บทที่ 19 เล่มใหม่ของคุณนรินทร์ น่าอ่านครับ
- nasesus
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1278
- ผู้ติดตาม: 0
บทที่ 19 เล่มใหม่ของคุณนรินทร์ น่าอ่านครับ
โพสต์ที่ 1
เป็นที่ทราบกันว่าสิบกว่าปีที่ผ่านมา อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกถูกพยุงไว้ด้วย ภาวะความไม่สมดุลของโลก (Global Imbalance) ที่มีสหรัฐ ทำหน้าที่เป็นนักบริโภคสินค้ามือเติบ และมีประเทศส่งออกทั้งหลายในเอเชียทำหน้าที่คอยเติมเงินในกระเป๋าของสหรัฐ อยู่ตลอดเวลาด้วยการนำเงินที่ได้จากการส่งออกสินค้าไปสหรัฐ กลับมาปล่อยกู้ให้กับสหรัฐ ผ่านทางการนำทุนสำรองไปซื้อตราสารสกุลดอลลาร์ เพื่อให้เงินเอเชียอ่อนเมื่อเทียบกับดอลลาร์ กำลังซื้อที่เกิดขึ้นจากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งของสหรัฐ ช่วยทำให้ประเทศในเอเชียส่งออกสินค้าได้มาก เศรษฐกิจโลกจึงเติบโตได้ดี
แน่นอนว่าภาวะเช่นนี้ย่อมไม่อาจดำรงอยู่ได้ตลอดไป เพราะเป็นไปไม่ได้ที่ผู้บริโภคจะยืมเงินผู้ขายมาซื้อสินค้าของผู้ขายไปเรื่อยๆ โดยไม่มีวันใช้หนี้คืน ภาวะไม่สมดุลของโลกทำให้สหรัฐ ขาดดุลการค้าอย่างมากมายมหาศาล ในขณะที่ ประเทศในเอเชียก็ได้ดุลการค้าสหรัฐ แบบมหาศาลด้วย ที่ผ่านมา ไม่มีใครคิดอยากแก้ไขปัญหานี้ เพราะทุกฝ่ายต่างได้รับประโยชน์จากเศรษฐกิจโลกที่เติบโตได้ดี เมื่อปัญหาไม่ได้รับการแก้ไข ปัญหาก็พอกพูนขึ้นเรื่อยๆ สหรัฐ ขาดดุลการค้ามากจนน่ากลัว
เวลานี้คล้ายๆ กับว่า วิกฤติซับไพร์มจะเป็นตัวจุดชนวนให้เกิดการปรับสมดุลขึ้นเอง วิกฤติซับไพร์มทำให้การบริโภคภายในประเทศของสหรัฐลดลง แม้ว่าประเทศในเอเชียจะพยายามโอบอุ้มค่าเงินดอลลาร์เหมือนเดิมแต่ก็ยังไม่สามารถหยุดยั้งกำลังซื้อของสหรัฐที่ลดลง เพราะปัญหาซับไพร์มได้ เมื่อกำลังซื้อจากสหรัฐลดลง เศรษฐกิจโลกก็ย่อมต้องชะลอตัวลงด้วยเป็นธรรมดา ซึ่งอาจมองว่าเป็นเรื่องไม่ดี แต่ในอีกแง่หนึ่ง นี่คือโอกาสที่โลกจะได้แก้ไขปัญหาความไม่สมดุลที่สะสมมานาน
ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะฟื้นตัวขึ้นจากวิกฤติซับไพร์มได้เร็วหรือช้า หลายฝ่ายยังมีการถกเถียงกันอยู่ ถ้าหากเศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวขึ้นได้เร็ว ไม่ช้าไม่นานโลกของเราก็อาจจะกลับไปสู่วงจรอัฐยายซื้อขนมยายเหมือนเช่นเดิม ทำให้ปัญหาความไม่สมดุลของโลกไม่ได้รับการแก้ไขต่อ แต่ถ้าเศรษฐกิจสหรัฐทรุดหนักแบบยืดเยื้อยาวนาน การปรับสมดุลก็จะเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่องจนเสร็จสมบูรณ์ในที่สุด เพราะโลกอาจหันไปหาวิธีการใหม่ๆ ในการพยุงการเติบโตทางเศรษฐกิจแทนการพึ่งพาการบริโภคของสหรัฐ
สมมติว่าวิกฤติครั้งนี้ยาวนานจนทำให้เกิดการปรับสมดุลได้จริง มาลองคิดกันเล่นๆ ว่า เศรษฐกิจโลกหลังปรับสมดุลแล้วจะมีหน้าตาเปลี่ยนไปอย่างไร?
