สอบถามเกี่ยวกับการปรับอัตราการใช้สิทธิของ warrant ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 37
- ผู้ติดตาม: 0
สอบถามเกี่ยวกับการปรับอัตราการใช้สิทธิของ warrant ครับ
โพสต์ที่ 1
หลังๆผมเพิ่งสังเกตุเห็นหุ้นบางตัว หลังจากจากประกาศปันผลแล้ว เค้ายังปรับอัตราการใช้สิทธิของ warrant ด้วย เหมือนเป็นการให้ปันผลกับ warrant กลายๆ (แต่ก่อนไม่เคยสังเกตุ เพราะเล่นแต่หุ้นปั่นไม่มีปันผล อิ อิ)
เลยอยากถามเพื่อนๆว่า หลังจากบริษัทนั้นๆ ประกาศปันผลแล้ว จำเป็นต้องมีการปรับอัตราการใช้สิทธิของ warrant ด้วยหรือเปล่าครับ
ขอบคุณครับ
เลยอยากถามเพื่อนๆว่า หลังจากบริษัทนั้นๆ ประกาศปันผลแล้ว จำเป็นต้องมีการปรับอัตราการใช้สิทธิของ warrant ด้วยหรือเปล่าครับ
ขอบคุณครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 281
- ผู้ติดตาม: 0
สอบถามเกี่ยวกับการปรับอัตราการใช้สิทธิของ warrant ครับ
โพสต์ที่ 2
การปรับอัตราใช้สิทธิของวอร์แรนต์ จะมีการปรับอัตราส่วนเมื่อบริษัทมีการ
จ่ายเงินปันผลออกมามากกว่านโยบายที่บริษัท กำหนดไว้
เช่นถ้าบริษัทมีนโยบายปันผลไม่เกิน 35% แต่ประกาศจ่ายปันผลเฉพาะใน
ครั้งนั้นมากเกินกว่านโยบายปันผลก็จะมีการปรับสัดส่วนครับ
ตามสูตรในลิงค์ ของแหล่งความรู้สำหรับนักลงทุน ของ asiaplus
หัวข้อที่ 5 บทที่ 4 ครับ
5. TOPICS: หุ้นกู้ วอร์แรนท์ และหุ้นกู้ควบวอร์แรนท์
Download FILE: BNDWARNT.PDF SIZE: 521k
บทที่ 1: โหมโรง
บทที่ 2: หุ้นกู้
บทที่ 3: วอร์แรนท์
บทที่ 4: การปรับอัตราการใช้สิทธิและราคาใช้สิทธิ์ เมื่อมีการออกหุ้นใหม่ หรือ จ่ายเงินปันผล
บทที่ 5: หุ้นกู้ควบวอร์แรนท์ และสิทธิในการจองวอร์แรนท์ หรือหุ้นกู้ควบวอร์แรนท์
http://inv1.asiaplus.co.th/4.html
จ่ายเงินปันผลออกมามากกว่านโยบายที่บริษัท กำหนดไว้
เช่นถ้าบริษัทมีนโยบายปันผลไม่เกิน 35% แต่ประกาศจ่ายปันผลเฉพาะใน
ครั้งนั้นมากเกินกว่านโยบายปันผลก็จะมีการปรับสัดส่วนครับ
ตามสูตรในลิงค์ ของแหล่งความรู้สำหรับนักลงทุน ของ asiaplus
หัวข้อที่ 5 บทที่ 4 ครับ
5. TOPICS: หุ้นกู้ วอร์แรนท์ และหุ้นกู้ควบวอร์แรนท์
Download FILE: BNDWARNT.PDF SIZE: 521k
บทที่ 1: โหมโรง
บทที่ 2: หุ้นกู้
บทที่ 3: วอร์แรนท์
บทที่ 4: การปรับอัตราการใช้สิทธิและราคาใช้สิทธิ์ เมื่อมีการออกหุ้นใหม่ หรือ จ่ายเงินปันผล
บทที่ 5: หุ้นกู้ควบวอร์แรนท์ และสิทธิในการจองวอร์แรนท์ หรือหุ้นกู้ควบวอร์แรนท์
http://inv1.asiaplus.co.th/4.html
Money is neutral
