เศรษฐศาสตร์กับพระพุทธศาสนาสอนเรื่องเดียวกัน?
-
- Verified User
- โพสต์: 732
- ผู้ติดตาม: 0
เศรษฐศาสตร์กับพระพุทธศาสนาสอนเรื่องเดียวกัน?
โพสต์ที่ 1
หุ้นตกไม่รู้ทำอะไรก็อ่านหนังสือธรรมะ พอมานั่งนึกๆดู จริงแล้วเศรษฐศาสตร์กับพระพุทธศาสนาสอนเรื่องเดียวกัน คื่อเรื่องทุกข์และการดับทุกข์ แต่วิธีการดับทุกข์ต่างกัน (เศรษฐศาสตร์เน้นเรื่องการจัดทรัพยากรให้พอกับความต้องการ ส่วนพระพุทธศาสนาเน้นเรื่องการไม่ยึดมั่นถือมั่น) มาจากการกำหนดนิยามของความทุกข์ที่ต่างกัน เมื่อเหตุต่างผลลัพท์ก็ต่างกันดังนี้
ทุกข์
เศรษฐศาสตร์กำหนดนิยามความทุกข์ไว้ที่ความทุกข์กายทุกข์ใจหรือทุกข์เวทนา ยามใดที่ทุกข์เวทนาเขาบางลง เราจะรู้สึกว่าเป็นสุข เมือเราทุกข์จะเกิดความต้องการสินค้าและบริการ เมื่อเราได้ใช้สินค้าและบริการจะเกิดความสุข หรือเรียกว่าอรรถประโยชน์ สามารถวัดได้(ตามทฤษฎี สมมติให้สามารถวัดความพอใจได้) มีหน่วยวัดเป็นยูทิล
แต่ในทางพระพุทธศาสนา ทุกข์เวทนา เป็นเพียงส่วนหนึ่งของทุกข์เท่านั้น โดยทางพระพุทธศาสนาได้แบ่งประเภทของความทุกข์ไว้เป็น 4 ประเภทคือ
1. ทุกข์เวทนา คือ ความทุกข์กายทุกข์ใจ
2. ทกข์ลักษณะ เป็นลักษณะทั่วไปของสิ่งที่เป็นสังขาร คือสังขารทั้งหลายไม่อาจทนอยู่ได้ตลอดไป ตามความหมายนี้กระทั่งความสุขก็มีลักษณะเป็นทุกข์เช่นกัน คือมีความทนอยู่ไม่ได้
3. ทุกข์เพราะตัณหา คือหากจิตเกิดความอยาก และความยึดถือในรูปนามและอารมณ์ทั้งหลายแล้ว จิตจะเกิดความทุกข์คือความอึดอัดขัดข้องทั้งหลายขึ้นมาทันที ข้อนี้มองลึกกว่าเศรษฐศาสตร์อีกชั้นหนึ่ง
4. ทุกขสัจจ์หรือขันธ์คือทุกข์ ขันธ์หรือรูปนามหรือกายใจนั่นแหละคือทุกข์ จะมีความอยากและความยึดมั่นหรือไม่ รูปนามนี้ก็เป็นทุกข์อยู่โดยตัวของมันเองอยู่แล้ว
สมุหทัย หรือเหตุแห่งทุกข์
ในทางเศรษฐศาสตร์ ที่ศึกษาเรื่องทุกข์เวทนาเป็นหลัก จึงได้นิยามเหตุแห่งทุกข์ว่าความไม่สมอยาก ในความต้องการบริโภคสินค้าและบริการทำให้เกิดทุกข์
ในทางพระพุธศาสนาพิจารนาเหตุแห่งทุกไม่ลึกซึงยิ่งขึ้นอีกคือ ความอยากทำให้เกิดทุกข์ เพราะความอยากทำให้จิตต้องดิ้นรนทำงานหนึกทั้งวันทั้งคืนเพื่อให้ "เรา" เป็นสุขและพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง
