ขอฝากบทความจาก website ของ KBANK ให้ช่วยกันจินตนาการ
:D :D :D :D :D :D :D :D :D :D :D :D :D :D :D :D
เศรษฐกิจเวียดนามที่เติบโตในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้คนเวียดนามมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น และความต้องการจับจ่ายใช้สอยสินค้าเพิ่มขึ้นตามไปด้วย วิถีการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะในเมืองใหญ่อย่างโฮจิมินห์ และฮานอย เปิดโอกาสให้ธุรกิจค้าปลีกเติบโตได้ดีในเวียดนาม ประกอบกับการเปิดเสรีธุรกิจจัดจำหน่ายของเวียดนามภายใต้ WTO ได้เปิดโอกาสให้ธุรกิจค้าปลีกต่างชาติรวมทั้งธุรกิจค้าปลีกไทยสามารถเข้าไปลงทุนในเวียดนามได้มากขึ้น โดยเวียดนามอนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปร่วมทุนในธุรกิจค้าปลีกได้ในสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 49 ตั้งแต่ 1 มกราคม 2550 และสามารถถือหุ้นได้ทั้งหมด (100%) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป รวมทั้งในวันที่ 1 มกราคม 2553 เวียดนามอนุญาตให้ธุรกิจค้าปลีกต่างชาติสามารถจำหน่ายสินค้าได้ทุกชนิด และยกเลิกข้อจำกัดการขยายสาขาของธุรกิจเฟรนไซส์ด้วย อย่างไรก็ตาม การเปิดเสรีธุรกิจจัดจำหน่ายของเวียดนามนำมาซึ่งโอกาสพร้อมๆ กับการแข่งขันที่รุนแรงยิ่งขึ้น ธุรกิจค้าปลีกไทยต้องเผชิญการแข่งขันกับธุรกิจค้าปลีกต่างชาติขนาดใหญ่จากหลายประเทศ เช่น เยอรมนี ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และมาเลเซีย ที่ได้เข้าไปจัดตั้งธุรกิจค้าปลีกในเวียดนามแล้ว รวมทั้งต้องแข่งขันกับธุรกิจค้าปลีกท้องถิ่นเวียดนามที่ครองตลาดในประเทศอยู่แล้วด้วย รวมทั้งต้นทุนค่าเช่าค้าปลีกและอาคารสำนักงานในเวียดนามที่อยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะพื้นที่เมืองใหญ่ของเวียดนามที่ส่งผลให้ต้นทุนทางธุรกิจเพิ่มขึ้น
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเห็นว่า บริษัทค้าปลีกขนาดใหญ่ของไทยที่มีประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจมานานและมีเงินทุนจำนวนมาก รวมทั้งมีเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจที่แข็งแกร่งน่าจะมีศักยภาพทางการแข่งขันในตลาดค้าปลีกเวียดนามและมีโอกาสขยายธุรกิจห้างสรรพสินค้าหรือศูนย์การค้าในเวียดนามได้ โดยอาศัยความได้เปรียบจากการเป็นประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียนที่มีวัฒนธรรมใกล้เคียงกัน นอกจากนี้สินค้าที่นำเข้าจากไทยไปจำหน่ายในเวียดนามยังได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีภายใต้กรอบอาฟต้าด้วย จึงถือเป็นข้อได้เปรียบของธุรกิจค้าปลีกไทยเมื่อเทียบกับค้าปลีกชาติตะวันตก ทั้งนี้ การจัดตั้งห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้าของไทยยังถือเป็นช่องทางที่มีศักยภาพในการช่วยกระจายสินค้าและบริการของไทยในตลาดเวียดนามได้เป็นอย่างดีด้วย
นอกจากนี้ธุรกิจไทยอาจเข้าไปลงทุนในธุรกิจค้าปลีกเฉพาะด้านในเวียดนาม โดยอาศัยประโยชน์จากการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการในเวียดนาม เข่น การจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์/ของตกแต่ง หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อรองรับการขยายตัวอย่างรวดเร็วของภาคก่อสร้างและภาคอสังหาริมทรัพย์ในเวียดนาม โดยอาจหาพันธมิตรร่วมทุนชาวเวียดนามที่มีฐานทางธุรกิจค้าปลีกอยู่แล้ว เพื่อประโยชน์ด้านเครือข่ายการจำหน่ายสินค้า แต่สินค้าจำหน่ายของธุรกิจค้าปลีกไทยควรยึดตลาดระดับบน เจาะกลุ่มคนเวียดนามที่มีกำลังซื้อและคนต่างชาติที่เข้าไปทำงาน/นักลงทุนต่างชาติในเวียดนาม โดยเน้นการสร้างแบรนด์และการออกแบบ เพื่อหนีการแข่งขันกับสินค้าที่ผลิตในเวียดนามหรือสินค้านำเข้าที่ราคาถูกกว่าจากประเทศจีน
ทั้งนี้ นอกจากการคำนึงถึงภาวะการแข่งขันที่รุนแรงในตลาดค้าปลีกเวียดนามและค่าเช่าค้าปลีกที่อยู่ในระดับสูงแล้ว การให้ความสำคัญกับความต้องการของตลาดในแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกันของเวียดนาม การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค รวมถึงธรรมเนียมและวัฒนธรรมของเวียดนามเป็นสิ่งสำคัญต่อโครงสร้างการจัดซื้อและการกระจายสินค้าของธุรกิจค้าปลีก เพราะแม้ว่าปัจจุบันเศรษฐกิจเวียดนามจะขยายตัวอย่างรวดเร็วและวิถีชีวิตของคนเวียดนามจะเปลี่ยนแปลงไปมากขึ้นก็ตาม แต่ปัจจุบันคนเวียดนามก็ยังยึดถือธรรมเนียมวัฒนธรรมดั้งเดิมอยู่ค่อนข้างสูง
จินตนาการสำคัญกว่าความรู้
- konkaikong
- Verified User
- โพสต์: 82
- ผู้ติดตาม: 0
จินตนาการสำคัญกว่าความรู้
โพสต์ที่ 1
วันนี้คุณมีรองเท้าแล้วหรือยัง
- konkaikong
- Verified User
- โพสต์: 82
- ผู้ติดตาม: 0
จินตนาการสำคัญกว่าความรู้
โพสต์ที่ 2
เอามาจาก web ของ SAIGON TIME ครับ พูดถึง MODERN TRADE ที่เวียดนาม
SOURCE : http://english.thesaigontimes.vn/Home/b ... nomy/1801/ (PUBLISHED 30 OCT 2008)
:D :D :D :D :D :D :D
HCMC - Vietnams retail market has seen a modern trade evolution this year as sales through this channel grew 45% last year compared to the previous year, according to a Nielson report.
