หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

sattaya
Verified User
โพสต์: 1372
ผู้ติดตาม: 1

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 1

โพสต์

    ผมตัดสินใจอยู่หลายรอบว่าจะเขียนเรื่องนี้ดีหรือไม่ เพราะถูกพี่ๆหลายท่านยุส่งให้เขียน ไอ้เราก็ความรู้แค่หางอึ่งจะไปสอนใครเขาได้ สุดท้ายก็คิดว่าลองสักครั้งจะเป็นไรไป
    ก่อนอื่นต้องบอกว่า เรื่องเกี่ยวกับงบการเงินที่ผมจะเขียนนี้สำหรับมือใหม่จริงๆ นะครับ คงไม่มีประโยชน์อะไรสำหรับท่านที่มือโปร หรือมือเทพแล้ว ท่านใดมีความเห็นเพิ่มเติมหรือจะสั่งสอนผมยินดียิ่งครับ
    สำหรับมือใหม่ เมื่อท่านโหลดงบการเงินบริษัทใดบริษัทหนึ่งมาแล้ว หลายท่านคงดูแล้วงงว่ามันมีอะไรเยอะแยะไปหมด และไม่รู้ว่าจะเริ่มจากตรงไหนผมจะเริ่มตั้งแต่ตัวงบการเงินเลยนะครับ
    ผมขอแบ่ง งบการเงิน เป็น 2 ประเภท ชนิดแรกเป็นงบปี ซึ่งต้องผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และต้องจัดทำและตรวจสอบตามมาตรฐานบัญชี อีกชนิดเป็นงบรายไตรมาส งบไตรมาสนี้ส่วนมากเป็นงบที่ผู้สอบบัญชีเพียงสอบทานความถูกต้อง ดังนั้นตามความเชื่อของผมงบปีจึงมีความน่าเชื่อถือมากกว่างบไตรมาส
    โดยทั่วไปงบการเงินจะประกอบไปด้วย
      1 รายงานผู้สอบบัญชี
      2 หมายเหตุประกอบงบการเงิน
      3 งบกำไรขาดทุน
      4 งบดุล
      5 งบกระแสเงินสด
      6 งบแสดงการเปลี่ยนแปลงของผู้ถือหุ้น
    เวลาผมอ่านงบจะอ่านเรียงรายการตามนี้
    รายงานผู้สอบบัญชีเป็นรายการแรกที่จะพูดถึง การอ่านรายงานผู้สอบเปรียบเสมือนรับฟังความเห็นจากผู้สอบบัญชีว่าในเบื้องต้นบริษัทดังกล่าวมีรายการผิดปกติอะไรหรือไม่ โดยทั่วไปประเภทความเห็นของผู้สอบบัญชีจะแบ่งเป็น 4 อย่าง
    1 ความเห็นอย่างไม่มีเงื่อนไข
    2 ความเห็นอย่างมีเงื่อนไข
    3 ความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง
    4 ไม่แสดงความเห็น
    การแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชีขึ้นอยู่กับความมีสาระสำคัญของความผิดปกติของงบการเงิน ดังนั้นงบการเงินที่แสดงอย่างไม่มีเงื่อนไข ไม่ใช่ว่าจะไม่มีอะไรผิดปกติ แต่ความผิดปกติที่ว่านั้นมีเล็กน้อย หรือไม่มีสาระสำคัญต่อความเห็นของผู้สอบบัญชี
    การแสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไข เนื่องจากอาจมีรายการที่มีสาระสำคัญบางอย่างที่ผู้สอบบัญชีไม่ได้เป็นผู้ตรวจสอบเอง หรือไม่สามารถตรวจสอบได้
    ส่วนความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง หรือไม่แสดงความเห็น เป็นความผิดปกติที่ร้ายแรงที่ผู้สอบเห็นว่ามีสาระสำคัญยิ่งกับการแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชี
สติมา ปัญญาเกิด
sattaya
Verified User
โพสต์: 1372
ผู้ติดตาม: 1

