ความลำบากของ VI
- Minesweeper
- Verified User
- โพสต์: 472
- ผู้ติดตาม: 0
ความลำบากของ VI
โพสต์ที่ 1
เรื่องของการลงทุนโดยใช้ปัจจัยพื้นฐานนั้น คงเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปอยู่แล้วว่า สิ่งที่เป็นความยากอย่างหนึ่งก็คือ การที่จะระบุว่า บริษัทนั้นดี ไม่ดี คุ้มค่าในการลงทุนหรือไม่ ในแง่ของตัวเลขทางการเงินต่างๆ ของบริษัท
นอกเหนือไปจากนั้นแล้ว ผมว่าสิ่งที่ลำบากยิ่งกว่าก็คือ ความกล้าตัดสินใจ หรือ กล้าที่จะเปลี่ยนมุมมอง เมื่อสถานการณ์ต่างๆ ไม่เป็นไปอย่างที่เราคาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่การลงทุนนั้นอยู่ในภาวะขาดทุน หรือ สถานการณ์ต่างๆ ยังคลุมเครือ
หุ้นที่เคยถูกมองว่าเป็นการลงทุนที่ดีในช่วงก่อน หลายๆ ตัว เริ่มถูก เคลือบแคลง สงสัย และแน่นอนว่า ความไม่แน่ใจ เหล่านั้น ก็เข้าไปส่งผลกระทบกับราคาหุ้น อย่างหลีกเลี่ยงไมได้ ที่เห็นพูดถึงกันบ่อยๆ ใน บอร์ดนี้ก็เช่น FANCY, OGC, GRAMMY เป็นต้น
เคยไหมครับ ที่รู้สึกว่า หุ้นตัวนี้ ไม่น่าจะดีแล้ว แต่จากข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่ คิดว่าราคาหุ้นมันน่าจะสูงกว่านี้ ทำให้มีความรู้สึกว่า ขายไม่ลง และในขณะเดียวกันก็ ซื้อไม่ลง เพราะรู้สึกว่าไม่ควรจะเพิ่มความเสี่ยงให้กับหุ้นตัวใดตัวหนึ่งมากเกินไป
บางครั้ง การที่เราได้ทำการวิเคราะห์หุ้นตัวใดตัวหนึ่งเป็นอย่างดี ก็เป็นปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่ทำให้เราไม่กล้าขาย เพราะรู้สึกเสียดายเวลา เสียดายความพยายามที่ได้ศึกษามา รวมทั้งการไปร่วมประชุมผู้ถือหุ้น พบกับผู้บริหาร การรับเงินปันผล รายงานประจำปี สิ่งต่างๆ เหล่านี้ ผมว่ามีผลทางจิตวิทยาทำให้คิดเข้าข้างตัวเองได้ทั้งนั้น
ผมว่า การป้องกันความเสี่ยง โดยการตัดขาดทุนตรงจุดที่เหมาะสม น่าจะเป็นสิ่งที่จำเป็นนะ ถึงแม้จะเป็นการลงทุนที่เราพิจารณาโดยใช้ปัจจัยพื้นฐานก็ตาม แต่จะว่าไปแล้ว เรื่องแบบนี้ มันก็ทำใจได้ยาก สำหรับผมเองนั้นตั้งแต่ซื้อหุ้นมา เคยทำสำเร็จอยู่ครั้งเดียว (กรณี CEI) ส่วนอีกหลายตัวนั้น ก็คงปล่อยให้เน่าคาพอร์ตต่อไป
นอกเหนือไปจากนั้นแล้ว ผมว่าสิ่งที่ลำบากยิ่งกว่าก็คือ ความกล้าตัดสินใจ หรือ กล้าที่จะเปลี่ยนมุมมอง เมื่อสถานการณ์ต่างๆ ไม่เป็นไปอย่างที่เราคาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่การลงทุนนั้นอยู่ในภาวะขาดทุน หรือ สถานการณ์ต่างๆ ยังคลุมเครือ
หุ้นที่เคยถูกมองว่าเป็นการลงทุนที่ดีในช่วงก่อน หลายๆ ตัว เริ่มถูก เคลือบแคลง สงสัย และแน่นอนว่า ความไม่แน่ใจ เหล่านั้น ก็เข้าไปส่งผลกระทบกับราคาหุ้น อย่างหลีกเลี่ยงไมได้ ที่เห็นพูดถึงกันบ่อยๆ ใน บอร์ดนี้ก็เช่น FANCY, OGC, GRAMMY เป็นต้น
เคยไหมครับ ที่รู้สึกว่า หุ้นตัวนี้ ไม่น่าจะดีแล้ว แต่จากข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่ คิดว่าราคาหุ้นมันน่าจะสูงกว่านี้ ทำให้มีความรู้สึกว่า ขายไม่ลง และในขณะเดียวกันก็ ซื้อไม่ลง เพราะรู้สึกว่าไม่ควรจะเพิ่มความเสี่ยงให้กับหุ้นตัวใดตัวหนึ่งมากเกินไป
บางครั้ง การที่เราได้ทำการวิเคราะห์หุ้นตัวใดตัวหนึ่งเป็นอย่างดี ก็เป็นปัจจัยอย่างหนึ่ง ที่ทำให้เราไม่กล้าขาย เพราะรู้สึกเสียดายเวลา เสียดายความพยายามที่ได้ศึกษามา รวมทั้งการไปร่วมประชุมผู้ถือหุ้น พบกับผู้บริหาร การรับเงินปันผล รายงานประจำปี สิ่งต่างๆ เหล่านี้ ผมว่ามีผลทางจิตวิทยาทำให้คิดเข้าข้างตัวเองได้ทั้งนั้น
