เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
อะไรดีละ
Verified User
โพสต์: 680
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 1

โพสต์

เพื่อนๆ รู้จัก "เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก" ไหม
ที่ใช้เคล็ดยืมพลัง  แทนที่จะใช้  นโยบายการเงิน  การคลังโดยตรง
ช่วยวิจารณ์หน่อยครับ
อะไรดีละ
Verified User
โพสต์: 680
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 2

โพสต์

วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ชื่อนี้คงคุ้นตาคนไทยดี แต่หลายคนคงไม่เคยรู้ว่า ชื่อนี้มีที่มาจากที่ใด คงคิดแค่ว่า "แฮมเบอร์เกอร์" เป็นอาหารยอดนิยมของอเมริกาเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว ผมเป็นผู้ตั้งชื่อให้วิกฤติครั้งนี้เอง เมื่อ 4 ปีก่อน ซึ่งก่อนเกิดวิกฤติจริงนานกว่า 2 ปี โดยเชื่อว่า ฟองสบู่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ และตลาดหุ้น จะแตกตัวลง เหมือนกับขนมปัง 2 ก้อน ที่ประกบให้เศรษฐกิจอเมริกาและคนอเมริกัน แบนแต๋อยู่ตรงกลาง และประสบกับปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง ซึ่งก็หนักหนาสาหัสตามคาดจริงๆ

เอาละครับ ปัญหาไม่อยู่ที่ว่า ใครเป็นคนตั้งชื่อวิกฤติ สิ่งที่พวกเราต้องการรู้ ก็คือ กรอบแนวคิดหรือทฤษฎีใหม่ ซึ่งอาจใช้พิชิตวิกฤติครั้งนี้ได้โดยไม่เป็นภาระการคลังต่างหาก ผมจบการศึกษาจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งพบกับความล้มเหลวกับการใช้นโยบายของเคนส์ มา 15 ปี นอกจากนี้ ผมได้คาดการณ์วิกฤติครั้งนี้ล่วงหน้ากว่านักเศรษฐศาสตร์หลายคน ทำให้หาวิธีแก้ไขได้เร็วกว่า แต่นั่นอาจไม่ใช่ประเด็นสำคัญ เพราะจุดสำคัญ ก็คือ หลัก "กาลามสูตร" ต่างหาก การไม่เชื่อสิ่งที่อยู่ในตำรา และเชื่อๆ กันมาแต่เดิม จะทำให้เราพบกับความรู้ใหม่

แต่เดิมนั้น สมการ GDP ก็คือ Y = C+I+(X-M) เท่านั้น จนเมื่อ ลอร์ด เคนส์ มาพบว่าที่จริงแล้ว รัฐบาลควรจะกู้ยืมมาใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเป็นตัวจุดสตาร์ทให้กับระบบเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดการจ้างงานมากขึ้นได้ เขาเพียงเติม G-T เข้าไป โดยการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐ และลดภาษีลง เพียงเท่านี้ก็สามารถช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้แล้ว และทฤษฎีนี้ก็ถูกกล่าวขวัญกันมานานถึงเกือบ 80 ปี

Y = C+I+(X-M) + (G-T) ปัจจุบันเราจึงมีนโยบาย 3 ด้าน คือ

1. นโยบายการเงิน เพื่อดูแล C และ I ช่วยเพิ่มการใช้จ่ายและลงทุนของภาคเอกชน

2. นโยบายอัตราแลกเปลี่ยน ดูแล X-M เพื่อช่วยเพิ่มการส่งออก และชะลอการนำเข้า

3. นโยบายการคลัง ดูแล G-T ด้วยการใช้จ่ายภาครัฐ และลดภาษีลงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

นี่จึงเป็นที่มาของนโยบาย 3 อ่อน "ดอกเบี้ยอ่อน บาทอ่อน และการคลังอ่อน" ซึ่งใช้ต้านวิกฤติเศรษฐกิจกันมาช้านาน

หากเชื่อตามสมการเช่นนี้จริง เมื่ออัตราดอกเบี้ยก็ต่ำมาก แต่ภาคเอกชนก็ยังไม่ฟื้น เราก็จะเหมือนนักเศรษฐศาสตร์เกือบทั้งโลก ที่เชื่อว่า "เราจำเป็น" ต้องใช้นโยบายการคลัง เพื่อช่วยฟื้นเศรษฐกิจครั้งนี้ และในเมื่อเรามีเงินไม่พอ "เราจำเป็นต้องกู้" นี่คือ แนวทางที่ประเทศอเมริกา และเกือบทั้งโลก พยายามใช้กันอยู่ แต่ก็พยายามหาทางออกจากภาระหนี้สาธารณะสูงเกินไปด้วยเช่นกัน แต่ความเป็นจริง ก็คือ ทางออกนั้นไม่มี มีแต่ทางลงเหวเท่านั้น โดยญี่ปุ่นมีหนี้สาธารณะต่อ GDP สูงถึง 200% และอเมริกาสูงถึง 80% และสูงเกิน 100% ในเร็ววันนี้ ไทยเราควรเดินตามเส้นทางนี้หรือ เพราะภาระการใช้จ่ายด้านการประกันสุขภาพเพราะคนแก่มากขึ้น และดอกเบี้ยพันธบัตรที่สูงขึ้นตามยอดหนี้ ขณะที่เศรษฐกิจเติบโตช้าลง

วิธีง่ายที่สุดในการค้นพบความรู้ใหม่ ก็คือ การ "ไม่เชื่อ" ในความรู้เดิมครับ ผมจึงคิดเปลี่ยนสมการ GDP เพื่อประโยชน์ในการกำหนดนโยบายอีก 4 ด้านขึ้นมาที่ไม่เป็นภาระการคลัง แถมรัฐบาลยังอาจได้เงินพิเศษเพิ่มด้วย ผมเรียกว่า "นโยบายประชาชมชอบ" เพราะประชาชนชอบใจ และรัฐบาลไม่เสียเงิน ซึ่งเหนือชั้นกว่า "ประชานิยม" อยู่หนึ่งขั้น โดยสามารถสร้างนโยบายถึง 18 กระบวนท่า จากทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ไทเก๊กนี้ มาดูกันเลยดีกว่า

