กลยุทธ์ลงทุนหุ้นคุณค่า(Value Investment)ใช้ไม่ได้ผลกับวิกฤติ
-
- Verified User
- โพสต์: 2509
- ผู้ติดตาม: 1
กลยุทธ์ลงทุนหุ้นคุณค่า(Value Investment)ใช้ไม่ได้ผลกับวิกฤติ
โพสต์ที่ 2
จากบทความข้างต้น ผมว่าไม่เห็นจะเกี่ยวกับคำถามว่าหลักการแบบ VI ใช้ได้หรือไม่ได้เลยนะ
แค่มองแนวโน้มธุรกิจผิดพลาด กำไรกิจการไม่ตามเป้า แล้วหุ้นก็ตก ก็ถูกต้องสมควรแก่เหตุผลอยู่แล้วนี่ครับ
แค่มองแนวโน้มธุรกิจผิดพลาด กำไรกิจการไม่ตามเป้า แล้วหุ้นก็ตก ก็ถูกต้องสมควรแก่เหตุผลอยู่แล้วนี่ครับ
- naris
- Verified User
- โพสต์: 6726
- ผู้ติดตาม: 1
กลยุทธ์ลงทุนหุ้นคุณค่า(Value Investment)ใช้ไม่ได้ผลกับวิกฤติ
โพสต์ที่ 3
ผมก็คิดเหมือนพี่FEว่าเขาประเมินธุรกิจพลาด ไม่น่าจะเกี่ยวกับหลักการการลงทุนแนวVI แต่เขาพาดหัวข้อ: กลยุทธ์ลงทุนหุ้นคุณค่า (Value Investment) ใช้ไม่ได้ผลกับวิกฤติ Subprime หลักการการคัดสรรหุ้นแนวVI ผมก็เลยเอามาให้ดูเพราะFinancial Engineer เขียน:จากบทความข้างต้น ผมว่าไม่เห็นจะเกี่ยวกับคำถามว่าหลักการแบบ VI ใช้ได้หรือไม่ได้เลยนะ
แค่มองแนวโน้มธุรกิจผิดพลาด กำไรกิจการไม่ตามเป้า แล้วหุ้นก็ตก ก็ถูกต้องสมควรแก่เหตุผลอยู่แล้วนี่ครับ
1.ผมคิดว่าคนยังไม่รู้จักหลักการการคัดสรรหุ้นแนวนี้อีกพอสมควร :lol:
2.ผมอยากให้เห็นจุดอ่อนของการประเมินมูลค่าธุรกิจว่า เราต้องมองทั้งปัจจัยภายนอก(ภาพใหญ่และเทรนของธุรกิจ)และปัจจัยภายใน(โมเดล นโยบาย และการบริหารธุรกิจ)ว่าเรามองขาดหรือเปล่าครับ ถ้าเราพลาดไม่ใช่หมายความว่ารูปแบบการคัดสรรหุ้นแนวVIผิดพลาดไปด้วย
ราคาระยะสั้นตามข่าว--ราคาระยะยาวตามผลกำไร
- Linzhi
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1522
- ผู้ติดตาม: 1
Re: กลยุทธ์ลงทุนหุ้นคุณค่า (Value Investment) ใช้ไม่ได้ผลกับ
โพสต์ที่ 4
ประโยคนี้ พี่ ๆ เห็นว่าไงครับnaris เขียน:VIทุกท่านมีความเห็นอย่างไรครับ
เบื้องหลังการตัดสินใจลงทุนของ Value Investors นั้นมักจะมาจากตัวผู้จัดการกองทุนเอง ที่จะเลือกหุ้นราคาต่ำ ในระดับที่ตนเองคิดว่าเหมาะสม และดูแค่พื้นฐานของหุ้นอย่างเดียว โดยไม่ได้นำปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือภาพรวมเศรษฐกิจใด ๆ มาช่วยวิเคราะห์
-
- Verified User
- โพสต์: 1808
- ผู้ติดตาม: 0
กลยุทธ์ลงทุนหุ้นคุณค่า(Value Investment)ใช้ไม่ได้ผลกับวิกฤติ
โพสต์ที่ 5
ตัวอย่างในกรณีของ Ariel Investment บริษัทมุ่งมั่นกับการเข้าไปลงทุนในซิตี้คอร์ป เมื่อเดือนธันวาคม 2550
ผมว่าเค้าลงทุนมายังไม่ถึง 1 ปีเลยนะครับนั่น
เบื้องหลังการตัดสินใจลงทุนของ Value Investors นั้นมักจะมาจากตัวผู้จัดการกองทุนเอง ที่จะเลือกหุ้นราคาต่ำ ในระดับที่ตนเองคิดว่าเหมาะสม และดูแค่พื้นฐานของหุ้นอย่างเดียว
VI ไม่ได้มองแค่พื้นฐานนี่ครับ :roll:
อยากให้ท่าน ดร.นิเวศน์ / ท่านอื่นๆ ช่วยวิเคราะห์ วิจารณ์ บทความนี้จัง :lol:
"Risk comes from not knowing what you're doing" - Warren Buffet
สุดยอดของความซับซ้อนคือความเรียบง่าย
http://www.sarut-homesite.net/
สุดยอดของความซับซ้อนคือความเรียบง่าย
http://www.sarut-homesite.net/
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1284
- ผู้ติดตาม: 1
กลยุทธ์ลงทุนหุ้นคุณค่า(Value Investment)ใช้ไม่ได้ผลกับวิกฤติ
โพสต์ที่ 6
มีความเห็นว่า
1 Value Investment Style บางช่วง บางเวลา อาจจะสู้ style อื่น ไม่ได้
เช่น ตอนปี 1999 ช่วงที่ Nasdaq กำลัง peak มีนิตยสารการเงินบางเล่มพาดหัวข่าวว่า " Warren Buffer just doesn't get it" ประมาณว่า Warren ไม่รู้เรื่องอะไรเลยเกี่ยวกับ Internet และ Technology
แต่ในระยะยาววิธีนี้ก็พิสูจน์ได้ว่าเป็นวิธีที่ให้ผลตอบแทนสูง ความเสี่ยงต่ำ
2 คนจำนวนมากยังไม่เข้าใจว่า Value Investment แท้จริงคืออะไร
ช่วงก่อนวิกฤติ subprime fund manager stly VI บางท่านบอกว่าหุ้น Citi เป็นหุ้น Franchise ที่ดีขายที่ PE ไม่ถึง 10 เท่า
แต่แท้จริงแล้ว เขาไม่เข้าใจ Citi ว่า Assets ต่าง ๆ ใน Balance Sheet ของ Citi มีมูลค่าที่แท้จริงเท่าไร
หุ้นการเงินวิเคราะห์ยากครับ ถ้าไม่รู้จริงอย่ายุ่งดีกว่า
1 Value Investment Style บางช่วง บางเวลา อาจจะสู้ style อื่น ไม่ได้
เช่น ตอนปี 1999 ช่วงที่ Nasdaq กำลัง peak มีนิตยสารการเงินบางเล่มพาดหัวข่าวว่า " Warren Buffer just doesn't get it" ประมาณว่า Warren ไม่รู้เรื่องอะไรเลยเกี่ยวกับ Internet และ Technology
แต่ในระยะยาววิธีนี้ก็พิสูจน์ได้ว่าเป็นวิธีที่ให้ผลตอบแทนสูง ความเสี่ยงต่ำ
2 คนจำนวนมากยังไม่เข้าใจว่า Value Investment แท้จริงคืออะไร
ช่วงก่อนวิกฤติ subprime fund manager stly VI บางท่านบอกว่าหุ้น Citi เป็นหุ้น Franchise ที่ดีขายที่ PE ไม่ถึง 10 เท่า
แต่แท้จริงแล้ว เขาไม่เข้าใจ Citi ว่า Assets ต่าง ๆ ใน Balance Sheet ของ Citi มีมูลค่าที่แท้จริงเท่าไร
หุ้นการเงินวิเคราะห์ยากครับ ถ้าไม่รู้จริงอย่ายุ่งดีกว่า
In search of super stocks
- Eyore
- Verified User
- โพสต์: 606
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กลยุทธ์ลงทุนหุ้นคุณค่า (Value Investment) ใช้ไม่ได้ผลกับ
