ทฤษฎีสองสูงของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
anakinnet
Verified User
โพสต์: 520
ผู้ติดตาม: 0

ทฤษฎีสองสูงของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์

โพสต์ที่ 31

โพสต์

โลกนี้กำลังจะไม่มีที่ว่างสำหรับมือสมัครเล่น.. ขนาดจับไก่แกยังใช้มืออาชีพเลย โฮ๊ะๆๆ
In the long run, We are all dead.
ภาพประจำตัวสมาชิก
CEO
Verified User
โพสต์: 1243
ผู้ติดตาม: 0

ทฤษฎีสองสูงของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์

โพสต์ที่ 32

โพสต์

ฟังคนระดับนี้พูดต้องคิดให้ดี
ขนาดเฮียก้องเรายังต้องคิดแปดตลบ
แล้วระดับนี้ ต้องตีลังกาคิดหลายตลบครับ
การซื้อกิจการอาจไม่ใช่การเทคโอเวอร์ และการเทคโอเวอร์ ก็ไม่จำเป็นต้องเข้าซื้อหุ้น..
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ryuga
Verified User
โพสต์: 1771
ผู้ติดตาม: 0

ทฤษฎีสองสูงของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์

โพสต์ที่ 33

โพสต์

ผมเห็นด้วยกับการปฏิรูปภาคเกษตร-การจัดสรรทรัพยากรการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ

ถ้าเชื่อในกลไกราคา การกดราคาข้าวให้ต่ำหรือประกันราคาให้สูงก็ล้วนไม่เข้าท่า แต่อย่างไรก็ตามชาวนาต้องมีฐานะที่ดีขึ้น

ปริมาณเงินในระบบจะต้องสอดคล้องกับปริมาณกิจกรรมทางเศรษฐกิจคือการจับจ่ายใช้สอยผ่านสินค้าและบริการ ส่วนที่เหลือเป็นเงินออม

ประเทศไทยไม่ได้โดดเดี่ยวตัวเองออกจากสังคมโลก ถ้าหากปริมาณสินค้าและบริการไม่เพิ่มขึ้น หรือไม่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างยั่งยืนให้กับสินค้าและบริการได้ การขึ้นค่าจ้างพร้อมๆ กับการขึ้นราคาสินค้าและบริการจะทำให้เกิดเงินเฟ้อเพราะปริมาณเงินสูงเกินไป

รายได้เป็นตัวเลขของทุกคนในระบบเพิ่มขึ้นก็จริงแต่รายจ่ายก็เพิ่มขึ้นเพราะเงินเฟ้อ มูลค่าของเงินบาทจะลด เงินบาทจะอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินตราสกุลอื่นๆ ประเทศไม่ได้เปลี่ยนไปในทาางที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน แต่ในประเทศทุกคนต้องรับเคราะห์จากเงินเฟ้อ

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ต้นทศวรรษ 80 ประเทศไทยมี GDP ภาคเกษตรสูงถึง 1 ใน 4 ของ GDPรวม มาถึงวันนี้ GDP ภาคเกษตรอยู่ที่ 10-11% ของ GDPรวม
กุมภาพันธ์ปีนี้ ประเทศไทยมีแรงงาน 36.72 ล้านคน อยู่ในภาคเกษตร 12.69 ล้านคน คิดเป็น 34.55% ของแรงงานทั้งระบบ
ต่างจาก 30 ปีที่แล้ว ที่ประเทศไทยมีแรงงาน 19.39 ล้านคน และอยู่ในภาคเกษตร 13.25 ล้านคน คิดเป็น 68.32% ของแรงงานทั้งระบบ

ปีที่แล้วเรามีผลผลิตข้าว 29.970 ล้านตัน ส่งออก 9.198 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 1.193 แสนล้านบาท เท่ากับ 2.270% ของปริมาณการส่งออกทั้งหมดที่ 5.255 ล้านล้านบาท
ในขณะที่ปีที่แล้ว เรานำเข้าเชื้อเพลิง ทั้งน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และอื่นๆ คิดเป็นมูลค่าการนำเข้ารวมกัน 8.947 แสนล้านบาท เท่ากับ 18.36% ของปริมาณการนำเข้าทั้งหมดที่ 4.872 ล้านล้านบาท

การทำมากได้น้อยของภาคเกษตรไม่เป็นแรงจูงใจอันใดของเกษตรกร แค่สำหรับผู้ประกอบการที่มีองค์ความรู้มากเขาอาจเห็นความแตกต่าง

เราเห็นตัวอย่างของผู้ประสบความสำเร็จมากมายจากการสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าเกษตร การทำเกษตรอินทรีย์ ผักปลอดสารพิษ การแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรเป็นสินค้าหลากหลายชนิด กลุ่มเกษตรกรที่ปลูกผลไม้ส่งออก สินค้า OTOP ฯลฯ

อย่างที่กล่าว ผมเห็นด้วยกับการปฏิรูปภาคเกษตร-การจัดสรรทรัพยากรการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ แต่มันไม่จำเป็นต้องเกี่ยวอะไรกับสองสูง

ภาคเกษตรถือว่าเป็นความมั่นคงของประเทศ มันไม่ใช่เรื่องที่เราจะไปมองในแง่ GDP ว่ามันมากมันน้อย จะส่งออกได้มากเท่าไหร่ ทำเงินเข้าประเทศได้เท่าไหร่ ฯลฯ แต่จำต้องมองในแง่ประสิทธิภาพ ถ้าเราทำน้อยลงแต่ได้มากขึ้นแรงงานภาคเกษตรจะมีเวลาเหลือเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างอื่นๆ มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ การปฏิรูปภาคเกษตรไม่ใช่เป็นสิ่งที่ควรทำแต่เป็นสิ่งที่ต้องทำ การศึกษาภาคเกษตรยิ่งเป็นเรื่องต้องส่งเสริม  :8)
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ryuga
Verified User
โพสต์: 1771
ผู้ติดตาม: 0

ทฤษฎีสองสูงของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์

โพสต์ที่ 34

โพสต์

พี่ gradius173 เขียน:...ถ้าเงินเดือนสูงสินค้าราคาสูงประชาชนจะได้อะไรเช่นผมได้เงินเดือน100บาทต่อวันกินข้าวจานละ25ได้4จาน ต่อมาผมได้ค่าจ้าง200บาทต่อวันแต่ค่าข้าวกลายเป็นจานละ50ผมก็กินได้4จานเท่าเดิม...
ตามนั้นครับ :8)

ผมจำไม่ได้ว่าฟังมาจากใคร อาจจะเป็นคุณหนุ่มเมืองชล ที่เคยเล่าถึงเรื่องความคิดสร้างสรรค์ของท่านเจ้าสัวไว้ว่า

ท่านเจ้าสัวสังเกตว่าน่องไก่มันอร่อย คนชอบกิน ราคาจึงดีกว่าปีกไก่ ความคิดสร้างสรรค์จึงบรรเจิดขึ้นว่า จะทำอย่างไรให้ไก่มีน่องเพิ่มขึ้น (จะได้ขายไก่ได้ราคาดีขึ้น)

เมื่อออกมาแล้ว ก็เป็นที่แน่นอนว่าลูกน้องท่านต้องเรียงหน้าออกมาค้านเพราะมันเป็นไปไม่ได้ ความคิดของท่านมันแหกวิวัฒนาการหลายร้อยล้านปีของสัตว์กลุ่ม tetrapod แม้มันเป็นจริงได้ แล้วไก่ hexapod หน้าตาอัปลักษณ์ 4 น่อง 2 ปีก มันจะมีใครบ้าจี้ซื้อไปกินมั้ย

ผมฟังไปก็ไม่ได้คิดเชิงลบกับท่านเพราะเห็นว่าสร้างสรรค์ดีเหมือนกัน ท่านคิดแบบนักปฏิบัติ ลงมือทำจริง ประสบความสำเร็จจริงมาแล้วจนร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐี ท่านเอ่ยปากพูดที คนไทยทั้งประเทศต้องฟัง แต่ความรู้ของท่านมาจากการปฏิบัติจึงนอกตำราซะเยอะ

เรื่องสองสูงนี่ก็นอกตำรา ผมว่าก็สร้างสรรค์ดีแต่อย่างไรเสียผมเชื่อว่าท่านไม่เข้าใจอุปสงค์และอุปทานเงินอย่างที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้ซึ่งดูแลปริมาณเงินทั้งระบบเข้าใจเป็นแน่ ท่านพูดในฐานะพ่อค้า/นักธุรกิจก็พูดได้ แต่ในฐานะผู้ดูแลเสถียรภาพของเศรษฐกิจทั้งระบบซึ่งสัมพันธ์กับปากท้องและความอยู่ดีกินดีของคนทั้งประเทศ ผมเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า ธปท. จะไม่นำเรื่องทฤษฎีของท่านเจ้าสัวไปพิจารณาเลย

เรื่องสองสูงนี้ผมเห็นคล้ายๆ กับเรื่องไก่ 4 น่องน่ะแหละ ไม่ได้มาตำหนิใครนะครับ อีก 10 ปีข้างหน้า มาประเมินกันใหม่ก็ได้ว่าท่านเจ้าสัวถูกหรือผิด
Quattro
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 84
ผู้ติดตาม: 0

ทฤษฎีสองสูงของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์

โพสต์ที่ 35

โพสต์

ไม่รู้ว่าประเทศจะดีขึ้นรึปล่าวนะครับ
ถ้าทำตามที่เจ้าสัวว่าไว้
แต่ที่แน่ๆ cp ได้ประโยชน์เต็มๆ
mamalover
Verified User
โพสต์: 271
ผู้ติดตาม: 0

ทฤษฎีสองสูงของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์

โพสต์ที่ 36

โพสต์

ความเห็นส่วนตัวที่ คุณ artvr4 นั้น เป็นการแสดงถึงลักษณะนิสัย ของคนเสนอไอเดียหรือเปล่า

บางทีเราก็ต้องดูด้วยว่า มีผลประโยชน์แอบแฝง หรือทับซ้อน อะไรหรือเปล่า เพราะเค้าทำธุรกิจ ถ้าเป็นคุณชวน หลีกภัย พูด น่าเชื่อถือ 99%

แต่เรื่องการซื้อคน เป็นวิธีเห็นแก่ตัวจริงๆ แต่ในแง่ธุรกิจ ก็ทำกันทั้งนั้น ไม่ผิดกฎหมายนิ(โดยเฉพาะอเมริกา)

ปล.เห้นด้วยกับเรื่องให้ขึ้นเงินเดือน แต่ลดภาษีอีกได้ปะ
artvr4
Verified User
โพสต์: 767
ผู้ติดตาม: 0

ทฤษฎีสองสูงของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์

โพสต์ที่ 37

โพสต์

mamalover เขียน:ความเห็นส่วนตัวที่ คุณ artvr4 นั้น เป็นการแสดงถึงลักษณะนิสัย ของคนเสนอไอเดียหรือเปล่า

บางทีเราก็ต้องดูด้วยว่า มีผลประโยชน์แอบแฝง หรือทับซ้อน อะไรหรือเปล่า เพราะเค้าทำธุรกิจ ถ้าเป็นคุณชวน หลีกภัย พูด น่าเชื่อถือ 99%

แต่เรื่องการซื้อคน เป็นวิธีเห็นแก่ตัวจริงๆ แต่ในแง่ธุรกิจ ก็ทำกันทั้งนั้น ไม่ผิดกฎหมายนิ(โดยเฉพาะอเมริกา)

ปล.เห้นด้วยกับเรื่องให้ขึ้นเงินเดือน แต่ลดภาษีอีกได้ปะ
:?: แหะ ๆ ไม่ค่อยเข้าใจน่ะครับ   รบกวนชี้แนะด้วยครับ

แต่โดยส่วนตัว เห็นลักษณะการทำธุรกิจ ของเค้า ทำให้ คนที่ไปร่วมทำธุรกิจกับเค้า โดยเฉพาะพวกเกษตรกร กระอักเลือด มาแล้ว  เลยค่อนข้างจะเคลือบแคลง เจ้าสัว เป็นการส่วนตัวน่ะครับ
หุ้นนี่ เรียนรู้ได้ทั้งชีวิต จริงๆ
tanapol
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 920
ผู้ติดตาม: 0

ทฤษฎีสองสูงของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์

โพสต์ที่ 38

โพสต์

ผมชอบเว็บนี้มากจริงๆ ก็ตรงที่...

