การตัดสินใจครั้งสำคัญ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
- oatty
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2444
- ผู้ติดตาม: 0
การตัดสินใจครั้งสำคัญ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 1
โลกในมุมมองของ Value Investor 16 สิงหาคม 52
คนเราที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตนั้น ผมคิดว่าอยู่ที่การตัดสินใจในเรื่องที่สำคัญมากไม่กี่เรื่อง และการตัดสินใจที่ถูกต้องในเรื่องนั้นนำไปสู่สิ่งที่ดี ๆ ทั้งหลายที่ตามมา เช่น รวยได้มากอย่างไม่น่าเชื่อ มีชื่อเสียงมากกว่าเพื่อนฝูงในแวดวงเดียวกัน หรือ มีความสุขมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ถ้าจะเรียกให้เป็นศัพท์แสงที่เป็นวิชาการหรือเท่หน่อย ผมอยากจะเรียกว่าเป็น Strategic Decision หรือการตัดสินใจในระดับยุทธศาสตร์ของชีวิต
ว่าที่จริง Strategic Decision นั้น เป็นเรื่องที่สำคัญมากในเรื่องใหญ่อื่น ๆ เช่น ในเรื่องของธุรกิจนั้น การตัดสินใจออกผลิตภัณฑ์บางอย่างหรือการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์หรือกระบวนการในการทำงานบางอย่างที่สำคัญอาจจะเปลี่ยนแปลงภาพของบริษัทอย่างสิ้นเชิงและทำให้บริษัทประสบความสำเร็จอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนในขณะที่การตัดสินใจมากมายอื่น ๆ นั้น ไม่มีผลอะไรอย่างสำคัญกับตัวธุรกิจเลย
ในเรื่องของหุ้นเอง วอเร็น บัฟเฟตต์ เคยพูดไว้ว่า เวลาจะลงทุนซื้อหุ้นแต่ละตัวนั้น ให้คิดว่าในชีวิตนี้เรามีสิทธิ์ที่จะซื้อได้เพียง 20 ตัว ดังนั้น เราก็จะต้องคิดหนักว่าเราจะซื้อตัวไหน เราจะต้องเลือกหุ้นที่มีความแข็งแกร่งสุดยอด มี “ป้อมค่ายและคูเมืองป้องกันข้าศึก” ที่ทนทานถาวร และกิจการจะต้องโตไปได้เรื่อย ๆ เป็นสิบ ๆ ปี ถ้าคิดได้ดังนี้ การซื้อหุ้นแต่ละตัวของเราก็จะไม่ค่อยพลาด และผลตอบแทนก็จะน่าประทับใจ อย่าตัดสินใจซื้อขายหุ้นมากมายไปเรื่อย ๆ เพราะสิ่งนี้มักจะไม่สร้างความแตกต่างให้กับชีวิตเรา เราควรตัดสินใจน้อยครั้งและเป็นครั้งสำคัญ ๆ เพราะนี่คือสิ่งที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จในการลงทุน แน่นอน ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องซื้อหุ้นเพียง 20 ตัวในชีวิต แต่ผมเชื่อว่า อาจจะมีหุ้นเพียง 20 ตัวในชีวิตเท่านั้นที่สร้างความสำเร็จทั้งหมดในการลงทุนของเรา ส่วนหุ้นอื่น ๆ อาจจะเป็นร้อย ๆ ตัวนั้น ไม่ได้สร้างความแตกต่างอะไรกับผลการลงทุนของเราเลย ดังนั้น เราไปซื้อทำไม?
ในความคิดของผม ในชีวิตของคนเรานั้น มีจุดหรือช่วงเวลาสำคัญที่เราจะต้องตัดสินใจแบบ Strategic Decision ไม่กี่เรื่องหรือไม่กี่ครั้ง ถ้าตัดสินใจถูก เราอาจจะ “สบายไปตลอด” หรือ “ประสบความสำเร็จงดงามไปเรื่อย ๆ” หรือ “มีความสุขมาก” ไปอีกนาน ปัญหาที่พบก็คือ คนจำนวนมากไม่รู้หรือไม่เข้าใจว่าเรื่องไหนเป็นเรื่องที่เป็น “การตัดสินใจครั้งสำคัญของชีวิต” ดังนั้น เขาไม่ได้ให้เวลาหรือให้การพิจารณาหรือวิเคราะห์อย่างเพียงพอ บางทีเขาก็อาจจะใช้อารมณ์ในการตัดสินใจมากกว่าเหตุผล ผลที่ตามมาก็คือ มันเป็นการตัดสินใจที่แย่และเขาก็ต้องรับกับความเลวร้าย หรือความสำเร็จพื้น ๆ ไปตลอดไม่ว่าจะพยายามทำงานหรือต่อสู้มากแค่ไหน
การตัดสินใจครั้งสำคัญในชีวิตนั้น ถ้าจะไล่ลำดับตามช่วงอายุของคนก็น่าจะรวมถึง การศึกษา ซึ่งผมคิดว่าการเลือกสาขาที่เรียนนั้นเป็นเรื่องสำคัญมาก แน่นอน ถ้าเป็นเด็กที่มี “พรสวรรค์” ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เขาก็ควรเลือกเรียนในแนวนั้น แต่ถ้าไม่รู้ว่ามีพรสวรรค์ด้านไหน การเลือกเรียนในบางสาขาอาจจะทำให้ชีวิตในอนาคตดีขึ้นมาก ดังนั้น อย่าปล่อยให้ “คะแนนสอบ” เป็นตัวกำหนดสาขาที่เราจะเรียน
