TSFC

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
naris
Verified User
โพสต์: 6726
ผู้ติดตาม: 1

TSFC

โพสต์ที่ 1

โพสต์

พรุ่งนี้คิดว่าโวลุ่มตลาดจะลดลงเยอะไหมครับ และจะมีหุ้นถูกบังคับขายมากขึ้นไหม เนื่องจากTSFCไม่ปล่อยให้ซื้อเพิ่ม-ต้องขายอย่างเดียว และหุ้นตัวไหนที่มีคนคุมราคาอยู่ จะซื้อเพิ่มก็ไม่ได้ และถ้าเป็นพ่อยกBIDดันก็คงหายไปเยอะ

เดี๋ยวพรุ่งนี้ก็รู้ว่าตัวไหนเทรดที่TSFCเยอะๆ
ราคาระยะสั้นตามข่าว--ราคาระยะยาวตามผลกำไร
Wall_St.
Verified User
โพสต์: 5
ผู้ติดตาม: 0

TSFC

โพสต์ที่ 2

โพสต์

TSFC คืออะไรครับ :oops:
The New Wall Street
leksmile
Verified User
โพสต์: 2126
ผู้ติดตาม: 1

TSFC

โพสต์ที่ 3

โพสต์

วันนี้เห็นได้จากหุ้นหลายตัวทิ้งในจังหวะ  atc ตอนข่าวเรื่อง tsfc ออก บางตัวลงถึง 7-8 spead เลยทีเดียว

tsfc คือที่ปล่อยกู้ margin โดยเฉพาะ
ภาพประจำตัวสมาชิก
pavilion
Verified User
โพสต์: 1726
ผู้ติดตาม: 0

TSFC

โพสต์ที่ 4

โพสต์

วิปโยคตลาดหุ้นไทย TSFC เหยียบซ้ำ
*วงการคาดกองทุนพยุงหุ้น 4-5 หมื่นลบ. กระตุ้นแค่ช่วงสั้น


วิปโยคตลาดหุ้นไทย โต๊ะปล่อยกู้รายใหญ่ TSFC สั่งงดปล่อยกู้หุ้นมาร์จิ้นทุกตัว จับตาเสือผอม รุมกระหน่ำซ้ำ ขย้ำลูกค้ามาร์จิ้นแหลกคามือ คาดตลาดหุ้นไทยเฉา ไร้เรี่ยวแรง วงการค้าหุ้น มองรัฐผุดกองทุนพยุงหุ้น 4 -5 หมื่นล้านบาท แค่กระตุกแรงซื้อช่วงสั้น ระยะยาวมรสุมข่าวร้ายยังรุมล้อม