เวลามีไอเดีย ใหม่ๆ มักจะมีคนค้านอย่างมีเหตุผล

ถ้าเป็นผมอ่านแค่ข้อความเจ้าสัวผมก็คงเคลิ้มไปแล้ว

เจ้าสัวพูดเก่งครับ แต่ธรรมาภิบาลก้อคงรู้กันอยู่

อยากให้มีคนออกมาค้านเยอะๆ  และค้านกลับเยอะๆด้วย...

เกิดความรู้ดีครับ มองหลายๆมุม :P
Likhit
Verified User
โพสต์: 270
ผู้ติดตาม: 0

ทฤษฎีสองสูงของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์

โพสต์ที่ 39

โพสต์

แนวคิดแต่ละเรื่อง บอกได้คำเดียวว่า CONCEPT
Sittipan.tvi
Verified User
โพสต์: 193
ผู้ติดตาม: 0

ทฤษฎีสองสูงของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์

โพสต์ที่ 40

โพสต์

ผมว่าถ้า CPF มีสัดส่วนภาษี/รายได้จาก 0.04% มาจ่ายเท่ากับ UPOIC ที่ 8.37% ท่าจะทำให้การขึ้นเงินเดือนข้าราชการง่ายขึ้นมากสมความตั้งใจของเจ้าสัวนะครับ :lol:
ภาพประจำตัวสมาชิก
tok
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 833
ผู้ติดตาม: 0

ทฤษฎีสองสูงของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์

โพสต์ที่ 41

โพสต์

ทุนอุปถัมภ์กับความฝันของซีพี

โดย เสรี พงศ์พิศ www.phongphit.com โครงการมหาวิทยาลัยชีวิต



เป็นเรื่องดีที่สภาพัฒน์กับมติชนสุดสัปดาห์ช่วยกันเปลือยความคิด ความฝัน หรือวิสัยทัศน์ของ คุณธนินท์ เจียรวนนท์ ทำให้คนไทยได้รับรู้ว่า ลึกๆแล้วซีพีคิดอย่างไร

ต้องยอมรับว่าคุณธนินท์เป็นคนมีจินตนาการที่สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนได้อย่างยอดเยี่ยม และคงทำให้คนจำนวนไม่น้อยหลงใหลไปกับความฝันอันมีมนต์เสน่ห์ จึงอยากจะวิพากษ์ความฝันของซีพี ไม่อยากให้ผู้คนหลับใหลและได้แต่ฝัน เพราะ "เมื่อความฝันสิ้นสุดลง คนก็เริ่มค้นหาความจริงกันใหม่" อย่างที่อมาตยา เซน นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ชาวอินเดียพูดไว้

หวังว่าการวิพากษ์นี้จะไม่ทำให้คุณธนินท์ด่วนสรุปเอาแบบที่พูดไว้ตอนท้ายที่สภาพัฒน์ว่า "ประเทศอื่นมองทุกคนเป็นคนดีหมด แต่เมืองไทย มองทุกคนเป็นผู้ร้าย มันไม่ใช่" ก็ดีนะที่อย่างน้อยก็มีคุณธนินท์ที่เป็นคนไทยและไม่ได้มองเช่นนั้น

คุณธนินท์พูดเรื่องน้ำ เรื่องการสร้างเขื่อน และยุให้รัฐบาลนี้ "กล้าสู้กับเอ็นจีโอและอธิบายให้เข้าใจ" ซึ่งก็ไม่รู้จะอธิบายอย่างไร เพราะปัญหาไม่ใช่เอ็นจีโอโง่ ไม่มีข้อมูล ไม่เข้าใจ แต่เพราะมีความเข้าใจคนละอย่าง มีกระบวนทัศน์พัฒนาคนละแบบ มีวิธีการมองโลกมองชีวิตอีกแบบหนึ่งที่แตกต่างไปจากวิธีคิดแบบคุณธนินท์ที่ว่า "ถ้าทำเขื่อนแล้วสัตว์น้ำหายไปกี่ชนิด เทคโนโลยีวันนี้กรมประมงทำได้ เพาะได้ เราก็เพาะใส่เข้าไปก็แล้วกัน แล้วจะเสียหายอะไร มีแต่ทำให้น้ำไม่ท่วม เราใช้น้ำได้ประโยชน์เต็มที่ ใช้น้ำมาปั่นไฟ"

คิดแบบนี้เรียกว่าคิดแบบกลไก คิดแบบแยกส่วน คิดแบบลดทอน (reductionism) ชีวิตก็ดี สิ่งแวดล้อมก็ดีเป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่ ซับซ้อน มีระบบ มีคุณค่ามหาศาล ลดทอนลงมาให้เหลือแค่พลังงาน เอาน้ำมาปั่นไฟ ไม่ให้น้ำท่วม โดยไม่ได้คิดถึงสิ่งแวดล้อมแบบองค์รวม ไม่ได้คิดถึงระบบคุณค่า ความหลากหลายทางชีวภาพ ความสมดุลของธรรมชาติ ของวิถีชุมชน ซึ่งมีประเพณี วิถีวัฒนธรรม

คนคิดแบบนี้ไม่เชื่อว่า "เด็ดดอกไม้ดอกเดียวกระเทือนถึงดวงดาว"

เขาพูดเรื่องความเสี่ยงของเกษตรกรได้อย่างน่าฟัง และน่าคิด และซีพีก็ได้ทำมาหลายสิบปีที่ช่วยเกษตรกรไม่ให้รับความเสี่ยง (คนเดียว-และมากเกินไป อันนี้เขาพูดไม่หมด) ซีพีให้ชาวบ้านเลี้ยงไก่ เลี้ยงหมู เลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง ปลูกข้าวโพด ปลูกพืชต่างๆ โดยใช้พันธุ์ของตนเอง อาหารของตนเอง ปุ๋ย ยา และอื่นๆ ของตนเอง ชาวบ้านมีหน้าที่เพียงเลี้ยง-ปลูก ดูแลให้โต ให้ได้ผลตามวิธีการ ขั้นตอนที่ซีพีบอก

ชาวบ้านคิดว่า ปลูกแล้ว เลี้ยงแล้วจะเอาพันธุ์ไปขยายเอง ปลูกเอง เลี้ยงเองก็ทำไม่ได้ ต้องเอาของซีพีเท่านั้น ถึงเอาไปจากที่ตนเองปลูกและเลี้ยงก็ปลูกไม่ได้ เลี้ยงไม่โต

แต่ถ้าหากเพื่อลดความเสี่ยงซีพีจะรับเอาความเสี่ยงไป และให้เกษตรกรเป็นเพียงแรงงานเท่านั้น ถามว่าเป็นอะไรที่พึงปรารถนาสำหรับสังคมที่กำลังพัฒนาหรือไม่ และเกษตรกรเขารับได้และยอมหรือไม่ หรือว่า ส่วนหนึ่งต้องยอมเพราะไม่มีทางเลือก

นี่เป็นวิธีคิดแบบอุตสาหกรรม ต่างกันเพียงว่าแทนที่ "กรรมกร" จะทำในโรงงานก็ทำในทุ่งในสวน ในเล้าไก่ คอกหมู โดยมีผู้จัดการใหญ่นั่งคอยบอกคอยสอน คอยควบคุมดูแล ระบบแบบนี้ขอเรียกว่า "ทุนอุปถัมภ์" ก็แล้วกัน เขาปฏิเสธว่านี่เป็นทุนผูกขาด เขาอธิบายได้สวยงามแบบทวงบุญคุณว่า เป็นการให้นายทุนมารับความเสี่ยงแทนเกษตรกร

น่าแปลกใจไม่น้อย ที่เขาพูดเรื่องทุนมนุษย์ว่าสำคัญที่สุด แต่เขาคิดถึงแต่เพียงว่า จะหาคนเก่งจากทั่วโลกสักแสนคนมาอยู่เมืองไทย และประเคนสัญชาติไทยและบัตรประชาชนให้เลยทันทีโดยไม่ต้องมีเงื่อนไข แต่ไม่ได้คิดว่า ทำอย่างไรจึงจะ "พัฒนา" คนไทย สร้างคนไทยที่เป็นเกษตรกร เป็นชาวบ้านให้เป็นทุนมนุษย์ที่สามารถอยู่รอดและแข่งขันกับโลกให้ได้สักแสนคน

เสียดายที่เขาไม่ได้เอ่ยถึง "สถาบันปัญญาวิวัฒน์" เพื่อจะบอกว่าการศึกษาไทยล้มเหลว จนซีพีต้องลุกขึ้นมาสร้างคน สร้างทุนมนุษย์เพื่อไปทำงานให้ตนเอง แต่เขาก็ไม่ได้คิดถึงการสร้างเกษตรกรให้ "พึ่งพาตนเอง" เพราะซีพีมีวิธีคิดแต่เพียงว่าจะให้แรงงานและเกษตรกรพึ่งพาซีพีตลอดไปได้อย่างไร

เจ้าสัวซีพีมีภาพฝันที่น่าทึ่งว่า ในยุคที่น้ำมัน แพง สินค้าเกษตรเริ่มแพง ไทยควรต้องปรับตัวปรับการทำงาน ความร่วมมือกับประเทศอื่นเพื่อดันราคาสินค้าเกษตรอย่างข้าวให้สูงขึ้นอีกหลายเท่า ยางพาราให้ได้สักกิโลกรัมละ 150 บาท และสินค้าอื่นๆ อย่างปาล์ม มันสำปะหลัง ข้าวโพด อ้อย ซึ่งกำลังกลายเป็นพลังงานทางเลือก

เขาชวนฝันว่า ทำอย่างไรจัดการให้ 62 ล้านไร่ ที่ทำการเกษตรให้ได้ผลผลิตมากกว่าวันนี้ โดยการจัดการชลประทานให้ดีสัก 25 ล้านไร่ รวมทั้งปรับรูปที่ดิน จัดรูปที่ดิน "หาพันธุ์ที่ดี เอาเทคโนโลยีมาใส่" เขาฝันว่า วันนี้เมืองไทยขายผลผลิตการเกษตรได้เพียง 5 แสนล้านบาท ถ้าทำอย่างที่เขาแนะน่าจะได้ประมาณ 3 ล้านล้านบาท มากกว่าวันนี้ 6 เท่า