แน่นอนว่าเมื่อประเทศในเอเชียเลิกโอบอุ้มค่าเงินดอลลาร์ เงินดอลลาร์จะต้องอ่อนค่าลงอีกเมื่อเทียบกับสกุลเงินเอเชีย เมื่อค่าเงินถูกปล่อยไปตามความเป็นจริงมากขึ้น ดุลการค้าของประเทศต่างๆ จะใกล้เคียงกันมากกว่าเดิม สหรัฐจะขาดดุลน้อยลง ประเทศในเอเชียก็จะเกิดดุลน้อยลงด้วย
ที่ผ่านมาเวลาที่ประเทศส่งออกในเอเชียพยายามทำค่าเงินของตัวเองให้อ่อน ประเทศเหล่านี้จะต้องเทขายเงินของตัวเองออกมาแล้วเอาเงินดอลลาร์ที่ได้รับมาเก็บไว้ในทุนสำรอง ทุนสำรองคือสภาพคล่องที่ถูกดูดออกไปจากระบบ มันจอดอยู่เฉยๆ โดยไม่ทำประโยชน์ ทุกๆ ปี ประเทศในเอเชียยอมสูญเสียโอกาสในการลงทุนที่เกิดจากสภาพคล่องที่ดูดซับออกไปเพื่อช่วยภาคส่งออกเป็นเงินจำนวนมหาศาล ซ้ำร้าย ประเทศในเอเชียกลับเอาเงินส่วนนี้ไปปล่อยกู้ในตลาดสหรัฐซึ่งช่วยทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงในสหรัฐ อยู่ในระดับต่ำกว่าที่ควรจะเป็นอีก เท่ากับเป็นส่งเสริมการลงทุนให้กับสหรัฐ นั่นเอง เพราะปกติแล้ว เงินทุนควรไหลออกจากประเทศร่ำรวยไปสู่ประเทศล้าหลังที่ยังขาดแคลนทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ แต่ทุกวันนี้ เงินทุนกลับไหลออกจากประเทศที่ยังล้าหลังไปหาประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างเช่น สหรัฐ
ถ้าวงจรที่ไหลกลับของเงินทุนนี้กลับทิศทางเสียได้ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงในสหรัฐจะสูงขึ้น ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยในเอเชียจะต่ำลงซึ่งจะส่งผลดีต่อการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศเอเชีย การเติบโตภายในประเทศเอเชียเองก็จะเข้ามาทดแทนการส่งออกที่หดตัวลง เศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ก็จะมีเสถียรภาพมากขึ้น เนื่องจากไม่ได้พึ่งพาการส่งออกในสัดส่วนที่สูงมากเหมือนอย่างในปัจจุบัน ถ้าเศรษฐกิจโลกมีปัญหาก็จะไม่ได้รับกระทบรุนแรงเหมือนเช่นที่เป็นอยู่
ค่าเงินเอเชียที่แข็งขึ้น แม้ว่าจะทำให้ส่งออกสินค้าได้น้อยลง แต่ในทางตรงกันข้ามกลับทำให้ความเป็นอยู่ของคนในประเทศสูงขึ้นด้วย เพราะคนในประเทศจะสามารถบริโภคสินค้านำเข้าเช่น น้ำมันดิบ ได้ในราคาที่ถูกกว่าเดิม ที่จริงแล้วทุกวันนี้เราไม่จำเป็นต้องส่งออกให้ได้มากๆ เหมือนแต่ก่อน เนื่องจากเราไม่ใช่ประเทศที่ติดหนี้ต่างประเทศมากมายเหมือนสมัยวิกฤติต้มยำกุ้งอีกต่อไปแล้ว การปล่อยให้เงินบาทแข็งขึ้นตามความเป็นจริงบ้างกลับเป็นเรื่องที่ดีกว่า เพราะเป็นการทำให้วิถีชีวิตของคนในประเทศขยับเข้าใกล้เคียงชาวตะวันตกมากขึ้น ในขณะเดียวกัน ก็ขายสินค้าได้เงินมากกว่าเดิม ไม่ต้องยอมขายขาดทุนเพื่อล่อให้เขาซื้อสินค้าเหมือนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
