ไม่ทราบว่าตั้งใจจะให้อยู่ในกลุ่มทดแทนได้ หรือทดแทนไม่ได้โดยเด็ดขาดไม่งั้นตายyaforyou เขียน:เมียหลวง --> เมียน้อย
สิ่งที่มาแทนที่กันอย่างสมบูรณ์
-
- Verified User
- โพสต์: 149
- ผู้ติดตาม: 0
สิ่งที่มาแทนที่กันอย่างสมบูรณ์
โพสต์ที่ 32
จริงๆผมอยากให้เรามาทายสิ่งที่กะลังจะมา และสิ่งที่กะลังจะจากไปในอนาคตอันใกล้ด้วยนะครับเนี่ย
อาจจะไม่ต้องเป็นสิ่ง แต่เป็นกิจกรรมก็ได้
เช่นเวียดนาม หรือ จีน อาจจะทำอะไร ที่ไทยต้องเลิกทำเพราะสู้ไม่ได้เป็นต้น
กลายเป็นกระทู้อนิจจังไปเลย
อาจจะไม่ต้องเป็นสิ่ง แต่เป็นกิจกรรมก็ได้
เช่นเวียดนาม หรือ จีน อาจจะทำอะไร ที่ไทยต้องเลิกทำเพราะสู้ไม่ได้เป็นต้น
กลายเป็นกระทู้อนิจจังไปเลย
-
- Verified User
- โพสต์: 1288
- ผู้ติดตาม: 0
สิ่งที่มาแทนที่กันอย่างสมบูรณ์
โพสต์ที่ 33
ที่จะมา คือ เทรนการโฆษณาผ่านเนตในไทยครับ กินสัดส่วน โฆษณาทางอื่นขึ้นเรื่อยๆwr เขียน:จริงๆผมอยากให้เรามาทายสิ่งที่กะลังจะมา และสิ่งที่กะลังจะจากไปในอนาคตอันใกล้ด้วยนะครับเนี่ย
อาจจะไม่ต้องเป็นสิ่ง แต่เป็นกิจกรรมก็ได้
เช่นเวียดนาม หรือ จีน อาจจะทำอะไร ที่ไทยต้องเลิกทำเพราะสู้ไม่ได้เป็นต้น
กลายเป็นกระทู้อนิจจังไปเลย
ที่จะจากไป ผมยกให้ รถรุ่นเก่าๆ เพราะเติม พวก E20 คงไม่ได้ (หรือเปล่า)
ซึ่งผมดีใจ เพราะยิ่งผสมน้ำมันจากพืชมาก มลพิษยิ่งต่ำครับ ใช้รถยิ่งเก่า มลพิษยิ่งเยอะ
^
"เมื่อคุณเริ่มทำสิ่งที่รักแล้ว วันต่อๆไปก็จะไม่ใช่การทำงาน"..Brian Tracy
state exact goal/then analyze what fail the goal/then act/if you don't start/dream still be a dream
หุ้นไม่ใช่แค่เศษกระดาษ มันมีคนทำงานจริง
"เมื่อคุณเริ่มทำสิ่งที่รักแล้ว วันต่อๆไปก็จะไม่ใช่การทำงาน"..Brian Tracy
state exact goal/then analyze what fail the goal/then act/if you don't start/dream still be a dream
หุ้นไม่ใช่แค่เศษกระดาษ มันมีคนทำงานจริง
-
- Verified User
- โพสต์: 149
- ผู้ติดตาม: 0
สิ่งที่มาแทนที่กันอย่างสมบูรณ์
โพสต์ที่ 34
ครับ ผมนี่ไม่กล้าลงทุนในกิจการสื่อเมนสตรีมปัจจุบันเลย
เนื่องจากจะถูกเฉือนตลาดไปเรื่อยๆ
ธุรกิจสื่อบีโลว์เดอะไลน์ก็ชิงไปเยอะแล้ว เอเยนซี่บ่นอู้เลยเพราะไม่ถนัด
สื่อออนไลน์คงมาแทนที่ได้แน่ เพียงแต่ใช้เวลาแค่ไหน
ใครมีเนื้อหาคอนเท้นท์ดึงดูดน่าจะได้เปรียบ
ไม่เหมือนค้าปลีก ที่ฝ่ายช่องทางเช่นห้าง จะได้เปรียบเหนือคอนเท้นท์คือสินค้าอยู่ตอนนี้
ส่วนรถรุ่นเก่านี่ ผมกะลังเอาจากัวร์โบราณบอดี้ 60 ไปเปลี่ยนเป็นเครื่องญี่ปุ่น
เพราะสตาร์ทบรึมทีมีเสียงสะอื้นเสียดายน้ำมันตามมาด้วย
เลยคิดว่าพวกผลิตเครื่องเพื่อนำไปเปลี่ยนในรถเก่าน่าจะมาครับ
ประเทศไทยจะมีเอี่ยวมั้ยเนี่ย
แต่ผมก็ลองลงทุนกับกลุ่มยานยนต์เพิ่มขึ้นละ
เนื่องจากจะถูกเฉือนตลาดไปเรื่อยๆ
ธุรกิจสื่อบีโลว์เดอะไลน์ก็ชิงไปเยอะแล้ว เอเยนซี่บ่นอู้เลยเพราะไม่ถนัด
สื่อออนไลน์คงมาแทนที่ได้แน่ เพียงแต่ใช้เวลาแค่ไหน
ใครมีเนื้อหาคอนเท้นท์ดึงดูดน่าจะได้เปรียบ
ไม่เหมือนค้าปลีก ที่ฝ่ายช่องทางเช่นห้าง จะได้เปรียบเหนือคอนเท้นท์คือสินค้าอยู่ตอนนี้
ส่วนรถรุ่นเก่านี่ ผมกะลังเอาจากัวร์โบราณบอดี้ 60 ไปเปลี่ยนเป็นเครื่องญี่ปุ่น
เพราะสตาร์ทบรึมทีมีเสียงสะอื้นเสียดายน้ำมันตามมาด้วย
เลยคิดว่าพวกผลิตเครื่องเพื่อนำไปเปลี่ยนในรถเก่าน่าจะมาครับ
ประเทศไทยจะมีเอี่ยวมั้ยเนี่ย
แต่ผมก็ลองลงทุนกับกลุ่มยานยนต์เพิ่มขึ้นละ
-
- Verified User
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
สิ่งที่มาแทนที่กันอย่างสมบูรณ์
โพสต์ที่ 35
1.พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก-->ตะทางทิศตะวันตก อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน
2.คนรุ่นใหม่เกิดขึ้น-->แทนคนรุ่นเก่า รุ่นแล้วรุ่นเล่า
