แบบนี้ก็มีด้วย
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3645
- ผู้ติดตาม: 1
แบบนี้ก็มีด้วย
โพสต์ที่ 2
เดี๋ยวนี้ชักมีอะไรแปลกๆเยอะขึ้นแฮะ
SICCO แจง ธปท.สั่งแก้ไขงบการเงินปี 51 เป็นเหตุให้กำไรลดลง เพราะตั้งสำรองหนี้สูญเพิ่ม
นายวิเชษฐ วรกุล กรรมการ และรองกรรมการผู้จัดการ บริษัทเงินทุนสินอุตสาหกรรม จำกัด
(มหาชน)(SICCO) เปิดเผยว่า ตามที่บริษัท ได้นำส่งงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551
ที่ยังไม่ได้ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีให้แก่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 20
มกราคม 2552 ไปแล้วนั้น บริษัทฯขอชี้แจงเพิ่มเติมว่า บริษัทฯได้รับแจ้งจากธนาคารแห่งประเทศไทย
ภายหลังวันที่ 20 มกราคม 2552 ให้บริษัทฯตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มเติมสำหรับสินเชื่อเช่าซื้อ
จากเดิมที่บริษัทฯพิจารณาสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของลูกหนี้ตามวิธีกันเงินสำรองเป็นกลุ่มลูกหนี้
(Collective approach) โดยการคำนวณค่าความน่าจะเป็นในการเปลี่ยนสถานะสินเชื่อ (Transition Probabilities)
จากวิธีเฉลี่ยรายเดือน เป็นเฉลี่ยใน 1 งวดบัญชี (6 เดือน) ผลของการเปลี่ยนวิธีการคำนวณดังกล่าว
ทำให้บริษัทฯ ต้องตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการรอผลตรวจสอบงบการเงินจาก
ผู้สอบบัญชี
ทั้งนี้ การพิจารณาค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสำหรับสินเชื่อเช่าซื้อ บริษัทฯได้ใช้วิธีการกันเงินสำรอง
เป็นกลุ่มลูกหนี้ (Collective approach) โดยการคำนวณความน่าจะเป็นในการเปลี่ยนสถานะสินเชื่อโดยวิธีเฉลี่ย
รายเดือน มาตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2550 และได้ถือปฏิบัติเป็นต้นมา ซึ่งเป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
บริษัทฯ จึงขอนำส่งงบการเงินฉบับแก้ไข มาพร้อมหนังสือฉบับนี้และสรุปผลกระทบที่มีต่องบการเงิน
ดังนี้
สำหรับปีสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2551 หน่วย : ล้านบาท
ก่อนแก้ไข หลังแก้ไข
งบการเงินรวม งบการเงิน งบการเงินรวม งบการเงิน
เฉพาะกิจการ เฉพาะกิจการ
สินทรัพย์รวม 28,745 27,420 28,353 27,039
หนี้สินรวม 24,524 23,664 24,339 23,490
ส่วนของผู้ถือหุ้นรวม 4,221 3,756 4,013 3,549
กำไรสุทธิ 228 226 20 19
กำไรสุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.38 0.38 0.03 0.03
ที่มา อีไฟแนนซ์ไทย วันที่ 19/02/09 เวลา 10:27:27
SICCO แจง ธปท.สั่งแก้ไขงบการเงินปี 51 เป็นเหตุให้กำไรลดลง เพราะตั้งสำรองหนี้สูญเพิ่ม
นายวิเชษฐ วรกุล กรรมการ และรองกรรมการผู้จัดการ บริษัทเงินทุนสินอุตสาหกรรม จำกัด
(มหาชน)(SICCO) เปิดเผยว่า ตามที่บริษัท ได้นำส่งงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2551
ที่ยังไม่ได้ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีให้แก่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 20
มกราคม 2552 ไปแล้วนั้น บริษัทฯขอชี้แจงเพิ่มเติมว่า บริษัทฯได้รับแจ้งจากธนาคารแห่งประเทศไทย
ภายหลังวันที่ 20 มกราคม 2552 ให้บริษัทฯตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มเติมสำหรับสินเชื่อเช่าซื้อ
จากเดิมที่บริษัทฯพิจารณาสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของลูกหนี้ตามวิธีกันเงินสำรองเป็นกลุ่มลูกหนี้
(Collective approach) โดยการคำนวณค่าความน่าจะเป็นในการเปลี่ยนสถานะสินเชื่อ (Transition Probabilities)
จากวิธีเฉลี่ยรายเดือน เป็นเฉลี่ยใน 1 งวดบัญชี (6 เดือน) ผลของการเปลี่ยนวิธีการคำนวณดังกล่าว