การแต่งงานเป็น Strategic Decision ที่สำคัญสุดยอดอีกเรื่องหนึ่ง เพราะความสุขและการประสบความสำเร็จในชีวิตขึ้นอยู่กับคู่ของเรามาก ดังนั้น อย่าปล่อยให้ “พรหมลิขิต” มากำหนดว่าเราจะแต่งงานกับใคร เราควรจะต้อง “แสวงหา” โดยการให้เวลากับการเรียนรู้กับคนที่เราคิดว่ามีโอกาสที่เราจะต้องใช้ชีวิตด้วยกันยาวนาน บางคนบอกว่าอยากปล่อยให้เป็นไป “ตามธรรมชาติ” เขามักใช้เวลาไปกับ “งาน” ที่ ไม่ใช่ Strategic Decision ดังนั้น เขาอาจจะมีผลงานที่ดีในสายตาเจ้านาย แต่เขาอาจจะได้คู่ที่ไม่เหมาะสมหรืออาจจะไม่มีคู่เลย ผลก็คือ ชีวิตนี้อาจจะทำงานแทบตายแต่ไม่มีความสุขและมีเงินน้อยมาก ในขณะที่อีกคนหนึ่งได้เศรษฐีนิสัยดีเป็นคู่ ซึ่งทำให้ชีวิตมีความสุขและมีเงินเหลือล้นโดยที่ไม่ต้องดิ้นรนอะไรมากนัก
งานที่ทำ ว่าที่จริงต้องพูดว่าสายงานที่เลือกทำเป็น Strategic Decision เลือกงานผิด ทำงานในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่ไม่โตและมีแนวโน้มค่อย ๆ ตกต่ำลง อนาคตเราไม่ค่อยมีทางที่จะ “รุ่ง” ไม่ว่าเราจะพยายามแค่ไหน มันคงเหมือนการ “ว่ายทวนน้ำ” ที่จะไปได้ช้ามาก ดังนั้น ก่อนสมัครงาน คิดเสียก่อนว่าอนาคตของอุตสาหกรรมเป็นอย่างไร ถ้าอุตสาหกรรมอยู่ในช่วงที่กำลังตกต่ำลงอย่างถาวร อย่าเข้าไปจะดีกว่า อย่าลืมว่า เราไม่ได้เป็น “ฮีโร่” แม้ว่าเราจะสามารถช่วยคนที่กำลังตายให้มีอายุยืดไปได้อีกหน่อยหนึ่ง
สุดท้ายก็คือ การเลือกว่าเราจะมีความเชี่ยวชาญในเรื่องไหนเป็นพิเศษ อะไรคือตัวตนของเราจริง ๆ ในชีวิต พูดง่าย ๆ เราอยากให้คนจดจำว่าเราเป็นใครหรือเป็นคนอย่างไรเมื่อเราตายไปแล้ว นี่เป็นเรื่องที่อาจจะทำได้ยากพอสมควรทีเดียว เพราะประเด็นก็คือ มันเป็นเรื่องที่ใช้เวลามากในการทำหรือในการสร้างผลงาน มันต้องอาศัยการวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของเราก่อน เสร็จแล้วก็ต้องเลือกว่าเราจะเป็นอะไร หลังจากนั้นเราก็ต้องเริ่มทำและทำไปเรื่อย ๆ อาจจะเป็นสิบ ๆ ปีก่อนที่เราจะบรรลุถึงสิ่งที่เราตั้งธงไว้ ดังนั้น Strategic Decision เรื่องนี้จึงต้องพยายามทำตั้งแต่อายุน้อยที่สุดที่จะทำได้ ยิ่งเราค้นพบได้เร็วเท่าไรก็มีโอกาสมากขึ้นเท่านั้นที่เราจะประสบความสำเร็จ
ผมคงจบบทความนี้ไม่ได้ถ้าไม่ได้พูดว่า การลงทุนในหุ้นนั้น เป็น Strategic Decision ที่สำคัญสำหรับคนจำนวนมากที่ต้องการจะมีความมั่งคั่งทางการเงิน ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับหุ้นและตลาดหุ้นนั้น มีความสำคัญมาก อย่าปล่อยให้ความกลัวในเรื่อง “ความเสี่ยง” กำหนดการลงทุนของเรา
คนเราที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตนั้น ผมคิดว่าอยู่ที่การตัดสินใจในเรื่องที่สำคัญมากไม่กี่เรื่อง และการตัดสินใจที่ถูกต้องในเรื่องนั้นนำไปสู่สิ่งที่ดี ๆ ทั้งหลายที่ตามมา เช่น รวยได้มากอย่างไม่น่าเชื่อ มีชื่อเสียงมากกว่าเพื่อนฝูงในแวดวงเดียวกัน หรือ มีความสุขมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ถ้าจะเรียกให้เป็นศัพท์แสงที่เป็นวิชาการหรือเท่หน่อย ผมอยากจะเรียกว่าเป็น Strategic Decision หรือการตัดสินใจในระดับยุทธศาสตร์ของชีวิต
