เงินเฟ้อ อย่างที่เราเจอตอนนี้ ควรใช้มาตรการแบบไหนดีครับ
- ก้อนหิน
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2344
- ผู้ติดตาม: 0
เงินเฟ้อ อย่างที่เราเจอตอนนี้ ควรใช้มาตรการแบบไหนดีครับ
โพสต์ที่ 1
Failure of Inflation Targeting "สติกลิทซ์" คิด... "หมอเลี้ยบ" จุดพลุ
นโยบายการเงินตามแนวทางการกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อ (inflation targeting) เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันมาเป็นระยะๆ ในเรื่องความสัมฤทธิผลของนโยบาย ภายใต้ปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป แต่ไม่ค่อยจะเป็น ข้อถกเถียงที่เด่นชัดนักในประเทศไทย
กระทั่งเมื่อ น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี หยิบยกเอามุมมองของ "โจเซฟ สติกลิทซ์" นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ปี 2544 มาอ้างถึง ประกอบการวิจารณ์การปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม
โดยเฉพาะข้อสังเกตของสติกลิทซ์ที่ว่า อัตราเงินเฟ้อที่มาจากปัจจัยภายนอกคือราคาน้ำมัน ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยอัตรา ดอกเบี้ย เพราะมันจะทำให้เศรษฐกิจฟุบ ชะลอตัว ผู้ประกอบการล้มละลายได้
ทำให้การดำเนินนโยบายการเงินตามแนวทาง inflation targeting กลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง
มุมมองต่างของสติกลิทซ์ที่ น.พ.สุรพงษ์อ้างถึงมาจากบทความเรื่อง "The Failure of Inflation Tageting" เผยแพร่ในเว็บไซต์ www.project-syndicate.org ซึ่งเปิดประเด็นตรงๆ ที่ปรากฏการณ์ของธนาคารกลางหลายประเทศ ได้นำแนวทาง inflation targeting มาประยุกต์ใช้แทนนโยบายการเงินตามแนวทางของสำนักการเงินนิยม (แบบเน้นอุปทาน)
กลไกการทำงานของนโยบายการเงินแนวทางนี้คือ เมื่อใดก็ตามที่ราคาเพิ่มขึ้นเกินระดับเป้าหมายหนึ่ง (ที่ธนาคารกลางกำหนดไว้) อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะต้องปรับขึ้น "วิธีการอันหยาบๆ นี้อ้างอิงทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์หรือหลักฐานเชิงประจักษ์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น แม้ไม่มีเหตุผลที่จะไปคาดเดาว่าแนวทางนี้ไม่ได้คำนึงถึงแหล่งที่มาของเงินเฟ้อ"
ด้วยเหตุนี้ทำให้สติกลิทซ์คาดหวังว่าประเทศส่วนใหญ่จะมีสำนึกที่ดีที่จะไม่นำแนวทางการกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อมาใช้ เพราะกังวลกับผลกระทบที่จะตกอยู่กับพลเมืองของประเทศเหล่านั้น (อย่างไรก็ตามในบทความของสติกลิทซ์เอง ได้ให้รายชื่อประเทศที่นำนโยบายการเงินแนวทางนี้มาปรับใช้แล้วอย่างเป็นทางการในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ได้แก่ สาธารณรัฐเช็ก โปแลนด์ บราซิล ชิลี โคลัมเบีย แอฟริกาใต้ ไทย เกาหลีใต้ เม็กซิโก ฮังการี เปรู ฟิลิปปินส์ สโลวัก อินโดนีเซีย โรมาเนีย นิวซีแลนด์ แคนาดา อังกฤษ สวีเดน ออสเตรเลีย ไอซ์แลนด์ และนอร์เวย์)
เขาเตือนว่า จากสภาพการณ์ในปัจจุบันแนวทางแบบกำหนดกรอบเงินเฟ้อกำลังถูกทดสอบและเกือบจะล้มเลวอย่างแน่นอนแล้ว
"ปัจจุบันประเทศกำลังพัฒนาเผชิญกับอัตราเงินเฟ้อสูงซึ่งไม่ได้เป็นเพราะการบริหารนโยบายมหภาคที่ด้อยประสิทธิภาพ แต่เป็นเพราะราคาอาหาร และน้ำมันกำลังปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และรายการเหล่านี้คิดเป็นสัดส่วนที่ใหญ่มากในงบใช้จ่ายของครัวเรือนโดยเฉลี่ย เมื่อเทียบกับครัวเรือนประเทศร่ำรวย"
สติกลิทซ์เรียก "เงินเฟ้อ" ในประเทศกำลังพัฒนาว่า ส่วนใหญ่เป็นเงินเฟ้อนำเข้า ดังนั้นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะไม่ส่ง ผลกระทบมากนักต่อราคาในต่างประเทศของพืชพันธุ์ธัญญาหารหรือเชื้อเพลง "ซึ่งอันที่จริงหากพิจารณาจากขนาดของเศรษฐกิจสหรัฐ การชะลอตัวของที่นั่นอาจส่งผลกระทบต่อระดับราคาทั่วโลกได้มากกว่าในประเทศกำลังพัฒนาทุกราย ดังนั้นหากมองจากระดับโลกแล้วก็ควรจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐมากกว่า ไม่ใช่ ในประเทศกำลังพัฒนา"
เขามองว่าตราบใดที่ประเทศกำลังพัฒนายังคงเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจทั่วโลกอยู่ โดยที่ไม่มีการดำเนินมาตรการใดจำกัดผลกระทบของราคาในต่างประเทศที่มีต่อราคาในประเทศ เพราะทั้งราคาข้าวในประเทศและราคาพืชพันธุ์ธัญญาหารต่างๆ มีแนวโน้มจะปรับขึ้น เมื่อราคาต่างประเทศปรับขึ้น ราคาน้ำมันและอาหารที่สูงขึ้นเป็นภัย "ยกกำลัง 3" เพราะประเทศนำเข้าจะต้องใช้เงินมากขึ้นในการซื้อ ในการนำเข้ามา และในการแจกจ่ายไปยังผู้บริโภค ที่อยู่ห่างไกลออกไป
ในความคิดของสติกลิทซ์ แม้การขึ้นดอกเบี้ยจะสามารถดึง อุปสงค์รวมลงซึ่งส่งผลต่อเนื่องไปลดการเติบโตทางเศรษฐกิจและชะลอการขึ้นของราคาสินค้าและบริการบางชนิด แต่หากไม่สามารถดึงระดับราคาลงมาในระดับที่ยอมรับได้ มาตรการเหล่านี้โดยลำพังไม่สามารถดึงอัตราเงินเฟ้อลงมาสู่ระดับเป้าหมายได้
ยกตัวอย่างแม้ว่าราคาอาหารและพลังงานทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นในระดับปานกลางกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เช่น สัก 20% ต่อปี และการเพิ่มขึ้นดังกล่าวมีผลต่อราคาภายในประเทศ ซึ่งการจะดึงอัตราเงินเฟ้อโดยรวมลงมาที่ระดับประมาณ 3% ได้ จะต้องทำให้ราคาในส่วนอื่นๆ ลดลงอย่างมากด้วย นั่นย่อมจะส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวตามมา และมีอัตราว่างงานสูง "แนวทางแก้ไขวิธีนี้อาจเลวร้าย กว่าโรคระบาดเสียอีก"
เมื่อเป็นเช่นนี้ควรจะทำอย่างไรดี ? สติกลิทซ์เสนอแนะว่า ประการแรก ไม่ควรจะไปตำหนินักการเมืองหรือผู้ว่าการธนาคารกลางในกรณีของ "เงินเฟ้อนำเข้า" เช่นเดียวกับที่ไม่จำเป็นต้องให้เครดิตคนกลุ่มนี้ในช่วงที่เงินเฟ้อต่ำ เพราะเป็นช่วงที่ปัจจัยแวดล้อมทั่วโลกเอื้ออำนวย