ทำให้บริษัทฯ ต้องตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการรอผลตรวจสอบงบการเงินจาก
ผู้สอบบัญชี
ทั้งนี้ การพิจารณาค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสำหรับสินเชื่อเช่าซื้อ บริษัทฯได้ใช้วิธีการกันเงินสำรอง
เป็นกลุ่มลูกหนี้ (Collective approach) โดยการคำนวณความน่าจะเป็นในการเปลี่ยนสถานะสินเชื่อโดยวิธีเฉลี่ย
รายเดือน มาตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2550 และได้ถือปฏิบัติเป็นต้นมา ซึ่งเป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
บริษัทฯ จึงขอนำส่งงบการเงินฉบับแก้ไข มาพร้อมหนังสือฉบับนี้และสรุปผลกระทบที่มีต่องบการเงิน
ดังนี้
สำหรับปีสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2551 หน่วย : ล้านบาท
ก่อนแก้ไข หลังแก้ไข
งบการเงินรวม งบการเงิน งบการเงินรวม งบการเงิน
เฉพาะกิจการ เฉพาะกิจการ
สินทรัพย์รวม 28,745 27,420 28,353 27,039
หนี้สินรวม 24,524 23,664 24,339 23,490
ส่วนของผู้ถือหุ้นรวม 4,221 3,756 4,013 3,549
กำไรสุทธิ 228 226 20 19
กำไรสุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.38 0.38 0.03 0.03
ที่มา อีไฟแนนซ์ไทย วันที่ 19/02/09 เวลา 10:27:27
It's earnings that count
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
แบบนี้ก็มีด้วย
โพสต์ที่ 3
แปลประโยคนี้ดีๆๆน่าครับโดยการคำนวณค่าความน่าจะเป็นในการเปลี่ยนสถานะสินเชื่อ (Transition Probabilities)
จากวิธีเฉลี่ยรายเดือน เป็นเฉลี่ยใน 1 งวดบัญชี (6 เดือน)
ถ้า เดือน1-> เดือน 2 อันนี้ยอดที่แตกต่างกันน้อย ทำให้ตั้งสำรองน้อย
แต่ถ้า (เดือน 1 + 2 + 3+4+5+6) กับเดือน 7+8+9+10+11+12) ยอดที่คิดสำรองมากขึ้น
อืมๆๆ แสดงว่า ถ้ามองจากกราฟรายเดือนไม่เห็นยอดแตกต่าง เป็นยอดที่สะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ถ้าหาก มองเป็นภาพครึ่งปี เห็นชัดเจนว่า ก้าวกระโดด
งานนี้ ทำไม ธปท ทราบข้อมูลนี้ล่ะ น่าคิด
แล้วทำไมถึงสั่งออกมาช้ากว่างบออก
ผู้ตรวจสอบบัญชีก็ไม่แย้งลงไปในงบที่ตรวจสอบ ว่าคิดแบบนี้
-
- Verified User
- โพสต์: 2496
- ผู้ติดตาม: 0
แบบนี้ก็มีด้วย
โพสต์ที่ 7
แบบนี้ก็มีค่ะ
..................................................
บ.ปูนซิเมนต์ไทย โดนลูบคม ใบหุ้นปลอม [21 ก.พ. 52 - 02:38]
พฤติกรรมต้มตุ๋นเกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นที่ทำเอาทายาทเศรษฐีแทบช็อก หลังเอาใบหุ้นไปขอขึ้นเงินแล้วพบว่าเป็นใบหุ้นปลอมครั้งนี้ ได้รับการเปิดเผยเมื่อวันที่ 20 ก.พ. ผู้สื่อข่าวรายงานจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (SCC) ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯถึงการปลอมแปลงใบหุ้นสามัญของบริษัทว่า ที่ประชุมคณะกรรมการตรวจสอบบริษัทปูนซิเมนต์ไทย ได้มีมติให้แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ กรณีมีผู้ปลอมแปลงใบหุ้นสามัญของบริษัท โดยระบุว่าเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2552 บริษัทได้รับแจ้งจากบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ว่ามีการปลอมแปลงใบหุ้นสามัญของบริษัทจำนวน 2 ใบ รวมจำนวนหุ้นทั้งสิ้น 672,000 หุ้น คิดเป็นมูลค่าหุ้นในขณะนี้ประมาณ 67 ล้านบาท และจากการตรวจสอบภายในบริษัทพบว่าแบบฟอร์มใบหุ้นสามัญได้สูญหายไปจำนวน 34 ใบ เลขที่ 0025001- 0025034 ซึ่งบริษัทได้แจ้งความและยกเลิกใบหุ้นดังกล่าวแล้ว โดยได้ตั้งข้อสงสัยว่าพนักงานคนหนึ่งของบริษัทเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในกรณีดังกล่าว และผู้ต้องสงสัยได้หลบหนีไปในวันเดียวกัน บริษัทจึงได้แจ้งความเพื่อดำเนินคดีกับผู้ต้องสงสัยและศาลอาญาได้ออกหมายจับแล้วเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