ผมว่า การป้องกันความเสี่ยง โดยการตัดขาดทุนตรงจุดที่เหมาะสม น่าจะเป็นสิ่งที่จำเป็นนะ ถึงแม้จะเป็นการลงทุนที่เราพิจารณาโดยใช้ปัจจัยพื้นฐานก็ตาม แต่จะว่าไปแล้ว เรื่องแบบนี้ มันก็ทำใจได้ยาก สำหรับผมเองนั้นตั้งแต่ซื้อหุ้นมา เคยทำสำเร็จอยู่ครั้งเดียว (กรณี CEI) ส่วนอีกหลายตัวนั้น ก็คงปล่อยให้เน่าคาพอร์ตต่อไป
-
- Verified User
- โพสต์: 1608
- ผู้ติดตาม: 0
ความลำบากของ VI
โพสต์ที่ 2
โดนใจมากครับ ที่เน่า ๆ เกือบทั้งพอร์ตผมก็เพราะอย่างนี้แหละ
แต่บางครั้งการอดทนก็ให้ผลที่คุ้มเหมือนกันนะครับ
ผมซื้อ THAI ที่ PO 50 บาท ไม่ได้เอาเข้าพอร์ต เห็นมันร่วงไปเหลือ 43 บาทก็ได้แต่ทำตาปริบ ๆ
จนมันขึ้นไป 57 บาท ถึงได้ขายไป 8)
แต่บางครั้งการอดทนก็ให้ผลที่คุ้มเหมือนกันนะครับ
ผมซื้อ THAI ที่ PO 50 บาท ไม่ได้เอาเข้าพอร์ต เห็นมันร่วงไปเหลือ 43 บาทก็ได้แต่ทำตาปริบ ๆ
จนมันขึ้นไป 57 บาท ถึงได้ขายไป 8)
มนุษย์เห่อลูก :lol:
http://tyakon.multiply.com
http://tyakon.multiply.com
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14784
- ผู้ติดตาม: 1
ความลำบากของ VI
โพสต์ที่ 3
ผมว่าการเล่นหุ้นแนว VI ไม่ได้มีความยากลำบากอะไร ถ้าเริ่มต้นจากคิดว่าเราอยากจะเป็นเจ้าของธุรกิจที่มีความไดเปรียบในการแข่งขัน
คือต้องหาธุรกิจแบบนี้ให้เจอก่อน
ส่วนเรื่องตัวเลขที่ดูดีในด้านต่างๆนั้นเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับสอง
จริงๆแล้วคนส่วนใหญ่เลือกซื้อหุ้นที่มีตัวเลขต่างๆที่ยืนยันออกมาแล้ว ว่าดีจริง ซึ่ง น่าจะสายเสียแล้ว ในแง่ราคาหุ้นที่อาจจะปรับตัวสูงขึ้นไป
แต่อย่างไรก็ตามถ้าหุ้นตัวนั้นมีความได้เปรียบในการแข่งขันจริง ถึงแม้ซื้อแพงก็ไม่น่าจะกลัวอะไร ในระยะยาว ก็จะสามารถทำกำไรได้อย่างแน่นอน
ถ้าจะให้ดี ก็คงต้องเลือกซื้อหุ้นที่มีความาได้เปรียบในการแข่งขัน ในขณะที่ตลาดไม่ดี หรือในขณะที่อุตสาหกรรมนั้นๆโดนโจมตี หรือไม่ก็บริษัทนั้นๆมีปัญหาที่ทำให้กำไรตก แต่เป็นปัญหาสามารถแก้ไขได้ ซึ่งจะทำให้ราคาหุ้นตกลงมาอยู่ในจุดที่น่าสนใจ ในแง่การลงทุนระยะยาว
คือต้องหาธุรกิจแบบนี้ให้เจอก่อน
ส่วนเรื่องตัวเลขที่ดูดีในด้านต่างๆนั้นเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับสอง
จริงๆแล้วคนส่วนใหญ่เลือกซื้อหุ้นที่มีตัวเลขต่างๆที่ยืนยันออกมาแล้ว ว่าดีจริง ซึ่ง น่าจะสายเสียแล้ว ในแง่ราคาหุ้นที่อาจจะปรับตัวสูงขึ้นไป
แต่อย่างไรก็ตามถ้าหุ้นตัวนั้นมีความได้เปรียบในการแข่งขันจริง ถึงแม้ซื้อแพงก็ไม่น่าจะกลัวอะไร ในระยะยาว ก็จะสามารถทำกำไรได้อย่างแน่นอน
ถ้าจะให้ดี ก็คงต้องเลือกซื้อหุ้นที่มีความาได้เปรียบในการแข่งขัน ในขณะที่ตลาดไม่ดี หรือในขณะที่อุตสาหกรรมนั้นๆโดนโจมตี หรือไม่ก็บริษัทนั้นๆมีปัญหาที่ทำให้กำไรตก แต่เป็นปัญหาสามารถแก้ไขได้ ซึ่งจะทำให้ราคาหุ้นตกลงมาอยู่ในจุดที่น่าสนใจ ในแง่การลงทุนระยะยาว
- ครรชิต ไพศาล
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 4637
- ผู้ติดตาม: 1
ความลำบากของ VI
โพสต์ที่ 4
น้อง Jeng กล่าวไว้ดีแล้ว .. น้อง Jeng กล่าวไว้ถูกต้องแล้ว ..ถ้าจะให้ดี ก็คงต้องเลือกซื้อหุ้นที่มีความได้เปรียบในการแข่งขัน ในขณะที่ตลาดไม่ดี หรือในขณะที่อุตสาหกรรมนั้นๆโดนโจมตี หรือไม่ก็บริษัทนั้นๆมีปัญหาที่ทำให้กำไรตก แต่เป็นปัญหาสามารถแก้ไขได้ ซึ่งจะทำให้ราคาหุ้นตกลงมาอยู่ในจุดที่น่าสนใจ ในแง่การลงทุนระยะยาว