เป็นอะไรที่เข้าใจได้ว่า ถ้าเมืองไทยพัฒนาไปได้เช่นนี้ ซีพีก็ได้ประโยชน์ไปด้วย เพราะคนกลางที่ค้าขายและเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ทุกกระบวนการขั้นตอนมากกว่าใครคือซีพี

เขาบอกว่า ประเทศพัฒนาแล้วเขาทำกันเช่นนี้ แต่เขาก็พูดความจริงแค่ครึ่งเดียว เขามองแต่รัฐและนายทุน ไม่ได้มองเกษตรกร ไม่ได้มองประชาชนส่วนใหญ่ว่ามีทางออกทางอื่นอีกหรือไม่ นอกจากมาเป็น "แรงงาน" ให้นายทุนอย่างซีพี

ต้องถามว่า ประเทศพัฒนาแล้วรวมถึงเกาหลีและไต้หวันเขามีบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ทำด้านการเกษตรแบบซีพีหรือไม่ หรือเกษตรกรของเขารวมตัวกันเป็นสหกรณ์และบริหารจัดการการผลิตผลผลิตทางการเกษตรเอง จนพ่อค้าคนจีนไต้หวันต้องมาอยู่เมืองไทย ตั้งบริษัทจัดการการเกษตร การแปรรูปผลผลิต เพราะที่นี่ยังมีที่มีทางให้ทำอีกมาก เพราะเกษตรกรอ่อนแอ ยังไม่สามารถรวมตัวกันเพื่อจัดการตนเองอย่างที่ประเทศพัฒนาแล้วเขาทำกัน

ความเสี่ยงของเกษตรกรเป็นเรื่องจริง เสี่ยงเพราะทำไปโดยไม่มีความรู้จริง ไม่มีข้อมูล เห็นคนอื่นทำก็ทำตามมา เห็นเขาปลูกปอก็ปอ มันก็มัน อ้อยก็อ้อย เห็นเขาเลี้ยงหูม เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้งแล้วรวยก็เฮโลตามเขา แล้ววิธีการลดความเสี่ยงมีแค่การเข้าไปรับความเสี่ยงแบบซีพีหรือแล้วทำไมเกษตรกรถึงเจ๊งกัน เป็นหนี้กัน แม้ว่าทำ กับซีพี

ถ้าเกษตรกรเสี่ยงเพราะไม่มีความรู้ ไม่มีข้อมูล ก็น่าจะทำให้มีความรู้มีข้อมูล ถ้าไม่มีพลังเพราะทำ คนเดียวก็น่าจะมีการรวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชน เป็นสหกรณ์ ซึ่งก็มีตัวอย่างให้เห็นทั่วประเทศว่า กลุ่มเกษตรกรก็ดี กลุ่มวิสาหกิจชุมชนก็ดี หรือสหกรณ์การเกษตรก็ดี มีที่เข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้ แต่ยังน้อยเกินไป ทำไมไม่หาทางช่วยให้กลุ่มเหล่านี้เข้มแข็ง

ปัญหาที่คุณธนินท์บอกว่า ให้รัฐบาลไปอธิบายให้เอ็นจีโอเข้าใจเรื่องเขื่อน เรื่องน้ำ ก็เป็นปัญหาเดียวกันกับที่มีคนพยายามไปอธิบายให้ซีพีเข้าใจวิธีคิดเรื่อง "ชุมชนเข้มแข็ง" เรื่องการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนและสหกรณ์ เป็นอะไรที่คนทำเซเว่นอีเลฟเว่นไม่ยอมเข้าใจ อ้างแต่ว่าได้ทำให้ผู้คนสะดวกซื้อ ได้ของดีมีคุณภาพ ขณะที่ร้านขายของชำเล็กๆ ในตำบล หมู่บ้านทยอยปิดลง คนเล็กคนน้อยหาที่ยืนไม่ได้ในสังคมที่มีการผูกขาดทุน

กระบวนทัศน์พัฒนาที่อยู่บนฐานการคิดแบบองค์รวม ย่อมไม่ได้มองคนเป็นเพียงแรงงานปัจจัยการผลิต ไม่ได้มองแค่รายได้ แต่มองคนในฐานะที่เป็นมนุษย์ที่ต้องการเป็นอิสระ มีความฝัน ความใฝ่ฝัน ไม่ใช่เครื่องจักรกล ไม่ได้ทำได้เพียงกิน ขี้ ปี้ นอน แต่ต้องการความสุขและเสรีภาพ มีความภูมิใจใน "ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์" ศัพท์ที่เขียนเหมือนกัน สะกดเหมือนกัน แต่นายทุนกับเอ็นจีโอเข้าใจไม่เหมือนกัน

ต้องช่วยกันตั้งคำถามว่า วันนี้ประเทศไทยต้องการพัฒนาตนเองไปทางไหน และจะไปอย่างไร ด้วยวิธีการแบบไหน หรือว่าเราชัดเจนตั้งแต่ทำแผน 10 แล้วว่า เราจะอยู่แบบ "พอเพียง" จะใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนำ สภาพัฒน์ฟังคุณธนินท์แล้วยังคิดเรื่องพอเพียงอยู่หรือไม่ คิดแบบไหน

วันนี้ทั่วโลกกำลังตั้งคำถามว่า คนต้องการอะไร ถ้าต้องการความสุข ทำไมไม่แสวงหาความสุขด้วยวิธีการที่เป็นสุขจริง ทำไมต้องหน้าดำคร่ำเครียด หาแต่เงิน ทำแต่เรื่องเศรษฐกิจ ว่าแล้วรัฐบาลฝรั่งเศสก็จ้างนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลสองคน คือ โยเซฟ สติกลิตซ์ และ อมาตยา เซน มาช่วยทำ "ดัชนีความสุข" ต้องการ GDH แทน GDP

ถ้าวันนี้ประเทศเกษตรกรรมอย่างไทยกำลังได้เปรียบ ทำอย่างไรจะปรับยุทธศาสตร์พัฒนาที่ทำให้ผู้คนอยู่ได้อย่างมีความสุข โดยไม่ต้องเอาเศรษฐกิจเป็นตัวชี้วัด ไม่ใช่เห็นตัวเลข 3 ล้านล้านที่เจ้าสัววาดฝันให้ก็ตาโต

อมาตยา เซน บอกว่า "เพื่อก้าวพ้นนิยายของการพัฒนา เราจะต้องมีระบบเศรษฐกิจที่พึ่งตนเอง" สี่ห้าสิบปีที่ผ่านมาเราได้แต่ฝันไปกับนิยายของการพัฒนาที่สัญญาว่า "พรุ่งนี้รวย" ทั้งรัฐบาล ทั้งนายทุน ขุนศึกศักดินามาบอกมาแนะนำกันพร้อมหน้า

โยเซฟ สติกลิตซ์ อดีตที่ปรึกษาประธานาธิบดีบิล คลินตัน และรองประธานและหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจของธนาคารโลก คือคนที่วิจารณ์มาตรการของ IMF ที่ทำกับไทยและกับประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายว่ามีวาระซ่อนเร้น เรื่องธุรกิจและผลประโยชน์ของตนเองและประเทศพัฒนาแล้ว มากกว่าที่จะช่วยเหลืออย่างจริงใจ

ถ้าให้สองคนนี้พูดเรื่องเมืองไทยพวกเขาคงดีใจกับ "เศรษฐกิจพอเพียง" ซึ่งคุณธนินท์ไม่ได้เอ่ยถึงแม้แต่คำเดียว ซึ่งก็เข้าใจได้ไม่ยากนัก เพราะเขาเคยขอให้รัฐบาลกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศให้มากยิ่งขึ้น เศรษฐกิจจะได้โต

ขณะที่ศาสตราจารย์โรเบิร์ต มันเดลล์ นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลอีกคนหนึ่งพูดที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วว่า

"เศรษฐกิจพอเพียงจำเป็นสำหรับการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดเล็ก และยังไม่เข้มแข็งพอ เมื่อพิจารณาการใช้จ่ายรวมของประเทศ ประกอบด้วยการบริโภค ภาคเอกชน การลงทุนของธุรกิจ การใช้จ่ายภาครัฐบาล การนำเข้าและการส่งออกแล้วสามารถนำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมได้โดยเริ่มจาก การสร้างความเข้มแข็งของภาคครัวเรือนที่เป็นหน่วยย่อยที่สุดของระบบเศรษฐกิจ"

การสร้างระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นที่พึ่งตนเองไม่ใช่ความฝัน เราเห็นตัวอย่างมากมายในประเทศไทย ทั้งระดับชุมชนและระดับตำบล ไม่ว่าที่ไม้เรียง ที่ท่าข้าม ที่อินแปง เราเห็นว่า เงื่อนไขเพื่อให้เกิดระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นที่พึ่งตนเอง คือ ต้องสร้างคน สร้างความรู้ และสร้างระบบ ซึ่งก็คือ เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง

เศรษฐกิจพอเพียงพูดถึง "ความพอประมาณ" ซึ่งเป็นความพอดี เป็นทางสายกลาง เป็นคุณธรรม เราไม่ได้สร้างอะไรที่เป็นนามธรรม เราสร้างคนที่มีคุณธรรม ที่รู้ว่าพอดีพองามอยู่ที่ไหน เศรษฐกิจพอเพียงพูดเรื่อง "มีเหตุผล" หมายถึงสร้างความรู้ ฐานความรู้ มีแบบมีแผน มีขั้นมีตอน

เศรษฐกิจพอเพียงพูดถึง "ภูมิคุ้มกันที่ดี" ซึ่งก็คือการสร้างระบบที่ดีนั่นเอง เพราะหากมีระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นก็จะมีความมั่นคง ยั่งยืน ไม่ทำโครงการซึ่งมีเงินก็ทำได้ แต่ต้องทำระบบ ซึ่งมีเงินอย่างเดียวทำไม่ได้ ต้องอาศัยความรู้และใช้ปัญญาจึงจะทำได้

วิสาหกิจชุมชนและสหกรณ์ คือเครื่องมือหนึ่งที่ทำให้เกษตรกรรวมตัวกันเพื่อจัดการการผลิต การตลาด การบริโภคในท้องถิ่น และการก้าวออกไปสู่ตลาดภายนอก รวมถึงการส่งออก ซึ่งก็ทำกันอยู่ เพียงแต่ยังน้อย ไม่อาจสู้กับซีพีได้ แต่หากว่า ได้เรียนรู้ ได้พัฒนาตนเอง เกษตรกรก็จะสามารถจัดการได้ทุกขั้นตอน เหมือนที่เกิดขึ้นในประเทศพัฒนาแล้วทั้งหลาย ซึ่งบางแห่งมีสหกรณ์หรือบริษัทของตนเองที่ดำเนินการขั้นตอนต่างๆ กลายเป็นยักษ์ใหญ่กว่าซีพีก็ยังมี แต่พวกเขาใหญ่จากข้างใน จากตัวเอง และทำเพื่อเกษตรกรซึ่งเป็นสมาชิก เป็นเจ้าของกิจการนั้น

