ไปไม่กลับ - หลับไม่ตื่น - ฟื้นไม่มี ??????
- LOSO
- Verified User
- โพสต์: 2512
- ผู้ติดตาม: 0
ไปไม่กลับ - หลับไม่ตื่น - ฟื้นไม่มี ??????
โพสต์ที่ 1
ยอดขายรถมี.ค.พุ่งสวนกระแส โต20% โตโยต้านำโด่งขายได้มากสุด แต่ไตรมาสแรกยังติดลบ33%
ยอด ขายรถไตรมาสแรกยังซึมลึก หดตัวต่อเนื่องถึง 33% ชี้ตลาดเอสยูวีตกหนักสุดถึง 50% ขณะที่ปิกอัพลดลง 41% ด้านรถเก๋งหดตัวน้อยสุดแค่ 17% เท่านั้น เผยยังมีข่าวดีเฉพาะเดือนมีนาคมโตสวนกระแส 20% โตโยต้าขายได้มากสุด
รายงานข่าวจากบริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด เปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์รวมทุกประเภทไตรมาสแรกของปีนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 107,774 คัน ลดลงถึง 33.36% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดที่หดตัวสูงสุดคือรถเอสยูวี หดตัวลงถึง 49.92% ส่วนตลาดรถยนต์นั่งส่วนบุคคล หดตัวลงน้อยที่สุดเพียง 17.42%
สำหรับ บริษัทรถยนต์ที่มียอดจำหน่ายสูงสุดคือโตโยต้า จำนวน 44,444 คัน คิดเป็น 41.24% อีซูซุมาเป็นอันดับ 2 จำนวน 23,558 คัน มีส่วนแบ่งตลาด 21.86% และอันดับ 3 คือฮอนด้า จำหน่ายได้ 18,360 คัน คิดเป็น 17.04%
ส่วน ตลาดรถปิกอัพขนาด 1 ตัน ในไตรมาสแรกมียอดจำหน่ายรวม 52,912 คัน ลดลง 41.14% โดยอีซูซุจำหน่ายได้สูงสุด 21,986 คัน มีส่วนแบ่งตลาด 41.55% โตโยต้าตามมาเป็นอันดับ 2 คือ 19,945 คัน มีส่วนแบ่งตลาด 37.69% และนิสสันมาเป็นอันดับ 3 ด้วยยอดจำหน่าย 4,109 คัน มีส่วนแบ่งตลาด 7.77%
ยอด จำหน่ายของตลาดรถยนต์นั่งส่วนบุคคลมีจำนวนทั้งสิ้น 43,968 คัน ลดลง 17.42% โตโยต้าจำหน่ายได้เป็นอันดับ 1 คือ 20,578 คัน คิดเป็น 46.80% ฮอนด้ามาเป็นอันดับ 2 ด้วยยอดจำหน่าย 17,250 คัน มีส่วนแบ่งตลาด 39.23% และนิสสันจำหน่ายได้เป็นอันดับ 3 คือ 1,075 คัน คิดเป็น 2.44%
ส่วนยอดจำหน่ายรถยนต์ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมามีจำนวน 41,328 คัน เพิ่มขึ้น 20.28% เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โตโยต้าจำหน่ายได้มากที่สุด 16,762 คัน มีส่วนแบ่งตลาด 40.56% อีซูซุมาเป็นอันดับ 2 ด้วยยอดจำหน่าย 8,761 คัน ครองส่วนแบ่งตลาด 21.20% และฮอนด้ามาเป็นอันดับ 3 จำหน่ายได้ 7,244 คัน คิดเป็น 17.53%
ตลาดรถปิกอัพขนาด 1 ตัน ในเดือนมีนาคมมียอดจำหน่ายรวม 20,847 คัน เพิ่มขึ้น 24.72% เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ โตโยต้าจำหน่ายได้สูงสุด 8,355 คัน มีส่วนแบ่งตลาด 40.08% ตามมาด้วยอีซูซุจำหน่ายได้ 8,175 คัน มีส่วนแบ่งตลาด 39.21% และนิสสันมาเป็นอันดับ 3 ด้วยยอดจำหน่าย 1,645 คัน คิดเป็น 7.89%
สำหรับตลาดรถยนต์นั่งส่วนบุคคลในเดือนมีนาคมนี้เพิ่มขึ้น 13.67% จากเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยมียอดจำหน่ายรวมทุกยี่ห้อ 16,194 คัน โตโยต้าจำหน่ายได้สูงสุด 6,951 คัน คิดเป็น 42.92% ฮอนด้ามาเป็นอันดับ 2 จำหน่ายได้ 6,760 คัน คิดเป็น 41.74% และเชฟโรเลตมาเป็นอันดับ 3 คือ 537 คัน มีส่วนแบ่งตลาด 3.32%
