วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 121
'มาร์ค โมเบียส' ชี้ 'ยุดโดโยโน่' ชนะเลือกตั้งดันตลาดหุ้นอินโดฯพุ่งกระฉูด
รายงานข่าวบนเว็บไซท์บลูมเบิร์กดอทคอมระบุว่า 'มาร์ค โมเบียส' ชี้การชนะการเลือก
ตั้งของประธานาธิบดีซูซิโล บัมบัง ยุดโดโยโน่เป็นปัจจัยบวกต่อภาวะการลงทุนในตลาดหุ้น
อินโดนีเซีย
โดยนายโมเบียส ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกองทุนเท็มเพลตั้นแอสเซ็ทแมเนจเมนท์กล่าวว่า ดัชนี
ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นตลาดที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดเป็นอันดับ 4 ของโลกปีนี้ มีแนวโน้มเพิ่ม
ขึ้นได้สูงหลังจากประธานาธิบดียุดโดโยโน่ชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย
นอกจากนี้ นายโมเบียสกล่าวว่า ราคาหุ้นในตลาดหุ้นอินโดนีเซียยังคงต่ำเป็นอันดับ 3
หรือ 4 เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นในภูมิภาคอาเซียน
'ฉันทามติที่แข็งแกร่งซึ่งมีต่อประธานาธิบดียุดโดโยโน่เป็นปัจจัยบวกที่สำคัญต่อตลาด
หุ้นอินโดนีเซีย ซึ่งทำให้ปัจจัยเสี่ยงในตลาดหุ้นอินโดนีเซียลดลง และเศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัว
ดีขึ้น ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น' นายโมเบียสกล่าว
ทั้งนี้ ดัชนีจาการ์ต้าคอมโพสิตตลาดหุ้นอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นมาแล้ว 52% ในปีนี้ ทำให้
อินโดนีเซียเป็นตลาดหุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดเป็นอันดับ 4 ของโลกรองจากเปรู จีน และศรี
ลังกา
ที่มา อีไฟแนนซ์ไทย วันที่ 13/07/09 เวลา 9:45:22
รายงานข่าวบนเว็บไซท์บลูมเบิร์กดอทคอมระบุว่า 'มาร์ค โมเบียส' ชี้การชนะการเลือก
ตั้งของประธานาธิบดีซูซิโล บัมบัง ยุดโดโยโน่เป็นปัจจัยบวกต่อภาวะการลงทุนในตลาดหุ้น
อินโดนีเซีย
โดยนายโมเบียส ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกองทุนเท็มเพลตั้นแอสเซ็ทแมเนจเมนท์กล่าวว่า ดัชนี
ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นตลาดที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดเป็นอันดับ 4 ของโลกปีนี้ มีแนวโน้มเพิ่ม
ขึ้นได้สูงหลังจากประธานาธิบดียุดโดโยโน่ชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย
นอกจากนี้ นายโมเบียสกล่าวว่า ราคาหุ้นในตลาดหุ้นอินโดนีเซียยังคงต่ำเป็นอันดับ 3
หรือ 4 เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นในภูมิภาคอาเซียน
'ฉันทามติที่แข็งแกร่งซึ่งมีต่อประธานาธิบดียุดโดโยโน่เป็นปัจจัยบวกที่สำคัญต่อตลาด
หุ้นอินโดนีเซีย ซึ่งทำให้ปัจจัยเสี่ยงในตลาดหุ้นอินโดนีเซียลดลง และเศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัว
ดีขึ้น ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น' นายโมเบียสกล่าว
ทั้งนี้ ดัชนีจาการ์ต้าคอมโพสิตตลาดหุ้นอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นมาแล้ว 52% ในปีนี้ ทำให้
อินโดนีเซียเป็นตลาดหุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดเป็นอันดับ 4 ของโลกรองจากเปรู จีน และศรี
ลังกา
ที่มา อีไฟแนนซ์ไทย วันที่ 13/07/09 เวลา 9:45:22
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 122
หนี้ท่วมเมฆ ชาวโลกลอยคอ?
โดย วรากรณ์ สามโกเศศ มติชนรายวัน วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11450
เมื่อ พ้นวิกฤตเศรษฐกิจของโลกครั้งนี้แล้ว หนี้สาธารณะของแต่ละประเทศ โดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้วจะเพิ่มขึ้นสูงมากเป็นพิเศษ ปรากฏการณ์นี้มีนัยยะสำคัญหลายประการที่สาธารณชนพึงรับทราบ
ไม่ใช่ แต่ประเทศไทยเท่านั้นที่หลังวิกฤตเศรษฐกิจ หนี้สาธารณะ (หนี้ที่รัฐบาลเป็นลูกหนี้เนื่องจากกู้มาใช้ เช่น กู้จากประชาชนด้วยการออกพันธบัตรรัฐบาล กู้จากสถาบันการเงินต่างประเทศ ฯลฯ) จะเพิ่มจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน คือ ประมาณร้อยละ 40 ของ GDP เป็น 50 เป็น 60 หรือแม้แต่ 70 หากยังดื้อยาอย่างยิ่งจนต้องกระตุ้นเศรษฐกิจอีกรอบด้วยรายจ่ายมหาศาล (ขออย่าให้เกิดขึ้นจริงเลย เพราะไม่ใช่เรื่องสนุกแม้แต่น้อย แต่ก็จำต้องทำ)
นิตยสาร Economist ฉบับเมื่อเร็วๆ นี้ได้นำตัวเลขต่างๆ รวมทั้งที่ IMF ได้คำนวณไว้มาเปิดเผยอย่างน่าสนใจ ขอนำข้อมูลบางส่วนมาใช้ในข้อเขียนนี้
10 ประเทศที่รวยสุดของโลก จะมีหนี้สาธารณะรวมกันเพิ่มจากร้อยละ 78 ของ GDP ในปี 2007 เป็นร้อยละ 106 ในปีหน้า และเป็นร้อยละ 114 ในปี 2014 โดยเฉลี่ยประชากรแต่ละคนจะมีหนี้เฉลี่ยคนละ 50,000 เหรียญสหรัฐ (เกือบ 2 ล้านบาท)
สาเหตุที่หนี้เพิ่มมากมายระหว่างปี 2007 ถึง 2010 รวมกันถึง 9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ก็เนื่องมาจากรายจ่ายที่จำเป็นของภาครัฐในการแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจที่มีสาเหตุ จากเรื่องการเงิน (เช่น อุ้มสถาบันการเงิน อุ้มอุตสาหกรรมที่จะล้ม อุ้มบริษัทยักษ์ใหญ่ ฯลฯ) ตลอดจนกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่
ขอยกตัว เลขของบางประเทศในเรื่องหนี้สาธารณะที่น่าสนใจระหว่างยอดปี 2007 และปี 2014 เช่น ญี่ปุ่นจะเพิ่มจากร้อยละ 170.6 ของ GDP เป็นร้อยละ 234.2 สหรัฐอเมริกาจะเพิ่มจากร้อยละ 62.9 เป็น 106.7 เยอรมันนีจากร้อยละ 65.5 เป็น 91.0 อังกฤษจากร้อยละ 46.9 เป็น 87.8 เกาหลีใต้จากร้อยละ 28.9 เป็น 51.8 สเปนจากร้อยละ 42.7 เป็น 69.2 ฯลฯ
สำหรับกลุ่มประเทศเศรษฐกิจ มาแรงใหม่ ตัวเลขพยากรณ์ระหว่าง 2009 ถึง 2014 นั้น มีแนวโน้มจะกลับมาเกือบเท่าเดิมคือร้อยละ 40 ของ GDP หากสถานการณ์เป็นปกติและหากสถานการณ์เลวร้ายที่สุดก็จะอยู่ประมาณเกือบร้อย ละ 45 ของ GDP ส่วนกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วในสถานการณ์ปกติจะอยู่ที่ร้อยละ 115 ของ GDP ในปี 2014 และในสถานการณ์เลวร้อยสุดจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 150 ของ GDP
กล่าวโดยสรุปก็คือในระยะเวลาปานกลางคือ 2009-2014 หลับตาลงก็จะเห็นแต่หนี้ๆ ๆ ๆ สาธารณะในเกือบทุกประเทศ คำตอบก็คือแล้วมันจะทำให้เกิดอะไรขึ้น?
จากการศึกษา 14 วิกฤตร้ายแรงของสถาบันการเงินในศตวรรษที่ 20 ที่ผ่านมา Carmen Reinhart แห่ง University of Maryland และ Ken Rogoff แห่ง Harvard University พบว่า
(ก) มีการไม่สามารถใช้หนี้คืนบางครั้งเกิดขึ้น (พันธบัตรครบอายุแต่ไม่มีเงินจ่ายเงินต้นหรือดอกเบี้ย จนต้องต่ออายุออกไปหรือมีวิธีการแก้ไขอื่นๆ)
(ข) เกิดเงินเฟ้อที่รุนแรง
(ค) สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ลดลงเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวในเวลาต่อมา
ที่ ขอขยายความก็คือ ข้อ (ข) เงินเฟ้อที่รุนแรง รัฐบาลบางประเทศเมื่อเก็บภาษีไม่ได้เพียงพอกับรายจ่ายก็มักจ่ายด้วยการพิมพ์ ธนบัตรเพิ่มเพื่อแก้ไขปัญหา (หากเงื่อนไขทางการเมืองเหมาะสม มีอำนาจบังคับธนาคารกลางของประเทศซึ่งเป็นผู้ควบคุมปริมาณเงินให้พิมพ์ ธนบัตรเพิ่ม ฯลฯ) เมื่อมีปริมาณธนบัตรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอย่างไม่สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้น ของสินค้าและบริการ ราคาสินค้าก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว เงินเฟ้อรุนแรงก็อาจเกิดขึ้นได้
อย่างไรก็ดี เงินเฟ้อรุนแรง ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งเกิดจากความจงใจของภาครัฐที่จะลดภาระหนี้สาธารณะ กล่าวคือเมื่อราคาสินค้าโดยทั่วไปสูงขึ้นมูลค่าหนี้สาธารณะที่แท้จริงก็ลดลง หรืออธิบายอีกอย่างว่าเมื่อเกิดเงินเฟ้อขึ้น GDP ที่เป็นตัวเงินก็จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สัดส่วนหนี้สาธารณะก็จะลดลงเพราะยอดหนี้สาธารณะไม่ได้เปลี่ยนแปลง
หรืออาจอธิบายว่าเมื่อมีเงินเฟ้อรัฐก็จะเก็บภาษีได้มากขึ้น การลดภาระหนี้สาธารณะก็ทำได้สะดวกขึ้น
สำหรับวิกฤตครั้งนี้ เมื่อมีหนี้จนล้นออกมาทางใบหูแล้วจะมีอะไรเกิดขึ้นในระยะปานกลางสำหรับบ้านเรา?
คำตอบก็คือ
(ก) ปัญหาเรื่องไม่มีเงินจ่ายเมื่อพันธบัตรครบอายุ มีความเป็นไปได้ต่ำเพราะรัฐบาลมีลูกเล่นได้ตลอดเวลา เช่น อาจออกพันธบัตรมาทดแทนด้วยอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าเก่ามาก คนถือเดิมก็คงพอใจเพราะหากไม่อยากถือต่อไปก็ขายได้ราคาดี
(ข) อัตราดอกเบี้ยมีทางโน้มที่จะสูงขึ้นเพราะรัฐบาลได้แย่งชิงเงินออมของประชาชน ไปจากภาคเอกชนที่ต้องการลงทุนเหมือนกัน เมื่อเศรษฐกิจดีขึ้นสองภาคนี้ก็จะแย่งชิงกันชัดเจนขึ้น ต่างก็ต้องเสนอให้อัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าเดิม จนสร้างแรงกดดันให้อัตราดอกเบี้ยขยับตัวขึ้น
(ค) ต้องระวังเงินเฟ้อจากต่างประเทศเพราะประเทศรวยอาจใช้วิธีลดภาระหนี้ด้วยการ จงใจให้ราคาสินค้าทั่วไปสูงขึ้นดังได้กล่าวถึงแล้ว การจงใจนี้อาจทำทีละเล็กน้อยหรือมีตัวช่วยคือราคาน้ำมันจะขยับสูงขึ้น (สูงขึ้นแน่นอนในอนาคต สูงขึ้นเท่าใดและเมื่อใดเท่านั้น) เมื่อประเทศใหญ่มีเงินเฟ้อขึ้น ก็ต้องมีผลกระทบต่อบ้านเราในทิศทางเดียวกันมากบ้างน้อยบ้างเป็นธรรมดา มูลค่ามีความเป็นไปได้สูงที่อสังหาริมทรัพย์จะขยับตัวตามทิศทางนี้
(ง) หากรัฐบาลแย่งชิงทรัพยากรการเงินมากเกินไป ก็จะมีเหลือให้ภาคเอกชนเอาไปลงทุนได้น้อย สถานการณ์นี้จะกระทบอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาวได้เนื่องจาก โดยทั่วไปการลงทุนของภาครัฐมีผลิตภาพ (productivity) ต่ำกว่าของภาคเอกชน ซึ่งการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจที่ต่ำจะนำไปสู่สารพัดปัญหาต่อไป เช่น การว่างงาน การเก็บภาษีได้ต่ำ การไม่สามารถลดภาระหนี้สาธารณะ มาตรฐานการครองชีพของประชาชนซึ่งวัดโดยรายได้ที่แท้จริงต่อหัวไม่สูงขึ้น ฯลฯ
หนี้ในรูปแบบใดไม่ว่าหนี้สาธารณะหรือหนี้เอกชน หรือหนี้ส่วนตัว ล้วนไม่ดีทั้งนั้น เพราะเมื่อยืมมาแล้วต้องใช้คืน และความสามารถในการใช้คืนในอนาคตนั้นไม่มีความแน่นอน
อย่างไรก็ดี บางครั้งก็เป็นสิ่งจำเป็น ดังเช่นกรณีของหนี้สาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและเพิ่มพูนศักยภาพในการ แข่งขันของประเทศในอนาคต
ประเด็นที่ต้องแน่ใจก็คือหนี้เหล่านี้จะต้องมีคุณค่าดังที่ได้ตั้งใจไว้ ไม่ใช่รั่วไหลเป็นน้ำพริกไหลไปตามสายน้ำ
โดย วรากรณ์ สามโกเศศ มติชนรายวัน วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11450
เมื่อ พ้นวิกฤตเศรษฐกิจของโลกครั้งนี้แล้ว หนี้สาธารณะของแต่ละประเทศ โดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้วจะเพิ่มขึ้นสูงมากเป็นพิเศษ ปรากฏการณ์นี้มีนัยยะสำคัญหลายประการที่สาธารณชนพึงรับทราบ
ไม่ใช่ แต่ประเทศไทยเท่านั้นที่หลังวิกฤตเศรษฐกิจ หนี้สาธารณะ (หนี้ที่รัฐบาลเป็นลูกหนี้เนื่องจากกู้มาใช้ เช่น กู้จากประชาชนด้วยการออกพันธบัตรรัฐบาล กู้จากสถาบันการเงินต่างประเทศ ฯลฯ) จะเพิ่มจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน คือ ประมาณร้อยละ 40 ของ GDP เป็น 50 เป็น 60 หรือแม้แต่ 70 หากยังดื้อยาอย่างยิ่งจนต้องกระตุ้นเศรษฐกิจอีกรอบด้วยรายจ่ายมหาศาล (ขออย่าให้เกิดขึ้นจริงเลย เพราะไม่ใช่เรื่องสนุกแม้แต่น้อย แต่ก็จำต้องทำ)
นิตยสาร Economist ฉบับเมื่อเร็วๆ นี้ได้นำตัวเลขต่างๆ รวมทั้งที่ IMF ได้คำนวณไว้มาเปิดเผยอย่างน่าสนใจ ขอนำข้อมูลบางส่วนมาใช้ในข้อเขียนนี้
10 ประเทศที่รวยสุดของโลก จะมีหนี้สาธารณะรวมกันเพิ่มจากร้อยละ 78 ของ GDP ในปี 2007 เป็นร้อยละ 106 ในปีหน้า และเป็นร้อยละ 114 ในปี 2014 โดยเฉลี่ยประชากรแต่ละคนจะมีหนี้เฉลี่ยคนละ 50,000 เหรียญสหรัฐ (เกือบ 2 ล้านบาท)
สาเหตุที่หนี้เพิ่มมากมายระหว่างปี 2007 ถึง 2010 รวมกันถึง 9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ก็เนื่องมาจากรายจ่ายที่จำเป็นของภาครัฐในการแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจที่มีสาเหตุ จากเรื่องการเงิน (เช่น อุ้มสถาบันการเงิน อุ้มอุตสาหกรรมที่จะล้ม อุ้มบริษัทยักษ์ใหญ่ ฯลฯ) ตลอดจนกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่
ขอยกตัว เลขของบางประเทศในเรื่องหนี้สาธารณะที่น่าสนใจระหว่างยอดปี 2007 และปี 2014 เช่น ญี่ปุ่นจะเพิ่มจากร้อยละ 170.6 ของ GDP เป็นร้อยละ 234.2 สหรัฐอเมริกาจะเพิ่มจากร้อยละ 62.9 เป็น 106.7 เยอรมันนีจากร้อยละ 65.5 เป็น 91.0 อังกฤษจากร้อยละ 46.9 เป็น 87.8 เกาหลีใต้จากร้อยละ 28.9 เป็น 51.8 สเปนจากร้อยละ 42.7 เป็น 69.2 ฯลฯ
สำหรับกลุ่มประเทศเศรษฐกิจ มาแรงใหม่ ตัวเลขพยากรณ์ระหว่าง 2009 ถึง 2014 นั้น มีแนวโน้มจะกลับมาเกือบเท่าเดิมคือร้อยละ 40 ของ GDP หากสถานการณ์เป็นปกติและหากสถานการณ์เลวร้ายที่สุดก็จะอยู่ประมาณเกือบร้อย ละ 45 ของ GDP ส่วนกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วในสถานการณ์ปกติจะอยู่ที่ร้อยละ 115 ของ GDP ในปี 2014 และในสถานการณ์เลวร้อยสุดจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 150 ของ GDP
กล่าวโดยสรุปก็คือในระยะเวลาปานกลางคือ 2009-2014 หลับตาลงก็จะเห็นแต่หนี้ๆ ๆ ๆ สาธารณะในเกือบทุกประเทศ คำตอบก็คือแล้วมันจะทำให้เกิดอะไรขึ้น?
จากการศึกษา 14 วิกฤตร้ายแรงของสถาบันการเงินในศตวรรษที่ 20 ที่ผ่านมา Carmen Reinhart แห่ง University of Maryland และ Ken Rogoff แห่ง Harvard University พบว่า
(ก) มีการไม่สามารถใช้หนี้คืนบางครั้งเกิดขึ้น (พันธบัตรครบอายุแต่ไม่มีเงินจ่ายเงินต้นหรือดอกเบี้ย จนต้องต่ออายุออกไปหรือมีวิธีการแก้ไขอื่นๆ)
(ข) เกิดเงินเฟ้อที่รุนแรง
(ค) สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ลดลงเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวในเวลาต่อมา
ที่ ขอขยายความก็คือ ข้อ (ข) เงินเฟ้อที่รุนแรง รัฐบาลบางประเทศเมื่อเก็บภาษีไม่ได้เพียงพอกับรายจ่ายก็มักจ่ายด้วยการพิมพ์ ธนบัตรเพิ่มเพื่อแก้ไขปัญหา (หากเงื่อนไขทางการเมืองเหมาะสม มีอำนาจบังคับธนาคารกลางของประเทศซึ่งเป็นผู้ควบคุมปริมาณเงินให้พิมพ์ ธนบัตรเพิ่ม ฯลฯ) เมื่อมีปริมาณธนบัตรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอย่างไม่สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้น ของสินค้าและบริการ ราคาสินค้าก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว เงินเฟ้อรุนแรงก็อาจเกิดขึ้นได้
อย่างไรก็ดี เงินเฟ้อรุนแรง ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งเกิดจากความจงใจของภาครัฐที่จะลดภาระหนี้สาธารณะ กล่าวคือเมื่อราคาสินค้าโดยทั่วไปสูงขึ้นมูลค่าหนี้สาธารณะที่แท้จริงก็ลดลง หรืออธิบายอีกอย่างว่าเมื่อเกิดเงินเฟ้อขึ้น GDP ที่เป็นตัวเงินก็จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สัดส่วนหนี้สาธารณะก็จะลดลงเพราะยอดหนี้สาธารณะไม่ได้เปลี่ยนแปลง
หรืออาจอธิบายว่าเมื่อมีเงินเฟ้อรัฐก็จะเก็บภาษีได้มากขึ้น การลดภาระหนี้สาธารณะก็ทำได้สะดวกขึ้น
สำหรับวิกฤตครั้งนี้ เมื่อมีหนี้จนล้นออกมาทางใบหูแล้วจะมีอะไรเกิดขึ้นในระยะปานกลางสำหรับบ้านเรา?
คำตอบก็คือ
(ก) ปัญหาเรื่องไม่มีเงินจ่ายเมื่อพันธบัตรครบอายุ มีความเป็นไปได้ต่ำเพราะรัฐบาลมีลูกเล่นได้ตลอดเวลา เช่น อาจออกพันธบัตรมาทดแทนด้วยอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าเก่ามาก คนถือเดิมก็คงพอใจเพราะหากไม่อยากถือต่อไปก็ขายได้ราคาดี
(ข) อัตราดอกเบี้ยมีทางโน้มที่จะสูงขึ้นเพราะรัฐบาลได้แย่งชิงเงินออมของประชาชน ไปจากภาคเอกชนที่ต้องการลงทุนเหมือนกัน เมื่อเศรษฐกิจดีขึ้นสองภาคนี้ก็จะแย่งชิงกันชัดเจนขึ้น ต่างก็ต้องเสนอให้อัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าเดิม จนสร้างแรงกดดันให้อัตราดอกเบี้ยขยับตัวขึ้น
(ค) ต้องระวังเงินเฟ้อจากต่างประเทศเพราะประเทศรวยอาจใช้วิธีลดภาระหนี้ด้วยการ จงใจให้ราคาสินค้าทั่วไปสูงขึ้นดังได้กล่าวถึงแล้ว การจงใจนี้อาจทำทีละเล็กน้อยหรือมีตัวช่วยคือราคาน้ำมันจะขยับสูงขึ้น (สูงขึ้นแน่นอนในอนาคต สูงขึ้นเท่าใดและเมื่อใดเท่านั้น) เมื่อประเทศใหญ่มีเงินเฟ้อขึ้น ก็ต้องมีผลกระทบต่อบ้านเราในทิศทางเดียวกันมากบ้างน้อยบ้างเป็นธรรมดา มูลค่ามีความเป็นไปได้สูงที่อสังหาริมทรัพย์จะขยับตัวตามทิศทางนี้
(ง) หากรัฐบาลแย่งชิงทรัพยากรการเงินมากเกินไป ก็จะมีเหลือให้ภาคเอกชนเอาไปลงทุนได้น้อย สถานการณ์นี้จะกระทบอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาวได้เนื่องจาก โดยทั่วไปการลงทุนของภาครัฐมีผลิตภาพ (productivity) ต่ำกว่าของภาคเอกชน ซึ่งการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจที่ต่ำจะนำไปสู่สารพัดปัญหาต่อไป เช่น การว่างงาน การเก็บภาษีได้ต่ำ การไม่สามารถลดภาระหนี้สาธารณะ มาตรฐานการครองชีพของประชาชนซึ่งวัดโดยรายได้ที่แท้จริงต่อหัวไม่สูงขึ้น ฯลฯ
หนี้ในรูปแบบใดไม่ว่าหนี้สาธารณะหรือหนี้เอกชน หรือหนี้ส่วนตัว ล้วนไม่ดีทั้งนั้น เพราะเมื่อยืมมาแล้วต้องใช้คืน และความสามารถในการใช้คืนในอนาคตนั้นไม่มีความแน่นอน
อย่างไรก็ดี บางครั้งก็เป็นสิ่งจำเป็น ดังเช่นกรณีของหนี้สาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและเพิ่มพูนศักยภาพในการ แข่งขันของประเทศในอนาคต
ประเด็นที่ต้องแน่ใจก็คือหนี้เหล่านี้จะต้องมีคุณค่าดังที่ได้ตั้งใจไว้ ไม่ใช่รั่วไหลเป็นน้ำพริกไหลไปตามสายน้ำ
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 123
:"เบอร์นันเก้"ชี้แนวโน้มศก.สหรัฐดีขึ้นแต่การว่างงานยังสูง
UPDATE/FED:"เบอร์นันเก้"ชี้แนวโน้มศก.สหรัฐดีขึ้นแต่การว่างงานยังสูง
(เพิ่มรายละเอียด)
วอชิงตัน--22 ก.ค.--รอยเตอร์
นายเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวเมื่อวานนี้ว่า
เศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่สหรัฐจำเป็นต้องใช้นโยบายสนับสนุนเศรษฐกิจต่อไป
อีกระยะหนึ่ง เพื่อป้องกันไม่ให้การว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้นลดทอนความแข็งแกร่งในการ
ฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
นายเบอร์นันเก้นำเสนอรายงานเศรษฐกิจรอบครึ่งปีของเฟดต่อรัฐสภาสหรัฐ
โดยเขาพยายามขจัดความกังวลที่ว่า นโยบายผ่อนคลายทางการเงินอย่างรุนแรงของ
เฟดอาจเป็นการกระตุ้นภาวะเงินเฟ้อในอนาคต และกล่าวว่าเขามีความมั่นใจว่า
เฟดสามารถถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบพิเศษเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม
นายเบอร์นันเก้กล่าวต่อคณะกรรมาธิการบริการทางการเงินประจำ
สภาผู้แทนราษฎรว่า "สถานการณ์ที่ดีขึ้นในตลาดการเงินเกิดขึ้นพร้อมกับแนวโน้ม
เศรษฐกิจที่ดีขึ้น" และกล่าวเสริมว่า "ถึงแม้มีสัญญาณเศรษฐกิจในทางบวก อัตรา
การว่างงานก็ยังคงอยู่ในระดับสูง"
นายเบอร์นันเก้กล่าวเตือนว่า ถึงแม้มีสัญญาณว่าภาคที่อยู่อาศัยและ
ระดับการจับจ่ายใช้สอยภาคครัวเรือนเริ่มเข้าสู่เสถียรภาพแล้ว การว่างงานก็
มีแนวโน้มว่าจะยังคงอยู่ในระดับสูงเกินไปจนถึงปี 2011 ซึ่งอาจส่งผลลบต่อ
ความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เปราะบาง
นายเบอร์นันเก้กล่าวว่า "เฟดเชื่อว่านโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย
อย่างมากจะยังคงเป็นสิ่งที่เหมาะสมต่อไปในระยะยาว"
การที่นายเบอร์นันเก้คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวอย่างเฉื่อยชาส่ง
ผลลบต่อตลาดหุ้นสหรัฐในช่วงเช้าวันอังคาร และช่วยหนุนราคาพันธบัตรรัฐบาล
ที่มีความปลอดภัยสูง
นายบอริส ชลอสเบิร์ก ซึ่งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยสกุลเงินของ
บริษัทจีเอฟที ฟอเร็กซ์กล่าวว่า "เฟดไม่มีความตั้งใจที่จะคุมเข้มนโยบายการ
เงินในอนาคตอันใกล้นี้ เฟดต้องการที่จะทำให้สภาวะแวดล้อมมีความเหมาะสม
เพื่อที่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างเปราะบางในช่วงนี้จะดำเนินไปได้ต่อไป"
เฟดได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงสู่ระดับเกือบ 0 % และเพิ่มขนาด
งบดุลขึ้นเป็นสองเท่าสู่ระดับราว 2 ล้านล้านดอลลาร์ ในขณะที่เฟดอัดฉีดเม็ด
เงินเข้าสู่เศรษฐกิจเพื่อต่อสู้กับภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรง หลังจาก
วิกฤติการเงินในปีที่แล้วทำให้ตลาดสินเชื่อโลกเข้าสู่ภาวะชะงักงัน
นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งรวมถึงผู้กำหนดนโยบายบางคนแสดงความกังวลว่า
การที่เฟดปล่อยกู้และขยายสภาพคล่องในปริมาณมากอาจเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิด
ภาวะเงินเฟ้อในอนาคตเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้น
อย่างไรก็ดี นายเบอร์นันเก้กล่าวว่า เฟดมีเครื่องมือจำนวนมากที่
สามารถนำมาใช้ในการถอนมาตรการกระตุ้นทางการเงินเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม
ถึงแม้งบดุลของเฟดขยายขนาดขึ้นมากแล้วก็ตาม
นายเบอร์นันเก้กล่าวว่า "เฟดได้ให้ความสนใจเป็นอย่างมากต่อ
ประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับแผนยุทธศาสตร์ทางออกของเฟด และเรามีความ
มั่นใจว่าเรามีเครื่องมือที่จำเป็นในการนำแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวมาปฏิบัติใช้
เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม" โดยถ้อยแถลงนี้ของนายเบอร์นันเก้สอดคล้องกับ
บทความที่เขาเขียนลงในเว็บไซท์ของหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัล (WSJ)
ในวันจันทร์
นายเบอร์นันเก้กล่าวว่า "ถ้าหากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจสนับสนุน
ให้มีการคุมเข้มนโยบายทางการเงินก่อนที่กระบวนการถอนมาตรการจะสิ้นสุดลง
เราก็มีเครื่องมือจำนวนหนึ่งที่จะช่วยให้เราสามารถหนุนอัตราดอกเบี้ยในตลาด
ให้สูงขึ้นได้ตามความจำเป็น"
นายเบอร์นันเก้กล่าวว่า เครื่องมือที่สำคัญในบรรดาเครื่องมือ
เหล่านี้คือการจ่ายดอกเบี้ยให้กับทุนสำรองที่ธนาคารต่างๆฝากไว้ที่เฟด ซึ่ง
ธนาคารกลางของประเทศอื่นๆก็ใช้วิธีการนี้เช่นกัน ทั้งนี้ การปรับขึ้น
อัตราดอกเบี้ยที่เฟดจ่ายให้กับธนาคารต่างๆจะส่งผลให้ธนาคารต่างๆ
ต้องการนำเงินสดส่วนเกินมาฝากไว้ที่เฟดมากยิ่งขึ้น
รายงานนโยบายการเงินของเฟดได้ระบุถึงมาตรการอื่นๆที่เฟด
อาจนำมาใช้ ซึ่งสอดคล้องกับบทความของนายเบอร์นันเก้ใน WSJ
มาตรการเหล่านี้รวมถึงการที่เฟดอาจทำข้อตกลง reverse
repurchase กับบริษัทการเงิน โดยเฟดจะขายหลักทรัพย์ในพอร์ทลงทุน
ของตนเองออกมา เพื่อดึงดูดเงินสดออกจากระบบการเงิน และเฟดจะ
ทำข้อตกลงซื้อคืนหลักทรัพย์ดังกล่าวในภายหลังในราคาที่สูงขึ้น
เฟดสามารถเสนอ "เงินฝากประจำ" ที่เหมือนกับบัตรเงินฝาก
ให้แก่ธนาคารพาณิชย์ โดยเมื่อธนาคารพาณิชย์นำเงินมาฝากไว้ที่เฟดผ่าน
ทางเครื่องมือนี้ ธนาคารพาณิชย์ก็จะไม่สามารถนำเงินดังกล่าวไปปล่อยกู้ได้
กระทรวงการคลังสหรัฐสามารถออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล
และนำรายได้จากการขายพันธบัตรมาฝากไว้ที่เฟด นอกจากนี้ เฟดสามารถ
ขายหลักทรัพย์บางส่วนในพอร์ทลงทุนของตนเองออกมาได้เช่นกัน--จบ--
UPDATE/FED:"เบอร์นันเก้"ชี้แนวโน้มศก.สหรัฐดีขึ้นแต่การว่างงานยังสูง
(เพิ่มรายละเอียด)
วอชิงตัน--22 ก.ค.--รอยเตอร์
นายเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวเมื่อวานนี้ว่า
เศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่สหรัฐจำเป็นต้องใช้นโยบายสนับสนุนเศรษฐกิจต่อไป
อีกระยะหนึ่ง เพื่อป้องกันไม่ให้การว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้นลดทอนความแข็งแกร่งในการ
ฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
นายเบอร์นันเก้นำเสนอรายงานเศรษฐกิจรอบครึ่งปีของเฟดต่อรัฐสภาสหรัฐ
โดยเขาพยายามขจัดความกังวลที่ว่า นโยบายผ่อนคลายทางการเงินอย่างรุนแรงของ
เฟดอาจเป็นการกระตุ้นภาวะเงินเฟ้อในอนาคต และกล่าวว่าเขามีความมั่นใจว่า
เฟดสามารถถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบพิเศษเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม
นายเบอร์นันเก้กล่าวต่อคณะกรรมาธิการบริการทางการเงินประจำ
สภาผู้แทนราษฎรว่า "สถานการณ์ที่ดีขึ้นในตลาดการเงินเกิดขึ้นพร้อมกับแนวโน้ม
เศรษฐกิจที่ดีขึ้น" และกล่าวเสริมว่า "ถึงแม้มีสัญญาณเศรษฐกิจในทางบวก อัตรา
การว่างงานก็ยังคงอยู่ในระดับสูง"
นายเบอร์นันเก้กล่าวเตือนว่า ถึงแม้มีสัญญาณว่าภาคที่อยู่อาศัยและ
ระดับการจับจ่ายใช้สอยภาคครัวเรือนเริ่มเข้าสู่เสถียรภาพแล้ว การว่างงานก็
มีแนวโน้มว่าจะยังคงอยู่ในระดับสูงเกินไปจนถึงปี 2011 ซึ่งอาจส่งผลลบต่อ
ความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เปราะบาง
นายเบอร์นันเก้กล่าวว่า "เฟดเชื่อว่านโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย
อย่างมากจะยังคงเป็นสิ่งที่เหมาะสมต่อไปในระยะยาว"
การที่นายเบอร์นันเก้คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวอย่างเฉื่อยชาส่ง
ผลลบต่อตลาดหุ้นสหรัฐในช่วงเช้าวันอังคาร และช่วยหนุนราคาพันธบัตรรัฐบาล
ที่มีความปลอดภัยสูง
นายบอริส ชลอสเบิร์ก ซึ่งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยสกุลเงินของ
บริษัทจีเอฟที ฟอเร็กซ์กล่าวว่า "เฟดไม่มีความตั้งใจที่จะคุมเข้มนโยบายการ
เงินในอนาคตอันใกล้นี้ เฟดต้องการที่จะทำให้สภาวะแวดล้อมมีความเหมาะสม
เพื่อที่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างเปราะบางในช่วงนี้จะดำเนินไปได้ต่อไป"
เฟดได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงสู่ระดับเกือบ 0 % และเพิ่มขนาด
งบดุลขึ้นเป็นสองเท่าสู่ระดับราว 2 ล้านล้านดอลลาร์ ในขณะที่เฟดอัดฉีดเม็ด
เงินเข้าสู่เศรษฐกิจเพื่อต่อสู้กับภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรง หลังจาก
วิกฤติการเงินในปีที่แล้วทำให้ตลาดสินเชื่อโลกเข้าสู่ภาวะชะงักงัน
นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งรวมถึงผู้กำหนดนโยบายบางคนแสดงความกังวลว่า
การที่เฟดปล่อยกู้และขยายสภาพคล่องในปริมาณมากอาจเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิด
ภาวะเงินเฟ้อในอนาคตเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้น
อย่างไรก็ดี นายเบอร์นันเก้กล่าวว่า เฟดมีเครื่องมือจำนวนมากที่
สามารถนำมาใช้ในการถอนมาตรการกระตุ้นทางการเงินเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม
ถึงแม้งบดุลของเฟดขยายขนาดขึ้นมากแล้วก็ตาม
นายเบอร์นันเก้กล่าวว่า "เฟดได้ให้ความสนใจเป็นอย่างมากต่อ
ประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับแผนยุทธศาสตร์ทางออกของเฟด และเรามีความ
มั่นใจว่าเรามีเครื่องมือที่จำเป็นในการนำแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวมาปฏิบัติใช้
เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม" โดยถ้อยแถลงนี้ของนายเบอร์นันเก้สอดคล้องกับ
บทความที่เขาเขียนลงในเว็บไซท์ของหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัล (WSJ)
ในวันจันทร์
นายเบอร์นันเก้กล่าวว่า "ถ้าหากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจสนับสนุน
ให้มีการคุมเข้มนโยบายทางการเงินก่อนที่กระบวนการถอนมาตรการจะสิ้นสุดลง
เราก็มีเครื่องมือจำนวนหนึ่งที่จะช่วยให้เราสามารถหนุนอัตราดอกเบี้ยในตลาด
ให้สูงขึ้นได้ตามความจำเป็น"
นายเบอร์นันเก้กล่าวว่า เครื่องมือที่สำคัญในบรรดาเครื่องมือ
เหล่านี้คือการจ่ายดอกเบี้ยให้กับทุนสำรองที่ธนาคารต่างๆฝากไว้ที่เฟด ซึ่ง
ธนาคารกลางของประเทศอื่นๆก็ใช้วิธีการนี้เช่นกัน ทั้งนี้ การปรับขึ้น
อัตราดอกเบี้ยที่เฟดจ่ายให้กับธนาคารต่างๆจะส่งผลให้ธนาคารต่างๆ
ต้องการนำเงินสดส่วนเกินมาฝากไว้ที่เฟดมากยิ่งขึ้น
รายงานนโยบายการเงินของเฟดได้ระบุถึงมาตรการอื่นๆที่เฟด
อาจนำมาใช้ ซึ่งสอดคล้องกับบทความของนายเบอร์นันเก้ใน WSJ
มาตรการเหล่านี้รวมถึงการที่เฟดอาจทำข้อตกลง reverse
repurchase กับบริษัทการเงิน โดยเฟดจะขายหลักทรัพย์ในพอร์ทลงทุน
ของตนเองออกมา เพื่อดึงดูดเงินสดออกจากระบบการเงิน และเฟดจะ
ทำข้อตกลงซื้อคืนหลักทรัพย์ดังกล่าวในภายหลังในราคาที่สูงขึ้น
เฟดสามารถเสนอ "เงินฝากประจำ" ที่เหมือนกับบัตรเงินฝาก
ให้แก่ธนาคารพาณิชย์ โดยเมื่อธนาคารพาณิชย์นำเงินมาฝากไว้ที่เฟดผ่าน
ทางเครื่องมือนี้ ธนาคารพาณิชย์ก็จะไม่สามารถนำเงินดังกล่าวไปปล่อยกู้ได้
กระทรวงการคลังสหรัฐสามารถออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล
และนำรายได้จากการขายพันธบัตรมาฝากไว้ที่เฟด นอกจากนี้ เฟดสามารถ
ขายหลักทรัพย์บางส่วนในพอร์ทลงทุนของตนเองออกมาได้เช่นกัน--จบ--
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 124
โกร่งฟันฉับปีนี้ไทยไม่พ้นปากเหว คาดท่องเที่ยวซบเซายาวอีก2ปี
นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แอ๊ดวานซ์ อะโกร จำกัด (มหาชน) อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง กล่าวในงานสัมมนา "ทางรอดเศรษฐกิจไทยท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจโลก" จัดโดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลังว่า วิกฤตเศรษฐกิจโลกครั้งนี้ต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวค่อนข้างยาวนาน และไม่อยากหวังการฟื้นตัวจากการลงทุนของเอกชน เนื่องจากยังมีกำลังการผลิตเพียง 50% ของศักยภาพทั้งหมด ดังนั้นรัฐบาลไทยต้องวางเป้าหมายในอีก 4-5 ปีข้างหน้าเพื่อรองรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในอีก 6 ปีข้างหน้า
นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แอ๊ดวานซ์ อะโกร จำกัด (มหาชน) อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง กล่าวในงานสัมมนา "ทางรอดเศรษฐกิจไทยท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจโลก" จัดโดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลังว่า วิกฤตเศรษฐกิจโลกครั้งนี้ต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวค่อนข้างยาวนาน และไม่อยากหวังการฟื้นตัวจากการลงทุนของเอกชน เนื่องจากยังมีกำลังการผลิตเพียง 50% ของศักยภาพทั้งหมด ดังนั้นรัฐบาลไทยต้องวางเป้าหมายในอีก 4-5 ปีข้างหน้าเพื่อรองรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในอีก 6 ปีข้างหน้า
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 125
"ดร.โกร่ง"มองเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังยังแย่
"ดร.โกร่ง"มองเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังยังแย่ สวนทางความเห็นรัฐบาล ระบุส่งออก-ท่องเที่ยว ยังมีปัญหา บอกเศรษฐกิจไทยยังไม่ถึงจุดต่ำสุด
นายวีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรี กล่าวในงานสัมมนา "เศรษฐกิจครึ่งปีหลัง ไทยจะเข้มแข็งได้จริงหรือไม่" ที่ จัดขึ้นโดย สถาบันสร้างสานอนาคตไทย ซึ่งมีคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ อดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย เป็นประธาน ว่า ตกใจ ที่รัฐบาลกล้าระบุว่า ครึ่งหลังของปี 2552 เศรษฐกิจไทยจะเข้มแข็ง เพราะหากดูภาพรวมแล้วไม่มีสถานการณ์ใด ๆ แสดงหรือส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจจะฟื้น ไม่ว่าจะเป็นการส่งออก สินค้าเกษตรก็ตกต่ำ การท่องเที่ยวก็มีปัญหาหนักทั้งจากปัจจัยภายนอกและภายในประเทศ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจโลก และไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009
"ขณะนี้เศรษฐกิจไทยดิ่งลงไม่ถึงพื้นด้วยซ้ำ และวิกฤติรอบนี้น่าจะยืดเยื้อ ในขณะที่รัฐบาลให้น้ำหนักการแก้ปัญหาหาเศรษฐกิจน้อยกว่าการเมือง โดยมีสัดส่วนร้อยละ 20 ต่อ 80 ไม่ทราบว่ารัฐบาลเข้าใจปัญหา หรือมีวิสัยทัศน์เพียงพอหรือไม่ การพูดเรื่องนโยบายเศรษฐกิจ แต่ละครั้งจะหวังผลทางการเมืองมากกว่า"
นายวีรพงษ์ กล่าวว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ น่าจะแย่กว่าในช่วงครึ่งปีแรก และในช่วงครึ่งแรกของปี 2553 น่าจะแย่ลงไปอีก
ส่วนแผนการกู้เงิน 8 แสนล้านบาทของรัฐบาลนั้น นายวีระพงษ์ มองว่า ในขณะนี้ยังไม่ชัดเจนว่า 3 ปี ข้างหน้าจะดำเนินการลงทุนอะไร ในขณะที่งบประมาณปี 2552 ยังไม่มีโครงการอะไรใหม่ ๆ จึงประเมินไม่ได้ว่า เศรษฐกิจจะฟื้นได้อย่างไร แต่ที่แน่ ๆ ตัวเลขการว่างงาน และเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นในขณะนี้ เริ่มมีความชัดเจนว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยกำลังเข้าสู่ภาวะเงินฝืด ระบบการเงินของประเทศ กำลังเข้าสู่ภาวะกับดักสภาพคล่อง เนื่องจากมีสภาพคล่องล้น แต่ไม่มีใครลงทุน
นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็ไม่ได้เข้ามาแก้ไขปัญหาเรื่องเงินบาทแข็งค่า และไม่สามารถดูแลให้ ธนาคารพาณิชย์ปล่อยกู้ได้ โดยสิ่งที่สำคัญในการพื้นเศรษฐกิจนั้น นโยบายการเงิน-การคลังจะต้องไปด้วยกัน เมื่อไปด้วยกันไม่ได้ จึงสรุปได้ว่า ครึ่งหลังของปีนี้อย่าถามว่าเศรษฐกิจฟื้น หรือไม่ ต้องถามว่าถึงพื้นหรือยัง และประเทศอื่น ๆ ที่เผชิญสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจนั้นจะจบเร็วกว่าไทย เพราะไทยมีปัญหาหลักคือปัญหาการเมืองที่ยังหาทางออกไม่ได้ และดูแล้วปัญหาจะลึกลงไปเรื่อย ๆ
"หลายครั้งรัฐบาลระบุว่าอนุมัติทุกอย่าง และโครงการพื้นฐานต่าง ๆ แต่ข้าราชการไม่ยอมเคลื่อนไหว ทั้งที่ระบบราชการ ต้องการผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน ถึงจะทำงานได้ หากนโยบายไม่ชัดเจน การเมืองไม่รับผิดชอบ ข้าราชการคงจะไม่มีขวัญกำลังใจในการทำงาน"
"ดร.โกร่ง"มองเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังยังแย่ สวนทางความเห็นรัฐบาล ระบุส่งออก-ท่องเที่ยว ยังมีปัญหา บอกเศรษฐกิจไทยยังไม่ถึงจุดต่ำสุด
นายวีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรี กล่าวในงานสัมมนา "เศรษฐกิจครึ่งปีหลัง ไทยจะเข้มแข็งได้จริงหรือไม่" ที่ จัดขึ้นโดย สถาบันสร้างสานอนาคตไทย ซึ่งมีคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ อดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย เป็นประธาน ว่า ตกใจ ที่รัฐบาลกล้าระบุว่า ครึ่งหลังของปี 2552 เศรษฐกิจไทยจะเข้มแข็ง เพราะหากดูภาพรวมแล้วไม่มีสถานการณ์ใด ๆ แสดงหรือส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจจะฟื้น ไม่ว่าจะเป็นการส่งออก สินค้าเกษตรก็ตกต่ำ การท่องเที่ยวก็มีปัญหาหนักทั้งจากปัจจัยภายนอกและภายในประเทศ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจโลก และไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009
"ขณะนี้เศรษฐกิจไทยดิ่งลงไม่ถึงพื้นด้วยซ้ำ และวิกฤติรอบนี้น่าจะยืดเยื้อ ในขณะที่รัฐบาลให้น้ำหนักการแก้ปัญหาหาเศรษฐกิจน้อยกว่าการเมือง โดยมีสัดส่วนร้อยละ 20 ต่อ 80 ไม่ทราบว่ารัฐบาลเข้าใจปัญหา หรือมีวิสัยทัศน์เพียงพอหรือไม่ การพูดเรื่องนโยบายเศรษฐกิจ แต่ละครั้งจะหวังผลทางการเมืองมากกว่า"
นายวีรพงษ์ กล่าวว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ น่าจะแย่กว่าในช่วงครึ่งปีแรก และในช่วงครึ่งแรกของปี 2553 น่าจะแย่ลงไปอีก
ส่วนแผนการกู้เงิน 8 แสนล้านบาทของรัฐบาลนั้น นายวีระพงษ์ มองว่า ในขณะนี้ยังไม่ชัดเจนว่า 3 ปี ข้างหน้าจะดำเนินการลงทุนอะไร ในขณะที่งบประมาณปี 2552 ยังไม่มีโครงการอะไรใหม่ ๆ จึงประเมินไม่ได้ว่า เศรษฐกิจจะฟื้นได้อย่างไร แต่ที่แน่ ๆ ตัวเลขการว่างงาน และเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นในขณะนี้ เริ่มมีความชัดเจนว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยกำลังเข้าสู่ภาวะเงินฝืด ระบบการเงินของประเทศ กำลังเข้าสู่ภาวะกับดักสภาพคล่อง เนื่องจากมีสภาพคล่องล้น แต่ไม่มีใครลงทุน
นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็ไม่ได้เข้ามาแก้ไขปัญหาเรื่องเงินบาทแข็งค่า และไม่สามารถดูแลให้ ธนาคารพาณิชย์ปล่อยกู้ได้ โดยสิ่งที่สำคัญในการพื้นเศรษฐกิจนั้น นโยบายการเงิน-การคลังจะต้องไปด้วยกัน เมื่อไปด้วยกันไม่ได้ จึงสรุปได้ว่า ครึ่งหลังของปีนี้อย่าถามว่าเศรษฐกิจฟื้น หรือไม่ ต้องถามว่าถึงพื้นหรือยัง และประเทศอื่น ๆ ที่เผชิญสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจนั้นจะจบเร็วกว่าไทย เพราะไทยมีปัญหาหลักคือปัญหาการเมืองที่ยังหาทางออกไม่ได้ และดูแล้วปัญหาจะลึกลงไปเรื่อย ๆ
"หลายครั้งรัฐบาลระบุว่าอนุมัติทุกอย่าง และโครงการพื้นฐานต่าง ๆ แต่ข้าราชการไม่ยอมเคลื่อนไหว ทั้งที่ระบบราชการ ต้องการผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน ถึงจะทำงานได้ หากนโยบายไม่ชัดเจน การเมืองไม่รับผิดชอบ ข้าราชการคงจะไม่มีขวัญกำลังใจในการทำงาน"
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 126
กอร์ปศักดิ์"เมิน"โกร่ง"เตือนศก.ดิ่ง เชื่อฝรั่งมากกว่า-ปลายปีนี้"ฟื้นตัว"