3.เครื่องยนต์ดีเซลเครื่องแรกใช้น้ำมันถั่วลิสง-->ปรับเครื่องยนต์ให้สามารถใช้น้ำมันดีเซลได้-->เริ่มปรับมาใช้ไบโอดีเซล--> :idea:
4.สูงสุด-->กลับสู่สามัญ
5.พระพุทธเจ้าตรัส ทุกสิ่งในโลกล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)
2.คนรุ่นใหม่เกิดขึ้น-->แทนคนรุ่นเก่า รุ่นแล้วรุ่นเล่า
3.เครื่องยนต์ดีเซลเครื่องแรกใช้น้ำมันถั่วลิสง-->ปรับเครื่องยนต์ให้สามารถใช้น้ำมันดีเซลได้-->เริ่มปรับมาใช้ไบโอดีเซล--> :idea:
4.สูงสุด-->กลับสู่สามัญ
5.พระพุทธเจ้าตรัส ทุกสิ่งในโลกล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)
-
- Verified User
- โพสต์: 1598
- ผู้ติดตาม: 0
สิ่งที่มาแทนที่กันอย่างสมบูรณ์
โพสต์ที่ 36
[quote="Sittipan.tvi"]3.เครื่องยนต์ดีเซลเครื่องแรกใช้น้ำมันถั่วลิสง-->ปรับเครื่องยนต์ให้สามารถใช้น้ำมันดีเซลได้-->เริ่มปรับมาใช้ไบโอดีเซล-->
อย่ามัวติดกับเรื่องในอดีต กังวลกับเรื่องในอนาคต จนลืมว่าปัจจุบันต้องทำอะไร
-
- Verified User
- โพสต์: 1558
- ผู้ติดตาม: 0
สิ่งที่มาแทนที่กันอย่างสมบูรณ์
โพสต์ที่ 38
ทำไมถึงไม่ได้ละครับ ผมคิดว่าพริ้นท์ E-Book ออกมาก็เป็น Hard Copy แล้วMonet เขียน:สิ่งที่น่าจะถูกแทนที่ 100% ในอนาคตอันใกล้
ทำคลอดโดยหมอตำแย เป็น ทำคลอดโดยแพทย์ปัจจุบัน
สิ่งที่ไม่น่าจะถูกแทนที่หมดได้
หนังสือแบบ Hard Copy ซึ่ง E-Book ไม่สามารถแทนที่ได้
- tattoo_thai
- Verified User
- โพสต์: 291
- ผู้ติดตาม: 0
สิ่งที่มาแทนที่กันอย่างสมบูรณ์
โพสต์ที่ 39
อีกหนึ่งเทคโนโลยีที่กำลังจะหายไป
ปิดตำนานโทรเลขไทย "มั่น" เชิญปชช.ร่วมส่งอำลา 24-30 เม.ย.นี้
รมว.ไอซีทีย้ำปิดให้บริการโทรเลขแน่นอน 1 พ.ค.นี้ ชี้ไม่คุ้มค่าใช้จ่ายเดือนละ 25 ล้านบาท แต่มีรายได้แค่เดือนละ 1 ล้าน ระบุผู้ใช้บริการปัจจุบัน ส่วนใหญ่ต้องการแค่ใบทวงหนี้ เพื่อเป็นหลักฐานในการฟ้องร้อง พร้อมเชิญชวนร่วมส่งโทรเลขฟรี เพื่ออำลา 24-30 เม.ย.นี้
นายมั่น พัธโนทัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยในรายการ "สังคมพิพากษ์" ทางวิทยุเอฟเอ็ม 100.5 เมกะเฮิรตซ์ เมื่อวันที่ 20 เม.ย.นี้ ถึงกรณีการยกเลิกให้บริการโทรเลขวันที่ 1 พ.ค.นี้ ยืนยันว่ายกเลิกแน่นอน เพราะปัจจุบันแทบจะไม่มีผู้ใช้บริการ ที่ยังเหลืออยู่บ้างเป็นการส่งโทรเลขเพื่อทวงหนี้ ในอดีตยังมีโทรเลขข้อความ แสดงความยินดี-ธุระด่วน-แสดงความเสียใจ แต่ปัจจุบันมีเครื่องมือสื่อสารอื่นที่รวดเร็วกว่ามาแทนแล้ว
นอกจากนี้ รายได้จากบริการโทรเลขมีเพียง 1 ล้านบาทต่อปีเท่านั้น ขณะที่การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท) ต้องจ่ายค่าจ้างให้บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด เป็นผู้ส่งให้เดือนละ 25 ล้านบาท กับจำนวนพนักงานกว่า 1,000 คน ซึ่งทยอยเกษียณอายุราชการและโอนย้ายไปทำงานอื่นของไปรษณีย์บ้าง จะเหลือพนักงานที่ทำด้านโทรเลขน้อยมาก
"ตัวเลขรายได้น้อยมาก ดูแล้วไม่มีพื้นที่จำเป็นยังต้องใช้โทรเลข มือถือมีกันทั่วไปแล้ว ดังนั้น แทบจะไม่มีประโยชน์อะไรในการดำเนินการ ไม่ได้พูดในแง่คุ้มหรือไม่คุ้มอย่างเดียว ถ้าจำเป็นต้องบริการถึงที่ไหนก็ต้องทำ แต่ปัจจุบันไม่มีคนใช้เลย จะมีรายได้อย่างเดียวที่ยังใช้อยู่ 80-90% เป็นเรื่องใบส่งทวงหนี้เพราะต้องการให้เป็นหลักฐาน มีตราของบริษัทไปรษณีย์ ประทับอยู่ การยกเลิกโทรเลขก็เป็นไปตามอายุขัยของเทคโนโลยี แต่พวกเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ส่งโทรเลขจะได้เก็บทำเป็นพิพิธภัณฑ์ต่อไป"
นายมั่น กล่าวว่า สำหรับการรับส่งจดหมายยังมีต่อไป แม้ปัจจุบันจะใช้อินเทอร์เน็ตกันมากและส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ก็ตาม แต่คนยังมีอินเทอร์เน็ตใช้น้อยอยู่ คือประมาณ 17-18% ของคนไทยเท่านั้น อย่างไรก็ตาม การสื่อสารในชีวิตคนจะคำนึงถึงความเร็วเป็นสิ่งสำคัญ ทุกอย่างจึงต้องปรับตัว และอนาคตจะใช้กระดาษน้อยที่สุด