นอกจากนี้ บริษัทยังได้ตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมพบว่าผู้ต้องสงสัยได้จัดทำใบหุ้นสามัญปลอมขึ้นมาและนำไปมอบให้แก่เจ้าของหุ้นแทนใบหุ้นฉบับจริง ส่วนใบหุ้นฉบับจริงนั้นคาดว่าผู้ต้องสงสัยได้นำไปขายแล้ว บริษัทถือว่าเหตุการณ์นี้เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง ผู้บริหารระดับสูงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้เร่งสืบหาข้อเท็จจริงนับตั้งแต่วันที่ทราบเหตุ และสามารถรวบรวมข้อมูลได้ ในเบื้องต้นจึงได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ทั้งนี้ บริษัทจะดำเนินการทางกฎหมายกับผู้กระทำผิดและผู้เกี่ยวข้องทุกคน ทั้งทางอาญาและทางแพ่งจนถึงที่สุดโดยไม่มีข้อยกเว้น
สำหรับมูลเหตุที่ทำให้เรื่องดังกล่าวแดงขึ้นมานั้น ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เกิดขึ้นหลังจากเจ้าของหุ้นเดิมซึ่งเป็น คุณหญิง ที่เป็นผู้ถือหุ้นในยุคบุกเบิกของการก่อตั้งบริษัทปูนซิเมนต์ไทย และได้รับจัดสรรหุ้นอุปการคุณ ได้มีการโอนหุ้นไปให้ทายาท แต่ต่อมาทายาทคนดังกล่าวได้เสียชีวิตลงเมื่อเดือน ธ.ค.ปีที่ผ่านมา และผู้จัดการมรดกได้นำใบหุ้นมาขึ้นทะเบียนกับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์เพื่อนำหุ้นจำนวนดังกล่าวจัดสรรให้กับทายาทของผู้เสียชีวิต แต่จากการตรวจสอบใบหุ้นของศูนย์รับฝากพบว่าเป็นใบหุ้นปลอม จึงได้มีการประสานตรวจสอบกลับไปยังบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จนกระทั่งพบว่าพนักงานบริษัทซึ่งเป็นผู้ต้องสงสัยได้มีการยักยอกใบหุ้นจริงออกไปก่อนหน้านี้ และจัดทำใบหุ้นปลอมให้ผู้ถือหุ้นไว้ โดยอาศัยจากความไว้เนื้อเชื่อใจ เนื่องจากบริษัทปูนซิเมนต์ไทยเป็นบริษัทเก่าแก่ ที่มีผู้ถือหุ้นลักษณะพิเศษคือ เป็นผู้ถือหุ้นเก่าแก่ยุคบุกเบิกที่ผูกปิ่นโตกันมานาน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นบรรดาตระกูลเศรษฐีเก่าแก่ของเมืองไทย ที่มักจะถือหุ้นมาอย่างยาวนานตั้งแต่เข้าตลาดหุ้นในช่วงต้นๆ เมื่อปี 2518 และถือไว้ระยะยาวเป็นมรดกตกทอดให้แก่ลูกหลาน โดยในระหว่างนั้นก็จะได้รับผลตอบแทนจากเงินปันผลที่บริษัทจ่ายให้ทุกปี ปีละไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 15 บาท มาอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้ถือหุ้นยุคบุกเบิกเหล่านี้มีปัญหาข้อสงสัย ก็มักจะอาศัยความเคยชิน หรือเมื่อต้องทำธุรกรรมอะไรกับบริษัทก็มักจะดำเนินการติดต่อไปยังบริษัทโดยตรง ซึ่งทางบริษัทเองมีการจัดพนักงานไว้ คอยดูแลให้ความช่วยเหลือผู้ถือหุ้นเหล่านี้ จนก่อให้เกิดความเชื่อถือและไว้เนื้อเชื่อใจกัน จนเป็นโอกาสให้พนักงานผู้ต้องสงสัยคนดังกล่าวกระทำการฉ้อฉล โดยเจ้าของหุ้นอาจมอบอำนาจให้พนักงานบริษัทคนดังกล่าวดำเนินการติดต่อกับทางศูนย์รับฝาก จนกระทั่งมีการยักยอกนำเอาใบหุ้นจริงออกไป และจัดทำใบหุ้นปลอมส่งให้ผู้ถือหุ้นถือไว้แทน โดยที่เจ้าของตัวจริงไม่รู้ตัวมาก่อนว่าที่ผ่านมาได้นอนกอดใบหุ้นปลอมเอาไว้
นอกจากนี้ จากการตรวจสอบเบื้องต้นของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย และศูนย์รับฝากนั้น ยังพบว่าใบหุ้นฉบับ จริงนั้นได้ถูกนำหุ้นออกไปขายตั้งแต่ช่วงปี 2547-2548 แล้ว ซึ่งเป็นช่วงที่ระดับราคาหุ้นปูนซิเมนต์ไทยทะยานขึ้นไปสูงสุดเกือบ 300 บาทต่อหุ้น แต่ผู้ต้องสงสัยได้ดำเนินการที่แยบยลด้วยการปกปิด และยังคงดำเนินการจ่ายเงิน ปันผลให้กับผู้ถือหุ้นยุคบุกเบิกที่ถือใบหุ้นปลอมนี้ไว้ โดยที่เจ้าตัวเองก็ไม่ได้ระแคะระคายมาก่อน เพราะเจ้าหน้าที่คนดังกล่าวยังคงส่งเงินปันผลให้เจ้าของหุ้นตัวจริง อย่างต่อเนื่องทุกปี