"กอร์ปศักดิ์"เมินคำเตือน "ดร.โกร่ง"มั่นใจเศรษฐกิจปลายปีฟื้นตัวตามทำนายของ"เอดีบี-เบอร์นาเก้" อ้างมีข้อมูลลึกกว่าอดีตขุนคลัง เมินบีบ ธปท.แก้ค่าบาท บอกผิดธรรมชาติ ลงเก็บข้อมูลมาบตาพุดรายงานนายกฯ อ้างแผนมลพิษทำลงทุนสะดุด 2 แสนล้าน
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ตอบโต้ข้อวิจารณ์ของนายวีรพงษ์ รามางกูร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประเมินเศรษฐกิจ 6 เดือนหลังของปี 2552 จะเลวร้ายลงกว่าเดิมว่า มุมมองนายวีรพงษ์แตกต่างกับอีกหลายคนที่ระบุตรงกันว่าเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวแล้ว และเชื่อความเห็นดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชียหรือเอดีบี และนายเบอร์นาเก้ นักเศรษฐศาสตร์ระดับโลกก็เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวแล้ว เชื่อว่าคนเหล่านี้น่าจะมีข้อมูลเชิงลึกมากกว่านายวีรพงษ์ ส่วนประเด็นที่นายวีรพงษ์ระบุว่าการกู้เงิน 8 แสนล้านบาท ไม่ชัดเจนว่าจะเอามาทำอะไร ยืนยันว่ารัฐบาล บอกแนวทางไปหมดแล้ว โดยเฉพาะการทำโครงการทั่วประเทศเพื่อให้เกิดการจ้างงาน เข้าใจว่านายวีรพงษ์อาจยังไม่เคยเห็นข้อมูลเหล่านี้ เลยเกิดความกังวล
นายกอร์ปศักดิ์กล่าวว่า ปัญหาค่าเงินบาท เป็นเพราะเศรษฐกิจในประเทศยังไม่เดินหน้าเต็มที่ สินค้านำเข้ายังพิกลพิการอยู่ ไม่มีการซื้อวัตถุดิบเท่าที่ควร ไม่มีการนำเข้าเครื่องจักรมาปรับปรุงธุรกิจเท่าที่ควร ทำให้ตัวเลขเกินดุลติดต่อกันหลายเดือน เป็นแรงกดดันต่อค่าเงินบาท อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาเรื่องนี้หากอยู่ดีๆ หากรัฐบาลจะไปสั่งให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แก้ปัญหาเรื่องนี้ เป็นเรื่องผิดธรรมชาติ เพราะต้องแก้ที่สาเหตุ ต้องให้มีการนำเข้าให้มากขึ้น ขณะนี้รัฐบาลเร่งยกเว้นภาษีนำเขาวัตถุดิบ เพื่อนำมาลงทุนแล้ว รวมถึงการชะลอกู้เงินต่างประเทศ โดยเอาเงินบาทไปซื้อดอลลาร์ เพื่อมาช่วยตัวเลขการนำเข้าที่พิกลพิการ ขณะนี้พบว่าตัวเลขการนำเข้าเริ่มขยับแล้ว แต่มีปัญหาตัวเลขส่งออกยังไม่ดีพอ
ส่วนที่มีการวิจารณ์ว่ารัฐบาลให้ความสำคัญกับปัญหาการเมืองมากกว่าเศรษฐกิจนั้น รองนายกฯฝ่ายเศรษฐกิจกล่าวว่า ไม่เป็นความจริง รัฐบาลให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจมาก แต่ข้อมูลที่ออกไปจะมีเรื่องเศรษฐกิจน้อย เพราะสีสันไม่เท่าเรื่องการเมือง ทำให้ดูว่ามีเรื่องการเมืองมากกว่า
นายกอร์ปศักดิ์กล่าวอีกว่า ในวันที่ 7 สิงหาคมนี้ จะไปนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เพื่อรับฟังปัญหา ข้อเท็จจริงและแนวทางแก้ไข เรื่องการฟ้องร้องต่อศาลปกครองกลางเพื่อบังคับให้รัฐต้องปฏิบัติตามกฎหมายมาตรา 67 รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 เพื่อนำรายละเอียดทั้งหมดมาให้นายกฯพิจารณาต่อไป เพราะล่าสุดสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานให้ทราบว่ารัฐบาลยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนหลังศาลตัดสิน ส่งผลกระทบต่อแผนการลงทุนของภาคเอกชนกว่า 2 แสนล้านบาท
แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยว่า ขณะนี้รัฐมนตรีเศรษฐกิจมีความเป็นห่วงเรื่องการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดมาก เพราะจนถึงขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้า ทั้ง ที่เป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วน ที่สำคัญยังทำให้กระทรวงอุตสาหกรรมไม่สามารถออกใบอนุญาตให้กับผู้ประกอบการได้ เพราะยังไม่มีความชัดเจน ทำให้เกิดความเสียหายอย่างมากเพราะการลงทุนของภาคอุตสาหกรรมในแต่ละอุตสาหกรรมต้องใช้เงินจำนวนมาก บางแห่งสูงหลายแสนล้านบาท โดยเฉพาะโครงการปิโตรเคมี ที่ต้องหยุดการดำเนินการทั้งหมด ซึ่งถือว่ากระทบต่อบรรยากาศการลงทุนอย่างแท้จริง
ทั้งนี้ ในที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจล่าสุด กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้รายงานให้ทราบว่าในการแก้ไขปัญหา ระยะสั้น ได้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณากรณีที่ภาคเอกชนอยู่ระหว่างการขยายการลงทุนว่าจะสามารถดำเนินการต่อไปได้หรือไม่ เชื่อว่าในเร็วๆ นี้ คณะกรรมการกฤษฎีกาจะตีความให้ชัดเจนต่อไป ขณะเดียวกัน ได้เร่งจัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อให้ความเห็นประกอบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โดยการยกร่างเพื่อให้ได้มาซึ่งองค์กรอิสระ คาดว่าภายใน 2-3 สัปดาห์จะแล้วเสร็จ ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขกำลังจัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (เอชไอเอ) เพื่อให้ ทส.นำไปกำหนดเป็นแนวทางร่วมกับการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ต่อไป
นายศิโรตม์ เสตะพันธุ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า สิ่งที่นายวีรพงษ์แสดงความเห็น ทางรัฐบาลก็รับฟัง แต่นายกรัฐมนตรีจะชี้แจงตัวเลขเศรษฐกิจบางอย่างในรายการเชื่อมั่นประเทศไทย ในวันที่ 2 สิงหาคม เพราะมีบางตัวเลขอาจจะยังไม่ได้ชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจอย่างชัดเจน แต่เชื่อว่าเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว แต่มีบางตัวเลขต้องทำความเข้าใจมากขึ้นเท่านั้น
นายศิโรตม์กล่าวว่า กระทรวงการคลังยังไม่มีการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจใหม่ในระยะนี้ เพราะมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในระยะสั้น ทำมาตั้งแต่กลางปีแล้ว ในขณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะกลางอยู่ระหว่างดำเนินการ ผ่านโครงการ "ไทยเข้มแข็ง" ส่วนแนวทางที่จะดำเนินการต่อไป เพื่อ ลดปัญหาอุปสรรคผู้ประกอบการ การปรับโครงสร้างพื้นฐานอุตสาหกรรม และพื้นฐานภาษี เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคของผู้ประกอบการ เพราะมีภาษีหลายตัวไม่เอื้อต่อการทำธุรกิจ เช่น ภาษีสรรพสามิต ภาษีการนำเข้า ยังมีปัญหาในวิธีปฏิบัติ และบางส่วนต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการเปิดเสรีทางการค้าหรือเอฟทีเอ
นายศิโรตน์กล่าวด้วยว่า ในที่ประชุม ครม. สัปดาห์หน้านั้น กระทรวงการคลังจะเสนอระเบียบวิธีปฏิบัติตามโครงการไทยเข้มแข็ง เพื่อกำหนดกรอบของแต่ละหน่วยงานจะต้องทำอย่างไร รวมถึงการโยกงบฯ หากหน่วยงานใดไม่ได้ใช้ โยกไปให้หน่วยงานอื่นได้หรือไม่ แต่ร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างยังไม่เข้าวันที่ 5 สิงหาคม แต่จะเข้าแน่นอนภายในเดือนสิงหาคม
"กอร์ปศักดิ์"เมินคำเตือน "ดร.โกร่ง"มั่นใจเศรษฐกิจปลายปีฟื้นตัวตามทำนายของ"เอดีบี-เบอร์นาเก้" อ้างมีข้อมูลลึกกว่าอดีตขุนคลัง เมินบีบ ธปท.แก้ค่าบาท บอกผิดธรรมชาติ ลงเก็บข้อมูลมาบตาพุดรายงานนายกฯ อ้างแผนมลพิษทำลงทุนสะดุด 2 แสนล้าน
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ตอบโต้ข้อวิจารณ์ของนายวีรพงษ์ รามางกูร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประเมินเศรษฐกิจ 6 เดือนหลังของปี 2552 จะเลวร้ายลงกว่าเดิมว่า มุมมองนายวีรพงษ์แตกต่างกับอีกหลายคนที่ระบุตรงกันว่าเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวแล้ว และเชื่อความเห็นดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชียหรือเอดีบี และนายเบอร์นาเก้ นักเศรษฐศาสตร์ระดับโลกก็เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวแล้ว เชื่อว่าคนเหล่านี้น่าจะมีข้อมูลเชิงลึกมากกว่านายวีรพงษ์ ส่วนประเด็นที่นายวีรพงษ์ระบุว่าการกู้เงิน 8 แสนล้านบาท ไม่ชัดเจนว่าจะเอามาทำอะไร ยืนยันว่ารัฐบาล บอกแนวทางไปหมดแล้ว โดยเฉพาะการทำโครงการทั่วประเทศเพื่อให้เกิดการจ้างงาน เข้าใจว่านายวีรพงษ์อาจยังไม่เคยเห็นข้อมูลเหล่านี้ เลยเกิดความกังวล
นายกอร์ปศักดิ์กล่าวว่า ปัญหาค่าเงินบาท เป็นเพราะเศรษฐกิจในประเทศยังไม่เดินหน้าเต็มที่ สินค้านำเข้ายังพิกลพิการอยู่ ไม่มีการซื้อวัตถุดิบเท่าที่ควร ไม่มีการนำเข้าเครื่องจักรมาปรับปรุงธุรกิจเท่าที่ควร ทำให้ตัวเลขเกินดุลติดต่อกันหลายเดือน เป็นแรงกดดันต่อค่าเงินบาท อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาเรื่องนี้หากอยู่ดีๆ หากรัฐบาลจะไปสั่งให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แก้ปัญหาเรื่องนี้ เป็นเรื่องผิดธรรมชาติ เพราะต้องแก้ที่สาเหตุ ต้องให้มีการนำเข้าให้มากขึ้น ขณะนี้รัฐบาลเร่งยกเว้นภาษีนำเขาวัตถุดิบ เพื่อนำมาลงทุนแล้ว รวมถึงการชะลอกู้เงินต่างประเทศ โดยเอาเงินบาทไปซื้อดอลลาร์ เพื่อมาช่วยตัวเลขการนำเข้าที่พิกลพิการ ขณะนี้พบว่าตัวเลขการนำเข้าเริ่มขยับแล้ว แต่มีปัญหาตัวเลขส่งออกยังไม่ดีพอ
ส่วนที่มีการวิจารณ์ว่ารัฐบาลให้ความสำคัญกับปัญหาการเมืองมากกว่าเศรษฐกิจนั้น รองนายกฯฝ่ายเศรษฐกิจกล่าวว่า ไม่เป็นความจริง รัฐบาลให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจมาก แต่ข้อมูลที่ออกไปจะมีเรื่องเศรษฐกิจน้อย เพราะสีสันไม่เท่าเรื่องการเมือง ทำให้ดูว่ามีเรื่องการเมืองมากกว่า
นายกอร์ปศักดิ์กล่าวอีกว่า ในวันที่ 7 สิงหาคมนี้ จะไปนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เพื่อรับฟังปัญหา ข้อเท็จจริงและแนวทางแก้ไข เรื่องการฟ้องร้องต่อศาลปกครองกลางเพื่อบังคับให้รัฐต้องปฏิบัติตามกฎหมายมาตรา 67 รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 เพื่อนำรายละเอียดทั้งหมดมาให้นายกฯพิจารณาต่อไป เพราะล่าสุดสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานให้ทราบว่ารัฐบาลยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนหลังศาลตัดสิน ส่งผลกระทบต่อแผนการลงทุนของภาคเอกชนกว่า 2 แสนล้านบาท
แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยว่า ขณะนี้รัฐมนตรีเศรษฐกิจมีความเป็นห่วงเรื่องการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดมาก เพราะจนถึงขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้า ทั้ง ที่เป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วน ที่สำคัญยังทำให้กระทรวงอุตสาหกรรมไม่สามารถออกใบอนุญาตให้กับผู้ประกอบการได้ เพราะยังไม่มีความชัดเจน ทำให้เกิดความเสียหายอย่างมากเพราะการลงทุนของภาคอุตสาหกรรมในแต่ละอุตสาหกรรมต้องใช้เงินจำนวนมาก บางแห่งสูงหลายแสนล้านบาท โดยเฉพาะโครงการปิโตรเคมี ที่ต้องหยุดการดำเนินการทั้งหมด ซึ่งถือว่ากระทบต่อบรรยากาศการลงทุนอย่างแท้จริง
ทั้งนี้ ในที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจล่าสุด กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้รายงานให้ทราบว่าในการแก้ไขปัญหา ระยะสั้น ได้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณากรณีที่ภาคเอกชนอยู่ระหว่างการขยายการลงทุนว่าจะสามารถดำเนินการต่อไปได้หรือไม่ เชื่อว่าในเร็วๆ นี้ คณะกรรมการกฤษฎีกาจะตีความให้ชัดเจนต่อไป ขณะเดียวกัน ได้เร่งจัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อให้ความเห็นประกอบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โดยการยกร่างเพื่อให้ได้มาซึ่งองค์กรอิสระ คาดว่าภายใน 2-3 สัปดาห์จะแล้วเสร็จ ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขกำลังจัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (เอชไอเอ) เพื่อให้ ทส.นำไปกำหนดเป็นแนวทางร่วมกับการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ต่อไป
นายศิโรตม์ เสตะพันธุ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า สิ่งที่นายวีรพงษ์แสดงความเห็น ทางรัฐบาลก็รับฟัง แต่นายกรัฐมนตรีจะชี้แจงตัวเลขเศรษฐกิจบางอย่างในรายการเชื่อมั่นประเทศไทย ในวันที่ 2 สิงหาคม เพราะมีบางตัวเลขอาจจะยังไม่ได้ชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจอย่างชัดเจน แต่เชื่อว่าเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว แต่มีบางตัวเลขต้องทำความเข้าใจมากขึ้นเท่านั้น
นายศิโรตม์กล่าวว่า กระทรวงการคลังยังไม่มีการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจใหม่ในระยะนี้ เพราะมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในระยะสั้น ทำมาตั้งแต่กลางปีแล้ว ในขณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะกลางอยู่ระหว่างดำเนินการ ผ่านโครงการ "ไทยเข้มแข็ง" ส่วนแนวทางที่จะดำเนินการต่อไป เพื่อ ลดปัญหาอุปสรรคผู้ประกอบการ การปรับโครงสร้างพื้นฐานอุตสาหกรรม และพื้นฐานภาษี เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคของผู้ประกอบการ เพราะมีภาษีหลายตัวไม่เอื้อต่อการทำธุรกิจ เช่น ภาษีสรรพสามิต ภาษีการนำเข้า ยังมีปัญหาในวิธีปฏิบัติ และบางส่วนต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการเปิดเสรีทางการค้าหรือเอฟทีเอ
นายศิโรตน์กล่าวด้วยว่า ในที่ประชุม ครม. สัปดาห์หน้านั้น กระทรวงการคลังจะเสนอระเบียบวิธีปฏิบัติตามโครงการไทยเข้มแข็ง เพื่อกำหนดกรอบของแต่ละหน่วยงานจะต้องทำอย่างไร รวมถึงการโยกงบฯ หากหน่วยงานใดไม่ได้ใช้ โยกไปให้หน่วยงานอื่นได้หรือไม่ แต่ร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างยังไม่เข้าวันที่ 5 สิงหาคม แต่จะเข้าแน่นอนภายในเดือนสิงหาคม
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 127
ม.หอการค้าไทย ชี้ไทยส่อเงินฝืดแท้จริง จี้รัฐ เดินหน้ามาตการ SP2 กระตุ้นการ
ใช้จ่ายประชาชน
ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ
และคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวกับ
eFinanceThai.com ว่า เงินเฟ้อทั่วไปที่ติดลบติดต่อต่อกันถึง 7 เดือน บ่งชี้ว่าขณะนี้
ประเทศไทยเข้าสู่ภาวะเงินฝืดทางเทคนิค หลังราคาน้ำมันเมื่อเทียบกับปีก่อนปรับตัว
ลดลงมาก รวมไปถึง 5 มาตการ 6 เดือน ของช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชนของภาค
รัฐก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่กดดันให้อตราเงินเฟ้อติดลบ
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าขณะนี้ภาวะเงินฝืดที่เกิดขึ้นจะเป็นเพียงทางเทคนิค
แต่หากเจาะลึกลงถึงสินค้าหลายรายการที่ไม่ได้รับผลกระทบจากมาตรการรัฐบาลและ
ราคาน้ำมันก็ยังพบว่าราคาปรับตัวลดลง ซึ่งตรงจุดดังกล่าวบ่งชี้ให้เห็นว่ากำลังซื้อของ
ประชาชนเริ่มหดหายไปบ้างตามทิศทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และถือเป็นเรื่องที่น่า
เป็นห่วง
ทั้งนี้ในไตรมาส 3/52 จะยังคงเกิดภาวะดังกล่าวต่อเนื่อง เพราะมองว่า
เศรษฐกิจไทยจะยังไม่ฟื้น หลังโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ 2009 ยังคงแพร่ระบาด
ส่งผลกระทบให้ประชาชนระมัดระวังในการบริโภคมากขึ้น เช่นเดียวกับการท่องเที่ยว
รวมถึงการส่งออกจะยังไม่ฟื้นตัว
ขณะที่ไตรมาส 4/52 คาดการณ์เงินเฟ้อจะพลิกกลับมาเป็นบวกได้เล็กน้อย
แต่ต้องอยู่ภายใต้สมมุติฐานที่เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว ประกอบกับรัฐบาลจะต้องเร่งผลักดัน
ให้มาตการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะ ที่ 2 ภายใต้ปฎิบัตการไทยเข้มแข็ง 2555 เกิด
เป็นรูปธรรมโดยเร็ว เพื่อช่วยกระตุ้นกำลังซื้อของประชาชน ทั้งนี้เบื้องต้นศูนย์
พยากรณ์เศรษฐกิจฯยังคงประมาณการณ์เงินเฟ้อทัวไปในปีนี้จะติดลบ 0.5-1%
'ในไตรมาส 4 คาดว่าเงินเฟ้อจะกลับมาเป็นบวกได้เล็กน้อย แต่ต้องอยู่ภาย
ใต้กรณีที่ เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว รัฐต้องเร่งเดินหน้ามาตการ SP2 เพื่อกระตุ้นการใช้
จ่ายประชาชน เพราะหากรัฐบาลไม่สามารถผลักดัน SP2 ให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมโดย
เร็วอาจส่งผลให้ไทยต้องเผชิญกับภาวะเงินฟืดที่แท้จริงไม่ใช่แค่เพียงทางเทคนิค'
ผศ.ดร.ธนวรรธน์ กล่าว
ใช้จ่ายประชาชน
ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ
และคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวกับ
eFinanceThai.com ว่า เงินเฟ้อทั่วไปที่ติดลบติดต่อต่อกันถึง 7 เดือน บ่งชี้ว่าขณะนี้
ประเทศไทยเข้าสู่ภาวะเงินฝืดทางเทคนิค หลังราคาน้ำมันเมื่อเทียบกับปีก่อนปรับตัว
ลดลงมาก รวมไปถึง 5 มาตการ 6 เดือน ของช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชนของภาค
รัฐก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่กดดันให้อตราเงินเฟ้อติดลบ
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าขณะนี้ภาวะเงินฝืดที่เกิดขึ้นจะเป็นเพียงทางเทคนิค
แต่หากเจาะลึกลงถึงสินค้าหลายรายการที่ไม่ได้รับผลกระทบจากมาตรการรัฐบาลและ
ราคาน้ำมันก็ยังพบว่าราคาปรับตัวลดลง ซึ่งตรงจุดดังกล่าวบ่งชี้ให้เห็นว่ากำลังซื้อของ
ประชาชนเริ่มหดหายไปบ้างตามทิศทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และถือเป็นเรื่องที่น่า
เป็นห่วง
ทั้งนี้ในไตรมาส 3/52 จะยังคงเกิดภาวะดังกล่าวต่อเนื่อง เพราะมองว่า
เศรษฐกิจไทยจะยังไม่ฟื้น หลังโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ 2009 ยังคงแพร่ระบาด
ส่งผลกระทบให้ประชาชนระมัดระวังในการบริโภคมากขึ้น เช่นเดียวกับการท่องเที่ยว
รวมถึงการส่งออกจะยังไม่ฟื้นตัว
ขณะที่ไตรมาส 4/52 คาดการณ์เงินเฟ้อจะพลิกกลับมาเป็นบวกได้เล็กน้อย
แต่ต้องอยู่ภายใต้สมมุติฐานที่เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว ประกอบกับรัฐบาลจะต้องเร่งผลักดัน
ให้มาตการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะ ที่ 2 ภายใต้ปฎิบัตการไทยเข้มแข็ง 2555 เกิด
เป็นรูปธรรมโดยเร็ว เพื่อช่วยกระตุ้นกำลังซื้อของประชาชน ทั้งนี้เบื้องต้นศูนย์
พยากรณ์เศรษฐกิจฯยังคงประมาณการณ์เงินเฟ้อทัวไปในปีนี้จะติดลบ 0.5-1%
'ในไตรมาส 4 คาดว่าเงินเฟ้อจะกลับมาเป็นบวกได้เล็กน้อย แต่ต้องอยู่ภาย
ใต้กรณีที่ เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว รัฐต้องเร่งเดินหน้ามาตการ SP2 เพื่อกระตุ้นการใช้
จ่ายประชาชน เพราะหากรัฐบาลไม่สามารถผลักดัน SP2 ให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมโดย
เร็วอาจส่งผลให้ไทยต้องเผชิญกับภาวะเงินฟืดที่แท้จริงไม่ใช่แค่เพียงทางเทคนิค'
ผศ.ดร.ธนวรรธน์ กล่าว
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 128
คาดเศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นก่อนสหรัฐ
ไตรมาส 2 ศก.ญี่ปุ่นเติบโต 1.3% แข็งแกร่งสุดในกลุ่มจี 7 เชื่อฟื้นตัวก่อนสหรัฐ ชี้ได้รับอานิสงส์จากจีนและมาตรการการกระตุ้นภายใน แต่ยังเสี่ยงถูกเงินฝืดเล่นงานจนติดหล่ม นักเศรษฐศาสตร์อเมริกันทำนาย ลำพังจีนไม่สามารถฉุดโลกพ้นวิกฤต เหตุขนาดการบริโภคต่ำกว่าสหรัฐหลายเท่า
นักวิเคราะห์ของมอร์แกน สแตนลีย์ เชื่อว่าญี่ปุ่นจะเป็นหนึ่งในประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่จะฟื้นตัวหรือเติบโตก่อนสหรัฐอเมริกา เนื่องจากญี่ปุ่นซึ่งมีจีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุด จะได้รับอานิสงส์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่ามหาศาลของรัฐบาลจีน รวมทั้งได้รับผลดีจากการกระตุ้นของรัฐบาลญี่ปุ่นเอง และภาวะตลาดสินเชื่อที่ดีขึ้น โดยประเมินว่าไตรมาสที่ 2 ของปีนี้เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัว 1.3% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรก ซึ่งนับเป็นไตรมาสแรกที่เติบโต หลังจากติดลบติดต่อกัน 5 ไตรมาส ขณะที่เศรษฐกิจของสหรัฐไตรมาสที่ 2 ติดลบ 1%
รายงานข่าวระบุว่า ไตรมาสที่ 2 ผลผลิตโรงงานของญี่ปุ่นขยายตัว 8.3% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรก เติบโตสูงสุดนับจาก ค.ศ.1953 หรือในรอบ 56 ปี และเกินดุลการค้าเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 20 เดือน ส่วนบริษัทญี่ปุ่นขนาดใหญ่ที่เคยขาดทุนอย่างหนัก เช่น โซนี่ โตโยต้า ก็เริ่มเห็นแสงแห่งความหวัง เพราะขาดทุนน้อยกว่าที่คาด
นายนูรีล รูบินี นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกัน ซึ่งมีชื่อเสียงในการทำนายวิกฤตการเงิน ระบุว่า ลำพังจีนไม่สามารถเป็นผู้นำที่จะทำให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว เพราะการบริโภคภาคครัวเรือนของจีนมีเพียง 15% ของการบริโภคภาคครัวเรือนของสหรัฐ ดังนั้น การบริโภคภายในจีนไม่สามารถส่งอานิสงส์ไปยังภายนอก ขณะที่เชื่อว่าอัตราการว่างงานของสหรัฐปีหน้าจะเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 11% จากปัจจุบัน 9.5% ดังนั้น ผู้บริโภคอเมริกันก็จะยังปิดกระเป๋าเงินต่อไป เช่นเดียวกับภาคการผลิตก็จะลดต่ำลงอีก
ที่มา : เว็บไซต์มติชน
ไตรมาส 2 ศก.ญี่ปุ่นเติบโต 1.3% แข็งแกร่งสุดในกลุ่มจี 7 เชื่อฟื้นตัวก่อนสหรัฐ ชี้ได้รับอานิสงส์จากจีนและมาตรการการกระตุ้นภายใน แต่ยังเสี่ยงถูกเงินฝืดเล่นงานจนติดหล่ม นักเศรษฐศาสตร์อเมริกันทำนาย ลำพังจีนไม่สามารถฉุดโลกพ้นวิกฤต เหตุขนาดการบริโภคต่ำกว่าสหรัฐหลายเท่า
นักวิเคราะห์ของมอร์แกน สแตนลีย์ เชื่อว่าญี่ปุ่นจะเป็นหนึ่งในประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่จะฟื้นตัวหรือเติบโตก่อนสหรัฐอเมริกา เนื่องจากญี่ปุ่นซึ่งมีจีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุด จะได้รับอานิสงส์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่ามหาศาลของรัฐบาลจีน รวมทั้งได้รับผลดีจากการกระตุ้นของรัฐบาลญี่ปุ่นเอง และภาวะตลาดสินเชื่อที่ดีขึ้น โดยประเมินว่าไตรมาสที่ 2 ของปีนี้เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัว 1.3% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรก ซึ่งนับเป็นไตรมาสแรกที่เติบโต หลังจากติดลบติดต่อกัน 5 ไตรมาส ขณะที่เศรษฐกิจของสหรัฐไตรมาสที่ 2 ติดลบ 1%
รายงานข่าวระบุว่า ไตรมาสที่ 2 ผลผลิตโรงงานของญี่ปุ่นขยายตัว 8.3% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรก เติบโตสูงสุดนับจาก ค.ศ.1953 หรือในรอบ 56 ปี และเกินดุลการค้าเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 20 เดือน ส่วนบริษัทญี่ปุ่นขนาดใหญ่ที่เคยขาดทุนอย่างหนัก เช่น โซนี่ โตโยต้า ก็เริ่มเห็นแสงแห่งความหวัง เพราะขาดทุนน้อยกว่าที่คาด
นายนูรีล รูบินี นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกัน ซึ่งมีชื่อเสียงในการทำนายวิกฤตการเงิน ระบุว่า ลำพังจีนไม่สามารถเป็นผู้นำที่จะทำให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว เพราะการบริโภคภาคครัวเรือนของจีนมีเพียง 15% ของการบริโภคภาคครัวเรือนของสหรัฐ ดังนั้น การบริโภคภายในจีนไม่สามารถส่งอานิสงส์ไปยังภายนอก ขณะที่เชื่อว่าอัตราการว่างงานของสหรัฐปีหน้าจะเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 11% จากปัจจุบัน 9.5% ดังนั้น ผู้บริโภคอเมริกันก็จะยังปิดกระเป๋าเงินต่อไป เช่นเดียวกับภาคการผลิตก็จะลดต่ำลงอีก
ที่มา : เว็บไซต์มติชน
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 129
อเมริกาจัดการกับสถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการอย่างไร? Failed Bank in US
กระทรวงการคลัง -- พฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม 2009 12:34:04 น.
วิกฤตเศรษฐกิจโลกน่าจะผ่านจุดต่ำสุดแล้ว แต่มีข้อถกเถียงว่าจะฟื้นตัวในลักษณะ V-Shape หรือ U-Shape ผลของวิกฤตที่ผ่านมาทำให้สถาบันการเงินของสหรัฐอเมริกาในครึ่งปี 2009 นี้ต้องปิดกิจการไปกว่า 50 แห่ง สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากสถาบันการเงินไม่สามารถดำรงเงินกองทุนฯตามที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย จึงต้องถูกปิดกิจการไป (ในสหรัฐอเมริกาได้กำหนดให้สถาบันการเงินดำรงเงินกองทุนฯ ขั้นต่ำไว้ที่ 6%) อย่างไรก็ดี องค์กรที่เข้ามามีบทบาทสำคัญเมื่อสถาบันการเงินถูกเพิกถอนใบอนุญาตหรือถูกปิดกิจการ คือ สถาบันประกันเงินฝาก ซึ่งในสหรัฐอเมริกาเรียกว่า Federal Deposit Insurance Corporation หรือ FDIC
หากย้อนกลับไปดูกฎหมายสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสถาบันประกันเงินฝากและการดำเนินการกับสถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการในสหรัฐอเมริกาจะเห็นได้ว่า Banking Act of 1933 กำหนดให้มีการจัดตั้ง FDIC เป็นสถาบันประกันเงินฝากเป็นการชั่วคราว โดยต่อมา Banking Act of 1935 ได้กำหนดให้สถาบันประกันเงินฝากเป็นหน่วยงานหนึ่งของรัฐที่ถาวร และในปี 1950 ได้มีกฎหมายเฉพาะสำหรับสถาบันประกันเงินฝากอย่างเป็นทางการหรือเรียกว่า Federal Deposit Insurance Act of 1950
หลังจากนั้น รัฐบาลได้ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการกับสถาบันการเงินที่ประสบปัญหาและสถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการอีกหลายฉบับ เช่น Competitive Equality Banking Act (CEBA) 1987 ว่าด้วยเรื่องของการให้ FDIC มีอำนาจดำเนินการจัดการกับสินทรัพย์และหนี้สินของสถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี หรือจนกว่าจะมีผู้ซื้อเข้าซื้อกิจการ รวมถึงการจัดตั้ง Bridge Bnk และได้ปรับปรุงกฎหมายของสถาบันประกันเงินฝากเรียกว่า Federal Deposit Insurance Corporation Improvement Act of 1991 หรือ FDICIA ซึ่งมีสาระสำคัญคือ การเพิ่มอำนาจให้ FDIC ในเรื่องการเพิ่มทุนให้กับกองทุนประกันเงินฝาก โดย FDIC สามารถกู้ยืมเงินจากกระทรวงการคลังได้ นอกจากนี้ กฎหมายได้กล่าวถึงการให้ FDIC ใช้วิธีการเข้าช่วยเหลือสถาบันการเงินที่ประสบปัญหาโดยวิธีการใช้ต้นทุนที่ต่ำที่สุดและวิธีการเข้าช่วยเหลืออย่างทันท่วงที รวมทั้งการจัดทำหลักเกณฑ์ใหม่ในการกำกับดูแลและตรวจสอบสถาบันการเงิน
การดำเนินการของสถาบันประกันเงินฝากในสหรัฐอเมริกาคือ เมื่อสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกประสบปัญหาจนถูกปิดกิจการ สถาบันประกันเงินฝากหรือ FDIC จะทำหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์ทรัพย์และดำเนินการกับสถาบันการเงินดังกล่าว โดยที่ผ่านมาส่วนใหญ่ FDIC จะดำเนินการทำข้อตกลงในการซื้อและครอบครองสินทรัพย์ (Purchase and Assumption Agreement) กับสถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการ โดยลูกค้าของสถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการจะกลายมาเป็นลูกค้าของสถาบันการเงินที่เป็นผู้เข้าครอบครองกิจการโดยอัตโนมัติ ซึ่ง FDIC จะทำการรับประกันเงินฝากให้สถาบันการเงินผู้ซื้อกิจการดังกล่าวตามปกติต่อไป ดังนั้น FDIC จึงไม่ต้องจ่ายเงินคืนให้แก่ผู้ฝากเงินกับสถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการ ยกตัวอย่างกรณีของ Washington Mutual Bank (WAMU) ซึ่งก่อนถูกปิดกิจการ WAMU นับว่าเป็นสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในบรรดาสถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการไป (มีเงินฝาก 188 พันล้านเหรียญสหรัฐ และมีสาขา 2,200 สาขา) แต่เมื่อ WAMU ถูกปิดกิจการเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2008 FDIC ในฐานะผู้พิทักษ์ทรัพย์ต้องดำเนินการจัดการกับทรัพย์สินของ WAMU โดย FDIC ได้จัดทำการประมูลทรัพย์สินของ WAMU และในที่สุด JPMorgan Chase เป็นผู้ให้ราคาสูงที่สุดโดยใช้วิธีการแก้ปัญหาที่ใช้ต้นทุนต่ำที่สุด ดังนั้น ทรัพย์สินของ WAMU จะถูกโอนเป็นทรัพย์สินของ JPMorgan Chase กล่าวคือ ลูกค้าของ WAMU จะกลายเป็นลูกค้าของ JPMorgan Chase โดยอัตโนมัติ ทำให้ JPMorgan Chase เป็นสถาบันการเงินที่มีเงินฝากมากที่สุดในโลก
บางกรณี หากไม่มีผู้ซื้อใดมาทำข้อตกลง P&A กับ FDIC เพื่อเข้าครอบครองสินทรัพย์ของสถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการแล้ว ภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการกับสถาบันการเงินได้ให้ FDIC สามารถจัดตั้ง Bridge Bank ขึ้นมาเป็นการชั่วคราว เพื่อดำเนินการกับเงินฝากและหนี้สินของสถาบันการเงินที่ถูกปิดไปได้ โดยกฎหมายได้กำหนดให้ Bridge Bank มีอำนาจ ดังนี้ 1) เข้าครอบครองเงินฝาก 2) เข้าครอบครองหนี้สิน 3) เข้าครอบครองสินทรัพย์ 4) ดำเนินการอื่นๆ เป็นการชั่วคราวตามที่ Federal Deposit Insurance Act กำหนด โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2552 FDIC ในฐานะผู้พิทักษ์ทรัพย์ของ Silverton Bank ได้จัดตั้ง Bridge bank ขึ้นภายใต้ชื่อ Silverton Bridge Bank เพื่อดำเนินกิจการ ซึ่งลูกค้าของ Silverton Bank สามารถใช้บริการที่ Silverton Bridge Bank ได้ตามปกติ
สรุปคือ ในสหรัฐอเมริกา นอกจากสถาบันประกันเงินฝากจะมีหน้าที่รับประกันเงินฝากให้แก่ผู้ฝากเงินเมื่อสถาบันการเงินถูกปิดกิจการ สถาบันประกันเงินฝากยังมีหน้าที่ช่วยสนับสนุนสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกให้มีความปลอดภัยและน่าเชื่อถือโดยการกำกับและติดตามฐานะการดำเนินการของสถาบันการเงินสมาชิก ซึ่งอำนาจหน้าที่ที่ได้มาตามกฎหมาย ทำให้ FDIC มีอำนาจที่จะเข้าช่วยเหลือและดำเนินการกับสถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการ โดยกรณีที่ 1 FDIC ในฐานะผู้พิทักษ์ทรัพย์ของสถาบันการเงินสมาชิกที่ถูกปิดกิจการ FDIC สามารถขายกิจการดังกล่าวออกไปได้ กรณีที่ 2 FDIC สามารถจัดตั้ง Bridge Bank ขึ้นมาเพื่อดำเนินกิจการของสถาบันการเงินสมาชิกที่ถูกปิดการต่อ หรือนอกเหนือจาก 2 กรณีดังกล่าวแล้ว FDIC ต้องดำเนินการจ่ายเงินคืนให้แก่ผู้ฝากเงินกับสถาบันการเงินสมาชิกที่ถูกปิดกิจการ
**บทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียนมิได้สะท้อนถึงองค์กรที่ผู้เขียนสังกัดแต่อย่างใด**
โดย จรัสวิชญ สายธารทอง
เศรษฐกร ส่วนนโยบายคุ้มครองเงินฝาก
สำนักนโยบายระบบการคุ้มครองผลประโยชน์ทางการเงิน
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th
กระทรวงการคลัง -- พฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม 2009 12:34:04 น.
วิกฤตเศรษฐกิจโลกน่าจะผ่านจุดต่ำสุดแล้ว แต่มีข้อถกเถียงว่าจะฟื้นตัวในลักษณะ V-Shape หรือ U-Shape ผลของวิกฤตที่ผ่านมาทำให้สถาบันการเงินของสหรัฐอเมริกาในครึ่งปี 2009 นี้ต้องปิดกิจการไปกว่า 50 แห่ง สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากสถาบันการเงินไม่สามารถดำรงเงินกองทุนฯตามที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย จึงต้องถูกปิดกิจการไป (ในสหรัฐอเมริกาได้กำหนดให้สถาบันการเงินดำรงเงินกองทุนฯ ขั้นต่ำไว้ที่ 6%) อย่างไรก็ดี องค์กรที่เข้ามามีบทบาทสำคัญเมื่อสถาบันการเงินถูกเพิกถอนใบอนุญาตหรือถูกปิดกิจการ คือ สถาบันประกันเงินฝาก ซึ่งในสหรัฐอเมริกาเรียกว่า Federal Deposit Insurance Corporation หรือ FDIC
หากย้อนกลับไปดูกฎหมายสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสถาบันประกันเงินฝากและการดำเนินการกับสถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการในสหรัฐอเมริกาจะเห็นได้ว่า Banking Act of 1933 กำหนดให้มีการจัดตั้ง FDIC เป็นสถาบันประกันเงินฝากเป็นการชั่วคราว โดยต่อมา Banking Act of 1935 ได้กำหนดให้สถาบันประกันเงินฝากเป็นหน่วยงานหนึ่งของรัฐที่ถาวร และในปี 1950 ได้มีกฎหมายเฉพาะสำหรับสถาบันประกันเงินฝากอย่างเป็นทางการหรือเรียกว่า Federal Deposit Insurance Act of 1950
หลังจากนั้น รัฐบาลได้ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการกับสถาบันการเงินที่ประสบปัญหาและสถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการอีกหลายฉบับ เช่น Competitive Equality Banking Act (CEBA) 1987 ว่าด้วยเรื่องของการให้ FDIC มีอำนาจดำเนินการจัดการกับสินทรัพย์และหนี้สินของสถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี หรือจนกว่าจะมีผู้ซื้อเข้าซื้อกิจการ รวมถึงการจัดตั้ง Bridge Bnk และได้ปรับปรุงกฎหมายของสถาบันประกันเงินฝากเรียกว่า Federal Deposit Insurance Corporation Improvement Act of 1991 หรือ FDICIA ซึ่งมีสาระสำคัญคือ การเพิ่มอำนาจให้ FDIC ในเรื่องการเพิ่มทุนให้กับกองทุนประกันเงินฝาก โดย FDIC สามารถกู้ยืมเงินจากกระทรวงการคลังได้ นอกจากนี้ กฎหมายได้กล่าวถึงการให้ FDIC ใช้วิธีการเข้าช่วยเหลือสถาบันการเงินที่ประสบปัญหาโดยวิธีการใช้ต้นทุนที่ต่ำที่สุดและวิธีการเข้าช่วยเหลืออย่างทันท่วงที รวมทั้งการจัดทำหลักเกณฑ์ใหม่ในการกำกับดูแลและตรวจสอบสถาบันการเงิน
การดำเนินการของสถาบันประกันเงินฝากในสหรัฐอเมริกาคือ เมื่อสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกประสบปัญหาจนถูกปิดกิจการ สถาบันประกันเงินฝากหรือ FDIC จะทำหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์ทรัพย์และดำเนินการกับสถาบันการเงินดังกล่าว โดยที่ผ่านมาส่วนใหญ่ FDIC จะดำเนินการทำข้อตกลงในการซื้อและครอบครองสินทรัพย์ (Purchase and Assumption Agreement) กับสถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการ โดยลูกค้าของสถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการจะกลายมาเป็นลูกค้าของสถาบันการเงินที่เป็นผู้เข้าครอบครองกิจการโดยอัตโนมัติ ซึ่ง FDIC จะทำการรับประกันเงินฝากให้สถาบันการเงินผู้ซื้อกิจการดังกล่าวตามปกติต่อไป ดังนั้น FDIC จึงไม่ต้องจ่ายเงินคืนให้แก่ผู้ฝากเงินกับสถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการ ยกตัวอย่างกรณีของ Washington Mutual Bank (WAMU) ซึ่งก่อนถูกปิดกิจการ WAMU นับว่าเป็นสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในบรรดาสถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการไป (มีเงินฝาก 188 พันล้านเหรียญสหรัฐ และมีสาขา 2,200 สาขา) แต่เมื่อ WAMU ถูกปิดกิจการเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2008 FDIC ในฐานะผู้พิทักษ์ทรัพย์ต้องดำเนินการจัดการกับทรัพย์สินของ WAMU โดย FDIC ได้จัดทำการประมูลทรัพย์สินของ WAMU และในที่สุด JPMorgan Chase เป็นผู้ให้ราคาสูงที่สุดโดยใช้วิธีการแก้ปัญหาที่ใช้ต้นทุนต่ำที่สุด ดังนั้น ทรัพย์สินของ WAMU จะถูกโอนเป็นทรัพย์สินของ JPMorgan Chase กล่าวคือ ลูกค้าของ WAMU จะกลายเป็นลูกค้าของ JPMorgan Chase โดยอัตโนมัติ ทำให้ JPMorgan Chase เป็นสถาบันการเงินที่มีเงินฝากมากที่สุดในโลก
บางกรณี หากไม่มีผู้ซื้อใดมาทำข้อตกลง P&A กับ FDIC เพื่อเข้าครอบครองสินทรัพย์ของสถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการแล้ว ภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการกับสถาบันการเงินได้ให้ FDIC สามารถจัดตั้ง Bridge Bank ขึ้นมาเป็นการชั่วคราว เพื่อดำเนินการกับเงินฝากและหนี้สินของสถาบันการเงินที่ถูกปิดไปได้ โดยกฎหมายได้กำหนดให้ Bridge Bank มีอำนาจ ดังนี้ 1) เข้าครอบครองเงินฝาก 2) เข้าครอบครองหนี้สิน 3) เข้าครอบครองสินทรัพย์ 4) ดำเนินการอื่นๆ เป็นการชั่วคราวตามที่ Federal Deposit Insurance Act กำหนด โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2552 FDIC ในฐานะผู้พิทักษ์ทรัพย์ของ Silverton Bank ได้จัดตั้ง Bridge bank ขึ้นภายใต้ชื่อ Silverton Bridge Bank เพื่อดำเนินกิจการ ซึ่งลูกค้าของ Silverton Bank สามารถใช้บริการที่ Silverton Bridge Bank ได้ตามปกติ
สรุปคือ ในสหรัฐอเมริกา นอกจากสถาบันประกันเงินฝากจะมีหน้าที่รับประกันเงินฝากให้แก่ผู้ฝากเงินเมื่อสถาบันการเงินถูกปิดกิจการ สถาบันประกันเงินฝากยังมีหน้าที่ช่วยสนับสนุนสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกให้มีความปลอดภัยและน่าเชื่อถือโดยการกำกับและติดตามฐานะการดำเนินการของสถาบันการเงินสมาชิก ซึ่งอำนาจหน้าที่ที่ได้มาตามกฎหมาย ทำให้ FDIC มีอำนาจที่จะเข้าช่วยเหลือและดำเนินการกับสถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการ โดยกรณีที่ 1 FDIC ในฐานะผู้พิทักษ์ทรัพย์ของสถาบันการเงินสมาชิกที่ถูกปิดกิจการ FDIC สามารถขายกิจการดังกล่าวออกไปได้ กรณีที่ 2 FDIC สามารถจัดตั้ง Bridge Bank ขึ้นมาเพื่อดำเนินกิจการของสถาบันการเงินสมาชิกที่ถูกปิดการต่อ หรือนอกเหนือจาก 2 กรณีดังกล่าวแล้ว FDIC ต้องดำเนินการจ่ายเงินคืนให้แก่ผู้ฝากเงินกับสถาบันการเงินสมาชิกที่ถูกปิดกิจการ
**บทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียนมิได้สะท้อนถึงองค์กรที่ผู้เขียนสังกัดแต่อย่างใด**
โดย จรัสวิชญ สายธารทอง
เศรษฐกร ส่วนนโยบายคุ้มครองเงินฝาก
สำนักนโยบายระบบการคุ้มครองผลประโยชน์ทางการเงิน
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 130
'ครุกแมน'ชี้ต้องอีก2ปีศก.โลกฟื้น แม้รอดพ้น'เกรทดีเปรสชัน2.0'แล้ว
'ครุกแมน'ชี้ต้องอีก2ปีศก.โลกฟื้น แม้รอดพ้น'เกรทดีเปรสชัน2.0'แล้ว
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 10 สิงหาคม 2552 23:33 น.