เมื่อมองให้ลึกเข้าไปอีก สำหรับผู้รู้แจ้งอริยสัจจ์แล้วจะพบว่า ขันธ์นั่นแหละเป็นทุกข์โดยตัวมันเอง จะมีความอยากหรือไม่ขันธ์ก็เป็นทุกข์อยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว แต่เพระอวิชชาหรือความไม่รู้แจ้งว่าขันธ์เป็นทุกข์ กลับไปคิดว่ากายใจนี้เป็นทุกข์บ้าง สุขบ้าง จึงเกิดสมุทัยคือความอยากให้การใจเป็นสุขถาวร หรืออยากให้พ้นทุกข์ถาวร ก่อเป็นความทุกข์มาเผาใจอยู่ตลอดเวลา แม้เมื่อต่างกายนี้แตกสลายลง ความไม่รู้ก็จะกระตุ้นให้จิตปรงขันธ์มาเป็นภาระให้ต้องแบกรับทุกข์อีก ดังนี้นความไม่รู้อริยสัจจ์หรืออวิชชาหรือความไม่รู้จริงของนามรู้นั่นแหละจึงเป็นรากเหง้าของความทุกข์ที่แท้จริง
นิโรธ ความดับแห่งทุกข์ + มรรค ทางดับแห่งทุกข์
ในทางเศรษฐศาสตร์ ทุกข์เกิดจากความต้องการ ดังนั้นถ้าเราสามารถผลิตสินค้าได้เพียงพอต่อความต้องการเราก็จะไม่ทุกข์
ในทางปฎิบัติ อดัม สมิธ ผู้ให้กำเนิดวิชาเศรษฐศาสตร์พบว่า ความต้องการของมนุษย์นั้นไม่จำกัด แต่ทรัพยากรที่จะมาผลิตสินค้าและบริการนั้นมีจำกัด จึงเป็นที่มาของวิชาเศรษฐศาสตร์ที่มีเป้าหมายศึกษาวิธีในการ จัดสรรทรัพย์กรที่มีจำกัดเพื่อผลิตสินค้าและบริการมาตอบสองความต้องการของมนุษย์ที่ไม่จำกัดให้ได้
สำหรับพระพุทธศาสนา มองว่าอวิชชาหรือความไม่รู้จริงของนามรูปนั่นแหละจึงเป็นเหตุของความทุกข์ที่แท้จริง พระพุทธศาสนาจึงมุงศึกษาภายในจิตใน เมื่อรู้ตามความเป็นจริงย่อมเบื่อหน่าย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด (โลภะ/ตัณหา) เมื่อคลายกำหนัดย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นย่อมรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ชาติ(ความเกิด)สิ้นแล้ว พรหมจรรย์(การศึกษาปฎิบัติธรรม) อยูจบแล้ว
วิธีที่จะทำให้จิตรู้สภาวะธรรมตามความเป็นจริงที่ตรงไปตรงมาที่สุดคือ การมีสติ ระลึกรู้ สภาวะธรรมที่กำลังปรกฎ ตามความเป็นจริง
เรียบเรียงจาก
ปราโมทย์ สันตยากร(พลวงพ่อปราโมทย์) วิถีแห่งความรู้แจ้ง ฉบับรวมเล่ม สำนักพิมพ์ธรรมดา
หนังสือเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น
ทุกข์
เศรษฐศาสตร์กำหนดนิยามความทุกข์ไว้ที่ความทุกข์กายทุกข์ใจหรือทุกข์เวทนา ยามใดที่ทุกข์เวทนาเขาบางลง เราจะรู้สึกว่าเป็นสุข เมือเราทุกข์จะเกิดความต้องการสินค้าและบริการ เมื่อเราได้ใช้สินค้าและบริการจะเกิดความสุข หรือเรียกว่าอรรถประโยชน์ สามารถวัดได้(ตามทฤษฎี สมมติให้สามารถวัดความพอใจได้) มีหน่วยวัดเป็นยูทิล
แต่ในทางพระพุทธศาสนา ทุกข์เวทนา เป็นเพียงส่วนหนึ่งของทุกข์เท่านั้น โดยทางพระพุทธศาสนาได้แบ่งประเภทของความทุกข์ไว้เป็น 4 ประเภทคือ
1. ทุกข์เวทนา คือ ความทุกข์กายทุกข์ใจ
2. ทกข์ลักษณะ เป็นลักษณะทั่วไปของสิ่งที่เป็นสังขาร คือสังขารทั้งหลายไม่อาจทนอยู่ได้ตลอดไป ตามความหมายนี้กระทั่งความสุขก็มีลักษณะเป็นทุกข์เช่นกัน คือมีความทนอยู่ไม่ได้
