หุ้น Tyong น่าสนใจไม่ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 430
- ผู้ติดตาม: 0
หุ้น Tyong น่าสนใจไม่ครับ
โพสต์ที่ 5
ผมก็ชอบนะ tyong เล่นไปทีนึง ซื้อ 0.66 ขาย 0.83
พอข่าวออก เห็นวิเคราะห์กันแล้วงง ๆ
บางสำนักบอกผู้ถือหุ้นงานเข้าให้หนี บางสำนักบอกให้ซื้อ
http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 30018.html
:lol: :lol: เลยไม่สนมันแระเพราะไม่เข้าใจในสิ่งที่เขาทำ
พอข่าวออก เห็นวิเคราะห์กันแล้วงง ๆ
บางสำนักบอกผู้ถือหุ้นงานเข้าให้หนี บางสำนักบอกให้ซื้อ
http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 30018.html
:lol: :lol: เลยไม่สนมันแระเพราะไม่เข้าใจในสิ่งที่เขาทำ
-
- Verified User
- โพสต์: 174
- ผู้ติดตาม: 0
หุ้น Tyong น่าสนใจไม่ครับ
โพสต์ที่ 6
เอามาฝาก
10 ปีที่รอคอย
วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4195
ประชาชาติธุรกิจ
สมัยเรียลเอสเตตบูม ชื่อโครงการ "ธนาซิตี้" ย่านบางนา-ตราด ก.ม.14 ของ "คีรี กาญจนพาสน์" ภายใต้การดูแลของ บมจ.ธนายงโด่งดังสุด ๆ
โด่งดังเพราะชื่อเจ้าของโครงการ "ไม่ธรรมดา" เป็นถึงทายาทรุ่นที่ 2 ของตระกูลใหญ่ที่ข้ามน้ำข้ามทะเลจาก เกาะฮ่องกงมาลุยลงทุนในไทย ในฐานะลูกชายคนเล็กของเสี่ยหมง "มงคล กาญจนพาสน์" ผู้ล่วงลับ และเป็นน้องชายร่วมสายเลือดของเสี่ยช้าง "อนันต์ กาญจนพาสน์" เจ้าของโครงการเมืองทองธานี แจ้งวัฒนะ
โด่งดังเพราะขนาดของโครงการ "ไม่ธรรมดา" เฉพาะโปรเจ็กต์นี้มีพื้นที่รอพัฒนาถึงหมื่นกว่าไร่ ใหญ่สุดในยุคนั้น และมีวิชั่นไกล มองเห็นสนามบินสุวรรณภูมิอยู่ตรงหน้า จึงกล้าลงทุนทำคอนโดฯขนาดใหญ่ติดสนามกอล์ฟหรู หวังขายให้เศรษฐีใหม่ในยุคเศรษฐกิจเฟื่องฟู
ความยิ่งใหญ่ในอดีตของ "ธนายง" ดังในเวลาอันสั้น เมื่อวิกฤตต้มยำกุ้งมาเยือน ฐานที่มั่นของกาญจนพาสน์ก็พังทลายในพริบตา
ทำให้แผนแม่บทของตระกูลสะดุดล้ม รายได้หยุดชะงัก โครงการปล่อยทิ้งร้าง ไม่ต่างจากดีเวลอปเปอร์ทั่วไปที่ต้อง"ทนทุกข์" และ "เจ็บปวด" จากวิกฤตครั้งสำคัญ
ภาระหนี้สินที่เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวจากค่าเงินบาทลอยตัว ทำให้ชื่อของ "คีรี" และ "ธนายง" หายเงียบไปกับสายลม
รวมเวลาเกือบ 10 ปี ที่ธนายงพยายามตั้งหลักใหม่ โดยเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับธนาคารหลายแห่ง ก่อนจะเดินเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการในปี 2545 และ ใช้เวลาอยู่ในแผนฟื้นฟูกิจการจนถึงวันที่ 14 พ.ย. 2549
หลังจากฟื้นฟูตามแผนสำเร็จ ทั้งเพิ่มทุน ลดทุน ดึงผู้ลงทุนรายใหม่เข้ามาถือหุ้น ตัดขายสินทรัพย์ทั้งที่ดิน หุ้นรถไฟฟ้าบีทีเอส เพื่อระดมเงินมาใช้หนี้
จากหนี้กองโต 8 หมื่นล้านบาท ในปี 2548 เหลือเพียง 3 พันล้านบาท ในปี 2551
ซึ่งจำนวนหนี้ที่ลดลงนั้น "คีรี" ต้องเฉือนอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต แลกหนี้กับแลนด์แบงก์โดยตีทรัพย์ชำระหนี้ ทำให้ที่ดินในมือเหลืออยู่แค่ 3 พันไร่กว่า ๆ
จังหวะที่รอ "ธนายง" ฟื้นตัว "เสี่ยคีรี" ได้ใช้เวลาทั้งหมดให้กับลูกคนใหม่เป็นรถไฟฟ้าสายแรกของเมืองไทยที่ชื่อว่า "บีทีเอส" เมกะโปรเจ็กต์ในฝัน ที่เขาอยากทำให้เมืองไทยเป็นอย่างฮ่องกงที่มีรถไฟฟ้าพาดผ่านตึกช็อปปิ้งกลางเมือง
"บีทีเอส" เพิ่งครบรอบ 10 ปี เมื่อ 5 ธ.ค. 2552 ที่ผ่านมา เป็น 10 ปีที่เขารอคอยและเป็นจริง
เพราะการเดินรถของบีทีเอสสร้างรายได้ (เงินสด) ต่อวันนับสิบล้านบาท ตกปีละ 1-2 พันล้านบาท บวกกับรายได้โฆษณาลอยฟ้าจากบริษัทลูกวีจีไอที่ลูกชายคนโต "กวิน กาญจนพาสน์" ดูแลอยู่อีกนับพันกว่าล้านบาทต่อปี
"คีรี กาญจนพาสน์" เลยกลับมาเป็น "เสี่ย" อีกครั้ง โดยมีรายได้ที่ยั่งยืนเป็นฐานรองรับ ทั้งบีทีเอสและวีจีไอ
จะสังเกตเห็นว่าที่ผ่านมา "เสี่ยมังกรฮ่องกง" คนนี้พยายามปูฐานให้ทายาทคนสำคัญ "กวิน" เป็นแม่ทัพใหญ่และเริ่มมีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยมี "สุธรรม ศิริทรัพย์สาคร" คอยเป็นพี่เลี้ยงให้ และมีพ่อเป็นโค้ชใหญ่อีกที
เมื่อการเปลี่ยนถ่ายเลือดเป็นไปอย่างราบรื่น
คีรีกลับมาให้ความสำคัญกับธนายงอีกครั้ง และเป็นการทุ่มสุดตัว โดยตั้งเป้าหมายจะกลับมาทวงคืนความเป็นบิ๊กอสังหาฯอันดับต้น ๆ ในเมืองไทยให้สำเร็จ
เป็นการ "ลบแผลเก่า" ที่เขาค้างคาใจ
ซึ่ง 1 ปีที่ผ่านมาเสี่ยคีรีประกาศลุย ทุกอย่างที่ขวางหน้า