เอ เอฟพี-พอล ครุกแมน กูรูเศรษฐศาสตร์ชื่อดังเจ้าของรางวัลโนเบลคนล่าสุดยืนยัน โลกสามารถหลีกเลี่ยง " เกรท ดีเปรสชัน เวอร์ชัน 2 .0 " ได้แล้ว แต่การที่เศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่ยังต้องใช้เวลาอีก 2 ปีเป็นอย่างน้อย
ศาสตราจารย์พอล ครุกแมน ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์มหภาค แห่งมหาวิทยาลัยพรินซ์ตันในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นเจ้าของรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์เมื่อปีที่แล้ว ได้มาปาฐกถาในเวทีสัมมนาด้านธุรกิจระหว่างประเทศที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ของ มาเลเซียเมื่อวันจันทร์ (10) โดยระบุว่า ถึงแม้จุดที่เลวร้ายที่สุดของวิกฤตทางการเงินจะผ่านพ้นไปแล้ว แต่ปัญหาสำคัญที่ทั่วโลกต้องเผชิญในขณะนี้คือการที่ภาวะเศรษฐกิจโลกยังคงมี แนวโน้มจะซบเซาแบบต่อเนื่องยาวนาน
ครุกแมนยืนยันว่าโลกสามารถหลีกเลี่ยงภาวะวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำครั้ง ใหญ่ระลอกที่ 2 หรือ " เกรท ดีเปรสชัน เวอร์ชัน 2 .0 " ได้แล้ว แต่เขาเชื่อว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกอย่างเต็มที่ อาจต้องใช้ระยะเวลาอีกอย่างน้อย 2 ปี หรืออาจยาวนานกว่านั้น เช่นเดียวกับปรากฏการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในญี่ปุ่นเมื่อช่วงทศวรรษที่ 1990 ซึ่งถูกขนานนามว่าเป็น " ทศวรรษแห่งความสูญเปล่า" เนื่องจากแม้จะไม่ได้มีภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจที่รุนแรง แต่ก็เป็นยุคที่เศรษฐกิจของญี่ปุ่นมีอัตราการเติบโตช้าแบบต่อเนื่องยาวนาน ถึง 10 ปี
นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังผู้นี้บอกว่า หากจะหามาอะไรที่เปรียบเทียบกับความเลวร้ายในปัจจุบันแล้ว พวกนักเศรษฐศาสตร์ก็ต้องหันไปหาช่วงทศวรรษ 1930 เมื่อเกิดเกรท ดีเปรสชัน ครั้งแรก โดยในคราวนั้นวิกฤตสิ้นสุดลง "ด้วยโครงการงานสาธารณะอันใหญ่โตมหึมาอย่างยิ่งที่รู้จักกันในนามสงครามโลก ครั้งที่สอง"
"หวังใจว่าเราไม่ได้กำลังจะใช้ยุทธศาสตร์ดังกล่าวซ้ำอีก" เขาปล่อยมุก พร้อมกันนี้ก็ย้ำว่า บรรดาผู้กำหนดนโยบายทั้งหลายควรจะหามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม ควบคู่ไปกับการยอมกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อที่สูงขึ้น และกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในภาคธุรกิจมากขึ้นไปพร้อมกัน
ครุกแมน วัย 56 ปี ระบุว่า แนวทางที่ประเทศต่างๆ พยายามใช้รายได้จากการส่งออกสินค้าและเน้นทำการค้ากับบรรดาประเทศใหญ่ๆที่มี ความมั่งคั่งอย่างล้นเหลือ เพื่อผลักดันให้เกิดการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วตามที่เคยยึดถือปฎิ บัติกันมาในอดีตนั้น ไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้องที่จะช่วยนำพาให้ประเทศต่างๆ ฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้แต่อย่างใด เนื่องจากเป็นที่แน่ชัดแล้วว่าในทุกวันนี้ ทุกประเทศต่างประสบความยากลำบากในขายสินค้าและการพึ่งพารายได้จากการส่งออก เพียงลำพังไม่อาจช่วยค้ำจุนเศรษฐกิจของแต่ละประเทศได้อีกต่อไป
ขณะเดียวกันครุกแมนระบุว่า ทางเลือกอื่นที่ถูกมองว่าเป็นวิธีการที่น่าจะช่วยให้เศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ฟื้นตัวได้อย่างเช่น การกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคในประเทศและการกระตุ้นการลงทุนทาง ธุรกิจก็ไม่น่าจะใช้ได้ผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ และเศรษฐกิจโลกในคราวนี้ได้เช่นกัน
ครุกแมนเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ ปรับโครงสร้างระบบการเงินใหม่ เพื่อป้องกันไม่ให้วิกฤตการเงินกลับมาเกิดขึ้นอีกครั้ง โดยรัฐบาลทั่วโลกจำเป็นต้องมีระเบียบและมาตรการกำกับตรวจสอบภาคธนาคารที่มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และต้องมีมาตรการจำกัดระดับความเสี่ยงที่สถาบันการเงินสำคัญๆ ของประเทศจะสามารถเข้าไปแบกรับ
นักเศรษฐศาสตร์ผู้นี้ตั้งข้อสังเกตว่า การที่เรากำลังพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดเกรท ดีเปรสชันซ้ำขึ้นมาอีก อาจมีข้อเสียตรงที่ทำให้เราเข้าช่วยชีวิตเศรษฐกิจเร็วเกินไป ก่อนที่โมเมนตัมทางการเมืองจะเข้มแข็งพรักพร้อมสำหรับดำเนินการปฏิรูปในขั้น พื้นฐาน เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจริงๆ
"ซึ่งหมายความว่า ผมรู้สึกวิตกกังวลว่าสิ่งเหล่านี้ทั้งหมดกำลังจะเกิดขึ้นมาอีกในอนาคตอันไม่ไกลเกินไปนัก"
'ครุกแมน'ชี้ต้องอีก2ปีศก.โลกฟื้น แม้รอดพ้น'เกรทดีเปรสชัน2.0'แล้ว
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 10 สิงหาคม 2552 23:33 น.
เอ เอฟพี-พอล ครุกแมน กูรูเศรษฐศาสตร์ชื่อดังเจ้าของรางวัลโนเบลคนล่าสุดยืนยัน โลกสามารถหลีกเลี่ยง " เกรท ดีเปรสชัน เวอร์ชัน 2 .0 " ได้แล้ว แต่การที่เศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่ยังต้องใช้เวลาอีก 2 ปีเป็นอย่างน้อย
ศาสตราจารย์พอล ครุกแมน ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์มหภาค แห่งมหาวิทยาลัยพรินซ์ตันในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นเจ้าของรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์เมื่อปีที่แล้ว ได้มาปาฐกถาในเวทีสัมมนาด้านธุรกิจระหว่างประเทศที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ของ มาเลเซียเมื่อวันจันทร์ (10) โดยระบุว่า ถึงแม้จุดที่เลวร้ายที่สุดของวิกฤตทางการเงินจะผ่านพ้นไปแล้ว แต่ปัญหาสำคัญที่ทั่วโลกต้องเผชิญในขณะนี้คือการที่ภาวะเศรษฐกิจโลกยังคงมี แนวโน้มจะซบเซาแบบต่อเนื่องยาวนาน
ครุกแมนยืนยันว่าโลกสามารถหลีกเลี่ยงภาวะวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำครั้ง ใหญ่ระลอกที่ 2 หรือ " เกรท ดีเปรสชัน เวอร์ชัน 2 .0 " ได้แล้ว แต่เขาเชื่อว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกอย่างเต็มที่ อาจต้องใช้ระยะเวลาอีกอย่างน้อย 2 ปี หรืออาจยาวนานกว่านั้น เช่นเดียวกับปรากฏการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในญี่ปุ่นเมื่อช่วงทศวรรษที่ 1990 ซึ่งถูกขนานนามว่าเป็น " ทศวรรษแห่งความสูญเปล่า" เนื่องจากแม้จะไม่ได้มีภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจที่รุนแรง แต่ก็เป็นยุคที่เศรษฐกิจของญี่ปุ่นมีอัตราการเติบโตช้าแบบต่อเนื่องยาวนาน ถึง 10 ปี
นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังผู้นี้บอกว่า หากจะหามาอะไรที่เปรียบเทียบกับความเลวร้ายในปัจจุบันแล้ว พวกนักเศรษฐศาสตร์ก็ต้องหันไปหาช่วงทศวรรษ 1930 เมื่อเกิดเกรท ดีเปรสชัน ครั้งแรก โดยในคราวนั้นวิกฤตสิ้นสุดลง "ด้วยโครงการงานสาธารณะอันใหญ่โตมหึมาอย่างยิ่งที่รู้จักกันในนามสงครามโลก ครั้งที่สอง"
"หวังใจว่าเราไม่ได้กำลังจะใช้ยุทธศาสตร์ดังกล่าวซ้ำอีก" เขาปล่อยมุก พร้อมกันนี้ก็ย้ำว่า บรรดาผู้กำหนดนโยบายทั้งหลายควรจะหามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม ควบคู่ไปกับการยอมกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อที่สูงขึ้น และกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในภาคธุรกิจมากขึ้นไปพร้อมกัน
ครุกแมน วัย 56 ปี ระบุว่า แนวทางที่ประเทศต่างๆ พยายามใช้รายได้จากการส่งออกสินค้าและเน้นทำการค้ากับบรรดาประเทศใหญ่ๆที่มี ความมั่งคั่งอย่างล้นเหลือ เพื่อผลักดันให้เกิดการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วตามที่เคยยึดถือปฎิ บัติกันมาในอดีตนั้น ไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้องที่จะช่วยนำพาให้ประเทศต่างๆ ฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้แต่อย่างใด เนื่องจากเป็นที่แน่ชัดแล้วว่าในทุกวันนี้ ทุกประเทศต่างประสบความยากลำบากในขายสินค้าและการพึ่งพารายได้จากการส่งออก เพียงลำพังไม่อาจช่วยค้ำจุนเศรษฐกิจของแต่ละประเทศได้อีกต่อไป
ขณะเดียวกันครุกแมนระบุว่า ทางเลือกอื่นที่ถูกมองว่าเป็นวิธีการที่น่าจะช่วยให้เศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ฟื้นตัวได้อย่างเช่น การกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคในประเทศและการกระตุ้นการลงทุนทาง ธุรกิจก็ไม่น่าจะใช้ได้ผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ และเศรษฐกิจโลกในคราวนี้ได้เช่นกัน
ครุกแมนเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ ปรับโครงสร้างระบบการเงินใหม่ เพื่อป้องกันไม่ให้วิกฤตการเงินกลับมาเกิดขึ้นอีกครั้ง โดยรัฐบาลทั่วโลกจำเป็นต้องมีระเบียบและมาตรการกำกับตรวจสอบภาคธนาคารที่มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และต้องมีมาตรการจำกัดระดับความเสี่ยงที่สถาบันการเงินสำคัญๆ ของประเทศจะสามารถเข้าไปแบกรับ
นักเศรษฐศาสตร์ผู้นี้ตั้งข้อสังเกตว่า การที่เรากำลังพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดเกรท ดีเปรสชันซ้ำขึ้นมาอีก อาจมีข้อเสียตรงที่ทำให้เราเข้าช่วยชีวิตเศรษฐกิจเร็วเกินไป ก่อนที่โมเมนตัมทางการเมืองจะเข้มแข็งพรักพร้อมสำหรับดำเนินการปฏิรูปในขั้น พื้นฐาน เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจริงๆ
"ซึ่งหมายความว่า ผมรู้สึกวิตกกังวลว่าสิ่งเหล่านี้ทั้งหมดกำลังจะเกิดขึ้นมาอีกในอนาคตอันไม่ไกลเกินไปนัก"
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 132
เมื่อท่านอ่านเพลิน ผมก็มีให้อ่านต่อ... อิอิ
เศรษฐกิจโลก รอบสัปดาห์ ไทยรัฐ
นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ระบุ โลกผ่านพ้นจุดเลวร้ายที่สุด ของภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจแล้ว แต่ยังต้องใช้เวลา 2 ปี นการฟื้นตัวอย่างมีเสถียรภาพ พร้อมแนะให้จับตาตำแหน่งงาน ที่จะเป็นตัวบ่งชี้ถึงทิศทางของเศรษฐกิจ
พอล ครุกแมน เจ้าของรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ ปี 2551 และนักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน สหรัฐฯ กล่าวในงานประชุมตลาดทุนโลกที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า วิกฤติเศรษฐกิจสหรัฐฯและโลกได้ผ่านพ้นจุดที่เลวร้ายที่สุด หรือภาวะถดถอยลงต่ำสุดไปแล้ว แต่ถึงกระนั้นก็ตาม การฟื้นตัวอย่างมีเสถียรภาพจะต้องใช้เวลาอีกราว 2 ปีขึ้นไป ไม่รวดเร็วเหมือนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจากวิกฤติการเงินเอเชีย หรือ ต้มยำกุ้ง ในปี 2540 ซึ่งขยายตัวอย่างน่าอัศจรรย์จากการส่งออกที่ฟื้นตัว เพราะค่าเงินในเอเชียอ่อนตัวลงอย่างหนัก
สิ่งที่จะบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจกำลังดำเนินไปในทิศทางใดนั้น ครุกแมน แนะให้จับตาดูที่ตำแหน่งงาน ซึ่งก่อนหน้านี้ หลายสำนักคาดว่า อัตราการว่างงานในสหรัฐฯจะขยายตัวเพิ่มขึ้นไปแตะที่ระดับร้อยละ 10 จากเดือน มิ.ย.ที่พุ่งขึ้นแตะระดับร้อยละ 9.6% แต่ปรากฏว่า ในเดือน ก.ค. อัตราการว่างงานได้ปรับตัวลดลงสวนทางกับการคาดการณ์ไปอยู่ที่ร้อยละ 9.4% ซึ่งเป็นการปรับลดลงครั้งแรกในรอบ 15 เดือน ในขณะที่ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร ลดลงเหลือ 247,000 ตำแหน่ง จากเดือนก่อนหน้าที่ลดลง 467,000 ตำแหน่ง
ทั้งนี้ การลดลงของอัตราการว่างงาน แม้จะมีน้อยนิด แต่ก็คาดเดาได้ว่า การผลิตในภาคอุตสาหกรรม และการส่งออกน่าจะเริ่มปรับตัวขึ้น อย่างไรก็ตาม ครุกแมน สนับสนุน ให้รัฐบาลกลางสหรัฐฯเพิ่มการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีเสียงกังวลกับปัญหาการขาดดุลงบประมาณก็ตาม นอกจากนี้ ยังเรียกร้องให้รัฐบาลกลางใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบสองเพื่อช่วยการสร้างงานดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องอย่างน้อยอีก 1 ล้านตำแหน่งด้วย
คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีมติเมื่อวันพุธที่ผ่านมา ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หรือ Fed Funds Rate ไว้ที่ระดับร้อยละ 0.00-0.25 โดยระบุว่า สภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ยังคงเอื้อต่อการให้เฟดสามารถยืนอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำเป็นพิเศษ ไปอีกระยะเวลาหนึ่ง ขณะเดียวกัน ก็ขยายกรอบระยะเวลาการซื้อพันธบัตรรัฐบาลกลางมูลค่า 300,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯออกไป จนถึงเดือน ต.ค. หลังจากที่ใช้ไปแล้ว 109,000 ล้านเหรียญฯ พร้อมคงกรอบวงเงินสำหรับซื้อตราสารหนี้ของหน่วยงานรัฐอีก 1.25 ล้านล้านเหรียญฯ ให้ครบในสิ้นปีนี้
สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า ข้อมูลเศรษฐกิจของเยอรมนี และฝรั่งเศส ได้สร้างความประหลาดใจแก่ประเทศต่างๆเป็นอย่างมาก เมื่อรัฐบาลของทั้งสองประเทศ เปิดเผยว่า จีดีพีของพวกเขากลับมาขยายตัวเป็นบวกได้แล้วในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ และสิ้นสุดภาวะถดถอยเร็วกว่าที่เจ้าหน้าที่ผู้กำหนดนโยบาย หรือนักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากคาดการณ์ไว้ โดยจีดีพีของเยอรมนี ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.3 หลังจากหดตัวลงเป็นเวลา 4 ไตรมาสติดต่อกัน ส่วนจีดีพีของฝรั่งเศส ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เช่นกัน จากที่มีการคาดการณ์กันว่า จีดีพีของทั้งสองประเทศ จะติดลบราวร้อยละ 0.3 ข้อมูลนี้ทำให้บรรยากาศการซื้อขายในตลาดหุ้นยุโรปคึกคัก และปรับตัวขึ้นราวร้อยละ 13 นับแต่ร่วงแตะระดับต่ำสุดในเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา หลังจากที่ทรุดหนักลงไปถึงร้อยละ 45 ในปีที่ผ่านมา ในขณะที่ตลาดหุ้นดาวโจนส์ และเอเชีย ได้รับแรงหนุนจากการคงอัตราดอกเบี้ยต่ำของเฟดต่อไป
รัฐบาลสิงคโปร์ เปิดเผยว่า จีดีพีของสิงคโปร์ในไตรมาสที่ 2 ปรับตัวพุ่งขึ้นไปถึงร้อยละ 20.7 เมื่อเทียบรายไตรมาส หลังปรับค่าตามฤดูกาลเทียบกับตัวเลขเบื้องต้น ที่ประเมินไว้ก่อนหน้าว่า จีดีพีจะขยายตัวราว ร้อยละ 20.4 ตัวเลขนี้แสดงถึงการขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ไตรมาส ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่า เศรษฐกิจสิงคโปร์เริ่มหลุดพ้นจากภาวะถดถอยครั้งร้ายแรงที่สุด นับแต่ประกาศอิสรภาพจากอังกฤษ เมื่อ 44 ปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบรายปี จีดีพีขั้นสุดท้ายของไตรมาสที่ 2 ลดลงร้อยละ 3.5% โดยรัฐบาลสิงคโปร์คาดว่า จีดีพีทั้งปีจะหดตัวร้อยละ 4 ถึง 6 จากเดิมที่คาดว่า จะหดตัวลงร้อยละ 6-9
ลิม เฮง เตียง รมว.กระทรวงการคลัง ของสิงคโปร์ กล่าวด้วยว่า ยังเร็วเกินไปที่จะแถลงว่าเศรษฐกิจของสิงคโปร์ฟื้นตัวแล้วเพราะการผลิตในภาคอุตสาหกรรม และการบริโภคในตลาดส่งออกหลักของสิงคโปร์ เช่น สหรัฐฯ และยุโรป ยังคงปรับตัวลดลง ขณะที่อัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับสูง หากปัจจัยเหล่านี้ยังไม่เปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปีก็อาจไม่เป็นไปอย่างที่คิดไว้ ทั้งนี้ สิงคโปร์เป็นประเทศแรกในเอเชียที่ประสบภาวะเศรษฐกิจถดถอยรุนแรงในช่วงครึ่งหลังของปีก่อนจากวิกฤติการเงินในสหรัฐฯ
ไมเคิล บูคานัน หัวหน้าเจ้าหน้าที่เศรษฐศาสตร์ ภาคพื้นเอเชียของ โกลด์แมนแซคส์ เปิดเผยว่า ธนาคารได้ปรับการคาดการณ์การขยายตัวของ จีดีพีเอเชีย ไม่รวมญี่ปุ่นขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 5.6 สำหรับปีนี้ จากเดิมที่คาดว่า จะขยายตัวร้อยละ 4.9 ส่วนปีหน้าจีดีพีจะขยายตัวร้อยละ 8.3 จากที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.8 โกลด์แมนแซคส์ ปรับตัวเลขคาดการณ์จีดีพีดังกล่าวของฮ่องกง มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และไต้หวัน แต่ยังคงตัวเลขคาดการณ์จีดีพีอินโดนีเซีย และไทย ไว้ในระดับเดิม บูคานัน ระบุด้วยว่า เศรษฐกิจของเอเชียน่าจะได้รับประโยชน์ จากการขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ของเศรษฐกิจจีน ซึ่งจะขยายตัวในปีนี้ ราวร้อยละ 9.4 และปีหน้าร้อยละ 11.9 ขณะที่อินเดียจะขยายตัวร้อยละ 7.8 ในปีนี้
ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ตัดสินใจตรึงดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 0.1 เพื่อช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่ง หลังจากที่บีโอเจแถลงว่า เศรษฐกิจของญี่ปุ่นได้หลุดพ้นจากภาวะถดถอย อย่างรุนแรงไปแล้ว และยอดการส่งออก รวมถึงภาคการผลิตที่เริ่มฟื้นตัวขึ้น โดยในเดือน มิ.ย. ผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 2.3 โดยคาดว่า การฟื้นตัวจะเริ่มดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี
http://www.thairath.co.th/content/eco/26501
เศรษฐกิจโลก รอบสัปดาห์ ไทยรัฐ
นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ระบุ โลกผ่านพ้นจุดเลวร้ายที่สุด ของภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจแล้ว แต่ยังต้องใช้เวลา 2 ปี นการฟื้นตัวอย่างมีเสถียรภาพ พร้อมแนะให้จับตาตำแหน่งงาน ที่จะเป็นตัวบ่งชี้ถึงทิศทางของเศรษฐกิจ
พอล ครุกแมน เจ้าของรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ ปี 2551 และนักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน สหรัฐฯ กล่าวในงานประชุมตลาดทุนโลกที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า วิกฤติเศรษฐกิจสหรัฐฯและโลกได้ผ่านพ้นจุดที่เลวร้ายที่สุด หรือภาวะถดถอยลงต่ำสุดไปแล้ว แต่ถึงกระนั้นก็ตาม การฟื้นตัวอย่างมีเสถียรภาพจะต้องใช้เวลาอีกราว 2 ปีขึ้นไป ไม่รวดเร็วเหมือนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจากวิกฤติการเงินเอเชีย หรือ ต้มยำกุ้ง ในปี 2540 ซึ่งขยายตัวอย่างน่าอัศจรรย์จากการส่งออกที่ฟื้นตัว เพราะค่าเงินในเอเชียอ่อนตัวลงอย่างหนัก
สิ่งที่จะบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจกำลังดำเนินไปในทิศทางใดนั้น ครุกแมน แนะให้จับตาดูที่ตำแหน่งงาน ซึ่งก่อนหน้านี้ หลายสำนักคาดว่า อัตราการว่างงานในสหรัฐฯจะขยายตัวเพิ่มขึ้นไปแตะที่ระดับร้อยละ 10 จากเดือน มิ.ย.ที่พุ่งขึ้นแตะระดับร้อยละ 9.6% แต่ปรากฏว่า ในเดือน ก.ค. อัตราการว่างงานได้ปรับตัวลดลงสวนทางกับการคาดการณ์ไปอยู่ที่ร้อยละ 9.4% ซึ่งเป็นการปรับลดลงครั้งแรกในรอบ 15 เดือน ในขณะที่ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร ลดลงเหลือ 247,000 ตำแหน่ง จากเดือนก่อนหน้าที่ลดลง 467,000 ตำแหน่ง
ทั้งนี้ การลดลงของอัตราการว่างงาน แม้จะมีน้อยนิด แต่ก็คาดเดาได้ว่า การผลิตในภาคอุตสาหกรรม และการส่งออกน่าจะเริ่มปรับตัวขึ้น อย่างไรก็ตาม ครุกแมน สนับสนุน ให้รัฐบาลกลางสหรัฐฯเพิ่มการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีเสียงกังวลกับปัญหาการขาดดุลงบประมาณก็ตาม นอกจากนี้ ยังเรียกร้องให้รัฐบาลกลางใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบสองเพื่อช่วยการสร้างงานดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องอย่างน้อยอีก 1 ล้านตำแหน่งด้วย
คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีมติเมื่อวันพุธที่ผ่านมา ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หรือ Fed Funds Rate ไว้ที่ระดับร้อยละ 0.00-0.25 โดยระบุว่า สภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ยังคงเอื้อต่อการให้เฟดสามารถยืนอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำเป็นพิเศษ ไปอีกระยะเวลาหนึ่ง ขณะเดียวกัน ก็ขยายกรอบระยะเวลาการซื้อพันธบัตรรัฐบาลกลางมูลค่า 300,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯออกไป จนถึงเดือน ต.ค. หลังจากที่ใช้ไปแล้ว 109,000 ล้านเหรียญฯ พร้อมคงกรอบวงเงินสำหรับซื้อตราสารหนี้ของหน่วยงานรัฐอีก 1.25 ล้านล้านเหรียญฯ ให้ครบในสิ้นปีนี้
สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า ข้อมูลเศรษฐกิจของเยอรมนี และฝรั่งเศส ได้สร้างความประหลาดใจแก่ประเทศต่างๆเป็นอย่างมาก เมื่อรัฐบาลของทั้งสองประเทศ เปิดเผยว่า จีดีพีของพวกเขากลับมาขยายตัวเป็นบวกได้แล้วในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ และสิ้นสุดภาวะถดถอยเร็วกว่าที่เจ้าหน้าที่ผู้กำหนดนโยบาย หรือนักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากคาดการณ์ไว้ โดยจีดีพีของเยอรมนี ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.3 หลังจากหดตัวลงเป็นเวลา 4 ไตรมาสติดต่อกัน ส่วนจีดีพีของฝรั่งเศส ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เช่นกัน จากที่มีการคาดการณ์กันว่า จีดีพีของทั้งสองประเทศ จะติดลบราวร้อยละ 0.3 ข้อมูลนี้ทำให้บรรยากาศการซื้อขายในตลาดหุ้นยุโรปคึกคัก และปรับตัวขึ้นราวร้อยละ 13 นับแต่ร่วงแตะระดับต่ำสุดในเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา หลังจากที่ทรุดหนักลงไปถึงร้อยละ 45 ในปีที่ผ่านมา ในขณะที่ตลาดหุ้นดาวโจนส์ และเอเชีย ได้รับแรงหนุนจากการคงอัตราดอกเบี้ยต่ำของเฟดต่อไป
รัฐบาลสิงคโปร์ เปิดเผยว่า จีดีพีของสิงคโปร์ในไตรมาสที่ 2 ปรับตัวพุ่งขึ้นไปถึงร้อยละ 20.7 เมื่อเทียบรายไตรมาส หลังปรับค่าตามฤดูกาลเทียบกับตัวเลขเบื้องต้น ที่ประเมินไว้ก่อนหน้าว่า จีดีพีจะขยายตัวราว ร้อยละ 20.4 ตัวเลขนี้แสดงถึงการขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ไตรมาส ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่า เศรษฐกิจสิงคโปร์เริ่มหลุดพ้นจากภาวะถดถอยครั้งร้ายแรงที่สุด นับแต่ประกาศอิสรภาพจากอังกฤษ เมื่อ 44 ปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบรายปี จีดีพีขั้นสุดท้ายของไตรมาสที่ 2 ลดลงร้อยละ 3.5% โดยรัฐบาลสิงคโปร์คาดว่า จีดีพีทั้งปีจะหดตัวร้อยละ 4 ถึง 6 จากเดิมที่คาดว่า จะหดตัวลงร้อยละ 6-9
ลิม เฮง เตียง รมว.กระทรวงการคลัง ของสิงคโปร์ กล่าวด้วยว่า ยังเร็วเกินไปที่จะแถลงว่าเศรษฐกิจของสิงคโปร์ฟื้นตัวแล้วเพราะการผลิตในภาคอุตสาหกรรม และการบริโภคในตลาดส่งออกหลักของสิงคโปร์ เช่น สหรัฐฯ และยุโรป ยังคงปรับตัวลดลง ขณะที่อัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับสูง หากปัจจัยเหล่านี้ยังไม่เปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปีก็อาจไม่เป็นไปอย่างที่คิดไว้ ทั้งนี้ สิงคโปร์เป็นประเทศแรกในเอเชียที่ประสบภาวะเศรษฐกิจถดถอยรุนแรงในช่วงครึ่งหลังของปีก่อนจากวิกฤติการเงินในสหรัฐฯ
ไมเคิล บูคานัน หัวหน้าเจ้าหน้าที่เศรษฐศาสตร์ ภาคพื้นเอเชียของ โกลด์แมนแซคส์ เปิดเผยว่า ธนาคารได้ปรับการคาดการณ์การขยายตัวของ จีดีพีเอเชีย ไม่รวมญี่ปุ่นขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 5.6 สำหรับปีนี้ จากเดิมที่คาดว่า จะขยายตัวร้อยละ 4.9 ส่วนปีหน้าจีดีพีจะขยายตัวร้อยละ 8.3 จากที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.8 โกลด์แมนแซคส์ ปรับตัวเลขคาดการณ์จีดีพีดังกล่าวของฮ่องกง มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และไต้หวัน แต่ยังคงตัวเลขคาดการณ์จีดีพีอินโดนีเซีย และไทย ไว้ในระดับเดิม บูคานัน ระบุด้วยว่า เศรษฐกิจของเอเชียน่าจะได้รับประโยชน์ จากการขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ของเศรษฐกิจจีน ซึ่งจะขยายตัวในปีนี้ ราวร้อยละ 9.4 และปีหน้าร้อยละ 11.9 ขณะที่อินเดียจะขยายตัวร้อยละ 7.8 ในปีนี้
ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ตัดสินใจตรึงดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 0.1 เพื่อช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่ง หลังจากที่บีโอเจแถลงว่า เศรษฐกิจของญี่ปุ่นได้หลุดพ้นจากภาวะถดถอย อย่างรุนแรงไปแล้ว และยอดการส่งออก รวมถึงภาคการผลิตที่เริ่มฟื้นตัวขึ้น โดยในเดือน มิ.ย. ผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 2.3 โดยคาดว่า การฟื้นตัวจะเริ่มดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี
http://www.thairath.co.th/content/eco/26501
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 134
วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2552 เวลา 18:28:37 น. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
เจาะใจ"มูฮัมหมัด ยูนุส "นายธนาคารนอกกระแส-ติดดิน ทำธุรกิจเพื่อสังคม
บทสัมภาษณ์พิเศษ "มูฮัมหมัด ยูนุส " นักเศรษฐศาสตร์ติดดินเจ้าของรางวัลโนเบลสันติภาพประจำปี 2006 ผู้ก่อตั้งธนาคารกรามีน ′ธนาคารเพื่อคนจน′ ตามคำถามใหญ่ ๆ ว่าด้วยเรื่องวิกฤต โลก โอกาส การรุกคืบของธนาคารพาณิชย์กระแสหลักใน ′ตลาดคนจน′และอนาคตของไมโครไฟแนนซ์
ในโอกาสที่ มูฮัมหมัด ยูนุส นักเศรษฐศาสตร์ติดดินเจ้าของรางวัลโนเบลสันติภาพประจำปี 2006 ผู้ก่อตั้งธนาคารกรามีน ′ธนาคารเพื่อคนจน′ แห่งแรกของโลก เดินทางมาเยือนประเทศไทยเพื่อเป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์ Yunus Center ที่ Asian Institute of Technology ในวันที่ 19 สิงหาคม 2552 " สฤณี อาชวานันทกุล" พร้อมสมาชิกทีมวิจัยองค์กรการเงินชุมชนบางท่าน และ ประชาชาติธุรกิจ ได้มีโอกาสสัมภาษณ์นักธุรกิจเพื่อสังคมที่โด่งดังที่สุดในโลก
บิดาแห่งแนวคิด ′การเงินขนาดจิ๋ว′ หรือไมโครไฟแนนซ์ คิดอย่างไรเกี่ยวกับวิกฤตเศรษฐกิจครั้งล่าสุด ความสนใจของธนาคารพาณิชย์กระแสหลักในการเจาะ ′ตลาดคนจน′ นั้นเป็นกระแสที่น่ายินดีเพียงใด เขาคิดว่า ′สปิริต′ ของไมโครไฟแนนซ์ควรเป็นอย่างไร ภาครัฐควรมีบทบาทใดบ้าง และเหตุใดเขาจึงเชื่อว่าธุรกิจนี้จะต้องทำในลักษณะ ′ธุรกิจเพื่อสังคม′ (social business) จึงจะช่วยคนจนให้หลุดพ้นจากบ่วงความจนได้อย่างยั่งยืน
พบกับคำตอบได้ในบทสัมภาษณ์พิเศษที่จะกระตุ้นทั้งสมองและหัวใจ จากถ้อยคำของ ′นายธนาคารนอกกระแส′ ผู้ยืนหยัดอยู่เคียงข้างคนจนมาตลอดชีวิต
@วิกฤตโลก โอกาส และการออกแบบระบบใหม่
ประเด็นที่ผมพูดอยู่เสมอเกี่ยวกับวิกฤตการเงินรอบนี้คือ นี่เป็นวิกฤตที่หยั่งรากลึกที่สุดที่เราเคยประสบมา เราไม่รู้ว่ามันจะอยู่นานเท่าไร แต่ที่แน่ๆ คือมันสั่นคลอนโลกทั้งใบ ฉะนั้นด้านหนึ่งของเรื่องนี้คือระดับความรุนแรงและความลึกของมัน ด้านนี้เป็นข่าวที่น่าตื่นเต้นสำหรับผม เพราะมันมอบโอกาสให้เราออกแบบระบบเสียใหม่ ประเด็นนี้เข้าใจง่ายมากคือ เวลาที่สิ่งต่างๆ ใช้การได้ คุณจะไม่อยากเปลี่ยนมัน ถึงแม้ว่าบางครั้งคุณอาจไม่มีความสุขกับมัน อย่างน้อยมันก็ใช้การได้ ไม่ต้องไปแตะต้องมันหรอก แต่ภาวะที่ระบบใช้การไม่ได้เป็นเวลาที่คุณจะเริ่มยุ่งกับมัน ทบทวนการเปลี่ยนแปลงที่เคยทำ ดังนั้นตอนนี้จึงเป็นเวลาของเรา เป็นเวลาที่เราจะเปลี่ยนแปลงระบบทั้งระบบ ไม่ใช่แค่ปรับชิ้นส่วนเล็กๆ ตรงนี้นิดตรงนั้นหน่อย ผมคิดว่าเราไม่ควรปล่อยให้โอกาสนี้ผ่านเลยไป เพราะถ้าระบบกลับคืนสู่สภาวะปกติของมัน จะไม่มีใครยอมให้คุณแตะอะไรเลย นั่นแปลว่าเราจะพลาดโอกาสที่จะสร้างระบบใหม่ ระบบที่จะไม่มีช่องโหว่และหลุมบ่อและปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ที่เราเห็นกันไปแล้ว นี่คือด้านหนึ่งของวิกฤตที่ผมมอง
อีกด้านหนึ่งคือ นี่ไม่ใช่วิกฤตเพียงวิกฤตเดียวแบบที่หนังสือพิมพ์และสื่ออื่นๆ ชอบวาดภาพ ในเมื่อนี่เป็นวิกฤตการเงิน ทุกคนก็เลยยุ่งอยู่กับการตามติดอัตราการว่างงาน ดูว่าตลาดหุ้นกำลังขึ้นหรือลง ภาพแบบนี้เป็นภาพที่แบนมาก เราไม่ควรลืมว่า 2008 เป็นปีที่เราเห็นวิกฤตอาหาร ซึ่งเป็นวิกฤตที่ใหญ่มาก กระทั่งประเทศที่นำเข้าอาหารสุทธิอย่างฟิลิปปินส์ยังต้องเผชิญกับวิกฤตเพราะสั่งซื้ออาหารไม่ได้ ไม่มีใครขายให้ ปัจจุบันปัญหานี้ยังคงอยู่ มันไม่ได้หายไปไหน มันเพียงแต่หายไปจากสื่อเพราะสื่อมัวแต่ยุ่งกับเรื่องอื่น วิกฤตอาหารยังเป็นวิกฤตที่รุนแรงมาก
นอกจากนี้ 2008 ยังเป็นปีของวิกฤตพลังงาน วิกฤตราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นไปถึง 150 เหรียญต่อบาร์เรล วิกฤตนี้ก็ยังอยู่เหมือนกัน เรายังแก้ปัญหาไม่ตก ตอนนี้มันแค่แผ่วลงเล็กน้อยโดยสถานการณ์ (อุปสงค์ลดลงในช่วงภาวะเศรษฐกิจซบเซา) แต่ทันทีที่คุณให้โอกาสมัน มันก็จะปะทุเป็นวิกฤตขึ้นมาใหม่ ยังไม่นับวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่วิกฤตมานานแล้ว และวิกฤตทางสังคม คือปัญหาความยากจน สุขภาพเสื่อมโทรม โรคระบาด เรามองว่าวิกฤตเหล่านี้เป็นวิกฤตโดดๆ เพราะเราตีมูลค่าของมันแยกกัน แต่ในความเป็นจริง วิกฤตเหล่านี้ล้วนมีรากสาเหตุเดียวกันที่ก่อปัญหาทั้งหมด ดังนั้นเราจึงต้องสาวไปให้ถึงรากและเริ่มออกแบบระบบเสียใหม่ ในทางที่จะทำให้เราจัดการกับปัญหาทั้งหมดนี้ได้ ไม่ใช่ตามแก้ไปทีละอัน เช่นบอกว่าหุ้นขึ้นแล้ว อัตราว่างงานลดลงแล้ว แปลว่าสถานการณ์ดีแล้ว สถานการณ์ที่แท้จริงไม่มีทางดีเลย สิ่งแวดล้อมก็ไม่ดี ยังเป็นวิกฤตที่ร้ายแรงมากในหลายประเทศรวมทั้งบังกลาเทศ
ทั้งหมดนี้หมายความว่าเราจะต้องฉวยโอกาส เราควรทุ่มเทพลังสร้างสรรค์ของเราในการแสวงหาและประเมินความคิดทั้งหมดที่สร้างสรรค์ แล้วใส่มันลงไปในระบบใหม่ อย่ารอให้สถานการณ์กลับเข้าสู่สภาวะปกติก่อน
@เจตจำนงทางการเมืองในการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน
ตอนนี้ผมยังไม่เห็นว่าผู้นำทางการเมืองในสหรัฐอเมริกาจะทำอย่างที่ผมพูด เพราะกำลังยุ่งกับการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า อย่างเช่นอัตราการว่างงาน รัฐบาลยุ่งกับตัวเลขนี้เพราะพวกเขาไม่ชอบเห็นมันสูงขึ้น และพวกเขาก็ไม่ชอบเห็นตลาดหุ้นตก พวกเขาหมกมุ่นอยู่กับการ ′แก้ไข′ เรื่องเหล่านี้เพราะสื่อคอยประโคมกรอกหูอยู่ทุกนาที สื่อไม่พูดเรื่องวิกฤตอาหารหรือวิกฤตพลังงานหรือวิกฤตสิ่งแวดล้อมเพราะไม่มีใครพูดเรื่องพวกนี้ ประธานาธิบดีจะกังวลไปทำไม ประธานาธิบดีกังวลแต่เรื่องที่กระทบกับท่านโดยตรง สถานการณ์ในยุโรปก็เหมือนกัน นี่คือเหตุผลที่เราพยายามยกประเด็นเหล่านี้ให้ผู้นำ G8 ตระหนัก ตอนที่พวกเขาไปประชุมกันที่อิตาลี อย่างน้อยก็พยายามผลักดันให้พวกเขาให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เชิงระบบ แต่ไม่มีประธานาธิบดีหรือนายกรัฐมนตรีคนไหนที่ริเริ่มเรื่องนี้ พวกเขากังวลอยู่แค่วิธีแก้ปัญหาหุ้นตก ปัญหาที่เป็นชิ้นๆ ไม่ใช่ภาพรวมทั้งหมด พวกเขายังดูประเด็นฉาบฉวย ไม่ใช่ประเด็นที่อยู่ลึกกว่านั้น ดังนั้นเราจึงต้องดึงความสนใจของพวกเขาให้ได้ เพราะถ้าเราพลาดโอกาสนี้ไป ก็จะเป็นเรื่องยากมากที่จะหยิบยกประเด็นเหล่านี้ขึ้นมาภายหลัง เพราะถ้าเราผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบาก เมื่อเศรษฐกิจเดินต่อไปได้แล้วก็จะไม่มีใครอยากแตะเรื่องนี้อีก
ตัวอย่างหนึ่งของสิ่งที่เราพยายามเสนอคือ เราต้องแก้ไขระบบการเงินอย่างจริงจังเพราะมันเป็นระบบที่เอียงกะเท่เร่ มุ่งให้บริการแต่คนรวยทั้งหลาย ระบบการเงินให้ความสำคัญกับคนที่มีเงินเยอะอยู่แล้ว พวกเขาทำเงินได้มากมายมหาศาลกว่าเดิมในระบบการเงินด้วยการใช้กลไกในระบบ คนที่ไม่มีเงินไม่อยู่ในระบบนี้ คนส่วนใหญ่ในโลก ประชากรสองในสามไม่เกี่ยวอะไรแม้แต่น้อยกับระบบธนาคารพาณิชย์ มีคนมากมายด้วยซ้ำที่เปิดบัญชีกับธนาคารไม่ได้ทั้งๆ ที่ต้องการฝากเงินของตัวเอง เพราะพวกเขาเล็กเกินกว่าที่ธนาคารจะสนใจ ในอเมริกา คนจำนวนมากที่ทำงานให้กับโรงงานหรือบริษัทไม่สามารถเอาเช็คเงินเดือนไปเข้าธนาคารได้ องค์กรที่เรียกว่าบริษัทรับซื้อเช็คจึงผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดทั่วประเทศ บริษัทพวกนี้มีรายได้ดีมากเพียงเพราะคนไม่สามารถเปิดบัญชีธนาคารได้ บริษัทอีกแบบหนึ่งเรียกตัวเองว่า สินเชื่อวันเงินเดือนออก (payday loans) คิดดอกเบี้ย 50 เปอร์เซ็นต์, 500 เปอร์เซ็นต์, 1,000 เปอร์เซ็นต์, 1,500 เปอร์เซ็นต์ ไม่ใช่แค่ในเมืองเมืองเดียว มีทั่วทั้งอเมริกา
เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่าระบบปัจจุบันป่วยขนาดไหน ระบบนี้จัดการกับประเด็นเหล่านี้ไม่ได้ เราจะต้องสร้างระบบการเงินที่ครอบคลุม ระบบที่คนทุกคนมีสิทธิที่จะมีส่วนร่วมในระบบธุรกิจ ทำธุรกรรมกับธนาคาร ที่ผมพูดมานี่แค่ด้านเดียวเท่านั้นคือด้านการเงิน ด้านอื่นๆ มีประเด็นมากมายที่เอียงกะเท่เร่ไปเข้าข้างคนรวยเหมือนกัน ไม่เชื่อมโยงกับคนเดินดิน ทั้งหมดนี้คือปัญหาที่เราต้องแก้ไข
@การรุกคืบของธนาคารพาณิชย์กระแสหลักใน ′ตลาดคนจน′
จริงอยู่ที่ธนาคารขนาดยักษ์หลายแห่งออกมาประกาศว่าพวกเขาจะทำไมโครไฟแนนซ์ แต่พวกเขาไม่ได้ทำผ่านประตูธุรกิจปกติ คุณไม่เห็นธนาคารอย่างดอยช์แบงก์ทำไมโครไฟแนนซ์เองหรอก พวกเขาให้เงินกับสถาบันไมโครไฟแนนซ์ บอกว่า โอเค นี่เงิน คุณไปทำนะ นั่นไม่ได้หมายความว่าธนาคารแห่งนั้นกำลัง ′ทำ′ ไมโครไฟแนนซ์ มันเป็นแค่ปฏิกิริยาต่อคนที่บ่นว่าทำไมธนาคารไม่ทำธุรกิจนี้ ธนาคารก็เลยให้เงิน จะได้ลืมเรื่องนี้ไปได้