3. ทุกข์เพราะตัณหา คือหากจิตเกิดความอยาก และความยึดถือในรูปนามและอารมณ์ทั้งหลายแล้ว จิตจะเกิดความทุกข์คือความอึดอัดขัดข้องทั้งหลายขึ้นมาทันที ข้อนี้มองลึกกว่าเศรษฐศาสตร์อีกชั้นหนึ่ง
4. ทุกขสัจจ์หรือขันธ์คือทุกข์ ขันธ์หรือรูปนามหรือกายใจนั่นแหละคือทุกข์ จะมีความอยากและความยึดมั่นหรือไม่ รูปนามนี้ก็เป็นทุกข์อยู่โดยตัวของมันเองอยู่แล้ว
สมุหทัย หรือเหตุแห่งทุกข์
ในทางเศรษฐศาสตร์ ที่ศึกษาเรื่องทุกข์เวทนาเป็นหลัก จึงได้นิยามเหตุแห่งทุกข์ว่าความไม่สมอยาก ในความต้องการบริโภคสินค้าและบริการทำให้เกิดทุกข์
ในทางพระพุธศาสนาพิจารนาเหตุแห่งทุกไม่ลึกซึงยิ่งขึ้นอีกคือ ความอยากทำให้เกิดทุกข์ เพราะความอยากทำให้จิตต้องดิ้นรนทำงานหนึกทั้งวันทั้งคืนเพื่อให้ "เรา" เป็นสุขและพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง
เมื่อมองให้ลึกเข้าไปอีก สำหรับผู้รู้แจ้งอริยสัจจ์แล้วจะพบว่า ขันธ์นั่นแหละเป็นทุกข์โดยตัวมันเอง จะมีความอยากหรือไม่ขันธ์ก็เป็นทุกข์อยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว แต่เพระอวิชชาหรือความไม่รู้แจ้งว่าขันธ์เป็นทุกข์ กลับไปคิดว่ากายใจนี้เป็นทุกข์บ้าง สุขบ้าง จึงเกิดสมุทัยคือความอยากให้การใจเป็นสุขถาวร หรืออยากให้พ้นทุกข์ถาวร ก่อเป็นความทุกข์มาเผาใจอยู่ตลอดเวลา แม้เมื่อต่างกายนี้แตกสลายลง ความไม่รู้ก็จะกระตุ้นให้จิตปรงขันธ์มาเป็นภาระให้ต้องแบกรับทุกข์อีก ดังนี้นความไม่รู้อริยสัจจ์หรืออวิชชาหรือความไม่รู้จริงของนามรู้นั่นแหละจึงเป็นรากเหง้าของความทุกข์ที่แท้จริง
นิโรธ ความดับแห่งทุกข์ + มรรค ทางดับแห่งทุกข์
ในทางเศรษฐศาสตร์ ทุกข์เกิดจากความต้องการ ดังนั้นถ้าเราสามารถผลิตสินค้าได้เพียงพอต่อความต้องการเราก็จะไม่ทุกข์
ในทางปฎิบัติ อดัม สมิธ ผู้ให้กำเนิดวิชาเศรษฐศาสตร์พบว่า ความต้องการของมนุษย์นั้นไม่จำกัด แต่ทรัพยากรที่จะมาผลิตสินค้าและบริการนั้นมีจำกัด จึงเป็นที่มาของวิชาเศรษฐศาสตร์ที่มีเป้าหมายศึกษาวิธีในการ จัดสรรทรัพย์กรที่มีจำกัดเพื่อผลิตสินค้าและบริการมาตอบสองความต้องการของมนุษย์ที่ไม่จำกัดให้ได้
สำหรับพระพุทธศาสนา มองว่าอวิชชาหรือความไม่รู้จริงของนามรูปนั่นแหละจึงเป็นเหตุของความทุกข์ที่แท้จริง พระพุทธศาสนาจึงมุงศึกษาภายในจิตใน เมื่อรู้ตามความเป็นจริงย่อมเบื่อหน่าย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด (โลภะ/ตัณหา) เมื่อคลายกำหนัดย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นย่อมรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ชาติ(ความเกิด)สิ้นแล้ว พรหมจรรย์(การศึกษาปฎิบัติธรรม) อยูจบแล้ว