The annual Vietnam Grocery report provides a comprehensive overview of the retail market from 2006 up to now by integrating information from the full range of Nielsen research services and statistics and the Vietnamese Government.
Sales through modern trade stores contributed to total Fast Moving Consumer Good (FMCG) sales across Vietnam at 10% by the end of last year.
Asha Phillips, manager of communications and marketing of the Vietnam-based Nielsen Company, said all supermarkets, both local and international, had increased their store coverage dramatically over the last year.
There are 394 modern trade outlets in Vietnam, up to 22% from last year. Meanwhile, the frequency of visiting supermarkets has increased in the past few years, with 43% shoppers in HCMC visiting supermarkets weekly, he said.
The survey shows more shoppers visited supermarkets in any month in 2007, up to 3% from 2006.
Supermarkets now remain the most important channel for personal care and household products. Currently, personal care categories in particular seem to be increasing their importance in modern trade with sale contribution from 14.6% in 2007 to almost 18% this year.
According to Nielsens research, store accessibility is the key driver of store choice and is a key driver of Co.opMarts success while Metro Cash & Carry is renowned for its lower price offering.
According to the survey, the traditional trade continued to play a key role in the everyday lives of Vietnamese consumers, accounting for 68% of total grocery sales. Due to Vietnamese cuisine, fresh food dominates the monthly grocery budget at 70% or US$168 per month.
Phillips said Vietnamese shoppers still see the wet market as the best outlet for freshness and price for their daily essentials. Thus, they saw shoppers using the wet markets almost daily and the supermarket fortnightly.
Nielsen said the current economic crisis in the U.S. and the global stock market uncertainty had led to consumer confidence dropping dramatically worldwide in the latest quarter in 2008.
In Vietnam, consumer confidence has also dropped to the lowest level of 96 ever since Nielsens Global Consumer Confidence survey that begun tin Vietnam in 2005. That compares to a global consumer confidence record low of 88.
The survey shows that due to inflation and economic burdens, around 77% of consumers claimed they have changed their store choice because of the rising prices. Consumers said they were shopping less at modern trade stores than traditional markets.
SOURCE : http://english.thesaigontimes.vn/Home/b ... nomy/1801/ (PUBLISHED 30 OCT 2008)
:D :D :D :D :D :D :D
HCMC - Vietnams retail market has seen a modern trade evolution this year as sales through this channel grew 45% last year compared to the previous year, according to a Nielson report.
The annual Vietnam Grocery report provides a comprehensive overview of the retail market from 2006 up to now by integrating information from the full range of Nielsen research services and statistics and the Vietnamese Government.
Sales through modern trade stores contributed to total Fast Moving Consumer Good (FMCG) sales across Vietnam at 10% by the end of last year.
Asha Phillips, manager of communications and marketing of the Vietnam-based Nielsen Company, said all supermarkets, both local and international, had increased their store coverage dramatically over the last year.
There are 394 modern trade outlets in Vietnam, up to 22% from last year. Meanwhile, the frequency of visiting supermarkets has increased in the past few years, with 43% shoppers in HCMC visiting supermarkets weekly, he said.
The survey shows more shoppers visited supermarkets in any month in 2007, up to 3% from 2006.
Supermarkets now remain the most important channel for personal care and household products. Currently, personal care categories in particular seem to be increasing their importance in modern trade with sale contribution from 14.6% in 2007 to almost 18% this year.
According to Nielsens research, store accessibility is the key driver of store choice and is a key driver of Co.opMarts success while Metro Cash & Carry is renowned for its lower price offering.
According to the survey, the traditional trade continued to play a key role in the everyday lives of Vietnamese consumers, accounting for 68% of total grocery sales. Due to Vietnamese cuisine, fresh food dominates the monthly grocery budget at 70% or US$168 per month.
Phillips said Vietnamese shoppers still see the wet market as the best outlet for freshness and price for their daily essentials. Thus, they saw shoppers using the wet markets almost daily and the supermarket fortnightly.