นายมั่น ยังกล่าวเชิญชวนด้วยว่า เพื่อเป็นการส่งท้ายอำลาอาลัยการใช้โทรเลขก่อนจะปิดตัวลง บริษัทไปรษณีย์ไทย จะเปิดไปรษณีย์กลางทั่วประเทศให้บริการฟรีส่งโทรเลขไว้เป็นที่ระลึก ระหว่างวันที่ 24-30 เม.ย.นี้ โดยจะเปิดถึงเวลา 20.00 น. และหากนับการก่อตั้งกรมไปรษณีย์โทรเลขจะมีอายุครบ 125 ปีในเดือน ส.ค.นี้
Source:
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000046193
-
- Verified User
- โพสต์: 1598
- ผู้ติดตาม: 0
สิ่งที่มาแทนที่กันอย่างสมบูรณ์
โพสต์ที่ 41
[quote="สามัญชน"]กะลามะพร้าว
อย่ามัวติดกับเรื่องในอดีต กังวลกับเรื่องในอนาคต จนลืมว่าปัจจุบันต้องทำอะไร
-
- Verified User
- โพสต์: 104
- ผู้ติดตาม: 0
สิ่งที่มาแทนที่กันอย่างสมบูรณ์
โพสต์ที่ 42
ถ่านหิน - น้ำมัน - ก็วซธรรมชาติ - นิวเคลียร์, พลังงานแสงอาทิตย์ แล้วก็กลับมาถ่านหิน :lol:
-
- Verified User
- โพสต์: 149
- ผู้ติดตาม: 0
สิ่งที่มาแทนที่กันอย่างสมบูรณ์
โพสต์ที่ 43
อีกหน่อยไปรษณีย์คงหมายถึงแค่การส่งพัสดุมั้งครับ จดหมายคงประสบชะตากรรมเดียวกับโทรเลข
นี่ก็ทดลองไปส่งโทรเลขเป็นที่ระลึก ยังไม่เห็นใครได้รับเมสเสจ ทั้งสำนักงานมีหัวหน้าวัยเกือบ 50 ส่งเป็นอยู่คนเดียว
เพื่อนๆว่า แฟลชไดรว์ จะมา และฮาร์ดดิสก์จะไปรึเปล่าครับ และหุ้นบริษัทอีเล็คฯ ไหนจะได้รับผลกระทบบ้าง
นี่ก็ทดลองไปส่งโทรเลขเป็นที่ระลึก ยังไม่เห็นใครได้รับเมสเสจ ทั้งสำนักงานมีหัวหน้าวัยเกือบ 50 ส่งเป็นอยู่คนเดียว
เพื่อนๆว่า แฟลชไดรว์ จะมา และฮาร์ดดิสก์จะไปรึเปล่าครับ และหุ้นบริษัทอีเล็คฯ ไหนจะได้รับผลกระทบบ้าง
-
- Verified User
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
สิ่งที่มาแทนที่กันอย่างสมบูรณ์
โพสต์ที่ 44
2 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 10:42:00
"โทรเลขไทย" บันทึกไว้ในความทรงจำ
จากปี 2412 ไทยอนุมัติให้ชาวอังกฤษ 2 นาย จัดตั้งบริษัทก่อสร้าง และบำรุงรักษาทางโทรเลขภายในราชอาณาจักรตามคำเสนอขอ แต่การดำเนินการของบุคคลทั้งสองล้มเหลว กระทั่งรัฐบาลต้องนำมาดำเนินการเอง เริ่มจากกรมกลาโหม สู่กรมโทรเลข
กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : จากวันนั้น ถึงวันนี้ ปี 2551 ....133 ปี โทรเลขไทยปิดตำนานลงแล้วอย่างถาวร
ความทรงจำครั้งหนึ่ง
"รู้สึกเสียดาย และใจหายที่จะไม่มีโทรเลขแล้ว ลุงอยู่กับโทรเลขมาทั้งหมด 35 ปี ตอนนี้ลุงอายุ 76 แล้ว อยู่ไปรษณีย์ไทยประจำจังหวัดสุพรรณบุรีมาร่วม 30 ปี ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นคนส่งไปรษณีย์ และโทรเลขตามบ้าน แต่ก่อนนู้นคนส่งโทรเลขกันเยอะ ลุงส่งต่อวันร่วม 100 ฉบับ แต่ตอนนี้ลุงเกษียณแล้ว แต่ก็ยังเก็บชุดบุรุษไปรษณีย์ไว้ครบ เสียดาย แต่ก็อย่างว่าสมัยนี้มันมีอย่างอื่นที่เร็วกว่าโทรเลข"
"ลุงพลาย อ่ำคำ" ในชุดบุรุษไปรษณีย์เต็มยศ เล่าที่งานอำลาโทรเลขครั้งสุดท้าย เมื่อ 30 เม.ย. 2551 ณ ไปรษณีย์กลาง บางรัก หลังจากยืนหน้าเปื้อนยิ้มให้ช่างภาพรัวชัตเตอร์
ลุงพลายเดินทางจากสุพรรณบุรีมาร่วมงานนี้โดยเฉพาะ เล่าว่า เริ่มต้นทำงานด้วยเงินเดือนประจำตำแหน่ง 450 บาท แต่ละวันต้องขี่จักรยานคู่ใจไปส่งจดหมาย และโทรเลขตามบ้านเป็นระยะทางไม่ต่ำกว่า 20 กิโลเมตร
ลุงบอกว่าไม่เหนื่อย แต่รู้สึกสนุกเพราะเป็นหน้าที่ เพราะรู้ว่าในจดหมาย หรือโทรเลขฉบับนั้นๆ ต้องเป็นเรื่องสำคัญ และเร่งด่วนที่ผู้รับรอคอยอยู่
"แต่ก่อนนี้ไม่มีอะไรที่เร็วเท่าโทรเลขแล้ว เร็วที่สุด แต่วันนี้โทรเลขมันช้าแล้ว เพราะมีอย่างอื่นที่เร็วกว่า" ลุงเล่าด้วยสีหน้ายิ้มๆ พร้อมทั้งขอตัวไปถ่ายรูปต่อกับผู้คนที่หลั่งไหลมาร่วมส่งโทรเลขเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนที่บริการนี้จะปิดฉากลง...