สำหรับราคาหุ้นปูนซิเมนต์ที่ถูกขายออกมาในช่วงปี 2547 และ 2548 นั้น พบว่าช่วงนั้นราคาหุ้นอยู่ ในระดับที่สูงมาก หากมีการขายหุ้นออกมาในช่วงดังกล่าว เฉพาะหุ้น 2 ใบ รวม 672,000 หุ้นดังกล่าวจะได้รับเงินสูงถึง 150-180 ล้านบาท เพราะราคาหุ้นปูนซิเมนต์ในปี 2547 เฉลี่ยอยู่ที่ 230 บาท และขึ้นไปสูงสุดที่ 264 บาท หากขายที่ราคาเฉลี่ยจะได้เงินประมาณ 160 ล้านบาท
ด้านนางวีนัส อัศวสิทธิถาวร ผู้อำนวยการสำนักงานสื่อสารองค์กรบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวยอมรับว่า บริษัทได้รับทราบเรื่องนี้เมื่อวันที่ 30 ม.ค.ที่ผ่านมา โดยได้รับแจ้งจากศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ว่ามีการปลอมแปลงใบหุ้นสามัญของบริษัท จำนวน 2 ใบ ซึ่งใน 2 ใบนี้มีจำนวนหุ้นรวมกัน 672,000 หุ้น คิดเป็นมูลค่า ณ ปัจจุบัน 67 ล้านบาท บริษัทจึงได้ตรวจสอบรายละเอียด และพบว่าแบบฟอร์มใบหุ้นสามัญหายไป 34 ใบ คือเลขที่ 0025001-0025034 จึงได้ไปแจ้งความเพื่อยกเลิกใบหุ้นที่หายไปดังกล่าว และผลจากการตรวจ สอบยังพบว่ามีพนักงาน 1 คน เข้าไปเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ และได้หายตัวไปแล้ว บริษัทจึงได้ไปแจ้งความดำเนิน คดีรายนี้ โดยศาลอาญาได้ออกหมายจับ เมื่อวันที่ 2 ก.พ. ที่ผ่านมา
นางวีนัสกล่าวว่า สำหรับรายละเอียดทั้งหมด บริษัทกำลังค้นข้อมูล เบื้องต้นทราบว่าผู้ต้องสงสัยทำปลอมขึ้นมา และนำไปมอบให้เจ้าของหุ้นแทนใบจริง ส่วนใบจริงได้ถูกขายไปแล้ว สำหรับใบหุ้นที่เหลือทั้งหมดจะปลอมหรือไม่ เท่าที่ตรวจสอบขณะนี้ยังไม่พบว่ามีการปลอมแปลง แต่ขอแจ้งไปยังผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นทั้ง 34 ใบตามหมายเลขดังกล่าว นำใบหุ้นไปขอตรวจสอบข้อมูลที่ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ว่ามีการปลอมแปลงใบหุ้นหรือไม่อีกครั้ง
ทั้งนี้ ผู้บริหารระดับสูงในวงการโบรกเกอร์ เปิดเผยว่า สิ่งที่น่ากังวลขณะนี้คือ แบบฟอร์มใบหุ้นสามัญที่บริษัทตรวจสอบเพิ่มเติมแล้วพบว่าได้สูญหายไปจำนวน 34 ใบนั้น แม้บริษัทจะได้แจ้งความและยกเลิกใบหุ้นดังกล่าวแล้ว แต่ก็น่าสงสัยและติดตามว่าใบหุ้นดังกล่าวจะถูกนำไปทำเป็นใบหุ้นปลอมให้กับผู้ถือหุ้นอีกหรือไม่ ดังนั้น ทางที่ดี ผู้ถือหุ้นบริษัทปูนซิเมนต์ไทยที่ถือครองใบหุ้นอยู่ ควรนำใบหุ้นของตนเองมาตรวจสอบกับทางศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ โดยด่วน เพราะอาจจะกอดใบหุ้นปลอมอยู่โดยไม่รู้ตัวเหมือนในกรณีนี้ได้
ด้านนางสาวโสภาวดี เลิศมนัสชัย รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ กล่าวถึงกรณีนี้ว่า หากผู้ถือหุ้นปูนซิเมนต์ไทยคนใดที่ถือครองเป็นใบหุ้นอยู่ และไม่แน่ใจก็สามารถนำใบหุ้นมาให้ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ฯตรวจสอบได้ และอยากแนะนำให้ผู้ถือหุ้นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ทุกคน ควรนำหุ้นที่ถืออยู่มาเข้าระบบสคริปเลส (Scrip less) หรือระบบไร้ใบหุ้น เพราะระบบของศูนย์รับฝากฯ จะเก็บข้อมูลไว้ในระบบอย่างดีปลอดภัยไม่ต้องกลัวสูญหายและเป็นไปตามมาตรฐานสากล
นอกจากนี้ ศูนย์รับฝากจะจัดส่งสเตตเมนต์หรือใบรายงานถือครองหุ้นไปอัพเดต หรือยืนยันข้อมูลให้ทุก 6 เดือน โดยผลประโยชน์ที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับจากเงินปันผลต่างๆ ก็ยังคงได้รับครบถ้วนไม่ยุ่งยาก ทั้งนี้ ตั้งแต่ตลาด หลักทรัพย์ใช้ระบบไร้ใบหุ้นยังไม่เคยเกิดปัญหาใดๆ
ที่มา http://www.thairath.co.th/offline.php?s ... ent=124499
..................................................
