ค่าใช้จ่ายตามลักษณะ
-
- Verified User
- โพสต์: 334
- ผู้ติดตาม: 0
ค่าใช้จ่ายตามลักษณะ
โพสต์ที่ 1
ผมไปอ่านหมายเหตุงบประกอบการเงินของ VNT มา แล้วเจอค่าใช้จ่าย"การเปลี่ยนแปลงในสินค้าสำเร็จรูปและงานระหว่างทำ" พยายามหาความหมาย แต่จนแล้วจนรอดก็หาไม่เจอ ไปต่อไม่เป็น รบกวนเพื่อนผู้รู้ช่วยอธิบายให้ด้วยน่ะครับ
10.ค่าใช้จ่ายตามลักษณะ
ค่าใช้จ่ายแบ่งตามลักษณะประกอบด้วยรายการค่าใช้จ่ายที่สำคัญดังต่อไปนี้
(หน่วย: พันบาท)
สำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม
2552 2551
เงินเดือนและค่าแรงและผลประโยชน์อื่นของพนักงาน 96,792 88,623
ค่าเสื่อมราคา 218,808 196,716
ขาดทุนจากการด้อยค่าของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ - 1,062
ค่าเช่าจ่าย 12,864 12,984
วัตถุดิบและวัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป 1,170,827 1,862,585
ค่าเชื้อเพลิง 565,540 516,306
การเปลี่ยนแปลงในสินค้าสำเร็จรูปและงานระหว่างทำ 140,359 (153,567)
10.ค่าใช้จ่ายตามลักษณะ
ค่าใช้จ่ายแบ่งตามลักษณะประกอบด้วยรายการค่าใช้จ่ายที่สำคัญดังต่อไปนี้
(หน่วย: พันบาท)
สำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม
2552 2551
เงินเดือนและค่าแรงและผลประโยชน์อื่นของพนักงาน 96,792 88,623
ค่าเสื่อมราคา 218,808 196,716
ขาดทุนจากการด้อยค่าของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ - 1,062
ค่าเช่าจ่าย 12,864 12,984
วัตถุดิบและวัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป 1,170,827 1,862,585
ค่าเชื้อเพลิง 565,540 516,306
การเปลี่ยนแปลงในสินค้าสำเร็จรูปและงานระหว่างทำ 140,359 (153,567)
ตลาดมีประสิทธิภาพ(เป็นบางตัว)
- krisy
- Verified User
- โพสต์: 736
- ผู้ติดตาม: 0
ค่าใช้จ่ายตามลักษณะ
โพสต์ที่ 2
เราไม่แน่ใจประเภทของรายการเหมือนกันนะคะ เพราะชื่อรายการประหลาดๆแบบนี้ก็เพิ่งเคยเห็น
แต่เราลองไปกระทบตัวเลขจากงบกำไรขาดทุนดูแล้ว เราเดาว่า น่าจะเป็นรายการค่าใช้จ่ายจากค่าแรงและค่าวัตถุดิบในการเปลี่ยนให้งานระหว่างทำกลายเป็นสินค้าสำเร็จรูป โดยหลักการก็เอาคงยอดงานระหว่างทำบวกสินค้าคงเหลือปลายงวดลบต้นงวด
ที่ต้องทำแบบนี้เนื่องจาก รายการค่าใช้จ่ายพวกวัตถุดิบและค่าแรงนั้น เราใช้ไปตามที่ผลิต แต่ผลิตแล้วไม่จำเป็นต้องขายหมดในปีนั้น บางส่วนกลายเป็นสินค้าคงเหลือยกไปขายปีหน้า
ก้อนที่เป็นบวก แปลว่า สินค้าขายได้มากในปีนี้ ทำให้ค่าใช้จ่ายถูกใช้เป็นของปีนี้ (ในงบดุล สินค้าปีนี้น้อยกว่าปีที่แล้ว) ส่วนก้อนที่เป็นลบ แปลว่า สินค้าที่ผลิตในปีถูกยกไปขายปีหน้าเสียส่วนใหญ่ ทำให้ต้องหักค่าใช้จ่ายออกเพราะมันติดไปกับสินค้าที่จะไปขายปีหน้าค่ะ
ปล. ต้นทุนสินค้า = วัตถุดิบ + ค่าแรง + โสหุ้ย
แต่เราลองไปกระทบตัวเลขจากงบกำไรขาดทุนดูแล้ว เราเดาว่า น่าจะเป็นรายการค่าใช้จ่ายจากค่าแรงและค่าวัตถุดิบในการเปลี่ยนให้งานระหว่างทำกลายเป็นสินค้าสำเร็จรูป โดยหลักการก็เอาคงยอดงานระหว่างทำบวกสินค้าคงเหลือปลายงวดลบต้นงวด
ที่ต้องทำแบบนี้เนื่องจาก รายการค่าใช้จ่ายพวกวัตถุดิบและค่าแรงนั้น เราใช้ไปตามที่ผลิต แต่ผลิตแล้วไม่จำเป็นต้องขายหมดในปีนั้น บางส่วนกลายเป็นสินค้าคงเหลือยกไปขายปีหน้า
ก้อนที่เป็นบวก แปลว่า สินค้าขายได้มากในปีนี้ ทำให้ค่าใช้จ่ายถูกใช้เป็นของปีนี้ (ในงบดุล สินค้าปีนี้น้อยกว่าปีที่แล้ว) ส่วนก้อนที่เป็นลบ แปลว่า สินค้าที่ผลิตในปีถูกยกไปขายปีหน้าเสียส่วนใหญ่ ทำให้ต้องหักค่าใช้จ่ายออกเพราะมันติดไปกับสินค้าที่จะไปขายปีหน้าค่ะ
ปล. ต้นทุนสินค้า = วัตถุดิบ + ค่าแรง + โสหุ้ย
.....Give Everything but not Give Up.....
