อย่างไรก็ตามเพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีดังกล่าวข้างต้น ผู้ลงทุนต้องปฎิบัติตามเงื่อนไขการลง
ทุนของ RMF ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. เงินลงทุนใน RMF ต้องมาจากการประกอบอาชีพ และเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวล
รัษฎากร
2. ต้องลงทุนขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 3% ของเงินได้ หรือไม่น้อยกว่า 5,000 บาทต่อปี แล้วแต่ว่าจำนวนเงินใดจะต่ำ
กว่า
3. เงินลงทุนใน RMF ขั้นสูงสุดต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้ และเมื่อรวมเข้ากับเงินลงทุนในกองทุนสำรอง
เลี้ยงชีพ หรือ กบข. ที่ผู้ลงทุนมีอยู่เดิมต้องไม่เกิน 300,000 บาทต่อปี ทั้งนี้หากมีการลงทุนเกินกว่าที่
กำหนดข้างต้น และมีการขายคืนหน่วยลงทุน ผู้ลงทุนต้องนำกำไรที่ได้รับจากการขายคืนหน่วยลงทุน
เฉพาะส่วนที่เกินกว่าที่กำหนด ไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย
4. ห้ามนำหน่วยลงทุนของกองทุน RMF ไปจำหน่าย โอน จำนำ หรือใช้เป็นหลักประกันใดๆ
5. ต้องลงทุนสะสมอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่องอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยไม่มีการระงับการลงทุนเกินกว่า 1
ปีติดต่อกัน ซึ่งหากมีความจำเป็นก็สามารถระงับการลงทุนได้แต่ต้องไม่เกินหนึ่งปีติดต่อกัน ยกเว้นเสีย
แต่ว่าผู้ลงทุนผู้นั้นไม่มีเงินได้จากการประกอบอาชีพแต่อย่างใด ก็สามารถว่างเว้นจากการลงทุนได้จนกว่า
ผู้ลงทุนผู้นั้นจะมีเงินได้กลับมาลงทุนต่อไป ซึ่งในกรณีนี้ไม่ถือว่าเป็นการผิดเงื่อนไขการลงทุนแต่อย่างใด
ทั้งนี้ให้นับอายุการลงทุนแบบวันชนวันตั้งแต่วันแรกที่เริ่มลงทุน ยกตัวอย่างเช่น หากลงทุนซื้อหน่วยลงทุน
ของ RMF ในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2548 สามารถนับระยะเวลาการถือครองหน่วยลงทุนครบ 1 ปี ในวันที่
31 ธันวาคมปีถัดไปนั่นเอง
6. การขายคืนหน่วยลงทุนกระทำได้ก็ต่อเมื่อผู้ถือหน่วยลงทุนมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปี และต้องถือหน่วยลงทุน
นั้นไม่น้อยกว่า 5 ปี ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเริ่มลงทุนตอนอายุ 51 ปีอย่างสะสม และต่อเนื่องในกองทุน RMF
ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ไปในอนาคต จวบจนเมื่อผู้ลงทุนมีอายุครบ 56 ปี จะสามารถขายคืน
หน่วยลงทุนได้โดยไม่ผิดเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้ในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2553 นับเวลา 5 ปีพอดี
7. หากขายคืนหน่วยลงทุนก่อนเงื่อนไขการลงทุนที่กำหนดไว้ข้างต้น ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทาง
ภาษีอีกต่อไป อีกทั้งต้องคืนเงินสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับในช่วง 5 ปีล่าสุดให้แก่กรมสรรพากร นอก
จากนี้เงินที่ได้จากการขายคืนหน่วยลงทุนยังต้องนำไปคำนวณรวมเพื่อเสียภาษีเงินได้ในปีที่มีการขายคืน
หน่วยลงทุนนั้นด้วย
8. กรณีที่ผู้ลงทุนขายคืนหน่วยลงทุนบางส่วนก่อนกำหนดในปีใดปีหนึ่ง และได้คืนเงินสิทธิประโยชน์ทาง
ภาษีในช่วง 5 ปีย้อนหลังแล้ว (ผู้ลงทุนยังคงถือครองหน่วยลงทุน RMF ในส่วนที่เหลืออยู่) หากผู้ลงทุนผู้
นั้นประสงค์ที่จะลงทุนต่อก็สามารถลงทุนต่อเนื่องได้ทันที โดยสามารถนับระยะเวลาการถือครองหน่วย
ลงทุนใหม่ต่อเนื่องจากระยะเวลาการลงทุนเดิมได้
9. เฉพาะกรณีที่ผู้ลงทุนเสียชีวิต หรือทุพพลภาพเท่านั้น จึงจะไม่ถือว่าผิดเงื่อนไขการลงทุน
ดังนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ลงทุนต้องทำการศึกษาเงื่อนไขการลงทุนข้างต้น เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์
ทางภาษีก่อนการลงทุนใน RMF เสมอ โดยกองทุนรวมประเภทนี้ยังเหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่มีอาชีพอิสระ หรือลูก
จ้างที่ไม่มีระบบบำเหน็จบำนาญรองรับ หรือลูกจ้างที่อยู่ในระบบบำเหน็จบำนาญอยู่แล้ว แต่ต้องการที่จะลงทุน
เพิ่มขึ้นเพื่อให้ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเต็มวงเงิน 300,000 บาทต่อปีด้วย
และหากท่านมีความสนใจที่จะได้รับความรู้เรื่องการลงทุนในตราสารทางการเงินรูปแบบต่างๆ ท่าน
สามารถสมัครเข้าร่วมสัมมนาที่หลากหลายหัวข้อโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หรือเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านทาง TSI e-
Learning กับโครงการพัฒนาความรู้ผู้ลงทุน สถาบันพัฒนาความรู้ตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ที่
www.tsi-thailand.org