ดูท่าทฤษฎี Decouple จะใช้ไม่ได้จริง ๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 187
- ผู้ติดตาม: 0
ดูท่าทฤษฎี Decouple จะใช้ไม่ได้จริง ๆ
โพสต์ที่ 1
เศรษฐกิจเอเชียจะแยกตัว (Decouple) ออกจากสหรัฐฯ หรือไม่
นักเศรษฐศาสตร์เกือบทุกคนที่ติดตามเศรษฐกิจสหรัฐฯในปัจจุบันต่างเห็นตรงกันว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะขาลงในปีหน้าจากการแตกของฟองสบู่ที่อยู่อาศัย แต่ยังมีข้อถกเถียงกันว่าเศรษฐกิจเอเชียซึ่งรวมถึงไทยจะถูกกระทบมากน้อยขนาดไหน โดยกลุ่มแรกเห็นด้วยกับทฤษฎีแยกตัว (Decouple) ที่ว่า ผลจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเศรษฐกิจโลก ทำให้อิทธิพลของเศรษฐกิจสหรัฐฯที่มีต่อเอเชียลดน้อยลงมาก และเศรษฐกิจขาลงของสหรัฐฯในวัฏจักรนี้จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจเอเชียไม่มากนัก
ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์อีกกลุ่มหนึ่งไม่เชื่อในทฤษฎีนี้ แต่เชื่อว่าไม่ว่าโครงสร้างของเศรษฐกิจโลกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจเอเชียก็ยังต้องพึ่งสหรัฐฯ ดังนั้นการเข้าสู่เศรษฐกิจขาลงของสหรัฐฯจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเอเชียรวมถึงประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
นักเศรษฐศาสตร์ที่เห็นด้วยกับทฤษฎี Decouple เชื่อว่าเศรษฐกิจเอเชียจะไม่ถูกกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ เนื่องจากปัจจุบันประเทศในเอเชียมีความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจกันมากขึ้น และยังเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจของประเทศอื่นๆในโลกนอกจากสหรัฐฯมากขึ้นด้วย ดังนั้นเศรษฐกิจเอเชียจึงพึ่งพิงเศรษฐกิจสหรัฐฯ น้อยลงมากในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งดูได้จากการที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวลงตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ แต่เศรษฐกิจเอเชียก็ยังขยายตัวได้ดี ต่างจากในปี 2544 ที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่ขาลงในต้นปี 2544 ส่งผลให้เศรษฐกิจเอเชียเข้าสู่ขาลงในเวลาเดียวกัน
ส่วนนักเศรษฐศาสตร์อีกกลุ่มหนึ่งไม่เชื่อเช่นนั้น ผมก็เช่นเดียวกัน ผมเห็นว่าทฤษฎี Decouple ยังมีจุดอ่อนอยู่หลายประการโดยเฉพาะไม่ได้คิดถึงความแตกต่างระหว่างวัฏจักรเศรษฐกิจในปี 2544 และปัจจุบัน ซึ่งผมได้ความคิดนี้ส่วนหนึ่งจากการที่ได้พบปะพูดคุยกับ Dr. Fishwick รองหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของบริษัทวาณิชย์ธนกิจ CLSA ในปัจจุบัน
ผมคิดว่าความแตกต่างที่สำคัญระหว่างวัฏจักรปี 2544 และปัจจุบัน มีอยู่ 2 ประการคือ ประการแรก ในวัฏจักรปี 2544 เศรษฐกิจหลักของโลกทั้ง 3 ได้แก่ สหรัฐฯ สหภาพยุโรป (European Union: EU) และญี่ปุ่น มีปัญหาฟองสบู่จากธุรกิจสารสนเทศ (Information Technology: IT) ที่แตกในปลายปี 2543 เหมือนกัน ดังนั้น เศรษฐกิจทั้ง 3 จึงเข้าสู่ขาลงในต้นปี 2544 พร้อมๆ กัน ส่งผลต่อเนื่องไปยังเศรษฐกิจของประเทศในเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) อย่างรวดเร็วตั้งแต่ต้นปี 2544
ส่วนในวัฏจักรปัจจุบันนี้ สหรัฐฯ เป็นประเทศเดียวที่ประสบปัญหาฟองสบู่ที่อยู่อาศัย ในขณะที่ญี่ปุ่นและ EU (ยกเว้นอังกฤษ) ไม่ได้เผชิญปัญหาดังกล่าว ในทางตรงกันข้ามเศรษฐกิจของญี่ปุ่นและ EU โดยเฉพาะเยอรมนี ได้ฟื้นตัวจากการแตกของฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ที่เกิดในต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 แล้ว ดังนั้น ในวัฏจักรปัจจุบันเศรษฐกิจสหรัฐฯจึงเข้าสู่ขาลงเพียงประเทศเดียว ซึ่งทำให้ดูเสมือนว่าการเข้าสู่ขาลงดังกล่าวมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกค่อนข้างน้อย