หรืออย่างประเทศอิตาลี เศรษฐกิจแบบอิตาลีที่คนเล็กคนน้อยอยู่ได้ พัฒนาได้ ไม่ต้องมีบริษัทยักษ์ใหญ่แบบทุนอุปถัมภ์อย่างเดียว มีสหกรณ์เข้มแข็ง มี SME ที่ไทยไปเรียนรู้เอามาเลียนแบบ แต่ทำให้ดีไม่ได้เหมือนเขา

ระบบเศรษฐกิจแบบอิตาลีเป็นตัวอย่างหนึ่งของข้อโต้แย้งแนวคิดของ มาร์กซิสม์ และแนวคิดของทุนนิยม (อย่างน้อยสามานย์) ที่ว่าเศรษฐกิจชุมชน คือ เศรษฐกิจที่รอวันตาย เพราะทั้งสองระบบมองคนเป็นเพียงปัจจัยการผลิต เป็นแรงงาน ที่ก่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ เมื่อใดที่มีการจัดการโดยรัฐหรือทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะมีระบบเศรษฐกิจ "ใหญ่" หนึ่งเดียวเท่านั้นไม่มีอะไรที่เรียกว่า เศรษฐกิจชุมชน

ประเทศไทยในยุคแผนฯ 10 ที่ประกาศว่าเศรษฐกิจพอเพียง คือปรัชญาของการพัฒนายุคนี้ ต้องตอบตัวเองให้ได้ เราจะพัฒนาแบบทุนอุปถัมภ์ที่มีหลักประกัน ความมั่นคง มีความเสี่ยงน้อย หรือจะพัฒนา เพื่อให้เกษตรกรอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี มีกินและมีความสุขแบบพอเพียง
http://www.matichon.co.th/matichon/mati ... ionid=0130
ent39
Verified User
โพสต์: 4
ผู้ติดตาม: 0

ชอบมาก ดูหลายรอบเลย

โพสต์ที่ 42

โพสต์

ชอบมาก ดูหลายรอบเลย
ยังดีกว่าที่จะมาบอกว่า "ปีนี้ไม่มีน้ำขอให้ชาวนางดปลูกข้าวนาปลัง"
แล้วจะให้เขาไปทำอะไรละครับ หน้าที่ของท่านมิใช้หรือที่จะจัดการให้มีน้ำในการทำการเกษตรที่เพียงพอ
แล้วทำไมเวลาน้ำมันแพงไม่บอกให้หยุดขายรถละ ก็แค่บอกว่า "ปีนี้ไม่มีน้ำมัน"
หรือเวลาที่กรุงเทพรถติดไม่บอกว่า "ขอให้ชาวกรุงเทพไม่ต้องออกจากบ้าน เพราะข้างนอกรถติด"
ทั้ง ๆ ที่ การผลิตอาหารควรจะสำคัญกว่าความสดวกสบาย

2 สูง เป็นทางออกที่ดี
BHT
Verified User
โพสต์: 1822
ผู้ติดตาม: 0

ทฤษฎีสองสูงของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์

โพสต์ที่ 43

โพสต์

เท่าที่ทราบ หลายประเทศก็มีน้ำมันใช้เอง แต่ไม่ได้ส่งออก หรือส่งออกน้อยเมื่อเทียบกับโอเปค

ถ้าไทย อินเดีย เวียดนาม รวมกันเป็นโอเปคได้ ประเทศที่ปลูกกินเองแล้วส่งออกน้อย ก็คงยินดีที่จะขายของแพงตามแน่นอน เพราะทำให้ได้กำไรมากขึ้น ที่เหลือคงเป็นรายละเอียดมากกว่าว่าจะตกลงกันได้แค่ไหน

ไทยเราก็เป็นเจ้าเรื่องข้าว ยางพารา ปาล์ม ตามที่ข้างบนบอก ก็น่าจะเพิ่มราคาได้บ้างนะ หรือว่าเบอร์ต่อจากเรา ปริมาณมันไม่ห่างมากพอจนเรากำหนดตลาดได้

การที่อาหารราคาแพงขึ้น มันก็เป็นแบบนี้มานานแล้วนี่ จากข้าวจานละ 50 สตางค์ วันนี้ 25-40 บาท ก็ยังอยู่กันมาได้นะ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ply33
Verified User
โพสต์: 592
ผู้ติดตาม: 0

ทฤษฎีสองสูงของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์

โพสต์ที่ 44

โพสต์

1. เห็นด้วยกับการปฏิรูปการเกษตร แต่ต้องไม่ให้ผลประโยชน์ตกกับ บริษัท หรือพ่อค้าคนกลางอย่างที่เป็นมา ให้ผลประโยชน์ไปถึงมือประชาชนอย่างแท้จริง

2. ขอให้ออกกฎหมาย "ป้องกันการผูกขาด" ออกมาเพื่อป้องกันมิให้มีการเอาเปรียบ "คนส่วนใหญ่" (อย่างที่เป็นอยู่) ได้ครับ

3. อยากให้คิดถึงปัญหาด้านสังคมด้วย ไม่ใช่ด้านเศรษฐกิจอย่างเดียว ผมอาจจะหัวโบราณแต่ผมคิดว่ามันสำคัญ ทั้งเรื่องเขยอีสานด้วย ค่านิยมที่นิยมต่างประเทศ แต่ดูถูกคนไทยกันเอง

เอาแค่นี้ก็เจ๋งแล้วครับ

ส่วนเรื่องราคาสินค้าเกษตรแพง ข้าวแพง ชาวนาบอกงวดนี้ขายได้ราคา แต่งวดหน้าไม่รู้ว่าจะเอาเงินที่ไหนมาซื้อข้าวกิน เพราะต้นทุนก็สูงขึ้นตามราคาครับ พ่อค้าคนกลางก็ไม่ยอมเสียเปรียบหรอกครับ กดราคาสินค้าเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่ก็ต้องทำนะครับ
0--- ฉลามเสือดาว ล่องลอยไปในทะเลกว้างใหญ่ ---0
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 1

ทฤษฎีสองสูงของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์

โพสต์ที่ 45

โพสต์

ผมยังคงมีความเห็นว่า  ทฤษฎี เศรษฐกิจพอเพียง  ยังคงเหมาะสมกับทุกสถานการณ์ครับ  มากกว่าที่จะให้ประเทศชาติมุ่งปลูกสินค้าอะไรเพียงไม่กี่ประเภท
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
hot
Verified User
โพสต์: 6853
ผู้ติดตาม: 0

ทฤษฎีสองสูงของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์

โพสต์ที่ 46

โพสต์

แต่ถ้าเป็นจริงก็มีข้อดีเยอะกว่าข้อเสียนะคับ
ผมว่า

อย่างแรก เกษตรกรจะกลับเป็นหัวใจหลักของ

ชุมชนแทน  กลุ่มอุตสาหกรรม
ภาพประจำตัวสมาชิก
samahara
Verified User
โพสต์: 136
ผู้ติดตาม: 0

ทฤษฎีสองสูงของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์

โพสต์ที่ 47

โพสต์

สองสามวันก่อน เห็นคนในรัฐบาลหลายคน ไปฟังท่านเจ้าสัวพูดเรื่องนี้อีก จริงๆแล้วผมว่า การทำแบบนี้จะไม่ค่อยสอดคล้องกับเรื่องนโยบายที่รัฐสนับสนุนเศรษฐกิจแบบพอเพียงสักเท่าไรครับ..ทุกอย่างจะขึ้นอยู่กับ Demand-Supply เท่านั้นเอง ปัญหาส่วนมากเกิดจากความไม่เหมาะสม หากเราพยายามมุ่งเน้นที่จะสร้างด้านใดด้านหนึ่งมากเกินไป..สักวันก็ต้องเกิดปัญหาเดิมๆขึ้นมาอีก หลักการที่ในหลวงเราพยายามสอนตามความเข้าใจของผมคือ การผลิตเพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณความต้องการใช้เท่านั้น จะได้ไม่ต้องพึ่งพาคนอื่นๆตลอดเวลา อะไรเราใช้มากก็ทำมาก อะไรใช้น้อยก็ทำน้อย แต่พยายามทำหลายๆอย่าง ทำเอง ใช้ของๆเราเอง อย่างพลังงานทดแทนเราก็ทำเองได้ แต่ไม่ค่อยทำ...เฮ้อ..เหนื่อยจัง ประเทศไทย...แต่รักในหลวงเหมือนเดิมครับ.
บุคคลผู้มีปัญญารู้จักใคร่ครวญ ย่อมตั้งตนได้ด้วยทรัพย์อันเป็นต้นทุน แม้มีประมาณน้อย เหมือนคนก่อไฟกองน้อย ให้เป็นกองใหญ่
สวนหย่อม
Verified User
โพสต์: 912
ผู้ติดตาม: 0

ทฤษฎีสองสูงของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์

โพสต์ที่ 48

โพสต์

Ryuga เขียน: ตามนั้นครับ :8)

ผมจำไม่ได้ว่าฟังมาจากใคร อาจจะเป็นคุณหนุ่มเมืองชล ที่เคยเล่าถึงเรื่องความคิดสร้างสรรค์ของท่านเจ้าสัวไว้ว่า

ท่านเจ้าสัวสังเกตว่าน่องไก่มันอร่อย คนชอบกิน ราคาจึงดีกว่าปีกไก่ ความคิดสร้างสรรค์จึงบรรเจิดขึ้นว่า จะทำอย่างไรให้ไก่มีน่องเพิ่มขึ้น (จะได้ขายไก่ได้ราคาดีขึ้น)
ผมเคยเอาเรื่องของคุณริวกะนี้ไปเล่าให้แฟนฟัง
แฟนผมถามว่า "เจ้าสัวเค้าไม่โง่ขนาดนั้นมัง เค้าหมายถึงให้น่องมันใหญ่ขึ้นหรือเปล่า?"

นั่นสิแฮะ แหะๆ ชักไม่แน่ใจครับ
kk-rich
Verified User
โพสต์: 307
ผู้ติดตาม: 0

ทฤษฎีสองสูงของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์

โพสต์ที่ 49

โพสต์

ถ้าปลูกผักกินอยู่คนเดียวทฤษฎีนี้ไม่สมควร แต่นี่เรายังต้องนำเข้าน้ำมันและเทคโนโลยีอยู่ อย่างงี้ก็เหมือนกับพูดว่า "ไม่เป็นไรเรายินดีขายถูกเพราะเราพอเพียง" แต่ดันซื้อทีวี LCD มาดู  :lol:
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ryuga
Verified User
โพสต์: 1771
ผู้ติดตาม: 0

ทฤษฎีสองสูงของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์

โพสต์ที่ 50

โพสต์

สวนหย่อม เขียน: ผมเคยเอาเรื่องของคุณริวกะนี้ไปเล่าให้แฟนฟัง
แฟนผมถามว่า "เจ้าสัวเค้าไม่โง่ขนาดนั้นมัง เค้าหมายถึงให้น่องมันใหญ่ขึ้นหรือเปล่า?"