นี่ไม่ใช่สัญญาณที่ดี ประเด็นสำคัญคือระบบธนาคารจะต้องเปลี่ยน ไมโครไฟแนนซ์ไม่ใช่การกุศล ไม่ใช่อะไรที่คุณทำแบบขอไปที ทำไมธนาคารถึงปฏิเสธที่จะให้บริการกับคนจน? ถ้าคุณคิดว่าคุณปล่อยกู้เป็น คุณก็ทำธุรกิจกับคนจนได้ คนจนควรเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ คุณไม่ควรแบ่งแยกคนจนออกเป็นกลุ่มพิเศษ เขาก็เหมือนกับลูกค้ารายอื่นๆ ที่ธนาคารรับใช้ ถ้าคุณมองว่าคนบางกลุ่มมีความต้องการพิเศษ โอเค คุณก็ไปเปิดสาขาต่างหากที่รับเฉพาะคนจน เหมือนกับที่คุณอาจเปิดสาขาต่างหากสำหรับลูกค้าชนชั้นกลาง อีกสาขาสำหรับลูกค้าธุรกิจ ฯลฯ ทำแบบนี้ไม่เป็นไร แต่ตอนนี้ธนาคารไม่ได้ทำแบบนี้ ไม่ได้ทำไมโครไฟแนนซ์ผ่านประตูธุรกิจตามปกติ แต่ทำผ่านประตู "ซีเอสอาร์" หรือประตู "มูลนิธิ" การทำวิธีนี้อาจจะโอเคในเบื้องต้น ระหว่างที่ธนาคารทำความคุ้นเคยกับคนจน บางทีวันหนึ่งคุณอาจจะเปิดรับพวกเขาทางประตูหน้าก็ได้ แต่จนกว่าจะถึงตอนนั้น ไมโครไฟแนนซ์ก็จะเป็นเพียงเชิงอรรถในธุรกิจของธนาคาร
ประเด็นที่สองคือ ธนาคารกระแสหลักกำลังให้เงินทำไมโครไฟแนนซ์ในประเทศยากจนในฐานะหนึ่งในกิจกรรมที่ธนาคารสนับสนุน ผมต่อต้านเงินที่โอนมาแบบนี้ สมมุติว่าโอนจากนิวยอร์กมาเข้าสถาบันไมโครไฟแนนซ์ในเมืองไทย ผมมองว่าเมืองไทยมีเงินเยอะแยะ ปัญหาไม่ได้อยู่ที่เงิน การโอนเงินจากศูนย์การเงินในนิวยอร์กมายังไทยทำให้คนจนต้องรับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เสร็จแล้วคุณก็ไปโฆษณาว่าไมโครไฟแนนซ์เป็นโอกาสทำเงินสำหรับคนนิวยอร์ก
ผมมองว่าในแง่หนึ่งเรื่องนี้ไม่ถูกต้อง เพราะคุณกำลังส่งเสริมให้คนรวยทำเงินจากคนจนด้วยการปล่อยกู้ ผมไม่คิดว่าคนจนควรถูกเอาไปโฆษณาว่าเป็นโอกาสทำเงินของคนรวย คุณควรทำไมโครไฟแนนซ์ด้วยสปิริตอีกแบบหนึ่ง คือมองว่านี่เป็นโอกาสที่จะช่วยเหลือให้คนจนหายจน เพราะเจ้าหนี้นอกระบบก็ปล่อยกู้ให้กับคนจนเหมือนกัน นั่นไม่ได้ทำให้พวกเขาเป็นวีรบุรุษ เพราะพวกเขาขูดรีดทุกอย่างไปจากคนจน ด้วยเหตุนั้น ลำพังการทำกำไรจึงไม่ได้แปลว่ามันคือไมโครไฟแนนซ์ กำเนิดของไมโครไฟแนนซ์มีเหตุผลที่อยู่เบื้องหลัง เหตุผลคือการสร้างสภาพแวดล้อมที่คนสามารถดึงตัวเองให้พ้นบ่วงความจน ฉะนั้นเราต้องใส่สปิริตนี้เข้าไป แทนที่จะแสดงให้เห็นว่าดูสิ เราทำกำไรได้ เวลาที่คนโอนเงินจากศูนย์การเงินขนาดใหญ่ พวกเขากำลังบอกว่านี่เป็น ′ตลาด′ ที่ต้องเจาะ นี่เป็นโอกาสที่เราจะทำเงิน สารนี้ไม่ใช่สารที่น่ายินดีเลย
ดังนั้นในมุมมองของผม ไมโครไฟแนนซ์จึงควรทำในลักษณะ ′ธุรกิจเพื่อสังคม′ ซึ่งในนิยามของผมคือกิจการที่ไม่เอากำไรเป็นตัวตั้ง ไม่จ่ายเงินปันผลแลกกับการช่วยให้คนพ้นจากความเดือดร้อน ถ้าบางคนบอกว่าเราอยู่ในธุรกิจที่แสวงหากำไร เราจะต้องมีกำไร ผมก็จะตอบว่า โอเค แต่คุณควรตั้งเป้ากำไรให้น้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้ - "กำไรน้อยที่สุด" ในนิยามของผมคือต้นทุนทางการเงินบวก 10 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นถ้าคุณอยากทำเงิน คุณก็ทำเงินได้ แต่อย่าเอากำไรมากกว่านั้น ไม่อย่างนั้นคุณจะเบี่ยงเบนออกจากสปิริตที่ควรจะเป็น
@คีวา (http://www.kiva.org/) กับรูปแบบใหม่ๆ ของไมโครไฟแนนซ์
ผมคิดว่าโครงการอย่างคีวาเป็นโครงการที่ดี กลุ่มผู้ก่อตั้งเป็นคนหนุ่มสาวที่มีพลังล้นเหลือและประทับใจในธนาคารกรามีนมาก พวกเขาไปเยือนเราที่บังกลาเทศและรู้สึกว่าควรทำอะไรสักอย่าง คีว่าถือกำเนิดจากจุดนั้น ผมดีใจที่เห็นคนหนุ่มสาวกลุ่มนี้ลงมือทำจริง แต่ตอนนี้ขณะที่มันกำลังขยายใหญ่ บางคนก็เกิดความรู้สึกว่าปัญหาความยากจนได้หมดไปแล้ว แต่อันที่จริงปัญหายังอยู่ คีวาไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาในไมโครไฟแนนซ์ เพราะมันทำให้คนรู้สึกว่าได้แก้ปัญหาด้วยการปล่อยกู้ 100 เหรียญสหรัฐ คีวามอบโอกาสให้คนธรรมดาๆ ปล่อยเงินกู้ขนาดจิ๋ว แต่มันไม่ใช่วิธีแก้ปัญหา วิธีแก้ปัญหาอยู่ในระดับท้องถิ่น เพราะก็เหมือนกับที่ผมพูดไปแล้วก่อนหน้านี้คือ คุณกำลังโอนเงินข้ามทวีป คีวาบอกว่าคุณจะได้เงินคืน ทำให้คุณรู้สึกว่าจะได้คืนทั้งจำนวน ไม่ได้ดอกเบี้ยก็จริงแต่ได้เงินครบ เงินคุณไม่หายไปไหน ใครบอกล่ะว่าเงินไม่หาย ถ้าเกิดอัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหวในทางที่ทำให้สกุลเงินท้องถิ่นอ่อนค่าลง พวกเขาก็จะกดดันให้ลูกหนี้เป็นคนจ่ายผลขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน จะได้รับประกันเงินต้นให้กับเจ้าหนี้ได้ นี่จึงไม่ใช่สถานการณ์ที่ดีสำหรับคนจนที่เป็นลูกหนี้ เพราะพวกเขาไม่ได้ต้องการเงินเหรียญสหรัฐ ต้องการแค่เงินบาท แต่คุณโอนไปเป็นเงินเหรียญ พวกเขาก็เลยเดือดร้อน
ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่คนออกแบบให้อยู่ในระบบ แต่ถ้าเราทำไมโครไฟแนนซ์ในระดับท้องถิ่น สถานการณ์ก็จะดีกว่านี้มาก เพียงแต่เราต้องทำในลักษณะที่เป็นธุรกิจมากขึ้น คือแทนที่จะปล่อยกู้ผ่านคีวา ถ้าคุณมีนิติบุคคลที่กฎหมายรองรับ คุณก็จะสามารถเอาเงินฝากในธนาคารไปไว้ในธนาคารไมโครไฟแนนซ์แห่งนี้ได้ แล้วคุณก็จะได้ดอกเบี้ย ไม่เสียอะไรเลย แต่คุณจะอยากฝากเงินกับธนาคารนี้เพราะคุณรู้ว่าธนาคารจะเอาเงินของคุณไปปล่อยกู้ให้กับคนจน วิธีนี้จะทำให้ไมโครไฟแนนซ์เป็นเรื่องของท้องถิ่นและทำแบบธุรกิจ คุณไม่เสียอะไร และธนาคารก็ไม่ต้องไปหาแหล่งทุนจากคนอื่น เอาเงินฝากไปปล่อยกู้เป็นปกติ ทั้งหมดนี้เป็นวิธีแก้ปัญหาที่แท้จริง แต่ตอนนี้เรายังไม่มีโครงสร้างทางกฎหมายสำหรับธนาคารไมโครไฟแนนซ์แบบนี้ เราจึงต้องสร้างโครงสร้างนี้ขึ้นมา
@กลุ่มออมทรัพย์ในชนบทไทย และแนวนโยบายรัฐทึ่ควรเป็น
ปัญหาคือกลุ่มการเงินชุมชนนอกระบบเติบโตไม่ได้เพราะพวกเขาไม่มีโครงสร้างทางกฎหมาย ไม่ช้าก็เร็วพวกเขาจะประสบปัญหา หลายประเทศมีการเงินนอกระบบแบบดั้งเดิมที่เกิดจากความจำเป็น เช่น กลุ่มแชร์ของผู้หญิงที่เป็นเพื่อนกัน เก็บเงินมากองรวมกัน ให้คนนี้ยืมเดือนนี้ อีกเดือนให้อีกคนหนึ่งยืม แต่กลุ่มแบบนี้มีวัตถุประสงค์ที่จำกัดมาก ๆ คุณต้องมีสถาบันการเงินที่จะเติบโตได้ไม่สิ้นสุดตราบเท่าที่ทำได้
ไมโครไฟแนนซ์กับภาครัฐมักจะเป็นส่วนผสมทางเคมีที่แย่มาก เพราะนักการเมืองมักจะอยากใช้มันไปเพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมือง แทนที่จะเป็นวัตถุประสงค์ทางการเงิน มิใยที่พวกเขาจะขอสาบานต่อหน้าอะไรก็ได้ว่าอย่าห่วงไปเลย พวกเขาจะไม่แตะต้องมัน แต่การขนเงินไปเข้าหาคนจนนั้นเป็นเรื่องที่น่าดึงดูดใจมาก นักการเมืองหลีกหนีการเมืองของเรื่องนี้ไม่พ้น เราจึงต้องสร้างแนวกำแพงที่กั้นระหว่างการเมืองกับไมโครไฟแนนซ์เสมอ เราควรจะทำไมโครไฟแนนซ์ในระบบการเงิน สร้างสถาบันต่างๆ ออกแบบโครงสร้างทางกฎหมาย ฯลฯ ข้อเสนอของผมคือให้รัฐออกกฎหมายธนาคารเป็นพิเศษสำหรับไมโครไฟแนนซ์ กฎหมายที่จะอนุญาตให้กลุ่มการเงินชุมชนแปลงสถานะตัวเองเป็นธนาคารไมโครเครดิต ไม่เว้นแม้แต่กลุ่มเล็กๆ ที่ปล่อยกู้ให้กับชาวบ้าน 400-500 คน กลุ่มแบบนี้จะได้สามารถเป็นธนาคารที่มีสาขาเดียว ธนาคารนี้จะมีอำนาจตามกฎหมาย รับเงินฝากและปล่อยกู้ให้กับคน 500 คน และคนเหล่านี้ก็จะค่อยๆ เติบโตไปพร้อมกับธนาคาร คุณแค่ต้องคอยเฝ้าระวังและติดตามให้อัตราการชำระหนี้คืนอยู่ในระดับสูง ถ้าคุณมีความสามารถและอยากเปิดสาขาที่สอง คุณก็กลับไปหาทางการได้ ขอใบอนุญาตเปิดสาขาที่สอง ถ้าคุณประสบความสำเร็จ คุณก็จะค่อยๆ เติบโต
นักการเมืองมักจะลังเลที่จะเขียนกฎหมายแบบนี้เพราะคิดว่ามันจะสร้างปัญหาทางการเมืองที่ยุ่งยากมากสำหรับพวกเขา เพราะประวัติศาสตร์ของทุกประเทศเต็มไปด้วยห้วงเวลาที่นายธนาคารหายเข้ากลีบเมฆไปพร้อมกับเงินลูกค้า ผมจะแนะนำว่าให้ทดลองเรื่องนี้ไปทีละขั้น ธนาคารจะได้ไม่มีโอกาสเชิดเงินลูกค้า ทางการไม่ควรอนุญาตให้รับเงินฝากเท่าไรก็ได้ที่อยากรับโดยไร้เงื่อนไข แต่ควรผูกเข้ากับปริมาณสินเชื่อที่ปล่อย ดังนั้นยอดเงินฝากรวมจึงต้องเป็นสัดส่วนกับยอดสินเชื่อ จะได้ไม่มีใครอ้างว่าให้บริการคนจน 50 คน ขณะที่รับเงินฝากมา 1 พันล้านบาท เอาเงินฝากไปทำกำไรจากการลงทุนที่ไหนสักแห่ง แล้วบอกว่าเราเป็นธนาคารไมโครเครดิต ฉะนั้นพยายามอย่าสร้างสถานการณ์แบบนี้ ตั้งเงื่อนไขอัตราส่วนเงินฝากที่คุณอนุญาตให้ธนาคารรับตามสินเชื่อที่ปล่อยได้ ไม่อย่างนั้นพวกเขาจะอ้างว่ากำลัง ′ดูแล′ เงินฝากของ
ประชาชน (ไม่ปล่อยกู้เพราะอ้างว่าความเสี่ยงสูง) นี่คือสิ่งที่ควรทำในช่วงทดลอง คุณไม่ต้องทำทีเดียวทั้งประเทศก็ได้ คุณอาจจะเริ่มจากการออกใบอนุญาต 1-3 ใบก่อน แต่ละใบอนุญาตให้เปิดสาขาได้ 4-5 สาขา ถ้าพวกเขาต้องการ เสร็จแล้วคุณก็ค่อยมาตัดสินใจว่าจะยอมให้เปิดสาขาเพิ่มหรือเปล่า จะออกใบอนุญาตให้คนกลุ่มใหม่เปิดธนาคารอีกแห่งหรือเปล่า
@ความสำคัญของการให้ลูกหนี้ร่วมเป็น ′เจ้าของ′ ธนาคารไมโครไฟแนนซ์
ทันทีที่คุณปล่อยให้ชาวบ้านที่ไม่ได้เป็นลูกหนี้ธนาคารไมโครไฟแนนซ์มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ การเมืองระดับหมู่บ้านก็จะก่อปัญหาทันที ถ้าคุณให้ลูกหนี้เป็นเจ้าของก็ไม่เป็นไร แต่คุณต้องใช้ความระมัดระวัง ดูว่าลูกหนี้ใช้สิทธิความเป็นเจ้าของอย่างไรบ้าง พวกเขาควรจัดการเลือกตั้งเพื่อเลือกผู้แทนให้เข้าไปอยู่ในคณะกรรมการธนาคาร ถ้านี่เป็นบริษัทปกติ ก็จะมีคนเริ่มหาเสียง เงินก้อนโตจะเริ่มเข้ามาเกี่ยว แต่การเลือกตั้งของเราทำอย่างเงียบเชียบมาก เราเขียนกฎที่ทำให้ไม่มีใครรู้ว่าเราจะจัดการเลือกตั้งเมื่อไหร่ ศูนย์ลูกหนี้ของกรามีนแต่ละแห่งมีสมาชิก 50-60 คน พวกเธอต้องเลือกผู้แทน เรามีศูนย์แบบนี้ทั้งหมดหลายพันแห่ง กำหนดว่าผลการเลือกตั้งต้องเกิดจากมติของสมาชิก ระบบของเราเป็นการเลือกตั้งแบบขั้นบันได ก่อนอื่นจะมีผู้สมัครประมาณ 10-15 คนต่อศูนย์ หน้าที่ของสมาชิกรอบแรกคือตัดให้เหลือ 5 คน เสร็จแล้วก็ต้องมานั่งอภิปรายถกเถียงกันจนเหลือ 1 คนที่จะเป็นผู้แทน ปกติก่อนที่จะมาถึงตรงนี้ได้ สมาชิกจะต้องจัดการประชุมหลายรอบ แต่พอได้ข้อสรุปแล้วก็จะไม่มีใครบ่นว่าฉันพ่ายแพ้ ถ้าต้องใช้เวลาหนึ่งสัปดาห์ เราก็ให้ใช้หนึ่งสัปดาห์ เราใช้วิธีอภิปรายถกเถียงจนได้มติของสมาชิก (แทนที่จะให้ลงคะแนนเฉยๆ) เพราะไม่อย่างนั้นคุณจะทำให้ชาวบ้านแตกแยกกัน ถ้าพวกเขาไม่เจอหน้ากัน นี่เป็นปัญหาใหญ่ทุกที่ ฉันอยากเป็นผู้แทน เธออยากเป็นผู้แทน เราก็เลยจะสู้กัน กระทั่งหลังจากที่การเลือกตั้งจบลงแล้ว
@ความคืบหน้าของเป้าลดความยากจนที่ประกาศโดยที่ประชุมสุดยอดไมโครเครดิต (Microcredit Summit)
ผมหวังว่าเราน่าจะทำได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ เพราะเราบอกว่าภายในสิ้นปี 2015 เราจะลดความยากจนทั่วโลกลงให้เหลือครึ่งหนึ่ง นี่เป็นเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ จากคนจน 175 ล้านคนทั่วโลกที่จะเป็นลูกหนี้ไมโครไฟแนนซ์ในปีนั้น เราน่าจะพยายามดึง 100 ล้านคนให้พ้นจากความจน จากประสบการณ์กว่า 30 ปีของผม เราน่าจะทำได้
@Yunus Center ที่ Asian Institute of Technology
ผมดีใจมากที่ AIT เปิดศูนย์ Yunus Center ไม่ใช่เพราะศูนย์นี้ใช้ชื่อของผม แต่เป็นเพราะสิ่งที่ผมคิดว่าศูนย์นี้เป็นตัวแทน นั่นคือความเชื่อที่ว่าเราสามารถสร้างโลกที่ปราศจากความยากจนโดยสิ้นเชิง เราต้องเชื่อในเรื่องนี้เพราะถ้าเราเชื่อ เราก็จะทำได้ ถ้าเราไม่เชื่อ เราก็จะไม่มีวันทำได้ การสร้างศูนย์นี้เป็นการแสดงออกว่าเราเชื่อในความเป็นไปได้นี้ และเชื่อว่าเราบริหารจัดการเพื่อทำให้มันบรรลุผลได้ อีกเรื่องหนึ่งที่ศูนย์นี้เป็นตัวแทนคือวิธีการเข้าถึงคนจน วิธีการช่วยเหลือให้พวกเขาพ้นจากความจน ไมโครเครดิตเป็นวิธีหนึ่ง เราควรทำเรื่องนี้ด้วยวิถีทางธุรกิจ จะได้ไม่ต้องมีใครยากจนอีกต่อไป คนจนรุ่นที่สองจะได้สามารถใช้ชีวิตเหมือนกับคนอื่นๆ ในสังคม เราพลาดคนจนรุ่นแรกไปเพราะเราไม่อยู่ตรงนั้นตอนที่พวกเขาเกิด เรามาเจอพวกเขาตอนเลยวัยกลางคน ตอนหมดหวัง สิ้นไร้หนทางที่จะไป แต่คนจนรุ่นที่สองแตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง พวกเขาสามารถสื่อสารกับคนทั้งโลก พวกเขาได้ไปโรงเรียน พวกเขาสามารถมีสุขภาพที่ดีกว่าเดิม ฯลฯ อีกประเด็นหนึ่งที่ศูนย์นี้จะทำคือเผยแพร่แนวคิดเรื่องธุรกิจเพื่อสังคม แนวคิดที่ว่าธุรกิจไม่จำเป็นจะต้องทำเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวเท่านั้น แต่สามารถทำในทางที่ให้คนอื่นได้ประโยชน์และผมไม่ได้ประโยชน์ส่วนตัว นี่คือความคิดเรื่องธุรกิจเพื่อสังคม เราจะพยายามคิดว่าจะทำอย่างไรให้ใส่เรื่องนี้เข้าไปในภาพรวม เราจะได้มีโลกที่มีธุรกิจสองแบบ แทนที่จะมีแบบเดียว ศูนย์ Yunus Center คือเวทีที่จะเปิดให้คนรุ่นใหม่และคณาจารย์ได้มาทำงานร่วมกัน ดูว่าจะทำอะไรได้บ้าง.
เจาะใจ"มูฮัมหมัด ยูนุส "นายธนาคารนอกกระแส-ติดดิน ทำธุรกิจเพื่อสังคม
บทสัมภาษณ์พิเศษ "มูฮัมหมัด ยูนุส " นักเศรษฐศาสตร์ติดดินเจ้าของรางวัลโนเบลสันติภาพประจำปี 2006 ผู้ก่อตั้งธนาคารกรามีน ′ธนาคารเพื่อคนจน′ ตามคำถามใหญ่ ๆ ว่าด้วยเรื่องวิกฤต โลก โอกาส การรุกคืบของธนาคารพาณิชย์กระแสหลักใน ′ตลาดคนจน′และอนาคตของไมโครไฟแนนซ์
ในโอกาสที่ มูฮัมหมัด ยูนุส นักเศรษฐศาสตร์ติดดินเจ้าของรางวัลโนเบลสันติภาพประจำปี 2006 ผู้ก่อตั้งธนาคารกรามีน ′ธนาคารเพื่อคนจน′ แห่งแรกของโลก เดินทางมาเยือนประเทศไทยเพื่อเป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์ Yunus Center ที่ Asian Institute of Technology ในวันที่ 19 สิงหาคม 2552 " สฤณี อาชวานันทกุล" พร้อมสมาชิกทีมวิจัยองค์กรการเงินชุมชนบางท่าน และ ประชาชาติธุรกิจ ได้มีโอกาสสัมภาษณ์นักธุรกิจเพื่อสังคมที่โด่งดังที่สุดในโลก
บิดาแห่งแนวคิด ′การเงินขนาดจิ๋ว′ หรือไมโครไฟแนนซ์ คิดอย่างไรเกี่ยวกับวิกฤตเศรษฐกิจครั้งล่าสุด ความสนใจของธนาคารพาณิชย์กระแสหลักในการเจาะ ′ตลาดคนจน′ นั้นเป็นกระแสที่น่ายินดีเพียงใด เขาคิดว่า ′สปิริต′ ของไมโครไฟแนนซ์ควรเป็นอย่างไร ภาครัฐควรมีบทบาทใดบ้าง และเหตุใดเขาจึงเชื่อว่าธุรกิจนี้จะต้องทำในลักษณะ ′ธุรกิจเพื่อสังคม′ (social business) จึงจะช่วยคนจนให้หลุดพ้นจากบ่วงความจนได้อย่างยั่งยืน
พบกับคำตอบได้ในบทสัมภาษณ์พิเศษที่จะกระตุ้นทั้งสมองและหัวใจ จากถ้อยคำของ ′นายธนาคารนอกกระแส′ ผู้ยืนหยัดอยู่เคียงข้างคนจนมาตลอดชีวิต
@วิกฤตโลก โอกาส และการออกแบบระบบใหม่
ประเด็นที่ผมพูดอยู่เสมอเกี่ยวกับวิกฤตการเงินรอบนี้คือ นี่เป็นวิกฤตที่หยั่งรากลึกที่สุดที่เราเคยประสบมา เราไม่รู้ว่ามันจะอยู่นานเท่าไร แต่ที่แน่ๆ คือมันสั่นคลอนโลกทั้งใบ ฉะนั้นด้านหนึ่งของเรื่องนี้คือระดับความรุนแรงและความลึกของมัน ด้านนี้เป็นข่าวที่น่าตื่นเต้นสำหรับผม เพราะมันมอบโอกาสให้เราออกแบบระบบเสียใหม่ ประเด็นนี้เข้าใจง่ายมากคือ เวลาที่สิ่งต่างๆ ใช้การได้ คุณจะไม่อยากเปลี่ยนมัน ถึงแม้ว่าบางครั้งคุณอาจไม่มีความสุขกับมัน อย่างน้อยมันก็ใช้การได้ ไม่ต้องไปแตะต้องมันหรอก แต่ภาวะที่ระบบใช้การไม่ได้เป็นเวลาที่คุณจะเริ่มยุ่งกับมัน ทบทวนการเปลี่ยนแปลงที่เคยทำ ดังนั้นตอนนี้จึงเป็นเวลาของเรา เป็นเวลาที่เราจะเปลี่ยนแปลงระบบทั้งระบบ ไม่ใช่แค่ปรับชิ้นส่วนเล็กๆ ตรงนี้นิดตรงนั้นหน่อย ผมคิดว่าเราไม่ควรปล่อยให้โอกาสนี้ผ่านเลยไป เพราะถ้าระบบกลับคืนสู่สภาวะปกติของมัน จะไม่มีใครยอมให้คุณแตะอะไรเลย นั่นแปลว่าเราจะพลาดโอกาสที่จะสร้างระบบใหม่ ระบบที่จะไม่มีช่องโหว่และหลุมบ่อและปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ที่เราเห็นกันไปแล้ว นี่คือด้านหนึ่งของวิกฤตที่ผมมอง
อีกด้านหนึ่งคือ นี่ไม่ใช่วิกฤตเพียงวิกฤตเดียวแบบที่หนังสือพิมพ์และสื่ออื่นๆ ชอบวาดภาพ ในเมื่อนี่เป็นวิกฤตการเงิน ทุกคนก็เลยยุ่งอยู่กับการตามติดอัตราการว่างงาน ดูว่าตลาดหุ้นกำลังขึ้นหรือลง ภาพแบบนี้เป็นภาพที่แบนมาก เราไม่ควรลืมว่า 2008 เป็นปีที่เราเห็นวิกฤตอาหาร ซึ่งเป็นวิกฤตที่ใหญ่มาก กระทั่งประเทศที่นำเข้าอาหารสุทธิอย่างฟิลิปปินส์ยังต้องเผชิญกับวิกฤตเพราะสั่งซื้ออาหารไม่ได้ ไม่มีใครขายให้ ปัจจุบันปัญหานี้ยังคงอยู่ มันไม่ได้หายไปไหน มันเพียงแต่หายไปจากสื่อเพราะสื่อมัวแต่ยุ่งกับเรื่องอื่น วิกฤตอาหารยังเป็นวิกฤตที่รุนแรงมาก
นอกจากนี้ 2008 ยังเป็นปีของวิกฤตพลังงาน วิกฤตราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นไปถึง 150 เหรียญต่อบาร์เรล วิกฤตนี้ก็ยังอยู่เหมือนกัน เรายังแก้ปัญหาไม่ตก ตอนนี้มันแค่แผ่วลงเล็กน้อยโดยสถานการณ์ (อุปสงค์ลดลงในช่วงภาวะเศรษฐกิจซบเซา) แต่ทันทีที่คุณให้โอกาสมัน มันก็จะปะทุเป็นวิกฤตขึ้นมาใหม่ ยังไม่นับวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่วิกฤตมานานแล้ว และวิกฤตทางสังคม คือปัญหาความยากจน สุขภาพเสื่อมโทรม โรคระบาด เรามองว่าวิกฤตเหล่านี้เป็นวิกฤตโดดๆ เพราะเราตีมูลค่าของมันแยกกัน แต่ในความเป็นจริง วิกฤตเหล่านี้ล้วนมีรากสาเหตุเดียวกันที่ก่อปัญหาทั้งหมด ดังนั้นเราจึงต้องสาวไปให้ถึงรากและเริ่มออกแบบระบบเสียใหม่ ในทางที่จะทำให้เราจัดการกับปัญหาทั้งหมดนี้ได้ ไม่ใช่ตามแก้ไปทีละอัน เช่นบอกว่าหุ้นขึ้นแล้ว อัตราว่างงานลดลงแล้ว แปลว่าสถานการณ์ดีแล้ว สถานการณ์ที่แท้จริงไม่มีทางดีเลย สิ่งแวดล้อมก็ไม่ดี ยังเป็นวิกฤตที่ร้ายแรงมากในหลายประเทศรวมทั้งบังกลาเทศ
ทั้งหมดนี้หมายความว่าเราจะต้องฉวยโอกาส เราควรทุ่มเทพลังสร้างสรรค์ของเราในการแสวงหาและประเมินความคิดทั้งหมดที่สร้างสรรค์ แล้วใส่มันลงไปในระบบใหม่ อย่ารอให้สถานการณ์กลับเข้าสู่สภาวะปกติก่อน
@เจตจำนงทางการเมืองในการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน
ตอนนี้ผมยังไม่เห็นว่าผู้นำทางการเมืองในสหรัฐอเมริกาจะทำอย่างที่ผมพูด เพราะกำลังยุ่งกับการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า อย่างเช่นอัตราการว่างงาน รัฐบาลยุ่งกับตัวเลขนี้เพราะพวกเขาไม่ชอบเห็นมันสูงขึ้น และพวกเขาก็ไม่ชอบเห็นตลาดหุ้นตก พวกเขาหมกมุ่นอยู่กับการ ′แก้ไข′ เรื่องเหล่านี้เพราะสื่อคอยประโคมกรอกหูอยู่ทุกนาที สื่อไม่พูดเรื่องวิกฤตอาหารหรือวิกฤตพลังงานหรือวิกฤตสิ่งแวดล้อมเพราะไม่มีใครพูดเรื่องพวกนี้ ประธานาธิบดีจะกังวลไปทำไม ประธานาธิบดีกังวลแต่เรื่องที่กระทบกับท่านโดยตรง สถานการณ์ในยุโรปก็เหมือนกัน นี่คือเหตุผลที่เราพยายามยกประเด็นเหล่านี้ให้ผู้นำ G8 ตระหนัก ตอนที่พวกเขาไปประชุมกันที่อิตาลี อย่างน้อยก็พยายามผลักดันให้พวกเขาให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เชิงระบบ แต่ไม่มีประธานาธิบดีหรือนายกรัฐมนตรีคนไหนที่ริเริ่มเรื่องนี้ พวกเขากังวลอยู่แค่วิธีแก้ปัญหาหุ้นตก ปัญหาที่เป็นชิ้นๆ ไม่ใช่ภาพรวมทั้งหมด พวกเขายังดูประเด็นฉาบฉวย ไม่ใช่ประเด็นที่อยู่ลึกกว่านั้น ดังนั้นเราจึงต้องดึงความสนใจของพวกเขาให้ได้ เพราะถ้าเราพลาดโอกาสนี้ไป ก็จะเป็นเรื่องยากมากที่จะหยิบยกประเด็นเหล่านี้ขึ้นมาภายหลัง เพราะถ้าเราผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบาก เมื่อเศรษฐกิจเดินต่อไปได้แล้วก็จะไม่มีใครอยากแตะเรื่องนี้อีก
ตัวอย่างหนึ่งของสิ่งที่เราพยายามเสนอคือ เราต้องแก้ไขระบบการเงินอย่างจริงจังเพราะมันเป็นระบบที่เอียงกะเท่เร่ มุ่งให้บริการแต่คนรวยทั้งหลาย ระบบการเงินให้ความสำคัญกับคนที่มีเงินเยอะอยู่แล้ว พวกเขาทำเงินได้มากมายมหาศาลกว่าเดิมในระบบการเงินด้วยการใช้กลไกในระบบ คนที่ไม่มีเงินไม่อยู่ในระบบนี้ คนส่วนใหญ่ในโลก ประชากรสองในสามไม่เกี่ยวอะไรแม้แต่น้อยกับระบบธนาคารพาณิชย์ มีคนมากมายด้วยซ้ำที่เปิดบัญชีกับธนาคารไม่ได้ทั้งๆ ที่ต้องการฝากเงินของตัวเอง เพราะพวกเขาเล็กเกินกว่าที่ธนาคารจะสนใจ ในอเมริกา คนจำนวนมากที่ทำงานให้กับโรงงานหรือบริษัทไม่สามารถเอาเช็คเงินเดือนไปเข้าธนาคารได้ องค์กรที่เรียกว่าบริษัทรับซื้อเช็คจึงผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดทั่วประเทศ บริษัทพวกนี้มีรายได้ดีมากเพียงเพราะคนไม่สามารถเปิดบัญชีธนาคารได้ บริษัทอีกแบบหนึ่งเรียกตัวเองว่า สินเชื่อวันเงินเดือนออก (payday loans) คิดดอกเบี้ย 50 เปอร์เซ็นต์, 500 เปอร์เซ็นต์, 1,000 เปอร์เซ็นต์, 1,500 เปอร์เซ็นต์ ไม่ใช่แค่ในเมืองเมืองเดียว มีทั่วทั้งอเมริกา
เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่าระบบปัจจุบันป่วยขนาดไหน ระบบนี้จัดการกับประเด็นเหล่านี้ไม่ได้ เราจะต้องสร้างระบบการเงินที่ครอบคลุม ระบบที่คนทุกคนมีสิทธิที่จะมีส่วนร่วมในระบบธุรกิจ ทำธุรกรรมกับธนาคาร ที่ผมพูดมานี่แค่ด้านเดียวเท่านั้นคือด้านการเงิน ด้านอื่นๆ มีประเด็นมากมายที่เอียงกะเท่เร่ไปเข้าข้างคนรวยเหมือนกัน ไม่เชื่อมโยงกับคนเดินดิน ทั้งหมดนี้คือปัญหาที่เราต้องแก้ไข
@การรุกคืบของธนาคารพาณิชย์กระแสหลักใน ′ตลาดคนจน′
จริงอยู่ที่ธนาคารขนาดยักษ์หลายแห่งออกมาประกาศว่าพวกเขาจะทำไมโครไฟแนนซ์ แต่พวกเขาไม่ได้ทำผ่านประตูธุรกิจปกติ คุณไม่เห็นธนาคารอย่างดอยช์แบงก์ทำไมโครไฟแนนซ์เองหรอก พวกเขาให้เงินกับสถาบันไมโครไฟแนนซ์ บอกว่า โอเค นี่เงิน คุณไปทำนะ นั่นไม่ได้หมายความว่าธนาคารแห่งนั้นกำลัง ′ทำ′ ไมโครไฟแนนซ์ มันเป็นแค่ปฏิกิริยาต่อคนที่บ่นว่าทำไมธนาคารไม่ทำธุรกิจนี้ ธนาคารก็เลยให้เงิน จะได้ลืมเรื่องนี้ไปได้
นี่ไม่ใช่สัญญาณที่ดี ประเด็นสำคัญคือระบบธนาคารจะต้องเปลี่ยน ไมโครไฟแนนซ์ไม่ใช่การกุศล ไม่ใช่อะไรที่คุณทำแบบขอไปที ทำไมธนาคารถึงปฏิเสธที่จะให้บริการกับคนจน? ถ้าคุณคิดว่าคุณปล่อยกู้เป็น คุณก็ทำธุรกิจกับคนจนได้ คนจนควรเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ คุณไม่ควรแบ่งแยกคนจนออกเป็นกลุ่มพิเศษ เขาก็เหมือนกับลูกค้ารายอื่นๆ ที่ธนาคารรับใช้ ถ้าคุณมองว่าคนบางกลุ่มมีความต้องการพิเศษ โอเค คุณก็ไปเปิดสาขาต่างหากที่รับเฉพาะคนจน เหมือนกับที่คุณอาจเปิดสาขาต่างหากสำหรับลูกค้าชนชั้นกลาง อีกสาขาสำหรับลูกค้าธุรกิจ ฯลฯ ทำแบบนี้ไม่เป็นไร แต่ตอนนี้ธนาคารไม่ได้ทำแบบนี้ ไม่ได้ทำไมโครไฟแนนซ์ผ่านประตูธุรกิจตามปกติ แต่ทำผ่านประตู "ซีเอสอาร์" หรือประตู "มูลนิธิ" การทำวิธีนี้อาจจะโอเคในเบื้องต้น ระหว่างที่ธนาคารทำความคุ้นเคยกับคนจน บางทีวันหนึ่งคุณอาจจะเปิดรับพวกเขาทางประตูหน้าก็ได้ แต่จนกว่าจะถึงตอนนั้น ไมโครไฟแนนซ์ก็จะเป็นเพียงเชิงอรรถในธุรกิจของธนาคาร
ประเด็นที่สองคือ ธนาคารกระแสหลักกำลังให้เงินทำไมโครไฟแนนซ์ในประเทศยากจนในฐานะหนึ่งในกิจกรรมที่ธนาคารสนับสนุน ผมต่อต้านเงินที่โอนมาแบบนี้ สมมุติว่าโอนจากนิวยอร์กมาเข้าสถาบันไมโครไฟแนนซ์ในเมืองไทย ผมมองว่าเมืองไทยมีเงินเยอะแยะ ปัญหาไม่ได้อยู่ที่เงิน การโอนเงินจากศูนย์การเงินในนิวยอร์กมายังไทยทำให้คนจนต้องรับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เสร็จแล้วคุณก็ไปโฆษณาว่าไมโครไฟแนนซ์เป็นโอกาสทำเงินสำหรับคนนิวยอร์ก
ผมมองว่าในแง่หนึ่งเรื่องนี้ไม่ถูกต้อง เพราะคุณกำลังส่งเสริมให้คนรวยทำเงินจากคนจนด้วยการปล่อยกู้ ผมไม่คิดว่าคนจนควรถูกเอาไปโฆษณาว่าเป็นโอกาสทำเงินของคนรวย คุณควรทำไมโครไฟแนนซ์ด้วยสปิริตอีกแบบหนึ่ง คือมองว่านี่เป็นโอกาสที่จะช่วยเหลือให้คนจนหายจน เพราะเจ้าหนี้นอกระบบก็ปล่อยกู้ให้กับคนจนเหมือนกัน นั่นไม่ได้ทำให้พวกเขาเป็นวีรบุรุษ เพราะพวกเขาขูดรีดทุกอย่างไปจากคนจน ด้วยเหตุนั้น ลำพังการทำกำไรจึงไม่ได้แปลว่ามันคือไมโครไฟแนนซ์ กำเนิดของไมโครไฟแนนซ์มีเหตุผลที่อยู่เบื้องหลัง เหตุผลคือการสร้างสภาพแวดล้อมที่คนสามารถดึงตัวเองให้พ้นบ่วงความจน ฉะนั้นเราต้องใส่สปิริตนี้เข้าไป แทนที่จะแสดงให้เห็นว่าดูสิ เราทำกำไรได้ เวลาที่คนโอนเงินจากศูนย์การเงินขนาดใหญ่ พวกเขากำลังบอกว่านี่เป็น ′ตลาด′ ที่ต้องเจาะ นี่เป็นโอกาสที่เราจะทำเงิน สารนี้ไม่ใช่สารที่น่ายินดีเลย
ดังนั้นในมุมมองของผม ไมโครไฟแนนซ์จึงควรทำในลักษณะ ′ธุรกิจเพื่อสังคม′ ซึ่งในนิยามของผมคือกิจการที่ไม่เอากำไรเป็นตัวตั้ง ไม่จ่ายเงินปันผลแลกกับการช่วยให้คนพ้นจากความเดือดร้อน ถ้าบางคนบอกว่าเราอยู่ในธุรกิจที่แสวงหากำไร เราจะต้องมีกำไร ผมก็จะตอบว่า โอเค แต่คุณควรตั้งเป้ากำไรให้น้อยที่สุดเท่าที่จะน้อยได้ - "กำไรน้อยที่สุด" ในนิยามของผมคือต้นทุนทางการเงินบวก 10 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นถ้าคุณอยากทำเงิน คุณก็ทำเงินได้ แต่อย่าเอากำไรมากกว่านั้น ไม่อย่างนั้นคุณจะเบี่ยงเบนออกจากสปิริตที่ควรจะเป็น
@คีวา (http://www.kiva.org/) กับรูปแบบใหม่ๆ ของไมโครไฟแนนซ์
ผมคิดว่าโครงการอย่างคีวาเป็นโครงการที่ดี กลุ่มผู้ก่อตั้งเป็นคนหนุ่มสาวที่มีพลังล้นเหลือและประทับใจในธนาคารกรามีนมาก พวกเขาไปเยือนเราที่บังกลาเทศและรู้สึกว่าควรทำอะไรสักอย่าง คีว่าถือกำเนิดจากจุดนั้น ผมดีใจที่เห็นคนหนุ่มสาวกลุ่มนี้ลงมือทำจริง แต่ตอนนี้ขณะที่มันกำลังขยายใหญ่ บางคนก็เกิดความรู้สึกว่าปัญหาความยากจนได้หมดไปแล้ว แต่อันที่จริงปัญหายังอยู่ คีวาไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาในไมโครไฟแนนซ์ เพราะมันทำให้คนรู้สึกว่าได้แก้ปัญหาด้วยการปล่อยกู้ 100 เหรียญสหรัฐ คีวามอบโอกาสให้คนธรรมดาๆ ปล่อยเงินกู้ขนาดจิ๋ว แต่มันไม่ใช่วิธีแก้ปัญหา วิธีแก้ปัญหาอยู่ในระดับท้องถิ่น เพราะก็เหมือนกับที่ผมพูดไปแล้วก่อนหน้านี้คือ คุณกำลังโอนเงินข้ามทวีป คีวาบอกว่าคุณจะได้เงินคืน ทำให้คุณรู้สึกว่าจะได้คืนทั้งจำนวน ไม่ได้ดอกเบี้ยก็จริงแต่ได้เงินครบ เงินคุณไม่หายไปไหน ใครบอกล่ะว่าเงินไม่หาย ถ้าเกิดอัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหวในทางที่ทำให้สกุลเงินท้องถิ่นอ่อนค่าลง พวกเขาก็จะกดดันให้ลูกหนี้เป็นคนจ่ายผลขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน จะได้รับประกันเงินต้นให้กับเจ้าหนี้ได้ นี่จึงไม่ใช่สถานการณ์ที่ดีสำหรับคนจนที่เป็นลูกหนี้ เพราะพวกเขาไม่ได้ต้องการเงินเหรียญสหรัฐ ต้องการแค่เงินบาท แต่คุณโอนไปเป็นเงินเหรียญ พวกเขาก็เลยเดือดร้อน
ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่คนออกแบบให้อยู่ในระบบ แต่ถ้าเราทำไมโครไฟแนนซ์ในระดับท้องถิ่น สถานการณ์ก็จะดีกว่านี้มาก เพียงแต่เราต้องทำในลักษณะที่เป็นธุรกิจมากขึ้น คือแทนที่จะปล่อยกู้ผ่านคีวา ถ้าคุณมีนิติบุคคลที่กฎหมายรองรับ คุณก็จะสามารถเอาเงินฝากในธนาคารไปไว้ในธนาคารไมโครไฟแนนซ์แห่งนี้ได้ แล้วคุณก็จะได้ดอกเบี้ย ไม่เสียอะไรเลย แต่คุณจะอยากฝากเงินกับธนาคารนี้เพราะคุณรู้ว่าธนาคารจะเอาเงินของคุณไปปล่อยกู้ให้กับคนจน วิธีนี้จะทำให้ไมโครไฟแนนซ์เป็นเรื่องของท้องถิ่นและทำแบบธุรกิจ คุณไม่เสียอะไร และธนาคารก็ไม่ต้องไปหาแหล่งทุนจากคนอื่น เอาเงินฝากไปปล่อยกู้เป็นปกติ ทั้งหมดนี้เป็นวิธีแก้ปัญหาที่แท้จริง แต่ตอนนี้เรายังไม่มีโครงสร้างทางกฎหมายสำหรับธนาคารไมโครไฟแนนซ์แบบนี้ เราจึงต้องสร้างโครงสร้างนี้ขึ้นมา
@กลุ่มออมทรัพย์ในชนบทไทย และแนวนโยบายรัฐทึ่ควรเป็น
ปัญหาคือกลุ่มการเงินชุมชนนอกระบบเติบโตไม่ได้เพราะพวกเขาไม่มีโครงสร้างทางกฎหมาย ไม่ช้าก็เร็วพวกเขาจะประสบปัญหา หลายประเทศมีการเงินนอกระบบแบบดั้งเดิมที่เกิดจากความจำเป็น เช่น กลุ่มแชร์ของผู้หญิงที่เป็นเพื่อนกัน เก็บเงินมากองรวมกัน ให้คนนี้ยืมเดือนนี้ อีกเดือนให้อีกคนหนึ่งยืม แต่กลุ่มแบบนี้มีวัตถุประสงค์ที่จำกัดมาก ๆ คุณต้องมีสถาบันการเงินที่จะเติบโตได้ไม่สิ้นสุดตราบเท่าที่ทำได้
ไมโครไฟแนนซ์กับภาครัฐมักจะเป็นส่วนผสมทางเคมีที่แย่มาก เพราะนักการเมืองมักจะอยากใช้มันไปเพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมือง แทนที่จะเป็นวัตถุประสงค์ทางการเงิน มิใยที่พวกเขาจะขอสาบานต่อหน้าอะไรก็ได้ว่าอย่าห่วงไปเลย พวกเขาจะไม่แตะต้องมัน แต่การขนเงินไปเข้าหาคนจนนั้นเป็นเรื่องที่น่าดึงดูดใจมาก นักการเมืองหลีกหนีการเมืองของเรื่องนี้ไม่พ้น เราจึงต้องสร้างแนวกำแพงที่กั้นระหว่างการเมืองกับไมโครไฟแนนซ์เสมอ เราควรจะทำไมโครไฟแนนซ์ในระบบการเงิน สร้างสถาบันต่างๆ ออกแบบโครงสร้างทางกฎหมาย ฯลฯ ข้อเสนอของผมคือให้รัฐออกกฎหมายธนาคารเป็นพิเศษสำหรับไมโครไฟแนนซ์ กฎหมายที่จะอนุญาตให้กลุ่มการเงินชุมชนแปลงสถานะตัวเองเป็นธนาคารไมโครเครดิต ไม่เว้นแม้แต่กลุ่มเล็กๆ ที่ปล่อยกู้ให้กับชาวบ้าน 400-500 คน กลุ่มแบบนี้จะได้สามารถเป็นธนาคารที่มีสาขาเดียว ธนาคารนี้จะมีอำนาจตามกฎหมาย รับเงินฝากและปล่อยกู้ให้กับคน 500 คน และคนเหล่านี้ก็จะค่อยๆ เติบโตไปพร้อมกับธนาคาร คุณแค่ต้องคอยเฝ้าระวังและติดตามให้อัตราการชำระหนี้คืนอยู่ในระดับสูง ถ้าคุณมีความสามารถและอยากเปิดสาขาที่สอง คุณก็กลับไปหาทางการได้ ขอใบอนุญาตเปิดสาขาที่สอง ถ้าคุณประสบความสำเร็จ คุณก็จะค่อยๆ เติบโต
นักการเมืองมักจะลังเลที่จะเขียนกฎหมายแบบนี้เพราะคิดว่ามันจะสร้างปัญหาทางการเมืองที่ยุ่งยากมากสำหรับพวกเขา เพราะประวัติศาสตร์ของทุกประเทศเต็มไปด้วยห้วงเวลาที่นายธนาคารหายเข้ากลีบเมฆไปพร้อมกับเงินลูกค้า ผมจะแนะนำว่าให้ทดลองเรื่องนี้ไปทีละขั้น ธนาคารจะได้ไม่มีโอกาสเชิดเงินลูกค้า ทางการไม่ควรอนุญาตให้รับเงินฝากเท่าไรก็ได้ที่อยากรับโดยไร้เงื่อนไข แต่ควรผูกเข้ากับปริมาณสินเชื่อที่ปล่อย ดังนั้นยอดเงินฝากรวมจึงต้องเป็นสัดส่วนกับยอดสินเชื่อ จะได้ไม่มีใครอ้างว่าให้บริการคนจน 50 คน ขณะที่รับเงินฝากมา 1 พันล้านบาท เอาเงินฝากไปทำกำไรจากการลงทุนที่ไหนสักแห่ง แล้วบอกว่าเราเป็นธนาคารไมโครเครดิต ฉะนั้นพยายามอย่าสร้างสถานการณ์แบบนี้ ตั้งเงื่อนไขอัตราส่วนเงินฝากที่คุณอนุญาตให้ธนาคารรับตามสินเชื่อที่ปล่อยได้ ไม่อย่างนั้นพวกเขาจะอ้างว่ากำลัง ′ดูแล′ เงินฝากของ
ประชาชน (ไม่ปล่อยกู้เพราะอ้างว่าความเสี่ยงสูง) นี่คือสิ่งที่ควรทำในช่วงทดลอง คุณไม่ต้องทำทีเดียวทั้งประเทศก็ได้ คุณอาจจะเริ่มจากการออกใบอนุญาต 1-3 ใบก่อน แต่ละใบอนุญาตให้เปิดสาขาได้ 4-5 สาขา ถ้าพวกเขาต้องการ เสร็จแล้วคุณก็ค่อยมาตัดสินใจว่าจะยอมให้เปิดสาขาเพิ่มหรือเปล่า จะออกใบอนุญาตให้คนกลุ่มใหม่เปิดธนาคารอีกแห่งหรือเปล่า
@ความสำคัญของการให้ลูกหนี้ร่วมเป็น ′เจ้าของ′ ธนาคารไมโครไฟแนนซ์
ทันทีที่คุณปล่อยให้ชาวบ้านที่ไม่ได้เป็นลูกหนี้ธนาคารไมโครไฟแนนซ์มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ การเมืองระดับหมู่บ้านก็จะก่อปัญหาทันที ถ้าคุณให้ลูกหนี้เป็นเจ้าของก็ไม่เป็นไร แต่คุณต้องใช้ความระมัดระวัง ดูว่าลูกหนี้ใช้สิทธิความเป็นเจ้าของอย่างไรบ้าง พวกเขาควรจัดการเลือกตั้งเพื่อเลือกผู้แทนให้เข้าไปอยู่ในคณะกรรมการธนาคาร ถ้านี่เป็นบริษัทปกติ ก็จะมีคนเริ่มหาเสียง เงินก้อนโตจะเริ่มเข้ามาเกี่ยว แต่การเลือกตั้งของเราทำอย่างเงียบเชียบมาก เราเขียนกฎที่ทำให้ไม่มีใครรู้ว่าเราจะจัดการเลือกตั้งเมื่อไหร่ ศูนย์ลูกหนี้ของกรามีนแต่ละแห่งมีสมาชิก 50-60 คน พวกเธอต้องเลือกผู้แทน เรามีศูนย์แบบนี้ทั้งหมดหลายพันแห่ง กำหนดว่าผลการเลือกตั้งต้องเกิดจากมติของสมาชิก ระบบของเราเป็นการเลือกตั้งแบบขั้นบันได ก่อนอื่นจะมีผู้สมัครประมาณ 10-15 คนต่อศูนย์ หน้าที่ของสมาชิกรอบแรกคือตัดให้เหลือ 5 คน เสร็จแล้วก็ต้องมานั่งอภิปรายถกเถียงกันจนเหลือ 1 คนที่จะเป็นผู้แทน ปกติก่อนที่จะมาถึงตรงนี้ได้ สมาชิกจะต้องจัดการประชุมหลายรอบ แต่พอได้ข้อสรุปแล้วก็จะไม่มีใครบ่นว่าฉันพ่ายแพ้ ถ้าต้องใช้เวลาหนึ่งสัปดาห์ เราก็ให้ใช้หนึ่งสัปดาห์ เราใช้วิธีอภิปรายถกเถียงจนได้มติของสมาชิก (แทนที่จะให้ลงคะแนนเฉยๆ) เพราะไม่อย่างนั้นคุณจะทำให้ชาวบ้านแตกแยกกัน ถ้าพวกเขาไม่เจอหน้ากัน นี่เป็นปัญหาใหญ่ทุกที่ ฉันอยากเป็นผู้แทน เธออยากเป็นผู้แทน เราก็เลยจะสู้กัน กระทั่งหลังจากที่การเลือกตั้งจบลงแล้ว
@ความคืบหน้าของเป้าลดความยากจนที่ประกาศโดยที่ประชุมสุดยอดไมโครเครดิต (Microcredit Summit)
ผมหวังว่าเราน่าจะทำได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ เพราะเราบอกว่าภายในสิ้นปี 2015 เราจะลดความยากจนทั่วโลกลงให้เหลือครึ่งหนึ่ง นี่เป็นเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ จากคนจน 175 ล้านคนทั่วโลกที่จะเป็นลูกหนี้ไมโครไฟแนนซ์ในปีนั้น เราน่าจะพยายามดึง 100 ล้านคนให้พ้นจากความจน จากประสบการณ์กว่า 30 ปีของผม เราน่าจะทำได้
@Yunus Center ที่ Asian Institute of Technology
ผมดีใจมากที่ AIT เปิดศูนย์ Yunus Center ไม่ใช่เพราะศูนย์นี้ใช้ชื่อของผม แต่เป็นเพราะสิ่งที่ผมคิดว่าศูนย์นี้เป็นตัวแทน นั่นคือความเชื่อที่ว่าเราสามารถสร้างโลกที่ปราศจากความยากจนโดยสิ้นเชิง เราต้องเชื่อในเรื่องนี้เพราะถ้าเราเชื่อ เราก็จะทำได้ ถ้าเราไม่เชื่อ เราก็จะไม่มีวันทำได้ การสร้างศูนย์นี้เป็นการแสดงออกว่าเราเชื่อในความเป็นไปได้นี้ และเชื่อว่าเราบริหารจัดการเพื่อทำให้มันบรรลุผลได้ อีกเรื่องหนึ่งที่ศูนย์นี้เป็นตัวแทนคือวิธีการเข้าถึงคนจน วิธีการช่วยเหลือให้พวกเขาพ้นจากความจน ไมโครเครดิตเป็นวิธีหนึ่ง เราควรทำเรื่องนี้ด้วยวิถีทางธุรกิจ จะได้ไม่ต้องมีใครยากจนอีกต่อไป คนจนรุ่นที่สองจะได้สามารถใช้ชีวิตเหมือนกับคนอื่นๆ ในสังคม เราพลาดคนจนรุ่นแรกไปเพราะเราไม่อยู่ตรงนั้นตอนที่พวกเขาเกิด เรามาเจอพวกเขาตอนเลยวัยกลางคน ตอนหมดหวัง สิ้นไร้หนทางที่จะไป แต่คนจนรุ่นที่สองแตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง พวกเขาสามารถสื่อสารกับคนทั้งโลก พวกเขาได้ไปโรงเรียน พวกเขาสามารถมีสุขภาพที่ดีกว่าเดิม ฯลฯ อีกประเด็นหนึ่งที่ศูนย์นี้จะทำคือเผยแพร่แนวคิดเรื่องธุรกิจเพื่อสังคม แนวคิดที่ว่าธุรกิจไม่จำเป็นจะต้องทำเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวเท่านั้น แต่สามารถทำในทางที่ให้คนอื่นได้ประโยชน์และผมไม่ได้ประโยชน์ส่วนตัว นี่คือความคิดเรื่องธุรกิจเพื่อสังคม เราจะพยายามคิดว่าจะทำอย่างไรให้ใส่เรื่องนี้เข้าไปในภาพรวม เราจะได้มีโลกที่มีธุรกิจสองแบบ แทนที่จะมีแบบเดียว ศูนย์ Yunus Center คือเวทีที่จะเปิดให้คนรุ่นใหม่และคณาจารย์ได้มาทำงานร่วมกัน ดูว่าจะทำอะไรได้บ้าง.