         หลังมาตรการเซอร์กิต เบรกเกอร์ ถูกงัดออกมาใช้กับตลาดหุ้นไทยเป็นครั้งที่ 2 ของปีนี้ และถือเป็นครั้งที่ 3 ในยุคของผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ไทยที่ชื่อ "ภัทรียา เบญพลชัย" ทำให้หลายฝ่ายเกิดข้อกังขาว่าตลาดหุ้นไทยเข้าสู่ช่วงขาลงจริงหรือ โดยการปรับลดลงของดัชนีตลาดหุ้นไทยครั้งนี้ เกิดจากทั้งปัจจัยภายนอก และภายในที่เข้ามากระทบจิตวิทยาลงทุน โดยเฉพาะปัญหาวิกฤตการณ์การเงินสหรัฐฯ ที่เริ่มลุกลามเป็นวงกว้าง และสร้างผลกระทบให้เกิดกับเศรษฐกิจทั่วโลก ขณะที่ปัญหาทางการเมืองในประเทศที่ไม่มีเสถียรภาพ และสร้างความวุ่นวายจากการปะทะกันของกลุ่มผู้มีความเห็นแตกต่าง ส่งผลให้แผนการลงทุนต่างๆของทั้งภาคเอกชน และภาครัฐบาลชะลอตัวออกไป
         ทั้งนี้ แม้ปัจจุบันบรรยากาศการลงทุนในหุ้นจะซบเซา มีมูลค่าการซื้อขายเบาบาง และดัชนีฯ เคลื่อนไหวในแดนลบ หลังนักลงทุนยังขยายไม่กล้าเข้าลงทุนเต็มตัว โดย
หุ้นมาร์เก็ตแคปขนาดใหญ่เองถูกกระหน่ำขายออกมาต่อเนื่องจากนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่นักลงทุนทั่วไปเลือกเล่นหุ้นรายตัวที่เทคนิคดี มีสตอรี่เข้ามาสนับสนุน แต่ราคาก็ไม่ตอบรับอย่างโดดเด่นจากผลกระทบภาวะตลาดหุ้นซบ ล่าสุด บริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุกิจหลักทรัพย์ หรือ TSFC ซึ่งถือเป็นผู้ปล่อยกู้รายใหญ่ในการซื้อขายหุ้น แจ้งข่าวร้าย โดยออกมาระบุว่า จะดำเนินการปรับลดวงเงินกู้ Credit Balanceให้เหลือเท่ากับยอดหนี้ทุกสิ้นวันทำการโดยอัตโนมัติ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในการลงทุนของลูกค้า ซึ่งบริษัทจะทำการปรับลดวงเงินทุกวันจนกว่าจะถึงระดับที่บริษัทเห็นสมควร โดยการปรับลดวงเงินดังกล่าวจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม 2551 และมีผลตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2551 เป็นต้นไป
         โดยก่อนหน้านี้ TSFC ได้ปรับเกรดปล่อยวงเงินสินเชื่อราคาหุ้น บริษัท อินเตอร์แนชั่นเนิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน) หรือ IEC จากระดับเดิมเกรด B กับเกรด D ขณะที่ปรับเกรด บริษัท ไลฟ์ อินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ LIVE จากเดิมเกรด C เป็น D โดยขอหลักประกันเพิ่มให้ฟอร์ซเซลล์ก่อน 25% ทำให้ราคาหุ้นปรับลดลงจนติดระดับต่ำสุดของวัน (ฟลอร์) ถึง 3 วันทำการ ก่อนที่จะปรับเพิ่มขึ้นได้ หลัง TSFC ไฟเขียวปล่อยมาร์จิ้นได้ในเวลาต่อมา
         อย่างไรก็ตาม จากข่าวร้ายที่ถาโถมเข้ามายังตลาดหุ้นไทยดังกล่าว โดยเฉพาะประเด็น TSFC ปรับลดวงเงินกู้ ถือเป็นสตอรี่ที่สร้างความกังวลใจให้นักลงทุนอย่างมาก โดยกูรูในแวดวงหุ้นออกมาแสดงความเห็นว่า อาจทำให้บรรยากาศการลงทุนตลาดหุ้นไทยเงียบเหงา และตอกย้ำให้ดัชนีฯ มีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นในแดนบวกได้ยาก เพราะนักลงทุนทั้งรายใหญ่ และรายเล็กอาจถอนการลงทุนจนกว่าจะให้มีการปล่อยมาร์จิ้นได้ตามปกติ เพราะสร้างความกดดันในการลงทุน โดยปิดการซื้อขายวานนี้ (29 ตุลาคม 2551) SET Index ปิดที่ 384.15 จุด ลดลง 13.89 จุด หรือ 3.49% มูลค่าการซื้อขาย 15,733.76 ล้านบาท
         ย้อนรอยมาตรการเซอร์กิต เบรกเกอร์ ถูกนำออกมาใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2549 หลังจากดัชนีฯ ปรับลดลงแรงกว่า 100 จุดเพียงวันเดียว จากความกังวลที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาตรการกันเงินสำรอง 30% เพื่อสกัดการเก็งกำไรค่าเงินบาท จากนั้นมาตรการเซอร์กิต เบรกเกอร์ ก็ต้องถูกนำมาใช้เป็นครั้งที่ 2 หลังดัชนีฯ ปรับลดลงแรงกว่า 200 จุด ในช่วงระยเวลาแค่ 1 เดือน โดยดัชนีฯ ปรับลดลงจากระดับ 670 กว่าจุดเมื่อต้นเดือนกันยายน 2551 มาอยู่ที่ 449.53 จุด ในวันที่ 10 ตุลาคมที่ผ่านมา หลังยังกังวลต่อเศรษฐกิจโลก โดยพิษวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ยังไม่จบสิ้นทีเดียว เนื่องจากนักลงทุนยังคงเทขายอย่างหนัก โดยเฉพาะแรงขายนักลงทุนต่างประเทศที่ขายต่อเนื่องกว่า 2 พันล้านบาท/วัน จนฉุดให้ดัชนีฯรูดลงแตะ 387.43 จุด ซึ่งถือว่าต่ำสุดในรอบ 5 ปี เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2551 จนต้องใช้มาตรการเซอร์กิต เบรกเกอร์เป็นครั้งที่ 3
         อย่างไรก็ตาม จากดัชนีฯ ที่ปรับลดลงอย่างรุนแรง ทำให้ภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ทั้ง กระทรวงการคลัง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต). ต้องหารือกันอย่างเร่งด่วน โดยการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 ตุลาคมที่ผ่านมา จึงได้เรียกทุกฝ่ายที่เกี่ยว ข้องเข้ามารายงานสถานการณ์ และหารือถึงแผนที่จะประคับประคองตลาดหุ้นไทยไม่ให้ลดลงไปมากว่านี้ เพื่อรับมือกับภาวะตลาดหลักทรัพย์ที่ผันผวน และมีความเสี่ยงสูงต่อการลงทุน
ล่าสุด นายโอฬาร ไชยประวัติ รองนายกรัฐมนตรี มีแนวคิดจัดตั้งกองทุนพยุงหุ้นของภาคเอกชน และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) โดยมีวงเงินรวมราว 4-5 หมื่นล้านบาท เพื่อรองรับแรงขายหุ้นจากนักลงทุนต่างชาติในช่วงที่เหลือของปีนี้ โดยพบว่าตั้งแต่ต้นปีนักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิแล้วกว่า 1.43 แสนล้านบาท
         ทั้งนี้ กองทุนที่ร่วมลงทุนทั้งหมด 3 ส่วน ส่วนแรกเป็นกองทุนร่วมกันระหว่างบริษัทจัดการลงทุน(บลจ.) กับตลท. ซึ่งเริ่มเข้าซื้อหุ้นแล้ว ส่วนที่สอง เป็นกองทุนที่จะจัดตั้งร่วมกันระหว่างธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน และตลท. ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ มูลค่า 7 พันล้านบาท และส่วนที่สาม เป็นกองทุนร่วมลงทุนระหว่างบริษัทจดทะเบียน 25 บริษัท มูลค่า
2 หมื่นล้านบาท
         โดย การออกกองทุนพยุงหุ้นดังกล่าว ถือเป็นเป็นมาตรการที่ภาครัฐใช้ดูแลนักลงทุนในช่วงตลาดหุ้นผันผวนอย่างหนัก เช่นเดียวกับเมื่อปี 2545 ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้จัดตั้งกองทุนเปิดไทยสร้างโอกาส หรือ The Thai Opportunity Fund (TOF) เพื่อเป็นกองทุนสร้างความมั่นใจกับนานาประเทศในการลงทุนตลาดหุ้นไทย หลังดัชนีฯ ปรับลดลงอย่างรุนแรง โดยมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย เป็นผู้บริหารกองทุนTOF และถือว่าให้ผลตอบแทนในระดับที่ดีพอสมควร
         อย่างไรก็ตาม จากการตั้งกองทุนดังกล่าว หลายฝ่ายมีแนวคิดที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วยแตกต่างกันออกไป รวมถึงมีการเสนอแนะแนวทางตั้งกองทุนรูปแบบใหม่ออกมา
แต่กูรูในแวดวงหุ้น ประเมินว่าการตั้งกองทุนครั้งนี้จะช่วยกระตุ้นจิตวิทยาแค่ระยะสั้นในตลาดหุ้นเท่านั้น เนื่องจากความกังวลในเรื่องเศรษฐกิจโลก เป็นตัวแปรสำคัญที่ยังไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน ขณะเดียวกันยังกังวลถึงเม็ดเงินระดมทุนว่ามาจากแหล่งใด ฉะนั้นภาพกองทุนพยุงหุ้นในขณะนี้จึงอาจไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุดในช่วงหุ้นไทยผันผวนสูง เพราะล่าสุดความกังวลครั้งใหม่กรณี TSFC ก็มีผลต่อจิตวิทยาการลงทุนและให้บรรยากาศลงทุนยังไม่ฟื้นเร็วๆนี้