Nielsen said the current economic crisis in the U.S. and the global stock market uncertainty had led to consumer confidence dropping dramatically worldwide in the latest quarter in 2008.
In Vietnam, consumer confidence has also dropped to the lowest level of 96 ever since Nielsens Global Consumer Confidence survey that begun tin Vietnam in 2005. That compares to a global consumer confidence record low of 88.
The survey shows that due to inflation and economic burdens, around 77% of consumers claimed they have changed their store choice because of the rising prices. Consumers said they were shopping less at modern trade stores than traditional markets.
วันนี้คุณมีรองเท้าแล้วหรือยัง
- konkaikong
- Verified User
- โพสต์: 82
- ผู้ติดตาม: 0
จินตนาการสำคัญกว่าความรู้
โพสต์ที่ 3
อันนี้ล่าสุด เป็นภาษาไทย จาก webiste www.bangkokbiznews.com
ลงเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2552
ขอขอบคุณ กรุงเทพธุรกิจ ที่ออกบทความดีๆ มาให้อ่านกันครับ
:D :D :D :D :D :D :D
2 ปีก่อน แฟรนไชส์ไก่ทอดยอดนิยม เคเอฟซี มีเพียง 17 สาขาในเวียดนาม แต่วันนี้ผู้พันแซนเดอร์ส ยืนตระหง่านอยู่ในดินแดนนี้มากถึง 55 สาขาแล้ว
ขณะที่แฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อ "แฟมิลี่มาร์ท" ซึ่งใหญ่ติด 1 ใน 3 ของประเทศญี่ปุ่น กำลังจะเปิดสาขาแรกที่เวียดนาม และตั้งเป้าที่จะขยายสาขาไปถึง 300 สาขา ในปี 2014 นี้ ...มีอะไรดีที่เวียดนาม ถ้าคิดจะลงทุนต้องเตรียมใจกับอะไรบ้าง กรุงเทพธุรกิจ BizWeek มีคำตอบ
เก็บตกจากเวทีสัมมนา กลยุทธ์การเจาะตลาดแฟรนไชส์ในประเทศเวียดนาม ของ สำนักส่งเสริมธุรกิจบริการ กรมส่งเสริมการส่งออก กับเคล็ดไม่ลับ ของแฟรนไชส์ไทยที่คิดจะไปแผ่ขยายสาขาในเวียดนาม เช่นเดียวกับถนนทุกสายทั่วโลกที่มุ่งไปประเทศเดียวกันนี้
มีอะไรน่าสนใจในเวียดนาม ตัวเลขการลงทุนของประเทศนี้ถึงเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จากข้อมูลการลงทุนในเวียดนาม ระบุเฉพาะภายในปี 2551 มีนักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนในเวียดนามแล้วนับรวมมูลค่าถึง 60.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นจำนวน 1,171 โครงการ
สำหรับโครงการลงทุนของไทยในเวียดนามเริ่มตั้งแต่ปี 2531 ผ่านมาถึงวันนี้ (ข้อมูล ณ วันที่ 22 ธ.ค. 2551) มีทั้งสิ้น 192 โครงการ เงินลงทุนรวม 5.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ สูงเป็นอันดับที่ 12 ของนักลงทุนต่างชาติทั้งหมดในเวียดนาม และเป็นอันดับที่ 4 ในอาเซียน รองจากสิงคโปร์ มาเลเซีย และบรูไน (ที่มา : กระทรวงการวางแผนและการลงทุนเวียดนาม รวบรวมโดย กรมส่งเสริมการส่งออก)
หนึ่งในการลงทุนที่น่าสนใจ มีชื่อของธุรกิจแฟรนไชส์รวมอยู่ด้วย นายอัลเบิร์ต คอง (Albert Kong) ประธานบริษัท เอเชียไวด์ แฟรนไชส์ คอนซัลแทนส์ จำกัด บริษัทที่ปรึกษาด้านแฟรนไชส์ เหยาะความน่าสนใจในธุรกิจนี้ ว่า จากศักยภาพของเวียดนาม ที่ยังใหม่ขบเผาะ เศรษฐกิจดี จีดีพีที่ยังโตต่อเนื่อง โดยปีที่แล้วโตถึง 6.3% ตลาดเต็มไปด้วยคนรุ่นใหม่ มีคนในวัยต่ำกว่า 30 ปี ถึง 58% คนที่นี่จึงยังใจกว้างและเปิดรับแบรนด์หลากหลายจากทั่วโลก