วิธีที่จะทำให้จิตรู้สภาวะธรรมตามความเป็นจริงที่ตรงไปตรงมาที่สุดคือ การมีสติ ระลึกรู้ สภาวะธรรมที่กำลังปรกฎ ตามความเป็นจริง
เรียบเรียงจาก
ปราโมทย์ สันตยากร(พลวงพ่อปราโมทย์) วิถีแห่งความรู้แจ้ง ฉบับรวมเล่ม สำนักพิมพ์ธรรมดา
หนังสือเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น
ลงทุนหุ้นดี มีสตอรี่ ราคาไม่แพง เดี๋ยวก็รวย
หนังสือเล่มสองผมครับ เจาะหุ้นร้อน สแกนหุ้นเด้ง การแคะหุ้นจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
หนังสือเล่มสองผมครับ เจาะหุ้นร้อน สแกนหุ้นเด้ง การแคะหุ้นจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
-
- Verified User
- โพสต์: 680
- ผู้ติดตาม: 0
เศรษฐศาสตร์กับพระพุทธศาสนาสอนเรื่องเดียวกัน?
โพสต์ที่ 2
ผมมองว่า สอนในสิ่งที่ตรงกันข้ามต่างหาก
เศรษฐศาสตร์ บอกว่า มนุษย์มีความโลภไม่จำกัด และ มีความสุขมากขึ้น จากการบริโภคและถือครองทรัพย์สิน
แต่พุทธศาสนา สอนว่า มนุษย์สามารถจำกัดความโลภได้และควรกระทำอย่างยิ่ง รวมทั้ง เราจะมีความสุขมากขึ้นจากการไม่ยึดติด คือ บริโภคให้น้อยลง และ ถือครองทรัพย์สินน้อยลงนั่นเองครับ
ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ แต่ผมเชื่อว่า "พุทธเศรษฐศาสตร์" จะค่อยๆ บ่อนทำลายระบบ "เศรษฐศาสตร์ทุนนิยม" ที่กำลังเสื่อมถอยลงทุกวัน
และสิ่งนี้อาจเกิดขึ้นในประเทศไทย ก่อนประเทศพัฒนาแล้วเสียอีกครับ
เศรษฐศาสตร์ บอกว่า มนุษย์มีความโลภไม่จำกัด และ มีความสุขมากขึ้น จากการบริโภคและถือครองทรัพย์สิน
แต่พุทธศาสนา สอนว่า มนุษย์สามารถจำกัดความโลภได้และควรกระทำอย่างยิ่ง รวมทั้ง เราจะมีความสุขมากขึ้นจากการไม่ยึดติด คือ บริโภคให้น้อยลง และ ถือครองทรัพย์สินน้อยลงนั่นเองครับ
ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ แต่ผมเชื่อว่า "พุทธเศรษฐศาสตร์" จะค่อยๆ บ่อนทำลายระบบ "เศรษฐศาสตร์ทุนนิยม" ที่กำลังเสื่อมถอยลงทุกวัน
และสิ่งนี้อาจเกิดขึ้นในประเทศไทย ก่อนประเทศพัฒนาแล้วเสียอีกครับ
เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก... กรอบแนวคิดใหม่ใช้หลักยืมพลัง และ รักษาสมดุลเพื่อช่วยฟื้น ศก.ไทย และ ศก.โลก
หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
-
- Verified User
- โพสต์: 732
- ผู้ติดตาม: 0
เศรษฐศาสตร์กับพระพุทธศาสนาสอนเรื่องเดียวกัน?
