รบกวนผู้รู้ แนะนำเรื่องหุ้นไอพีโอ (IPO) หน่อยครับ
- Sorgios
- Verified User
- โพสต์: 368
- ผู้ติดตาม: 0
รบกวนผู้รู้ แนะนำเรื่องหุ้นไอพีโอ (IPO) หน่อยครับ
โพสต์ที่ 1
เข้าไปอ่านใน set.or.th
เห็นว่ามีหุ้นไอพีโอน่าสนใจ
อยากขอคำแนะนำครับ ว่าหุ้นไอพีโอนี่เค้าซื้อขายกันอย่างไร
สามารถทำการซื้อขายแบบเดียวกับหุ้นสามัญทั่วไปหรือไม่ครับ
(มีช่วงเวลาจำกัดหรือไม่)
การซื้อของรายย่อยต่างกับรายใหญ่อย่างไร
การซื้อที่ par และ silent period คืออะไรครับ
ปล. อ่านกระทู้เก่าๆแล้ว แต่ยังไม่กระจ่าง
ขอบคุณมากครับ :D
เห็นว่ามีหุ้นไอพีโอน่าสนใจ
อยากขอคำแนะนำครับ ว่าหุ้นไอพีโอนี่เค้าซื้อขายกันอย่างไร
สามารถทำการซื้อขายแบบเดียวกับหุ้นสามัญทั่วไปหรือไม่ครับ
(มีช่วงเวลาจำกัดหรือไม่)
การซื้อของรายย่อยต่างกับรายใหญ่อย่างไร
การซื้อที่ par และ silent period คืออะไรครับ
ปล. อ่านกระทู้เก่าๆแล้ว แต่ยังไม่กระจ่าง
ขอบคุณมากครับ :D
CHIN UP, Do not give up !!!
- Packky
- Verified User
- โพสต์: 856
- ผู้ติดตาม: 0
รบกวนผู้รู้ แนะนำเรื่องหุ้นไอพีโอ (IPO) หน่อยครับ
โพสต์ที่ 2
จะจองซื้อหุ้น IPO ได้อย่างไร
หากสนใจจะจองซื้อหุ้น IPO จะต้องทำอย่างไร? คำถามนี้เป็นคำถามยอดฮิตคำถามหนึ่งเลยทีเดียว ก่อนจะไปตอบคำถามดังกล่าว คุณควรรู้จักและเข้าใจในความหมายของคำว่า IPO กันก่อน
IPO หรือ Initial Public Offering คือ การเสนอขายหุ้นให้แก่ประชาชนเป็นครั้งแรกของบริษัทที่ต้องการระดมเงินทุน เพื่อนำไปใช้ในการประกอบธุรกิจหรือขยายขอบเขตการทำธุรกิจของบริษัท
กว่าจะมาเป็นหุ้น IPO
หลังจากที่บริษัทตัดสินใจที่จะระดมทุนจากประชาชนทั่วไปโดยการออกและเสนอขายหลักทรัพย์แล้ว ก็ต้องเริ่มเข้าสู่กระบวนการเพื่อการขออนุญาตจาก ก.ล.ต. โดยหากบริษัทยังมีสถานะเป็นบริษัทจำกัดอยู่ก็จะต้องดำเนินการแปลงสภาพบริษัทให้เป็นบริษัทมหาชนก่อน หลังจากนั้นก็จะมีการแต่งตั้งที่ปรึกษาทางการเงินที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. เพื่อร่วมจัดทำแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ (แบบ filing) และร่างหนังสือชี้ชวน ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่ ก.ล.ต. กำหนดและเมื่อจัดเตรียมข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้วก็สามารถนำมายื่นขอความเห็นชอบได้ โดย ก.ล.ต. จะใช้เวลาในการพิจารณาไม่เกิน 45 วัน หลังจากที่ได้รับเอกสารจากบริษัทครบถ้วน
หนังสือชี้ชวนนั้น..สำคัญไฉน
หลายคนคงจะคุ้นหูกับประโยคที่ว่า การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน ซึ่งประโยคนี้จะปรากฏอยู่บนหนังสือชี้ชวนทุกฉบับ เพราะข้อมูลในหนังสือชี้ชวนนั้นจะประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ เป็นต้น รวมถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดสรรและวิธีการจองซื้อหลักทรัพย์ เพื่อให้ผู้ลงทุนที่สนใจสามารถติดต่อจองซื้อได้ โดยบริษัทมีหน้าที่ดำเนินการจัดสรรหลักทรัพย์ให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน
แล้วจะจองซื้อได้อย่างไร ?