บ.ปูนซิเมนต์ไทย โดนลูบคม ใบหุ้นปลอม [21 ก.พ. 52 - 02:38]
พฤติกรรมต้มตุ๋นเกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นที่ทำเอาทายาทเศรษฐีแทบช็อก หลังเอาใบหุ้นไปขอขึ้นเงินแล้วพบว่าเป็นใบหุ้นปลอมครั้งนี้ ได้รับการเปิดเผยเมื่อวันที่ 20 ก.พ. ผู้สื่อข่าวรายงานจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (SCC) ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯถึงการปลอมแปลงใบหุ้นสามัญของบริษัทว่า ที่ประชุมคณะกรรมการตรวจสอบบริษัทปูนซิเมนต์ไทย ได้มีมติให้แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ กรณีมีผู้ปลอมแปลงใบหุ้นสามัญของบริษัท โดยระบุว่าเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2552 บริษัทได้รับแจ้งจากบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ว่ามีการปลอมแปลงใบหุ้นสามัญของบริษัทจำนวน 2 ใบ รวมจำนวนหุ้นทั้งสิ้น 672,000 หุ้น คิดเป็นมูลค่าหุ้นในขณะนี้ประมาณ 67 ล้านบาท และจากการตรวจสอบภายในบริษัทพบว่าแบบฟอร์มใบหุ้นสามัญได้สูญหายไปจำนวน 34 ใบ เลขที่ 0025001- 0025034 ซึ่งบริษัทได้แจ้งความและยกเลิกใบหุ้นดังกล่าวแล้ว โดยได้ตั้งข้อสงสัยว่าพนักงานคนหนึ่งของบริษัทเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในกรณีดังกล่าว และผู้ต้องสงสัยได้หลบหนีไปในวันเดียวกัน บริษัทจึงได้แจ้งความเพื่อดำเนินคดีกับผู้ต้องสงสัยและศาลอาญาได้ออกหมายจับแล้วเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
นอกจากนี้ บริษัทยังได้ตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมพบว่าผู้ต้องสงสัยได้จัดทำใบหุ้นสามัญปลอมขึ้นมาและนำไปมอบให้แก่เจ้าของหุ้นแทนใบหุ้นฉบับจริง ส่วนใบหุ้นฉบับจริงนั้นคาดว่าผู้ต้องสงสัยได้นำไปขายแล้ว บริษัทถือว่าเหตุการณ์นี้เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง ผู้บริหารระดับสูงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้เร่งสืบหาข้อเท็จจริงนับตั้งแต่วันที่ทราบเหตุ และสามารถรวบรวมข้อมูลได้ ในเบื้องต้นจึงได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ทั้งนี้ บริษัทจะดำเนินการทางกฎหมายกับผู้กระทำผิดและผู้เกี่ยวข้องทุกคน ทั้งทางอาญาและทางแพ่งจนถึงที่สุดโดยไม่มีข้อยกเว้น
สำหรับมูลเหตุที่ทำให้เรื่องดังกล่าวแดงขึ้นมานั้น ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เกิดขึ้นหลังจากเจ้าของหุ้นเดิมซึ่งเป็น คุณหญิง ที่เป็นผู้ถือหุ้นในยุคบุกเบิกของการก่อตั้งบริษัทปูนซิเมนต์ไทย และได้รับจัดสรรหุ้นอุปการคุณ ได้มีการโอนหุ้นไปให้ทายาท แต่ต่อมาทายาทคนดังกล่าวได้เสียชีวิตลงเมื่อเดือน ธ.ค.