โพสต์ที่ 7
เป็นเพราะวิเคราะห์ผิดไม่ใช่เหรอครับnaris เขียน:ยกตัวอย่างเช่น ผู้จัดการกองทุนจาก Leg Mason หรือ Ariel Investment และ Oakmark ก็ออกมายอมรับกันแล้วว่า วิกฤติสินเชื่อ Subprime ในสหรัฐฯ ทำให้พวกเขาตาสว่าง และรับรู้ถึงมูลค่าที่แท้จริงของหุ้นที่ตนเองถือมาตั้งนาน
ไม่ใช่ว่ากลยุทธ์ผิดซักหน่อย
- ก้อนหิน
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2344
- ผู้ติดตาม: 0
กลยุทธ์ลงทุนหุ้นคุณค่า(Value Investment)ใช้ไม่ได้ผลกับวิกฤติ
โพสต์ที่ 10
ก็แค่ไม่เข้าใจบริษัทนั้นดีพอมากกว่ามั้งครับ
อะไรที่ไม่รู้ มันก็เสี่ยงทั้งนั้นแหละครับ
ต้องเอาคำเฮีย คลายเครียดไปใช้แล้วนะเนี่ย
ต้องทำให้ ความโลภ ให้ สมดุลย์ กับความรู้
อะไรที่ไม่รู้ มันก็เสี่ยงทั้งนั้นแหละครับ
ต้องเอาคำเฮีย คลายเครียดไปใช้แล้วนะเนี่ย
ต้องทำให้ ความโลภ ให้ สมดุลย์ กับความรู้
- GeneraX
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
กลยุทธ์ลงทุนหุ้นคุณค่า(Value Investment)ใช้ไม่ได้ผลกับวิกฤติ
โพสต์ที่ 12
ช่วง Internet Bubble ก็มีบทความเยอะเย้ย VI รวมถึงปรมาจาร์ยอย่าง Warren Buffett ออกมามากมายยิ่งกว่านี้อีกครับ สุดท้ายเวลาก็เป็นเครื่องพิสูจน์
คราวนี้ก็อีกหนึ่งตัวอย่าง ปล่อยให้เวลาเป็นตัวคอยตกกะโหลกแนวคิดที่ผิดพลาดจะดีกว่าครับ
คราวนี้ก็อีกหนึ่งตัวอย่าง ปล่อยให้เวลาเป็นตัวคอยตกกะโหลกแนวคิดที่ผิดพลาดจะดีกว่าครับ
Financial Discipline + Value Investment + Time = Financial Independence
-
- Verified User
- โพสต์: 520
- ผู้ติดตาม: 0
กลยุทธ์ลงทุนหุ้นคุณค่า(Value Investment)ใช้ไม่ได้ผลกับวิกฤติ
โพสต์ที่ 14
เค้าแบบนี้ เพื่อดึงดูดความสนใจเฉยๆแหละครับ
ถ้าเขียนธรรมดา..
"วิกฤต sub prime ทำให้กองทุนหลายกองประสบภาวะขาดทุน"
ผมว่า ข่าวนี้คงไม่มาถึงเราอ่ะ
ถ้าเขียนธรรมดา..
"วิกฤต sub prime ทำให้กองทุนหลายกองประสบภาวะขาดทุน"
ผมว่า ข่าวนี้คงไม่มาถึงเราอ่ะ
In the long run, We are all dead.
- Amadeus
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 372
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กลยุทธ์ลงทุนหุ้นคุณค่า(Value Investment)ใช้ไม่ได้ผลกับวิ
โพสต์ที่ 15
...แล้วเราจะประเมินสินทรัพย์ยังไงดีหล่ะครับ หรือให้มองแค่เงินสด อย่างเดียวดีnaris เขียน: นอกจากนั้น หุ้นที่มีสินทรัพย์ผูกติดอยู่นั้น ก็มีความซับซ้อนยุ่งยากพอสมควร และการที่ไม่มีตลาดรองรับหลักทรัพย์ประเภทนี้ ยังทำให้การประเมินความแข็งแกร่งของบริษัทนั้น ๆ เป็นเรื่องยากเกินกว่าที่หลายคนจะคาดถึงด้วย
เตือนตัวเอง
1.ลดต้นทุน 2.ขึ้นราคา 3.ขยายตลาด
4.เพิ่ม same store sale 5.ขาย บ.เน่าๆ
1.ลดต้นทุน 2.ขึ้นราคา 3.ขยายตลาด
4.เพิ่ม same store sale 5.ขาย บ.เน่าๆ
- naris
- Verified User
- โพสต์: 6726
- ผู้ติดตาม: 1
Re: กลยุทธ์ลงทุนหุ้นคุณค่า(Value Investment)ใช้ไม่ได้ผลกับวิ
โพสต์ที่ 16
VIบางคนที่ชอบประเมินงบเป็นหลัก จึงกลัวกลุ่มแบงค์และไฟแนนซ์ไงครับ อย่างผมความสามารถไม่ถึง ผมก็เลยไม่ยุ่งในกลุ่มนี้ครับAmadeus เขียน: ...แล้วเราจะประเมินสินทรัพย์ยังไงดีหล่ะครับ หรือให้มองแค่เงินสด อย่างเดียวดี
ภาษาลาวเขาเรียกว่า หย้าน.ครับ :lol:
ราคาระยะสั้นตามข่าว--ราคาระยะยาวตามผลกำไร
-
- Verified User
- โพสต์: 1252
- ผู้ติดตาม: 0
กลยุทธ์ลงทุนหุ้นคุณค่า(Value Investment)ใช้ไม่ได้ผลกับวิกฤติ
โพสต์ที่ 17
ผมไม่เคยคิดว่าหุ้นธนาคารเป็นการลงทุนแนวV.Iเลยครับน่าจะเป็นหุ้นวัฏจักรมากกว่าครับเพราะดูแล้วไม่น่าเป็นหุ้นที่ไม่สามารถทำหนังสือนิทานขายได้เพราะผูกโยงกับวัฏจักรศก.มากเหมือนเป็นฝาแฝด
-
- Verified User
- โพสต์: 2509
- ผู้ติดตาม: 1
กลยุทธ์ลงทุนหุ้นคุณค่า(Value Investment)ใช้ไม่ได้ผลกับวิกฤติ
โพสต์ที่ 18
เมื่อสักครู่ เห็นในช่องมันนี่ฯ เอาข่าวนี้มาออกอากาศพอดี
ผมคิดว่า ที่กองทุนเหล่านั้นใช้มันเป็นกลยุทธ์ ก้นบุหรี่ นะ
เพียงแต่ เค้าสูบผิดด้านเอง :(
ผมคิดว่า ที่กองทุนเหล่านั้นใช้มันเป็นกลยุทธ์ ก้นบุหรี่ นะ
เพียงแต่ เค้าสูบผิดด้านเอง :(
-
- Verified User
- โพสต์: 2509
- ผู้ติดตาม: 1
กลยุทธ์ลงทุนหุ้นคุณค่า(Value Investment)ใช้ไม่ได้ผลกับวิกฤติ
โพสต์ที่ 19
ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด กองทุนเหล่านี้เลือกหุ้นกิจการที่ "เคย" ดีในอดีต และราคาหุ้นตกต่ำลงจากช่วงที่ผ่านมาค่อนข้างมา แล้วก็เข้าซื้อโดยเชื่อว่าซักวันราคาหุ้นมันจะกลับขึ้นไปใหม่ได้
ผมว่า หลายคนก็ใช้วิธีนี้อย่างผิดๆ และคิดว่าเป็นแนวทาง VI นะ (แม้แต่เพื่อนๆ ในเว็บนี้ก็ตาม)
หุ้นที่คุ้มค่าที่จะลงทุน ต้องมองอนาคตกิจการให้ออก นะครับ ไม่ใช่มองแค่อดีตอันหอมหวาน เพราะไม่แน่เหมือนกันว่าความหอมหวานที่เคยเล่าลือกันนั้น ถูกดูดออกไปจนหมดสิ้นแล้ว (จากคนที่มาเล่าลือให้ฟังนั่นแหละ)
ผมว่า หลายคนก็ใช้วิธีนี้อย่างผิดๆ และคิดว่าเป็นแนวทาง VI นะ (แม้แต่เพื่อนๆ ในเว็บนี้ก็ตาม)
