มีใครลงทุนหุ้นกู้บ้างไหมครับ
- hagrid
- Verified User
- โพสต์: 566
- ผู้ติดตาม: 0
มีใครลงทุนหุ้นกู้บ้างไหมครับ
โพสต์ที่ 1
พอดีผมสนใจจะแบ่งเงินบางส่วนไปซื้อหุ้นกู้บ้าง
เพราะเห็นว่ามีข้อดี คือ
1. อัตราดอกเบี้ยค่อนข้างน่าสนใจ
2. จ่ายดอกเบี้ยปีละ 2-4 ครั้ง (เยอะดี ผมชอบการลงทุนที่สร้าง Cash Flow
ได้บ่อยๆ เพราะจะได้นำเงินไปลงทุนอย่างอื่นๆเพิ่ม)
แต่มีข้อสงสัย คือ
1. ระดับเรตติ้ง ที่จัดไว้ มีความน่าเชื่อถือเพียงใด
2. สิทธิที่จะได้รับการชำระหนี้ (ถ้าบริษัทล้ม) เทียบเท่าเจ้าหนี้อื่นๆ หรือเปล่า
3. และข้อสุดท้ายนี่คิดมากไปเองหรือเปล่าก็ไม่รู้ ผมคิดว่าตอนนี้เราซื้อหุ้นกู้
ได้ง่ายขึ้น(เมื่อก่อนไม่เห็นค่อยมีขายเลย) ทำไมบริษัทที่ออกหุ้นจึงยอมเสียเวลา และค่าใช้จ่ายมาขายหุ้นกู้ให้กับรายย่อย เมื่อก่อนทำไมไม่ยอมทำ
รายย่อยกำลังถูกเอาเปรียบอะไรหรือเปล่า (พอดีผมมีความเชื่อว่าอะไรที่ฝูงชนกำลังทำตามกันเยอะ ๆส่วนมากจะผิด เช่น ตอนที่คนแห่ไปซื้อทองตอนบาทละ 15000 บาท การแห่กันออกกองทุนสินค้าโภคภัณฑ์ การออกกองทุนที่ลงทุนในตลาดหุ้นจีน อินเดีย เป็นต้น)
รบกวนผู้รู้ช่วยแนะนำด้วยครับ
เพราะเห็นว่ามีข้อดี คือ
1. อัตราดอกเบี้ยค่อนข้างน่าสนใจ
2. จ่ายดอกเบี้ยปีละ 2-4 ครั้ง (เยอะดี ผมชอบการลงทุนที่สร้าง Cash Flow
ได้บ่อยๆ เพราะจะได้นำเงินไปลงทุนอย่างอื่นๆเพิ่ม)
แต่มีข้อสงสัย คือ
1. ระดับเรตติ้ง ที่จัดไว้ มีความน่าเชื่อถือเพียงใด
2. สิทธิที่จะได้รับการชำระหนี้ (ถ้าบริษัทล้ม) เทียบเท่าเจ้าหนี้อื่นๆ หรือเปล่า
3. และข้อสุดท้ายนี่คิดมากไปเองหรือเปล่าก็ไม่รู้ ผมคิดว่าตอนนี้เราซื้อหุ้นกู้
ได้ง่ายขึ้น(เมื่อก่อนไม่เห็นค่อยมีขายเลย) ทำไมบริษัทที่ออกหุ้นจึงยอมเสียเวลา และค่าใช้จ่ายมาขายหุ้นกู้ให้กับรายย่อย เมื่อก่อนทำไมไม่ยอมทำ
รายย่อยกำลังถูกเอาเปรียบอะไรหรือเปล่า (พอดีผมมีความเชื่อว่าอะไรที่ฝูงชนกำลังทำตามกันเยอะ ๆส่วนมากจะผิด เช่น ตอนที่คนแห่ไปซื้อทองตอนบาทละ 15000 บาท การแห่กันออกกองทุนสินค้าโภคภัณฑ์ การออกกองทุนที่ลงทุนในตลาดหุ้นจีน อินเดีย เป็นต้น)
รบกวนผู้รู้ช่วยแนะนำด้วยครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 58
- ผู้ติดตาม: 0
มีใครลงทุนหุ้นกู้บ้างไหมครับ
โพสต์ที่ 3