Y = C+I+ (X-M) + (G-T) + (PB-PC)+ xA+ yR+ zL

โดย PB คือ ผลประโยชน์จากกองทุนบำนาญ PC การจ่ายเงินสมทบกองทุนบำนาญ

x,y,z คือ สัมประสิทธิ์ที่เป็นบวก A คือ มูลค่าทรัพย์สินที่เปลี่ยนแปลง R คือ คนต่างด้าวที่มาพำนักอาศัยในไทย และ L คือ ยอดสินเชื่อที่เปลี่ยนแปลง

มันเป็นเรื่องที่เรารู้ๆ กันอยู่แล้วว่า หากเราสมทบกองทุนบำนาญน้อยลง ดึงเงินจากกองทุนออกมามากขึ้น นำมาใช้จ่ายเศรษฐกิจก็จะหมุนได้หลายรอบ และหากราคาทรัพย์สินสูงขึ้นทั้งหุ้นและอสังหาริมทรัพย์ก็จะทำให้เศรษฐกิจโตขึ้นด้วย รู้ๆ กันอยู่แล้ว ว่า หากมีคนต่างด้าวมาพำนักในไทยมากขึ้น ก็จะสร้างดีมานด์ในประเทศให้สูงขึ้นไป รู้ๆ กันอยู่ว่า หากมีการปล่อยสินเชื่อเพิ่ม เศรษฐกิจก็จะเดินหน้าเติบโต เรื่องเหล่านี้เรารู้ๆ กันอยู่แล้ว เหมือนกับที่เคนส์รู้ๆ ว่า การใช้จ่ายภาครัฐจะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ ผมก็เพียงใส่ตัวแปรเหล่านี้เข้าไป เพื่อช่วยเห็นได้ชัดๆ ว่า จริงๆ แล้ว ยังมีนโยบายอีกถึง 4 ด้าน ที่สามารถช่วยรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ โดยไม่ต้องใช้แต่งบประมาณอย่างเดียว แต่ใช้เคล็ด "ยืมพลัง" เหมือนไทเก๊กที่ยืมพลังจากศัตรู เพื่อสู้กับศัตรูตัวจริง คือ "วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์" ต่างหาก

สำหรับ "แรงงานต่างด้าว" "คนชรา" คือ ศัตรูของรัฐบาล เป็นภาระมาแย่งงาน เป็นภาระในการดูแลสุขภาพ เราจะยืมพลังพวกเขามาช่วย ส่วน "กองทุนบำนาญ" แทบไม่เคยมีใครชี้ว่า แท้ที่จริงแล้วนี่ก็คือ ศัตรูของรัฐบาลเช่นกัน เพราะรัฐบาลต้องใส่เงินสมทบใน กบข. สปส. (ประกันสังคม) กสล. (กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ) และยังต้องหักลดหย่อนภาษีให้อีกในกรณีของ RMF, LTF และประกันชีวิต ไม่เพียงเท่านั้น รัฐยังต้องจ่ายดอกเบี้ยพันธบัตรให้กับกองทุนเหล่านี้ทุกๆ ปี ปีละหลายหมื่นล้านบาท กองทุนบำนาญดูดดีมานด์จากภาครัฐและเอกชนไปกองเงินไว้เฉยๆ ปีละ 3 แสนล้านบาท เราจะ "ยืมพลัง" เขามาเช่นกัน

เอาละครับ ไทเก๊ก 18 กระบวนท่า มีอะไรบ้าง เริ่มสนใจแล้วใช่ไหมครับ... ผมเชื่อว่าหากทำตามนี้ รัฐบาลจะเลิกพูดว่า "เราจำเป็นต้องกู้" โปรดหยุดสร้างหนี้ให้ลูกหลานได้แล้วครับ เพราะด้วยวิธีง่ายๆ เช่นนี้ GDP น่าจะเติบโตได้ระดับสูงกว่า 5-6% ต่อปีได้ในปีหน้า รากหญ้าและชนชั้นกลางจะมีเงินหมุนได้มากขึ้น 8-9 แสนล้านบาท รายละเอียดของ 18 กระบวนท่า "เศรษฐศาสตร์ไทเก๊ก" นั้น ไว้ติดตามกันในตอนต่อไปนะครับ


--------------------------------------------------------------------------------

แนวคิดพิชิตวิกฤติเศรษฐกิจโดยรัฐไม่ต้องกู้ (จบ)

ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ไทเก๊ก : ประวิทย์ เรืองศิริกูลชัย กรุงเทพธุรกิจ วันพฤหัสบดีที่ 06 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ต่อจากตอนที่แล้ว "เศรษฐศาสตร์ไทเก๊ก" เป็นหลักการยืมพลัง นอกเหนือจากพลังของงบประมาณ เพื่อให้นโยบายอีก 4 ด้าน คือ นโยบายบำนาญ นโยบายราคาสินทรัพย์ นโยบายคนต่างด้าว และนโยบายสินเชื่อ มากระตุ้นเศรษฐกิจ โดยไม่เป็นภาระการคลัง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

1. ลดเงินสมทบ : เสนอให้ลดเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมลงครึ่งหนึ่ง และ กบข. กสล. ยกเลิกการเก็บไปเลยทั้งรัฐ ข้าราชการ บริษัทและพนักงาน เป็นเวลา 1 ปี เราจะได้ดีมานด์กลับมาราว 1 แสนล้านบาท และรัฐบาลก็เหลือเงินมากขึ้น

2. ลดวงเงินหักลดหย่อนภาษี : สำหรับ กบข. กสล. LTF RMF ให้เหลือทุกอย่าง 1 แสนบาท เท่ากับประกันชีวิต เศรษฐกิจแบบนี้รัฐบาลไม่จำเป็นต้องอุ้มคนรวย เมื่อไม่มีผลประโยชน์ทางภาษี คนรวยๆ ก็จะออมน้อยลง และนำมาใช้จ่ายหมุนเงินมากขึ้น เงินที่เพิ่มนี้คาดว่าจะได้อีกราว 3 หมื่นล้านบาท และรัฐบาลยังเก็บภาษีได้มากขึ้นด้วย