ดังเช่นกรณีของ อลัน กรีนสแปน อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐ ซึ่งในช่วงนี้ถูกตำหนิที่ทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นในอเมริกา แต่ในบางเวลาเขาได้รับการยกย่องที่ทำให้เงินเฟ้อในสหรัฐอยู่ในระดับต่ำในช่วงที่เขาคุมนโยบายการเงินของประเทศนี้อยู่ แต่ความจริงก็คือในยุคของกรีนสแปนได้รับประโยชน์จากราคาสินค้า คอมโมดิตี้ตกต่ำ และภาวะ "เงินฝืด" ที่มาจากจีนซึ่งช่วยให้สามารถควบคุมราคาสินค้าในภาคการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
"ประการที่สอง เราต้องตระหนักว่า ราคาที่สูงขึ้นสามารถสร้างปัญหาได้อย่างมากมาย โดยเฉพาะต่อกลุ่มคนที่มีรายได้ต่ำ การจลาจล และการประท้วงในประเทศกำลังพัฒนาบางราย คือประจักษ์พยานที่เลวร้ายที่สุดของสถานการณ์นี้"
ในตอนท้ายสติกลิทซ์ย้ำว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดคือทั้งประเทศกำลังพัฒนา และประเทศพัฒนาแล้วจำเป็นต้องยกเลิกนโยบายการเงินตามแนวทาง inflation targeting เพราะ "ความพยายามในการสนองตอบต่อการขึ้นของราคาอาหารและพลังงานจึงเป็นเรื่องยากพอสมควร ยิ่งในช่วงที่เศรษฐกิจอ่อนแอลงและมีการว่างงานมากขึ้น การใช้นโยบายกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อจะไม่ส่งผลต่อเงินเฟ้อมากนัก แต่จะยิ่งทำให้การทำงานเพื่อให้อยู่รอดได้ในสภาพแวดล้อมเหล่านี้ยากมากขึ้น"
นี่คือเนื้อหาหลักๆ ส่วนหนึ่งในบทความของสติกลิทซ์ซึ่งนอกเหนือจาก น.พ.สุรพงษ์และทีมที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจเห็นด้วยและคิดคล้อยตามแล้ว ยังมีนักเศรษฐศาสตร์ระดับแถวหน้าอีกจำนวนไม่น้อยที่มองเห็นจุดอ่อนของ inflation targeting ในจำนวนนั้นรวมถึง เดวิด บลันช์ฟลาวเวอร์ หนึ่งในคณะกรรมการกำหนดนโยบายของธนาคารกลางอังกฤษ ซึ่งเพิ่งจะออกมาขย่มขวัญคนอังกฤษเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า อังกฤษกำลังเข้าใกล้ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจและอาจจะเลวร้ายกว่าภาวะถดถอยในสหรัฐ
อย่างไรก็ตามแนวคิดดังกล่าวใช่จะมีแต่คนเห็นด้วย คนที่คิดต่างก็มาก ซึ่งหากไม่นับ ธาริษา วัฒนเกส และเจ้าหน้าที่ระดับสูงในธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้ว่าการธนาคารกลางเกือบทุกแห่งที่นำแนวทางนี้มาใช้ก็ล้วนแต่มองเห็นต่างทั้งสิ้น ในจำนวนนั้นรวมถึง เมอร์วิน คิง ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ และ เกลน สตีเฟนส์ ผู้ว่าการธนาคารกลางออสเตรเลีย
ในแง่ของนักวิชาการและนักเศรษฐศาสตร์จากตลาดการเงิน ก็มีหลายเสียงที่เห็นขัดแย้งกับสติกลิทซ์ ในช่วงที่เขาวิพากษ์นโยบายการเงินของธนาคารกลางออสเตรเลียในช่วงเดือนพฤษภาคม
ดังคำตอบโต้ของ ซาอูล เอสเลค หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จากธนาคารเอเอ็นซีที่ระบุว่า คำวิจารณ์ของสติกลิทซ์ต่อ inflation targeting เป็นไปอย่างพื้นๆ และไม่น่าเชื่อถือ ขณะที่ จอห์น ฟรีเบรน นักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น กล่าวว่า inflation targeting มีความสมบูรณ์เพียงพอที่จะจัดการกับการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าและบริการ อีกทั้ง เขาไม่เชื่อว่าธนาคารกลางหรือนักวิชาการรายหนึ่งรายใดในช่วงนี้มีการพัฒนานโยบายการเงินทางเลือกที่สามารถสนองต่อการทะยานอย่างต่อเนื่องของราคาสินทรัพย์รองรับไว้แล้ว
อีกหนึ่งมุมมองต่างที่น่าสนใจมาจาก "มัลคอล์ม ดี ไนต์" ผู้จัดการทั่วไป ของธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) โดยระบุว่า โดยตัวของ inflation targeting แล้ว ไม่ใช่ยาครอบจักรวาล แต่จำเป็นต้องได้การสนับสนุนจากการดำเนินนโยบายการคลังที่ยั่งยืนควบคู่กันไป ภายใต้เงื่อนไขสำคัญ 2 ประการ ได้แก่ ประการแรก ธนาคารกลางต้องไม่ไปก่อหนี้โดยตรง เพื่ออุดช่องโหว่ของการขาดดุลให้กับรัฐบาล และอีกประการหนึ่ง นโยบายการคลังจะต้องดำเนินภายใต้กรอบของความยั่งยืน
บางรายเป็นคอลัมนิสต์ดัง อาทิ ไมเคิล อาร์ เซซิต คอลัมนิสต์ของ บลูมเบิร์ก และเมแกน แมคอาร์เดิล จากดิ อีโคโนมิสต์
บทวิเคราะห์เซซิตตั้งข้อสังเกตว่า สติกลิทซ์อาจตั้งข้อสังเกตพลาดที่ระบุว่า เงินเฟ้อในประเทศกำลังพัฒนาเป็น "ปรากฏการณ์จากภายนอก"
นั่นเท่ากับว่าได้มองข้ามหลายๆ เรื่องไป อาทิ การอุดหนุน ซึ่งประเทศกำลังพัฒนาจัดสรรให้กับประชากร การใช้พลังงานอย่างไร้ประสิทธิภาพ และพฤติกรรมของธนาคารกลางในเอเชียและตะวันออกกลางหลายแห่งที่ผูกค่าเงินกับดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งทำให้ต้อง "นำเข้า" นโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐมาด้วย
เซซิตอ้างว่า หากพิจารณาจากข้อมูลในอดีต พบว่าในช่วง 50 ปีที่ผ่านมาอัตราเงินเฟ้อสูงที่สุดที่มาพร้อมๆ กับอัตราการเติบโต ต่ำที่สุด ในช่วงเกิดภาวะเศรษฐกิจชะงักงันและเงินเฟ้อสูง ในช่วงทศวรรษ 1970 อันเป็นผลมาจากวิกฤตการณ์ราคาน้ำมัน ซึ่งการดำเนินนโยบายการเงินเข้มงวดของ "พอล โวล์คเกอร์" ประธานธนาคารกลางสหรัฐ และธนาคารกลางอื่นๆ ในช่วงทศวรรษ 1980 ในที่สุดก็ส่งผลให้เงินเฟ้อลดต่ำลง เศรษฐกิจขยายตัวเร็วขึ้น มีการจ้างงานและการลงทุนเพิ่มมากขึ้น
เซซิตทิ้งท้ายว่า เป้าหมายเงินเฟ้อควรจะสะท้อนความเป็นจริง ธนาคารกลางที่ใช้นโยบายการเงินนี้ต้องมีวินัย ปลอดจากอิทธิพลทางการเมือง และนโยบายของพวกเขาอาจจะต้องสะท้อนความเต็มใจของพลเมืองที่จะยืนหยัดยอมรับความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นจากการควบคุมเงินเฟ้อให้เป็นตามเป้าหมาย
ประเด็นโต้แย้งๆ ที่พบในเว็บบล็อกของนักเศรษฐศาสตร์ต่างๆ ได้แก่ inflation targeting ไม่ใช่หลักการเลื่อนลอยแต่มีรากฐานมาจากทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ที่เป็นต้นรากของแนวคิดนี้ก็ได้รับรางวัลโนเบล ในปี 2547 เช่นกัน คือ ฟินน์ คิดแลนด์ และเอ็ดเวิร์ด เพรสคอตต์ (Finn Kydland and Edward Prescott)