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 2

โพสต์

2 หมายเหตุประกอบงบการเงิน
    หมายเหตุประกอบงบการเงินที่แนบมากับงบปี จะบอกรายละเอียดที่มากกว่ารายไตรมาส ดังนั้นหากอ่านงบบริษัทใดในครั้งแรกๆ ควรใช้หมายเหตุ รายปี ควบคุ่กับการอ่านงบไตรมาสด้วย จะทำให้เราได้ข้อมูลมากกว่า
    อะไรบ้างที่เราจะได้จากหมายเหตุฯ
    1 ลูกหนี้ค้างชำระ เวลาคำนวณหาระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ย เราจะได้เพียงค่าเฉลี่ยโดยที่ไม่รู้ว่าความเสี่ยงที่ลูกหนี้จะเป็นหนี้สูญเป็นเท่าไร และลูกหนี้ที่แสดงในงบดุลยังถูกหักออกด้วย ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ เรียบร้อยแล้วทำให้เราอาจไม่ได้ข้อมูลที่เราอยากรู้ แต่ในหมายเหตุฯจะแสดงระยะเวลาที่ลูกหนี้ค้างชำระ รวมถึงค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่นำไปหักออกจากลูกหนี้
    2 รายได้ตามส่วนงานต่างๆ
    3 ความเสี่ยงจากสัญญาต่างๆที่บริษัทได้ทำขึ้น รวมถึงคดีความที่บริษัทมี
    4 รายละเอียดการเปลี่ยนแปลงใน ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ รายการนี้หมายเหตุฯงบปีจะบอกรายละเอียดมากกว่าหมายเหตุฯงบไตรมาส
    5 รายการส่งเสริมการลงทุน สิทธิ และวันที่หมดอายุ จะแสดงในหมายเหตุฯงบปี
สติมา ปัญญาเกิด
humdrum
Verified User
โพสต์: 1961
ผู้ติดตาม: 0

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณมากครับ ใครสอนผมผมเรียกแรบไบหมดทุกคนครับ
มารอฟังและมารอตั้งคำถามด้วยคนครับ  :wink:
ก่อนอื่นผมเรียกชื่อท่านแรบไบไม่ถูก ไม่ทราบว่าชื่อท่านเขียนไทยว่าอย่างไร
และแปลว่าอะไรครับ เวลาเรียกจะเรียกอย่างไรครับ
ziannoom
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1046
ผู้ติดตาม: 0

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 4

โพสต์

แรบไบคืออะไรแปลว่าอะไร
ซื้อเมื่อราคาต่ำกว่ามูลค่า ขายเมื่อมูลค่าต่ำกว่าราคา
sattaya
Verified User
โพสต์: 1372
ผู้ติดตาม: 1

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 5

โพสต์

สวัสดีครับพี่โหน่ง ผมตี๋ครับ

แรบไบนั้นใหญ่เกินผม มิกล้ารับครับ ความรู้ผมมีแค่หางอึ่ง เพียงอยากแบ่งปันให้พี่ๆ น้องๆ ที่เพิ่งเริ่มศึกษาเท่านั้น

ครั้งหน้าจะพูดเรื่องงบกำไรขาดทุนครับ
สติมา ปัญญาเกิด
aonzzung
Verified User
โพสต์: 611
ผู้ติดตาม: 0

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 6

โพสต์

เริ่มเลยครับ
ผมมือใหม่ขอมาปูเสื่อรอฟังด้วยครับ
winkung
Verified User
โพสต์: 1036
ผู้ติดตาม: 0

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ผมมือใหม่ พึ่งหัดวิเคราะห์งบดุลเหมือนกันครับ
ขอบคุณมากที่มาแชร์ความรู้ จะตั้งใจรออ่านต่อไปเรื่อยๆครับผม  :D
sattaya
Verified User
โพสต์: 1372
ผู้ติดตาม: 1

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ขอเพิ่มเติมในส่วนของหมายเหตุประกอบงบการเงินนิดนึงครับ

     ในหมายเหตุฯ จะบอกนโยบายทางบัญชีที่สำคัญ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางบัญชี การเปลี่ยนแปลงนโยบายทางบัญชีนี่ค่อนข้างสำคัญ เพราะเพียงการเปลี่ยนนโยบายบัญชีบางอย่าง ก็อาจทำให้บริษัทมีผลกำไรหรือขาดทุน เพิ่มขึ้นได้ ปกติแล้วบริษัทจะไม่ค่อยมีการเปลี่ยนนโยบายทางบัญชีนอกจาก ผู้บริหารจะมีความเห็นสมควร หรือมาตรฐานบัญชีมีการเปลี่ยนแปลง