จงค้นหาบริษัทที่ดี ที่มีความได้เปรียบในการแข่งขัน ในช่วงเวลาที่มีปัญหาชั่วคราวอันเป็นเหตุให้ถูกนักลงทุนแบบระยะสั้นมองโลกในแง่ร้าย อันเป็นเหตุให้ราคาหุ้นลงมาถูกแบบสุดๆ แล้วเข้าซื้อเพื่อลงทุนระยะยาว เมื่อปัญหาผ่านพ้นไป ราคาหุ้นก็จะดีดกลับมาอยู่ที่ค่าที่มันควรจะเป็น ซึ่งจะทำกำไรให้แก่นักลงทุนผู้เห็นโอกาสนี้อย่างมหาศาล
นักลงทุนที่ทำได้ แบบนี้ ถึงจะเรียกว่า Value investor ชั้นยอด
ซึ่งโอกาส อย่างที่ว่านี้ได้เกิดขึ้นเมื่อปี 1999 ถึง 2001 มีบริษัทชั้นยอดราคาขายแบกะดินเต็มตลาดไปหมด นักลงทุนที่ซื้อเก็บถือยาวช่วงนั้น นั่นแหละ Value investor ชั้นยอด
ยกตัวอย่างลองดู OCC TPCORP
แก้ไขล่าสุดโดย ครรชิต ไพศาล เมื่อ อาทิตย์ มิ.ย. 06, 2004 1:31 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
-
- ผู้ติดตาม: 0
ความลำบากของ VI
โพสต์ที่ 6
ขออีกนิดครับ
ปัญหาชั่วคราว ต้อง ชั่วคราวจริงๆนะครับ
ผมว่าที่หากคือการมองทะลุว่ามันเป็นปัญหาชั่วคราว ครับ .........
ปัญหาชั่วคราว ต้อง ชั่วคราวจริงๆนะครับ
ผมว่าที่หากคือการมองทะลุว่ามันเป็นปัญหาชั่วคราว ครับ .........
-
- ผู้ติดตาม: 0
ความลำบากของ VI
โพสต์ที่ 8
การวิเคราะห์ผิดพลาดเป็นเรื่องปกติธรรมดาครับ แม้ว่าบางคนจะเรียนจากสำนักเดียวกัน (ผมหมายถึง สถาบันการศึกษาเดียวกัน คณะเดียวกัน เรียนจากอาจารย์คนเดียวกัน) ก็ยังวิเคราะห์ธุรกิจแตกต่างกันเลยครับ ผมคิดว่าการวิเคราะห์ธุรกิจมันเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ที่ทำให้เกิดความแตกต่างก็ตรงการนำศาสตร์ไปใช้
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานของบริษัทใดบริษัทหนึ่งแล้ว จากนั้นก็ซื้อหุ้นตัวนั้นมาถือไว้โดยไม่ต้องทำอะไรอีกเลย ผมอยากจะเสริมว่า เราควรจะต้องมีการประเมินเป็นระยะๆ ครับ เนื่องจากสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่อยู่ทั้งภายในและภายนอกบริษัทมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นรอบๆนั้น บางปัจจัยก็มีผลกระทบทั้งด้านดีและไม่ดี หรือบางปัจจัยก็ไม่กระทบกับบริษัทเลย อย่างเช่น บริษัทหนึ่งเคยทำกำไรได้ดีมาก ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ก็ไม่ได้หมายความว่าในอนาคตอันใกล้ไปจนถึงยาวบริษัทจะสามารถทำได้อย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในของบริษัท เช่น ความสามารถของผู้บริหาร ความชำนาญหรือเชียวชาญในเชิงธุรกิจที่ทำ การวิจัยและพัฒนา ผลิตภัณฑ์และตราสินค้า เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยภายนอกที่มีจะมากระทบต่อบริษัท เช่น การเติบโตทางเศรษฐกิจ อัตราดอกเบี้ย การเมืองและกฏหมาย เทคโนโลยี วัฒนธรรมทางสังคม ซึ่งเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ และปัจจัยเหล่านี้บางที่ก็อาจจะส่งผลดีแก่อุตสาหกรรมหนึ่ง แต่อาจส่งผลเสียต่ออุตสาหกรรมอื่นก็ได้ (การดูก็ไม่ใช่เรื่องยากอะไร ก็ดูว่าบริษัทนั้นทำอะไร อะไรเป็นสิ่งหรือปัจจัยสำคัญของบริษัทนั้น และก็ดูว่าปัจจัยภายนอกนั้นส่งผลกระทบต่อสิ่งสำคัญของบริษัทในด้านดีหรือไม่ดี)
สำหรับผมการจะตัดสินใจว่าจะขายหรือไม่เมื่อมีปัจจัยๆ ต่างมากระทบต่อพื้นฐานของบริษัท ส่วนใหญ่ผมจะดูความรุนแรงและระยะเวลา ถ้าค่อนข้างรุนแรงและกินระยะเวลาเป็นปี ก็จะตัดสินใจขายหุ้นตัวนั้นก่อน ต่อให้ต้องขาดทุนก็ตาม ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ถือแล้ว ก็สามารถติดตามเป็นระยะๆ ได้ เมื่อใดที่ดูว่ามีแนวโน้มการฟื้นตัวที่ชัดเจน และราคาไม่แพงก็อาจกลับไปถืออีกครั้ง