สรุปแล้ว โลกหลังปรับสมดุลแล้วมีแต่ข้อดีกับข้อดี เพียงแต่ว่าก่อนที่เราจะไปถึงตรงนั้นได้ เราจะต้องได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวแรงเสียก่อน ซึ่งเป็นการชดใช้ฟองสบู่ที่โลกได้สร้างขึ้นมาตลอดสิบกว่าปี สักพักหนึ่งเมื่อทรัพยากรถูกเคลื่อนย้ายจากภาคส่งออกเข้าสู่ภาคเศรษฐกิจในประเทศมากขึ้น เราจึงจะเริ่มเห็นผลดีของการปรับสมดุลใหม่
บางกระแสบอกว่า ฝันไปเถิด การปรับสมดุลใหม่จะไม่มีวันเกิดขึ้นแน่นอน เพราะจีนและญี่ปุ่นไม่มีทางเลิกหนุนค่าเงินดอลลาร์เป็นอันขาด แต่เมื่อไม่นานมานี้ เราเริ่มเห็นท่าทีของจีนที่เปลี่ยนไป ฝันอาจกำลังเป็นจริงก็ได้ครับ
แน่นอนว่าภาวะเช่นนี้ย่อมไม่อาจดำรงอยู่ได้ตลอดไป เพราะเป็นไปไม่ได้ที่ผู้บริโภคจะยืมเงินผู้ขายมาซื้อสินค้าของผู้ขายไปเรื่อยๆ โดยไม่มีวันใช้หนี้คืน ภาวะไม่สมดุลของโลกทำให้สหรัฐ ขาดดุลการค้าอย่างมากมายมหาศาล ในขณะที่ ประเทศในเอเชียก็ได้ดุลการค้าสหรัฐ แบบมหาศาลด้วย ที่ผ่านมา ไม่มีใครคิดอยากแก้ไขปัญหานี้ เพราะทุกฝ่ายต่างได้รับประโยชน์จากเศรษฐกิจโลกที่เติบโตได้ดี เมื่อปัญหาไม่ได้รับการแก้ไข ปัญหาก็พอกพูนขึ้นเรื่อยๆ สหรัฐ ขาดดุลการค้ามากจนน่ากลัว
เวลานี้คล้ายๆ กับว่า วิกฤติซับไพร์มจะเป็นตัวจุดชนวนให้เกิดการปรับสมดุลขึ้นเอง วิกฤติซับไพร์มทำให้การบริโภคภายในประเทศของสหรัฐลดลง แม้ว่าประเทศในเอเชียจะพยายามโอบอุ้มค่าเงินดอลลาร์เหมือนเดิมแต่ก็ยังไม่สามารถหยุดยั้งกำลังซื้อของสหรัฐที่ลดลง เพราะปัญหาซับไพร์มได้ เมื่อกำลังซื้อจากสหรัฐลดลง เศรษฐกิจโลกก็ย่อมต้องชะลอตัวลงด้วยเป็นธรรมดา ซึ่งอาจมองว่าเป็นเรื่องไม่ดี แต่ในอีกแง่หนึ่ง นี่คือโอกาสที่โลกจะได้แก้ไขปัญหาความไม่สมดุลที่สะสมมานาน
ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะฟื้นตัวขึ้นจากวิกฤติซับไพร์มได้เร็วหรือช้า หลายฝ่ายยังมีการถกเถียงกันอยู่ ถ้าหากเศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวขึ้นได้เร็ว ไม่ช้าไม่นานโลกของเราก็อาจจะกลับไปสู่วงจรอัฐยายซื้อขนมยายเหมือนเช่นเดิม ทำให้ปัญหาความไม่สมดุลของโลกไม่ได้รับการแก้ไขต่อ แต่ถ้าเศรษฐกิจสหรัฐทรุดหนักแบบยืดเยื้อยาวนาน การปรับสมดุลก็จะเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่องจนเสร็จสมบูรณ์ในที่สุด เพราะโลกอาจหันไปหาวิธีการใหม่ๆ ในการพยุงการเติบโตทางเศรษฐกิจแทนการพึ่งพาการบริโภคของสหรัฐ
สมมติว่าวิกฤติครั้งนี้ยาวนานจนทำให้เกิดการปรับสมดุลได้จริง มาลองคิดกันเล่นๆ ว่า เศรษฐกิจโลกหลังปรับสมดุลแล้วจะมีหน้าตาเปลี่ยนไปอย่างไร?