เวียดนามกลายเป็นประเทศที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีแฟรนไชส์จำนวนมากพุ่งเป้าไปที่นั่น เพื่อหวังพัฒนาประเทศ
แฟรนไชส์ค้าปลีกและส่งยังมีศักยภาพสูงที่เวียดนาม ล่าสุดร้านสะดวกซื้อ "แฟมิลี่มาร์ท" ที่มีขนาดใหญ่ 1 ใน 3 ของประเทศญี่ปุ่น ก็มาเปิดสาขาที่นี่ ซึ่งผู้บริหารแฟมิลี่มาร์ท ประกาศเป้าหมายที่จะขยายไปถึง 300 สาขาในอีก 5 ปี ข้างหน้า
ขณะที่ไฮเปอร์มาร์เก็ตชื่อดัง อย่าง บิ๊กซี , Metro Cash&Carry และ Lotte Mart ก็วางแผนที่จะรุ่งในเวียดนาม ซึ่งปัจจุบันเวียดนามมีซูเปอร์มาร์เก็ตแล้ว 400 แห่ง ศูนย์การค้าอีก 60 แห่ง และร้านสะดวกซื้อ 2,000 แห่ง ทั่วประเทศ ธุรกิจร้านค้าปลีกมีมูลค่าสูงถึง 58 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ เติบโตเพิ่มขึ้นถึงปีละ 31%
แม้เวียดนามยังใหม่สำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ แต่ก็มีไม่น้อยรายที่ประสบความสำเร็จ อย่าง เคเอฟซี, Lotteria รวมถึงแฟรนไชส์ท้องถิ่นระดับแถวหน้า อย่าง PHO 24 (เฝอ 24) เป็นต้น
"2 ปีก่อน เคเอฟซี ในเวียดนาม มีเพียง 17 สาขา แต่ 2 ปีผ่านมามีถึง 55 สาขาแล้ว คนเวียดนามใช้จ่ายไปกับแฮมเบอร์เกอร์ของร้าน Lotteria ตกประมาณ 50,000 ด่อง ซึ่งสูงเป็น 2-4 เท่า ของอาหารท้องถิ่น
จากผลสำรวจของ Nielsen 8% ของคนเวียดนาม ชอบเข้าร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดของต่างชาติ มากถึง 1-3 ครั้งต่อเดือน เพราะมองว่ามันเท่"
นี่คือความน่าสนใจที่เกิดขึ้น แต่ไม่ใช่ใครก็จะเข้าไปทำธุรกิจแฟรนไชส์ในเวียดนามได้ และไม่ใช่ทุกรายที่จะประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะผู้ประกอบการจากไทย ที่ล้มหมอนนอนเสื่อไปก็หลายรายแล้ว
ผู้บริหารบริษัทที่ปรึกษาแฟรนไชส์บอกเราว่า แม้จะยังใหม่ในธุรกิจแฟรนไชส์ แต่เวียดนามก็มี "กฎหมายแฟรนไชส์" ใช้กันแล้ว เริ่มมาตั้งแต่วันที่ 31 มี.ค.2006 ขณะที่หลายๆ ประเทศในเอเชีย รวมถึงไทย ยังตามหลังไกลในเรื่องนี้ โดยเวียดนามได้รับอิทธิพลมาจากจีน จากการที่จีนมีกฎหมายแฟรนไชส์มาก่อน เวียดนามจึงอยากทำอะไรให้มันถูกต้อง
ความชัดเจนทั้งแง่ของกฎหมาย และการวางกรอบเงื่อนไขที่รัดกุม ทำให้ผู้ประกอบการที่คิดไปลงทุนธุรกิจนี้ในเวียดนามต้องศึกษากันให้มากขึ้น
"คนที่จะเปิดแฟรนไชส์ที่เวียดนามได้ ก็ต้องดำเนินกิจการมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี และต้องทำตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ อย่าง แฟรนไชซอร์ต้องมีใบอนุญาตประกอบการค้า มีสัญญาการใช้สิทธิแฟรนไชส์ สัญญาการถ่ายทอดเทคนิคด้านบริหารจัดการ สัญญาเกี่ยวกับการเงิน และสัญญาเกี่ยวกับความลับทางการค้า แฟรนไชซอร์ ต้องเตรียมคู่มือให้แฟรนไชซี อย่างการฝึกอบรม ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคการปฏิบัติที่เป็นมาตรฐาน มีโนฮาวในกับแฟรนไชซี
และเมื่อสัญญาหยุดลงแฟรนไชซี ต้องหยุดใช้เครื่องหมายการค้า และทรัพย์สินทางปัญญาต่างๆ ที่มีในสัญญา เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งที่เขาต้องมีกฎหมายขึ้นมาก็เพื่อป้องกันการฉ้อโกง และทำให้มั่นใจว่าทรัพย์สินทางปัญญาเป็นของแฟรนไชซอร์จริงๆ ไม่ได้โกงใครมา"