3. "สินเชื่อ 99" : นี่คือท่าไม้ตายเลยนะ คือ รัฐยอมให้ข้าราชการและผู้ประกันตน รวมถึงสมาชิก กสล. สามารถยืมเงินออมของตนเองได้ไม่เกิน 9 ส่วน ในอัตราดอกเบี้ย 9% ต่อปี (แบงก์รัฐเก็บ 6% รัฐบาลเก็บค่าธรรมเนียม 3%) จัดตั้งในเดือน 9 ปี 2009 นี้เลย โดย กบข. สปส. และ บลจ. ที่ดูแลเงินเป็นผู้ค้ำประกัน เงินจะถึงมือประชาชนกลุ่มนี้ภายใน 99 วัน คาดว่ายอดเงินสูงถึง 9 แสนล้านบาท (เงินก้อนนี้ใหญ่กว่ากองทุนหมู่บ้านของรัฐบาลทักษิณ 11 เท่าตัว ใหญ่กว่าเช็คช่วยชาติถึง 45 เท่าตัว) เงินนี้ส่วนใหญ่จะถูกนำไปรีไฟแนนซ์หนี้นอกระบบ และสินเชื่อบุคคล ทำให้ประชาชนเหลือเงินเพิ่มขึ้นอีกหลายร้อยหลายพันบาทต่อเดือน ขณะที่รัฐบาลได้เงินค่าธรรมเนียมราว 2.7 หมื่นล้านบาทฟรีๆ

4. เพิ่มสวัสดิการสังคมผ่าน สปส. : ขยายการสงเคราะห์บุตรจาก 6 ปี เป็น 12 ปี และให้ "เบี้ยแทนคุณ" แก่บิดามารดาผู้ประกันตนหัวละ 500 บาท ต่างหากจากเบี้ยยังชีพคนชราของรัฐ โดยดึงเงินจากกองทุนประกันสังคมออกมา เงินตรงนี้จะเพิ่มกำลังซื้อได้อีกราว 2 หมื่นล้านบาท โดยรัฐบาลไม่รับภาระเลย

5. กำหนดให้กองทุนบำนาญ ลงทุนในหุ้นเป็นสัดส่วนสูงขึ้นจากราว 7% ณ ปัจจุบัน เป็นสูงกว่า 10% ณ ปลายปีนี้ 15% ณ ปลายปี 2553 และ 20% ณ ปลายปี 2554 เพราะประเทศอื่นๆ ทั่วโลกลงทุนในหุ้นสูงถึง 50% การกำหนดเช่นนี้ จะมีเงินเข้าตลาดหุ้นถึงกว่า 3 แสนล้านบาท อย่างค่อยเป็นค่อยไป

6. ปลดล็อกให้คนต่างด้าวลงทุนได้เต็มที่ ไม่มีกำหนดสัดส่วน ยกเว้นเฉพาะรัฐวิสาหกิจ

7. จัดตั้งกองทุนหุ้นขนาดกลางและเล็ก ที่มีมูลค่าต่ำเกินไป จะยกระดับ P/E ที่เหมาะสม และเพิ่มมูลค่าโดยรวมให้กับตลาดหุ้นได้

8. ส่งเสริมการแปรรูปรัฐวิสาหกิจในเวลาที่เหมาะสม (ตอนตลาดร้อนแรง) เพื่อขยายขนาดตลาดทุน

9. ผลักดันให้ดัชนีตลาดหุ้นไทย เข้าไปอยู่ใน world index

10. กำหนดให้กองทุนบำนาญต้องลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ตั้งแต่ 5% ของขนาดกองทุน

11. ยกเว้นภาษีอสังหาฯ ทุกรูปแบบ ทั้งค่าธรรมเนียมการโอน ธุรกิจเฉพาะ ซึ่งก็ทำอยู่แล้ว

12. ลดข้อจำกัดคนต่างด้าว อาทิเช่น ให้ถือครองคอนโด 100% ให้สิทธิการเช่า 99 ปี เป็นต้น

13. สนับสนุนการจัดตั้งกองทุนรวมสินค้าเกษตรไทย โดยหักลดหย่อนภาษีคล้ายกรณี LTF จะมีเงินเข้าช่วยซื้อสินค้าเกษตรเป็นสต็อกนับหลายหมื่นล้าน

14. กำหนดให้กองทุนบำนาญต้องลงทุนในกองทุนรวมสินค้าเกษตร หรือสัญญาซื้อสินค้าเกษตรล่วงหน้าในตลาด AFET รวมๆ แล้ว 5% ขึ้นไปของยอดกองทุน เท่านี้รัฐก็ไม่ต้องรับภาระขาดทุนจากการประกันราคา หรือการรับจำนำอีก

15. ดึงดูดผู้เกษียณอายุจากประเทศพัฒนาแล้ว โดยลดข้อจำกัดการให้วีซ่าระยะยาวลงมา คาดว่าจะได้ประชากรกลุ่มนี้เพิ่มราว 1 ล้านคน จากกลุ่มเป้าหมาย 200 ล้านคน เพราะค่าครองชีพไทยต่ำกว่าประเทศพัฒนาแล้วถึง 5 เท่าตัว นี่เป็นวิธีการเพิ่ม GDP ให้ไทย 1 ล้านล้านบาท จะมีการจ้างงานเพิ่ม 3.5 ล้านคน นอกจากนี้ อาจเสนอให้ประเทศเหล่านั้น จ่ายเงินค่าดูแลสุขภาพด้วย อาทิเช่น ญี่ปุ่นปกติจ่ายเงินเพื่อดูแลคนแก่ถึงหัวละ 3.5 แสนบาท รัฐบาลไทยขอแค่ 1 แสนบาทก็พอ เอาไปให้ รพ.เอกชน 5 หมื่นบาทดูแลสุขภาพอย่างดี ที่เหลือนำเข้ารัฐได้เงินอีกหลายหมื่นล้านบาท

16. เมื่อแรงงานไม่พอ เปิดให้แรงงานต่างด้าวเข้ามาอย่างถูกต้อง เก็บค่าวีซ่าเข้ารัฐได้อีกแล้ว และเป็นการเพิ่มดีมานด์ในประเทศอีกด้วย นอกจากนี้ อาจให้สินเชื่อกับคนกลุ่มนี้ด้วย อาจจะเพิ่มกำลังซื้อได้นับแสนล้านบาท