จากบูมสุดขีดสู่ความนิยมลด
นายสมพล จันทรประเสริฐ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานร่วมกิจการ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด เล่าว่า โทรเลขบูมสุดขีดระหว่างปี 2528-2529 เมื่อมีคนใช้บริการโทรเลขกันมากแบบเป็นประวัติการณ์ ปี 2528 สูงถึงมีคนใช้บริการโทรเลขถึง 8 ล้านฉบับต่อปี แต่ถึงปี 2550 ความนิยมลดเหลือเพียง 5-6 แสนฉบับต่อปี โดยในจำนวนนี้ กลุ่มที่ใช้ประจำเป็นธนาคาร บัตรเครดิต ที่ใช้แจ้งให้ชำระหนี้ มีแค่ 1% เท่านั้นที่เป็นคนทั่วไป
"ช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา รายได้จากโทรเลขในกลุ่มของธนาคาร ต่อเดือนประมาณ 5 แสนกว่าบาท รายได้การส่งโทรเลขของคนทั่วไปต่อเดือนมีแค่ 1 หมื่นกว่าบาทเท่านั้น มันน้อยมาก ก็เป็นเหตุผลสำคัญว่าทำไมเราต้องเลิก ขณะที่เราเองก็จะต้องว่าจ้างให้ไปรษณีย์เป็นคนจัดการดูแลปีละ 300 ล้านบาท"
ณ วันนี้ ยอดผู้ใช้บริการโทรเลขลดลงจนเกือบหมด หรือประมาณเดือนละ 100 ฉบับ คิดเป็นรายได้แค่ 5,000 บาทต่อเดือน แต่มีต้นทุนมากกว่า 25 ล้านบาท ทำให้ไม่สามารถแข่งขันทางธุรกิจได้
นายสมพล บอกว่า วันนี้ได้โอนย้ายพนักงานส่วนของโทรเลขไปดูแลบริการอื่นของไปรษณีย์ ซึ่งเป็นการเตรียมการมาเมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว จึงไม่มีปัญหาเรื่องการบริหารจัดการ
"มันเป็นสัจธรรม เกิด แก่ เจ็บ ตาย โทรเลขพอเกิดขึ้นมาเป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสาร คนให้ความนิยมกันมาก จากนั้นเมื่อมีเทคโนโลยีอื่นๆ เข้ามาและเร็วกว่า ความนิยมมันก็ลดน้อยลง จนท้ายที่สุดไม่มีคนใช้ แต่ก็ถือว่าคนไทยเราคุ้นเคย และผูกพันกับวิธีการติดต่อสื่อสารแบบโทรเลขมานาน ผมว่าถัดจากนี้บริการที่กำลังจะหายไปอีกก็คือ เทเล็กซ์ (TELEX)"
บันทึกหน้าประวัติศาสตร์
นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด เล่าว่า ตลอดสัปดาห์อำลาโทรเลขไทยตั้งแต่วันที่ 24-30 เม.ย.ที่ผ่านมา มีประชาชนสนใจใช้บริการโทรเลข ณ ที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง มียอดรวมการส่งโทรเลขไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นฉบับ ซึ่งยังไม่ใช่ยอดรวมของวันสุดท้าย ที่ประเมินจากสายตาคาดว่า การส่งโทรเลขน่าจะขึ้นไปถึงหลักแสนได้แบบไม่ต้องลุ้น
ส่วนใหญ่เป็นการส่งข้อความถึงตัวเอง ครอบครัว และคนรัก เพื่อเก็บไว้เป็นที่ระลึกครั้งสุดท้าย และมียอดสั่งจองโทรเลขที่ระลึกฉบับสุดท้าย กว่า 2 หมื่นฉบับ
"ผมว่ามันก็เป็นไปตามยุค ตามสมัยเพราะวันนี้มีเทคโนโลยีหลายอย่างที่มีความรวดเร็ว สะดวกมากกว่าโทรเลข แต่สิ่งหนึ่งต้องยอมรับว่า โทรเลขเป็นเครื่องมือการติดต่อสื่อสารของคนไทยมาช้านาน งานอำลาโทรเลขครั้งสุดท้ายที่เราจัดขึ้น ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญอีกครั้งหนึ่งที่เราต้องบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ของการสื่อสารไทย" นายออมสิน กล่าว
++++++++++++++++++
ถ้าเกินตัดตั้งแต่ตรงนี้เป็นต้นไป
++++++++++++++++++
ย้อนความทรงจำ"โทรเลข"
โทรเลข (Telegraph Service) คือ ระบบโทรคมนาคม ซึ่งใช้อุปกรณ์ทางไฟฟ้าทำหน้าที่ส่งข้อความจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เดิมส่งโดยอาศัยสายตัวนำที่โยงติดต่อถึงกัน และอาศัยอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสำคัญ แต่ระยะหลังมีการใช้วิธีส่งไร้สาย หรือที่รู้จักกันในชื่อ "วิทยุโทรเลข"
หลักการทำงาน เครื่องส่ง และเครื่องรับโทรเลข ทำงานด้วยคันเคาะของเครื่องส่งให้วงจรไฟฟ้าปิด จากนั้นกระแสไฟจะไหลเข้าไปในขดลวดของเครื่องรับ ทำให้ขดลวดของเครื่องรับเกิดสนามแม่เหล็ก และดูดแผ่นเหล็กมากระทบแกนเหล็ก ทำให้เกิดเสียงที่มีจังหวะเดียวกับคันเคาะ ซึ่งการเปิด-ปิด วงจรนี้ทำให้เกิดเสียงเป็นสัญญาณโทรเลข แล้วจึงแปลงสัญญาณโทรเลขให้เป็นข้อความ โดยมีการกำหนดรหัสโทรเลขไว้ 2 ลักษณะ คือ เคาะแล้วกดไว้ (กดยาว) กับเคาะแล้วปล่อย (กดสั้น) ซึ่งแทนด้วย - กับ . (ขีดกับจุด) เรียกรหัสที่ใช้ส่งโทรเลขว่ารหัส "มอร์ส"
http://www.bangkokbiznews.com/
"โทรเลขไทย" บันทึกไว้ในความทรงจำ