-
- Verified User
- โพสต์: 37
- ผู้ติดตาม: 0
สอบถามเกี่ยวกับการปรับอัตราการใช้สิทธิของ warrant ครับ
โพสต์ที่ 4
ขอบคุณครับ
- reiter
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2308
- ผู้ติดตาม: 0
สอบถามเกี่ยวกับการปรับอัตราการใช้สิทธิของ warrant ครับ
โพสต์ที่ 6
พอดีผมเคยโพสต์ไว้ในสินธร ขออนุญาตเอามาลงในนี้ด้วย
คิดว่า topic เรื่องการปรับสิทธิวอร์แรนต์ในกรณีที่หุ้นแม่ปันผลเยอะๆ น่าจะเป็นเรื่องที่นลท. หน้าใหม่หลายท่านยังไม่ค่อยเข้าใจนัก พอดีวอร์แรนต์ตัวนึงในพอร์ตผมกำลังจะถูกปรับสิทธิ และมีอาร์บิทาจให้เล่นพอสมควร เลยคิดว่าน่าจะเป็นโอกาสอันดีในการอธิบายเรื่องนี้แก่เพื่อนนลท. และได้ยก case study ให้ดูด้วยไปในตัว
ทำไมต้องมีการปรับสิทธิ์วอร์แรนต์ ??
เหตุผลก็ง่ายๆครับ เพราะวอร์แรนต์ไม่มีสิทธิได้รับปันผล หากไม่มีการปรับสิทธิวอร์แรนต์จะทำให้ผู้ถือวอร์แรนต์เสียเปรียบผู้ถือหุ้นแม่เต็มๆในกรณีที่มีการปันผล
ยกตัวอย่างเช่น กรณีหุ้น A มีราคา 10 บาท, A-W1 มีอัตราส่วนการแปลงที่ 1 : 1 มี exercise price ที่ 2 บาท - -> fair value ของ A-W1 ควรจะอยู่ที่ 8 บาท
หากบ. A ปันผลออกมา 2 บาท แน่นอนว่าโดยธรรมาชาติแล้วหลัง xd หุ้น A ควรจะมีราคาตกลงมาที่ 8 บาท - -> ดังนั้น fair value ของ A-W1 จะตกลงมาที่ 6 บาทโดยอัตโนมัติ
จะเห็นได้ว่าเป็นการไม่ยุติธรรมต่อผู้ถือวอร์แรนต์อย่างมาก ที่ตัวเองไม่ได้ปันผล แต่ราคาวอร์ต้องมาตกตามราคาของแม่ไปด้วย
ดังนั้นเพื่อเป็นการปกป้องสิทธิของผู้ถือวอร์ บริษัทจึงมักจะกำหนดนโยบายมาว่า หากบ.ปันผลออกมาเกินกี่ % ของ eps จะต้องมีการปรับสิทธิ์ของวอร์ เพื่อให้ผู้ถือวอร์เสมือนหนึ่งได้ปันผลไปด้วย เช่นกรณีของบ. A อาจจะปรับเพิ่มให้อัตราส่วนการใช้สิทธิเป็น 1: 1.2 และลด exercise price เหลือ 1 บาท ( เป็นตัวเลขสมมตินะครับ การปรับสิทธิจริงๆ จะมีสูตรคำนวณ ซึ่งผมจะกล่าวถึงภายหลัง )
กรณีของ STPI กำหนดไว้ว่าหาก บริษัทปันผลเกิน 30% ของ eps จำเป็นต้องมาปรับสิทธิของวอร์ใหม่ ( ปี 52 ปันออกมา 63% จึงต้องมีการปรับสิทธิ )
คิดว่า topic เรื่องการปรับสิทธิวอร์แรนต์ในกรณีที่หุ้นแม่ปันผลเยอะๆ น่าจะเป็นเรื่องที่นลท. หน้าใหม่หลายท่านยังไม่ค่อยเข้าใจนัก พอดีวอร์แรนต์ตัวนึงในพอร์ตผมกำลังจะถูกปรับสิทธิ และมีอาร์บิทาจให้เล่นพอสมควร เลยคิดว่าน่าจะเป็นโอกาสอันดีในการอธิบายเรื่องนี้แก่เพื่อนนลท. และได้ยก case study ให้ดูด้วยไปในตัว
ทำไมต้องมีการปรับสิทธิ์วอร์แรนต์ ??