****กูรู ชี้ปรับลดวงเงินกู้ TSFC บีบลูกค้าเลิกเล่นหุ้นทางอ้อม หลังหั่นวงเงินลูกค้าวูบ
           แหล่งข่าวจากวงการโบรกเกอร์กล่าวว่า การประกาศรับลดวงเงินกู้ดังกล่าว ถือเป็นการงดปล่อยมาร์จิ้นลูกค้าทางอ้อม เพราะ TSFC จะทำการลดวงเงิน Credit Line ของลูกค้า
ลงทุกวันให้เหลือเท่ากับยอดหนี้ที่ค้างอยู่ โดยมีผลต่อวงเงินเช้า 29 ต.ค.51
         'มันเป็นการงดปล่อยมาร์จิ้นทางอ้อม สมมติว่าเช้าวันนี้ลูกค้ามีวงเงินเทรดหุ้นใน Credit Balance อยู่ 2 ล้านบาท ตกเย็นหุ้นลงมูลค่าหุ้นในบัญชี Credit Balance เหลืออยู่ 1 ล้านบาท วงเงินมาร์จิ้นของลูกค้าในเช้าวันรุ่งขึ้นจะเหลือเท่ากับยอดหนี้คือ 1 ล้านบาท เท่ากับว่าเช้าวันรุ่งขึ้นลูกค้าจะกู้เงินมาเล่นหุ้นเพิ่มไม่ได้แล้ว ถ้าไม่ยอมขายหุ้นออกตั้งแต่เย็นนั้น'แหล่งข่าวกล่าว
         แหล่งข่าว กล่าวต่อว่า จากประเด็นปรับลดวงเงินกู้ของ TSFC ส่งผลให้โบรกเกอร์เข้มงวดในการปล่อยมาร์จิ้นกับลูกค้ามากขึ้น ซึ่งเหมือนเป็นการซ้ำเติมลูกค้า รวมทั้งบรรยากาศลงทุนโดยรวมในช่วงที่ตลาดหุ้นขาลงเช่นนี้