ทริคเล็กๆ ที่เขาฝากไว้ คือ การทำสัญญากับคนเวียดนาม ตามกฎหมายจะถือภาษาเวียดนามเป็นหลัก ฉะนั้นการแปลงภาษาอื่นเป็นภาษาเวียดนามก็ให้มั่นใจไว้ด้วยว่าจะถูกต้องเพื่อไม่ให้มีปัญหาในภายหลังได้ ขณะที่แต่ละรัฐมีกฎหมายของตัวเอง และกฎหมายที่บังคับใช้ในรัฐหนึ่งรัฐใดอาจไม่ถูกบังคับในอีกรัฐได้ฉะนั้นต้องศึกษาตรวจสอบและทำเรื่องพวกนี้ให้ถูกต้องด้วย
รวมถึงการทำความรู้จักกับกลุ่มที่เรียกว่า "SATRA GROUP" ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลในเวียดนาม เขาแนะนำว่า ใครจะเข้าไปลงทุนที่เวียดนามอาจต้องทำความรู้จักเอาไว้ เพราะกลุ่มนี้มีความเก่งและเชี่ยวชาญ โดยเฉพาะเรื่องข้อกฎหมายต่างๆ ที่จะทำให้ผู้ประกอบการลดปัญหาความยุ่งยากต่างๆ ลงได้
แล้วแฟรนไชส์แบบไหนจึงจะประสบความสำเร็จที่นี้ นายเทรเวอร์ แมคเคนซี (Trevor MacKenzie) ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท เอ็กซ์ควิซีน ซิสเท็ม จำกัด Marketing Arm ของ บริษัทโคคา โฮลดิ้งอินเตอร์ เนชั่นแนล จำกัด บอกว่า การนำแบรนด์ "โคคา" หนึ่งในแฟรนไชส์อมตะสายพันธุ์ไทยไปบุกเบิกที่ประเทศเวียดนาม มาจากเหตุผลสำคัญที่มองเวียดนามเป็นประเทศใกล้ชิดกับคนไทย กระทั่งพฤติกรรมการบริโภคก็ใกล้เคียงกัน
ขณะที่เวียดนามมีกฎหมายแฟรนไชส์ และมีการเปลี่ยนแปลงทุกๆ เดือน ทำให้กฎหมายมีการพัฒนาและทันสมัยอยู่ตลอดเวลา รวมถึงการเป็นประเทศที่มีกำลังซื้อ เศรษฐกิจยังดี ที่สำคัญเปิดประเทศเพื่อต้อนรับแบรนด์ต่างๆ จากทั่วโลก
สิ่งเหล่านั้นสนับสนุนการทำธุรกิจของโคคา แต่นั่นก็ไม่สำคัญเท่าการ "รู้เขา-รู้เรา" รู้จักคนเวียดนามให้มากที่สุดก่อนไปเริ่มกิจการ
นายแมคเคนซี บอกเราว่า คนเวียดนามถึง 80% ที่อายุต่ำกว่า 40 ปี และจำนวนมากที่ออกไปแสวงหาโอกาสในต่างประเทศ แล้วกลับเข้ามาทำธุรกิจในเวียดนาม คนกลุ่มนี้จึงมีความเป็นคนรุ่นใหม่ ที่รับเอาวัฒนธรรมใหม่ๆ เข้ามา นี่คือสิ่งที่จะกำหนดเกมธุรกิจของโคคาไปด้วย
"คนเวียดนามชอบอะไรแปลกๆ ใหม่ๆ ธุรกิจของเราจึงต้องปรับตัวเพื่อรับคนกลุ่มนี้ อย่างเช่น การทำโปรโมชั่นสินค้าใหม่อย่างต่อเนื่อง จากที่ขายมา พบว่าถ้าไม่ทำโปรโมชั่น ภายใน 6-8 สัปดาห์ ยอดขายสินค้าตัวนั้นจะตกลง แต่ถ้าทำโปรโมชั่นตัวเลขก็จะยังคงที่ เราพยายามทำเมนูให้แตกต่างและหลากหลาย ซึ่งโคคาในไทยอาจมีเมนูที่น้อยกว่าเวียดนามก็ได้ เพราะคนที่นั่นเขาชอบอะไรที่มันแปลกๆ ใหม่ๆ"
ในมุมของการเป็นแฟรนไชซี เขามองว่า ด้วยความมีกลุ่มคนรุ่นใหม่อยู่จำนวนมาก ทำให้คนเวียดนามมีความกระตือรือร้นที่จะทำธุรกิจ เพราะเชื่อว่าสามารถเปลี่ยนแปลงประเทศของเขาได้ จากการเป็นนักแสวงหาในหลายๆ ประเทศ ทำให้คนเวียดนามพูดได้หลายภาษา ขณะที่ศักยภาพของประเทศบ้านใกล้เรือนเคียง ทำให้การเดินทางจากไทยทำได้สะดวกสบาย และสนับสนุนระบบโลจิสติกส์ ที่ทำได้ง่ายและรวดเร็ว ทั้งทางทะเล และเครื่องบิน
อย่างไรก็ตาม เขาแนะนำว่า ผู้ที่จะเข้าไปลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ ให้เลือกเฟ้นพาร์ทเนอร์ที่ดี และต้องใช้เวลาในการเลือก อย่าเร่งร้อน อย่าง โคคาเอง พวกเขาต้องใช้เวลาถึง 1 ปีครึ่ง เพื่อจะได้พาร์ทเนอร์ที่ดีที่สุด จากช่วงเริ่มต้นมีคนสนใจถึง 15-20 ราย แต่นานๆ ไป คนกลุ่มนี้ก็หายไปหมด แฟรนไชซอร์จึงต้องใจเย็นๆ และใช้เวลาเพื่อเลือกพาร์ทเนอร์ที่ดีและมุ่งมั่นที่จะทำธุรกิจร่วมกันจริงๆ
สิ่งหนึ่งที่ต้องทำใจคือ คนเวียดนามมีแต่เงินแต่อาจยังไม่รู้เรื่องตลาดดีพอ ดังนั้นแฟรนไชส์ซอร์ต้องศึกษาให้มากๆ และพูดคุยเพื่อทำความเข้าใจในทิศทางที่ตรงกัน รวมถึงเลือกมองตลาดที่แท้จริง