3 งบกำไรขาดทุน
    งบกำไรขาดทุนจะประกอบไปด้วย ยอดขาย ต้นทุนขาย ค่าใช้จ่ายต่างๆ และกำไร-ขาดทุน
ขอถามทิ้งไว้ก่อนครับว่า เราอยากรู้อะไรจากงบกำไรขาดทุน
สติมา ปัญญาเกิด
Tungkung
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 186
ผู้ติดตาม: 0

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ขอลองตอบดูนะครับ.....ผิดถูกประการใดโปรดชี้แนะด้วยครับ :bow:
1.ดูว่าอัตรากำไรขั้นต้นป็นเท่าไร แนวโน้มเป็นอย่างไร
2.กำไรสุทธิมีการเติบโตหรือไม่
3.รายได้/ยอดขายมีการเติบโหรือไม่
4.อัตราส่วนต้นทุน/ยอดขาย
5.การควบคุมต้นทุนเป็นอย่างไร

นึกออกเท่านี้คร้าบบบ........จะปูเสื่อรอฟังเฉลยนะครับ.... :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
pongo
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1075
ผู้ติดตาม: 0

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ziannoom เขียน:แรบไบคืออะไรแปลว่าอะไร
แรบไบ คือ พระหรือนักบวชในศาสนาของชาวยิวนิครับ
sattaya
Verified User
โพสต์: 1372
ผู้ติดตาม: 1

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 11

โพสต์

3 งบกำไรขาดทุน
    งบกำไรขาดทุนจะประกอบไปด้วย รายได้ ต้นทุนขาย ค่าใช้จ่ายต่างๆ กำไร(ขาดทุน)
    รายได้ ต้นทุนขาย = กำไรขั้นต้น
    กำไรขั้นต้น + รายได้อื่นๆ ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร = กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่ายและภาษี
    กำไรก่อนหักดอกเบี้ยจ่ายและภาษี ดอกเบี้ยจ่าย ภาษีนิติบุคคล = กำไรสุทธิ
    ซึ่งกำไรสุทธิในงบกำไรขาดทุนเป็นกำไรสุทธิที่ยังไม่ได้ปรับปรุง (เราต้องปรับก่อนวิเคราะห์หรือเปรียบเทียบ)
    ในงบกำไรขาดทุนจะเป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นถึงความสามารถของผู้บริหาร โดยรายการที่ใช้วัดความสามารถของผู้บริหารไม่ใช่กำไรสุทธิ แต่เป็น กำไรขั้นต้น สาเหตุที่กำไรขั้นต้นเป็นตัววัดความสามารถของผู้บริหาร เนื่องจาก
(กำไรขั้นต้น = รายได้ปกติ ต้นทุนขาย) หากบริษัทที่สามารถสร้างรายได้ได้สูง และควบคุมต้นทุนขายได้ดี จะมีอัตรากำไรขั้นต้นที่สูงกว่าบริษัทที่สร้างรายได้และคุมต้นทุนขายได้ไม่ดีนัก ซึ่งตัวกำไรขั้นต้นที่สูงทำให้บริษัทมีโอกาสมีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานสูงตามไปด้วย
    รายได้ปกติ จะต้องเป็นรายได้หลักของบริษัท โดยจะไม่รวมรายได้ที่เป็นรายการพิเศษ หรือขาดทุนจากรายการพิเศษเข้าไปด้วย
   รายการพิเศษคืออะไร ?
รายการพิเศษมีทั่งในรูปของรายได้และค่าใช้จ่าย เป็นรายการที่เกิดขึ้นไม่บ่อย ส่วนใหญ่จะไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการตามปกติ เช่น บริษัทไม่ได้ขายอสังหาฯ เป็นหลักแต่ได้กำไรจากการขายที่ดินที่บริษัทมีอยู่ อันนี้ถือเป็นรายการพิเศษที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย ตามปกติแล้วรายการเหล่านี้จะถูกแยกไว้ให้เห็นในงบกำไรขาดทุนอยู่แล้ว

    ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร บางบริษัทจะแยกรายการดังกล่าวออกจากกัน บางแห่งจะรวมไว้ด้วยกัน  
    ภาษีเงินได้นิติบุคคล สามารใช้คำนวณหาอัตราภาษีอย่างคร่าวๆ ได้ว่าบริษัทเสียภาษีในอัตราเฉลี่ยเท่าใดโดย
              อัตราภาษีเฉลี่ย = ภาษีเงินได้นิติบุคคล/กำไรสุทธิก่อนภาษี
    เมื่อหักดอกเบี้ยจ่ายและภาษีแล้ว จะได้กำไร(ขาดทุน) สุทธิ ซึ่งจะยกไปรวมหรือหักกับกำไรสะสมในงบดุล
    ค่าเสื่อมราคาหายไปไหน ?
    เมื่อดูจากงบกำไรขาดทุนจะไม่เห็นรายการค่าเสื่อมราคา ซึ่งความจริงแล้ว ค่าเสื่อมราคาถูกปันส่วนเข้ากับ ต้นทุนขายและค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเรียบร้อยแล้ว จะหาค่าเสื่อมราคาได้จาก 1. ดูในงบกระแสเงินสดจะเป็นรายการค่าเสื่อมราคายอดรวม ในบางบริษัทจะจับค่าใช้จ่ายตัดจ่ายรวมเข้าไปด้วย 2. ดูในหมายเหตุฯ งบปี
    ค่าเสื่อมราคากับค่าเสื่อมราคาสะสม?
สติมา ปัญญาเกิด
sattaya
Verified User
โพสต์: 1372
ผู้ติดตาม: 1

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 12

โพสต์

pongo เขียน: แรบไบ คือ พระหรือนักบวชในศาสนาของชาวยิวนิครับ
ผมเข้าใจว่า(ไม่แน่ใจว่าถูกไหม) แรบไบ คล้ายกับพระไทยในสมัยก่อนที่มีศูนย์กลางการศึกษาที่วัด คือเป็นผู้ให้ความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม
สติมา ปัญญาเกิด
miracle
Verified User
โพสต์: 18364
ผู้ติดตาม: 1

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 13

โพสต์

เมื่อดูจากงบกำไรขาดทุนจะไม่เห็นรายการค่าเสื่อมราคา ซึ่งความจริงแล้ว ค่าเสื่อมราคาถูกปันส่วนเข้ากับ ต้นทุนขายและค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเรียบร้อยแล้ว จะหาค่าเสื่อมราคาได้จาก 1. ดูในงบกระแสเงินสดจะเป็นรายการค่าเสื่อมราคายอดรวม ในบางบริษัทจะจับค่าใช้จ่ายตัดจ่ายรวมเข้าไปด้วย 2. ดูในหมายเหตุฯ งบปี
   ค่าเสื่อมราคากับค่าเสื่อมราคาสะสม?
ที่ดูมีสองที่สำหรับค่าเสื่อมราคา
1. ที่แรกดูว่าปีนั้นตัดค่าเสื่อมราคาไปเท่าไร โดยไปดูที่กระแสเงินสด กิจกรรมการดำเนินการ มีรายการปรับก่อนการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงาน จุดนี้มีพวกรายการกลับบัญชีจากงบกำไรขาดทุนอยู่หลายตัวเช่น ค่าเสื่อมราคาในปีนั้น การขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน ตั้งค่าสงสัยจะสูญเป็นต้น

2. ที่สองดูว่ามียอดสะสมตั้งแต่ตั้งมาเท่าไร มันเป็นหมายเหตุประกอบงบการเงิน เฉพาะงบการเงินที่ปิดปีบัญชีเท่าันั้น ระหว่างกาลไม่มี เพราะนักทำลำบากคนทำเหนื่อย มียอดเลยว่า ปีนี้ตัดไปเท่าไร เหลือเท่าไร มีทรัพย์สินอะไรบ้างที่ยังมีต้องตัด อะไรบ้างที่ตัดหมดแล้ว มีซื้อเพิ่มเท่าไร

:)
:)
ภาพประจำตัวสมาชิก
dome@perth
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4741
ผู้ติดตาม: 1

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 14

โพสต์

เข้ามารับความรู้ ด้วยคนครับ :D
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง
"
ภาพประจำตัวสมาชิก
austin_bd
Verified User
โพสต์: 172
ผู้ติดตาม: 0

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 15

โพสต์

ปูฟูกนอนรอเลยคับ

ขอบคุณคับ สำหรับการแบ่งปันที่ดี  :D
sattaya
Verified User
โพสต์: 1372
ผู้ติดตาม: 1