ผลงานของทั้งสองไม่เพียงแต่ช่วยเปลี่ยนโฉมหน้าการวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ แต่ยังมีอิทธิพลต่อการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ โดยเฉพาะนโยบายการเงิน เนื่องจาก inflation targeting ได้รับการพัฒนาขึ้น เพื่อสนองตอบต่อประเด็นปัญหาที่นักเศรษฐศาสตร์ทั้งสองท่านได้ค้นพบ จากการวิจัยการดำเนินนโยบายการเงินและการคลังพร้อมๆ กัน เพื่อแก้ไขปัญหาความผันผวนของภาคธุรกิจ ในช่วงทศวรรษ 1970
ทั้งนี้ inflation targeting เกิดขึ้นในช่วงที่อัตราเงินเฟ้อ พุ่งทะยานเป็นเลข 2 หลัก ในทศวรรษ 1970 และหลังจากนั้นก็มีการนำแนวทางนี้มาใช้ในนิวซีแลนด์เป็นประเทศแรก ก่อนจะไปยังธนาคารกลางของประเทศอื่นๆ
นโยบายการเงินตามแนวทางการกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อ (inflation targeting) เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันมาเป็นระยะๆ ในเรื่องความสัมฤทธิผลของนโยบาย ภายใต้ปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป แต่ไม่ค่อยจะเป็น ข้อถกเถียงที่เด่นชัดนักในประเทศไทย
กระทั่งเมื่อ น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี หยิบยกเอามุมมองของ "โจเซฟ สติกลิทซ์" นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ปี 2544 มาอ้างถึง ประกอบการวิจารณ์การปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม
โดยเฉพาะข้อสังเกตของสติกลิทซ์ที่ว่า อัตราเงินเฟ้อที่มาจากปัจจัยภายนอกคือราคาน้ำมัน ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยอัตรา ดอกเบี้ย เพราะมันจะทำให้เศรษฐกิจฟุบ ชะลอตัว ผู้ประกอบการล้มละลายได้
ทำให้การดำเนินนโยบายการเงินตามแนวทาง inflation targeting กลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง
มุมมองต่างของสติกลิทซ์ที่ น.พ.สุรพงษ์อ้างถึงมาจากบทความเรื่อง "The Failure of Inflation Tageting" เผยแพร่ในเว็บไซต์ www.project-syndicate.org ซึ่งเปิดประเด็นตรงๆ ที่ปรากฏการณ์ของธนาคารกลางหลายประเทศ ได้นำแนวทาง inflation targeting มาประยุกต์ใช้แทนนโยบายการเงินตามแนวทางของสำนักการเงินนิยม (แบบเน้นอุปทาน)
กลไกการทำงานของนโยบายการเงินแนวทางนี้คือ เมื่อใดก็ตามที่ราคาเพิ่มขึ้นเกินระดับเป้าหมายหนึ่ง (ที่ธนาคารกลางกำหนดไว้) อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะต้องปรับขึ้น "วิธีการอันหยาบๆ นี้อ้างอิงทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์หรือหลักฐานเชิงประจักษ์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น แม้ไม่มีเหตุผลที่จะไปคาดเดาว่าแนวทางนี้ไม่ได้คำนึงถึงแหล่งที่มาของเงินเฟ้อ"
ด้วยเหตุนี้ทำให้สติกลิทซ์คาดหวังว่าประเทศส่วนใหญ่จะมีสำนึกที่ดีที่จะไม่นำแนวทางการกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อมาใช้ เพราะกังวลกับผลกระทบที่จะตกอยู่กับพลเมืองของประเทศเหล่านั้น (อย่างไรก็ตามในบทความของสติกลิทซ์เอง ได้ให้รายชื่อประเทศที่นำนโยบายการเงินแนวทางนี้มาปรับใช้แล้วอย่างเป็นทางการในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ได้แก่ สาธารณรัฐเช็ก โปแลนด์ บราซิล ชิลี โคลัมเบีย แอฟริกาใต้ ไทย เกาหลีใต้ เม็กซิโก ฮังการี เปรู ฟิลิปปินส์ สโลวัก อินโดนีเซีย โรมาเนีย นิวซีแลนด์ แคนาดา อังกฤษ สวีเดน ออสเตรเลีย ไอซ์แลนด์ และนอร์เวย์)
เขาเตือนว่า จากสภาพการณ์ในปัจจุบันแนวทางแบบกำหนดกรอบเงินเฟ้อกำลังถูกทดสอบและเกือบจะล้มเลวอย่างแน่นอนแล้ว
"ปัจจุบันประเทศกำลังพัฒนาเผชิญกับอัตราเงินเฟ้อสูงซึ่งไม่ได้เป็นเพราะการบริหารนโยบายมหภาคที่ด้อยประสิทธิภาพ แต่เป็นเพราะราคาอาหาร และน้ำมันกำลังปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และรายการเหล่านี้คิดเป็นสัดส่วนที่ใหญ่มากในงบใช้จ่ายของครัวเรือนโดยเฉลี่ย เมื่อเทียบกับครัวเรือนประเทศร่ำรวย"
สติกลิทซ์เรียก "เงินเฟ้อ" ในประเทศกำลังพัฒนาว่า ส่วนใหญ่เป็นเงินเฟ้อนำเข้า ดังนั้นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะไม่ส่ง ผลกระทบมากนักต่อราคาในต่างประเทศของพืชพันธุ์ธัญญาหารหรือเชื้อเพลง "ซึ่งอันที่จริงหากพิจารณาจากขนาดของเศรษฐกิจสหรัฐ การชะลอตัวของที่นั่นอาจส่งผลกระทบต่อระดับราคาทั่วโลกได้มากกว่าในประเทศกำลังพัฒนาทุกราย ดังนั้นหากมองจากระดับโลกแล้วก็ควรจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐมากกว่า ไม่ใช่ ในประเทศกำลังพัฒนา"
เขามองว่าตราบใดที่ประเทศกำลังพัฒนายังคงเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจทั่วโลกอยู่ โดยที่ไม่มีการดำเนินมาตรการใดจำกัดผลกระทบของราคาในต่างประเทศที่มีต่อราคาในประเทศ เพราะทั้งราคาข้าวในประเทศและราคาพืชพันธุ์ธัญญาหารต่างๆ มีแนวโน้มจะปรับขึ้น เมื่อราคาต่างประเทศปรับขึ้น ราคาน้ำมันและอาหารที่สูงขึ้นเป็นภัย "ยกกำลัง 3" เพราะประเทศนำเข้าจะต้องใช้เงินมากขึ้นในการซื้อ ในการนำเข้ามา และในการแจกจ่ายไปยังผู้บริโภค ที่อยู่ห่างไกลออกไป
ในความคิดของสติกลิทซ์ แม้การขึ้นดอกเบี้ยจะสามารถดึง อุปสงค์รวมลงซึ่งส่งผลต่อเนื่องไปลดการเติบโตทางเศรษฐกิจและชะลอการขึ้นของราคาสินค้าและบริการบางชนิด แต่หากไม่สามารถดึงระดับราคาลงมาในระดับที่ยอมรับได้ มาตรการเหล่านี้โดยลำพังไม่สามารถดึงอัตราเงินเฟ้อลงมาสู่ระดับเป้าหมายได้
ยกตัวอย่างแม้ว่าราคาอาหารและพลังงานทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นในระดับปานกลางกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เช่น สัก 20% ต่อปี และการเพิ่มขึ้นดังกล่าวมีผลต่อราคาภายในประเทศ ซึ่งการจะดึงอัตราเงินเฟ้อโดยรวมลงมาที่ระดับประมาณ 3% ได้ จะต้องทำให้ราคาในส่วนอื่นๆ ลดลงอย่างมากด้วย นั่นย่อมจะส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวตามมา และมีอัตราว่างงานสูง "แนวทางแก้ไขวิธีนี้อาจเลวร้าย กว่าโรคระบาดเสียอีก"