จากปี 2412 ไทยอนุมัติให้ชาวอังกฤษ 2 นาย จัดตั้งบริษัทก่อสร้าง และบำรุงรักษาทางโทรเลขภายในราชอาณาจักรตามคำเสนอขอ แต่การดำเนินการของบุคคลทั้งสองล้มเหลว กระทั่งรัฐบาลต้องนำมาดำเนินการเอง เริ่มจากกรมกลาโหม สู่กรมโทรเลข
กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : จากวันนั้น ถึงวันนี้ ปี 2551 ....133 ปี โทรเลขไทยปิดตำนานลงแล้วอย่างถาวร
ความทรงจำครั้งหนึ่ง
"รู้สึกเสียดาย และใจหายที่จะไม่มีโทรเลขแล้ว ลุงอยู่กับโทรเลขมาทั้งหมด 35 ปี ตอนนี้ลุงอายุ 76 แล้ว อยู่ไปรษณีย์ไทยประจำจังหวัดสุพรรณบุรีมาร่วม 30 ปี ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นคนส่งไปรษณีย์ และโทรเลขตามบ้าน แต่ก่อนนู้นคนส่งโทรเลขกันเยอะ ลุงส่งต่อวันร่วม 100 ฉบับ แต่ตอนนี้ลุงเกษียณแล้ว แต่ก็ยังเก็บชุดบุรุษไปรษณีย์ไว้ครบ เสียดาย แต่ก็อย่างว่าสมัยนี้มันมีอย่างอื่นที่เร็วกว่าโทรเลข"
"ลุงพลาย อ่ำคำ" ในชุดบุรุษไปรษณีย์เต็มยศ เล่าที่งานอำลาโทรเลขครั้งสุดท้าย เมื่อ 30 เม.ย. 2551 ณ ไปรษณีย์กลาง บางรัก หลังจากยืนหน้าเปื้อนยิ้มให้ช่างภาพรัวชัตเตอร์
ลุงพลายเดินทางจากสุพรรณบุรีมาร่วมงานนี้โดยเฉพาะ เล่าว่า เริ่มต้นทำงานด้วยเงินเดือนประจำตำแหน่ง 450 บาท แต่ละวันต้องขี่จักรยานคู่ใจไปส่งจดหมาย และโทรเลขตามบ้านเป็นระยะทางไม่ต่ำกว่า 20 กิโลเมตร
ลุงบอกว่าไม่เหนื่อย แต่รู้สึกสนุกเพราะเป็นหน้าที่ เพราะรู้ว่าในจดหมาย หรือโทรเลขฉบับนั้นๆ ต้องเป็นเรื่องสำคัญ และเร่งด่วนที่ผู้รับรอคอยอยู่
"แต่ก่อนนี้ไม่มีอะไรที่เร็วเท่าโทรเลขแล้ว เร็วที่สุด แต่วันนี้โทรเลขมันช้าแล้ว เพราะมีอย่างอื่นที่เร็วกว่า" ลุงเล่าด้วยสีหน้ายิ้มๆ พร้อมทั้งขอตัวไปถ่ายรูปต่อกับผู้คนที่หลั่งไหลมาร่วมส่งโทรเลขเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนที่บริการนี้จะปิดฉากลง...
จากบูมสุดขีดสู่ความนิยมลด
นายสมพล จันทรประเสริฐ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานร่วมกิจการ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด เล่าว่า โทรเลขบูมสุดขีดระหว่างปี 2528-2529 เมื่อมีคนใช้บริการโทรเลขกันมากแบบเป็นประวัติการณ์ ปี 2528 สูงถึงมีคนใช้บริการโทรเลขถึง 8 ล้านฉบับต่อปี แต่ถึงปี 2550 ความนิยมลดเหลือเพียง 5-6 แสนฉบับต่อปี โดยในจำนวนนี้ กลุ่มที่ใช้ประจำเป็นธนาคาร บัตรเครดิต ที่ใช้แจ้งให้ชำระหนี้ มีแค่ 1% เท่านั้นที่เป็นคนทั่วไป
"ช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา รายได้จากโทรเลขในกลุ่มของธนาคาร ต่อเดือนประมาณ 5 แสนกว่าบาท รายได้การส่งโทรเลขของคนทั่วไปต่อเดือนมีแค่ 1 หมื่นกว่าบาทเท่านั้น มันน้อยมาก ก็เป็นเหตุผลสำคัญว่าทำไมเราต้องเลิก ขณะที่เราเองก็จะต้องว่าจ้างให้ไปรษณีย์เป็นคนจัดการดูแลปีละ 300 ล้านบาท"
ณ วันนี้ ยอดผู้ใช้บริการโทรเลขลดลงจนเกือบหมด หรือประมาณเดือนละ 100 ฉบับ คิดเป็นรายได้แค่ 5,000 บาทต่อเดือน แต่มีต้นทุนมากกว่า 25 ล้านบาท ทำให้ไม่สามารถแข่งขันทางธุรกิจได้
นายสมพล บอกว่า วันนี้ได้โอนย้ายพนักงานส่วนของโทรเลขไปดูแลบริการอื่นของไปรษณีย์ ซึ่งเป็นการเตรียมการมาเมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว จึงไม่มีปัญหาเรื่องการบริหารจัดการ
"มันเป็นสัจธรรม เกิด แก่ เจ็บ ตาย โทรเลขพอเกิดขึ้นมาเป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสาร คนให้ความนิยมกันมาก จากนั้นเมื่อมีเทคโนโลยีอื่นๆ เข้ามาและเร็วกว่า ความนิยมมันก็ลดน้อยลง จนท้ายที่สุดไม่มีคนใช้ แต่ก็ถือว่าคนไทยเราคุ้นเคย และผูกพันกับวิธีการติดต่อสื่อสารแบบโทรเลขมานาน ผมว่าถัดจากนี้บริการที่กำลังจะหายไปอีกก็คือ เทเล็กซ์ (TELEX)"
บันทึกหน้าประวัติศาสตร์
นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด เล่าว่า ตลอดสัปดาห์อำลาโทรเลขไทยตั้งแต่วันที่ 24-30 เม.ย.ที่ผ่านมา มีประชาชนสนใจใช้บริการโทรเลข ณ ที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง มียอดรวมการส่งโทรเลขไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นฉบับ ซึ่งยังไม่ใช่ยอดรวมของวันสุดท้าย ที่ประเมินจากสายตาคาดว่า การส่งโทรเลขน่าจะขึ้นไปถึงหลักแสนได้แบบไม่ต้องลุ้น