เหตุผลก็ง่ายๆครับ เพราะวอร์แรนต์ไม่มีสิทธิได้รับปันผล หากไม่มีการปรับสิทธิวอร์แรนต์จะทำให้ผู้ถือวอร์แรนต์เสียเปรียบผู้ถือหุ้นแม่เต็มๆในกรณีที่มีการปันผล
ยกตัวอย่างเช่น กรณีหุ้น A มีราคา 10 บาท, A-W1 มีอัตราส่วนการแปลงที่ 1 : 1 มี exercise price ที่ 2 บาท - -> fair value ของ A-W1 ควรจะอยู่ที่ 8 บาท
หากบ. A ปันผลออกมา 2 บาท แน่นอนว่าโดยธรรมาชาติแล้วหลัง xd หุ้น A ควรจะมีราคาตกลงมาที่ 8 บาท - -> ดังนั้น fair value ของ A-W1 จะตกลงมาที่ 6 บาทโดยอัตโนมัติ
จะเห็นได้ว่าเป็นการไม่ยุติธรรมต่อผู้ถือวอร์แรนต์อย่างมาก ที่ตัวเองไม่ได้ปันผล แต่ราคาวอร์ต้องมาตกตามราคาของแม่ไปด้วย
ดังนั้นเพื่อเป็นการปกป้องสิทธิของผู้ถือวอร์ บริษัทจึงมักจะกำหนดนโยบายมาว่า หากบ.ปันผลออกมาเกินกี่ % ของ eps จะต้องมีการปรับสิทธิ์ของวอร์ เพื่อให้ผู้ถือวอร์เสมือนหนึ่งได้ปันผลไปด้วย เช่นกรณีของบ. A อาจจะปรับเพิ่มให้อัตราส่วนการใช้สิทธิเป็น 1: 1.2 และลด exercise price เหลือ 1 บาท ( เป็นตัวเลขสมมตินะครับ การปรับสิทธิจริงๆ จะมีสูตรคำนวณ ซึ่งผมจะกล่าวถึงภายหลัง )
กรณีของ STPI กำหนดไว้ว่าหาก บริษัทปันผลเกิน 30% ของ eps จำเป็นต้องมาปรับสิทธิของวอร์ใหม่ ( ปี 52 ปันออกมา 63% จึงต้องมีการปรับสิทธิ )
- reiter
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2308
- ผู้ติดตาม: 0
สอบถามเกี่ยวกับการปรับอัตราการใช้สิทธิของ warrant ครับ
โพสต์ที่ 7
สูตรการคำนวณการปรับ exercise price
Price 1 = Price 0 [ MP - ( D - R ) ] / MP
Price 1 คือ ราคาการใช้สิทธิใหม่หลังการเปลี่ยนแปลง
Price 0 คือ ราคาการใช้สิทธิเดิมก่อนการเปลี่ยนแปลง
Ratio 1 คือ อัตราการใช้สิทธิใหม่หลังการเปลี่ยนแปลง
Ratio 0 คือ อัตราการใช้สิทธิเดิมก่อนการเปลี่ยนแปลง
MP คือ ราคาตลาดของหุ้นสามัญของบริษัท
D คือ เงินปันผลต่อหุ้นที่จ่ายจริงแก่ผู้ถือหุ้น
R คือ เงินปันผลต่อหุ้น ที่จะจ่ายในอัตราร้อยละ 30 ของ EPS ( ค่า R จะแตกต่าง
กันไปในแต่ละบริษัทนะครับ ว่ากำหนดจะพิทักษ์สิทธิ์ของผู้ถือวอร์ที่กี่ %, ของ
STPI ตกลงจะพิทักษ์ที่ 30% - คือถ้าบริษัทปันผลน้อยกว่า 30% ของ EPS ก็จะไม่มีการปรับส่วนให้กับผู้ถือวอร์ )
*** ราคาตลาดของหุ้นสามัญของบริษัท ได้กำหนดไว้เท่ากับ ราคาตลาดเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักต่อหุ้นของหุ้นสามัญของบริษัท โดยที่ ราคาตลาดเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักต่อหุ้นของหุ้นสามัญของบริษัท หมายถึง มูลค่าการซื้อขายหุ้นสามัญทั้งหมดของบริษัท หารด้วยจำนวนหุ้นสามัญของบริษัทที่ทำการซื้อขาย ทั้งหมดในตลาดหลักทรัพย์ในระหว่างระยะเวลา 15 วันทำการ (วันที่เปิดทำการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์) ติดต่อกันก่อนวันที่ใช้ในการคำนวณ
Price 1 = Price 0 [ MP - ( D - R ) ] / MP
