นักธุรกิจร้อยล้าน / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
- oatty
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2444
- ผู้ติดตาม: 0
นักธุรกิจร้อยล้าน / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 1
โลกในมุมมองของ Value Investor 23 มิ.ย. 52
ความฝันของคนจำนวนมากมากที่สุดอย่างหนึ่งก็คือ การได้เป็น “เจ้าของธุรกิจ” เพราะนั่นคือหนทางที่สำคัญ และอาจเป็นหนทางเดียวที่จะทำให้เขาร่ำรวย มีชื่อเสียง และได้รับการนับหน้าถือตา คนหนุ่มสาวอายุยังไม่ครบสามสิบปีถ้าสามารถมีธุรกิจขนาด “ร้อยล้านบาท” ก็กลายเป็นเรื่องฮือฮาสามารถนำไปเขียนเป็นเรื่องราวของความสำเร็จที่น่าทึ่งและน่ายกย่องได้ นักธุรกิจ “พันล้าน” เวลามีเรื่องราว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องดีหรือเรื่องร้ายหรือเรื่องซุบซิบในสังคมก็จะเป็นข่าวใหญ่มีคนติดตามกันมาก สถานะของการเป็นเจ้าของธุรกิจ “ร้อยล้าน” หรือ “พันล้าน” บาทในสังคมไทยนั้น ดูสูงส่งจน “คนธรรมดา” ไม่อาจเอื้อมถึง คนกินเงินเดือนที่ไม่ใช่ผู้บริหารชั้นสูงและไม่ใช่คนที่มีทรัพย์มรดกมากมายนั้น มักจะไม่กล้าแม้แต่จะฝันที่จะเป็นนักธุรกิจ “ร้อยล้าน” แต่สำหรับผมแล้ว นั่นเป็นความเข้าใจที่ผิด “เรา” ผมหมายถึงคนที่สนใจในการลงทุนแบบ Value Investment ต้องเปลี่ยนความรู้สึกแบบนี้ เราต้องกล้าฝันที่จะเป็นนักธุรกิจ “ร้อยล้าน” หรือแม้แต่ “พันล้าน”
คำว่านักธุรกิจ “ร้อยล้าน” หรือ “พันล้าน” บาทที่นักข่าวหรือนักเขียนบทความพูดถึงในหน้าหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารนั้น ถ้าจับความให้ดีก็จะพบว่ามันคือ ยอดขายสินค้าของธุรกิจ และถ้ามองลึกลงไปอีกก็จะพบว่าบ่อยครั้งมีการ “ปัดเศษ” นั่นคือ ถ้ายอดขายประมาณปีละ 60-70 ล้านบาท ก็ตีว่าเป็นร้อยล้านบาท ถ้ายอดขายตั้งแต่ 500-600 ล้านบาท ก็เรียกว่าเป็นนักธุรกิจพันล้านได้แล้ว มันไม่เคยมีความหมายเลยว่านักธุรกิจคนนั้นมีเงินของตนเองหรือมีทรัพย์สินที่เป็นส่วนของเจ้าของบริษัทที่ถือว่าเป็นความมั่งคั่งส่วนตัวเป็นร้อยหรือพันล้านบาทจริง ๆ ยอดขายของบริษัทหรือธุรกิจปีละร้อยหรือพันล้านบาทนั้น บอกอะไรเกี่ยวกับความมั่งคั่งน้อยมาก เช่นเดียวกัน มันไม่ได้บอกถึงความสามารถของเจ้าของกิจการอะไรนัก มันอาจจะเป็นแต่เพียงความ “เท่” ที่ “กิน” ไม่ได้ ว่าที่จริงในหลาย ๆ กรณี มันเป็นความกลัดกลุ้มโดยเฉพาะถ้าธุรกิจนั้นกำลังประสบปัญหาและมีหนี้สินล้นพ้นตัวที่เจ้าของจะต้องรับผิดชอบด้วย