ดังนั้นที่ว่าซื้อหุ้นของบริษัทหนึ่งแล้วถือระยะยาว หรือไม่ยอมขายผมไม่ค่อยเห็นด้วยสักเท่าไหร่ ก็จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น คือน่าจะดูตามสถานการณ์น่ะครับ
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานของบริษัทใดบริษัทหนึ่งแล้ว จากนั้นก็ซื้อหุ้นตัวนั้นมาถือไว้โดยไม่ต้องทำอะไรอีกเลย ผมอยากจะเสริมว่า เราควรจะต้องมีการประเมินเป็นระยะๆ ครับ เนื่องจากสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่อยู่ทั้งภายในและภายนอกบริษัทมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นรอบๆนั้น บางปัจจัยก็มีผลกระทบทั้งด้านดีและไม่ดี หรือบางปัจจัยก็ไม่กระทบกับบริษัทเลย อย่างเช่น บริษัทหนึ่งเคยทำกำไรได้ดีมาก ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ก็ไม่ได้หมายความว่าในอนาคตอันใกล้ไปจนถึงยาวบริษัทจะสามารถทำได้อย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในของบริษัท เช่น ความสามารถของผู้บริหาร ความชำนาญหรือเชียวชาญในเชิงธุรกิจที่ทำ การวิจัยและพัฒนา ผลิตภัณฑ์และตราสินค้า เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยภายนอกที่มีจะมากระทบต่อบริษัท เช่น การเติบโตทางเศรษฐกิจ อัตราดอกเบี้ย การเมืองและกฏหมาย เทคโนโลยี วัฒนธรรมทางสังคม ซึ่งเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ และปัจจัยเหล่านี้บางที่ก็อาจจะส่งผลดีแก่อุตสาหกรรมหนึ่ง แต่อาจส่งผลเสียต่ออุตสาหกรรมอื่นก็ได้ (การดูก็ไม่ใช่เรื่องยากอะไร ก็ดูว่าบริษัทนั้นทำอะไร อะไรเป็นสิ่งหรือปัจจัยสำคัญของบริษัทนั้น และก็ดูว่าปัจจัยภายนอกนั้นส่งผลกระทบต่อสิ่งสำคัญของบริษัทในด้านดีหรือไม่ดี)
สำหรับผมการจะตัดสินใจว่าจะขายหรือไม่เมื่อมีปัจจัยๆ ต่างมากระทบต่อพื้นฐานของบริษัท ส่วนใหญ่ผมจะดูความรุนแรงและระยะเวลา ถ้าค่อนข้างรุนแรงและกินระยะเวลาเป็นปี ก็จะตัดสินใจขายหุ้นตัวนั้นก่อน ต่อให้ต้องขาดทุนก็ตาม ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ถือแล้ว ก็สามารถติดตามเป็นระยะๆ ได้ เมื่อใดที่ดูว่ามีแนวโน้มการฟื้นตัวที่ชัดเจน และราคาไม่แพงก็อาจกลับไปถืออีกครั้ง
ดังนั้นที่ว่าซื้อหุ้นของบริษัทหนึ่งแล้วถือระยะยาว หรือไม่ยอมขายผมไม่ค่อยเห็นด้วยสักเท่าไหร่ ก็จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น คือน่าจะดูตามสถานการณ์น่ะครับ
-
- ผู้ติดตาม: 0
ความลำบากของ VI
โพสต์ที่ 9
เสริมอีกหน่อยครับ
ถ้ามีปัจจัยที่มากระทบต่อบริษัท มีความรุนแรงไม่มาก และแค่ระยะสั้นๆ (อาจไม่กี่เดือน) และราคาหุ้นตกจนเวอร์ ก็เป็นโอกาสในซื้อหุ้นเพิ่มได้เช่นกันครับ ก็คิดได้อีกหลายมุมครับ
ถ้ามีปัจจัยที่มากระทบต่อบริษัท มีความรุนแรงไม่มาก และแค่ระยะสั้นๆ (อาจไม่กี่เดือน) และราคาหุ้นตกจนเวอร์ ก็เป็นโอกาสในซื้อหุ้นเพิ่มได้เช่นกันครับ ก็คิดได้อีกหลายมุมครับ
-
- ผู้ติดตาม: 0
ความลำบากของ VI
โพสต์ที่ 10
ผมนึกว่า วีไอ ลงทุนเพื่อเน้นเงินปันผล มากกว่า แคปปิตอลเกน ซะอีก
-
- ผู้ติดตาม: 0
ความลำบากของ VI
โพสต์ที่ 12
ผมอยากจะขยายความของคำว่า "การได้เปรียบทางการแข่งขัน" หรือ Competitive advantage หน่อยครับ เพราะบางทีคนที่ไม่ได้เรียนมาทางด้านนี้อาจจะไม่เข้าใจว่า บริษัทที่มีความได้เปรียบทางการแข่งขั้นนั้นมีลักษณะอย่างไร?