- บริษัทยอมเสียเวลาและค่าใช้จ่ายมาออกหุ้นกู้ เพราะว่าบริษัทได้ระดมทุนโดยมีดอกเบี้ยต่ำกว่า เมื่อเทียบกับกู้ธนาคารค่ะ
- การออกหุ้นกู้มีมากขึ้น อาจเป็นเพราะมีการส่งเสริมมากขึ้นค่ะ เดี๋ยวนี้มีตลาด BEX ไงคะ แถมมีการโฆษณาทางทีวีด้วย
- การออกหุ้นกู้มีมากขึ้น อีกเหตุผลหนึ่ง คนออมเงินยุคนี้ต้องแสวงหาดอกผลที่มากกว่าดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารด้วยค่ะ ขณะที่บริษัทต่างๆ ก็มีความสามารถในการออกหุ้นกู้ได้มากขึ้น (เพราะต้องยื่นเอกสารต่างๆ ให้ทางการตรวจ ต้องมีหลักเกณฑ์ 1 2 3 4 5 ซึ่งเข้มงวดพอสมควร
- สนใจลงทุนในหุ้นกู้เหมือนกันค่ะ กำลังศึกษาอยู่
- แนะนำหนังสือนะคะ ชื่อตรงๆ ว่า "หุ้นกู้" เข้าใจว่าจัดพิมพ์โดยตลาดหลักทรัพย์
- การออกหุ้นกู้มีมากขึ้น อาจเป็นเพราะมีการส่งเสริมมากขึ้นค่ะ เดี๋ยวนี้มีตลาด BEX ไงคะ แถมมีการโฆษณาทางทีวีด้วย
- การออกหุ้นกู้มีมากขึ้น อีกเหตุผลหนึ่ง คนออมเงินยุคนี้ต้องแสวงหาดอกผลที่มากกว่าดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารด้วยค่ะ ขณะที่บริษัทต่างๆ ก็มีความสามารถในการออกหุ้นกู้ได้มากขึ้น (เพราะต้องยื่นเอกสารต่างๆ ให้ทางการตรวจ ต้องมีหลักเกณฑ์ 1 2 3 4 5 ซึ่งเข้มงวดพอสมควร
- สนใจลงทุนในหุ้นกู้เหมือนกันค่ะ กำลังศึกษาอยู่
- แนะนำหนังสือนะคะ ชื่อตรงๆ ว่า "หุ้นกู้" เข้าใจว่าจัดพิมพ์โดยตลาดหลักทรัพย์
-
- Verified User
- โพสต์: 58
- ผู้ติดตาม: 0
เอาข้อมูลมาแบ่งปันค่ะ
โพสต์ที่ 4
รู้จักตราสารหนี้ เพื่อการบริหารสหกรณ์อย่างมีประสิทธิภาพ
พ.ต.ท. ดนุกฤต กลัมพากร* บธม. (การจัดการการเงิน)
* กรรมการชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจแห่งชาติจำกัด,
กรรมการทำหน้าที่ผู้จัดการสหกรณ์ออมทรัพย์โรงพยาบาลตำรวจ จำกัด
หลายคนคงจะยังไม่คุ้นเคยกับตราสารหนี้ ว่ามันคืออะไร ทั้งๆ ที่ตราสารหนี้เป็นการลงทุนอย่างหนึ่งที่คณะกรรมการพัฒนาสหกรณ์แห่งชาติ ได้มีประกาศให้สหกรณ์สามารถลงทุนได้ ลองมาทำความเข้าใจกับตราสารหนี้ไว้บ้างดีไหมครับ
ตราสารหนี้คืออะไร
ตราสารหนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ต้องย้อนกลับไปที่พื้นฐานว่า ไม่ว่าธุรกิจใด ๆ (รวมถึงสหกรณ์) การดำเนินธุรกิจนั้น ส่วนหนึ่ง ใช้เงินตัวเองคือเงินทุนเรือนหุ้น อีกส่วนหนึ่งก็ต้องใช้แหล่งเงินภายนอก เช่น การกู้ยืมเงิน (การรับฝากเงินก็ถือว่าเป็นการกู้ยืมเงินประเภทหนึ่ง ) สมมุติว่า ถ้าเรามีบริษัทที่ต้องบริหาร เมื่อต้องการเงินทุนเพื่อดำเนินกิจการ สิ่งที่ง่ายที่สุดคือ ไปกู้ธนาคาร แต่ง่ายที่สุด ไม่ได้แปลว่าต้นทุนต่ำที่สุด เพราะธนาคาร ก็จะตั้งดอกเบี้ยที่เขาได้กำไรพอสมควร และเราก็ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของเขา เช่น ต้องชำระคืนในกี่งวด ต้องมีหลักประกัน ต้องมีงบการเงินที่ดี หากทำไม่ได้ตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด ธนาคารก็จะไม่ปล่อยกู้เรา
ถ้าเราเป็นบริษัทเล็ก ๆ ก็คงไม่มีทางเลือก ที่จะต้องไปกู้ธนาคาร แต่ถ้าเราเป็นบริษัทขนาดใหญ่ มีชื่อเสียง ตัวอย่างเช่น บริษัทปูนซีเมนต์ไทย บริษัทการบินไทย เป็นต้น เราก็สามารถที่จะนำความน่าเชื่อถือนั้นมาช่วยลดต้นทุนโดยการ ที่จะกู้ยืมบุคคลทั่วไปแทนที่จะไปกู้ยืมธนาคาร โดยการออกตราสารหนี้
ตราสารหนี้ที่บริษัทเอกชนออกขาย ก็เหมือนกับตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือการกู้เงินธนาคาร เพียงแต่ผู้ขาย (หรือผู้ที่จะเป็นลูกหนี้) สามารถกำหนดเงื่อนไขเอง เช่น จะจ่ายดอกเบี้ยกี่เปอร์เซ็นต์ต่อปี แบ่งจ่ายดอกเบี้ยกี่ครั้งต่อปี ระยะเวลาที่เป็นหนี้กี่ปี ถึงจะคืนเงินต้นให้ โดยใช้กลไกตลาดเป็นตัวตัดสินว่า ตราสารหนี้ที่เราเสนอขาย เช่น บริษัทA ต้องการหาเงินทุนในการบริหารงาน 100 ล้านบาท หากเขาไปขอกู้เงินกับธนาคาร ก็อาจต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ธนาคาร เช่น ต้องเสียดอกเบี้ย MOR หรือ 7.5% ต่อปี(อัตราสมมุติ) ต้องจ่ายดอกเบี้ยทุกเดือน ต้องจ่ายคืนเงินต้นภายใน 1 ปี ต้องเอาที่ดินค้ำประกัน
แต่ถ้าบริษัทA มีชื่อเสียงความน่าเชื่อถือสูง คนทั่วไปรู้จักดี บริษัทA ก็จะออกตราสารหนี้ โดยกำหนดเงื่อนไขเองว่า จะให้ดอกเบี้ย 5% ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง คืนเงินต้นให้เมื่อครบ 2 ปี
คนทั่วไปที่ทราบข่าว ก็จะประเมินว่า ดอกเบี้ยของตราสารหนี้ที่บริษัท A ออก คุ้มไหม กับระยะเวลาที่ต้องเอาเงินไปจม 2 ปี ความเสี่ยงที่บริษัท A จะล้มละลาย ซึ่งโดยทั่วไป ตราสารหนี้ที่บริษัทเอกชนออก จะมีดอกเบี้ยที่สูงกว่าการฝากธนาคารอยู่แล้ว หากยอมรับความเสี่ยงได้ ผู้ซื้อก็จะขอซื้อตราสารหนี้ดังกล่าว