นั่นสิแฮะ แหะๆ ชักไม่แน่ใจครับ
ผมฟังจากรายการมุมใหม่ไทยแลนด์ที่ออกช่อง 11 นานแล้วเหมือนกัน (ตอนแรกที่โพสยังนึกชื่อรายการไม่ออก) บอกตรงๆ ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเรื่องนี้จริงหรือเปล่าซึ่งต้องไปไล่เอากับทางรายการ

สำหรับคุณหนุ่มฯ ผู้เล่านั้น มีจุดประสงค์ตรงไปตรงมาที่จะสื่อให้เห็นถึง ความคิดสร้างสรรค์ ของท่านเจ้าสัวจริงๆ ขณะที่เล่าไปก็มีท่าทีเคารพยกย่อง มันเป็นความสามารถของผมเองแหละที่เอามาเล่าต่อแล้วสามารถใช้ลดระดับความน่าเชื่อถือของคำพูดท่านเข้าสัวได้อย่างถึงขนาดพอสมควร เห็นว่ากระทู้กำลัง hotๆ ผมโพสเท่านั้นแหละเงียบไปหลายวันทีเดียว

ตามรายละเอียดนั้นเป็นอย่างนั้นจริงๆ คือ ท่านเจ้าสัวเห็นว่าราคาปีกไก่มันถูกกว่าน่องไก่จึงคิดว่า น่าจะเปลี่ยนปีกให้เป็นน่องซะ ราคาไก่จะได้ดีขึ้น

ที่ผมจำเรื่องนี้ได้แม่นก็เพราะเห็นว่ามันตลกดี และก็ยอมรับว่ามันอาจจะฟังดูโง่บ้าง แต่ก่อนที่สตีเฟนสันจะทำรถจักรไอน้ำสำเร็จ หรือพี่น้องตระกูลไรท์จะสร้างเครื่องบินที่บินได้จริง ก็คงมีคนด่าว่าเขาโง่เยอะเหมือนกัน

คนระดับท่านเจ้าสัวผมไม่คิดว่าท่านโง่หรอก แต่สิ่งที่ผมค่อนข้างแน่ใจอยู่บ้างก็คือ ท่านเจ้าสัวต้องไม่เคยเรียนชีววิทยาและเศรษฐศาสตร์มหภาคผ่านทางสถาบันการศึกษามาก่อนอย่างแน่นอน

การทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จไม่ใช่ว่า CEO ต้องจุ้นจ้านรู้ไปซะทุกเรื่อง ความคิดสร้างสรรค์ / การคิดนอกกรอบ / จินตนาการนั้นเป็นเรื่องสำคัญ สำหรับทุกคนและทุกวงการ แต่ถ้ามันฝันเฟื่องเพ้อเจ้อเกินไปก็ต้องยอมรับความจริงว่ามันเป็นไปไม่ได้  :8)  :8)
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ryuga
Verified User
โพสต์: 1771
ผู้ติดตาม: 0

ทฤษฎีสองสูงของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์

โพสต์ที่ 51

โพสต์

จริงๆ แล้ว ผมออกจะเกรงใจพี่ๆ ที่ให้การสนับสนุนทฤษฎีสองสูง แต่ไหนๆ ก็ไหนๆ กระทู้มันขึ้นมาอีกก็ขอซะหน่อยละกัน คือตอนแรกนั้นผมไม่คิดจะยุ่งเพราะถ้ายุ่งแล้วก็ต้องพูดยาว เสียเวล่ำเวลาทำมาหากิน แต่บังเอิญว่าช่วงนั้นไปเว็บพี่สุมาอี้ แล้วพี่ท่านหนึ่งก็ถามพี่สุมาอี้ว่าเห็นด้วยกับทฤษฎีสองสูงของท่านเจ้าสัวหรือเปล่า แล้วพี่สุมาอี้ก็บอกว่าเห็นด้วย

เรื่องนี้ทำให้ผมตกใจมากเพราะไม่คิดว่าพี่สุมาอี้จะเป็นไปได้  :shock:  อย่ากระนั้นเลย ขอมาต้านแถวนี้ (TVI) ซะหน่อยละกัน

แต่ไม่นาน ผมก็เห็นว่าพี่สุมาอี้ก็คิดอย่างเดียวกันกับที่ผมคิดนั่นแหละ ที่ว่าเห็นด้วยคงจะหมายถึงเห็นด้วยเรื่องการจัดสรรทรัพยากรการเกษตร เพิ่มผลผลิตอะไรพวกนั้นมากกว่า

ขอยกบทความพี่สุมาอี้มาแสดงนะครับ  :8)
พี่สุมาอี้ เขียน:0122: ค่าครองชีพ

ข้าวของเครื่องใช้ที่ประเทศสิงคโปร์จะแพงกว่าบ้านเราประมาณ 2-3 เท่า แต่ชาวสิงคโปร์ก็มีความเป็นอยู่ที่สุขสบายกว่าเรามาก ทำไมน่ะหรือครับ ก็เพราะเขามีเงินเดือนมากกว่าเราประมาณ 10 เท่าตัว รายได้ประชาชาติต่อหัวของชาวสิงคโปร์เท่ากับ $34,152 ต่อปี หรือประมาณ 1.2 ล้านบาท ในขณะที่ไทยเราเท่ากับ $3400 หรือประมาณ 1.2 แสนบาท ชาวสิงค์โปร์เก็บเงินแค่ 9 เดือนก็ซื้อรถยนต์หนึ่งคันได้แล้ว แต่คนไทยต้องเก็บเงินถึง 7.5 ปีโดยไม่กินอะไรเลย ถึงจะซื้อรถยนต์ได้สักคัน คิดดูว่าชาวสิงคโปร์จะมีเงินเหลือสำหรับไว้ใช้จ่ายซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยในแต่ละเดือนมากกว่าเราขนาดไหน ต่อให้เขาซื้อสิ่งของจำเป็นในราคาสูงกว่าเราสองเท่า เขาก็ยังมีเงินส่วนเกินเหลืออยู่อีกมาก ในขณะที่ ของเราซื้อของถูกกว่าเขา แต่ต้องใช้จ่ายกันแบบเดือนชนเดือน ที่ต้องไปกู้เพิ่มมาซื้อข้าวสารก็มี

ค่าครองชีพไม่ได้ขึ้นอยู่กับการมีสินค้าให้ซื้อในราคาถูก และก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการมีเงินเดือนมากกว่า แต่ขึ้นอยู่กับส่วนต่างระหว่างรายได้กับราคาของสินค้าจำเป็นที่ต้องซื้อในแต่ละเดือน ส่วนต่างตรงนี้บางทีก็เรียกว่า disposable income (รายได้ส่วนเกินที่เอาไปใช้ทำอะไรก็ได้) ยิ่ง disposable income มากขึ้นเท่าไร ครอบครัวไทยก็จะยิ่งหายใจได้คล่องคอมากขึ้นเท่านั้น

การบังคับให้พ่อค้าตรึงราคาสินค้าเอาไว้ หรือนโยบายขึ้นเงินเดือนแบบกระทันหัน จะทำให้ประชาชนมี disposable income สูงขึ้นได้ในระยะสั้น แต่เมื่อตลาดรับรู้ความคาดหวังเรื่องนโยบายเหล่านี้ การปรับราคาสินค้าจะเกิดขึ้นเพื่อมิให้สินค้าขาดแคลน ทำให้สุดท้ายแล้วส่วนต่างระหว่างรายได้กับรายจ่ายกลับมาเท่าเดิมอีกครั้ง ความเป็นอยู่ของประชาชนจึงไม่สามารถทำให้ดีขึ้นได้ด้วยวิธีการเช่นนี้

David Ricardo บอกว่า ไม่ว่าจะแทรกแซงตลาดแรงงานยังไง ในระยะยาว ค่าแรงมีแนวโน้มที่จะวิ่งไปอยู่ในระดับที่ทำให้ unskilled labor พอดำรงชีวิตอยู่ได้พอดี มีหลักฐานที่แสดงว่า แนวคิดของ Ricardo เป็นเช่นนั้นจริงๆ เพราะในระยะยาว เงินเฟ้อกับค่าจ้างมีแนวโน้มที่จะวิ่งตามกัน เราได้เงินเดือนขึ้นสักพักเงินก็จะเฟ้อตาม เงินเฟ้อสักพักเราก็จะได้ปรับเงินเดือนตาม สรุปแล้วกำลังซื้อของ disposable income ของเราจะยังคงเท่าเดิมอยู่ไม่ว่าเงินเดือนหรือเงินเฟ้อจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร

ทางเดียวเท่านั้นที่จะทำให้ disposable income สูงขึ้นได้ คือ การเพิ่มผลิตภาพของแรงงาน ถ้าแรงงานมีทักษะในการทำงานมากขึ้น ผลิตสินค้าได้เพิ่มขึ้น มูลค่าเพิ่มของผู้ใช้แรงงานก็จะเพิ่มขึ้น ทำให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นไปด้วย ผลิตภาพของแรงงานสามารถเพิ่มขึ้นได้ด้วยการฝึกฝนทักษะในการทำงาน การศึกษาที่สูงขึ้น การบริหารจัดการที่ดีกว่าเดิม และการลงทุนเพื่อให้เกิดการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเพิ่มผลผลิต คนสิงคโปร์เขามีส่วนต่างของรายได้กับค่าใช้จ่ายสูงกว่าเรามากเพราะผลิตภาพของเขาสูงกว่าเรามาก

ส่วนการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ หรือขึ้นเงินเดือนข้าราชการ หรือการตรึงราคาสินค้านั้น ไม่ได้สามารถทำให้ความเป็นอยู่ดีขึ้นได้ในระยะยาว สิ่งเหล่านี้ทำให้ ตัวเลข เปลี่ยนไปเท่านั้น เงินเฟ้อจะปรับให้ทุกอย่างเหมือนเดิมในไม่ช้า สรุปแล้ว ไม่มีเวทย์มนต์ใดๆ ที่จะเสกชีวิตความเป็นอยู่ของเราให้ดีขึ้นได้ นอกจาก การทำงานให้มากขึ้นหรือทำงานให้ฉลาดขึ้นเท่านั้นเอง
http://1001ii.wordpress.com/
ellevoid
Verified User
โพสต์: 63
ผู้ติดตาม: 0

ทฤษฎีสองสูงของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์

โพสต์ที่ 52

โพสต์

พี่สุมาอี้ เขียน:0130: สองสูง

ปกติ แล้ว การเพิ่มเงินเดือนให้เมื่อเกิดภาวะข้าวยากหมากแพงจะไม่ช่วยแก้ปัญหา เพราะเงินมีมากขึ้นแต่ของมีเท่าเดิม ของจะยิ่งแพงขึ้นไปอีก สุดท้ายแล้ว กำลังซื้อจะยังคงเท่าเดิมอยู่ แต่ได้ภาวะเงินเฟ้อพ่วงมาด้วย ถ้ามองในมุมนี้ ดูเหมือนทฤษฏีสองสูงของเจ้าสัวธนินท์จะไม่ใช่ทางออกของปัญหาข้าวยากหมากแพง