- il genio
- Verified User
- โพสต์: 118
- ผู้ติดตาม: 0
ค่าใช้จ่ายตามลักษณะ
โพสต์ที่ 3
เสริมคุณ Krisy ครับ
ผมก็เพิ่งเคยเห็นการกระทบยอดแบบนี้เหมือนกัน :)
มองให้ง่าย ค่าใช้จ่าย 5 ตัวแรก เหมือนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงในกระบวนการผลิตในงวดนี้ (ต้นทุนการผลิต) Item สุดท้ายเป็นการปรับให้ ต้นทุนการผลิตกลายเป็นต้นทุนของสินค้าที่ขาย (สาเหตุที่ต้องปรับ ก็เหมือนที่คุณ Krisy อธิบาย สินค้าที่ขายงวดนี้ บางส่วนเป็นสินค้าที่ผลิตเสร็จจากงวดที่แล้ว ขณะเดียวกัน สินค้าบางส่วนที่ผลิตในงวดนี้ บางส่วนเก็บไว้เป็นสินค้าคงเหลือสิ้นงวดเพื่อขายในงวดหน้า)
ยกตัวอย่าง เพื่อให้เห็นภาพ
หากต้นงวด บริษัทมีสินค้าสำเร็จรูปต้นงวด 5 ชิ้น มีต้นทุน 15 บาท งวดนี้ไม่ได้ผลิตสินค้าเลย (ดังนั้นต้นทุนการผลิต = 0) แต่ขายสินค้าสำเร็จรูปออกไปได้ 3 ชิ้นในราคา 12 บาท ทำให้มีสินค้าคงเหลือสิ้นงวด 2 ชิ้น ต้นทุน 6 บาท
หากไม่มีการกระทบยอด item สุดท้าย งบกำไรขาดทุนจะแสดงยอดขาย 12 บาท ไม่มีค่าใช้จ่าย (หรือต้นทุนสินค้าที่ขาย)
แต่จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ต้นทุนของสินค้าที่เราขายออกไป คือ 9 บาท (3 ชิ้น ชิ้นละ 3 บาท)
เพื่อปรับยอดต้นทุนผลิต 0 บาทเป็นสิ่งที่ควรจะเป็น จึงต้องปรับการเปลี่ยนแปลงในสินค้าสำเร็จรูป (= สินค้าต้นงวด - สินค้าปลายงวด = 15 - 6) คือ 9 บาท
ส่วนงานระหว่างทำ คิดซะว่าเป็นส่วนหนึ่งของสินค้าสำเร็จรูปคงเหลือก็แล้วกันเพื่อไม่ให้งง
hope this help krub.
ผมก็เพิ่งเคยเห็นการกระทบยอดแบบนี้เหมือนกัน :)
มองให้ง่าย ค่าใช้จ่าย 5 ตัวแรก เหมือนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงในกระบวนการผลิตในงวดนี้ (ต้นทุนการผลิต) Item สุดท้ายเป็นการปรับให้ ต้นทุนการผลิตกลายเป็นต้นทุนของสินค้าที่ขาย (สาเหตุที่ต้องปรับ ก็เหมือนที่คุณ Krisy อธิบาย สินค้าที่ขายงวดนี้ บางส่วนเป็นสินค้าที่ผลิตเสร็จจากงวดที่แล้ว ขณะเดียวกัน สินค้าบางส่วนที่ผลิตในงวดนี้ บางส่วนเก็บไว้เป็นสินค้าคงเหลือสิ้นงวดเพื่อขายในงวดหน้า)
ยกตัวอย่าง เพื่อให้เห็นภาพ
หากต้นงวด บริษัทมีสินค้าสำเร็จรูปต้นงวด 5 ชิ้น มีต้นทุน 15 บาท งวดนี้ไม่ได้ผลิตสินค้าเลย (ดังนั้นต้นทุนการผลิต = 0) แต่ขายสินค้าสำเร็จรูปออกไปได้ 3 ชิ้นในราคา 12 บาท ทำให้มีสินค้าคงเหลือสิ้นงวด 2 ชิ้น ต้นทุน 6 บาท
หากไม่มีการกระทบยอด item สุดท้าย งบกำไรขาดทุนจะแสดงยอดขาย 12 บาท ไม่มีค่าใช้จ่าย (หรือต้นทุนสินค้าที่ขาย)
แต่จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ต้นทุนของสินค้าที่เราขายออกไป คือ 9 บาท (3 ชิ้น ชิ้นละ 3 บาท)
เพื่อปรับยอดต้นทุนผลิต 0 บาทเป็นสิ่งที่ควรจะเป็น จึงต้องปรับการเปลี่ยนแปลงในสินค้าสำเร็จรูป (= สินค้าต้นงวด - สินค้าปลายงวด = 15 - 6) คือ 9 บาท
ส่วนงานระหว่างทำ คิดซะว่าเป็นส่วนหนึ่งของสินค้าสำเร็จรูปคงเหลือก็แล้วกันเพื่อไม่ให้งง
hope this help krub.