การจองซื้อหุ้น IPO จะต้องทำผ่านตัวแทนการจัดจำหน่าย โดยรายชื่อของผู้จัดจำหน่ายจะระบุไว้ในหนังสือชี้ชวนทุกครั้ง ซึ่งผู้จัดจำหน่ายอาจจะเป็นบริษัทหลักทรัพย์หรือธนาคารพาณิชย์ที่มีใบอนุญาตในการเป็นตัวแทนจำหน่ายหลักทรัพย์
หลังจากที่คุณศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวนแล้ว คุณก็จะทราบว่ากำหนดในการจองซื้อหุ้นนั้นคือวันที่เท่าไร คุณก็สามารถไปขอจองซื้อได้ตามวันและเวลาที่กำหนดไว้ แต่สิ่งหนึ่งที่คุณควรจะให้ความสนใจอีกสักนิดก็คือ วันเวลาที่เปิดให้จองซื้อสำหรับผู้ลงทุนแต่ละกลุ่มนั้นอาจจะกำหนดวันเวลา และสถานที่ไม่เหมือนกัน เช่น ผู้จองซื้อรายย่อยให้จองซื้อได้ในวันที่ 8 มิถุนายน แต่ถ้าเป็นบุคคลทั่วไป นักลงทุนสถาบัน หรือผู้มีอุปการคุณของบริษัทให้จองซื้อได้ในวันที่ 9-11มิถุนายน เป็นต้น และในกรณีที่หลักทรัพย์ตัวนั้นได้รับความสนใจจากผู้ลงทุนอย่างล้นหลามทำให้มีการจองซื้อสูงกว่าจำนวนหลักทรัพย์ที่จะเสนอขายบริษัทก็จะต้องใช้วิธีการจัดสรรตามที่ได้ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน เช่น ใช่วิธีการสุ่มคัดเลือกผู้จองซื้อที่มีสิทธิจะได้รับการจัดสรร (random) ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ แต่ทั้งนี้ไม่ว่าจะใช้วิธีการจัดสรรวิธีการใดผู้จองซื้อจะมีสิทธิได้รับการจัดสรรก็ต่อเมื่อได้ชำระเงินการจองซื้อครบถ้วนแล้ว
โดยปกติเอกสารที่ใช้ในการจองซื้อนั้นก็จะประกอบด้วย ใบจองซื้อ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และบัญชีเงินฝากที่จะใช้ในการซื้อขาย เมื่อคุณทำการจองซื้อเสร็จเรียบร้อยแล้ว คุณจะสามารถติดตามผลการจัดสรรได้จากตัวแทนจำหน่ายหรือบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ แต่หากคุณไม่ได้รับการจัดสรร ตัวแทนการจัดจำหน่ายที่คุณไปจองซื้อหลักทรัพย์ไว้ก็จะคืนเงินค่าจองซื้อให้กับคุณ เช่น อาจจะส่งคืนทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามที่อยู่ของผู้จองซื้อที่ระบุไว้ในใบจองซื้อ เป็นต้น
http://www.secthailand.org/investor_edu ... es_ipo.doc
หากสนใจจะจองซื้อหุ้น IPO จะต้องทำอย่างไร? คำถามนี้เป็นคำถามยอดฮิตคำถามหนึ่งเลยทีเดียว ก่อนจะไปตอบคำถามดังกล่าว คุณควรรู้จักและเข้าใจในความหมายของคำว่า IPO กันก่อน
IPO หรือ Initial Public Offering คือ การเสนอขายหุ้นให้แก่ประชาชนเป็นครั้งแรกของบริษัทที่ต้องการระดมเงินทุน เพื่อนำไปใช้ในการประกอบธุรกิจหรือขยายขอบเขตการทำธุรกิจของบริษัท
กว่าจะมาเป็นหุ้น IPO
หลังจากที่บริษัทตัดสินใจที่จะระดมทุนจากประชาชนทั่วไปโดยการออกและเสนอขายหลักทรัพย์แล้ว ก็ต้องเริ่มเข้าสู่กระบวนการเพื่อการขออนุญาตจาก ก.ล.ต. โดยหากบริษัทยังมีสถานะเป็นบริษัทจำกัดอยู่ก็จะต้องดำเนินการแปลงสภาพบริษัทให้เป็นบริษัทมหาชนก่อน หลังจากนั้นก็จะมีการแต่งตั้งที่ปรึกษาทางการเงินที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. เพื่อร่วมจัดทำแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ (แบบ filing) และร่างหนังสือชี้ชวน ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่ ก.ล.ต. กำหนดและเมื่อจัดเตรียมข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้วก็สามารถนำมายื่นขอความเห็นชอบได้ โดย ก.ล.ต. จะใช้เวลาในการพิจารณาไม่เกิน 45 วัน หลังจากที่ได้รับเอกสารจากบริษัทครบถ้วน
หนังสือชี้ชวนนั้น..สำคัญไฉน
หลายคนคงจะคุ้นหูกับประโยคที่ว่า การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน ซึ่งประโยคนี้จะปรากฏอยู่บนหนังสือชี้ชวนทุกฉบับ เพราะข้อมูลในหนังสือชี้ชวนนั้นจะประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ เป็นต้น รวมถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดสรรและวิธีการจองซื้อหลักทรัพย์ เพื่อให้ผู้ลงทุนที่สนใจสามารถติดต่อจองซื้อได้ โดยบริษัทมีหน้าที่ดำเนินการจัดสรรหลักทรัพย์ให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน
แล้วจะจองซื้อได้อย่างไร ?