มาวันนี้เขาเดินกลยุทธ์ "งูกินช้าง" ได้สำเร็จ โดยใช้ "ธนายง" เข้าไปกลืนกิน "บีทีเอส" แบบเบ็ดเสร็จ เป็นการสร้าง Core Value ให้กับธุรกิจอสังหาฯอย่าง ไม่เหนือความคาดหมาย
เป็น 10 ปีที่รอคอยจริง ๆ
ประชาชาติธุรกิจ
วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4195
10 ปีที่รอคอย
วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4195
ประชาชาติธุรกิจ
สมัยเรียลเอสเตตบูม ชื่อโครงการ "ธนาซิตี้" ย่านบางนา-ตราด ก.ม.14 ของ "คีรี กาญจนพาสน์" ภายใต้การดูแลของ บมจ.ธนายงโด่งดังสุด ๆ
โด่งดังเพราะชื่อเจ้าของโครงการ "ไม่ธรรมดา" เป็นถึงทายาทรุ่นที่ 2 ของตระกูลใหญ่ที่ข้ามน้ำข้ามทะเลจาก เกาะฮ่องกงมาลุยลงทุนในไทย ในฐานะลูกชายคนเล็กของเสี่ยหมง "มงคล กาญจนพาสน์" ผู้ล่วงลับ และเป็นน้องชายร่วมสายเลือดของเสี่ยช้าง "อนันต์ กาญจนพาสน์" เจ้าของโครงการเมืองทองธานี แจ้งวัฒนะ
โด่งดังเพราะขนาดของโครงการ "ไม่ธรรมดา" เฉพาะโปรเจ็กต์นี้มีพื้นที่รอพัฒนาถึงหมื่นกว่าไร่ ใหญ่สุดในยุคนั้น และมีวิชั่นไกล มองเห็นสนามบินสุวรรณภูมิอยู่ตรงหน้า จึงกล้าลงทุนทำคอนโดฯขนาดใหญ่ติดสนามกอล์ฟหรู หวังขายให้เศรษฐีใหม่ในยุคเศรษฐกิจเฟื่องฟู
ความยิ่งใหญ่ในอดีตของ "ธนายง" ดังในเวลาอันสั้น เมื่อวิกฤตต้มยำกุ้งมาเยือน ฐานที่มั่นของกาญจนพาสน์ก็พังทลายในพริบตา
ทำให้แผนแม่บทของตระกูลสะดุดล้ม รายได้หยุดชะงัก โครงการปล่อยทิ้งร้าง ไม่ต่างจากดีเวลอปเปอร์ทั่วไปที่ต้อง"ทนทุกข์" และ "เจ็บปวด" จากวิกฤตครั้งสำคัญ
ภาระหนี้สินที่เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวจากค่าเงินบาทลอยตัว ทำให้ชื่อของ "คีรี" และ "ธนายง" หายเงียบไปกับสายลม
รวมเวลาเกือบ 10 ปี ที่ธนายงพยายามตั้งหลักใหม่ โดยเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับธนาคารหลายแห่ง ก่อนจะเดินเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการในปี 2545 และ ใช้เวลาอยู่ในแผนฟื้นฟูกิจการจนถึงวันที่ 14 พ.ย. 2549
หลังจากฟื้นฟูตามแผนสำเร็จ ทั้งเพิ่มทุน ลดทุน ดึงผู้ลงทุนรายใหม่เข้ามาถือหุ้น ตัดขายสินทรัพย์ทั้งที่ดิน หุ้นรถไฟฟ้าบีทีเอส เพื่อระดมเงินมาใช้หนี้
จากหนี้กองโต 8 หมื่นล้านบาท ในปี 2548 เหลือเพียง 3 พันล้านบาท ในปี 2551
ซึ่งจำนวนหนี้ที่ลดลงนั้น "คีรี" ต้องเฉือนอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต แลกหนี้กับแลนด์แบงก์โดยตีทรัพย์ชำระหนี้ ทำให้ที่ดินในมือเหลืออยู่แค่ 3 พันไร่กว่า ๆ
จังหวะที่รอ "ธนายง" ฟื้นตัว "เสี่ยคีรี" ได้ใช้เวลาทั้งหมดให้กับลูกคนใหม่เป็นรถไฟฟ้าสายแรกของเมืองไทยที่ชื่อว่า "บีทีเอส" เมกะโปรเจ็กต์ในฝัน ที่เขาอยากทำให้เมืองไทยเป็นอย่างฮ่องกงที่มีรถไฟฟ้าพาดผ่านตึกช็อปปิ้งกลางเมือง
"บีทีเอส" เพิ่งครบรอบ 10 ปี เมื่อ 5 ธ.ค. 2552 ที่ผ่านมา เป็น 10 ปีที่เขารอคอยและเป็นจริง
เพราะการเดินรถของบีทีเอสสร้างรายได้ (เงินสด) ต่อวันนับสิบล้านบาท ตกปีละ 1-2 พันล้านบาท บวกกับรายได้โฆษณาลอยฟ้าจากบริษัทลูกวีจีไอที่ลูกชายคนโต "กวิน กาญจนพาสน์" ดูแลอยู่อีกนับพันกว่าล้านบาทต่อปี
"คีรี กาญจนพาสน์" เลยกลับมาเป็น "เสี่ย" อีกครั้ง โดยมีรายได้ที่ยั่งยืนเป็นฐานรองรับ ทั้งบีทีเอสและวีจีไอ
จะสังเกตเห็นว่าที่ผ่านมา "เสี่ยมังกรฮ่องกง" คนนี้พยายามปูฐานให้ทายาทคนสำคัญ "กวิน" เป็นแม่ทัพใหญ่และเริ่มมีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยมี "สุธรรม ศิริทรัพย์สาคร" คอยเป็นพี่เลี้ยงให้ และมีพ่อเป็นโค้ชใหญ่อีกที
เมื่อการเปลี่ยนถ่ายเลือดเป็นไปอย่างราบรื่น
คีรีกลับมาให้ความสำคัญกับธนายงอีกครั้ง และเป็นการทุ่มสุดตัว โดยตั้งเป้าหมายจะกลับมาทวงคืนความเป็นบิ๊กอสังหาฯอันดับต้น ๆ ในเมืองไทยให้สำเร็จ
เป็นการ "ลบแผลเก่า" ที่เขาค้างคาใจ
ซึ่ง 1 ปีที่ผ่านมาเสี่ยคีรีประกาศลุย ทุกอย่างที่ขวางหน้า
มาวันนี้เขาเดินกลยุทธ์ "งูกินช้าง" ได้สำเร็จ โดยใช้ "ธนายง" เข้าไปกลืนกิน "บีทีเอส" แบบเบ็ดเสร็จ เป็นการสร้าง Core Value ให้กับธุรกิจอสังหาฯอย่าง ไม่เหนือความคาดหมาย
เป็น 10 ปีที่รอคอยจริง ๆ
ประชาชาติธุรกิจ
วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4195
-
- Verified User
- โพสต์: 174
- ผู้ติดตาม: 0
หุ้น Tyong น่าสนใจไม่ครับ
โพสต์ที่ 7
"ธนายง"ติดปีกอสังหาแสนล.
