(F53-4)
แบบรายงานการเพิ่มทุน
บริษัท ไทยวา จำกัด (มหาชน)
ข้าพเจ้าบริษัท ไทยวา จำกัด (มหาชน) ("บริษัท") โดยบริษัท ไทยวากรุ๊ปแพลนเนอร์ จำกัด ในฐานะ ผู้
บริหารแผนของบริษัท ("ผู้บริหารแผน") ขอรายงานการดำเนินการลดทุนจดทะเบียน (โดยการ ลดจำนวนหุ้นที่
ยังไม่ได้จำหน่าย) การเพิ่มทุนจดทะเบียน และการจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนตามคำสั่งอนุญาตของศาลล้มละลายกลาง
ฉบับวันที่ 29 กรกฎาคม 2546 โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. การลดทุนจดทะเบียน
เนื่องจากบริษัทมีหุ้นที่ยังไม่ได้จำหน่ายเป็นจำนวน 12,600,000 หุ้น ดังนั้น ก่อนที่บริษัทจะทำการ
เพิ่มทุนจดทะเบียนตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ซึ่งศาลได้ให้
ความเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการฉบับแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2546)
บริษัทจะดำเนินการลดทุนจดทะเบียนของบริษัทโดยการลดจำนวนหุ้นในปัจจุบันที่ยังไม่ได้จำหน่าย
จำนวน 12,600,000 หุ้น โดยจะทำให้ทุนจดทะเบียนของบริษัทลดลงจากจำนวน 651,000,000
บาท เหลือเป็นทุนจดทะเบียนจำนวน 525,000,000 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน
52,500,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท
2. การเพิ่มทุนจดทะเบียน
เมื่อบริษัทดำเนินการลดทุนจดทะเบียนดังกล่าวในข้อ 1 แล้ว บริษัทจะดำเนินการเพิ่มทุน
จดทะเบียนของบริษัทจากจำนวน 525,000,000 บาท ขึ้นอีกจำนวน 262,500,000 บาท โดย
ออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 26,250,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท
ดังนั้น ทุนจดทะเบียนของบริษัทจะเป็นจำนวนทั้งสิ้น 787,500,000 บาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญ
จำนวน 78,750,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท
3. การจัดสรรหุ้นเพิ่มทุน
หุ้นสามัญเพิ่มทุนทั้งหมดจำนวน 26,250,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท รวมเป็นเงิน
จำนวน 262,500,000 บาท จะนำมาจัดสรรให้กับเจ้าหนี้เพื่อการแปลงหนี้เป็นทุนตามแผนฟื้นฟู
กิจการฉบับแก้ไขเพิ่มเติมของบริษัท โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
3.1 รายละเอียดการจัดสรร
ภายหลังการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทแล้วหุ้นสามัญเพิ่มทุนทั้งหมดจำนวน 26,250,000
หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท จะถูกจัดสรรให้แก่เจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 และ กลุ่มที่ 2 (รวมทั้ง
เจ้าหนี้กลุ่มที่ 5 ภายหลังจากที่เจ้าหนี้กลุ่มที่ 5 ถูกโอนมาเป็น เจ้าหนี้กลุ่ม ที่ 1 หรือกลุ่มที่ 2)
(ต่อไปนี้เรียกรวมกันว่า "เจ้าหนี้") ทั้งนี้ ตามสัดส่วนของภาระหนี้กลุ่ม จ (หนี้ที่จะมีการ
แปลงเป็นทุน) ที่มีต่อเจ้าหนี้ดังกล่าว ตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับแก้ไขเพิ่มเติมของบริษัท โดย
เจ้าหนี้ดังกล่าวจะชำระค่าหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 26,250,000 หุ้น โดยวิธีการแปลงหนี้
ที่กำหนดไว้ในหนี้กลุ่ม จ (หนี้ที่จะมีการแปลงเป็นทุน) จำนวน 3,618,370.05 ดอลลาร์
สหรัฐ และ 43,310,464.69 บาท เป็นทุนของบริษัท ในราคาหุ้นละ 7.62 บาท โดยมี ราย
ละเอียดดังนี้
- เจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 คือ เจ้าหนี้สถาบันการเงินและไม่ใช่สถาบันการเงิน ที่มีภาระหนี้เป็นเงิน
เหรียญสหรัฐ จำนวนหุ้นที่ได้รับจัดสรรจำนวน 17,100,913 หุ้น
- เจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 คือ เจ้าหนี้สถาบันการเงินและไม่ใช่สถาบันการเงิน ที่มีภาระหนี้เป็นเงิน
บาท จำนวนหุ้นที่ได้รับจัดสรรจำนวน 5,475,331 หุ้น
- เจ้าหนี้กลุ่มที่ 5 คือ เจ้าหนี้สถาบันการเงินและไม่ใช่สถาบันการเงิน ซึ่งจะได้รับหุ้นสามัญ
