1 ม.ค. 53 การเปิดเสรีการค้าภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน(อาฟตา)

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

1 ม.ค. 53 การเปิดเสรีการค้าภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน(อาฟตา)

โพสต์ที่ 1

โพสต์

1 ม.ค. 53 การเปิดเสรีการค้าภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน(อาฟตา)
จะส่งผลอย่างไร กับหุ้นในอุตสาหกรรมใดบ้างขอรับ?

ขอบคุณมากๆครับ (^_^)
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

1 ม.ค. 53 การเปิดเสรีการค้าภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน(อาฟตา)

โพสต์ที่ 2

โพสต์

"มาร์ค"รับดูเปิดเสรี"เหล้า" หลัง"อาฟต้า"บังคับใช้ เผย 3 สินค้าเกษตรไทยระส่ำ เพื่อนบ้านโกยแทน [ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 เวลา 21:20:12 น.  มติชนออนไลน์ ]

"มาร์ค"รับดูผลกระทบเปิดเสรี "เหล้า" หลังอาฟต้าบังคับใช้ ชี้ข้อห่วงใยหลักอยู่ที่การแข่งขันมากกว่านักดื่ม ผลศึกษาระบุ ข้าว น้ำมันปาล์ม เมล็ดกาแฟ ระส่ำหนัก เวียดนาม พม่า มาเลเซียกอบโกยแทน


นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน ที่ทำเนียบรัฐบาล ถึงข้อห่วงใยจากภาคประชาชน การบังคับใช้ข้อตกลงทางการค้าเสรีอาเซียน หรืออาฟต้า อาจทำให้สุราต่างประเทศทะลักเข้าประเทศไทยอย่างหนัก และราคาถูกลง จนสร้างนักดื่มหน้าใหม่ว่า เรื่องสุรายังไม่ได้พิจารณา อย่างไรก็ตาม คงต้องดูเรื่องผลกระทบว่าจะเป็นอย่างไร แต่เข้าใจว่าเรื่องข้อห่วงใยน่าจะเป็นเรื่องการแข่งขันของผู้ผลิตมากกว่าผู้ดื่ม


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้กรมสรรพสามิตอยู่ระหว่างการพิจารณาปรับปรุงพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สรรพาสามิต พ.ศ.2527 ใหม่ เพื่อให้การประกาศมูลค่าสินค้าเพื่อใช้ในการคำนวณภาษีมีความเป็นธรรมยิ่งขึ้น โดยปรับปรุงนิยามคำว่า ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม แก้ไขหลักเกณฑ์การประกาศมูลค่าสินค้า เพื่อใช้ในการคำนวณภาษี เพื่อสร้างความชัดเจนในการจัดเก็บภาษียิ่งขึ้น รวมถึงปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.ยาสูบ และร่าง พ.ร.บ.สุรา และยกเลิกกฎหมายว่าด้วยไพ่และเพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีไพ่ด้วย


ทั้งนี้ ในนิยามคำว่า ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม ได้เพิ่มเติมว่า "ราคาที่ขายหรือพึงขายออกจากโรงอุตสาหกรรมที่แท้จริง ซึ่งเป็นราคาตามปกติในทางธุรกิจ โดยสุจริตและเปิดเผย" ขณะที่การเสียภาษีตามมูลค่านั้น ได้กำหนดเพิ่มเติมว่า "ในกรณีที่บุคคลผู้นำเข้าได้รับยกเว้นหรือลดอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน หรือตามกฎหมายอื่น หรือลดอัตราหรือยกเว้นอัตราภาษีต่ำกว่าอัตราที่ใช้ในการจัดเก็บเป็นการทั่วไปทุกประเทศ ให้นำอากรขาเข้าซึ่งได้รับการยกเว้นหรือลดอัตราดังกล่าวมารวมในการคำนวณมูลค่าตามสินค้าที่นำเข้าด้วย"


สำหรับในกรณีสินค้าที่นำเข้านั้น ให้ถือราคา ซี.ไอ.เอฟ. (C.I.F. : Cost, Insurance and Freight) ของสินค้าบวกด้วยอากรขาเข้า ค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนและภาษีและค่าธรรมเนียมอื่นตามที่จะได้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา แต่ไม่รวมถึงมูลค่าเพิ่มตามที่กำหนดในประมวลกฎหมายรัษฎากร  


นายเอกศักดิ์ โอเจริญ รองอธิบดี ในฐานะโฆษกกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า ร่างแก้ไข พ.ร.บ.ดังกล่าวยังไม่ใช่ข้อสรุปสุดท้าย เพราะกรมต้องเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบการก่อน ซึ่งในหลักการที่ปรับปรุงนั้น ภาษีสรรพาสามิตเป็นภาษีในประเทศ ไม่เกี่ยวกับข้อตกลงเสรีทางการค้า (เอฟทีเอ, อาฟต้า) ดังนั้น การยกเว้นภาษีศุลกากรสินค้านำเข้าตามเอฟทีเอ ไม่ได้หมายความว่าจะได้รับยกเว้นภาษีสรรพสามิตด้วย การคิดฐานภาษีในการคำนวณจึงเป็นการคิดบนฐานที่ว่ายังคงมีภาษีสรรพสามติอยู่ แม้ว่าผู้ประกอบการจะได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากรก็ตาม


"หากผู้ประกอบการ ที่ได้รับยกเว้นภาษีศุลกากรตามข้อตกลงเอฟทีเอ แสดงว่าฐานในการคำนวณภาษีจะเหลือเพียงราคา ซี.ไอ.เอฟ. หากนำฐานดังกล่าวมาคำนวณภาษีสรรพสามิตด้วย เท่ากับผู้ประกอบการนำเข้าจะได้ประโยชน์ 2 ต่อ ขณะที่ผู้ประกอบการไทยยังคงมีภาระในการเสียภาษีสรรพสามิตเท่าเดิม ซึ่งเรามองว่า นอกจากจะกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐแล้ว ยังไม่เป็นธรรมกับผู้ประกอบการในประเทศด้วย จึงยังคิดภาษีสรรพสามิตบนฐานที่ยังมีอัตราภาษีศุลกากรอยู่ ซึ่งไม่ได้ทำให้ผู้ประกอบการนำเข้ามีภาระเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด เพราะภาระภาษีสรรพสามิตยังคงเท่าเดิม และไม่เกี่ยวกับภาษีศุลกากรที่เป็นข้อตกลงเสรีทางการค้า" นายเอกศักดิ์ กล่าว


นายเอกศักดิ์ กล่าวด้วยว่า การที่ผู้ประกอบการมองว่าไม่เป็นธรรม ถือว่าเป็นมุมมองที่ต่างกัน ขึ้นกับแต่ละคน แต่ในแง่ของกรมสรรพสามิตมองว่า ถือเป็นกฎหมายภายในประเทศเอง เพราะแต่ละประเทศจะมีขั้นตอนการดำเนินงานที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม หากการดำเนินการแก้ไขกฎหมายไม่ทันวันที่ 1 มกราคม 2553 ตามข้อตกลงของเขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟต้า มีผลบังคับใช้ ฐานที่ใช้ในการคำนวณภาษีสรรพสามิตจะเป็นเพียงราคา ซี.ไอ.เอฟ.เท่านั้น แต่เชื่อว่ากรมมีกระบวนการดำเนินทางอื่นที่สามารถทำได้