ประการที่สอง การชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในครึ่งหลังของปีนี้เกิดจากการชะลอตัวของการลงทุนในการก่อสร้างที่อยู่อาศัย ไม่ได้เกิดจากการลดลงของการใช้จ่ายในการบริโภค จึงยังไม่ส่งผลต่อการส่งออกของประเทศเอเชีย เนื่องจากสินค้าออกของเอเชียที่ส่งไปยังสหรัฐฯ เกือบทั้งหมดเป็นสินค้าเพื่ออุปโภคและบริโภค
นอกจากนี้ปริมาณการค้าระหว่างประเทศในเอเชียที่สูงขึ้นส่วนใหญ่เป็นการค้าในอุตสาหกรรมเดียวกัน (Intra Industrial Trade) นั่นคือเป็นการค้าขายตั้งแต่วัตถุดิบไปจนถึงสินค้าขั้นกลางมากกว่าสินค้าขั้นสุดท้าย ในขณะที่ตลาดสำหรับสินค้าขั้นสุดท้ายที่สำคัญที่สุดในโลกยังคงเป็นตลาด G3 คือ สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น การชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ย่อมส่งผลให้การนำเข้าสินค้าขั้นสุดท้ายลดลง ซึ่งจะทำให้การส่งออกของเอเชียที่เป็นคู่ค้าสำคัญของสหรัฐฯลดลง และกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ สุดท้ายก็จะส่งผลกระทบผ่านต่อไปยังเศรษฐกิจของประเทศเอเชียอื่นๆที่มีการค้าขายระหว่างกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ผมคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะชะลอตัวอย่างชัดเจนในต้นปี 2551 จากการชะลอตัวของการบริโภคที่เป็นผลมาจากการแตกของฟองสบู่ที่อยู่อาศัย และผลกระทบจะส่งต่อเนื่องมาถึงเอเชียรวมถึงไทยโดยผ่านการชะลอตัวของการส่งออกเป็นทอดๆตามลำดับ
ผลของเศรษฐกิจขาลงของสหรัฐฯที่มีต่อเศรษฐกิจเอเชียและไทยในครั้งนี้จะต่างจากปี 2544 ที่เกิดการแตกของฟองสบู่ IT พร้อมกันทั้งสหรัฐฯ EU และญี่ปุ่น ดังนั้น จึงส่งผลต่อการส่งออกของเอเชียรวมถึงไทยอย่างรวดเร็ว แต่ครั้งนี้เศรษฐกิจขาลงของสหรัฐฯ ส่งผลค่อนข้างช้าเนื่องจากต้องผ่านกลไกด้านการค้าและการลงทุน เช่น การส่งออกของจีนไปสหรัฐฯ ชะลอตัวลง จากนั้นการส่งออกของไทยไปจีนจะชะลอตัวตาม และในที่สุดจึงกระทบต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวม ซึ่งจะต้องใช้เวลานานกว่าผลกระทบดังกล่าวจะมีต่อเศรษฐกิจเอเชียและไทย ผมคาดว่าภาพดังกล่าวจะชัดเจนในปลายไตรมาสที่ 2 หรือในไตรมาสที่ 3 ของปี 2551
โดยสรุป ทฤษฎี Decouple เป็นการวิเคราะห์ที่ไม่ได้รวมความแตกต่างของวัฏจักรปัจจุบันกับปี 2544 และไม่ได้คิดถึงผลทางอ้อมที่ผ่านกลไกทางการค้าและการลงทุนที่จะส่งต่อไปยังประเทศอื่นๆ และค่อยๆทยอยส่งผลต่อเนื่องมายังเอเชียและไทย ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้เวลา ผมเชื่อว่าเศรษฐกิจของเอเชียและไทยที่เน้นการส่งออกเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไม่สามารถที่จะแยกตัวหรือ Decouple ออกจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้
http://www.thannews.th.com/detialnews.p ... issue=2274
นักเศรษฐศาสตร์เกือบทุกคนที่ติดตามเศรษฐกิจสหรัฐฯในปัจจุบันต่างเห็นตรงกันว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะขาลงในปีหน้าจากการแตกของฟองสบู่ที่อยู่อาศัย แต่ยังมีข้อถกเถียงกันว่าเศรษฐกิจเอเชียซึ่งรวมถึงไทยจะถูกกระทบมากน้อยขนาดไหน โดยกลุ่มแรกเห็นด้วยกับทฤษฎีแยกตัว (Decouple) ที่ว่า ผลจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเศรษฐกิจโลก ทำให้อิทธิพลของเศรษฐกิจสหรัฐฯที่มีต่อเอเชียลดน้อยลงมาก และเศรษฐกิจขาลงของสหรัฐฯในวัฏจักรนี้จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจเอเชียไม่มากนัก
ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์อีกกลุ่มหนึ่งไม่เชื่อในทฤษฎีนี้ แต่เชื่อว่าไม่ว่าโครงสร้างของเศรษฐกิจโลกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจเอเชียก็ยังต้องพึ่งสหรัฐฯ ดังนั้นการเข้าสู่เศรษฐกิจขาลงของสหรัฐฯจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเอเชียรวมถึงประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