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 135
หวั่นวิกฤติฉุดแบงก์สหรัฐล้มอีก 200 แห่ง
วันที่ 27 สิงหาคม 2552 00:33
หวั่นวิกฤติฉุดแบงก์สหรัฐล้มอีก 200 แห่ง
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
นักวิเคราะห์หวั่นวิกฤติสหรัฐฉุดแบงก์อเมริกันล้มอีกไม่น้อยกว่า 200 แห่งช่วงปีนี้ จ่อคิวทำสถิติจำนวนแบงก์ล้มมากสุดครั้งใหม่ ในรอบเกือบ 30 ปี
นายริชาร์ด โบฟ นักวิเคราะห์ด้านการธนาคารชั้นนำของ โรชดาล ซิเคียวริตี้ส์ ให้ข้อมูลกับรอยเตอร์ เป็นการคาดการณ์ว่า ธนาคารในสหรัฐ 150-200 แห่งหรือมากกว่านั้น จะล้มและปิดกิจการลง เพราะวิกฤติธนาคารเกิดขึ้นขณะนี้ และทั้งอุตสาหกรรมต้องช่วยอัดฉีด เพื่อให้บรรษัทประกันเงินฝากส่วนกลาง หรือ เอฟดีไอซี ทำหน้าที่ได้ต่อเนื่อง ซึ่งอาจต้องใช้เม็ดเงินใหม่ คิดเป็น 25% ของรายได้ก่อนหักภาษีของธนาคารทั้งระบบในปี 2553
นายโบฟมองว่า แนวโน้มที่ธนาคารในสหรัฐต้องปิดกิจการหรือล้มอีกไม่น้อยกว่า 200 แห่งปีนี้ น่าจะกดดันเอฟดีไอซีซึ่งมีหน้าที่รับประกันเงินฝาก หันไปหาสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร หรือ นอนแบงก์ และกองทุนส่วนบุคคลมากขึ้น เพื่อดึงทั้งสองกลุ่มนี้เข้ามาช่วยฟื้นฟูระบบธนาคาร
"ความยากลำบากขณะนี้ คือการหาสถาบันการเงินหรือแบงก์ ที่แข็งแกร่งเพียงพอ ที่จะซื้อแบงก์หลายแห่งที่ล้ม" นายโบฟกล่าว และรอยเตอร์ให้ข้อมูลคาดว่าเอฟดีไอซีจะผ่อนคลายนโยบายเปิดทางกองทุนส่วนบุคคล เข้ามาลงทุนในธนาคารที่ล้ม หลังจากมีเสียงสะท้อนว่ากฎระเบียบเดิมเข้มงวดเกินไป ไม่เอื้อบริษัทเหล่านี้เข้ามาลงทุน
นายโบฟกล่าวย้ำว่า ช่วงที่ผ่านมาปีนี้ มีธนาคารสหรัฐล้มไปแล้ว 81 แห่ง และจากนี้ไปอาจมีธนาคารอื่น 150-200 แห่งล้มอีก ซึ่งแนวโน้มนี้จะยิ่งเพิ่มแรงกดดันเรื่องเงินทุนใช้รับประกันเงินฝากของเอฟดีไอซี
รอยเตอร์ระบุว่าช่วงปีนี้ มีธนาคารใหญ่ของสหรัฐล้ม 3 แห่ง ทำให้ต้นทุนที่เอฟดีไอซีเข้าไปช่วยรับประกันเงินฝาก รวมแล้วประมาณ 1.07 หมื่นล้านดอลลาร์ ขณะที่เงินทุนที่เอฟดีไอซีมีอยู่ปัจจุบัน 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์ คำนวณถึงเดือนมี.ค.ปีนี้
นักวิเคราะห์ของโรชดาล ซิเคียวริตี้ส์ กล่าวด้วยว่าเป็นไปได้ที่เอฟดีไอซีจะใช้เกณฑ์ประเมินธนาคารเป็นพิเศษในไตรมาส 4 ปีนี้ไปจนถึงไตรมาส 2 ปีหน้า แต่การประเมินอาจต้องใช้ทุนสนับสนุนทั้งหมดไม่น้อยกว่า 1.1 พันล้านดอลลาร์
ก่อนหน้านี้เอพีรายงานว่า จำนวนธนาคารสหรัฐที่ล้มเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ซึ่งนับจากต้นปีนี้มีธนาคารปิดไปแล้ว 77 แห่ง และนักวิเคราะห์หลายรายคาดว่าช่วงปีหน้าจะมีธนาคารอีกหลายร้อยแห่งต้องปิดตัวลง จนอาจทำให้เกิดสถิติการล้มมากที่สุดครั้งใหม่ของภาคธนาคารสหรัฐในรอบเกือบ 30 ปี หรือตั้งแต่เกิดวิกฤติสินเชื่อกับเงินฝากเมื่อปี 2525-2537 ซึ่งครั้งนั้นมีธนาคารล้มประมาณ 2,900 แห่ง
วันที่ 27 สิงหาคม 2552 00:33
หวั่นวิกฤติฉุดแบงก์สหรัฐล้มอีก 200 แห่ง
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
นักวิเคราะห์หวั่นวิกฤติสหรัฐฉุดแบงก์อเมริกันล้มอีกไม่น้อยกว่า 200 แห่งช่วงปีนี้ จ่อคิวทำสถิติจำนวนแบงก์ล้มมากสุดครั้งใหม่ ในรอบเกือบ 30 ปี
นายริชาร์ด โบฟ นักวิเคราะห์ด้านการธนาคารชั้นนำของ โรชดาล ซิเคียวริตี้ส์ ให้ข้อมูลกับรอยเตอร์ เป็นการคาดการณ์ว่า ธนาคารในสหรัฐ 150-200 แห่งหรือมากกว่านั้น จะล้มและปิดกิจการลง เพราะวิกฤติธนาคารเกิดขึ้นขณะนี้ และทั้งอุตสาหกรรมต้องช่วยอัดฉีด เพื่อให้บรรษัทประกันเงินฝากส่วนกลาง หรือ เอฟดีไอซี ทำหน้าที่ได้ต่อเนื่อง ซึ่งอาจต้องใช้เม็ดเงินใหม่ คิดเป็น 25% ของรายได้ก่อนหักภาษีของธนาคารทั้งระบบในปี 2553
นายโบฟมองว่า แนวโน้มที่ธนาคารในสหรัฐต้องปิดกิจการหรือล้มอีกไม่น้อยกว่า 200 แห่งปีนี้ น่าจะกดดันเอฟดีไอซีซึ่งมีหน้าที่รับประกันเงินฝาก หันไปหาสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร หรือ นอนแบงก์ และกองทุนส่วนบุคคลมากขึ้น เพื่อดึงทั้งสองกลุ่มนี้เข้ามาช่วยฟื้นฟูระบบธนาคาร
"ความยากลำบากขณะนี้ คือการหาสถาบันการเงินหรือแบงก์ ที่แข็งแกร่งเพียงพอ ที่จะซื้อแบงก์หลายแห่งที่ล้ม" นายโบฟกล่าว และรอยเตอร์ให้ข้อมูลคาดว่าเอฟดีไอซีจะผ่อนคลายนโยบายเปิดทางกองทุนส่วนบุคคล เข้ามาลงทุนในธนาคารที่ล้ม หลังจากมีเสียงสะท้อนว่ากฎระเบียบเดิมเข้มงวดเกินไป ไม่เอื้อบริษัทเหล่านี้เข้ามาลงทุน
นายโบฟกล่าวย้ำว่า ช่วงที่ผ่านมาปีนี้ มีธนาคารสหรัฐล้มไปแล้ว 81 แห่ง และจากนี้ไปอาจมีธนาคารอื่น 150-200 แห่งล้มอีก ซึ่งแนวโน้มนี้จะยิ่งเพิ่มแรงกดดันเรื่องเงินทุนใช้รับประกันเงินฝากของเอฟดีไอซี
รอยเตอร์ระบุว่าช่วงปีนี้ มีธนาคารใหญ่ของสหรัฐล้ม 3 แห่ง ทำให้ต้นทุนที่เอฟดีไอซีเข้าไปช่วยรับประกันเงินฝาก รวมแล้วประมาณ 1.07 หมื่นล้านดอลลาร์ ขณะที่เงินทุนที่เอฟดีไอซีมีอยู่ปัจจุบัน 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์ คำนวณถึงเดือนมี.ค.ปีนี้
นักวิเคราะห์ของโรชดาล ซิเคียวริตี้ส์ กล่าวด้วยว่าเป็นไปได้ที่เอฟดีไอซีจะใช้เกณฑ์ประเมินธนาคารเป็นพิเศษในไตรมาส 4 ปีนี้ไปจนถึงไตรมาส 2 ปีหน้า แต่การประเมินอาจต้องใช้ทุนสนับสนุนทั้งหมดไม่น้อยกว่า 1.1 พันล้านดอลลาร์
ก่อนหน้านี้เอพีรายงานว่า จำนวนธนาคารสหรัฐที่ล้มเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ซึ่งนับจากต้นปีนี้มีธนาคารปิดไปแล้ว 77 แห่ง และนักวิเคราะห์หลายรายคาดว่าช่วงปีหน้าจะมีธนาคารอีกหลายร้อยแห่งต้องปิดตัวลง จนอาจทำให้เกิดสถิติการล้มมากที่สุดครั้งใหม่ของภาคธนาคารสหรัฐในรอบเกือบ 30 ปี หรือตั้งแต่เกิดวิกฤติสินเชื่อกับเงินฝากเมื่อปี 2525-2537 ซึ่งครั้งนั้นมีธนาคารล้มประมาณ 2,900 แห่ง
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 136
อัตราเงินฝืด,ว่างงานในญี่ปุ่นพุ่งทำสถิติสูงสุดในเดือนก.ค.
xBT> JAPAN:อัตราเงินฝืด,ว่างงานในญี่ปุ่นพุ่งทำสถิติสูงสุดในเดือนก.ค.
โตเกียว--28 ส.ค.--รอยเตอร์
ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) พื้นฐานของญี่ปุ่นร่วงลงอย่างรุนแรงเป็น
ประวัติการณ์ถึง 2.2 % ในช่วง 1 ปีที่สิ้นสุดเดือนก.ค. ในขณะที่ราคาร่วงลง
ในวงกว้างยิ่งขึ้น เนื่องจากอุปสงค์ขั้นสุดท้ายอยู่ในภาวะอ่อนแอ โดยสิ่งนี้บ่งชี้ว่า
ญี่ปุ่นอาจจะประสบภาวะเงินฝืดเป็นครั้งที่สองในเวลาไม่ถึง 5 ปี
ทางด้านอัตราการว่างงานของญี่ปุ่นพุ่งขึ้นสู่สถิติสูงสุด และอัตรา
ตำแหน่งงานว่างก็ดิ่งลงในเดือนก.ค. ซึ่งบ่งชี้ว่าภาวะเงินฝืดอาจดำเนินไป
เป็นเวลานานกว่าที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) คาดการณ์ไว้ และส่งผลให้
BOJ จะยังคงไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนกว่าจะถึงปี 2011 เป็นอย่างน้อย
โดยอัตราดอกเบี้ยญี่ปุ่นขณะนี้อยู่ที่ 0.1 %
อีกสัญญาณหนึ่งที่บ่งชี้ว่าภาวะเงินฝืดกำลังมีอิทธิพลเหนือญี่ปุ่นมากยิ่งขึ้น
ก็คือการที่ดัชนี core-core CPI ของญี่ปุ่น ซึ่งไม่รวมหมวดอาหารและพลังงาน
ดิ่งลงครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 7 ปี โดยดัชนี core-core CPI ของญี่ปุ่นนี้มีค่า
เท่ากับดัชนี CPI พื้นฐานของประเทศอื่นๆ แต่ดัชนี CPI พื้นฐานของญี่ปุ่นมีความ
แตกต่างออกไป เพราะรวมราคาน้ำมันเอาไว้ด้วย แต่ไม่รวมราคาอาหารสด
ที่มีความผันผวนสูง
อย่างไรก็ดี ไม่มีแนวโน้มว่า BOJ จะกลับไปใช้นโยบายผ่อนคลาย
เชิงปริมาณอย่างเต็มที่อีกครั้ง ถ้าหากภาวะการร่วงลงของราคาบรรเทาลง
ในช่วงหลายเดือนข้างหน้า โดยนโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณรวมถึงการที่
BOJ อัดฉีดเม็ดเงินส่วนเกินจำนวนมากเข้าสู่ระบบธนาคาร
นายทาเกชิ มินามิ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของสถาบันวิจัยโนรินชูกิน
กล่าวว่า "การร่วงลงของดัชนี CPI พื้นฐานทั่วประเทศอาจอ่อนแรงลงในช่วง
ก่อนสิ้นปีนี้ เนื่องจากดัชนีจะได้รับผลกระทบน้อยลงเรื่อยๆจากการเปรียบเทียบ
กับตัวเลขฐานราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่พุ่งขึ้นในช่วงปีที่แล้ว อย่างไรก็ดี เป็นที่คาด
กันว่า ดัชนี CPI อาจลดลงราว 1 % ต่อไปจนถึงปีหน้า ในขณะที่ช่องว่าง
ด้านผลผลิตขยายกว้างมากยิ่งขึ้นในญี่ปุ่น"
"ในขณะที่ BOJ คาดการณ์ไว้ในรายงานแนวโน้มรอบครึ่งปีว่า
ราคาจะลดลงอย่างต่อเนื่องในปีหน้า แต่ BOJ ก็ไม่มีแนวโน้มที่จะดำเนิน
มาตรการเพิ่มเติมเพื่อรับมือกับภาวะเงินฝืด แต่มีแนวโน้มที่จะตรึงอัตรา
ดอกเบี้ยต่อไป"
ดัชนี CPI พื้นฐานของญี่ปุ่นร่วงลง 2.2 % ต่อปีในเดือนก.ค.
เหมือนกับที่ตลาดคาดการณ์ไว้ หลังจากอ่อนลง 1.7 % ในเดือนมิ.ย.
เยนขยับลงเล็กน้อยสู่ 93.61 เยน/ดอลลาร์ เทียบกับ 93.56
เยน/ดอลลาร์ก่อนการรายงานดัชนี CPI
ดัชนี CPI ของญี่ปุ่นร่วงลงอย่างรุนแรงเป็นประวัติการณ์ถึง 3 เดือน
ติดต่อกัน แต่เป็นที่คาดกันว่าดัชนีจะชะลอการดิ่งลงในอนาคต
อย่างไรก็ดี เป็นที่คาดกันว่าอุปสงค์ที่อ่อนแอภายในญี่ปุ่นจะยังคงกดดัน
ราคาต่อไป โดยดัชนี core-core CPI ของญี่ปุ่นร่วงลง 0.9 % ต่อปี ซึ่งถือเป็น
การร่วงลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ค.2002 และถือเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน
ที่อัตราการดิ่งลงทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
ดัชนี CPI พื้นฐานในกรุงโตเกียวปรับตัวลงอย่างรุนแรงเป็นประวัติการณ์
ถึง 1.9 % ต่อปีในเดือนส.ค. เทียบกับที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าอาจร่วงลง 1.8 %
โดยตัวเลข CPI ของกรุงโตเกียวได้รับการรายงานเร็วกว่าตัวเลขของญี่ปุ่น 1 เดือน
BOJ กำลังคาดการณ์ว่าญี่ปุ่นจะประสบภาวะเงินฝืดนาน 2 ปี และมีแนวโน้ม
ที่จะขยายตัวเลขคาดการณ์ออกเป็น 3 ปี เมื่อ BOJ เปิดเผยรายงานแนวโน้มรอบ
ครึ่งปีในเดือนต.ค.
อย่างไรก็ดี BOJ มองว่าภาวะเงินฝืดเป็นผลจากความอ่อนแอทางเศรษฐกิจ
มากกว่าจะเป็นต้นเหตุของความอ่อนแอทางเศรษฐกิจ ดังนั้น BOJ จึงไม่ได้มองว่า
การร่วงลงของราคาถือเป็นปัญหาใหญ่ ตราบใดที่ราคาร่วงลงไม่มากนัก และมีแนวโน้ม
ชะลอการร่วงลงในอนาคตขณะที่เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้น
อย่างไรก็ดี ถ้าหากอัตราเงินฝืดดิ่งลงอย่างรุนแรงมากพอที่จะส่งผลกระทบ
ต่อมุมมองของสาธารณชนที่มีต่อความเคลื่อนไหวของราคาในอนาคต และสร้างความ
เสียหายต่อระบบธนาคาร BOJ ก็อาจได้รับแรงกดดันให้พยายามหาหนทางในการ
ผ่อนคลายนโยบายการเงินลงต่อไป
นายไซมอน หว่อง นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด
กล่าวว่า "BOJ ไม่ค่อยจะยอมรับความจริงในช่วงครึ่งปีแรก แต่ตัวเลข CPI อาจ
ส่งผลให้ BOJ ทบทวนวิธีการกำหนดนโยบายใหม่"
"ไม่มีการพูดถึงเรื่องแผนยุทธศาสตร์ทางออกอีกต่อไป และอาจมีแรงกดดัน
ให้ BOJ ดำเนินการอย่างแข็งกร้าวมากยิ่งขึ้น โดย BOJ อาจจะประกาศว่า BOJ
จะดำเนินนโยบายปัจจุบันต่อไปจนกว่าราคาจะไต่สูงขึ้น นอกจากนี้ BOJ อาจกลับมา
ดำเนินนโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณด้วย"
ผลสำรวจบ่งชี้ว่าพรรคประชาธิปไตยซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านของญี่ปุ่นจะชนะ
การเลือกตั้งในวันอาทิตย์นี้ และนักวิเคราะห์กล่าวว่าพรรคประชาธิปไตยอาจขอให้
BOJ ช่วยพยุงเศรษฐกิจโดยใช้วิธีควบคุมอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะ
หลังจากที่อัตราการว่างงานขึ้นไปทำสถิติสูงสุด
นายหว่องกล่าวว่า "อัตราการเติบโตของค่าจ้างแรงงานดิ่งลงในช่วง
ที่ผ่านมา และนโยบายของพรรคประชาธิปไตยจะพยายามชดเชยสิ่งนี้ โดยสมาชิก
พรรคประชาธิปไตยควรดำเนินขั้นตอนแรกและทำตามสิ่งที่ได้ให้สัญญาไว้ และสิ่งนี้
น่าจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหม่"
BOJ ได้ดำเนินขั้นตอนพิเศษหลายขั้นตอนในช่วงที่ผ่านมาเพื่อลดผลกระทบ
จากวิกฤติการเงินโลก อย่างเช่นการซื้อตราสารเชิงพาณิชย์และหุ้นกู้เอกชนจาก
ธนาคารต่างๆ
นักลงทุนหลายรายคาดว่า BOJ จะยืดอายุให้กับโครงการพิเศษเหล่านี้ออกไป
จากที่มีกำหนดจะหมดอายุลงในเดือนธ.ค.
อีกสัญญาณหนึ่งที่บ่งชี้ถึงความอ่อนแอของเศรษฐกิจญี่ปุ่นคือการที่อัตราว่างงาน
พุ่งขึ้นสู่สถิติสูงสุดที่ 5.7 % ในเดือนก.ค.
และอัตราตำแหน่งงานว่างดิ่งลงสู่สถิติต่ำสุด
ที่ 0.42 ตำแหน่งต่อผู้หางานทำ 1 คน
จำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 1.03 ล้านคนจากปีที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการเพิ่มขึ้น
ครั้งใหญ่เป็นประวัติการณ์
การจับจ่ายใช้สอยในภาคครัวเรือนร่วงลง 2.0 % ต่อปีในเดือนก.ค.
ถึงแม้ตลาดคาดการณ์ว่าอาจลดลงเพียง 0.5 %
เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตขึ้นได้อีกครั้งในไตรมาสสอง และสามารถออกจาก
ภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ยาวนานที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา
อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์กล่าวเตือนว่าเศรษฐกิจจะเผชิญกับอุปสรรคในอนาคต
เนื่องจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในครั้งนี้ได้รับแรงหนุนสำคัญจากมาตรการ
กระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นทั่วโลก--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปล; ก้องเกียรติ กอวีรกิติ เรียบเรียง)
(([email protected]; โทร 0-2648-9741;
Reuters Messaging: [email protected]))
xBT> JAPAN:อัตราเงินฝืด,ว่างงานในญี่ปุ่นพุ่งทำสถิติสูงสุดในเดือนก.ค.
โตเกียว--28 ส.ค.--รอยเตอร์
ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) พื้นฐานของญี่ปุ่นร่วงลงอย่างรุนแรงเป็น
ประวัติการณ์ถึง 2.2 % ในช่วง 1 ปีที่สิ้นสุดเดือนก.ค. ในขณะที่ราคาร่วงลง
ในวงกว้างยิ่งขึ้น เนื่องจากอุปสงค์ขั้นสุดท้ายอยู่ในภาวะอ่อนแอ โดยสิ่งนี้บ่งชี้ว่า
ญี่ปุ่นอาจจะประสบภาวะเงินฝืดเป็นครั้งที่สองในเวลาไม่ถึง 5 ปี
ทางด้านอัตราการว่างงานของญี่ปุ่นพุ่งขึ้นสู่สถิติสูงสุด และอัตรา
ตำแหน่งงานว่างก็ดิ่งลงในเดือนก.ค. ซึ่งบ่งชี้ว่าภาวะเงินฝืดอาจดำเนินไป
เป็นเวลานานกว่าที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) คาดการณ์ไว้ และส่งผลให้
BOJ จะยังคงไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนกว่าจะถึงปี 2011 เป็นอย่างน้อย
โดยอัตราดอกเบี้ยญี่ปุ่นขณะนี้อยู่ที่ 0.1 %
อีกสัญญาณหนึ่งที่บ่งชี้ว่าภาวะเงินฝืดกำลังมีอิทธิพลเหนือญี่ปุ่นมากยิ่งขึ้น
ก็คือการที่ดัชนี core-core CPI ของญี่ปุ่น ซึ่งไม่รวมหมวดอาหารและพลังงาน
ดิ่งลงครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 7 ปี โดยดัชนี core-core CPI ของญี่ปุ่นนี้มีค่า
เท่ากับดัชนี CPI พื้นฐานของประเทศอื่นๆ แต่ดัชนี CPI พื้นฐานของญี่ปุ่นมีความ
แตกต่างออกไป เพราะรวมราคาน้ำมันเอาไว้ด้วย แต่ไม่รวมราคาอาหารสด
ที่มีความผันผวนสูง
อย่างไรก็ดี ไม่มีแนวโน้มว่า BOJ จะกลับไปใช้นโยบายผ่อนคลาย
เชิงปริมาณอย่างเต็มที่อีกครั้ง ถ้าหากภาวะการร่วงลงของราคาบรรเทาลง
ในช่วงหลายเดือนข้างหน้า โดยนโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณรวมถึงการที่
BOJ อัดฉีดเม็ดเงินส่วนเกินจำนวนมากเข้าสู่ระบบธนาคาร
นายทาเกชิ มินามิ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของสถาบันวิจัยโนรินชูกิน
กล่าวว่า "การร่วงลงของดัชนี CPI พื้นฐานทั่วประเทศอาจอ่อนแรงลงในช่วง
ก่อนสิ้นปีนี้ เนื่องจากดัชนีจะได้รับผลกระทบน้อยลงเรื่อยๆจากการเปรียบเทียบ
กับตัวเลขฐานราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่พุ่งขึ้นในช่วงปีที่แล้ว อย่างไรก็ดี เป็นที่คาด
กันว่า ดัชนี CPI อาจลดลงราว 1 % ต่อไปจนถึงปีหน้า ในขณะที่ช่องว่าง
ด้านผลผลิตขยายกว้างมากยิ่งขึ้นในญี่ปุ่น"
"ในขณะที่ BOJ คาดการณ์ไว้ในรายงานแนวโน้มรอบครึ่งปีว่า
ราคาจะลดลงอย่างต่อเนื่องในปีหน้า แต่ BOJ ก็ไม่มีแนวโน้มที่จะดำเนิน
มาตรการเพิ่มเติมเพื่อรับมือกับภาวะเงินฝืด แต่มีแนวโน้มที่จะตรึงอัตรา
ดอกเบี้ยต่อไป"
ดัชนี CPI พื้นฐานของญี่ปุ่นร่วงลง 2.2 % ต่อปีในเดือนก.ค.
เหมือนกับที่ตลาดคาดการณ์ไว้ หลังจากอ่อนลง 1.7 % ในเดือนมิ.ย.
เยนขยับลงเล็กน้อยสู่ 93.61 เยน/ดอลลาร์ เทียบกับ 93.56
เยน/ดอลลาร์ก่อนการรายงานดัชนี CPI
ดัชนี CPI ของญี่ปุ่นร่วงลงอย่างรุนแรงเป็นประวัติการณ์ถึง 3 เดือน
ติดต่อกัน แต่เป็นที่คาดกันว่าดัชนีจะชะลอการดิ่งลงในอนาคต
อย่างไรก็ดี เป็นที่คาดกันว่าอุปสงค์ที่อ่อนแอภายในญี่ปุ่นจะยังคงกดดัน
ราคาต่อไป โดยดัชนี core-core CPI ของญี่ปุ่นร่วงลง 0.9 % ต่อปี ซึ่งถือเป็น
การร่วงลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ค.2002 และถือเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน
ที่อัตราการดิ่งลงทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
ดัชนี CPI พื้นฐานในกรุงโตเกียวปรับตัวลงอย่างรุนแรงเป็นประวัติการณ์
ถึง 1.9 % ต่อปีในเดือนส.ค. เทียบกับที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าอาจร่วงลง 1.8 %
โดยตัวเลข CPI ของกรุงโตเกียวได้รับการรายงานเร็วกว่าตัวเลขของญี่ปุ่น 1 เดือน
BOJ กำลังคาดการณ์ว่าญี่ปุ่นจะประสบภาวะเงินฝืดนาน 2 ปี และมีแนวโน้ม
ที่จะขยายตัวเลขคาดการณ์ออกเป็น 3 ปี เมื่อ BOJ เปิดเผยรายงานแนวโน้มรอบ
ครึ่งปีในเดือนต.ค.
อย่างไรก็ดี BOJ มองว่าภาวะเงินฝืดเป็นผลจากความอ่อนแอทางเศรษฐกิจ
มากกว่าจะเป็นต้นเหตุของความอ่อนแอทางเศรษฐกิจ ดังนั้น BOJ จึงไม่ได้มองว่า
การร่วงลงของราคาถือเป็นปัญหาใหญ่ ตราบใดที่ราคาร่วงลงไม่มากนัก และมีแนวโน้ม
ชะลอการร่วงลงในอนาคตขณะที่เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้น
อย่างไรก็ดี ถ้าหากอัตราเงินฝืดดิ่งลงอย่างรุนแรงมากพอที่จะส่งผลกระทบ
ต่อมุมมองของสาธารณชนที่มีต่อความเคลื่อนไหวของราคาในอนาคต และสร้างความ
เสียหายต่อระบบธนาคาร BOJ ก็อาจได้รับแรงกดดันให้พยายามหาหนทางในการ
ผ่อนคลายนโยบายการเงินลงต่อไป
นายไซมอน หว่อง นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด
กล่าวว่า "BOJ ไม่ค่อยจะยอมรับความจริงในช่วงครึ่งปีแรก แต่ตัวเลข CPI อาจ
ส่งผลให้ BOJ ทบทวนวิธีการกำหนดนโยบายใหม่"
"ไม่มีการพูดถึงเรื่องแผนยุทธศาสตร์ทางออกอีกต่อไป และอาจมีแรงกดดัน
ให้ BOJ ดำเนินการอย่างแข็งกร้าวมากยิ่งขึ้น โดย BOJ อาจจะประกาศว่า BOJ
จะดำเนินนโยบายปัจจุบันต่อไปจนกว่าราคาจะไต่สูงขึ้น นอกจากนี้ BOJ อาจกลับมา
ดำเนินนโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณด้วย"
ผลสำรวจบ่งชี้ว่าพรรคประชาธิปไตยซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านของญี่ปุ่นจะชนะ
การเลือกตั้งในวันอาทิตย์นี้ และนักวิเคราะห์กล่าวว่าพรรคประชาธิปไตยอาจขอให้
BOJ ช่วยพยุงเศรษฐกิจโดยใช้วิธีควบคุมอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะ
หลังจากที่อัตราการว่างงานขึ้นไปทำสถิติสูงสุด
นายหว่องกล่าวว่า "อัตราการเติบโตของค่าจ้างแรงงานดิ่งลงในช่วง
ที่ผ่านมา และนโยบายของพรรคประชาธิปไตยจะพยายามชดเชยสิ่งนี้ โดยสมาชิก
พรรคประชาธิปไตยควรดำเนินขั้นตอนแรกและทำตามสิ่งที่ได้ให้สัญญาไว้ และสิ่งนี้
น่าจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหม่"
BOJ ได้ดำเนินขั้นตอนพิเศษหลายขั้นตอนในช่วงที่ผ่านมาเพื่อลดผลกระทบ
จากวิกฤติการเงินโลก อย่างเช่นการซื้อตราสารเชิงพาณิชย์และหุ้นกู้เอกชนจาก
ธนาคารต่างๆ
นักลงทุนหลายรายคาดว่า BOJ จะยืดอายุให้กับโครงการพิเศษเหล่านี้ออกไป
จากที่มีกำหนดจะหมดอายุลงในเดือนธ.ค.
อีกสัญญาณหนึ่งที่บ่งชี้ถึงความอ่อนแอของเศรษฐกิจญี่ปุ่นคือการที่อัตราว่างงาน
พุ่งขึ้นสู่สถิติสูงสุดที่ 5.7 % ในเดือนก.ค.
และอัตราตำแหน่งงานว่างดิ่งลงสู่สถิติต่ำสุด
ที่ 0.42 ตำแหน่งต่อผู้หางานทำ 1 คน
จำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 1.03 ล้านคนจากปีที่แล้ว ซึ่งถือเป็นการเพิ่มขึ้น
ครั้งใหญ่เป็นประวัติการณ์
การจับจ่ายใช้สอยในภาคครัวเรือนร่วงลง 2.0 % ต่อปีในเดือนก.ค.
ถึงแม้ตลาดคาดการณ์ว่าอาจลดลงเพียง 0.5 %
เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตขึ้นได้อีกครั้งในไตรมาสสอง และสามารถออกจาก
ภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ยาวนานที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา
อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์กล่าวเตือนว่าเศรษฐกิจจะเผชิญกับอุปสรรคในอนาคต
เนื่องจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในครั้งนี้ได้รับแรงหนุนสำคัญจากมาตรการ
กระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นทั่วโลก--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปล; ก้องเกียรติ กอวีรกิติ เรียบเรียง)
(([email protected]; โทร 0-2648-9741;
Reuters Messaging: [email protected]))
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 137
อัตราว่างงานของกลุ่ม EU ปรับตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 10 ปี เศรษฐกิจถดถอยยังกระทบภาคแรงงาน
Posted on Wednesday, September 02, 2009
- ผู้นำอังกฤษ-เยอรมนี-ฝรั่งเศส เรียกร้อง กลุ่ม G20 ให้ใช้ระบบเรียกคืน-จำกัดเงินโบนัสผู้บริหารธนาคาร หากไม่สามารถทำผลงานได้ตามเป้าที่วางไว้ และการให้เงินโบนัสควรอ้างอิงจากผลงานในระยะยาวมิใช่ผลงานเพียงปีเดียว โดยนายกบราวน์จากอังกฤษยังย้ำว่าควรใช้ระบบดังกล่าวอย่างเร่งด่วน และระบบนี้จะมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อถูกนำไปใช้โดยประเทศผู้ค้ารายใหญ่ของโลก
- ผลสำรวจ JD Power เผยผู้บริโภคสหรัฐฯ พึงพอใจในการใช้บัตรเครดิตลดลง จากดอกเบี้ย-ค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้น โดยผลสำรวจระบุว่า 20% ของผู้ตอบแบบสอบถามนั้นชี้ว่ามีความพึงพอใจในการใช้บัตรลดลงขณะที่ถูกคิดอัตราค่าดอกเบี้ยที่แพงขึ้น และอีก 18% ได้แสดงความไม่พอใจในการคิดค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ดัชนีดังกล่าวปรับลดลงสู่ระดับ 703 จุด จาก 1000 จุด ต่ำที่สุดนับตั้งแต่มีการทำผลสำรวจในปี 2550
- นิวยอร์กไทมส์เผย eBay บรรลุข้อตกลงขาย Skype ตามแผนแล้ว โดยอีเบย์ได้พยายามขายสไกป์มาสักระยะหนึ่งเนื่องจากมองว่า ธุรกิจของสไกป์ไม่สามารถส่งเสริมการดำเนินงานของบริษัทได้มากเท่าที่ควร รายงานข่าวไม่ได้ระบุถึงราคาซื้อขาย แต่เชื่อว่าอีเบย์น่าจะขายสไกป์ออกไปในประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์ หลังจากที่อีเบย์ได้ซื้อสไกป์มาในราคา 2.6 พันล้านดอลลาร์เมื่อเดือนต.ค. 2548 ซึ่งในตอนนั้น นักวิเคราะห์คิดว่าเป็นราคาที่สูงเกินไป
ข่าวแบงก์จ่ายคืนหนี้รัฐฉุดหุ้นร่วง แม้ตัวเลขศก.ดีขึ้น
นอกจากหุ้นกลุ่มประกันที่ถูกขายอย่างหนักจากความกังวลเรื่องมูลค่าหุ้นที่ขึ้นมาสูงเกินไป ข่าวการจ่ายคืนหนี้ของแบงก์ในอเมริกาที่เคยได้เงินช่วยเหลือจากรัฐบาลมาในช่วงวิกฤติ ก็ทำให้นักลงทุนกังวลถึงแนวโน้มของภาคธนาคารว่าจะมีเงินทุนเพียงพอหรือไม่ในการรับมือกับภาระการขาดทุนหรือหนี้เสียที่เกิดขึ้น ซึ่งหุ้นกลุ่มธนาคาร นำโดย Wells Fargo และ Bank of America ก็ถูกเทขายออกมาหลังจากที่มีรายงานข่าวในเรื่องแผนการจ่ายคืนหนี้ในคราวนี้ แม้ว่าเศรษฐกิจจะมีข่าวดีจากตัวเลขดัชนีสภาวะภาคการผลิตของ ISM ที่ปรับตัวเพิ่มในเดือนสิงหาคม และสัญญาจะซื้อจะขายบ้านที่เพิ่มขึ้นมากกว่าคาดการณ์ในเดือนกรกฎาคม แต่รายงานเศรษฐกิจทั้งคู่ก็ไม่อาจห้ามดัชนีตลาดหุ้นจากการร่วงลงได้
นักวิเคราะห์ของ Credit Suisse ระบุว่า มูลค่าหุ้นในตลาดสหรัฐฯ ยังดูสูงเกินกว่าตลาดที่พัฒนาแล้วอื่นๆ ซึ่งก็นำไปสู่การปรับลดคำแนะนำการลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ
พร้อมกับคาดการณ์ว่าตลาดมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงในระดับที่แย่กว่าค่าเฉลี่ยหรือ underperform เมื่อดัชนีภาคการผลิตของ ISM สูงขึ้นมาอยู่ในเกณฑ์ที่บ่งชี้ถึงสภาวะการขยายตัว หรือยิ่งสูงขึ้นไปกว่านี้อีก ธนาคารผู้ปล่อยสินเชื่อบ้านรายใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ Wells Fargo เปิดเผยว่าจะจ่ายคืนหนี้เงินช่วยเหลือที่ได้มาภายใต้โครงการ TARP ของรัฐบาลสหรัฐฯ โดยจะไม่มีการเพิ่มทุน เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่จะมีต่อมูลค่าหุ้นที่นักลงทุนถืออยู่ ซึ่งก็รวมถึงบริษัท Berkshire Hathaway ของมหาเศรษฐี วอร์เรน บัฟเฟต ด้วย
อย่างไรก็ดี ประธานกรรมการและซีอีโอ นายจอห์น สตัมฟ์ (John Stumpf) ก็ไม่ได้บอกถึงกำหนดเวลาที่แน่นอนว่าจะจ่ายเมื่อไหร่ บอกแต่เพียงว่าในเร็วๆ นี้เท่านั้น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาอนุมัติจากธนาคารกลางสหรัฐฯ ราคาหุ้นของ Wells Fargo ก็ร่วงลงไป 4.8% เมื่อคืนที่ผ่านมา นักวิเคราะห์ต่างก็กังวลว่าฐานเงินทุนของธนาคารยังไม่พร้อมสำหรับการจ่ายคืนหนี้รัฐบาลอย่างรวดเร็วนี้
Bank of America เล็งจ่ายคืนเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลบางส่วน
หนังสือพิมพ์ the Wall Street Journal รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า Bank of America เสนอแผนที่จะจ่ายคืนหนี้บางส่วนของวงเงินช่วยเหลือที่ได้มาจากรัฐบาลสหรัฐฯ จำนวน 20,000 ล้านเหรียญ ซึ่งเป็นวงเงินที่เกี่ยวข้องกับดีลการเข้าซื้อ Merrill Lynch ในช่วงที่ผ่านมา
นอกจากนี้ ธนาคารยังพยายามหาทางที่จะยุติข้อตกลงในเรื่องการแบ่งรับภาระขาดทุนที่ทำไว้กับรัฐบาลในสินทรัพย์ของ Merrill Lynch อีกด้วย สื่อยักษ์รายนี้รายงานด้วยว่า กระทรวงการคลังและธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้เรียกร้องให้ Bank of America จ่ายเงินในจำนวนระหว่าง 300 - 500 ล้านเหรียญ เพื่อที่จะยุติข้อตกลงดังกล่าว
นักวิเคราะห์ของบริษัท Atlantic Equities ในลอนดอน มองว่า ข่าวนี้เป็นสัญญาณที่ดีที่แสดงว่าธนาคารกำลังขยับตัวขึ้นพ้นจากสภาวะวิกฤติ หลังจากที่นักวิเคราะห์รายนี้ได้ให้คำแนะนำการลงทุนในหุ้น Bank of America ด้วยระดับ overweightทางด้านสถาบันการเงินอื่นๆ อย่าง Goldman Sachs Group, Morgan Stanley และ JPMorgan Chase ต่างก็จ่ายคืนหนี้รัฐบาลไปก่อนเรียบร้อยแล้ว จึงสามารถปลดล็อกกฎเกณฑ์ข้อบังคับต่างๆ ที่มีการจำกัดการจ่ายค่าตอบแทนของพนักงาน
และถ้าอ้างถึงข้อมูลของหนังสือพิมพ์ Wall Street ก็ปรากฏว่าทาง Bank of America ไม่ได้มีการเสนอที่จะจ่ายคืนเงินช่วยเหลือทั้งหมดจำนวน 45,000 ล้านเหรียญที่ได้มาภายใต้โครงการ TARP ของรัฐบาลแต่อย่างใด โดยการจ่ายคืนเงินช่วยเหลือเพียงบางส่วนนี้ก็หมายความว่าธนาคารไม่ต้องตกอยู่ในฐานะผู้เข้าขอรับความช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งความสำคัญก็คือธนาคารไม่ต้องถูกแทรกแซงจากสภาคองเกรสและหน่วยงานรัฐที่กำกับดูแลให้เรื่องวุ่นวายมากขึ้นด้วย ถ้าย้อนหลังกลับไปดูเรื่องความช่วยเหลือของรัฐบาลที่มีต่อแบงก์รายนี้ ก็เริ่มตั้งแต่ในเดือนมกราคมที่รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศรับประกันสินทรัพย์ของ Bank of America ที่มีมูลค่า 118,000 ล้านเหรียญ เพื่อช่วยให้ธนาคารสามารถรับมือกับดีลการซื้อ Merrill Lynch ได้ และยังช่วยป้องกันไม่ให้สถานการณ์วิกฤติเลวร้ายลงไปอีก โดยภายใต้ข้อตกลงกับรัฐบาล Bank of America จะต้องรับภาระการขาดทุนก้อนแรกมูลค่า 10,000 ล้านเหรียญในสินทรัพย์กองกลาง ขณะที่รัฐบาลจะเข้ารับผิดชอบในสัดส่วน 90% ของการขาดทุนที่มีเพิ่มเข้ามาอีกสำหรับในตอนนี้ธนาคารก็กำลังรอคอยเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลประธานาธิบดี บารัค โอบามา ให้ผ่านแผนการจ่ายค่าตอบแทนแก่พนักงานประจำปี 2552 อยู่อีกด้วย
ผลผลิตภาคอุตฯยุโรปทะยาน-ว่างงานยูโรโซนเพิ่มขึ้น
ดัชนีการผลิตในยุโรปเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 48.2 จุด จากระดับ 46.3 ในเดือนก.ค. หลังจากที่ธนาคารกลางยุโรปได้อัดฉีดเม็ดเงินหลายพันล้านยูโรเข้าตลาด และรัฐบาลของประเทศต่างๆก็จัดหามาตรการจูงใจด้านการขาย เพื่อกระตุ้นยอดการใช้จ่ายของผู้บริโภค ขณะที่ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของยุโรปก็ปรับตัวขึ้นมากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ได้คาดการณ์ไว้ในเดือนส.ค.