เมื่อเป็นเช่นนี้ควรจะทำอย่างไรดี ? สติกลิทซ์เสนอแนะว่า ประการแรก ไม่ควรจะไปตำหนินักการเมืองหรือผู้ว่าการธนาคารกลางในกรณีของ "เงินเฟ้อนำเข้า" เช่นเดียวกับที่ไม่จำเป็นต้องให้เครดิตคนกลุ่มนี้ในช่วงที่เงินเฟ้อต่ำ เพราะเป็นช่วงที่ปัจจัยแวดล้อมทั่วโลกเอื้ออำนวย
ดังเช่นกรณีของ อลัน กรีนสแปน อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐ ซึ่งในช่วงนี้ถูกตำหนิที่ทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นในอเมริกา แต่ในบางเวลาเขาได้รับการยกย่องที่ทำให้เงินเฟ้อในสหรัฐอยู่ในระดับต่ำในช่วงที่เขาคุมนโยบายการเงินของประเทศนี้อยู่ แต่ความจริงก็คือในยุคของกรีนสแปนได้รับประโยชน์จากราคาสินค้า คอมโมดิตี้ตกต่ำ และภาวะ "เงินฝืด" ที่มาจากจีนซึ่งช่วยให้สามารถควบคุมราคาสินค้าในภาคการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
"ประการที่สอง เราต้องตระหนักว่า ราคาที่สูงขึ้นสามารถสร้างปัญหาได้อย่างมากมาย โดยเฉพาะต่อกลุ่มคนที่มีรายได้ต่ำ การจลาจล และการประท้วงในประเทศกำลังพัฒนาบางราย คือประจักษ์พยานที่เลวร้ายที่สุดของสถานการณ์นี้"
ในตอนท้ายสติกลิทซ์ย้ำว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดคือทั้งประเทศกำลังพัฒนา และประเทศพัฒนาแล้วจำเป็นต้องยกเลิกนโยบายการเงินตามแนวทาง inflation targeting เพราะ "ความพยายามในการสนองตอบต่อการขึ้นของราคาอาหารและพลังงานจึงเป็นเรื่องยากพอสมควร ยิ่งในช่วงที่เศรษฐกิจอ่อนแอลงและมีการว่างงานมากขึ้น การใช้นโยบายกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อจะไม่ส่งผลต่อเงินเฟ้อมากนัก แต่จะยิ่งทำให้การทำงานเพื่อให้อยู่รอดได้ในสภาพแวดล้อมเหล่านี้ยากมากขึ้น"
นี่คือเนื้อหาหลักๆ ส่วนหนึ่งในบทความของสติกลิทซ์ซึ่งนอกเหนือจาก น.พ.สุรพงษ์และทีมที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจเห็นด้วยและคิดคล้อยตามแล้ว ยังมีนักเศรษฐศาสตร์ระดับแถวหน้าอีกจำนวนไม่น้อยที่มองเห็นจุดอ่อนของ inflation targeting ในจำนวนนั้นรวมถึง เดวิด บลันช์ฟลาวเวอร์ หนึ่งในคณะกรรมการกำหนดนโยบายของธนาคารกลางอังกฤษ ซึ่งเพิ่งจะออกมาขย่มขวัญคนอังกฤษเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า อังกฤษกำลังเข้าใกล้ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจและอาจจะเลวร้ายกว่าภาวะถดถอยในสหรัฐ
อย่างไรก็ตามแนวคิดดังกล่าวใช่จะมีแต่คนเห็นด้วย คนที่คิดต่างก็มาก ซึ่งหากไม่นับ ธาริษา วัฒนเกส และเจ้าหน้าที่ระดับสูงในธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้ว่าการธนาคารกลางเกือบทุกแห่งที่นำแนวทางนี้มาใช้ก็ล้วนแต่มองเห็นต่างทั้งสิ้น ในจำนวนนั้นรวมถึง เมอร์วิน คิง ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ และ เกลน สตีเฟนส์ ผู้ว่าการธนาคารกลางออสเตรเลีย
ในแง่ของนักวิชาการและนักเศรษฐศาสตร์จากตลาดการเงิน ก็มีหลายเสียงที่เห็นขัดแย้งกับสติกลิทซ์ ในช่วงที่เขาวิพากษ์นโยบายการเงินของธนาคารกลางออสเตรเลียในช่วงเดือนพฤษภาคม
ดังคำตอบโต้ของ ซาอูล เอสเลค หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จากธนาคารเอเอ็นซีที่ระบุว่า คำวิจารณ์ของสติกลิทซ์ต่อ inflation targeting เป็นไปอย่างพื้นๆ และไม่น่าเชื่อถือ ขณะที่ จอห์น ฟรีเบรน นักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น กล่าวว่า inflation targeting มีความสมบูรณ์เพียงพอที่จะจัดการกับการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าและบริการ อีกทั้ง เขาไม่เชื่อว่าธนาคารกลางหรือนักวิชาการรายหนึ่งรายใดในช่วงนี้มีการพัฒนานโยบายการเงินทางเลือกที่สามารถสนองต่อการทะยานอย่างต่อเนื่องของราคาสินทรัพย์รองรับไว้แล้ว
อีกหนึ่งมุมมองต่างที่น่าสนใจมาจาก "มัลคอล์ม ดี ไนต์" ผู้จัดการทั่วไป ของธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) โดยระบุว่า โดยตัวของ inflation targeting แล้ว ไม่ใช่ยาครอบจักรวาล แต่จำเป็นต้องได้การสนับสนุนจากการดำเนินนโยบายการคลังที่ยั่งยืนควบคู่กันไป ภายใต้เงื่อนไขสำคัญ 2 ประการ ได้แก่ ประการแรก ธนาคารกลางต้องไม่ไปก่อหนี้โดยตรง เพื่ออุดช่องโหว่ของการขาดดุลให้กับรัฐบาล และอีกประการหนึ่ง นโยบายการคลังจะต้องดำเนินภายใต้กรอบของความยั่งยืน
บางรายเป็นคอลัมนิสต์ดัง อาทิ ไมเคิล อาร์ เซซิต คอลัมนิสต์ของ บลูมเบิร์ก และเมแกน แมคอาร์เดิล จากดิ อีโคโนมิสต์
บทวิเคราะห์เซซิตตั้งข้อสังเกตว่า สติกลิทซ์อาจตั้งข้อสังเกตพลาดที่ระบุว่า เงินเฟ้อในประเทศกำลังพัฒนาเป็น "ปรากฏการณ์จากภายนอก"
นั่นเท่ากับว่าได้มองข้ามหลายๆ เรื่องไป อาทิ การอุดหนุน ซึ่งประเทศกำลังพัฒนาจัดสรรให้กับประชากร การใช้พลังงานอย่างไร้ประสิทธิภาพ และพฤติกรรมของธนาคารกลางในเอเชียและตะวันออกกลางหลายแห่งที่ผูกค่าเงินกับดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งทำให้ต้อง "นำเข้า" นโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐมาด้วย
เซซิตอ้างว่า หากพิจารณาจากข้อมูลในอดีต พบว่าในช่วง 50 ปีที่ผ่านมาอัตราเงินเฟ้อสูงที่สุดที่มาพร้อมๆ กับอัตราการเติบโต ต่ำที่สุด ในช่วงเกิดภาวะเศรษฐกิจชะงักงันและเงินเฟ้อสูง ในช่วงทศวรรษ 1970 อันเป็นผลมาจากวิกฤตการณ์ราคาน้ำมัน ซึ่งการดำเนินนโยบายการเงินเข้มงวดของ "พอล โวล์คเกอร์" ประธานธนาคารกลางสหรัฐ และธนาคารกลางอื่นๆ ในช่วงทศวรรษ 1980 ในที่สุดก็ส่งผลให้เงินเฟ้อลดต่ำลง เศรษฐกิจขยายตัวเร็วขึ้น มีการจ้างงานและการลงทุนเพิ่มมากขึ้น