****บล.ไซรัส ชี้ TSFC ปรับลดวงเงินกู้ ฉุดบรรยากาศลงทุนหดหู่ กดดันตลาดหุ้นไทยเฉา
         นางสาวจิตรา อมรธรรม ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ไซรัส เปิดเผยถึง กรณีที่บริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุกิจหลักทรัพย์(TSFC) ปรับลดวงเงินกู้ Credit Balance ให้เหลือเท่ากับยอดหนี้ทุกสิ้นวันทำการโดยอัตโนมัติว่า การปรับลดวงเงินกู้ดังกล่าวอาจจะทำให้บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทยเผชิญกับแรงขาย เนื่องจากบรรยากาศลงทุนโดยรวมของทั่วโลกก็ได้รับแรงกดดันจากปัญหาวิกฤตสถาบันการเงินของโลกแล้ว ซึ่งหาก TSFC ลดวงเงินกู้ ก็กดดันต่อบรรยากาศการลงทุนไทยอีกทางหนึ่ง
         อย่างไรก็ตาม ในแง่ของประโยชน์ทางอ้อม เป็นการป้องกันความเสี่ยงในการลงทุนของลูกค้า เพราะหุ้นที่ถูกฟอร์ซเซลล์ หรือ ถูกบังคับขายส่วนใหญ่มากจากพอร์ตบัญชี Credit Balance ซึ่งหมายถึงบัญชีที่ลูกค้ากู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ โดยนำ เงินสดและหลักทรัพย์ที่ซื้อวางเป็นหลักประกันเงินกู้ ซึ่งหากในภาวะที่ตลาดหุ้นปกติไม่เกิดเหตุการณ์
เหมือนปัจจุบันนี้ ก็คงไม่เกิดปัญหาขึ้น โดยมองว่าเป็นการช่วยเหลือพอร์ตของนักลงทุนที่เป็นบัญชีเครดิต รวมถึงช่วยไม่ให้กระทบต่อราคาหุ้นของนักลงทุนในตลาดฯ และยังช่วยไม่ให้โบรกเกอร์ต้องแบกรับภาระ หากลูกค้าขาดทุนจนต้องผิดชำระหนี้
         ทั้งนี้ มองว่าในภาวะที่ตลาดหุ้นไทยค่อนข้างผันผวน ฝ่ายวิเคราะห์มองว่าน่าจะยังคงผันผวนในแดนลบได้จนถึงสิ้นปีนี้ จึงแนะนำ นักลงทุนถือเงินสด ส่วนนักลงทุนระยะยาว แนะนำทยอยซื้อหุ้นพื้นฐานดีที่เกี่ยวโยงกับการบริโภค เช่น หุ้นกลุ่มโรงพยาบาล สื่อสาร และธนาคารพาณิชย์ รวมถึงแนะนำ ให้นักลงทุนเปิดสถานะขาย (Short)ในตลาดอนุพันธ์ เนื่องจากน่าจะได้ผลตอบที่ดีในภาวะที่ตลาดหุ้นขาลง

