ปริมาณน้ำมัน Light Distillate คงคลังประจำสัปดาห์ของสิงคโปร์ ปรับเพิ่มขึ้น 8.5% มาอยู่ที่ 8.453 ล้านบาร์เรล ณ วันที่ 30 ม.ค. ซึ่งเป็นสถิติที่สูงที่สุดในรอบ 20 สัปดาห์
อย่างไรก็ตาม อุปสงค์จากออสเตรเลียและอินโดนีเซียที่เข้ามาในตลาดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อุปทานน้ำมันเบนซินในภูมิภาคมีแนวโน้มปรับลดลง มีส่วนช่วยสนับสนุนตลาดจรในระยะสั้น
น้ำมันก๊าดและอากาศยาน : ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.36 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล สวนทางกับน้ำมันดิบดูไบที่อ่อนค่าลง เนื่องจาก
มีการซื้อน้ำมันอากาศยานจำนวน 120,000 บาร์เรล สำหรับงวดสิ้นเดือน ก.พ. ในราคาที่สูงกว่าการการซื้อก่อนหน้านี้ สะท้อนให้เห็นถึงตลาดน้ำมันอากาศยานที่ยังคงสดใส
ปริมาณน้ำมัน Middle Distillate คงคลังประจำสัปดาห์ของสิงคโปร์ปรับลดลง 5.6% มาอยู่ที่ 7.35 ล้านบาร์เรล ณ วันที่ 30 ม.ค. แม้ว่าปริมาณน้ำมันดังกล่าวยังอยู่ในระดับสูงก็ตาม ส่งผลให้อุปทานน้ำมันดังกล่าวในภูมิภาคปรับลดลง
อย่างไรก็ตาม บริษัทแห่งหนึ่งของจีนปรับลดการซื้อน้ำมันอากาศยานลงจาก 3.4 ล้านบาร์เรลในเดือน ก.พ. มาอยู่ที่ 2.2 ล้านบาร์เรลในเดือน มี.ค.เนื่องจากอุปทานในประเทศยังคงทรงตัวในระดับสูง ส่งผลให้อุปทานน้ำมันอากาศยานในภูมิภาคมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น
อุปสงค์น้ำมันก๊าดและอากาศยานในภูมิภาคยังคงเบาบาง ไม่มีโอกาสขนย้ายน้ำมันไปขายยังนอกภูมิภาค ส่งผลให้เกิดภาวะอุปทานน้ำมันดังกล่าวในภูมิภาคล้นตลาด
น้ำมันดีเซล: ราคาปรับตัวลดลง 0.02 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ตามราคาน้ำมันดิบดูไบที่อ่อนค่าลง ประกอบกับ
โรงกลั่นของอินเดียเสนอขายน้ำมันดีเซลกำมะถัน 0.5% จำนวน 300,000 บาร์เรล สำหรับงวดเดือน มี.ค. ส่งผลให้อุปทานน้ำมันดีเซลในภูมิภาคปรับเพิ่มขึ้น
อุปสงค์ที่เบาบางจากจีนในเดือน ก.พ. กดดันให้ราคาน้ำมันดีเซลปรับลดลง เนื่องจากภาคการก่อสร้าง ภาคอุตสาหกรรมและภาคการขนส่งภายในประเทศกำลังจะปิดทำการ เนื่องในวันหยุดเทศกาลตรุษจีนในช่วงต้นเดือน ก.พ.
อย่างไรก็ตาม มีการเสนอซื้อน้ำมันดีเซลกำมะถัน 0.5% สำหรับงวดสิ้นเดือน ก.พ. ในราคาที่สูงกว่าก่อนหน้านี้ ช่วยสนับสนุนราคาให้ปรับเพิ่มขึ้นแม้ว่าจะไม่มีผู้ซื้อขาย
การลดการใช้กำลังการผลิตของโรงกลั่นในญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ มีส่วนช่วยสนับสนุนราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาด เนื่องจากตลาดคาดการณ์ว่าทั้ง 2 ประเทศจะลดปริมาณการส่งออกในเดือน ก.พ.-มี.ค. ลง ส่งผลให้ปริมาณน้ำมันดีเซลในภูมิภาคมีแนวโน้มปรับลดลง
น้ำมันเตา: ราคาปรับตัวลดลง 0.90 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ตามราคากับน้ำมันดิบดูไบที่อ่อนค่าลง ประกอบกับ
ปริมาณน้ำมันเตาคงคลังประจำสัปดาห์ของสิงคโปร์ปรับเพิ่มสูงขึ้นทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยอยู่ที่ระดับสูงกว่า 16 ล้านบาร์เรล เนื่องจากมีการขนย้ายน้ำมันเตาจากตะวันตกเข้ามาขายในภูมิภาค เพื่อเติมเข้าสู่คลังเก็บน้ำมันแห่งใหม่ของสิงคโปร์ ส่งผลให้อุปทานน้ำมันเตาในภูมิภาคปรับเพิ่มขึ้น
จะมีการขนย้ายน้ำมันจากตะวันตกเข้ามาขายในภูมิภาคจำนวน 2.1-2.2 ล้านตันในช่วงเดือน มี.ค. ส่งผลให้อุปทานน้ำมันเตาในภูมิภาคปรับเพิ่มขึ้น
โรงกลั่นแห่งหนึ่งของจีนเสนอขายน้ำมันเตาความหนืดสูง ส่งผลให้อุปทานที่สูงอยู่แล้วให้ปรับสูงขึ้นไปอีก
ที่มา : บริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)
http://www.bangkokbiznews.com/2008/02/0 ... sid=225921
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 15:18:00
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ปัจจัยที่มีผลต่อราคาน้ำมัน 31 ม.ค. 51
น้ำมันดิบ : ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ปรับตัวลดลง 0.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ /บาร์เรล เนื่องจาก
มีรายงานว่า อัตราการว่างงานของสหรัฐอเมริกาปรับเพิ่มขึ้นเป็น 375,000 ราย ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 318,000 ราย ประกอบกับอัตราการใช้จ่ายส่วนบุคคลปรับลดลง 0.2% ทำสถิติต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่ปี 2546 ส่งผลให้ตลาดทวีความกังวลเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องของสหรัฐฯ ซึ่งอาจส่งให้อุปสงค์น้ำมันของสหรัฐฯ ปรับลดลงด้วย
ตลาดคาดการณ์ว่า ประเทศผู้ส่งออกน้ำมันจากกลุ่มโอเปก (ไม่รวมแองโกลาและเอกวาดอร์) จะปรับเพิ่มระดับเพดานการผลิตน้ำมันดิบเป็น 570,000 บาร์เรลต่อวันเป็นเวลา 4 สัปดาห์ จนถึงวันที่ 16 ก.พ. เป็นต้นไป ซึ่งปริมาณดังกล่าวถือเป็นสถิติที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่กลุ่มโอเปกปรับลดระดับเพดานการผลิตเมื่อเดือน พ.ย. ปี 2549 ส่งผลให้ตลาดคลายความกังวลเกี่ยวกับอุปทานน้ำมันดิบโลกลงบ้าง
อย่างไรก็ตาม เกิดเหตุเพลิงไหม้ถังเก็บน้ำมันจำนวน 4 ถังในชานเมืองด้านตะวันออกของรัฐเท็กซัส ส่งผลให้ตลาดมีความกังวลเกี่ยวกับอุปทานน้ำมันดิบของสหรัฐฯ แม้ว่าจะไม่มีรายงานความเสียหายจากเหตุการณ์ดังกล่าวก็ตาม
น้ำมันเบนซิน : ราคาปรับตัวลดลง 1.11 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ตามราคาน้ำมันดิบดูไบที่อ่อนค่าลง ประกอบกับ
ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 92 ในแถบชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯ ยังคงถือว่าต่ำ เมื่อเทียบกับราคาซื้อขายน้ำมันที่ตลาดสิงคโปร์ ทำให้ไม่มีโอกาสในการขนย้ายน้ำมันจากเอเชียเหนือไปขายยังภูมิภาคดังกล่าว ส่งผลให้อุปทานน้ำมันเบนซินในภูมิภาคยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง
โรงกลั่นน้ำมันแห่งหนึ่งของเกาหลีใต้ขายน้ำมันเบนซินออกเทน 92 จำนวน 250,000 บาร์เรล เข้ามายังตลาดสิงคโปร์สำหรับงวดสิ้นเดือน ก.พ. ส่งผลให้อุปทานน้ำมันเบนซินในภูมิภาคปรับเพิ่มขึ้น
ปริมาณน้ำมัน Light Distillate คงคลังประจำสัปดาห์ของสิงคโปร์ ปรับเพิ่มขึ้น 8.5% มาอยู่ที่ 8.453 ล้านบาร์เรล ณ วันที่ 30 ม.ค. ซึ่งเป็นสถิติที่สูงที่สุดในรอบ 20 สัปดาห์
อย่างไรก็ตาม อุปสงค์จากออสเตรเลียและอินโดนีเซียที่เข้ามาในตลาดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อุปทานน้ำมันเบนซินในภูมิภาคมีแนวโน้มปรับลดลง มีส่วนช่วยสนับสนุนตลาดจรในระยะสั้น
น้ำมันก๊าดและอากาศยาน : ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.36 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล สวนทางกับน้ำมันดิบดูไบที่อ่อนค่าลง เนื่องจาก
มีการซื้อน้ำมันอากาศยานจำนวน 120,000 บาร์เรล สำหรับงวดสิ้นเดือน ก.พ. ในราคาที่สูงกว่าการการซื้อก่อนหน้านี้ สะท้อนให้เห็นถึงตลาดน้ำมันอากาศยานที่ยังคงสดใส
ปริมาณน้ำมัน Middle Distillate คงคลังประจำสัปดาห์ของสิงคโปร์ปรับลดลง 5.6% มาอยู่ที่ 7.35 ล้านบาร์เรล ณ วันที่ 30 ม.ค. แม้ว่าปริมาณน้ำมันดังกล่าวยังอยู่ในระดับสูงก็ตาม ส่งผลให้อุปทานน้ำมันดังกล่าวในภูมิภาคปรับลดลง
อย่างไรก็ตาม บริษัทแห่งหนึ่งของจีนปรับลดการซื้อน้ำมันอากาศยานลงจาก 3.4 ล้านบาร์เรลในเดือน ก.พ. มาอยู่ที่ 2.2 ล้านบาร์เรลในเดือน มี.ค.เนื่องจากอุปทานในประเทศยังคงทรงตัวในระดับสูง ส่งผลให้อุปทานน้ำมันอากาศยานในภูมิภาคมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น
อุปสงค์น้ำมันก๊าดและอากาศยานในภูมิภาคยังคงเบาบาง ไม่มีโอกาสขนย้ายน้ำมันไปขายยังนอกภูมิภาค ส่งผลให้เกิดภาวะอุปทานน้ำมันดังกล่าวในภูมิภาคล้นตลาด
น้ำมันดีเซล: ราคาปรับตัวลดลง 0.02 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ตามราคาน้ำมันดิบดูไบที่อ่อนค่าลง ประกอบกับ
โรงกลั่นของอินเดียเสนอขายน้ำมันดีเซลกำมะถัน 0.5% จำนวน 300,000 บาร์เรล สำหรับงวดเดือน มี.ค. ส่งผลให้อุปทานน้ำมันดีเซลในภูมิภาคปรับเพิ่มขึ้น
อุปสงค์ที่เบาบางจากจีนในเดือน ก.พ. กดดันให้ราคาน้ำมันดีเซลปรับลดลง เนื่องจากภาคการก่อสร้าง ภาคอุตสาหกรรมและภาคการขนส่งภายในประเทศกำลังจะปิดทำการ เนื่องในวันหยุดเทศกาลตรุษจีนในช่วงต้นเดือน ก.พ.