การจะดูว่าบริษัทใดมีความได้เปรียบทางการแข่งขันหรือไม่? ก็ดูว่าบริษัทนั้นๆ มีอย่างใดอย่างหนึ่งในต่อไปนี้หรือไม่
Cost leadership หรือต้นทุนต่ำกว่า (Lower cost) ทำให้บริษัทสามารถกำหนดราคาขายได้ต่ำกว่าคู่แข่งขัน หรือราคาเท่ากันก็มีกำไรส่วนเกินที่สูงขึ้น การที่บริษัทที่มีความสามารถผลิตได้ต้นทุนต่ำ ก็มาจากผลิตสินค้าได้เพิ่มมากขึ้นในขณะที่ต้นทุนคงที่ ณ ระดับการผลิตที่เพิ่มขึ้นไม่เพิ่มขึ้นตาม เรียกว่าการประหยัดเนื่องจากขนาด และบริษัทนั้นต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอย่างต่อเนื่อง และยังต้องมีความเชี่ยวชาญประกอบด้วย ที่เห็นก็มีอยู่หลายบริษัทที่ทำได้นะครับ
ความแตกต่าง (Differentiation) การที่บริษัทไหนสามารถทำให้ผู้บริโภคเห็นว่าสินค้าหรือบริการของตนมีความแตกต่างจากเจ้าอื่นๆ ได้ เช่น การใช้งาน คุณภาพ ความสะดวก ตราสินค้า ฯลฯ ก็จะทำให้บริษัทนั้นสามารถที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าและบริการของตนได้ ซึ่งก็จะทำให้บริษัทนั้นๆ ได้กำไรส่วนเกินสูงขึ้น อีกทั้งยังจะรักษาส่วนแบ่งตลาดและเพิ่มส่วนแบ่งตลาดของตนอีกด้วย
สุดท้ายคือ Focus ซึ่งเป็นการมุ่งเน้นผู้ซื้อเฉพาะส่วน เช่นแบ่งตามผลิตภัณฑ์ หรือตามภูมิศาสตร์ หรืออาจเป็นกลุ่มเป้าหมายที่บริษัทใหญ่ๆ ไม่ให้ความสนใจ เพราะคิดว่าทำตลาดไปก็ไม่คุ้ม เป็นต้น และอาจมุ่งเน้นในเรื่องของต้นทุนต่ำ หรือการสร้างความแตกต่างก็ได้ครับ
หากว่าบริษัทใดไม่มีอย่างใดอย่างหนึ่ง Michael E. Porter เรียกว่าตกอยู่ในสถานการณ์ Stuck in the middle คือรอวันตายอย่างเดียว ถ้าหากว่าบริษัทนั้นไม่พัฒนาตนเอง (ก็มีหลายบริษัทที่อยู่ในภาวะเช่นนี้ครับ)
ก็เป็นการสรุปแบบภาพรวมมาให้ เพื่อให้พอจะมองภาพออกเท่านั้น ถ้าสนใจก็หาอ่านเพิ่มเติมได้ครับ ชื่อหนังสือ Competitive Strategy ของ Michael E. Porter
การจะดูว่าบริษัทใดมีความได้เปรียบทางการแข่งขันหรือไม่? ก็ดูว่าบริษัทนั้นๆ มีอย่างใดอย่างหนึ่งในต่อไปนี้หรือไม่
Cost leadership หรือต้นทุนต่ำกว่า (Lower cost) ทำให้บริษัทสามารถกำหนดราคาขายได้ต่ำกว่าคู่แข่งขัน หรือราคาเท่ากันก็มีกำไรส่วนเกินที่สูงขึ้น การที่บริษัทที่มีความสามารถผลิตได้ต้นทุนต่ำ ก็มาจากผลิตสินค้าได้เพิ่มมากขึ้นในขณะที่ต้นทุนคงที่ ณ ระดับการผลิตที่เพิ่มขึ้นไม่เพิ่มขึ้นตาม เรียกว่าการประหยัดเนื่องจากขนาด และบริษัทนั้นต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอย่างต่อเนื่อง และยังต้องมีความเชี่ยวชาญประกอบด้วย ที่เห็นก็มีอยู่หลายบริษัทที่ทำได้นะครับ
ความแตกต่าง (Differentiation) การที่บริษัทไหนสามารถทำให้ผู้บริโภคเห็นว่าสินค้าหรือบริการของตนมีความแตกต่างจากเจ้าอื่นๆ ได้ เช่น การใช้งาน คุณภาพ ความสะดวก ตราสินค้า ฯลฯ ก็จะทำให้บริษัทนั้นสามารถที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าและบริการของตนได้ ซึ่งก็จะทำให้บริษัทนั้นๆ ได้กำไรส่วนเกินสูงขึ้น อีกทั้งยังจะรักษาส่วนแบ่งตลาดและเพิ่มส่วนแบ่งตลาดของตนอีกด้วย