ซื้อคืน"บีทีเอส"ต่อยอด5ธุรกิจครบวงจร
วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4195 ประชาชาติธุรกิจ
10 ปีที่รอคอย "คีรี กาญจนพาสน์" เดินเกมเหนือเมฆ ปั้นจิ๊กซอว�ธุรกิจอสังหาฯครบวงจร ทุ่ม 4 หมื่นล้าน ปูทาง "ธนายง" เทกโอเวอร์บริษัทรถไฟฟ้า "บีทีเอส" หวังถือหุ้น เบ็ดเสร็จ 100% เตรียมส่งไม้ต่อทายาทรุ่นที่ 3 "กวิน กาญจนพาสน์" เจ้าของบริษัทโฆษณาลอยฟ้า "วีจีไอ" สานต่อ 5 ธุรกิจหลักแสนล้านในอนาคต
แม้จะปรับโครงสร้างหนี้และได้รับอนุมัติจากศาลล้มละลายกลางให้ออกจากแผนฟื้นฟูกิจการตั้งแต่ปลายปี 2549 แต่ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาข่าวคราวความเคลื่อนไหวของ "ธนายง" ยักษ์ใหญ่วงการพัฒนาที่ดินในอดีตมีให้เห็นแทบจะนับครั้งได้ เช่นเดียวกับตัวเลขรายได้ก็ยังไปไม่ถึงไหน ทั้ง ๆ ที่พยายามเร่งสปีดโดยนำบ้านและคอนโดฯที่พัฒนาและเปิดขายตั้งแต่ช่วงก่อนวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 มารีโนเวตขายใหม่ พร้อมกับแตกไลน์สู่ธุรกิจโรงแรม และเตรียมนำที่ดินในมืออีกหลายแปลงมาพัฒนาโครงการใหม่
จากที่เคยตั้งเป้าจะนำบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มังกรฮ่องกง "คีรี กาญจนพาสน์" บอสใหญ่ "ธนายง" จึงต้องตัดสินใจปรับเปลี่ยนจิ๊กซอว์ธุรกิจใหม่ ดัน "ธนายง" เทกโอเวอร์บีทีเอสซี เจ้าของสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอส ที่ดูแล้วอนาคตค่อนข้างสดใสแทน เป็นการผนึกกำลังกันปั้นรายได้ให้เติบโตแบบก้าวกระโดด ทวงคืนความยิ่งใหญ่ เนื่องจากบริษัทพัฒนาที่ดินคู่แข่งหลายต่อหลายรายยอดขายโตวันโตคืนทะลุหลักหมื่นล้านบาท
ทุ่ม 4 หมื่นล้านซื้อหุ้นบีทีเอส 94%
นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บมจ.ธนายง เปิดเผยว่า บริษัทตัดสินใจเข้าซื้อกิจการ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือบีทีเอสซี โดยซื้อหุ้น 15,022.33 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นสัดส่วน 94.60% ของหุ้นบีทีเอสซีทั้งหมด คิดเป็นมูลค่า 40,034.53 ล้านบาท จากกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม คือ Siam Capital Developments (ฮ่องกง), Keen Leader Investment และหุ้นของกลุ่มตน รวมทั้งซื้อและรับโอนกิจการทั้งหมดจากบริษัท สยาม เรลล์ ทรานสปอร์ต แอนด์ อินฟราสตรัคเจอร์ โดยได้รับอนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) แล้ว เมื่อวันที่ 22 มีนาคมที่ผ่านมา และวันที่ 29 เมษายนนี้จะเสนอขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น จากนั้นคาดว่ากระบวนการต่าง ๆ จะเสร็จสิ้นภายในต้นเดือนพฤษภาคม 2553
โดยจะชำระค่าตอบแทนดังกล่าวเป็นเงินสด 20,655.71 ล้านบาท หรือ 51.59% ที่เหลือ 48.41% จะออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนอีก 28,166.88 ล้านหุ้น มูลค่า 19,378.81 ล้านบาท ของค่าตอบแทน ด้านแหล่งเงินบริษัทจะกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน 22,000 ล้านบาท เพื่อชำระค่าหุ้นเป็นเงินสด และใช้เงินทุนหมุนเวียนของบริษัทบางส่วน ภายหลังจากเข้าซื้อหุ้นบีทีเอสแล้วจะออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนมูลค่ารวม 12,000 ล้านบาท ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนของหุ้นที่ถือมาชำระคืนเงินกู้ยืมบางส่วน หุ้นที่เหลือจากการเสนอขายให้กับผู้ถือหุ้นเดิมจะจัดสรรโดยเสนอขายแก่นักลงทุนแบบเฉพาะเจาะจง
ทุนจดทะเบียนธนายงพุ่ง 6.5 หมื่น ล.