17. สนับสนุนสินเชื่อในลักษณะใช้สินทรัพย์ค้ำประกัน อาทิเช่น บุคคลธรรมดา ให้รถยนต์ และกองทุนบำนาญ สำหรับ SME ก็ใช้เครื่องจักรและวัตถุดิบ เป็นต้น

18. รัฐบาลออกมาค้ำประกันสินเชื่อในรูปแบบต่างๆ เพื่อลดความเสี่ยง เพิ่มยอดสินเชื่อ หรือรัฐวิสาหกิจอย่าง ร.ฟ.ท. มาค้ำประกันสินเชื่อรายย่อย โดยใช้ที่ดินค้ำ และเก็บค่าธรรมเนียมการค้ำประกัน ก็อาจทำให้ ร.ฟ.ท.มีรายได้และกำไรเพิ่มปีละหมื่นล้านบาท

ข้อ 1-4 นั้นยืมพลังจากกองทุนบำนาญ ข้อ 5-14 เป็นนโยบายเพิ่มราคาสินทรัพย์ (รวมสินค้าเกษตร)

ข้อ 15-16 เป็นยืมพลังจากคนต่างด้าว ข้อ 17-18 เป็นนโยบายสินเชื่อที่ตอนนี้ก็ทำกันอยู่แล้ว

ฝากให้นักวิชาการ และรัฐบาลนำไปพิจารณาดูนะครับ เชื่อว่าจะช่วยพิชิตวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ได้ โดยรัฐบาลไม่ต้องกู้ยืมเงินเลยก็ว่าได้ เพราะเศรษฐกิจจะฟื้นตัวอย่างเร็ว และภาษีที่เก็บได้จะเพิ่มขึ้นเอง เป็นนโยบาย "ประชาชมชอบ" ที่เหนือชั้นกว่า "ประชานิยม"

และหากรัฐบาลไทย อเมริกา และญี่ปุ่น นำไปใช้และประสบความสำเร็จในการฟื้นเศรษฐกิจและแก้ไขวิกฤติการคลังไปด้วย บางทีเราอาจเห็นสมการ GDP ใหม่ของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ไทเก๊ก ตามตำราเศรษฐศาสตร์มหภาคทั่วโลกก็ได้ นั่นหมายถึง ท่านผู้อ่านจะได้เป็นบุคคลกลุ่มแรกๆ ที่ได้เรียนรู้กับทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ใหม่ล่าสุดนี้ครับ
i_sarut
Verified User
โพสต์: 1808
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ข้อ 5 ผมเห็นด้วยนะครับแต่ในทางปฏิบัติไม่รู้จะทำได้จริงมั๊ยครับ  

ข้ออื่นๆขอคิดก่อนนะครับ  :lol:

มีคำถามครับ  :8)

ข้อ 2 ผมมองว่ามันไม่เชิงเป็นการอุ้มคนรวยนะครับ

แต่เป็นการจูงใจให้มาลงทุนกันมากขึ้น เพื่อพัฒนาตลาดทุน และเพิ่มการบริโภคครับ

และการลดหย่อนภาษี ถือว่าเป็นการเพิ่ม C ไปในตัวไม่ใช่หรือครับ ยิ่งลด T มาก รายได้ต่อหัว (Disposable income) ก็เพิ่มมาก และนำไปสู่ C , I ที่จะเพิ่มตามมาไม่ใช่หรือครับ

C ที่เพิ่มจากการลด T ให้คนชั้นกลาง - รวย ที่ลงทุนใน LTF , RMF ก็น่าจะสูงนะครับ

ผมเห็นว่าหากไม่ได้ลดหย่อนภาษีสูงๆ คนรวยอาจจะเลือกออมไว้เฉยๆกับธนาคารก็ได้นี่ครับเพราะไม่จำเป็นต้องมาเสี่ยงกับตลาดทุน

ตลาดทุนก็จะไม่เกิดการพัฒนาครับ และการบริโภคก็อาจจะไม่เพิ่มครับ

ข้อ 3 ครับ ข้ออ้างอิงบทความนี้นะครับ

http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Har ... fault.aspx
นางวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ นายกสมาคมนักวางแผนการเงินไทย บอกว่า ขณะนี้การออมเพื่อวัยเกษียณของไทยเริ่มเข้าสู่ภาวะวิกฤติแล้ว โดยมีเงินออมเพื่อวัยชราอยู่ที่ 864,340 ล้านบาท จากผู้ออมทั้งหมด 10.5 ล้านคน ทำให้เฉลี่ยแล้วจะมีเงินออมคนละประมาณ 8 หมื่นบาทเท่านั้น ดังนั้น คนไทยทุกคนควรจะคำนึงถึงการออมเพื่อวัยเกษียณได้แล้ว เพื่อไม่ให้เกิดความลำบากในอนาคต
ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ กรรมการผู้อำนวยการ บลจ.ไทยพาณิชย์ บอกว่า ปัจจุบันคนไทยยังออมเงินไม่มากพอ ซึ่งจะกลายเป็นปัญหาในอนาคตได้ เนื่องจากขณะนี้ไทยมีประชากรวัยทำงานลดลง แต่มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ทำให้กองทุนประกันสังคมมีรายรับลดลงและมีรายจ่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งถือว่าน่าเป็นห่วง เพราะเคยทำการศึกษา พบว่า เงินกองทุนประกันสังคมของไทยจะหมดลงภายใน 30 40 ปีข้างหน้า
จากบทความการนำเงินออมเพื่อการเกษียณออกมาใช้ จะมีปัญหาเงินกองทุนไม่พอจ่ายในอนาคตมั๊ยครับ

และหากเกิดปัญหาว่า ประชาชนบางส่วนกู้มาแล้วไม่ได้นำไปรีไฟแนนซ์หนี้นอกระบบ แต่นำไปใช้จ่ายส่วนตัวแทน ระยะยาวจะส่งผลเสียมากกว่ารึเปล่าครับ เพราะหนี้ไม่ลดแต่เงินออมลดลง

ซึ่งผมคิดว่าประเด็นนี้สำคัญตรง พฤติกรรมการใช้จ่ายของประชาชนครับ ว่าเป็นอย่างไร
"Risk comes from not knowing what you're doing" - Warren Buffet