หุ้นที่คุ้มค่าที่จะลงทุน ต้องมองอนาคตกิจการให้ออก นะครับ ไม่ใช่มองแค่อดีตอันหอมหวาน เพราะไม่แน่เหมือนกันว่าความหอมหวานที่เคยเล่าลือกันนั้น ถูกดูดออกไปจนหมดสิ้นแล้ว (จากคนที่มาเล่าลือให้ฟังนั่นแหละ)
-
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
กลยุทธ์ลงทุนหุ้นคุณค่า(Value Investment)ใช้ไม่ได้ผลกับวิกฤติ
โพสต์ที่ 20
Financial Engineer
ภาวะวิกฤต หรือภาวะปกติก็ตาม
นักลงทุนที่ลงทุนแบบการลงทุนแนว VI จะต้องยึดหลักพื้นฐานที่ว่า จะเข้าซื้อเมื่อราคาหุ้น ต่ำกว่า มูลคาที่แท้จริง และต่ำกว่ามาก ๆ คือ มี ส่วนต่างความปลอดภัย ที่จะทำให้เราไม่ขาดทุนในระยะยาว
และจะขายเมื่อราคาหุ้นสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริงมาก ๆ จนไม่เหลือส่วนต่างความปลอดภัยเลย
ดังนั้น
หุ้นที่เคยดีในอดีต อาจจะไม่ใช่หุ้นที่ดีในอนาคตก็ได้ เพราะพื้นฐานเปลี่ยนไป เราก็ต้องประเมินมูลค่าหุ้นที่แท้จริงใหม่ทุกครั้ง จะไปเอาพื้นฐานในอดีตมาวิเคราะห์อย่างเดียวไม่ได้ เพราะเหตุการณ์ที่กระทบพื้นฐานหุ้นโดยเฉพาะหากเป็นปัจจัยเสี่ยงที่กระทบกับพื้นฐานหุ้นในระยะยาวเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ปัจจัยพื้นฐานในอนาคตเปลี่ยน มูลค่าที่แท้จริงก็เปลี่ยนด้วย
จึงต้องมองที่มูลค่าหุ้นที่แท้จริง
จะเป็นหุ้นก้นบุหรี
จะเป็นหุ้นพลิกฟื้น
จะเป็นหุ้นเติบโต
จะเป็นหุ้นวัฏจักร
จะเป็นหุ้นมั่นคงที่จ่ายปันผลต่อเนื่อง
เป็นต้น
ก็ต้องประเมินมูลค่าหุ้นที่แท้จริงทุกครั้ง
เพราะซื้อด้วยเหตุผลอะไร เราก็ต้องขายไปเมื่อเหตุผลนั้นเปลี่ยน
อย่างไรก็ตาม หุ้นที่เคยดีในอดีตและกลับมาไม่ดีในปัจจุบันนั้น มีข้อสังเกตก็คือ สามารถ ประยุกต์ได้ในกลุ่มหุ้นวัฏจักรเป็นอย่างดี เพียงแต่หุ้นวัฏจักรในช่วงตกต่ำ บริษัทนั้นจะประคองให้ฐานะการเงิน และประคองผลการดำเนินงานให้นานเพียงพอที่จะรับกับวัฏจักรขาขึ้นในรอบต่อไปได้หรือไม่ นั้นคือความเสี่ยงที่สำคัญ
แต่หากนำแนวคิดหุ้นเคยดีในอดีต และคาดว่าจะดีในอนาคต มาปรับใช้กับหุ้นทั่ว ๆ ไป อาจเป็นวิกฤตตามบทความได้ เพราะไม่เข้าใจมูลค่าหุ้นที่จะต้องสะท้อนตามผลประกอบการในอนาคตครับ
เห็นด้วยกับคูณ Financial Engineer และขอเติมความเห็นเพิ่มครับถ้าผมเข้าใจไม่ผิด กองทุนเหล่านี้เลือกหุ้นกิจการที่ "เคย" ดีในอดีต และราคาหุ้นตกต่ำลงจากช่วงที่ผ่านมาค่อนข้างมา แล้วก็เข้าซื้อโดยเชื่อว่าซักวันราคาหุ้นมันจะกลับขึ้นไปใหม่ได้
ผมว่า หลายคนก็ใช้วิธีนี้อย่างผิดๆ และคิดว่าเป็นแนวทาง VI นะ
ภาวะวิกฤต หรือภาวะปกติก็ตาม
นักลงทุนที่ลงทุนแบบการลงทุนแนว VI จะต้องยึดหลักพื้นฐานที่ว่า จะเข้าซื้อเมื่อราคาหุ้น ต่ำกว่า มูลคาที่แท้จริง และต่ำกว่ามาก ๆ คือ มี ส่วนต่างความปลอดภัย ที่จะทำให้เราไม่ขาดทุนในระยะยาว
และจะขายเมื่อราคาหุ้นสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริงมาก ๆ จนไม่เหลือส่วนต่างความปลอดภัยเลย
ดังนั้น
หุ้นที่เคยดีในอดีต อาจจะไม่ใช่หุ้นที่ดีในอนาคตก็ได้ เพราะพื้นฐานเปลี่ยนไป เราก็ต้องประเมินมูลค่าหุ้นที่แท้จริงใหม่ทุกครั้ง จะไปเอาพื้นฐานในอดีตมาวิเคราะห์อย่างเดียวไม่ได้ เพราะเหตุการณ์ที่กระทบพื้นฐานหุ้นโดยเฉพาะหากเป็นปัจจัยเสี่ยงที่กระทบกับพื้นฐานหุ้นในระยะยาวเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ปัจจัยพื้นฐานในอนาคตเปลี่ยน มูลค่าที่แท้จริงก็เปลี่ยนด้วย
จึงต้องมองที่มูลค่าหุ้นที่แท้จริง
จะเป็นหุ้นก้นบุหรี
จะเป็นหุ้นพลิกฟื้น
จะเป็นหุ้นเติบโต
จะเป็นหุ้นวัฏจักร
จะเป็นหุ้นมั่นคงที่จ่ายปันผลต่อเนื่อง
เป็นต้น
ก็ต้องประเมินมูลค่าหุ้นที่แท้จริงทุกครั้ง
เพราะซื้อด้วยเหตุผลอะไร เราก็ต้องขายไปเมื่อเหตุผลนั้นเปลี่ยน
อย่างไรก็ตาม หุ้นที่เคยดีในอดีตและกลับมาไม่ดีในปัจจุบันนั้น มีข้อสังเกตก็คือ สามารถ ประยุกต์ได้ในกลุ่มหุ้นวัฏจักรเป็นอย่างดี เพียงแต่หุ้นวัฏจักรในช่วงตกต่ำ บริษัทนั้นจะประคองให้ฐานะการเงิน และประคองผลการดำเนินงานให้นานเพียงพอที่จะรับกับวัฏจักรขาขึ้นในรอบต่อไปได้หรือไม่ นั้นคือความเสี่ยงที่สำคัญ
แต่หากนำแนวคิดหุ้นเคยดีในอดีต และคาดว่าจะดีในอนาคต มาปรับใช้กับหุ้นทั่ว ๆ ไป อาจเป็นวิกฤตตามบทความได้ เพราะไม่เข้าใจมูลค่าหุ้นที่จะต้องสะท้อนตามผลประกอบการในอนาคตครับ
- Rocker
- Verified User
- โพสต์: 4886
- ผู้ติดตาม: 0
กลยุทธ์ลงทุนหุ้นคุณค่า(Value Investment)ใช้ไม่ได้ผลกับวิกฤติ
โพสต์ที่ 21
เรามองFutureออกแล้ว คนส่วนมากในตลาดต้องมองแบบเราด้วยถูกใหมครับ ราคาหุ้นจึงจะปรับตัวขึ้น หากมองเราธุรกิจโตและพอประกาศงบออกมาข้อมูลsupportความคิดเรา ๆถูก แต่หากตลาดไม่คิดเช่นนั้นเพราะ ความไม่มั่นใจใน การเมือง เศรษฐกิจ ซึ่งความเสี่ยงแบบนี้เป็น undiversify risk ราคาก็ไม่ไปใหน แล้วเราจะรู้ได้ไงว่าเมื่อใหร่หุ้นจะขึ้นไปหามูลค่ามัน
-
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
กลยุทธ์ลงทุนหุ้นคุณค่า(Value Investment)ใช้ไม่ได้ผลกับวิกฤติ
โพสต์ที่ 23
Rocker
ผมคิดว่าไม่มีใครรู้หรอกครับว่า หุ้นจะขึ้นไปหามูลค่ามันเมื่อใด เพราะหากเรารู้แน่ชัด หรือมีเครื่องมือที่สามารถบอกเราได้แน่ชัด ถูกต้อง ร้อยเปอร์เซ้นต์ หรือหากมีสูตรหรือเครื่องมือดังกล่าว คงรวยกันทุก ๆ คนไปแล้วครับ