นอกจากนี้ ในวันนี้ จีนก็ได้เปิดเผยตัวเลขการผลิตเดือนส.ค.ที่ขยายตัวในอัตราที่รวดเร็วที่สุดในรอบ 16 เดือนเช่นกัน โฮเวิร์ด อาร์เชอร์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของไอเอชเอส โกลบอล อินไซท์ กล่าวว่า รายงานตัวเลขที่ได้มีการเปิดเผยในวันนี้ช่วยส่งเสริมความหวังและการคาดการณ์ที่ว่า เศรษฐกิจยุโรปจะกลับมาขยายตัวในไตรมาส 3 การที่จะทำให้การขยายตัวในภาคการผลิตเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น ยอดสั่งซื้อสินค้าจากในและต่างประเทศจะต้องสูงกว่านี้ ซึ่งตอนนี้ยอดสั่งซื้อยังไม่มีความแน่นอน ทั้งนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดว่า เศรษฐกิจยุโรปจะฟื้นตัวในระดับปานกลางในปีหน้า โดยประเมินว่า เศรษฐกิจยุโรปจะหดตัวลง 0.3% ในปีหน้า หลังจากที่หดตัวลง 4.8% ในปีนี้
ขณะที่อัตราว่างงานใน 16 ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโร ปรับตัวสูงขึ้นแตะ 9.5% ในเดือนก.ค. ถือเป็นสถิติที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค.2542 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยยังคงส่งผลกระทบต่อภาคแรงงาน
สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป (ยูโรสแตท) รายงานว่า อัตราว่างงานเดือนก.ค.ไต่ขึ้นมาจากระดับ 9.4% ในเดือนมิ.ย. โดยในเดือนก.ค.มีคนตกงานเพิ่มขึ้นอีก 167,000 คนในยูโรโซน ขณะที่ตัวเลขว่างงานในกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปทั้ง 27 ประเทศ อยู่ที่ 9% ขยับขึ้นจากระดับ 8.9% ในเดือนมิ.ย. โดยในเดือนก.ค.มีคนตกงานเพิ่มขึ้น 225,000 คนจากเดือนก่อนหน้า โดยสเปนเป็นประเทศที่มีอัตราว่างงานสูงสุดในยุโรปที่ 18.5% หรือมีผู้ว่างงานในสัดส่วน 1 ต่อ 5 ซึ่งเป็นผลมาจากตลาดที่อยู่อาศัยตกต่ำและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวซบเซาได้ทำให้บริษัทต่างๆในอุตสาหกรรมทั้งสองต้องลดจำนวนพนักงาน ทั้งนี้ อัตราว่างงานที่เพิ่มขึ้นนี้สวนทางกับข้อมูลอื่นๆที่ส่งสัญญาณบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจกำลังเริ่มฟื้นตัว อาทิ ฝรั่งเศสและเยอรมนีเผยเศรษฐกิจกลับมาขยายตัวได้อย่างเหนือความคาดหมายในไตรมาสสอง รวมถึงความเชื่อมั่นภาคธุรกิจและผู้บริโภคก็ฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯที่ประกาศออกมาเมื่อวานนี้ (อังคารที่ 1 ก.ย. 2552)
ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม (ส.ค.) อยู่ที่ระดับ 52.9 จุด
ค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้าง (ก.ค.) ลดลง 0.2% จากเดือนก่อนหน้า
ดัชนียอดทำสัญญาซื้อบ้านที่รอปิดการขาย (ก.ค.) อยู่ที่ 97.6 จุด
ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯที่จะประกาศออกมาวันนี้ (พุธที่ 2 ก.ย. 2552)
ตัวเลขการจ้างงาน (ส.ค.) โดย ADP Employer Services
ประสิทธิภาพการผลิต และ ต้นทุนแรงงานต่อหน่วย (Q2/52) โดยกระทรวงแรงงาน
ยอดสั่งซื้อสินค้าโรงงาน (ก.ค.) โดยกระทรวงพาณิชย์
ตัวเลขสต็อกน้ำมันสำรองประจำสัปดาห์ โดย EIA
สรุปรายงานการประชุม FOMC ประจำวันที่ 12 สิงหาคม 2552
Posted on Wednesday, September 02, 2009
- ผู้นำอังกฤษ-เยอรมนี-ฝรั่งเศส เรียกร้อง กลุ่ม G20 ให้ใช้ระบบเรียกคืน-จำกัดเงินโบนัสผู้บริหารธนาคาร หากไม่สามารถทำผลงานได้ตามเป้าที่วางไว้ และการให้เงินโบนัสควรอ้างอิงจากผลงานในระยะยาวมิใช่ผลงานเพียงปีเดียว โดยนายกบราวน์จากอังกฤษยังย้ำว่าควรใช้ระบบดังกล่าวอย่างเร่งด่วน และระบบนี้จะมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อถูกนำไปใช้โดยประเทศผู้ค้ารายใหญ่ของโลก
- ผลสำรวจ JD Power เผยผู้บริโภคสหรัฐฯ พึงพอใจในการใช้บัตรเครดิตลดลง จากดอกเบี้ย-ค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้น โดยผลสำรวจระบุว่า 20% ของผู้ตอบแบบสอบถามนั้นชี้ว่ามีความพึงพอใจในการใช้บัตรลดลงขณะที่ถูกคิดอัตราค่าดอกเบี้ยที่แพงขึ้น และอีก 18% ได้แสดงความไม่พอใจในการคิดค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ดัชนีดังกล่าวปรับลดลงสู่ระดับ 703 จุด จาก 1000 จุด ต่ำที่สุดนับตั้งแต่มีการทำผลสำรวจในปี 2550
- นิวยอร์กไทมส์เผย eBay บรรลุข้อตกลงขาย Skype ตามแผนแล้ว โดยอีเบย์ได้พยายามขายสไกป์มาสักระยะหนึ่งเนื่องจากมองว่า ธุรกิจของสไกป์ไม่สามารถส่งเสริมการดำเนินงานของบริษัทได้มากเท่าที่ควร รายงานข่าวไม่ได้ระบุถึงราคาซื้อขาย แต่เชื่อว่าอีเบย์น่าจะขายสไกป์ออกไปในประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์ หลังจากที่อีเบย์ได้ซื้อสไกป์มาในราคา 2.6 พันล้านดอลลาร์เมื่อเดือนต.ค. 2548 ซึ่งในตอนนั้น นักวิเคราะห์คิดว่าเป็นราคาที่สูงเกินไป
ข่าวแบงก์จ่ายคืนหนี้รัฐฉุดหุ้นร่วง แม้ตัวเลขศก.ดีขึ้น
นอกจากหุ้นกลุ่มประกันที่ถูกขายอย่างหนักจากความกังวลเรื่องมูลค่าหุ้นที่ขึ้นมาสูงเกินไป ข่าวการจ่ายคืนหนี้ของแบงก์ในอเมริกาที่เคยได้เงินช่วยเหลือจากรัฐบาลมาในช่วงวิกฤติ ก็ทำให้นักลงทุนกังวลถึงแนวโน้มของภาคธนาคารว่าจะมีเงินทุนเพียงพอหรือไม่ในการรับมือกับภาระการขาดทุนหรือหนี้เสียที่เกิดขึ้น ซึ่งหุ้นกลุ่มธนาคาร นำโดย Wells Fargo และ Bank of America ก็ถูกเทขายออกมาหลังจากที่มีรายงานข่าวในเรื่องแผนการจ่ายคืนหนี้ในคราวนี้ แม้ว่าเศรษฐกิจจะมีข่าวดีจากตัวเลขดัชนีสภาวะภาคการผลิตของ ISM ที่ปรับตัวเพิ่มในเดือนสิงหาคม และสัญญาจะซื้อจะขายบ้านที่เพิ่มขึ้นมากกว่าคาดการณ์ในเดือนกรกฎาคม แต่รายงานเศรษฐกิจทั้งคู่ก็ไม่อาจห้ามดัชนีตลาดหุ้นจากการร่วงลงได้
นักวิเคราะห์ของ Credit Suisse ระบุว่า มูลค่าหุ้นในตลาดสหรัฐฯ ยังดูสูงเกินกว่าตลาดที่พัฒนาแล้วอื่นๆ ซึ่งก็นำไปสู่การปรับลดคำแนะนำการลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ
พร้อมกับคาดการณ์ว่าตลาดมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงในระดับที่แย่กว่าค่าเฉลี่ยหรือ underperform เมื่อดัชนีภาคการผลิตของ ISM สูงขึ้นมาอยู่ในเกณฑ์ที่บ่งชี้ถึงสภาวะการขยายตัว หรือยิ่งสูงขึ้นไปกว่านี้อีก ธนาคารผู้ปล่อยสินเชื่อบ้านรายใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ Wells Fargo เปิดเผยว่าจะจ่ายคืนหนี้เงินช่วยเหลือที่ได้มาภายใต้โครงการ TARP ของรัฐบาลสหรัฐฯ โดยจะไม่มีการเพิ่มทุน เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่จะมีต่อมูลค่าหุ้นที่นักลงทุนถืออยู่ ซึ่งก็รวมถึงบริษัท Berkshire Hathaway ของมหาเศรษฐี วอร์เรน บัฟเฟต ด้วย
อย่างไรก็ดี ประธานกรรมการและซีอีโอ นายจอห์น สตัมฟ์ (John Stumpf) ก็ไม่ได้บอกถึงกำหนดเวลาที่แน่นอนว่าจะจ่ายเมื่อไหร่ บอกแต่เพียงว่าในเร็วๆ นี้เท่านั้น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาอนุมัติจากธนาคารกลางสหรัฐฯ ราคาหุ้นของ Wells Fargo ก็ร่วงลงไป 4.8% เมื่อคืนที่ผ่านมา นักวิเคราะห์ต่างก็กังวลว่าฐานเงินทุนของธนาคารยังไม่พร้อมสำหรับการจ่ายคืนหนี้รัฐบาลอย่างรวดเร็วนี้
Bank of America เล็งจ่ายคืนเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลบางส่วน
หนังสือพิมพ์ the Wall Street Journal รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า Bank of America เสนอแผนที่จะจ่ายคืนหนี้บางส่วนของวงเงินช่วยเหลือที่ได้มาจากรัฐบาลสหรัฐฯ จำนวน 20,000 ล้านเหรียญ ซึ่งเป็นวงเงินที่เกี่ยวข้องกับดีลการเข้าซื้อ Merrill Lynch ในช่วงที่ผ่านมา
นอกจากนี้ ธนาคารยังพยายามหาทางที่จะยุติข้อตกลงในเรื่องการแบ่งรับภาระขาดทุนที่ทำไว้กับรัฐบาลในสินทรัพย์ของ Merrill Lynch อีกด้วย สื่อยักษ์รายนี้รายงานด้วยว่า กระทรวงการคลังและธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้เรียกร้องให้ Bank of America จ่ายเงินในจำนวนระหว่าง 300 - 500 ล้านเหรียญ เพื่อที่จะยุติข้อตกลงดังกล่าว
นักวิเคราะห์ของบริษัท Atlantic Equities ในลอนดอน มองว่า ข่าวนี้เป็นสัญญาณที่ดีที่แสดงว่าธนาคารกำลังขยับตัวขึ้นพ้นจากสภาวะวิกฤติ หลังจากที่นักวิเคราะห์รายนี้ได้ให้คำแนะนำการลงทุนในหุ้น Bank of America ด้วยระดับ overweightทางด้านสถาบันการเงินอื่นๆ อย่าง Goldman Sachs Group, Morgan Stanley และ JPMorgan Chase ต่างก็จ่ายคืนหนี้รัฐบาลไปก่อนเรียบร้อยแล้ว จึงสามารถปลดล็อกกฎเกณฑ์ข้อบังคับต่างๆ ที่มีการจำกัดการจ่ายค่าตอบแทนของพนักงาน
และถ้าอ้างถึงข้อมูลของหนังสือพิมพ์ Wall Street ก็ปรากฏว่าทาง Bank of America ไม่ได้มีการเสนอที่จะจ่ายคืนเงินช่วยเหลือทั้งหมดจำนวน 45,000 ล้านเหรียญที่ได้มาภายใต้โครงการ TARP ของรัฐบาลแต่อย่างใด โดยการจ่ายคืนเงินช่วยเหลือเพียงบางส่วนนี้ก็หมายความว่าธนาคารไม่ต้องตกอยู่ในฐานะผู้เข้าขอรับความช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งความสำคัญก็คือธนาคารไม่ต้องถูกแทรกแซงจากสภาคองเกรสและหน่วยงานรัฐที่กำกับดูแลให้เรื่องวุ่นวายมากขึ้นด้วย ถ้าย้อนหลังกลับไปดูเรื่องความช่วยเหลือของรัฐบาลที่มีต่อแบงก์รายนี้ ก็เริ่มตั้งแต่ในเดือนมกราคมที่รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศรับประกันสินทรัพย์ของ Bank of America ที่มีมูลค่า 118,000 ล้านเหรียญ เพื่อช่วยให้ธนาคารสามารถรับมือกับดีลการซื้อ Merrill Lynch ได้ และยังช่วยป้องกันไม่ให้สถานการณ์วิกฤติเลวร้ายลงไปอีก โดยภายใต้ข้อตกลงกับรัฐบาล Bank of America จะต้องรับภาระการขาดทุนก้อนแรกมูลค่า 10,000 ล้านเหรียญในสินทรัพย์กองกลาง ขณะที่รัฐบาลจะเข้ารับผิดชอบในสัดส่วน 90% ของการขาดทุนที่มีเพิ่มเข้ามาอีกสำหรับในตอนนี้ธนาคารก็กำลังรอคอยเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลประธานาธิบดี บารัค โอบามา ให้ผ่านแผนการจ่ายค่าตอบแทนแก่พนักงานประจำปี 2552 อยู่อีกด้วย
ผลผลิตภาคอุตฯยุโรปทะยาน-ว่างงานยูโรโซนเพิ่มขึ้น
ดัชนีการผลิตในยุโรปเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 48.2 จุด จากระดับ 46.3 ในเดือนก.ค. หลังจากที่ธนาคารกลางยุโรปได้อัดฉีดเม็ดเงินหลายพันล้านยูโรเข้าตลาด และรัฐบาลของประเทศต่างๆก็จัดหามาตรการจูงใจด้านการขาย เพื่อกระตุ้นยอดการใช้จ่ายของผู้บริโภค ขณะที่ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของยุโรปก็ปรับตัวขึ้นมากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ได้คาดการณ์ไว้ในเดือนส.ค.
นอกจากนี้ ในวันนี้ จีนก็ได้เปิดเผยตัวเลขการผลิตเดือนส.ค.ที่ขยายตัวในอัตราที่รวดเร็วที่สุดในรอบ 16 เดือนเช่นกัน โฮเวิร์ด อาร์เชอร์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของไอเอชเอส โกลบอล อินไซท์ กล่าวว่า รายงานตัวเลขที่ได้มีการเปิดเผยในวันนี้ช่วยส่งเสริมความหวังและการคาดการณ์ที่ว่า เศรษฐกิจยุโรปจะกลับมาขยายตัวในไตรมาส 3 การที่จะทำให้การขยายตัวในภาคการผลิตเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น ยอดสั่งซื้อสินค้าจากในและต่างประเทศจะต้องสูงกว่านี้ ซึ่งตอนนี้ยอดสั่งซื้อยังไม่มีความแน่นอน ทั้งนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดว่า เศรษฐกิจยุโรปจะฟื้นตัวในระดับปานกลางในปีหน้า โดยประเมินว่า เศรษฐกิจยุโรปจะหดตัวลง 0.3% ในปีหน้า หลังจากที่หดตัวลง 4.8% ในปีนี้
ขณะที่อัตราว่างงานใน 16 ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโร ปรับตัวสูงขึ้นแตะ 9.5% ในเดือนก.ค. ถือเป็นสถิติที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค.2542 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยยังคงส่งผลกระทบต่อภาคแรงงาน
สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป (ยูโรสแตท) รายงานว่า อัตราว่างงานเดือนก.ค.ไต่ขึ้นมาจากระดับ 9.4% ในเดือนมิ.ย. โดยในเดือนก.ค.มีคนตกงานเพิ่มขึ้นอีก 167,000 คนในยูโรโซน ขณะที่ตัวเลขว่างงานในกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปทั้ง 27 ประเทศ อยู่ที่ 9% ขยับขึ้นจากระดับ 8.9% ในเดือนมิ.ย. โดยในเดือนก.ค.มีคนตกงานเพิ่มขึ้น 225,000 คนจากเดือนก่อนหน้า โดยสเปนเป็นประเทศที่มีอัตราว่างงานสูงสุดในยุโรปที่ 18.5% หรือมีผู้ว่างงานในสัดส่วน 1 ต่อ 5 ซึ่งเป็นผลมาจากตลาดที่อยู่อาศัยตกต่ำและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวซบเซาได้ทำให้บริษัทต่างๆในอุตสาหกรรมทั้งสองต้องลดจำนวนพนักงาน ทั้งนี้ อัตราว่างงานที่เพิ่มขึ้นนี้สวนทางกับข้อมูลอื่นๆที่ส่งสัญญาณบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจกำลังเริ่มฟื้นตัว อาทิ ฝรั่งเศสและเยอรมนีเผยเศรษฐกิจกลับมาขยายตัวได้อย่างเหนือความคาดหมายในไตรมาสสอง รวมถึงความเชื่อมั่นภาคธุรกิจและผู้บริโภคก็ฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯที่ประกาศออกมาเมื่อวานนี้ (อังคารที่ 1 ก.ย. 2552)
ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม (ส.ค.) อยู่ที่ระดับ 52.9 จุด
ค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้าง (ก.ค.) ลดลง 0.2% จากเดือนก่อนหน้า
ดัชนียอดทำสัญญาซื้อบ้านที่รอปิดการขาย (ก.ค.) อยู่ที่ 97.6 จุด
ตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯที่จะประกาศออกมาวันนี้ (พุธที่ 2 ก.ย. 2552)
ตัวเลขการจ้างงาน (ส.ค.) โดย ADP Employer Services
ประสิทธิภาพการผลิต และ ต้นทุนแรงงานต่อหน่วย (Q2/52) โดยกระทรวงแรงงาน
ยอดสั่งซื้อสินค้าโรงงาน (ก.ค.) โดยกระทรวงพาณิชย์
ตัวเลขสต็อกน้ำมันสำรองประจำสัปดาห์ โดย EIA
สรุปรายงานการประชุม FOMC ประจำวันที่ 12 สิงหาคม 2552
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 138
ผลผลิตภาคโรงงานทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นบ่งชี้เศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว
xBT> USA:ผลผลิตภาคโรงงานทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นบ่งชี้เศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว
ชิคาโก--2 ก.ย.--รอยเตอร์
บริษัทผู้ผลิตสินค้าในสหรัฐและในบางประเทศเผยรายงานที่สดใสออกมา
ซึ่งบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจโลกอาจเริ่มฟื้นตัวขึ้นอย่างเชื่องช้าหลังจากประสบภาวะตกต่ำครั้ง
รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง
ทั้งนี้ รายงานของแต่ละประเทศได้รับการสนับสนุนจากผลสำรวจที่แสดง
ให้เห็นว่า กิจกรรมภาคโรงงานทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนพ.ค.2008
โดยมีสหรัฐและญี่ปุ่นเป็นผู้นำ
อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์บางรายแสดงความกังวลว่า การฟื้นตัวในครั้งนี้
พึ่งพาความช่วยเหลือจากรัฐบาลมากเกินไป ซึ่งความช่วยเหลือนี้รวมถึงโครงการ
cash for clunkers ของสหรัฐที่กระตุ้นให้ประชาชนนำรถเก่ามาแลกซื้อรถใหม่
ที่ประหยัดเชื้อเพลิง และรวมถึงโครงการของรัฐบาลเยอรมนีในการสนับสนุนตลาด
แรงงานก่อนการเลือกตั้ง
รายงานตัวเลขเศรษฐกิจเหล่านี้ไม่สามารถหนุนตลาดหุ้นทั่วโลกได้ โดยตลาด
หุ้นดิ่งลงอย่างรุนแรงเมื่อวานนี้เนื่องจากมีความกังวลกันว่า นักลงทุนอาจปรับตัวรับการ
คาดการณ์เรื่องการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจมากเกินไปในช่วงที่ผ่านมา
รัฐมนตรีคลังของกลุ่มประเทศจี-20 กำลังจะประชุมกันที่กรุงลอนดอนในช่วง
สุดสัปดาห์นี้ และเป็นที่คาดกันว่าในการประชุมนี้อาจมีการหารือเรื่องแนวทางต่างๆ
ในการยุติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลโดยไม่ทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
หยุดชะงักลง
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ที่สำคัญของสหรัฐแสดงให้เห็นว่า ภาคโรงงาน
ของสหรัฐขยายตัวในเดือนส.ค.เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนม.ค.2008 เป็นต้นมา
ดัชนี PMI นี้อยู่ในระดับที่แข็งแกร่งเกินคาด โดยได้รับแรงหนุนจากโครงการ
cash for clunkers ที่ส่งผลให้ชาวสหรัฐนำรถยนต์เก่าจำนวนสูงกว่า 690,000 คัน
มาแลกส่วนลด 3 พันล้านดอลลาร์ในการซื้อรถยนต์คันใหม่ที่ประหยัดเชื้อเพลิงกว่า
สถาบันจัดการด้านอุปทาน (ISM) ของสหรัฐรายงานว่า ดัชนีกิจกรรมภาค
โรงงานพุ่งขึ้นสู่ 52.9 ในเดือนส.ค. จาก 48.9 ในเดือนก.ค. โดยระดับเดือนส.ค.
ถือเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย.2007
ดัชนีที่อยู่สูงกว่า 50 แสดงให้เห็นว่าภาคโรงงานของสหรัฐเติบโตขึ้น ส่วนตัวเลข
คำสั่งซื้อใหม่และตัวเลขการผลิตก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน
บริษัทที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดจากโครงการ cash for clunkers คือบริษัท
รถยนต์สำคัญของเอเชียและบริษัทฟอร์ด มอเตอร์ โคของสหรัฐ ซึ่งได้รับผลบวกจากการที่
บริษัทมีรถยนต์ขนาดเล็กและมีรถยนต์ประเภท crossover (หรือรถยนต์ที่มีลักษณะคล้าย
รถสปอร์ตอเนกประสงค์) ที่น่าสนใจกว่าของคู่แข่ง โดยฟอร์ดรายงานว่ายอดขายพุ่งขึ้น
17 % ในเดือนส.ค.ปีนี้เมื่อเทียบกับเดือนส.ค.2008
บริษัทเจเนอรัล มอเตอร์ส โค (GM) ของสหรัฐรายงานว่า ยอดขายเดือน
ส.ค.ดิ่งลง 20 % ต่อปี แต่ยอดขายรถยี่ห้อหลักของ GM (GMC, เชฟโรเลต, บูอิค
และคาดิลแลค) พุ่งขึ้น 21 % จากเดือนก.ค.
ยอดขายรถยนต์โดยรวมในสหรัฐในเดือนส.ค.อยู่สูงกว่า 14 ล้านคัน
เมื่อเทียบเป็นตัวเลขรายปี ซึ่งถือเป็นอัตราการขายที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ต้นปี 2009
อย่างไรก็ดี นักยุทธศาสตร์การลงทุนกังวลว่า การที่ประชาชนเร่งรีบ
ซื้อรถในเดือนส.ค.อาจส่งผลกระทบต่อยอดขายรถในอนาคต และจะส่งผลให้บริษัท
ผู้ผลิตรถยนต์ประสบภาวะสต็อกรถยนต์ลดลง และอุปสงค์ไม่แน่นอนในช่วงหลายเดือน
ข้างหน้า
เมื่อวานนี้สหรัฐยังรายงานอีกด้วยว่า ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย
พุ่งขึ้นสู่จุดสูงสุดรอบ 2 ปีในเดือนก.ค. โดยอาจได้รับแรงหนุนจากการปรับลดราคา
บ้านลงอย่างรุนแรง และจากการที่เศรษฐกิจมีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น
นักลงทุนมองว่าการฟื้นตัวของภาคที่อยู่อาศัยของสหรัฐถือเป็นปัจจัยสำคัญ
ต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดยภาคที่อยู่อาศัยของสหรัฐประสบภาวะตกต่ำมานาน
3 ปีแล้ว
นายโจนาธาน บาซิล นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารเครดิต สวิสกล่าวว่า
"ทั้งรายงาน ISM และรายงานภาคที่อยู่อาศัยต่างก็น่าพึงพอใจ และผมก็มีความพึงพอ
ใจมากเป็นพิเศษต่อตัวเลขคำสั่งซื้อใหม่และส่วนต่างระหว่างตัวเลขคำสั่งซื้อใหม่กับ
ตัวเลขการขนส่งสินค้า"
ตัวเลขการจ้างงานของ ISM แสดงให้เห็นว่าตลาดแรงงานของสหรัฐ
เริ่มมีความหวัง โดยดัชนีการจ้างงานของ ISM พุ่งขึ้นสู่จุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนส.ค.
ปี 2008
อย่างไรก็ดี นายนอร์เบิร์ต ออร์ ประธานคณะกรรมการสำรวจธุรกิจ
ภาคการผลิตของ ISM กล่าวเตือนว่า การฟื้นตัวของภาคโรงงานอาจจะไม่ส่งผล
ให้ตำแหน่งงานใหม่เพิ่มขึ้นมากนักในช่วงนี้
นักวิเคราะห์มองว่า ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นได้อย่าง
ต่อเนื่องก็คือการทำให้อัตราการว่างงานของสหรัฐดิ่งลงจากระดับปัจจุบันที่ 9.4 %
โดยเฉพาะเมื่อสหรัฐยุติโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ดัชนีตลาดหุ้นสำคัญทั้ง 3 ดัชนีของสหรัฐต่างก็พุ่งขึ้นมาแล้วราว 50 %
จากระดับต่ำสุดของเดือนมี.ค. และทำให้บางคนมองว่าดัชนีอยู่สูงกว่าระดับที่
สอดคล้องกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างอ่อนแอ
นายบิล กรอส ผู้จัดการกองทุนตราสารหนี้ PIMCO ระบุในจดหมาย
ข่าวที่ออกมาวานนี้ว่า "เรากำลังจะเข้าสู่ช่วงที่เราเรียกว่า New Normal
ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เศรษฐกิจของหลายประเทศเติบโตอย่างเชื่องช้ามาก แทนที่
จะเติบโตอย่างรวดเร็ว"
ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทดิ่งลงราว 2 % เมื่อวานนี้ ในขณะที่ตลาดหุ้นทั่วโลก
ร่วงลงราว 1.8 %
การที่นักลงทุนเข้าซื้อสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยสูงช่วยหนุนราคาพันธบัตร
รัฐบาลสหรัฐเมื่อวานนี้ ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรร่วงลง โดยอัตราผลตอบแทน
พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีร่วงลงสู่จุดต่ำสุดนับตั้งแต่กลางเดือนก.ค. ส่วนราคา
สินค้าโภคภัณฑ์ก็ดิ่งลงอย่างรุนแรง
สหพันธ์โลจิสติกและการจัดซื้อของจีนรายงานว่า ดัชนีภาคการผลิตของจีน
ฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องในเดือนส.ค. และได้ขึ้นไปแตะจุดสูงสุดรอบ 16 เดือน ขณะที่
ตัวเลขคำสั่งซื้อใหม่, ผลผลิต, ยอดนำเข้า และการจ้างงานต่างก็เพิ่มขึ้นทุกตัวเลข
นักวิเคราะห์บางคนคาดหวังว่าจีนจะเป็นตัวจักรสำคัญที่กระตุ้นการฟื้นตัว
ของเศรษฐกิจโลกถ้าหากจีนยังคงนำเข้าในปริมาณมาก
อย่างไรก็ดี ถึงแม้เศรษฐกิจโลกดูเหมือนจะอยู่ในขั้นตอนแรกของการฟื้นตัว
แต่เศรษฐกิจของประเทศต่างๆก็อยู่ในสถานะที่แตกต่างกันไป
บริษัทผู้ผลิตของอินเดียมีอัตราการเติบโตเชื่องช้าที่สุดในรอบ 5 เดือน
ส่วนกิจกรรมภาคโรงงานในยูโรโซนขยับลงไม่มากเท่าที่คาดในเดือนส.ค. ทั้งนี้
บริษัทมาร์กิตรายงานว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของภาคการผลิตยูโรโซน
ทะยานขึ้นสู่ 48.2 ในเดือนส.ค. จาก 46.3 ในเดือนก.ค. โดยดัชนีที่ระดับต่ำกว่า
50 บ่งชี้ว่าภาคการผลิตหดตัว
อย่างไรก็ดี กิจกรรมภาคโรงงานหดตัวลงอย่างเกินความคาดหมายในอังกฤษ
และอัตราการหดตัวก็ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในสเปนและอิตาลี
ส่วนในยุโรปตะวันออกนั้น ภาคการผลิตในโปแลนด์และสาธารณรัฐเชคทะยานขึ้น
สู่ระดับของการเริ่มฟื้นตัว แต่ความเชื่อมั่นในภาคอุตสาหกรรมในฮังการีดิ่งลง
นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจในยูโรโซนอาจเผชิญอุปสรรค
จากอัตราการว่างงานที่ระดับสูง ซึ่งส่งผลลบต่ออุปสงค์ในสินค้าปลีก และเผชิญอุปสรรค
จากการที่รัฐบาลหลายประเทศจะเรียกคืนเงินหลายล้านล้านดอลลาร์ที่ได้อัดฉีดเข้าสู่
เศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา
เนื่องจากเป็นที่เห็นได้ชัดว่าเศรษฐกิจเยอรมนีกำลังจะฟื้นตัวขึ้น นายกรัฐมนตรี
แองเจลา เมอร์เคลของเยอรมนีจึงกล่าวในการให้สัมภาษณ์ทางวิทยุว่า จำเป็นต้องมีการ
คุมเข้มเงื่อนไขในการปล่อยกู้เมื่อใดก็ตามที่วิกฤติเศรษฐกิจสิ้นสุดลง
นางเมอร์เคลกล่าวว่า "จำเป็นต้องมีการปรับลดปริมาณเงินลง"
ด้านนายกรัฐมนตรีกอร์ดอน บราวน์ของอังกฤษกล่าวในการให้สัมภาษณ์ต่อหนังสือพิมพ์
ไฟแนนเชียล ไทมส์ก่อนการประชุมกลุ่มประเทศจี-20 ว่า หลายประเทศควรประสานงานกัน
มากยิ่งขึ้นในเรื่องการยุติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปล; ก้องเกียรติ กอวีรกิติ เรียบเรียง)
(([email protected]; โทร 0-2648-9741;
Reuters Messaging: [email protected]))
xBT> USA:ผลผลิตภาคโรงงานทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นบ่งชี้เศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว
ชิคาโก--2 ก.ย.--รอยเตอร์
บริษัทผู้ผลิตสินค้าในสหรัฐและในบางประเทศเผยรายงานที่สดใสออกมา
ซึ่งบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจโลกอาจเริ่มฟื้นตัวขึ้นอย่างเชื่องช้าหลังจากประสบภาวะตกต่ำครั้ง
รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง
ทั้งนี้ รายงานของแต่ละประเทศได้รับการสนับสนุนจากผลสำรวจที่แสดง
ให้เห็นว่า กิจกรรมภาคโรงงานทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนพ.ค.2008
โดยมีสหรัฐและญี่ปุ่นเป็นผู้นำ
อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์บางรายแสดงความกังวลว่า การฟื้นตัวในครั้งนี้
พึ่งพาความช่วยเหลือจากรัฐบาลมากเกินไป ซึ่งความช่วยเหลือนี้รวมถึงโครงการ
cash for clunkers ของสหรัฐที่กระตุ้นให้ประชาชนนำรถเก่ามาแลกซื้อรถใหม่
ที่ประหยัดเชื้อเพลิง และรวมถึงโครงการของรัฐบาลเยอรมนีในการสนับสนุนตลาด
แรงงานก่อนการเลือกตั้ง
รายงานตัวเลขเศรษฐกิจเหล่านี้ไม่สามารถหนุนตลาดหุ้นทั่วโลกได้ โดยตลาด
หุ้นดิ่งลงอย่างรุนแรงเมื่อวานนี้เนื่องจากมีความกังวลกันว่า นักลงทุนอาจปรับตัวรับการ
คาดการณ์เรื่องการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจมากเกินไปในช่วงที่ผ่านมา
รัฐมนตรีคลังของกลุ่มประเทศจี-20 กำลังจะประชุมกันที่กรุงลอนดอนในช่วง
สุดสัปดาห์นี้ และเป็นที่คาดกันว่าในการประชุมนี้อาจมีการหารือเรื่องแนวทางต่างๆ
ในการยุติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลโดยไม่ทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
หยุดชะงักลง
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ที่สำคัญของสหรัฐแสดงให้เห็นว่า ภาคโรงงาน
ของสหรัฐขยายตัวในเดือนส.ค.เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนม.ค.2008 เป็นต้นมา
ดัชนี PMI นี้อยู่ในระดับที่แข็งแกร่งเกินคาด โดยได้รับแรงหนุนจากโครงการ
cash for clunkers ที่ส่งผลให้ชาวสหรัฐนำรถยนต์เก่าจำนวนสูงกว่า 690,000 คัน
มาแลกส่วนลด 3 พันล้านดอลลาร์ในการซื้อรถยนต์คันใหม่ที่ประหยัดเชื้อเพลิงกว่า
สถาบันจัดการด้านอุปทาน (ISM) ของสหรัฐรายงานว่า ดัชนีกิจกรรมภาค
โรงงานพุ่งขึ้นสู่ 52.9 ในเดือนส.ค. จาก 48.9 ในเดือนก.ค. โดยระดับเดือนส.ค.
ถือเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย.2007
ดัชนีที่อยู่สูงกว่า 50 แสดงให้เห็นว่าภาคโรงงานของสหรัฐเติบโตขึ้น ส่วนตัวเลข
คำสั่งซื้อใหม่และตัวเลขการผลิตก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน
บริษัทที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดจากโครงการ cash for clunkers คือบริษัท
รถยนต์สำคัญของเอเชียและบริษัทฟอร์ด มอเตอร์ โคของสหรัฐ ซึ่งได้รับผลบวกจากการที่
บริษัทมีรถยนต์ขนาดเล็กและมีรถยนต์ประเภท crossover (หรือรถยนต์ที่มีลักษณะคล้าย
รถสปอร์ตอเนกประสงค์) ที่น่าสนใจกว่าของคู่แข่ง โดยฟอร์ดรายงานว่ายอดขายพุ่งขึ้น
17 % ในเดือนส.ค.ปีนี้เมื่อเทียบกับเดือนส.ค.2008
บริษัทเจเนอรัล มอเตอร์ส โค (GM) ของสหรัฐรายงานว่า ยอดขายเดือน
ส.ค.ดิ่งลง 20 % ต่อปี แต่ยอดขายรถยี่ห้อหลักของ GM (GMC, เชฟโรเลต, บูอิค
และคาดิลแลค) พุ่งขึ้น 21 % จากเดือนก.ค.
ยอดขายรถยนต์โดยรวมในสหรัฐในเดือนส.ค.อยู่สูงกว่า 14 ล้านคัน
เมื่อเทียบเป็นตัวเลขรายปี ซึ่งถือเป็นอัตราการขายที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ต้นปี 2009
อย่างไรก็ดี นักยุทธศาสตร์การลงทุนกังวลว่า การที่ประชาชนเร่งรีบ
ซื้อรถในเดือนส.ค.อาจส่งผลกระทบต่อยอดขายรถในอนาคต และจะส่งผลให้บริษัท
ผู้ผลิตรถยนต์ประสบภาวะสต็อกรถยนต์ลดลง และอุปสงค์ไม่แน่นอนในช่วงหลายเดือน
ข้างหน้า
เมื่อวานนี้สหรัฐยังรายงานอีกด้วยว่า ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย
พุ่งขึ้นสู่จุดสูงสุดรอบ 2 ปีในเดือนก.ค. โดยอาจได้รับแรงหนุนจากการปรับลดราคา
บ้านลงอย่างรุนแรง และจากการที่เศรษฐกิจมีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น
นักลงทุนมองว่าการฟื้นตัวของภาคที่อยู่อาศัยของสหรัฐถือเป็นปัจจัยสำคัญ
ต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดยภาคที่อยู่อาศัยของสหรัฐประสบภาวะตกต่ำมานาน
3 ปีแล้ว
นายโจนาธาน บาซิล นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารเครดิต สวิสกล่าวว่า
"ทั้งรายงาน ISM และรายงานภาคที่อยู่อาศัยต่างก็น่าพึงพอใจ และผมก็มีความพึงพอ
ใจมากเป็นพิเศษต่อตัวเลขคำสั่งซื้อใหม่และส่วนต่างระหว่างตัวเลขคำสั่งซื้อใหม่กับ
ตัวเลขการขนส่งสินค้า"
ตัวเลขการจ้างงานของ ISM แสดงให้เห็นว่าตลาดแรงงานของสหรัฐ
เริ่มมีความหวัง โดยดัชนีการจ้างงานของ ISM พุ่งขึ้นสู่จุดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนส.ค.
ปี 2008
อย่างไรก็ดี นายนอร์เบิร์ต ออร์ ประธานคณะกรรมการสำรวจธุรกิจ
ภาคการผลิตของ ISM กล่าวเตือนว่า การฟื้นตัวของภาคโรงงานอาจจะไม่ส่งผล
ให้ตำแหน่งงานใหม่เพิ่มขึ้นมากนักในช่วงนี้
นักวิเคราะห์มองว่า ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นได้อย่าง
ต่อเนื่องก็คือการทำให้อัตราการว่างงานของสหรัฐดิ่งลงจากระดับปัจจุบันที่ 9.4 %
โดยเฉพาะเมื่อสหรัฐยุติโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ดัชนีตลาดหุ้นสำคัญทั้ง 3 ดัชนีของสหรัฐต่างก็พุ่งขึ้นมาแล้วราว 50 %
จากระดับต่ำสุดของเดือนมี.ค. และทำให้บางคนมองว่าดัชนีอยู่สูงกว่าระดับที่
สอดคล้องกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างอ่อนแอ
นายบิล กรอส ผู้จัดการกองทุนตราสารหนี้ PIMCO ระบุในจดหมาย
ข่าวที่ออกมาวานนี้ว่า "เรากำลังจะเข้าสู่ช่วงที่เราเรียกว่า New Normal
ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เศรษฐกิจของหลายประเทศเติบโตอย่างเชื่องช้ามาก แทนที่
จะเติบโตอย่างรวดเร็ว"
ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทดิ่งลงราว 2 % เมื่อวานนี้ ในขณะที่ตลาดหุ้นทั่วโลก
ร่วงลงราว 1.8 %
การที่นักลงทุนเข้าซื้อสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยสูงช่วยหนุนราคาพันธบัตร
รัฐบาลสหรัฐเมื่อวานนี้ ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรร่วงลง โดยอัตราผลตอบแทน
พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีร่วงลงสู่จุดต่ำสุดนับตั้งแต่กลางเดือนก.ค. ส่วนราคา
สินค้าโภคภัณฑ์ก็ดิ่งลงอย่างรุนแรง
สหพันธ์โลจิสติกและการจัดซื้อของจีนรายงานว่า ดัชนีภาคการผลิตของจีน
ฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องในเดือนส.ค. และได้ขึ้นไปแตะจุดสูงสุดรอบ 16 เดือน ขณะที่
ตัวเลขคำสั่งซื้อใหม่, ผลผลิต, ยอดนำเข้า และการจ้างงานต่างก็เพิ่มขึ้นทุกตัวเลข
นักวิเคราะห์บางคนคาดหวังว่าจีนจะเป็นตัวจักรสำคัญที่กระตุ้นการฟื้นตัว
ของเศรษฐกิจโลกถ้าหากจีนยังคงนำเข้าในปริมาณมาก
อย่างไรก็ดี ถึงแม้เศรษฐกิจโลกดูเหมือนจะอยู่ในขั้นตอนแรกของการฟื้นตัว
แต่เศรษฐกิจของประเทศต่างๆก็อยู่ในสถานะที่แตกต่างกันไป
บริษัทผู้ผลิตของอินเดียมีอัตราการเติบโตเชื่องช้าที่สุดในรอบ 5 เดือน
ส่วนกิจกรรมภาคโรงงานในยูโรโซนขยับลงไม่มากเท่าที่คาดในเดือนส.ค. ทั้งนี้
บริษัทมาร์กิตรายงานว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของภาคการผลิตยูโรโซน
ทะยานขึ้นสู่ 48.2 ในเดือนส.ค. จาก 46.3 ในเดือนก.ค. โดยดัชนีที่ระดับต่ำกว่า
50 บ่งชี้ว่าภาคการผลิตหดตัว
อย่างไรก็ดี กิจกรรมภาคโรงงานหดตัวลงอย่างเกินความคาดหมายในอังกฤษ
และอัตราการหดตัวก็ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในสเปนและอิตาลี
ส่วนในยุโรปตะวันออกนั้น ภาคการผลิตในโปแลนด์และสาธารณรัฐเชคทะยานขึ้น
สู่ระดับของการเริ่มฟื้นตัว แต่ความเชื่อมั่นในภาคอุตสาหกรรมในฮังการีดิ่งลง
นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจในยูโรโซนอาจเผชิญอุปสรรค
จากอัตราการว่างงานที่ระดับสูง ซึ่งส่งผลลบต่ออุปสงค์ในสินค้าปลีก และเผชิญอุปสรรค
จากการที่รัฐบาลหลายประเทศจะเรียกคืนเงินหลายล้านล้านดอลลาร์ที่ได้อัดฉีดเข้าสู่
เศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา
เนื่องจากเป็นที่เห็นได้ชัดว่าเศรษฐกิจเยอรมนีกำลังจะฟื้นตัวขึ้น นายกรัฐมนตรี
แองเจลา เมอร์เคลของเยอรมนีจึงกล่าวในการให้สัมภาษณ์ทางวิทยุว่า จำเป็นต้องมีการ
คุมเข้มเงื่อนไขในการปล่อยกู้เมื่อใดก็ตามที่วิกฤติเศรษฐกิจสิ้นสุดลง
นางเมอร์เคลกล่าวว่า "จำเป็นต้องมีการปรับลดปริมาณเงินลง"
ด้านนายกรัฐมนตรีกอร์ดอน บราวน์ของอังกฤษกล่าวในการให้สัมภาษณ์ต่อหนังสือพิมพ์
ไฟแนนเชียล ไทมส์ก่อนการประชุมกลุ่มประเทศจี-20 ว่า หลายประเทศควรประสานงานกัน
มากยิ่งขึ้นในเรื่องการยุติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปล; ก้องเกียรติ กอวีรกิติ เรียบเรียง)
(([email protected]; โทร 0-2648-9741;
Reuters Messaging: [email protected]))
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 139
xBT> UN:UNCTAD เผยรายงานประจำปีชี้เศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้นตัวจากภาวะถดถอยUNCTAD เผยรายงานประจำปีชี้เศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้นตัวจากภาวะถดถอย
เจนีวา--8 ก.ย.--รอยเตอร์
นักเศรษฐศาสตร์ของสหประชาชาติ (UN) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจ
จะไม่มีการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก และเตือนว่า
การดำเนินการใดๆเพื่อยกเลิกโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลอย่าง
รวดเร็วนั้นอาจทำให้วิกฤตการณ์เลวร้ายลง
ในรายงานประจำปี องค์การที่ประชุมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการค้า
และการพัฒนา หรืออังค์ถัด (UNCTAD) ได้เรียกร้องให้มีการจัดตั้งระบบทุนสำรอง
ใหม่ทั่วโลกโดยใช้สกุลเงินที่หลากหลายมากกว่าที่จะใช้ดอลลาร์สหรัฐเพียงสกุลเดียว
และเรียกร้องให้มีการควบคุมอย่างเข้มงวดต่อการหมุนเวียนด้านการเงินข้ามประเทศ
"ยังคงมีความเป็นไปได้ค่อนข้างต่ำที่การฟื้นตัวในประเทศที่พัฒนาแล้ว
รายใหญ่ จะแข็งแกร่งพอที่จะนำพาเศรษฐกิจโลกกลับสู่การขยายตัวก่อนช่วงเกิด
วิกฤตการณ์ในไม่กี่ปีข้างหน้านี้" รายงานระบุ
ในการแถลงข่าว นายศุภชัย พานิชภักดิ์ เลขาธิการองค์การ UNCTAD
และนายไฮเนอร์ ฟลาสส์เบ็ค ที่ปรึกษาอาวุโสได้ปฏิเสธความเห็นที่ว่า การเริ่ม
ฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ (green shoots) ได้ปรากฏขึ้นแล้วในประเทศที่มั่งคั่งในปีนี้
"ผมยังไม่เห็นการดีดตัวที่แท้จริง" นายศุภชัย อดีตผู้อำนวยการองค์การ
การค้าโลก (WTO) และอดีตรองนายกรัฐมนตรีของไทยกล่าว "ยังไม่มีสัญญาณ
ความแข็งแกร่งของปัจจัยด้านเศรษฐกิจในขณะนี้"
ความเห็นของ UNCTAD ตรงข้ามกับข้อมูลเศรษฐกิจและผลสำรวจใหม่ๆ
ที่บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจในสหรัฐและยุโรปอาจกำลังฟื้นตัว ขณะที่การผลิตของจีนก็
กระเตื้องเร็วขึ้น
"การปรับตัวขึ้นในวงกว้างของตลาดต่างๆซึ่งไม่ได้เคลื่อนไหวอย่างปกติ
ในทิศทางเดียวกันนั้นแสดงให้เห็นว่า สิ่งที่เราเห็นในช่วงครึ่งปีแรกนั้นถูกผลักดัน
โดยการคาดการณ์" นายฟลาสส์เบ็คเปิดเผยกับผู้สื่อข่าวในเจนีวา
"สิ่งที่เกิดขึ้นคือการคาดการณ์เกี่ยวกับการฟื้นตัว ความพยายามที่จะ
คาดการณ์การฟื้นตัว แต่มันเป็นเพียงนิยาย ยังไม่ได้เกิดขึ้นจริง" เขากล่าว
"จะเป็นสิ่งที่อันตรายมาก หากรัฐบาลต่างๆเริ่มพูดถึงกลยุทธ์การออกจาก
นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ"
รายงานการค้าและการพัฒนาประจำปี 2009 จำนวน 181 หน้า
ของ UNCTAD ระบุว่า ฤดูหนาวทางเศรษฐกิจยังอีกยาวนานกว่าจะสิ้นสุด
"กำไรที่ลดลงในภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง, การลงทุนที่มากเกินไป
ในอสังหาริมทรัพย์ก่อนหน้านี้ และการว่างงานที่เพิ่มขึ้นจะยังคงสกัดกั้นการ
บริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนในอนาคตอันใกล้" รายงานระบุ
การปรับตัวขึ้นของดัชนีบ่งชี้ทางการเงินในช่วงครึ่งปีแรกนั้นมีแนวโน้ม
มากขึ้นที่จะส่งสัญญาณการฟื้นตัวชั่วคราวจากระดับต่ำผิดปกติของราคาสินทรัพย์
ทางการเงินและสินค้าโภคภัณฑ์หลังการดิ่งลงในช่วงที่ผ่านมา
รายงานยังระบุด้วยว่า การใช้สกุลเงินต่างๆ อาทิ Special Drawing
Rights (SDRs) ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เป็นสินทรัพย์สำรอง
และเป็นเครื่องมือในการชำระเงินระหว่างประเทศนั้น อาจช่วยลดความเสี่ยงจาก
การพึ่งพาดอลลาร์สหรัฐ
UNCTAD ซึ่งมักถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยนักเศรษฐศาสตร์ตลาดเสรีว่าสนับสนุน
การจัดการด้านเศรษฐกิจบนพื้นฐานการควบคุมของรัฐในระดับสูงนั้น ได้ปฏิเสธความ
เห็นที่ว่า เงินเฟ้อเป็นอันตรายที่สำคัญจากโครงการกระตุ้นด้านการคลังขนาดใหญ่
"เงินฝืดเป็นภัยคุกคามที่แท้จริงในประเทศจำนวนมากเพราะรัฐบาลต่างๆ
จะพบว่า เป็นการยากมากขึ้นที่จะสร้างเสถียรภาพให้กับเศรษฐกิจที่ทรุดตัวลงเมื่อ
ค่าจ้างและการบริโภคร่วงลงอย่างหนัก" รายงานระบุ
เพื่อสนับสนุนการขยายตัวและต่อสู้กับภาวะเงินฝืด UNCTAD ระบุว่า
รัฐบาลและธนาคารกลางของประเทศต่างๆควรดำเนินนโยบายกระตุ้นด้านการเงิน
และการคลังต่อไปหรือเสริมความแข็งแกร่งให้กับนโยบายเหล่านั้น
หากมีการดำเนินการตามแนวทางนี้ UNCTAD ระบุว่า การขยายตัว
ของเศรษฐกิจโลกจะกลับมาเป็นบวกอีกครั้งในปี 2010 แต่เตือนว่า ยังเป็นไป
ไม่ได้ที่เศรษฐกิจจะขยายตัวเกิน 1.6%
UNCTAD ระบุว่า ประเทศที่ยากจนโดยเฉพาะในละติน อเมริกาและเอเชีย
อาจจะได้รับประโยชน์จากการควบคุมเงินทุนเพื่อลดความเสี่ยงต่อสถานการณ์ด้านการ
เงินที่ไม่คาดคิดในต่างประเทศ และได้เรียกร้องให้มีการคิดทบทวนเกี่ยวกับความเห็น
เรื่องการรวมตัวทางการเงินทั่วโลกของประเทศกำลังพัฒนาโดยรวม"--จบ--
(รอยเตอร์ โดย กัลยาณี ชีวะพานิช แปล; ก้องเกียรติ กอวีรกิติ เรียบเรียง)
(([email protected]; โทร 0-2648-9741;
Reuters Messaging; kallayanee.cheevapanich.reuters.com @reuters.net))
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 140
นักเศรษฐศาสตร์ชี้ภาวะเศรษฐกิจถดถอยยุติลงแล้ว
xBT> USA:นักเศรษฐศาสตร์ชี้ภาวะเศรษฐกิจถดถอยยุติลงแล้ว แต่การจ้างงานยังซบเซา
วอชิงตัน--10 ก.ย.--รอยเตอร์
นักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำจากภาคเอกชนระบุว่า ภาวะเศรษฐกิจถดถอย
ได้สิ้นสุดลงแล้ว ขณะที่วิกฤติในตลาดแรงงานได้ผ่านพ้นภาวะย่ำแย่ที่สุดไปแล้ว
แม้ว่าภาวะการจ้างงานของสหรัฐจะยังคงซบเซาต่อไปจนถึงปีหน้า
ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับการสำรวจประจำเดือนก.ย.ในจดหมาย
ข่าว Blue Chip Economic Indicators ระบุว่า อัตราว่างงานจะแตะระดับ
10% เป็นอย่างต่ำในช่วงต้นปีหน้า และ "จะลดลงจากระดับดังกล่าวอย่างช้าๆ
ในช่วงครึ่งปีหลัง"
นักเศรษฐศาสตร์กว่า 80% จากทั้งหมด 52 รายระบุว่า ภาวะถดถอย
ที่เริ่มขึ้นในเดือนธ.ค.2007 ได้สิ้นสุดลงแล้ว และพวกเขาคาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวม
ภายในประเทศ (จีดีพี) จะขยายตัว 3.0% ในไตรมาส 3 ปีนี้ และ 2.4% ใน
ไตรมาส 4
ในการสำรวจครั้งก่อน นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจีดีพีจะขยายตัว 2.2%
และ 2.3% ในไตรมาส 3 และ 4 ตามลำดับ
สำหรับแนวโน้มทั้งปี นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจีดีพีจะติดลบ 2.6%
ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากผลสำรวจในเดือนก.ค.และส.ค. ส่วนในปีหน้า คาดว่า
จีดีพีจะขยายตัว 2.4%
ผลสำรวจล่าสุดนี้จัดทำขึ้นระหว่างวันที่ 2-3 ก.ย.ก่อนการเปิดเผย
รายงานการจ้างงานในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งกระทรวงแรงงานระบุว่า อัตราว่างงาน
อยู่ที่ 9.7% ในเดือนส.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่เดือนมิ.ย.1983 ขณะที่
นายจ้างลดการจ้างงาน 216,000 ตำแหน่ง ซึ่งน้อยที่สุดตั้งแต่เดือนส.ค.
