Value Way ฉบับวันที่ 30 พฤศจิกายน 2552
โดยวิบูลย์ พึงประเสริฐ
ฟองสบู่จีน
ในวิกฤติเศรษฐกิจรอบนี้ดูเหมือนว่าจะมีไม่กี่ประเทศที่สามารถฟื้นตัวได้โดยไม่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย หนึ่งในนั้นคือจีน ไตรมาศสามที่ผ่านมาจีนมีอัตราการขายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ที่ 8.9% นักเศรษฐศาสตร์หลายสำนักทำนายว่าเศรษฐกิจของจีนจะเพิ่มขึ้นรวดเร็วกว่านี้ในไตรมาศที่เหลือ จะเห็นว่ากำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์จีนต่างเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจที่ได้รับอานิสงค์จากเงินกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
แต่สิ่งหนึ่งที่ยังเป็นน่ากังวลคือปัญหาจุดเริ่มต้นของฟองสบู่ในประเทศจีน ถ้าวิกฤติซัพไพร์มที่เกิดขึ้นในอเมริกาเกิดจากการปล่อยสินเชื่อที่หละหลวม ดูเหมือนว่าจีนเริ่มเดินตามรอยสหรัฐอเมริกาบ้างแล้ว ในช่วงเก้าเดือนที่ผ่านมา รัฐบาลปักกิ่งได้ปล่อยสินเชื่อจำนวนกว่า 1.27 ล้านล้านเหรียญเข้าสู่ระบบ ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นถึง 136% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เงินเหล่านี้ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในธุรกิจสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน โรงงาน อสังหาริมทรัพย์ รวมถึงตลาดหุ้น
ไม่น่าแปลกใจที่ในปีนี้ตลาดหุ้นจีนขึ้นมาเกือบเท่าตัว ปัจจุบันราคาหุ้นต่อมูลค่าทางบัญชีของตลาดหุ้นจีน (P/B Ratio) เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับกว่า 7 เท่า ซึ่งแทบจะสูงที่สุดในโลกขณะที่ค่าพีบีนี้โดยเฉลี่ยทั่วโลกไม่เกิน 3 เท่า นอกเหนือจากนั้นภาคอุตสาหกรรมของจีนต่างเร่งสร้างโรงงานเพื่อทดแทนการนำเข้าเป็นอย่างมาก รัฐบาลส่งเสริมการขยายกิจการด้วยการให้ธนาคารพาณิชย์ของรัฐปล่อยกู้ให้กับบริษัทต่างๆในการขยายโรงงานหรือเพิ่มสต๊อคสินค้าเพื่อป้องกันการขาดแคลน ทำให้ภาคการผลิตของจีนในปัจจุบันอยู่ในภาวะล้นตลาด ในหลายอุตสาหกรรมกำลังการผลิตของโรงงานในจีนเพียงประเทศเดียวสามารถครอบคลุมตลาดสินค้านั้นได้ทั่วโลก เช่นโรงงานผลิตปูนซิเมนต์ในจีนมีกำลังการผลิตรวมกันมากขนาดที่ว่าหลังจากขายสินค้าให้กับลูกค้าในประเทศแล้วยังสามารถผลิตป้อนตลาดสหรัฐ ญี่ปุ่นและอินเดียได้ทั้งหมด สิ่งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะอุตสาหกรรมซีเมนต์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น สินค้าโภคภัณท์อื่นๆกำลังเกิดภาวะล้นตลาดเช่นเดียวกัน เช่น ปิโตรเคมี