ปีที่ผ่านมา และผู้จัดการมรดกได้นำใบหุ้นมาขึ้นทะเบียนกับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์เพื่อนำหุ้นจำนวนดังกล่าวจัดสรรให้กับทายาทของผู้เสียชีวิต แต่จากการตรวจสอบใบหุ้นของศูนย์รับฝากพบว่าเป็นใบหุ้นปลอม จึงได้มีการประสานตรวจสอบกลับไปยังบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จนกระทั่งพบว่าพนักงานบริษัทซึ่งเป็นผู้ต้องสงสัยได้มีการยักยอกใบหุ้นจริงออกไปก่อนหน้านี้ และจัดทำใบหุ้นปลอมให้ผู้ถือหุ้นไว้ โดยอาศัยจากความไว้เนื้อเชื่อใจ เนื่องจากบริษัทปูนซิเมนต์ไทยเป็นบริษัทเก่าแก่ ที่มีผู้ถือหุ้นลักษณะพิเศษคือ เป็นผู้ถือหุ้นเก่าแก่ยุคบุกเบิกที่ผูกปิ่นโตกันมานาน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นบรรดาตระกูลเศรษฐีเก่าแก่ของเมืองไทย ที่มักจะถือหุ้นมาอย่างยาวนานตั้งแต่เข้าตลาดหุ้นในช่วงต้นๆ เมื่อปี 2518 และถือไว้ระยะยาวเป็นมรดกตกทอดให้แก่ลูกหลาน โดยในระหว่างนั้นก็จะได้รับผลตอบแทนจากเงินปันผลที่บริษัทจ่ายให้ทุกปี ปีละไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 15 บาท มาอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้ถือหุ้นยุคบุกเบิกเหล่านี้มีปัญหาข้อสงสัย ก็มักจะอาศัยความเคยชิน หรือเมื่อต้องทำธุรกรรมอะไรกับบริษัทก็มักจะดำเนินการติดต่อไปยังบริษัทโดยตรง ซึ่งทางบริษัทเองมีการจัดพนักงานไว้ คอยดูแลให้ความช่วยเหลือผู้ถือหุ้นเหล่านี้ จนก่อให้เกิดความเชื่อถือและไว้เนื้อเชื่อใจกัน จนเป็นโอกาสให้พนักงานผู้ต้องสงสัยคนดังกล่าวกระทำการฉ้อฉล โดยเจ้าของหุ้นอาจมอบอำนาจให้พนักงานบริษัทคนดังกล่าวดำเนินการติดต่อกับทางศูนย์รับฝาก จนกระทั่งมีการยักยอกนำเอาใบหุ้นจริงออกไป และจัดทำใบหุ้นปลอมส่งให้ผู้ถือหุ้นถือไว้แทน โดยที่เจ้าของตัวจริงไม่รู้ตัวมาก่อนว่าที่ผ่านมาได้นอนกอดใบหุ้นปลอมเอาไว้
นอกจากนี้ จากการตรวจสอบเบื้องต้นของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย และศูนย์รับฝากนั้น ยังพบว่าใบหุ้นฉบับ จริงนั้นได้ถูกนำหุ้นออกไปขายตั้งแต่ช่วงปี 2547-2548 แล้ว ซึ่งเป็นช่วงที่ระดับราคาหุ้นปูนซิเมนต์ไทยทะยานขึ้นไปสูงสุดเกือบ 300 บาทต่อหุ้น แต่ผู้ต้องสงสัยได้ดำเนินการที่แยบยลด้วยการปกปิด และยังคงดำเนินการจ่ายเงิน ปันผลให้กับผู้ถือหุ้นยุคบุกเบิกที่ถือใบหุ้นปลอมนี้ไว้ โดยที่เจ้าตัวเองก็ไม่ได้ระแคะระคายมาก่อน เพราะเจ้าหน้าที่คนดังกล่าวยังคงส่งเงินปันผลให้เจ้าของหุ้นตัวจริง อย่างต่อเนื่องทุกปี
สำหรับราคาหุ้นปูนซิเมนต์ที่ถูกขายออกมาในช่วงปี 2547 และ 2548 นั้น พบว่าช่วงนั้นราคาหุ้นอยู่ ในระดับที่สูงมาก หากมีการขายหุ้นออกมาในช่วงดังกล่าว เฉพาะหุ้น 2 ใบ รวม 672,000 หุ้นดังกล่าวจะได้รับเงินสูงถึง 150-180 ล้านบาท เพราะราคาหุ้นปูนซิเมนต์ในปี 2547 เฉลี่ยอยู่ที่ 230 บาท และขึ้นไปสูงสุดที่ 264 บาท หากขายที่ราคาเฉลี่ยจะได้เงินประมาณ 160 ล้านบาท