วิธีที่จะเป็นเศรษฐีหรือนักธุรกิจ “ร้อยล้าน” ของผมก็คือ แทนที่เราจะเริ่มต้น “สร้าง” ธุรกิจเองซึ่งต้องอาศัยสิ่งต่าง ๆ มากมาย ตั้งแต่ความรู้ความสามารถ ทักษะในการบริหารงาน และเงินทุนก้อนใหญ่ เราสามารถ “ซื้อ” ธุรกิจได้ และที่ ๆ เราจะไปซื้อกิจการก็คือ ตลาดหุ้น แน่นอน เราไม่ได้ซื้อทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ ที่จริงเราอาจจะซื้อแค่ไม่กี่ร้อยหรือไม่กี่พันหุ้นซึ่งไม่ถึง .0001% ด้วยซ้ำ แต่นี่ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ เพราะธุรกิจที่เรา “ทำ” นั้นใหญ่มาก ยอดขายปีละเป็นแสนหรือหลายแสนล้านบาท เราจะเป็นเจ้าของคนเดียวได้อย่างไร แต่ไม่ว่าเราจะซื้อเท่าไร เราก็ถือว่าเราเป็นเจ้าของอยู่ดี ส่วนของยอดขายของบริษัทนั้น บางส่วนก็ต้องเป็นของเรา กำไรของบริษัทบางส่วนก็ต้องเป็นของเรา ว่าที่จริง ทุกอย่างของบริษัทนั้น เรามีส่วนเป็นเจ้าของเท่ากับสัดส่วนการถือหุ้นของเรา
ดังนั้น ถ้าบริษัท ก. มีหุ้นทั้งหมดเท่ากับ 100 ล้านหุ้น และเราถือหุ้นบริษัทนี้จำนวน 1 ล้านหุ้นหรือ 1% ของบริษัท ในราคาที่เราซื้อหุ้นละ 1 บาทซึ่งเท่ากับว่าเราลงทุนไป 1 ล้านบาท แต่บริษัทมียอดขายปีละ 500 ล้านบาท สัดส่วนของเรา 1% ก็เท่ากับว่าธุรกิจนี้ที่เรา “ทำ” มียอดขายในส่วนของเราเท่ากับ 5 ล้านบาท และนั่นเป็นหุ้นเพียงตัวเดียว แต่ถ้าเราสะสมหุ้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกครั้งที่เรามีเงินเพิ่มไม่ว่าจะมาจากเงินเดือน โบนัส เงินปันผล หรือแม้แต่เงินที่ได้จากการขายหุ้นตัวหนึ่งแล้วมาลงทุนซื้อหุ้นอีกตัวหนึ่ง เราก็จะมีหุ้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เป็นพอร์ตโฟลิโอ ในวันแรก ๆ ที่เราเริ่มลงทุนนั้น เราอาจจะเป็น “นักธุรกิจขนาดย่อม” เป็นนักธุรกิจเงินแสน แต่ถ้าเรามีความมุมานะ มีความตั้งใจที่จะ “สร้างธุรกิจ” ให้เติบใหญ่ขึ้น เป้าหมายของเราอาจจะตั้งไว้ปีละ 10-15% ซึ่งดูไม่มากและไม่เกินกำลัง แต่ถ้าเราทำไปเรื่อย ๆ โดยไม่ต้องสนใจกับภาวะตลาดหุ้น วันหนึ่งเราก็อาจจะพบว่า “ยอดขาย” ของธุรกิจหลาย ๆ อย่างของเรารวมกันมีมูลค่าถึง 60-70 ล้านบาท และนั่นเราก็สามารถพูดได้ว่าเราเป็น “นักธุรกิจร้อยล้าน” บาทแล้ว แน่นอน มูลค่าของพอร์ตหุ้นของเราอาจจะมีค่าเพียงแค่ 15-20 ล้านบาท แต่นั่นก็ไม่ได้แตกต่างจาก “นักธุรกิจร้อยล้าน” ที่ทำธุรกิจเดียว ถือหุ้นอยู่ตัวเดียว และเป็นผู้บริหารเอง