ไม่ใช่เข้าไปในตลาดที่เพิ่งบูม หรือแห่ไปตามกระแส เท่านี้ก็จะประสบความสำเร็จในประเทศที่ยังสดใสสำหรับธุรกิจแฟรนไชส์อย่างเวียดนามได้
"ประชากรเขาตื่นเต้นที่จะทำให้ประเทศโตขึ้น เวียดนามในวันนี้ก็เหมือนกับไทยเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ดังนั้นประสบการณ์ต่างๆ ที่เราได้เรียนรู้มาแล้วก็สามารถนำไปปรับใช้กับที่นี่ได้เช่นกัน"
ลงเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2552
ขอขอบคุณ กรุงเทพธุรกิจ ที่ออกบทความดีๆ มาให้อ่านกันครับ
:D :D :D :D :D :D :D
2 ปีก่อน แฟรนไชส์ไก่ทอดยอดนิยม เคเอฟซี มีเพียง 17 สาขาในเวียดนาม แต่วันนี้ผู้พันแซนเดอร์ส ยืนตระหง่านอยู่ในดินแดนนี้มากถึง 55 สาขาแล้ว
ขณะที่แฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อ "แฟมิลี่มาร์ท" ซึ่งใหญ่ติด 1 ใน 3 ของประเทศญี่ปุ่น กำลังจะเปิดสาขาแรกที่เวียดนาม และตั้งเป้าที่จะขยายสาขาไปถึง 300 สาขา ในปี 2014 นี้ ...มีอะไรดีที่เวียดนาม ถ้าคิดจะลงทุนต้องเตรียมใจกับอะไรบ้าง กรุงเทพธุรกิจ BizWeek มีคำตอบ
เก็บตกจากเวทีสัมมนา กลยุทธ์การเจาะตลาดแฟรนไชส์ในประเทศเวียดนาม ของ สำนักส่งเสริมธุรกิจบริการ กรมส่งเสริมการส่งออก กับเคล็ดไม่ลับ ของแฟรนไชส์ไทยที่คิดจะไปแผ่ขยายสาขาในเวียดนาม เช่นเดียวกับถนนทุกสายทั่วโลกที่มุ่งไปประเทศเดียวกันนี้
มีอะไรน่าสนใจในเวียดนาม ตัวเลขการลงทุนของประเทศนี้ถึงเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จากข้อมูลการลงทุนในเวียดนาม ระบุเฉพาะภายในปี 2551 มีนักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนในเวียดนามแล้วนับรวมมูลค่าถึง 60.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นจำนวน 1,171 โครงการ
สำหรับโครงการลงทุนของไทยในเวียดนามเริ่มตั้งแต่ปี 2531 ผ่านมาถึงวันนี้ (ข้อมูล ณ วันที่ 22 ธ.ค. 2551) มีทั้งสิ้น 192 โครงการ เงินลงทุนรวม 5.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ สูงเป็นอันดับที่ 12 ของนักลงทุนต่างชาติทั้งหมดในเวียดนาม และเป็นอันดับที่ 4 ในอาเซียน รองจากสิงคโปร์ มาเลเซีย และบรูไน (ที่มา : กระทรวงการวางแผนและการลงทุนเวียดนาม รวบรวมโดย กรมส่งเสริมการส่งออก)
หนึ่งในการลงทุนที่น่าสนใจ มีชื่อของธุรกิจแฟรนไชส์รวมอยู่ด้วย นายอัลเบิร์ต คอง (Albert Kong) ประธานบริษัท เอเชียไวด์ แฟรนไชส์ คอนซัลแทนส์ จำกัด บริษัทที่ปรึกษาด้านแฟรนไชส์ เหยาะความน่าสนใจในธุรกิจนี้ ว่า จากศักยภาพของเวียดนาม ที่ยังใหม่ขบเผาะ เศรษฐกิจดี จีดีพีที่ยังโตต่อเนื่อง โดยปีที่แล้วโตถึง 6.3% ตลาดเต็มไปด้วยคนรุ่นใหม่ มีคนในวัยต่ำกว่า 30 ปี ถึง 58% คนที่นี่จึงยังใจกว้างและเปิดรับแบรนด์หลากหลายจากทั่วโลก
เวียดนามกลายเป็นประเทศที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีแฟรนไชส์จำนวนมากพุ่งเป้าไปที่นั่น เพื่อหวังพัฒนาประเทศ
แฟรนไชส์ค้าปลีกและส่งยังมีศักยภาพสูงที่เวียดนาม ล่าสุดร้านสะดวกซื้อ "แฟมิลี่มาร์ท" ที่มีขนาดใหญ่ 1 ใน 3 ของประเทศญี่ปุ่น ก็มาเปิดสาขาที่นี่ ซึ่งผู้บริหารแฟมิลี่มาร์ท ประกาศเป้าหมายที่จะขยายไปถึง 300 สาขาในอีก 5 ปี ข้างหน้า