****รมว.คลัง ออกโรงแจงค้านแนวคิดตั้งกองทุนพยุงหุ้น เหตุเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุ เพราะหุ้นไทยลงตามตปท.
          นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ไม่เห็นด้วยในการจัดตั้งกองทุนพยุงหุ้นของรัฐบาล เนื่องจากตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวลงตามตลาดหุ้นต่างประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นกลไกของตลาดทั่วโลก จึงไม่มีความจำเป็นต้องเข้าไปพยุงหุ้น เนื่องจากการเข้าไปพยุงหุ้นต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก และหากเข้าไปพยุงหุ้นแล้วดัชนีฯ ยังร่วงอีกจะทำให้เงินที่พยุงไปเสียเปล่า ซึ่งมองว่าควรนำเงินส่วนนี้ไปช่วยเหลือประชาชนรากหญ้าเพื่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
'ผมมองว่าเราไม่ควรเอาเงินภาษีของประชาชนไปเสี่ยงในความไม่แน่นอนของตลาดหุ้นที่มีการปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะการเข้าไปพยุงรัฐบาลต้องนำเอาเงินภาษีของประชาชนไปพยุงตลาดหุ้น หากไม่ได้ผลก็จะทำให้เงินส่วนนี้เสียเปล่า แทนที่จะนำไปช่วยเหลือประชาชนระดับรากหญ้าและช่วยเหลือเศรษฐกิจให้เติบโตดีกว่า' นายสุชาติ กล่าว

****"ปกรณ์" ปัดยังไม่เห็นรายละเอียดแนวคิดตั้งกองทุนซื้อพยุงหุ้นครั้งใหม่ ออกตัวไม่ขอคอมเมนท์
         นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยถึง แนวคิดกองทุนพยุงหุ้นของนายโอฬาร ไชยประวัติ รองนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ ที่จะตั้งกองทุนขึ้นมาพยุงหุ้นกองใหม่ มูลค่า 50,000 ล้านบาท ซึ่งไม่รวมกับของเดิมที่เคยมีแนวคิดไปก่อนนี้แล้วว่า ไม่ขอให้ความเห็นในแนวคิดดังกล่าว เพราะยังไม่เห็นรายละเอียด
         ทั้งนี้ ในส่วนของตลาดทุนได้เคยระบุไปแล้วถึงกองทุนที่ใช้โอกาสในการซื้อหุ้นช่วงราคาต่ำ หรือ แมทชิ่งฟันด์ ซึ่งล่าสุดได้มีการหารือในการปรับรูปแบบกองทุนทั้ง 3 ประเภท ทั้งกองทุนที่ร่วมกับสถาบันการเงิน กองทุนที่ร่วมกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน และกองทุนที่ร่วมกับบริษัทจดทะเบียน เนื่องจากปัจจุบันกองทุนดังกล่าวติดขัดในกฎเกณฑ์บางส่วน เช่น ในส่วนของกองทุนที่ร่วมกับสถาบันการเงินมูลค่า 5,000 ล้านบาทนั้น ในเบื้องต้นตลาดฯ จะลงทุน 1,000 ล้านบาท และขอให้สถาบันการเงินลงทุน 4,000 ล้านบาท และมีสถาบันการเงินที่สนใจลงทุนแล้ว 1 แห่ง แต่พบว่าเงินลงทุน 4,000 ล้านบาท มีสัดส่วนเกิน 10% ของเงินลงทุน จึงต้องขออนุมัติไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) แต่ธปท.ไม่ได้ อนุมัติ จึงทำให้ต้องมีการปรับรูปแบบกองทุนดังกล่าว โดยการปรับรูปแบบได้ให้คณะกรรมการบริหารเข้ามาดูแลแล้ว คาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็วที่สุด
         นายปกรณ์ ยังกล่าวถึงภาวะเศรษฐกิจของไทยในช่วงนี้ว่า อยากให้ทุกฝ่ายมองในแง่ดีเพราะพื้นฐานเศรษฐกิจไทยปัจจุบันดีกว่าพื้นฐานเศรษฐกิจปี 2540 อย่างไรก็ตาม ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าต่างชาติจะยังคงเทขายหุ้นอย่างต่อเนื่อง หรือซื้อกลับช่วงใด ซึ่งต้องประเมินสถานการณ์รายวัน