ว่าที่จริง Strategic Decision นั้น เป็นเรื่องที่สำคัญมากในเรื่องใหญ่อื่น ๆ เช่น ในเรื่องของธุรกิจนั้น การตัดสินใจออกผลิตภัณฑ์บางอย่างหรือการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์หรือกระบวนการในการทำงานบางอย่างที่สำคัญอาจจะเปลี่ยนแปลงภาพของบริษัทอย่างสิ้นเชิงและทำให้บริษัทประสบความสำเร็จอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนในขณะที่การตัดสินใจมากมายอื่น ๆ นั้น ไม่มีผลอะไรอย่างสำคัญกับตัวธุรกิจเลย
ในเรื่องของหุ้นเอง วอเร็น บัฟเฟตต์ เคยพูดไว้ว่า เวลาจะลงทุนซื้อหุ้นแต่ละตัวนั้น ให้คิดว่าในชีวิตนี้เรามีสิทธิ์ที่จะซื้อได้เพียง 20 ตัว ดังนั้น เราก็จะต้องคิดหนักว่าเราจะซื้อตัวไหน เราจะต้องเลือกหุ้นที่มีความแข็งแกร่งสุดยอด มี “ป้อมค่ายและคูเมืองป้องกันข้าศึก” ที่ทนทานถาวร และกิจการจะต้องโตไปได้เรื่อย ๆ เป็นสิบ ๆ ปี ถ้าคิดได้ดังนี้ การซื้อหุ้นแต่ละตัวของเราก็จะไม่ค่อยพลาด และผลตอบแทนก็จะน่าประทับใจ อย่าตัดสินใจซื้อขายหุ้นมากมายไปเรื่อย ๆ เพราะสิ่งนี้มักจะไม่สร้างความแตกต่างให้กับชีวิตเรา เราควรตัดสินใจน้อยครั้งและเป็นครั้งสำคัญ ๆ เพราะนี่คือสิ่งที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จในการลงทุน แน่นอน ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องซื้อหุ้นเพียง 20 ตัวในชีวิต แต่ผมเชื่อว่า อาจจะมีหุ้นเพียง 20 ตัวในชีวิตเท่านั้นที่สร้างความสำเร็จทั้งหมดในการลงทุนของเรา ส่วนหุ้นอื่น ๆ อาจจะเป็นร้อย ๆ ตัวนั้น ไม่ได้สร้างความแตกต่างอะไรกับผลการลงทุนของเราเลย ดังนั้น เราไปซื้อทำไม?
ในความคิดของผม ในชีวิตของคนเรานั้น มีจุดหรือช่วงเวลาสำคัญที่เราจะต้องตัดสินใจแบบ Strategic Decision ไม่กี่เรื่องหรือไม่กี่ครั้ง ถ้าตัดสินใจถูก เราอาจจะ “สบายไปตลอด” หรือ “ประสบความสำเร็จงดงามไปเรื่อย ๆ” หรือ “มีความสุขมาก” ไปอีกนาน ปัญหาที่พบก็คือ คนจำนวนมากไม่รู้หรือไม่เข้าใจว่าเรื่องไหนเป็นเรื่องที่เป็น “การตัดสินใจครั้งสำคัญของชีวิต” ดังนั้น เขาไม่ได้ให้เวลาหรือให้การพิจารณาหรือวิเคราะห์อย่างเพียงพอ บางทีเขาก็อาจจะใช้อารมณ์ในการตัดสินใจมากกว่าเหตุผล ผลที่ตามมาก็คือ มันเป็นการตัดสินใจที่แย่และเขาก็ต้องรับกับความเลวร้าย หรือความสำเร็จพื้น ๆ ไปตลอดไม่ว่าจะพยายามทำงานหรือต่อสู้มากแค่ไหน
การตัดสินใจครั้งสำคัญในชีวิตนั้น ถ้าจะไล่ลำดับตามช่วงอายุของคนก็น่าจะรวมถึง การศึกษา ซึ่งผมคิดว่าการเลือกสาขาที่เรียนนั้นเป็นเรื่องสำคัญมาก แน่นอน ถ้าเป็นเด็กที่มี “พรสวรรค์” ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เขาก็ควรเลือกเรียนในแนวนั้น แต่ถ้าไม่รู้ว่ามีพรสวรรค์ด้านไหน การเลือกเรียนในบางสาขาอาจจะทำให้ชีวิตในอนาคตดีขึ้นมาก ดังนั้น อย่าปล่อยให้ “คะแนนสอบ” เป็นตัวกำหนดสาขาที่เราจะเรียน
การแต่งงานเป็น Strategic Decision ที่สำคัญสุดยอดอีกเรื่องหนึ่ง เพราะความสุขและการประสบความสำเร็จในชีวิตขึ้นอยู่กับคู่ของเรามาก ดังนั้น อย่าปล่อยให้ “พรหมลิขิต” มากำหนดว่าเราจะแต่งงานกับใคร เราควรจะต้อง “แสวงหา” โดยการให้เวลากับการเรียนรู้กับคนที่เราคิดว่ามีโอกาสที่เราจะต้องใช้ชีวิตด้วยกันยาวนาน บางคนบอกว่าอยากปล่อยให้เป็นไป “ตามธรรมชาติ” เขามักใช้เวลาไปกับ “งาน” ที่ ไม่ใช่ Strategic Decision ดังนั้น เขาอาจจะมีผลงานที่ดีในสายตาเจ้านาย แต่เขาอาจจะได้คู่ที่ไม่เหมาะสมหรืออาจจะไม่มีคู่เลย ผลก็คือ ชีวิตนี้อาจจะทำงานแทบตายแต่ไม่มีความสุขและมีเงินน้อยมาก ในขณะที่อีกคนหนึ่งได้เศรษฐีนิสัยดีเป็นคู่ ซึ่งทำให้ชีวิตมีความสุขและมีเงินเหลือล้นโดยที่ไม่ต้องดิ้นรนอะไรมากนัก