ขณะที่ไฮเปอร์มาร์เก็ตชื่อดัง อย่าง บิ๊กซี , Metro Cash&Carry และ Lotte Mart ก็วางแผนที่จะรุ่งในเวียดนาม ซึ่งปัจจุบันเวียดนามมีซูเปอร์มาร์เก็ตแล้ว 400 แห่ง ศูนย์การค้าอีก 60 แห่ง และร้านสะดวกซื้อ 2,000 แห่ง ทั่วประเทศ ธุรกิจร้านค้าปลีกมีมูลค่าสูงถึง 58 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ เติบโตเพิ่มขึ้นถึงปีละ 31%
แม้เวียดนามยังใหม่สำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ แต่ก็มีไม่น้อยรายที่ประสบความสำเร็จ อย่าง เคเอฟซี, Lotteria รวมถึงแฟรนไชส์ท้องถิ่นระดับแถวหน้า อย่าง PHO 24 (เฝอ 24) เป็นต้น
"2 ปีก่อน เคเอฟซี ในเวียดนาม มีเพียง 17 สาขา แต่ 2 ปีผ่านมามีถึง 55 สาขาแล้ว คนเวียดนามใช้จ่ายไปกับแฮมเบอร์เกอร์ของร้าน Lotteria ตกประมาณ 50,000 ด่อง ซึ่งสูงเป็น 2-4 เท่า ของอาหารท้องถิ่น
จากผลสำรวจของ Nielsen 8% ของคนเวียดนาม ชอบเข้าร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดของต่างชาติ มากถึง 1-3 ครั้งต่อเดือน เพราะมองว่ามันเท่"
นี่คือความน่าสนใจที่เกิดขึ้น แต่ไม่ใช่ใครก็จะเข้าไปทำธุรกิจแฟรนไชส์ในเวียดนามได้ และไม่ใช่ทุกรายที่จะประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะผู้ประกอบการจากไทย ที่ล้มหมอนนอนเสื่อไปก็หลายรายแล้ว
ผู้บริหารบริษัทที่ปรึกษาแฟรนไชส์บอกเราว่า แม้จะยังใหม่ในธุรกิจแฟรนไชส์ แต่เวียดนามก็มี "กฎหมายแฟรนไชส์" ใช้กันแล้ว เริ่มมาตั้งแต่วันที่ 31 มี.ค.2006 ขณะที่หลายๆ ประเทศในเอเชีย รวมถึงไทย ยังตามหลังไกลในเรื่องนี้ โดยเวียดนามได้รับอิทธิพลมาจากจีน จากการที่จีนมีกฎหมายแฟรนไชส์มาก่อน เวียดนามจึงอยากทำอะไรให้มันถูกต้อง
ความชัดเจนทั้งแง่ของกฎหมาย และการวางกรอบเงื่อนไขที่รัดกุม ทำให้ผู้ประกอบการที่คิดไปลงทุนธุรกิจนี้ในเวียดนามต้องศึกษากันให้มากขึ้น
"คนที่จะเปิดแฟรนไชส์ที่เวียดนามได้ ก็ต้องดำเนินกิจการมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี และต้องทำตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ อย่าง แฟรนไชซอร์ต้องมีใบอนุญาตประกอบการค้า มีสัญญาการใช้สิทธิแฟรนไชส์ สัญญาการถ่ายทอดเทคนิคด้านบริหารจัดการ สัญญาเกี่ยวกับการเงิน และสัญญาเกี่ยวกับความลับทางการค้า แฟรนไชซอร์ ต้องเตรียมคู่มือให้แฟรนไชซี อย่างการฝึกอบรม ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคการปฏิบัติที่เป็นมาตรฐาน มีโนฮาวในกับแฟรนไชซี
และเมื่อสัญญาหยุดลงแฟรนไชซี ต้องหยุดใช้เครื่องหมายการค้า และทรัพย์สินทางปัญญาต่างๆ ที่มีในสัญญา เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งที่เขาต้องมีกฎหมายขึ้นมาก็เพื่อป้องกันการฉ้อโกง และทำให้มั่นใจว่าทรัพย์สินทางปัญญาเป็นของแฟรนไชซอร์จริงๆ ไม่ได้โกงใครมา"
ทริคเล็กๆ ที่เขาฝากไว้ คือ การทำสัญญากับคนเวียดนาม ตามกฎหมายจะถือภาษาเวียดนามเป็นหลัก ฉะนั้นการแปลงภาษาอื่นเป็นภาษาเวียดนามก็ให้มั่นใจไว้ด้วยว่าจะถูกต้องเพื่อไม่ให้มีปัญหาในภายหลังได้ ขณะที่แต่ละรัฐมีกฎหมายของตัวเอง และกฎหมายที่บังคับใช้ในรัฐหนึ่งรัฐใดอาจไม่ถูกบังคับในอีกรัฐได้ฉะนั้นต้องศึกษาตรวจสอบและทำเรื่องพวกนี้ให้ถูกต้องด้วย
รวมถึงการทำความรู้จักกับกลุ่มที่เรียกว่า "SATRA GROUP" ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลในเวียดนาม เขาแนะนำว่า ใครจะเข้าไปลงทุนที่เวียดนามอาจต้องทำความรู้จักเอาไว้ เพราะกลุ่มนี้มีความเก่งและเชี่ยวชาญ โดยเฉพาะเรื่องข้อกฎหมายต่างๆ ที่จะทำให้ผู้ประกอบการลดปัญหาความยุ่งยากต่างๆ ลงได้
