การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
-
sattaya
- Verified User
- โพสต์: 1372
- ผู้ติดตาม: 1
สืบเนื่องจากกระทู้ที่พี่ฉัตรชัยถามเรื่อง P/E และได้พูดถึง P/FCF
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopi ... c&start=30
mprandy เขียน:
เห็นด้วยกับเฮียฉัตรครับ PEG ratio จะต้องเทียบจาก long term growth เสมอ แต่คนทั่วไปชอบเข้าใจว่าเป็น growth ของปีก่อน หรือ growth ปีนี้/ปีหน้า
เรื่อง PEG ratio ที่เฮียถาม เข้าใจว่ามาจากหนังสือ Peter Lynch
อันสุดท้าย สำหรับเรื่อง P/FCF นี่ ถ้าบริษัทอยู่ในช่วงเติบโต มีกระแสเงินสดติดลบ จะเอามาใช้ยังไงดี
ผมลองไปค้นดูในคลังสมบัติเจอกระทู้คุณค่าหนึ่ง
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=1096
แต่ยังติดใจประเด็นพี่หมอถามว่า
จะเอามาใช้ยังไงดี
เลยขออนุญาตตั้งกระทู้ใหม่เพื่อถามพี่ฉัตรชัยหรือท่านผู้รู้ท่านอื่นว่า
1. เมื่อเราได้ FCF แล้วจะใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
2. เราจะรู้ได้อย่างไรว่า FCF นั้นเป็นของจริงไม่ได้ถูกผู้บริหารโรยผักชี
3. ข้อนี้ไม่รู้เป็นการขอมากเกินไปไหม อยากให้พี่ๆลองยกตัวอย่างการคิด FCF และการนำมาใช้ประโยชน์ให้ดูหน่อยครับ
-
sattaya
- Verified User
- โพสต์: 1372
- ผู้ติดตาม: 1
หลังจากได้ความรู้จากพี่ฉัตรชัยในงานจิบเบียร์เมื่อวันศุกร์ ผมก็มาลองเขียนขั้นตอนการหาและการใช้ FCF
1. แกะงบกระแสเงินสดเพื่อหา CF จากการดำเนินงาน CF จากการลงทุน CF จากการจัดหาเงิน ตัดรายการที่คิดว่าไม่เกี่ยวข้องออก โดยจะต้องใช้หมายเหตุประกอบงบการเงินควบคู่ไปด้วย
2. แยกรายการและความเหมาะสมของรายการโดยต้องพิจารณาว่ารายการใดควรอยู่ที่ใด จุดนี้ค่อนข้างสำคัญ เพราะถ้าอยู่ผิดตำแหน่งอาจทำให้เราวาง position ของบริษัทผิดได้ว่า บริษัทนั้นควรอยู่ในกลุ่ม เริ่มต้น เติบโต มั่นคง หรือเป็นห่านทองคำ
3. ใช้ Ratio ต่างๆ เพื่อหาความเหมาะสมของสินทรัพย์ และหนี้สินในการดำเนินงานคงเหลือ
4. คำนวณหา FCF จะได้ค่า FCF จากนั้นทำการ Forecast FCF อนาคตโดยดูจากอัตราการเพิ่มขึ้นในอดีต และความเป็นไปได้ในการเพิ่มขึ้นของ FCF ในอนาคต และปรับตามความเหมาะสม
5. วิเคราะห์ความอ่อนไหวของรายได้และค่าใช้จ่าย
6. กำหนด MS ทำการ Discount cash Flow เพื่อหามูลค่าปัจจุบัน
7. นำค่าที่ได้มาเทียบกับราคาปัจจุบันว่าควรจะลุยหรือรอ
ข้อควรระวัง
1. ควรใช้ข้อมูลกระแสเงินสดย้อนหลังให้มากที่สุด
2. ระวังเรื่องความถูกต้องของข้อมูลโดยต้องวิเคราะห์ว่ารายการใดควรตัดทิ้งหรือรายการใดควรอยู่ในกลุ่มใด
3. ควรใช้หมายเหตุประกอบงบควบคู่กับการแกะงบกระแสเงินสด
4. ใช้ Ratio ต่างๆ เป็นตัวช่วยสนการคำนวณ
พี่ๆ ช่วยเพิ่มเติม หรือวิจารณ์ด้วยครับ
สติมา ปัญญาเกิด
-
adi
- Verified User
- โพสต์: 1155
- ผู้ติดตาม: 0
ไม่ควร forecast fcf จากอัตราการเพิ่มในอดีตโดยตรงครับ เราควรจะแยกการ forecast ในแต่ละ element ย่อยๆ