จะเห็นได้ว่า การออกตราสารหนี้เป็นประโยชน์ต่อทั้งคนซื้อและคนขาย คนขายหรือลูกหนี้ สามารถที่จะกำหนดเงื่อนไขที่ตนเองต้องการได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดต้นทุนด้านดอกเบี้ย (แต่ต้องเป็นไปตามกลไกตลาด และความเสี่ยงนะครับ ไม่ใช่ออกตราสารหนี้ 20 ปี ให้ดอกเบี้ย 3% ถ้าออกอย่างนี้ก็คงไม่มีใครซื้อแน่นอน) ในขณะที่คนซื้อ (เจ้าหนี้) ก็จะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการฝากเงินสถาบันการเงิน (และควรจะดีกว่าการซื้อพันธบัตรรัฐบาลที่อายุเท่ากันด้วย) ประเด็นที่สำคัญที่จะทำให้ตราสารหนี้ที่ออกจำหน่ายนั้น ขายได้คือ ต้องมีความพึงพอใจทั้งผู้ซื้อและผู้ขายในเงื่อนไข ตราสารหนี้นั้น
ถ้าอยากอ่านฉบับเต็มไปที่นี่นะคะ
http://www.policehospital-coop.com/inde ... 14&Ntype=5
พ.ต.ท. ดนุกฤต กลัมพากร* บธม. (การจัดการการเงิน)
* กรรมการชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจแห่งชาติจำกัด,
กรรมการทำหน้าที่ผู้จัดการสหกรณ์ออมทรัพย์โรงพยาบาลตำรวจ จำกัด
หลายคนคงจะยังไม่คุ้นเคยกับตราสารหนี้ ว่ามันคืออะไร ทั้งๆ ที่ตราสารหนี้เป็นการลงทุนอย่างหนึ่งที่คณะกรรมการพัฒนาสหกรณ์แห่งชาติ ได้มีประกาศให้สหกรณ์สามารถลงทุนได้ ลองมาทำความเข้าใจกับตราสารหนี้ไว้บ้างดีไหมครับ
ตราสารหนี้คืออะไร
ตราสารหนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ต้องย้อนกลับไปที่พื้นฐานว่า ไม่ว่าธุรกิจใด ๆ (รวมถึงสหกรณ์) การดำเนินธุรกิจนั้น ส่วนหนึ่ง ใช้เงินตัวเองคือเงินทุนเรือนหุ้น อีกส่วนหนึ่งก็ต้องใช้แหล่งเงินภายนอก เช่น การกู้ยืมเงิน (การรับฝากเงินก็ถือว่าเป็นการกู้ยืมเงินประเภทหนึ่ง ) สมมุติว่า ถ้าเรามีบริษัทที่ต้องบริหาร เมื่อต้องการเงินทุนเพื่อดำเนินกิจการ สิ่งที่ง่ายที่สุดคือ ไปกู้ธนาคาร แต่ง่ายที่สุด ไม่ได้แปลว่าต้นทุนต่ำที่สุด เพราะธนาคาร ก็จะตั้งดอกเบี้ยที่เขาได้กำไรพอสมควร และเราก็ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของเขา เช่น ต้องชำระคืนในกี่งวด ต้องมีหลักประกัน ต้องมีงบการเงินที่ดี หากทำไม่ได้ตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด ธนาคารก็จะไม่ปล่อยกู้เรา
ถ้าเราเป็นบริษัทเล็ก ๆ ก็คงไม่มีทางเลือก ที่จะต้องไปกู้ธนาคาร แต่ถ้าเราเป็นบริษัทขนาดใหญ่ มีชื่อเสียง ตัวอย่างเช่น บริษัทปูนซีเมนต์ไทย บริษัทการบินไทย เป็นต้น เราก็สามารถที่จะนำความน่าเชื่อถือนั้นมาช่วยลดต้นทุนโดยการ ที่จะกู้ยืมบุคคลทั่วไปแทนที่จะไปกู้ยืมธนาคาร โดยการออกตราสารหนี้