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรมสรรพสามิตจะเป็นหน่วยงานจัดเก็บภาษีที่เรียกว่า ภาษีฟุ่มเฟือย เพื่อควบคุมการบริโภคสินค้าที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและสังคม ประกอบด้วย สินค้า 18 รายการ คือ น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน เครื่องดื่ม เครื่องปรับอากาศ โคมไฟฟ้า และโคมระย้า แก้วและเครื่องแก้ว รถยนต์ เรือ ผลิตภัณฑ์เครื่องหอมและเครื่องสำอาง พรมหรือสิ่งทอปูพื้นทำด้วยขนสัตว์ รถจักรยานยนต์ หินอ่อนและหินแกรนิต แบตเตอรี่ สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน สนามแข่งม้า สนามกอล์ฟ กิจการโทรคมนาคม ไนน์คลับและดิสโก้เธค สถานอาบน้ำ อบตัวหรือนวด สลากกินแบ่ง ไพ่ ยาสูบและยาเส้น สุรากลั่น และสุราแช่      


การทำข้อตกลงอาฟต้าโดยไทยลดภาษีนำเข้าเหลือ 0% ในต้นปีหน้านั้น จะมีรายการสินค้ารวมกว่า 5,000 รายการ ที่เปิดให้นำเข้าในอัตราภาษี 0% ซึ่งก่อนหน้านี้ ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้ศึกษาสินค้าเกษตรของไทยภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยศึกษาสินค้าเกษตร 23 รายการ ที่กลุ่มประเทศอาเซียนเดิม 6 ชาติ ได้แก่ ไทย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซียและบรูไน ต้องลดภาษีเหลือ 0% ในวันที่ 1 มกราคม 2553 นั้น พบว่าสินค้าเกษตร 3 ใน 4 รายการหลักที่ไทยส่งออกไปอาเซียนเกิน 10% ได้แก่ ข้าว น้ำมันปาล์ม และเมล็ดกาแฟ กำลังประสบปัญหาสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดอีก 1-2% ภายในปี 2558 คิดเป็นมูลค่าความเสียหายรวม 60 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินบาทประมาณ 2,040 ล้านบาท ประเมินว่าการส่งออกข้าวจะสูญเสียตลาดให้เวียดนามและพม่า น้ำมันปาล์มจะสูญเสียตลาดให้มาเลเซีย เมล็ดกาแฟจะเสียตลาดให้เวียดนาม ขณะที่ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังแม้ว่าไทยยังครองการส่งออกเป็นอันดับหนึ่งในอาเซียน แต่เป็นอัตราเติบโตที่ลดลง


แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์เปิดเผยว่า การปรับลดภาษีนำเข้าเหลือ 0% ตามกรอบอาฟต้าที่จะเริ่มมีผลบังคัลใช้วันที่ 1 มกราคม 2553 กลายเป็นประเด็นนั้น น่าจะเป็นเรื่องที่ภาคเอกชนกังวลต่อท่าทีของกรมสรรพสามิต ที่จะปรับสูตรคำนวณภาษีใหม่ โดยนำอัตราภาษีศุลกากรที่ยังไม่ปรับลดเหลือ 0% มาร่วมเป็นฐานคำนวณภาษีด้วย เพราะกลัวว่าจะต้องจ่ายภาษีในราคาเดิม ไม่ได้ถูกลงอย่างที่คาดไว้ โดยเหตุที่กรมสรรพสามิตต้องปรับสูตรคำนวณภาษีใหม่นั้น เพื่อชดเชยรายได้ที่ลดลงเจากการปรับลดภาษีอาฟต้าเหลือ 0% ที่คำนวณคร่าวๆ ว่าการจัดเก็บภาษีจะหายไปไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท

ที่มา : http://www.matichon.co.th/news_detail.p ... 1&catid=00
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

1 ม.ค. 53 การเปิดเสรีการค้าภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน(อาฟตา)

โพสต์ที่ 3

โพสต์

"พรทิวา"ถก ส.อ.ท.ห่วงอาฟต้า กระทบเป้าส่งออกโต 14% ในปี 53 [ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2552 เวลา 11:14:23 น.  มติชนออนไลน์ ]


พรทิวาหารือภาคเอกชนหาแนวทางในการผลักดันการส่งออกให้สามารถขยายตัวได้ 14 ขณะที่ภาคเอกชนเสนอให้ภาครัฐช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมรายย่อย


นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ เปิดเผยถึงการหารือร่วมกันกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)เมื่อวันที่ 25 ธันวาคมว่า ได้พาทีมผู้บริหารของกระทรวงพาณิชย์ มาประชุมหารือร่วมกับส.อ.ท. เนื่องจากเป็นห่วงผู้ประกอบการรายเล็กและรายย่อย(SMEs) เกี่ยวกับการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน(AFTA) ที่จะเริ่มมีผลในวันที่ 1 มกราคม 2553 ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเป้าหมายการขยายตัวด้านส่งออกที่ตั้งไว้ในปีหน้า 14%
         

นางพรทิวา กล่าวว่า  หลังจากได้สั่งให้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการทำงานของกรมส่งเสริมการส่งออกใหม่ทั้งหมด ทั้งในแง่ตัวบุคลากร และการทำงาน เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมีเป้าหมายเพื่อให้   การส่งออกของไทยขยายตัวร้อยละ 13-15 และมีการขยายตัวที่มั่นคงในระยะยาว โดยได้กำหนดมาตรการส่งเสริมการส่งออกเฉพาะรายสินค้าและตลาดในการรักษาปริมาณและมูลค่า การส่งออกสินค้าในตลาดสำคัญ ควบคู่ไปกับการติดตามสถานการณ์ส่งออกอย่างใกล้ชิด ทำงานแบบบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและได้จัดกลุ่มสินค้าส่งออกหลักที่ทำรายได้สูงสุด 10 อันดับ


ได้เสนอแผนยุทธศาสตร์รายสินค้าให้ภาคเอกชนได้รับทราบ พร้อมทั้ง รับฟังข้อเสนอแนะจากภาคธุรกิจต่างๆ   เพื่อนำมากำหนดมาตรการส่งเสริมการส่งออก ให้การส่งออกของไทยในปีหน้า สามารถขยายตัวได้ตามเป้าหมาย ส่วนที่ภาคเอกชนกังวลเกี่ยวกับการเปิดเขตการค้าเสรีอาจจะส่งผลกระทบต่อการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมรายย่อย หรือ SME นั้นในกลุ่มอาเซียนจะมีการประชุมหารือ เพื่อช่วยเหลือ เอสเอ็มอี ในแต่ละประเทศให้ สามารถแข่งขันได้ ส่วนไทยมีมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอีอยู่แล้ว
         