****บอร์ด ตลท. เผย อยู่ระหว่างจัดพอร์ตแมทชิ่งฟันด์โมเดลใหม่ เร่งสรุปสัปดาห์หน้า ชี้หุ้นต่ำ Book Value กองทุนลุยโกยกำไรแน่
         นายวิเชฐ ตันติวานิช รองผู้จัดการ สายงานการตลาดศูนย์ระดมทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ได้มีการหารือในการจัดรูปแบบของกองทุนแมทชิ่งฟันด์ใหม่ เพื่อให้มีความคล่องตัวในการเข้าไปลงทุนมากกว่ารูปแบบเก่า เนื่องจากรูปแบบที่ผ่านมาบางเรื่องอาจติดขัดในการขออนุญาตจากทางการ และบางเรื่องมีวิธีการค่อนข้างมาก แต่ก็ยังอยู่ในวงเงินเดิม 8,250 ล้านบาท ตามที่จัดตั้งขึ้นมาตั้งแต่ต้นและมีเป้าหมายในการลงทุนแบบเดิม
         "แบบเดิมทำให้การบริหารช้าสภาพคล่องไม่ค่อยมีทำให้เงินฝืด ก็ให้คิดรูปแบบใหม่เอาเงินไปทำใหม่แต่อยู่ในขนาดวงเงินเท่าเดิม โดยคาดว่าน่าจะได้ข้อสรุปในสัปดาห์หน้า" นายวิเชฐ กล่าว
        ทั้งนี้ ปัจจุบันมีบริษัทจดทะเบียนที่มีราคาตามมูลค่าทางบัญชีต่ำกว่า 1 มากกว่า 330 บริษัท ซึ่งก็หมายความว่าหากนักลงทุนเข้าไปลงทุนจะได้หุ้นในราคาต่ำกว่าเจ้าของบริษัทที่ทำไว้ ซึ่งในการตั้งกองทุนเพื่อเข้ามาซื้อหุ้นในครั้งนี้จะทำให้มีความเสี่ยงที่ราคาหุ้นจะปรับลดลงมีน้อยมาก แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับภาวะตลาดหุ้นว่าจะมีแรงเทขายออกมาโดยไม่ดูปัจจัยพื้นฐานหรือไม่ แต่ถ้าหากดูตามปัจจัยพื้นฐานการเข้าไปซื้อหุ้นในช่วงนี้จะทำให้ได้กำไร
         "เรามั่นใจว่ากำไรแน่หุ้นใน 330 ตัวมี 90 ตัวที่ปันผลมากกว่า 10% และที่ผ่านมาเราก็เข้าไปซื้อหุ้นในช่วงที่หุ้นราคาถูก เช่นช่วงแบล็กมันเดย์ ก็มีกำไรยกเว้นในปี 2540-2542 ที่ขาดทุนเพราะตอนนั้นเป็นช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ แต่ในทุกวันนี้เศรษฐกิจดีกว่าปี 2540 10 เท่า" นายวิเชฐ กล่าว