แน่นอนว่าเมื่อประเทศในเอเชียเลิกโอบอุ้มค่าเงินดอลลาร์ เงินดอลลาร์จะต้องอ่อนค่าลงอีกเมื่อเทียบกับสกุลเงินเอเชีย เมื่อค่าเงินถูกปล่อยไปตามความเป็นจริงมากขึ้น ดุลการค้าของประเทศต่างๆ จะใกล้เคียงกันมากกว่าเดิม สหรัฐจะขาดดุลน้อยลง ประเทศในเอเชียก็จะเกิดดุลน้อยลงด้วย
ที่ผ่านมาเวลาที่ประเทศส่งออกในเอเชียพยายามทำค่าเงินของตัวเองให้อ่อน ประเทศเหล่านี้จะต้องเทขายเงินของตัวเองออกมาแล้วเอาเงินดอลลาร์ที่ได้รับมาเก็บไว้ในทุนสำรอง ทุนสำรองคือสภาพคล่องที่ถูกดูดออกไปจากระบบ มันจอดอยู่เฉยๆ โดยไม่ทำประโยชน์ ทุกๆ ปี ประเทศในเอเชียยอมสูญเสียโอกาสในการลงทุนที่เกิดจากสภาพคล่องที่ดูดซับออกไปเพื่อช่วยภาคส่งออกเป็นเงินจำนวนมหาศาล ซ้ำร้าย ประเทศในเอเชียกลับเอาเงินส่วนนี้ไปปล่อยกู้ในตลาดสหรัฐซึ่งช่วยทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงในสหรัฐ อยู่ในระดับต่ำกว่าที่ควรจะเป็นอีก เท่ากับเป็นส่งเสริมการลงทุนให้กับสหรัฐ นั่นเอง เพราะปกติแล้ว เงินทุนควรไหลออกจากประเทศร่ำรวยไปสู่ประเทศล้าหลังที่ยังขาดแคลนทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ แต่ทุกวันนี้ เงินทุนกลับไหลออกจากประเทศที่ยังล้าหลังไปหาประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างเช่น สหรัฐ
ถ้าวงจรที่ไหลกลับของเงินทุนนี้กลับทิศทางเสียได้ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงในสหรัฐจะสูงขึ้น ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยในเอเชียจะต่ำลงซึ่งจะส่งผลดีต่อการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศเอเชีย การเติบโตภายในประเทศเอเชียเองก็จะเข้ามาทดแทนการส่งออกที่หดตัวลง เศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ก็จะมีเสถียรภาพมากขึ้น เนื่องจากไม่ได้พึ่งพาการส่งออกในสัดส่วนที่สูงมากเหมือนอย่างในปัจจุบัน ถ้าเศรษฐกิจโลกมีปัญหาก็จะไม่ได้รับกระทบรุนแรงเหมือนเช่นที่เป็นอยู่
ค่าเงินเอเชียที่แข็งขึ้น แม้ว่าจะทำให้ส่งออกสินค้าได้น้อยลง แต่ในทางตรงกันข้ามกลับทำให้ความเป็นอยู่ของคนในประเทศสูงขึ้นด้วย เพราะคนในประเทศจะสามารถบริโภคสินค้านำเข้าเช่น น้ำมันดิบ ได้ในราคาที่ถูกกว่าเดิม ที่จริงแล้วทุกวันนี้เราไม่จำเป็นต้องส่งออกให้ได้มากๆ เหมือนแต่ก่อน เนื่องจากเราไม่ใช่ประเทศที่ติดหนี้ต่างประเทศมากมายเหมือนสมัยวิกฤติต้มยำกุ้งอีกต่อไปแล้ว การปล่อยให้เงินบาทแข็งขึ้นตามความเป็นจริงบ้างกลับเป็นเรื่องที่ดีกว่า เพราะเป็นการทำให้วิถีชีวิตของคนในประเทศขยับเข้าใกล้เคียงชาวตะวันตกมากขึ้น ในขณะเดียวกัน ก็ขายสินค้าได้เงินมากกว่าเดิม ไม่ต้องยอมขายขาดทุนเพื่อล่อให้เขาซื้อสินค้าเหมือนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