ยอด ขายรถไตรมาสแรกยังซึมลึก หดตัวต่อเนื่องถึง 33% ชี้ตลาดเอสยูวีตกหนักสุดถึง 50% ขณะที่ปิกอัพลดลง 41% ด้านรถเก๋งหดตัวน้อยสุดแค่ 17% เท่านั้น เผยยังมีข่าวดีเฉพาะเดือนมีนาคมโตสวนกระแส 20% โตโยต้าขายได้มากสุด
รายงานข่าวจากบริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด เปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์รวมทุกประเภทไตรมาสแรกของปีนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 107,774 คัน ลดลงถึง 33.36% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดที่หดตัวสูงสุดคือรถเอสยูวี หดตัวลงถึง 49.92% ส่วนตลาดรถยนต์นั่งส่วนบุคคล หดตัวลงน้อยที่สุดเพียง 17.42%
สำหรับ บริษัทรถยนต์ที่มียอดจำหน่ายสูงสุดคือโตโยต้า จำนวน 44,444 คัน คิดเป็น 41.24% อีซูซุมาเป็นอันดับ 2 จำนวน 23,558 คัน มีส่วนแบ่งตลาด 21.86% และอันดับ 3 คือฮอนด้า จำหน่ายได้ 18,360 คัน คิดเป็น 17.04%
ส่วน ตลาดรถปิกอัพขนาด 1 ตัน ในไตรมาสแรกมียอดจำหน่ายรวม 52,912 คัน ลดลง 41.14% โดยอีซูซุจำหน่ายได้สูงสุด 21,986 คัน มีส่วนแบ่งตลาด 41.55% โตโยต้าตามมาเป็นอันดับ 2 คือ 19,945 คัน มีส่วนแบ่งตลาด 37.69% และนิสสันมาเป็นอันดับ 3 ด้วยยอดจำหน่าย 4,109 คัน มีส่วนแบ่งตลาด 7.77%
ยอด จำหน่ายของตลาดรถยนต์นั่งส่วนบุคคลมีจำนวนทั้งสิ้น 43,968 คัน ลดลง 17.42% โตโยต้าจำหน่ายได้เป็นอันดับ 1 คือ 20,578 คัน คิดเป็น 46.80% ฮอนด้ามาเป็นอันดับ 2 ด้วยยอดจำหน่าย 17,250 คัน มีส่วนแบ่งตลาด 39.23% และนิสสันจำหน่ายได้เป็นอันดับ 3 คือ 1,075 คัน คิดเป็น 2.44%
ส่วนยอดจำหน่ายรถยนต์ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมามีจำนวน 41,328 คัน เพิ่มขึ้น 20.28% เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โตโยต้าจำหน่ายได้มากที่สุด 16,762 คัน มีส่วนแบ่งตลาด 40.56% อีซูซุมาเป็นอันดับ 2 ด้วยยอดจำหน่าย 8,761 คัน ครองส่วนแบ่งตลาด 21.20% และฮอนด้ามาเป็นอันดับ 3 จำหน่ายได้ 7,244 คัน คิดเป็น 17.53%
ตลาดรถปิกอัพขนาด 1 ตัน ในเดือนมีนาคมมียอดจำหน่ายรวม 20,847 คัน เพิ่มขึ้น 24.72% เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ โตโยต้าจำหน่ายได้สูงสุด 8,355 คัน มีส่วนแบ่งตลาด 40.08% ตามมาด้วยอีซูซุจำหน่ายได้ 8,175 คัน มีส่วนแบ่งตลาด 39.21% และนิสสันมาเป็นอันดับ 3 ด้วยยอดจำหน่าย 1,645 คัน คิดเป็น 7.89%
สำหรับตลาดรถยนต์นั่งส่วนบุคคลในเดือนมีนาคมนี้เพิ่มขึ้น 13.67% จากเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยมียอดจำหน่ายรวมทุกยี่ห้อ 16,194 คัน โตโยต้าจำหน่ายได้สูงสุด 6,951 คัน คิดเป็น 42.92% ฮอนด้ามาเป็นอันดับ 2 จำหน่ายได้ 6,760 คัน คิดเป็น 41.74% และเชฟโรเลตมาเป็นอันดับ 3 คือ 537 คัน มีส่วนแบ่งตลาด 3.32%
ความพยายามไม่มี ปัญญาไม่เกิด
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
ไปไม่กลับ - หลับไม่ตื่น - ฟื้นไม่มี ??????