อย่างไรก็ตาม มีการเสนอซื้อน้ำมันดีเซลกำมะถัน 0.5% สำหรับงวดสิ้นเดือน ก.พ. ในราคาที่สูงกว่าก่อนหน้านี้ ช่วยสนับสนุนราคาให้ปรับเพิ่มขึ้นแม้ว่าจะไม่มีผู้ซื้อขาย
การลดการใช้กำลังการผลิตของโรงกลั่นในญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ มีส่วนช่วยสนับสนุนราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาด เนื่องจากตลาดคาดการณ์ว่าทั้ง 2 ประเทศจะลดปริมาณการส่งออกในเดือน ก.พ.-มี.ค. ลง ส่งผลให้ปริมาณน้ำมันดีเซลในภูมิภาคมีแนวโน้มปรับลดลง
น้ำมันเตา: ราคาปรับตัวลดลง 0.90 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ตามราคากับน้ำมันดิบดูไบที่อ่อนค่าลง ประกอบกับ
ปริมาณน้ำมันเตาคงคลังประจำสัปดาห์ของสิงคโปร์ปรับเพิ่มสูงขึ้นทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยอยู่ที่ระดับสูงกว่า 16 ล้านบาร์เรล เนื่องจากมีการขนย้ายน้ำมันเตาจากตะวันตกเข้ามาขายในภูมิภาค เพื่อเติมเข้าสู่คลังเก็บน้ำมันแห่งใหม่ของสิงคโปร์ ส่งผลให้อุปทานน้ำมันเตาในภูมิภาคปรับเพิ่มขึ้น
จะมีการขนย้ายน้ำมันจากตะวันตกเข้ามาขายในภูมิภาคจำนวน 2.1-2.2 ล้านตันในช่วงเดือน มี.ค. ส่งผลให้อุปทานน้ำมันเตาในภูมิภาคปรับเพิ่มขึ้น
โรงกลั่นแห่งหนึ่งของจีนเสนอขายน้ำมันเตาความหนืดสูง ส่งผลให้อุปทานที่สูงอยู่แล้วให้ปรับสูงขึ้นไปอีก
ที่มา : บริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)
http://www.bangkokbiznews.com/2008/02/0 ... sid=225921
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news04/02/08
โพสต์ที่ 281
รัฐมนตรีน้ำมันลิเบียชี้โอเปกอาจตัดสินใจลดการผลิตในมีนาคม
นายชูครี กาเน็ม รัฐมนตรีน้ำมันประเทศลิเบีย เปิดเผยว่า โดยส่วนตัวไม่แน่ใจว่า ในการประชุมกลุ่มโอเปกรอบปกติในครั้งต่อไป ที่จะจัดขึ้นในเดือนมีนาคมนั้น จะมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน ที่กลุ่มโอเปกจะตัดสินใจลดกำลังกาผลิตลง หลังจากการประชุมในครั้งแรกประจำปี เมื่อวันที่ 1 ก.พ.ที่ผ่านไป ทางกลุ่มโอเปก ยังคงตรึงกำลังการผลิตเดิมต่อไป รัฐมนตรีน้ำมันประเทศลิเบีย มองว่า ระดับราคาน้ำมันดิบที่ 82 90 เหรียญสหรัฐนั้นเหมาะสม ทั้งนี้ ผลพวงจากราคาตกต่ำลง อาจทำให้กลุ่มโอเปก ลดการผลิตเพื่อรักษาราคาไว้
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
นายชูครี กาเน็ม รัฐมนตรีน้ำมันประเทศลิเบีย เปิดเผยว่า โดยส่วนตัวไม่แน่ใจว่า ในการประชุมกลุ่มโอเปกรอบปกติในครั้งต่อไป ที่จะจัดขึ้นในเดือนมีนาคมนั้น จะมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน ที่กลุ่มโอเปกจะตัดสินใจลดกำลังกาผลิตลง หลังจากการประชุมในครั้งแรกประจำปี เมื่อวันที่ 1 ก.พ.ที่ผ่านไป ทางกลุ่มโอเปก ยังคงตรึงกำลังการผลิตเดิมต่อไป รัฐมนตรีน้ำมันประเทศลิเบีย มองว่า ระดับราคาน้ำมันดิบที่ 82 90 เหรียญสหรัฐนั้นเหมาะสม ทั้งนี้ ผลพวงจากราคาตกต่ำลง อาจทำให้กลุ่มโอเปก ลดการผลิตเพื่อรักษาราคาไว้
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news05/02/08
โพสต์ที่ 282
วิเคราะห์แนวโน้มราคาน้ำมัน
5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 05:00:00
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ปัจจัยที่มีผลต่อราคาน้ำมัน 1 ก.พ.51
น้ำมันดิบ : ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ปรับตัวลดลง 2.71 ดอลลาร์สหรัฐฯ /บาร์เรล เนื่องจาก
อัตราการจ้างงาน (ไม่รวมภาคเกษตรกรรม) ของสหรัฐอเมริกาปรับลดลง 17,000 ตำแหน่งในเดือน ม.ค. เป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปีครึ่ง นอกจากนั้น มีรายงานการปรับลดอัตราการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมลง 28,000 ตำแหน่ง และมีการปรับลดอัตราการจ้างงานในภาคการก่อสร้างลง 27,000 ตำแหน่ง ส่งผลให้ตลาดทวีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องของสหรัฐฯ ซึ่งอาจส่งให้อุปสงค์น้ำมันของสหรัฐฯ ปรับลดลงด้วย
ดัชนีการกู้ยืมประจำสัปดาห์ปรับลดลงเหลือเพียง 131.1 จุด สิ้นสุด ณ วันที่ 25 ม.ค. หรือปรับลดลงจากระดับ 135.7 เมื่อสัปดาห์ก่อน เป็นอีกปัจจัยที่สะท้อนให้เห็นถึงสภาพเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ในการประชุมที่กรุงเวียนนาเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา กลุ่มโอเปกมีมติรักษาระดับเพดานการผลิตน้ำมันดิบไว้ที่ระดับเดิมตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ นอกจากนั้น ประเทศสมาชิกยังเริ่มหารือว่า จะปรับลดระดับเพดานการผลิตน้ำมันดิบในเดือน มี.ค. หรือไม่ในการประชุมครั้งถัดไปอีกด้วย ส่งผลให้ตลาดทวีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาอุปทานน้ำมันดิบโลก
น้ำมันเบนซิน : ราคาปรับตัวลดลง 0.98 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ตามราคาน้ำมันดิบดูไบที่อ่อนค่าลง ประกอบกับ
ตลาดคาดการณ์ว่า จะมีการขนย้ายน้ำมันเบนซินจำนวน 2 ลำเรือจากอินเดียเข้ามายังตลาดสิงคโปร์แทนการส่งออกไปยังอ่าวเปอร์เซียสำหรับงวดต้นเดือนแรกสำหรับเดือน ก.พ. ส่งผลให้อุปทานน้ำมันเบนซินในภูมิภาคมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น
โอกาสในการขนย้ายน้ำมันเบนซินจากภูมิภาคไปขายยังออสเตรเลียปรับลดลง เนื่องจากออสเตรเลียเริ่มนำเข้าน้ำมันเบนซิน เพื่อชดเชยปริมาณน้ำมันที่ขาดหายไปจากการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น จากยุโรปแทนการนำเข้าจากภูมิภาค
ตลาดคาดการณ์ว่า อุปสงค์น้ำมันเบนซินจากจีนจะปรับลดลง เนื่องจากกิจการส่วนใหญ่ปิดทำการ เพราะกำลังเข้าสู่ช่วงวันหยุดยาวเนื่องในเทศกาลตรุษจีน
อย่างไรก็ตาม โรงกลั่นน้ำมันของจีน 2 แห่งระงับการส่งออกน้ำมันเบนซินในเดือน ก.พ. เพื่อให้มีปริมาณน้ำมันเบนซินเพียงพอต่อความต้องการในประเทศ มีส่วนช่วยให้อุปทานน้ำมันเบนซินในภูมิภาคมีแนวโน้มปรับลดลงบ้าง
น้ำมันก๊าดและอากาศยาน : ราคาปรับตัวลดลง 0.68 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ตามราคาน้ำมันดิบดูไบที่อ่อนค่าลง ประกอบกับ
ผู้ค้าน้ำมันของไต้หวันขายน้ำมันอากาศยานจำนวน 250,000 บาร์เรลสำหรับการส่งมอบครึ่งเดือนหลังของเดือน มี.ค. ส่งผลให้อุปทานน้ำมันดังกล่าวในภูมิภาคปรับเพิ่มขึ้น
จีนปรับลดปริมาณนำเข้าน้ำมันอากาศยานจากเดือน ก.พ. ที่ระดับ 3.7 ล้านบาร์เรลลงเหลือเพียง 2.2 ล้านบาร์เรลในเดือน มี.ค. ส่งผลให้อุปทานน้ำมันอากาศยานในภูมิภาคยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง
อย่างไรก็ตาม ผู้ค้าน้ำมันของอินเดียมีความต้องการนำเข้าน้ำมันก๊าดจำนวน 640,000 บาร์เรลสำหรับงวดเดือน มี.ค. เพื่อใช้ในภาคครัวเรือน
น้ำมันดีเซล : ราคาปรับตัวลดลง 0.09 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ตามราคาน้ำมันดิบดูไบที่อ่อนค่าลง ประกอบกับ
จีนมีแผนจะลดปริมาณการนำเข้าน้ำมันดีเซลในเดือน ก.พ. เนื่องจากอุปทานในประเทศมีเพียงพอต่อความต้องการ หลังจากมีการนำเข้าน้ำมันดังกล่าวจำนวนมากในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ส่งผลให้อุปทานน้ำมันดีเซลในภูมิภาคมีแนวโน้มปรับเพิ่มสูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม ออสเตรเลียซื้อน้ำมันดีเซลกำมะถันต่ำมากจำนวน 150,000 บาร์เรลในราคาที่สูงกว่าราคาซื้อครั้งก่อน เพื่อรองรับอุปสงค์ในประเทศ หลังจากมีอุปทานขาดหายไปจากการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นในออสเตรเลีย (กำลังการผลิต 86,000 บาร์เรลต่อวัน) สะท้อนให้เห็นถึงสภาพตลาดน้ำมันดีเซลในภูมิภาคที่ยังคงสดใส
น้ำมันเตา : ราคาปรับตัวลดลง 1.49 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ตามราคากับน้ำมันดิบดูไบที่อ่อนค่าลง ประกอบกับ
มีการขนย้ายน้ำมันเตาจากตะวันตกเข้ามาขายในภูมิภาคราว 3 ล้านตันสำหรับงวดเดือน มี.ค. ส่งผลให้อุปทานน้ำมันเตาในภูมิภาคมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นและเป็นปัจจัยลบกดดันราคา
มีการเสนอขายน้ำมันเตาความหนืดสูงจำนวน 20,000 ตันสำหรับการส่งมอบปลายเดือน ก.พ. ในราคาที่ต่ำกว่าราคาขายครั้งก่อน สะท้อนให้เห็นถึงสภาพตลาดน้ำมันเตาในภูมิภาคที่ไม่สดใสนัก
อย่างไรก็ตาม ในเดือน ม.ค. จีนมีการนำเข้าน้ำมันเตาเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการกลั่นน้ำมันเพิ่มขึ้นเป็น 1.23 ล้านตัน ซึ่งนับเป็นสถิติที่สูงที่สุดในรอบ 3 เดือน มีส่วนช่วยให้อุปทานน้ำมันเตาในภูมิภาคปรับลดลง
ที่มา : บริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) http://www.bangkokbiznews.com/2008/02/0 ... sid=226463
5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 05:00:00
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ปัจจัยที่มีผลต่อราคาน้ำมัน 1 ก.พ.51
น้ำมันดิบ : ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ปรับตัวลดลง 2.71 ดอลลาร์สหรัฐฯ /บาร์เรล เนื่องจาก
อัตราการจ้างงาน (ไม่รวมภาคเกษตรกรรม) ของสหรัฐอเมริกาปรับลดลง 17,000 ตำแหน่งในเดือน ม.ค. เป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปีครึ่ง นอกจากนั้น มีรายงานการปรับลดอัตราการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมลง 28,000 ตำแหน่ง และมีการปรับลดอัตราการจ้างงานในภาคการก่อสร้างลง 27,000 ตำแหน่ง ส่งผลให้ตลาดทวีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องของสหรัฐฯ ซึ่งอาจส่งให้อุปสงค์น้ำมันของสหรัฐฯ ปรับลดลงด้วย
ดัชนีการกู้ยืมประจำสัปดาห์ปรับลดลงเหลือเพียง 131.1 จุด สิ้นสุด ณ วันที่ 25 ม.ค. หรือปรับลดลงจากระดับ 135.7 เมื่อสัปดาห์ก่อน เป็นอีกปัจจัยที่สะท้อนให้เห็นถึงสภาพเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ในการประชุมที่กรุงเวียนนาเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา กลุ่มโอเปกมีมติรักษาระดับเพดานการผลิตน้ำมันดิบไว้ที่ระดับเดิมตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ นอกจากนั้น ประเทศสมาชิกยังเริ่มหารือว่า จะปรับลดระดับเพดานการผลิตน้ำมันดิบในเดือน มี.ค. หรือไม่ในการประชุมครั้งถัดไปอีกด้วย ส่งผลให้ตลาดทวีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาอุปทานน้ำมันดิบโลก
น้ำมันเบนซิน : ราคาปรับตัวลดลง 0.98 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ตามราคาน้ำมันดิบดูไบที่อ่อนค่าลง ประกอบกับ
ตลาดคาดการณ์ว่า จะมีการขนย้ายน้ำมันเบนซินจำนวน 2 ลำเรือจากอินเดียเข้ามายังตลาดสิงคโปร์แทนการส่งออกไปยังอ่าวเปอร์เซียสำหรับงวดต้นเดือนแรกสำหรับเดือน ก.พ. ส่งผลให้อุปทานน้ำมันเบนซินในภูมิภาคมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น
โอกาสในการขนย้ายน้ำมันเบนซินจากภูมิภาคไปขายยังออสเตรเลียปรับลดลง เนื่องจากออสเตรเลียเริ่มนำเข้าน้ำมันเบนซิน เพื่อชดเชยปริมาณน้ำมันที่ขาดหายไปจากการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น จากยุโรปแทนการนำเข้าจากภูมิภาค
ตลาดคาดการณ์ว่า อุปสงค์น้ำมันเบนซินจากจีนจะปรับลดลง เนื่องจากกิจการส่วนใหญ่ปิดทำการ เพราะกำลังเข้าสู่ช่วงวันหยุดยาวเนื่องในเทศกาลตรุษจีน
อย่างไรก็ตาม โรงกลั่นน้ำมันของจีน 2 แห่งระงับการส่งออกน้ำมันเบนซินในเดือน ก.พ. เพื่อให้มีปริมาณน้ำมันเบนซินเพียงพอต่อความต้องการในประเทศ มีส่วนช่วยให้อุปทานน้ำมันเบนซินในภูมิภาคมีแนวโน้มปรับลดลงบ้าง
น้ำมันก๊าดและอากาศยาน : ราคาปรับตัวลดลง 0.68 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ตามราคาน้ำมันดิบดูไบที่อ่อนค่าลง ประกอบกับ
ผู้ค้าน้ำมันของไต้หวันขายน้ำมันอากาศยานจำนวน 250,000 บาร์เรลสำหรับการส่งมอบครึ่งเดือนหลังของเดือน มี.ค. ส่งผลให้อุปทานน้ำมันดังกล่าวในภูมิภาคปรับเพิ่มขึ้น
จีนปรับลดปริมาณนำเข้าน้ำมันอากาศยานจากเดือน ก.พ. ที่ระดับ 3.7 ล้านบาร์เรลลงเหลือเพียง 2.2 ล้านบาร์เรลในเดือน มี.ค. ส่งผลให้อุปทานน้ำมันอากาศยานในภูมิภาคยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง
อย่างไรก็ตาม ผู้ค้าน้ำมันของอินเดียมีความต้องการนำเข้าน้ำมันก๊าดจำนวน 640,000 บาร์เรลสำหรับงวดเดือน มี.ค. เพื่อใช้ในภาคครัวเรือน
น้ำมันดีเซล : ราคาปรับตัวลดลง 0.09 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ตามราคาน้ำมันดิบดูไบที่อ่อนค่าลง ประกอบกับ
จีนมีแผนจะลดปริมาณการนำเข้าน้ำมันดีเซลในเดือน ก.พ. เนื่องจากอุปทานในประเทศมีเพียงพอต่อความต้องการ หลังจากมีการนำเข้าน้ำมันดังกล่าวจำนวนมากในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ส่งผลให้อุปทานน้ำมันดีเซลในภูมิภาคมีแนวโน้มปรับเพิ่มสูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม ออสเตรเลียซื้อน้ำมันดีเซลกำมะถันต่ำมากจำนวน 150,000 บาร์เรลในราคาที่สูงกว่าราคาซื้อครั้งก่อน เพื่อรองรับอุปสงค์ในประเทศ หลังจากมีอุปทานขาดหายไปจากการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นในออสเตรเลีย (กำลังการผลิต 86,000 บาร์เรลต่อวัน) สะท้อนให้เห็นถึงสภาพตลาดน้ำมันดีเซลในภูมิภาคที่ยังคงสดใส
น้ำมันเตา : ราคาปรับตัวลดลง 1.49 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ตามราคากับน้ำมันดิบดูไบที่อ่อนค่าลง ประกอบกับ
มีการขนย้ายน้ำมันเตาจากตะวันตกเข้ามาขายในภูมิภาคราว 3 ล้านตันสำหรับงวดเดือน มี.ค. ส่งผลให้อุปทานน้ำมันเตาในภูมิภาคมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นและเป็นปัจจัยลบกดดันราคา
มีการเสนอขายน้ำมันเตาความหนืดสูงจำนวน 20,000 ตันสำหรับการส่งมอบปลายเดือน ก.พ. ในราคาที่ต่ำกว่าราคาขายครั้งก่อน สะท้อนให้เห็นถึงสภาพตลาดน้ำมันเตาในภูมิภาคที่ไม่สดใสนัก
อย่างไรก็ตาม ในเดือน ม.ค. จีนมีการนำเข้าน้ำมันเตาเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการกลั่นน้ำมันเพิ่มขึ้นเป็น 1.23 ล้านตัน ซึ่งนับเป็นสถิติที่สูงที่สุดในรอบ 3 เดือน มีส่วนช่วยให้อุปทานน้ำมันเตาในภูมิภาคปรับลดลง
ที่มา : บริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) http://www.bangkokbiznews.com/2008/02/0 ... sid=226463
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news05/02/08
โพสต์ที่ 283
ซาอุดิอาระเบีย อาจเสนอเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดิบ
นายอาลิ อัล ไนอามิ รัฐมนตรีน้ำมันซาอุดิอาระเบีย กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นประเทศที่ผลิตน้ำมันดิบใหญ่ที่สุดอันดับ 1 ของโลก และอันดับ 1 ของกลุ่มโอเปก อาจพิจารณา เสนอให้เพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดิบในการประชุมกลุ่มโอเปกครั้งต่อไป ที่จะมีขึ้นในวันที่ 5 มีนาคม ถ้าหากมีความจำเป็นจริงๆ อย่างไรก็ตาม เท่าที่ประเมินภาวะตลาดในขณะนี้ พบว่า ปัจจัยต่างๆค่อนข้างอยู่ในภาวะสมดุล ทั้งความต้องการใช้ทั่วโลก และกำลังการผลิตทั่วโลกที่มีอยู่ ในขณะเดียวกันอิหร่าน ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มโอเปก ยังยืนกรานให้ปรับลดการผลิต
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
นายอาลิ อัล ไนอามิ รัฐมนตรีน้ำมันซาอุดิอาระเบีย กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นประเทศที่ผลิตน้ำมันดิบใหญ่ที่สุดอันดับ 1 ของโลก และอันดับ 1 ของกลุ่มโอเปก อาจพิจารณา เสนอให้เพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดิบในการประชุมกลุ่มโอเปกครั้งต่อไป ที่จะมีขึ้นในวันที่ 5 มีนาคม ถ้าหากมีความจำเป็นจริงๆ อย่างไรก็ตาม เท่าที่ประเมินภาวะตลาดในขณะนี้ พบว่า ปัจจัยต่างๆค่อนข้างอยู่ในภาวะสมดุล ทั้งความต้องการใช้ทั่วโลก และกำลังการผลิตทั่วโลกที่มีอยู่ ในขณะเดียวกันอิหร่าน ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มโอเปก ยังยืนกรานให้ปรับลดการผลิต
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news06/02/08
โพสต์ที่ 284
ฮ่องกงคาดถ่านหินจีนขาดแคลนเพียงระยะสั้น ข่าว 17.00 น.