เช่น เราควรจะ forecast
sales, profit margin, capex (ต้องเพียงพอที่จะ support sales growth), chg in WC (ที่พอจะรองรับการขยายตัวของบริษัท), cash taxed, depre. ในแต่ละปีในอนาคตว่าควรจะเป็นเท่าไหร่มากกว่า
อย่างที่ถามว่าใช้ fcf อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด จริงๆแล้วตัวเลขที่หาได้ไม่ค่อยมีประโยชน์เท่าไหร่ แต่วิธีการที่เราจะได้มาทำให้เรารู้จักวิเคราะห์บริษัทมากขึ้น ประโยชน์ที่ได้คือเราสามารถเอาไป forecast fcf ในอนาคตได้แม่นยำมากขึ้นมากกว่าครับ
สุดท้ายผมแนะนำให้ไม่ต้องสนใจ p/fcf เท่าไหร่ครับ
A Cynic Knows the Price of Everything and the Value of Nothing
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan
-
chatchai
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
adi เขียน:สุดท้ายผมแนะนำให้ไม่ต้องสนใจ p/fcf เท่าไหร่ครับ
ทำไมถึงไม่ต้องสนใจมากนักละครับ แล้วควรสนใจอะไรมากๆ
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
adi
- Verified User
- โพสต์: 1155
- ผู้ติดตาม: 0
ควรสนใจ stream ของ fcf ที่บริษัทจะทำได้มากกว่า ปีใดปีหนึ่งครับ
A Cynic Knows the Price of Everything and the Value of Nothing
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan
-
chatchai
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
adi เขียน:ควรสนใจ stream ของ fcf ที่บริษัทจะทำได้มากกว่า ปีใดปีหนึ่งครับ
คุณ adi เล่นโพสต์สั้นๆ ทำเอาผมตกใจหมดเลย
นึกว่าอาจารย์ที่สอนผมมา สอนผิดซะแล้ว :lovl:
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
adi
- Verified User
- โพสต์: 1155
- ผู้ติดตาม: 0
เสียดายครับที่ไม่ได้ไปงานจิบเบียร์ เลยอดเจอพี่ฉัตรชัยเลยครับ :D
A Cynic Knows the Price of Everything and the Value of Nothing
-Oscar Wilde, Lady Windemeres Fan
-
sattaya
- Verified User
- โพสต์: 1372
- ผู้ติดตาม: 1
adi เขียน:ไม่ควร forecast fcf จากอัตราการเพิ่มในอดีตโดยตรงครับ เราควรจะแยกการ forecast ในแต่ละ element ย่อยๆ
เช่น เราควรจะ forecast
sales, profit margin, capex (ต้องเพียงพอที่จะ support sales growth), chg in WC (ที่พอจะรองรับการขยายตัวของบริษัท), cash taxed, depre. ในแต่ละปีในอนาคตว่าควรจะเป็นเท่าไหร่มากกว่า
อย่างที่ถามว่าใช้ fcf อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด จริงๆแล้วตัวเลขที่หาได้ไม่ค่อยมีประโยชน์เท่าไหร่ แต่วิธีการที่เราจะได้มาทำให้เรารู้จักวิเคราะห์บริษัทมากขึ้น ประโยชน์ที่ได้คือเราสามารถเอาไป forecast fcf ในอนาคตได้แม่นยำมากขึ้นมากกว่าครับ
สุดท้ายผมแนะนำให้ไม่ต้องสนใจ p/fcf เท่าไหร่ครับ
ขอบคุณพี่ adi ครับ เวลา forecast ผมก็แยกเป็น element ครับ (จริงๆแล้ว forecast ทุกงบตั้งแต่งบกำไรขาดทุนยันงบดุล และกระทบมายังกระแสเงินสด) แต่ลืมพิมพ์ :oops:
สติมา ปัญญาเกิด