สุดท้ายคือ Focus ซึ่งเป็นการมุ่งเน้นผู้ซื้อเฉพาะส่วน เช่นแบ่งตามผลิตภัณฑ์ หรือตามภูมิศาสตร์ หรืออาจเป็นกลุ่มเป้าหมายที่บริษัทใหญ่ๆ ไม่ให้ความสนใจ เพราะคิดว่าทำตลาดไปก็ไม่คุ้ม เป็นต้น และอาจมุ่งเน้นในเรื่องของต้นทุนต่ำ หรือการสร้างความแตกต่างก็ได้ครับ
หากว่าบริษัทใดไม่มีอย่างใดอย่างหนึ่ง Michael E. Porter เรียกว่าตกอยู่ในสถานการณ์ Stuck in the middle คือรอวันตายอย่างเดียว ถ้าหากว่าบริษัทนั้นไม่พัฒนาตนเอง (ก็มีหลายบริษัทที่อยู่ในภาวะเช่นนี้ครับ)
ก็เป็นการสรุปแบบภาพรวมมาให้ เพื่อให้พอจะมองภาพออกเท่านั้น ถ้าสนใจก็หาอ่านเพิ่มเติมได้ครับ ชื่อหนังสือ Competitive Strategy ของ Michael E. Porter
- ปรัชญา
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 18252
- ผู้ติดตาม: 1
ความลำบากของ VI
โพสต์ที่ 14
ตามที่ผมอ่านท่านตั้งกระทู้ ท่านงัดเอาแต่ผลประกอบการที่ผ่านมา
และตัวเลขทางบัญชีมาเป็นโจทย์
ไม่ได้ขัดคอนะครับ
ผมก็มองหุ้นเหล่านี้ไว้เหมือนกัน
แต่ผมมองปัจจุบัน
CEI ต้นทุนการผลิตกำลังเพิ่มขึ้น
(แต่ราคาปรับชึ้นได้หรือเปล่าผมไม่รู้และมีสินค้าค้างสต๊อกตกรุ่นเท่าไหร่ผมไม่รู้)
แฟนซี ราคาวัตถุดิบต้นทุนปรับขึ้นเป็นเท่าตัวเช่นกันคือต้นไม้ยางพารา
จากที่ซื้อขายกันไร่ละไม่กี่พันก็ขึ้นไปเป็นหมื่น(แต่ถ้าปรับราคาได้มากขึ้นตามต้นทุนก็คงจะเริ่มวกกลับในด้านกำไร แต่ปรับกันไม่ได้ก็ต้องพิจารณาอีกที)
แกรมมี่ เพลงดังๆหรืออัลบั้มใหม่ๆออกมาน้อย
แถมยังมีการก๊อปปี้กันเกลื่อน คงจะนับวันถอยหลังลงลดระดับ เพราะแม่เหล็ก อย่าพี่เบิเ อัสนีวสันต์ ไมล์และอื่นๆแทบไม่มีออกชุดใหม่เลย
ผมว่าเราต้องตั้งโจทย์แล้ว ตอบโจทย์ของปัญหา
เหมือนพระท่านว่า......
คนจนก็มีทุกข์แบบคนจน
คนรวยก็มีทุกข์แบบคนรวย
แต่ก็หวัง่าทุกท่านจะผ่านพ้นเหตุการณ์ต่างๆไปได้ดีนะครับเป็นกำลังใจให้ครับ
และตัวเลขทางบัญชีมาเป็นโจทย์
ไม่ได้ขัดคอนะครับ
ผมก็มองหุ้นเหล่านี้ไว้เหมือนกัน
แต่ผมมองปัจจุบัน
CEI ต้นทุนการผลิตกำลังเพิ่มขึ้น
(แต่ราคาปรับชึ้นได้หรือเปล่าผมไม่รู้และมีสินค้าค้างสต๊อกตกรุ่นเท่าไหร่ผมไม่รู้)
แฟนซี ราคาวัตถุดิบต้นทุนปรับขึ้นเป็นเท่าตัวเช่นกันคือต้นไม้ยางพารา
จากที่ซื้อขายกันไร่ละไม่กี่พันก็ขึ้นไปเป็นหมื่น(แต่ถ้าปรับราคาได้มากขึ้นตามต้นทุนก็คงจะเริ่มวกกลับในด้านกำไร แต่ปรับกันไม่ได้ก็ต้องพิจารณาอีกที)
แกรมมี่ เพลงดังๆหรืออัลบั้มใหม่ๆออกมาน้อย
แถมยังมีการก๊อปปี้กันเกลื่อน คงจะนับวันถอยหลังลงลดระดับ เพราะแม่เหล็ก อย่าพี่เบิเ อัสนีวสันต์ ไมล์และอื่นๆแทบไม่มีออกชุดใหม่เลย
ผมว่าเราต้องตั้งโจทย์แล้ว ตอบโจทย์ของปัญหา
เหมือนพระท่านว่า......