ด้าน นายสันติ วิลาสศักดิ์ดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ในการหารือร่วมกับผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์ ภาคเอกชนจะขอรับทราบนโยบายการค้าในปี 2553 และปีต่อไป รวมทั้งต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือ เอสเอ็มอีไทย ภายหลังการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ อาฟต้า และภายใต้กรอบ +3 +6 ที่ต้องการให้รัฐบาล วางกรอบนโยบายที่ชัดเจน เพื่อให้เอกชนวางเป้าหมายที่จะเพิ่มขีดความสามารถแข่งขันต่อไป
         

ภาคเอกชนมีความกังวลใจในเรื่องดังกล่าวเช่นกัน ซึ่งอยากให้รัฐบาลจัดตั้งกองทุนขึ้นมาดูแลและช่วยเหลือผู้ประกอบการที่จะได้รับผลกระทบในเรื่องดังกล่าว ส่วนการส่งออกในปีหน้าคาดว่าจะขยายตัวได้ในกรอบ 10-15% ส่วนปีนี้ คาดว่าจะติดลบ ร้อยละ 10 นายสันติ กล่าว  

ที่มา : http://www.matichon.co.th/news_detail.p ... 3&catid=05
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

1 ม.ค. 53 การเปิดเสรีการค้าภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน(อาฟตา)

โพสต์ที่ 4

โพสต์

FTA News ติดตามอ่านได้ที่ Link นี้เลยนะขอรับ

http://www.ttisfashionbiz.com/index.php ... Itemid=130

(^_^)
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
ภาพประจำตัวสมาชิก
GeneraX
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 0

1 ม.ค. 53 การเปิดเสรีการค้าภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน(อาฟตา)

โพสต์ที่ 5

โพสต์

เป้าหมายของระบบเศรษฐศาสตร์แบบทุนนิยมคือใช้การแข่งขันมากระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจในการผลิต และพัฒนาสินค้าและบริการที่ดีที่สุดออกมา

เมืองไทยเองโดยเฉพาะกับภาคเกษตรกรรมที่เอาแต่พึ่งภาครัฐในการ"อุ้ม"จนเป็นนิสัย ในขณะที่ภาครัฐเองก็เอาแต่"อุ้ม" เพื่อให้พวกเกษตรกรเงียบปากไป เป็นวังวนอย่างนี้อยู่มาไม่รู้ปีสิบกี่ร้อยปีแล้ว ทำให้ไม่เกิดการแข่งขัน ซึ่งก็ทำให้ไม่เกิดการพัฒนาใดๆในระบบเกษตรกรรมไทย ทั้งในแง่เทคโนโลยีในการผลิตและการจัดการ ทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตข้าวของไทยต่ำกว่าที่ควรจะเป็นมาโดยตลอด

มาตอนนี้ไทยต้องเปิดการค้าเสรีเกษตรซึ่งเป็นสัญญาที่ทำไว้กับอาเซียนมาตั้งนานแล้ว ก็แน่นอนครับการแข่งขันนั้นเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่มาเกิดกับเราซึ่งไม่เคยเตรียมพรอ้มกับการแข่งขันที่ว่านี้เลย เพราะที่ผ่านมาแทนที่เกษตรกรกับรัฐจะหันหน้าเข้าหากันเพื่อพัฒนาการผลิตและการตลาด ก็กลายเป็นเอาเวลาไปเรียกร้องให้"อุ้ม" หรือไม่ก็เอาเวลามาเข้ากรุงประท้วงเพื่อคัดค้าน FTA ในขณะที่รัฐก็มีหน้าที่"อุ้ม" โดยใช้ภาษีเพื่อให้ผ่านๆพ้นไป

Dilemma นี้แก้ยากจริงๆครับ ฝ่ายนึงก็จะไม่เอาอะไรเลยนอกจากจะให้อุ้ม โดยที่ไม่พยายามจะหัดเดิน ในขณะที่อีกฝ่ายก็อุ้มๆมันไปจะได้เงียบและก็ไม่กล้าจะสอนให้เดินมามันยากและไม่เห็นผลอะไรในสมัยตัวเอง...
Financial Discipline + Value Investment + Time = Financial Independence
witweew
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 236
ผู้ติดตาม: 0

1 ม.ค. 53 การเปิดเสรีการค้าภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน(อาฟตา)

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ผลกระทบต่อธุรกิจรับเหมาก่อสร้างครับ

บริษัทต่างชาติรอถล่มก่อสร้างไทย  
วันเสาร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2553

โพสต์ทูเดย์ ชี้รับเหมาไทย เป็นรองต่างชาติหลังเปิดเสรี แนะรัฐตั้งสถาบันพัฒนาองค์ความรู้ เข็นสภาวิชาชีพดูแลมาตรฐาน ผู้รับเหมา

นายอังสุรัสมิ์ อารีกุล อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า แม้จะเปิดเสรีทางการค้าและภาคบริการแล้ว แต่สำหรับอุตสาหกรรมก่อสร้างนั้นถือว่ายังไม่มีความ แข็งแรง เนื่องจากภาคธุรกิจนี้ยังไม่มีการผลักดันให้เกิดสถาบัน เพื่อมาอบรมให้ความรู้กับผู้ที่จะมาดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมรับเหมาก่อสร้าง
รวมถึงการตั้งสภาวิชาชีพอุตสาหกรรมรับเหมาก่อสร้าง ที่จะเป็นหน่วยงานที่ให้ใบอนุญาตในการประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง และภาคการเงินที่จะต้องเป็นหน่วยงานภาครัฐเพื่อให้การสนับสนุนการให้สินเชื่อ เพื่อให้บริษัทรับเหมาเหล่านั้นสามารถทำงานได้คล่องตัวขึ้น

ปัจจุบันอยู่ระหว่างการผลักดันเพื่อให้เกิดสถาบันที่จะอยู่ในการกำกับของกระทรวงอุตสาหกรรม แต่สำหรับสภาวิชาชีพนั้นยังไม่มีหน่วยงานใดเข้ามากำกับดูแล ขณะที่หน่วยงานที่สนับสนุนภาคการเงินสำหรับการก่อสร้างนั้นต้องอาศัยการผลักดันของกระทรวงการคลังในการสนับสนุน ซึ่งหากหน่วยงานหลักทั้ง 3 แห่ง เกิดขึ้นเร็ว จะเป็นการผลักดันให้ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างของไทยสามารถรับงานยังต่างประเทศได้ง่ายขึ้น

หากเปรียบเทียบกันเฉพาะ 3 ประเทศหลัก ระหว่างไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างของไทยถือว่าอ่อนแอที่สุด เนื่องจากยังไม่มีการกำหนดและควบคุมมาตรฐานวิชาชีพ ในขณะที่สิงคโปร์กับมาเลเซียถือว่าธุรกิจรับเหมาของเขาแข็งแรงมาก นายอังสุรัสมิ์ กล่าว