เซซิตทิ้งท้ายว่า เป้าหมายเงินเฟ้อควรจะสะท้อนความเป็นจริง ธนาคารกลางที่ใช้นโยบายการเงินนี้ต้องมีวินัย ปลอดจากอิทธิพลทางการเมือง และนโยบายของพวกเขาอาจจะต้องสะท้อนความเต็มใจของพลเมืองที่จะยืนหยัดยอมรับความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นจากการควบคุมเงินเฟ้อให้เป็นตามเป้าหมาย
ประเด็นโต้แย้งๆ ที่พบในเว็บบล็อกของนักเศรษฐศาสตร์ต่างๆ ได้แก่ inflation targeting ไม่ใช่หลักการเลื่อนลอยแต่มีรากฐานมาจากทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ที่เป็นต้นรากของแนวคิดนี้ก็ได้รับรางวัลโนเบล ในปี 2547 เช่นกัน คือ ฟินน์ คิดแลนด์ และเอ็ดเวิร์ด เพรสคอตต์ (Finn Kydland and Edward Prescott)
ผลงานของทั้งสองไม่เพียงแต่ช่วยเปลี่ยนโฉมหน้าการวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ แต่ยังมีอิทธิพลต่อการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ โดยเฉพาะนโยบายการเงิน เนื่องจาก inflation targeting ได้รับการพัฒนาขึ้น เพื่อสนองตอบต่อประเด็นปัญหาที่นักเศรษฐศาสตร์ทั้งสองท่านได้ค้นพบ จากการวิจัยการดำเนินนโยบายการเงินและการคลังพร้อมๆ กัน เพื่อแก้ไขปัญหาความผันผวนของภาคธุรกิจ ในช่วงทศวรรษ 1970
ทั้งนี้ inflation targeting เกิดขึ้นในช่วงที่อัตราเงินเฟ้อ พุ่งทะยานเป็นเลข 2 หลัก ในทศวรรษ 1970 และหลังจากนั้นก็มีการนำแนวทางนี้มาใช้ในนิวซีแลนด์เป็นประเทศแรก ก่อนจะไปยังธนาคารกลางของประเทศอื่นๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 1558
- ผู้ติดตาม: 0
เงินเฟ้อ อย่างที่เราเจอตอนนี้ ควรใช้มาตรการแบบไหนดีครับ
โพสต์ที่ 2
ผมก็ไม่เห็นด้วยกับการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อนะ ถ้าเอาแบบผมคิดเอาเองไม่ได้ตามหนังสือที่เรียนๆ กันมานะ ที่สินค้าราคาขึ้น ทำให้เงินเฟ้อครั้งนี้มันไม่ได้เกิดจากคนมีเงินเยอะ เงินเลยเฟ้อ สินค้าเลยขึ้น แต่สินค้ามันขึ้นมาจากต้นทุนที่จำเป็นต้องขึ้น จริงๆ แล้วคนมีเงินน้อยลงเสียอีก เพราะต้องไปจ่ายค่าน้ำมัน ค่ารถ ค่าอาหารเพิ่ม แต่รัฐใช้นโยบายขึ้นดอกเบี้ยเพื่อดึงเงินออกจากระบบ แล้วจะดึงเงินออกทำไมละครับในเมื่อเงินมันน้อยลงกว่าเดิมอยู่แล้ว แบบนี้เรียกว่าซ้ำเติมเข้าไปอีก ยิ่งทำให้ต้นทุนในการทำธุรกิจเพิ่มขึ้น
แต่ผมก็มองว่าถ้าขึ้นแค่ 0.25 -0.5 มันก็ไม่ได้มีผลอะไรมาก นอกจากจะเป็นดอกเบี้ยขาขึ้นจริงๆ ขึ้นเรื่อยๆ เป็น 3-5% แบบนี้ถือว่าเยอะ แต่วันก่อนอ่านหนังสือพิมพ์ก็เห็นมีบางประเทศนะครับที่ดอกเบี้ยพื้นฐานเค้าเกือบสิบเปอร์เซ็นต์ รู้สึกว่ามีอยู่ประเทศนึงเกินสิบด้วย
แต่ผมก็มองว่าถ้าขึ้นแค่ 0.25 -0.5 มันก็ไม่ได้มีผลอะไรมาก นอกจากจะเป็นดอกเบี้ยขาขึ้นจริงๆ ขึ้นเรื่อยๆ เป็น 3-5% แบบนี้ถือว่าเยอะ แต่วันก่อนอ่านหนังสือพิมพ์ก็เห็นมีบางประเทศนะครับที่ดอกเบี้ยพื้นฐานเค้าเกือบสิบเปอร์เซ็นต์ รู้สึกว่ามีอยู่ประเทศนึงเกินสิบด้วย
-
- Verified User
- โพสต์: 1230
- ผู้ติดตาม: 0
เงินเฟ้อ อย่างที่เราเจอตอนนี้ ควรใช้มาตรการแบบไหนดีครับ
โพสต์ที่ 3
ไม่เห็นด้วยกับการขึ้นดอกเบี้ย rp 0.25 บาท ของ ธปท เช่นกัน
ผมว่าวันนี้ ชัดขนาดนี้ อย่าว่าแต่ผู้ประกอบการซึ่งสัมผัสกับ real sector โดยตรง ใคร ๆ ก็รู้ ว่าตอนนี้ ประเทศไทยอยู่ในภาวะเงินเฟ้อ และ เงินฝืด ธปท จึงไม่มีความจำเป็นต้องส่งสัญญานอะไร
การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพียง 0.25 บาท นอกจากจะไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้นมากมาย กลับซ้ำเติมในทางลบ ด้วยการเพิ่มภาระ และ ความกังวล ให้กับผู้ประกอบการ (ผู้กู้เงิน) ด้วยซ้ำ
ผมว่าวันนี้ ชัดขนาดนี้ อย่าว่าแต่ผู้ประกอบการซึ่งสัมผัสกับ real sector โดยตรง ใคร ๆ ก็รู้ ว่าตอนนี้ ประเทศไทยอยู่ในภาวะเงินเฟ้อ และ เงินฝืด ธปท จึงไม่มีความจำเป็นต้องส่งสัญญานอะไร
การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพียง 0.25 บาท นอกจากจะไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้นมากมาย กลับซ้ำเติมในทางลบ ด้วยการเพิ่มภาระ และ ความกังวล ให้กับผู้ประกอบการ (ผู้กู้เงิน) ด้วยซ้ำ
-
- Verified User
- โพสต์: 1558
- ผู้ติดตาม: 0
เงินเฟ้อ อย่างที่เราเจอตอนนี้ ควรใช้มาตรการแบบไหนดีครับ
โพสต์ที่ 4
ถ้ารัฐอยากจะช่วยจริงๆ นะผมว่าช่วยลดส่วนต่างดอกเบี้ยจะดีที่สุด เพิ่มดอกเงินฝาก ลดดอกเงินกู้ ทุกวันนี้ธุรกิจธนาคารเหมือนเสือนอนกิน ส่วนต่างมากเกินไป ถ้าลองเปิดเสรีให้ธนาคารต่างประเทศเข้ามาแบบเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่มีอำนาจบริหารละก็ ผมว่าสู้ไม่ได้แน่ผมว่า ต้นทุนในการบริหารงานต่างกันแบบนี้
-
- Verified User
- โพสต์: 1808
- ผู้ติดตาม: 0
เงินเฟ้อ อย่างที่เราเจอตอนนี้ ควรใช้มาตรการแบบไหนดีครับ
โพสต์ที่ 6
กะทู้นี้พูดเรื่องนี้เหมือนกัน ลองอ่านดูครับ:lol:
http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 01881.html
http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 01881.html
"Risk comes from not knowing what you're doing" - Warren Buffet
สุดยอดของความซับซ้อนคือความเรียบง่าย
http://www.sarut-homesite.net/
สุดยอดของความซับซ้อนคือความเรียบง่าย
http://www.sarut-homesite.net/
- ayethebing
- Verified User
- โพสต์: 2125
- ผู้ติดตาม: 0
เงินเฟ้อ อย่างที่เราเจอตอนนี้ ควรใช้มาตรการแบบไหนดีครับ
โพสต์ที่ 7
แล้วท่าน คิดว่าทำอย่างไรถึงจะทำให้เงินเฟ้อลดลงได้ครับ ลองมองที่แบงก์ชาติมีอำนาจจะทำได้ในกรอบนโยบายการเงินที่ตัวเองดูแลอยู่ก็มีแค่นี้แหละครับ ในส่วนลึกๆ ผมว่าถ้าแบงก์ชาติเบรคโดยการขึ้นดอกเบี้ยในช่วงปีที่แล้วจะช่วยเงินเฟ้อระดับนึง แม้ไม่มากแต่มีผลครับ เหตุผลคือ
1. จะทำให้ค่าเงินบาทของไทยแข็งขึ้น ถึงแม้ภาคส่งออกจะกระทบแต่การนำเข้าสินค้าประเภททุนถูกลง ตอนนั้นแบงก์ชาติกลัวเรื่องผลกระทบเรื่องภาคส่งออกมากจนเกินไป แต่มันก็ฝืนธรรมชาติไม่ไหว เงินบาทก็แข็งอยู่ดี
