วิกฤติศก.ของเวียดนาม

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
อะไรดีละ
Verified User
โพสต์: 680
ผู้ติดตาม: 0

วิกฤติศก.ของเวียดนาม

โพสต์ที่ 1

โพสต์

อย่ามัวแต่ ดู-ไบ จนเผลอไผลลืม ดู-ญวน
การประกาศเลื่อนการชำระหนี้ราว 5.9 หมื่นล้านเหรียญ สรอ.ไป 6 เดือนของดูไบเวิลด์ได้สร้างความสั่นสะเทือนต่อตลาดการเงิน ตลาดหุ้น และ ทองคำไปทั่วโลก   แต่อันที่จริงแล้วยังมีอีกเรื่องนี้ซึ่งเกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกัน  และ อาจถูกมองข้าไปก็คือ การประกาศลดค่าเงินด่องลง 5.4% และมีแนวโน้มจะลดค่าเงินลงได้อีกในอนาคต  รัฐดูไบนั้นประชากรราว 1.2 ล้านคน  ขณะที่เวียดนามมีประชากรถึง 85 ล้านคน และ อยู่ในภูมิภาคอาเซียนเพื่อนบ้านของไทยนี่เอง
เศรษฐกิจเวียดนาม ถือได้ว่าเป็น มหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจ ของโลกประเทศหนึ่ง  ที่สามารถดึงดูดการลงทุน  และสร้างผลผลิตได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  ภายในเวลา 20 ปี  เศรษฐกิจของที่นี่เติบโตขึ้นสูงถึง 10 เท่าตัว  และมีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงกว่า 6% อย่างต่อเนื่องนานหลายปี   แต่หากนั่นคือ ภาคที่ 1 แล้ว  เรามักจะเห็นภาคที่ 2 หรือ  หายนะทางเศรษฐกิจ ติดตามมาอยู่เสมอ   ซึ่งเป็นบทเรียนฟองสบู่แตกใน ญี่ปุ่น    วิกฤติต้มยำกุ้ง ในประเทศไทย  วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ของอเมริกา และ ล่าสุดก็คือวิกฤติหนี้สินในดูไบ    ทำไมเราจึงควรระมัดระวังอย่างยิ่งต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในเวียดนาม  ซึ่งอาจเป็นลูกระเบิดเวลาลูกต่อไปที่พร้อมจะดึงเศรษฐกิจเอเชียทั้งภูมิภาคลงมาอีกครั้ง
เวียดนามกำลังเดินอยู่บนถนนที่ ไร้ความพอเพียง  ทะเยอทะยานเป็นอย่างมาก  เศรษฐกิจปีนี้คาดการณ์ว่าจะเติบโตได้ถึงกว่า 5%  แม้ประเทศส่วนใหญ่จะเอเชียรวมทั้งไทยจะเติบโตติดลบกันเป็นแถว  สภาของเวียดนามได้ผ่านอภิมหาโครงการ 2 อย่าง คือ โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงระยะทาง 1550 กม.ซึ่งต้องใช้เงินทุนถึง 5.6 หมื่นล้านเหรียญ สรอ. และ โครงการโรงไฟฟ้าปรมาณู 1.8 หมื่นล้านเหรียญ สรอ. เพียงงบประมาณใน 2 เรื่องนี้ก็มีมูลค่าถึง 7.4 หมื่นล้านเหรียญ สรอ. หรือราวๆ 80% ของจีดีพีเวียดนามเข้าไปแล้ว  ถ้าเปรียบเทียบขนาดกับประเทศไทย  ก็เหมือนกับมีการประกาศ 2 โครงการใหญ่ ขนาดราวๆ 7 ล้านล้านบาท  เมื่อดูแล้วทำให้ ไทยเข้มแข็ง 1.5 ล้านล้านบาท  กลายเป็นของเด็กเล่นไปเลย
เวียดนามได้เดินอย่างเร็วจนมาถึงขอบหน้าผาแล้ว  โดยมีอยู่หลายประการที่มีสภาพคล้ายคลึงกับประเทศไทยก่อนเกิดวิกฤติ ต้มยำกุ้ง เป็นอย่างมาก  
1. ขาดดุลการค้าอย่างหนักและต่อเนื่อง : เวียดนามได้ขาดดุลการค้าอย่างหนักกว่า 10% GDP มาตั้งแต่ปี 2550 และในปีนี้ก็เข้าปีที่ 3แล้ว   แม้ว่าในช่วง 4 เดือนแรก เศรษฐกิจเวียดนามจะชะลอตัวลงบ้างทำให้ได้ดุลการค้าเป็นบวกราว 800 ล้านเหรียญ   แต่ในช่วงเดือนล่าสุดคือ เดือนต.ค.นั้น เพียงเดือนเดียวกลับมีการขาดดุลการค้าเป็นประวัติการณ์ถึง 1.9 พันล้านเหรียญ สรอ.  หากแนวโน้มนี้ดำเนินต่อไป  เวียดนามอาจขาดดุลการค้าได้ถึง 2 หมื่นล้านเหรียญต่อปี  หรือสูงกว่า 20% ของ GDP (GDP เวียดนามตกราว 9 หมื่นล้านเหรียญสรอ.)
2. ขาดดุลการคลังอย่างหนัก : มีการทำขาดดุลการคลังอย่างหนักเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจถึง 8% GDP  ทั้งๆที่เวียดนามควรดำเนินนโยบายเพื่อชะลอเศรษฐกิจมากกว่า  การทำเช่นนี้จึงเกิดการขาดดุลคู่แฝด ทั้ง  ดุลการคลัง และ ดุลการค้า  สิ่งนี้กำลังบอกว่าเวียดนาม  กำลังตกอยู่ในปัญหาของ การลงทุนเกินตัว (over investment) หรือภาวะฟองสบู่นั่นเอง