โพสต์ที่ 2
ใจเย็นๆครับพี่ Loso
เดือนมีนาคม - เมษายน 2552
มีการจัด Motor Show ซึ่งมีการลดแลกแจกแถม อยู่ในช่วง Promotion พิเศษ
ทำให้ยอดมันโตผิดปกติ ต้องใช้ยอดของการขจัด Seasonal ก่อน
ถึงได้เห็นว่า ยอดมันโตปกติหรือไม่
ตอนนี้รู้สึกว่า Citi ออกประกาศว่า กำไรแล้ว
แต่ผมกลัวว่า ขอจริงหรือ
เดือนมีนาคม - เมษายน 2552
มีการจัด Motor Show ซึ่งมีการลดแลกแจกแถม อยู่ในช่วง Promotion พิเศษ
ทำให้ยอดมันโตผิดปกติ ต้องใช้ยอดของการขจัด Seasonal ก่อน
ถึงได้เห็นว่า ยอดมันโตปกติหรือไม่
ตอนนี้รู้สึกว่า Citi ออกประกาศว่า กำไรแล้ว
แต่ผมกลัวว่า ขอจริงหรือ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 118
- ผู้ติดตาม: 0
ไปไม่กลับ - หลับไม่ตื่น - ฟื้นไม่มี ??????
โพสต์ที่ 3
ผมคิดว่า ถ้าดูยอดขายเดือนมีนาคม เทียบกับ กุมภาพันธ์
นอกจากเหตุผล เรื่องงานมอเตอร์โชว์แล้ว
น่าจะเกิดจากอีกเหตุผลหนึ่ง ที่เดือนกุมภา ลูกค้ายังไม่
ตัดสินใจซื้อ เนื่องจากยังรอว่า รัฐบาล จะลด VAT หรือไม่
น่าจะต้องรอดูกันต่อไปครับ :)
นอกจากเหตุผล เรื่องงานมอเตอร์โชว์แล้ว
น่าจะเกิดจากอีกเหตุผลหนึ่ง ที่เดือนกุมภา ลูกค้ายังไม่
ตัดสินใจซื้อ เนื่องจากยังรอว่า รัฐบาล จะลด VAT หรือไม่
น่าจะต้องรอดูกันต่อไปครับ :)
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
ไปไม่กลับ - หลับไม่ตื่น - ฟื้นไม่มี ??????