คนจนก็มีทุกข์แบบคนจน
คนรวยก็มีทุกข์แบบคนรวย
แต่ก็หวัง่าทุกท่านจะผ่านพ้นเหตุการณ์ต่างๆไปได้ดีนะครับเป็นกำลังใจให้ครับ
-
- ผู้ติดตาม: 0
ความลำบากของ VI
โพสต์ที่ 16
ตอบคุณ harry
รู้สึกว่าจะมีขายที่ร้าน D2S (ไม่แน่ใจว่าเรียกถูกหรือเปล่า) เซ็นทรัลบางนา
และคิดว่าตามศูนย์หนังสือใหญ่ๆ น่าจะมีขายด้วยเช่นกันครับ
รู้สึกว่าจะมีขายที่ร้าน D2S (ไม่แน่ใจว่าเรียกถูกหรือเปล่า) เซ็นทรัลบางนา
และคิดว่าตามศูนย์หนังสือใหญ่ๆ น่าจะมีขายด้วยเช่นกันครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 9795
- ผู้ติดตาม: 0
ความลำบากของ VI
โพสต์ที่ 17
คิดว่าเป็น B2S ครับ ของเซ็นทรัลเอง จับลูกค้ากลุ่มบนถ้าเทียบกับGolden Stock. เขียน:ตอบคุณ harry
รู้สึกว่าจะมีขายที่ร้าน D2S (ไม่แน่ใจว่าเรียกถูกหรือเปล่า) เซ็นทรัลบางนา
และคิดว่าตามศูนย์หนังสือใหญ่ๆ น่าจะมีขายด้วยเช่นกันครับ
SE-ED และ ร้านนายอินทร์
จะมีหนังสือภาษาต่างประเทศอยู่ด้วยค่อนข้างเยอะ มี CD และเครื่องเขียน
ครบ จะคล้ายๆ Asia Book หน่อยๆ ครับ
-
- ผู้ติดตาม: 0
ความลำบากของ VI
โพสต์ที่ 18
เป็นเรื่องไม่ง่ายเลยครับที่จะสะสมประสบการณ์การลงทุนในแบบVI ผมว่าปัจจัยสำคัญคือ เรื่องใจล้วนๆๆๆเลยครับ ใจต้องนิ่ง ความรู้และประสบการณ์การที่แน่นพอ...ผมเองพออ่านไปเรื่อยๆๆก็พบว่ายิ่งอ่านยิ่งกลัวมากขึ้น--เพราะเราไม่ได้มีความรู้อย่างจริงๆๆ อย่างเช่นการดูตัวเลขทางบัญชีอย่างเดียวแล้วนำมาเป็นข้อมูลตัดสินใจในการลงทุน ผมว่ามีความเสี่ยงสูงครับ เล่ห์กลในทางบัญชีสำหรับผู้รู้จริงถึงจะได้กลิ่น จึงต้องอาศัยอย่างอื่นมาประกอบอย่างเช่น ความรู้ทางการเงิน เพื่อวิเคราะห์สภาพคล่องทางธุรกิจ ,ต้องอาศัยความรู้เรื่องGood goverance ,ต้องเข้าใจขบวนการในการบริหารจัดการที่ใช้(CEOเป็นใคร มีผลงานในอดีตเป็นยังไง)----สรุปต้องเข้าใจในธุรกิจและวิธีการทำธุรกิจนั้นๆๆ-----เสมือนเข้าไปเป็นเจ้าของเอง.
ในลำนาวาและทะเลแห่งการลงทุน เราอาจคาดเดาพายุ คาดเดาความปั่นป่วนของท้องทะเลได้ถูกไม่ทุกครั้งเสมอไป สรรพสิ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัย การเตรียมตัวให้พร้อม----ฝึกซ้อมว่ายน้ำให้แข็งแรง เตรียมเสบียงให้พร้อมยามเรือแตก มั่นเฝ้าดูเรือชูชีพว่าพร้อมเสมอ เตรียมใจให้เข้มแข็งพร้อมรับเหตุการณ์ต่างๆ
....แต่ละคนก็มีกลยุทธ์และความชอบในสไตล์แตกต่างกัน เพียงแต่เราจะพอใจและมีความสุขกับสไตล์ไหนมากกว่ากันครับ
...สำหรับหนังสือ Competitive Strategy มีเล่มแปลของ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ พิมพ์โดยSE-EDเล่มละ 145 บาทถ้าจำไม่ผิดครับ
ในลำนาวาและทะเลแห่งการลงทุน เราอาจคาดเดาพายุ คาดเดาความปั่นป่วนของท้องทะเลได้ถูกไม่ทุกครั้งเสมอไป สรรพสิ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัย การเตรียมตัวให้พร้อม----ฝึกซ้อมว่ายน้ำให้แข็งแรง เตรียมเสบียงให้พร้อมยามเรือแตก มั่นเฝ้าดูเรือชูชีพว่าพร้อมเสมอ เตรียมใจให้เข้มแข็งพร้อมรับเหตุการณ์ต่างๆ
....แต่ละคนก็มีกลยุทธ์และความชอบในสไตล์แตกต่างกัน เพียงแต่เราจะพอใจและมีความสุขกับสไตล์ไหนมากกว่ากันครับ
...สำหรับหนังสือ Competitive Strategy มีเล่มแปลของ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ พิมพ์โดยSE-EDเล่มละ 145 บาทถ้าจำไม่ผิดครับ
- holidaytours
- Verified User
- โพสต์: 349
- ผู้ติดตาม: 0
ความลำบากของ VI
โพสต์ที่ 19
สำหรับผมความยากลำบากของวีไอคือ
ซื้อหุ้นในขณะที่คนอื่นเทขาย คุณลองนึกถึงเหตุการณ์จริง ๆ ซิคับ
คุยกะใคร เขาก็บอกให้ขาย ใคร ๆ ก็ขาย ข่าวร้าย ๆ ต่าง ๆ ก็เข้ามา
กัดกร่อนจิตใจอันเยือกเย็น อิอิ ..