โพสต์ที่ 4
จริงแล้วแก่นแท้ของคำว่าพอเพียงก็คือเศรษฐศาสตร์นะ เศรษฐศาสตร์ก็ไม่ได้สอนให้คนบริโภคให้มากที่สุด แต่ให้บริโภคในปริมาณที่เหมาะสมคุณก็จะได้ความพอในที่สูงสุดภายใต้ข้อจำกัดที่คุณมี เพราะยิ่งเราบริโภคมากขึ้นเท่าไรความพอใจก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนเดียวกัน จนถึงจุดหนึ่งเราบริโภคเพิ่มแต่ความพอใจมันลดลง (ความพอใจจะเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดน้อยถอยลงในทุกหน่วยที่เราบริโภค)
ส่วนความเชื่อที่ว่ายิ่งบริโภคยิ่งดีนั้นผมว่าเป็นแนวคิดของนัการตลาด หรือนักบริหารธุรกิจเพื่อจะขายของให้ได้มากๆ มากกว่า
ป.ล พระพุทธศาสนาสอนอยู่ 2 เรื่องเท่านั้นคือเรื่องทุกข์และการดับทุกข์ (ท่านพุทธทาส) สำหรับในบทความนี้ผมเปรียบเทียบอยู่ 2 เรื่องเช่นกันคือ
1ความทุกข์ในมุมมองของเศรษฐศาสตร์และพระพุทธศาสนา
2เรื่องการดับทุกข์ในมุมมองของเศรษฐศาสตร์กับพระพุทธศาสนา
ส่วนความเชื่อที่ว่ายิ่งบริโภคยิ่งดีนั้นผมว่าเป็นแนวคิดของนัการตลาด หรือนักบริหารธุรกิจเพื่อจะขายของให้ได้มากๆ มากกว่า
ป.ล พระพุทธศาสนาสอนอยู่ 2 เรื่องเท่านั้นคือเรื่องทุกข์และการดับทุกข์ (ท่านพุทธทาส) สำหรับในบทความนี้ผมเปรียบเทียบอยู่ 2 เรื่องเช่นกันคือ
1ความทุกข์ในมุมมองของเศรษฐศาสตร์และพระพุทธศาสนา
2เรื่องการดับทุกข์ในมุมมองของเศรษฐศาสตร์กับพระพุทธศาสนา
ลงทุนหุ้นดี มีสตอรี่ ราคาไม่แพง เดี๋ยวก็รวย
หนังสือเล่มสองผมครับ เจาะหุ้นร้อน สแกนหุ้นเด้ง การแคะหุ้นจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
หนังสือเล่มสองผมครับ เจาะหุ้นร้อน สแกนหุ้นเด้ง การแคะหุ้นจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
-
- Verified User
- โพสต์: 680
- ผู้ติดตาม: 0
เศรษฐศาสตร์กับพระพุทธศาสนาสอนเรื่องเดียวกัน?
โพสต์ที่ 5
[quote="doc_zodi"][quote="อะไรดีละ"]ไม่เชื่ออย่าลบหลู่
เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก... กรอบแนวคิดใหม่ใช้หลักยืมพลัง และ รักษาสมดุลเพื่อช่วยฟื้น ศก.ไทย และ ศก.โลก
หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
-
- Verified User
- โพสต์: 1808
- ผู้ติดตาม: 0
เศรษฐศาสตร์กับพระพุทธศาสนาสอนเรื่องเดียวกัน?