นักเศรษฐศาสตร์ที่เห็นด้วยกับทฤษฎี Decouple เชื่อว่าเศรษฐกิจเอเชียจะไม่ถูกกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ เนื่องจากปัจจุบันประเทศในเอเชียมีความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจกันมากขึ้น และยังเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจของประเทศอื่นๆในโลกนอกจากสหรัฐฯมากขึ้นด้วย ดังนั้นเศรษฐกิจเอเชียจึงพึ่งพิงเศรษฐกิจสหรัฐฯ น้อยลงมากในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งดูได้จากการที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวลงตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ แต่เศรษฐกิจเอเชียก็ยังขยายตัวได้ดี ต่างจากในปี 2544 ที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่ขาลงในต้นปี 2544 ส่งผลให้เศรษฐกิจเอเชียเข้าสู่ขาลงในเวลาเดียวกัน
ส่วนนักเศรษฐศาสตร์อีกกลุ่มหนึ่งไม่เชื่อเช่นนั้น ผมก็เช่นเดียวกัน ผมเห็นว่าทฤษฎี Decouple ยังมีจุดอ่อนอยู่หลายประการโดยเฉพาะไม่ได้คิดถึงความแตกต่างระหว่างวัฏจักรเศรษฐกิจในปี 2544 และปัจจุบัน ซึ่งผมได้ความคิดนี้ส่วนหนึ่งจากการที่ได้พบปะพูดคุยกับ Dr. Fishwick รองหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของบริษัทวาณิชย์ธนกิจ CLSA ในปัจจุบัน
ผมคิดว่าความแตกต่างที่สำคัญระหว่างวัฏจักรปี 2544 และปัจจุบัน มีอยู่ 2 ประการคือ ประการแรก ในวัฏจักรปี 2544 เศรษฐกิจหลักของโลกทั้ง 3 ได้แก่ สหรัฐฯ สหภาพยุโรป (European Union: EU) และญี่ปุ่น มีปัญหาฟองสบู่จากธุรกิจสารสนเทศ (Information Technology: IT) ที่แตกในปลายปี 2543 เหมือนกัน ดังนั้น เศรษฐกิจทั้ง 3 จึงเข้าสู่ขาลงในต้นปี 2544 พร้อมๆ กัน ส่งผลต่อเนื่องไปยังเศรษฐกิจของประเทศในเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) อย่างรวดเร็วตั้งแต่ต้นปี 2544
ส่วนในวัฏจักรปัจจุบันนี้ สหรัฐฯ เป็นประเทศเดียวที่ประสบปัญหาฟองสบู่ที่อยู่อาศัย ในขณะที่ญี่ปุ่นและ EU (ยกเว้นอังกฤษ) ไม่ได้เผชิญปัญหาดังกล่าว ในทางตรงกันข้ามเศรษฐกิจของญี่ปุ่นและ EU โดยเฉพาะเยอรมนี ได้ฟื้นตัวจากการแตกของฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ที่เกิดในต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 แล้ว ดังนั้น ในวัฏจักรปัจจุบันเศรษฐกิจสหรัฐฯจึงเข้าสู่ขาลงเพียงประเทศเดียว ซึ่งทำให้ดูเสมือนว่าการเข้าสู่ขาลงดังกล่าวมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกค่อนข้างน้อย
ประการที่สอง การชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในครึ่งหลังของปีนี้เกิดจากการชะลอตัวของการลงทุนในการก่อสร้างที่อยู่อาศัย ไม่ได้เกิดจากการลดลงของการใช้จ่ายในการบริโภค จึงยังไม่ส่งผลต่อการส่งออกของประเทศเอเชีย เนื่องจากสินค้าออกของเอเชียที่ส่งไปยังสหรัฐฯ เกือบทั้งหมดเป็นสินค้าเพื่ออุปโภคและบริโภค
นอกจากนี้ปริมาณการค้าระหว่างประเทศในเอเชียที่สูงขึ้นส่วนใหญ่เป็นการค้าในอุตสาหกรรมเดียวกัน (Intra Industrial Trade) นั่นคือเป็นการค้าขายตั้งแต่วัตถุดิบไปจนถึงสินค้าขั้นกลางมากกว่าสินค้าขั้นสุดท้าย ในขณะที่ตลาดสำหรับสินค้าขั้นสุดท้ายที่สำคัญที่สุดในโลกยังคงเป็นตลาด G3 คือ สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น การชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ย่อมส่งผลให้การนำเข้าสินค้าขั้นสุดท้ายลดลง ซึ่งจะทำให้การส่งออกของเอเชียที่เป็นคู่ค้าสำคัญของสหรัฐฯลดลง และกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ สุดท้ายก็จะส่งผลกระทบผ่านต่อไปยังเศรษฐกิจของประเทศเอเชียอื่นๆที่มีการค้าขายระหว่างกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ผมคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะชะลอตัวอย่างชัดเจนในต้นปี 2551 จากการชะลอตัวของการบริโภคที่เป็นผลมาจากการแตกของฟองสบู่ที่อยู่อาศัย และผลกระทบจะส่งต่อเนื่องมาถึงเอเชียรวมถึงไทยโดยผ่านการชะลอตัวของการส่งออกเป็นทอดๆตามลำดับ