Price 1 คือ ราคาการใช้สิทธิใหม่หลังการเปลี่ยนแปลง
Price 0 คือ ราคาการใช้สิทธิเดิมก่อนการเปลี่ยนแปลง
Ratio 1 คือ อัตราการใช้สิทธิใหม่หลังการเปลี่ยนแปลง
Ratio 0 คือ อัตราการใช้สิทธิเดิมก่อนการเปลี่ยนแปลง
MP คือ ราคาตลาดของหุ้นสามัญของบริษัท
D คือ เงินปันผลต่อหุ้นที่จ่ายจริงแก่ผู้ถือหุ้น
R คือ เงินปันผลต่อหุ้น ที่จะจ่ายในอัตราร้อยละ 30 ของ EPS ( ค่า R จะแตกต่าง
กันไปในแต่ละบริษัทนะครับ ว่ากำหนดจะพิทักษ์สิทธิ์ของผู้ถือวอร์ที่กี่ %, ของ
STPI ตกลงจะพิทักษ์ที่ 30% - คือถ้าบริษัทปันผลน้อยกว่า 30% ของ EPS ก็จะไม่มีการปรับส่วนให้กับผู้ถือวอร์ )
*** ราคาตลาดของหุ้นสามัญของบริษัท ได้กำหนดไว้เท่ากับ ราคาตลาดเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักต่อหุ้นของหุ้นสามัญของบริษัท โดยที่ ราคาตลาดเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักต่อหุ้นของหุ้นสามัญของบริษัท หมายถึง มูลค่าการซื้อขายหุ้นสามัญทั้งหมดของบริษัท หารด้วยจำนวนหุ้นสามัญของบริษัทที่ทำการซื้อขาย ทั้งหมดในตลาดหลักทรัพย์ในระหว่างระยะเวลา 15 วันทำการ (วันที่เปิดทำการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์) ติดต่อกันก่อนวันที่ใช้ในการคำนวณ
- reiter
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2308
- ผู้ติดตาม: 0
สอบถามเกี่ยวกับการปรับอัตราการใช้สิทธิของ warrant ครับ
โพสต์ที่ 8
สูตรการคำนวณการปรับ ratio
Ratio 1 = Ratio 0 [ MP ] / [ MP - ( D - R ) ]
ลองมาแทนสูตรกันนะคับ
Price 0 = 3.09
MP = 15.7 ( ผมคำนวณค่า MP ย้อนหลังสิบห้าวันจากวันศุกร์ที่ผ่านมานะครับ ค่าจริงๆต้องใช้ของวันจันทร์ อังคารด้วย แต่คงจะไม่ต่างจากค่าที่ผมคำนวณมาเท่าไร )
D = 2.5
R = 0.3 x 3.97 = 1.191 ( EPS ต้องใช้แบบปรับลด เนื่องจากต้องคำนวณจากทุกหุ้นที่มีสิทธิได้ปันผล )
ฉะนั้น
Prcie 1 = Exercise price ใหม่ = 3.09 x ( 15.7 - 1.309 ) / 15.7 = 2.832
ส่วน ratio การแปลงใหม่จะได้
ratio 1 = ratio ใหม่ = 1.13 x 15.7 / ( 15.7 - 1.309 ) = 1.23
ดังนั้น หลัง xd เราจะได้ว่า stpi-w1 จะถูกปรับสิทธิให้มีมูลค่ามากขึ้น
จากสัดส่วนการแปลง 1 : 1.13, exercise price 3.09 baht กลายเป็น
สัดส่วนการแปลง 1 : 1.232, exercise price 2.832 baht
++ หมายเหตุ ค่า MP จริงๆ จะไม่ได้เท่านี้นะครับ เพราะกระทู้นี้ผมโพสต์ที่สินธร ก่อน xd 2 วัน เลยประมาณ MP 15 วันย้อนหลังเอา ค่าที่ออกมาจริงๆ ตามประกาศของบริษัทจะผิดกันไปเล้กน้อยครับ ++
Ratio 1 = Ratio 0 [ MP ] / [ MP - ( D - R ) ]
ลองมาแทนสูตรกันนะคับ
Price 0 = 3.09
MP = 15.7 ( ผมคำนวณค่า MP ย้อนหลังสิบห้าวันจากวันศุกร์ที่ผ่านมานะครับ ค่าจริงๆต้องใช้ของวันจันทร์ อังคารด้วย แต่คงจะไม่ต่างจากค่าที่ผมคำนวณมาเท่าไร )
D = 2.5
R = 0.3 x 3.97 = 1.191 ( EPS ต้องใช้แบบปรับลด เนื่องจากต้องคำนวณจากทุกหุ้นที่มีสิทธิได้ปันผล )