2. การขึ้นดอกเบี้ยจะทำให้ผู้บริโภคชลอการจับจ่ายใช้สอยลง พอดีมานด์ลง เงินเฟ้อก็ลงไปเอง
แน่นอนมาตรการนี้จะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งจำเป็นในช่วงนี้ก็ได้เพราะ GDP เพิ่มแล้วคนอดอยากปากแห้ง โดยที่ส่วนเพิ่มไปกระจุกตัวกับบริษัทบางบริษัท แล้วมันจะมีประโยชน์อะไรครับ
แล้วเราลองดูสิ่งที่รัฐบาลกำลังทำกับนโยบายการคลังดูครับ
1. ลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันที่ขายปลีก เฉพาะดีเซล แก็สโซฮอลล์
ในระยะสั้นจะทำให้ตัวเลขเงินเฟ้อลดลงครับเพราะดัชนีของเงินเฟ้อที่เป็นการคำนวณจากราคาหลายๆ อย่างมารวมกัน แน่นอนถ้าราคาน้ำมันลด ดัชนีก็ลดลงตามครับ
แต่คิดว่าทำแล้วได้ผลดีระยะยาวหรือไม่ ผลกระทบที่มีกับการคลังของประเทศจากการลดนี้จะทำให้เกิดอะไรขึ้น โครงการเมกาโปรเจกต์ของรัฐบาลที่คิดว่าจะเป็นตัวชูโรงทำให้เศรษฐกิจไทยเคลื่อนไปได้จะเอาเงินจากไหนมาครับ
(หมายเหตุ: ผมว่าถ้าเมกาโปรเจกต์ขึ้น คนไทยส่วนใหญ่จะจนลงเพราะมีหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นในขณะที่มีบริษัทไม่กี่บริษัทจะรวยขึ้นเพราะได้สัมปทาน+สัญญาก่อสร้างครับ รวมนักการเมืองบางท่านในหลายๆ กระทรวงด้วย)
ส่วนในการลดภาษีสรรพสามิตทำให้ต้นทุนสินค้าลดลงหรือไม่ แน่นอนมีผลในค่าขนส่ง แต่การใช้มีส่วนของค่าพลังงานอื่นๆ ด้วย เช่นน้ำมันเตา ไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งพวกนี้ไม่ลดลงเนื่องจากภาษีสรรพสามิตด้วยครับ (เดี๋ยวดู การไฟฟ้าจะขอขึ้นค่า FT อีก)
2. ให้คนนั่งรถเมล์ รถไฟ ฟรี ก็ดีครับ แต่แปลว่ารัฐก็ต้องเข้าไปอุ้มพวกวิสาหกิจพวกนี้อีก ซึ่งก็กลับมาเรื่องรายได้ของรัฐบาลอีกเช่นกัน
3. เอ่อ แล้วเค้าทำอะไรกันอีกเหรอ ไม่มีแล้วนี่
ผมเห็นด้วยกับนโยบายในการหาพลังงานทดแทน รณรงค์ประหยัดพลังงาน ทำขนส่งมวลชนให้ดี เพื่อลดภาระการใช้พลังงานจากภาคผู้บริโภค ผมเห็นด้วยกับนโยบายศึกษาวิเคราะห์เรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ที่จะสร้างให้ปลอดภัย เพื่อลดภาระเรื่องภาคการผลิตไฟฟ้า แต่ดูเหมือนรัฐบาลชุดนี้เอาหลักการตลาดมาใช้กับการบริหารเศรษฐกิจครับ (เช่น ข้าวถุงธงเขียว แล้วไงตอนนี้ข้าวก็ราคา 160 กว่าบาทอยู่ดี) บ่นครับบ่น บ่นท่าน น.พ. สุรพงศ์กับคุณมิ่งขวัญครับ ผมว่าท่านมือใหม่หัดขับจัง เฮ้อ
1. จะทำให้ค่าเงินบาทของไทยแข็งขึ้น ถึงแม้ภาคส่งออกจะกระทบแต่การนำเข้าสินค้าประเภททุนถูกลง ตอนนั้นแบงก์ชาติกลัวเรื่องผลกระทบเรื่องภาคส่งออกมากจนเกินไป แต่มันก็ฝืนธรรมชาติไม่ไหว เงินบาทก็แข็งอยู่ดี
2. การขึ้นดอกเบี้ยจะทำให้ผู้บริโภคชลอการจับจ่ายใช้สอยลง พอดีมานด์ลง เงินเฟ้อก็ลงไปเอง
แน่นอนมาตรการนี้จะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งจำเป็นในช่วงนี้ก็ได้เพราะ GDP เพิ่มแล้วคนอดอยากปากแห้ง โดยที่ส่วนเพิ่มไปกระจุกตัวกับบริษัทบางบริษัท แล้วมันจะมีประโยชน์อะไรครับ
แล้วเราลองดูสิ่งที่รัฐบาลกำลังทำกับนโยบายการคลังดูครับ
1. ลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันที่ขายปลีก เฉพาะดีเซล แก็สโซฮอลล์
ในระยะสั้นจะทำให้ตัวเลขเงินเฟ้อลดลงครับเพราะดัชนีของเงินเฟ้อที่เป็นการคำนวณจากราคาหลายๆ อย่างมารวมกัน แน่นอนถ้าราคาน้ำมันลด ดัชนีก็ลดลงตามครับ
แต่คิดว่าทำแล้วได้ผลดีระยะยาวหรือไม่ ผลกระทบที่มีกับการคลังของประเทศจากการลดนี้จะทำให้เกิดอะไรขึ้น โครงการเมกาโปรเจกต์ของรัฐบาลที่คิดว่าจะเป็นตัวชูโรงทำให้เศรษฐกิจไทยเคลื่อนไปได้จะเอาเงินจากไหนมาครับ
(หมายเหตุ: ผมว่าถ้าเมกาโปรเจกต์ขึ้น คนไทยส่วนใหญ่จะจนลงเพราะมีหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นในขณะที่มีบริษัทไม่กี่บริษัทจะรวยขึ้นเพราะได้สัมปทาน+สัญญาก่อสร้างครับ รวมนักการเมืองบางท่านในหลายๆ กระทรวงด้วย)
ส่วนในการลดภาษีสรรพสามิตทำให้ต้นทุนสินค้าลดลงหรือไม่ แน่นอนมีผลในค่าขนส่ง แต่การใช้มีส่วนของค่าพลังงานอื่นๆ ด้วย เช่นน้ำมันเตา ไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งพวกนี้ไม่ลดลงเนื่องจากภาษีสรรพสามิตด้วยครับ (เดี๋ยวดู การไฟฟ้าจะขอขึ้นค่า FT อีก)
2. ให้คนนั่งรถเมล์ รถไฟ ฟรี ก็ดีครับ แต่แปลว่ารัฐก็ต้องเข้าไปอุ้มพวกวิสาหกิจพวกนี้อีก ซึ่งก็กลับมาเรื่องรายได้ของรัฐบาลอีกเช่นกัน
3. เอ่อ แล้วเค้าทำอะไรกันอีกเหรอ ไม่มีแล้วนี่
ผมเห็นด้วยกับนโยบายในการหาพลังงานทดแทน รณรงค์ประหยัดพลังงาน ทำขนส่งมวลชนให้ดี เพื่อลดภาระการใช้พลังงานจากภาคผู้บริโภค ผมเห็นด้วยกับนโยบายศึกษาวิเคราะห์เรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ที่จะสร้างให้ปลอดภัย เพื่อลดภาระเรื่องภาคการผลิตไฟฟ้า แต่ดูเหมือนรัฐบาลชุดนี้เอาหลักการตลาดมาใช้กับการบริหารเศรษฐกิจครับ (เช่น ข้าวถุงธงเขียว แล้วไงตอนนี้ข้าวก็ราคา 160 กว่าบาทอยู่ดี) บ่นครับบ่น บ่นท่าน น.พ. สุรพงศ์กับคุณมิ่งขวัญครับ ผมว่าท่านมือใหม่หัดขับจัง เฮ้อ
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
- ayethebing
- Verified User
- โพสต์: 2125
- ผู้ติดตาม: 0
เงินเฟ้อ อย่างที่เราเจอตอนนี้ ควรใช้มาตรการแบบไหนดีครับ
โพสต์ที่ 8
กระทู้ที่สินธร สุดยอดครับ ท่านจขคห คุณ m_ple เขียนได้ดีมีข้อมูลสนับสนุนดีมากครับ แนะนำให้อ่านเลยครับ
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
- leaderinshadow
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
เงินเฟ้อ อย่างที่เราเจอตอนนี้ ควรใช้มาตรการแบบไหนดีครับ
โพสต์ที่ 9
เห็นด้วยครับ
Reccomment
http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 01881.html
http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 01881.html
Reccomment
http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 01881.html
โปรดติดตาม ตาม link นี้ได้เลยครับตกลงเราควรขึ้นดอกเบี้ยหรือเปล่าครับ?