แล้วแฟรนไชส์แบบไหนจึงจะประสบความสำเร็จที่นี้ นายเทรเวอร์ แมคเคนซี (Trevor MacKenzie) ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท เอ็กซ์ควิซีน ซิสเท็ม จำกัด Marketing Arm ของ บริษัทโคคา โฮลดิ้งอินเตอร์ เนชั่นแนล จำกัด บอกว่า การนำแบรนด์ "โคคา" หนึ่งในแฟรนไชส์อมตะสายพันธุ์ไทยไปบุกเบิกที่ประเทศเวียดนาม มาจากเหตุผลสำคัญที่มองเวียดนามเป็นประเทศใกล้ชิดกับคนไทย กระทั่งพฤติกรรมการบริโภคก็ใกล้เคียงกัน
ขณะที่เวียดนามมีกฎหมายแฟรนไชส์ และมีการเปลี่ยนแปลงทุกๆ เดือน ทำให้กฎหมายมีการพัฒนาและทันสมัยอยู่ตลอดเวลา รวมถึงการเป็นประเทศที่มีกำลังซื้อ เศรษฐกิจยังดี ที่สำคัญเปิดประเทศเพื่อต้อนรับแบรนด์ต่างๆ จากทั่วโลก
สิ่งเหล่านั้นสนับสนุนการทำธุรกิจของโคคา แต่นั่นก็ไม่สำคัญเท่าการ "รู้เขา-รู้เรา" รู้จักคนเวียดนามให้มากที่สุดก่อนไปเริ่มกิจการ
นายแมคเคนซี บอกเราว่า คนเวียดนามถึง 80% ที่อายุต่ำกว่า 40 ปี และจำนวนมากที่ออกไปแสวงหาโอกาสในต่างประเทศ แล้วกลับเข้ามาทำธุรกิจในเวียดนาม คนกลุ่มนี้จึงมีความเป็นคนรุ่นใหม่ ที่รับเอาวัฒนธรรมใหม่ๆ เข้ามา นี่คือสิ่งที่จะกำหนดเกมธุรกิจของโคคาไปด้วย
"คนเวียดนามชอบอะไรแปลกๆ ใหม่ๆ ธุรกิจของเราจึงต้องปรับตัวเพื่อรับคนกลุ่มนี้ อย่างเช่น การทำโปรโมชั่นสินค้าใหม่อย่างต่อเนื่อง จากที่ขายมา พบว่าถ้าไม่ทำโปรโมชั่น ภายใน 6-8 สัปดาห์ ยอดขายสินค้าตัวนั้นจะตกลง แต่ถ้าทำโปรโมชั่นตัวเลขก็จะยังคงที่ เราพยายามทำเมนูให้แตกต่างและหลากหลาย ซึ่งโคคาในไทยอาจมีเมนูที่น้อยกว่าเวียดนามก็ได้ เพราะคนที่นั่นเขาชอบอะไรที่มันแปลกๆ ใหม่ๆ"
ในมุมของการเป็นแฟรนไชซี เขามองว่า ด้วยความมีกลุ่มคนรุ่นใหม่อยู่จำนวนมาก ทำให้คนเวียดนามมีความกระตือรือร้นที่จะทำธุรกิจ เพราะเชื่อว่าสามารถเปลี่ยนแปลงประเทศของเขาได้ จากการเป็นนักแสวงหาในหลายๆ ประเทศ ทำให้คนเวียดนามพูดได้หลายภาษา ขณะที่ศักยภาพของประเทศบ้านใกล้เรือนเคียง ทำให้การเดินทางจากไทยทำได้สะดวกสบาย และสนับสนุนระบบโลจิสติกส์ ที่ทำได้ง่ายและรวดเร็ว ทั้งทางทะเล และเครื่องบิน
อย่างไรก็ตาม เขาแนะนำว่า ผู้ที่จะเข้าไปลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ ให้เลือกเฟ้นพาร์ทเนอร์ที่ดี และต้องใช้เวลาในการเลือก อย่าเร่งร้อน อย่าง โคคาเอง พวกเขาต้องใช้เวลาถึง 1 ปีครึ่ง เพื่อจะได้พาร์ทเนอร์ที่ดีที่สุด จากช่วงเริ่มต้นมีคนสนใจถึง 15-20 ราย แต่นานๆ ไป คนกลุ่มนี้ก็หายไปหมด แฟรนไชซอร์จึงต้องใจเย็นๆ และใช้เวลาเพื่อเลือกพาร์ทเนอร์ที่ดีและมุ่งมั่นที่จะทำธุรกิจร่วมกันจริงๆ
สิ่งหนึ่งที่ต้องทำใจคือ คนเวียดนามมีแต่เงินแต่อาจยังไม่รู้เรื่องตลาดดีพอ ดังนั้นแฟรนไชส์ซอร์ต้องศึกษาให้มากๆ และพูดคุยเพื่อทำความเข้าใจในทิศทางที่ตรงกัน รวมถึงเลือกมองตลาดที่แท้จริง
ไม่ใช่เข้าไปในตลาดที่เพิ่งบูม หรือแห่ไปตามกระแส เท่านี้ก็จะประสบความสำเร็จในประเทศที่ยังสดใสสำหรับธุรกิจแฟรนไชส์อย่างเวียดนามได้
"ประชากรเขาตื่นเต้นที่จะทำให้ประเทศโตขึ้น เวียดนามในวันนี้ก็เหมือนกับไทยเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ดังนั้นประสบการณ์ต่างๆ ที่เราได้เรียนรู้มาแล้วก็สามารถนำไปปรับใช้กับที่นี่ได้เช่นกัน"
วันนี้คุณมีรองเท้าแล้วหรือยัง