ฉะนั้น
Prcie 1 = Exercise price ใหม่ = 3.09 x ( 15.7 - 1.309 ) / 15.7 = 2.832
ส่วน ratio การแปลงใหม่จะได้
ratio 1 = ratio ใหม่ = 1.13 x 15.7 / ( 15.7 - 1.309 ) = 1.23
ดังนั้น หลัง xd เราจะได้ว่า stpi-w1 จะถูกปรับสิทธิให้มีมูลค่ามากขึ้น
จากสัดส่วนการแปลง 1 : 1.13, exercise price 3.09 baht กลายเป็น
สัดส่วนการแปลง 1 : 1.232, exercise price 2.832 baht
++ หมายเหตุ ค่า MP จริงๆ จะไม่ได้เท่านี้นะครับ เพราะกระทู้นี้ผมโพสต์ที่สินธร ก่อน xd 2 วัน เลยประมาณ MP 15 วันย้อนหลังเอา ค่าที่ออกมาจริงๆ ตามประกาศของบริษัทจะผิดกันไปเล้กน้อยครับ ++
- reiter
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2308
- ผู้ติดตาม: 0
สอบถามเกี่ยวกับการปรับอัตราการใช้สิทธิของ warrant ครับ
โพสต์ที่ 9
ที่ อทพ. 100/2553
วันที่ 17 มีนาคม 2553
เรื่อง การปรับอัตราการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัทฯ ครั้งที่ 1 ซึ่งออกให้ผู้ถือ
หุ้นเดิม (STPI-W1)
เรียน กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
เนื่องด้วยมติที่ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 1/2553 ของบริษัท เอสทีพี แอนด์ ไอ จำกัด (มหาชน) ("บริษัทฯ")
เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2553 มีมติเสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ พิจารณาการจ่ายเงินปันผลในอัตรา 1.50 บาทต่อ
หุ้น สำหรับผลประกอบการ 6 เดือนหลังของประจำปี 2552 และได้มีการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลแล้วในอัตรา 1 บาท
ต่อหุ้น สำหรับผลประกอบการ 6 เดือนแรกของประจำปี 2552 ที่บริษัทฯจ่ายให้กับผู้ถือหุ้นแล้วเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2552
รวมเป็นเงินปันผลประจำปี 2552 ทั้งสิ้นจำนวน 2.5 บาทต่อหุ้น ซึ่งเป็นเงินเกินกว่าอัตราร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิ หลัง
หักภาษีเงินได้ตามงบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 ทำให้บริษัทฯ ต้องปรับอัตราการใช้
สิทธิและราคาใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิ โดยมีรายละเอียดดังนี้ คือ
อัตราเดิม STPI - W1
ราคาใช้สิทธิต่อ 1 หุ้นสามัญ (บาท) 3.09
อัตราส่วนการใช้สิทธิ 1 : 1.13
อัตราใหม่ STPI - W1
ราคาใช้สิทธิต่อ 1 หุ้นสามัญ (บาท) 2.833
อัตราส่วนการใช้สิทธิ 1 : 1.23000
ทั้งนี้ โดยอัตราและราคาการใช้สิทธิใหม่นี้จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม 2553 (วันแรกที่ขึ้น
เครื่องหมาย XD) เป็นต้นไป
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและเผยแพร่ต่อประชาชนและผู้ลงทุนต่อไป
ขอแสดงความนับถือ
(นายมาศถวิน ชาญวีรกูล)
กรรมการผู้จัดการ
วันที่ 17 มีนาคม 2553