โพสต์ที่ 6
บทความนี้น่าจะเข้ากับประเด็นนะครับ :P
ตัวอย่างบางส่วนครับ
คิดถึงอะดัม สมิธ (1) ดร.ไสว บุญมา
http://www.sarut-homesite.net/%e0%b8%84 ... %e0%b8%a7/
คิดถึงอะดัม สมิธ (จบ) ดร.ไสว บุญมา
http://www.sarut-homesite.net/%e0%b8%84 ... %e0%b9%84/
ตัวอย่างบางส่วนครับ
ฉะนั้น อะดัม สมิธ จึงต่อต้านการบริโภคแบบสุดโต่ง จากมุมมองของ อะดัม สมิธ วิกฤติเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันจึงสามารถทำนายได้ล่วงหน้าจากการที่ชาวอเมริกันบริโภคแบบสุดโต่งติดต่อกันมาเป็นเวลานานยังผลให้ไม่มีการออมจนต้องกู้ยืมจากต่างประเทศ อะดัม สมิธ ไม่ได้ต่อต้านการบริโภคมากแต่ปากเท่านั้น หากยังยึดการบริโภคพอประมาณเป็นแนวปฏิบัติอย่างเคร่งครัดอีกด้วย ส่วนในด้านนามธรรม อะดัม สมิธ มองว่าการศึกษาคือที่มาหลักของทุนทางมันสมอง ฉะนั้นเขาเน้นย้ำเรื่องการศึกษา ในด้านส่วนตัว เขาพยายามศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลาและส่งเสียหลานๆ ให้เรียนหนังสือเนื่องจากเขาเองไม่มีลูก
จริงอยู่ อะดัม สมิธ ไม่แย้งแนวคิดของปราชญ์บางคนในยุคนั้นว่า การแสวงหาความร่ำรวยมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้เกิดความก้าวหน้า แต่เขาเกลียดการบูชาความร่ำรวย เขามองว่าความร่ำรวยเป็นเพียงมายาภาพ ไม่ใช่หนทางที่จะนำไปสู่ความสุขที่แท้จริงซึ่งต้องเกิดจากการไม่ยึดติดในวัตถุเขาเองเสนอคืนเงินบำนาญให้แก่ขุนนางซึ่งจ้างเขาไปสอนลูกๆ หลังจากที่เขาได้งานนายด่านศุลกากรซึ่งได้ค่าตอบแทนเพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ ค่าตอบแทนดังกล่าวมาจากเงินเดือนเท่านั้น ไม่ใช่จากการฉ้อฉลเช่นพนักงานศุลกากรจำนวนมากในประเทศด้อยพัฒนาเพราะเขาเห็นว่าการรักษากฎกติกาของตลาดเสรีมีความสำคัญยิ่ง จากมุมมองนี้ ระบบตลาดเสรีมีความสามานย์เมื่อกรรมการลงไปเล่นด้วย นั่นคือ ข้าราชการและนักการเมืองมีประโยชน์ทับซ้อน ยิ่งในกรณีที่คณะรัฐมนตรีและสมาชิกรัฐสภาสามารถคงความเป็นเจ้าของสัมปทานจำพวกผูกขาดไว้ได้ด้วยแล้ว ความสามานย์ก็มีโอกาสขยายตัวมากยิ่งขึ้น อะดัม สมิธ ต่อต้านการผูกขาดทุกรูปแบบ
####เท่าที่เล่ามา จะเห็นว่าฐานของระบบตลาดเสรีของ อะดัม สมิธ กับฐานของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นสิ่งเดียวกันอันได้แก่จริยธรรมและความรู้ อะดัม สมิธ ดำเนินชีวิตตามหลักความพอประมาณและต่อต้านการบริโภคแบบสุดโต่ง เขาเองไม่ได้เน้นเรื่องความสำคัญของการมีเหตุผลและภูมิคุ้มกัน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะในสมัยนั้นเป็นยุคที่มีชื่อว่า ยุคแห่งเหตุผล (The Age of Reasons) อยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องนำมาเน้นอีก ส่วนเรื่องภูมิคุ้มกัน ในสมัยนั้นความเสี่ยงในหลายๆ ด้านยังต่ำกว่าในสมัยนี้เพราะโลกมีประชากรเพียง 800 ล้านคนและการเปลี่ยนแปลงก็เกิดขึ้นอย่างช้าๆ
ฉะนั้นจึงอาจมองได้ว่า เศรษฐกิจพอเพียงพัฒนาต่อจากแนวคิดของ อะดัม สมิธ จนทำให้มีความทันสมัยมากกว่า การพัฒนาเช่นนี้เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มีฐานมั่นคงซึ่งตรงกับคำพูดของ ไอแซค นิวตัน ที่มีใจความในทำนอง ปราชญ์ยุคปัจจุบันมองเห็นได้ไกลเพราะยืนอยู่บนไหล่ของปราชญ์ยุคก่อน
คิดถึงอะดัม สมิธ (1) ดร.ไสว บุญมา
http://www.sarut-homesite.net/%e0%b8%84 ... %e0%b8%a7/
คิดถึงอะดัม สมิธ (จบ) ดร.ไสว บุญมา
http://www.sarut-homesite.net/%e0%b8%84 ... %e0%b9%84/
"Risk comes from not knowing what you're doing" - Warren Buffet
สุดยอดของความซับซ้อนคือความเรียบง่าย
http://www.sarut-homesite.net/
สุดยอดของความซับซ้อนคือความเรียบง่าย
http://www.sarut-homesite.net/
-
- Verified User
- โพสต์: 680
- ผู้ติดตาม: 0
เศรษฐศาสตร์กับพระพุทธศาสนาสอนเรื่องเดียวกัน?