ส่วนใหญ่เป็นการส่งข้อความถึงตัวเอง ครอบครัว และคนรัก เพื่อเก็บไว้เป็นที่ระลึกครั้งสุดท้าย และมียอดสั่งจองโทรเลขที่ระลึกฉบับสุดท้าย กว่า 2 หมื่นฉบับ
"ผมว่ามันก็เป็นไปตามยุค ตามสมัยเพราะวันนี้มีเทคโนโลยีหลายอย่างที่มีความรวดเร็ว สะดวกมากกว่าโทรเลข แต่สิ่งหนึ่งต้องยอมรับว่า โทรเลขเป็นเครื่องมือการติดต่อสื่อสารของคนไทยมาช้านาน งานอำลาโทรเลขครั้งสุดท้ายที่เราจัดขึ้น ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญอีกครั้งหนึ่งที่เราต้องบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ของการสื่อสารไทย" นายออมสิน กล่าว
++++++++++++++++++
ถ้าเกินตัดตั้งแต่ตรงนี้เป็นต้นไป
++++++++++++++++++
ย้อนความทรงจำ"โทรเลข"
โทรเลข (Telegraph Service) คือ ระบบโทรคมนาคม ซึ่งใช้อุปกรณ์ทางไฟฟ้าทำหน้าที่ส่งข้อความจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เดิมส่งโดยอาศัยสายตัวนำที่โยงติดต่อถึงกัน และอาศัยอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสำคัญ แต่ระยะหลังมีการใช้วิธีส่งไร้สาย หรือที่รู้จักกันในชื่อ "วิทยุโทรเลข"
หลักการทำงาน เครื่องส่ง และเครื่องรับโทรเลข ทำงานด้วยคันเคาะของเครื่องส่งให้วงจรไฟฟ้าปิด จากนั้นกระแสไฟจะไหลเข้าไปในขดลวดของเครื่องรับ ทำให้ขดลวดของเครื่องรับเกิดสนามแม่เหล็ก และดูดแผ่นเหล็กมากระทบแกนเหล็ก ทำให้เกิดเสียงที่มีจังหวะเดียวกับคันเคาะ ซึ่งการเปิด-ปิด วงจรนี้ทำให้เกิดเสียงเป็นสัญญาณโทรเลข แล้วจึงแปลงสัญญาณโทรเลขให้เป็นข้อความ โดยมีการกำหนดรหัสโทรเลขไว้ 2 ลักษณะ คือ เคาะแล้วกดไว้ (กดยาว) กับเคาะแล้วปล่อย (กดสั้น) ซึ่งแทนด้วย - กับ . (ขีดกับจุด) เรียกรหัสที่ใช้ส่งโทรเลขว่ารหัส "มอร์ส"
http://www.bangkokbiznews.com/
-
- Verified User
- โพสต์: 1598
- ผู้ติดตาม: 0
สิ่งที่มาแทนที่กันอย่างสมบูรณ์
โพสต์ที่ 45
อกหนึ่งความทรงจำ
อย่ามัวติดกับเรื่องในอดีต กังวลกับเรื่องในอนาคต จนลืมว่าปัจจุบันต้องทำอะไร
-
- Verified User
- โพสต์: 1598
- ผู้ติดตาม: 0
สิ่งที่มาแทนที่กันอย่างสมบูรณ์
โพสต์ที่ 46
:oops: อีกหนึ่งความทรงจำกุหลาบงามหลังฝน เขียน:อกหนึ่งความทรงจำ
อย่ามัวติดกับเรื่องในอดีต กังวลกับเรื่องในอนาคต จนลืมว่าปัจจุบันต้องทำอะไร
-
- Verified User
- โพสต์: 193
- ผู้ติดตาม: 0
สิ่งที่มาแทนที่กันอย่างสมบูรณ์
โพสต์ที่ 47
http://www.bangkokbiznews.com/index.php
source:กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
date/time 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 09:30:00
เพลง : ไม่มี 'โทรเลขบรรยายรัก' ?
:วันนี้เป็นวันสุดท้ายที่บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด จะยุติการให้บริการ 'โทรเลข' หลังจากเปิดดำเนินการมานานถึง 133 ปี
กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : เด็กบ้านนอกอย่างผม คุ้นเคยกับการใช้บริการโทรเลขเพื่อส่งข่าวข้อความด่วนไปถึงญาติพี่น้อง ไม่เรื่องเจ็บไข้ได้ป่วย ก็ต้องมีใครสักคนเสียชีวิต
แม่ผมเป็นคนหนึ่งที่รู้สึกผวาทุกครั้ง เมื่อเห็นพนักงานไปรษณีย์ขี่มอเตอร์ไซค์มาส่งโทรเลข เพราะนั่นหมายถึงต้องมีญาติสักคนหนึ่ง อาจเจ็บหรือตายหรือตรงกันข้าม หากมีใครในบ้านป่วยหรือตาย แม่ก็จะให้ผมไปส่งโทรเลขถึงญาติๆ เราจึงมีความผูกพันกับโทรเลขมายาวนาน
ช่วงที่มีข่าวโทรเลขไทยได้เวลายุติการรับใช้พี่น้อง ในฐานะแฟนเพลงลูกทุ่ง ผมก็นึกย้อนหลังไปว่า มีนักแต่งเพลงคนใดบ้าง นำเอาการสื่อสารชนิดด่วนพิเศษมาผูกเป็นเรื่องเป็นราวในบทเพลง
ผมสอบถามไปที่ครูเพลงหลายคน ก็ได้รับคำตอบไม่ชัดเจนว่ามีหรือไม่ ส่วนเพลงเกี่ยวกับ 'จดหมาย' นั้นมีมากมาย เหมือนเพลงมือถือสื่อรักในวันนี้
ตอนเรียนอยู่ชั้นประถม เมื่อถึงงานนมัสการรอยพระพุทธบาทจำลองที่วัดเขานางบวช ผมจะได้ยินเสียงเพลง 'สาส์นรักฉบับล่า' ล่องลอยมาจากยอดเขาตอนรุ่งสาง
สาส์นสวาทที่ฉันบังอาจขีดเขียน
ต้องจุดเทียนเขียนบนลังไม้ฉำฉา
ฉันนั่งขีดเขียนน้ำตาเทียนมันย้อยลงมา
หรือมันคิดว่าฉันหลั่งน้ำตามาถึงดวงใจ...