แต่เนื่องจากเราซื้อหุ้นนั้น เพราะราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าหุ้นที่แท้จริงมาก มีส่วนต่างความปลอดภัยที่สูงพอ
ก็ไม่จำเป็นต้องให้ใครมาซื้อหรือมาซื้อไล่ราคาหุ้นนั้นก็ได้
เราก็ถือหุ้นตัวนั้นไปเรื่อย ๆ ตราบเท่าที่มูลค่าที่แท้จริงยังปรับตัวสูงขึ้นเรื่อย ๆ มากกว่าราคาตลาด
และหากหุ้นนั้นมีความปลอดภัยหรือมีภูมิคุ้มกันเพิ่มกล่าวคือสามารถจ่ายปันผลที่เพิ่มขึ้นตามผลประกอบการที่ดีขึ้นต่อเนื่องด้วย ปันผลในอนาคตดังกล่าวก็จะมีโอกาสค่อย ๆ เพิ่มขึ้นให้กับผู้ลงทุนไปเรื่อย ๆ และสร้างผลแทนในแต่ละปีที่เพิ่มขึ้น และหากหุ้นดังกล่าวยังสร้างการเจริญเติบโตจากการดำเนินงานในระยะยาว ก็ยิ่งทำให้มูลค่าหุ้นที่แท้จริงขยับตัวเพิ่มขึ้นตามผลประกอบการที่เพิ่มขึ้นไปอีก
แบบนี้ก็ไม่ต้องกังวลใจว่านายตลาดจะตีราคาหุ้นของเรา หรือวิ่งไปหามูลค่าหุ้นเมื่อใดก็ได้ครับ
เพราะทุก ๆ ปี เราก็ยังได้ผลตอบแทนจากการลงทุนที่คุ้มค่ากับการถือครองหุ้นดังกล่าว เหมือนกับเราได้ลงทุนในธุรกิจแบบหุ้นส่วน ซึ่งเราก็คงไม่หวังที่จะถอนทุนคืนในระยะสั้น แต่ต้องการให้ธุรกิจของเราได้เติบโตออกดอกออกผลสักระยะหนึ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนของเราครับ
:lol:
เป็นประเด็นที่ดีครับ อเสริมกับคุณนริศหน่อยนะครับเรามองFutureออกแล้ว คนส่วนมากในตลาดต้องมองแบบเราด้วยถูกใหมครับ ราคาหุ้นจึงจะปรับตัวขึ้น หากมองเราธุรกิจโตและพอประกาศงบออกมาข้อมูลsupportความคิดเรา ๆถูก แต่หากตลาดไม่คิดเช่นนั้นเพราะ ความไม่มั่นใจใน การเมือง เศรษฐกิจ ซึ่งความเสี่ยงแบบนี้เป็น undiversify risk ราคาก็ไม่ไปใหน แล้วเราจะรู้ได้ไงว่าเมื่อใหร่หุ้นจะขึ้นไปหามูลค่ามัน
ผมคิดว่าไม่มีใครรู้หรอกครับว่า หุ้นจะขึ้นไปหามูลค่ามันเมื่อใด เพราะหากเรารู้แน่ชัด หรือมีเครื่องมือที่สามารถบอกเราได้แน่ชัด ถูกต้อง ร้อยเปอร์เซ้นต์ หรือหากมีสูตรหรือเครื่องมือดังกล่าว คงรวยกันทุก ๆ คนไปแล้วครับ
แต่เนื่องจากเราซื้อหุ้นนั้น เพราะราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าหุ้นที่แท้จริงมาก มีส่วนต่างความปลอดภัยที่สูงพอ
ก็ไม่จำเป็นต้องให้ใครมาซื้อหรือมาซื้อไล่ราคาหุ้นนั้นก็ได้
เราก็ถือหุ้นตัวนั้นไปเรื่อย ๆ ตราบเท่าที่มูลค่าที่แท้จริงยังปรับตัวสูงขึ้นเรื่อย ๆ มากกว่าราคาตลาด
และหากหุ้นนั้นมีความปลอดภัยหรือมีภูมิคุ้มกันเพิ่มกล่าวคือสามารถจ่ายปันผลที่เพิ่มขึ้นตามผลประกอบการที่ดีขึ้นต่อเนื่องด้วย ปันผลในอนาคตดังกล่าวก็จะมีโอกาสค่อย ๆ เพิ่มขึ้นให้กับผู้ลงทุนไปเรื่อย ๆ และสร้างผลแทนในแต่ละปีที่เพิ่มขึ้น และหากหุ้นดังกล่าวยังสร้างการเจริญเติบโตจากการดำเนินงานในระยะยาว ก็ยิ่งทำให้มูลค่าหุ้นที่แท้จริงขยับตัวเพิ่มขึ้นตามผลประกอบการที่เพิ่มขึ้นไปอีก
แบบนี้ก็ไม่ต้องกังวลใจว่านายตลาดจะตีราคาหุ้นของเรา หรือวิ่งไปหามูลค่าหุ้นเมื่อใดก็ได้ครับ
เพราะทุก ๆ ปี เราก็ยังได้ผลตอบแทนจากการลงทุนที่คุ้มค่ากับการถือครองหุ้นดังกล่าว เหมือนกับเราได้ลงทุนในธุรกิจแบบหุ้นส่วน ซึ่งเราก็คงไม่หวังที่จะถอนทุนคืนในระยะสั้น แต่ต้องการให้ธุรกิจของเราได้เติบโตออกดอกออกผลสักระยะหนึ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนของเราครับ
:lol:
-
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
กลยุทธ์ลงทุนหุ้นคุณค่า(Value Investment)ใช้ไม่ได้ผลกับวิกฤติ
โพสต์ที่ 24
คุณนริศ
ลองดูWG เป็นตัวอย่างสิครับ
ขอยกตัวอย่างตามที่คุณนริศพูดถึงครับ
เตัวอย่างกำไรต่อหุ้นของWG
งบปี 47 กำไรต่อหุ้น 3.89
งบปี 48 กำไรต่อหุ้น 4.90
งบปี 49 กำไรต่อหุ้น 5.64
งบปี 50 กำไรต่อหุ้น 7.35
ไตรมาส2/51 กำไรต่อหุ้น 4.42
สมมุติว่าเราซื้อหุ้นมาปี 47 ในราคา 30 บาท จะพบว่า พีอีของหุ้นที่เราถือจากปี 47 ถึง 50 จะเป็นดังนี้
7.71 6.12 5.31 4.08 เท่า
จากเดิม 7.71 เท่า เหลือเพียง 4.08 เท่า หรือมุมกลับกันก็คือ จากผลตอบแทนตอปีอยู่ที่ร้อยละ 12.96
เพิ่มเป็นร้อยละ 24.5
และสมมุติว่า ราคาหุ้นในตลาดยังอยู่ที่ 30 บาทเท่าเดิม
แต่ผู้ลงทุนเริ่มแรกตั้งปี 47 จนถึงปัจจุบันจะได้รับผลตอบแทนจากเงินปันผลในแต่ละปีที่เพิ่มขึ้นดังนี้
2 2.25 2.5 และ 3.65 บาท
ซึ่งคิดเป็นผลตอบแทนจากเงินปันผลเท่ากับร้อยละ 6.66 7.5 8.33 12.16
จะเห็นได้ว่ายิ่งถือนาน ก็ยังได้ผลตอบแทนจากเงินปันผลเริ่มแรกคือ ร้อยละ 6.6 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 12.16 โดยไม่ต้องทำการซื้อมาขายไป
แต่หากนายตลาดมีการขยับราคาเพิ่ม ก็ถือเป็นส่วนต่างของแถม คือ ปัจจุบันราคาอยู่ที่ 50 บาท ก็จะได้กำไรเท่ากับ 50 - 30 บาทหรือเท่ากับ 20 บาทเป็นส่วนต่างกำไร ซึ่งไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใดก็ตามเป็นต้น หรืออาจไม่เกิดขึ้น ก็ไม่เดือดร้อนครับ