แต่ผมเห็นด้วยกับแนวคิดนี้ เนื่องจากที่ผ่านมา ราคาสินค้าและค่าแรงของบ้านเราไม่ได้กำหนดด้วยกลไกตลาดแต่ถูกกดเอาไว้ให้ต่ำ กว่าความเป็นจริงมาตลอดเพราะเป็นนโยบาย ถึงเวลาแล้วที่เราจะปล่อยให้ทั้งราคาสินค้าและรายได้ของคน “ลอยตัว” ขึ้นตามความเป็นจริง ไม่ใช่กดเอาไว้เหมือนในอดีต การขึ้นเงินเดือนตามทฤษฏีสองสูงไม่ได้หมายถึงการแจกเงิน แต่หมายถึงการปล่อยให้เงินเดือนลอยตัวขึ้นตามความเป็นจริง

ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศของเราเริ่มทำเกษตรกันน้อยลงและหันมาเป็นผู้รับจ้างผลิต (OEMers) ในเวทีโลกมากขึ้น สินค้าที่ไทยส่งออกได้มากที่สุดทุกวันนี้คือ รับจ้างต่างประเทศผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ เรายังเป็นฐานการผลิตรถยนต์ส่งออกเป็นจำนวนมากอีกด้วย เราไม่ใช่ประเทศที่ทำเกษตรเป็นหลักเหมือนที่สอนไว้ในหนังสือสังคม สินค้าเกษตรในปัจจุบันมีสัดส่วนแค่เพียง 10% ของรายได้ประชาชาติเท่านั้นเอง

การจะเป็น OEMers ในเวทีโลกได้นั้น ค่าแรงจะต้องถูก ที่ผ่านมารัฐบาลจึงมีนโยบายกดค่าแรงมาโดย ตลอด เพื่อให้นักลงทุนต่างชาติเลือกที่จะมาผลิตสินค้าในประเทศไทยเพราะค่าแรง ต่ำ นอกจากนี้ เรายังใช้วิธีกดค่าเงินของเราให้ต่ำเกินความเป็นจริงอีกด้วย เพื่อให้สินค้าที่ผลิตออกจากประเทศไทยมีราคาต่ำเมื่อคิดเป็นเงินดอลล่า ร์ ต่างชาติจะได้อยากซื้อสินค้าที่มีฐานการผลิตในประเทศไทย

นโยบายแบบนี้ที่ผ่านมาไปได้สวย เพราะแม้ว่าเงินเดือนจะน้อย แต่ของก็มีราคาถูก คนในประเทศจึงไม่เดือดร้อนอะไร ในขณะเดียวกัน การจ้างงานก็มีมากเพราะต่างชาติมาลงทุนกันมากเพื่อเอาค่าแรงถูก ดูๆ ไปก็เป็นนโยบายที่ลงตัว แต่พอนานๆ เข้า ราคาสินค้าในประเทศอื่นๆ ในโลกซึ่งเขาไม่ได้ใช้นโยบายกดราคากันก็สูงขึ้นเรื่อยๆ จนเริ่มทิ้งห่างราคาสินค้าในบ้านเราไปอย่างมีนัยสำคัญ  บังเอิญว่าเราต้อง ซึ้อสินค้าหลายอย่างจากต่างประเทศเสียด้วย ทั้งน้ำมัน แร่เหล็ก รวมไปถึงสินค้าฟุ่มเฟือยต่างๆ ระดับราคาสินค้าและรายได้ในประเทศที่ต่ำกว่า ตลาดโลกมาก ทำให้คนไทยต้องซื้อสินค้าเหล่านั้นในราคาที่แพงมาก ในขณะเดียวกัน เรายังขายสินค้าของเราในราคาถูกๆ ให้กับโลกเหมือนเดิม

ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องเลิกกลยุทธ์กดราคา ขืนยังปล่อยให้ระดับรายได้และระดับราคาของไทยต่ำกว่าประเทศอื่นๆ เช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ คนไทยจะตายอย่างเขียดในที่สุด….

ผมเชื่อว่าถ้าเราปรับเงินเดือนให้คนในประเทศ เงินเฟ้อจะไม่เพิ่มขึ้นเท่าไรนัก เนื่องจากปัญหาเงินเฟ้อในปัจจุบันเป็นปัญหาที่มาจากภายนอกประเทศเป็นหลัก ตลาดในประเทศเองมีแต่ตัดราคากันรุนแรงมาก เงินจึงไม่ค่อยจะเฟ้ออยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ย่อมมีข้อเสียอยู่ด้วย นั่นคือ ต่อไปนี้ ประเทศไทยก็จะมีความน่าสนใจในฐานะของ OEMers ในเวทีโลกน้อยลง เพราะคนของเรามีราคาแพงขึ้น เราคงต้องปรับตัวโดยหันไปสร้างจุดเด่นอย่างอื่นขึ้นมาทดแทน แต่ผมก็คิดว่า เราก็มีทางเลือกอื่นอยู่ไม่น้อย ราคาสินค้าเกษตรกำลังเป็นขาขึ้นพอดี แต่ไหนแต่ไรมา เราคือประเทศเกษตรกรรมอยู่แล้ว ถ้าในอนาคตสาวโรงงานต้องหันกลับไปเป็นเกษตรกรกัน ผมก็คิดว่าไม่ใช่เรื่องเสียหาย เป็นเรื่องดีด้วยซ้ำ เพราะเกษตรกรรมคือ strength ที่แท้จริงของประเทศไทย

ไม่อยากให้มองว่าเจ้าสัวพูดเพื่อตัวเอง โลกธุรกิจไม่ใช่ zero sum game ไม่ใช่ว่าคนหนึ่งได้ประโยชน์อีกคนจะต้องเสียประโยชน์เสมอไป แม้ว่าเจ้าสัวจะ ได้ประโยชน์จากการปล่อยให้ราคาสินค้าเกษตรลอยตัว แต่ประเทศไทยโดยรวมก็ได้ประโยชน์ด้วยเช่นกัน (win-win) ไม่ต้องกลัวคนในประเทศซึ้อข้าวแพงแล้วจะลำบาก ลองดูประเทศอาหรับสิครับ เขาปล่อยให้ราคาน้ำมันซึ่งเป็นสินค้าของประเทศเขาเองลอยตัว แล้วมันทำให้คนในประเทศของเขารวยหรือว่าจนล่ะครับ แขกเขารู้จักทำราคาสินค้าของเขาให้แพงๆ ก็เลยรวยเอา รวยเอา แต่บ้านเราพยายามทำราคาสินค้าของเราให้ถูกๆ ได้เงินมาก็เอาซื้อของที่ราคา แพงๆ ก็เลยจนเอา จนเอา อยู่อย่างนี้แหละครับ
    http://1001ii.wordpress.com/

    ปล.
         อดีต : 40 ปีก่อนเราแข่งกับสิงคโปร์ มาเลฯ
         ปัจจุบัน : เราแข่งกับเวียดนาม
         อนาคต : เราแข่งกับพม่า ลาว เขมร รึเปล่าครับ?
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 1

ทฤษฎีสองสูงของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์

โพสต์ที่ 53

โพสต์

แนวคิดนี้น่าจะสะท้อนไปยังผู้ส่งออกด้วยนะครับ

เพราะชอบคิดให้ค่าเงินบาทอ่อนๆ  จะได้ขายสินค้าได้ง่ายๆ
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
สวนหย่อม
Verified User
โพสต์: 912
ผู้ติดตาม: 0

ทฤษฎีสองสูงของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์

โพสต์ที่ 54

โพสต์

:oops: ผมสรุปได้เลยหรือเปล่าครับ ว่าสองสูงคือ
ปล่อยราคาสินค้าเกษตร(สูงหนึ่ง) และค่าจ้างแรงงานให้ลอยตัว(สูงสอง) อย่าไปกดไว้

ส่วนเรื่องปฏิรูปการเกษตรนั้นคงเป็นส่วนประกอบอีกอย่าง ไม่ไ้ด้เป็นไอเดียของสองสูงโดยตรง :oops:

อยากขอความรู้พี่ริวเพิ่มครับ น้องยังอ่อนด้อย แต่อ่านของบทความของพี่สุมาอี้ แล้วเห็นว่าท่านพี่สุมาอี้เห็นด้วยกับสองสูง (บทความ 130)

ส่วนท่านพี่ริวบอกว่าท่านพี่สุมาอี้มีแนวคิดคล้ายกันกับพี่ริว
(ซึ่งไม่เห็นด้วยกับสองสูงเท่าใดนัก ยกเว้นปฏิรูปการเกษตร) จึงอยากให้ท่านพี่ริวช่วยขยายความว่ามีจุดไหนในสองสูงที่พี่ริวไม่เห็นด้วยครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ryuga
Verified User
โพสต์: 1771
ผู้ติดตาม: 0

ทฤษฎีสองสูงของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์

โพสต์ที่ 55

โพสต์

โอ ไม่ได้เข้าเว็บพี่สุมาอี้หลายวัน ตกข่าวนั่นเอง  :lol:  นั่นคือผมเข้าใจผิดไป แต่อย่างนี้ก็จะน่าสนุกมากทีเดียว เพราะผมมาพูดที่นี่ กระทู้กำลังคึกคักอยู่ดีๆ พอโพสแล้วเกิดเงียบไปเลย ไม่มีใครยกเหตุผลมาแย้งได้อย่างน่าสนใจเห็นเป็นรูปธรรมในสิ่งที่ผมกล่าวเลย แค่บอกเฉยๆ ว่าดี เห็นด้วย สนับสนุนเท่านั้น

เป็นรื่องดีมากๆ ทีเดียวที่ได้คุยเรื่องนี้ เผื่อพี่สุมาอี้กลับเข้าบอร์ดมาคุยด้วยอีก  :D

คิดถึงพี่สุมาอี้  :cry:  :cry:  :cry:  เดี๋ยวรอฟังต่อเลยครับพี่สวนหย่อม  :'O  :'O
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ryuga
Verified User
โพสต์: 1771
ผู้ติดตาม: 0

ทฤษฎีสองสูงของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์

โพสต์ที่ 56

โพสต์

ผมยกทฤษฎีปริมาณเงินมากล่าวในกระทู้พี่พอใจในห้องนั่งเล่น ดูรายละเอียดก่อนได้ครับถ้ายังไม่ได้ดู

http://www.thaivi.com/webboard/viewtopi ... 0&start=60
Irving Fisher เขียน:ปริมาณเงินในระบบ = (ปริมาณผลผลิต*ดัชนีราคาผลผลิต)/อัตราการใช้จ่ายหมุนเวียนเงินในระบบ
เงินเฟ้อถูกคำนวณจากการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคา หากเราเน้นที่เงินเฟ้อจะได้สมการว่า
ดัชนีราคาผลผลิต = (ปริมาณเงินในระบบ*อัตราการใช้จ่ายหมุนเวียนเงินในระบบ)/ปริมาณผลผลิต
ช่วงข้าวยากหมากแพงนี้ผู้คนสนใจเรื่องเศรษฐกิจเป็นพิเศษ วันนั้นฟังเฮีย ส. เรื่องเล่าเช้านี้ เฮียพชร ว่าเขาปรับเป้าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจใหม่ลดลงจากเดิม เฮีย ส. ก็เสริมทันทีว่า เราหวังว่าปีนี้สินค้าเกษตรจะมาช่วยหนุนเศรษฐกิจให้โต ผมฟังแล้วก็ขำ :lol: ของเท่าเดิมขายแพงขึ้นนั้นคือเงินเฟ้อ การที่ราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้นนั้น ตัวมันเองคือเงินเฟ้อ การคิดอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจนั้นเงินเฟ้อจะถูกตัดออก ในปีที่ผ่านมา ภาคเกษตร (แรงงาน 38% ของประชากรไทย) มีมูลค่า 11.4% ของ GDP รวม แต่หากคิดเป็น real GDP ภาคเกษตรมีสัดส่วนแค่ 8.8% เท่านั้น ถือว่าเป็นสัดส่วนที่ลดลงด้วยซ้ำเมื่อเทียบกับปีก่อนๆ