เพลงนี้ 'คีตกวีลูกทุ่ง' ครูไพบูลย์ บุตรขัน เขียนให้ ทูล ทองใจ ร้องอัดแผ่นเสียงในช่วงยุคทองของทูล คือระหว่างปี 2501-2504
ผลงานครูไพบูลย์ที่สร้างชื่อให้ ทูล ทองใจ รุ่นเดียวกับ 'สาส์นรักฉบับล่า' และมันกลายเป็นเพลงอมตะที่ฟังแล้วก็ฟังอีก ได้แก่ น้ำตาเทียน, เดือนต่ำดาวตก, เสียงดุเหว่าแว่ว, อันเป็นดวงใจ, รังรักในจินตนาการ, มนต์เมืองเหนือ ฯลฯ
สำหรับผู้ที่สนใจชีวิต ทูล ทองใจ ก็ลองไปหาอ่านในหนังสือ 'ทูล ทองใจ เทพบุตรเสียงกังสดาล' เรียบเรียงโดย วัฒน์ วรรลยางกูร มีวางขายแล้วทุกร้านหนังสือชั้นนำ
นอกจาก 'สาส์นรักฉบับล่า' ครูไพบูลย์ยังแต่ง 'สาส์นสีโศก' (ก้าน แก้วสุพรรณ-ร้อง) และ 'จดหมายแค้นสีเลือด' (คำรณ สัมบุณณานนท์-ร้อง) แต่ในความทรงจำของผมนั้น กลับคุ้นปากกับเพลง 'จดหมายบรรยายรัก' ของ เพลิน พรหมแดน มากกว่า
จดหมายรักเรา ที่ส่งให้เจ้ากานดา
นี่ก็ตั้งหลายเพลา
เหตุใดขวัญตาจึงไม่ส่งข่าว
จากใจรำพันพี่เฝ้าเขียนมันจนยืดยาว
หรือว่ารังเกียจลายมือแม่สาว
ไม่สวยเลยเจ้าไม่สนใจ...
เพลงโดนใจวัยเยาว์ของผม หากนับอายุก็คงราวๆ 40 ปีแล้วละครับ เหตุที่ชอบเพลงนี้ คงเพราะมันเป็นเพลงจังหวะรำวง ร้องง่ายไม่เหมือนเพลงกึ่งลูกทุ่งกึ่งลูกกรุงอย่าง ทูล ทองใจ
ผมเคยถามครูเพลงบางท่านว่าทำไมไม่มีเพลงที่ใช้โทรเลขเป็นสื่อรัก คำตอบที่ได้คือ โทรเลขเป็นสัญลักษณ์ของข่าวด่วนข่าวร้ายมากกว่าข่าวดี มันจึงไม่มีอารมณ์ที่จะเขียนเพลง
ครูสุรินทร์ ภาคศิริ นักแต่งเพลงอาวุโสบอกกับผมว่า "โทรเลขนั้นเขาจะใช้กันก็ต่อเมื่อเดือดร้อน หรือมีเรื่องเร่งด่วน สมัยก่อนคนที่ได้รับโทรเลขส่วนใหญ่จะเจอแต่เรื่องร้ายๆ เช่น ญาติเสียบ้าง ลูกขอเงินบ้าง คนแต่งเพลงเลยไม่นิยม...อีกอย่างการนำคำโทรเลขมาเขียนเป็นเพลงผมว่าค่อนข้างยาก ตรงที่จะหาคำมาสัมผัสให้พอเหมาะพอดี เขาเลยไม่คิดนำมาแต่งเพลงกัน"
อีกอย่างอัตราค่าบริการโทรเลขสมัยก่อนค่อนข้างสูง ทางไปรษณีย์จะคิดค่าบริการเป็นคำๆ ละ 1 บาท หรือถ้าโทรด่วนพิเศษก็จะเพิ่มเป็นคำละ 2 บาท ขณะที่แสตมป์ราคาดวงละ 50 สตางค์ แถมจะเขียนกี่หน้าก็ติดแสตมป์ดวงเดียว
ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีใครริฝากรักผ่านโทรเลข ผิดกับยุคที่ใช้บริการมือถือสื่อรัก และตั้งแต่อดีตจนถึงวันอำลา... สรุปว่าเพลงลูกทุ่งไทยไร้โทรเลข!
ดูคลิปวีดีโอย้อนอดีตโทรเลขตามลิ้งค์ข้างล่างครับ
http://www.bangkokbiznews.com/2008/05/0 ... 253616.php
source:กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
date/time 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 09:30:00
เพลง : ไม่มี 'โทรเลขบรรยายรัก' ?