การจองซื้อหุ้น IPO จะต้องทำผ่านตัวแทนการจัดจำหน่าย โดยรายชื่อของผู้จัดจำหน่ายจะระบุไว้ในหนังสือชี้ชวนทุกครั้ง ซึ่งผู้จัดจำหน่ายอาจจะเป็นบริษัทหลักทรัพย์หรือธนาคารพาณิชย์ที่มีใบอนุญาตในการเป็นตัวแทนจำหน่ายหลักทรัพย์
หลังจากที่คุณศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวนแล้ว คุณก็จะทราบว่ากำหนดในการจองซื้อหุ้นนั้นคือวันที่เท่าไร คุณก็สามารถไปขอจองซื้อได้ตามวันและเวลาที่กำหนดไว้ แต่สิ่งหนึ่งที่คุณควรจะให้ความสนใจอีกสักนิดก็คือ วันเวลาที่เปิดให้จองซื้อสำหรับผู้ลงทุนแต่ละกลุ่มนั้นอาจจะกำหนดวันเวลา และสถานที่ไม่เหมือนกัน เช่น ผู้จองซื้อรายย่อยให้จองซื้อได้ในวันที่ 8 มิถุนายน แต่ถ้าเป็นบุคคลทั่วไป นักลงทุนสถาบัน หรือผู้มีอุปการคุณของบริษัทให้จองซื้อได้ในวันที่ 9-11มิถุนายน เป็นต้น และในกรณีที่หลักทรัพย์ตัวนั้นได้รับความสนใจจากผู้ลงทุนอย่างล้นหลามทำให้มีการจองซื้อสูงกว่าจำนวนหลักทรัพย์ที่จะเสนอขายบริษัทก็จะต้องใช้วิธีการจัดสรรตามที่ได้ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน เช่น ใช่วิธีการสุ่มคัดเลือกผู้จองซื้อที่มีสิทธิจะได้รับการจัดสรร (random) ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ แต่ทั้งนี้ไม่ว่าจะใช้วิธีการจัดสรรวิธีการใดผู้จองซื้อจะมีสิทธิได้รับการจัดสรรก็ต่อเมื่อได้ชำระเงินการจองซื้อครบถ้วนแล้ว
โดยปกติเอกสารที่ใช้ในการจองซื้อนั้นก็จะประกอบด้วย ใบจองซื้อ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และบัญชีเงินฝากที่จะใช้ในการซื้อขาย เมื่อคุณทำการจองซื้อเสร็จเรียบร้อยแล้ว คุณจะสามารถติดตามผลการจัดสรรได้จากตัวแทนจำหน่ายหรือบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ แต่หากคุณไม่ได้รับการจัดสรร ตัวแทนการจัดจำหน่ายที่คุณไปจองซื้อหลักทรัพย์ไว้ก็จะคืนเงินค่าจองซื้อให้กับคุณ เช่น อาจจะส่งคืนทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามที่อยู่ของผู้จองซื้อที่ระบุไว้ในใบจองซื้อ เป็นต้น
http://www.secthailand.org/investor_edu ... es_ipo.doc
- Packky
- Verified User
- โพสต์: 856
- ผู้ติดตาม: 0
รบกวนผู้รู้ แนะนำเรื่องหุ้นไอพีโอ (IPO) หน่อยครับ
โพสต์ที่ 3
PAR VALUE (มูลค่าที่ตราไว้)
มูลค่าของหลักทรัพย์ที่กำหนดระบุไว้บนใบตราสารซึ่งจะเป็นไปตามข้อกำหนดในหนังสือบริคณห์สนธิของ
แต่ละ บริษัท มูลค่าที่ตราไว้เป็นข้อมูลที่แสดงให้ทราบถึงมูลค่าเงินลงทุนเริ่มแรกสำหรับหุ้นแต่ละหน่วย
ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการ วิเคราะห์ทางบัญชี และใช้แสดงให้ทราบถึงทุนจดทะเบียนตามกฏหมาย เช่น
ทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท แบ่งเป็น 10 ล้านหุ้น มูลค่าตราไว้หุ้นละ 10 บาท เป็นต้น
มูลค่าที่ตราไว้มีประโยชน์ในการกำหนดอัตราผลตอบแทนสำหรับผู้ถือหุ้นกู้ พันธบัตร และหุ้นบุริมสิทธิ
