วิกฤติ...หมู 4 ตัว วิกฤติโลกซ้ำวิกฤติไทย
-
- Verified User
- โพสต์: 21
- ผู้ติดตาม: 0
วิกฤติ...หมู 4 ตัว วิกฤติโลกซ้ำวิกฤติไทย
โพสต์ที่ 1
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
26 พฤษภาคม 2553, 05:00 น.
ดร.สมภพ มานะรังสรรค์
วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ที่เกิดในสหรัฐอเมริกายังไม่ฟื้นดี...วิกฤติเศรษฐกิจรอบใหม่ในยุโรปเกิดขึ้นมาอีกจุด
เกิดขึ้นในขณะที่วิกฤติชิงอำนาจทางการเมืองของบ้านเรายังยากจบได้ง่าย...อนาคตของประเทศจะฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจระลอกใหม่ได้หรือ
เพราะวิกฤติหนนี้ ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ นักเศรษฐศาสตร์มหภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้ว่า...ไม่ธรรมดา
วิกฤติซ้ำวิกฤติ...จะกระชากลากถูให้วิกฤติหนักหนาสาหัส และถ้าประเทศ ไทยยังวุ่นไม่เลิก เศรษฐกิจของไทยที่เพิ่งโงหัวขึ้นมาจะดำดิ่งภายในเร็ววัน
"ไม่น่าเกิน 1 ปี วิกฤติหมู 4 ตัวที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจไปทั่วทั้งโลก ไตรมาสที่ 3-4 ของปีนี้ก็น่าจะเห็นอาการแล้ว"
วิกฤติหมู 4 ตัว ในความหมายของ ดร.สมภพ ก็คือ...PIGS
P= โปรตุเกส (Portugal)
I= อิตาลี (Italy)
G= กรีซ (Greece)
S= สเปน (Spain)
หมู 4 ตัว...4 ประเทศนี้กำลังอยู่ในภาวะมีหนี้สินล้นพ้นตัวด้วยกันทั้งสิ้น
ตามข้อกำหนดของสหภาพยุโรป เพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก ได้ตั้งกติกาไว้ว่า หนี้สาธารณะที่รัฐบาลแต่ละประเทศก่อขึ้น ไม่ควรจะเกิน 60% ของจีดีพี หรือรายได้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
แต่สเปนมีหนี้สาธารณะ 90% ของจีดีพี
โปรตุเกส 91% ของจีดีพี
กรีซ 123% ของจีดีพี
อิตาลี มีหนี้สาธารณะมากถึง 127% ของจีดีพี
กรีซมีหนี้สาธารณะมากเป็นอันดับ 4 ของโลก...อิตาลีมีหนี้สาธารณะมากเป็นอันดับ 3 ของโลก
"แม้จะไม่มีหนี้สาธารณะสูงเป็นอันดับ 1 เหมือนญี่ปุ่น ที่มีหนี้สาธารณะสูงถึง 200% ของจีดีพีก็ตาม แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่เหมือนกัน
ญี่ปุ่นมีหนี้สาธารณะมากก็จริง แต่เป็นหนี้ที่เกิดจากการกู้ยืมแบบอัฐยายซื้อขนมยาย รัฐบาลญี่ปุ่นไม่มีเงิน แต่ประชาชนคนญี่ปุ่นมีเงิน รัฐบาลญี่ปุ่นเลยก่อหนี้สาธารณะ ด้วยการออกพันธบัตรกู้ยืมเงินจากคนญี่ปุ่นด้วยกัน ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเศรษฐกิจก็เลยไม่มาก"
ไม่เหมือนกับกลุ่มประเทศหมู 4 ตัว หนี้สาธารณะที่รัฐบาลก่อขึ้น จากการกู้ยืมคนอื่น...กู้ยืมต่างประเทศ ปัญหาจะต่างกัน
มีหนี้ขนาดนี้ ปัญหาจะมากขนาดไหน ดร.สมภพ ยกตัวอย่างเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดยิ่งขึ้น...ตอนเกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง เมื่อปี 2540 ประเทศไทยมีหนี้สาธารณะอยู่ประมาณ 62-63% ของจีดีพี
ตอนนั้นปัญหาบ้านเราหนักขนาดไหน...กลุ่มประเทศหมู 4 ตัว มีหนี้มากกว่าเรา ปัญหาจะหนักแค่ไหน
หรือจะให้เห็นตัวอย่างใหม่หมาดๆ สัดส่วนตัวเลขหนี้พอๆกัน วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ที่ยังแก้กันไม่เสร็จ...สหรัฐอเมริกามีหนี้สาธารณะ 92.4% ของจีดีพี
หนี้สาธารณะ คือหนี้ที่รัฐบาลก่อขึ้น เพื่อนำมาใช้จ่ายในการบริหารและพัฒนาประเทศ ในยามที่รัฐบาลเก็บภาษี หารายได้ไม่พอกับความต้องการใช้จ่าย