สุดยอดของความซับซ้อนคือความเรียบง่าย

http://www.sarut-homesite.net/
อะไรดีละ
Verified User
โพสต์: 680
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ข้อ 2 สำหรับ LTF,RMF นั้น  เป็นการอุ้มคนรวยครับ  
เพราะว่า  รัฐต้องเสียภาษีที่ควรจะได้รับไป  กรณีซื้อทั้ง 2 กองทุน  อย่างละ 5 แสนบาท  สำหรับคนอัตราภาษี 37% นั้น  รัฐต้องเสียเงินภาษีไปฟรีๆถึง  3.7 แสนบาททีเดียว

จะไม่มีการเพิ่ม C ครับ  เพราะ คนรวยจะนำเงินที่ควรจะใช้จ่ายไปเก็บออมไว้แทน  แม้จะประหยัดภาษีได้ 3.7 แสนบาท  แต่ต้องออมเงินผ่านกองทุนถึง 1 ล้านบาทเชียวนะครับ    ดังนั้นแทนที่ C จะเพิ่ม  น่าจะลดลงมากกว่า

ส่วนการเพิ่มดีมานด์ตลาดหุ้น..อันนี้ก็จริง  แต่จะไปเอื้อคนรวยทำไม  อยู่ดีๆ ให้แต้มต่อตั้ง 37%  ตลาดหุ้นลงมา 20% พวกเขายังได้กำไรเลย  (เพราะประหยัดภาษีไปเยอะกว่านั้น)   สู้การกำหนดข้อ 5. ให้กองทุน สปส. และ กบข. ลงทุนในหุ้นมากขึ้น  จะเป็นประโยชน์กับคนกว่า 11 ล้านคนน่าจะดีกว่า และ เพิ่มดีมานด์ในหุ้นได้มากกว่าเสียอีกครับ

สำหรับการยอมให้เงินบำนาญเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ได้นั้น  ตัวอย่งเช่น สาวรง.ติดหนี้นอกระบบ 4 หมื่นเงินเดือน 8 พันบาท จ่าย ดบ.อย่างเดียว 4 พันบาทแล้ว (10% ต่อเดือน)  จ่าย สปส.400  จ่าย ดังนั้นเหลือสุทธิแค่ 3.6 พันบาท น่าสงสารมากๆ  กินแต่มาม่าได้แค่ 2 มื้อต่อวัน
แต่ถ้าเงินออมตนเอง 4 หมื่นมารีไฟแนนซ์   จะเริ่มเก็บออมได้เดือนละ 2 พันบาท จ่าย สปส.400  จ่าย ดบ.สินเชื่อ99 ที่ 300 บาท  ดังนั้นเหลือเงินถึง 5.3  พันบาท คือใช้จ่ายได้เพิ่มขึ้นเกือบ 50%  ส่วนเงินออมก็สะสมไว้  ปลายปีก็นำไปคืนหนี้  หากมีโบนัสด้วย  ก็เชื่อได้ว่าภายใน 2 ปีก็น่าจะปลดหนี้กับ "ออมสิน"  "กรุงไทย" ผ่านสินเชื่อ99  ได้หมดแล้ว  ลืมตาอ้าปากได้  อนาคตก็เก็บออมเพื่อเป็นสินทรัพย์ของตนเองต่อไปได้  

เมื่อเทียบกับตอนนี้  ติดหนี้นอกระบบ  จ่ายได้แต่ ดบ.อย่างเดียว  เงินต้นไม่มีลด  ทำงานมาเพื่อจ่าย ดบ.  ถ้ารีไฟแนนซ์ได้จะแตกต่างราว "นรกกับสวรรค์"  เลยนะครับ  เห็นภาพไหม
:)
อะไรดีละ
Verified User
โพสต์: 680
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 5

โพสต์

จะเห็นว่าแนวคิด กอช. นั้น...เป็นการเพิ่ม PC เข้าไป
คือ Pension Contributions  เมื่อจ่ายเงินสมทบเข้าไปมากขึ้น  ก็จะเป็นตัวลด GDP ลงนั่นเอง...ผมจึงคัดค้านไงครับ  
:)
i_sarut
Verified User
โพสต์: 1808
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 6

โพสต์

[quote="อะไรดีละ"]จะไม่มีการเพิ่ม C ครับ
"Risk comes from not knowing what you're doing" - Warren Buffet

สุดยอดของความซับซ้อนคือความเรียบง่าย

http://www.sarut-homesite.net/
อะไรดีละ
Verified User
โพสต์: 680
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 7

โพสต์

RMF,LTF เงินจะไหลเข้าลดลงครับ
คนรวยกลุ่มนี้มีรายได้สูง... แต่บางทีก็ไม่เหลือเงินมากเท่าไหร่  ต้องออมเงินปีละ 1 ล้านบาท  แม้ได้คืนมาราว 30%  แต่ก็ยังต้องใส่เงินเข้าอีก 7 แสนหลายคนก็จำเป็นต้องลด C ลงครับ  

ยอดเงิน LTF ลดลงราวปีละ 3 หมื่นล้าน  แต่ข้อ 5 จะเพิ่มได้ราวปีละ 1 แสนล้านครับ  ขนาดใหญ่กว่ามาก

ข้อ 3 ก็คือว่า  ตอนนี้คนติดหนี้อยู่ครับ  เรามาช่วยผู้ประกันตนที่ลำบากก่อน ส่วนคนมีกำลังจะออมได้  ก็ออมกันต่อไป  ไม่ต้องยืมเงินครับ  
คนจน...ไม่ได้เลว  ไม่ได้โง่  ต้องการแค่โอกาส

วิธีนี้ ดร.ยูนุส ใช้เวลาถึง 30 ปีจึงช่วยคนได้ 7 ล้านครอบครัว  ผ่านกรามีนแบงก์   แต่ไทยเราจะใช้เวลาราว 30 วันเท่านั้น  เพื่อช่วยคนจนได้ 7 ล้านครอบครัวเช่นกัน  
:)
อะไรดีละ
Verified User
โพสต์: 680
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 8