การเป็น “นักธุรกิจร้อยล้าน” ในตลาดหุ้นนั้น ก็เช่นเดียวกับ “นักธุรกิจร้อยล้าน” นอกตลาดหุ้น นั่นคือ มูลค่าของความมั่งคั่งส่วนตัวจริง ๆ อาจจะเป็น 100 ล้านบาทหรืออาจจะเป็นแค่ 10-20 ล้านบาทก็ได้ มันขึ้นอยู่กับว่าคุณทำธุรกิจอะไร ธุรกิจนั้นมีกำไรดีมากน้อยแค่ไหน ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือ ธุรกิจที่ทำนั้นมีศักยภาพในการที่จะเติบโตและทำกำไรมากน้อยแค่ไหนในอนาคต เพราะนั่นจะเป็นตัวที่ชี้ว่า ในอนาคต คุณจะมีโอกาสเลื่อนอันดับจากเศรษฐีหรือนักธุรกิจจากสิบ เป็นร้อย จากร้อยเป็นพันล้านบาทได้หรือไม่
เขียนถึงเรื่องนี้ทำให้ผมนึกถึง Value Investor หนุ่มสาวหลายคนที่ผมรู้จัก คนเหล่านี้เริ่มต้นด้วยการทำ “ธุรกิจขนาดย่อม” ในตลาดหุ้น เดี๋ยวนี้หลายคนกลายเป็น “นักธุรกิจร้อยล้าน” ไปแล้วทั้งที่อายุยังไม่ครบสามสิบปี แน่นอน นักลงทุนส่วนใหญ่ก็ยังเป็นนักธุรกิจขนาดย่อมอยู่ บางคนก็โตขึ้นเรื่อย ๆ กลายเป็นนักธุรกิจขนาดกลาง หลายคนก็ประสบปัญหา “ล้มหายตายจาก” ก็มี ความสามารถและโชคคงมีส่วนไม่น้อยต่อความสำเร็จและล้มเหลวเช่นเดียวกับนักธุรกิจนอกตลาดหุ้น ไม่มีใครรู้ว่า ระหว่างนักธุรกิจนอกตลาดกับนักธุรกิจในตลาดหุ้น ใครประสบความสำเร็จมากกว่ากัน
ในความคิดผมก็คือ ถ้าคุณเป็น “นักปฏิบัติ” โอกาสสำเร็จในการเป็นนักธุรกิจนอกตลาดจะสูงกว่า แต่ถ้าคุณเป็น “นักคิด” การเป็นนักธุรกิจในตลาดน่าจะมีโอกาสสำเร็จสูงกว่า ไม่ว่าจะกรณีใด การเป็นนักธุรกิจในตลาดหุ้นนั้น ดูเหมือนว่าจะทำได้ง่ายและความเสี่ยงน่าจะต่ำกว่าธุรกิจนอกตลาดหุ้น เหตุผลก็คือ ในการทำธุรกิจนอกตลาดหุ้นนั้น เรามักต้องทุ่มทุกอย่างแม้แต่จิตวิญญาณลงไปในธุรกิจ และการถอยหนีมักจะหมายถึงหายนะ ในขณะที่การทำธุรกิจในตลาดหุ้นนั้น เรามีทางเลือกมากมายและมีการกระจายธุรกิจไปในหลาย ๆ อย่าง ทั้งหมดนั้นอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า เราซื้อหุ้นในตลาดเพื่อเป็นการลงทุน “ทำธุรกิจ” ไม่ใช่การ “เล่นหุ้น”