:วันนี้เป็นวันสุดท้ายที่บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด จะยุติการให้บริการ 'โทรเลข' หลังจากเปิดดำเนินการมานานถึง 133 ปี
กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : เด็กบ้านนอกอย่างผม คุ้นเคยกับการใช้บริการโทรเลขเพื่อส่งข่าวข้อความด่วนไปถึงญาติพี่น้อง ไม่เรื่องเจ็บไข้ได้ป่วย ก็ต้องมีใครสักคนเสียชีวิต
แม่ผมเป็นคนหนึ่งที่รู้สึกผวาทุกครั้ง เมื่อเห็นพนักงานไปรษณีย์ขี่มอเตอร์ไซค์มาส่งโทรเลข เพราะนั่นหมายถึงต้องมีญาติสักคนหนึ่ง อาจเจ็บหรือตายหรือตรงกันข้าม หากมีใครในบ้านป่วยหรือตาย แม่ก็จะให้ผมไปส่งโทรเลขถึงญาติๆ เราจึงมีความผูกพันกับโทรเลขมายาวนาน
ช่วงที่มีข่าวโทรเลขไทยได้เวลายุติการรับใช้พี่น้อง ในฐานะแฟนเพลงลูกทุ่ง ผมก็นึกย้อนหลังไปว่า มีนักแต่งเพลงคนใดบ้าง นำเอาการสื่อสารชนิดด่วนพิเศษมาผูกเป็นเรื่องเป็นราวในบทเพลง
ผมสอบถามไปที่ครูเพลงหลายคน ก็ได้รับคำตอบไม่ชัดเจนว่ามีหรือไม่ ส่วนเพลงเกี่ยวกับ 'จดหมาย' นั้นมีมากมาย เหมือนเพลงมือถือสื่อรักในวันนี้
ตอนเรียนอยู่ชั้นประถม เมื่อถึงงานนมัสการรอยพระพุทธบาทจำลองที่วัดเขานางบวช ผมจะได้ยินเสียงเพลง 'สาส์นรักฉบับล่า' ล่องลอยมาจากยอดเขาตอนรุ่งสาง
สาส์นสวาทที่ฉันบังอาจขีดเขียน
ต้องจุดเทียนเขียนบนลังไม้ฉำฉา
ฉันนั่งขีดเขียนน้ำตาเทียนมันย้อยลงมา
หรือมันคิดว่าฉันหลั่งน้ำตามาถึงดวงใจ...
เพลงนี้ 'คีตกวีลูกทุ่ง' ครูไพบูลย์ บุตรขัน เขียนให้ ทูล ทองใจ ร้องอัดแผ่นเสียงในช่วงยุคทองของทูล คือระหว่างปี 2501-2504
ผลงานครูไพบูลย์ที่สร้างชื่อให้ ทูล ทองใจ รุ่นเดียวกับ 'สาส์นรักฉบับล่า' และมันกลายเป็นเพลงอมตะที่ฟังแล้วก็ฟังอีก ได้แก่ น้ำตาเทียน, เดือนต่ำดาวตก, เสียงดุเหว่าแว่ว, อันเป็นดวงใจ, รังรักในจินตนาการ, มนต์เมืองเหนือ ฯลฯ
สำหรับผู้ที่สนใจชีวิต ทูล ทองใจ ก็ลองไปหาอ่านในหนังสือ 'ทูล ทองใจ เทพบุตรเสียงกังสดาล' เรียบเรียงโดย วัฒน์ วรรลยางกูร มีวางขายแล้วทุกร้านหนังสือชั้นนำ
นอกจาก 'สาส์นรักฉบับล่า' ครูไพบูลย์ยังแต่ง 'สาส์นสีโศก' (ก้าน แก้วสุพรรณ-ร้อง) และ 'จดหมายแค้นสีเลือด' (คำรณ สัมบุณณานนท์-ร้อง) แต่ในความทรงจำของผมนั้น กลับคุ้นปากกับเพลง 'จดหมายบรรยายรัก' ของ เพลิน พรหมแดน มากกว่า
จดหมายรักเรา ที่ส่งให้เจ้ากานดา
นี่ก็ตั้งหลายเพลา
เหตุใดขวัญตาจึงไม่ส่งข่าว
จากใจรำพันพี่เฝ้าเขียนมันจนยืดยาว
หรือว่ารังเกียจลายมือแม่สาว
ไม่สวยเลยเจ้าไม่สนใจ...
เพลงโดนใจวัยเยาว์ของผม หากนับอายุก็คงราวๆ 40 ปีแล้วละครับ เหตุที่ชอบเพลงนี้ คงเพราะมันเป็นเพลงจังหวะรำวง ร้องง่ายไม่เหมือนเพลงกึ่งลูกทุ่งกึ่งลูกกรุงอย่าง ทูล ทองใจ
ผมเคยถามครูเพลงบางท่านว่าทำไมไม่มีเพลงที่ใช้โทรเลขเป็นสื่อรัก คำตอบที่ได้คือ โทรเลขเป็นสัญลักษณ์ของข่าวด่วนข่าวร้ายมากกว่าข่าวดี มันจึงไม่มีอารมณ์ที่จะเขียนเพลง
ครูสุรินทร์ ภาคศิริ นักแต่งเพลงอาวุโสบอกกับผมว่า "โทรเลขนั้นเขาจะใช้กันก็ต่อเมื่อเดือดร้อน หรือมีเรื่องเร่งด่วน สมัยก่อนคนที่ได้รับโทรเลขส่วนใหญ่จะเจอแต่เรื่องร้ายๆ เช่น ญาติเสียบ้าง ลูกขอเงินบ้าง คนแต่งเพลงเลยไม่นิยม...อีกอย่างการนำคำโทรเลขมาเขียนเป็นเพลงผมว่าค่อนข้างยาก ตรงที่จะหาคำมาสัมผัสให้พอเหมาะพอดี เขาเลยไม่คิดนำมาแต่งเพลงกัน"
อีกอย่างอัตราค่าบริการโทรเลขสมัยก่อนค่อนข้างสูง ทางไปรษณีย์จะคิดค่าบริการเป็นคำๆ ละ 1 บาท หรือถ้าโทรด่วนพิเศษก็จะเพิ่มเป็นคำละ 2 บาท ขณะที่แสตมป์ราคาดวงละ 50 สตางค์ แถมจะเขียนกี่หน้าก็ติดแสตมป์ดวงเดียว
ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีใครริฝากรักผ่านโทรเลข ผิดกับยุคที่ใช้บริการมือถือสื่อรัก และตั้งแต่อดีตจนถึงวันอำลา... สรุปว่าเพลงลูกทุ่งไทยไร้โทรเลข!
ดูคลิปวีดีโอย้อนอดีตโทรเลขตามลิ้งค์ข้างล่างครับ
http://www.bangkokbiznews.com/2008/05/0 ... 253616.php