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าภูมิคุ้มกันความเสี่ยงของหุ้นที่เราถือไปเรื่อย ๆ สำหรับหุ้นที่มีมูลค่าที่แท้จริงสูงกว่าราคาตลาด ยิ่งถือนานขึ้นแม้ว่านายตลาดจะไม่ยอมตีราคาเพิ่มก็ตาม ผู้ถือหุ้นระยะยาวในหุ้นดังกล่าวไปเรื่อย ๆ ก็จะยังได้ผลตอบแทนจากการลงทุนที่สะท้อนจากผลการดำเนินงานของบริษัท จากร้อยละ 12.96 ขึ้นไปเป็น 24.5 และยังได้ผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นตามผลประกอบการที่เติบโตสูงขึ้น จาก ร้อยละ 6.66 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 12.16 ทำให้ไม่เดือดร้อนว่านายตลาดจะตีราคาให้เท่ากับมูลค่าที่แท้จริงเมื่อใดก็ตาม
นอกจากนี้สมมุติฐานนี้ ยังไม่รวมที่เรานำปันผลมาซื้อหุ้นในราคาตลาดถ้าไม่ขยับเลยคือ 30 บาทต่อหุ้น เราก็จะยังสามารถเพิ่มผลตอบแทนที่นำปันผลมาลงทุนในบริษัทเดิมได้อีกไปเรื่อย ๆ ซึ่งจะทำให้เราได้รับปันผลเพิ่มมากยิ่งขึ้นในอนาคตอีกด้วยครับ
ลองดูWG เป็นตัวอย่างสิครับ
ขอยกตัวอย่างตามที่คุณนริศพูดถึงครับ
เตัวอย่างกำไรต่อหุ้นของWG
งบปี 47 กำไรต่อหุ้น 3.89
งบปี 48 กำไรต่อหุ้น 4.90
งบปี 49 กำไรต่อหุ้น 5.64
งบปี 50 กำไรต่อหุ้น 7.35
ไตรมาส2/51 กำไรต่อหุ้น 4.42
สมมุติว่าเราซื้อหุ้นมาปี 47 ในราคา 30 บาท จะพบว่า พีอีของหุ้นที่เราถือจากปี 47 ถึง 50 จะเป็นดังนี้
7.71 6.12 5.31 4.08 เท่า
จากเดิม 7.71 เท่า เหลือเพียง 4.08 เท่า หรือมุมกลับกันก็คือ จากผลตอบแทนตอปีอยู่ที่ร้อยละ 12.96
เพิ่มเป็นร้อยละ 24.5
และสมมุติว่า ราคาหุ้นในตลาดยังอยู่ที่ 30 บาทเท่าเดิม
แต่ผู้ลงทุนเริ่มแรกตั้งปี 47 จนถึงปัจจุบันจะได้รับผลตอบแทนจากเงินปันผลในแต่ละปีที่เพิ่มขึ้นดังนี้
2 2.25 2.5 และ 3.65 บาท
ซึ่งคิดเป็นผลตอบแทนจากเงินปันผลเท่ากับร้อยละ 6.66 7.5 8.33 12.16
จะเห็นได้ว่ายิ่งถือนาน ก็ยังได้ผลตอบแทนจากเงินปันผลเริ่มแรกคือ ร้อยละ 6.6 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 12.16 โดยไม่ต้องทำการซื้อมาขายไป
แต่หากนายตลาดมีการขยับราคาเพิ่ม ก็ถือเป็นส่วนต่างของแถม คือ ปัจจุบันราคาอยู่ที่ 50 บาท ก็จะได้กำไรเท่ากับ 50 - 30 บาทหรือเท่ากับ 20 บาทเป็นส่วนต่างกำไร ซึ่งไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใดก็ตามเป็นต้น หรืออาจไม่เกิดขึ้น ก็ไม่เดือดร้อนครับ
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าภูมิคุ้มกันความเสี่ยงของหุ้นที่เราถือไปเรื่อย ๆ สำหรับหุ้นที่มีมูลค่าที่แท้จริงสูงกว่าราคาตลาด ยิ่งถือนานขึ้นแม้ว่านายตลาดจะไม่ยอมตีราคาเพิ่มก็ตาม ผู้ถือหุ้นระยะยาวในหุ้นดังกล่าวไปเรื่อย ๆ ก็จะยังได้ผลตอบแทนจากการลงทุนที่สะท้อนจากผลการดำเนินงานของบริษัท จากร้อยละ 12.96 ขึ้นไปเป็น 24.5 และยังได้ผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นตามผลประกอบการที่เติบโตสูงขึ้น จาก ร้อยละ 6.66 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 12.16 ทำให้ไม่เดือดร้อนว่านายตลาดจะตีราคาให้เท่ากับมูลค่าที่แท้จริงเมื่อใดก็ตาม
นอกจากนี้สมมุติฐานนี้ ยังไม่รวมที่เรานำปันผลมาซื้อหุ้นในราคาตลาดถ้าไม่ขยับเลยคือ 30 บาทต่อหุ้น เราก็จะยังสามารถเพิ่มผลตอบแทนที่นำปันผลมาลงทุนในบริษัทเดิมได้อีกไปเรื่อย ๆ ซึ่งจะทำให้เราได้รับปันผลเพิ่มมากยิ่งขึ้นในอนาคตอีกด้วยครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 238
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กลยุทธ์ลงทุนหุ้นคุณค่า(Value Investment)ใช้ไม่ได้ผลกับวิ
โพสต์ที่ 26
โดยส่วนตัวผมคิดว่าคำว่า Value Investor น่าจะอยู่กับวิจารณญาณของบุคคลมากกว่า ขนาดเรากินข้าวจานเดียวกัน เรียนกับครูคนเดียวกัน เรายังตอบสนองไม่เหมือนกันเลยnaris เขียน:
ยกตัวอย่างเช่น ผู้จัดการกองทุนจาก Leg Mason หรือ Ariel Investment และ Oakmark ก็ออกมายอมรับกันแล้วว่า วิกฤติสินเชื่อ Subprime ในสหรัฐฯ ทำให้พวกเขาตาสว่าง และรับรู้ถึงมูลค่าที่แท้จริงของหุ้นที่ตนเองถือมาตั้งนาน เพราะตั้งแต่ต้นปีเป็นต้นมา มูลค่าของกองทุนที่เป็น Value Investors และสนใจในหุ้นตัวใหญ่ตกลงมาเกือบ 12% ซึ่งเป็นอัตราที่แย่กว่าตลาดหุ้นอเมริกาเสียอีก
ตัวอย่างในกรณีของ Ariel Investment บริษัทมุ่งมั่นกับการเข้าไปลงทุนในซิตี้คอร์ป เมื่อเดือนธันวาคม 2550 แถมยังบอกด้วยว่า พวกนักวิเคราะห์นั้นมองโลกในแง่ร้ายเกินไป แต่เมื่อไม่นานมานี้ Ariel Investment ตัดสินใจทิ้งหุ้นซิตี้คอร์ปไป โดยอ้างว่ารู้สึกไม่สบายใจกับความเสี่ยงที่มาพร้อมกับการลงทุนนี้ หลังจากที่มูลค่าหุ้นของบริษัทตกไปถึง 42% ตลอดช่วง 3 ปีที่ถือซิตี้คอร์ปไว้ จากนั้น บริษัทก็ขายหุ้นของมูดี้ส (Moody?s Corp) ออกไปอีก พร้อมกับอ้างไว้เริ่มไม่มั่นใจกับบริษัทเรทติ้งชั้นนำแห่งนี้แล้ว
แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ผมว่าเราควรยอมรับและเรียนรู้จากความล้มเหลวที่เกิดขึ้น(ทั้งกับตัวเองและคนอื่น) จะดีที่สุดครับ
ซึ่งในกรณีข้างต้นของ Ariel Investment นี้ ผมขอยกคำพูดของ Peter Lynch ที่กล่าวว่า "อย่าเอามือไปรับมีดที่ยังไม่ปักพื้น"
-
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
กลยุทธ์ลงทุนหุ้นคุณค่า(Value Investment)ใช้ไม่ได้ผลกับวิกฤติ
โพสต์ที่ 27