เพราะดอกเบี้ยที่จ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้ พันธบัตร รวมถึงเงินปันผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะกำหนดเป็น
อัตราร้อยละของมูลค่าที่ตราไว้
มูลค่าที่ตราไว้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับราคาตลาดที่ตกลงซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์ ราคาตลาด
จะถูกกำหนดขึ้น โดยภาวะอุปสงค์และอุปทานในตลาด ซึ่งเป็นไปตามปัจจัยพื้นฐานของหลักทรัพย์นั้น ๆ
และสภาวะการซื้อขายในตลาด Par Value อาจเรียก Face Value (มูลค่าตามหน้าตราสาร) หรือ
Nominal Value (มูลค่าที่กำหนดไว้)
ผมเคย save เก็บไว้ตามลิงค์นี้ครับ...แต่เข้าใจว่าลิงค์เจ๊งไปแล้วขออภัยด้วยครับ
http://www.set.or.th/th/education/education.html
คุณ Mon money เคยอธิบายไว้ดังนี้ครับ
มูลค่าของหลักทรัพย์ที่กำหนดระบุไว้บนใบตราสารซึ่งจะเป็นไปตามข้อกำหนดในหนังสือบริคณห์สนธิของ
แต่ละ บริษัท มูลค่าที่ตราไว้เป็นข้อมูลที่แสดงให้ทราบถึงมูลค่าเงินลงทุนเริ่มแรกสำหรับหุ้นแต่ละหน่วย
ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการ วิเคราะห์ทางบัญชี และใช้แสดงให้ทราบถึงทุนจดทะเบียนตามกฏหมาย เช่น
ทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท แบ่งเป็น 10 ล้านหุ้น มูลค่าตราไว้หุ้นละ 10 บาท เป็นต้น
มูลค่าที่ตราไว้มีประโยชน์ในการกำหนดอัตราผลตอบแทนสำหรับผู้ถือหุ้นกู้ พันธบัตร และหุ้นบุริมสิทธิ
เพราะดอกเบี้ยที่จ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้ พันธบัตร รวมถึงเงินปันผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะกำหนดเป็น
อัตราร้อยละของมูลค่าที่ตราไว้
มูลค่าที่ตราไว้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับราคาตลาดที่ตกลงซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์ ราคาตลาด
จะถูกกำหนดขึ้น โดยภาวะอุปสงค์และอุปทานในตลาด ซึ่งเป็นไปตามปัจจัยพื้นฐานของหลักทรัพย์นั้น ๆ
และสภาวะการซื้อขายในตลาด Par Value อาจเรียก Face Value (มูลค่าตามหน้าตราสาร) หรือ
Nominal Value (มูลค่าที่กำหนดไว้)
ผมเคย save เก็บไว้ตามลิงค์นี้ครับ...แต่เข้าใจว่าลิงค์เจ๊งไปแล้วขออภัยด้วยครับ
http://www.set.or.th/th/education/education.html
คุณ Mon money เคยอธิบายไว้ดังนี้ครับ
Mon money เขียน:ลองนึกว่าคุณกำลังเริ่มต้นทำธุรกิจ และไปขอจดบริษัท คุณต้องระบุทุนจดทะเบียนว่ากี่บาท สมมุติ ทุน 1,000,000บาท แบ่งเป็น 100,000หุ้น ราคาหุ้นละ 10 บาท และ10บาทนี้คือราคาพาร์และเป็น book valueด้วย เมื่อคุณดำเนินธุรกิจไปครบหนึ่งปีปิดสมุดบัญชีปรากฎว่าคุณมีกำไรเพิ่มขึ้น ทำให้ทุนที่มีอยู่เพิ่มเป็น 1,500,000 บาท คิดต่อหุ้นแล้วคุณจะมี 15บาทต่อหุ้น ราคาพาร์ก็ยังเป็น 10บาทอยู่แต่book valueได้เพิ่มเป็น 15บาทครับ
สรุปก็คือ Par valueก็คือเงินทุนต่อหุ้นตอนตั้งต้นทำธุรกิจ นั่นเอง
- Packky
- Verified User
- โพสต์: 856
- ผู้ติดตาม: 0
รบกวนผู้รู้ แนะนำเรื่องหุ้นไอพีโอ (IPO) หน่อยครับ