ความฝันของคนจำนวนมากมากที่สุดอย่างหนึ่งก็คือ การได้เป็น “เจ้าของธุรกิจ” เพราะนั่นคือหนทางที่สำคัญ และอาจเป็นหนทางเดียวที่จะทำให้เขาร่ำรวย มีชื่อเสียง และได้รับการนับหน้าถือตา คนหนุ่มสาวอายุยังไม่ครบสามสิบปีถ้าสามารถมีธุรกิจขนาด “ร้อยล้านบาท” ก็กลายเป็นเรื่องฮือฮาสามารถนำไปเขียนเป็นเรื่องราวของความสำเร็จที่น่าทึ่งและน่ายกย่องได้ นักธุรกิจ “พันล้าน” เวลามีเรื่องราว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องดีหรือเรื่องร้ายหรือเรื่องซุบซิบในสังคมก็จะเป็นข่าวใหญ่มีคนติดตามกันมาก สถานะของการเป็นเจ้าของธุรกิจ “ร้อยล้าน” หรือ “พันล้าน” บาทในสังคมไทยนั้น ดูสูงส่งจน “คนธรรมดา” ไม่อาจเอื้อมถึง คนกินเงินเดือนที่ไม่ใช่ผู้บริหารชั้นสูงและไม่ใช่คนที่มีทรัพย์มรดกมากมายนั้น มักจะไม่กล้าแม้แต่จะฝันที่จะเป็นนักธุรกิจ “ร้อยล้าน” แต่สำหรับผมแล้ว นั่นเป็นความเข้าใจที่ผิด “เรา” ผมหมายถึงคนที่สนใจในการลงทุนแบบ Value Investment ต้องเปลี่ยนความรู้สึกแบบนี้ เราต้องกล้าฝันที่จะเป็นนักธุรกิจ “ร้อยล้าน” หรือแม้แต่ “พันล้าน”
คำว่านักธุรกิจ “ร้อยล้าน” หรือ “พันล้าน” บาทที่นักข่าวหรือนักเขียนบทความพูดถึงในหน้าหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารนั้น ถ้าจับความให้ดีก็จะพบว่ามันคือ ยอดขายสินค้าของธุรกิจ และถ้ามองลึกลงไปอีกก็จะพบว่าบ่อยครั้งมีการ “ปัดเศษ” นั่นคือ ถ้ายอดขายประมาณปีละ 60-70 ล้านบาท ก็ตีว่าเป็นร้อยล้านบาท ถ้ายอดขายตั้งแต่ 500-600 ล้านบาท ก็เรียกว่าเป็นนักธุรกิจพันล้านได้แล้ว มันไม่เคยมีความหมายเลยว่านักธุรกิจคนนั้นมีเงินของตนเองหรือมีทรัพย์สินที่เป็นส่วนของเจ้าของบริษัทที่ถือว่าเป็นความมั่งคั่งส่วนตัวเป็นร้อยหรือพันล้านบาทจริง ๆ ยอดขายของบริษัทหรือธุรกิจปีละร้อยหรือพันล้านบาทนั้น บอกอะไรเกี่ยวกับความมั่งคั่งน้อยมาก เช่นเดียวกัน มันไม่ได้บอกถึงความสามารถของเจ้าของกิจการอะไรนัก มันอาจจะเป็นแต่เพียงความ “เท่” ที่ “กิน” ไม่ได้ ว่าที่จริงในหลาย ๆ กรณี มันเป็นความกลัดกลุ้มโดยเฉพาะถ้าธุรกิจนั้นกำลังประสบปัญหาและมีหนี้สินล้นพ้นตัวที่เจ้าของจะต้องรับผิดชอบด้วย
วิธีที่จะเป็นเศรษฐีหรือนักธุรกิจ “ร้อยล้าน” ของผมก็คือ แทนที่เราจะเริ่มต้น “สร้าง” ธุรกิจเองซึ่งต้องอาศัยสิ่งต่าง ๆ มากมาย ตั้งแต่ความรู้ความสามารถ ทักษะในการบริหารงาน และเงินทุนก้อนใหญ่ เราสามารถ “ซื้อ” ธุรกิจได้ และที่ ๆ เราจะไปซื้อกิจการก็คือ ตลาดหุ้น แน่นอน เราไม่ได้ซื้อทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ ที่จริงเราอาจจะซื้อแค่ไม่กี่ร้อยหรือไม่กี่พันหุ้นซึ่งไม่ถึง .0001% ด้วยซ้ำ แต่นี่ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ เพราะธุรกิจที่เรา “ทำ” นั้นใหญ่มาก ยอดขายปีละเป็นแสนหรือหลายแสนล้านบาท เราจะเป็นเจ้าของคนเดียวได้อย่างไร แต่ไม่ว่าเราจะซื้อเท่าไร เราก็ถือว่าเราเป็นเจ้าของอยู่ดี ส่วนของยอดขายของบริษัทนั้น บางส่วนก็ต้องเป็นของเรา กำไรของบริษัทบางส่วนก็ต้องเป็นของเรา ว่าที่จริง ทุกอย่างของบริษัทนั้น เรามีส่วนเป็นเจ้าของเท่ากับสัดส่วนการถือหุ้นของเรา
ดังนั้น ถ้าบริษัท ก. มีหุ้นทั้งหมดเท่ากับ 100 ล้านหุ้น และเราถือหุ้นบริษัทนี้จำนวน 1 ล้านหุ้นหรือ 1% ของบริษัท ในราคาที่เราซื้อหุ้นละ 1 บาทซึ่งเท่ากับว่าเราลงทุนไป 1 ล้านบาท แต่บริษัทมียอดขายปีละ 500 ล้านบาท สัดส่วนของเรา 1% ก็เท่ากับว่าธุรกิจนี้ที่เรา “ทำ” มียอดขายในส่วนของเราเท่ากับ 5 ล้านบาท และนั่นเป็นหุ้นเพียงตัวเดียว แต่ถ้าเราสะสมหุ้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกครั้งที่เรามีเงินเพิ่มไม่ว่าจะมาจากเงินเดือน โบนัส เงินปันผล หรือแม้แต่เงินที่ได้จากการขายหุ้นตัวหนึ่งแล้วมาลงทุนซื้อหุ้นอีกตัวหนึ่ง เราก็จะมีหุ้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เป็นพอร์ตโฟลิโอ ในวันแรก ๆ ที่เราเริ่มลงทุนนั้น เราอาจจะเป็น “นักธุรกิจขนาดย่อม” เป็นนักธุรกิจเงินแสน แต่ถ้าเรามีความมุมานะ มีความตั้งใจที่จะ “สร้างธุรกิจ” ให้เติบใหญ่ขึ้น เป้าหมายของเราอาจจะตั้งไว้ปีละ 10-15% ซึ่งดูไม่มากและไม่เกินกำลัง แต่ถ้าเราทำไปเรื่อย ๆ โดยไม่ต้องสนใจกับภาวะตลาดหุ้น วันหนึ่งเราก็อาจจะพบว่า “ยอดขาย” ของธุรกิจหลาย ๆ อย่างของเรารวมกันมีมูลค่าถึง 60-70 ล้านบาท และนั่นเราก็สามารถพูดได้ว่าเราเป็น “นักธุรกิจร้อยล้าน” บาทแล้ว แน่นอน มูลค่าของพอร์ตหุ้นของเราอาจจะมีค่าเพียงแค่ 15-20 ล้านบาท แต่นั่นก็ไม่ได้แตกต่างจาก “นักธุรกิจร้อยล้าน” ที่ทำธุรกิจเดียว ถือหุ้นอยู่ตัวเดียว และเป็นผู้บริหารเอง
การเป็น “นักธุรกิจร้อยล้าน” ในตลาดหุ้นนั้น ก็เช่นเดียวกับ “นักธุรกิจร้อยล้าน” นอกตลาดหุ้น นั่นคือ มูลค่าของความมั่งคั่งส่วนตัวจริง ๆ อาจจะเป็น 100 ล้านบาทหรืออาจจะเป็นแค่ 10-20 ล้านบาทก็ได้ มันขึ้นอยู่กับว่าคุณทำธุรกิจอะไร ธุรกิจนั้นมีกำไรดีมากน้อยแค่ไหน ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือ ธุรกิจที่ทำนั้นมีศักยภาพในการที่จะเติบโตและทำกำไรมากน้อยแค่ไหนในอนาคต เพราะนั่นจะเป็นตัวที่ชี้ว่า ในอนาคต คุณจะมีโอกาสเลื่อนอันดับจากเศรษฐีหรือนักธุรกิจจากสิบ เป็นร้อย จากร้อยเป็นพันล้านบาทได้หรือไม่