3. ปริมาณเงินและสินเชื่อเติบโตสูงมากและต่อเนื่อง : แม้เศรษฐกิจทั่วโลกจะชะลอตัว  สินเชื่อของไทยลดลงเล็กน้อย  แต่ในเวียดนามสินเชื่อกลับมีการเติบโตสูงถึง 35% ซึ่งก็ไม่แตกต่างนักการเพิ่มของปริมาณเงิน (M2) และสิ่งนี้เป็นเรื่องที่ต่อเนื่องกันมานานหลายปีแล้ว
4. เวียดนามมีการลงทุนคิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP สูงถึง 42% ซึ่งนับว่าเป็นอัตราทีสูงทีสุดในโลกประเทศหนึ่งเลยทีเดียว  เหตุการณ์แบบนี้เคยเกิดกับไทยเช่นเดียวกันก่อนวิกฤติต้มยำกุ้ง
5. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่ยืดหยุ่น : เวียดนามได้ผูกค่าเงินกับดอลลาร์   โดยมีการปรับให้อ่อนค่าลงเล็กน้อยเป็นระยะ  อย่างไรก็ดี  เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อในเวียดนามบางปีสูงกว่า 20% ขึ้นไป ค่าเงินด่องที่ควรจะอ่อนค่าตามอัตราเงินเฟ้อตามทฤษฎีนั้นกลับปรับตัวไม่ทัน   ทำให้ค่าเงินของเวียดนามมีแนวโน้มจะยืนค่าสูงกว่าความเป็นจริงอยู่บ่อยๆ   และ ทำให้เกิดภาวะความไม่เชื่อมั่นในค่าเงิน  รวมไปถึงการขาดดุลการค้าจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง  ประชาชนได้ซื้อทองคำ และ ดอลลาร์เก็บไว้เพื่อเก็งกำไรอีกด้วย
สิ่งที่รัฐบาลไทยควรทำก็คือ ส่งสัญญาณการเตือนภัยไปยังเวียดนาม  ขอให้ระมัดระวังการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจด้วยความรอบคอบ  และ พร้อมจะส่งผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจไปให้คำแนะนำแก่เวียดนาม  เพื่อช่วยเหลือให้เศรษฐกิจของเวียดนาม และ อาเซียนเดินหน้าต่อไปได้ด้วยดีไม่สะดุดวิกฤติเศรษฐกิจใดๆ อีก  โดยเฉพาะตั้งแต่ต้นปี 2553 ไปนั้น  เวียดนามจะรับไม้ต่อจากไทย  กลายเป็น ประธานอาเซียน  โดยสลับเปลี่ยนกันเป็นประธานเรียงตามตัวอักษร   หากเศรษฐกิจเวียดนามมีปัญหาหนักจะมีผลกระทบใหญ่หลวงต่ออาเซียนทั้งภูมิภาคได้
ทางออกของเวียดนามยังคงมีหรือไม่....ยังอาจพอเป็นไปได้อยู่  แต่เวียดนามต้องยอมรับก่อนว่า เศรษฐกิจที่ร้อนแรงเกินไปตอนนี้คือ ปัญหา เมื่อยอมรับปัญหานั้น ก็ต้องยอมกลืนเลือด  กดเศรษฐกิจให้เย็นลงอย่างเร็ว  ด้วยการหยุดกระตุ้นเศรษฐกิจทุกรูปแบบต้องลดการขาดดุลการคลังลงมาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้  ปล่อยให้ค่าเงินด่องสะท้อนความเป็นจริง ซึ่งน่าจะเป็นตามราคาตลาดมืด (อ่อนกว่าอัตราทางการอยู่ราว 9%)  และ ปรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนให้ยืดหยุ่นยิ่งขึ้น  นอกจากนี้ก็ต้องดูแลสินเชื่อต่างๆ ไม่ให้เติบโตมากเกินไป  พยายามทำให้เศรษฐกิจเติบโตต่ำระดับ 3-4% ราว 2 ปีก็น่าจะทำให้เวียดนามเดินหน้าต่อไปได้โดยไม่สะดุด    และ สิ่งสุดท้ายก็คือ ขอความร่วมมือจาก จีนให้มีการปรับค่าเงินหยวนให้แข็งค่าขึ้น  เพื่อช่วยเหลือการส่งออกของเวียดนาม และ ลดการนำเข้าจากจีน  เพื่อช่วยดุลการค้าที่นับวันจะแย่ลงของเวียดนามให้ปรับสู่สมดุลโดยเร็ว     แต่หากไม่ทำเช่นนั้นแล้ว  ภายในปีหน้า 2553 ที่จะถึงนี้  เราก็อาจเห็นเวียดนาม เดินซ้ำรอย ต้มยำกุ้ง ของไทยไม่ยาก  ค่าเงินด่องอาจดิ่งเหว ซึ่งจะกระทบกับการส่งออกสินค้าเกษตร และ สิ่งทอของไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  ยังไม่นับถึงความเสียหายจากการปล่อยกู้ และ การลงทุนที่เวียดนามของไทยอีกนับแสนล้านบาท  
ตอนนี้ก็ได้แต่หวังว่ายังทันเวลาที่เวียดนามจะเลือกทางออกที่สวยงาม และ รอดพ้นจากวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ไปได้ครับ
เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก... กรอบแนวคิดใหม่ใช้หลักยืมพลัง และ รักษาสมดุลเพื่อช่วยฟื้น ศก.ไทย และ ศก.โลก

หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
อะไรดีละ
Verified User
โพสต์: 680
ผู้ติดตาม: 0

วิกฤติศก.ของเวียดนาม

โพสต์ที่ 2

โพสต์

Vietnam GDP Grew 6.9% in Fourth Quarter; Fastest Pace This Year

    Dec. 31 (Bloomberg) -- Vietnams economy expanded at the fastest pace in at least a year in the fourth quarter, as lending growth fuelled construction and consumer sales.

Gross domestic product grew 6.9 percent from a year earlier after a revised 6.04 percent gain in the previous three months, the General Statistics Office said in Hanoi today. For the year as a whole, the economy expanded 5.32 percent, down from 6.18 percent in 2008.

Theyve shown an acceleration in economic growth each quarter this year, which is impressive, Lawrence Wolfe, director of business development at DongA Securities Co. in Ho Chi Minh City, said before the report. There may be a slight first-quarter dip, but exports should recover along with world markets, so 7 percent for 2010 is achievable.      Vietnams government unveiled stimulus worth about $8 billion to boost an economy that expanded 3.14 percent in the first quarter, the slowest pace on record. Measures included subsidies to encourage banks to offer loans, a program due to be scaled back in 2010.

Fiscal stimulus played a huge role in supporting growth, Tai Hui, head of Southeast Asian economic research at Standard Chartered Plc in Singapore, said before the report. There are pockets of concern, such as the extremely rapid lending growth.

Vietnams economy may be overheating, Nomura Holdings Inc. said this month, citing concerns that growth in lending is leading to imports that may not ultimately result in exports. Credit growth is expected to reach about 38 percent this year, according to the central bank.

Too Fast

The economy is growing too fast for the infrastructure and investment to repay itself, wrote Sean Darby, a Hong Kong- based strategist for Nomura, in a report this month that predicted inflation would reach 14.2 percent by the third quarter of 2010 and that the economy would expand 6.8 percent for the full year.

With inflation accelerating, the Vietnamese government said this month it would move away from a loose monetary policy and focus on economic stability. The central bank increased its benchmark interest rate to 8 percent as of Dec. 1 from the 7 percent level in place since February.

Industry and construction, which accounted for 40 percent of the Vietnam economy this year, grew 5.5 percent, according to todays report. The sub-category measuring construction alone gained 11.4 percent. The countrys construction industry is booming, Barclays Plc said this month.

Rice, Coffee

Services, which made up 39 percent of GDP, expanded 6.6 percent. Domestic demand had experienced a full recovery in Vietnam, Goldman Sachs Group Inc. said this month.

Agriculture, forestry and fisheries, which account for 21 percent of the economy, grew 1.8 percent. Vietnam is the worlds second-biggest exporter of rice and coffee.

Faster growth may help sustain a recent rally in the Ho Chi Minh City Stock Exchanges VN Index, which has gained 16 percent in the past two weeks, and buoy profit outlooks for the bourses biggest companies, such as Vietnam Dairy Products Joint-Stock Co. and property developer Hoang Gia Lai Joint-Stock Co.

Investors should focus on the positive performance of Vietnamese companies, DWS Vietnam Fund Ltd. said in a note this week that cited an average net profit increase this year of more than 50 percent for the countrys biggest corporations. Vietnam continues to have one of the fastest growth rates in the region.


++ โนมูระ เริ่มเห็นว่า "เวียดนาม" วิ่งเร็วเกินไปแล้ว  อันตรายมากๆ  
สินเชื่อโตถึง 38% ขณะที่ของไทยนั้นโตติดลบ ....
เวียดนาม เหมือนรถวิ่งอย่างเร็ว  เข้าโค้งหักศอก.... ถ้าคนขับไม่มีฝีมือจริงๆ รับรองเสร็จแน่นอนครับ  
:wink:
เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก... กรอบแนวคิดใหม่ใช้หลักยืมพลัง และ รักษาสมดุลเพื่อช่วยฟื้น ศก.ไทย และ ศก.โลก

หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
โพสต์โพสต์