โพสต์ที่ 7
ผมว่ามันเป็นเรืองของการรักษาสมดุล "หยินหยาง"
อเมริกา เป็นหยาง จีนและญี่ปุ่นและหยิน
ฝ่ายหนึ่งบริโภคมากเกิน อีกฝ่าย บริโภคน้อยไป ออมมากเกินไป
ต้องปรับสมดุลด้วย "การยืมพลังเงินหยวน"
หนี้สาธารณะเป็นหยาง กองทุนบำนาญเป็นหยิน
ฝ่ายหนึ่งสร้างหนี้เกินไป ภาระหนักเกินไป อีกฝ่ายออมมากไป
แก้ไขโดย "ยืมพลังกองทุนบำนาญ"
เศรษฐศาสตร์ทุนนิยมเป็นหยาง มุ่งเน้นเพิ่มการเติบโตทางศก. แม้สร้างหนี้สิน แข่งขันและแย่งชิงทรัพยากร
พุทธเศรษฐศาสตร์เป็นหยิน มุ่งเน้นความสุขที่เกิดจากบริโภคที่น้อยลง ไม่เบียดเบียนผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม
รักษาสมดุลหยินหยางนี้ด้วย "เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก"
อ้าว...กลับมาเรื่องนี้อีกแล้วหรือ...555
อเมริกา เป็นหยาง จีนและญี่ปุ่นและหยิน
ฝ่ายหนึ่งบริโภคมากเกิน อีกฝ่าย บริโภคน้อยไป ออมมากเกินไป
ต้องปรับสมดุลด้วย "การยืมพลังเงินหยวน"
หนี้สาธารณะเป็นหยาง กองทุนบำนาญเป็นหยิน
ฝ่ายหนึ่งสร้างหนี้เกินไป ภาระหนักเกินไป อีกฝ่ายออมมากไป
แก้ไขโดย "ยืมพลังกองทุนบำนาญ"
เศรษฐศาสตร์ทุนนิยมเป็นหยาง มุ่งเน้นเพิ่มการเติบโตทางศก. แม้สร้างหนี้สิน แข่งขันและแย่งชิงทรัพยากร
พุทธเศรษฐศาสตร์เป็นหยิน มุ่งเน้นความสุขที่เกิดจากบริโภคที่น้อยลง ไม่เบียดเบียนผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม
รักษาสมดุลหยินหยางนี้ด้วย "เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก"
อ้าว...กลับมาเรื่องนี้อีกแล้วหรือ...555
เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก... กรอบแนวคิดใหม่ใช้หลักยืมพลัง และ รักษาสมดุลเพื่อช่วยฟื้น ศก.ไทย และ ศก.โลก
หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 128
- ผู้ติดตาม: 0
เศรษฐศาสตร์กับพระพุทธศาสนาสอนเรื่องเดียวกัน?