โพสต์ที่ 4
ในความคิดของผม
ตัวที่ทำให้ยอดปีนี้เพี้ยนคือ
สิ่งที่พี่neotano บอกล่ะครับ
สิ่งนั้นก็คือ อุตสาหกรรมรถยนต์ ขอร้องให้รัฐบาลช่วย
โดยสิ่งที่ร้องขอนั้นคือ ลดภาษี ทำให้ประชาชนผู้ที่ตั้งใจซื้อรถก็ชะลอการใช้จ่ายจุดนี้ลงไป ซึ่งหากตัดสินใจรวดเร็วกำลังซื้อกลับมาเร็วตามด้วย แต่การพิจารณากินเวลาร่วมเกือบสองเดือน ทำให้ยอดหดอย่างรุนแรง
หลังจากรัฐบอกไม่ช่วย นั้นล่ะทำให้ยอดที่อั้นอัดไว้ก็ทะลักเลย
ต้องรอดูกันต่อไปว่า มัน restore และ recovery ได้สมบูรณ์หรือยัง
ตอนนี้ทางด้าน US เริ่มมีอะไรให้เห็นแล้ว
คือ พวกธนาคารและอดีต Bank investment กำไรในไตรมาสแรกของปีนี้
จากการขาดทุนในปีที่แล้วอย่างหนัก
ตัวที่ทำให้ยอดปีนี้เพี้ยนคือ
สิ่งที่พี่neotano บอกล่ะครับ
สิ่งนั้นก็คือ อุตสาหกรรมรถยนต์ ขอร้องให้รัฐบาลช่วย
โดยสิ่งที่ร้องขอนั้นคือ ลดภาษี ทำให้ประชาชนผู้ที่ตั้งใจซื้อรถก็ชะลอการใช้จ่ายจุดนี้ลงไป ซึ่งหากตัดสินใจรวดเร็วกำลังซื้อกลับมาเร็วตามด้วย แต่การพิจารณากินเวลาร่วมเกือบสองเดือน ทำให้ยอดหดอย่างรุนแรง
หลังจากรัฐบอกไม่ช่วย นั้นล่ะทำให้ยอดที่อั้นอัดไว้ก็ทะลักเลย
ต้องรอดูกันต่อไปว่า มัน restore และ recovery ได้สมบูรณ์หรือยัง
ตอนนี้ทางด้าน US เริ่มมีอะไรให้เห็นแล้ว
คือ พวกธนาคารและอดีต Bank investment กำไรในไตรมาสแรกของปีนี้
จากการขาดทุนในปีที่แล้วอย่างหนัก
-
- Verified User
- โพสต์: 1088
- ผู้ติดตาม: 0
ไปไม่กลับ - หลับไม่ตื่น - ฟื้นไม่มี ??????
โพสต์ที่ 5
เร็วหรือช้ามันก็ต้องกลับมามั้งครับ
ยังไงคนก็ยังใช้รถกันและคนก็มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ
(ยิ่งเผารถกันเยอะยิ่งต้องซื้อใหม่ :lol: พูดเล่นน้า...)
ราคาตกไปแบบนี้ถือเป็นตีแตกไหมครับ? หรือว่าจะโดนตีหัวแตก?
ยังไงคนก็ยังใช้รถกันและคนก็มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ
(ยิ่งเผารถกันเยอะยิ่งต้องซื้อใหม่ :lol: พูดเล่นน้า...)
ราคาตกไปแบบนี้ถือเป็นตีแตกไหมครับ? หรือว่าจะโดนตีหัวแตก?
- LOSO
- Verified User
- โพสต์: 2512
- ผู้ติดตาม: 0
ไปไม่กลับ - หลับไม่ตื่น - ฟื้นไม่มี ??????
โพสต์ที่ 7
"โตโยต้า"ปรับแผนผลิตรับตลาดฟื้น จ้างคนเพิ่ม-ขยายกะ-บริหารสต๊อกไม่เกิน1เดือน
" โตโยต้า" ปรับแผนรับสต๊อกรถเก๋งขาด หันกลับมาผลิตรถ 2 กะ พร้อมทำสต๊อก รถ 1 เดือนเช่นเดิม หลังเคลียร์สต๊อกค้างเก่าเรียบร้อยแล้ว ประกาศรับซับคอนแทร็กต์เพิ่มอีก 700 คน ส่วนตลาดปิกอัพยังทรุดต่อเนื่อง ชี้ยังเป็นสถานการณ์ที่รับได้
แหล่งข่าวระดับบริหารจากบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงสถานการณ์การผลิตและจำหน่ายรถยนต์ของโตโยต้า ว่า หลังจากปัญหาทางเศรษฐกิจและการเงินโลกได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่ออุตสาหกรรมยาน ยนต์ ทั้งในส่วนของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ รวมทั้งการชะลอการตัดสินใจซื้อของ ผู้บริโภคในช่วงที่ผ่านมา