ตราสารหนี้ที่บริษัทเอกชนออกขาย ก็เหมือนกับตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือการกู้เงินธนาคาร เพียงแต่ผู้ขาย (หรือผู้ที่จะเป็นลูกหนี้) สามารถกำหนดเงื่อนไขเอง เช่น จะจ่ายดอกเบี้ยกี่เปอร์เซ็นต์ต่อปี แบ่งจ่ายดอกเบี้ยกี่ครั้งต่อปี ระยะเวลาที่เป็นหนี้กี่ปี ถึงจะคืนเงินต้นให้ โดยใช้กลไกตลาดเป็นตัวตัดสินว่า ตราสารหนี้ที่เราเสนอขาย เช่น บริษัทA ต้องการหาเงินทุนในการบริหารงาน 100 ล้านบาท หากเขาไปขอกู้เงินกับธนาคาร ก็อาจต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ธนาคาร เช่น ต้องเสียดอกเบี้ย MOR หรือ 7.5% ต่อปี(อัตราสมมุติ) ต้องจ่ายดอกเบี้ยทุกเดือน ต้องจ่ายคืนเงินต้นภายใน 1 ปี ต้องเอาที่ดินค้ำประกัน
แต่ถ้าบริษัทA มีชื่อเสียงความน่าเชื่อถือสูง คนทั่วไปรู้จักดี บริษัทA ก็จะออกตราสารหนี้ โดยกำหนดเงื่อนไขเองว่า จะให้ดอกเบี้ย 5% ต่อปี จ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง คืนเงินต้นให้เมื่อครบ 2 ปี
คนทั่วไปที่ทราบข่าว ก็จะประเมินว่า ดอกเบี้ยของตราสารหนี้ที่บริษัท A ออก คุ้มไหม กับระยะเวลาที่ต้องเอาเงินไปจม 2 ปี ความเสี่ยงที่บริษัท A จะล้มละลาย ซึ่งโดยทั่วไป ตราสารหนี้ที่บริษัทเอกชนออก จะมีดอกเบี้ยที่สูงกว่าการฝากธนาคารอยู่แล้ว หากยอมรับความเสี่ยงได้ ผู้ซื้อก็จะขอซื้อตราสารหนี้ดังกล่าว
จะเห็นได้ว่า การออกตราสารหนี้เป็นประโยชน์ต่อทั้งคนซื้อและคนขาย คนขายหรือลูกหนี้ สามารถที่จะกำหนดเงื่อนไขที่ตนเองต้องการได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดต้นทุนด้านดอกเบี้ย (แต่ต้องเป็นไปตามกลไกตลาด และความเสี่ยงนะครับ ไม่ใช่ออกตราสารหนี้ 20 ปี ให้ดอกเบี้ย 3% ถ้าออกอย่างนี้ก็คงไม่มีใครซื้อแน่นอน) ในขณะที่คนซื้อ (เจ้าหนี้) ก็จะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการฝากเงินสถาบันการเงิน (และควรจะดีกว่าการซื้อพันธบัตรรัฐบาลที่อายุเท่ากันด้วย) ประเด็นที่สำคัญที่จะทำให้ตราสารหนี้ที่ออกจำหน่ายนั้น ขายได้คือ ต้องมีความพึงพอใจทั้งผู้ซื้อและผู้ขายในเงื่อนไข ตราสารหนี้นั้น
ถ้าอยากอ่านฉบับเต็มไปที่นี่นะคะ
http://www.policehospital-coop.com/inde ... 14&Ntype=5