เพิ่มทุนหากถูกโอนไปเป็นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 หรือกลุ่มที่ 2 ตามที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟู
กิจการฉบับแก้ไขเพิ่มเติมของบริษัท จำนวนหุ้นที่ได้รับการจัดสรรจำนวน 3,673,756 หุ้น
ระยะเวลาในการจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนเพื่อการแปลงหนี้เป็นทุน มีดังต่อไปนี้
(1) ภายใน 90 วัน หลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการฉบับแก้ไข เพิ่มเติม
ของบริษัท เจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ซึ่งมีสถานะเป็นบุคคลไทยจะทำการแปลงหนี้
ของตนที่มีอยู่ทั้งหมดในหนี้กลุ่ม จ (หนี้ที่จะมีการแปลงเป็นทุน) เป็นทุนของบริษัท
(2) ภายใน 91 วัน หลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการฉบับแก้ไข เพิ่มเติม
ของบริษัท เจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ซึ่งมีสถานะเป็นบุคคลต่างด้าวจะทำการแปลง
หนี้ของตนที่มีอยู่ในหนี้กลุ่ม จ (หนี้ที่จะมีการแปลงเป็นทุน) เป็นทุนของบริษัท โดยการ
แปลงหนี้เป็นทุนนั้น ให้เป็นไปตามสัดส่วนของหนี้และจำนวนหุ้นของเจ้าหนี้ซึ่งมีสถานะ
เป็นบุคคลต่างด้าวสูงสุดเท่าที่กฎหมายอนุญาตให้ทำได้
(3) ภายใน 270 วัน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลา 91 วันดังกล่าวในข้อ (2) ข้างต้น เจ้าหนี้กลุ่ม
ที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ซึ่งมีสถานะเป็นบุคคลต่างด้าวจะทำการแปลงหนี้ของตนที่มีเหลืออยู่ใน
หนี้กลุ่ม จ (หนี้ที่จะมีการแปลงเป็นทุน) เป็นทุนของบริษัท ตามที่ได้รับแจ้งจากกรรมการ
กลุ่ม ข. ของผู้บริหารแผน
4. การขออนุญาตเพิ่มทุน/จัดสรรหุ้นเพิ่มทุน ต่อหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และเงื่อนไข การ
ขออนุญาต (ถ้ามี)
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้เพิ่มทุนและการจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนโดยการแปลงหนี้เป็นทุนเมื่อ วันที่
29 กรกฎาคม 2546 โดยบริษัทเพิ่งได้รับทราบคำสั่งดังกล่าวของศาลเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม
2546 นี้
5. วัตถุประสงค์ของการเพิ่มทุน และการใช้เงินทุนในส่วนที่เพิ่ม
เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับแก้ไขเพิ่มเติมของบริษัท ดังนั้น บริษัทจึงต้องเพิ่ม
ทุนจดทะเบียนเพื่อเจ้าหนี้จะสามารถดำเนินการแปลงหนี้เป็นทุนตามแผนฟื้นฟูกิจการฉบับแก้ไข
เพิ่มเติมของบริษัท
ลดภาระหนี้ของบริษัทโดยการแปลงหนี้เป็นทุน
7. ประโยชน์ที่ผู้ถือหุ้นจะพึงได้รับจากการเพิ่มทุน/จัดสรรหุ้นเพิ่มทุน
7.1 นโยบายเงินปันผล -
7.2 ผู้จองซื้อหุ้นเพิ่มทุนครั้งนี้จะมีสิทธิรับเงินปันผลจากการดำเนินงานเริ่มตั้งแต่งวด -
7.3 อื่นๆ -
8. รายละเอียดอื่นใดที่จำเป็นสำหรับผู้ถือหุ้นเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการอนุมัติการเพิ่ม
ทุน/ จัดสรรหุ้นเพิ่มทุน
-ไม่มี-
9. ตารางระยะเวลาการดำเนินการในกรณีที่คณะกรรมการบริษัทมีมติให้เพิ่มทุน/จัดสรร หุ้นเพิ่ม
ทุนตามเอกสารแนบ
-ไม่มี-
บริษัทขอรับรองว่าสารสนเทศในแบบรายงานนี้ถูกต้องและครบถ้วนทุกประการ
ลายมือชื่อ กรรมการ
(นายควน เชท)
บริษัท ไทยวา จำกัด (มหาชน)
โดยบริษัท ไทยวากรุ๊ปแพลนเนอร์ จำกัด
ในฐานะผู้บริหารแผน
หน้า 4/4
พี่ครรชิตครับ ข่าวนี้อาจมีผลกับ TWFP ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 143
- ผู้ติดตาม: 0
พี่ครรชิตครับ ข่าวนี้อาจมีผลกับ TWFP ครับ
โพสต์ที่ 2
ถ้าเจ้าหนี้ถือหุ้นหนึ่งในสามของไทยวา ตัวไทยวาฟูดส์จะยังคงจ่ายปันผล 90% เหมือนเดิมหรือไม่ ผมยังไม่มีคำตอบนะครับ เพราะยังคิดไม่ออกเหมือนกัน ไม่แน่ใจว่าของเดิมรีบจ่ายปันผลให้เยอะๆก่อนที่เจ้าหนี้จะเข้ามา หรือถูกเจ้าหนี้บังคับให้จ่ายปันผลเยอะๆเพื่อคืนหนี้