ผลของเศรษฐกิจขาลงของสหรัฐฯที่มีต่อเศรษฐกิจเอเชียและไทยในครั้งนี้จะต่างจากปี 2544 ที่เกิดการแตกของฟองสบู่ IT พร้อมกันทั้งสหรัฐฯ EU และญี่ปุ่น ดังนั้น จึงส่งผลต่อการส่งออกของเอเชียรวมถึงไทยอย่างรวดเร็ว แต่ครั้งนี้เศรษฐกิจขาลงของสหรัฐฯ ส่งผลค่อนข้างช้าเนื่องจากต้องผ่านกลไกด้านการค้าและการลงทุน เช่น การส่งออกของจีนไปสหรัฐฯ ชะลอตัวลง จากนั้นการส่งออกของไทยไปจีนจะชะลอตัวตาม และในที่สุดจึงกระทบต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวม ซึ่งจะต้องใช้เวลานานกว่าผลกระทบดังกล่าวจะมีต่อเศรษฐกิจเอเชียและไทย ผมคาดว่าภาพดังกล่าวจะชัดเจนในปลายไตรมาสที่ 2 หรือในไตรมาสที่ 3 ของปี 2551
โดยสรุป ทฤษฎี Decouple เป็นการวิเคราะห์ที่ไม่ได้รวมความแตกต่างของวัฏจักรปัจจุบันกับปี 2544 และไม่ได้คิดถึงผลทางอ้อมที่ผ่านกลไกทางการค้าและการลงทุนที่จะส่งต่อไปยังประเทศอื่นๆ และค่อยๆทยอยส่งผลต่อเนื่องมายังเอเชียและไทย ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้เวลา ผมเชื่อว่าเศรษฐกิจของเอเชียและไทยที่เน้นการส่งออกเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไม่สามารถที่จะแยกตัวหรือ Decouple ออกจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้
http://www.thannews.th.com/detialnews.p ... issue=2274
-
- Verified User
- โพสต์: 187
- ผู้ติดตาม: 0
ดูท่าทฤษฎี Decouple จะใช้ไม่ได้จริง ๆ
โพสต์ที่ 3
เครดิตลียองเนส์ฟันธงปี51ศก.จีนหดตัวแรงฉุดโลกทรุด
อุไรวรรณ ภู่วิจิตรสุทิน
"จิม วอล์คเกอร์" ผู้พยากรณ์เหตุวิกฤติเงินเอเชีย ปี 2540 ได้แม่นยำ ออกบทวิเคราะห์ช็อกโลกครั้งล่าสุด ฟันธงจีนกลไกแห่งความหวังขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก แทนที่มหาอำนาจเศรษฐกิจอันดับหนึ่งอย่างสหรัฐซึ่งยังคงวุ่น สางปัญหาซับไพร์มซึมลึก ปีหน้าจะเผชิญวิกฤติเศรษฐกิจภายใน จีดีพีหดตัวจาก 12% เหลือเพียง 5% กำไรบริษัทวูบหนัก หนี้เสียแบงก์รัฐเพิ่มจำนวนมหาศาล กลายเป็นปัจจัยเสี่ยงฉุดโลกทรุด
Butterfly Effect หรือ "ปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก" เพียงเล็กน้อยก็ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีที่มาจากเรย์ แบรดเบอรี่ นักเขียนนิยายแนววิทยาศาสตร์ ในปี 2495 ซึ่งให้ความหมายว่าการเปลี่ยนแปลงจากที่แห่งหนึ่งสามารถนำไปสู่ผลกระทบมากมายให้กับส่วนอื่นๆ กิริยาของผีเสื้อกระตุ้นให้เกิดบรรยากาศแห่งความโกลาหลวุ่นวาย จนเป็นเหตุให้เกิดความรุนแรงขึ้นมาในทันที กลายเป็นคำศัพท์เป็นที่รู้จักของผู้เกี่ยวข้องกับตลาดเงินตลาดทุนทั่วโลกที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาตลาดสินเชื่อปล่อยกู้ลูกค้ามีความน่าเชื่อถือต่ำในสหรัฐ หรือซับไพร์ม มากขึ้น
นิวส์ วีค นิตยสารเศรษฐกิจการเมืองชั้นนำของสหรัฐ ได้นำคำว่า ปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก มาเป็นชื่อเรื่องบทวิเคราะห์ เชื่อมโยงปัญหาซับไพร์มที่มีต้นตอมาจากเศรษฐกิจใหญ่อันดับหนึ่งของโลกอย่างสหรัฐ และมีผู้หวั่นเกรงกันว่าจะขยายวง จนฉุดลากเศรษฐกิจในภูมิภาคสำคัญ อย่างยุโรปกับเอเชียซึ่งมีจีนเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญทรุดลงตามไปด้วย
"ความปั่นป่วนวุ่นวายในตลาดโลกตลอด 1-2 เดือนที่ผ่านมา เป็นผลกระทบกระจายวงอย่างเห็นได้ชัด เมื่อซับไพร์มนำไปสู่การล้มละลายของแบงก์ทั่วสหรัฐ ตลาดหุ้นตลาดเกิดใหม่ดิ่งลง และเมื่อเร็วๆ นี้แบงก์อังกฤษแห่งหนึ่งเกิดปัญหาตกต่ำ" นิวส์ วีค ยกตัวอย่างเกริ่นนำ และนำไปสู่ข้อมูลที่ได้รับจากจิม วอล์คเกอร์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของเครดิต ลียองเนส์ ซิเคียวริตี้ส์ หรือ ซีแอลเอสเอ
ในอดีตเมื่อปี 2540 ชื่อเสียงของจิม วอล์คเกอร์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของซีแอลเอสเอ กลายเป็นที่รู้จักในตลาดการเงินทั่วโลก เพราะเขาเป็นคนแรกที่ทำนายแนวโน้มเศรษฐกิจเอเชียช่วง 1 ปีก่อนเกิดเหตุว่า จะเกิดปัญหาค่าเงินในภูมิภาค จุดชนวนให้เกิดกระแสเงินทุนไหลออกอย่างฉับพลันตามมา จนก่อเกิดวิกฤติค่าเงินในระดับภูมิภาค ซึ่งวิกฤติดังกล่าวมีต้นตอมาจากรัฐบาลไทยประกาศลอยตัวค่าเงินบาท กลายเป็นปัญหาลูกโซ่ฉุดเศรษฐกิจตลาดเงินประเทศเพื่อนบ้านทรุดตามไทย