Posted on Wednesday, February 06, 2008
นายกี เปห์ หัวหน้าฝ่ายวิจัยอุตสาหกรรมเหมืองแร่และโลหะ ของยูบีเอสเอจี ในฮ่องกง บอกว่า วิกฤตพายุหิมะในจีน ที่ทำให้เกิดการขาดแคลนถ่านหิน จนส่งผลให้ราคาถ่านหินขยับสูงขึ้นในขณะนี้จะเป็นเพียงเหตุการณ์ระยะสั้นเท่านั้น เนื่องจากสภาอากาศในจีนจะเริ่มดีขึ้น
ทั้งนี้ จีนจะระงับการส่งออกถ่านหินในเดือนนี้และเดือนหน้า เนื่องจากพายุหิมะที่รุนแรงมากที่สุดในรอบ 50 ปี เป็นอุปสรรคต่อการขนส่งภายในประเทศ ขณะเดียวกันการส่งออกถ่านหินที่ลดลงจากแอฟริกาใต้และออสเตรเลีย ก็ทำให้เกิดการขาดแคลนไฟฟ้า และเป็นปัจจัยทำให้ราคาถ่านหินเพิ่มขึ้น แต่เชื่อว่าหลังจากพายุหิมะผ่อนกำลังลง ราคาถ่านหินในภูมิภาคจะทยอยปรับตัวลดลงตาม
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
Posted on Wednesday, February 06, 2008
นายกี เปห์ หัวหน้าฝ่ายวิจัยอุตสาหกรรมเหมืองแร่และโลหะ ของยูบีเอสเอจี ในฮ่องกง บอกว่า วิกฤตพายุหิมะในจีน ที่ทำให้เกิดการขาดแคลนถ่านหิน จนส่งผลให้ราคาถ่านหินขยับสูงขึ้นในขณะนี้จะเป็นเพียงเหตุการณ์ระยะสั้นเท่านั้น เนื่องจากสภาอากาศในจีนจะเริ่มดีขึ้น
ทั้งนี้ จีนจะระงับการส่งออกถ่านหินในเดือนนี้และเดือนหน้า เนื่องจากพายุหิมะที่รุนแรงมากที่สุดในรอบ 50 ปี เป็นอุปสรรคต่อการขนส่งภายในประเทศ ขณะเดียวกันการส่งออกถ่านหินที่ลดลงจากแอฟริกาใต้และออสเตรเลีย ก็ทำให้เกิดการขาดแคลนไฟฟ้า และเป็นปัจจัยทำให้ราคาถ่านหินเพิ่มขึ้น แต่เชื่อว่าหลังจากพายุหิมะผ่อนกำลังลง ราคาถ่านหินในภูมิภาคจะทยอยปรับตัวลดลงตาม
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news11/02/08
โพสต์ที่ 285
ใช้ปิกอัพซบบี5ยอดพุ่ง4.8ล้านลิตร
โพสต์ทูเดย์ กรมธุรกิจพลังงาน แจงยอดใช้ บี 5 ขยายตัวต่อเนื่องวันละ 4.8 ล้านลิตร สูงมากขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนแก๊สโซฮอล์เริ่มมียอดการใช้ทรงตัววันละ 7 ล้านลิตร
รายงานข่าวจากกรมธุรกิจพลังงาน เปิดเผยถึงปริมาณการใช้พลังงานในเดือน ม.ค. 2551 พบว่า ในหมวดของพลังงานทดแทน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ ไบโอดีเซลประเภท บี 5 ทางบริษัทน้ำมันได้แจ้งยอดการจำหน่ายมีปริมาณ 4.88 ล้านลิตร/เดือน เพิ่มขึ้นถึง 900% หรือ 9 เท่า เมื่อเทียบกับเดือน ม.ค. 2550 มีปริมาณ 4.69 แสนลิตร/วัน
ทั้งนี้ มีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ทำให้ผู้ใช้ดีเซลโดยเฉพาะรถปิกอัพหันมาเติม บี 5 ที่มีราคาถูกกว่า 50 สต./ลิตร จากการที่ภาครัฐได้เข้ามาชดเชยราคาน้ำมันให้ในช่วงนี้ และคาดว่าการใช้ บี 5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากค่ายรถยนต์ได้ให้การรับประกันผลกระทบที่มีต่อเครื่องยนต์
สำหรับยอดการใช้ดีเซลอยู่ที่ 52.1 ล้านลิตร ลดลงเล็กน้อย 1.3% เมื่อเทียบกับปีก่อน ที่มียอดการใช้อยู่ที่ 52.9 ล้านลิตร
แก๊สโซฮอล์มียอดจำหน่ายอยู่ที่ 6.71 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้น 97.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีปริมาณอยู่ที่ 3.4 ล้านลิตร/วัน แยกเป็นแก๊สโซฮอล์ 95 อยู่ที่ 5.2 ล้านลิตร/วัน และแก๊สโซฮอล์ 91 อยู่ที่ 1.44 ล้านลิตร/วัน ซึ่งในภาพรวมถือว่ายอดการใช้เริ่มทรงตัว
ด้านปริมาณการใช้เบนซินอยู่ที่วันละ 18.9 ล้านลิตร ลดลง 4.2% เมื่อเทียบกับปีก่อนมียอดการใช้วันละ 19.7 ล้านลิตร
อย่างไรก็ตาม ยอดจำหน่ายแก๊สโซฮอล์ อี 20 เดือน ม.ค. ถือเป็นช่วงของการเริ่มจำหน่าย ทำให้ยอดการใช้มีแค่วันละ 9 พันลิตร/วัน โดยมีบริษัทน้ำมันเพียง 2 ราย คือ ปตท.และบางจากที่จำหน่ายเท่านั้น
รายงานข่าวเพิ่มเติมถึงปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเตา ถือว่ามียอดลดลงเป็นลำดับ ในเดือน ม.ค. มีปริมาณอยู่ที่ 9.6 ล้านลิตร/วัน ลดลง 6.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและคาดว่าจะมีปริมาณลดลงอีก เนื่องจากโรงไฟฟ้าเริ่มลดสัดส่วนการใช้น้ำมันเตาในการผลิตไฟฟ้าลง จากปัญหาต้นทุนที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า ยอดการใช้พลังงานทดแทนเริ่มมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับน้ำมันปกติ ซึ่งเดือน ม.ค. ที่เริ่มเห็นได้ชัดเจนคือ ไบโอดีเซล บี 5 ที่มียอดการใช้ที่ สูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน แสดงให้เห็นว่าประชาชนให้ความสนใจกันมากขึ้นโดยเฉพาะช่วงราคาน้ำมันแพง ส่วนแก๊สโซฮอล์ยอดการใช้สูงสุดอยู่ที่วันละ 7 ล้านลิตร อยู่ในระดับเริ่มทรงตัว แต่อยากให้ติดตามยอดการใช้อี 20 ภายในปีนี้ น่าจะเป็นพลังงานอีกประเภทที่จะได้รับความสนใจ
พล.ท.หญิงพูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ รมว.พลังงาน กล่าวว่า การดำเนินนโยบายเรื่องพลังงานทดแทนยังมีความต่อเนื่อง โดยจะส่งเสริมทุกรูปแบบเพราะถือเป็นการลดการใช้น้ำมันลงได้ และเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับประชาชนได้ในอนาคต
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=220113
โพสต์ทูเดย์ กรมธุรกิจพลังงาน แจงยอดใช้ บี 5 ขยายตัวต่อเนื่องวันละ 4.8 ล้านลิตร สูงมากขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนแก๊สโซฮอล์เริ่มมียอดการใช้ทรงตัววันละ 7 ล้านลิตร
รายงานข่าวจากกรมธุรกิจพลังงาน เปิดเผยถึงปริมาณการใช้พลังงานในเดือน ม.ค. 2551 พบว่า ในหมวดของพลังงานทดแทน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ ไบโอดีเซลประเภท บี 5 ทางบริษัทน้ำมันได้แจ้งยอดการจำหน่ายมีปริมาณ 4.88 ล้านลิตร/เดือน เพิ่มขึ้นถึง 900% หรือ 9 เท่า เมื่อเทียบกับเดือน ม.ค. 2550 มีปริมาณ 4.69 แสนลิตร/วัน
ทั้งนี้ มีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ทำให้ผู้ใช้ดีเซลโดยเฉพาะรถปิกอัพหันมาเติม บี 5 ที่มีราคาถูกกว่า 50 สต./ลิตร จากการที่ภาครัฐได้เข้ามาชดเชยราคาน้ำมันให้ในช่วงนี้ และคาดว่าการใช้ บี 5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากค่ายรถยนต์ได้ให้การรับประกันผลกระทบที่มีต่อเครื่องยนต์
สำหรับยอดการใช้ดีเซลอยู่ที่ 52.1 ล้านลิตร ลดลงเล็กน้อย 1.3% เมื่อเทียบกับปีก่อน ที่มียอดการใช้อยู่ที่ 52.9 ล้านลิตร
แก๊สโซฮอล์มียอดจำหน่ายอยู่ที่ 6.71 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้น 97.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีปริมาณอยู่ที่ 3.4 ล้านลิตร/วัน แยกเป็นแก๊สโซฮอล์ 95 อยู่ที่ 5.2 ล้านลิตร/วัน และแก๊สโซฮอล์ 91 อยู่ที่ 1.44 ล้านลิตร/วัน ซึ่งในภาพรวมถือว่ายอดการใช้เริ่มทรงตัว
ด้านปริมาณการใช้เบนซินอยู่ที่วันละ 18.9 ล้านลิตร ลดลง 4.2% เมื่อเทียบกับปีก่อนมียอดการใช้วันละ 19.7 ล้านลิตร
อย่างไรก็ตาม ยอดจำหน่ายแก๊สโซฮอล์ อี 20 เดือน ม.ค. ถือเป็นช่วงของการเริ่มจำหน่าย ทำให้ยอดการใช้มีแค่วันละ 9 พันลิตร/วัน โดยมีบริษัทน้ำมันเพียง 2 ราย คือ ปตท.และบางจากที่จำหน่ายเท่านั้น
รายงานข่าวเพิ่มเติมถึงปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเตา ถือว่ามียอดลดลงเป็นลำดับ ในเดือน ม.ค. มีปริมาณอยู่ที่ 9.6 ล้านลิตร/วัน ลดลง 6.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและคาดว่าจะมีปริมาณลดลงอีก เนื่องจากโรงไฟฟ้าเริ่มลดสัดส่วนการใช้น้ำมันเตาในการผลิตไฟฟ้าลง จากปัญหาต้นทุนที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า ยอดการใช้พลังงานทดแทนเริ่มมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับน้ำมันปกติ ซึ่งเดือน ม.ค. ที่เริ่มเห็นได้ชัดเจนคือ ไบโอดีเซล บี 5 ที่มียอดการใช้ที่ สูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน แสดงให้เห็นว่าประชาชนให้ความสนใจกันมากขึ้นโดยเฉพาะช่วงราคาน้ำมันแพง ส่วนแก๊สโซฮอล์ยอดการใช้สูงสุดอยู่ที่วันละ 7 ล้านลิตร อยู่ในระดับเริ่มทรงตัว แต่อยากให้ติดตามยอดการใช้อี 20 ภายในปีนี้ น่าจะเป็นพลังงานอีกประเภทที่จะได้รับความสนใจ
พล.ท.หญิงพูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ รมว.พลังงาน กล่าวว่า การดำเนินนโยบายเรื่องพลังงานทดแทนยังมีความต่อเนื่อง โดยจะส่งเสริมทุกรูปแบบเพราะถือเป็นการลดการใช้น้ำมันลงได้ และเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับประชาชนได้ในอนาคต
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=220113
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news12/02/08
โพสต์ที่ 286
เชลล์ชี้แนวโน้มราคาน้ำมันโลกพุ่งอีกรอบ แนะจับตาผลประชุมโอเปก 5 มี.ค.นี้
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 12 กุมภาพันธ์ 2551 11:56 น.
ผู้บริหาร เชลล์ ระบุราคาน้ำมันมีโอกาสปรับสูงขึ้นจากความขัดแย้งสหรัฐฯ-เวเนซุเอลา แนะจับตาผลประชุมกลุ่มโอเปก 5 มี.ค.นี้ หลังราคาน้ำมันดิบโลกพุ่งขึ้น 3.66 ดอลลาร์/บาเรล
วันนี้ (12 ก.พ.) นายศัลยา สุคนธทรัพย์ ผู้จัดการฝ่ายราคาการตลาดขายปลีก บริษัท เชลล์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยทิศทางราคาน้ำมันขายปลีกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้ง เนื่องจากขณะนี้เิกิดความตึงเครียดจากกรณีที่ประธานาธิบดี ฮูโก ชาเวส แห่งเวเนซุเอลา ประกาศว่า อาจจะหยุดส่งออกน้ำมันไปยังสหรัฐอเมริกา หากถูกกดดันอย่างหนัก
นอกจากนั้น ในวันที่ 5 มี.ค.นี้ กลุ่มประเทศสมาชิกผู้ผลิตน้ำมัน (โอเปก) จะมีการจัดประชุมหารือกัน เพื่อพิจารณากำลังการผลิตให้สอดรับ กับความต้องการใช้น้ำมันของโลก
ผลจากปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบดีดตัวกลับมาปิดที่ระดับ 91.77 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นถึง 3.66 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล โดยราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ตลาดสิงคโปร์ โดยเฉพาะเบนซิน 95 ปิดที่ 100.65 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นถึง 2.30 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดีเซลปิดอยู่ที่ 106.07 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นถึง 3.84 ดอลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000017593
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 12 กุมภาพันธ์ 2551 11:56 น.
ผู้บริหาร เชลล์ ระบุราคาน้ำมันมีโอกาสปรับสูงขึ้นจากความขัดแย้งสหรัฐฯ-เวเนซุเอลา แนะจับตาผลประชุมกลุ่มโอเปก 5 มี.ค.นี้ หลังราคาน้ำมันดิบโลกพุ่งขึ้น 3.66 ดอลลาร์/บาเรล
วันนี้ (12 ก.พ.) นายศัลยา สุคนธทรัพย์ ผู้จัดการฝ่ายราคาการตลาดขายปลีก บริษัท เชลล์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยทิศทางราคาน้ำมันขายปลีกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้ง เนื่องจากขณะนี้เิกิดความตึงเครียดจากกรณีที่ประธานาธิบดี ฮูโก ชาเวส แห่งเวเนซุเอลา ประกาศว่า อาจจะหยุดส่งออกน้ำมันไปยังสหรัฐอเมริกา หากถูกกดดันอย่างหนัก
นอกจากนั้น ในวันที่ 5 มี.ค.นี้ กลุ่มประเทศสมาชิกผู้ผลิตน้ำมัน (โอเปก) จะมีการจัดประชุมหารือกัน เพื่อพิจารณากำลังการผลิตให้สอดรับ กับความต้องการใช้น้ำมันของโลก
ผลจากปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบดีดตัวกลับมาปิดที่ระดับ 91.77 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นถึง 3.66 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล โดยราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ตลาดสิงคโปร์ โดยเฉพาะเบนซิน 95 ปิดที่ 100.65 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นถึง 2.30 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดีเซลปิดอยู่ที่ 106.07 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นถึง 3.84 ดอลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000017593
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news15/02/08
โพสต์ที่ 287
น้ำมันไนเม็กซ์พุ่งปิด 95.46$
โดย Post Digital 15 กุมภาพันธ์ 2551 08:11 น.
ราคาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้น 2.19 ดอลลาร์เมื่อคืนนี้ (14 ก.พ.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยยอดขาดดุลการค้าปี 2550 ที่ร่วงลงอย่างหนัก ซึ่งทำให้นักลงทุนมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐอาจเข้าสู่ภาวะถดถอยเร็วๆนี้ นอกจากนี้ ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นหลังจากเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะซบเซาลงจนถึงปลายปีนี้
สำนักข่าวเอพีรายงานว่า สัญญาน้ำมันดิบตลาด NYMEX (New York Mercantile Exchange) ส่งมอบเดือนมี.ค.พุ่งขึ้น 2.19 ดอลลาร์ ปิดที่ 95.46 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 9 ม.ค.เป็นต้นมา
ขณะที่สัญญาน้ำมันฮีทติ้งออยล์ส่งมอบเดือนมี.ค.ขยับขึ้น 5.1 เซนต์ ปิดที่ 2.6666 ดอลลาร์ต่อแกลลอน และสัญญาน้ำมันเบนซินส่งมอบเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้น 8.62 เซนต์ ปิดที่ 2.4761 ดอลลาร์ต่อแกลลอน
ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ที่ตลาด ICE กรุงลอนดอน ส่งมอบเดือนมี.ค.ปิดพุ่งขึ้น 1.77 ดอลลาร์ แตะระดับ 95.09 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
นักลงทุนส่งคำสั่งซื้อเข้าหนุนสัญญาน้ำมันดิบเดือนมี.ค.อย่างหนาแน่น เมื่อกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ยอดขาดดุลการค้าเดือนธ.ค.ลดลง 6.9% แตะระดับ 5.88 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นการลดลงมากที่สุดในรอบกว่า 1 ปี และยอดขาดดุลการค้าของปี 2550 ลดลง 6.2% แตะระดับ 7.116 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งตัวเลขดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่ายอดส่งออกสินค้าของสหรัฐตกต่ำลงอย่างมากและทำให้นักลงทุนกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐที่ซบเซาลงอาจทำให้ความต้องการพลังงานลดลงด้วย
เบอร์นันเก้แถลงมุมมองเศรษฐกิจต่อสภาคองเกรสที่แคปิตอลฮิลล์ว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะซบเซาลงจนถึงปลายปีนี้ ซึ่งเฟดพร้อมที่จะใช้มาตรการเชิงรุกเพื่อยับยั้งภาวะเศรษฐกิจถดถอย อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ตีความว่าเฟดจะลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก ซึ่งการลดดอกเบี้ยจะเป็นปัจจัยบวกต่อราคาน้ำมันเพราะทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนตัวลงและทำให้นักลงทุนต่างชาติหันเข้าซื้อขายในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์จำพวกน้ำมันและทองคำมากขึ้น
http://www.posttoday.com/breakingnews.php?id=221091
โดย Post Digital 15 กุมภาพันธ์ 2551 08:11 น.
ราคาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้น 2.19 ดอลลาร์เมื่อคืนนี้ (14 ก.พ.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยยอดขาดดุลการค้าปี 2550 ที่ร่วงลงอย่างหนัก ซึ่งทำให้นักลงทุนมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐอาจเข้าสู่ภาวะถดถอยเร็วๆนี้ นอกจากนี้ ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นหลังจากเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะซบเซาลงจนถึงปลายปีนี้
สำนักข่าวเอพีรายงานว่า สัญญาน้ำมันดิบตลาด NYMEX (New York Mercantile Exchange) ส่งมอบเดือนมี.ค.พุ่งขึ้น 2.19 ดอลลาร์ ปิดที่ 95.46 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 9 ม.ค.เป็นต้นมา
ขณะที่สัญญาน้ำมันฮีทติ้งออยล์ส่งมอบเดือนมี.ค.ขยับขึ้น 5.1 เซนต์ ปิดที่ 2.6666 ดอลลาร์ต่อแกลลอน และสัญญาน้ำมันเบนซินส่งมอบเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้น 8.62 เซนต์ ปิดที่ 2.4761 ดอลลาร์ต่อแกลลอน
ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ที่ตลาด ICE กรุงลอนดอน ส่งมอบเดือนมี.ค.ปิดพุ่งขึ้น 1.77 ดอลลาร์ แตะระดับ 95.09 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
นักลงทุนส่งคำสั่งซื้อเข้าหนุนสัญญาน้ำมันดิบเดือนมี.ค.อย่างหนาแน่น เมื่อกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ยอดขาดดุลการค้าเดือนธ.ค.ลดลง 6.9% แตะระดับ 5.88 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นการลดลงมากที่สุดในรอบกว่า 1 ปี และยอดขาดดุลการค้าของปี 2550 ลดลง 6.2% แตะระดับ 7.116 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งตัวเลขดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่ายอดส่งออกสินค้าของสหรัฐตกต่ำลงอย่างมากและทำให้นักลงทุนกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐที่ซบเซาลงอาจทำให้ความต้องการพลังงานลดลงด้วย
เบอร์นันเก้แถลงมุมมองเศรษฐกิจต่อสภาคองเกรสที่แคปิตอลฮิลล์ว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะซบเซาลงจนถึงปลายปีนี้ ซึ่งเฟดพร้อมที่จะใช้มาตรการเชิงรุกเพื่อยับยั้งภาวะเศรษฐกิจถดถอย อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ตีความว่าเฟดจะลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก ซึ่งการลดดอกเบี้ยจะเป็นปัจจัยบวกต่อราคาน้ำมันเพราะทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนตัวลงและทำให้นักลงทุนต่างชาติหันเข้าซื้อขายในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์จำพวกน้ำมันและทองคำมากขึ้น
http://www.posttoday.com/breakingnews.php?id=221091
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news20/02/08
โพสต์ที่ 288
ราคาน้ำมันดิบพุ่งสูงสุดสร้างสถิติใหม่ 100.10 เหรียญต่อบาเรล หวั่นโอเปกลดกำลังการผลิต
Posted on Wednesday, February 20, 2008
ด่วน ! ราคาน้ำมันดิบนิวยอร์กปิด 100.01 เหรียญเป็นประวัติการณ์
ราคาน้ำมันดิบนิวยอร์ก สหรัฐฯสร้างสถิติทั้งราคาปิดและราคาซื้อขายสูงสุดระหว่างวันอย่างเป็นประวัติการณ์ โดยมีราคาซื้อสูงสุดระหว่างวันขึ้นไปแตะที่ระดับ 100.10 เหรียญต่อบาเรลสูงสุดในรอบ 25ปี ก่อนจะมาปิดที่ 101.01 เหรียญต่อบาเรล ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นถึง 4.51 เหรียญหรือ 4.7% ภายในวันเดียว ด้านราคาน้ำมันดิบเบรนท์อังกฤษทะเลเหนือพุ่งขึ้นซื้อขายสูงสุดระหว่างวันที่ 98.70 เหรียญต่อบาเรล ก่อนจะปิดที่ระดับ 98.56 เหรียญสหรัฐทะยานขึ้นเฉียด 4% เช่นกัน
ตลาดน้ำมันดิบหวั่นโอเปกลดกำลังการผลิตเดือนหน้า
สาเหตุสำคัญที่ทำให้ราคาพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วมาจากการที่สมาชิกหลายรายรวมถึงประธานของกลุ่มโอเปกออกมายืนยันว่า มีความเป็นไปได้สูงที่จะต้องลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบลงในการประชุมที่กำลังจะมีขึ้นในวันที่ 5 มี.ค. 51 หนุนด้วยปัจจัยค่าเงินเหรียญสหรัฐฯที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง และเกิดเหตุระเบิดที่โรงกลั่นในรัฐเท็กซัส ซึ่งฉุดกำลังการผลิตลงไปถึงวันละ 7 หมื่นบาเรล ทั้งนี้ราคาสูงสุดในคืนที่ผ่านมาได้ทำลายสถิติเดิมที่ 100.09 เหรียญเมื่อวันที่ 3 ม.ค. 51 ที่ผ่านมา
กลุ่มโอเปกเสียงยังแตกลด-ไม่ลดกำลังการผลิต
เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกลุ่มโอเปกเปิดเผยว่า ในการประชุมที่กำลังจะมีขึ้นในวันที่ 5 มี.ค. 51 มีความเป็นไปได้สูงมากที่สมาชิกกลุ่มโอเปกทั้งหมดจะตัดสินใจไม่ลดกำลังการผลิตน้ำมันจากระดับที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แม้ว่า สมาชิกบางประเทศ เช่น อิหร่าน พยายามโน้มน้าวที่จะให้กลุ่มโอเปกลดกำลังการผลิตลง เพื่อรักษาระดับราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกต่อไป ทั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงน้ำมันของเวเนซูเอล่าและไนจีเรียล้วนยืนยันที่จะไม่ลดกำลังการผลิตลง
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
Posted on Wednesday, February 20, 2008
ด่วน ! ราคาน้ำมันดิบนิวยอร์กปิด 100.01 เหรียญเป็นประวัติการณ์
ราคาน้ำมันดิบนิวยอร์ก สหรัฐฯสร้างสถิติทั้งราคาปิดและราคาซื้อขายสูงสุดระหว่างวันอย่างเป็นประวัติการณ์ โดยมีราคาซื้อสูงสุดระหว่างวันขึ้นไปแตะที่ระดับ 100.10 เหรียญต่อบาเรลสูงสุดในรอบ 25ปี ก่อนจะมาปิดที่ 101.01 เหรียญต่อบาเรล ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นถึง 4.51 เหรียญหรือ 4.7% ภายในวันเดียว ด้านราคาน้ำมันดิบเบรนท์อังกฤษทะเลเหนือพุ่งขึ้นซื้อขายสูงสุดระหว่างวันที่ 98.70 เหรียญต่อบาเรล ก่อนจะปิดที่ระดับ 98.56 เหรียญสหรัฐทะยานขึ้นเฉียด 4% เช่นกัน
ตลาดน้ำมันดิบหวั่นโอเปกลดกำลังการผลิตเดือนหน้า
สาเหตุสำคัญที่ทำให้ราคาพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วมาจากการที่สมาชิกหลายรายรวมถึงประธานของกลุ่มโอเปกออกมายืนยันว่า มีความเป็นไปได้สูงที่จะต้องลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบลงในการประชุมที่กำลังจะมีขึ้นในวันที่ 5 มี.ค. 51 หนุนด้วยปัจจัยค่าเงินเหรียญสหรัฐฯที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง และเกิดเหตุระเบิดที่โรงกลั่นในรัฐเท็กซัส ซึ่งฉุดกำลังการผลิตลงไปถึงวันละ 7 หมื่นบาเรล ทั้งนี้ราคาสูงสุดในคืนที่ผ่านมาได้ทำลายสถิติเดิมที่ 100.09 เหรียญเมื่อวันที่ 3 ม.ค. 51 ที่ผ่านมา
กลุ่มโอเปกเสียงยังแตกลด-ไม่ลดกำลังการผลิต
เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกลุ่มโอเปกเปิดเผยว่า ในการประชุมที่กำลังจะมีขึ้นในวันที่ 5 มี.ค. 51 มีความเป็นไปได้สูงมากที่สมาชิกกลุ่มโอเปกทั้งหมดจะตัดสินใจไม่ลดกำลังการผลิตน้ำมันจากระดับที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แม้ว่า สมาชิกบางประเทศ เช่น อิหร่าน พยายามโน้มน้าวที่จะให้กลุ่มโอเปกลดกำลังการผลิตลง เพื่อรักษาระดับราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกต่อไป ทั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงน้ำมันของเวเนซูเอล่าและไนจีเรียล้วนยืนยันที่จะไม่ลดกำลังการผลิตลง
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news22/02/08
โพสต์ที่ 289
ผู้เชี่ยวชาญมองราคาน้ำมันต่ำกว่า 100 ดอลลาร์/บาร์เรล ในไตรมาส 2/51
นายบูน พิคเค้น ผู้เชี่ยวชาญในด้านการประเมินภาวะตลาดน้ำมันดิบของโลก กล่าวว่า ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจะอ่อนตัวลงในช่วงไตรมาสที่ 2/51 โดยอาจปรับลดลงราว 10-15 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบจะเคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับ 100 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ได้อีกด้วย
ทั้งนี้ นายบูน พิคเค้น ได้รับการยอมรับในวงการพลังงานของโลกว่า เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญประสบการณ์สูงในการประเมินภาวะตลาดน้ำมันดิบคนหนึ่งของโลก หลังจากเคยประเมินว่า ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจะพุ่งขึ้นไปหว่าระดับบาร์เรลละ 100 ดอลลาร์สหรัฐ โดยกล่าวอย่างมั่นใจว่า
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
นายบูน พิคเค้น ผู้เชี่ยวชาญในด้านการประเมินภาวะตลาดน้ำมันดิบของโลก กล่าวว่า ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจะอ่อนตัวลงในช่วงไตรมาสที่ 2/51 โดยอาจปรับลดลงราว 10-15 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบจะเคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับ 100 ดอลลาร์สหรัฐในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ได้อีกด้วย
ทั้งนี้ นายบูน พิคเค้น ได้รับการยอมรับในวงการพลังงานของโลกว่า เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญประสบการณ์สูงในการประเมินภาวะตลาดน้ำมันดิบคนหนึ่งของโลก หลังจากเคยประเมินว่า ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจะพุ่งขึ้นไปหว่าระดับบาร์เรลละ 100 ดอลลาร์สหรัฐ โดยกล่าวอย่างมั่นใจว่า
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news25/02/08
โพสต์ที่ 290
ยอดใช้ก๊าซธรรมชาติปีนี้พุ่ง 12 - 14% - ข่าว 12.00 น.
Posted on Monday, February 25, 2008
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท. บอกว่า ปตท. คาดว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้ จะขยายตัวในระดับ 4.5 - 5.5% ส่งผลให้การใช้น้ำมันสำเร็จรูปในประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้น 0.5 - 1.5% การใช้ก๊าซธรรมชาติขยายตัว 12 - 14% ซึ่งเป็นการใช้ในภาคขนส่ง การผลิตไฟฟ้า เพื่อทดแทนน้ำมันเตาและภาคอุตสาหกรรม ส่วนความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี คาดว่าจะขยายตัว 6 - 7.5%
ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยในปีนี้ยังมีความผันผวนและทรงตัวอยู่ในระดับสูงที่ 75 - 85 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล แต่มีแนวโน้มที่จะลดลง หากเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของสหรัฐชะลอตัวลงมากกว่าที่คาดไว้
สำหรับแนวโน้มราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ยังคงอยู่ในระดับสูงถึงแม้ธุรกิจปิโตรเคมีเริ่มเข้าสู่ช่วงวัฎจักรขาลง โดยได้แรงหนุนจากการเลื่อน และชะลอโครงการผลิตใหม่ๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลางและเอเชีย อย่างไรก็ตาม จุดต่ำสุดของวัฎจักรนี้ คาดว่า จะอยู่ในช่วงปี 2553 - 2554
นายประเสริฐบอกด้วยว่า เศรษฐกิจไทยในปีนี้น่าจะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามอุปสงค์ในประเทศ ที่เพิ่มขึ้นจากความเชื่อมั่นที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น การดำเนินนโยบายการคลังขาดดุลต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ การเร่งรัดการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐด้านโครงสร้างพื้นฐาน
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
Posted on Monday, February 25, 2008
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท. บอกว่า ปตท. คาดว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้ จะขยายตัวในระดับ 4.5 - 5.5% ส่งผลให้การใช้น้ำมันสำเร็จรูปในประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้น 0.5 - 1.5% การใช้ก๊าซธรรมชาติขยายตัว 12 - 14% ซึ่งเป็นการใช้ในภาคขนส่ง การผลิตไฟฟ้า เพื่อทดแทนน้ำมันเตาและภาคอุตสาหกรรม ส่วนความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี คาดว่าจะขยายตัว 6 - 7.5%
ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยในปีนี้ยังมีความผันผวนและทรงตัวอยู่ในระดับสูงที่ 75 - 85 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล แต่มีแนวโน้มที่จะลดลง หากเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของสหรัฐชะลอตัวลงมากกว่าที่คาดไว้
สำหรับแนวโน้มราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ยังคงอยู่ในระดับสูงถึงแม้ธุรกิจปิโตรเคมีเริ่มเข้าสู่ช่วงวัฎจักรขาลง โดยได้แรงหนุนจากการเลื่อน และชะลอโครงการผลิตใหม่ๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลางและเอเชีย อย่างไรก็ตาม จุดต่ำสุดของวัฎจักรนี้ คาดว่า จะอยู่ในช่วงปี 2553 - 2554
นายประเสริฐบอกด้วยว่า เศรษฐกิจไทยในปีนี้น่าจะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามอุปสงค์ในประเทศ ที่เพิ่มขึ้นจากความเชื่อมั่นที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น การดำเนินนโยบายการคลังขาดดุลต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ การเร่งรัดการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐด้านโครงสร้างพื้นฐาน
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news28/02/08
โพสต์ที่ 291
ราคาน้ำมันดิบนิวยอร์กทำลายสถิติสูงสุดที่ 102.08 เหรียญ
ราคาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กสหรัฐฯ ทำลายสถิติซื้อขายสูงสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่ในตลาดเอเชียในรอบ 25 ปี หรือนับตั้งแต่ปี 1983 หรือ ปี 2526 โดยเคลื่อนไหวสูงสุดระหว่างวันที่บาเรลละ 102.08 เหรียญ พุ่งสูงขึ้นถึง 1.20 เหรียญหรือเกือบ 1.2% สอดรับกับราคาน้ำมันดิบเบรนท์อังกฤษทะเลเหนือที่ซื้อขายสูงสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่ในตลาดเอเชียในรอบ 20 ปีที่ระดับบาเรลละ 100.53 เหรียญ ซึ่งเป็นผลมาจากแรงกดดันของค่าเงินเหรียญสหรัฐที่อ่อนค่าลง
ราคาน้ำมันดิบทะยานขึ้นแล้ว 64% นับจากปีที่แล้ว
ผลจากราคาน้ำมันดิบในตลาดสำคัญทั่วโลกที่ทะยานสูงขึ้นเหนือกว่า 100 เหรียญสหรัฐฯนั้น หากพิจารณาราคาตั้งแต่ต้นปี 51 จนถึงเมื่อวานนี้ในรูปสกุลเงินเหรียญสหรัฐฯ ราคาน้ำมันดิบนิวยอร์กเพิ่มขึ้น 2% ในรูปสกุลเงินเหรียญยูโรน้ำมันดิบขยับขึ้น 0.56% แต่ในสกุลเงินเยอนราคาน้ำมันดิบกลับลดลง 0.15% อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับระบบอัตราแลกเปลี่ยนตะกร้าเงินสกุลอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมาขางต้น ราคาน้ำมันดิบลดลง 0.36% ทั้งนี้หากเปรียบเทียบในปีที่ผ่านมา ราคาทะยานขึ้นถึง 64%
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
ราคาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กสหรัฐฯ ทำลายสถิติซื้อขายสูงสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่ในตลาดเอเชียในรอบ 25 ปี หรือนับตั้งแต่ปี 1983 หรือ ปี 2526 โดยเคลื่อนไหวสูงสุดระหว่างวันที่บาเรลละ 102.08 เหรียญ พุ่งสูงขึ้นถึง 1.20 เหรียญหรือเกือบ 1.2% สอดรับกับราคาน้ำมันดิบเบรนท์อังกฤษทะเลเหนือที่ซื้อขายสูงสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่ในตลาดเอเชียในรอบ 20 ปีที่ระดับบาเรลละ 100.53 เหรียญ ซึ่งเป็นผลมาจากแรงกดดันของค่าเงินเหรียญสหรัฐที่อ่อนค่าลง
ราคาน้ำมันดิบทะยานขึ้นแล้ว 64% นับจากปีที่แล้ว
ผลจากราคาน้ำมันดิบในตลาดสำคัญทั่วโลกที่ทะยานสูงขึ้นเหนือกว่า 100 เหรียญสหรัฐฯนั้น หากพิจารณาราคาตั้งแต่ต้นปี 51 จนถึงเมื่อวานนี้ในรูปสกุลเงินเหรียญสหรัฐฯ ราคาน้ำมันดิบนิวยอร์กเพิ่มขึ้น 2% ในรูปสกุลเงินเหรียญยูโรน้ำมันดิบขยับขึ้น 0.56% แต่ในสกุลเงินเยอนราคาน้ำมันดิบกลับลดลง 0.15% อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับระบบอัตราแลกเปลี่ยนตะกร้าเงินสกุลอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมาขางต้น ราคาน้ำมันดิบลดลง 0.36% ทั้งนี้หากเปรียบเทียบในปีที่ผ่านมา ราคาทะยานขึ้นถึง 64%
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news29/02/08
โพสต์ที่ 292
เล็งใช้มาตรการดูแลราคาก๊าซ ติดมิเตอร์หัวจ่าย/คุมบัญชีขาย
โพสต์ทูเดย์ งัดมาตรการดูแลราคา ก๊าซหุงต้มระบบ 2 ตลาด เล็งตรวจสอบระบบบัญชีจำหน่าย ติดตั้งมิเตอร์หัวจ่าย
นายเมตตา บันเทิงสุข อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.) ว่า ในสัปดาห์หน้าจะประชุมวางมาตรการรองรับการใช้ราคาแอลพีจี 2 ตลาด คือ ภาคขนส่งและครัวเรือน
ในหลักการมีหลายวิธีที่สามารถนำมาใช้ได้ อาทิ การเข้าไปตรวจสอบระบบบัญชีจำหน่ายแอลพีจี ทำให้ทราบว่าโควตาการจำหน่ายในประเทศเป็นเท่าไร และก่อนหน้านี้เคยมีการส่งออกเท่าไร
เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลของเก่า หากพบมีปริมาณส่งออกของใครผิดปกติ ก็สามารถตรวจสอบได้ เพราะการส่งออกจะต้องขออนุญาตจาก ธพ.