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 16

โพสต์

เราอยากรู้อะไรจากงบกำไรขาดทุน
Tungkung เขียน:ขอลองตอบดูนะครับ.....ผิดถูกประการใดโปรดชี้แนะด้วยครับ :bow:
1.ดูว่าอัตรากำไรขั้นต้นป็นเท่าไร แนวโน้มเป็นอย่างไร
2.กำไรสุทธิมีการเติบโตหรือไม่
3.รายได้/ยอดขายมีการเติบโหรือไม่
4.อัตราส่วนต้นทุน/ยอดขาย
5.การควบคุมต้นทุนเป็นอย่างไร

นึกออกเท่านี้คร้าบบบ........จะปูเสื่อรอฟังเฉลยนะครับ.... :D
ผมเข้าใจว่าหลายท่านดูงบกำไรขาดทุนก็เพื่ออยากรู้ว่าบริษัท มีกำไรหรือขาดทุนเท่าใด

แต่...

กำไร(ขาดทุน)ที่เห็นในงบกำไรขาดทุนอาจหลอกตาได้ เพราะจะรวมกำไร(ขาดทุน) จากรายการพิเศษ

จริงๆแล้วสิ่งที่ควรรู้คือ กำไรปกติ ครับโดยต้องตัดรายการพิเศษออก เพราะถ้าเราคิดจะลงทุนระยะยาว กำไรปกติเป็นตัวที่เราจะใช้เพื่อคำนวณมูลค่าบริษัทต่อไป (วิธีปรับงบกำไรขาดทุนเพื่อให้ได้กำไรปกติจะพูดในครั้งหน้าครับ)
พี่มิ เขียน:[Quote: ]
เมื่อดูจากงบกำไรขาดทุนจะไม่เห็นรายการค่าเสื่อมราคา ซึ่งความจริงแล้ว ค่าเสื่อมราคาถูกปันส่วนเข้ากับ ต้นทุนขายและค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเรียบร้อยแล้ว จะหาค่าเสื่อมราคาได้จาก 1. ดูในงบกระแสเงินสดจะเป็นรายการค่าเสื่อมราคายอดรวม ในบางบริษัทจะจับค่าใช้จ่ายตัดจ่ายรวมเข้าไปด้วย 2. ดูในหมายเหตุฯ งบปี
  ค่าเสื่อมราคากับค่าเสื่อมราคาสะสม?

ที่ดูมีสองที่สำหรับค่าเสื่อมราคา
1. ที่แรกดูว่าปีนั้นตัดค่าเสื่อมราคาไปเท่าไร โดยไปดูที่กระแสเงินสด กิจกรรมการดำเนินการ มีรายการปรับก่อนการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงาน จุดนี้มีพวกรายการกลับบัญชีจากงบกำไรขาดทุนอยู่หลายตัวเช่น ค่าเสื่อมราคาในปีนั้น การขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน ตั้งค่าสงสัยจะสูญเป็นต้น

2. ที่สองดูว่ามียอดสะสมตั้งแต่ตั้งมาเท่าไร มันเป็นหมายเหตุประกอบงบการเงิน เฉพาะงบการเงินที่ปิดปีบัญชีเท่าันั้น ระหว่างกาลไม่มี เพราะนักทำลำบากคนทำเหนื่อย มียอดเลยว่า ปีนี้ตัดไปเท่าไร เหลือเท่าไร มีทรัพย์สินอะไรบ้างที่ยังมีต้องตัด อะไรบ้างที่ตัดหมดแล้ว มีซื้อเพิ่มเท่าไร[/quote]
ขอบคุณพี่มิเป็นอย่างยิ่งครับที่ช่วยแสดงความเห็น  :bow:
สติมา ปัญญาเกิด
Tungkung
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 186
ผู้ติดตาม: 0

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 17

โพสต์

เยี่ยมมากครับ จะติดตามเรื่อยๆนะครับ....... :D
saichon
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1223
ผู้ติดตาม: 0

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 18

โพสต์

มาลงชื่อติดตามด้วยคนครับ
มีประโยชน์สำหรับมือใหม่อย่างผมมากเลยครับ :D
sattaya
Verified User
โพสต์: 1372
ผู้ติดตาม: 1