เรื่องการลงทุนหุ้นแบบเน้นคุณค่านั้น มีข้อถกเถียงกันเกี่ยวกับแนวคิดมาก ผมไปเจอบทความของ อาจารย์ดร.นิเวศน์ ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกการลงทุนแบบเน้นคุณค่า อาจารย์ได้หยิบยกคำถามที่มีผู้สนใจสอบถามกันมากว่า การลงทุนแบบเน้นคุณค่าเป็นอย่างไร และความเข้าใจเรื่องคุณค่านั้นมีความเข้าใจที่แตกต่างกันในลักษณะอย่างไร ซึ่งวิธีการพิจารณาหุ้นคุณค่า บางครั้งก็มีแนวคิดแตกต่างกัน แต่ทุกวิธีก็มุ่งไปที่การดูพื้นฐานของหู้นเทียบกับราคาหุ้นครับ
ลองอ่านบทความนี้ดูอีกครั้ง น่าจะเป็นประโยชน์นะครับ
http://api.settrade.com/blog/nivate/2007/09/05/148
Wednesday, 5 September 2007
หลายคำถามกับหุ้นคุณค่า
เมื่อ เร็ว ๆ นี้ ผมได้รับเชิญให้ไปออกรายการทีวีทาง Money Channel ของตลาดหลักทรัพย์ หัวข้อสนทนาเป็นเรื่องเกี่ยวกับการลงทุนแบบเน้นคุณค่าและเป็นการโปรโมต หนังสือเล่มล่าสุดของผมชื่อ “รวยหุ้นอย่างพอเพียง” ผมเห็นว่าคำถามที่พิธีกรตั้งให้นั้น เป็นคำถามที่คนมักจะสงสัยหรือถามผมอยู่เนือง ๆ บางเรื่องก็เป็นเรื่องที่หลาย ๆ คนเข้าใจผิดเกี่ยวกับหุ้นคุณค่า ดังนั้นผมจึงคิดว่าคงจะมีประโยชน์ที่จะนำมาเขียนไว้ในที่นี้
คำถาม: หุ้นคุณค่าหมายถึงหุ้นแบบไหน มีหลักเกณฑ์ตายตัวไหมว่าหุ้นแบบไหนถึงเรียกว่าหุ้นคุณค่า
คำตอบ: หุ้นคุณค่าหมายถึงหุ้นที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานของกิจการ ซึ่งมูลค่าพื้นฐานนี้จะต้องมีการคิดคำนวณอย่างละเอียดรอบคอบ นักลงทุนเน้นคุณค่าหรือ Value Investor ที่เชี่ยวชาญจะต้องคิดและคำนวณหามูลค่าพื้นฐานเป็น โดยทางทฤษฎี มูลค่าพื้นฐานของกิจการนั้นจะคิดมาจากกระแสเงินสดรับที่เราจะได้รับจาก กิจการในอนาคต แต่โดยทั่วไป เวลาพูดถึงหุ้นคุณค่า เรามักจะพิจารณาว่าหุ้นที่มีราคาถูกเป็นหุ้นคุณค่าโดยไม่ค่อยคำนึงถึงปัจจัย พื้นฐาน เช่น ถ้าบริษัทมีกำไร ก็ดูว่าหุ้นต้องมีค่า PE ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดมาก ยิ่งต่ำมากก็ยิ่งดีเรียกว่าเป็นหุ้น Value มาก นอกจากค่า PE บางคนก็ดูค่า PB หรือราคาหุ้นต่อมูลค่าทางบัญชีด้วยโดยเฉพาะในกรณีที่บริษัทขาดทุน นั่นก็คือ ยิ่งค่า PB ต่ำเทียบกับหุ้นในตลาดโดยเฉลี่ยก็ยิ่งถือว่าเป็นหุ้น Value มาก สรุปง่าย ๆ หุ้นที่มีค่า PE และ/หรือ PB ต่ำมักจะถือว่าเป็นหุ้นคุณค่า
คำถาม: นักลงทุนในหุ้นคุณค่ามีลักษณะแบบไหน แตกต่างกับนักลงทุนที่เน้นหุ้นปันผลหรือไม่
คำตอบ: นักลงทุนหุ้นคุณค่ามักจะเน้นซื้อหุ้นที่มีราคาถูกเช่นซื้อหุ้นที่มีค่า PE และ/หรือ PB ต่ำถึงต่ำมาก ส่วนนักลงทุนที่เน้นหุ้นปันผลก็จะเน้นซื้อหุ้นที่ให้ปันผลสูงเมื่อเทียบกับ ราคาหุ้นหรือที่เรียกว่า Dividend Yield สูง ในความเป็นจริง หุ้นที่มีค่า PE ต่ำจำนวนมากมักจะมี Dividend Yield สูงด้วย และนักลงทุนเน้นคุณค่าจำนวนมากก็ชอบหุ้นที่ให้ปันผลตอบแทนสูงเหมือนกัน ดังนั้นอาจจะพูดได้ว่านักลงทุนหุ้นปันผลก็เป็นกลุ่มย่อยกลุ่มหนึ่งของนัก ลงทุนเน้นคุณค่า แต่นักลงทุนเน้นคุณค่าจำนวนมากก็ไม่ได้เน้นหุ้นที่ให้ปันผลสูง
คำถาม: ทำไม ดร. ถึงเลือกที่จะใช้วิธีลงทุนแบบ Value Investment ผลตอบแทนจากการลงทุนหุ้นคุณค่าที่ผ่านมาเป็นอย่างไร
คำตอบ: วิธีนี้เป็นการลงทุนที่ปลอดภัยและให้ผลตอบแทนที่ดี ผลตอบแทนการลงทุนที่ผ่านมา 10 ปี สูงถึงประมาณ 38% ต่อปีโดยเฉลี่ยแบบทบต้น แต่นั่นเป็นเพราะในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานั้นเป็นช่วงที่โอกาสการลงทุนสำหรับหุ้นคุณค่ามีมหาศาลและพอร์ต การลงทุนของผมยังเล็ก อนาคตต่อจากนี้ผมคิดว่าผมตั้งเป้าหมายผลตอบแทนได้อย่างมากก็ 15% ต่อปี
คำถาม: การลงทุนในหุ้นคุณค่าต้องเป็นการลงทุนระยะยาวเท่านั้นใช่หรือไม่ ซื้อ ๆ ขาย ๆ บ่อย ๆ ได้หรือไม่
คำตอบ: ส่วนใหญ่คงต้องเป็นระยะยาว เพราะว่าราคาหุ้นมักจะต้องใช้เวลาที่จะปรับตัวให้เข้าหามูลค่าที่แท้จริง ซึ่งมักจะมาจากผลประกอบการที่จะประกาศมาทุก ๆ ไตรมาศ ดังนั้น การซื้อ ๆ ขาย ๆ บ่อย ๆ จึงไม่น่าจะสอดคล้องกับหลักการของ Value Investment น่าจะเป็นเรื่องของการเก็งกำไรมากกว่า
คำถาม: กฎของการจะเป็นนักลงทุนหุ้นคุณค่ามีอะไรบ้าง
คำตอบ: เยอะมาก แต่หัวใจสำคัญก็คือ เราจะต้องวิเคราะห์การลงทุนทุกครั้งเป็นอย่างดีโดยดูที่ปัจจัยพื้นฐานทาง ธุรกิจและการเงินของบริษัท ไม่ใช่ดูจากการวิ่งขึ้นหรือลงของราคาหุ้น
คำถาม: ที่ผ่านมา ดร. นิเวศน์ เคยลงทุนแบบอื่นหรือไม่
คำตอบ: ก่อนลงทุนแบบ Value Investment ผมซื้อขายหุ้นแบบเก็งกำไร จะเรียกว่าเป็นการลงทุนคงไม่ได้เพราะไม่เคยคิดที่จะถือยาว และใช้เงิน “เสี่ยงโชค” เพียงเล็กน้อยเท่านั้น คำว่า “การลงทุน” ควรมีความหมายและจริงจังมากกว่านั้น
คำถาม: “รวยหุ้นอย่างพอเพียง” คืออะไร ใช่การลงทุนหุ้นคุณค่าหรือไม่
คำตอบ: หลักการของเศรษฐกิจพอเพียงมี 3 ห่วง คือ ความมีเหตุผล ความพอประมาณ และมีภูมิคุ้มกัน และมี 2 เงื่อนไขคือ ต้องมีความรู้และคุณธรรม ทั้ง 3 ห่วง 2 เงื่อนไขนั้นตรงกับเรื่องของการลงทุนแบบเน้นคุณค่า Value Investor ที่ดีนั้นจะต้องมีความรู้และยึดหลักธรรมมาภิบาลในการลงทุน เขาจะต้องใช้เหตุผลในการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุน มีความคาดหวังและใช้เงินลงทุนอย่างพอประมาณไม่โลภและไม่รับความเสี่ยงมาก เกินไป เช่น ไม่ใช้เงินกู้ในการซื้อหุ้น และสุดท้ายก็คือ ต้องมีภูมิคุ้มกันหรือเรียกว่าต้องมี Margin Of Safety เวลาตัดสินใจลงทุน
