หุ้นปันผล (stock dividend) มีข้อดีข้อเสียอย่างไร

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
sirip
Verified User
โพสต์: 3
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นปันผล (stock dividend) มีข้อดีข้อเสียอย่างไร

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ช่วยตอบหน่อยนะคะ แบบว่าความรู้น้อยอ่ะค่ะ
1. อยากทราบว่าหุ้นปันผล (stock dividend) มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไรบ้างคะ
2. เวลาบริษัทออกหุ้นปันผลมาจ่ายให้กับผู้ถือหุ้น ใครคือคนชำระค่าหุ้นดังกล่าวคะ หรือว่าไม่มีการชำระค่าหุ้นคะ
ภาพประจำตัวสมาชิก
picklife
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2567
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นปันผล (stock dividend) มีข้อดีข้อเสียอย่างไร

โพสต์ที่ 2

โพสต์

:o หุ้นปันผล กับหุ้นปันผลดี ไม่เหมือนกันหรอครับ ????
ภาพประจำตัวสมาชิก
killyz
Verified User
โพสต์: 409
ผู้ติดตาม: 0

หุ้นปันผล (stock dividend) มีข้อดีข้อเสียอย่างไร

โพสต์ที่ 3

โพสต์

คัดลอกจาก settrade.com
Dividend VS Value Stock

คนจำนวนมากในตลาดหุ้นมักจะเข้าใจผิดคิดว่า Value Stock หรือหุ้นคุณค่าก็คือหุ้นที่มีการจ่ายปันผลที่ดี ยิ่งปันผลสูงเมื่อเทียบกับราคาหุ้นมากเท่าไรหุ้นนั้นก็เป็นหุ้น Value มากขึ้นเท่านั้น บ่อยครั้งโดยเฉพาะในช่วงที่ภาวะตลาดไม่คึกคักโบรกเกอร์และหนังสือพิมพ์ก็จะนำเสนอหุ้นที่จ่ายปันผลงามที่สุด 10-20 อันดับ และแนะนำว่าเป็นหุ้นที่น่าลงทุน

บางครั้งผมเองก็เคยพูดว่า ปันผลเป็นคำตอบสุดท้าย นั่นคือมีหุ้นที่จ่ายปันผลดีบางตัวน่าสนใจเข้าข่ายเป็น Value Stock และต่อมาก็พิสูจน์ว่าสิ่งนั้นเป็นจริง คือหุ้นที่จ่ายปันผลดีเหล่านั้นทำกำไรให้กับคนที่ถืออย่างงดงาม

พูดไปพูดมามาก ๆ เข้าคนจำนวนไม่น้อยก็เลยเข้าใจผิดคิดว่าหุ้น Value ก็คือหุ้นปันผล และคิดว่าผมในฐานะ Value Investor พันธุ์แท้ ชอบลงทุนซื้อหุ้นที่จ่ายปันผลงามและจะถือเก็บเพื่อกินปันผลเป็นหลักโดยไม่สนใจกำไรจากการปรับตัวขึ้นของราคาหุ้น

นั่นเป็นความเข้าใจผิดอย่างสิ้นเชิง เพราะคำว่า Value Stock นั้น ความหมายก็คือเป็นหุ้นที่มีคุณค่าสูงกว่าราคาหุ้นมาก โดยที่คุณค่านั้นคิดจากความสามารถในการทำกำไรและ / หรือการสร้างกระแสเงินสดของบริษัทในอนาคตระยะยาว ส่วน หุ้นปันผล ที่พูดกันนั้นมักจะเป็นปันผลที่จ่ายในปีที่แล้วหรือปีที่กำลังถึงเมื่อเทียบกับราคาหุ้นในปัจจุบัน

ความแตกต่างระหว่างหุ้นปันผลกับ Value Stock นั้นชัดเจนก็คือ ใน Value Stock เราพยายามหาความสามารถในการทำกำไรหรือเงินสดในระยะยาวของบริษัทซึ่งจะต้องวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ มากมายตั้งแต่เรื่องของภาวะอุตสาหกรรม การตลาด การผลิต การบริหารงาน และการเงินของบริษัท ความได้เปรียบเสียเปรียบของบริษัทเทียบกับคู่แข่งและอื่น ๆ อีกมาก ในขณะที่หุ้นปันผล ดูเฉพาะการจ่ายปันผลปีที่แล้วปีเดียวเทียบกับราคาหุ้นในปัจจุบันซึ่งเป็นข้อมูลของอดีตที่ไม่ต้องวิเคราะห์อะไรเลย