****"ม.ร.ว.ปรีดิยาธร" เสนอภาครัฐ-เอกชน ตั้งกองทุนเข้าลงทุนหุ้น เพิ่มสัดส่วนนลท.ไทย ช่วงนลท. นอกกระหน่ำขาย
         ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้เป็นโอกาสที่ดีที่จะให้ ธปท. ตลาดหลักทรัพย์ฯ ธนาคารพาณิชย์ หรือสถาบันการเงินในประเทศ จัดตั้งกองทุนขนาดใหญ่เข้าลงทุนในหุ้นผลตอบแทนดี หรือ หุ้นบลูชิพ เพื่อเสนอเป็นทางเลือกให้กับผู้ฝากเงินคนไทย รวมถึงเป็นการพยุงราคาหุ้นและสร้างเสถียรภาพในตลาดหุ้นไทย หลังพบว่าขณะนี้คนไทยมีเงินฝากรวมทั้งระบบประมาณ 9.85 ล้านล้านบาท ซึ่งหากเพิ่มสัดส่วนของนักลงทุนไทยมากขึ้น
จะช่วยลดความผันผวนของราคาหุ้น ในกรณีที่นักลงทุนต่างชาติเทขายหุ้น เพื่อนำเงินกลับไปแก้ปัญหาเศรษฐกิจของแต่ละประเทศได้ โดยปัจจุบันยอดเงินฝากทั้งระบบของ
ธนาคารพาณิชย์อยู่ที่ประมาณ 9.8 ล้านล้านบาท

**** บล.กิมเอ็ง เชื่อตั้งกองทุนพยุงหุ้นได้ดีแน่แต่แค่ช่วงสั้น พร้อมห่วงแหล่งเงินทุนมาจากที่ใด
          นางสาวมยุรี โชวิกรานต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า หากภาครัฐดำเนินการจัดตั้งกองทุนของหน่วยงานภาคเอกชน และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ได้จริง ก็น่าจะช่วยให้ภาพรวมของบรรยากาศตลาดหุ้นดีขึ้น และมีแรงซื้อกลับในช่วงสั้นได้ ซึ่งปัจจุบันพบว่าพอร์ตที่นักลงทุนต่างชาติถือหุ้นอยู่มีปริมาณ 6.6 หมื่นล้านบาท โดยคาดว่าน่าจะช่วยรองรับแรงขายหุ้นจากนักลงทุนต่างชาติ ที่คาดว่าจะมีออกมาในช่วงที่เหลือของปีนี้ได้บ้าง
         แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่ากังวลคือ วงเงินที่จะนำมาลงในกองทุนช่วยพยุงหุ้นนั้น จะมาจากแหล่งเงินทุนใด เพราะหากพิจารณาดู จะพบว่า กองทุนแมทชิ่งฟันด์ มูลค่าประมาณ 2,000 ล้านบาท ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ระบุว่าน่าจะจัดตั้งได้ภายในปีนี้ ก็ยังดูเหมือนว่าจะจัดตั้งไม่ได้ เพราะติดในเรื่องของวงเงินที่จะนำมาลงในกองทุน แต่อย่างไรก็ตาม หากดำเนินการได้ก็น่าจะเป็นผลดีต่อทิศทางการลงในตลาดหุ้นไทย
         ส่วนประเด็นที่คณะรัฐมนตรี ให้ความเห็นว่าสาเหตุที่ราคาหุ้นตกลงมามาก เป็นเพราะมีนักวิเคราะห์หุ้นที่ไม่มีใบอนุญาต วิเคราะห์หุ้นและชี้นำนักลงทุนในทางที่ผิดนั้น มองว่าในภาวะที่ตลาดหุ้นไทย เผชิญกับแรงกดดันจากปัญหาทั้งในและนอกประเทศรุมเร้า การให้ความคิดเห็นก็ควรจะต้องอยู่บนพื้นฐานของเหตุและผล โดยให้ยึดถือความเป็นกลาง ซึ่งฝ่ายเคราะห์ก็ไม่ได้มีปัญหาในเรื่องนี้เเต่อย่างใด เพราะว่าทำงานบนพื้นฐานของจรรยาบรรณที่ดี ใช้เหตุและผลในการนำเสนอข้อมูลให้กับนักลงทุน
         อย่างไรดี ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้รับแรงกดดันจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยในส่วนของปัจจัยภายนอกคือ ปัญหาวิกฤตสถาบันการเงินของสหรัฐฯ ที่ค่อนข้างกระทบต่อภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลก รวมถึงปัญหาการเมืองภายในประเทศ ที่ต้องยอมรับว่าสเถียรภาพทางการเมืองค่อนข้างอ่อนแอและเปราะบางมาก ซึ่งกดดันต่อการการลงทุนในตลาดหุ้นไทย ขณะเดียวกันให้ติดตามการประชุมกำหนดทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ หรือ เฟด คืนนี้ โดยตลาดคาดการณ์ว่า เฟด น่าจะพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50%
         ทั้งนี้ แนะนำ ให้นักลงทุน Wait& See แต่อย่างไรก็ตาม แนะนำขาย หากดัชนีฯ ปรับเพิ่มขึ้น สำหรับ นักลงทุนระยะยาว แนะนำ ทยอยซื้อที่บริเวณ 370 จุด โดยเน้นหุ้นพื้นฐานแข็งแกร่ง และจ่ายปันผลดีที่เกี่ยวโยงกับการบริโภค การสื่อสาร แนะนำทยอยซื้อ เช่น ADVANC, TPIPL ,CPN, CPF, BIGC และ RATCH
ตอนนี้นักวิเคราะห์มองกันลบมากขึ้นครับ  ผิดกับก่อนหน้านี้ที่ยังมองเป็นบวกอยู่บ้าง
ภาพประจำตัวสมาชิก
Akajon
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 532
ผู้ติดตาม: 0