ล่าสุดชื่อของจิม วอล์คเกอร์ โดดเด่นขึ้นมาอีกครั้ง จากการนำเสนอของนิวส์ วีค ซึ่งได้ไปพยากรณ์ที่ฮ่องกงช่วงปลายเดือนก.ย.นี้ เป็นการเตือนจากคาดการณ์ปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก อันมีต้นตอจากปัญหาซับไพร์มยังไม่จบสิ้นในสหรัฐ ว่าจะจู่โจมเหมือนเฮอริเคนกระหน่ำเศรษฐกิจที่กำลังเกิดสนิมกินในของจีนได้ในปีหน้า
นิวส์ วีค ยกให้จิม วอล์คเกอร์ เป็นกูรูด้านเศรษฐศาสตร์จีน ซึ่งสมมติฐานการคาดเดาของเขาล้วนเป็นผลงานเหมือนนิยายตื่นเต้น และเป็นไอเดียสวนทางกับนักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลกส่วนใหญ่ ที่หวังให้ปัญหาซับไพร์มที่ไปฉุดรั้งเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัว จะทดแทนได้ด้วยการขยายตัวสดใสของเศรษฐกิจส่วนอื่นของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจีนกลายเป็นจุดสนใจ และถูกมองว่าจะเป็นกลไกใหม่สำคัญ ขับเคลื่อนจีดีพีโลกให้ขยายตัวได้มากขึ้น
แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏเมื่อเร็วๆ นี้ กลับพิสูจน์ได้ว่าเศรษฐกิจโลกไม่สามารถหลุดพ้นจากปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภคสหรัฐ สะท้อนได้จากการชะลอตัวของสหรัฐปีนี้ ทำให้ยุโรป และญี่ปุ่นกำลังเผชิญการขยายตัวลดลง และในรายงานของเมอร์ริล ลินช์ เมื่อ 5 เดือนที่ผ่านมา เคยตื่นเต้นกับแนวโน้มเศรษฐกิจญี่ปุ่น แต่ตอนนี้นักเศรษฐศาสตร์เมอร์ริล ลินช์ กลับมองญี่ปุ่นว่ากำลังฝันร้าย เพราะประเทศเติบโตแบบติดลบ ยุโรปก็ร่อแร่เติบโตเชื่องช้าที่ 2%
คำถามที่ตามมาของนิวส์ วีค คือจีนอาจจ่อคิวเศรษฐกิจขยายตัวลดลงรายต่อไปหรือไม่ เพราะวอล์คเกอร์ทำนายไว้ว่าการเติบโตของเศรษฐกิจจีน อาจหดตัวลดลงแบบพรวดพราด จาก12% เหลือเพียง 5% ก่อนสิ้นปี 2551 ขณะที่ความตกต่ำของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว กลายเป็นปัญหาทับถมลากจีน ซึ่งประสบปัญหาสนิมกัดกร่อนเศรษฐกิจการเงินในประเทศมานาน จนทรุดฉุดโลกตกต่ำด้วย
วอล์คเกอร์คาดการณ์ว่า ความต้องการสินค้าทุกอย่างที่ผลิตจากจีน จะแผ่วหรือลดน้อยลง ขณะที่โรงงานจีนหลายพันแห่งจะได้รับผลกระทบต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ด้วยเช่นกันในปีหน้า ก่อเกิดสถานการณ์กำไรบริษัทจีนทรุดหนัก ปัญหาหนี้เสียมากมายมหาศาลของธนาคารรัฐในจีนปูดออกมาให้เห็น และผลตามมาในท้ายที่สุดนั้น แน่นอนว่าส่งผลให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว กลายเป็นสภาพคล่องสินเชื่อตึงตัวครั้งใหญ่สุดเท่าที่เคยปรากฏมาในอดีต
งานวิเคราะห์เปรียบเทียบจีนในอนาคต จะประสบปัญหาสุขภาพเป็นอาการเบื่ออาหาร และอธิบายสถานการณ์ในจีนทุกวันนี้ว่า นโยบายปล่อยหยวนอ่อนค่าของรัฐบาล พร้อมเงินอุดหนุนภาคส่งออกจนทำให้ความสามารถแข่งขันสูงมากเกินไป ความพยายามของรัฐที่จะจุดกระแสให้เกิดการบริโภคในประเทศยังคงค้างเติ่ง
จีนเหมือนญี่ปุ่นเมื่อ 20 ปีที่แล้ว เมื่ออุปทานการส่งออกนำไปสู่การลงทุนมากเกินไป ฟองสบู่สินทรัพย์ในตลาดหุ้นและภาคอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งปัญหาการเมืองปะทุทำให้การค้าไร้สมดุล ซึ่งชนวนสำคัญคล้ายคลึงกัน คือ ผู้กำหนดและวางแผนของภาครัฐไม่แก้ปัญหาเชิงลึก ธนาคารรัฐประสบปัญหาหนี้เสีย กลุ่มธุรกิจกับผู้นำการเมืองที่มีสายตาไม่ยาวไกล เชื่อมั่นในตัวเองออกมาให้แต่ข่าวดี
ต่ง เถา หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ระดับภูมิภาคของเครดิต ซูส์ในฮ่องกง เตือนว่าชนวนต่างๆ เหล่านี้อาจทำให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรผิดพลาดอย่างมาก และเป็นสาเหตุให้เกิดความเสียหายกับความสามารถแข่งขันของจีนได้ในระยะยาว