ในสายตาของ Value Investor แล้ว ปันผลเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งหรือเป็นคุณค่าของหุ้นที่นำมาพิจารณาประกอบกับองค์ประกอบอื่นอีกหลาย ๆ อย่าง บางคนคิดว่าผลตอบแทนจากปันผลเป็นสิ่งที่สำคัญมาก บางคนก็เฉย ๆ ส่วนผมเองนั้น ผมคิดว่าปันผลเป็นเพียง ผลตอบแทนของการรอคอย นั่นก็คือ เวลาผมซื้อหุ้นที่เป็น Value Stock นั้น ผมซื้อเพราะผมเชื่อว่าเป็นกิจการที่ดีราคาถูก แต่ผมไม่รู้ว่าราคาหุ้นจะวิ่งขึ้นไปเมื่อไร บางครั้งผมต้อง รอคอย นานมาก ซึ่งถ้าในระหว่างนั้นผมไม่ได้อะไรตอบแทนเลยผมก็จะรู้สึกแย่มากและก็ทำใจได้ยาก ดังนั้น หุ้นที่มีการจ่ายปันผลน้อยนิดเมื่อเทียบกับราคาหุ้นจึงเป็นหุ้นที่ผมไม่ชอบเลย

แต่ผมเองก็ไม่ชอบและมักจะไม่สนใจหุ้นที่จ่ายปันผลอย่างงดงามมากเมื่อเทียบกับราคาหุ้น เช่น จ่ายถึง 10% ของราคาหุ้นที่เรียกกันว่าหุ้นปันผล เหตุผลไม่ใช่เพราะผมรังเกียจปันผลหรือคิดว่านี่เป็นผลตอบแทนที่น้อยเทียบกับการขึ้นของราคาหุ้น แต่เป็นเพราะว่า หุ้นปันผล เหล่านั้น ส่วนใหญ่มักจะเป็นหุ้นที่จ่ายปันผลมาก ชั่วคราว นั่นก็คือ จ่ายมากเฉพาะปีที่ผ่านมา แต่อนาคตคงไม่สามารถที่จะจ่ายได้เท่าเดิมเนื่องจากกำไรของบริษัทในอนาคตจะลดลง เพราะฉะนั้น หุ้นปันผล ของวันนี้ อาจจะกลายเป็นหุ้นที่จ่ายปันผลน้อยในวันข้างหน้า

บริษัทบางแห่งทำกำไรปีที่แล้วได้ 8 บาทต่อหุ้น และจ่ายปันผล 8 บาทต่อหุ้นเหมือนกันเพราะไม่มีความจำเป็นต้องเก็บกำไรเอาไว้ลงทุนต่อ ราคาหุ้นของบริษัทที่ซื้อขายในตลาดเท่ากับ 100 บาท ดังนั้นผลตอบแทนปันผลเท่ากับ 8% คนพูดว่านี่คือหุ้นที่จ่ายปันผลดีมากเป็นหุ้นปันผล อีกบริษัทหนึ่งกำไร 10 บาทต่อหุ้น ราคาหุ้นเท่ากับ 100 บาทเท่ากัน แต่จ่ายปันผลเพียง 3 บาท เพราะต้องนำกำไรส่วนที่เหลืออีก 7 บาทต่อหุ้นไปลงทุนขยายงานต่อ คำนวณดูแล้วผลตอบแทนปันผลเพียง 3% แต่มองดูแล้วบริษัทนี้น่าจะดีกว่าบริษัทแรกและมีคุณค่ามากกว่า เพราะบริษัทน่าจะเติบโตมากกว่าเพราะมีการลงทุนขยายกิจการ และราคาหุ้นเมื่อคิดจากค่า PE ก็ถูกกว่า คือเท่ากับ 10 เท่า (100/10) ในขณะที่บริษัทแรกนั้นค่า PE เท่ากับ 12.5 (100/8)

หุ้นที่จ่ายผลตอบแทนปันผลสูงนั้นคงจะไม่เลวร้ายดังตัวอย่างข้างต้นเสมอไปแต่หุ้นหลายตัวก็มีลักษณะดังกล่าว ดังนั้นก่อนที่จะซื้อหุ้น ปันผล ควรที่จะศึกษาตัวบริษัทอย่างถี่ถ้วนเสียก่อนว่าปันผลที่ได้รับนั้นจะไม่ลดลงในอนาคต ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นจริง การได้ปันผลงามก็ไม่มีประโยชน์ เพราะในวันที่เราได้รับปันผล ราคาหุ้นกลับลดลงมากกว่า ปันผลดีกลายเป็นกับดัก และนี่ไม่ใช่หุ้น Value ที่เราเสาะแสวงหาเลย
การลงทุนมีความเสียว โปรดใช้วิจารณญาณในการลอก
ภาพประจำตัวสมาชิก
picklife
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2567
ผู้ติดตาม: 0