เขียนถึงเรื่องนี้ทำให้ผมนึกถึง Value Investor หนุ่มสาวหลายคนที่ผมรู้จัก คนเหล่านี้เริ่มต้นด้วยการทำ “ธุรกิจขนาดย่อม” ในตลาดหุ้น เดี๋ยวนี้หลายคนกลายเป็น “นักธุรกิจร้อยล้าน” ไปแล้วทั้งที่อายุยังไม่ครบสามสิบปี แน่นอน นักลงทุนส่วนใหญ่ก็ยังเป็นนักธุรกิจขนาดย่อมอยู่ บางคนก็โตขึ้นเรื่อย ๆ กลายเป็นนักธุรกิจขนาดกลาง หลายคนก็ประสบปัญหา “ล้มหายตายจาก” ก็มี ความสามารถและโชคคงมีส่วนไม่น้อยต่อความสำเร็จและล้มเหลวเช่นเดียวกับนักธุรกิจนอกตลาดหุ้น ไม่มีใครรู้ว่า ระหว่างนักธุรกิจนอกตลาดกับนักธุรกิจในตลาดหุ้น ใครประสบความสำเร็จมากกว่ากัน
ในความคิดผมก็คือ ถ้าคุณเป็น “นักปฏิบัติ” โอกาสสำเร็จในการเป็นนักธุรกิจนอกตลาดจะสูงกว่า แต่ถ้าคุณเป็น “นักคิด” การเป็นนักธุรกิจในตลาดน่าจะมีโอกาสสำเร็จสูงกว่า ไม่ว่าจะกรณีใด การเป็นนักธุรกิจในตลาดหุ้นนั้น ดูเหมือนว่าจะทำได้ง่ายและความเสี่ยงน่าจะต่ำกว่าธุรกิจนอกตลาดหุ้น เหตุผลก็คือ ในการทำธุรกิจนอกตลาดหุ้นนั้น เรามักต้องทุ่มทุกอย่างแม้แต่จิตวิญญาณลงไปในธุรกิจ และการถอยหนีมักจะหมายถึงหายนะ ในขณะที่การทำธุรกิจในตลาดหุ้นนั้น เรามีทางเลือกมากมายและมีการกระจายธุรกิจไปในหลาย ๆ อย่าง ทั้งหมดนั้นอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า เราซื้อหุ้นในตลาดเพื่อเป็นการลงทุน “ทำธุรกิจ” ไม่ใช่การ “เล่นหุ้น”
"ผู้ทรงธรรมนั่นแหละคือผู้ทรงเกียรติ ผู้มีความดีนั่นแหละคือผู้มีทรัพย์ ผู้รู้จักพอนั่นแหละคือมหาเศรษฐี" ว.วชิรเมธี
- baby-investor
- Verified User
- โพสต์: 312
- ผู้ติดตาม: 0
นักธุรกิจร้อยล้าน / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 4
สงสัยเหมือนกันครับ ว่าท่าน ดร. เป็นนักธุรกิจพันล้านหรือยัง :?:
-
- Verified User
- โพสต์: 1049
- ผู้ติดตาม: 0
นักธุรกิจร้อยล้าน / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 10
อ่านบทความแล้ว มันใช่เลย มันโดนเลย อาจารย์
ผมได้เป็นนักธุรกิจเงินล้าน ในตลาด แล้ว เย้ๆ
ธุรกิจนอกตลาด มันลำบากจริงๆๆ อย่างที่อาจารย์บอก ง่ะ