โพสต์ที่ 9
ลองดู สารบัญ ของหนังสือก็ได้ครับ ว่าน่าสนใจอย่างไร
ข้อคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ
ข้อจำกัดของเศรษฐศาสตร์แห่งยุคอุตสาหกรรม
๑. การแยกตัวโดดเดี่ยวเป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
๒. ไม่เป็นอิสระจากจริยธรรม แต่ไม่ใส่ใจจริยธรรม
๓. อยากเป็นวิทยาศาสตร์ ทั้งที่ไม่อาจและไม่น่าจะเป็น
๔. ขาดความชัดเจนเกี่ยวกับความเข้าใจในธรรมชาติของมนุษย์
ก. ความต้องการ
ข. การบริโภค
ค. งาน และการทำงาน
ง. การแข่งขัน-การร่วมมือ
จ. สันโดษ-ค่านิยมบริโภค
ฉ. การผลิต
ลักษณะสำคัญของเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ
๑. เศรษฐศาสตร์มัชฌิมา: การได้คุณภาพชีวิต
๒. เศรษฐศาสตร์มัชฌิมา: ไม่เบียดเบียนตน ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
สรุป
บทพิเศษ
หลักการทั่วไปบางประการ ของ เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ
๑. การบริโภคด้วยปัญญา
๒. ไม่เบียดเบียนตน-ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
๓. เศรษฐกิจเป็นปัจจัย
๔. สอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์
๕. บูรณาการในระบบสัมพันธ์ของธรรมชาติ
ข้อคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ
ข้อจำกัดของเศรษฐศาสตร์แห่งยุคอุตสาหกรรม
๑. การแยกตัวโดดเดี่ยวเป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
๒. ไม่เป็นอิสระจากจริยธรรม แต่ไม่ใส่ใจจริยธรรม
๓. อยากเป็นวิทยาศาสตร์ ทั้งที่ไม่อาจและไม่น่าจะเป็น
๔. ขาดความชัดเจนเกี่ยวกับความเข้าใจในธรรมชาติของมนุษย์
ก. ความต้องการ
ข. การบริโภค
ค. งาน และการทำงาน
ง. การแข่งขัน-การร่วมมือ
จ. สันโดษ-ค่านิยมบริโภค
ฉ. การผลิต
ลักษณะสำคัญของเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ
๑. เศรษฐศาสตร์มัชฌิมา: การได้คุณภาพชีวิต
๒. เศรษฐศาสตร์มัชฌิมา: ไม่เบียดเบียนตน ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
สรุป
บทพิเศษ
หลักการทั่วไปบางประการ ของ เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ
๑. การบริโภคด้วยปัญญา
๒. ไม่เบียดเบียนตน-ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
๓. เศรษฐกิจเป็นปัจจัย
๔. สอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์
๕. บูรณาการในระบบสัมพันธ์ของธรรมชาติ
"As Above, So Below"
-
- Verified User
- โพสต์: 393
- ผู้ติดตาม: 0
เศรษฐศาสตร์กับพระพุทธศาสนาสอนเรื่องเดียวกัน?
โพสต์ที่ 10
ตามความเข้าใจของผมที่ร่ำเรียนมา
เศรษฐศาสตร์ เป็นหลักการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด ให้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่ปัจจุบันเน้นไปทางการได้ซึ่งทรัพยากรหรือวัตถุ จึงแสวงหาให้ได้มาครอบครองและสะสม
พุทธศาสนา มีหลักสอนให้คนเป็นมนุษย์ เน้นให้ใช้ทรัพยากรเท่าที่จำเป็นกับการดำรงชีวิตพื้นฐาน ไม่เบียดเบียนหรือแสวงหาวัตถุ สร้างความสุขด้วยจิตใจ มีกุศโลบายมากมายที่พยายามทำให้จิตใจมั่นคงให้พ้นจากความรักโลภ โกรธหลง
ส่วนพุทธเศรษศาสตร์ น่าจะหมายความถึง การให้ใช้ทรัพยากรเท่าที่จำเป็นกับการดำรงชีวิตพื้นฐานนะครับ
เศรษฐศาสตร์ เป็นหลักการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด ให้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่ปัจจุบันเน้นไปทางการได้ซึ่งทรัพยากรหรือวัตถุ จึงแสวงหาให้ได้มาครอบครองและสะสม
พุทธศาสนา มีหลักสอนให้คนเป็นมนุษย์ เน้นให้ใช้ทรัพยากรเท่าที่จำเป็นกับการดำรงชีวิตพื้นฐาน ไม่เบียดเบียนหรือแสวงหาวัตถุ สร้างความสุขด้วยจิตใจ มีกุศโลบายมากมายที่พยายามทำให้จิตใจมั่นคงให้พ้นจากความรักโลภ โกรธหลง
ส่วนพุทธเศรษศาสตร์ น่าจะหมายความถึง การให้ใช้ทรัพยากรเท่าที่จำเป็นกับการดำรงชีวิตพื้นฐานนะครับ