งานที่ทำ ว่าที่จริงต้องพูดว่าสายงานที่เลือกทำเป็น Strategic Decision เลือกงานผิด ทำงานในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่ไม่โตและมีแนวโน้มค่อย ๆ ตกต่ำลง อนาคตเราไม่ค่อยมีทางที่จะ “รุ่ง” ไม่ว่าเราจะพยายามแค่ไหน มันคงเหมือนการ “ว่ายทวนน้ำ” ที่จะไปได้ช้ามาก ดังนั้น ก่อนสมัครงาน คิดเสียก่อนว่าอนาคตของอุตสาหกรรมเป็นอย่างไร ถ้าอุตสาหกรรมอยู่ในช่วงที่กำลังตกต่ำลงอย่างถาวร อย่าเข้าไปจะดีกว่า อย่าลืมว่า เราไม่ได้เป็น “ฮีโร่” แม้ว่าเราจะสามารถช่วยคนที่กำลังตายให้มีอายุยืดไปได้อีกหน่อยหนึ่ง
สุดท้ายก็คือ การเลือกว่าเราจะมีความเชี่ยวชาญในเรื่องไหนเป็นพิเศษ อะไรคือตัวตนของเราจริง ๆ ในชีวิต พูดง่าย ๆ เราอยากให้คนจดจำว่าเราเป็นใครหรือเป็นคนอย่างไรเมื่อเราตายไปแล้ว นี่เป็นเรื่องที่อาจจะทำได้ยากพอสมควรทีเดียว เพราะประเด็นก็คือ มันเป็นเรื่องที่ใช้เวลามากในการทำหรือในการสร้างผลงาน มันต้องอาศัยการวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของเราก่อน เสร็จแล้วก็ต้องเลือกว่าเราจะเป็นอะไร หลังจากนั้นเราก็ต้องเริ่มทำและทำไปเรื่อย ๆ อาจจะเป็นสิบ ๆ ปีก่อนที่เราจะบรรลุถึงสิ่งที่เราตั้งธงไว้ ดังนั้น Strategic Decision เรื่องนี้จึงต้องพยายามทำตั้งแต่อายุน้อยที่สุดที่จะทำได้ ยิ่งเราค้นพบได้เร็วเท่าไรก็มีโอกาสมากขึ้นเท่านั้นที่เราจะประสบความสำเร็จ
ผมคงจบบทความนี้ไม่ได้ถ้าไม่ได้พูดว่า การลงทุนในหุ้นนั้น เป็น Strategic Decision ที่สำคัญสำหรับคนจำนวนมากที่ต้องการจะมีความมั่งคั่งทางการเงิน ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับหุ้นและตลาดหุ้นนั้น มีความสำคัญมาก อย่าปล่อยให้ความกลัวในเรื่อง “ความเสี่ยง” กำหนดการลงทุนของเรา
"ผู้ทรงธรรมนั่นแหละคือผู้ทรงเกียรติ ผู้มีความดีนั่นแหละคือผู้มีทรัพย์ ผู้รู้จักพอนั่นแหละคือมหาเศรษฐี" ว.วชิรเมธี
-
- Verified User
- โพสต์: 1252
- ผู้ติดตาม: 0
การตัดสินใจครั้งสำคัญ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 2
ท่านอ.คือสุดยอดผู้เชี่ยวชาญStrategic Decision ในหลายๆด้าน ท่านหนึ่งบนโลกโดยเฉพาะเรื่องการลงทุนไร้เทียมทานจริงๆ :doi: :mrgreen:
-
- Verified User
- โพสต์: 296
- ผู้ติดตาม: 0
การตัดสินใจครั้งสำคัญ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 3
วางแผนดีมีชัยไปกว่าครึ่ง
- sorawut
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2494
- ผู้ติดตาม: 2
การตัดสินใจครั้งสำคัญ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 4
ผมไม่ได้คิดวางแผนชีวิตตอนเรียนขนาดนั้น แต่เรียกว่าโชคดีมากกว่าครับ
ตอนประถม ตอนนั้นคอมพิวเตอร์ไม่ได้เป็นที่แพร่หลายขนาดนี้ และมีราคาสูงมาก (เครื่อง 486 ราคา 5 หมื่นกว่าบาท ก๋วยเตี๋ยวชามละ 10 บาท :shock: :shock:)
โชคดีพี่ชายเรียนวิศวคอมพิวเตอร์รุ่นแรกๆ บังเอิญผมชอบเล่นคอมซะด้วย (แต่ไม่ได้ชอบแต่เกมส์นะ) เลยได้รับอานิสงค์ไป
ถ้าผมมีลูก จะดูว่าเค้าชอบอะไรและวางแผนอนาคตให้อย่างดีครับ
ส่วนเรื่องหุ้นก็พี่ชายคนนี้อีกน่ะแหละ เค้าซื้อหนังสือของ ดร.นิเวศน์มาหลายเล่ม ตอนแรกผมไม่สนใจ คิดว่ามาอีกและ เซียนหุ้น รวยหุ้น เป็นไปได้ไง
แต่พอได้อ่านแล้ว รู้สึกว่าไม่ใช่เรื่องพิศดารอะไร สามารถเข้าใจได้ และเป็นธรรมชาติมาก
แต่สิ่งที่ยากที่สุดคือควบคุมตัวเอง ไม่ให้เป๋ไปจากหลักการ :oops: :oops:
ตอนประถม ตอนนั้นคอมพิวเตอร์ไม่ได้เป็นที่แพร่หลายขนาดนี้ และมีราคาสูงมาก (เครื่อง 486 ราคา 5 หมื่นกว่าบาท ก๋วยเตี๋ยวชามละ 10 บาท :shock: :shock:)