สวัสดีครับทุกท่าน
พบกันอีกครั้งตามคำเรียกร้อง (ของใครเหรอ? ฮา)
หัวข้อทางเศรษฐกิจที่กำลังถกเถียงกันอย่างกว้างขวางในตอนนี้คงหนีไม่พ้นเรื่องนโยบายการเงิน ที่ว่าเราควรขึ้นดอกเบี้ยหรือไม่ ใช่ไหมครับ
ฝ่ายที่สนับสนุนให้ขึ้นดอกเบี้ย นำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ (ธพ.) ทั้งหลาย ทั้งอาจารย์อัมมาร สยามวาลา และดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล
ในขณะฝ่ายที่คัดค้านนำโดยกระทรวงการคลัง และนักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังหลายๆ ท่าน อาทิ อาจารย์โกร่ง วีระพงษ์ รามางกูร และอาจารย์โอฬาร ไชยประวัติ
ต่างฝ่ายต่างให้เหตุผลที่น่าเชื่อถือทั้งคู่
ซึ่งวันนี้ก้อจะได้รู้กันล่ะ ว่า กนง.จะตัดสินอย่างไร
และกระทู้นี้ ผมจะมาวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของแต่ละทางให้ทุกท่านใด้รับทราบกันนะครับ
รวมถึงความเห็นของผมด้วยว่า ในความคิดเห็นของผม ผมเห็นด้วยกับฝ่ายไหน
และอยากขอเรียญเชิญทุกท่านแสดงความคิดเห็นในมุมมองเรื่องอัตราดอกเบี้ยของท่านเองด้วยนะครับ
อย่างน้อยก้อถือว่าเป็น Thought Provoking ^^"
ไม่ต้องกังวลว่าจะผิดครับ เพราะไม่ว่าความเห็นของท่านจะเป็นอย่างไรก้อตาม อย่างน้อยท่านมีนักเศรษฐศาสตร์ระดับซือแป๋เรียกพี่ สนับสนุนอยู่ด้วยทั้งสองฝ่ายครับ (ฮา)
Outline ครับ
1. นโยบายเศรษฐกิจมหภาคคืออะไร มีอะไรบ้าง?
2. การขึ้นและลดดอกเบี้ย จะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจอย่างไร?
3. ฝ่ายที่สนับสนุนให้ขึ้นดอกเบี้ยคิดอย่างไร ฝ่ายที่คัดค้านคิดอย่างไร และ m_ple คิดอย่างไร?
ออกตัวนิดหนึ่ง เวลาเขียนน้อยครับ จนบางอันอาจจะไปเร็ว อธิบายไม่ละเอียดมากนัก
(ตอนแรกนึกว่าจะไม่ทัน ก่อน กนง.ประชุมด้วยซ้ำ ^^" )
ถ้าพี่ๆ เพื่อนๆ ท่านใด สงสัยอะไร ถามได้เลยนะครับ (ตอบได้ ไม่ได้อีกเรื่องนะครับ ฮา)
เริ่มกันเลยครับ
แก้ไขเมื่อ 16 ก.ค. 51 08:47:41
จากคุณ : m_ple
http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 01881.html
- Sumotin
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
เงินเฟ้อ อย่างที่เราเจอตอนนี้ ควรใช้มาตรการแบบไหนดีครับ
โพสต์ที่ 10
ผมไม่เห็นด้วยกับการขึ้นดอกเบี้ยครับแต่กลัวอย่างเดียวคือ ดู trend น้ำมันก็เริ่มคงที่แถมลดลงจาก high เดิมกว่า $20 ทั้งราคาน้ำมันในประเทศก็ลดลงอย่างมากในช่วงเดือนที่ผ่านมา กอปกับ 6 มาตราการของรัฐบาลที่ช่วยลด cost เป็นเวลา 6 เดือน ทำให้ สินค้าต่างๆหยุดขึ้นราคา
แล้ว bank ชาติ คิดไปว่าการขึ้นดอกเบี้ยของเค้าให้ผลในทางที่ดี อย่างนี้ทั้งที่ไม่ได้เกี่ยวกับ การขึ้นดอกเบี้ยของเค้าเลย จะเป็นอย่างไรครับ
เพราะดูตอนนี้ นโยบายคลังกับการเงิน ต่างกันคนหละด้านเลย - -'' ที่จริงควรจะ support กันนะครับ
แล้ว bank ชาติ คิดไปว่าการขึ้นดอกเบี้ยของเค้าให้ผลในทางที่ดี อย่างนี้ทั้งที่ไม่ได้เกี่ยวกับ การขึ้นดอกเบี้ยของเค้าเลย จะเป็นอย่างไรครับ
เพราะดูตอนนี้ นโยบายคลังกับการเงิน ต่างกันคนหละด้านเลย - -'' ที่จริงควรจะ support กันนะครับ
Timing is everything, no matter what you do.
CAGR of 34% in the past 15 years of investment
CAGR of 34% in the past 15 years of investment
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
เงินเฟ้อ อย่างที่เราเจอตอนนี้ ควรใช้มาตรการแบบไหนดีครับ
โพสต์ที่ 11
ผมว่าสภาพเศรษฐกิจในไทยตอนนี้ ผู้คนตกใจเกรงกลัวเกินเหตุหรือไม่ครับ การขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพียงแค่ 0.25% คงไม่ส่งผลกระทบให้ธุรกิจโดยรวมของประเทศย่ำแย่ลงหรอกครับ เพราะอัตราดอกเบี้ยของไทยก็ยังอยู่ในระดับที่ไม่สูงนัก เมื่อเทียบกับอดีต หรือแม้แต่ประเทศอื่นๆ :lol:
แต่อัตราเงินเฟ้อนั้น สูงอย่างน่าตกใจอย่างแน่นอน การขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาจจะไม่ทำให้เงินเฟ้อลดลงเป็นหลัก แต่ก็มีส่วนช่วยแน่นอนครับ
แต่อัตราเงินเฟ้อนั้น สูงอย่างน่าตกใจอย่างแน่นอน การขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาจจะไม่ทำให้เงินเฟ้อลดลงเป็นหลัก แต่ก็มีส่วนช่วยแน่นอนครับ
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- Verified User
- โพสต์: 1558
- ผู้ติดตาม: 0
เงินเฟ้อ อย่างที่เราเจอตอนนี้ ควรใช้มาตรการแบบไหนดีครับ
โพสต์ที่ 12
หลังจากที่อ่านในพันทิพย์แล้วผมก็ยังเห็นเหมือนเดิมว่าไม่ควรขึ้นนะ (http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 01881.html) แล้วก็เห็นด้วยกับคุณ Sumotin ที่ว่านโยบายการเงินกับการคลังมันขัดกัน ฝ่ายหนึ่งจะลดเงินเฟ้อโดยขึ้นดอกเบี้ย อีกฝ่ายหนึ่งจะกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยนโยบายต่างๆ มากมาย
ผมมองว่าเศรษฐกิจเราก็ไม่ได้ร้อนแรงอะไร แย่ด้วยซ้ำ ที่บ้านผมค้าขาย ปีที่แล้วว่าแย่แล้ว ปีนี้แย่กว่าอีก ราคาสิ้นค้าที่เอามาขายก็ขึ้น ต้นทุนขึ้น แต่ยอดขายตก คนทั่วไปไม่ได้อยากจะใช้จ่ายมากขึ้น แต่มันจำเป็นต้องจ่าย ทำให้เหลือเงินซื้อสินค้าอย่างอื่นน้อยลง ถ้าจะขึ้นดอกเบี้ยเป็นการซ้ำเติมชัดๆ เพิ่มต้นทุนให้ธุรกิจ เงินในกระเป๋าสำหรับจับจ่ายก็ยิ่งน้อยลงเข้าไปอีก คนขายของก็ไม่ได้อยากจะขึ้นราคาหรอกครับ อย่างที่ร้านผมก็ไม่อยากจะขึ้น เพราะขึ้นแล้วไม่ใช่จะได้กำไรเพิ่ม ขึ้นตามต้นทุน บางครั้งก็ต้องยอมขายราคาเก่าด้วย กำไรหายไปอีก
แต่ขึ้นแค่ .25 ก็เหมือนกับขึ้นแก้เขิน แบบว่าเงินเฟ้อสูงมาก แบ้งค์ชาติต้องทำอะไรซักอย่าง