แต่ถ้าทุกคนไม่เทขายมา เราจะได้หุ้นถูก ๆ หรอ
แต่ข่าวร้ายนี่ซิ คนตกงาน บริษัททยอดปิดกิจการ บริษัทโน้นเจ๊ง นี่ก็เจ๊ง
บริษัทเราจะกระทบป่าวหว่า ...
นั่นคือเราต้องหาหุ้นที่เราซื้อแล้ว เรามั่นใจว่าถึงตลาดจะปิดไป 10 ปีเรา
ก็ยังต้องการมันอยู่ให้ได้ หุ้นแบบนี้เราคงไม่ได้มาง่าย ๆ ใช่ม้า
เราก็ต้องศึกษาอย่างละเอียด เหมือนกับการลงทุนด้วยด้วยอนาคตเราเลยทีเดียวครับ
:D :D
ซื้อหุ้นในขณะที่คนอื่นเทขาย คุณลองนึกถึงเหตุการณ์จริง ๆ ซิคับ
คุยกะใคร เขาก็บอกให้ขาย ใคร ๆ ก็ขาย ข่าวร้าย ๆ ต่าง ๆ ก็เข้ามา
กัดกร่อนจิตใจอันเยือกเย็น อิอิ ..
แต่ถ้าทุกคนไม่เทขายมา เราจะได้หุ้นถูก ๆ หรอ
แต่ข่าวร้ายนี่ซิ คนตกงาน บริษัททยอดปิดกิจการ บริษัทโน้นเจ๊ง นี่ก็เจ๊ง
บริษัทเราจะกระทบป่าวหว่า ...
นั่นคือเราต้องหาหุ้นที่เราซื้อแล้ว เรามั่นใจว่าถึงตลาดจะปิดไป 10 ปีเรา
ก็ยังต้องการมันอยู่ให้ได้ หุ้นแบบนี้เราคงไม่ได้มาง่าย ๆ ใช่ม้า
เราก็ต้องศึกษาอย่างละเอียด เหมือนกับการลงทุนด้วยด้วยอนาคตเราเลยทีเดียวครับ
:D :D
- kurapica
- Verified User
- โพสต์: 587
- ผู้ติดตาม: 0
ความลำบากของ VI
โพสต์ที่ 21
VI part time อย่างผมลำบากอยู่ 2 อย่างคือ
1. การหาเงินมาซื้อหุ้น งานไม่สบาย บางทีไม่มีงาน เงินก็ได้น้อย
2. การเชื่อมั่นในสิ่งที่ตัวเองคิด หามูลค่าหุ้นได้เอง ยังไม่ค่อยจะเชื่อที่ตัวเองหาได้เลย แต่ตัวไหนเห็นชัดก็จัดไปเน้นๆ
1. การหาเงินมาซื้อหุ้น งานไม่สบาย บางทีไม่มีงาน เงินก็ได้น้อย
2. การเชื่อมั่นในสิ่งที่ตัวเองคิด หามูลค่าหุ้นได้เอง ยังไม่ค่อยจะเชื่อที่ตัวเองหาได้เลย แต่ตัวไหนเห็นชัดก็จัดไปเน้นๆ
ยอดดอยอยู่ไหนจ๊ะ ขึ้นมามากแล้วนะ
-
- Verified User
- โพสต์: 5
- ผู้ติดตาม: 0
ความลำบากของ VI
โพสต์ที่ 22
ความคิดเห็นนี้ แทงใจมือใหม่ อย่างผม เสียนี่กระไรเลยVI part time อย่างผมลำบากอยู่ 2 อย่างคือ
1. การหาเงินมาซื้อหุ้น งานไม่สบาย บางทีไม่มีงาน เงินก็ได้น้อย
2. การเชื่อมั่นในสิ่งที่ตัวเองคิด หามูลค่าหุ้นได้เอง ยังไม่ค่อยจะเชื่อที่ตัวเองหาได้เลย แต่ตัวไหนเห็นชัดก็จัดไปเน้นๆ