โชคดีพี่ชายเรียนวิศวคอมพิวเตอร์รุ่นแรกๆ บังเอิญผมชอบเล่นคอมซะด้วย (แต่ไม่ได้ชอบแต่เกมส์นะ) เลยได้รับอานิสงค์ไป
ถ้าผมมีลูก จะดูว่าเค้าชอบอะไรและวางแผนอนาคตให้อย่างดีครับ
ส่วนเรื่องหุ้นก็พี่ชายคนนี้อีกน่ะแหละ เค้าซื้อหนังสือของ ดร.นิเวศน์มาหลายเล่ม ตอนแรกผมไม่สนใจ คิดว่ามาอีกและ เซียนหุ้น รวยหุ้น เป็นไปได้ไง
แต่พอได้อ่านแล้ว รู้สึกว่าไม่ใช่เรื่องพิศดารอะไร สามารถเข้าใจได้ และเป็นธรรมชาติมาก
แต่สิ่งที่ยากที่สุดคือควบคุมตัวเอง ไม่ให้เป๋ไปจากหลักการ :oops: :oops:
ตัดสินใจว่า ธุรกิจไหนที่คุณต้องการจะเป็นเจ้าของ
และซื้อเมื่อราคาสามารถให้ผลตอบแทนจากการลงทุน ในอัตราที่เข้าท่าสำหรับการร่วมทำธุรกิจเท่านั้น
และซื้อเมื่อราคาสามารถให้ผลตอบแทนจากการลงทุน ในอัตราที่เข้าท่าสำหรับการร่วมทำธุรกิจเท่านั้น
-
- Verified User
- โพสต์: 1088
- ผู้ติดตาม: 0
การตัดสินใจครั้งสำคัญ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 5
ดร ให้ข้อคิดดีๆอีกแล้ว ขอบคุณครับ
ต้องยอมรับว่าในอดีตผมก็ตัดสินใจผิดไปมากมายเช่น
เลือกเรียนในวิชายากๆที่ตัวเองไม่ถนัด แทนที่จะเลือกเรียนอะไรที่สบายๆแต่ให้ผลตอบแทนสูง
เลือกไปเรียนเมืองบ้านนอกทำให้สังคมแคบ
การตัดสินใจในอดีตมักจะเป็นแนว Contrarian คือไม่อยากทำอะไรที่คนอื่นที่รู้จักเขาเลือกทำกัน บวกกับความไม่เข้าใจในจุดแข็งและจุดอ่อนของตนเอง
การลงทุนในตลาดหุ้นนี่น่าจะเป็น strategic decision ที่ดีที่สุดอันหนึ่ง (ที่เริ่มเห็นผลแล้ว) และต้องขอบคุณ ดร ที่เขียนหนังสือดีๆอย่างตีแตกมาให้อ่านครับ
ต้องยอมรับว่าในอดีตผมก็ตัดสินใจผิดไปมากมายเช่น
เลือกเรียนในวิชายากๆที่ตัวเองไม่ถนัด แทนที่จะเลือกเรียนอะไรที่สบายๆแต่ให้ผลตอบแทนสูง
เลือกไปเรียนเมืองบ้านนอกทำให้สังคมแคบ
การตัดสินใจในอดีตมักจะเป็นแนว Contrarian คือไม่อยากทำอะไรที่คนอื่นที่รู้จักเขาเลือกทำกัน บวกกับความไม่เข้าใจในจุดแข็งและจุดอ่อนของตนเอง
การลงทุนในตลาดหุ้นนี่น่าจะเป็น strategic decision ที่ดีที่สุดอันหนึ่ง (ที่เริ่มเห็นผลแล้ว) และต้องขอบคุณ ดร ที่เขียนหนังสือดีๆอย่างตีแตกมาให้อ่านครับ
เล่นหุ้นคนแก่ แต่แอบเปรี้ยวเป็นบางเวลา
- baby-investor
- Verified User
- โพสต์: 312
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การตัดสินใจครั้งสำคัญ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 6
[quote="oatty"] การแต่งงานเป็น
- โอ@
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4246
- ผู้ติดตาม: 0
การตัดสินใจครั้งสำคัญ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 7
อ่านบทความนี้แล้วนึกถึงหนังสือ Outliers เลยครับ อ่านสองวันจะจบละ อ่านแล้วเพลินมากครับ
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=38919
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=38919
_________
-
- Verified User
- โพสต์: 362
- ผู้ติดตาม: 0
การตัดสินใจครั้งสำคัญ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 10
ผมเคยฟังผู้รู้ท่านหนึงพูดว่า การตัดสินใจของคนเรา จะมีอยู่ 3 แบบ
หนึ่งคือ ตัดสินใจบนความแน่นอน (Certainty)
สองคือ ตัดสินใจบนความเสี่ยง (Risk)
สามคือ ตัดสินใจบนความไม่แน่นอน (Uncertainty)
ซึ่งความไม่แน่นอน (Uncertainty) กับความเสี่ยง (Risk) จะแตกต่างกันตรงที่ ความเสี่ยงจะมีความน่าจะเป็น (Probability) คือมีโอกาสที่จะเกิดหรือไม่เกิด สามารถประเมินได้ แต่ความไม่แน่นอนไม่มีความน่าจะเป็น ประเมินไม่ได้ เพราะฉะนั้น ถ้าพูดถึงการตัดสินใจบนความเสี่ยง (Risk) ก็คือ การพูดถึงความน่าจะเป็น