จีนเหมือนญี่ปุ่นในช่วงทศวรรษหลังปี 2513 ที่ก่อร่างสร้างอุตสาหกรรมหนักมากเกินไป ด้วยการอุดหนุนภาคส่งออก ให้พลังงานราคาถูกและสินเชื่อปล่อยง่าย ยกตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมเหล็กมีศักยภาพการผลิตเพิ่มเป็น 3 เท่า ในช่วงปี 2544-2548 จนจีนเขยิบตัวเองกลายเป็นผู้ผลิตเหล็กชั้นนำของโลกไปแล้ว
แต่แนวโน้มข้างต้นกลับฉุดราคาเหล็กในจีนให้ตกลงเหลือ 30% ต่ำกว่าราคาเหล็กเฉลี่ยในต่างประเทศ และมีหลายอุตสาหกรรมยิ่งทำให้เศรษฐกิจจีนขยายตัวโดยพึ่งพาการส่งออก จนมีความผันผวนเปราะบางต่อภาวะตื่นตระหนก ส่งผลกระทบต่อการส่งออกในอนาคต
นิวส์ วีค ระบุว่า ปัญหาหลายอย่างก่อตัวขึ้นมาจากขนาดเศรษฐกิจของจีน การส่งออกของจีนชะลอตัวก่อผลกระทบมหาศาลให้กับผู้จัดหาทรัพยากรให้จีนในทวีปแอฟริกา ไปจนถึงผู้ผลิตชิ้นส่วนในเอเชียตะวันออก และกลุ่มผู้ผลิตเครื่องจักรหนักในเยอรมนี
ขณะเดียวกันระบบธนาคารของจีน มีแนวโน้มเป็นฟองสบู่การเงินโลกลูกต่อไปที่ใกล้ระเบิด ธนาคารจีนหลายแห่งล้วนเป็นธนาคารรัฐขนาดใหญ่ และเป็นผลิตผลของเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ ค่าเงินหยวนมีมูลค่าต่ำเกินจริงและไม่สามารถปรับได้ จำนวนเงินออมมูลค่ามหาศาลในช่วงเศรษฐกิจเฟื่องฟูยังถูกกักไว้ในประเทศ ดอกเบี้ยแท้จริงติดลบผลักดันให้เงินออมเข้าไปเก็งกำไรในตลาดสินทรัพย์มากขึ้น
ทั้งนี้ผู้กำหนดนโยบายจีนพากันระวังกับการใช้ความพยายาม ที่จะทำให้เศรษฐกิจจีนคลายความร้อนแรง และรอบคอบกับการสร้างเสถียรภาพให้กับราคาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งในบางเมืองของจีนราคาอสังหาริมทรัพย์นับจากปี 2543 เพิ่มขึ้นถึง 13 เท่า หรือระวังที่จะเปลี่ยนแปลงลดพึ่งพาการส่งออกช่วยเศรษฐกิจขยายตัว และเป้าหมายอันดับแรกในปีหน้าของจีนคือ การจัดกีฬาโอลิมปิกเท่านั้น
"การไม่ตรวจสอบ การไร้สมดุลในจีน จะยังคงขยายวงมากขึ้น และเป็นไปได้มากขึ้นว่าจะมีการปรับตัวครั้งใหญ่ บรรดาผู้นำจีนล้วนมีพลังอำนาจน้อยลง ที่จะปัดเป่าหายนภัยจากภาวะตื่นตระหนกครั้งใหญ่ และสิ่งที่จะหลีกเลี่ยงสถานการณ์เกิดขึ้นแบบญี่ปุ่นได้ คือ การดำเนินการก่อนที่หลายสิ่งจะเข้ามาถึงขั้นตอนที่ว่าผู้กำหนดนโยบายต่างเผชิญกับความล้มเหลวแล้ว" วอล์คเกอร์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ซีแอลเอสเอ กล่าวสรุป
ในช่วงท้ายนิวส์ วีค ตั้งข้อสังเกตว่า ไม่ว่าวิกฤติเกิดจากสนิมกัดกร่อนเศรษฐกิจภายในของจีน จะกระตุ้นให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจโลกตกต่ำหรือไม่ก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนคือ ปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีกในสหรัฐ จะยังมีพลังทำปัญหาซับไพร์มกลายเป็นพายุรุนแรงกระหน่ำโลกใบนี้ต่อไปได้
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopi ... highlight=
อุไรวรรณ ภู่วิจิตรสุทิน
"จิม วอล์คเกอร์" ผู้พยากรณ์เหตุวิกฤติเงินเอเชีย ปี 2540 ได้แม่นยำ ออกบทวิเคราะห์ช็อกโลกครั้งล่าสุด ฟันธงจีนกลไกแห่งความหวังขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก แทนที่มหาอำนาจเศรษฐกิจอันดับหนึ่งอย่างสหรัฐซึ่งยังคงวุ่น สางปัญหาซับไพร์มซึมลึก ปีหน้าจะเผชิญวิกฤติเศรษฐกิจภายใน จีดีพีหดตัวจาก 12% เหลือเพียง 5% กำไรบริษัทวูบหนัก หนี้เสียแบงก์รัฐเพิ่มจำนวนมหาศาล กลายเป็นปัจจัยเสี่ยงฉุดโลกทรุด
Butterfly Effect หรือ "ปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก" เพียงเล็กน้อยก็ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีที่มาจากเรย์ แบรดเบอรี่ นักเขียนนิยายแนววิทยาศาสตร์ ในปี 2495 ซึ่งให้ความหมายว่าการเปลี่ยนแปลงจากที่แห่งหนึ่งสามารถนำไปสู่ผลกระทบมากมายให้กับส่วนอื่นๆ กิริยาของผีเสื้อกระตุ้นให้เกิดบรรยากาศแห่งความโกลาหลวุ่นวาย จนเป็นเหตุให้เกิดความรุนแรงขึ้นมาในทันที กลายเป็นคำศัพท์เป็นที่รู้จักของผู้เกี่ยวข้องกับตลาดเงินตลาดทุนทั่วโลกที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาตลาดสินเชื่อปล่อยกู้ลูกค้ามีความน่าเชื่อถือต่ำในสหรัฐ หรือซับไพร์ม มากขึ้น