ด้านนายกฤษดา ตัณฑ์วิไล กรรมการบริหาร สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยฯ มองว่า บริษัทรับเหมาเอกชนต้องปรับตัวอย่างมากเพื่อให้สามารถออกไปรับงานก่อสร้างในต่างประเทศ โดยคาดว่าในอีก 3-5 ปีข้างหน้าจะรู้ว่าการแข่งขันมีความรุนแรงมากขึ้นเพียงใด โดยจะเห็นการรวมกันของบริษัทรับเหมาก่อสร้างข้ามชาติ เข้ามารับงานก่อสร้างในไทยมากขึ้น

ขณะที่บริษัทรับเหมาในไทยก็จะรวมตัวกันไปรับงานในต่างประเทศด้วยเช่นกัน แต่จะเห็นการรวมตัวกับบริษัทต่างชาติเข้าประมูลงานก่อสร้างในไทยมากกว่า นอกจากนี้ยังมีเรื่องแรงงานก่อสร้างที่จะต้องปรับตัวกันทั้งสองฝ่าย เนื่องจากแรงงานมีความรู้ที่ต่างกัน และอัตราค่าจ้างแรงงานที่แตกต่างกัน

นายอิสระ บุญยัง นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร ให้ความเห็นว่า การเปิดเสรีการค้าภาคบริการซึ่งรวมถึงอุตสาหกรรมก่อสร้างด้วยนั้น จะส่งผลต่อการก่อสร้างอาคารสูง คอนโดมิเนียม หรือโครงการขนาดใหญ่ ที่บริษัทรับเหมาก่อสร้างจากต่างประเทศจะเข้ามามากขึ้น และทำให้บริษัทรับเหมาไทยจะต้องปรับตัวในแง่ของการพัฒนาเทคโนโลยีการก่อสร้าง ขณะที่ผู้รับเหมารายกลาง รายเล็กไม่น่าจะได้รับผลกระทบ เพราะบริษัทรับเหมาใหญ่ๆ คงจะไม่สนใจรับงานขนาดเล็กอยู่แล้ว

ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์คงจะได้ประโยชน์จากการนำเข้าด้านเทคโนโลยีการก่อสร้างของบริษัทต่างชาติมาใช้ในไทยมากขึ้น โดยเฉพาะในการก่อสร้างอาคารสูงประเภทคอนโดมิเนียม และคาดว่าจะมีการแข่งขันด้านราคาเกิดขึ้นบ้าง เพราะบริษัทต่างชาติจะมีต้นทุนที่ถูกลงจากการเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้ว
chode
Verified User
โพสต์: 592
ผู้ติดตาม: 0

1 ม.ค. 53 การเปิดเสรีการค้าภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน(อาฟตา)

โพสต์ที่ 7

โพสต์

น่าเปิดเสรีค้าปลีกด้วย

ค้าปลีกบ้านเราจะได้ไปเปิดได้ง่ายๆ
chowbe76
Verified User
โพสต์: 1980
ผู้ติดตาม: 0

1 ม.ค. 53 การเปิดเสรีการค้าภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน(อาฟตา)

โพสต์ที่ 8

โพสต์

chode เขียน:น่าเปิดเสรีค้าปลีกด้วย

ค้าปลีกบ้านเราจะได้ไปเปิดได้ง่ายๆ
ผมว่าคงมีแต่CPALLแหละครับ
:D  :D
The mother of all evils is speculation, leverage debt. Bottom line, is borrowing to the hilt. And I hate to tell you this, but it's a bankrupt business model. It won't work. It's systemic, malignant, and it's global, like cancer.
chode
Verified User
โพสต์: 592
ผู้ติดตาม: 0

1 ม.ค. 53 การเปิดเสรีการค้าภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน(อาฟตา)

โพสต์ที่ 9

โพสต์

[quote="chowbe76

ผมว่าคงมีแต่CPALLแหละครับ
:D
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

1 ม.ค. 53 การเปิดเสรีการค้าภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน(อาฟตา)

โพสต์ที่ 10

โพสต์

อาเซียนเปิดเสรียานยนต์ดันไทยแกร่ง [ กรุงเทพธุรกิจ, 2 ม.ค. 53 ]

"กรุงเทพธุรกิจ" วิเคราะห์อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยแกร่งรับอาฟตา หลังเปิดตลาดเสรีรวมเป็นหนึ่งเดียว

ชี้ไทยได้เปรียบเป็นตลาดใหญ่ ค่ายรถให้ความสำคัญ เปิดทางนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์บางรายการ ที่ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศช่วยลดต้นทุน เตือนระวังค่ายรถเล็กย้ายฐานผลิต เผยมาเลเซียยังใช้มาตรการกีดกันการค้าที่ไม่ใช่ภาษีป้องตลาด

กลุ่มสินค้ายานยนต์เป็นหนึ่งในสินค้าที่ถูกจับตามอง เพราะเป็นสินค้าราคาแพงที่ประเทศเศรษฐกิจชั้นนำของอาเซียน ล้วนแต่มีอุตสาหกรรมในประเทศของตัวเอง ทั้งไทย มาเลเซีย อินโดนีเซียและเวียดนาม

ที่ผ่านมาเวลาถกเถียงเรื่องภาษีอาฟตาในหมวดยานยนต์ ส่วนใหญ่จะโฟกัสไปที่เรื่องรถยนต์นำเข้าสำเร็จรูป (CBU) เพียงเท่านั้น แต่ในความจริงยังมีผลิตภัณฑ์อีกมากมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ สำหรับโรงงานประกอบและอะไหล่ทดแทน

วันที่ 1 ม.ค.2553 กลุ่มสมาชิกอาเซียนผูกพันธสัญญาลดภาษีนำเข้าสินค้า ตามกรอบอาฟตาในสินค้ารถยนต์สำเร็จรูป (CBU) เหลือ 0% จากปัจจุบันที่จัดเก็บ 5% ซึ่งจะมีผลอย่างไรต่ออุตสาหกรรมรถยนต์และภาระของผู้บริโภค

ปัจจุบันมีรถยนต์ที่นำเข้าผ่านสิทธิภาษีอาฟตา จำนวน 11 ยี่ห้อ ได้แก่ เปอโยต์ โตโยต้า (อวันซ่าและอินโนวา) โปรตอน (ทุกรุ่น-มาเลเซีย) ฟอร์ด (โฟกัส-ฟิลิปปินส์) มาสด้า (มาสด้า3-ฟิลิปปินส์) ฮอนด้า (ฟรีด-อินโดนีเซีย) นาซ่า (ทุกรุ่น) ซูซูกิ-(สวิฟท์) นิสสัน (เอ็กซ์เทรล) เกีย (ปิคันโต) วอลโว่