TSFC

โพสต์ที่ 5

โพสต์

มิน่ามีทั้ง TFEX Short ในจำนวนที่มากเป็นพิเศษ แล้วก็ Short Sale หุ้น med size หลายๆ ตัว

คงอยากจับ Margin แก้ผ้า แล้วปล้นกันเอง
ภาพประจำตัวสมาชิก
naris
Verified User
โพสต์: 6726
ผู้ติดตาม: 1

TSFC

โพสต์ที่ 6

โพสต์

"ปริมาณมาร์จิ้นที่อยู่ในระบบตอนนี้ที่มีมูลค่า  2  หมื่นล้านบาท ถือว่ายังไม่มาก เมื่อเทียบกับช่วงก่อนวิกฤตเศรษฐกิจปี   2540  ที่มีจำนวนสูงถึง  2  แสนล้านบาท  การใช้เกณฑ์ฟอร์ซเซล ถือเป็นการป้องกันความเสี่ยงให้กับตัวนักลงทุนและโบรกเกอร์ไม่ให้เกิดการเสี่ยงมากเกินไป"นางภัทรียากล่าว

จากข่าวนี้ทำให้รู้ว่าตอนนี้คนใช้มาร์จิ้นไม่เยอะเลยครับ(อยู่ในTSFCก็ไม่น่าจะเกิน10000ล้าน) ถ้าเทียบกับเม็ดเงินกองทุน และต่างชาติ ผลกระทบน่าจะโดนเฉพาะตัวกลางและเล็กที่มีสัดส่วนคนถือมาร์จิ้นสูงๆในตัวที่TSFCปล่อยมากกว่าครับ เท่าที่รู้ส่วนมากก็มีแต่กลุ่มหุ้นปั่น หุ้นกลุ่มเหล็ก วันนี้ท่าทางจะหนาว :lol:
ราคาระยะสั้นตามข่าว--ราคาระยะยาวตามผลกำไร
fantasia
Verified User
โพสต์: 674
ผู้ติดตาม: 0

TSFC

โพสต์ที่ 7

โพสต์

[quote="naris"]"ปริมาณมาร์จิ้นที่อยู่ในระบบตอนนี้ที่มีมูลค่า
fantasia
Verified User
โพสต์: 674
ผู้ติดตาม: 0

TSFC

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ช่วงนี้ใครว่าง ๆ ตั้ง bid พวกหุ้น margin ที่ราคาต่ำกว่า 1 บาท ไว้ที่ floor ดูนะครับ

ฟลุ๊ก ๆ อาจได้หุ้นที่ราคา 1 สตางค์มาเชยชม แต่หวังว่าคงไม่ใช่ svi ของผมนะครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
pongo
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1075
ผู้ติดตาม: 0

TSFC

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ผมว่ามันจะซ้ำเติมให้ราคาหุ้นตกมากกว่าเก่าหรือปล่าว
โพสต์โพสต์