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=223764
โพสต์ทูเดย์ งัดมาตรการดูแลราคา ก๊าซหุงต้มระบบ 2 ตลาด เล็งตรวจสอบระบบบัญชีจำหน่าย ติดตั้งมิเตอร์หัวจ่าย
นายเมตตา บันเทิงสุข อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.) ว่า ในสัปดาห์หน้าจะประชุมวางมาตรการรองรับการใช้ราคาแอลพีจี 2 ตลาด คือ ภาคขนส่งและครัวเรือน
ในหลักการมีหลายวิธีที่สามารถนำมาใช้ได้ อาทิ การเข้าไปตรวจสอบระบบบัญชีจำหน่ายแอลพีจี ทำให้ทราบว่าโควตาการจำหน่ายในประเทศเป็นเท่าไร และก่อนหน้านี้เคยมีการส่งออกเท่าไร
เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลของเก่า หากพบมีปริมาณส่งออกของใครผิดปกติ ก็สามารถตรวจสอบได้ เพราะการส่งออกจะต้องขออนุญาตจาก ธพ.
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=223764
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news29/02/08
โพสต์ที่ 293
ราคาน้ำมันดิบปิดทะลุเฉียด 103 เหรียญต่อบาเรล สร้างสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่ของโลก
Posted on Friday, February 29, 2008
ราคาน้ำมันดิบปิดทะลุ 102.59 เหรียญสร้างสถิติใหม่ของโลก
ราคาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กสหรัฐฯ ทำลายสถิติปิดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่ในรอบ 25 ปี นับตั้งแต่ปี 1983 หรือปี 2526 และยังเป็นสถิติราคาปิดสูงกว่าบาเรลละ 100 เหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นการทำลายสถิติเป็นครั้งที่ 3 ในเดือนกุมภาพันธ์นี้ โดยปิดที่บาเรลละ 102.59 เหรียญ พุ่งสูงขึ้นเกือนบ 3% ราคาน้ำมันดิบยังซื้อขายสูงสุดระหว่างวันที่ 102.97 เหรียญ ทำลายสถิติราคาซื้อขายสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของวันที่ 27 ก.พ.ที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ที่ 101.43 เหรียญด้วยเช่นกัน ซึ่งรวมถึงการทำลายสถิติราคาน้ำมันดิบในช่วงปี 1980 ซึ่งเป็นยุคสงครามปฏิวัติอิหร่านลงอย่างสิ้นเชิง ซึ่งเมื่อคิดอัตราเงินเฟ้อเพิ่มเข้าไปในปีดังกล่าว จะทำให้ราคาน้ำมันดิบในยุคนั้นอยู่ที่ 102.53 เหรียญ ซึ่งสูงสุดในรอบ 28 ปีที่ผ่านมา
น้ำมันดิบเบรนท์อังกฤษพุ่งทะลุ 100.90 เหรียญ
ราคาน้ำมันดิบที่พุ่งขึ้นปิดสร้างสถิติปิดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่ในคืนที่ผ่านมา ส่งผลให้ส่วนต่างราคาน้ำมันดิบถึบตัวสูงมากถึง 67% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาสอดรับราคาน้ำมันดิบเบรนท์อังกฤษทะเลเหนือที่สร้างสถิติซื้อขายสูงสุดระหว่างวันครั้งใหม่ในรอบ 20 ปี นับตั้งแต่ปี 1988 หรือปี 2531 ด้วยราคาบาเรลละ 101.24 เหรียญ ทำลายสถิติเดิมเมื่อวันที่ 27 ก.พ.ที่ระดับ 100.03 เหรียญ และยังสร้างสถิติราคาปิดสูงสุดครั้งใหม่ในรอบ 20 ปีที่ 100.90 เหรียญลบสถิติเดิมเมื่อวันที่ 27 ก.พ. เช่นเดียวกัน สำหรับสาเหตุสำคัญที่ทำให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดนิวยอร์กและเบรนท์กระชากตัวอย่างรุนแรงเมื่อคืนที่ผ่านมาเกิดจากอุบัติเหตุไฟไหม้ที่โรงผลิตก๊าซธรรมชาติในยุโรป และจากการที่เงินเหรียญสหรัฐอ่อนค่าทำสถิติใหม่อย่างไม่สิ้นสุด
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
Posted on Friday, February 29, 2008
ราคาน้ำมันดิบปิดทะลุ 102.59 เหรียญสร้างสถิติใหม่ของโลก
ราคาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กสหรัฐฯ ทำลายสถิติปิดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่ในรอบ 25 ปี นับตั้งแต่ปี 1983 หรือปี 2526 และยังเป็นสถิติราคาปิดสูงกว่าบาเรลละ 100 เหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นการทำลายสถิติเป็นครั้งที่ 3 ในเดือนกุมภาพันธ์นี้ โดยปิดที่บาเรลละ 102.59 เหรียญ พุ่งสูงขึ้นเกือนบ 3% ราคาน้ำมันดิบยังซื้อขายสูงสุดระหว่างวันที่ 102.97 เหรียญ ทำลายสถิติราคาซื้อขายสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของวันที่ 27 ก.พ.ที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ที่ 101.43 เหรียญด้วยเช่นกัน ซึ่งรวมถึงการทำลายสถิติราคาน้ำมันดิบในช่วงปี 1980 ซึ่งเป็นยุคสงครามปฏิวัติอิหร่านลงอย่างสิ้นเชิง ซึ่งเมื่อคิดอัตราเงินเฟ้อเพิ่มเข้าไปในปีดังกล่าว จะทำให้ราคาน้ำมันดิบในยุคนั้นอยู่ที่ 102.53 เหรียญ ซึ่งสูงสุดในรอบ 28 ปีที่ผ่านมา
น้ำมันดิบเบรนท์อังกฤษพุ่งทะลุ 100.90 เหรียญ
ราคาน้ำมันดิบที่พุ่งขึ้นปิดสร้างสถิติปิดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่ในคืนที่ผ่านมา ส่งผลให้ส่วนต่างราคาน้ำมันดิบถึบตัวสูงมากถึง 67% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาสอดรับราคาน้ำมันดิบเบรนท์อังกฤษทะเลเหนือที่สร้างสถิติซื้อขายสูงสุดระหว่างวันครั้งใหม่ในรอบ 20 ปี นับตั้งแต่ปี 1988 หรือปี 2531 ด้วยราคาบาเรลละ 101.24 เหรียญ ทำลายสถิติเดิมเมื่อวันที่ 27 ก.พ.ที่ระดับ 100.03 เหรียญ และยังสร้างสถิติราคาปิดสูงสุดครั้งใหม่ในรอบ 20 ปีที่ 100.90 เหรียญลบสถิติเดิมเมื่อวันที่ 27 ก.พ. เช่นเดียวกัน สำหรับสาเหตุสำคัญที่ทำให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดนิวยอร์กและเบรนท์กระชากตัวอย่างรุนแรงเมื่อคืนที่ผ่านมาเกิดจากอุบัติเหตุไฟไหม้ที่โรงผลิตก๊าซธรรมชาติในยุโรป และจากการที่เงินเหรียญสหรัฐอ่อนค่าทำสถิติใหม่อย่างไม่สิ้นสุด
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news03/03/08
โพสต์ที่ 294
โอเปกย้ำชัดโอกาสเพิ่มและตรึงกำลังการผลิตปัจจุบันมีน้อย ชี้ราคาไม่ควรต่ำกว่า 60-70 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรล
Posted on Monday, March 03, 2008
ซาอุดิอาระเบีย ชี้ ราคาน้ำมันไม่ควรต่ำกว่า 60-70 ดอลลาร์สหรัฐ
นายอิลิ อัล ไนอามี่ รัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันซาอุดิอาระเบีย กล่าวว่า ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกอาจไม่ลดลงไปจนต่ำกว่าบาร์เรลละ 60-70 ดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากเป็นระดับราคาต่ำสุดที่เหมาะสมสำหรับราคาพลังงานทางเลือกประเภทต่าง ๆ จะมีความคุ้มทุนในการผลิตออกมาสู่ตลาดโลก นอกจากนี้ ยังมองว่า การลงทุนเพื่อการสำรวจแหล่งน้ำมันดิบทั่วโลกที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง อาจป้องกันไม่ให้แหล่งผลิตน้ำมันดิบมีจำนวนลดลงในอนาคตเร็วเกินไปได้อีกด้วย และที่ผ่านมาซาอุดิอาระเบียอาจมีแหล่งสำรองน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นถึง 2 แสนล้านบาร์เรล
เวเนซูเอล่าเรียกร้องโอเปกหารือข้อพิพาทกับเอ็กซอนโมบิล
ประเทศเวเนซูเอล่า ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มโอเปก เรียกร้องให้สมาชิกทั้งหมด 13 ชาติในกลุ่มโอเปกหารือในประเด็นสำคัญด้านกฎหมายข้อพิพาทระหว่างเวเนซูเอล่าและบริษัท เอ็กซอน โมบิล ในสหรัฐฯที่เกิดขึ้นในการประชุมวาระปกติที่กำลังจะมาถึงในวันที่ 5 มีนาคมนี้ที่สำนักงานของกลุ่มโอเปกในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย หลังจากที่ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้นำสูงสุดของประเทศเวเนซูเอล่า ประกาศหยุดทำธุรกรรมการค้าน้ำมันดิบกับ เอ็กซอน โมบิล หลังศาลในอังกฤษและสหรัฐฯตัดสินให้เอ็กซอน โมบิล หลังศาลในอังกฤษและสหรัฐฯตัดสินให้เอ็กซอน โมบิล ชนะคดีอายัดทรัพย์สิน
เอกวาดอร์ชี้เร็วเกินไปที่โอเปกจะเพิ่มกำลังการผลิต
นายกาโล ชิริโบก้า รัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันประเทศเอกวาดอร์ กล่าวว่า ยังเร็วเกินไปที่กลุ่มโอเปกทั้ง 13 ชาติสมาชิก จะตัดสินใจเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดิบของทั้งกลุ่มในการประชุมวันที่ 5 มีนาคมที่กำลังจะมาถึงนี้ ซึ่งการแสดงความคิดเห็นดังกล่าวสอดคล้องกับประเทศเวเนซูเอล่าที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสมาชิกของโอเปกที่ไม่ต้องการให้ปรับขึ้นกำลังการผลิต ทั้งนี้ ประธานกลุ่มโอเปกได้ตอกย้ำถึงจุดยืนของกลุ่มว่า เป็นการยากที่จะได้เห็นมติของกลุ่มโอเปกตรึงหรือเพิ่มการผลิตในการประชุม
ลิเบียแย้มกลุ่มโอเปกตรึงกำลังการผลิตเดิมต่อไป
ด้านนายโชคริ กาเนม ประธานบริษัท ลิเบีย เนชั่นแนล ออยล์ คอร์ปอรั่น กล่าวว่า กลุ่มโอเปกไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใดที่จะต้องลดกำลังการผลิตลงในการประชุมวันพุธที่จะถึงนี้ เพราะมติของกลุ่มที่คาดว่าจะดีที่สุดกับสถานการณ์ของราคาน้ำมันดิบและความต้องการใช้ในช่วงไตรมาส 2/51 นั้น ก็คือ ควรจะตรึงกำลังการผลิตเดิมของทั้งกลุ่มไว้ในปัจจุบันต่อไป นอกจากนี้ ประธานบริษัทลิเบีย เนชั่นแนล ออยล์ คอร์ปอรั่นย ยังเห็นด้วยที่จะให้มีการหารือข้อพิพาทระหว่างเวเนซูเอล่ากับเอ็กซอน โมบิล
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
Posted on Monday, March 03, 2008
ซาอุดิอาระเบีย ชี้ ราคาน้ำมันไม่ควรต่ำกว่า 60-70 ดอลลาร์สหรัฐ
นายอิลิ อัล ไนอามี่ รัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันซาอุดิอาระเบีย กล่าวว่า ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกอาจไม่ลดลงไปจนต่ำกว่าบาร์เรลละ 60-70 ดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากเป็นระดับราคาต่ำสุดที่เหมาะสมสำหรับราคาพลังงานทางเลือกประเภทต่าง ๆ จะมีความคุ้มทุนในการผลิตออกมาสู่ตลาดโลก นอกจากนี้ ยังมองว่า การลงทุนเพื่อการสำรวจแหล่งน้ำมันดิบทั่วโลกที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง อาจป้องกันไม่ให้แหล่งผลิตน้ำมันดิบมีจำนวนลดลงในอนาคตเร็วเกินไปได้อีกด้วย และที่ผ่านมาซาอุดิอาระเบียอาจมีแหล่งสำรองน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นถึง 2 แสนล้านบาร์เรล
เวเนซูเอล่าเรียกร้องโอเปกหารือข้อพิพาทกับเอ็กซอนโมบิล
ประเทศเวเนซูเอล่า ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มโอเปก เรียกร้องให้สมาชิกทั้งหมด 13 ชาติในกลุ่มโอเปกหารือในประเด็นสำคัญด้านกฎหมายข้อพิพาทระหว่างเวเนซูเอล่าและบริษัท เอ็กซอน โมบิล ในสหรัฐฯที่เกิดขึ้นในการประชุมวาระปกติที่กำลังจะมาถึงในวันที่ 5 มีนาคมนี้ที่สำนักงานของกลุ่มโอเปกในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย หลังจากที่ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้นำสูงสุดของประเทศเวเนซูเอล่า ประกาศหยุดทำธุรกรรมการค้าน้ำมันดิบกับ เอ็กซอน โมบิล หลังศาลในอังกฤษและสหรัฐฯตัดสินให้เอ็กซอน โมบิล หลังศาลในอังกฤษและสหรัฐฯตัดสินให้เอ็กซอน โมบิล ชนะคดีอายัดทรัพย์สิน
เอกวาดอร์ชี้เร็วเกินไปที่โอเปกจะเพิ่มกำลังการผลิต
นายกาโล ชิริโบก้า รัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันประเทศเอกวาดอร์ กล่าวว่า ยังเร็วเกินไปที่กลุ่มโอเปกทั้ง 13 ชาติสมาชิก จะตัดสินใจเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดิบของทั้งกลุ่มในการประชุมวันที่ 5 มีนาคมที่กำลังจะมาถึงนี้ ซึ่งการแสดงความคิดเห็นดังกล่าวสอดคล้องกับประเทศเวเนซูเอล่าที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสมาชิกของโอเปกที่ไม่ต้องการให้ปรับขึ้นกำลังการผลิต ทั้งนี้ ประธานกลุ่มโอเปกได้ตอกย้ำถึงจุดยืนของกลุ่มว่า เป็นการยากที่จะได้เห็นมติของกลุ่มโอเปกตรึงหรือเพิ่มการผลิตในการประชุม
ลิเบียแย้มกลุ่มโอเปกตรึงกำลังการผลิตเดิมต่อไป
ด้านนายโชคริ กาเนม ประธานบริษัท ลิเบีย เนชั่นแนล ออยล์ คอร์ปอรั่น กล่าวว่า กลุ่มโอเปกไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใดที่จะต้องลดกำลังการผลิตลงในการประชุมวันพุธที่จะถึงนี้ เพราะมติของกลุ่มที่คาดว่าจะดีที่สุดกับสถานการณ์ของราคาน้ำมันดิบและความต้องการใช้ในช่วงไตรมาส 2/51 นั้น ก็คือ ควรจะตรึงกำลังการผลิตเดิมของทั้งกลุ่มไว้ในปัจจุบันต่อไป นอกจากนี้ ประธานบริษัทลิเบีย เนชั่นแนล ออยล์ คอร์ปอรั่นย ยังเห็นด้วยที่จะให้มีการหารือข้อพิพาทระหว่างเวเนซูเอล่ากับเอ็กซอน โมบิล
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news05/03/08
โพสต์ที่ 295
น้ำมันพุ่งเกิน $100 อีกครั้งหลังโอเปกเริ่มการประชุม-คาดตรึงกำลังการผลิต
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 5 มีนาคม 2551 19:23 น.