ด้านนางวีนัส อัศวสิทธิถาวร ผู้อำนวยการสำนักงานสื่อสารองค์กรบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวยอมรับว่า บริษัทได้รับทราบเรื่องนี้เมื่อวันที่ 30 ม.ค.ที่ผ่านมา โดยได้รับแจ้งจากศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ว่ามีการปลอมแปลงใบหุ้นสามัญของบริษัท จำนวน 2 ใบ ซึ่งใน 2 ใบนี้มีจำนวนหุ้นรวมกัน 672,000 หุ้น คิดเป็นมูลค่า ณ ปัจจุบัน 67 ล้านบาท บริษัทจึงได้ตรวจสอบรายละเอียด และพบว่าแบบฟอร์มใบหุ้นสามัญหายไป 34 ใบ คือเลขที่ 0025001-0025034 จึงได้ไปแจ้งความเพื่อยกเลิกใบหุ้นที่หายไปดังกล่าว และผลจากการตรวจ สอบยังพบว่ามีพนักงาน 1 คน เข้าไปเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ และได้หายตัวไปแล้ว บริษัทจึงได้ไปแจ้งความดำเนิน คดีรายนี้ โดยศาลอาญาได้ออกหมายจับ เมื่อวันที่ 2 ก.พ. ที่ผ่านมา
นางวีนัสกล่าวว่า สำหรับรายละเอียดทั้งหมด บริษัทกำลังค้นข้อมูล เบื้องต้นทราบว่าผู้ต้องสงสัยทำปลอมขึ้นมา และนำไปมอบให้เจ้าของหุ้นแทนใบจริง ส่วนใบจริงได้ถูกขายไปแล้ว สำหรับใบหุ้นที่เหลือทั้งหมดจะปลอมหรือไม่ เท่าที่ตรวจสอบขณะนี้ยังไม่พบว่ามีการปลอมแปลง แต่ขอแจ้งไปยังผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นทั้ง 34 ใบตามหมายเลขดังกล่าว นำใบหุ้นไปขอตรวจสอบข้อมูลที่ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ว่ามีการปลอมแปลงใบหุ้นหรือไม่อีกครั้ง
ทั้งนี้ ผู้บริหารระดับสูงในวงการโบรกเกอร์ เปิดเผยว่า สิ่งที่น่ากังวลขณะนี้คือ แบบฟอร์มใบหุ้นสามัญที่บริษัทตรวจสอบเพิ่มเติมแล้วพบว่าได้สูญหายไปจำนวน 34 ใบนั้น แม้บริษัทจะได้แจ้งความและยกเลิกใบหุ้นดังกล่าวแล้ว แต่ก็น่าสงสัยและติดตามว่าใบหุ้นดังกล่าวจะถูกนำไปทำเป็นใบหุ้นปลอมให้กับผู้ถือหุ้นอีกหรือไม่ ดังนั้น ทางที่ดี ผู้ถือหุ้นบริษัทปูนซิเมนต์ไทยที่ถือครองใบหุ้นอยู่ ควรนำใบหุ้นของตนเองมาตรวจสอบกับทางศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ โดยด่วน เพราะอาจจะกอดใบหุ้นปลอมอยู่โดยไม่รู้ตัวเหมือนในกรณีนี้ได้
ด้านนางสาวโสภาวดี เลิศมนัสชัย รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ กล่าวถึงกรณีนี้ว่า หากผู้ถือหุ้นปูนซิเมนต์ไทยคนใดที่ถือครองเป็นใบหุ้นอยู่ และไม่แน่ใจก็สามารถนำใบหุ้นมาให้ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ฯตรวจสอบได้ และอยากแนะนำให้ผู้ถือหุ้นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ทุกคน ควรนำหุ้นที่ถืออยู่มาเข้าระบบสคริปเลส (Scrip less) หรือระบบไร้ใบหุ้น เพราะระบบของศูนย์รับฝากฯ จะเก็บข้อมูลไว้ในระบบอย่างดีปลอดภัยไม่ต้องกลัวสูญหายและเป็นไปตามมาตรฐานสากล
นอกจากนี้ ศูนย์รับฝากจะจัดส่งสเตตเมนต์หรือใบรายงานถือครองหุ้นไปอัพเดต หรือยืนยันข้อมูลให้ทุก 6 เดือน โดยผลประโยชน์ที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับจากเงินปันผลต่างๆ ก็ยังคงได้รับครบถ้วนไม่ยุ่งยาก ทั้งนี้ ตั้งแต่ตลาด หลักทรัพย์ใช้ระบบไร้ใบหุ้นยังไม่เคยเกิดปัญหาใดๆ
ที่มา http://www.thairath.co.th/offline.php?s ... ent=124499
-
- Verified User
- โพสต์: 592
- ผู้ติดตาม: 0
แบบนี้ก็มีด้วย
โพสต์ที่ 9
ขอความรู้หน่อยนะครับ
เห็นในงบการเงินฉบับแก้ไขของ siccoไม่มีหมายเหตุประกอบงบ