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 19

โพสต์

4 งบดุล
    งบดุลประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ สินทรัพย์ หนี้สิน และทุน
    เกณฑ์การแบ่งว่ารายการใดเป็น หมุนเวียน รายการใดเป็น ไม่หมุนเวียน คือระยะเวลา ซึ่งจะใช้หลักเดียวกันทั้งสินทรัพย์ และหนี้สิน โดยที่สินทรัพย์ที่เปลี่ยนเป็นเงินสด หรือตั้งใจจะถือไว้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี หนี้สินที่มีระยะเวลาชำระภายใน 1 ปี จะถือว่าเป็นรายการ หมุนเวียน ส่วนรายการไหนเกินกว่า 1 ปี ถือเป็นรายการ ไม่หมุนเวียน
        สินทรัพย์หมุนเวียนประกอบไปด้วย
       เงินสดและเงินฝากสถาบันการเงิน หมายถึง เงินสดในบริษัท ทุกสกุลเงิน เช็คที่ถึงกำหนดแต่ยังไม่ได้นำฝาก เงินฝากธนาคารทุกประเภท ยกเว้นเงินฝากประจำ
       เงินลงทุนชั่วคราว หมายถึง เงินฝากประจำ เงินลงทุนที่ตั้งใจถือไม่เกิน 1 ปี
       ลูกหนี้การค้า หมายถึง ลูกหนี้จากการค้า หรือลูกหนี้ตามตั๋วเงินรับจากการค้าซึ่งจะแสดงด้วยมูลค่าหลังหัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญแล้ว
           ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ คือ ค่าประมาณว่าอาจเกิดหนี้สูญขึ้น เป็นการประมาณการโดยใช้ข้อมูลในอดีตหรือดุลพินิจของผู้บริหาร
       เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน เป็นเงินให้กู้ยืมแก่ กรรมการบริษัท ผู้เกี่ยวข้องกับบริษัท บริษัทร่วม หรือบริษัทย่อย
       สินค้าคงเหลือ ปกติจะบันทึกบัญชีในมูลค่า ราคาทุนหรือราคาตลาดที่ต่ำกว่า หมายความว่า ถ้าราคาทุนต่ำกว่าราคาตลาดก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าราคาตลาดขณะนั้นต่ำกว่าราคาทุน จะมีโอกาสขาดทุนขึ้น ซึ่งจะต้องบันทึกการขาดทุนไปยังงบกำไรขาดทุนโดยตรง รายการขาดทุนนี้แม้ว่าจะยังไม่เกิดขึ้นจริง แต่ในแนวคิดทางบัญชีจะบันทึกเพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินรู้ว่าสินค้าคงเหลือดังกล่าวมีโอกาสขาดทุนเมื่อขาย
       สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า รายได้ค้างรับ และสินทรัพย์หมุนเวียนที่ไม่อยู่ในประเภทข้างต้น

    สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ประกอบด้วย
       เงินลงทุนระยะยาว มีลักษณะคล้ายเงินลงทุนระยะสั้น ต่างกันที่บริษัทตั้งใจถือไว้นานกว่า 1 ปี โดยเงินลงทุนระยะยาวจะถูกหักด้วย ค่าเผื่อการด้อยค่าของเงินลงทุน
          ค่าเผื่อการด้อยค่าของเงินลงทุน หมายถึง การปรับมูลค่าของสินทรัพย์ให้เท่ากับมูลค่าตลาดเมื่อราคาตลาดต่ำกว่าราคาทุน
       เงินให้กูยืมระยะยาว แก่บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้อง คล้ายกับเงินให้กู้ยืมระยะสั้นแต่รายการนี้ คาดว่าจะได้รับคืนในระยะเวลาที่นานเกินกว่า 1 ปี
       ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ หมายถึง ที่ดิน อาคาร เครื่องจักร รถยนต์ อุปกรณ์โรงงาน อุปกรณ์สำนักงาน ที่บริษัทมีไว้ใช้ในกิจการ หรือมีไว้ให้เช่า โดยจะแสดงยอดสุทธิหลังหักค่าเสื่อมราคาสะสม และค่าเผื่อการด้อยค่าแล้ว
           ค่าเสื่อมราคา เป็นการปันส่วนสินทรัพย์ไปเป็นค่าใช้จ่ายในแต่ละงวดบัญชี
           ค่าเสื่อมราคาสะสม เป็นการสะสมของค่าเสื่อมราคาทุกงวด ตั้งแต่ได้สินทรัพย์นั้นมาจนถึงวันที่แสดงในงบ
       สินทรัพย์ไม่มีตัวตน เช่น สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ ค่าความนิยม หรือสัมปทาน สินทรัพย์ไม่มีตัวตนจะมี ค่าตัดจำหน่าย ซึ่งเป็นรายการคล้าย ค่าเสื่อมราคา