ประกอบ กับบริษัทได้ตัดสินใจปรับลด สต๊อกรถยนต์ รวมทั้งปรับลดการผลิตลง โดยเหลือเวลาการทำงานเพียง 1 กะ เท่านั้น เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดที่แท้จริง และจากการวางแผนการทำตลาดของบริษัทในช่วงที่ผ่านมานั้นถือว่าประสบความ สำเร็จและสอดคล้องกับสถานการณ์อย่างดีเกินคาด
โดยปัจจุบันความต้อง การรถยนต์บางสี บางรุ่น โดยเฉพาะในกลุ่มวรถยนต์นั่งนั้น ไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า บริษัทจึงได้เตรียมแผนงานที่จะเพิ่มกำลังการผลิตจากเดิม 1 กะ เป็น 2 กะ รวมทั้งจะมีการพิจารณาให้พนักงานซับคอนแทร็กต์ที่ถูกพักงานไปบางส่วนให้กลับ เข้ามาทำงานตามเดิมอีกจำนวน 600-700 คน ภายในเดือนมิถุนายนนี้ด้วย
สำหรับรถยนต์นั่งนั้น บริษัทเชื่อว่ากลุ่มผู้ใช้รถยนต์ประเภทนี้ โดยเฉพาะผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้รถ ยังมีความต้องการใช้รถอยู่ ประกอบกับลูกค้ากลุ่มนี้ถือว่ายังเป็นลูกค้าที่มีเงินอยู่ เพียงแต่จะมีความระมัดระวังในการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น และทำให้การตัดสินใจซื้อช้าลงไปบ้าง แต่ท้ายที่สุดก็จะต้องซื้ออยู่ดี
" ที่ผ่านมาเราได้มีการปรับลดสต๊อกรถยนต์ทั้งหมด จนกระทั่งไม่มีสต๊อกเหลืออยู่เลย ขณะที่กำลังการผลิตโดยจะมีการผลิตรถตามความต้องการของตลาดเป็นหลัก เพราะเราคาดว่าตลาดจะหดตัวลง แต่วันนี้สถานการณ์กลับไม่เป็นอย่างที่คิด เพราะยอดขายรถโตโยต้าไม่ได้ตกไปมากนัก ทำให้ช่วงที่ผ่านรถเก๋งของเราบางสี บางรุ่น ไม่เพียงพอที่จะรองรับความต้อง การของลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้นด้วย ทำให้เราตัดสินใจเพิ่มกำลังการผลิตในเร็วๆ นี้ และกลับมาใช้วิธีการบริหารสต๊อกอย่างน้อย 1 เดือนเช่นเดิม"
ส่วน ตลาดรถปิกอัพนั้น สภาพตลาดโดยรวมถือว่ายังอยู่ในช่วงขาลง และโตโยต้าก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน แต่ถือว่ายังเป็นสถานการณ์ที่พอรับได้ และเชื่อว่าไม่น่าจะมีปัญหาแต่อย่างใด เนื่องจากผู้ใช้รถในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว หรือเอสเอ็มอี ซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากปัญหาเศรษฐกิจเช่นเดียวกัน ทำให้จำเป็นจะต้องระมัดระวังในการใช้จ่ายและรัดเข็มขัด รวมทั้งชะลอการตัดสินใจซื้อออกไปเพื่อรอดูสถานการณ์
ทั้งนี้ ในปี 2551 ที่ผ่านมา โตโยต้ามีกำลังการผลิตรถยนต์ทั้งสิ้น 550,000 คัน ซึ่งเป็นการผลิตรถยนต์เพื่อรองรับกับตลาดภายในประเทศและตลาดส่งออก แบ่งเป็นการผลิตที่โรงงานบ้านโพธิ์ 100,000 คัน โรงงานสำโรง 250,000 คัน ซึ่งเป็นโรงงานผลิตรถปิกอัพและรถพีพีวี และโรงงานเกตเวย์ 200,00 คัน ซึ่งเป็นโรงงานผลิตรถยนต์นั่ง
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0210
" โตโยต้า" ปรับแผนรับสต๊อกรถเก๋งขาด หันกลับมาผลิตรถ 2 กะ พร้อมทำสต๊อก รถ 1 เดือนเช่นเดิม หลังเคลียร์สต๊อกค้างเก่าเรียบร้อยแล้ว ประกาศรับซับคอนแทร็กต์เพิ่มอีก 700 คน ส่วนตลาดปิกอัพยังทรุดต่อเนื่อง ชี้ยังเป็นสถานการณ์ที่รับได้