โพสต์ที่ 4
Silent Period คืออะไร
Silent Period คือ ระยะเวลาที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กําหนดการห้ามขายหุ้นบริษัทจดทะเบียนของผู้บริหารและผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทดังกล่าว
ความสําคัญของ Silent Period
การที่ตลาดหลักทรัพยแหงประเทศไทยกําหนดให้มีระยะเวลาการห้ามขายหุ้นของผู้บริหารและผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทจดทะเบียนเพื่อไม่ให้เกิดแรงขายอันจะทําให้บิดเบือนกลไกราคาของตลาด อันอาจเป็นผลมาจากการที่ผู้ถือหุ้นใหญ่และผู้บริหารต้องการทิ้งหุ้นของบริษัทเนื่องจากการรู้ข้อมูลที่แตกต่างจากนักลงทุนโดยทั่วไป จนทําให้เกิดผลเสียต่อนักลงทุนโดยทั่วไปและจะทําให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยขาดความน่าเชื่อถือจากนักลงทุนทั้งในและตางประเทศ
http://docs.google.com/viewer?a=v&q=cac ... HPCCX2aFCw
Silent Period คือ ระยะเวลาที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กําหนดการห้ามขายหุ้นบริษัทจดทะเบียนของผู้บริหารและผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทดังกล่าว
ความสําคัญของ Silent Period
การที่ตลาดหลักทรัพยแหงประเทศไทยกําหนดให้มีระยะเวลาการห้ามขายหุ้นของผู้บริหารและผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทจดทะเบียนเพื่อไม่ให้เกิดแรงขายอันจะทําให้บิดเบือนกลไกราคาของตลาด อันอาจเป็นผลมาจากการที่ผู้ถือหุ้นใหญ่และผู้บริหารต้องการทิ้งหุ้นของบริษัทเนื่องจากการรู้ข้อมูลที่แตกต่างจากนักลงทุนโดยทั่วไป จนทําให้เกิดผลเสียต่อนักลงทุนโดยทั่วไปและจะทําให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยขาดความน่าเชื่อถือจากนักลงทุนทั้งในและตางประเทศ
http://docs.google.com/viewer?a=v&q=cac ... HPCCX2aFCw
- Packky
- Verified User
- โพสต์: 856
- ผู้ติดตาม: 0
รบกวนผู้รู้ แนะนำเรื่องหุ้นไอพีโอ (IPO) หน่อยครับ
โพสต์ที่ 5
Q : ในการห้ามขายหุ้น (Silent Period) เป็นระยะเวลา 1 ปี หลังหุ้นเข้าซื้อขายภายในตลาดหลักทรัพย์ฯ นั้น ผู้ถือหุ้นที่เข้าข่ายเป็น Strategic Shareholder ทุกรายต้องถูกห้ามขายหุ้นหรือไม่ และหุ้นจำนวนดังกล่าวเป็นสัดส่วนเท่าใด
A : Strategic Shareholder ที่เข้าข่ายทุกรายไม่จำเป็นต้องถูกห้ามขายหุ้น ทั้งนี้ ให้ผู้เข้าข่ายทุกรายทำการตกลงกันภายในกลุ่มโดยจะแบ่งหุ้นมาในสัดส่วนคนละเท่าใดก็ได้ แต่รวมแล้วต้องให้ได้จำนวนหุ้นที่ห้ามขายคิดเป็น 55% ของทุนชำระแล้วหลัง IPO
http://www.set.or.th/th/faqs/listing_p1.html#4
A : Strategic Shareholder ที่เข้าข่ายทุกรายไม่จำเป็นต้องถูกห้ามขายหุ้น ทั้งนี้ ให้ผู้เข้าข่ายทุกรายทำการตกลงกันภายในกลุ่มโดยจะแบ่งหุ้นมาในสัดส่วนคนละเท่าใดก็ได้ แต่รวมแล้วต้องให้ได้จำนวนหุ้นที่ห้ามขายคิดเป็น 55% ของทุนชำระแล้วหลัง IPO
http://www.set.or.th/th/faqs/listing_p1.html#4