นายคีรีกล่าวว่า หลังการเพิ่มทุนธนายงจะมีทุนจดทะเบียนเพิ่มเป็น 65,000 ล้านบาท จากปัจจุบัน 7,600 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 57,000 ล้านบาท ขณะที่โครงสร้างผู้ถือหุ้นของธนายงจะเปลี่ยนแปลงไปด้วย โดยตนและนายกวิน กาญจนพาสน์ ยังคงเป็น ผู้ถือหุ้นใหญ่ที่ 41.4% และมีกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหม่ 2 กลุ่ม ได้แก่ กองทุนที่บริหารโดย Ashmore Invesment Management Limited และกองทุนที่บริหารโดย Farallon Capital Management,L.C. ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้ถือหุ้นในบีทีเอสซี นอกจากนี้ในอนาคตบริษัทมีแผนจะซื้อหุ้นสามัญของบีทีเอสซีอีก 5.4% จากผู้ถือหุ้นรายย่อย ซึ่งจะทำให้ถือหุ้นครบ 100%
ที่เข้าไปซื้อหุ้นบีทีเอสเพื่อความคล่องตัว ถูกต้อง ชัดเจนในการทำงานเป็นหลัก จะเรียกว่างูกินช้าง หรือเรียกลูกกลับบ้านก็ได้ เพื่อให้ธนายงมีบทบาททำธุรกิจอสังหาฯมากขึ้นในตลาด และความคล่องตัวในการบริหารงานและพัฒนาโครงการร่วมกันกับ บีทีเอส เป็นการเสริมกันโดย Synergy"
ใช้มือโปรอสังหาฯเพิ่มมูลค่าที่แนวรถไฟฟ้า
จากนี้ไปบริษัทจะใช้ประโยชน์จากที่ดินของบีทีเอสที่มีอยู่ตามแนวรถไฟฟ้าอย่างเต็มที่ โดยใช้บุคลากรมืออาชีพที่มีประสบการณ์ยาวนานด้านอสังหาฯของธนายงเข้าไปบริหารจัดการ ด้านบีทีเอสจะเดินรถไฟฟ้าอย่างเดียว ปัจจุบันธนายงเข้าไปบริหารจัดการอสังหาฯให้บีทีเอสในรูปเทิร์นคีย์อยู่แล้ว ทั้งที่ถนนสาทรใกล้สถานีบีทีเอสสุรศักดิ์ เป็นโรงแรมระดับ 4 ดาว 32 ชั้น 437 ห้อง ชื่อโฟร์พอยท์ เชอราตัน มูลค่า 2,200 ล้านบาท จะก่อสร้างเสร็จปี 2554
"เป็นความตั้งใจของผมแต่แรกที่จะลงทุนอสังหาฯในเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอส เพราะมั่นใจว่ามีผลตอบแทนที่ดี เพราะต่อไปธุรกิจรถไฟฟ้าจะเติบโตขึ้นอีกมาก ปัจจุบันบีทีเอสมีรายได้ที่แน่นอนแต่ละปีจากค่าโดยสาร เวลานี้มีผู้ใช้บริการเฉลี่ยที่ 4.5 แสนคน/วัน ต่อไปจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ"
บริหารจัดการแบบโฮลดิ้งคอมปะนี
นายคีรีกล่าวต่อว่า จากนี้ไป ธนายงจะเป็นบริษัทโฮลดิ้ง มีรายได้ 5 ส่วนหลัก ๆ คือ 1.รถไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันบีทีเอสมีเงินฝากกว่า 3,000 ล้านบาท รายได้รวม 9 เดือน ณ ธันวาคม 2552 ที่ 3,608 ล้านบาท เทียบกับปี 2551 เติบโตขึ้น 19% กำไรกว่า 2,000 ล้านบาท ในอนาคตจะมีรายได้เพิ่มจากส่วนต่อขยายสายใหม่เพิ่ม คือบีทีเอส อ่อนนุช-แบริ่ง ที่ กทม.จะว่าจ้างเดินรถให้ เหมือนกับต่อขยายไปฝั่งธนฯ 2.2 กิโลเมตร ที่ กทม.ว่าจ้างเดินรถ 2 ปีเศษ วงเงิน 450 ล้านบาท นอกจากนี้ยังได้จัดหารถและเดินรถโครงการบีอาร์ทีสายแรกช่องนนทรี-ราชพฤกษ์ อีกกว่า 500 ล้านบาท และกำลังเจรจากับ กทม.เข้าไปบริหารพื้นที่สถานี โครงการบีอาร์ทีอีกกว่า 300 ล้านบาทด้วย
"นอกจากนี้บริษัทยังสนใจลงทุนโครงการรถไฟฟ้าโมโนเรลของ กทม.ที่มีแผนจะก่อสร้างเร็ว ๆ นี้ รวมถึงส่วนต่อขยายสายสีเขียว 2 สาย คือ หมอชิต-สะพานใหม่ และแบริ่ง-สมุทรปราการ เพื่อต่อยอดกับสายทางเดิม เพราะมีความพร้อมอยู่แล้ว ทั้งเรื่องเงินลงทุนที่ต้องใช้ราว 50,000-60,000 ล้านบาท"
ประเดิมผุดโรงแรม-คอนโดฯ 5 โปรเจ็กต์
2.การพัฒนาอสังหาฯในแนวรถไฟฟ้าบีทีเอส ขณะนี้มี 5 แปลงที่มีแผนจะดำเนินการ มูลค่ารวมกว่า 5,000 ล้านบาท คือ 1.ที่ดินบริเวณสถานีพญาไท ด้านข้างอาคารพญาไทพลาซ่า 2 ไร่ พัฒนาเป็นโรงแรม 2.ที่ดินบริเวณสถานีนานา เป็นตึกสร้างค้าง พื้นที่ 3 ไร่เศษ พัฒนาเป็นโรงแรม 3.ที่ดินสถานีสุรศักดิ์ ด้านข้างร้านอาหารอีเลฟเฟ่น 2 ไร่ครึ่ง พัฒนาเป็นโรงแรม 4.ที่ดินบริเวณสถานีหมอชิต ด้านหน้าสำนักงานบีทีเอส ริมถนนพหลโยธิน ข้างธนาคารทหารไทย พื้นที่ 15 ไร่ ปัจจุบันทำเป็นลานจอดรถชั่วคราวแบบรายเดือนสำหรับลูกค้าบีทีเอส อยู่ระหว่างพิจารณารูปแบบโครงการ 5.บริเวณพหลโยธินในแนวรถไฟฟ้าสาย สีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่) 26 ไร่ เป็นอาคารร้างจะพัฒนาเป็นคอนโดฯ
3.ธุรกิจด้านโฆษณา ซึ่งบีทีเอสได้รับส่วนแบ่งรายได้จากบริษัทวีจีไอที่ถือหุ้นอยู่ 100% เฉลี่ย 300 กว่าล้านบาท/ปี จากรายได้รวมของวีจีไอ 1,100-1,200 ล้านบาท/ปี ซึ่งตอนนี้ธุรกิจวีจีไอขยายไปมากเกี่ยวกับพื้นที่โฆษณาทั้งภายในและนอกรถไฟฟ้า รวมทั้งพื้นที่ร้านค้าและโฆษณาในค้าปลีกชั้นนำ เช่น โลตัส คาร์ฟูร์ เป็นต้น
4.ธุรกิจตั๋วร่วมที่ตั้งบริษัท แบงค็อก สมาร์ท การ์ด จำกัด ที่ร่วมกับบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ ผู้บริหารรถไฟฟ้าใต้ดิน จะเปิดบริการไตรมาสที่ 2/2554 5.ที่ดินของธนายงที่ไม่ได้อยู่ในแนวรถไฟฟ้าใน กทม. และต่างจังหวัด ซึ่งมีมูลค่ากว่า 10,000 ล้านบาท เช่น ที่ดินบริเวณหาดกมลา ภูเก็ต 400 ไร่ มูลค่า 1,500 ล้านบาท ที่ดินทุ่งมหาเมฆ ที่เช่าระยะยาว 30 ปี จากกรมธนารักษ์ 17 ไร่ จะพัฒนาเป็นโรงแรมขนาด 3 ชั้น ระดับ 4 ดาว รูปแบบเดียวกับโรงแรมยู เชียงใหม่ และการขายที่ดินเปล่าที่ยังเหลืออยู่ในโครงการธนาซิตี้ประมาณ 200 แปลง มูลค่า 2,000 ล้านบาท ฯลฯ
"หลังการควบรวมกิจการรายได้หลักยังมาจากรถไฟฟ้า 85% รองลงมาเป็นรายได้จากโฆษณากว่า 10% ที่เหลือเป็นด้านอสังหาฯ เพราะอสังหาฯอยู่ระหว่างดำเนินการจะมีรายได้เข้ามามากขึ้นในปีหน้าเป็นต้นไป และอีก 2-3 ปีข้างหน้าสัดส่วนรายได้อสังหาฯจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อธนายงเข้ามาเต็มตัว"