โดยส่วนตัวผมก็คิดว่าถ้าเราตัดสินใจบนความเสี่ยง (เราสามารถที่จะประเมินความน่าจะเป็นของสิ่งที่เกิดขึ้นได้) ก็คือการตัดสินใจที่ท่าน ดร.เรียกว่า Strategic Decision ครับ
หนึ่งคือ ตัดสินใจบนความแน่นอน (Certainty)
สองคือ ตัดสินใจบนความเสี่ยง (Risk)
สามคือ ตัดสินใจบนความไม่แน่นอน (Uncertainty)
ซึ่งความไม่แน่นอน (Uncertainty) กับความเสี่ยง (Risk) จะแตกต่างกันตรงที่ ความเสี่ยงจะมีความน่าจะเป็น (Probability) คือมีโอกาสที่จะเกิดหรือไม่เกิด สามารถประเมินได้ แต่ความไม่แน่นอนไม่มีความน่าจะเป็น ประเมินไม่ได้ เพราะฉะนั้น ถ้าพูดถึงการตัดสินใจบนความเสี่ยง (Risk) ก็คือ การพูดถึงความน่าจะเป็น
โดยส่วนตัวผมก็คิดว่าถ้าเราตัดสินใจบนความเสี่ยง (เราสามารถที่จะประเมินความน่าจะเป็นของสิ่งที่เกิดขึ้นได้) ก็คือการตัดสินใจที่ท่าน ดร.เรียกว่า Strategic Decision ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 331
- ผู้ติดตาม: 0
การตัดสินใจครั้งสำคัญ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 11
นึกว่าจะไม่มีใครสังเกตเห็นแล้ว
( หรืออาจจะมี แต่ไม่มีใครกล้าพูด )
ช่วงหลังผมเห็นท่านละเมิดกฎของ วอเรน อยู่ 2 ข้อ
ข้อแรกเรื่องการใช้เงินกู้มาซื้อหุ้น
ข้อสอง ธุรกิจที่ดี ในมือ "ผู้บริหารที่ดี"
ท่านเคยเขียนไว้ในบทความทำนองว่า ...
บางครั้งก็คุ้มที่จะละเมิดกฎข้อนี้
( หรืออาจจะมี แต่ไม่มีใครกล้าพูด )
ช่วงหลังผมเห็นท่านละเมิดกฎของ วอเรน อยู่ 2 ข้อ
ข้อแรกเรื่องการใช้เงินกู้มาซื้อหุ้น
ข้อสอง ธุรกิจที่ดี ในมือ "ผู้บริหารที่ดี"
ท่านเคยเขียนไว้ในบทความทำนองว่า ...
บางครั้งก็คุ้มที่จะละเมิดกฎข้อนี้
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 266
- ผู้ติดตาม: 0
การตัดสินใจครั้งสำคัญ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 13
ผมเคยอ่านบทความของ ดร. นิเวศน์ อันนึงที่ท่านพูดถึงเกี่ยวกับการยืดหยุ่นเลยค้นออกมาดู(ผม print เก็บไว้) ชื่อว่า "ความยืดหยุ่นในการลงทุน" ลงวันที่ใน www.settrade.com 24/5/07 ลองไปตามอ่านดูนะครับ ผมคิดว่าน่าจะทำให้เราเข้าใจเหตุผลในการละเมิดกฏบางข้อของท่าน :P
ลืมบอกไปว่าเข้าที่ webblog ของ ดร. ในsettrade นะครับ แล้วก็เลือกวันกลับมาเรื่อยๆ ก็จะเจอเหมือนกัน
ลืมบอกไปว่าเข้าที่ webblog ของ ดร. ในsettrade นะครับ แล้วก็เลือกวันกลับมาเรื่อยๆ ก็จะเจอเหมือนกัน
- dome@perth
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4741
- ผู้ติดตาม: 1
Re: การตัดสินใจครั้งสำคัญ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 16
[quote="เพื่อน"]
ท่านเขียนว่าการเรียนรู้ น่าจะถูกต้องแล้วนะครับ
ส่วนความเห็นอื่นๆ
ท่านเขียนว่าการเรียนรู้ น่าจะถูกต้องแล้วนะครับ
ส่วนความเห็นอื่นๆ
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
-
- Verified User
- โพสต์: 2938
- ผู้ติดตาม: 0
การตัดสินใจครั้งสำคัญ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 17
ผมก็ไม่ใช่ไม่เห็นด้วยนะ กะข้อความ
การเรียนรู้เกี่ยวกับหุ้นและตลาดหุ้นนั้น มีความสำคัญมาก
แต่ข้อความนี้ ผมไม่เห็นด้วย
อย่าปล่อยให้ความกลัวในเรื่อง ความเสี่ยง กำหนดการลงทุนของเรา
โดยเฉพาะเริ่มต้น ด้วยเรื่องมาร์จิ้น ถ้าจะมีผมว่าก็ไม่แปลก แต่ก็ต้องเข้าใจว่าเสี่ยง ไม่ใช่ละเลย
แม้แต่ตอนนี้วอร์เรนบัฟเฟต ยังเห็นว่าการลงทุนในหุ้นเสี่ยงเลยครับ
ถ้างั้นคงไม่โยกเงินออกจากหุ้นมาลงพันธบัตรหรอก
ถ้าเมื่อไรคุณลืมเรื่องความเสี่ยง ผมแนะนำให้คุณไปกู้เงินเพิ่มมาอีก