คำถาม: ลงทุนแบบเศรษฐกิจพอเพียงจะทำให้รวยได้หรือ
คำตอบ: คนจะรวยหรือไม่นั้น มีองค์ประกอบใหญ่ ๆ 4 เรื่อง หนึ่ง นิยามของความรวยของแต่ละคน สอง เงินเริ่มต้นและ/หรือเงินลงทุนที่ใส่เพิ่มลงไป สาม ระยะเวลาในการลงทุน และ สี่ ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีที่ทำได้ ผมคิดว่าถ้าคุณเป็น Value Investor พันธุ์แท้ที่จริงจัง คุณ “รวย” ได้อย่างแน่นอน เหตุผลก็เพราะว่า คุณจะมีเงินเริ่มต้นและเพิ่มเติมมากกว่าเพราะคุณจะออมมากกว่า คุณจะลงทุนยาวนานกว่าและไม่ถอนการลงทุนในยามที่ตลาดกำลังตกต่ำ ผลตอบแทนต่อปีโดยเฉลี่ยของคุณจะสูงกว่า และสุดท้ายก็คือ คุณจะรู้สึกว่าจำนวนเงินที่เรียกว่า “รวย” ของคุณนั้นมันจะต่ำกว่าคนอื่น ดังนั้น โอกาสที่คุณจะรวยได้นั้นสูงมาก แต่ถ้าคุณไม่รวย คุณก็จะไม่จนหรอก
ลองอ่านบทความนี้ดูอีกครั้ง น่าจะเป็นประโยชน์นะครับ
http://api.settrade.com/blog/nivate/2007/09/05/148
Wednesday, 5 September 2007
หลายคำถามกับหุ้นคุณค่า
เมื่อ เร็ว ๆ นี้ ผมได้รับเชิญให้ไปออกรายการทีวีทาง Money Channel ของตลาดหลักทรัพย์ หัวข้อสนทนาเป็นเรื่องเกี่ยวกับการลงทุนแบบเน้นคุณค่าและเป็นการโปรโมต หนังสือเล่มล่าสุดของผมชื่อ “รวยหุ้นอย่างพอเพียง” ผมเห็นว่าคำถามที่พิธีกรตั้งให้นั้น เป็นคำถามที่คนมักจะสงสัยหรือถามผมอยู่เนือง ๆ บางเรื่องก็เป็นเรื่องที่หลาย ๆ คนเข้าใจผิดเกี่ยวกับหุ้นคุณค่า ดังนั้นผมจึงคิดว่าคงจะมีประโยชน์ที่จะนำมาเขียนไว้ในที่นี้
คำถาม: หุ้นคุณค่าหมายถึงหุ้นแบบไหน มีหลักเกณฑ์ตายตัวไหมว่าหุ้นแบบไหนถึงเรียกว่าหุ้นคุณค่า
คำตอบ: หุ้นคุณค่าหมายถึงหุ้นที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานของกิจการ ซึ่งมูลค่าพื้นฐานนี้จะต้องมีการคิดคำนวณอย่างละเอียดรอบคอบ นักลงทุนเน้นคุณค่าหรือ Value Investor ที่เชี่ยวชาญจะต้องคิดและคำนวณหามูลค่าพื้นฐานเป็น โดยทางทฤษฎี มูลค่าพื้นฐานของกิจการนั้นจะคิดมาจากกระแสเงินสดรับที่เราจะได้รับจาก กิจการในอนาคต แต่โดยทั่วไป เวลาพูดถึงหุ้นคุณค่า เรามักจะพิจารณาว่าหุ้นที่มีราคาถูกเป็นหุ้นคุณค่าโดยไม่ค่อยคำนึงถึงปัจจัย พื้นฐาน เช่น ถ้าบริษัทมีกำไร ก็ดูว่าหุ้นต้องมีค่า PE ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดมาก ยิ่งต่ำมากก็ยิ่งดีเรียกว่าเป็นหุ้น Value มาก นอกจากค่า PE บางคนก็ดูค่า PB หรือราคาหุ้นต่อมูลค่าทางบัญชีด้วยโดยเฉพาะในกรณีที่บริษัทขาดทุน นั่นก็คือ ยิ่งค่า PB ต่ำเทียบกับหุ้นในตลาดโดยเฉลี่ยก็ยิ่งถือว่าเป็นหุ้น Value มาก สรุปง่าย ๆ หุ้นที่มีค่า PE และ/หรือ PB ต่ำมักจะถือว่าเป็นหุ้นคุณค่า
คำถาม: นักลงทุนในหุ้นคุณค่ามีลักษณะแบบไหน แตกต่างกับนักลงทุนที่เน้นหุ้นปันผลหรือไม่
คำตอบ: นักลงทุนหุ้นคุณค่ามักจะเน้นซื้อหุ้นที่มีราคาถูกเช่นซื้อหุ้นที่มีค่า PE และ/หรือ PB ต่ำถึงต่ำมาก ส่วนนักลงทุนที่เน้นหุ้นปันผลก็จะเน้นซื้อหุ้นที่ให้ปันผลสูงเมื่อเทียบกับ ราคาหุ้นหรือที่เรียกว่า Dividend Yield สูง ในความเป็นจริง หุ้นที่มีค่า PE ต่ำจำนวนมากมักจะมี Dividend Yield สูงด้วย และนักลงทุนเน้นคุณค่าจำนวนมากก็ชอบหุ้นที่ให้ปันผลตอบแทนสูงเหมือนกัน ดังนั้นอาจจะพูดได้ว่านักลงทุนหุ้นปันผลก็เป็นกลุ่มย่อยกลุ่มหนึ่งของนัก ลงทุนเน้นคุณค่า แต่นักลงทุนเน้นคุณค่าจำนวนมากก็ไม่ได้เน้นหุ้นที่ให้ปันผลสูง
คำถาม: ทำไม ดร. ถึงเลือกที่จะใช้วิธีลงทุนแบบ Value Investment ผลตอบแทนจากการลงทุนหุ้นคุณค่าที่ผ่านมาเป็นอย่างไร
คำตอบ: วิธีนี้เป็นการลงทุนที่ปลอดภัยและให้ผลตอบแทนที่ดี ผลตอบแทนการลงทุนที่ผ่านมา 10 ปี สูงถึงประมาณ 38% ต่อปีโดยเฉลี่ยแบบทบต้น แต่นั่นเป็นเพราะในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานั้นเป็นช่วงที่โอกาสการลงทุนสำหรับหุ้นคุณค่ามีมหาศาลและพอร์ต การลงทุนของผมยังเล็ก อนาคตต่อจากนี้ผมคิดว่าผมตั้งเป้าหมายผลตอบแทนได้อย่างมากก็ 15% ต่อปี
คำถาม: การลงทุนในหุ้นคุณค่าต้องเป็นการลงทุนระยะยาวเท่านั้นใช่หรือไม่ ซื้อ ๆ ขาย ๆ บ่อย ๆ ได้หรือไม่
คำตอบ: ส่วนใหญ่คงต้องเป็นระยะยาว เพราะว่าราคาหุ้นมักจะต้องใช้เวลาที่จะปรับตัวให้เข้าหามูลค่าที่แท้จริง ซึ่งมักจะมาจากผลประกอบการที่จะประกาศมาทุก ๆ ไตรมาศ ดังนั้น การซื้อ ๆ ขาย ๆ บ่อย ๆ จึงไม่น่าจะสอดคล้องกับหลักการของ Value Investment น่าจะเป็นเรื่องของการเก็งกำไรมากกว่า
คำถาม: กฎของการจะเป็นนักลงทุนหุ้นคุณค่ามีอะไรบ้าง
คำตอบ: เยอะมาก แต่หัวใจสำคัญก็คือ เราจะต้องวิเคราะห์การลงทุนทุกครั้งเป็นอย่างดีโดยดูที่ปัจจัยพื้นฐานทาง ธุรกิจและการเงินของบริษัท ไม่ใช่ดูจากการวิ่งขึ้นหรือลงของราคาหุ้น
คำถาม: ที่ผ่านมา ดร. นิเวศน์ เคยลงทุนแบบอื่นหรือไม่
คำตอบ: ก่อนลงทุนแบบ Value Investment ผมซื้อขายหุ้นแบบเก็งกำไร จะเรียกว่าเป็นการลงทุนคงไม่ได้เพราะไม่เคยคิดที่จะถือยาว และใช้เงิน “เสี่ยงโชค” เพียงเล็กน้อยเท่านั้น คำว่า “การลงทุน” ควรมีความหมายและจริงจังมากกว่านั้น
คำถาม: “รวยหุ้นอย่างพอเพียง” คืออะไร ใช่การลงทุนหุ้นคุณค่าหรือไม่