ชูธงลุยอสังหาฯเต็มสปีด
นายคีรีกล่าวว่า ที่ผ่านมาดำเนินงานค่อนข้างช้า แต่หลังจากที่ออกจากแผนฟื้นฟูแล้ว ธนายงจะมีศักยภาพในการขยายธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว และนับจากนี้ไปจะรุกธุรกิจอสังหาฯมากขึ้น ปัจจุบันธนายงมีรายได้รวมเฉลี่ยกว่า 1,000 ล้านบาท ผลการดำเนินงานของปีที่แล้วกำไรไม่มาก ประมาณ 10-20 ล้านบาท ส่วนของบีทีเอสนั้น แม้ธนายงจะเข้าไปถือหุ้นใหญ่แล้ว แผนงานที่จะเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯยังเหมือนเดิม เพียงแต่รอจังหวะที่เหมาะสม
เปิดพอร์ตที่ดิน "ธนายง"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากธนาซิตี้แล้ว ปัจจุบันธนายงมีโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนา อาทิ เดอะรอยัลเพลส 2 และเดอะแกรนด์ โครงการอาคารพักอาศัยให้เช่า บนที่ดินที่เช่ามาจากสำนักงานพระคลังข้างที่ ใกล้สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสราชดำริ มีห้องพักให้เช่ารวม 6,290 ตร.ม. โรงแรมยู เชียงใหม่ ส่วนโครงการในอนาคตมีคอนโดฯสไตล์บูติค 2 โครงการ ในทำเลสุขุมวิท 66/1 แต่ละโครงการมีห้องพัก 55 ห้อง พร้อมสระ ว่ายน้ำ ฟิตเนส ตั้งอยู่บนที่ดิน 2 ไร่ ห่างสถานีบีทีเอสอุดมสุข 250 เมตร
โรงแรมยู เขาใหญ่ เป็นโรงแรมบูติค 4 ดาว และที่ดินเปล่าเพื่อขาย โครงการปราณคีรี กว่า 600 ไร่ ส่วนของโรงแรมจะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2554 โครงการบริเวณหาดกมลา ภูเก็ต โรงแรมยู กาญจนบุรี บนที่ดิน 5 ไร่ ใกล้แม่น้ำแคว และการบริหารโรงแรมโฟร์ พ้อยท์ โดย เชอราตัน ที่อยู่ระหว่างออกแบบและก่อสร้าง และธนายงได้รับมอบหมายจากเจ้าของโครงการให้เป็นผู้ดูแลและบริหารจัดการทั้งหมด
ประชาชาติธุรกิจ
วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4195
ซื้อคืน"บีทีเอส"ต่อยอด5ธุรกิจครบวงจร
วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4195 ประชาชาติธุรกิจ
10 ปีที่รอคอย "คีรี กาญจนพาสน์" เดินเกมเหนือเมฆ ปั้นจิ๊กซอว�ธุรกิจอสังหาฯครบวงจร ทุ่ม 4 หมื่นล้าน ปูทาง "ธนายง" เทกโอเวอร์บริษัทรถไฟฟ้า "บีทีเอส" หวังถือหุ้น เบ็ดเสร็จ 100% เตรียมส่งไม้ต่อทายาทรุ่นที่ 3 "กวิน กาญจนพาสน์" เจ้าของบริษัทโฆษณาลอยฟ้า "วีจีไอ" สานต่อ 5 ธุรกิจหลักแสนล้านในอนาคต
แม้จะปรับโครงสร้างหนี้และได้รับอนุมัติจากศาลล้มละลายกลางให้ออกจากแผนฟื้นฟูกิจการตั้งแต่ปลายปี 2549 แต่ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาข่าวคราวความเคลื่อนไหวของ "ธนายง" ยักษ์ใหญ่วงการพัฒนาที่ดินในอดีตมีให้เห็นแทบจะนับครั้งได้ เช่นเดียวกับตัวเลขรายได้ก็ยังไปไม่ถึงไหน ทั้ง ๆ ที่พยายามเร่งสปีดโดยนำบ้านและคอนโดฯที่พัฒนาและเปิดขายตั้งแต่ช่วงก่อนวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 มารีโนเวตขายใหม่ พร้อมกับแตกไลน์สู่ธุรกิจโรงแรม และเตรียมนำที่ดินในมืออีกหลายแปลงมาพัฒนาโครงการใหม่
จากที่เคยตั้งเป้าจะนำบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มังกรฮ่องกง "คีรี กาญจนพาสน์" บอสใหญ่ "ธนายง" จึงต้องตัดสินใจปรับเปลี่ยนจิ๊กซอว์ธุรกิจใหม่ ดัน "ธนายง" เทกโอเวอร์บีทีเอสซี เจ้าของสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอส ที่ดูแล้วอนาคตค่อนข้างสดใสแทน เป็นการผนึกกำลังกันปั้นรายได้ให้เติบโตแบบก้าวกระโดด ทวงคืนความยิ่งใหญ่ เนื่องจากบริษัทพัฒนาที่ดินคู่แข่งหลายต่อหลายรายยอดขายโตวันโตคืนทะลุหลักหมื่นล้านบาท
ทุ่ม 4 หมื่นล้านซื้อหุ้นบีทีเอส 94%
นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บมจ.ธนายง เปิดเผยว่า บริษัทตัดสินใจเข้าซื้อกิจการ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือบีทีเอสซี โดยซื้อหุ้น 15,022.33 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นสัดส่วน 94.60% ของหุ้นบีทีเอสซีทั้งหมด คิดเป็นมูลค่า 40,034.53 ล้านบาท จากกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม คือ Siam Capital Developments (ฮ่องกง), Keen Leader Investment และหุ้นของกลุ่มตน รวมทั้งซื้อและรับโอนกิจการทั้งหมดจากบริษัท สยาม เรลล์ ทรานสปอร์ต แอนด์ อินฟราสตรัคเจอร์ โดยได้รับอนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) แล้ว เมื่อวันที่ 22 มีนาคมที่ผ่านมา และวันที่ 29 เมษายนนี้จะเสนอขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น จากนั้นคาดว่ากระบวนการต่าง ๆ จะเสร็จสิ้นภายในต้นเดือนพฤษภาคม 2553
โดยจะชำระค่าตอบแทนดังกล่าวเป็นเงินสด 20,655.71 ล้านบาท หรือ 51.59% ที่เหลือ 48.41% จะออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนอีก 28,166.88 ล้านหุ้น มูลค่า 19,378.81 ล้านบาท ของค่าตอบแทน ด้านแหล่งเงินบริษัทจะกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน 22,000 ล้านบาท เพื่อชำระค่าหุ้นเป็นเงินสด และใช้เงินทุนหมุนเวียนของบริษัทบางส่วน ภายหลังจากเข้าซื้อหุ้นบีทีเอสแล้วจะออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนมูลค่ารวม 12,000 ล้านบาท ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนของหุ้นที่ถือมาชำระคืนเงินกู้ยืมบางส่วน หุ้นที่เหลือจากการเสนอขายให้กับผู้ถือหุ้นเดิมจะจัดสรรโดยเสนอขายแก่นักลงทุนแบบเฉพาะเจาะจง
ทุนจดทะเบียนธนายงพุ่ง 6.5 หมื่น ล.