Re: หุ้นปันผล (stock dividend) มีข้อดีข้อเสียอย่างไร

โพสต์ที่ 4

โพสต์

:lol: อิอิทำเอางงเพราะเจอคำถามข้อสอง แฮ๊ะๆ
sirip เขียน:1. อยากทราบว่าหุ้นปันผล (stock dividend) มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไรบ้างคะ
ข้อดี
1.ซื้อแล้วได้ผลตอบแทนในรูปเงินสด จะดูอุ่นใจ
2.โดยส่วนมากหุ้นที่ปันผลดีมักจะเป็นหุ้นดีครับ
ดังนั้นการเลือกหุ้นจากหุ้นปันผลดีก็จะมีโอกาสเจอหุ้นดีๆได้ง่ายกว่าหเสเป๊ะสปะครับ
3.สำหรับคนที่เงินมากๆไม่ต้องการซื้อขายบ่อยๆแล้วอยากถือยาวแล้วรับเงินเป้นงวดๆ ก็จะสะดวกกว่าครับ

ข้อเสีย
1.อาจเป็นภาพลวงตาได้เมื่อเจอหุ้นปันผลสูงๆแล้วซื้อแต่กลับเป็นปันผลที่เกิดจากการกำไรพิเศษในปีนั้น
2.หากดูที่ปันผลอย่างเดียว อาจจะทำให้มองข้ามหุ้นที่มีมูลค่าถูกมากๆแต่ไม่มีปันผลได้ครับ
sirip เขียน:2. เวลาบริษัทออกหุ้นปันผลมาจ่ายให้กับผู้ถือหุ้น ใครคือคนชำระค่าหุ้นดังกล่าวคะ หรือว่าไม่มีการชำระค่าหุ้นคะ
เข้าใจว่าน่าจะเขียนผิด จากคำว่า"ออกหุ้นปันผล"เป็น"ออกปันผล"หรือปล่าวครับ ถ้าใช่....คำว่าหุ้นปันผลหมายถึงหุ้นที่ออกปันผลให้เยอะๆครับ และเงินที่นำออกปันผลก็คือส่วนหนึ่งของกำไรสุทธิครับ

เช่นหุ้นAราคา200บาท BV=100บาท กำไร50บาท ROE=50%
หุ้นAบอกน่านโยบายปันผลคือ80%ของกำไร ก็หมายถึงปันผลให้เรา 40บาท เอาไปลงทุนต่อ10บาท  รวมBV=110บาท
ดังนั้นหากปีหน้ากำไรROE=50% เท่ากับว่าปีนั้นเราจะได้กำไร=110*.5=55บาท

เทียบกับหุ้นBราคา200บาท BV=100บาท กำไร50บาท ROE=50%
หุ้นAบอกน่านโยบายปันผลคือ20%ของกำไร ก็หมายถึงปันผลให้เรา 10บาท เอาไปลงทุนต่อ40บาท  รวมBV=140บาท
ดังนั้นหากปีหน้ากำไรROE=50% เท่ากับว่าปีนั้นเราจะได้กำไร=140*.5=70บาท

จะเห็นได้ว่าหุ้นAปันผลมากกว่าแต่ส่งที่สิ่งที่เราได้ตอบแทนมากลับน้อยกว่าหุ้นBเพราะหุ้นBเอาไปลงทุนต่อ


ดังนั้นหากมองในมุมมองปันผลเยอะๆ ก็ต้องรีบย้อนกลับไปดูว่าPBVเท่ากับเท่าไหร่ หากPBVน้อยกว่า1ผมว่าบริษัทที่เอากำไรมาจ่ายปันผลเยอะๆดีครับ
แต่หากPBVมากๆบริษัทที่เอากำไรมาจ่ายปันผลเยอะๆไม่ค่อยดีเท่าไหร่ครับ
ดังนั้นผมมองที่กำไรของกิจการเป้นหลักครับแล้วค่อยมาดูปันผลที่หลัง

หรือถ้าไม่คิดอะไรมากก็หาหุ้นดีๆจากหุ้นปันผล ก็มีโอกาสเจอหุ้นดีๆเยอะครับ เพราะส่วนมาก....หุ้นปันผลดีมักจะเป็นหุ้นดีครับ.....