แล้วเอามาซื้อหุ้นให้เต็มอัตราเลยครับ แล้วก็ถือหุ้นเต็มพอร์ตให้ตลอด
มีวงเงินเหลือก็ซื้อเพิ่มไปอีกให้เต็ม ผมว่าวันหนึ่งคนจากคนเคยรวย จะเป็นคนจนได้ รับรอง
และก็ ผมว่า คนที่อ่านบทความดร. ส่วนมากสนใจลงทุนในหุ้นทั้งนั้นแหละครับ คนที่ไม่สนใจลงทุน คงไม่อ่านหรอก
ผมก็ไม่รู้จะมาวิจารณ์ทำไม ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนนะดีแล้ว
ก็ขอให้เรียนรู้การลงทุนในหุ้น และก็ลืมเรื่องความเสี่ยงกันไปเลย
ส่วนเรื่องการซื้อสุ่มสี่สุ่มห้า สุ่มหก ผมว่าปีที่แล้ว หลายคนคงไม่ได้ซื้อสุ่มไปมั่ว หุ้นหลายตัวยังลง50%up แล้วมันมีตรรกะอะไรครับ ที่บอกว่าถ้าคนซื้อโดยไม่สุ่มสี่สุ่มห้า แล้วจะไม่เสี่ยง
ผมพูดเฉพาะเรื่องความเสี่ยงเรื่องเดียวนะครับ
ไม่ต้องพูดเรื่องอื่นต่อ
ในเมื่อคนส่วนมากบอกว่าคาดเดาตลาดไม่ได้ ถ้างั้นโอกาสจะไปพันจุดก็มี
โอกาสจะมา300จุดก็มี แล้วไงหละ มันเสี่ยงเปล่า
แล้วถ้าอีก2-3ปี ไอ้ที่เค้ากระตุ้นเศรษฐกิจกันอยู่ทุกวันนี้มันไม่เวิร์ค
แล้วผลออกมาเป็นตรงข้ามหละ คือผมว่าสิ่งที่ยังมองไม่เห็นมันมีอีกเยอะ
แล้วนั้นแหละครับ คือความเสี่ยง
ทำธุรกิจเองยังเสี่ยงเลยครับพี่ อย่าว่าแต่เล่นหุ้นเลย
ดร.เป็นผู้ทำประโยชน์ต่อสังคมอยู่แล้ว ยังไงผมก็ขอขอบคุณ
การเรียนรู้เกี่ยวกับหุ้นและตลาดหุ้นนั้น มีความสำคัญมาก
แต่ข้อความนี้ ผมไม่เห็นด้วย
อย่าปล่อยให้ความกลัวในเรื่อง ความเสี่ยง กำหนดการลงทุนของเรา
โดยเฉพาะเริ่มต้น ด้วยเรื่องมาร์จิ้น ถ้าจะมีผมว่าก็ไม่แปลก แต่ก็ต้องเข้าใจว่าเสี่ยง ไม่ใช่ละเลย
แม้แต่ตอนนี้วอร์เรนบัฟเฟต ยังเห็นว่าการลงทุนในหุ้นเสี่ยงเลยครับ
ถ้างั้นคงไม่โยกเงินออกจากหุ้นมาลงพันธบัตรหรอก
ถ้าเมื่อไรคุณลืมเรื่องความเสี่ยง ผมแนะนำให้คุณไปกู้เงินเพิ่มมาอีก
แล้วเอามาซื้อหุ้นให้เต็มอัตราเลยครับ แล้วก็ถือหุ้นเต็มพอร์ตให้ตลอด
มีวงเงินเหลือก็ซื้อเพิ่มไปอีกให้เต็ม ผมว่าวันหนึ่งคนจากคนเคยรวย จะเป็นคนจนได้ รับรอง
และก็ ผมว่า คนที่อ่านบทความดร. ส่วนมากสนใจลงทุนในหุ้นทั้งนั้นแหละครับ คนที่ไม่สนใจลงทุน คงไม่อ่านหรอก
ผมก็ไม่รู้จะมาวิจารณ์ทำไม ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนนะดีแล้ว
ก็ขอให้เรียนรู้การลงทุนในหุ้น และก็ลืมเรื่องความเสี่ยงกันไปเลย
ส่วนเรื่องการซื้อสุ่มสี่สุ่มห้า สุ่มหก ผมว่าปีที่แล้ว หลายคนคงไม่ได้ซื้อสุ่มไปมั่ว หุ้นหลายตัวยังลง50%up แล้วมันมีตรรกะอะไรครับ ที่บอกว่าถ้าคนซื้อโดยไม่สุ่มสี่สุ่มห้า แล้วจะไม่เสี่ยง
ผมพูดเฉพาะเรื่องความเสี่ยงเรื่องเดียวนะครับ
ไม่ต้องพูดเรื่องอื่นต่อ
ในเมื่อคนส่วนมากบอกว่าคาดเดาตลาดไม่ได้ ถ้างั้นโอกาสจะไปพันจุดก็มี
โอกาสจะมา300จุดก็มี แล้วไงหละ มันเสี่ยงเปล่า
แล้วถ้าอีก2-3ปี ไอ้ที่เค้ากระตุ้นเศรษฐกิจกันอยู่ทุกวันนี้มันไม่เวิร์ค
แล้วผลออกมาเป็นตรงข้ามหละ คือผมว่าสิ่งที่ยังมองไม่เห็นมันมีอีกเยอะ
แล้วนั้นแหละครับ คือความเสี่ยง
ทำธุรกิจเองยังเสี่ยงเลยครับพี่ อย่าว่าแต่เล่นหุ้นเลย
ดร.เป็นผู้ทำประโยชน์ต่อสังคมอยู่แล้ว ยังไงผมก็ขอขอบคุณ
- newbie_12
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2912
- ผู้ติดตาม: 1
การตัดสินใจครั้งสำคัญ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 18
ความสิ่งที่ว่า เราจำกัดให้มันน้อยลงได้ ถ้าเราเลือกลงทุนในบริษัท หรือกิจการที่เราเข้าใจทะลุปรุโปร่งอย่าปล่อยให้ความกลัวในเรื่อง ความเสี่ยง กำหนดการลงทุนของเรา
ถ้าเราเข้าใจ ความเสี่ยงมันจะน้อยลง ผมว่า Dr ท่านก็เลยบอกว่าอย่าไปกลัว
.