    ในรายการสินทรัพย์ที่ผมพูดถึงเป็นรายการสำหรับบริษัททั่วๆไป ซึ่งบางบริษัทจะมีรายการบัญชีชื่อแปลกๆ  ผมจะไม่กล่าววถึงแต่ท่าน สามารถเข้าไปดูได้ในหมายเหตุฯ
สติมา ปัญญาเกิด
ภาพประจำตัวสมาชิก
nam
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1437
ผู้ติดตาม: 1

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 20

โพสต์

นักเรียนใหม่มารายงานตัวครับ
Jimmy
Verified User
โพสต์: 772
ผู้ติดตาม: 0

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 21

โพสต์

ตามเรียนด้วยคนครับ
ร็อคกี้ บัลโบว : ชีวิตไม่สำคัญว่าจะต่อยได้หนักแค่ไหน แต่อยู่ที่ว่าเรารับการโดนต่อยได้แค่ไหน (ชีวิตจุดสำคัญอยู่ที่การทนทุกข์ มากกว่าการประสบสุข)
Mr.high
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 84
ผู้ติดตาม: 0

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 22

โพสต์

ปูเสื่อรอครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
sai
Verified User
โพสต์: 4090
ผู้ติดตาม: 0

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 23

โพสต์

ขอบคุณสำหรับความรู้ดีดีครับ
Small Details Make a Big Difference
miracle
Verified User
โพสต์: 18364
ผู้ติดตาม: 1

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 24

โพสต์

เงินสดและเงินฝากสถาบันการเงิน หมายถึง เงินสดในบริษัท ทุกสกุลเงิน เช็คที่ถึงกำหนดแต่ยังไม่ได้นำฝาก เงินฝากธนาคารทุกประเภท ยกเว้นเงินฝากประจำ
รายการนี้ไม่เห็นนักครับ ส่วนใหญ่เป็น "เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด"
อันนี้รวมเงินสดที่อยู่ในมือ เงินทดลองจ่าย เงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากกระแสรายวัน เงินฝากประจำประเภท 3 เดือน 6 เดือน 9 เดือน

ส่วนเงินลงทุนชั่วคราว ส่วนใหญ่ที่เห็นนักครับ ซื้อหน่วยลงทุนจำพวกตราสารแห่งทุนสารแห่งนี้ หรือ ถือหุ้นสามัญระยะสั้น
ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ คือ ค่าประมาณว่าอาจเกิดหนี้สูญขึ้น เป็นการประมาณการโดยใช้ข้อมูลในอดีตหรือดุลพินิจของผู้บริหาร
อันนี้ขึ้นกับว่า คณะผู้บริหารเห็นควรว่าตั้งสำรองหรือไม่ ถ้าผู้ตรวจสอบเห็นว่า เหมาะสมก็ไม่มีอะไร ถ้าผู้ตรวจสอบเห็นว่า มีนัยสำคัญ หรือเชื่อได้ว่า ลูกหนี้การค้ารายนั้นไม่จ่ายแน่นอน ก็ต้องตั้งสำรอง
เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน เป็นเงินให้กู้ยืมแก่ กรรมการบริษัท ผู้เกี่ยวข้องกับบริษัท บริษัทร่วม หรือบริษัทย่อย
หากเจอรายการนี้กรุณาไปอ่านหมายเหตุประกอบงบด้านหลังด้วยว่า
ผู้ตรวจสอบบัญชี เขียนอะไรไว้บ้างหรือเปล่า ว่า ระยะเวลาการกู้ การส่งคืนเงินต้น ดอกเบี้ยที่คิด เท่าไรกันบ้าง บ้างครั้งเรานักลงทุนเห็นแล้วตะหงิดใจก็ลองไปถามในที่ประชุมสามัญหรือวิสามัญก็ได้ว่า เหมาะสมหรือไม่
สินค้าคงเหลือ ปกติจะบันทึกบัญชีในมูลค่า ราคาทุนหรือราคาตลาดที่ต่ำกว่า หมายความว่า ถ้าราคาทุนต่ำกว่าราคาตลาดก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าราคาตลาดขณะนั้นต่ำกว่าราคาทุน จะมีโอกาสขาดทุนขึ้น ซึ่งจะต้องบันทึกการขาดทุนไปยังงบกำไรขาดทุนโดยตรง รายการขาดทุนนี้แม้ว่าจะยังไม่เกิดขึ้นจริง แต่ในแนวคิดทางบัญชีจะบันทึกเพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินรู้ว่าสินค้าคงเหลือดังกล่าวมีโอกาสขาดทุนเมื่อขาย
เทคนิคอันนี้ต้องขอบคุณพี่มนบอกมาว่า
บ้างครั้งต้องดูว่า บริษัทนี้ ผลิตทั่วไปมันยอดการผลิตแล้วมีสินค้าคงเหลือเท่าไร ตัวนี้มันแยกออกเป็น
วัตถุดิบ ว่ามีจำนวนเท่าไร
สินค้าระหว่างทำ เท่าไร
สินค้าสำเร็จรูปแล้วเท่าไร (ที่อยู่ที่ตัวบริษัท)
สินค้าระหว่างทางเท่าไร (กำลังส่งให้ลูกค้า)
(ทั้งสี่รายการข้างต้นนี้ เห็นได้เฉพาะในหมายเหตุประกอบงบปิดงวดบัญชีประจำเท่านั้น)
มันบ่งบอกถึงว่า ตอนนี้บริษัทกำัลังทำอะไรอยู่ ตุนอะไรไว้หรือเปล่า
หรือมี ออเดอร์เพิ่มหรือไม่ หรือ เตรียมตั้งสำรองอะไรหรือไม่
ค่าเสื่อมราคา เป็นการปันส่วนสินทรัพย์ไปเป็นค่าใช้จ่ายในแต่ละงวดบัญชี
          ค่าเสื่อมราคาสะสม เป็นการสะสมของค่าเสื่อมราคาทุกงวด ตั้งแต่ได้สินทรัพย์นั้นมาจนถึงวันที่แสดงในงบ
สองตัวนี้ผมว่ามันไม่ไ้ด้แสดงอยู่ในส่วนของสินทรัพย์ แต่ไปแสดงในหมายเหตุประกอบงบการเงินแทนนักครับ