ถ้าเปรียบเปรยก็คือ การเลือกหุ้นปันผลดีก็คือการเลือกลูกชิ้นดีๆจากยี่ห้อที่ขายดีแต่ก็ต้องมาเจาะคุณภาพของลูกชิ้นนั้นอีกที

แต่การเลือกหุ้นที่มีกำไรดีๆก็คือการไม่สนว่ายี่ห้อนี้จะขายดีหรือไม่แต่ไปดูที่คุณภาพลูกชิ้นเลย....

ซึ่งคำตอบไม่ต่างกัยมากครับแต่เน้นคนละจุดครับ เพราะลูกชิ้นที่ขายดี"ส่วนใหญ่"จะเป็นลูกชิ้นดีครับ

งงมะอิอิ ผมเริ่มงงเองนะครับ 555+
ภาพประจำตัวสมาชิก
LittleChicky
Verified User
โพสต์: 277
ผู้ติดตาม: 0

Re: หุ้นปันผล (stock dividend) มีข้อดีข้อเสียอย่างไร

โพสต์ที่ 5

โพสต์

เข้าใจว่า น่าจะเหมือนถึงกรณีที่มีการจ่ายปันผลเป็นหุ้น แทนการจ่ายเงินสด เช่น ในกรณี HMPRO ที่เพิ่งจ่ายไปนะครับ 10หุ้นเดิมต่อ 9 หุ้นใหม่ หุ้นใหม่ตรามูลค่าไว้ที่หุ้นละ 1 บาท และปันผลเป็นเงินสด 0.1 บาทต่อหุ้น  พอดีถือไว้เลยพอมีประสบการณ์บ้าง
sirip เขียน:ช่วยตอบหน่อยนะคะ แบบว่าความรู้น้อยอ่ะค่ะ
1. อยากทราบว่าหุ้นปันผล (stock dividend) มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไรบ้างคะ
ข้อดี
  - เพิ่มทุนจดทะเบีียนมากขึ้นทำให้บริษัทดูใหญ่ขึ้น ดูมีความเชื่อถือมากขึ้น
  - เพิ่มสภาพคล่อง
  - ในกรณีHMPRO ผู้ถือหุ้นได้ประโยชน์มากจากการเครดิตภาษีคืน เนื่องจากบริษัทจ่ายภาษีในอัตรา 30% และ 25% แต่ปกติผู้ถือหุ้นรายย่อยมีรายเสียภาษีที่ 10% เครดิตส่วนต่างคืนได้เยอะ
  - ในกรณี HMPRO บริษัทจ่ายเงินสด 10% หรือ 0.1 บาทต่อหุ้น ทำให้ผู้ได้รับหุ้นปันผลไม่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10% เพราะหักลบกลบหนี้กันพอดี ( คือ เราได้หุ้นใหม่มา 0.9 หุ้นต่อหุ้นเดิม ก็คือ ได้มา 0.9 บาท + ปันผลเงินสด 0.1 บาท รวมได้ปันผล 1 บาท หักภาษี ณ ที่จ่าย10% = 0.1 บาทพอดี ) บริษัทเสียเงินแค่ 0.1 บาทต่อหุ้น แต่ผู้ถือหุ้นได้ประโยชน์มาก

ข้อเสีย
   - จำนวนหุ้นมากขึ้น ทำให้ราคาต่อหุ้น dilute คือลดลงตามสัดส่วนจำนวนหุ้นที่เพิ่มขึ้น เช่น ก่อน XD HMPRO ราคา 8 บาทหลัง XD จะเหลือ 8/(1+0.9) = 4.2 บาท

2. เวลาบริษัทออกหุ้นปันผลมาจ่ายให้กับผู้ถือหุ้น ใครคือคนชำระค่าหุ้นดังกล่าวคะ หรือว่าไม่มีการชำระค่าหุ้นคะ
ไม่ทราบเหมือนกันครับ  รู้แต่ว่า ผู้ถือหุ้นไม่ต้องชำระและ หลังเพิ่มทุนส่วนทุนของบริษัทในงบดุลจะเพิ่มขึ้น กำไรสะสมน้อยลง
นักลงทุนผู้ชาญฉลาดไม่ควรซื้อหุ้นสามัญเพียงเพราะว่ามันมีราคาถูก แต่ควรซื้อเฉพาะว่ามันสัญญาว่าจะทำกำไรงดงามให้กับเขา...ฟิลลิป เอ พิชเชอร์
sirip
Verified User
โพสต์: 3
ผู้ติดตาม: 0

thank you ka.

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ขอบคุณทุกความเห็นมากๆ เลยค้า
แต่ความเห็นสุดท้ายตรงประเด็นเลยค่ะ
ขอบคุณนะคะ....
โพสต์โพสต์