ปล. แต่ธุรกิจนอกตลาด เราคุมธุรกิจด้วยตัวเอง ครับ แล่ะ
กำหนดได้บ้าง ไม่ได้บ้าง
ผมได้เป็นนักธุรกิจเงินล้าน ในตลาด แล้ว เย้ๆ
ธุรกิจนอกตลาด มันลำบากจริงๆๆ อย่างที่อาจารย์บอก ง่ะ
ปล. แต่ธุรกิจนอกตลาด เราคุมธุรกิจด้วยตัวเอง ครับ แล่ะ
กำหนดได้บ้าง ไม่ได้บ้าง
-
- Verified User
- โพสต์: 1252
- ผู้ติดตาม: 0
นักธุรกิจร้อยล้าน / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 12
ขอบคุณครับ ผมขอเป็นนักคิดตามท่านเจ้าสำนักครับ
ท่าน ดร. เป็นนักธุรกิจพันล้านแล้วปัดเศษเอาอ่ะครับ :lol:
ท่าน ดร. เป็นนักธุรกิจพันล้านแล้วปัดเศษเอาอ่ะครับ :lol:
- dome@perth
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4741
- ผู้ติดตาม: 1
นักธุรกิจร้อยล้าน / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 13
[quote="baby-investor"]สงสัยเหมือนกันครับ ว่าท่าน ดร. เป็นนักธุรกิจพันล้านหรือยัง
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
-
- Verified User
- โพสต์: 674
- ผู้ติดตาม: 0
นักธุรกิจร้อยล้าน / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 14
ผมว่าความสะดวกสบายส่วนตัวของคนเป็นเจ้าของธุรกิจที่ได้จากบริษัทร้อยล้านต่างหากครับที่คนสนใจ
คนขับรถรับส่ง
เลขาคอยจัดการเรื่องต่าง ๆ ให้ เช่นจองตั๋วเครื่องบิน จองโรงแรม
คนชงกาแฟให้
คนคอยจัดการคอมพิวเตอร์ ไม่ต้องแบกไปพันทิพเอง
ของขวัญปีใหม่จาก supplier
คนงานไปตัดหญ้าที่บ้าน
และอื่น ๆ อีกมากมายที่ผมก็ยังนึกไม่ออกเพราะว่าไม่ได้เป็นกับเขา
ของพวกนี้ต่อให้เป็นนักธุรกิจร้อยล้านแบบหุ้นก็ไม่มีหรือต้องทำเองหมด
จะแชร์มาเป็น % ก็คงไม่ได้
จะจ้างส่วนตัวก็ไม่คุ้ม แต่ในรูปบริษัททำได้เพราะมีงานรองรับมากพอ
ความมั่งคั่งคืออย่างเดียวที่นักธุรกิจร้อยล้านแบบหุ้นมีครับ นอกนั้นสอบตกหมด
ผมไม่ได้บอกว่าแบบไหนดีกว่ากันนะครับ
แต่สำหรับผมถ้ามีเงินมากพอ ผมก็อยากเป็นเจ้าของธุรกิจเหมือนกันแม้ว่าจะทำผลตอบแทนได้ต่ำกว่าหุ้นก็ตาม
คนขับรถรับส่ง
เลขาคอยจัดการเรื่องต่าง ๆ ให้ เช่นจองตั๋วเครื่องบิน จองโรงแรม
คนชงกาแฟให้
คนคอยจัดการคอมพิวเตอร์ ไม่ต้องแบกไปพันทิพเอง
ของขวัญปีใหม่จาก supplier
คนงานไปตัดหญ้าที่บ้าน
และอื่น ๆ อีกมากมายที่ผมก็ยังนึกไม่ออกเพราะว่าไม่ได้เป็นกับเขา
ของพวกนี้ต่อให้เป็นนักธุรกิจร้อยล้านแบบหุ้นก็ไม่มีหรือต้องทำเองหมด