ถ้าใครเล่นพวก BlackDoor คือรับงานแล้วลูกค้าจ่ายก่อน
บริษัทพวกนี้ ในส่วนของสินทรัพย์หมุนเวียนมันมีรายการรับเงินล่วงหน้าจากลูกค้ามาก่อน ด้วย จุดนี้สามารถรู้ได้ว่า ลูกค้าจ่ายเงินก่อน แล้วเราค่อยทำให้
:)
CP01203
Verified User
โพสต์: 28
ผู้ติดตาม: 0

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 25

โพสต์

เข้ามาเรียนด้วยครับ

สวัสดีครับอาจารย์
ภาพประจำตัวสมาชิก
baby-investor
Verified User
โพสต์: 312
ผู้ติดตาม: 0

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 26

โพสต์

เป็นกระทู้ที่มีประโยชน์มากครับ ต้องขอบคุณคุณ sattaya ที่สละเวลามาให้ความรู้ด้วยครับ
Laziale
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2147
ผู้ติดตาม: 0

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 27

โพสต์

เพิ่มเติมจากพี่มินิดนึงครับ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด สำหรับเงินฝากประจำนี่เฉพาะที่ไม่เกิน 3 เดือนครับ หากเงินฝากประจำเกิน 3 เดือนจะถูกจัดประเภทอยู่ใน เงินลงทุนชั่วคราวครับ :D
miracle
Verified User
โพสต์: 18364
ผู้ติดตาม: 1

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 28

โพสต์

Laziale เขียน: ขอบคุณครับที่แก้ไขให้

มีอีกทีที่ผิดจังๆ
มันอยู่ในหมายเหตุ
บ้างครั้งเห็นอีกตัวคือ วัสดุโรงงานด้วย
:)
:)
sattaya
Verified User
โพสต์: 1372
ผู้ติดตาม: 1

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 29

โพสต์

[quote="miracle"][quote] ค่าเสื่อมราคา เป็นการปันส่วนสินทรัพย์ไปเป็นค่าใช้จ่ายในแต่ละงวดบัญชี
สติมา ปัญญาเกิด
ภาพประจำตัวสมาชิก
centrady
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 243
ผู้ติดตาม: 1

หัดรู้เรื่อง งบการเงิน

โพสต์ที่ 30

โพสต์

มาเข้าเรียนด้วยครับ ขอบคุณมากครับ
this too, shall past.

ยินดีที่ได้รู้จักทุกท่านครับ
www.facebook.com/MrCentrady