นิวส์ วีค นิตยสารเศรษฐกิจการเมืองชั้นนำของสหรัฐ ได้นำคำว่า ปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก มาเป็นชื่อเรื่องบทวิเคราะห์ เชื่อมโยงปัญหาซับไพร์มที่มีต้นตอมาจากเศรษฐกิจใหญ่อันดับหนึ่งของโลกอย่างสหรัฐ และมีผู้หวั่นเกรงกันว่าจะขยายวง จนฉุดลากเศรษฐกิจในภูมิภาคสำคัญ อย่างยุโรปกับเอเชียซึ่งมีจีนเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญทรุดลงตามไปด้วย
"ความปั่นป่วนวุ่นวายในตลาดโลกตลอด 1-2 เดือนที่ผ่านมา เป็นผลกระทบกระจายวงอย่างเห็นได้ชัด เมื่อซับไพร์มนำไปสู่การล้มละลายของแบงก์ทั่วสหรัฐ ตลาดหุ้นตลาดเกิดใหม่ดิ่งลง และเมื่อเร็วๆ นี้แบงก์อังกฤษแห่งหนึ่งเกิดปัญหาตกต่ำ" นิวส์ วีค ยกตัวอย่างเกริ่นนำ และนำไปสู่ข้อมูลที่ได้รับจากจิม วอล์คเกอร์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของเครดิต ลียองเนส์ ซิเคียวริตี้ส์ หรือ ซีแอลเอสเอ
ในอดีตเมื่อปี 2540 ชื่อเสียงของจิม วอล์คเกอร์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของซีแอลเอสเอ กลายเป็นที่รู้จักในตลาดการเงินทั่วโลก เพราะเขาเป็นคนแรกที่ทำนายแนวโน้มเศรษฐกิจเอเชียช่วง 1 ปีก่อนเกิดเหตุว่า จะเกิดปัญหาค่าเงินในภูมิภาค จุดชนวนให้เกิดกระแสเงินทุนไหลออกอย่างฉับพลันตามมา จนก่อเกิดวิกฤติค่าเงินในระดับภูมิภาค ซึ่งวิกฤติดังกล่าวมีต้นตอมาจากรัฐบาลไทยประกาศลอยตัวค่าเงินบาท กลายเป็นปัญหาลูกโซ่ฉุดเศรษฐกิจตลาดเงินประเทศเพื่อนบ้านทรุดตามไทย
ล่าสุดชื่อของจิม วอล์คเกอร์ โดดเด่นขึ้นมาอีกครั้ง จากการนำเสนอของนิวส์ วีค ซึ่งได้ไปพยากรณ์ที่ฮ่องกงช่วงปลายเดือนก.ย.นี้ เป็นการเตือนจากคาดการณ์ปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีก อันมีต้นตอจากปัญหาซับไพร์มยังไม่จบสิ้นในสหรัฐ ว่าจะจู่โจมเหมือนเฮอริเคนกระหน่ำเศรษฐกิจที่กำลังเกิดสนิมกินในของจีนได้ในปีหน้า
นิวส์ วีค ยกให้จิม วอล์คเกอร์ เป็นกูรูด้านเศรษฐศาสตร์จีน ซึ่งสมมติฐานการคาดเดาของเขาล้วนเป็นผลงานเหมือนนิยายตื่นเต้น และเป็นไอเดียสวนทางกับนักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลกส่วนใหญ่ ที่หวังให้ปัญหาซับไพร์มที่ไปฉุดรั้งเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัว จะทดแทนได้ด้วยการขยายตัวสดใสของเศรษฐกิจส่วนอื่นของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจีนกลายเป็นจุดสนใจ และถูกมองว่าจะเป็นกลไกใหม่สำคัญ ขับเคลื่อนจีดีพีโลกให้ขยายตัวได้มากขึ้น
แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏเมื่อเร็วๆ นี้ กลับพิสูจน์ได้ว่าเศรษฐกิจโลกไม่สามารถหลุดพ้นจากปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภคสหรัฐ สะท้อนได้จากการชะลอตัวของสหรัฐปีนี้ ทำให้ยุโรป และญี่ปุ่นกำลังเผชิญการขยายตัวลดลง และในรายงานของเมอร์ริล ลินช์ เมื่อ 5 เดือนที่ผ่านมา เคยตื่นเต้นกับแนวโน้มเศรษฐกิจญี่ปุ่น แต่ตอนนี้นักเศรษฐศาสตร์เมอร์ริล ลินช์ กลับมองญี่ปุ่นว่ากำลังฝันร้าย เพราะประเทศเติบโตแบบติดลบ ยุโรปก็ร่อแร่เติบโตเชื่องช้าที่ 2%
คำถามที่ตามมาของนิวส์ วีค คือจีนอาจจ่อคิวเศรษฐกิจขยายตัวลดลงรายต่อไปหรือไม่ เพราะวอล์คเกอร์ทำนายไว้ว่าการเติบโตของเศรษฐกิจจีน อาจหดตัวลดลงแบบพรวดพราด จาก12% เหลือเพียง 5% ก่อนสิ้นปี 2551 ขณะที่ความตกต่ำของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว กลายเป็นปัญหาทับถมลากจีน ซึ่งประสบปัญหาสนิมกัดกร่อนเศรษฐกิจการเงินในประเทศมานาน จนทรุดฉุดโลกตกต่ำด้วย
วอล์คเกอร์คาดการณ์ว่า ความต้องการสินค้าทุกอย่างที่ผลิตจากจีน จะแผ่วหรือลดน้อยลง ขณะที่โรงงานจีนหลายพันแห่งจะได้รับผลกระทบต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ด้วยเช่นกันในปีหน้า ก่อเกิดสถานการณ์กำไรบริษัทจีนทรุดหนัก ปัญหาหนี้เสียมากมายมหาศาลของธนาคารรัฐในจีนปูดออกมาให้เห็น และผลตามมาในท้ายที่สุดนั้น แน่นอนว่าส่งผลให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว กลายเป็นสภาพคล่องสินเชื่อตึงตัวครั้งใหญ่สุดเท่าที่เคยปรากฏมาในอดีต