เอเอฟพี ราคาน้ำมันโลกพุ่งกลับขึ้นไปอยู่ที่ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลอีกครั้งในวันนี้ (5) ขณะที่รัฐมนตรีโอเปกเริ่มการประชุมที่กรุงเวียนนาของออสเตรีย ด้านนักค้าน้ำมันคาดโอเปกจะยังคงตรึงกำลังการผลิตแม้ว่าจะมีเสียงเรียกร้องจากสหรัฐฯ ให้เพิ่มกำลังการผลิตมากขึ้นก็ตาม
สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบไลท์สวีตครูดสำหรับส่งมอบเดือนเมษายนในตลาดนิวยอร์กเมื่อวันพุธ (5) ปิดตลาดเพิ่มขึ้น 1 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 100.52 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ขณะที่สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบเบรนต์สำหรับส่งมอบเดือนเมษายนในตลาดลอนดอน ปิดตลาดเพิ่มขึ้น 75 เซนต์ อยู่ที่ 98.27 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
วันเดียวกัน (5) บรรดารัฐมนตรีจากกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ได้เริ่มการประชุมนัดพิเศษที่กรุงเวียนนาของออสเตรียเมื่อเวลา 10.00 น.ตามเวลาท้องถิ่น (16.00 น.ตามเวลาในไทย) ขณะที่อาลี อัล-นูไอมี รัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันของซาอุดิอาระเบีย ซึ่งเป็นประเทศที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดของกลุ่มโอเปก ระบุว่า ขณะนี้ไม่มีความจำเป็นที่โอเปกจะต้องเพิ่มเพดานการผลิตแต่อย่างใด
ความเป็นไปได้ก็คือกลุ่มโอเปกจะยังคงตรึงกำลังการผลิตไว้ที่ 29.67 ล้านบาร์เรลต่อวัน แม้ว่าจะมีสมาชิกกังวลในเรื่องปริมาณน้ำมันล้นตลาดในไตรมาส 2 ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันในอนาคต เช่นเดียวกับสมาชิกบางประเทศที่อยากเห็นโอเปกลดกำลังการผลิตลง เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการใช้น้ำมันที่ลดลงหลังช่วงฤดูหนาว บรรดานักวิเคราะห์จากบริษัทที่ปรึกษาน้ำมันจอห์น ฮอลล์ แอสโซซิเอตส์ระบุ
ขณะที่ทิม อีวานส์ นักวิเคราะห์จากซิตี้กรุ๊ป กล่าวว่า กลุ่มโอเปกอาจต้องการที่จะลดกำลังการผลิตลง แต่เนื่องจากราคาน้ำมันที่พุ่งสูงทำให้โอกาสที่เรื่องดังกล่าวจะเกิดขึ้นมีไม่มากนัก
ผมคิดว่าโอเปกคงอยากรอให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลงเสียก่อน ก่อนที่จะเสี่ยงลดกำลังการผลิตลง นักวิเคราะห์คนเดิมระบุ
ทั้งนี้เมื่อวันจันทร์ (3) ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบในตลาดนิวยอร์กพุ่งทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 103.95 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลหลังค่าเงินดอลลาร์ทำสถิติอ่อนค่าต่ำสุด
http://www.manager.co.th/Around/ViewNew ... 0000027549
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 5 มีนาคม 2551 19:23 น.
เอเอฟพี ราคาน้ำมันโลกพุ่งกลับขึ้นไปอยู่ที่ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลอีกครั้งในวันนี้ (5) ขณะที่รัฐมนตรีโอเปกเริ่มการประชุมที่กรุงเวียนนาของออสเตรีย ด้านนักค้าน้ำมันคาดโอเปกจะยังคงตรึงกำลังการผลิตแม้ว่าจะมีเสียงเรียกร้องจากสหรัฐฯ ให้เพิ่มกำลังการผลิตมากขึ้นก็ตาม
สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบไลท์สวีตครูดสำหรับส่งมอบเดือนเมษายนในตลาดนิวยอร์กเมื่อวันพุธ (5) ปิดตลาดเพิ่มขึ้น 1 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 100.52 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ขณะที่สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบเบรนต์สำหรับส่งมอบเดือนเมษายนในตลาดลอนดอน ปิดตลาดเพิ่มขึ้น 75 เซนต์ อยู่ที่ 98.27 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
วันเดียวกัน (5) บรรดารัฐมนตรีจากกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ได้เริ่มการประชุมนัดพิเศษที่กรุงเวียนนาของออสเตรียเมื่อเวลา 10.00 น.ตามเวลาท้องถิ่น (16.00 น.ตามเวลาในไทย) ขณะที่อาลี อัล-นูไอมี รัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันของซาอุดิอาระเบีย ซึ่งเป็นประเทศที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดของกลุ่มโอเปก ระบุว่า ขณะนี้ไม่มีความจำเป็นที่โอเปกจะต้องเพิ่มเพดานการผลิตแต่อย่างใด
ความเป็นไปได้ก็คือกลุ่มโอเปกจะยังคงตรึงกำลังการผลิตไว้ที่ 29.67 ล้านบาร์เรลต่อวัน แม้ว่าจะมีสมาชิกกังวลในเรื่องปริมาณน้ำมันล้นตลาดในไตรมาส 2 ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันในอนาคต เช่นเดียวกับสมาชิกบางประเทศที่อยากเห็นโอเปกลดกำลังการผลิตลง เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการใช้น้ำมันที่ลดลงหลังช่วงฤดูหนาว บรรดานักวิเคราะห์จากบริษัทที่ปรึกษาน้ำมันจอห์น ฮอลล์ แอสโซซิเอตส์ระบุ
ขณะที่ทิม อีวานส์ นักวิเคราะห์จากซิตี้กรุ๊ป กล่าวว่า กลุ่มโอเปกอาจต้องการที่จะลดกำลังการผลิตลง แต่เนื่องจากราคาน้ำมันที่พุ่งสูงทำให้โอกาสที่เรื่องดังกล่าวจะเกิดขึ้นมีไม่มากนัก
ผมคิดว่าโอเปกคงอยากรอให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลงเสียก่อน ก่อนที่จะเสี่ยงลดกำลังการผลิตลง นักวิเคราะห์คนเดิมระบุ
ทั้งนี้เมื่อวันจันทร์ (3) ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบในตลาดนิวยอร์กพุ่งทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 103.95 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลหลังค่าเงินดอลลาร์ทำสถิติอ่อนค่าต่ำสุด
http://www.manager.co.th/Around/ViewNew ... 0000027549
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news06/03/08
โพสต์ที่ 296
Morning Brief
ราคาน้ำมันดิบคืนเดียวพุ่ง 5 เหรียญ เฉียด 105 เหรียญต่อบาเรล สร้างสถิติใหม่ หลังโอเปกตัดสินใจตรึงกำลังการผลิต
Posted on Thursday, March 06, 2008
ราคาน้ำมันดิบแตะ 104.95 เหรียญ พุ่งสูดสุดเป็นประวัติการณ์
ราคาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์ก สหรัฐฯ ทำลายสถิติทั้งราคาปิดและราคาสูงสุดระหว่างวันเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่ในรอบ 25 ปี นับตั้งแต่ปี 2526 โดยปิดที่ 104.52 เหรียญต่อบาเรล พุ่งสูขึ้น 5% หรือ 5 เหรียญ และในการซื้อขายระหว่างวันก็ขึ้นไปแตะบาเรลละ104.95 เหรียญ ทำลายสถิติราคาซื้อขายสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของเมื่อวานนี้ที่ 103.95 เหรียญลงได้อย่างสิ้นเชิง
น้ำมันดิบเบรนท์พุ่ง 102.92 เหรียญ สร้างสถิติใหม่เช่นกัน
ราคาน้ำมันดิบที่พุ่งขึ้นปิดสร้างสถิติปิดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่ในคืนที่ผ่านมา ส่งผลให้ส่วนต่างราคาน้ำมันดิบถีบตัวสูงขึ้นถึง 74% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาสอดรับกับราคาน้ำมันดิบเบรนท์อังกฤษทะเลเหนือที่สร้างสถิติ ทั้งราคาปิดและราคาซื้อขายสูงสุดระหว่างวันเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่ในรอบ 20 ปีหรือนับตั้งแต่ปี 2531 ด้วยราคาปิดที่บาเรลละ 101.64 เหรียญ รวมทั้งยังทำสถิติราคาซื้อขายสูงสุดระหว่างวันครั้งใหม่ที่บาเรลละ 102.29 เหรียญ
ราคาน้ำมันพุ่งเหตุจากโอเปกตรึงกำลังการผลิตเท่าเดิมและน้ำมันสำรองในสหรัฐฯลดลง
ระดับราคาน้ำมันดิบที่ยังคงพุ่งทำสถิติเป็นประวัติการณ์ในคืนที่ผ่านมา เกิดจากมติที่ประชุมโอเปกให้ตรึงกำลังการผลิตในระดับปัจจุบันต่อไป สอดรับกับปริมาณน้ำมันดิบสำรองรายสัปดาห์ในสหรัฐฯที่กลับมาลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 8 สัปดาห์และจากการที่ผู้นำสูงสุดของเวเนซูเอล่า ตัดสินใจส่งกองกำลังรถถังเข้าประชิดชายแดนติดกับประเทศโคลัมเบีย หลังจากที่ประกาศเคลื่อนกองกำลังทหารเรือและทหารอากาศไปก่อนหน้านี้แล้ว นอกจากนี้ ค่าเงินเหรียญสหรัฐฯยังอ่อนค่าลงเป็นประวัติการณ์เมื่อเทียบกับเงินยูโรอีกด้วย
โอเปกมีมติคงกำลังการผลิตต่อไป ชี้อึดอัดใจกับราคาที่สูงเกินคาด
กลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันเพื่อการส่งออก (โอเปก) มีมติให้ตรึงกำลังการผลิตน้ำมันดิบในระดับปัจจุบันต่อไป หลังใช้เวลาในการประชุมไม่ถึง 2 ชั่วโมงในช่วงเย็นวานนี้ โอเปกยังชี้แจงเพิ่มเติมว่า ระดับราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่พุ่งขึ้นเหนือกว่า 100 เหรียญนั้น ไม่เพียงเป็นระดับราคาที่อยู่เหนือการควบคุมของกลุ่มโอเปก แต่ยังเป็นราคาที่โอเปกรู้สึกอึดอัดใจ และยังมองว่า ระดับราคาน้ำมันดิบที่เคลื่อนไหวระหว่างบาเรลละ 80-100 เหรียญสหรัฐ เป็นราคาที่สูงเกินไป ทั้งนี้โอเปกจะประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 20-22 เม.ย. 51
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
ราคาน้ำมันดิบคืนเดียวพุ่ง 5 เหรียญ เฉียด 105 เหรียญต่อบาเรล สร้างสถิติใหม่ หลังโอเปกตัดสินใจตรึงกำลังการผลิต
Posted on Thursday, March 06, 2008
ราคาน้ำมันดิบแตะ 104.95 เหรียญ พุ่งสูดสุดเป็นประวัติการณ์
ราคาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์ก สหรัฐฯ ทำลายสถิติทั้งราคาปิดและราคาสูงสุดระหว่างวันเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่ในรอบ 25 ปี นับตั้งแต่ปี 2526 โดยปิดที่ 104.52 เหรียญต่อบาเรล พุ่งสูขึ้น 5% หรือ 5 เหรียญ และในการซื้อขายระหว่างวันก็ขึ้นไปแตะบาเรลละ104.95 เหรียญ ทำลายสถิติราคาซื้อขายสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของเมื่อวานนี้ที่ 103.95 เหรียญลงได้อย่างสิ้นเชิง
น้ำมันดิบเบรนท์พุ่ง 102.92 เหรียญ สร้างสถิติใหม่เช่นกัน
ราคาน้ำมันดิบที่พุ่งขึ้นปิดสร้างสถิติปิดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่ในคืนที่ผ่านมา ส่งผลให้ส่วนต่างราคาน้ำมันดิบถีบตัวสูงขึ้นถึง 74% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาสอดรับกับราคาน้ำมันดิบเบรนท์อังกฤษทะเลเหนือที่สร้างสถิติ ทั้งราคาปิดและราคาซื้อขายสูงสุดระหว่างวันเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่ในรอบ 20 ปีหรือนับตั้งแต่ปี 2531 ด้วยราคาปิดที่บาเรลละ 101.64 เหรียญ รวมทั้งยังทำสถิติราคาซื้อขายสูงสุดระหว่างวันครั้งใหม่ที่บาเรลละ 102.29 เหรียญ
ราคาน้ำมันพุ่งเหตุจากโอเปกตรึงกำลังการผลิตเท่าเดิมและน้ำมันสำรองในสหรัฐฯลดลง
ระดับราคาน้ำมันดิบที่ยังคงพุ่งทำสถิติเป็นประวัติการณ์ในคืนที่ผ่านมา เกิดจากมติที่ประชุมโอเปกให้ตรึงกำลังการผลิตในระดับปัจจุบันต่อไป สอดรับกับปริมาณน้ำมันดิบสำรองรายสัปดาห์ในสหรัฐฯที่กลับมาลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 8 สัปดาห์และจากการที่ผู้นำสูงสุดของเวเนซูเอล่า ตัดสินใจส่งกองกำลังรถถังเข้าประชิดชายแดนติดกับประเทศโคลัมเบีย หลังจากที่ประกาศเคลื่อนกองกำลังทหารเรือและทหารอากาศไปก่อนหน้านี้แล้ว นอกจากนี้ ค่าเงินเหรียญสหรัฐฯยังอ่อนค่าลงเป็นประวัติการณ์เมื่อเทียบกับเงินยูโรอีกด้วย
โอเปกมีมติคงกำลังการผลิตต่อไป ชี้อึดอัดใจกับราคาที่สูงเกินคาด
กลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันเพื่อการส่งออก (โอเปก) มีมติให้ตรึงกำลังการผลิตน้ำมันดิบในระดับปัจจุบันต่อไป หลังใช้เวลาในการประชุมไม่ถึง 2 ชั่วโมงในช่วงเย็นวานนี้ โอเปกยังชี้แจงเพิ่มเติมว่า ระดับราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่พุ่งขึ้นเหนือกว่า 100 เหรียญนั้น ไม่เพียงเป็นระดับราคาที่อยู่เหนือการควบคุมของกลุ่มโอเปก แต่ยังเป็นราคาที่โอเปกรู้สึกอึดอัดใจ และยังมองว่า ระดับราคาน้ำมันดิบที่เคลื่อนไหวระหว่างบาเรลละ 80-100 เหรียญสหรัฐ เป็นราคาที่สูงเกินไป ทั้งนี้โอเปกจะประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 20-22 เม.ย. 51
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news12/03/08
โพสต์ที่ 297
วิเคราะห์แนวโน้มราคาน้ำมันรายสัปดาห์
12 มีนาคม พ.ศ. 2551 10:36:00
สรุปสถานการณ์น้ำมันระหว่างวันที่ 3-10 มี.ค. 51และคาดการณ์แนวโน้มราคาน้ำมันระหว่างวันที่ 11-17 มี.ค. 51
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :
น้ำมันดิบ : ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ปรับตัวขึ้นทำสถิติสูงสุดที่ 108.21 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล ในการซื้อขายระหว่างวัน และปิดตัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 107.90 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบ WTI ได้ปรับตัวสูงขึ้นกว่า 5 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรลภายในระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์ เนื่องจากการอ่อนค่าลงของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ความขัดแย้งระหว่างประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบ การประกาศคงเพดานการผลิตของโอเปก และปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯที่ปรับลดลงสวนกับที่ตลาดคาดการณ์ไว้
ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นมากในช่วงนี้ สาเหตุหลักมาจากการเข้ามาเก็งกำไรของนักลงทุน Hedge Fund โดยนักลงทุนยังคงเคลื่อนย้ายเงินทุนจากตลาดทุนเข้ามายังตลาดน้ำมันอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดความเสี่ยงจากการที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลง หลังจากที่มีการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกไม่น้อยกว่า 0.5% เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ในขณะที่ธนาคารกลางยุโรปจะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิม ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลงต่ำสุดเมื่อเทียบกับเงินยูโร ที่ 1.5380 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อยูโร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา
ขณะเดียวกันการตัดสินใจของโอเปกที่จะไม่เพิ่มเพดานการผลิต เนื่องจากเห็นว่าอุปสงค์น่าจะปรับลดลงในไตรมาส 2 นี้จากการที่เศรษฐกิจสหรัฐฯชะลอตัว ซึ่งส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นไปอีก
ราคาน้ำมันดิบน่าจะทรงตัวอยู่ในระดับสูงจากการที่นักลงทุนยังคงเคลื่อนย้ายเงินทุนเข้ามายังตลาดน้ำมันอย่างต่อเนื่อง และราคาอาจจะปรับสูงขึ้นไปถึง 120 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ถ้าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ยังคงอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง และปัญหาความขัดแย้งในประเทศผู้ผลิตน้ำมันหลักที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต
น้ำมันเบนซิน: ราคาน้ำมันเบนซินในตลาดสิงคโปร์ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แม้ว่าราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นมากเนื่องจากอินเดียและญี่ปุ่นส่งออกน้ำมันเบนซินมาขายยังตลาดภูมิภาคเพิ่มขึ้น
คาดว่าราคาน้ำมันเบนซินในสัปดาห์ที่จะถึงนี้น่าจะทรงตัว เนื่องจากจีนลดการส่งออกในเดือน มี.ค. เพื่อเก็บสำรองน้ำมันไว้ใช้ในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวที่กำลังจะมาถึง ในขณะที่ไต้หวันก็ลดการส่งออกเช่นกัน เนื่องจากมีการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นประจำปี และโรงกลั่นในประเทศต้องเลื่อนเปิดดำเนินการเนื่องจากปัญหาทางเทคนิค ซึ่งปริมาณการส่งออกที่ลดลงดังกล่าว จะมาชดเชยกับอุปทานน้ำมันเบนซินที่เพิ่มขึ้นจากอินเดียและญี่ปุ่น รวมทั้งยังไม่มีโอกาสในการขนย้ายน้ำมันเบนซินจากภูมิภาคไปขายยังแถบชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯ เนื่องจากไม่คุ้มกับค่าขนส่ง ประกอบกับปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังในสหรัฐฯยังอยู่ในระดับค่อนข้างสูง
น้ำมันอากาศยาน/น้ำมันก๊าด: ราคาน้ำมันอากาศยานและน้ำมันก๊าดในตลาดสิงคโปร์ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 6 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมาปิดที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 124.25 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล เนื่องจากจีนนำเข้าน้ำมันอากาศยานเพิ่มขึ้น และมีโอกาสในการขนย้ายไปขายยังแถบตะวันตกมากขึ้น
คาดว่าราคาน้ำมันอากาศยานน่าจะปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง หลังจากที่จีนเข้ามาซื้อน้ำมันอากาศยานเพิ่มเติมสำหรับเดือน มี.ค. ในตลาดจร จากอุปสงค์ประเทศที่ปรับสูงขึ้น ในขณะที่ผลิตน้ำมันอากาศยานได้น้อยลง จากการที่โรงกลั่นในประเทศหันไปเน้นการผลิตน้ำมันดีเซล นอกจากนี้ตลาดน้ำมันอากาศยานที่แข็งแกร่งในสหรัฐฯ ส่งผลให้มีการขนย้ายน้ำมันจากเอเชียไปยังแถบชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯ มากขึ้น ประกอบกับยุโรปนำเข้าน้ำมันอากาศยานเพิ่มขึ้น เนื่องจากโรงกลั่นในยุโรปปิดซ่อมบำรุงประจำปี ส่งผลให้ประเทศในแถบอ่าวเปอร์เซียส่งน้ำมันไปขายยังยุโรปแทนที่จะส่งออกมาขายยังตลาดเอเชีย ซึ่งทำให้อุปทานน้ำมันอากาศยานในภูมิภาคตึงตัวยิ่งขึ้น นอกเหนือจากการที่โรงกลั่นในแถบเอเชียเหนือลดกำลังการผลิตลงไปในช่วงก่อนหน้านี้
น้ำมันดีเซล : ราคาน้ำมันดีเซลในภูมิภาคปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบ 5 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล และทำสถิติสูงสุดใหม่ที่ราคา 123.76 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล เนื่องจากอุปสงค์ในภูมิภาค โดยเฉพาะจาก จีน และ เวียดนามที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับตลาดน้ำมันที่ใช้ทำความร้อนในยุโรปและสหรัฐฯยังดีอยู่ในช่วงปลายฤดูหนาวนี้
คาดว่าราคาน้ำมันดีเซลน่าจะปรับตัวลดลงบ้างในสัปดาห์นี้ จากสาเหตุหลักที่ใกล้สิ้นสุดฤดูหนาว ทำให้อุปสงค์น้ำมันที่ใช้ทำความร้อนปรับลดลง ซึ่งจะลดโอกาสในการขนย้ายน้ำมันดีเซลจากเอเชียไปขายยังสหรัฐฯและยุโรป อย่างไรก็ตามอุปสงค์ในภูมิภาคที่ยังแข็งแกร่งอยู่ รวมทั้งการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นและการลดกำลังการผลิตในเอเชียและยุโรป มีส่วนสนับสนุนราคาให้ไม่ปรับลดลงมากนัก โดยจีนจะนำเข้าน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับกับความต้องการใช้ในภาคเกษตรกรรมที่จะเริ่มต้นปลายเดือนนี้ นอกจากนี้เวียดนามยังนำเข้าน้ำมันดีเซลอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้า หลังจากที่ไทยส่งออก LPG ไปเวียดนามลดลงจากปริมาณการใช้ LPG ในประเทศที่ปรับสูงขึ้น
น้ำมันเตา: ราคาน้ำมันเตาในตลาดสิงคโปร์ทรงตัวในช่วงที่ผ่านมา แม้ว่าราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากยังมีการขนย้ายน้ำมันเตาจากตะวันตกเข้ามายังภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ปริมาณน้ำมันเตาคงคลังของสิงคโปร์ปรับเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ระดับสถิติสูงสุดที่ 18 ล้านบาร์เรล
คาดว่าราคาน้ำมันเตาในสัปดาห์นี้น่าจะปรับตัวขึ้น เนื่องจากจีนจะเริ่มกลับเข้ามาซื้อน้ำมันเตาชนิด Straight-run เพื่อนำไปเป็นวัตถุดิบเข้ากลั่น เพื่อรองรับกับความต้องการน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศที่ปรับสูงขึ้นและลดการนำเข้าน้ำมันอากาศยานและดีเซลลง ในขณะที่โรงกลั่นในเกาหลีใต้ประกาศลดการส่งออกน้ำมันดังกล่าวในเดือน มี.ค. ลง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนิดเดียวกันกับที่จีนจะนำเข้านี้ อย่างไรก็ตามตลาดน้ำมันเตาที่ใช้เติมเรือมีแนวโน้มอ่อนตัวลง เนื่องจากการจ้างเรือจะน้อยลงในช่วงปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นประจำปีในเอเชีย ที่จะเริ่มในเดือนเม.ย. นี้
ที่มา : บริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)
http://www.bangkokbiznews.com/2008/03/1 ... sid=238038
12 มีนาคม พ.ศ. 2551 10:36:00
สรุปสถานการณ์น้ำมันระหว่างวันที่ 3-10 มี.ค. 51และคาดการณ์แนวโน้มราคาน้ำมันระหว่างวันที่ 11-17 มี.ค. 51
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :
น้ำมันดิบ : ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ปรับตัวขึ้นทำสถิติสูงสุดที่ 108.21 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล ในการซื้อขายระหว่างวัน และปิดตัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 107.90 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบ WTI ได้ปรับตัวสูงขึ้นกว่า 5 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรลภายในระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์ เนื่องจากการอ่อนค่าลงของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ความขัดแย้งระหว่างประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบ การประกาศคงเพดานการผลิตของโอเปก และปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯที่ปรับลดลงสวนกับที่ตลาดคาดการณ์ไว้
ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นมากในช่วงนี้ สาเหตุหลักมาจากการเข้ามาเก็งกำไรของนักลงทุน Hedge Fund โดยนักลงทุนยังคงเคลื่อนย้ายเงินทุนจากตลาดทุนเข้ามายังตลาดน้ำมันอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดความเสี่ยงจากการที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลง หลังจากที่มีการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกไม่น้อยกว่า 0.5% เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ในขณะที่ธนาคารกลางยุโรปจะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิม ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลงต่ำสุดเมื่อเทียบกับเงินยูโร ที่ 1.5380 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อยูโร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา
ขณะเดียวกันการตัดสินใจของโอเปกที่จะไม่เพิ่มเพดานการผลิต เนื่องจากเห็นว่าอุปสงค์น่าจะปรับลดลงในไตรมาส 2 นี้จากการที่เศรษฐกิจสหรัฐฯชะลอตัว ซึ่งส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นไปอีก
ราคาน้ำมันดิบน่าจะทรงตัวอยู่ในระดับสูงจากการที่นักลงทุนยังคงเคลื่อนย้ายเงินทุนเข้ามายังตลาดน้ำมันอย่างต่อเนื่อง และราคาอาจจะปรับสูงขึ้นไปถึง 120 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ถ้าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ยังคงอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง และปัญหาความขัดแย้งในประเทศผู้ผลิตน้ำมันหลักที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต
น้ำมันเบนซิน: ราคาน้ำมันเบนซินในตลาดสิงคโปร์ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แม้ว่าราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นมากเนื่องจากอินเดียและญี่ปุ่นส่งออกน้ำมันเบนซินมาขายยังตลาดภูมิภาคเพิ่มขึ้น
คาดว่าราคาน้ำมันเบนซินในสัปดาห์ที่จะถึงนี้น่าจะทรงตัว เนื่องจากจีนลดการส่งออกในเดือน มี.ค. เพื่อเก็บสำรองน้ำมันไว้ใช้ในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวที่กำลังจะมาถึง ในขณะที่ไต้หวันก็ลดการส่งออกเช่นกัน เนื่องจากมีการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นประจำปี และโรงกลั่นในประเทศต้องเลื่อนเปิดดำเนินการเนื่องจากปัญหาทางเทคนิค ซึ่งปริมาณการส่งออกที่ลดลงดังกล่าว จะมาชดเชยกับอุปทานน้ำมันเบนซินที่เพิ่มขึ้นจากอินเดียและญี่ปุ่น รวมทั้งยังไม่มีโอกาสในการขนย้ายน้ำมันเบนซินจากภูมิภาคไปขายยังแถบชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯ เนื่องจากไม่คุ้มกับค่าขนส่ง ประกอบกับปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังในสหรัฐฯยังอยู่ในระดับค่อนข้างสูง
น้ำมันอากาศยาน/น้ำมันก๊าด: ราคาน้ำมันอากาศยานและน้ำมันก๊าดในตลาดสิงคโปร์ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 6 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมาปิดที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 124.25 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล เนื่องจากจีนนำเข้าน้ำมันอากาศยานเพิ่มขึ้น และมีโอกาสในการขนย้ายไปขายยังแถบตะวันตกมากขึ้น
คาดว่าราคาน้ำมันอากาศยานน่าจะปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง หลังจากที่จีนเข้ามาซื้อน้ำมันอากาศยานเพิ่มเติมสำหรับเดือน มี.ค. ในตลาดจร จากอุปสงค์ประเทศที่ปรับสูงขึ้น ในขณะที่ผลิตน้ำมันอากาศยานได้น้อยลง จากการที่โรงกลั่นในประเทศหันไปเน้นการผลิตน้ำมันดีเซล นอกจากนี้ตลาดน้ำมันอากาศยานที่แข็งแกร่งในสหรัฐฯ ส่งผลให้มีการขนย้ายน้ำมันจากเอเชียไปยังแถบชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯ มากขึ้น ประกอบกับยุโรปนำเข้าน้ำมันอากาศยานเพิ่มขึ้น เนื่องจากโรงกลั่นในยุโรปปิดซ่อมบำรุงประจำปี ส่งผลให้ประเทศในแถบอ่าวเปอร์เซียส่งน้ำมันไปขายยังยุโรปแทนที่จะส่งออกมาขายยังตลาดเอเชีย ซึ่งทำให้อุปทานน้ำมันอากาศยานในภูมิภาคตึงตัวยิ่งขึ้น นอกเหนือจากการที่โรงกลั่นในแถบเอเชียเหนือลดกำลังการผลิตลงไปในช่วงก่อนหน้านี้
น้ำมันดีเซล : ราคาน้ำมันดีเซลในภูมิภาคปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบ 5 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล และทำสถิติสูงสุดใหม่ที่ราคา 123.76 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล เนื่องจากอุปสงค์ในภูมิภาค โดยเฉพาะจาก จีน และ เวียดนามที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับตลาดน้ำมันที่ใช้ทำความร้อนในยุโรปและสหรัฐฯยังดีอยู่ในช่วงปลายฤดูหนาวนี้
คาดว่าราคาน้ำมันดีเซลน่าจะปรับตัวลดลงบ้างในสัปดาห์นี้ จากสาเหตุหลักที่ใกล้สิ้นสุดฤดูหนาว ทำให้อุปสงค์น้ำมันที่ใช้ทำความร้อนปรับลดลง ซึ่งจะลดโอกาสในการขนย้ายน้ำมันดีเซลจากเอเชียไปขายยังสหรัฐฯและยุโรป อย่างไรก็ตามอุปสงค์ในภูมิภาคที่ยังแข็งแกร่งอยู่ รวมทั้งการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นและการลดกำลังการผลิตในเอเชียและยุโรป มีส่วนสนับสนุนราคาให้ไม่ปรับลดลงมากนัก โดยจีนจะนำเข้าน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับกับความต้องการใช้ในภาคเกษตรกรรมที่จะเริ่มต้นปลายเดือนนี้ นอกจากนี้เวียดนามยังนำเข้าน้ำมันดีเซลอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้า หลังจากที่ไทยส่งออก LPG ไปเวียดนามลดลงจากปริมาณการใช้ LPG ในประเทศที่ปรับสูงขึ้น