สินค้าเกษตรราคาแพงขึ้นเศรษฐกิจไม่ได้โตตามหรอก มันแค่ทำให้รายได้ของผู้ประกอบการภาคเกษตรสูงขึ้นเท่านั้น ผมก็ไม่แน่ใจว่าที่เฮียพชร ไม่แย้งเฮีย ส..นั้นเพราะไม่รู้จริงๆ หรือเพราะกลัวเฮียสรยุทธ์แกหน้าแตก สำหรับประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน ราคาน้ำมันจาก $25/barrel ไปเป็น $125/barrel นั้นไม่ได้หมายความว่าเศรษฐกิจเขาโตขึ้น 400% และหากราคาน้ำมันเกิดถอยมา $25/barrel อีกรอบก็ไม่ได้หมายความว่าเศรษฐกิจเขาหดตัว 80%

ยิ่งวันนั้นเห็นเจ้าสัวเป็นข่าวเรื่องสองสูงอีก ก็เป็นที่สะท้อนใจนัก ได้ฟังเจ้าสัวว่า รัฐบาลปล่อยให้ลอยตัว ลอยตัวราคาน้ำมัน ผู้คนชาวบ้านเดือดร้อนกันหมด ทีราคาสินค้าเกษตรละตรึงไว้ให้มันถูก ทำไมไม่ปล่อยลอยตัวบ้าง คนฟังก็เฮแล้วก็ปรบมืออีกต่างหาก
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ryuga
Verified User
โพสต์: 1771
ผู้ติดตาม: 0

ทฤษฎีสองสูงของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์

โพสต์ที่ 57

โพสต์

ถึงไทยเราจะผลิตน้ำมันได้มากกว่าบรูไนฯ แล้วแต่มันก็ยังไม่พอใช้ในประเทศ แต่ละปีเราต้องนำเข้าเชื้อเพลิงมหาศาล ลองไม่ลอยตัวสิ ได้ตาย__กันหมด แต่สินค้าเกษตรหลายชนิดเราผลิตได้มากเกินความต้องการ การบิดเบือนกลไกตลาดเพื่ออุ้มบริโภคจึงเกิดขึ้น ซึ่งก็ไม่ได้แตกต่างอะไรกับประเทศผู้ส่งออกน้ำมันที่ปกติก็บิดเบือนราคาน้ำมันในประเทศเพื่ออุ้มผู้บริโภคเหมือนกัน

การพูดความจริงด้านเดียวแบบนี้เป็นเรื่องที่ออกจะน่าเกลียดถ้าผู้พูดรู้ความจริงอยู่แล้วแต่จงใจพูดไม่ครบ

ขอให้ดูทฤษฎีปริมาณเงินที่ผมยกขึ้นมากล่าวในกระทู้พี่พอใจนั้น ทฤษฎีสองสูงของท่านเจ้าสัวไม่มีอะไรแปลกใหม่พิสดารเลย มันเป็นการเสนอให้ยกดัชนีราคาให้สูงขึ้นในด้านหนึ่ง และอีกด้านก็เพิ่มปริมาณเงินมาชดเชย วิธีมักง่ายแบบนี้จะนำพาประเทศชาติไปสู่ภาวะเงินเฟ้อสมบูรณ์แบบเพราะเศรษฐกิจไม่ได้โตไปไหน และผลผลิตก็ไม่ได้เพิ่มขึ้น เราแค่อุปโลกน์เงินปลอมๆ ขึ้นมาว่าเรารายได้สูงขึ้นในขณะเดียวกันรายจ่ายก็สูงในสัดส่วนเดียวกัน สุดท้ายก็ไม่เหลืออะไร

เงินเฟ้อถือเป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจ เพราะมันจะทำให้สินทรัพย์ทุกอย่างในสกุลเงินนั้นๆ ด้อยค่าลง ค่าเงินจะอ่อนลง กำลังซื้อของคนในประเทศก็จะลดลง (ดูเวียดนามตอนนี้เป็นตัวอย่างได้)

เงินนั้นเป็นแค่ตัวเลข เราสร้างมันขึ้นมาเพื่อใช้ซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการเท่านั้น ที่มันมีค่าอยู่ได้ก็เพราะมันมีสินค้าและบริการอยู่เบื้องหลัง (เงินทองเป็นมายา ข้าวปลาคือของจริง) ปริมาณเงินในระบบมากหรือน้อยจะแปรผันตรงกับผลผลิต เรื่องพวกนี้ในเศรษฐศาสตร์คลาสสิกพูดมาร้อยสองร้อยปีแล้ว

ค่าใช้จ่ายที่มากที่สุดของคนจนคือ ค่าอาหาร เงินเฟ้อคนจนที่กระทรวงพาณิชย์คำนวณนั้นถ่วงน้ำหนักอาหารมากเกือบครึ่งหนึ่ง แต่นั่นก็แค่ค่าเฉลี่ย คนจนมากกว่านั้นก็มี

การขึ้นราคาสินค้าอาหารให้แพงก็แค่เป็นการเอาเงินในกระเป๋าคนจน (สมาชิกส่วนใหญ่ของประเทศ) ย้ายไปเข้ากระเป๋าคนจนด้วยกันที่เป็นเกษตรกร และนายทุนภาคเกษตร เท่านั้น คนรวยไม่เดือดร้อนหรอกเรื่องอาหารแพง ขอให้พิจารณาดูว่าระหว่างเกษตรกร และนายทุนภาคเกษตร นั้น ใครมีอำนาจต่อรองสูงกว่ากัน

ราคาอาหารแพงมันจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดกลียุค ในสมัยโบราณเมื่อเกิดเหตุการณ์ข้าวยากหมากแพงมักเป็นชนวนเหตุให้เกิดกบฏล้มล้างการปกครองอยู่เสมอ สำหรับทุกๆ คนที่อยากให้ราคาอาหารแพง เขาควรมีความรู้สึกอะไรบ้างเมื่อได้ยินข่าวเด็กกำพร้าในสถานสงเคราะห์หลายแห่งอาจต้องอดอยาก พระเณรบางที่กำลังไม่มีข้าวจะฉัน
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ryuga
Verified User
โพสต์: 1771
ผู้ติดตาม: 0

ทฤษฎีสองสูงของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์

โพสต์ที่ 58

โพสต์

ประเด็นที่ท่านเจ้าสัวว่าอาหารคนจะต้องแพงกว่าอาหารเครื่องจักร

ผมแย้งง่ายๆ ด้วยถ้อยคำที่อาจจะฟังดูใจร้ายบ้าง นั่นคือ คนจำนวนมากบนโลกยังยากจน พวกเขาอาจมีรายได้ต่ำกว่าวันละ 1 เหรียญสหรัฐฯ นั่นเพราะเขายังสร้างผลผลิตได้ในปริมาณต่ำ เมื่อยังมีคนจำนวนมากสร้างผลผลิตได้ต่ำกว่าเครื่องจักร อาหารคนจะราคาถูกกว่าอาหารเครื่องจักรก็เป็นเรื่องสมเหตุสมผล

ประการนี้แก้ได้ด้วยการยกระดับการศึกษา คือการสร้างคนให้เก่ง (ไม่ใช่มองแต่จะดึงคนเก่ง) ถ้าคนจนบนโลกเราลดลงเรื่อยๆ กลไลตลาดจะทำให้ราคาอาหารจะสูงขึ้นเอง

ถ้าอยากฆ่าล้างเผ่าพันธุ์คนจนให้หมดโลก การทำให้อาหารมีราคาแพงก็เป็นเรื่องสมเหตุสมผลเหมือนกัน


ส่วนประเด็นที่ว่าน้ำมันแพงไม่เคยทำให้ราคาสินค้าเกษตรแพงนั้น

น้ำมันเป็นสินค้าจำเป็นในการดำรงชีวิตคนเรามานานแล้วเหมือนกัน เมื่อน้ำมันแพงก็จะไปทำให้ต้นทุนการดำเนินชีวิตสูงขึ้น สินค้าเกษตรก็มักขึ้นตามด้วยความเป็นโภคภัณฑ์เหมือนกัน พ่อค้าแม่ค้าก็ขึ้นราคาข้าวแกงกันเป็นเรื่องปกติ

ข้อมูลจากสำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เมื่อมิถุนายนปี 2541 หลังลอยตัวค่าเงินบาท เงินเฟ้อในไทยพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ที่ 10.6% แต่หมวดอาหารเฟ้อกว่าไปอยู่ที่ระดับ 13.6%

เมื่อ 28 ปีก่อน ราคาน้ำมันได้สูงที่สุดเป็นประวัติศาสตร์ (แต่ก็ถูกทำลายสถิติมาหลายเดือนแล้ว) ในเดือนพฤษภาคม ปี 2523 ไทยเราเงินเฟ้อวิ่งไปถึง 24.4%  แต่หมวดอาหารเว่อยิ่งกว่านั้นเพราะเงินเฟ้อวิ่งไปถึง 25.8%

ที่ว่าในอดีตน้ำมันแพงไม่เคยทำให้ราคาสินค้าเกษตรแพงนั้น ผมอยากรู้เหมือนกันว่าท่านเจ้าสัวเอาข้อมูลมาจากไหน
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ryuga
Verified User
โพสต์: 1771
ผู้ติดตาม: 0

ทฤษฎีสองสูงของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์

โพสต์ที่ 59

โพสต์

เพื่อให้เห็นภาพชัดเจน ผมจะเอาเรื่อง "สูงเดียว" มากล่าวเปรียบเทียบให้เห็นว่า มันดีเด่นวิเศษกว่า "สองสูง" อย่างไร
ดัชนีราคาผลผลิต = (ปริมาณเงินในระบบ*อัตราการใช้จ่ายหมุนเวียนเงินในระบบ)/ปริมาณผลผลิต
จากสมการ นำไปพิจารณาในประเทศที่ส่งออกน้ำมันเป็นสินค้าหลักได้ว่า ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่พุ่งสูงขึ้นหลายเท่าตัว ได้ทำให้รายได้ของประเทศเหล่านี้เพิ่มสูงขึ้นมากในขณะที่ปริมาณผลผลิตแทบจะไม่ต้องเปลี่ยนแปลง ปริมาณเงินในระบบของเขาจะเพิ่มขึ้น

เมื่อปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้น หากการจับจ่ายสอยยังคงอยู่ในระดับเดิม อัตราการใช้จ่ายหมุนเวียนเงินในระบบจะลดลงในสัดส่วนเดียวกันกับการเพิ่มขึ้นของปริมาณเงิน (เช่น จากเดิม รายได้ 100 ใช้ 80 อัตราการใช้จ่าย = 80% เมื่อรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 400 แต่ยังใช้จ่ายเท่าเดิมคือ 80 อัตราการใช้จ่ายจะ = 20%) แต่ในความเป็นจริง การมีรายได้มากขึ้นจะทำให้ผู้มีรายได้ใช้จ่ายมากขึ้นไปด้วย คนเรารวยขึ้นก็อยากไปเที่ยวจับจ่ายใช้สอย ซื้อของมากขึ้น กินของแพงขึ้น ฯลฯ ผลจากอุปสงค์สูงขึ้นนี้ จะผลักให้ดัชนีราคาสูงขึ้นซึ่งทำให้เกิดเงินเฟ้อ