โพสต์

เมื่อเราให้โอกาสพวกเขาไปแล้ว
หากยังเบี้ยวไม่จ่าย ดบ.3 เดือนติดต่อกัน  ก็ยึดเงินบำนาญ มาหักลบกลบหนี้ได้เลย   ความเสี่ยงที่ตกกับรัฐ และ แบงก์รัฐ จึงไม่มี
นอกจากนั้น...ก็ออกกฎห้ามยืมเงินบำนาญได้อีก  เก็บเงินเข้ากองทุนบำนาญอย่างเดียวจนเกษียณ  ได้เงินก้อนไปครับ
i_sarut
Verified User
โพสต์: 1808
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 9

โพสต์

[quote="อะไรดีละ"]RMF,LTF เงินจะไหลเข้าลดลงครับ
คนรวยกลุ่มนี้มีรายได้สูง... แต่บางทีก็ไม่เหลือเงินมากเท่าไหร่
"Risk comes from not knowing what you're doing" - Warren Buffet

สุดยอดของความซับซ้อนคือความเรียบง่าย

http://www.sarut-homesite.net/
อะไรดีละ
Verified User
โพสต์: 680
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ก็ถูกต้องนะครับ....
แต่คนที่จะเกษียณราว 24 ล้านคน นอกระบบ ไม่มีอะไรรองรับเหมือนกัน
ไม่ต้องกังวลหรอก  คนแก่ไทยเก่งมากๆ  ในเรื่องการใช้เงินน้อยลง  แต่ให้มีความสุขมากขึ้น  ก็บอกแล้วว่าพุทธศาสนิกชนที่ดีแทบไม่ต้องใช้เงิน

ให้ลูกหลานเลี้ยงดูบ้าง  ก็ดีแล้วไง  เป็นการสร้างสายสัมพันธ์  แสดงความกตัญญูเสียบ้างไงครับ   ตอนนี้ผู้ประกันตนจำนวนมากก็ช่วยเหลือพ่อแม่ แบ่งเงินให้ใช้บ้างกันอยู่แล้ว

เงินที่รัฐต้องจ่าย...ก็คือเหมือนเดิม  เบี้ยยังชีพคนชรา...ให้เพื่ออยู่รอด  มุ่งทางธรรม...หาทางหลุดพ้น  ก่อนจากโลกนี้ไปครับ
อะไรดีละ
Verified User
โพสต์: 680
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 11

โพสต์

จะมากังวลกับเรื่องในอนาคตอีก 20-30 ปีข้างหน้าไปทำไม ??

ในระยะยาวแล้ว  พวกเราทุกคนจะตายหมด.....

ก็บอกแล้วว่า ปัจจุบันสำคัญกว่าอนาคต  ช่วยพวกเขาตอนนี้  เดี๋ยวอนาคตคนส่วนใหญ่ในปท. ก็จะเลิกจนกันไปเองละครับ
อะไรดีละ
Verified User
โพสต์: 680
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ลองไปอ่านตัวอย่างที่ผมยกให้ดูอีกหน
ว่าการรีไฟแนนซ์  จะช่วยผู้ประกันตนรายได้น้อย...ด้วยวิธีใด
พวกเขาจะเก็บเงินออมได้  จะใช้จ่ายได้เพิ่มขึ้น 50%  ประหยัดดบ.จ่ายไปได้หลายพันบาทต่อเดือน
แค่ 2 ปีก็ปลดหนี้ได้หมดแล้ว....
แต่ถ้าปล่อยให้ระบบเป็นแบบนี้ต่อไป  มือข้างหนึ่ง "ออมกับกองทุน" อีกข้างหนึ่ง ต้องไปกู้หนี้นอกระบบ หรือ หนี้สินดบ.โหดๆ  
ส่วนต่าง ดบ.ที่เกิดขึ้นจะทำให้พวกเขาจะจนลงๆ  ทุกวันนะครับ....
:)
i_sarut
Verified User
โพสต์: 1808
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 13

โพสต์

อะไรดีละ เขียน:ก็ถูกต้องนะครับ....
แต่คนที่จะเกษียณราว 24 ล้านคน นอกระบบ ไม่มีอะไรรองรับเหมือนกัน
ก็กำลังจะมี กอช . นี่ครับ  :P

งั้นขอถามต่อว่าข้อเสียของ ไท้เก๊ก นี่มีอะไรบ้างครับ  :?:
"Risk comes from not knowing what you're doing" - Warren Buffet

สุดยอดของความซับซ้อนคือความเรียบง่าย

http://www.sarut-homesite.net/
อะไรดีละ
Verified User
โพสต์: 680
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 14

โพสต์

อย่างที่บอก  กอช. คือ "กับดัก" ครับ
ไม่มีของฟรีในโลก  นั่นคือ  การออมเพื่ออนาคต หมายถึง ใช้จ่ายน้อยลงตอนนี้เลย  

ส่วนการให้เอาเงิน สปส. มาค้ำประกันได้นั้น เพราะ ผมมองตามความเป็นจริงว่า ผู้ประกันตนส่วนใหญ่ติดหนี้อยู่แล้ว  
การออมไว้ได้ 5% ต่อปี  อีกด้านต้องจ่าย ดบ.25% ขึ้นไปต่อปี  มันเป็นการทำ anti-arbitrage ตัวเอง  มีแต่จนลง

ข้อเสียของ เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก  คือ ผู้คนเสี่ยงต่อการรับบำนาญลดลง และ นายทุนเงินกู้ทั้งในและนอกระบบที่อาจปล่อยกู้ได้ลดลงครับ
i_sarut
Verified User
โพสต์: 1808
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 15

โพสต์

ครับ
"Risk comes from not knowing what you're doing" - Warren Buffet

สุดยอดของความซับซ้อนคือความเรียบง่าย

http://www.sarut-homesite.net/
อะไรดีละ
Verified User
โพสต์: 680
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ผมขอเรียนเชิญ  อาจารย์  นักวิชาการ  ผู้มีชื่อเสียงในไทย 1 ท่าน
มารับ "รางวัลโนเบล" ร่วมกันครับ  
หากท่านสนใจและเห็นด้วยกับแนวคิด "เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก"  