สรุปแล้ว โลกหลังปรับสมดุลแล้วมีแต่ข้อดีกับข้อดี เพียงแต่ว่าก่อนที่เราจะไปถึงตรงนั้นได้ เราจะต้องได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวแรงเสียก่อน ซึ่งเป็นการชดใช้ฟองสบู่ที่โลกได้สร้างขึ้นมาตลอดสิบกว่าปี สักพักหนึ่งเมื่อทรัพยากรถูกเคลื่อนย้ายจากภาคส่งออกเข้าสู่ภาคเศรษฐกิจในประเทศมากขึ้น เราจึงจะเริ่มเห็นผลดีของการปรับสมดุลใหม่
บางกระแสบอกว่า ฝันไปเถิด การปรับสมดุลใหม่จะไม่มีวันเกิดขึ้นแน่นอน เพราะจีนและญี่ปุ่นไม่มีทางเลิกหนุนค่าเงินดอลลาร์เป็นอันขาด แต่เมื่อไม่นานมานี้ เราเริ่มเห็นท่าทีของจีนที่เปลี่ยนไป ฝันอาจกำลังเป็นจริงก็ได้ครับ
- LittleChicky
- Verified User
- โพสต์: 277
- ผู้ติดตาม: 0
บทที่ 19 เล่มใหม่ของคุณนรินทร์ น่าอ่านครับ
โพสต์ที่ 2
หนังสือชื่ออะไรครับ เดี๋ยวไปลองหามาอ่านบ้าง
นักลงทุนผู้ชาญฉลาดไม่ควรซื้อหุ้นสามัญเพียงเพราะว่ามันมีราคาถูก แต่ควรซื้อเฉพาะว่ามันสัญญาว่าจะทำกำไรงดงามให้กับเขา...ฟิลลิป เอ พิชเชอร์
-
- Verified User
- โพสต์: 29
- ผู้ติดตาม: 0
บทที่ 19 เล่มใหม่ของคุณนรินทร์ น่าอ่านครับ
โพสต์ที่ 4
สามารถอ่านย้อนหลังได้ที่นี่ครับ คอลัมน์ของพี่เค้าลงในกรุงเทพธุรกิจ
http://newsroom.bangkokbiznews.com/list.php?user=Narin
http://newsroom.bangkokbiznews.com/list.php?user=Narin
-
- Verified User
- โพสต์: 6427
- ผู้ติดตาม: 1
บทที่ 19 เล่มใหม่ของคุณนรินทร์ น่าอ่านครับ
โพสต์ที่ 5
ยังมีอีกเล่มนึงที่น่าสนใจ คือ 50 ไอเดียการลงทุน (รวบรวมจากเว็บบล็อกของคุณนรินทร์) เล่มเล็กๆ ตัวหนังสือเลยเล็ก รังแกคนสายตาเริ่มยาวน่าดูเลย .. เป็นฉบับ Limited edition นะครับ ... ไม่เห็นมีใครพูดถึงเล่มนี้เลย เหมาะมาสำหรับคนที่ยังแสวงหาแนวทางการลงทุน
คนที่รู้ว่าตัวเองยังไม่รู้ ย่อมมีโอกาสเรียนรู้
-
- Verified User
- โพสต์: 680
- ผู้ติดตาม: 0
บทที่ 19 เล่มใหม่ของคุณนรินทร์ น่าอ่านครับ
โพสต์ที่ 6
ผมเห็นด้วยนะที่โลกไม่สมดุล ทางการค้า..และ การออม
แต่ปัญหาน่าจะอยู่ที่ "จีน" เต็มๆ ครับ
ประเทศทางยุโรป และ ญี่ปุ่น นั้น สามารถปรับตัวด้วยกลไกของ อลป.ได้อยูแล้ว เงินเยน และ ยูโร ก็แข็งขึ้นมากเมื่อเทียบกับดอลล์