คำตอบ: หลักการของเศรษฐกิจพอเพียงมี 3 ห่วง คือ ความมีเหตุผล ความพอประมาณ และมีภูมิคุ้มกัน และมี 2 เงื่อนไขคือ ต้องมีความรู้และคุณธรรม ทั้ง 3 ห่วง 2 เงื่อนไขนั้นตรงกับเรื่องของการลงทุนแบบเน้นคุณค่า Value Investor ที่ดีนั้นจะต้องมีความรู้และยึดหลักธรรมมาภิบาลในการลงทุน เขาจะต้องใช้เหตุผลในการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุน มีความคาดหวังและใช้เงินลงทุนอย่างพอประมาณไม่โลภและไม่รับความเสี่ยงมาก เกินไป เช่น ไม่ใช้เงินกู้ในการซื้อหุ้น และสุดท้ายก็คือ ต้องมีภูมิคุ้มกันหรือเรียกว่าต้องมี Margin Of Safety เวลาตัดสินใจลงทุน
คำถาม: ลงทุนแบบเศรษฐกิจพอเพียงจะทำให้รวยได้หรือ
คำตอบ: คนจะรวยหรือไม่นั้น มีองค์ประกอบใหญ่ ๆ 4 เรื่อง หนึ่ง นิยามของความรวยของแต่ละคน สอง เงินเริ่มต้นและ/หรือเงินลงทุนที่ใส่เพิ่มลงไป สาม ระยะเวลาในการลงทุน และ สี่ ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีที่ทำได้ ผมคิดว่าถ้าคุณเป็น Value Investor พันธุ์แท้ที่จริงจัง คุณ “รวย” ได้อย่างแน่นอน เหตุผลก็เพราะว่า คุณจะมีเงินเริ่มต้นและเพิ่มเติมมากกว่าเพราะคุณจะออมมากกว่า คุณจะลงทุนยาวนานกว่าและไม่ถอนการลงทุนในยามที่ตลาดกำลังตกต่ำ ผลตอบแทนต่อปีโดยเฉลี่ยของคุณจะสูงกว่า และสุดท้ายก็คือ คุณจะรู้สึกว่าจำนวนเงินที่เรียกว่า “รวย” ของคุณนั้นมันจะต่ำกว่าคนอื่น ดังนั้น โอกาสที่คุณจะรวยได้นั้นสูงมาก แต่ถ้าคุณไม่รวย คุณก็จะไม่จนหรอก
- Rocker
- Verified User
- โพสต์: 4886
- ผู้ติดตาม: 0
กลยุทธ์ลงทุนหุ้นคุณค่า(Value Investment)ใช้ไม่ได้ผลกับวิกฤติ
โพสต์ที่ 28
คุณ thawatt ใช่ login ใหม่ของ พี่thanwa เปล่าครับ
อีกเรื่องที่ผมเพิ่งคิดได้ มีเพื่อนฝรั่งในclassของผมเป็น equity/ risk reseacher เชื่อใน Efficient MarketมากๆเพราะมันProveได้ทางtheory โดยเฉพาะกับอีกความเชื่อคือrandom walk ของตลาด ที่ตลาดจะะเดินแบบมั่วๆๆไม่มีทิศทาง
มันจึงแย้งว่าvalue ใช่ไม่ได้ เพราะตลาดมีประสิทธิภาพสูงมาก
หุ้น undervalueจึงไม่มี ถึงมีราคามักจะใกล้เคียงประสิทธิภาพ
แต่ผมแย้งบอกมันว่าแล้ว ตลาดหมีหละที่ทําให้ราคาตํากว่ามูลค่าหละเมื่อ dcf ออกมาราคาก็ตํากว่าเยอะมีหลายบริษัท เพราะตลาดหุ้นนอกเหนือtheoryตรงที่ มีความโลภ กลัว คนกลัวก็เทขายจนราคาตําเกว่าvalue
แล้วหากเราซื้อตอนที่หุ้นundervalueอยู่ และธุรกิจ พื้นฐานดี ทําไมเราจะไม่กําไร ในเมื่อเราซื้อแล้ว และepsโต ปันผลมากขึ้นเดี๋ยวคนก็มาแย่งซื้อเองแหละ อาจจะ1ปี 2 ปี 3ปี... เพราะปันผลสูงกว่า ดอกเบี้ย และต้นทุนค่าเสียโอกาศ
มันก็แย้งอีกว่า เพราะราคาundervalue นั้นรวมriskของตลาดและexpectationเข้าไปแล้ว ตลาดจึงลดราคาให้= ต้นทุนค่าเสียโอกาศและความเสี่ยง
พวกที่เรียนFinanceร้อยละ70%มีความคิดว่าไม่สามาถชนะตลาดได้
ถ้าจะชนะก็ต้องจัดportตาม หลัก Portfolio theory ซึ่งหาbetaบ้าบอ
คํานวณเชิงปริมาณล้วนๆๆ
อีกเรื่องที่ผมเพิ่งคิดได้ มีเพื่อนฝรั่งในclassของผมเป็น equity/ risk reseacher เชื่อใน Efficient MarketมากๆเพราะมันProveได้ทางtheory โดยเฉพาะกับอีกความเชื่อคือrandom walk ของตลาด ที่ตลาดจะะเดินแบบมั่วๆๆไม่มีทิศทาง
มันจึงแย้งว่าvalue ใช่ไม่ได้ เพราะตลาดมีประสิทธิภาพสูงมาก
หุ้น undervalueจึงไม่มี ถึงมีราคามักจะใกล้เคียงประสิทธิภาพ
แต่ผมแย้งบอกมันว่าแล้ว ตลาดหมีหละที่ทําให้ราคาตํากว่ามูลค่าหละเมื่อ dcf ออกมาราคาก็ตํากว่าเยอะมีหลายบริษัท เพราะตลาดหุ้นนอกเหนือtheoryตรงที่ มีความโลภ กลัว คนกลัวก็เทขายจนราคาตําเกว่าvalue
แล้วหากเราซื้อตอนที่หุ้นundervalueอยู่ และธุรกิจ พื้นฐานดี ทําไมเราจะไม่กําไร ในเมื่อเราซื้อแล้ว และepsโต ปันผลมากขึ้นเดี๋ยวคนก็มาแย่งซื้อเองแหละ อาจจะ1ปี 2 ปี 3ปี... เพราะปันผลสูงกว่า ดอกเบี้ย และต้นทุนค่าเสียโอกาศ
มันก็แย้งอีกว่า เพราะราคาundervalue นั้นรวมriskของตลาดและexpectationเข้าไปแล้ว ตลาดจึงลดราคาให้= ต้นทุนค่าเสียโอกาศและความเสี่ยง
พวกที่เรียนFinanceร้อยละ70%มีความคิดว่าไม่สามาถชนะตลาดได้
ถ้าจะชนะก็ต้องจัดportตาม หลัก Portfolio theory ซึ่งหาbetaบ้าบอ
คํานวณเชิงปริมาณล้วนๆๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 912
- ผู้ติดตาม: 0
กลยุทธ์ลงทุนหุ้นคุณค่า(Value Investment)ใช้ไม่ได้ผลกับวิกฤติ
โพสต์ที่ 30
ผมคิดว่า สมมติฐาน ตลาดประสิทธิภาำพ
น่าจะ assume ว่านักลงทุนทุกคนมีข้อมูลทุกชนิดครบถ้วน
และใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพในการตัดสินใจซื้อขายหุ้น
แต่ในความเป็นจริงอาจไ่ม่ได้เป็นเช่นนั้น
เลยอาจทำให้สมมติฐานนี้ไม่จริง
พี่ rocker เห็นว่าไงครับ?
น่าจะ assume ว่านักลงทุนทุกคนมีข้อมูลทุกชนิดครบถ้วน
และใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพในการตัดสินใจซื้อขายหุ้น
แต่ในความเป็นจริงอาจไ่ม่ได้เป็นเช่นนั้น
เลยอาจทำให้สมมติฐานนี้ไม่จริง
พี่ rocker เห็นว่าไงครับ?
ในยามลมแรง แม้แต่ไก่งวงยังบินได้
แต่เมื่อยามลมพัดหวน ผู้ที่อยู่รอดนั้่นคือพญาอินทรี
แต่เมื่อยามลมพัดหวน ผู้ที่อยู่รอดนั้่นคือพญาอินทรี