แหล่งข่าวระดับบริหารจากบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงสถานการณ์การผลิตและจำหน่ายรถยนต์ของโตโยต้า ว่า หลังจากปัญหาทางเศรษฐกิจและการเงินโลกได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่ออุตสาหกรรมยาน ยนต์ ทั้งในส่วนของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ รวมทั้งการชะลอการตัดสินใจซื้อของ ผู้บริโภคในช่วงที่ผ่านมา
ประกอบ กับบริษัทได้ตัดสินใจปรับลด สต๊อกรถยนต์ รวมทั้งปรับลดการผลิตลง โดยเหลือเวลาการทำงานเพียง 1 กะ เท่านั้น เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดที่แท้จริง และจากการวางแผนการทำตลาดของบริษัทในช่วงที่ผ่านมานั้นถือว่าประสบความ สำเร็จและสอดคล้องกับสถานการณ์อย่างดีเกินคาด
โดยปัจจุบันความต้อง การรถยนต์บางสี บางรุ่น โดยเฉพาะในกลุ่มวรถยนต์นั่งนั้น ไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า บริษัทจึงได้เตรียมแผนงานที่จะเพิ่มกำลังการผลิตจากเดิม 1 กะ เป็น 2 กะ รวมทั้งจะมีการพิจารณาให้พนักงานซับคอนแทร็กต์ที่ถูกพักงานไปบางส่วนให้กลับ เข้ามาทำงานตามเดิมอีกจำนวน 600-700 คน ภายในเดือนมิถุนายนนี้ด้วย
สำหรับรถยนต์นั่งนั้น บริษัทเชื่อว่ากลุ่มผู้ใช้รถยนต์ประเภทนี้ โดยเฉพาะผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้รถ ยังมีความต้องการใช้รถอยู่ ประกอบกับลูกค้ากลุ่มนี้ถือว่ายังเป็นลูกค้าที่มีเงินอยู่ เพียงแต่จะมีความระมัดระวังในการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น และทำให้การตัดสินใจซื้อช้าลงไปบ้าง แต่ท้ายที่สุดก็จะต้องซื้ออยู่ดี
" ที่ผ่านมาเราได้มีการปรับลดสต๊อกรถยนต์ทั้งหมด จนกระทั่งไม่มีสต๊อกเหลืออยู่เลย ขณะที่กำลังการผลิตโดยจะมีการผลิตรถตามความต้องการของตลาดเป็นหลัก เพราะเราคาดว่าตลาดจะหดตัวลง แต่วันนี้สถานการณ์กลับไม่เป็นอย่างที่คิด เพราะยอดขายรถโตโยต้าไม่ได้ตกไปมากนัก ทำให้ช่วงที่ผ่านรถเก๋งของเราบางสี บางรุ่น ไม่เพียงพอที่จะรองรับความต้อง การของลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้นด้วย ทำให้เราตัดสินใจเพิ่มกำลังการผลิตในเร็วๆ นี้ และกลับมาใช้วิธีการบริหารสต๊อกอย่างน้อย 1 เดือนเช่นเดิม"
ส่วน ตลาดรถปิกอัพนั้น สภาพตลาดโดยรวมถือว่ายังอยู่ในช่วงขาลง และโตโยต้าก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน แต่ถือว่ายังเป็นสถานการณ์ที่พอรับได้ และเชื่อว่าไม่น่าจะมีปัญหาแต่อย่างใด เนื่องจากผู้ใช้รถในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว หรือเอสเอ็มอี ซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากปัญหาเศรษฐกิจเช่นเดียวกัน ทำให้จำเป็นจะต้องระมัดระวังในการใช้จ่ายและรัดเข็มขัด รวมทั้งชะลอการตัดสินใจซื้อออกไปเพื่อรอดูสถานการณ์
ทั้งนี้ ในปี 2551 ที่ผ่านมา โตโยต้ามีกำลังการผลิตรถยนต์ทั้งสิ้น 550,000 คัน ซึ่งเป็นการผลิตรถยนต์เพื่อรองรับกับตลาดภายในประเทศและตลาดส่งออก แบ่งเป็นการผลิตที่โรงงานบ้านโพธิ์ 100,000 คัน โรงงานสำโรง 250,000 คัน ซึ่งเป็นโรงงานผลิตรถปิกอัพและรถพีพีวี และโรงงานเกตเวย์ 200,00 คัน ซึ่งเป็นโรงงานผลิตรถยนต์นั่ง
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0210
ความพยายามไม่มี ปัญญาไม่เกิด