ปีที่แล้ว
นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าภาวะตลาดแรงงานจะปรับตัวขึ้นทีละน้อย
เท่านั้น และเศรษฐกิจก็จะมีการลดการจ้างงานต่อไปจนถึงสิ้นปีนี้ แต่ในอัตรา
ที่ลดลง
นักเศรษฐศาสตร์กลุ่มนี้ซึ่งมาจากบริษัทชั้นนำ, ธนาคาร, สมาคมธุรกิจ
และบริษัทที่ปรึกษา กล่าวว่า การขยายชั่วโมงทำงานต่อสัปดาห์จะนำไปสู่การ
ขยายตัวของการจ้างงาน ซึ่งจะทำให้รายได้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น และหนุนการ
ใช้จ่ายของผู้บริโภค
"บริษัทต่างๆจะตอบสนองด้วยการเริ่มกักตุนสต็อกสินค้าอีกครั้ง,
เร่งการขยายตัวในการผลิตภาคอุตสาหกรรม และส่งเสริมให้เพิ่มการ
ใช้จ่ายด้านทุนในที่สุด ขณะที่กำลังการผลิตส่วนเกินจะถูกกำจัดไป"
นักเศรษฐศาสตร์ระบุ
ผลสำรวจระบุว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจอีกครั้งในช่วง
ครึ่งหลังของปีนี้อิงตามการกักตุนสต็อกสินค้าใหม่ ซึ่งอยู่ที่ระดับต่ำเป็น
ประวัติการณ์ในขณะนี้, การดีดตัวขึ้นเล็กน้อยของการใช้จ่ายของผู้บริโภค
และการปรับตัวดีขึ้นของการลงทุนเพื่อที่อยู่อาศัย
การใช้จ่ายของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นเห็นได้จากยอดขายรถยนต์
โดยสารขนาดเบาที่เพิ่มขึ้นหลังรัฐบาลออกโครงการนำรถเก่ามาแลก
รถใหม่ที่ประหยัดเชื้อเพลิง (cash for clunkers)--จบ--
(รอยเตอร์ โดย เสาวณีย์ เอกปัญญาชัย แปล; ก้องเกียรติ กอวีรกิติ เรียบเรียง)
(([email protected]; โทร 0-2648-9741;
Reuters Messaging: [email protected]))
xBT> USA:นักเศรษฐศาสตร์ชี้ภาวะเศรษฐกิจถดถอยยุติลงแล้ว แต่การจ้างงานยังซบเซา
วอชิงตัน--10 ก.ย.--รอยเตอร์
นักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำจากภาคเอกชนระบุว่า ภาวะเศรษฐกิจถดถอย
ได้สิ้นสุดลงแล้ว ขณะที่วิกฤติในตลาดแรงงานได้ผ่านพ้นภาวะย่ำแย่ที่สุดไปแล้ว
แม้ว่าภาวะการจ้างงานของสหรัฐจะยังคงซบเซาต่อไปจนถึงปีหน้า
ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับการสำรวจประจำเดือนก.ย.ในจดหมาย
ข่าว Blue Chip Economic Indicators ระบุว่า อัตราว่างงานจะแตะระดับ
10% เป็นอย่างต่ำในช่วงต้นปีหน้า และ "จะลดลงจากระดับดังกล่าวอย่างช้าๆ
ในช่วงครึ่งปีหลัง"
นักเศรษฐศาสตร์กว่า 80% จากทั้งหมด 52 รายระบุว่า ภาวะถดถอย
ที่เริ่มขึ้นในเดือนธ.ค.2007 ได้สิ้นสุดลงแล้ว และพวกเขาคาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวม
ภายในประเทศ (จีดีพี) จะขยายตัว 3.0% ในไตรมาส 3 ปีนี้ และ 2.4% ใน
ไตรมาส 4
ในการสำรวจครั้งก่อน นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจีดีพีจะขยายตัว 2.2%
และ 2.3% ในไตรมาส 3 และ 4 ตามลำดับ
สำหรับแนวโน้มทั้งปี นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจีดีพีจะติดลบ 2.6%
ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากผลสำรวจในเดือนก.ค.และส.ค. ส่วนในปีหน้า คาดว่า
จีดีพีจะขยายตัว 2.4%
ผลสำรวจล่าสุดนี้จัดทำขึ้นระหว่างวันที่ 2-3 ก.ย.ก่อนการเปิดเผย
รายงานการจ้างงานในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งกระทรวงแรงงานระบุว่า อัตราว่างงาน
อยู่ที่ 9.7% ในเดือนส.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่เดือนมิ.ย.1983 ขณะที่
นายจ้างลดการจ้างงาน 216,000 ตำแหน่ง ซึ่งน้อยที่สุดตั้งแต่เดือนส.ค.
ปีที่แล้ว
นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าภาวะตลาดแรงงานจะปรับตัวขึ้นทีละน้อย
เท่านั้น และเศรษฐกิจก็จะมีการลดการจ้างงานต่อไปจนถึงสิ้นปีนี้ แต่ในอัตรา
ที่ลดลง
นักเศรษฐศาสตร์กลุ่มนี้ซึ่งมาจากบริษัทชั้นนำ, ธนาคาร, สมาคมธุรกิจ
และบริษัทที่ปรึกษา กล่าวว่า การขยายชั่วโมงทำงานต่อสัปดาห์จะนำไปสู่การ
ขยายตัวของการจ้างงาน ซึ่งจะทำให้รายได้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น และหนุนการ
ใช้จ่ายของผู้บริโภค
"บริษัทต่างๆจะตอบสนองด้วยการเริ่มกักตุนสต็อกสินค้าอีกครั้ง,
เร่งการขยายตัวในการผลิตภาคอุตสาหกรรม และส่งเสริมให้เพิ่มการ
ใช้จ่ายด้านทุนในที่สุด ขณะที่กำลังการผลิตส่วนเกินจะถูกกำจัดไป"
นักเศรษฐศาสตร์ระบุ
ผลสำรวจระบุว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจอีกครั้งในช่วง
ครึ่งหลังของปีนี้อิงตามการกักตุนสต็อกสินค้าใหม่ ซึ่งอยู่ที่ระดับต่ำเป็น
ประวัติการณ์ในขณะนี้, การดีดตัวขึ้นเล็กน้อยของการใช้จ่ายของผู้บริโภค
และการปรับตัวดีขึ้นของการลงทุนเพื่อที่อยู่อาศัย
การใช้จ่ายของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นเห็นได้จากยอดขายรถยนต์
โดยสารขนาดเบาที่เพิ่มขึ้นหลังรัฐบาลออกโครงการนำรถเก่ามาแลก
รถใหม่ที่ประหยัดเชื้อเพลิง (cash for clunkers)--จบ--
(รอยเตอร์ โดย เสาวณีย์ เอกปัญญาชัย แปล; ก้องเกียรติ กอวีรกิติ เรียบเรียง)
(([email protected]; โทร 0-2648-9741;
Reuters Messaging: [email protected]))
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 141
ศก.เอเชียฟื้นตัวเร็วกว่าตะวันตก ส่งสัญญาณจัดขั้วอำนาจโลกใหม่
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 10 กันยายน 2552 22:33 น.
เอเอฟพี-นักเศรษฐศาสตร์ชี้ ความรวดเร็วในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเอเชีย เมื่อเปรียบเทียบกับชาติตะวันตก นับจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลกหลังการล้มละลายของวานิชธนกิจยักษ์ "เลห์แมน บราเธอร์ส" เมื่อ 1 ปีก่อน อาจเป็นสัญญาณแสดงให้เห็นว่า กำลังมีการจัดระเบียบ "ขั้วอำนาจ" ครั้งใหม่ของโลก ที่บรรดาชาติในเอเชียจะไม่ต้องพึ่งพาประเทศตะวันตกในการเป็น "หัวรถจักรหลัก" ของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกเพียงลำพังอีกต่อไป
ศาสตราจารย์อโศก จรัญ แห่งสถาบันธุรกิจศึกษา ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ เขียนบทความลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์สเตรทส์ ไทมส์ของสิงคโปร์ฉบับเมื่อวานนี้ (10) โดยระบุบรรดาเขตเศรษฐกิจทั้งหลายในภูมิภาคเอเชียที่ฟื้นตัวจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็ว มีแนวโน้มที่จะพึ่งพาโลกตะวันตกน้อยลงในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกในอนาคต ซึ่งจะนำไปสู่สิ่งที่เรียกว่า "ระเบียบโลกใหม่" ที่ภูมิภาคเอเชียจะมีฐานะเป็น "ขุมพลังใหม่" ที่มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น โดยอาศัยปัจจัยสำคัญ 2 ประการคือ ศักยภาพของความต้องการภายในประเทศที่ได้รับแรงสนับสนุนจากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่ามหาศาลจากภาครัฐ และการเพิ่มพูนของจำนวนชนชั้นกลางในจีน อินเดียและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคซึ่งจะเป็นตัวจักรขับเคลื่อนการบริโภคในแต่ละประเทศต่อไป
ศาสตราจารย์จรัญยังระบุว่า การล่มสลายของเลห์แมน บราเธอร์ส วานิชธนกิจเก่าแก่ที่มีอายุกว่า 158 ปีในสหรัฐฯเมื่อวันที่ 15 กันยายน ปีที่แล้ว หลังต้องสูญเงินไปหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากวิกฤตสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ได้นำไปสู่การเกิด "มรสุมทางการเงิน" และวิกฤตเศรษฐกิจที่รุนแรงที่สุดตั้งแต่"เกรท ดีเปรสชั่น"ในทศวรรษ1930
จรัญบอกว่า ในช่วงแรกๆ ของวิกฤตนั้น มีผู้มองว่า จะเป็นหายนะทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่สำหรับชาติในเอเชียซึ่งล้วนต้องพึ่งพารายได้จากการส่งออกสินค้าเป็นหลัก แต่ด้วยอานิสงส์จากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่ามหาศาลของประเทศในเอเชีย ที่ช่วยเพิ่มศักยภาพให้กำลังซื้อภายในประเทศ กลับทำให้เศรษฐกิจเอเชียหลุดพ้นจากการตกต่ำดำดิ่งของเศรษฐกิจโลกมาได้ก่อนโลกตะวันตก
ด้านรอเบิร์ต เซลลิก ประธานธนาคารโลกออกมาระบุว่า จีนกำลังกลายเป็นชาติที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งยวดในการนำพาภูมิภาคเอเชียหลุดพ้นจากเศรษฐกิจโลกในช่วงขาลง และยังได้ช่วยป้องกันไม่ให้วิกฤตเศรษฐกิจโลกเลวร้ายไปมากกว่าที่เป็นอยู่ พร้อมชี้ว่า การเติบโตของจีนซึ่งคาดว่าน่าจะสูงถึงเกือบร้อยละ 8 ในปีนี้ และ "สัญญาณแห่งความมีเสถียรภาพ" ที่ทยอยปรากฏขึ้นในประเทศเอเชียอื่นๆ ในช่วงที่ผ่านมา ได้ช่วยเพิ่มความหวังที่จะได้เห็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกโดยรวมอย่างแท้จริงในอนาคตอันใกล้นี้
ขณะที่ปาร์คซินยัง นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสแห่งธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) กล่าวที่กรุงมะนิลาของฟิลิปปินส์ว่า ความต้องการภายในประเทศของชาติเอเชียที่มีอยู่อย่างมหาศาล โดยเฉพาะในจีนและอินโดนีเซีย ได้ช่วยผลักดันให้เขตเศรษฐกิจต่างๆ ในภูมิภาค เช่น สิงคโปร์ และฮ่องกง กลับมาเติบโตในแดนบวกได้อีกครั้งในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้ ทั้งที่เพิ่งจะก้าวเข้าสู่ภาวะถดถอยเมื่อปลายปีที่แล้ว ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงหดตัวร้อยละ 1 และเศรษฐกิจในกลุ่มยูโรโซนยังติดลบร้อยละ 0.1
ขณะเดียวกันสถาบันวิจัยเศรษฐกิจของธนาคารเครดีต์สวิส ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองซูริก, สวิตเซอร์แลนด์ ก็ได้ออกรายงานฉบับล่าสุดที่ระบุว่าประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียที่มีแรงงานภายในประเทศจำนวนมากเช่น จีน อินเดีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม ยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่องในช่วงขาลงของเศรษฐกิจโลก ส่วนออสเตรเลีย ก็กลายเป็นเขตเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วเพียงแห่งเดียวของโลกที่รอดพ้นจากภาวะถดถอยมาได้ ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า ความต้องการภายใน มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการเติบโตของเอเชียตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา
นอกจากนั้น " บทเรียนราคาแพง" ที่บรรดาชาติในเอเชียเคยได้รับจากวิกฤตทางการเงินเมื่อ 10 กว่าปีก่อน ยังช่วยให้รัฐบาลในภูมิภาคหันมาใช้มาตรการกำกับตรวจสอบทางการเงินที่เข้มงวดรัดกุมมากขึ้น ซึ่งทำให้เอเชียไม่ประสบกับความปั่นป่วนในภาคการเงินซ้ำอีก ขณะที่สหรัฐฯ และยุโรปกลับต้อง "ล้มอย่างไม่เป็นท่า" เมื่อเกิดวิกฤตในปีที่แล้ว
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 10 กันยายน 2552 22:33 น.
เอเอฟพี-นักเศรษฐศาสตร์ชี้ ความรวดเร็วในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเอเชีย เมื่อเปรียบเทียบกับชาติตะวันตก นับจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลกหลังการล้มละลายของวานิชธนกิจยักษ์ "เลห์แมน บราเธอร์ส" เมื่อ 1 ปีก่อน อาจเป็นสัญญาณแสดงให้เห็นว่า กำลังมีการจัดระเบียบ "ขั้วอำนาจ" ครั้งใหม่ของโลก ที่บรรดาชาติในเอเชียจะไม่ต้องพึ่งพาประเทศตะวันตกในการเป็น "หัวรถจักรหลัก" ของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกเพียงลำพังอีกต่อไป
ศาสตราจารย์อโศก จรัญ แห่งสถาบันธุรกิจศึกษา ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ เขียนบทความลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์สเตรทส์ ไทมส์ของสิงคโปร์ฉบับเมื่อวานนี้ (10) โดยระบุบรรดาเขตเศรษฐกิจทั้งหลายในภูมิภาคเอเชียที่ฟื้นตัวจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็ว มีแนวโน้มที่จะพึ่งพาโลกตะวันตกน้อยลงในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกในอนาคต ซึ่งจะนำไปสู่สิ่งที่เรียกว่า "ระเบียบโลกใหม่" ที่ภูมิภาคเอเชียจะมีฐานะเป็น "ขุมพลังใหม่" ที่มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น โดยอาศัยปัจจัยสำคัญ 2 ประการคือ ศักยภาพของความต้องการภายในประเทศที่ได้รับแรงสนับสนุนจากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่ามหาศาลจากภาครัฐ และการเพิ่มพูนของจำนวนชนชั้นกลางในจีน อินเดียและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคซึ่งจะเป็นตัวจักรขับเคลื่อนการบริโภคในแต่ละประเทศต่อไป
ศาสตราจารย์จรัญยังระบุว่า การล่มสลายของเลห์แมน บราเธอร์ส วานิชธนกิจเก่าแก่ที่มีอายุกว่า 158 ปีในสหรัฐฯเมื่อวันที่ 15 กันยายน ปีที่แล้ว หลังต้องสูญเงินไปหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากวิกฤตสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ได้นำไปสู่การเกิด "มรสุมทางการเงิน" และวิกฤตเศรษฐกิจที่รุนแรงที่สุดตั้งแต่"เกรท ดีเปรสชั่น"ในทศวรรษ1930
จรัญบอกว่า ในช่วงแรกๆ ของวิกฤตนั้น มีผู้มองว่า จะเป็นหายนะทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่สำหรับชาติในเอเชียซึ่งล้วนต้องพึ่งพารายได้จากการส่งออกสินค้าเป็นหลัก แต่ด้วยอานิสงส์จากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่ามหาศาลของประเทศในเอเชีย ที่ช่วยเพิ่มศักยภาพให้กำลังซื้อภายในประเทศ กลับทำให้เศรษฐกิจเอเชียหลุดพ้นจากการตกต่ำดำดิ่งของเศรษฐกิจโลกมาได้ก่อนโลกตะวันตก
ด้านรอเบิร์ต เซลลิก ประธานธนาคารโลกออกมาระบุว่า จีนกำลังกลายเป็นชาติที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งยวดในการนำพาภูมิภาคเอเชียหลุดพ้นจากเศรษฐกิจโลกในช่วงขาลง และยังได้ช่วยป้องกันไม่ให้วิกฤตเศรษฐกิจโลกเลวร้ายไปมากกว่าที่เป็นอยู่ พร้อมชี้ว่า การเติบโตของจีนซึ่งคาดว่าน่าจะสูงถึงเกือบร้อยละ 8 ในปีนี้ และ "สัญญาณแห่งความมีเสถียรภาพ" ที่ทยอยปรากฏขึ้นในประเทศเอเชียอื่นๆ ในช่วงที่ผ่านมา ได้ช่วยเพิ่มความหวังที่จะได้เห็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกโดยรวมอย่างแท้จริงในอนาคตอันใกล้นี้
ขณะที่ปาร์คซินยัง นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสแห่งธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) กล่าวที่กรุงมะนิลาของฟิลิปปินส์ว่า ความต้องการภายในประเทศของชาติเอเชียที่มีอยู่อย่างมหาศาล โดยเฉพาะในจีนและอินโดนีเซีย ได้ช่วยผลักดันให้เขตเศรษฐกิจต่างๆ ในภูมิภาค เช่น สิงคโปร์ และฮ่องกง กลับมาเติบโตในแดนบวกได้อีกครั้งในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้ ทั้งที่เพิ่งจะก้าวเข้าสู่ภาวะถดถอยเมื่อปลายปีที่แล้ว ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงหดตัวร้อยละ 1 และเศรษฐกิจในกลุ่มยูโรโซนยังติดลบร้อยละ 0.1
ขณะเดียวกันสถาบันวิจัยเศรษฐกิจของธนาคารเครดีต์สวิส ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองซูริก, สวิตเซอร์แลนด์ ก็ได้ออกรายงานฉบับล่าสุดที่ระบุว่าประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียที่มีแรงงานภายในประเทศจำนวนมากเช่น จีน อินเดีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม ยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่องในช่วงขาลงของเศรษฐกิจโลก ส่วนออสเตรเลีย ก็กลายเป็นเขตเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วเพียงแห่งเดียวของโลกที่รอดพ้นจากภาวะถดถอยมาได้ ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า ความต้องการภายใน มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการเติบโตของเอเชียตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา
นอกจากนั้น " บทเรียนราคาแพง" ที่บรรดาชาติในเอเชียเคยได้รับจากวิกฤตทางการเงินเมื่อ 10 กว่าปีก่อน ยังช่วยให้รัฐบาลในภูมิภาคหันมาใช้มาตรการกำกับตรวจสอบทางการเงินที่เข้มงวดรัดกุมมากขึ้น ซึ่งทำให้เอเชียไม่ประสบกับความปั่นป่วนในภาคการเงินซ้ำอีก ขณะที่สหรัฐฯ และยุโรปกลับต้อง "ล้มอย่างไม่เป็นท่า" เมื่อเกิดวิกฤตในปีที่แล้ว
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 142
"บัฟเฟตต์"ชี้ศก.สหรัฐยังไม่ฟื้นตัวจากภาวะถดถอยแต่ความวิตกคลายลงแล้ว
xBT> USA:"บัฟเฟตต์"ชี้ศก.สหรัฐยังไม่ฟื้นตัวจากภาวะถดถอยแต่ความวิตกคลายลงแล้ว
คาร์ลสแบด--16 ก.ย.--รอยเตอร์
นายวอร์เรน บัฟเฟตต์ นักลงทุนระดับมหาเศรษฐีของสหรัฐ เปิดเผย
กับรอยเตอร์ว่า เศรษฐกิจสหรัฐยังไม่ได้เริ่มฟื้นตัวออกจากภาวะถดถอยครั้งเลวร้าย
ที่สุดนับตั้งแต่ยุคเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ แต่ "ความน่าหวาดกลัว" ที่เกิดขึ้นหลัง
ระบบการเงินเกือบล่มสลายในปีที่ผ่านมานั้นได้จางหายไปแล้ว ซึ่งส่วนหนึ่งเป็น
ผลจากการแทรกแซงของรัฐบาล
"เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว แต่มันจะฟื้นตัว เพียงแต่ผมยังไม่รู้ว่าเมื่อใด
โดยอาจจะเป็นวันพรุ่งนี้ก็ได้" นายบัฟเฟตต์กล่าว
"ในขณะนี้ เรายังไม่เห็นเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นหรือแย่ลง แต่คุณอาจพูด
ได้ว่าเศรษฐกิจดีกว่าเมื่อ 6 เดือนที่แล้ว โดยความวิตกเมื่อปีที่แล้วได้จางหายไป
และนั่นเป็นผลส่วนหนึ่งจากรัฐบาล"
นายบัฟเฟตต์เปิดเผยในการให้สัมภาษณ์กับรอยเตอร์ในการประชุม
สตรีที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดที่จัดโดยนิตยสารฟอร์จูนในเมืองคาร์ลสแบด รัฐแคลิฟอร์เนีย
แต่นายบัฟเฟตต์ยังคงให้แนวโน้มเชิงบวกต่อโครงการลดสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ
(TARP) สำหรับธนาคารต่างๆ โดยระบุว่าโครงการดังกล่าวอาจทำกำไรให้กับ
รัฐบาลได้ในที่สุด
ประธานาธิบดีบารัค โอบามาของสหรัฐกล่าวเมื่อวานนี้ว่า มาตรการต่างๆ
ที่นำมาใช้โดยฝ่ายบริหารของเขาเพื่อกอบกู้เศรษฐกิจซึ่งรวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
วงเงิน 7.87 แสนล้านดอลลาร์นั้น กำลังบังเกิดผล แต่เตือนว่าการฟื้นตัวที่สมบูรณ์
จะต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง
นายเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ก็มีมุมมองใน
เชิงบวก โดยกล่าวว่า ภาวะถดถอยที่ยาวนานที่สุดและรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ทศวรรษ
1930 นั้น มีแนวโน้มสิ้นสุดลงแล้ว แต่กล่าวเสริมว่า เฟดเชื่อว่าเศรษฐกิจจะอ่อนแอ
อย่างมากต่อไประยะหนึ่ง
ข้อมูลที่เปิดเผยเมื่อวานนี้บ่งชี้ว่า ยอดค้าปลีกของสหรัฐปรับตัวขึ้นในเดือนส.ค.
ในอัตราสูงสุดในรอบ 3 ปีครึ่ง และดัชนีการผลิตรัฐนิวยอร์คแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ
2 ปี
นักเศรษฐศาสตร์มีความเห็นโดยทั่วไปว่าเศรษฐกิจสหรัฐอยู่ในช่วงเริ่มต้น
ของการฟื้นตัว แต่นักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากยังคงวิตกเกี่ยวกับอุปสงค์ที่ซบเซา
ของผู้บริโภค ขณะที่การว่างงานที่เพิ่มขึ้นส่งผลกระทบต่อรายได้
นายบัฟเฟตต์ระบุว่า ฝ่ายบริหารของปธน.โอบามามีความคืบหน้ากับ
โครงการ TARP "และอาจจะทำกำไรได้ในที่สุด ซึ่งจะไม่เป็นความหายนะอย่าง
แน่นอน"
แหล่งข่าวเปิดเผยว่า ธนาคารสหรัฐรายใหญ่ที่สุดบางแห่งจะยังคง
อยู่ในโครงการช่วยเหลือด้านการเงินของรัฐบาลอีกหลายเดือน ขณะที่เจ้าหน้าที่
ไม่คาดว่าจะมีการอนุมัติให้ธนาคารแห่งใดออกจากโครงการครั้งต่อไปจนกว่า
จะถึงใกล้สิ้นปี
ธนาคาร 10 แห่งได้รับอนุมัติในเดือนมิ.ย.ให้ชำระคืนเงินกู้ 6.8
หมื่นล้านดอลลาร์แก่กองทุนช่วยเหลือของรัฐบาล แต่แทบไม่มีสัญญาณว่าธนาคาร
ขนาดใหญ่อื่นๆจะได้รับอนุญาตให้ออกจากโครงการดังกล่าวเมื่อใด
ธนาคารต่างๆ อาทิ ซิตี้กรุ๊ปและแบงก์ ออฟ อเมริกา คอร์ปได้เข้ามา
อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลและมีความต้องการออกจากโครงการดังกล่าว
ซึ่งเป็นการอัดฉีดเงินทุนให้กับธนาคารต่างๆโดยจำกัดการจ่ายผลตอบแทน,
การซื้อคืนหุ้น และการจ่ายเงินปันผล
"ธนาคารดังกล่าวต้องการออกจากโครงการ TARP และผมเชื่อว่า
ธนาคารเหล่านั้นจะได้ออกจาก TARP ในที่สุด" นายบัฟเฟตต์กล่าว และเสริมว่า
กรอบเวลาสำหรับการออกจากโครงการไม่ใช่ปัจจัยที่สำคัญ
นายบัฟเฟตต์ปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นเกี่ยวกับบริษัทคราฟท์ ฟู้ดส์ อิงค์
ซึ่งกำลังเสนอซื้อบริษัทแคดเบอรีเป็นมูลค่าราว 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยบริษัท
เบิร์กเชียร์ ฮาธาเวย์ของเขาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในคราฟท์ ฟู้ดส์
นายบัฟเฟตต์ยังกล่าวด้วยว่า บริษัทบีวายดี ซึ่งผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและ
แบตเตอรีรถยนต์ของจีน กำลังปรับตัวได้ดี
หากบีวายดีเรียกร้องให้อัดฉีดทุนเพิ่ม นายบัฟเฟตต์กล่าวว่า เขาจะทำการ
พิจารณา
ประธานของบริษัทบีวายดีกล่าวเมื่อเดือนที่แล้วว่า นายบัฟเฟตต์ตั้งใจที่จะ
เพิ่มการถือหุ้นของเขา โดยกล่าวว่า นักลงทุนเชื่อว่าบีวายดีมีแนวโน้มที่ดีในภาค
พลังงานทดแทน แต่เขาไม่ได้เปิดเผยรายละเอียด ขณะที่บริษัทมิดอเมริกัน เอเนอร์จี
โฮลดิ้งส์ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของเบิร์กเชียร์ ได้ซื้อหุ้น 10% ของบีวายดีเป็นเงิน
230 ล้านดอลลาร์ในเดือนก.ย.ปีที่แล้ว
ส่วนในการให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ ซีเอ็นบีซีเมื่อวานนี้นั้น นายบัฟเฟตต์
กล่าวว่า เขาได้รับการติดต่อเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือทางการเงินสำหรับเลห์แมน
บราเธอร์สเพียงไม่กี่วันก่อนที่จะล้มละลายลงเมื่อปีที่แล้ว แต่ไม่เคยได้รับเอกสารซึ่งเขา
ขอให้มีการส่งทางโทรสารให้กับเขา
ในวันที่ 15 ก.ย. 2008 เลห์แมนได้ยื่นเรื่องต่อศาลเพื่อขอพิทักษ์ทรัพย์
จากภาวะล้มละลาย และ 1 วันหลังจากนั้นบริษัทอเมริกัน อินเตอร์เนชันแนล กรุ๊ป
อิงค์ (AIG) ซึ่งเป็นบริษัทประกันรายใหญ่ที่สุดของโลกได้รับเงินช่วยเหลือมหาศาล
จากรัฐบาลสหรัฐซึ่งเพิ่มขึ้นนับจากนั้นสู่ระดับสูงถึง 1.80 แสนล้านดอลลาร์--จบ--
(รอยเตอร์ โดย กัลยาณี ชีวะพานิช แปล; ก้องเกียรติ กอวีรกิติ เรียบเรียง)
(([email protected]; โทร 0-2648-9741;
Reuters Messaging; kallayanee.cheevapanich.reuters.com @reuters.net))
xBT> USA:"บัฟเฟตต์"ชี้ศก.สหรัฐยังไม่ฟื้นตัวจากภาวะถดถอยแต่ความวิตกคลายลงแล้ว
คาร์ลสแบด--16 ก.ย.--รอยเตอร์
นายวอร์เรน บัฟเฟตต์ นักลงทุนระดับมหาเศรษฐีของสหรัฐ เปิดเผย
กับรอยเตอร์ว่า เศรษฐกิจสหรัฐยังไม่ได้เริ่มฟื้นตัวออกจากภาวะถดถอยครั้งเลวร้าย
ที่สุดนับตั้งแต่ยุคเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ แต่ "ความน่าหวาดกลัว" ที่เกิดขึ้นหลัง
ระบบการเงินเกือบล่มสลายในปีที่ผ่านมานั้นได้จางหายไปแล้ว ซึ่งส่วนหนึ่งเป็น
ผลจากการแทรกแซงของรัฐบาล
"เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว แต่มันจะฟื้นตัว เพียงแต่ผมยังไม่รู้ว่าเมื่อใด
โดยอาจจะเป็นวันพรุ่งนี้ก็ได้" นายบัฟเฟตต์กล่าว
"ในขณะนี้ เรายังไม่เห็นเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นหรือแย่ลง แต่คุณอาจพูด
ได้ว่าเศรษฐกิจดีกว่าเมื่อ 6 เดือนที่แล้ว โดยความวิตกเมื่อปีที่แล้วได้จางหายไป
และนั่นเป็นผลส่วนหนึ่งจากรัฐบาล"
นายบัฟเฟตต์เปิดเผยในการให้สัมภาษณ์กับรอยเตอร์ในการประชุม
สตรีที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดที่จัดโดยนิตยสารฟอร์จูนในเมืองคาร์ลสแบด รัฐแคลิฟอร์เนีย
แต่นายบัฟเฟตต์ยังคงให้แนวโน้มเชิงบวกต่อโครงการลดสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ
(TARP) สำหรับธนาคารต่างๆ โดยระบุว่าโครงการดังกล่าวอาจทำกำไรให้กับ
รัฐบาลได้ในที่สุด
ประธานาธิบดีบารัค โอบามาของสหรัฐกล่าวเมื่อวานนี้ว่า มาตรการต่างๆ
ที่นำมาใช้โดยฝ่ายบริหารของเขาเพื่อกอบกู้เศรษฐกิจซึ่งรวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
วงเงิน 7.87 แสนล้านดอลลาร์นั้น กำลังบังเกิดผล แต่เตือนว่าการฟื้นตัวที่สมบูรณ์
จะต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง
นายเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ก็มีมุมมองใน
เชิงบวก โดยกล่าวว่า ภาวะถดถอยที่ยาวนานที่สุดและรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ทศวรรษ
1930 นั้น มีแนวโน้มสิ้นสุดลงแล้ว แต่กล่าวเสริมว่า เฟดเชื่อว่าเศรษฐกิจจะอ่อนแอ
อย่างมากต่อไประยะหนึ่ง
ข้อมูลที่เปิดเผยเมื่อวานนี้บ่งชี้ว่า ยอดค้าปลีกของสหรัฐปรับตัวขึ้นในเดือนส.ค.
ในอัตราสูงสุดในรอบ 3 ปีครึ่ง และดัชนีการผลิตรัฐนิวยอร์คแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ
2 ปี
นักเศรษฐศาสตร์มีความเห็นโดยทั่วไปว่าเศรษฐกิจสหรัฐอยู่ในช่วงเริ่มต้น
ของการฟื้นตัว แต่นักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากยังคงวิตกเกี่ยวกับอุปสงค์ที่ซบเซา
ของผู้บริโภค ขณะที่การว่างงานที่เพิ่มขึ้นส่งผลกระทบต่อรายได้
นายบัฟเฟตต์ระบุว่า ฝ่ายบริหารของปธน.โอบามามีความคืบหน้ากับ
โครงการ TARP "และอาจจะทำกำไรได้ในที่สุด ซึ่งจะไม่เป็นความหายนะอย่าง
แน่นอน"
แหล่งข่าวเปิดเผยว่า ธนาคารสหรัฐรายใหญ่ที่สุดบางแห่งจะยังคง
อยู่ในโครงการช่วยเหลือด้านการเงินของรัฐบาลอีกหลายเดือน ขณะที่เจ้าหน้าที่
ไม่คาดว่าจะมีการอนุมัติให้ธนาคารแห่งใดออกจากโครงการครั้งต่อไปจนกว่า
จะถึงใกล้สิ้นปี
ธนาคาร 10 แห่งได้รับอนุมัติในเดือนมิ.ย.ให้ชำระคืนเงินกู้ 6.8
หมื่นล้านดอลลาร์แก่กองทุนช่วยเหลือของรัฐบาล แต่แทบไม่มีสัญญาณว่าธนาคาร
ขนาดใหญ่อื่นๆจะได้รับอนุญาตให้ออกจากโครงการดังกล่าวเมื่อใด
ธนาคารต่างๆ อาทิ ซิตี้กรุ๊ปและแบงก์ ออฟ อเมริกา คอร์ปได้เข้ามา
อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลและมีความต้องการออกจากโครงการดังกล่าว
ซึ่งเป็นการอัดฉีดเงินทุนให้กับธนาคารต่างๆโดยจำกัดการจ่ายผลตอบแทน,
การซื้อคืนหุ้น และการจ่ายเงินปันผล
"ธนาคารดังกล่าวต้องการออกจากโครงการ TARP และผมเชื่อว่า
ธนาคารเหล่านั้นจะได้ออกจาก TARP ในที่สุด" นายบัฟเฟตต์กล่าว และเสริมว่า
กรอบเวลาสำหรับการออกจากโครงการไม่ใช่ปัจจัยที่สำคัญ
นายบัฟเฟตต์ปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นเกี่ยวกับบริษัทคราฟท์ ฟู้ดส์ อิงค์
ซึ่งกำลังเสนอซื้อบริษัทแคดเบอรีเป็นมูลค่าราว 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยบริษัท
เบิร์กเชียร์ ฮาธาเวย์ของเขาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในคราฟท์ ฟู้ดส์
นายบัฟเฟตต์ยังกล่าวด้วยว่า บริษัทบีวายดี ซึ่งผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและ
แบตเตอรีรถยนต์ของจีน กำลังปรับตัวได้ดี
หากบีวายดีเรียกร้องให้อัดฉีดทุนเพิ่ม นายบัฟเฟตต์กล่าวว่า เขาจะทำการ
พิจารณา
ประธานของบริษัทบีวายดีกล่าวเมื่อเดือนที่แล้วว่า นายบัฟเฟตต์ตั้งใจที่จะ
เพิ่มการถือหุ้นของเขา โดยกล่าวว่า นักลงทุนเชื่อว่าบีวายดีมีแนวโน้มที่ดีในภาค
พลังงานทดแทน แต่เขาไม่ได้เปิดเผยรายละเอียด ขณะที่บริษัทมิดอเมริกัน เอเนอร์จี
โฮลดิ้งส์ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของเบิร์กเชียร์ ได้ซื้อหุ้น 10% ของบีวายดีเป็นเงิน
230 ล้านดอลลาร์ในเดือนก.ย.ปีที่แล้ว
ส่วนในการให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ ซีเอ็นบีซีเมื่อวานนี้นั้น นายบัฟเฟตต์
กล่าวว่า เขาได้รับการติดต่อเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือทางการเงินสำหรับเลห์แมน
บราเธอร์สเพียงไม่กี่วันก่อนที่จะล้มละลายลงเมื่อปีที่แล้ว แต่ไม่เคยได้รับเอกสารซึ่งเขา
ขอให้มีการส่งทางโทรสารให้กับเขา
ในวันที่ 15 ก.ย. 2008 เลห์แมนได้ยื่นเรื่องต่อศาลเพื่อขอพิทักษ์ทรัพย์
จากภาวะล้มละลาย และ 1 วันหลังจากนั้นบริษัทอเมริกัน อินเตอร์เนชันแนล กรุ๊ป
อิงค์ (AIG) ซึ่งเป็นบริษัทประกันรายใหญ่ที่สุดของโลกได้รับเงินช่วยเหลือมหาศาล
จากรัฐบาลสหรัฐซึ่งเพิ่มขึ้นนับจากนั้นสู่ระดับสูงถึง 1.80 แสนล้านดอลลาร์--จบ--
(รอยเตอร์ โดย กัลยาณี ชีวะพานิช แปล; ก้องเกียรติ กอวีรกิติ เรียบเรียง)
(([email protected]; โทร 0-2648-9741;
Reuters Messaging; kallayanee.cheevapanich.reuters.com @reuters.net))
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 143
:"เบอร์นันเก้"ประกาศภาวะเศรษฐกิจถดถอยอาจสิ้นสุดลงแล้ว
xBT> FED:"เบอร์นันเก้"ประกาศภาวะเศรษฐกิจถดถอยอาจสิ้นสุดลงแล้ว
วอชิงตัน--16 ก.ย.--รอยเตอร์
นายเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวว่า
ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐครั้งที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่ทศวรรษ 1930 อาจจะ
สิ้นสุดลงแล้ว แต่เศรษฐกิจอาจฟื้นตัวขึ้นอย่างเชื่องช้า และจะต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง
ในการสร้างงานใหม่
นายเบอร์นันเก้กล่าวที่สถาบันบรูคกิงส์ว่า "ถึงแม้มีแนวโน้มสูงมากที่
ภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้สิ้นสุดลงแล้วในตอนนี้ หากมองจากมุมมองทางเทคนิค
แต่เศรษฐกิจก็จะยังคงอยู่ในภาวะอ่อนแอมากเป็นเวลาระยะหนึ่ง"
ทั้งนี้ ในการประกาศเรื่องการสิ้นสุดของภาวะเศรษฐกิจถดถอยในครั้งนี้
นายเบอร์นันเก้ได้แสดงความเห็นในทางบวกมากกว่าในช่วงปลายเดือนส.ค.
โดยในครั้งนั้นเขากล่าวเพียงว่า มีแนวโน้มดีที่เศรษฐกิจจะกลับมาเติบโตอีกครั้ง
อย่างไรก็ดี นายเบอร์นันเก้กล่าวเตือนว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจ
ในปีหน้าอาจอยู่ในภาวะเฉื่อยชา และอัตราการว่างงานอาจลดลงอย่างเชื่องช้า
นายเบอร์นันเก้กล่าวว่า "นักคาดการณ์ทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่มองว่า
เศรษฐกิจอาจเติบโตในอัตราปานกลางในปี 2010 เพราะต้องเผชิญกับปัจจัยลบ
อย่างต่อเนื่อง โดยจะเติบโตต่ำกว่าระดับที่คุณคาดการณ์ไว้ เมื่อพิจารณาจาก
ขนาดความรุนแรงของภาวะเศรษฐกิจถดถอย"
นายเบอร์นันเก้กล่าวแถลงในครั้งนี้เนื่องในโอกาสครบรอบ 1 ปี
ของการล้มละลายของวาณิชธนกิจเลห์แมน บราเธอร์ส ซึ่งเป็นเหตุการณ์
ที่ก่อให้เกิดกระแสตื่นตระหนกในตลาดการเงินทั่วโลก และในสัปดาห์หน้า
เจ้าหน้าที่เฟดก็จะประชุมกันเพื่อทบทวนทางเลือกต่างๆในการกำหนดนโยบาย
ด้วย โดยเฟดจะประชุมกำหนดนโยบายการเงินในวันที่ 22-23 ก.ย.
เฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงสู่ระดับใกล้ 0 % ในเดือนธ.ค.2008
และได้เข้าซื้อหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับสัญญาจำนองและพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ
ระยะยาวในช่วงที่ผ่านมาเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ
หลังจากมีสัญญาณเศรษฐกิจในทางบวกปรากฏออกมาในระยะนี้
นายเบอร์นันเก้ก็กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจอาจฟื้นตัวอย่าง
แข็งแกร่งเกินคาด แต่กล่าวเตือนว่าเศรษฐกิจอาจอ่อนแอเกินคาดได้เช่นกัน
นายเบอร์นันเก้กล่าวว่า "มีความเสี่ยงทั้งสองด้านของรายงาน
คาดการณ์" และกล่าวเสริมว่า "ถ้าหากเศรษฐกิจเติบโตในอัตราปานกลาง
แต่ไม่สูงกว่าอัตราศักยภาพพื้นฐานมากนัก อัตราการว่างงานก็จะขยับลงอย่าง
เชื่องช้า"
ถ้อยแถลงของนายเบอร์นันเก้เป็นการยอมรับว่า มีความเป็นไปได้
ที่เศรษฐกิจสหรัฐอาจฟื้นตัวเป็นรูปตัว V ซึ่งเป็นระดับที่แข็งแกร่งเกินคาด
โดยบริษัทบลูชิพเปิดเผยผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ครั้งล่าสุดระบุว่า เศรษฐกิจ
อาจขยายตัว 3 % ต่อปีในไตรมาส 3
นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ระบุว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ที่ระดับศักยภาพของสหรัฐอยู่ที่ราว 2.5 % โดยอัตราการเติบโตที่สูงกว่านี้
ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการกดดันอัตราว่างงานให้ลดลง หลังจากขึ้นไปแตะ
จุดสูงสุดรอบ 26 ปีที่ 9.7 % ในเดือนส.ค.