อย่างไรก็ตามรถแต่ละรุ่นที่นำเข้ามาจำหน่าย ส่วนใหญ่ไม่ใช่ตลาดหลักและมีปริมาณการขายน้อยมาก เมื่อเทียบกับขนาดของอุตสาหกรรม 5-6 แสนคันต่อปี เรียกว่า รถจากอาฟตา ไม่ได้เป็นตลาดหลักและการพัฒนารถรุ่นใหม่ ในอนาคตก็ยังไม่ใช่รถที่จะมีอิทธิพลต่อตลาดไทยอยู่ดี


ชี้ราคารถไม่ลดหลังภาษี 0%

การลดภาษีเหลือ 0% อาจจะมีผลต่อต้นทุน แต่ราคาขายปลีกจะถูกปรับลดลงหรือไม่ ยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่แรงจูงใจ เพราะว่า ภาระภาษี สำหรับรถยนต์ที่มีระดับราคา 5 แสนบาท ซึ่งเมื่อเทียบกับความต้องการรถแล้ว จะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบที่แตกต่างมากนักจากปัจจุบัน

อย่างไรก็ตามมีข้อน่าสังเกตว่า เปรียบเทียบราคารถรุ่นใหม่ สามารถเห็นได้ชัดว่า มีการตั้งราคาขายปลีกที่ไม่สูงนัก ยกตัวอย่าง เช่น รถยนต์อเนกประสงค์ 7 ที่นั่ง ยี่ห้อ โปรตอน รุ่นเอ็กซ์โซรา จากมาเลเซีย ที่เพิ่งเปิดตัวไปในงานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 26 ปลายปีที่ผ่านมา ในงานราคาช่วงแนะนำเริ่มต้น 6.99 แสนบาท (ปัจจุบันปรับราคาเพิ่มเป็น 7.19 แสนบาท) แม้หลังวันปีใหม่ กำแพงภาษีอาฟตาไม่มีแล้ว แต่รถยนต์ก็ไม่ลดราคาลง

ผู้นำเข้าอ้างว่าตั้งราคารวมต้นทุนและส่วนต่างที่ลดลงไว้อยู่ก่อนแล้ว หากพิจารณาภาระภาษีของรถยนต์ 1 คัน ระดับราคา 4.99 แสนบาท หากถอดรหัสออกมาแล้วจะพบว่า เป็นภาษีประมาณ 9.48 หมื่นบาท ภาระภาษีลดลงเพียงเล็กน้อย ไม่ใช่เหตุที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตลาด


ภาคผลิตรถไทยได้เปรียบ

ในทางกลับกัน สำหรับผลดีของภาษี 0% ไทยได้เปรียบแน่นอนเพราะว่า เป็นประเทศที่ส่งออกรถยนต์จำนวนมาก ไปยังประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเฉพาะรถยนต์ปิกอัพ และรถยนต์นั่ง ระดับกลางและระดับบน อีกทั้งรถที่ส่งจากเมืองไทยไปจำหน่ายนั้น มีคุณภาพการประกอบดีที่สุดในภูมิภาค ได้รับการยอมรับในระดับโลก และในอนาคตอันใกล้ ไทยจะมีโปรดักท์แชมเปียนส์ตัวที่สองต่อจากปิกอัพ คือ รถอีโคคาร์ รถเก๋งขนาดเล็กตามเทรนด์ของตลาดโลก และมีจุดเด่นในเรื่องความประหยัดน้ำมันและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม


มาเลเซียอุปสรรครวมตลาดเดียว

สำหรับประเทศไทยนั้น ถือว่าเป็นประเทศที่ให้ความร่วมมือและเปิดรับกติกาทุกข้อแบบไม่มีเงื่อนไข จนภาคเอกชนต้องออกมาแสดงความวิตกว่ารัฐบาลได้ปกป้องผลประโยชน์ของชาติอย่างเต็มที่หรือไม่

ทั้งนี้มีบางประเทศอย่างมาเลเซีย ที่ยังปกป้องอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ จนรถเพื่อนบ้านหรือแม้แต่ค่ายรถที่มีโรงงานในมาเลเซียหลายยี่ห้อ ไม่สามารถแข่งขันกับรถยนต์แห่งชาติอย่างโปรตอนได้

ที่ผ่านมามาเลเซียไม่ยอมลดภาษีรถยนต์นำเข้าสำเร็จรูป ให้เหลือ 5% โดยอ้างนโยบายรถยนต์แห่งชาติ จนเมื่อปี 2549 จึงยอมปรับลดภาษีนำเข้ารถยนต์เหลือ 5% จาก 40% และเรียกร้องต่อประเทศสมาชิกอาเซียนว่า มาเลเซียควรต้องได้รับการลดภาษี จากประเทศสมาชิกอาเซียนเช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม นโยบายรถยนต์แห่งชาติของมาเลเซีย มีการกำหนดมาตรการปกป้องอุตสาหกรรมรถยนต์ภายในประเทศ เช่น การสนับสนุนเงินทุนผ่านทาง INDUSTRIAL ADJUSTMENT FUND ให้กับบริษัทรถยนต์แห่งชาติ การคืนภาษี 50% (TAX REBATE) ให้กับผู้ผลิต ซึ่งทำให้รถยนต์ที่ผลิตในมาเลเซียได้เปรียบด้านต้นทุนภาระภาษี หรือการห้ามมิให้บริษัทที่มีใบอนุญาตผลิต (MANUFACTURING LICENSE) ผลิตรถยนต์ยี่ห้อใหม่


มาเลเซียใช้มาตรการเอ็นทีบี

มาตรการที่ส่งผลกระทบมากที่สุด คือ การจำกัดการนำเข้าสินค้ารถยนต์จากต่างประเทศ โดยผู้ต้องการนำเข้ารถยนต์ทั้งส่วนบุคคล และนิติบุคคล จะต้องขอใบอนุญาตนำเข้ารถยนต์ ซึ่งกระบวนการได้มาซึ่งใบอนุญาต จะต้องมีการจ่ายเงินนอกระบบ เฉลี่ยประมาณ 300,000 บาทต่อการนำเข้ารถยนต์ 1 คัน

ขณะที่รถยนต์ที่ผลิตโดยรัฐบาลมาเลเซีย คือ โปรตอน และโปโรดัว มีราคาตั้งแต่ 3.5 แสนบาท ถึง 1 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งมาตรการทั้งหมดนี้ ส่งผลกระทบโดยตรงกับไทย ซึ่งเป็นฐานการผลิตและส่งออกรถยนต์ของผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำ ที่ต้องการขยายตลาดเข้าไปในมาเลเซียด้วย ดังนั้น หากมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NON TARIFF BARRIERS : NTBS) เหล่านี้ยังอยู่ คงยากที่ไทยจะส่งรถไปจำหน่ายในมาเลเซีย ในขณะที่มาเลเซียนั้น สามารถส่งรถมาขายบ้านเราได้เสรี หรือมากกว่าที่เป็นอยู่ซึ่งถือว่าผู้บริโภคชาวไทยเปิดใจรับแล้วพอสมควร