นายคีรีกล่าวว่า หลังการเพิ่มทุนธนายงจะมีทุนจดทะเบียนเพิ่มเป็น 65,000 ล้านบาท จากปัจจุบัน 7,600 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 57,000 ล้านบาท ขณะที่โครงสร้างผู้ถือหุ้นของธนายงจะเปลี่ยนแปลงไปด้วย โดยตนและนายกวิน กาญจนพาสน์ ยังคงเป็น ผู้ถือหุ้นใหญ่ที่ 41.4% และมีกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหม่ 2 กลุ่ม ได้แก่ กองทุนที่บริหารโดย Ashmore Invesment Management Limited และกองทุนที่บริหารโดย Farallon Capital Management,L.C. ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้ถือหุ้นในบีทีเอสซี นอกจากนี้ในอนาคตบริษัทมีแผนจะซื้อหุ้นสามัญของบีทีเอสซีอีก 5.4% จากผู้ถือหุ้นรายย่อย ซึ่งจะทำให้ถือหุ้นครบ 100%
ที่เข้าไปซื้อหุ้นบีทีเอสเพื่อความคล่องตัว ถูกต้อง ชัดเจนในการทำงานเป็นหลัก จะเรียกว่างูกินช้าง หรือเรียกลูกกลับบ้านก็ได้ เพื่อให้ธนายงมีบทบาททำธุรกิจอสังหาฯมากขึ้นในตลาด และความคล่องตัวในการบริหารงานและพัฒนาโครงการร่วมกันกับ บีทีเอส เป็นการเสริมกันโดย Synergy"
ใช้มือโปรอสังหาฯเพิ่มมูลค่าที่แนวรถไฟฟ้า
จากนี้ไปบริษัทจะใช้ประโยชน์จากที่ดินของบีทีเอสที่มีอยู่ตามแนวรถไฟฟ้าอย่างเต็มที่ โดยใช้บุคลากรมืออาชีพที่มีประสบการณ์ยาวนานด้านอสังหาฯของธนายงเข้าไปบริหารจัดการ ด้านบีทีเอสจะเดินรถไฟฟ้าอย่างเดียว ปัจจุบันธนายงเข้าไปบริหารจัดการอสังหาฯให้บีทีเอสในรูปเทิร์นคีย์อยู่แล้ว ทั้งที่ถนนสาทรใกล้สถานีบีทีเอสสุรศักดิ์ เป็นโรงแรมระดับ 4 ดาว 32 ชั้น 437 ห้อง ชื่อโฟร์พอยท์ เชอราตัน มูลค่า 2,200 ล้านบาท จะก่อสร้างเสร็จปี 2554
"เป็นความตั้งใจของผมแต่แรกที่จะลงทุนอสังหาฯในเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอส เพราะมั่นใจว่ามีผลตอบแทนที่ดี เพราะต่อไปธุรกิจรถไฟฟ้าจะเติบโตขึ้นอีกมาก ปัจจุบันบีทีเอสมีรายได้ที่แน่นอนแต่ละปีจากค่าโดยสาร เวลานี้มีผู้ใช้บริการเฉลี่ยที่ 4.5 แสนคน/วัน ต่อไปจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ"
บริหารจัดการแบบโฮลดิ้งคอมปะนี
นายคีรีกล่าวต่อว่า จากนี้ไป ธนายงจะเป็นบริษัทโฮลดิ้ง มีรายได้ 5 ส่วนหลัก ๆ คือ 1.รถไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันบีทีเอสมีเงินฝากกว่า 3,000 ล้านบาท รายได้รวม 9 เดือน ณ ธันวาคม 2552 ที่ 3,608 ล้านบาท เทียบกับปี 2551 เติบโตขึ้น 19% กำไรกว่า 2,000 ล้านบาท ในอนาคตจะมีรายได้เพิ่มจากส่วนต่อขยายสายใหม่เพิ่ม คือบีทีเอส อ่อนนุช-แบริ่ง ที่ กทม.จะว่าจ้างเดินรถให้ เหมือนกับต่อขยายไปฝั่งธนฯ 2.2 กิโลเมตร ที่ กทม.ว่าจ้างเดินรถ 2 ปีเศษ วงเงิน 450 ล้านบาท นอกจากนี้ยังได้จัดหารถและเดินรถโครงการบีอาร์ทีสายแรกช่องนนทรี-ราชพฤกษ์ อีกกว่า 500 ล้านบาท และกำลังเจรจากับ กทม.เข้าไปบริหารพื้นที่สถานี โครงการบีอาร์ทีอีกกว่า 300 ล้านบาทด้วย
"นอกจากนี้บริษัทยังสนใจลงทุนโครงการรถไฟฟ้าโมโนเรลของ กทม.ที่มีแผนจะก่อสร้างเร็ว ๆ นี้ รวมถึงส่วนต่อขยายสายสีเขียว 2 สาย คือ หมอชิต-สะพานใหม่ และแบริ่ง-สมุทรปราการ เพื่อต่อยอดกับสายทางเดิม เพราะมีความพร้อมอยู่แล้ว ทั้งเรื่องเงินลงทุนที่ต้องใช้ราว 50,000-60,000 ล้านบาท"
ประเดิมผุดโรงแรม-คอนโดฯ 5 โปรเจ็กต์
2.การพัฒนาอสังหาฯในแนวรถไฟฟ้าบีทีเอส ขณะนี้มี 5 แปลงที่มีแผนจะดำเนินการ มูลค่ารวมกว่า 5,000 ล้านบาท คือ 1.ที่ดินบริเวณสถานีพญาไท ด้านข้างอาคารพญาไทพลาซ่า 2 ไร่ พัฒนาเป็นโรงแรม 2.ที่ดินบริเวณสถานีนานา เป็นตึกสร้างค้าง พื้นที่ 3 ไร่เศษ พัฒนาเป็นโรงแรม 3.ที่ดินสถานีสุรศักดิ์ ด้านข้างร้านอาหารอีเลฟเฟ่น 2 ไร่ครึ่ง พัฒนาเป็นโรงแรม 4.ที่ดินบริเวณสถานีหมอชิต ด้านหน้าสำนักงานบีทีเอส ริมถนนพหลโยธิน ข้างธนาคารทหารไทย พื้นที่ 15 ไร่ ปัจจุบันทำเป็นลานจอดรถชั่วคราวแบบรายเดือนสำหรับลูกค้าบีทีเอส อยู่ระหว่างพิจารณารูปแบบโครงการ 5.บริเวณพหลโยธินในแนวรถไฟฟ้าสาย สีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่) 26 ไร่ เป็นอาคารร้างจะพัฒนาเป็นคอนโดฯ