งานวิเคราะห์เปรียบเทียบจีนในอนาคต จะประสบปัญหาสุขภาพเป็นอาการเบื่ออาหาร และอธิบายสถานการณ์ในจีนทุกวันนี้ว่า นโยบายปล่อยหยวนอ่อนค่าของรัฐบาล พร้อมเงินอุดหนุนภาคส่งออกจนทำให้ความสามารถแข่งขันสูงมากเกินไป ความพยายามของรัฐที่จะจุดกระแสให้เกิดการบริโภคในประเทศยังคงค้างเติ่ง
จีนเหมือนญี่ปุ่นเมื่อ 20 ปีที่แล้ว เมื่ออุปทานการส่งออกนำไปสู่การลงทุนมากเกินไป ฟองสบู่สินทรัพย์ในตลาดหุ้นและภาคอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งปัญหาการเมืองปะทุทำให้การค้าไร้สมดุล ซึ่งชนวนสำคัญคล้ายคลึงกัน คือ ผู้กำหนดและวางแผนของภาครัฐไม่แก้ปัญหาเชิงลึก ธนาคารรัฐประสบปัญหาหนี้เสีย กลุ่มธุรกิจกับผู้นำการเมืองที่มีสายตาไม่ยาวไกล เชื่อมั่นในตัวเองออกมาให้แต่ข่าวดี
ต่ง เถา หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ระดับภูมิภาคของเครดิต ซูส์ในฮ่องกง เตือนว่าชนวนต่างๆ เหล่านี้อาจทำให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรผิดพลาดอย่างมาก และเป็นสาเหตุให้เกิดความเสียหายกับความสามารถแข่งขันของจีนได้ในระยะยาว
จีนเหมือนญี่ปุ่นในช่วงทศวรรษหลังปี 2513 ที่ก่อร่างสร้างอุตสาหกรรมหนักมากเกินไป ด้วยการอุดหนุนภาคส่งออก ให้พลังงานราคาถูกและสินเชื่อปล่อยง่าย ยกตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมเหล็กมีศักยภาพการผลิตเพิ่มเป็น 3 เท่า ในช่วงปี 2544-2548 จนจีนเขยิบตัวเองกลายเป็นผู้ผลิตเหล็กชั้นนำของโลกไปแล้ว
แต่แนวโน้มข้างต้นกลับฉุดราคาเหล็กในจีนให้ตกลงเหลือ 30% ต่ำกว่าราคาเหล็กเฉลี่ยในต่างประเทศ และมีหลายอุตสาหกรรมยิ่งทำให้เศรษฐกิจจีนขยายตัวโดยพึ่งพาการส่งออก จนมีความผันผวนเปราะบางต่อภาวะตื่นตระหนก ส่งผลกระทบต่อการส่งออกในอนาคต
นิวส์ วีค ระบุว่า ปัญหาหลายอย่างก่อตัวขึ้นมาจากขนาดเศรษฐกิจของจีน การส่งออกของจีนชะลอตัวก่อผลกระทบมหาศาลให้กับผู้จัดหาทรัพยากรให้จีนในทวีปแอฟริกา ไปจนถึงผู้ผลิตชิ้นส่วนในเอเชียตะวันออก และกลุ่มผู้ผลิตเครื่องจักรหนักในเยอรมนี
ขณะเดียวกันระบบธนาคารของจีน มีแนวโน้มเป็นฟองสบู่การเงินโลกลูกต่อไปที่ใกล้ระเบิด ธนาคารจีนหลายแห่งล้วนเป็นธนาคารรัฐขนาดใหญ่ และเป็นผลิตผลของเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ ค่าเงินหยวนมีมูลค่าต่ำเกินจริงและไม่สามารถปรับได้ จำนวนเงินออมมูลค่ามหาศาลในช่วงเศรษฐกิจเฟื่องฟูยังถูกกักไว้ในประเทศ ดอกเบี้ยแท้จริงติดลบผลักดันให้เงินออมเข้าไปเก็งกำไรในตลาดสินทรัพย์มากขึ้น
ทั้งนี้ผู้กำหนดนโยบายจีนพากันระวังกับการใช้ความพยายาม ที่จะทำให้เศรษฐกิจจีนคลายความร้อนแรง และรอบคอบกับการสร้างเสถียรภาพให้กับราคาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งในบางเมืองของจีนราคาอสังหาริมทรัพย์นับจากปี 2543 เพิ่มขึ้นถึง 13 เท่า หรือระวังที่จะเปลี่ยนแปลงลดพึ่งพาการส่งออกช่วยเศรษฐกิจขยายตัว และเป้าหมายอันดับแรกในปีหน้าของจีนคือ การจัดกีฬาโอลิมปิกเท่านั้น
"การไม่ตรวจสอบ การไร้สมดุลในจีน จะยังคงขยายวงมากขึ้น และเป็นไปได้มากขึ้นว่าจะมีการปรับตัวครั้งใหญ่ บรรดาผู้นำจีนล้วนมีพลังอำนาจน้อยลง ที่จะปัดเป่าหายนภัยจากภาวะตื่นตระหนกครั้งใหญ่ และสิ่งที่จะหลีกเลี่ยงสถานการณ์เกิดขึ้นแบบญี่ปุ่นได้ คือ การดำเนินการก่อนที่หลายสิ่งจะเข้ามาถึงขั้นตอนที่ว่าผู้กำหนดนโยบายต่างเผชิญกับความล้มเหลวแล้ว" วอล์คเกอร์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ซีแอลเอสเอ กล่าวสรุป
ในช่วงท้ายนิวส์ วีค ตั้งข้อสังเกตว่า ไม่ว่าวิกฤติเกิดจากสนิมกัดกร่อนเศรษฐกิจภายในของจีน จะกระตุ้นให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจโลกตกต่ำหรือไม่ก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนคือ ปรากฏการณ์ผีเสื้อกระพือปีกในสหรัฐ จะยังมีพลังทำปัญหาซับไพร์มกลายเป็นพายุรุนแรงกระหน่ำโลกใบนี้ต่อไปได้
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopi ... highlight=