1. ท่านหาทางปรับปรุงอะไรก็ได้ในทฤษฎีนี้  เท่านี้  ท่านก็ได้มีส่วนร่วมในการคิดทฤษฎีนี้แล้ว
2. จากนั้น ก็ทำการโปรโมต ทฤษฎีนี้ให้รู้จักไปทั่วประเทศไทย และ ยังต่างประเทศด้วย  มันเป็น exit strategy ชั้นดี  ที่ทำให้ประเทศต่างๆ  หลุดจาก "กับดักสภาพคล่อง" และ "กับดักเคนส์" ไปพร้อมๆ กัน
ผมเป็นฝ่ายผลิต  ท่านเป็นฝ่ายการตลาด
3. รอรับรางวัลโนเบล  เงินรางวัลแบ่งกันคนละครึ่งนะครับ 20 ล้านบาทนะครับ  ไม่ใช่น้อยๆ    ส่วนเกียรติยศการเป็นคนไทย 2 คนแรกที่ได้รับรางวัล "โนเบล" ท่านและกระผมก็รับไปเต็มๆ   ผมให้ชื่อท่านขึ้นก่อนด้วย

หากท่านใดสนใจก็ post mail เข้ามาที่ผมได้เลยนะครับ   :)
i_sarut
Verified User
โพสต์: 1808
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 17

โพสต์

พี่อะไรดีละครับ

รบกวนอธิบายหลักการทำงานของ กองทุนรวมสินค้าเกษตรไทย หน่อยครับ

อยากรู้ว่าเป็นอย่างไร และมีประโยชน์อย่างไรต่อเกษตรกรมั่งครับ  :P
"Risk comes from not knowing what you're doing" - Warren Buffet

สุดยอดของความซับซ้อนคือความเรียบง่าย

http://www.sarut-homesite.net/
อะไรดีละ
Verified User
โพสต์: 680
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 18

โพสต์

แนวคิดใหม่สุดยอด  ทำไมไม่มีนักวิชาการคนไหนเสนอมาก่อนก็ไม่รู้ ??
คือ "การเปลี่ยนสินค้าเป็นสินทรัพย์"  ดังนั้น  ข้าว ยาง มัน  ข้าวโพด  แทนที่จะใช้เพื่อบริโภค  ก็สามารถเปลี่ยนเป็นเพื่อการลงทุนได้ด้วย
แนวคิดเหมือนกับ  กองทุนน้ำมัน  กองทุนทองคำ  แบบนั้นเลย

คนไทย 1 คนบริโภคข้าวต่อปีราว 100 กก. แต่ 1 คนเศรษฐีลงทุนได้หลายร้อย กก. ร้อยพันกก.  เป็นหลายเท่าตัวของการบริโภค  

หากกำหนดให้กองทุนบำนาญ  เข้าไปเสี่ยงกับการซื้อกองทุนพวกนี้  จะช่วยสร้างดีมานด์พิเศษให้กับสินค้าเกษตรตรงนี้นับ แสนล้านบาท  ซึ่งราคาจะดีมากๆ  ครับ  
:)
อะไรดีละ
Verified User
โพสต์: 680
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 19

โพสต์

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก   ไม่ใช่ทั้ง classic และ เคนส์  เพราะ  เป็นนโยบายที่ให้รัฐบาลเข้าแทรกแซง  แต่ไม่ใช้เงินงบประมาณ  แต่ใช้การยืมพลังจากทั้งมิตรและศัตรู  เพื่อสู้กับศัตรูตัวจริง คือวิกฤติศก.  

ถ้าเป็นสำนัก Clsssic เมื่อเกิดวิกฤติ ศก. จะติด "กับดักสภาพคล่อง" เพราะ คนจะไม่ใช้จ่าย  จะไม่ลงทุน  เมื่อรัฐบไม่แทรกแซง  ถึงแม้กด ดบ.ต่ำมาก ศก.ก็จะมีดีมานด์ไม่พอ  

ถ้าเป็นสำนักเคนส์  เมื่อเกิดวิกฤติ จะติด "กับดักเคนส์"  ประเทศจะเสพติดการขาดดุลการคลัง  จะหยุดไม่ได้  หยุดเมือไหร่ ศก.จะตก   หนี้จะท่วมประเทศครบ  

แต่สำนักเศรษฐบู๊ตึ๊งนี้  ผมเป็นเจ้าสำนักเองละมั้ง  จะปลดสลักกับดักได้ทั้ง 2 อย่างเลยครับ
นักดูดาว
Verified User
โพสต์: 2513
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 20

โพสต์

[quote="อะไรดีละ"]

หากกำหนดให้กองทุนบำนาญ
อะไรดีละ
Verified User
โพสต์: 680
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 21

โพสต์

คล้ายๆ แบบนั้นเลยครับ   แต่เราหวังกับพวกกองทุนบำนาญมากกว่า
ทั้งไทยและเทศ ..... เชิญเข้ามาซื้อลงทุนเพื่อความมั่นคงทางอาหารได้เลย
ถ้า hedge fund ช่วยเราซื้อสินค้าเกษตรก็ยิ่งเพิ่มดีมานด์
นี่เป็น  หนึ่งในทฤษฎีสองสูงของ  เจ้าสัวธนินทร์เลยนะ  
ประยุกต์นิดหน่อย  ตรงนี้รัฐบาลไม่ต้องใช้เงินเอง  แต่ยืมพลัง  กองทุนบำนาญทั้งไทยและเทศ  รวมถึง hedge fund ด้วยก็ได้  ถ้าสนใจครับ  
:)
i_sarut
Verified User
โพสต์: 1808
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 22

โพสต์

การที่สร้าง demand เทียม จะทำให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อแบบตอนราคาน้ำมันไหมครับ  :?:
"Risk comes from not knowing what you're doing" - Warren Buffet

สุดยอดของความซับซ้อนคือความเรียบง่าย

http://www.sarut-homesite.net/
อะไรดีละ
Verified User
โพสต์: 680
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 23

โพสต์

ก็เป็นไปได้  แต่คงไม่ขนาดนั้นครับ
เพราะสินค้าเกษตรตอนนี้ตกต่ำมาก  เราแค่ต้องการให้เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้น  โดยที่รัฐไม่ต้องรับภาระขาดทุนเท่านั้น
แค่สินค้าเกษตรที่เป็นแค่ GDP 10% คงไม่ผลักดัน เงินเฟ้อเท่าไหร่ครับ
i_sarut
Verified User
โพสต์: 1808
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 24

