ต้องขอออกตัวก่อนว่า พี่ไม่มีความรู้เรื่องแบงค์นะครับ แต่ถ้าพี่นึกถึงความเป็นจริงในช่วงนี้ ที่มีดอกเบี้ยเงินฝากค่อนข้างต่ำมาก แต่ดอกเบี้ยเงินกู้แทบไม่ลดลงมากเหมือนเงินฝาก เพราะเหตุผลที่แบงค์ให้ว่า ไม่มั่นใจในNPLในอนาคต เลยต้องเผื่อความเสี่ยงไว้ โดยการไม่กดดอกเบี้ยเงินกู้ลงและปล่อยสินเชื่อยาก(ในช่วงปลายปี51ต้นปี52) แต่จากกลางปี52เป็นต้นมาสภาพความเสี่ยงเริ่มลดลงมาก การปล่อยกู้ก็ง่ายกว่าที่ผ่านมา แต่ดอกเบี้ยอ้างอิงยังไม่ปรับ และสภาพคล่องของแบงค์ยังเหลือ ทำให้แบงค์ก็ไม่ยากจะแข่งกันเพิ่มต้นทุน(เพิ่มดอกเบี้ยเงินฝาก)กันสักเท่าไหร่jacksatit เขียน:พี่นริศครับ ผมงงๆนิดหน่อย ตอนแรกผมนึกว่าตอนแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น NIM ของแต่ละแบงค์จะสูงขึ้น เพราะเงินฝากเกินครึ่งของแบงค์เป็นแบบออมทรัพย์ซึ่งปกติจะไม่ขึ้นดอกตามตลาด แต่ดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัวจะปรับขึ้นตามดอกเบี้ยตลาด ทำให้ NIM สูงขึ้นชั่วคราวตอนดอกเบี้ยขึ้น
แต่เท่าที่อ่านเจอพี่หลายคนเขียนว่า NIM จะลดลงตอนดอกเบี้ยขาขึ้น เลยอยากถามพี่ว่าจริงๆแล้วอันไหนถูกต้องกันแน่ครับ
Happy New Year ครับ ขอให้พี่สุขภาพแข็งแรง ทุกคนในครอบครัวมีแต่ความสุข และมีความก้าวหน้าในทางธรรมยิ่งๆขึ้นครับ
แต่ถ้าทางธนาคารแห่งประเทศไทย จะเริ่มปรับดอกเบี้ยอ้างอิงขึ้นในกลางปีหน้า น่าจะเริ่มมีสัญญาณการเพิ่มดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ในธนาคารพาณิชย์หลายๆแห่งก่อน เพิ่อที่จะดึงเงินฝากระยะยาว แต่เงินกู้ยังไม่ปรับ(เพราะที่ผ่านมามีNIMที่สูง และคงถูกกดดันจากธนาคารแห่งประเทศไทยในการปรับดอกเบี้ยเงินกู้)
พี่เลยสรุปแบบเดาๆว่า(ใครให้อยากมาถามหล่ะ ขอเดาสักหน่อย 555)ในระยะสั้นขึ้นกับการบริหารเงินเข้า(เงินฝากในรูปแบบต่างๆ ในช่วงระยะเวลาต่าง) กับ การบริหารเงินออก(การปล่อยกู้ในรูปแบบต่างๆ และการลงทุนในตราสารหนี้ตราสารทุน) ถ้าใครรู้timing รู้จังหวะจะโคน ก็สามารถบริหารให้มีกำไรมากขึ้นได้ทั้งสองขา ส่วนในช่วงขาลงก็เช่นเดียวกันครับ
แต่ถ้าพูดถึงระยะยาว การที่ดอกเบี้ยเงินฝากขึ้นสูงๆนั้น แบงค์คงไม่ชอบแน่นอน เพราะถึงแม้นว่าNIMจะเท่าเดิม แต่ต้นทุนทางการเงินจะสูงขึ้น ทำให้ถ้ามีNPL ภาระมีมากกว่าเวลาต้นทุนทางการเงินต่ำๆครับ