หลังจากการประชุมเฟดครั้งสุดท้ายในวันที่ 11-12 ส.ค.ที่ผ่านมา
เฟดก็ระบุว่า กำลังการผลิตส่วนเกินที่ระดับสูงมากในเศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้ม
ที่จะกดดันอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำต่อไปอีกระยะหนึ่ง และระบุว่าอัตรา
ดอกเบี้ยที่ระดับต่ำมากอาจจะเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อไปอีกนาน
ผู้กำหนดนโยบายของเฟดจะประชุมกันในวันอังคารและวันพุธหน้า
และเป็นที่คาดกันว่าเฟดจะยังคงกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐต่อไปโดยผ่านทาง
อัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำมากและมาตรการซื้อสินทรัพย์ครั้งใหญ่
ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของเฟดอยู่ในระดับใกล้ 0 %
เฟดก็มุ่งความสนใจไปที่การกดดันอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมประเภทอื่นๆ โดยผ่าน
ทางการเข้าซื้อตราสารหนี้ที่เกี่ยวข้องกับสัญญาจำนองและพันธบัตรรัฐบาล
สหรัฐ
นายเจฟฟรีย์ แลคเกอร์ ประธานเฟดสาขาริชมอนด์และเป็นหนึ่ง
ในเจ้าหน้าที่เฟดที่ต่อต้านภาวะเงินเฟ้อ กล่าวในวันจันทร์ว่า เฟดจำเป็น
ต้องพิจารณาว่า เฟดต้องการจะกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐต่อไปตามแผนซื้อ
ตราสารหนี้ที่เกี่ยวข้องกับสัญญาจำนองหรือไม่ เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐ
ดูเหมือนเริ่มฟื้นตัวขึ้นแล้ว
อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่คนอื่นๆส่งสัญญาณว่า พวกตนต้องการให้
เฟดดำเนินโครงการซื้อสินทรัพย์ต่อไป โดยโครงการนี้วางแผนจะซื้อหลักทรัพย์
ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญาจำนอง (MBS) และตราสารหนี้จำนองที่ออก
โดยหน่วยงานที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐ (agency) ในวงเงิน
1.45 ล้านล้านดอลลาร์
นักลงทุนบางรายกังวลว่า เฟดอาจจะไม่สามารถยุติมาตรการ
ผ่อนคลายทางการเงินได้ทันเวลา ซึ่งอาจจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อพุ่งขึ้น
อย่างไรก็ดี นางเจเน็ต เยลเลน ประธานเฟดสาขาซานฟรานซิสโก
กล่าวในเชิงไม่เห็นด้วยต่อความกังวลดังกล่าว โดยระบุว่า "ภัยคุกคามสำคัญ
ต่อเสถียรภาพของราคาในช่วง 2-3 ปีข้างหน้าคือแรงกดดันในทางลบต่ออัตรา
เงินเฟ้อ ซึ่งเกิดจากกำลังการผลิตส่วนเกินจำนวนมากในระบบเศรษฐกิจ"
นายเบอร์นันเก้กล่าวว่า เขาคาดการณ์ในทางบวกว่าจะมีการ
บรรลุข้อตกลงเรื่องแผนของรัฐบาลสหรัฐในการปรับโครงสร้างกฎระเบียบ
ทางการเงินในสหรัฐ แต่เขายอมรับว่าสมาชิกสภาคองเกรสสหรัฐมุ่งความ
สนใจไปที่การปฏิรูประบบสาธารณสุขมากกว่าการปฏิรูปกฎระเบียบทาง
การเงินในช่วงนี้
นายเบอร์นันเก้กล่าวว่า "ผมมีความมั่นใจว่า การปฏิรูปแบบ
เบ็ดเสร็จกำลังจะเกิดขึ้น โดยสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาถือเป็นหายนะ
ที่ใหญ่เกินไปและเป็นปัญหาที่ร้ายแรงเกินไป และเห็นได้ชัดว่าปัญหาด้าน
กฎระเบียบเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องนี้"--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปล; ก้องเกียรติ กอวีรกิติ เรียบเรียง)
(([email protected]; โทร 0-2648-9741;
Reuters Messaging: [email protected]))
xBT> FED:"เบอร์นันเก้"ประกาศภาวะเศรษฐกิจถดถอยอาจสิ้นสุดลงแล้ว
วอชิงตัน--16 ก.ย.--รอยเตอร์
นายเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวว่า
ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐครั้งที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่ทศวรรษ 1930 อาจจะ
สิ้นสุดลงแล้ว แต่เศรษฐกิจอาจฟื้นตัวขึ้นอย่างเชื่องช้า และจะต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง
ในการสร้างงานใหม่
นายเบอร์นันเก้กล่าวที่สถาบันบรูคกิงส์ว่า "ถึงแม้มีแนวโน้มสูงมากที่
ภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้สิ้นสุดลงแล้วในตอนนี้ หากมองจากมุมมองทางเทคนิค
แต่เศรษฐกิจก็จะยังคงอยู่ในภาวะอ่อนแอมากเป็นเวลาระยะหนึ่ง"
ทั้งนี้ ในการประกาศเรื่องการสิ้นสุดของภาวะเศรษฐกิจถดถอยในครั้งนี้
นายเบอร์นันเก้ได้แสดงความเห็นในทางบวกมากกว่าในช่วงปลายเดือนส.ค.
โดยในครั้งนั้นเขากล่าวเพียงว่า มีแนวโน้มดีที่เศรษฐกิจจะกลับมาเติบโตอีกครั้ง
อย่างไรก็ดี นายเบอร์นันเก้กล่าวเตือนว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจ
ในปีหน้าอาจอยู่ในภาวะเฉื่อยชา และอัตราการว่างงานอาจลดลงอย่างเชื่องช้า
นายเบอร์นันเก้กล่าวว่า "นักคาดการณ์ทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่มองว่า
เศรษฐกิจอาจเติบโตในอัตราปานกลางในปี 2010 เพราะต้องเผชิญกับปัจจัยลบ
อย่างต่อเนื่อง โดยจะเติบโตต่ำกว่าระดับที่คุณคาดการณ์ไว้ เมื่อพิจารณาจาก
ขนาดความรุนแรงของภาวะเศรษฐกิจถดถอย"
นายเบอร์นันเก้กล่าวแถลงในครั้งนี้เนื่องในโอกาสครบรอบ 1 ปี
ของการล้มละลายของวาณิชธนกิจเลห์แมน บราเธอร์ส ซึ่งเป็นเหตุการณ์
ที่ก่อให้เกิดกระแสตื่นตระหนกในตลาดการเงินทั่วโลก และในสัปดาห์หน้า
เจ้าหน้าที่เฟดก็จะประชุมกันเพื่อทบทวนทางเลือกต่างๆในการกำหนดนโยบาย
ด้วย โดยเฟดจะประชุมกำหนดนโยบายการเงินในวันที่ 22-23 ก.ย.
เฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงสู่ระดับใกล้ 0 % ในเดือนธ.ค.2008
และได้เข้าซื้อหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับสัญญาจำนองและพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ
ระยะยาวในช่วงที่ผ่านมาเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ
หลังจากมีสัญญาณเศรษฐกิจในทางบวกปรากฏออกมาในระยะนี้
นายเบอร์นันเก้ก็กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจอาจฟื้นตัวอย่าง
แข็งแกร่งเกินคาด แต่กล่าวเตือนว่าเศรษฐกิจอาจอ่อนแอเกินคาดได้เช่นกัน
นายเบอร์นันเก้กล่าวว่า "มีความเสี่ยงทั้งสองด้านของรายงาน
คาดการณ์" และกล่าวเสริมว่า "ถ้าหากเศรษฐกิจเติบโตในอัตราปานกลาง
แต่ไม่สูงกว่าอัตราศักยภาพพื้นฐานมากนัก อัตราการว่างงานก็จะขยับลงอย่าง
เชื่องช้า"
ถ้อยแถลงของนายเบอร์นันเก้เป็นการยอมรับว่า มีความเป็นไปได้
ที่เศรษฐกิจสหรัฐอาจฟื้นตัวเป็นรูปตัว V ซึ่งเป็นระดับที่แข็งแกร่งเกินคาด
โดยบริษัทบลูชิพเปิดเผยผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ครั้งล่าสุดระบุว่า เศรษฐกิจ
อาจขยายตัว 3 % ต่อปีในไตรมาส 3
นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ระบุว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ที่ระดับศักยภาพของสหรัฐอยู่ที่ราว 2.5 % โดยอัตราการเติบโตที่สูงกว่านี้
ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการกดดันอัตราว่างงานให้ลดลง หลังจากขึ้นไปแตะ
จุดสูงสุดรอบ 26 ปีที่ 9.7 % ในเดือนส.ค.
หลังจากการประชุมเฟดครั้งสุดท้ายในวันที่ 11-12 ส.ค.ที่ผ่านมา
เฟดก็ระบุว่า กำลังการผลิตส่วนเกินที่ระดับสูงมากในเศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้ม
ที่จะกดดันอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำต่อไปอีกระยะหนึ่ง และระบุว่าอัตรา
ดอกเบี้ยที่ระดับต่ำมากอาจจะเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อไปอีกนาน
ผู้กำหนดนโยบายของเฟดจะประชุมกันในวันอังคารและวันพุธหน้า
และเป็นที่คาดกันว่าเฟดจะยังคงกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐต่อไปโดยผ่านทาง
อัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำมากและมาตรการซื้อสินทรัพย์ครั้งใหญ่
ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของเฟดอยู่ในระดับใกล้ 0 %
เฟดก็มุ่งความสนใจไปที่การกดดันอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมประเภทอื่นๆ โดยผ่าน
ทางการเข้าซื้อตราสารหนี้ที่เกี่ยวข้องกับสัญญาจำนองและพันธบัตรรัฐบาล
สหรัฐ
นายเจฟฟรีย์ แลคเกอร์ ประธานเฟดสาขาริชมอนด์และเป็นหนึ่ง
ในเจ้าหน้าที่เฟดที่ต่อต้านภาวะเงินเฟ้อ กล่าวในวันจันทร์ว่า เฟดจำเป็น
ต้องพิจารณาว่า เฟดต้องการจะกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐต่อไปตามแผนซื้อ
ตราสารหนี้ที่เกี่ยวข้องกับสัญญาจำนองหรือไม่ เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐ
ดูเหมือนเริ่มฟื้นตัวขึ้นแล้ว
อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่คนอื่นๆส่งสัญญาณว่า พวกตนต้องการให้
เฟดดำเนินโครงการซื้อสินทรัพย์ต่อไป โดยโครงการนี้วางแผนจะซื้อหลักทรัพย์
ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญาจำนอง (MBS) และตราสารหนี้จำนองที่ออก
โดยหน่วยงานที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐ (agency) ในวงเงิน
1.45 ล้านล้านดอลลาร์
นักลงทุนบางรายกังวลว่า เฟดอาจจะไม่สามารถยุติมาตรการ
ผ่อนคลายทางการเงินได้ทันเวลา ซึ่งอาจจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อพุ่งขึ้น
อย่างไรก็ดี นางเจเน็ต เยลเลน ประธานเฟดสาขาซานฟรานซิสโก
กล่าวในเชิงไม่เห็นด้วยต่อความกังวลดังกล่าว โดยระบุว่า "ภัยคุกคามสำคัญ
ต่อเสถียรภาพของราคาในช่วง 2-3 ปีข้างหน้าคือแรงกดดันในทางลบต่ออัตรา
เงินเฟ้อ ซึ่งเกิดจากกำลังการผลิตส่วนเกินจำนวนมากในระบบเศรษฐกิจ"
นายเบอร์นันเก้กล่าวว่า เขาคาดการณ์ในทางบวกว่าจะมีการ
บรรลุข้อตกลงเรื่องแผนของรัฐบาลสหรัฐในการปรับโครงสร้างกฎระเบียบ
ทางการเงินในสหรัฐ แต่เขายอมรับว่าสมาชิกสภาคองเกรสสหรัฐมุ่งความ
สนใจไปที่การปฏิรูประบบสาธารณสุขมากกว่าการปฏิรูปกฎระเบียบทาง
การเงินในช่วงนี้
นายเบอร์นันเก้กล่าวว่า "ผมมีความมั่นใจว่า การปฏิรูปแบบ
เบ็ดเสร็จกำลังจะเกิดขึ้น โดยสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาถือเป็นหายนะ
ที่ใหญ่เกินไปและเป็นปัญหาที่ร้ายแรงเกินไป และเห็นได้ชัดว่าปัญหาด้าน
กฎระเบียบเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องนี้"--จบ--
(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปล; ก้องเกียรติ กอวีรกิติ เรียบเรียง)
(([email protected]; โทร 0-2648-9741;
Reuters Messaging: [email protected]))
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 144
'วอร์เรน บัฟเฟตต์' ฟันธง! ศก.สหรัฐฯไม่เผชิญวิกฤตรอบสอง หลังผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว
รายงานข่าวบนเว็บไซท์บลูมเบิร์กดอทคอมระบุว่า 'วอร์เรน บัฟเฟตต์' กล่าวว่า เศรษฐกิจ
สหรัฐฯได้เผชิญกับจุดต่ำสุดมาแล้ว และจะไม่กลับไปเผชิญภาวะถดถอยอีก
โดยในการให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ซีเอ็นบีซีวานนี้ นายบัฟเฟตต์กล่าวว่า วิกฤตการ
เงินครั้งนี้เปรียบเสมือนวิกฤตการณ์เพิร์ลฮาร์เบอร์ทางเศรษฐกิจ และเศรษฐกิจสหรัฐฯได้เผชิญ
จุดต่ำสุดมาแล้ว
'เรายังไม่ฟื้นตัวอย่างเต็มที่ก็จริง แต่เราจะไม่ตกต่ำลงไปอีกแล้ว' นายบัฟเฟตต์วัย 79 ปี
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเบิร์คไชร์แฮทธาเวย์อิงค์กล่าว
ขณะเดียวกันนายบัฟเฟตต์กล่าวว่า ภาวะเลวร้ายที่สุดในภาคอสังหาริมทรัพย์สหรัฐฯได้ผ่าน
พ้นไปแล้ว และคาดว่า จะไม่เกิดวิกฤตการเงินรอบสองอีก
แปลและเรียบเรียง โดย วรเชษฐ์ พันธ์ภูวงศ์
อนุมัติ โดย พิมพ์รภัส ศิริไพรวัน
ที่มา อีไฟแนนซ์ไทย วันที่ 17/09/09 เวลา 10:23:36
รายงานข่าวบนเว็บไซท์บลูมเบิร์กดอทคอมระบุว่า 'วอร์เรน บัฟเฟตต์' กล่าวว่า เศรษฐกิจ
สหรัฐฯได้เผชิญกับจุดต่ำสุดมาแล้ว และจะไม่กลับไปเผชิญภาวะถดถอยอีก
โดยในการให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ซีเอ็นบีซีวานนี้ นายบัฟเฟตต์กล่าวว่า วิกฤตการ
เงินครั้งนี้เปรียบเสมือนวิกฤตการณ์เพิร์ลฮาร์เบอร์ทางเศรษฐกิจ และเศรษฐกิจสหรัฐฯได้เผชิญ
จุดต่ำสุดมาแล้ว
'เรายังไม่ฟื้นตัวอย่างเต็มที่ก็จริง แต่เราจะไม่ตกต่ำลงไปอีกแล้ว' นายบัฟเฟตต์วัย 79 ปี
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเบิร์คไชร์แฮทธาเวย์อิงค์กล่าว
ขณะเดียวกันนายบัฟเฟตต์กล่าวว่า ภาวะเลวร้ายที่สุดในภาคอสังหาริมทรัพย์สหรัฐฯได้ผ่าน
พ้นไปแล้ว และคาดว่า จะไม่เกิดวิกฤตการเงินรอบสองอีก
แปลและเรียบเรียง โดย วรเชษฐ์ พันธ์ภูวงศ์
อนุมัติ โดย พิมพ์รภัส ศิริไพรวัน
ที่มา อีไฟแนนซ์ไทย วันที่ 17/09/09 เวลา 10:23:36
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 145
ตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่ปรับตัวลงเช้านี้ เหตุวิตกวิกฤตหนี้ยุโรปกระทบการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม 2553 12:17:39 น.
ตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่ปรับตัวลงเช้านี้ เนื่องจากยังมีความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตหนี้ยุโรปที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยหุ้นบริษัทสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวขึ้น
ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 10,121.85 จุด ลดลง 64.99 จุด ส่วนดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตตลาดหุ้นจีนเปิดตลาดลบ 0.63% แตะ 2,571.54 จุด ขณะที่ดัชนีคอมโพสิตตลาดหุ้นโซลเปิดวันนี้ที่ 1,624.17 จุด ลดลง 5.91 จุด ดัชนีเวทเต็ดตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 7,557.17 ลบ 1.99 จุด และดัชนีสเตรทส์ไทม์ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 2,778.27 บวก 3.73 จุด
ดัชนี MSCI Asia Pacific ร่วง 0.5% แตะ 114.17 จุด เมื่อเวลา 9.52 น.ตามเวลาท้องถิ่นในกรุงโตเกียว
หุ้นนินเทนโด ร่วง 1.5% ส่วนหุ้นโตโยต้า มอเตอร์ ร่วง 2.1% ขณะที่หนังสือพิมพ์โตเกียว ชิมบุนรายงานว่า บริษัทจะเรียกคืนรถ Passo ในญี่ปุ่น ส่วนหุ้นบีเอชพี บิลลิตัน บวก 0.7% ในตลาดหุ้นออสเตรเลีย หลังจากที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวขึ้น
สัญญาน้ำมันดิบปิดบวกเมื่อคืนนี้ (19 พ.ค.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยสต็อกน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ ซึ่งช่วยให้นักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับภาวะดีมานด์พลังงานหดตัวในสหรัฐ อย่างไรก็ตาม สัญญาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นในกรอบที่จำกัด เพราะตลาดยังถูกกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้สินในยุโรป
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า สัญญาน้ำมันดิบ NYMEX (New York Mercantile Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย.เพิ่มขึ้น 46 เซนต์ หรือ 0.66% ปิดที่ 69.87 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 69.95 - 69.06 ดอลลาร์
นักวิเคราะห์กล่าวว่า คำสั่งห้ามทำชอร์ตเซลของเยอรมนีส่งผลให้เกิดข้อกังขาเกี่ยวกับสถานการณ์ว่า จะออกมาแย่กว่าที่นักลงทุนคาดคิดหรือไม่ ขณะที่เศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัวและรายได้ภาคเอกชนก็ดีขึ้น นักลงทุนมองว่าตลาดหุ้นที่ร่วงลงนี้ถือเป็นโอกาสที่ดีที่จะเข้าช้อนซิ้อ
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม 2553 12:17:39 น.
ตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่ปรับตัวลงเช้านี้ เนื่องจากยังมีความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตหนี้ยุโรปที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยหุ้นบริษัทสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวขึ้น
ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 10,121.85 จุด ลดลง 64.99 จุด ส่วนดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตตลาดหุ้นจีนเปิดตลาดลบ 0.63% แตะ 2,571.54 จุด ขณะที่ดัชนีคอมโพสิตตลาดหุ้นโซลเปิดวันนี้ที่ 1,624.17 จุด ลดลง 5.91 จุด ดัชนีเวทเต็ดตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 7,557.17 ลบ 1.99 จุด และดัชนีสเตรทส์ไทม์ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 2,778.27 บวก 3.73 จุด
ดัชนี MSCI Asia Pacific ร่วง 0.5% แตะ 114.17 จุด เมื่อเวลา 9.52 น.ตามเวลาท้องถิ่นในกรุงโตเกียว
หุ้นนินเทนโด ร่วง 1.5% ส่วนหุ้นโตโยต้า มอเตอร์ ร่วง 2.1% ขณะที่หนังสือพิมพ์โตเกียว ชิมบุนรายงานว่า บริษัทจะเรียกคืนรถ Passo ในญี่ปุ่น ส่วนหุ้นบีเอชพี บิลลิตัน บวก 0.7% ในตลาดหุ้นออสเตรเลีย หลังจากที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวขึ้น
สัญญาน้ำมันดิบปิดบวกเมื่อคืนนี้ (19 พ.ค.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยสต็อกน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ ซึ่งช่วยให้นักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับภาวะดีมานด์พลังงานหดตัวในสหรัฐ อย่างไรก็ตาม สัญญาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นในกรอบที่จำกัด เพราะตลาดยังถูกกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้สินในยุโรป
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า สัญญาน้ำมันดิบ NYMEX (New York Mercantile Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย.เพิ่มขึ้น 46 เซนต์ หรือ 0.66% ปิดที่ 69.87 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 69.95 - 69.06 ดอลลาร์
นักวิเคราะห์กล่าวว่า คำสั่งห้ามทำชอร์ตเซลของเยอรมนีส่งผลให้เกิดข้อกังขาเกี่ยวกับสถานการณ์ว่า จะออกมาแย่กว่าที่นักลงทุนคาดคิดหรือไม่ ขณะที่เศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัวและรายได้ภาคเอกชนก็ดีขึ้น นักลงทุนมองว่าตลาดหุ้นที่ร่วงลงนี้ถือเป็นโอกาสที่ดีที่จะเข้าช้อนซิ้อ
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 146
สกุลเงินในเอเชียร่วงต่อช่วงบ่ายนี้ จากความกังวลเทรดเดอร์แห่ซื้อสินทรัพย์ที่ปลอดภัย
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม 2553 13:35:29 น.
สกุลเงินในภูมิภาคเอเชียยังคงร่วงลงในช่วงบ่ายวันนี้ โดยค่าเงินวอนเกาหลีใต้และเปโซฟิลิปปินส์ดิ่งลงหนักสุด เนื่องจากความกังวลที่ว่าเทรดเดอร์อาจให้ความสนใจลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัย มากกว่าที่จะลงทุนในสินทรัพย์ทรัพย์ในกลุ่มประเทศตลาดเกิดขึ้นใหม่ เนื่องจากมีสัญญาณบ่งชี้ว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกอาจเป็นไปอย่างล่าช้า
ทั้งนี้ ณ เวลา 13.25 น.ตามเวลากรุงโซลในวันนี้ ค่าเงินวอนดิ่งลง 1% สู่ระดับ 1,176.50 วอน/ดอลลาร์ ค่าเงินเปโซฟิลิปปินส์ร่วงลง 0.7% แตะที่ 45.925 เปโซ/ดอลลาร์ ค่าเงินริงกิตมาเลเซียอ่อนตัวลง 0.5% แตะที่ 3.2710 ริงกิต/ดอลลาร์
ส่วนค่าเงินรูเปียห์อินโดนีเซียพุ่งขึ้น 0.1% แตะที่ 9,228 รูเปียห์/ดอลลาร์ ค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์ทรงตัวที่ 1.4006 ดอลลาร์สิงคโปร์/ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินบาททรงตัวที่ 32.37 บาท/ดอลลาร์
สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นรายงานในวันนี้ว่า ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาสแรกปีนี้ ขยายตัวในอัตรา 4.9% ต่อปี ทำสถิติขยายตัวติดต่อกัน 4 ไตรมาส เพราะได้แรงหนุนจากการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมส่งออก รวมทั้งตัวเลขการใช้จ่ายผู้บริโภคและภาคเอกชน
กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนเม.ย.ลดลง 0.1% ทำสถิติลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 13 เดือน หลังจากราคาพลังงานร่วงลงอย่างหนัก โดยดัชนี CPI เป็นหนึ่งในดัชนีชี้วัดภาวะเงินเฟ้อภายในประเทศ
ขณะที่ดัชนี CPI พื้นฐาน (core CPI) ซึ่งไม่นับรวมราคาในหมวดอาหารและพลังงาน ทรงตัวในเดือนเม.ย.
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม 2553 13:35:29 น.
สกุลเงินในภูมิภาคเอเชียยังคงร่วงลงในช่วงบ่ายวันนี้ โดยค่าเงินวอนเกาหลีใต้และเปโซฟิลิปปินส์ดิ่งลงหนักสุด เนื่องจากความกังวลที่ว่าเทรดเดอร์อาจให้ความสนใจลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัย มากกว่าที่จะลงทุนในสินทรัพย์ทรัพย์ในกลุ่มประเทศตลาดเกิดขึ้นใหม่ เนื่องจากมีสัญญาณบ่งชี้ว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกอาจเป็นไปอย่างล่าช้า
ทั้งนี้ ณ เวลา 13.25 น.ตามเวลากรุงโซลในวันนี้ ค่าเงินวอนดิ่งลง 1% สู่ระดับ 1,176.50 วอน/ดอลลาร์ ค่าเงินเปโซฟิลิปปินส์ร่วงลง 0.7% แตะที่ 45.925 เปโซ/ดอลลาร์ ค่าเงินริงกิตมาเลเซียอ่อนตัวลง 0.5% แตะที่ 3.2710 ริงกิต/ดอลลาร์
ส่วนค่าเงินรูเปียห์อินโดนีเซียพุ่งขึ้น 0.1% แตะที่ 9,228 รูเปียห์/ดอลลาร์ ค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์ทรงตัวที่ 1.4006 ดอลลาร์สิงคโปร์/ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินบาททรงตัวที่ 32.37 บาท/ดอลลาร์
สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นรายงานในวันนี้ว่า ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาสแรกปีนี้ ขยายตัวในอัตรา 4.9% ต่อปี ทำสถิติขยายตัวติดต่อกัน 4 ไตรมาส เพราะได้แรงหนุนจากการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมส่งออก รวมทั้งตัวเลขการใช้จ่ายผู้บริโภคและภาคเอกชน
กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนเม.ย.ลดลง 0.1% ทำสถิติลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 13 เดือน หลังจากราคาพลังงานร่วงลงอย่างหนัก โดยดัชนี CPI เป็นหนึ่งในดัชนีชี้วัดภาวะเงินเฟ้อภายในประเทศ
ขณะที่ดัชนี CPI พื้นฐาน (core CPI) ซึ่งไม่นับรวมราคาในหมวดอาหารและพลังงาน ทรงตัวในเดือนเม.ย.
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 147
ตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่ปรับตัวลงเช้านี้ ตามดาวโจนส์-ราคาน้ำมันอ่อนตัว
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 21 พฤษภาคม 2553 09:10:31 น.
ตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่ปรับตัวลงเช้านี้ หลังจากที่ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 300 จุดเมื่อคืนนี้ (20 พ.ค.) โดยดัชนีดิ่งลงหนักสุดในรอบกว่า 1 ปี เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลว่าปัญหาหนี้สินในยุโรปจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและสหรัฐ
ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 9,823.84 จุด ลดลง 206.47 จุด ขณะที่ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตตลาดหุ้นจีนเปิดตลาดร่วง 2.48% แตะ 2,492.57 จุด ดัชนีเวทเต็ดตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 7,229.17 จุด ลบ 195.26 จุด ส่วนดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียเปิดวันนี้ที่ 4,287.60 จุด ลดลง 28.90 จุด และดัชนีสเตรทส์ไทม์ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 2,695.51 ลบ 58.00 จุด
ตลาดหุ้นฮ่องกงและตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ปิดทำการวันนี้ (21 พ.ค.) เนื่องในวันหยุด
ดัชนี MSCI Asia Pacific ลบ 1.4% แตะ 111.78 จุด เมื่อเวลา 9.07 น.ตามเวลาท้องถิ่นในกรุงโตเกียว
หุ้นมาสด้า ร่วง 4.2% ขณะที่เงินดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ส่วนหุ้นนินเทนโด ร่วง 2.4% และหุ้นเจแปน ปิโตรเลียม เอ็กซ์พลอเรชั่น ร่วง 2.4% หลังจากที่ราคาน้ำมันดิบอ่อนตัว
สัญญาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (20 พ.ค.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยสต็อกน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นในรอบสัปดาห์ที่แล้ว นอกจากนี้ นักลงทุนยังคงกังวลว่าปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรปจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและจะฉุดรั้งดีมานด์พลังงานให้อ่อนแอลงด้วย
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า สัญญาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือนมิ.ย.ร่วงลง 1.86 ดอลลาร์ หรือ 2.66% มาปิดที่ระดับ 68.01 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 64.24 - 71.29 ดอลลาร์
นักวิเคราะห์กล่าวว่า นักลงทุนหลีกเลี่ยงความเสี่ยง หลังจากที่เกิดวิกฤตหนี้สาธารณะยุโรป ขณะที่ยังไม่เห็นทางแก้ที่ชัดเจนสำหรับปัญหาที่เกิดขึ้น
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 21 พฤษภาคม 2553 09:10:31 น.
ตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่ปรับตัวลงเช้านี้ หลังจากที่ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงกว่า 300 จุดเมื่อคืนนี้ (20 พ.ค.) โดยดัชนีดิ่งลงหนักสุดในรอบกว่า 1 ปี เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลว่าปัญหาหนี้สินในยุโรปจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและสหรัฐ
ดัชนีนิกเกอิตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 9,823.84 จุด ลดลง 206.47 จุด ขณะที่ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตตลาดหุ้นจีนเปิดตลาดร่วง 2.48% แตะ 2,492.57 จุด ดัชนีเวทเต็ดตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 7,229.17 จุด ลบ 195.26 จุด ส่วนดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียเปิดวันนี้ที่ 4,287.60 จุด ลดลง 28.90 จุด และดัชนีสเตรทส์ไทม์ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 2,695.51 ลบ 58.00 จุด
ตลาดหุ้นฮ่องกงและตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ปิดทำการวันนี้ (21 พ.ค.) เนื่องในวันหยุด
ดัชนี MSCI Asia Pacific ลบ 1.4% แตะ 111.78 จุด เมื่อเวลา 9.07 น.ตามเวลาท้องถิ่นในกรุงโตเกียว
หุ้นมาสด้า ร่วง 4.2% ขณะที่เงินดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ส่วนหุ้นนินเทนโด ร่วง 2.4% และหุ้นเจแปน ปิโตรเลียม เอ็กซ์พลอเรชั่น ร่วง 2.4% หลังจากที่ราคาน้ำมันดิบอ่อนตัว
สัญญาน้ำมันดิบตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (20 พ.ค.) หลังจากสหรัฐเปิดเผยสต็อกน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นในรอบสัปดาห์ที่แล้ว นอกจากนี้ นักลงทุนยังคงกังวลว่าปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรปจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและจะฉุดรั้งดีมานด์พลังงานให้อ่อนแอลงด้วย
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า สัญญาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือนมิ.ย.ร่วงลง 1.86 ดอลลาร์ หรือ 2.66% มาปิดที่ระดับ 68.01 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 64.24 - 71.29 ดอลลาร์
นักวิเคราะห์กล่าวว่า นักลงทุนหลีกเลี่ยงความเสี่ยง หลังจากที่เกิดวิกฤตหนี้สาธารณะยุโรป ขณะที่ยังไม่เห็นทางแก้ที่ชัดเจนสำหรับปัญหาที่เกิดขึ้น
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 149
ภาวะตลาดหุ้นนิวยอร์ก: แรงซื้อหนุนดาวโจนส์ปิดบวก 125.38 จุด หลังร่วงสามวันติดต่อกัน
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- เสาร์ที่ 22 พฤษภาคม 2553 08:48:15 น.
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดดีดตัวแรงจากที่ปรับตัวลดลงในช่วงเปิดตลาดเมื่อวานนี้ (21 พ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนกลับเข้าซื้อหุ้นที่ตกลงในช่วงหลายวันที่ผ่านมา โดยได้ปัจจัยหนุนจากข่าววุฒิสภาผ่านร่างกฎหมายปฏิรูปการเงิน และการช่วยเหลือยุโรปที่มีความชัดเจนมากขึ้น
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์พุ่งขึ้น 125.38 หรือ 1.25% ปิดที่ 10,193.39 จุด หลังจากที่ร่วงลงถึง 376.36 จุดเมื่อวานนี้ ซึ่งเป็นการดิ่งลงหนักสุดนับแต่ก.พ.2552
ขณะที่ดัชนี S&P 500 เพิ่มขึ้น 16.10 จุด หรือ 1.50% ปิดที่ 1,087.69 จุด และดัชนี Nasdaq บวก 25.03 หรือ 1.14% ปิดที่ 2,229.04 จุด
ในช่วงเปิดตลาด หุ้นยังคงปรับตัวลงต่อเนื่องจากช่วงสามวันที่ผ่านมาซึ่งส่งผลให้ดัชนีดาวโจนส์ร่วงรวมมากกว่า 550 จุดจนถึงวันพฤหัสบดี โดยนักลงทุนเทขายหุ้นที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก เพราะเกรงว่าวิกฤตหนี้ในยุโรปจะทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกหยุดชะงักและทำให้ผลประกอบการของบริษัทสหรัฐได้รับผลกระทบไปด้วย ส่งให้ดัชนีหายไปเกือบ 150 จุด หลุดลงต่ำกว่าระดับ 10,000 จุดเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ 6 พ.ค.ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ดี เริ่มมีแรงซื้อเข้ามาอย่างรวดเร็ว โดยนักลงทุนหันมาซื้อหุ้นที่มีราคาลดลงในช่วงหลายวันก่อน เมื่อเงินยูโรแข็งค่าขึ้นหลังจากที่รัฐสภาเยอรมนีอนุมัติแผนการให้เยอรมนีมีส่วนเข้าร่วมในแพคเกจเงินกู้วิกฤตยูโรโซน
โดยทั้งสภาล่าง (Bundestag) และสภาสูง (Bundesrat) ของรัฐสภาเยอรมนี ได้ลงคะแนนเสียงอนุมัติงบ 1.48 แสนล้านยูโร (1.82 แสนล้านดอลลาร์) เป็นสัดส่วนเงินช่วยเหลือของเยอรมนีในแผนกู้วิกฤตยูโรโซนวงเงินรวม 7.50 แสนล้านยูโร (9.25 แสนล้านดอลลาร์)
ก่อนหน้านี้ นางอังเกล่า แมร์เคล นายกรัฐมนตรีเยอรมนีได้เรียกร้องให้รัฐสภาสนับสนุนเงินช่วยเหลือกรีซ พร้อมทั้งชี้ว่า ยุโรปกำลังเผชิญบททดสอบครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลายสิบปี ขณะที่เงินยูโรตกอยู่ในสถานการณ์อันตราย
ขณะเดียวกัน วุฒิสภาสหรัฐยังได้ลงคะแนนเสียงอนุมัติกฎหมายปฏิรูปการเงินในการประชุมเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา นับเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญของการยกเครื่องกฎระเบียบการเงินของสหรัฐ ส่งผลใหนักลงทุนมองเห็นภาพมากขึ้นว่าการปฏิรูปการเงินจะเป็นเช่นไรต่อไป แม้ว่าจะมีข้อกำหนดหลายอย่างที่จำเป็นต้องใช้เวลาอีกนานในการแก้ไขเมื่อวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรประชุมร่วมกัน ซึ่งตามกระบวนการทางกฎหมายของสหรัฐนั้น กฎหมายดังกล่าวจะถูกส่งเข้าที่ประชุมร่วมสภาผู้แทนฯและวุฒิสภาสหรัฐก่อนที่จะเสนอให้บารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐลงนามบังคับใช้เป็นกฎหมาย
ร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะยกเครื่องระบบการธนาคาร เพื่อลดความเสี่ยงที่สหรัฐจะกลับไปเผชิญกับวิกฤตการณ์การเงินที่รุนแรงเหมือนกับในช่วง Great Recession โดยร่างกฎหมายครอบคลุมถึงการจำกัดขนาดของสถาบันการเงินในกลุ่มที่ถูกระบุว่า "too big to fail" เนื่องจากสถาบันการเงินที่มีขนาดใหญ่เกินไปนั้น เมื่อถึงคราวที่ประสบปัญหาก็จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั้งระบบ
นอกจากนี้ วานนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐยังได้เปิดเผยว่า 34 รัฐและดิสทริค ออฟ โคลัมเบีย มีอัตราว่างงานลดลงในเดือนเม.ย. เนื่องจากบริษัทต่างๆเริ่มจ้างคนเพิ่มหลังยอดขายและกำไรฟื้นตัวดีขึ้น หลังจากที่เมื่อช่วงต้นเดือนนี้ มีการเปิดเผยข้อมูลว่า นายจ้างทั่วสหรัฐจ้างพนักงงานเพิ่ม 290,000 คนในเดือนเม.ย. ซึ่งมากที่สุดในรอบสี่ปี
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- เสาร์ที่ 22 พฤษภาคม 2553 08:48:15 น.
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดดีดตัวแรงจากที่ปรับตัวลดลงในช่วงเปิดตลาดเมื่อวานนี้ (21 พ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนกลับเข้าซื้อหุ้นที่ตกลงในช่วงหลายวันที่ผ่านมา โดยได้ปัจจัยหนุนจากข่าววุฒิสภาผ่านร่างกฎหมายปฏิรูปการเงิน และการช่วยเหลือยุโรปที่มีความชัดเจนมากขึ้น
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์พุ่งขึ้น 125.38 หรือ 1.25% ปิดที่ 10,193.39 จุด หลังจากที่ร่วงลงถึง 376.36 จุดเมื่อวานนี้ ซึ่งเป็นการดิ่งลงหนักสุดนับแต่ก.พ.2552
ขณะที่ดัชนี S&P 500 เพิ่มขึ้น 16.10 จุด หรือ 1.50% ปิดที่ 1,087.69 จุด และดัชนี Nasdaq บวก 25.03 หรือ 1.14% ปิดที่ 2,229.04 จุด
ในช่วงเปิดตลาด หุ้นยังคงปรับตัวลงต่อเนื่องจากช่วงสามวันที่ผ่านมาซึ่งส่งผลให้ดัชนีดาวโจนส์ร่วงรวมมากกว่า 550 จุดจนถึงวันพฤหัสบดี โดยนักลงทุนเทขายหุ้นที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก เพราะเกรงว่าวิกฤตหนี้ในยุโรปจะทำให้การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกหยุดชะงักและทำให้ผลประกอบการของบริษัทสหรัฐได้รับผลกระทบไปด้วย ส่งให้ดัชนีหายไปเกือบ 150 จุด หลุดลงต่ำกว่าระดับ 10,000 จุดเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ 6 พ.ค.ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ดี เริ่มมีแรงซื้อเข้ามาอย่างรวดเร็ว โดยนักลงทุนหันมาซื้อหุ้นที่มีราคาลดลงในช่วงหลายวันก่อน เมื่อเงินยูโรแข็งค่าขึ้นหลังจากที่รัฐสภาเยอรมนีอนุมัติแผนการให้เยอรมนีมีส่วนเข้าร่วมในแพคเกจเงินกู้วิกฤตยูโรโซน
โดยทั้งสภาล่าง (Bundestag) และสภาสูง (Bundesrat) ของรัฐสภาเยอรมนี ได้ลงคะแนนเสียงอนุมัติงบ 1.48 แสนล้านยูโร (1.82 แสนล้านดอลลาร์) เป็นสัดส่วนเงินช่วยเหลือของเยอรมนีในแผนกู้วิกฤตยูโรโซนวงเงินรวม 7.50 แสนล้านยูโร (9.25 แสนล้านดอลลาร์)
ก่อนหน้านี้ นางอังเกล่า แมร์เคล นายกรัฐมนตรีเยอรมนีได้เรียกร้องให้รัฐสภาสนับสนุนเงินช่วยเหลือกรีซ พร้อมทั้งชี้ว่า ยุโรปกำลังเผชิญบททดสอบครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลายสิบปี ขณะที่เงินยูโรตกอยู่ในสถานการณ์อันตราย
ขณะเดียวกัน วุฒิสภาสหรัฐยังได้ลงคะแนนเสียงอนุมัติกฎหมายปฏิรูปการเงินในการประชุมเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา นับเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญของการยกเครื่องกฎระเบียบการเงินของสหรัฐ ส่งผลใหนักลงทุนมองเห็นภาพมากขึ้นว่าการปฏิรูปการเงินจะเป็นเช่นไรต่อไป แม้ว่าจะมีข้อกำหนดหลายอย่างที่จำเป็นต้องใช้เวลาอีกนานในการแก้ไขเมื่อวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรประชุมร่วมกัน ซึ่งตามกระบวนการทางกฎหมายของสหรัฐนั้น กฎหมายดังกล่าวจะถูกส่งเข้าที่ประชุมร่วมสภาผู้แทนฯและวุฒิสภาสหรัฐก่อนที่จะเสนอให้บารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐลงนามบังคับใช้เป็นกฎหมาย
ร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะยกเครื่องระบบการธนาคาร เพื่อลดความเสี่ยงที่สหรัฐจะกลับไปเผชิญกับวิกฤตการณ์การเงินที่รุนแรงเหมือนกับในช่วง Great Recession โดยร่างกฎหมายครอบคลุมถึงการจำกัดขนาดของสถาบันการเงินในกลุ่มที่ถูกระบุว่า "too big to fail" เนื่องจากสถาบันการเงินที่มีขนาดใหญ่เกินไปนั้น เมื่อถึงคราวที่ประสบปัญหาก็จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั้งระบบ
นอกจากนี้ วานนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐยังได้เปิดเผยว่า 34 รัฐและดิสทริค ออฟ โคลัมเบีย มีอัตราว่างงานลดลงในเดือนเม.ย. เนื่องจากบริษัทต่างๆเริ่มจ้างคนเพิ่มหลังยอดขายและกำไรฟื้นตัวดีขึ้น หลังจากที่เมื่อช่วงต้นเดือนนี้ มีการเปิดเผยข้อมูลว่า นายจ้างทั่วสหรัฐจ้างพนักงงานเพิ่ม 290,000 คนในเดือนเม.ย. ซึ่งมากที่สุดในรอบสี่ปี
- pavilion
- Verified User
- โพสต์: 1726
- ผู้ติดตาม: 0
วิเคราะห้ข่าวเศรษฐกิจรอบวัน
โพสต์ที่ 150
ภาวะตลาดหุ้นลอนดอน: ฟุตซี่ปิดลบ 10.2 จุด เหตุนลท.ยังวิตกวิกฤตหนี้ยุโรป
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- เสาร์ที่ 22 พฤษภาคม 2553 08:00:53 น.
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดในแดนลบเป็นวันที่สามติดต่อกันเมื่อคืนนี้ (21 พ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตหนี้ยุโรป ขณะที่รัฐบาลต่างๆในยุโรปยังเสียงแตกเรื่องวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
ดัชนี FTSE 100 ปรับตัวลง 10.2 จุด หรือ 0.2% ปิดที่ 5,062.93 จุด หลังจากที่ในระหว่างวัน ดัชนีได้ร่วงหลุดระดับ 5,000 จุดเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนพ.ย. และตลอดสัปดาห์ ดัชนีร่วงลง 3.8%
นักวิเคราะห์กล่าวว่า ดูเหมือนสหภาพยุโรปจะมีความคิดเห็นกันไปคนละทิศละทางในเรื่องวิธีแก้ปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในภูมิภาค ซึ่งการที่ขาดความเป็นเอกภาพทางความคิดทำให้ตลาดยังคงผันผวนและความเชื่อมั่นอาจจะยังคงอ่อนแอต่อไป
ทั้งนี้ สำนักงานกำกับดูแลทางการเงินของรัฐบาลกลางเยอรมนี (BaFin) ออกกฎห้ามทำชอร์ตเซลสำหรับหุ้นที่ยังไม่มีการกู้ยืมมาก่อน (naked short-selling) ซึ่งครอบคลุมถึงการห้ามทำ naked short-selling ในตราสารหนี้สกุลเงินยูโรที่มีความเสี่ยงสูง ตราสาร credit default swap (CDS) สกุลเงินยูโร และหุ้นของ 10 บริษัทการเงินยักษ์ใหญ่ของเยอรมนี ขณะที่ฝรั่งเศสกล่าวว่า จะไม่ทำตามเยอรมนี
ด้าน EPFR Global องค์กรวิจัยที่ติดตามความเคลื่อนไหวของกองทุนทั่วโลก เปิดเผยว่า นักลงทุนได้แห่ถอนเม็ดเงินออกจากตลาดทุนสหรัฐและยุโรปในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุด ณ วันที่ 19 พ.ค.เป็นวงเงินสูงถึง 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งมากที่สุดในรอบเกือบสองปี เนื่องจากความกังวลที่ว่าวิกฤตหนี้สาธารณะ (sovereign debt) จะส่งผลให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง
หุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวลง เพราะนักลงทุนไม่มั่นใจเกี่ยวกับแนวโน้มความต้องการน้ำมัน โดย บีพี บริษัทน้ำมันรายใหญ่อันดับสองของยุโรป เป็นแกนนำที่ถ่วงให้ดัชนีร่วงลง โดยหุ้นบีพีทรุดลง 4.18% ขณะที่บริษัทกำลังพยายามแก้ข้อกล่าวหาที่ว่า บริษัทไม่เปิดเผยข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับขนาดของรูรั่วที่แท่นขุดเจาะน้ำมันของบริษัทในอ่าวเม็กซิโก ส่งผลให้น้ำมันยังคงรั่วไหลออกมาไม่หยุดเป็นปริมาณมากและกำลังเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนหุ้นรอยัล ดัทช์ เชลล์ ลบ 1.1%
อย่างไรก็ดี หุ้นกลุ่มเหมืองดีดตัวขึ้น เอ็กซตราตา ผู้ผลิตทองแดงรายใหญ่อันดับ 4 พุ่ง 6.36% หลังราคาทองแดงไต่ระดับขึ้นในตลาดโลหะลอนดอน หุ้นเฟรสนิลโลบวก 4.39% อันโตฟากัสตาไต่ขึ้น 3.8% และบีเอชพี บิลลิตัน เพิ่มขึ้น 2.8%
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- เสาร์ที่ 22 พฤษภาคม 2553 08:00:53 น.
ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดในแดนลบเป็นวันที่สามติดต่อกันเมื่อคืนนี้ (21 พ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตหนี้ยุโรป ขณะที่รัฐบาลต่างๆในยุโรปยังเสียงแตกเรื่องวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
ดัชนี FTSE 100 ปรับตัวลง 10.2 จุด หรือ 0.2% ปิดที่ 5,062.93 จุด หลังจากที่ในระหว่างวัน ดัชนีได้ร่วงหลุดระดับ 5,000 จุดเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนพ.ย. และตลอดสัปดาห์ ดัชนีร่วงลง 3.8%
นักวิเคราะห์กล่าวว่า ดูเหมือนสหภาพยุโรปจะมีความคิดเห็นกันไปคนละทิศละทางในเรื่องวิธีแก้ปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในภูมิภาค ซึ่งการที่ขาดความเป็นเอกภาพทางความคิดทำให้ตลาดยังคงผันผวนและความเชื่อมั่นอาจจะยังคงอ่อนแอต่อไป
ทั้งนี้ สำนักงานกำกับดูแลทางการเงินของรัฐบาลกลางเยอรมนี (BaFin) ออกกฎห้ามทำชอร์ตเซลสำหรับหุ้นที่ยังไม่มีการกู้ยืมมาก่อน (naked short-selling) ซึ่งครอบคลุมถึงการห้ามทำ naked short-selling ในตราสารหนี้สกุลเงินยูโรที่มีความเสี่ยงสูง ตราสาร credit default swap (CDS) สกุลเงินยูโร และหุ้นของ 10 บริษัทการเงินยักษ์ใหญ่ของเยอรมนี ขณะที่ฝรั่งเศสกล่าวว่า จะไม่ทำตามเยอรมนี
ด้าน EPFR Global องค์กรวิจัยที่ติดตามความเคลื่อนไหวของกองทุนทั่วโลก เปิดเผยว่า นักลงทุนได้แห่ถอนเม็ดเงินออกจากตลาดทุนสหรัฐและยุโรปในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุด ณ วันที่ 19 พ.ค.เป็นวงเงินสูงถึง 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งมากที่สุดในรอบเกือบสองปี เนื่องจากความกังวลที่ว่าวิกฤตหนี้สาธารณะ (sovereign debt) จะส่งผลให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง
หุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวลง เพราะนักลงทุนไม่มั่นใจเกี่ยวกับแนวโน้มความต้องการน้ำมัน โดย บีพี บริษัทน้ำมันรายใหญ่อันดับสองของยุโรป เป็นแกนนำที่ถ่วงให้ดัชนีร่วงลง โดยหุ้นบีพีทรุดลง 4.18% ขณะที่บริษัทกำลังพยายามแก้ข้อกล่าวหาที่ว่า บริษัทไม่เปิดเผยข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับขนาดของรูรั่วที่แท่นขุดเจาะน้ำมันของบริษัทในอ่าวเม็กซิโก ส่งผลให้น้ำมันยังคงรั่วไหลออกมาไม่หยุดเป็นปริมาณมากและกำลังเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนหุ้นรอยัล ดัทช์ เชลล์ ลบ 1.1%
อย่างไรก็ดี หุ้นกลุ่มเหมืองดีดตัวขึ้น เอ็กซตราตา ผู้ผลิตทองแดงรายใหญ่อันดับ 4 พุ่ง 6.36% หลังราคาทองแดงไต่ระดับขึ้นในตลาดโลหะลอนดอน หุ้นเฟรสนิลโลบวก 4.39% อันโตฟากัสตาไต่ขึ้น 3.8% และบีเอชพี บิลลิตัน เพิ่มขึ้น 2.8%