เรื่อง การปรับอัตราการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัทฯ ครั้งที่ 1 ซึ่งออกให้ผู้ถือ
หุ้นเดิม (STPI-W1)
เรียน กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
เนื่องด้วยมติที่ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 1/2553 ของบริษัท เอสทีพี แอนด์ ไอ จำกัด (มหาชน) ("บริษัทฯ")
เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2553 มีมติเสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ พิจารณาการจ่ายเงินปันผลในอัตรา 1.50 บาทต่อ
หุ้น สำหรับผลประกอบการ 6 เดือนหลังของประจำปี 2552 และได้มีการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลแล้วในอัตรา 1 บาท
ต่อหุ้น สำหรับผลประกอบการ 6 เดือนแรกของประจำปี 2552 ที่บริษัทฯจ่ายให้กับผู้ถือหุ้นแล้วเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2552
รวมเป็นเงินปันผลประจำปี 2552 ทั้งสิ้นจำนวน 2.5 บาทต่อหุ้น ซึ่งเป็นเงินเกินกว่าอัตราร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิ หลัง
หักภาษีเงินได้ตามงบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 ทำให้บริษัทฯ ต้องปรับอัตราการใช้
สิทธิและราคาใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิ โดยมีรายละเอียดดังนี้ คือ
อัตราเดิม STPI - W1
ราคาใช้สิทธิต่อ 1 หุ้นสามัญ (บาท) 3.09
อัตราส่วนการใช้สิทธิ 1 : 1.13
อัตราใหม่ STPI - W1
ราคาใช้สิทธิต่อ 1 หุ้นสามัญ (บาท) 2.833
อัตราส่วนการใช้สิทธิ 1 : 1.23000
ทั้งนี้ โดยอัตราและราคาการใช้สิทธิใหม่นี้จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม 2553 (วันแรกที่ขึ้น
เครื่องหมาย XD) เป็นต้นไป
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและเผยแพร่ต่อประชาชนและผู้ลงทุนต่อไป
ขอแสดงความนับถือ
(นายมาศถวิน ชาญวีรกูล)
กรรมการผู้จัดการ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1284
- ผู้ติดตาม: 1
Re: สอบถามเกี่ยวกับการปรับอัตราการใช้สิทธิของ warrant ครับ
โพสต์ที่ 11
โดยทั่วไปถ้าปันผลออกมาเป็น % มากกว่านโยบายจ่ายเงินปันผลของบริษัท ต้องปรับสิทธิ warrant ครับ ถ้าจ่ายปันผลตามนโยบาย ไม่ต้องปรับสิทธิiron_bridge เขียน:หลังๆผมเพิ่งสังเกตุเห็นหุ้นบางตัว หลังจากจากประกาศปันผลแล้ว เค้ายังปรับอัตราการใช้สิทธิของ warrant ด้วย เหมือนเป็นการให้ปันผลกับ warrant กลายๆ (แต่ก่อนไม่เคยสังเกตุ เพราะเล่นแต่หุ้นปั่นไม่มีปันผล อิ อิ)
เลยอยากถามเพื่อนๆว่า หลังจากบริษัทนั้นๆ ประกาศปันผลแล้ว จำเป็นต้องมีการปรับอัตราการใช้สิทธิของ warrant ด้วยหรือเปล่าครับ
ขอบคุณครับ
เหตุผลคือ ผู้ถือ warrant รู้อยู่แล้วว่าถ้าซื้อ warrant จะไม่ได้ปันผล แต่ถ้าหากบริษัทปันผลออกมามากกว่าที่กำหนดไว้ในนโยบายการจ่ายปันผล ส่งผลให้ผู้ถือ warrant เสียเปรียบ เลยต้องปรับสิทธิให้ครับ
In search of super stocks