ฐานการผลิตปรับตัวรับค้าเสรี

นอกจากการรวมตลาดเป็นหนึ่งเดียวแล้ว สิ่งที่ตามมาจากการเปิดเสรีครั้งนี้ คือ การรวมกันของฐานการผลิต ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อควรระวัง ข้อดีคือต้นทุนการผลิตของค่ายรถ ที่มีเครือข่ายฐานการผลิตในอาเซียนจะต่ำลง ด้วยการแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนยานยนต์กัน ในงานที่ตนเองถนัดและทำต้นทุนได้ต่ำ ในกรณีนี้ไทยดูจะได้เปรียบ เพราะว่าชิ้นส่วนสำคัญและมีมูลค่าสูงส่วนใหญ่จะผลิตไทย อาทิ เครื่องยนต์ หรือชุดเกียร์ หากเกิดการแลกเปลี่ยนไทยจะได้ดุลการค้ามาก อาจเพิ่มการจ้างงานในประเทศ อย่างไรก็ตาม ในมุมของผู้บริโภคนั้นกลับไม่ได้อะไรตอบแทน ไม่มีการลดราคารถยนต์ลงมา ทั้งที่ต้นทุนต่ำลง

ข้อควรระวังและได้กลายเป็นข้อเสียไปแล้วในบางประเทศ คือ การเลือกย้ายฐานการผลิตของค่ายเล็ก อาจจะเลือกปิดฐานการผลิตในประเทศที่ผู้นำตลาดอันดับต้นๆ แข็งแกร่งเกินกว่าจะสอดแทรกทำกำไรได้ แล้วเลือกประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นฐานในการผลิตแล้วส่งกลับมาจำหน่าย เช่น จักรยานยนต์ซูซูกิ ที่แม้จะเป็นอันดับ 3 ในตลาด แต่มีส่วนครองตลาดเพียง 4% จากตลาดรวมระดับ 1.5 ล้านคัน ในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน 2552 ที่ผ่านมามีรายงานว่า ซูซูกิ มอเตอร์ โค ผู้ผลิตรถจักรยานยนต์รายใหญ่ของญี่ปุ่น มีแผนย้ายโรงงานผลิตรถจักรยานยนต์จากไทย ไปยังอินโดนีเซีย

โดยระบุว่า ตลาดขนาดใหญ่กว่า 4 ล้านคันต่อปีของอินโดนีเซีย เป็นหนึ่งในเหตุผลของการย้ายโรงงานครั้งนี้

ทั้งนี้ พีที ซูซูกิ อินโดโมบิล มอเตอร์ (ซิม) หน่วยงานในอินโดนีเซียของซูซูกิ ระบุว่า อินโดนีเซียเป็นฐานการผลิต เพื่อส่งออกรถจักรยานยนต์ไปยังฟิลิปปินส์ เดือนละ 10,000 คัน และมีแผนจะส่งออกรถจักรยานยนต์ไปยังไทย เวียดนาม และกัมพูชาอีกครั้ง โดยชิ้นส่วนของรถจักรยานยนต์ส่งออกเกือบ 90% จะมาจากอินโดนีเซีย พร้อมย้ำว่า อาเซียนเป็นเป้าหมายของสินค้าของบริษัท


เพิ่มขีดแข่งขันอุตฯ ยานยนต์อาเซียน

ด้านนายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร นายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย และผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ เอเชียแปซิฟิก เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมนูแฟกเจอริ่ง จำกัด ระบุว่า การที่ภาษีศุลกากรขาเข้าสินค้ายานยนต์ในกลุ่มประเทศอาเซียนลดลงเหลือ 0% จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน ให้กับทุกประเทศในอาเซียน ที่มีอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

หากมองจากการนำเข้ารถยนต์สำเร็จรูป หรือ CBU จะได้ประโยชน์น้อยจากการลดภาษีนำเข้าเหลือ 0% เพราะในส่วนของประเทศไทย ที่มีการผลิตรถยนต์มากเป็นอันดับที่ 14 ของโลก หรือโตโยต้านั้น เป็นฐานการผลิตที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียนอยู่แล้ว แต่จะได้ประโยชน์มากกว่า จากการนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์ที่ไม่สามารถผลิตได้ในไทยหรือย้ายฐานการผลิตไปแล้ว เช่น ชิ้นส่วนพลาสติก และชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยที่มีมูลค่าสูงกว่า เช่น อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องยนต์หรือชุดเกียร์ เพราะสามารถส่งออกได้ง่ายขึ้น

การที่ฐานการผลิตรถยนต์และค่ายชิ้นส่วนรายใหญ่ ต่างใช้ไทยเป็นโรงงานแม่ ในการผลิตชิ้นส่วนเทคโนโลยีระดับสูงมีมูลค่ามาก ทำให้ประเทศไทย ได้ประโยชน์มากที่สุด ในบรรดาประเทศอาเซียนที่มีอุตสาหกรรมยานยนต์ เพราะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย สร้างงานและเพิ่มโอกาสในการส่งรถออกไปขายในประเทศอาเซียนด้วยกัน ในสภาวะที่การส่งออกรถยนต์ไปทำตลาดหลักอย่างออสเตรเลีย ยุโรปและแอฟริกาได้รับผลกระทบจากพิษเศรษฐกิจโลก

"การงดเก็บภาษีศุลกากรขาเข้าสินค้าในกลุ่มประเทศอาเซียน เป็นภูมิคุ้มกันและช่วยให้ภาคธุรกิจทั้งหมดทยอยปรับตัว เพื่อรองรับการเปิดเขตการค้าเสรีโลกของดับเบิลยูทีโอ หรือแม้แต่เขตการค้าเสรีแบบทวิภาคีและพหุภาคีที่รัฐบาลจะทำกับคู่ค้าอื่นๆ ในอนาคต"

ที่มา : http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... แกร่ง.html
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 1

1 ม.ค. 53 การเปิดเสรีการค้าภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน(อาฟตา)

โพสต์ที่ 11

โพสต์

AFTAกระตุ้นส่งออกปีนี้โต10% น่าจับตา"เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์"
--------------------------
หนังสือพิมพ์ข่าวหุ้น วันที่ 12 ม.ค. 2553  

การผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยในปีที่ผ่านมาได้รับผลกระทบมากจากปัญหาเศรษฐกิจโลกถดถอย ในไตรมาสแรกของปี 52 การส่งออกของไทยหดตัวลงไปค่อนข้างมาก เนื่องจากธุรกิจต่างก็พยายามลดสินค้าคงคลังซึ่งถือเป็นต้นทุนและชะลอการสั่งซื้อเพิ่ม

อย่างไรก็ดี เมื่อธุรกิจได้ลดระดับของสินค้าคงคลังเข้าสู่ระดับที่ต่ำมาก จึงทำให้เมื่อเข้าไตรมาส  2 ก็เริ่มมีการสั่งซื้อเข้ามาเพื่อนำมาผลิตเป็นสินค้า ทำให้การส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส  2  และ 3 ของไทย เริ่มเห็นการหดตัวอัตรา ที่ชะลอลง ตามลำดับ