จะแชร์มาเป็น % ก็คงไม่ได้
จะจ้างส่วนตัวก็ไม่คุ้ม แต่ในรูปบริษัททำได้เพราะมีงานรองรับมากพอ
ความมั่งคั่งคืออย่างเดียวที่นักธุรกิจร้อยล้านแบบหุ้นมีครับ นอกนั้นสอบตกหมด
ผมไม่ได้บอกว่าแบบไหนดีกว่ากันนะครับ
แต่สำหรับผมถ้ามีเงินมากพอ ผมก็อยากเป็นเจ้าของธุรกิจเหมือนกันแม้ว่าจะทำผลตอบแทนได้ต่ำกว่าหุ้นก็ตาม
- kmphol
- Verified User
- โพสต์: 417
- ผู้ติดตาม: 0
นักธุรกิจร้อยล้าน / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 15
การเป็นเจ้าของธุรกิจเอง ถ้าทำอย่างตั้งใจและทุ่มเทfantasia เขียน: ของพวกนี้ต่อให้เป็นนักธุรกิจร้อยล้านแบบหุ้นก็ไม่มีหรือต้องทำเองหมด
จะแชร์มาเป็น % ก็คงไม่ได้
จะจ้างส่วนตัวก็ไม่คุ้ม แต่ในรูปบริษัททำได้เพราะมีงานรองรับมากพอ
ความมั่งคั่งคืออย่างเดียวที่นักธุรกิจร้อยล้านแบบหุ้นมีครับ นอกนั้นสอบตกหมด
คงเหนื่อยมากกว่าเป็นเจ้าของหุ้นหลายเท่าตัว
โดยที่ อิสรภาพทางการเงิน ไม่แตกต่างกันมาก
แต่ อิสรภาพทางเวลา เจ้าของหุ้นก็มีมากกว่าหลายเท่าตัว
ถ้าเรามีหลายพันล้าน ความสะดวกสบายทุกอย่าง
เราหาซื้อได้ ถึงจะไม่คุ้มเหมือนอยู่ในรูปบริษัท
แต่เรารวยจนพอใจที่จะจ่ายแพงได้ ตรงนั้นก็ไม่น่ามีปัญหาอะไร ก็พอใจจะจ้าง ด้วยเงินของเราเอง โดยไม่ต้องเบียดเบียนส่วนของบริษัท
กุ
-
- Verified User
- โพสต์: 99
- ผู้ติดตาม: 0
นักธุรกิจร้อยล้าน / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 17
เป็นบทความที่มีแง่คิดดีมากครับ ทำให้เราเข้าถึงความรู้สึกของการเป็นเจ้าของธุรกิจ ไม่ใช่แค่ถือหุ้น การมีความสุขอยู่ที่เราจะคิดครับ ถ้าเราไม่พิจรณาถึงแก่นแท้ของการลงทุน เราก็จะไม่พบความสุขครับ
การซื้อหุ้น ก็คือการเข้าร่วมลงขันทำธุรกิจ
ขอบคุณอาจารย์มากครับ
การซื้อหุ้น ก็คือการเข้าร่วมลงขันทำธุรกิจ
ขอบคุณอาจารย์มากครับ
อนาคตเป็นสิ่งที่เรากำหนดได้ในวันนี้
-
- Verified User
- โพสต์: 362
- ผู้ติดตาม: 0
นักธุรกิจร้อยล้าน / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 19
ขอบคุณมากครับ ดีนะครับเนี่ยะที่ท่าน ดร. มีบทความดีๆ มาให้อ่านทุกอาทิตย์ เหมือนมีอาจารย์มาคอยตบกบาล ให้เห็นอะไรได้มากขึ้น เพราะบางทีบางเรื่องเราก็รู้ครับ แต่ลืม 555
เอ่อ..ขอบคุณคุณ oatta ด้วยครับ ที่นำมาpost ให้อ่าน
เอ่อ..ขอบคุณคุณ oatta ด้วยครับ ที่นำมาpost ให้อ่าน