น้ำมันเตา: ราคาน้ำมันเตาในตลาดสิงคโปร์ทรงตัวในช่วงที่ผ่านมา แม้ว่าราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากยังมีการขนย้ายน้ำมันเตาจากตะวันตกเข้ามายังภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ปริมาณน้ำมันเตาคงคลังของสิงคโปร์ปรับเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ระดับสถิติสูงสุดที่ 18 ล้านบาร์เรล
คาดว่าราคาน้ำมันเตาในสัปดาห์นี้น่าจะปรับตัวขึ้น เนื่องจากจีนจะเริ่มกลับเข้ามาซื้อน้ำมันเตาชนิด Straight-run เพื่อนำไปเป็นวัตถุดิบเข้ากลั่น เพื่อรองรับกับความต้องการน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศที่ปรับสูงขึ้นและลดการนำเข้าน้ำมันอากาศยานและดีเซลลง ในขณะที่โรงกลั่นในเกาหลีใต้ประกาศลดการส่งออกน้ำมันดังกล่าวในเดือน มี.ค. ลง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนิดเดียวกันกับที่จีนจะนำเข้านี้ อย่างไรก็ตามตลาดน้ำมันเตาที่ใช้เติมเรือมีแนวโน้มอ่อนตัวลง เนื่องจากการจ้างเรือจะน้อยลงในช่วงปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นประจำปีในเอเชีย ที่จะเริ่มในเดือนเม.ย. นี้
ที่มา : บริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)
http://www.bangkokbiznews.com/2008/03/1 ... sid=238038
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news12/03/08
โพสต์ที่ 298
ราคาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กทำลายสถิติใหม่ทะลุ 109.72 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์ก สหรัฐฯ ทำลายสถิติทั้งราคาสูงสุดระหว่างวันและราคาปิด เป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่ต่อเนื่องเป็นวันทำการที่ 6 ซึ่งสูงสุดในรอบ 25 ปี หรือนับตั้งแต่ปี1983 หรือ ปี 2526 โดยมีราคาปิดที่บาร์เรลละ 108.75 ดอลลาร์สหรัฐ หรือพุ่งขึ้นเกือบ 1 ดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบยังทะยานสู่ระดับสูงสุดระหว่างวันที่ระดับ 109.72 ดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้น 1.82 ดอลลาร์สหรัฐอีกด้วย โดยสามารถทำลายสถิติราคาคาซื้อขายสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของวันที่ 10 มี.ค. ที่บาร์เรลละ 108.21 ดอลลาร์สหรัฐได้
น้ำมันดิบตลาด Brent ทำลายสถิติใหม่ทะลุ 105.82 ดอลลาร์สหรัฐ
ราคาน้ำมันดิบที่พุ่งขึ้นปิดสร้างสถิติปิดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่ ส่งผลให้ส่วนต่างราคาน้ำมันดิบถีบตัวขึ้นสูงมากถึง 81% เมื่อเทียบกับปี 2550 สอดรับกับราคาน้ำมันดิบ Brent อังกฤษทะเลเหนือ ที่สร้างสถิติทั้งราคาปิดและราคาซื้อขายสูงสุดระหว่างวันเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่ในรอบ 20 ปี หรือ นับตั้งแต่ปี 1988 หรือปี 2531 ด้วยราคาปิดบาร์เรลละ 105.25 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งทำลายสถิติเดิมของวันที่ 11 มี.ค. ที่ระดับ 104.16 ดอลลาร์สหรัฐ และทำสถิติราคาซื้อขายสูงสุดระหว่างวันครั้งใหม่ แตะที่ระดับบาร์เรลละ 105.82 ดอลลาร์สหรัฐ
IEA ชี้ความต้องการน้ำมันดิบมีแนวโน้มลดลง แต่ราคาอาจผันผวนตามเศรษฐกิจโลก
สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) กล่าวว่า ความต้องการใช้น้ำมันดิบทั่วโลกในปีนี้จะลดลง หลังสภาพเศรษฐกิจของประเทศชั้นนำด้านอุตสาหกรรมยังคงชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันดิบในระยะนี้ยังมีแนวโน้มพุ่งทะยานต่อไปอีก และอาจต่อเนื่องจนถึงสิ้นปีนี้ แต่หากภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยจริง จะส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบร่วงลงอย่างหนักเหลือเพียง 60 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จะเห็นได้จากราคาน้ำมันดิบเคลื่อนไหวที่ 20 ดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงต้นปี 2545 หรือในรอบ 6 ปีที่ผ่านมา
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
ราคาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์ก สหรัฐฯ ทำลายสถิติทั้งราคาสูงสุดระหว่างวันและราคาปิด เป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่ต่อเนื่องเป็นวันทำการที่ 6 ซึ่งสูงสุดในรอบ 25 ปี หรือนับตั้งแต่ปี1983 หรือ ปี 2526 โดยมีราคาปิดที่บาร์เรลละ 108.75 ดอลลาร์สหรัฐ หรือพุ่งขึ้นเกือบ 1 ดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบยังทะยานสู่ระดับสูงสุดระหว่างวันที่ระดับ 109.72 ดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้น 1.82 ดอลลาร์สหรัฐอีกด้วย โดยสามารถทำลายสถิติราคาคาซื้อขายสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของวันที่ 10 มี.ค. ที่บาร์เรลละ 108.21 ดอลลาร์สหรัฐได้
น้ำมันดิบตลาด Brent ทำลายสถิติใหม่ทะลุ 105.82 ดอลลาร์สหรัฐ
ราคาน้ำมันดิบที่พุ่งขึ้นปิดสร้างสถิติปิดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่ ส่งผลให้ส่วนต่างราคาน้ำมันดิบถีบตัวขึ้นสูงมากถึง 81% เมื่อเทียบกับปี 2550 สอดรับกับราคาน้ำมันดิบ Brent อังกฤษทะเลเหนือ ที่สร้างสถิติทั้งราคาปิดและราคาซื้อขายสูงสุดระหว่างวันเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่ในรอบ 20 ปี หรือ นับตั้งแต่ปี 1988 หรือปี 2531 ด้วยราคาปิดบาร์เรลละ 105.25 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งทำลายสถิติเดิมของวันที่ 11 มี.ค. ที่ระดับ 104.16 ดอลลาร์สหรัฐ และทำสถิติราคาซื้อขายสูงสุดระหว่างวันครั้งใหม่ แตะที่ระดับบาร์เรลละ 105.82 ดอลลาร์สหรัฐ
IEA ชี้ความต้องการน้ำมันดิบมีแนวโน้มลดลง แต่ราคาอาจผันผวนตามเศรษฐกิจโลก
สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) กล่าวว่า ความต้องการใช้น้ำมันดิบทั่วโลกในปีนี้จะลดลง หลังสภาพเศรษฐกิจของประเทศชั้นนำด้านอุตสาหกรรมยังคงชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันดิบในระยะนี้ยังมีแนวโน้มพุ่งทะยานต่อไปอีก และอาจต่อเนื่องจนถึงสิ้นปีนี้ แต่หากภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยจริง จะส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบร่วงลงอย่างหนักเหลือเพียง 60 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จะเห็นได้จากราคาน้ำมันดิบเคลื่อนไหวที่ 20 ดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงต้นปี 2545 หรือในรอบ 6 ปีที่ผ่านมา
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mor ... fault.aspx
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news14/03/08
โพสต์ที่ 299
News Update
ลดสำรอง ดีเซล รับวิกฤติน้ำมัน
พลังงานไฟเขียวปตท.ลดสต็อกสำรองดีเซลจาก 5% เหลือ 3% หลังประชาชนแห่เติมปั๊มปตท.ถึงวันละ 20 ล้านลิตร ส่งผลน้ำมันในสต็อกไม่เพียงพอ เหตุราคาต่างจากผู้ค้ารายอื่นลิตรละ 1 บาท ประเสริฐ ยอมรับ 6 สัปดาห์อั้นปรับราคาขาดทุน 1,000 ล้านบาท พูนภิรมย์ เตรีมประชุมกพช.หาแนวทางรับมือวิกฤติน้ำมันแพงเร็ว ๆ นี้หลังราคาน้ำมันดีเซลพุ่ง 127 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล (กรุงเทพธุรกิจ)
ลดสำรอง ดีเซล รับวิกฤติน้ำมัน
พลังงานไฟเขียวปตท.ลดสต็อกสำรองดีเซลจาก 5% เหลือ 3% หลังประชาชนแห่เติมปั๊มปตท.ถึงวันละ 20 ล้านลิตร ส่งผลน้ำมันในสต็อกไม่เพียงพอ เหตุราคาต่างจากผู้ค้ารายอื่นลิตรละ 1 บาท ประเสริฐ ยอมรับ 6 สัปดาห์อั้นปรับราคาขาดทุน 1,000 ล้านบาท พูนภิรมย์ เตรีมประชุมกพช.หาแนวทางรับมือวิกฤติน้ำมันแพงเร็ว ๆ นี้หลังราคาน้ำมันดีเซลพุ่ง 127 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล (กรุงเทพธุรกิจ)
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news14/03/08
โพสต์ที่ 300
Breaking News
PTT+BCP สุดทน ขอขึ้นราคาเบนซิน+ดีเซล ลิตรละ 50 สตางค์ พรุ่งนี้ ทำให้ราคาเบนซินทุกค่ายเท่ากันหมด
Posted on Friday, March 14, 2008
หลังจากค่ายน้ำมันทุกแห่ง ยกเว้น บมจ.ปตท.(PTT) และ บมจ.บางจาก ปิโตรเลียม (BCP) ประกาศปรับขึ้นราคาน้ำมันเบนซิน และดีเซล ขึ้นมา 2 ระลอก ๆ ละ 50 สตางค์ ในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะไม่อาจทนแบกรับภาระขาดทุนค่าการตลาดได้อีกต่อไป หลังจากที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก แหล่งเบรนท์ เวสต์เท็กซัส และไลท์สวีท ทะยานตัวทำสถิติใหม่ แตะบาร์เรลละ 110 ดอลลาร์สหรัฐ
ขณะที่ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดสิงคโปร์ ทะยานตัวตามไป โดยราคาน้ำมันดีเซล กระชากตัวเหนือ บาร์เรลละ 128.50 ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนราคาน้ำมันเบนซิน ปรับขึ้นเหนือ บาร์เรลละ 113.60 ดอลลาร์สหรัฐ
ส่งผลให้ราคาน้ำมันหน้าสถานีบริการในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล ปรับตัวทำสถิติสูงสุดครั้งใหม่ แต่ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินของ PTTและ BCP จะถูกกว่าค่ายอื่น ๆ ลิตรละ 50 สตางค์ ส่วนราคาน้ำมันดีเซล ก็ถูกกว่าค่ายน้ำมันอื่น ๆ ลิตรละ 1 บาท
ล่าสุด PTT และ BCP ได้ออกโรงมาประกาศปรับขึ้นราคาขายปลีกน้ำมัน ตามค่ายน้ำมันอื่น ๆ แล้ว โดยขอปรับขึ้นราคาน้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซล ในอัตราลิตรละ 50 สตางค์ มีผล 05.00 น. วันเสาร์ที่ 15 มีนาคมเป็นต้นไป ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันเบนซิน และแก๊สโซฮอลล์ ของทุกค่ายน้ำมันปรับตัวเท่ากันหมด แต่ราคาน้ำมันดีเซล ของ PTT กับ BCP จะถูกกว่าค่ายอื่น ๆ ลิตรละ 50 สตางค์
อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้สูงว่า จะมีการปรับขึ้นราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศอีกครั้งในสัปดาห์ เพราะล่าสุด ราคาน้ำมันทั้ง น้ำมันดิบส่งมอบเดือนเมษายน และน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดสิงคโปร์ ยังยืนประคองตัวในระดับสูงต่อไป และทำให้บรรดาค่ายน้ำมัน ต้องแบกภาระขาดทุนจากค่าการตลาดน้ำมันติดลบ
โดยเมื่อตรวจสอบจากค่ายเชลล์ ประเทศไทย ก็พบว่า หลังจากมีการปรับขึ้นราคาน้ำมันไป 2 ระลอก ช่วงก่อนหน้านี้ ทำให้ค่าการตลาดน้ำมัน กลุ่มเบนซิน ปรับลดลงมาต่ำกว่า ลิตรละ 60 สตางค์แล้ว ส่วนน้ำมันดีเซล กลับมาติดลบอีกครั้งหนึ่ง เหลือเพียง 10 สตางค์ แต่ค่าย PTT และ BCP ซึ่งตรึงราคาน้ำมันยาวนานกว่าค่ายน้ำมันอื่น ๆ จะมีค่าการตลาดน้ำมันดีเซลติดลบไม่ต่ำกว่า 30 - 40 สตางค์
มันนี่ ชาเนล - วรนนท์ อัศวพิริยานนท์
http://www.moneychannel.co.th/BreakingN ... fault.aspx
PTT+BCP สุดทน ขอขึ้นราคาเบนซิน+ดีเซล ลิตรละ 50 สตางค์ พรุ่งนี้ ทำให้ราคาเบนซินทุกค่ายเท่ากันหมด
Posted on Friday, March 14, 2008
หลังจากค่ายน้ำมันทุกแห่ง ยกเว้น บมจ.ปตท.(PTT) และ บมจ.บางจาก ปิโตรเลียม (BCP) ประกาศปรับขึ้นราคาน้ำมันเบนซิน และดีเซล ขึ้นมา 2 ระลอก ๆ ละ 50 สตางค์ ในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา เพราะไม่อาจทนแบกรับภาระขาดทุนค่าการตลาดได้อีกต่อไป หลังจากที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก แหล่งเบรนท์ เวสต์เท็กซัส และไลท์สวีท ทะยานตัวทำสถิติใหม่ แตะบาร์เรลละ 110 ดอลลาร์สหรัฐ
ขณะที่ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดสิงคโปร์ ทะยานตัวตามไป โดยราคาน้ำมันดีเซล กระชากตัวเหนือ บาร์เรลละ 128.50 ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนราคาน้ำมันเบนซิน ปรับขึ้นเหนือ บาร์เรลละ 113.60 ดอลลาร์สหรัฐ
ส่งผลให้ราคาน้ำมันหน้าสถานีบริการในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล ปรับตัวทำสถิติสูงสุดครั้งใหม่ แต่ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินของ PTTและ BCP จะถูกกว่าค่ายอื่น ๆ ลิตรละ 50 สตางค์ ส่วนราคาน้ำมันดีเซล ก็ถูกกว่าค่ายน้ำมันอื่น ๆ ลิตรละ 1 บาท
ล่าสุด PTT และ BCP ได้ออกโรงมาประกาศปรับขึ้นราคาขายปลีกน้ำมัน ตามค่ายน้ำมันอื่น ๆ แล้ว โดยขอปรับขึ้นราคาน้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซล ในอัตราลิตรละ 50 สตางค์ มีผล 05.00 น. วันเสาร์ที่ 15 มีนาคมเป็นต้นไป ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันเบนซิน และแก๊สโซฮอลล์ ของทุกค่ายน้ำมันปรับตัวเท่ากันหมด แต่ราคาน้ำมันดีเซล ของ PTT กับ BCP จะถูกกว่าค่ายอื่น ๆ ลิตรละ 50 สตางค์
อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้สูงว่า จะมีการปรับขึ้นราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศอีกครั้งในสัปดาห์ เพราะล่าสุด ราคาน้ำมันทั้ง น้ำมันดิบส่งมอบเดือนเมษายน และน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดสิงคโปร์ ยังยืนประคองตัวในระดับสูงต่อไป และทำให้บรรดาค่ายน้ำมัน ต้องแบกภาระขาดทุนจากค่าการตลาดน้ำมันติดลบ
โดยเมื่อตรวจสอบจากค่ายเชลล์ ประเทศไทย ก็พบว่า หลังจากมีการปรับขึ้นราคาน้ำมันไป 2 ระลอก ช่วงก่อนหน้านี้ ทำให้ค่าการตลาดน้ำมัน กลุ่มเบนซิน ปรับลดลงมาต่ำกว่า ลิตรละ 60 สตางค์แล้ว ส่วนน้ำมันดีเซล กลับมาติดลบอีกครั้งหนึ่ง เหลือเพียง 10 สตางค์ แต่ค่าย PTT และ BCP ซึ่งตรึงราคาน้ำมันยาวนานกว่าค่ายน้ำมันอื่น ๆ จะมีค่าการตลาดน้ำมันดีเซลติดลบไม่ต่ำกว่า 30 - 40 สตางค์
มันนี่ ชาเนล - วรนนท์ อัศวพิริยานนท์
http://www.moneychannel.co.th/BreakingN ... fault.aspx