นอกจากผลของสินค้าคงคลัง การปรับตัวดีขึ้นของการส่งออกยังมีสาเหตุมาจากปัจจัยทางด้านฤดูกาล  และการปรับตัวของผู้ผลิต/ผู้ส่งออกโดยการเพิ่มการส่งออกไปยังตลาดในเอเชีย  จีน  อินเดีย  กลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก รวมทั้ง กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง เพิ่มขึ้นเพื่อทดแทนตลาดดั้งเดิม  

โดยในปี 52 จีนได้กลายเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งแทนที่สหรัฐ ขณะที่ตลาดใหม่ เช่น

อินเดีย สาธารณรัฐเช็ก เวียดนาม และบางประเทศในแถบตะวันออกกลาง มีการขยายตัวสูง และด้านการส่งออกไปยังตลาดดั้งเดิมบางส่วน เช่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ได้กลับมาฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว โดยมูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรมโดยรวมเริ่มกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้ในเดือนพ.ย. อย่างไรก็ดี เนื่องจากการหดตัวสูงในช่วงต้นปี การส่งออกช่วง 11 เดือนแรกจึงยังหดตัวอยู่ 16.8% เมื่อเทียบกับปีก่อน สำหรับเดือนธ.ค. คาดว่าคำสั่งซื้อมีแนวโน้มที่อาจทรงตัวอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับในเดือนพ.ย.

สำหรับปี 53 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่ามูลค่าการส่งออกอาจขยายตัวได้อยู่ในช่วง 5.4-10.4%  มูลค่า  44,542-46,656 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์มีแนวโน้มขยายตัว 5-10% เมื่อเทียบกับปีก่อน คิดเป็นมูลค่าส่งออก 28,235-29,580 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้ามีแนวโน้มขยายตัว 6-11% มูลค่า 16,307-17,076 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

โดยกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์    กลุ่มคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ    (ส่วนใหญ่เป็นฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ) คาดว่ามูลค่าส่งออกอาจขยายตัวได้ในช่วง 7-12% เมื่อเทียบกับปีก่อน (มูลค่า 15,356-16,073 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) จากที่หดตัวไป 13.5% ในปี 52 ซึ่งการเติบโตของการส่งออกฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟจะเป็นไปตามแนวโน้มของตลาดโลก ส่วนแผงวงจรไฟฟ้า คาดว่าอาจหดตัวเล็กน้อยที่ 3% ถึงขยายตัว 5% (มูลค่า 6,240-6,754 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เมื่อเทียบกับปี 52 ที่หดตัว 11.2%

จากภาพรวม สำหรับสินค้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์คาดว่าแรงสนับสนุนจากผลของสินค้าคงคลังในช่วงก่อนจะค่อยๆ หมดลงไปในช่วงไตรมาสแรก ทำให้ปัจจัยที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนความต้องการสั่งซื้อสินค้าของผู้ผลิตหรือผู้ค้าจะขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของตลาดอุปสงค์ขั้นสุดท้ายในตลาดโลก  ที่สำคัญ ได้แก่ สินค้าไอที เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ อุตสาหกรรมยานยนต์

ทั้งนี้ จากการคาดการณ์ของบริษัทวิจัยและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม ประเมินแนวโน้มของตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ปี 53 ว่าอาจเติบโตได้ถึง 10% โดยได้รับแรงหนุนจากการเติบโตของสมาร์ทโฟนซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีการสื่อสาร ด้านตลาดคอมพิวเตอร์ ปี 53 คาดว่าอาจเติบโตได้ถึง 10% โดยได้รับปัจจัยบวกจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของอุปสงค์ในตลาดประเทศเกิดใหม่      และความนิยมในการใช้คอมพิวเตอร์พกพาทั้งโน้ตบุ๊คและเน็ตบุ๊ค ขณะที่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ปีหน้า คาดว่ายอดขายรถจะขยายตัว 4.7% จากปี 52 ซึ่งหดตัวกว่า 14% เนื่องจากจีน อินเดีย และบราซิล แม้ว่าตลาดในสหรัฐฯ และประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ อาจยังค่อนข้างทรงตัว

แม้ว่าจากตัวเลขเครื่องชี้ของอุตสาหกรรมที่ผ่านมา  จะเริ่มเห็นการปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป    แต่ยังมีความเสี่ยงเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น สหรัฐฯ ยุโรป และความเสี่ยงของการเกิดเศรษฐกิจฟองสบู่ในจีนและอีกหลายๆ ประเทศในภูมิภาคเอเชีย   ซึ่งเป็นตลาดผู้บริโภคสินค้าขั้นสุดท้ายที่สำคัญของสินค้ากลุ่มการสื่อสารและเทคโนโลยี และเป็นตลาดรถยนต์หลักของโลก

ส่วนปัจจัยอื่นๆ ที่อาจกระทบต่อผู้ประกอบการ ได้แก่ เทรนด์ของการควบรวมกิจการ/หน่วยผลิตบางส่วนของเหล่าผู้ผลิตสินค้าไอทีและเครื่องใช้ไฟฟ้าในช่วงก่อน ซึ่งส่งผลให้อำนาจต่อรองของผู้ซื้อเพิ่มขึ้น ทำให้มองได้ว่าในปี 53 ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อาจยังคงต้องเผชิญกับแรงกดดันด้านราคาอย่างต่อเนื่อง

ส่วนของการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า   มองว่า  ปัจจัยบวกต่อการส่งออกในอนาคตที่สำคัญประการหนึ่ง  คือ การเข้ามาลงทุนในไทยและ/หรือขยายฐานการผลิตของบริษัทข้ามชาติผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่หลายรายทั้งจากญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ได้เข้ารวมถึงมีการจัดตั้งศูนย์ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ประจำภูมิภาคขึ้นในไทย   ทำให้ไทยมีศักยภาพในการเป็นฮับการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจุดแข็งของไทยจะอยู่ในกลุ่มสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน

ทั้งนี้ ในปี 53 การทำข้อตกลงการเปิดเสรีอาเซียนและอาเซียน-จีน จะทำให้อัตราภาษีของส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าบางประเภทเป็น 0% ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.เป็นต้นไป จะเป็นผลดีต่อผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในไทยที่จะสามารถนำเข้าชิ้นส่วนในต้นทุนที่ต่ำลงในขณะที่มีแนวโน้มขยายตลาดส่งออกได้มากขึ้น