เงินเฟ้อเป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจ การป้องกันเงินเฟ้อที่ดีที่สุดก็คือ การทำให้เศรษฐกิจขยายตัว ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นจะเป็นตัวช่วยทอนให้เงินเฟ้อลดลง

UAE เป็นประเทศที่ดำเนินนโยบายเช่นนี้ นี่เป็นวิสัยทัศน์อันยิ่งใหญ่และยาวไกลของผู้นำของเขาด้วยเล็งเห็นว่า สักวันหนึ่งทรัพยากรใต้ดินเหล่านี้จะต้องหมดลง การลงทุนขนาดใหญ่จึงเกิดขึ้นเพื่อสร้างเศรษฐกิจใหม่

เงินทุนมหาศาลจากการขายน้ำมัน ได้พลิกประเทศทะเลทรายแห้งแล้งให้กลายเป็นเมืองมหัศจรรย์ ระบบเศรษฐกิจใหม่โตขึ้นเรื่อยๆ จนเบียดสัดส่วนรายได้จากน้ำมันให้เล็กลงเรื่อยๆ ทุกวันนี้ UAE กลายเป็นศูนย์กลางการค้า การเงินการลงทุน การท่องเที่ยวสันทนาการ เกาะต้นปาล์ม เกาะแผนที่โลกยิ่งใหญ่อลังการ เป็นศูนย์กลางการขนส่ง การบิน Dubai World Central International Airport รองรับผู้โดยสารได้ตั้ง 120 ล้านคน/ปี ขนส่งสินค้าได้ 12 ล้านตัน/ปี สุวรรณภูมิชิดซ้าย ฯลฯ

การสร้างเศรษฐกิจใหม่ทำให้เกิดงานใหม่ๆ จำนวนมาก มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ระดับรายได้สูงขึ้น ผู้คนอยู่ดีกินดี ทั้งหมดมีจุดกำเนิดจาก "สูงเดียว" คือรายได้สูงขึ้นจากการส่งออกน้ำมัน (ได้เม็ดเงินใหม่เข้าประเทศ) ส่วนดัชนีราคาก็คุมไว้ระดับหนึ่งไม่ให้สูงเกินไปจนกระเทือนเสถียรภาพเศรษฐกิจ เม็ดเงินที่ได้นำไปลงทุนสร้างมูลค่าเพิ่มในประเทศ เศรษฐกิจที่เติบโต(ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น) จะช่วยทอนให้เงินเฟ้อลดลง


ประเทศไทยเรามีภาคการส่งออกที่ใหญ่อันเนื่องมาจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจตั้งแต่ฉบับเก่าๆ เราวางไว้แบบนี้ ดูเหมือนมูลค่าส่งออกจะสูงแต่มูลค่าการนำเข้าก็สูงเพราะต้องนำเข้าวัตถุดิบมาผลิต เราเพิ่งจะเกินดุลการค้ามาไม่นานมานี้ภายหลังการลอยตัวค่าเงินบาท เมื่อหนี้เสียเริ่มทยอยชำระสะสาง เม็ดเงินมหาศาลก็เริ่มไหลกลับเข้าประเทศจนทำให้เราเฟื่องฟูขึ้นมาได้อีกครั้ง

เรามาบูมที่สุดตอนปี 46 ที่มีประชุม APEC เฮียเหลี่ยมได้หน้าไปมากมายจากเศรษฐกิจที่โตถึง 7.1% ประชาชนเชียร์เฮียเหลี่ยมสุดลิ่มทิ่มประตู

ทุกอย่างมาจบสิ้นเมื่อราคาน้ำมันสูงขึ้น การที่เราจะชดเชยผลการนำเข้าจำนวนมหาศาลในสินค้าเชื้อเพลิงเราก็ต้องส่งออกต้าน แต่โครงสร้างอุตสาหกรรมของเราใช้เชื้อเพลิงในปริมาณสูงเมื่อเทียบกับราคาขาย ช่วงหลังที่ราคาน้ำมันยังพุ่งไม่หยุดจึงเริ่มแป๊ก ตอนนี้เงินเริ่มไหลออกจากไทยแล้วจากการขาดดุลการค้า

น้ำมันแพงกดดันให้เงินเฟ้อสูง (ดัชนีราคาสูงขึ้น) เศรษฐกิจเราขยายตัวไปเรื่อยๆ ในอัตราหนึ่งอยู่แต่มันไม่ทันเงินเฟ้อ การบริโภคจับจ่ายใช้สอยของประชาชนจะลดลงระดับหนึ่งมีผลลดเงินเฟ้อได้บ้าง แต่ท้ายที่สุดเพื่อให้สมการสมดุล เงินเดือนจึงต้องขึ้น เพราะเงินเฟ้อปรากฏแล้วในระบบ เงินมันลดมูลค่าลงไปแล้ว เงินมูลค่าเท่าเดิมจึงมีตัวเลขมากขึ้น การขึ้นเงินเดือนจึงต้องตามมา แล้วผลสุดท้ายค่าเงินบาทก็จะลดลง


นี่เป็นสองสูงแบบไทยๆ สูงทั้งดัชนีราคา (รายจ่ายสูง) และเงินเดือนที่ปรับขึ้นชดเชย (รายรับสูง) เม็ดเงินใหม่ที่จะไหลเข้ามาสร้างความั่งคั่งในประเทศไม่มี ผลลัพธ์สุดท้ายก็เสมอตัว การฝืนขึ้นเงินเดือนให้มากกว่าเงินเฟ้อจะยิ่งซ้ำเติมให้เงินมันเฟ้อหนักเข้าไปอีก

เทียบกันกับ UAE ที่ได้เม็ดเงินใหม่ๆ ไหลเข้าประเทศตลอดเวลา ยิ่งน้ำมันแพงยิ่งได้เงินมาก (รายรับสูง) รายได้สูงขึ้นถูกใช้ในการลงทุนเพื่อขยายเศรษฐกิจ รายได้ของเขาจึงยิ่งสูงขึ้นไปอีก ในขณะที่ดัชนีราคา (รายจ่าย) สูงไม่ทัน ดัชนีราคาสูงขึ้นเป็นผลจากรายรับที่สูงขึ้นของเขา ทั้งหมดมาจากรายรับสูงก่อน (จากเงินข้างนอก ไม่ได้มาจากการรีดเลือดกับปู ขายสินค้าแพงๆ ให้คนในประเทศ)
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ryuga
Verified User
โพสต์: 1771
ผู้ติดตาม: 0

ทฤษฎีสองสูงของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์

โพสต์ที่ 60

โพสต์

ปีที่แล้ว เรามีผลผลิตในภาคเกษตร 9.67 แสนล้านบาท จากข้อมูลของกรมศุลกากร เราส่งออก 4.95 แสนล้านบาท (51.2% ของปริมาณผลผลิต) สูงกว่ามูลค่าการส่งออกของปี 49 ที่ 4.75 แสนล้านบาท 4.2% ในปริมาณการส่งออกทั้งหมด เป็นข้าว 1.19 แสนล้านบาท ยาง 1.94 แสนล้านบาท แต่เรานำเข้า 1.40 แสนล้านบาท ส่งออกสุทธิจึงเท่ากับ 3.55 แสนล้านบาท

ส่งออกสุทธิแค่ 3.55 แสนล้านบาท

เมื่อคิดเทียบกับ GDP ของประเทศเราที่ 8.49 ล้านล้านบาท ตัวเลขของภาคเกษตรทั้งหมดก็จิ๊บๆ มาก หักต้นทุนแล้วจะเหลือสักเท่าไหร่ ได้เงินปริมาณจิ๊บๆ แค่นี้เข้าประเทศแล้วจะเอาปัญญาที่ไหนไปขึ้นเงินเดือนทั้งระบบ

เงินในระบบของคนจนนั้นเป็นส่วนน้อย แต่ต้องจ่ายในสัดส่วนที่สูงกับอาหาร ในขณะที่อาหารเป็นเพียงสัดส่วนเล็กๆ ในรายได้ประชาชาติ การขึ้นราคาอาหารให้แพงแล้วขึ้นเงินเดือนทั้งระบบตามมันจึงไม่สมดุลเพราะเม็ดเงินมันไม่พอ

ท่านเจ้าสัวว่าไม่พอก็กู้มา

ผมอยากจะเรียนว่านั่นเป็นแนวคิดที่มักง่าย ถ้าเราเชื่อในหลวงเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเราก็ไม่ควรทำอะไรเกินตัวเช่นนี้

ต้องแยกกันนะครับ เรื่องปฏิรูปการเกษตร เพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้นนั้น ผมเห็นด้วยกับท่านเจ้าสัว มันเป็นการสร้างการเติบโตที่แท้จริงแต่มันไม่จำเป็นต้องไปเกี่ยวอะไรกับสองสูงเพียงแต่ราคาที่ยืนระดับสูงจะเป็นแรงผลักดันให้เรื่องมันง่ายขึ้น

ท่านเจ้าสัวขายฝันไว้ได้เงินมากี่ล้านๆ ก็แล้วแต่ ท่านคิดจากการคูณผลผลิตที่เพิ่มขึ้นกับราคาเป้าหมาย ซึ่งการเพิ่มผลผลิตนั้นกล่าวอีกครั้งว่ามันเป็นการเติบโตที่แท้จริงและไม่จำเป็นต้องเกี่ยวอะไรกับสองสูง

ข้อเท็จจริงคือภาคเกษตรนั้นโตช้ามาก อัตราการเติบโตปีต่อปีก็อาจผันผวนจากสภาพลมฟ้าอากาศเป็นบวกบ้างลบบ้าง ท่านเจ้าสัวขายฝันออกมา แล้วเรามานั่งฝันลมๆ แล้งๆ กันต่อแล้วจะได้อะไร

จากข้อมูลของ NESDB (National Economic and Social Development Board) ตลอด 14 ปีที่ผ่านมา ผลผลิตในภาคเกษตรของไทยโตขึ้น 2.79% ในอัตราทบต้นต่อปี ซึ่งต่ำกว่าการเติบโตของผลผลิตนอกภาคเกษตรที่โตขึ้น 4.06% ในอัตราทบต้นต่อปี

ด้วยเงินปริมาณแค่นี้ ด้วยการเติบโตในอัตราแค่นี้ใช่ไหมที่เชื่อกันว่ามันจะนำพาประเทศชาติเราให้ร่ำรวยมั่งคั่ง

พื้นที่ประเทศไทย 320 ล้านไร่ 40% เป็นพื้นที่เกษตรอยู่แล้ว แล้วเราก็ได้ผลผลิตในปริมาณเท่าที่เป็นอยู่ เพื่อให้แนวคิดเป็นจริง ได้เงินเข้าประเทศมากขึ้น เราต้องถางป่าอันน้อยนิดทิ้งเพื่อเพิ่มพื้นเกษตรอีกรึไม่