ยิ่งเศรษฐกิจของประเทศที่เป็นตลาดส่งออกของจีนส่วนใหญ่กำลังอยู่ในภาวะย่ำแย่ กำลังซื้อในประเทศของจีนเองยังไม่ใหญ่พอที่จะดูดซับกำลังการผลิตส่วนเกินของโรงงานที่กำลังขยายอยู่ได้อย่างเพียงพอ คาดการณ์ว่าถ้าโรงงานต่างๆเหล่านี้เสร็จสมบูรณ์ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า บริษัทจากจีนต้องผลิตสินค้าให้มากที่สุดเพื่อให้ต้นทุนการผลิตต่ำที่สุดตามหลักของเศรษฐศาสตร์การผลิต (Economy of Scale) โลกอาจต้องเผชิญกับการดัมพ์ราคาสินค้าต่างๆจากจีนที่ผลิตออกมามากเกินความต้องการ จนทำให้ผู้ผลิตสินค้าชนิดเดียวกันในประเทศอื่นๆต้องเลิกกิจการเป็นจำนวนมาก เพราะไม่สามารถแข่งขันในด้านต้นทุนจากสินค้าจีนได้
นอกเหนือจากนั้นการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนส่วนใหญ่ในช่วงที่ผ่านมาเกิดจากการขยายสาธารณุปโภคขั้นพื้นฐานต่างๆ เช่น ถนน สะพาน รถไฟและการคมนามต่างๆจนทำให้ปัจจุบันจีนเป็นประเทศที่มีระบบการขนส่งเทียบเท่าประเทศที่พัฒนาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นถนนไฮเวย์ระหว่างเมืองที่มีเส้นทางยาวที่สุดในโลกหรือระบบรถไฟความเร็วสูงที่ทันสมัยที่สุด จนการลงทุนเหล่านี้ผ่านจุดที่ช่วยทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมากไปแล้ว
ถึงอย่างไรก็ตามทางรัฐบาลกลางของจีนเองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ รัฐบาลพยายามที่จะลดการขยายสินเชื่อลงในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงการออกกฏในอุตสาหกรรมที่มีการผลิตล้นเกินด้วยการควบรวมกิจการหรือสั่งให้โรงงานเหล่านั้นเลิกผลิต
ทำให้คาดหวังกันว่าจีนคงไม่เดินซ้ำรอยสหรัฐอเมริกาอีก ซึ่งจะทำได้หรือไม่เวลาเท่านั้นที่เป็นเครื่องพิสูจน์
ฟองสบู่จีน :ValueWay วิบูลย์ พึงประเสริฐ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 795
- ผู้ติดตาม: 0
ฟองสบู่จีน :ValueWay วิบูลย์ พึงประเสริฐ
โพสต์ที่ 1
Miracle Happens Everyday !
"ปาฎิหารย์คือการเดินบนผืนดินและมีความสุขในทุกย่างก้าว"
"ปาฎิหารย์คือการเดินบนผืนดินและมีความสุขในทุกย่างก้าว"
-
- Verified User
- โพสต์: 520
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ฟองสบู่จีน :ValueWay วิบูลย์ พึงประเสริฐ
โพสต์ที่ 2
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในจีนเทียบกับประเทศอื่นๆแบบตรงไปตรงมาไม่ได้PERFECT LUCKY เขียน:
เพราะว่าไม่มีผู้เล่นเพียงไม่กี่เจ้าเหมือนประเทศอื่นๆ แต่ประกอบด้วยเจ้าเล็กเจ้าน้อยรวมกันมากมายมหาศาล เข้าทำนอง 1 ตำบล 1ยี่ห้อปูน(เว่อร์ไปหน่อยแต่เห็นภาพ) แล้ว supply ทั้งหมดถ้าล้นจริงก็อาจจะไม่สามารถส่งออกมาให้กับตลาดโลกได้ เพราะเนื่องจากจำนวนผู้ผลิตที่เยอะมากจึงมีปัญหาเรื่องการควบคุมคุณภาพ และ ค่าขนส่งที่แพงเมื่อเทียบกับราคาสินค้า ถ้าราคาปูนจีนไม่ถูกมากจริงๆ ค่าขนส่งกินกำไรหมด
แต่ก็เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นภาพได้ดี แต่ไม่ต้องกังวลมากเกินไปว่าปูนจีนจะมาตีตลาดประเทศอื่นๆครับ
In the long run, We are all dead.