http://www.settrade.com/simsImg/news/2009/09004784.zip
ไม่ผิดอะไรใช่ไหมครับ หมายเหตุประกอบงบสามารถออกตามมาทีหลังได้
ความเห็นของผู้สอบตามมามีหลังได้หรือไม่ ขอบคุณครับ
เห็นในงบการเงินฉบับแก้ไขของ siccoไม่มีหมายเหตุประกอบงบ
http://www.settrade.com/simsImg/news/2009/09004784.zip
ไม่ผิดอะไรใช่ไหมครับ หมายเหตุประกอบงบสามารถออกตามมาทีหลังได้
ความเห็นของผู้สอบตามมามีหลังได้หรือไม่ ขอบคุณครับ
- atsu
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1220
- ผู้ติดตาม: 1
แบบนี้ก็มีด้วย
โพสต์ที่ 10
โอ้แม่เจ้านอกจากนี้ จากการตรวจสอบเบื้องต้นของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย และศูนย์รับฝากนั้น ยังพบว่าใบหุ้นฉบับ จริงนั้นได้ถูกนำหุ้นออกไปขายตั้งแต่ช่วงปี 2547-2548 แล้ว ซึ่งเป็นช่วงที่ระดับราคาหุ้นปูนซิเมนต์ไทยทะยานขึ้นไปสูงสุดเกือบ 300 บาทต่อหุ้น แต่ผู้ต้องสงสัยได้ดำเนินการที่แยบยลด้วยการปกปิด และยังคงดำเนินการจ่ายเงิน ปันผลให้กับผู้ถือหุ้นยุคบุกเบิกที่ถือใบหุ้นปลอมนี้ไว้ โดยที่เจ้าตัวเองก็ไม่ได้ระแคะระคายมาก่อน เพราะเจ้าหน้าที่คนดังกล่าวยังคงส่งเงินปันผลให้เจ้าของหุ้นตัวจริง อย่างต่อเนื่องทุกปี
สำหรับราคาหุ้นปูนซิเมนต์ที่ถูกขายออกมาในช่วงปี 2547 และ 2548 นั้น พบว่าช่วงนั้นราคาหุ้นอยู่ ในระดับที่สูงมาก หากมีการขายหุ้นออกมาในช่วงดังกล่าว เฉพาะหุ้น 2 ใบ รวม 672,000 หุ้นดังกล่าวจะได้รับเงินสูงถึง 150-180 ล้านบาท เพราะราคาหุ้นปูนซิเมนต์ในปี 2547 เฉลี่ยอยู่ที่ 230 บาท และขึ้นไปสูงสุดที่ 264 บาท หากขายที่ราคาเฉลี่ยจะได้เงินประมาณ 160 ล้านบาท
ผู้ต้องสงสัยรายนี้ถ้าจะเป็นเซียนหุ้นตัวจริง
ถ้ามา"ซื้อคืน"(เจ้าของ)ตอนนี้ คงได้กำไรจากการช็อตไปร่วมร้อยล้าน :lol:
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
แบบนี้ก็มีด้วย
โพสต์ที่ 11
หมายเหตุประกอบงบการเงินchode เขียน:ขอความรู้หน่อยนะครับ
เห็นในงบการเงินฉบับแก้ไขของ siccoไม่มีหมายเหตุประกอบงบ
http://www.settrade.com/simsImg/news/2009/09004784.zip
ไม่ผิดอะไรใช่ไหมครับ หมายเหตุประกอบงบสามารถออกตามมาทีหลังได้
ความเห็นของผู้สอบตามมามีหลังได้หรือไม่ ขอบคุณครับ
เป็นส่วนหนึ่งของงบการเงิน
ถ้าปรับปรุงงบการเงิน ก็ต้องส่งหมายเหตุประกอบงบการเงินมาให้ด้วย
งบการเงินนี้ผู้ตรวจสอบรับรองอีกรอบแล้วหรือเปล่า
ลองไปทวงถามดูดีที่สุด
-
- Verified User
- โพสต์: 1266
- ผู้ติดตาม: 0
แบบนี้ก็มีด้วย
โพสต์ที่ 12
มหาจำเริญ จ่ายปันผลอีก หุ้นละ 0.2
น่าจะประกาศพร้อมวันที่ออกข่าวแก้ไขผลประกอบการให้รู้แล้วรู้รอด
เมื่อวานช่วงบ่าย ราคาหุ้นวิ่งหน้าตั้งเชียว
พอมองย้อนหลัง ก่อนข่าวแก้ผลประกอบการ มีแรงเทขายตลอด
ให้มันได้อย่างนี้สิ
น่าจะประกาศพร้อมวันที่ออกข่าวแก้ไขผลประกอบการให้รู้แล้วรู้รอด
เมื่อวานช่วงบ่าย ราคาหุ้นวิ่งหน้าตั้งเชียว
พอมองย้อนหลัง ก่อนข่าวแก้ผลประกอบการ มีแรงเทขายตลอด
ให้มันได้อย่างนี้สิ
ความรู้คู่เปรียบด้วย