โพสต์

ครับผม
"Risk comes from not knowing what you're doing" - Warren Buffet

สุดยอดของความซับซ้อนคือความเรียบง่าย

http://www.sarut-homesite.net/
i_sarut
Verified User
โพสต์: 1808
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 25

โพสต์

แล้วเราจะควบคุมการเก็งกำไรได้หรือครับ  :?:
"Risk comes from not knowing what you're doing" - Warren Buffet

สุดยอดของความซับซ้อนคือความเรียบง่าย

http://www.sarut-homesite.net/
อะไรดีละ
Verified User
โพสต์: 680
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 26

โพสต์

พอจะได้ครับ...เช่นถ้าราคาสินค้าเกษตรสูงเกินไป
รัฐบาลก็กำหนดลดสัดส่วนการลงทุนของ กองทุนบำนาญลงได้  เช่น  จากที่ให้ลงทุนสูงกว่า 5%  ของสินทรัพย์    
แต่เกิดการเก็งกำไรราคาข้าวมากเกินไป  
รัฐก็อาจปรับลดลงมาได้  เช่น  ลงทุนได้ไม่เกิน 3% ของสินทรัพย์นะ...แบบนี้เป็นต้นครับ  
เท่านี้  รัฐบาลก็สามารถดูแลสินค้าเกษตรให้อยู่ในระดับสูง  ที่พอเหมาะพอดี จะทำให้เกษตรกรไม่ลำบาก  และ ไม่ต้องรับภาระขาดทุนด้วยครับ
:)
ภาพประจำตัวสมาชิก
กล้วยไม้ขาว
Verified User
โพสต์: 1074
ผู้ติดตาม: 1

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 27

โพสต์

น่าสนใจนะครับ

เศรษฐศาสตร์ยังเป็นเรื่องใหม่ในโลกที่พึ่งมีจึ้นมาไม่กี่สิบปีเอง
ยังคงต้องมีการพัฒนาปรับปรุงต่อไป

น่าจะหาผู้ร่วมมือที่สามารถช่วยให้แนวคิดนี้ออกเผยแพร่สู่สาธารณะชนต่างประเทศมาช่วยกันนะครับ

จะได้มีการวิพากย์วิจารย์กันอย่างกว้างขวาง

ถ้ามีคนระดับสูงในวงการมาอ่านแล้วเห็นด้วย
จะได้เป็นชื่อเสียงของคนไทยนะครับ
อะไรดีละ
Verified User
โพสต์: 680
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 28

โพสต์

ขอบคุณ  คุณกล้วยไม้ขาวมาก  สำหรับกำลังใจครับ  
:)
i_sarut
Verified User
โพสต์: 1808
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 29

โพสต์

ผมว่าถ้าลองเปลี่ยนจาก ให้คนจนกู้จากเงินออมของตัวเอง

ไปเป็นการพัฒนา โครงการสินเชื่อเพื่อคนจน หรือ microcredit  ตามแบบของ มูฮัมหมัด ยูนุส น่าจะดีกว่านะครับ

ดึงเงินจากส่วนอื่นๆที่ไม่ใช่เงินออมเพื่อการเกษียณน่ะครับ  :P
"Risk comes from not knowing what you're doing" - Warren Buffet

สุดยอดของความซับซ้อนคือความเรียบง่าย

http://www.sarut-homesite.net/
อะไรดีละ
Verified User
โพสต์: 680
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 30

โพสต์

microcredit เป็นแนวคิดที่ดีครับ
แต่ปัญหาก็คือ  จะรู้ได้อย่างไรว่าคนจนในเมืองไทย  ไม่เบี้ยว
"ธนาคารประชาชน" คือ แนวคิดแบบนี้เลย  ปล่อยกู้ผ่านทางธ.ออมสิน  เบี้ยวหนี้กันราว 20%   ขณะที่  กรามีนแบงก์  ดร.ยูนุส กล่าวว่า NPL อยู่ที่ระดับต่ำกว่า 1%  เท่านั้น  อะไรทำให้เกิดความแตกต่างได้ขนาดนี้
มันทำให้ผมสงสัยจริงๆ ว่า  คนไทยมีนิสัยที่จะขี้โกงมากกว่า คนบังคลาเทศอย่างนั้นหรือ ??
แต่เมื่อไปดูสินเชื่อ "กรุงไทยธนวัฏ" ที่มีหลักการให้ผ่อนต่อเดือนต่ำมากๆ  แค่ ดบ.จ่ายเท่านั้น  ก็พบว่ามี NPL ที่ต่ำมากๆ คือ  ต่ำกว่า 0.5% เสียอีก  เพราะ ปล่อยกู้หลักๆ แล้วให้กับข้าราชการ และ พนง.รัฐวิสาหกิจเท่านั้น  ซึ่งหากเบี้ยวหนี้จะมีผลกระทบต่อหน้าที่การงานได้เลย  

ดังนั้น  ข้อสรุปของผมก็คือ  การปล่อยกู้แบบ microcredit ในเมืองไทย  เสี่ยง เพราะ คนไทยถ้าไม่มีหลักประกันแล้ว  มีโอกาสเบี้ยวหนี้สูงเกินคาด
และอย่างที่บอก  กรามีนแบงก์  ใช้เวลาถึง 30 ปีในการสร้างเครือข่ายและเงินทุน  เพื่อช่วยเหลือคนได้ถึง 7 ล้านครอบครัว
แต่หากเราใช้ "สินเชื่อ99" ซึ่งเป็นเงินออมของแต่ละคนอยู่แล้วนั้นมาค้ำประกัน  จะสามารถช่วยคนได้ถึง 7 ล้านครอบครัวเท่าๆ กัน  แต่ใช้เวลาแค่ 30 วันเท่านั้นเอง  
นี่เป็นการลดเวลาการขยายเงินทุน และ เครือข่าย  ลงได้มากกว่า  "กรามีนแบงก์" ซึ่งได้รับรางวัลโนเลวไปได้หลายเท่าตัว  

เมื่อมีหลักประกันค้ำอยู่....เงื่อนไขการผ่อนชำระขั้นต่ำ  ก็แค่ ดบ.จ่าย คล้าย "กรุงไทยธนวัฏ"  ผมเชื่อว่า NPL จะต่ำกว่า 1% ครับ  
:)
โพสต์โพสต์