3.ธุรกิจด้านโฆษณา ซึ่งบีทีเอสได้รับส่วนแบ่งรายได้จากบริษัทวีจีไอที่ถือหุ้นอยู่ 100% เฉลี่ย 300 กว่าล้านบาท/ปี จากรายได้รวมของวีจีไอ 1,100-1,200 ล้านบาท/ปี ซึ่งตอนนี้ธุรกิจวีจีไอขยายไปมากเกี่ยวกับพื้นที่โฆษณาทั้งภายในและนอกรถไฟฟ้า รวมทั้งพื้นที่ร้านค้าและโฆษณาในค้าปลีกชั้นนำ เช่น โลตัส คาร์ฟูร์ เป็นต้น
4.ธุรกิจตั๋วร่วมที่ตั้งบริษัท แบงค็อก สมาร์ท การ์ด จำกัด ที่ร่วมกับบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ ผู้บริหารรถไฟฟ้าใต้ดิน จะเปิดบริการไตรมาสที่ 2/2554 5.ที่ดินของธนายงที่ไม่ได้อยู่ในแนวรถไฟฟ้าใน กทม. และต่างจังหวัด ซึ่งมีมูลค่ากว่า 10,000 ล้านบาท เช่น ที่ดินบริเวณหาดกมลา ภูเก็ต 400 ไร่ มูลค่า 1,500 ล้านบาท ที่ดินทุ่งมหาเมฆ ที่เช่าระยะยาว 30 ปี จากกรมธนารักษ์ 17 ไร่ จะพัฒนาเป็นโรงแรมขนาด 3 ชั้น ระดับ 4 ดาว รูปแบบเดียวกับโรงแรมยู เชียงใหม่ และการขายที่ดินเปล่าที่ยังเหลืออยู่ในโครงการธนาซิตี้ประมาณ 200 แปลง มูลค่า 2,000 ล้านบาท ฯลฯ
"หลังการควบรวมกิจการรายได้หลักยังมาจากรถไฟฟ้า 85% รองลงมาเป็นรายได้จากโฆษณากว่า 10% ที่เหลือเป็นด้านอสังหาฯ เพราะอสังหาฯอยู่ระหว่างดำเนินการจะมีรายได้เข้ามามากขึ้นในปีหน้าเป็นต้นไป และอีก 2-3 ปีข้างหน้าสัดส่วนรายได้อสังหาฯจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อธนายงเข้ามาเต็มตัว"
ชูธงลุยอสังหาฯเต็มสปีด
นายคีรีกล่าวว่า ที่ผ่านมาดำเนินงานค่อนข้างช้า แต่หลังจากที่ออกจากแผนฟื้นฟูแล้ว ธนายงจะมีศักยภาพในการขยายธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว และนับจากนี้ไปจะรุกธุรกิจอสังหาฯมากขึ้น ปัจจุบันธนายงมีรายได้รวมเฉลี่ยกว่า 1,000 ล้านบาท ผลการดำเนินงานของปีที่แล้วกำไรไม่มาก ประมาณ 10-20 ล้านบาท ส่วนของบีทีเอสนั้น แม้ธนายงจะเข้าไปถือหุ้นใหญ่แล้ว แผนงานที่จะเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯยังเหมือนเดิม เพียงแต่รอจังหวะที่เหมาะสม
เปิดพอร์ตที่ดิน "ธนายง"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากธนาซิตี้แล้ว ปัจจุบันธนายงมีโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนา อาทิ เดอะรอยัลเพลส 2 และเดอะแกรนด์ โครงการอาคารพักอาศัยให้เช่า บนที่ดินที่เช่ามาจากสำนักงานพระคลังข้างที่ ใกล้สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสราชดำริ มีห้องพักให้เช่ารวม 6,290 ตร.ม. โรงแรมยู เชียงใหม่ ส่วนโครงการในอนาคตมีคอนโดฯสไตล์บูติค 2 โครงการ ในทำเลสุขุมวิท 66/1 แต่ละโครงการมีห้องพัก 55 ห้อง พร้อมสระ ว่ายน้ำ ฟิตเนส ตั้งอยู่บนที่ดิน 2 ไร่ ห่างสถานีบีทีเอสอุดมสุข 250 เมตร
โรงแรมยู เขาใหญ่ เป็นโรงแรมบูติค 4 ดาว และที่ดินเปล่าเพื่อขาย โครงการปราณคีรี กว่า 600 ไร่ ส่วนของโรงแรมจะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2554 โครงการบริเวณหาดกมลา ภูเก็ต โรงแรมยู กาญจนบุรี บนที่ดิน 5 ไร่ ใกล้แม่น้ำแคว และการบริหารโรงแรมโฟร์ พ้อยท์ โดย เชอราตัน ที่อยู่ระหว่างออกแบบและก่อสร้าง และธนายงได้รับมอบหมายจากเจ้าของโครงการให้เป็นผู้ดูแลและบริหารจัดการทั้งหมด
ประชาชาติธุรกิจ
วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4195
- ขงเบ้ง
- Verified User
- โพสต์: 399
- ผู้ติดตาม: 0
หุ้น Tyong น่าสนใจไม่ครับ
โพสต์ที่ 9
คาดว่า มาแบบเดียวกับ bland เพิ่มทุน เพิ่มทุน อิ อิ
ผมมั่วเอานะครับ :lol: จำนวนหุ้นคงมากด้วย กำไรต่อหุ้นก็ต้องตัวหารเพิ่มครับ เป็นแค่ความคิดเห็นส่วนตัว ไม่เห็นด้วยก็ได้ครับ
ผมมั่วเอานะครับ :lol: จำนวนหุ้นคงมากด้วย กำไรต่อหุ้นก็ต้องตัวหารเพิ่มครับ เป็นแค่ความคิดเห็นส่วนตัว ไม่เห็นด้วยก็ได้ครับ
ไม่มีกลยุทธ์ใดตายตัวขึ้นอยู่กับสภาวะการณ์
เวลารุกคิดให้นานแต่เวลาถอยต้องเร็วไร้เงา
อิสรภาพทางการเงินเป็นแค่การเริ่มต้น
ปลายทาง คือ ความหลุดพ้น
ชีวิต คือ ความว่างเปล่า
ไม่มีใครหนีพ้นความตาย
แม้เป็นมหาเศรษฐีอันดับ 1ของโลก
เวลารุกคิดให้นานแต่เวลาถอยต้องเร็วไร้เงา
อิสรภาพทางการเงินเป็นแค่การเริ่มต้น
ปลายทาง คือ ความหลุดพ้น
ชีวิต คือ ความว่างเปล่า
ไม่มีใครหนีพ้นความตาย
แม้เป็นมหาเศรษฐีอันดับ 1ของโลก
-
- Verified User
- โพสต์: 174
- ผู้ติดตาม: 0
หุ้น Tyong น่าสนใจไม่ครับ
โพสต์ที่ 11
ธนายงเคาะราคาหุ้นเพิ่มทุน63สต.