รายสินค้าในปี 53 กลุ่มโทรทัศน์มีแนวโน้มขยายตัวเป็นบวกโดยยอดขายในประเทศแถบเอเชีย อาทิ อินเดีย เวียดนาม และอิหร่าน จะขยายตัวได้ดี ขณะที่หลายประเทศซึ่งการส่งออกหดตัวไปสูงในช่วงก่อน เช่น สิงคโปร์ เกาหลีใต้ มีแนวโน้มกลับมาเติบโตเป็นบวก ด้านสินค้ากลุ่มเครื่องปรับอากาศประเภทที่ใช้ในที่อยู่อาศัยที่ส่งออกไปประเทศแถบยุโรปอาจได้รับผลดีจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่ทำให้ความต้องการใช้เครื่องปรับอากาศเพิ่มขึ้น แต่การส่งออกไปยังประเทศแถบตะวันออกกลาง คือ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ น่าจะเห็นการหดตัวค่อนข้างมากในปี 53 เพราะปัญหาภาวะฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์

แม้ว่ามูลค่าส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าปี 53 มีแนวโน้มกลับมาขยายตัวเป็นบวก แต่ก็อาจจะเป็นไปในอัตราที่จำกัด เนื่องจากแม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นแต่ยังมีปัจจัยความไม่แน่นอนอยู่มาก ประกอบกับอัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับสูง ทำให้มีความเป็นไปได้ที่ตลาดประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น บางประเทศมีแนวโน้มที่อาจหดตัวลดลงจากปีก่อนแต่จะยังไม่กลับมาขยายตัวเป็นบวก  ด้านตลาดใหม่  แม้ว่าในภาพรวมน่าจะเติบโตได้ดี แต่ยังคงต้องจับตาปัจจัยเสี่ยงซึ่งอาจกระทบต่อเสถียรภาพการเติบโตของเศรษฐกิจในบางประเทศ และการส่งออกของไทยได้

ทั้งนี้ สิ่งที่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมควรต้องคำนึงถึง ซึ่งอาจกระทบต่อการส่งออกในอนาคต ได้แก่ 1.การเปิดเสรีการค้า (FTA) ที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.53 ไทยมีพันธะที่จะต้องลดภาษีสินค้าปกติ ตามข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน และเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน ซึ่งจะมีผลให้สินค้าประเภทผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายสินค้า ได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้า ซึ่งผู้ประกอบการบางกลุ่มอาจได้รับประโยชน์จากการใช้ชิ้นส่วนหรือวัตถุดิบนำเข้าในต้นทุนที่ถูกลง  และการขยายตลาดส่งออกในภูมิภาค ทำให้การผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น   แต่ในอีกด้าน  ผู้ผลิตชิ้นส่วนกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบจากสินค้านำเข้า ก็ต้องปรับตัวรับมือกับการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน

2.กฎระเบียบทางการค้า โดยการใช้มาตรการที่มิใช่ภาษีในประเทศคู่ค้าที่เข้มข้นขึ้น ทั้งในรูปแบบของมาตรฐานสินค้า กฎระเบียบที่เกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้บริโภค สุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม เช่น ในจีน แม้ว่าไทยจะมีข้อตกลงการเปิดเสรี แต่การส่งออกสินค้ายังต้องเผชิญกับมาตรฐานสินค้าและกฎระเบียบอื่นๆ ที่มีอยู่ในประเทศ ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกและเป็นภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้น หรือในกลุ่มสหภาพยุโรป ซึ่งมีการบังคับใช้มาตรฐาน REACH, WEE, RoHS เป็นต้น

3.เทรนด์สีเขียว       โดยหลายๆ       ประเทศได้บรรจุไว้ในมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ  เช่น ญี่ปุ่นซึ่งขยายระยะเวลาการให้เงินอุดหนุนสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในกลุ่มนี้ หรือสหรัฐ และประเทศในยุโรป ขณะที่ไทยซึ่งมีนโยบายส่งเสริมพลังงานทางเลือก (พลังงานแสงอาทิตย์   พลังงานลม   ฯลฯ)   และล่าสุด  สหภาพยุโรปได้ออกข้อกำหนดเกี่ยวกับฉลากพลังงานเพื่อสนับสนุนธุรกิจที่ทำการผลิตหรืออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งการใช้นโยบายส่งเสริมสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จะเป็นโอกาสสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดพลังงาน  สินค้า Eco-design ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นส่วนประกอบสินค้ากลุ่มนี้และที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมพลังงานทางเลือก เป็นต้น

4.การเติบโตของจีน  ในปี 53 ผู้ประกอบการยังต้องจับตาการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จากจีน ซึ่งส่วนแบ่งตลาดในตลาดโลกขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยสินค้าจากจีนมีความได้เปรียบด้านต้นทุนและมีหลายระดับคุณภาพและราคา  ตั้งแต่เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีแบรฺนด์และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ไฮเทคไปจนถึงชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป โดยสินค้าบางกลุ่มของจีนสามารถแข่งขันกับสินค้าจากต่างประเทศได้    เมื่อประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงซบเซา   ทำให้ผู้บริโภค   และผู้ประกอบการในต่างประเทศที่ใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนประกอบ อาจหันไปนำเข้าจากจีนเพิ่มมากขึ้นเพื่อลดค่าใช้จ่าย ซึ่งจุดนี้อาจกระทบต่อการส่งออกของไทย  

อย่างไรก็ตามในอีกด้านหนึ่ง ผู้ประกอบการที่เป็นส่วนหนึ่งในสายการผลิตของจีนจะได้รับประโยชน์ กลยุทธ์ของธุรกิจส่งออกที่อยู่ในไทยในการรับมือจึงอาจกล่าวได้กว้างๆ เป็น 2 แนวทาง คือ การเป็นพันธมิตรทางธุรกิจร่วมมือเพื่อโตไปกับจีน และ/หรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนให้มีความแตกต่าง เป็นต้น

5.การแข่งขันดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ         เนื่องจากโครงสร้างของอุตสาหกรรมมีลักษณะเป็นเครือข่ายการผลิตโลก ดังนั้นการเข้ามาลงทุนของบริษัทข้ามชาติจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะมีผลต่อแนวโน้มการส่งออกของไทยในอนาคต หมายความว่าภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจนในการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศและการพัฒนาธุรกิจที่อยู่ในประเทศในอุตสาหกรรมนี้ เพื่อรักษาความได้เปรียบให้ไทยคงเป็นศูนย์กลางในการผลิตและกระจายสินค้าของภูมิภาค ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทยมีบทบาทที่จะช่วยดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพและอยู่ในระดับที่แข่งขันได้

คาดการณ์การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ปี 2552/53

2551 2552e 2553eรวมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (%) -2.6 -14.0 5.4 ถึง 10.4เครื่องใช้ไฟฟ้า (%) 6.1 -16.7 6 ถึง 11อิเล็กทรอนิกส์ (%) 0.7 -13.5 5 ถึง 10คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (%) 6.1 -13.5 7 ถึง 12แผงวงจรไฟฟ้า (%) -14.0 -11.2 -3 ถึง 5

--------------------------
ที่มา : http://www.kaohoon.com/pg.newspaper/rep ... ?cid=35435
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
โพสต์โพสต์