ผมมองว่าเศรษฐกิจเราก็ไม่ได้ร้อนแรงอะไร แย่ด้วยซ้ำ ที่บ้านผมค้าขาย ปีที่แล้วว่าแย่แล้ว ปีนี้แย่กว่าอีก ราคาสิ้นค้าที่เอามาขายก็ขึ้น ต้นทุนขึ้น แต่ยอดขายตก คนทั่วไปไม่ได้อยากจะใช้จ่ายมากขึ้น แต่มันจำเป็นต้องจ่าย ทำให้เหลือเงินซื้อสินค้าอย่างอื่นน้อยลง ถ้าจะขึ้นดอกเบี้ยเป็นการซ้ำเติมชัดๆ เพิ่มต้นทุนให้ธุรกิจ เงินในกระเป๋าสำหรับจับจ่ายก็ยิ่งน้อยลงเข้าไปอีก คนขายของก็ไม่ได้อยากจะขึ้นราคาหรอกครับ อย่างที่ร้านผมก็ไม่อยากจะขึ้น เพราะขึ้นแล้วไม่ใช่จะได้กำไรเพิ่ม ขึ้นตามต้นทุน บางครั้งก็ต้องยอมขายราคาเก่าด้วย กำไรหายไปอีก
แต่ขึ้นแค่ .25 ก็เหมือนกับขึ้นแก้เขิน แบบว่าเงินเฟ้อสูงมาก แบ้งค์ชาติต้องทำอะไรซักอย่าง
-
- Verified User
- โพสต์: 66
- ผู้ติดตาม: 0
เงินเฟ้อ อย่างที่เราเจอตอนนี้ ควรใช้มาตรการแบบไหนดีครับ
โพสต์ที่ 13
ขอชมเจ้าของกระทู้หน่อยครับ จบวิดวะแต่เห็นสนใจเสดสาดและการลงทุนมากกก
เด็กเสดสาดยังอายครับ
เข้าเรื่องดีกว่า ไม่อธิบายละเอียดละกันครับ
สรุปเป็นประเด็นดีกว่า จะได้ไม่ยาว
ตัวผมเห็นด้วยกับการขึ้นดอกเบี้ยครับ เพราะ
1. เงินเฟ้อเป็นปัญหาคุกคามระยะยาวครับ
เงินเฟ้อจะส่งผลต่อเนื่องไปเรื่อยๆ และจะยิ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ จนเศรษฐกิจพังลง ยกตัวอย่างอาร์เจนนะครับ
คงต้อง trade off ปัญหาด้วยครับ การขึ้น ดบ. อาจมีผลในระยะสั้นที่ทำให้ ศก แย่ลงจริง แต่ในระยะยาวจะช่วย ศก มีเสถียรภาพดีขึ้น
2. เงินเฟ้อเกิดจากการคาดการณ์ด้วย
เห็นได้จาก bond yield เริ่มปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ตัวเลขเงินเฟ้อเริ่มสูงช่วงปลาย Q1 แล้ว และคนเองก้คาดว่าจะขึ้นต่อไปอีก ทั้ง global และไทยเองด้วย นี่ก้เป็นปัญหาใหญ่ไม่น้อยครับ เพราะจะยิ่งผลักดันให้ตัวเลขจริงสูงขึ้นเรื่อยๆ ได้ เป็นสาเหตุที่ BoT บอกว่าต้องลดการคาดการณ์ลงครับ
3. หน้าที่ของ BoT คือควบคุมเงินเฟ้อ + คานอำนาจกับนโยบายการคลัง
ถ้าไม่ทำหน้าที่นี้แล้ว ก้ยิ่งหยุดการคาดการณ์เงินเฟ้อของชาวบ้านไม่ได้ใหญ่ ทำให้ปัญหานี้ลุกลามไป และอีกอย่าง เพื่อคานอำนาจกับนโยบายการคลังเวลาที่คลังใช้นโยบายเช่นบ้านเราทุกนี้ เพื่อสร้างเสถียรภาพในระยะยาว
4. ลด demand
อย่างที่ทุกท่านเข้าใจ เงินเฟ้อเกิดจาก cost push การขึ้นดอกเบี้ยไม่ได้แก้ปัญหาโดยตรง แต่ก้แก้ทางอ้อมละครับ ว่าลด demand ลง ช่วยลดความร้อนแรงของเงินเฟ้อลง
5.ปัญหาดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบครับ
ปัญหานี้ปล่อยไว้ จะกลายเป็นทำให้คนลดการออมในระยะยาวลง ฝากไว้ก้ไม่ได้อะไร เป็นปัญหาต่อการลงทุนของ ปท ต่อไปอีกครับ
6. จังหวะตอนนี้ยังขึ้นได้ครับ
ศก.มีแนวโน้มชะลอ แต่ก้ยังโตได้ดีอยู่ครับ ถ้าปล่อยไว้นานกว่านี้ เงินเฟ้อมากกว่านี้ หยุดไม่อยู่ แล้วมาขึ้น ต้องขึ้นทีเดียวเยอะ ศก จะกระทบรุนแรงมากกว่าการที่ขึ้นเร็ว แต่ค่อยๆ ขึ้นครับ
จริงๆ จะเห็นว่า key ของเรื่องนี้ คือ ความสำคัญของเงินเฟ้อ ว่าปัญหานี้แก้ยากแค่ไหน เรื้อรังแค่ไหนด้วย ถึงจะเห็นพ้องต้องกันว่า ควรแก้เงินเฟ้อก่อนหรือไม่ครับ ไม่งั้นก้จะคิดไปในทางที่คนที่ไม่เห็นด้วยคิดครับ
แค่นี้ก่อนดีกว่า ว่าจะไม่ยาวแล้วนะ :P [/b]
เด็กเสดสาดยังอายครับ
เข้าเรื่องดีกว่า ไม่อธิบายละเอียดละกันครับ
สรุปเป็นประเด็นดีกว่า จะได้ไม่ยาว
ตัวผมเห็นด้วยกับการขึ้นดอกเบี้ยครับ เพราะ
1. เงินเฟ้อเป็นปัญหาคุกคามระยะยาวครับ
เงินเฟ้อจะส่งผลต่อเนื่องไปเรื่อยๆ และจะยิ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ จนเศรษฐกิจพังลง ยกตัวอย่างอาร์เจนนะครับ
คงต้อง trade off ปัญหาด้วยครับ การขึ้น ดบ. อาจมีผลในระยะสั้นที่ทำให้ ศก แย่ลงจริง แต่ในระยะยาวจะช่วย ศก มีเสถียรภาพดีขึ้น
2. เงินเฟ้อเกิดจากการคาดการณ์ด้วย
เห็นได้จาก bond yield เริ่มปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ตัวเลขเงินเฟ้อเริ่มสูงช่วงปลาย Q1 แล้ว และคนเองก้คาดว่าจะขึ้นต่อไปอีก ทั้ง global และไทยเองด้วย นี่ก้เป็นปัญหาใหญ่ไม่น้อยครับ เพราะจะยิ่งผลักดันให้ตัวเลขจริงสูงขึ้นเรื่อยๆ ได้ เป็นสาเหตุที่ BoT บอกว่าต้องลดการคาดการณ์ลงครับ
3. หน้าที่ของ BoT คือควบคุมเงินเฟ้อ + คานอำนาจกับนโยบายการคลัง
ถ้าไม่ทำหน้าที่นี้แล้ว ก้ยิ่งหยุดการคาดการณ์เงินเฟ้อของชาวบ้านไม่ได้ใหญ่ ทำให้ปัญหานี้ลุกลามไป และอีกอย่าง เพื่อคานอำนาจกับนโยบายการคลังเวลาที่คลังใช้นโยบายเช่นบ้านเราทุกนี้ เพื่อสร้างเสถียรภาพในระยะยาว
4. ลด demand
อย่างที่ทุกท่านเข้าใจ เงินเฟ้อเกิดจาก cost push การขึ้นดอกเบี้ยไม่ได้แก้ปัญหาโดยตรง แต่ก้แก้ทางอ้อมละครับ ว่าลด demand ลง ช่วยลดความร้อนแรงของเงินเฟ้อลง
5.ปัญหาดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบครับ
ปัญหานี้ปล่อยไว้ จะกลายเป็นทำให้คนลดการออมในระยะยาวลง ฝากไว้ก้ไม่ได้อะไร เป็นปัญหาต่อการลงทุนของ ปท ต่อไปอีกครับ
6. จังหวะตอนนี้ยังขึ้นได้ครับ
ศก.มีแนวโน้มชะลอ แต่ก้ยังโตได้ดีอยู่ครับ ถ้าปล่อยไว้นานกว่านี้ เงินเฟ้อมากกว่านี้ หยุดไม่อยู่ แล้วมาขึ้น ต้องขึ้นทีเดียวเยอะ ศก จะกระทบรุนแรงมากกว่าการที่ขึ้นเร็ว แต่ค่อยๆ ขึ้นครับ
จริงๆ จะเห็นว่า key ของเรื่องนี้ คือ ความสำคัญของเงินเฟ้อ ว่าปัญหานี้แก้ยากแค่ไหน เรื้อรังแค่ไหนด้วย ถึงจะเห็นพ้องต้องกันว่า ควรแก้เงินเฟ้อก่อนหรือไม่ครับ ไม่งั้นก้จะคิดไปในทางที่คนที่ไม่เห็นด้วยคิดครับ
แค่นี้ก่อนดีกว่า ว่าจะไม่ยาวแล้วนะ :P [/b]