30 เมษายน 2553 เวลา 06:05 น.
ธนายง เคาะราคาขายหุ้น 0.63 บาท สัดส่วน 7 ต่อ 4 แจกวอร์แรนต์ ระดม 1.2 หมื่นล้านบาท สิ้นปีมาร์เก็ตแคป 6.5 หมื่นล้านบาท ใหญ่ติดหนึ่งใน 30
นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท ธนายง เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริษัทมีมติอนุมัติให้การเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 20,455.4 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 0.63 บาท ให้แก่ผู้ถือหุ้นที่มีชื่อถือหุ้นในทะเบียนวันที่ 14 พ.ค.นี้ ในสัดส่วน 7 หุ้นเดิมต่อ 4 หุ้นใหม่ และแถมใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้น (วอร์แรนต์) คาดว่าจะได้รับเงินจำนวน 1.2 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้วอร์แรนต์อายุ 3 ปี สามารถแปลงเป็นหุ้นได้ในปีที่ 2 ราคาหุ้นละ 0.70 บาท
สำหรับกระบวนการแลกหุ้นกับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือบีทีเอส จะแล้วเสร็จในวันที่ 4 พ.ค.นี้ หลังจากนั้นเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) และนำหุ้นเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์วันที่ 11 พ.ค. และย้ายหุ้นไปหมวดขนส่ง
คาดว่าสิ้นปีนี้หุ้นจะมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด หรือมาร์เก็ตแคป ประมาณ 6.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งใหญ่ติดอันดับหนึ่งใน 30 ทำให้บริษัทและผู้ถือหุ้นได้ประโยชน์จากความคล่องตัวในการทำธุรกิจ สภาพคล่องของหุ้นที่สูงขึ้นเพิ่มความน่าสนใจให้แก่นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ นายคีรี กล่าว
สำหรับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมืองนั้น นายคีรี กล่าวว่า ยังไม่สามารถประเมินความเสียหายได้ทั้งหมด ซึ่งหากพิจารณาจากรายได้ตามปกติวันละเกือบ 11 ล้านบาท และวันที่ 28 เม.ย. ปิดบริการเร็วขึ้น 4 ชั่วโมง เป็น 20.00 น. มีรายได้อยู่ที่ 9.5 ล้านบาท ก็พอสำหรับการให้บริการต่อไป
30 เมษายน 2553 เวลา 06:05 น.
ธนายง เคาะราคาขายหุ้น 0.63 บาท สัดส่วน 7 ต่อ 4 แจกวอร์แรนต์ ระดม 1.2 หมื่นล้านบาท สิ้นปีมาร์เก็ตแคป 6.5 หมื่นล้านบาท ใหญ่ติดหนึ่งใน 30
นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท ธนายง เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริษัทมีมติอนุมัติให้การเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 20,455.4 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 0.63 บาท ให้แก่ผู้ถือหุ้นที่มีชื่อถือหุ้นในทะเบียนวันที่ 14 พ.ค.นี้ ในสัดส่วน 7 หุ้นเดิมต่อ 4 หุ้นใหม่ และแถมใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้น (วอร์แรนต์) คาดว่าจะได้รับเงินจำนวน 1.2 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้วอร์แรนต์อายุ 3 ปี สามารถแปลงเป็นหุ้นได้ในปีที่ 2 ราคาหุ้นละ 0.70 บาท
สำหรับกระบวนการแลกหุ้นกับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือบีทีเอส จะแล้วเสร็จในวันที่ 4 พ.ค.นี้ หลังจากนั้นเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) และนำหุ้นเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์วันที่ 11 พ.ค. และย้ายหุ้นไปหมวดขนส่ง
คาดว่าสิ้นปีนี้หุ้นจะมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด หรือมาร์เก็ตแคป ประมาณ 6.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งใหญ่ติดอันดับหนึ่งใน 30 ทำให้บริษัทและผู้ถือหุ้นได้ประโยชน์จากความคล่องตัวในการทำธุรกิจ สภาพคล่องของหุ้นที่สูงขึ้นเพิ่มความน่าสนใจให้แก่นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ นายคีรี กล่าว
สำหรับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมืองนั้น นายคีรี กล่าวว่า ยังไม่สามารถประเมินความเสียหายได้ทั้งหมด ซึ่งหากพิจารณาจากรายได้ตามปกติวันละเกือบ 11 ล้านบาท และวันที่ 28 เม.ย. ปิดบริการเร็วขึ้น 4 ชั่วโมง เป็น 20.00 น. มีรายได้อยู่ที่ 9.5 ล้านบาท ก็พอสำหรับการให้บริการต่อไป
- BeSmile
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1178
- ผู้ติดตาม: 0
หุ้น Tyong น่าสนใจไม่ครับ
โพสต์ที่ 13
เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ มี Bias ด้วย
เป็น Model การทำธุรกิจ แบบเอากระดาษมาขาย ในตลาด
แต่ถ้าวันไหน ธุรกิจ ดี ผู้ถือ หุ้น ใหญ่ ก็ได้ไปก่อน
เช่น บริษัท โฆษณา ที่น่าจะกำไรเยอะ ก็เป็นของใครไม่รู้
วิเคราะห์แบบ มี Bias -- นะครับ
:lol:
เป็น Model การทำธุรกิจ แบบเอากระดาษมาขาย ในตลาด
แต่ถ้าวันไหน ธุรกิจ ดี ผู้ถือ หุ้น ใหญ่ ก็ได้ไปก่อน
เช่น บริษัท โฆษณา ที่น่าจะกำไรเยอะ ก็เป็นของใครไม่รู้
วิเคราะห์แบบ มี Bias -- นะครับ
:lol:
มีสติ - อย่าประมาทในการใช้ชีวิต