แต่ เงินหยวนของจีนต่างหาก คือ ปัญหา .... ทำให้จีนยังคงได้ดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างมาก ทุนสำรองก็สูงถึง 2 ล้านล้านเหรียญ
ประเทศจีน...ต้องจัดการทำให้ค่าเงินแข็งขึ้นอย่างเร็ว
เพื่อช่วยเหลือ ประเทศในเอเชียเอง อเมริกา และ ศก.โลก
มีการประเมินว่าค่าเงินหยวนควรแข็งค่ากว่านี้ราว 30 เปอร์เซนต์ และ ปรับให้ซื้อขายได้ค่อนข้างเสรี
ถ้าเป็นแบบนั้น ค่าเงินในเอเชียอย่าง "บาท" จะแข็งตามไปด้วยราว 15 เปอร์เซนต์ จะทำให้การค้าสมดุลขึ้น
ไทยจะส่งออกไปจีนได้มากขึ้น .... อเมริกาจะขาดดุลน้อยลง
ทุกประเทศจะปรับตัวเข้าสมดุลทางการค้า การออม ได้อย่างเร็วกว่านี้ครับ
แต่ปัญหาน่าจะอยู่ที่ "จีน" เต็มๆ ครับ
ประเทศทางยุโรป และ ญี่ปุ่น นั้น สามารถปรับตัวด้วยกลไกของ อลป.ได้อยูแล้ว เงินเยน และ ยูโร ก็แข็งขึ้นมากเมื่อเทียบกับดอลล์
แต่ เงินหยวนของจีนต่างหาก คือ ปัญหา .... ทำให้จีนยังคงได้ดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างมาก ทุนสำรองก็สูงถึง 2 ล้านล้านเหรียญ
ประเทศจีน...ต้องจัดการทำให้ค่าเงินแข็งขึ้นอย่างเร็ว
เพื่อช่วยเหลือ ประเทศในเอเชียเอง อเมริกา และ ศก.โลก
มีการประเมินว่าค่าเงินหยวนควรแข็งค่ากว่านี้ราว 30 เปอร์เซนต์ และ ปรับให้ซื้อขายได้ค่อนข้างเสรี
ถ้าเป็นแบบนั้น ค่าเงินในเอเชียอย่าง "บาท" จะแข็งตามไปด้วยราว 15 เปอร์เซนต์ จะทำให้การค้าสมดุลขึ้น
ไทยจะส่งออกไปจีนได้มากขึ้น .... อเมริกาจะขาดดุลน้อยลง
ทุกประเทศจะปรับตัวเข้าสมดุลทางการค้า การออม ได้อย่างเร็วกว่านี้ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 680
- ผู้ติดตาม: 0
บทที่ 19 เล่มใหม่ของคุณนรินทร์ น่าอ่านครับ
โพสต์ที่ 7
ตั้งชื่อไว้ดีกว่า... "Paradox of Yuan"
ค่าเงินหยวนควรแข็ง เพราะ จีนได้ดุลบัญชีเดินสะพัดสูงที่สุดในโลก
แต่เนื่องจาก หยวนผูกค่าไว้กับ ดอลลาร์
ดอลลาร์ ควรอ่อน..เพราะ อเมริกาขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมากสุดในโลก
ดังนั้น.... หยวนจึง ควรแข็ง แต่ก็กลับอ่อน...เกิดเป็น paradox
วิธีแก้ไขดีที่สุดก็คือ...หยุดการผูกค่าเงินกับดอลล์เสียทีครับ
ค่าเงินหยวนควรแข็ง เพราะ จีนได้ดุลบัญชีเดินสะพัดสูงที่สุดในโลก
แต่เนื่องจาก หยวนผูกค่าไว้กับ ดอลลาร์
ดอลลาร์ ควรอ่อน..เพราะ อเมริกาขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมากสุดในโลก
ดังนั้น.... หยวนจึง ควรแข็ง แต่ก็กลับอ่อน...เกิดเป็น paradox
วิธีแก้ไขดีที่สุดก็คือ...หยุดการผูกค่าเงินกับดอลล์เสียทีครับ