.
อดีตอันรุ่งโรจน์ ไม่ได้การันตีอนาคตจะรุ่งเรือง
----------------------------
.
อดีตอันรุ่งโรจน์ ไม่ได้การันตีอนาคตจะรุ่งเรือง
----------------------------
-
- Verified User
- โพสต์: 2938
- ผู้ติดตาม: 0
การตัดสินใจครั้งสำคัญ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 19
ก็อยากรู้เหมือนกันนะ ว่ามองอะไรได้ทะลุปรุโปร่งมันเป็นยังไง
หรือเป็นแค่สิ่งที่คุณคิดเองว่ามันเป็น
ขนาดบริษัทตัวเองยังทะลุปรุโปร่งได้ไม่หมด ยังมีอีกหลายเรื่องมากมายที่เราไม่รู้ เช่นลูกค้าจะเป็นยังไง คู่แข่งจะเป็นไง ต่อไปราคาวัตถุดิบจะเป็นไง
ถ้าไม่ต้องคิดเรื่องความเสี่ยง วันนี้เราก็หาตลาด สร้างโรงงานเพิ่ม ลูกค้าเบี้ยวหนี้ก็ช่างมัน ผมว่ายังมีอีกหลายเรื่องที่เราไม่รู้ แต่ว่าเรานะคิดว่าเรารู้มันซะทุกอย่างแล้ว แค่นั้นเองหละ
แล้วบริษัทในตลาดที่เราไม่ได้บริหารด้วย จะทะลุได้ขนาดไหน
ผมก็อยากรู้เหมือนกัน แล้วมีสิ่งที่เราไม่รู้อีกมากขนาดไหน
ผมว่านั้นแหละความเสี่ยง ถ้าคิดจะเรียนรู้เรื่องหุ้นโดยไม่ศึกษาเรื่องความเสี่ยง
ผมว่ามันไม่ใช่strategicโดยสิ้นเชิงครับ
แต่ผมเชื่อเหมือนกันนะว่ากระแสดร.ฟีเว่อร์นี่มันมีจริง และมีคนอยากทำตามซะด้วย
หรือเป็นแค่สิ่งที่คุณคิดเองว่ามันเป็น
ขนาดบริษัทตัวเองยังทะลุปรุโปร่งได้ไม่หมด ยังมีอีกหลายเรื่องมากมายที่เราไม่รู้ เช่นลูกค้าจะเป็นยังไง คู่แข่งจะเป็นไง ต่อไปราคาวัตถุดิบจะเป็นไง
ถ้าไม่ต้องคิดเรื่องความเสี่ยง วันนี้เราก็หาตลาด สร้างโรงงานเพิ่ม ลูกค้าเบี้ยวหนี้ก็ช่างมัน ผมว่ายังมีอีกหลายเรื่องที่เราไม่รู้ แต่ว่าเรานะคิดว่าเรารู้มันซะทุกอย่างแล้ว แค่นั้นเองหละ
แล้วบริษัทในตลาดที่เราไม่ได้บริหารด้วย จะทะลุได้ขนาดไหน
ผมก็อยากรู้เหมือนกัน แล้วมีสิ่งที่เราไม่รู้อีกมากขนาดไหน
ผมว่านั้นแหละความเสี่ยง ถ้าคิดจะเรียนรู้เรื่องหุ้นโดยไม่ศึกษาเรื่องความเสี่ยง
ผมว่ามันไม่ใช่strategicโดยสิ้นเชิงครับ
แต่ผมเชื่อเหมือนกันนะว่ากระแสดร.ฟีเว่อร์นี่มันมีจริง และมีคนอยากทำตามซะด้วย
- dome@perth
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4741
- ผู้ติดตาม: 1
การตัดสินใจครั้งสำคัญ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 21
vอยากให้อาจารย์เขียนบทความ
" การบริหารความเสี่ยง กับ การบริหารความกลัว"
" Risk Versus Fear Management"
" การบริหารความเสี่ยง กับ การบริหารความกลัว"
" Risk Versus Fear Management"
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
- กล้วยไม้ขาว
- Verified User
- โพสต์: 1074
- ผู้ติดตาม: 1
การตัดสินใจครั้งสำคัญ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 22
ประโยคนี้จะคิดแบบพี่ nanchan ก็ไม่ผิดและผมเห็นด้วยที่ออกมาเตือนครับอย่าปล่อยให้ความกลัวในเรื่อง ความเสี่ยง กำหนดการลงทุนของเรา
เข้าใจว่าพี่หวังดีกับสหายในเว็บที่อาจยังไม่มีุภาวะำพอที่จะแยกแยะ และจะทำให้เขาเดือดร้อนได้ถ้าตีความผิดไป
และคิดแบบพี่เพื่อนก็ถูกเำพราะผมเองอ่านก็เข้าใจแบบนั้นครับ
สรุปว่าท่าน ดร.คงต้องการจะสื่อว่า
อย่าปล่อยให้ความกลัวในเรื่อง ความเสี่ยง มาปิดกั้นการเรียนรู้มนเรื่องการลงทุนของเรา