รัฐบาลไหนมีวินัยการเงินการคลังดี จะกู้หนี้มาใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น... รัฐบาลไหนไร้วินัยการเงินการคลัง ทำตัวเป็นเพลย์บอย จะกู้หนี้มาใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่าย ไม่ระมัดระวัง
"กลุ่มประเทศ PIGS มีหนี้สาธารณะล้นพ้นตัว สาเหตุสำคัญมาจากความไม่พอเพียง ใช้จ่ายเกินตัว เกินฐานะรายได้ของตัวเอง ตัวอย่างที่เห็นชัดสุดก็คือ กรีซ กู้เงินมาลงทุนเกินตัวในเรื่องเป็นเจ้าภาพจัดแข่งขันกีฬาโอลิมปิก หมดเงินไปมากมายมหาศาล ผ่านไปแล้ว 6 ปี วันนี้ยังใช้หนี้ไม่หมดเลย"
นโยบายประชานิยม ขึ้นเงินเดือน แจกโบนัสข้าราชการ เพิ่มเงินบำเหน็จบำนาญให้กับคนชรา ฯลฯ เป็นอีกเหตุผลที่รัฐบาลประเทศเหล่านี้มีปัญหาต้องก่อหนี้มากขึ้น เพราะประชานิยมทำให้รัฐมีภาระค่าใช้จ่ายมากขึ้น ทั้งที่รายได้ไม่เพิ่มขึ้น จนต้องไปกู้เงินมาพยุงฐานะ
แทนที่จะกู้เงินมาใช้จ่ายในการพัฒนาประเทศ ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลก เพราะนับแต่ สหภาพโซเวียตล่มสลาย มีประเทศเกิดใหม่ในยุโรปตะวันออกเกิดขึ้นมากมาย
เกิดมาเป็นคู่แข่งในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการผลิตสินค้าเกษตร อุตสาหกรรม แม้กระทั่งการท่องเที่ยว
คู่แข่งเกิดมามากมาย แต่รัฐบาลไม่ได้คิดวางแผนปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ เพื่อรับการแข่งขัน...ในที่สุดค้าขายแข่งกับประเทศเกิดใหม่ที่มีต้นทุนต่ำกว่าไม่ได้
และเงินที่กู้มาคิดว่าจะหาเงินมาใช้หนี้ได้...ไม่มีเงินพอไปใช้หนี้
ที่ผ่านมารัฐบาลประชานิยมใช้วิธีแก้ผ้าเอาหน้ารอด กู้หนี้มาใช้หนี้...หนี้ก็เลยสะสมกลายเป็นดินพอกหางหมู
นี่คือปัญหาใหญ่ของวิกฤติเศรษฐกิจระลอกใหม่
"ประเทศที่มีปัญหาหนี้สินล้นพ้น เพราะใช้จ่ายเกินตัว แนวทางที่แก้ปัญหาให้ได้ผลในเร็ววัน ก็คือ ต้องรัดเข็มขัด ประหยัด ใช้จ่ายให้น้อยลง ตามโปรแกรมของ IMF ที่เคยใช้กับเราเมื่อตอนเกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง
กรณีของกลุ่มประเทศ PIGS นี่ก็เหมือนกัน IMF ตั้งใจจะให้กรีซเป็นประเทศต้นแบบให้ประเทศอื่นเอาอย่าง แต่ปรากฏว่าทำไม่ได้ ด้วยประชาชนนิสัยเสียไปกับนโยบายประชานิยม รับไม่ได้กับการถูกตัดโบนัส ลดเงินเดือน ชุมนุมประท้วงทั่วประเทศ"
สหภาพยุโรปที่หนุนหลังเลยต้องแก้ปัญหาแบบเดิมๆ อัดฉีดเม็ดเงินเข้าไปช่วยเหลือกรีซ ให้กรีซกู้หนี้ไปใช้หนี้ เป็นดินพอกหางหมู
ที่สำคัญ ประเทศที่เข้าไปช่วยเหลืออุ้มชู ปล่อยกู้ให้กรีซกู้ ไม่ว่าจะเป็นเยอรมนี ฝรั่งเศส ที่ภายนอกดูเหมือนเป็นชาติยักษ์ใหญ่ ฐานะร่ำรวย ที่ไหนได้มีหนี้ล้นพ้นตัวไม่แพ้กัน
เยอรมนี มีหนี้สาธารณะ 82% ของจีดีพี...ฝรั่งเศส 92.5%
แค่นั้นไม่พอยังมีการไปขอให้ธนาคารกลางสหรัฐฯที่บักโกรกอยู่ช่วยปั๊มเงินมาให้กู้อีกต่างหาก
การแก้ปัญหาแนวทางนี้ ดร.สมภพ มองว่า ไม่ต่างอะไรกับเตี้ยอุ้มค่อม... ต่างเอาตัวกันไม่รอด จะกอดคอพากันล่มจม
"นี่จะเป็นปรากฏการณ์ครั้งแรกของประวัติศาสตร์โลก ที่ประเทศ เจริญแล้วจะมีหนี้สินล้นพ้นตัว กลายเป็นประเทศคนเคยรวย เพราะในอดีตมีแต่ประเทศด้อยพัฒนาเท่านั้นที่มีปัญหาแบบนี้"
เมื่อประเทศลูกหนี้เจ้าหนี้เหล่านี้กอดคอกันถดถอย สิ่งที่ตามมาจะฉุดกระชากลากให้เศรษฐกิจประเทศอื่นๆ ในยุโรปพลอยล้มตามเป็นโดมิโน...ผลกระทบจะมาถึงบ้านเราอย่างยากจะหลีกหนี
เพราะเศรษฐกิจไทยพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก...ก่อนหน้านี้สหรัฐฯบ่จี๊ซื้อของจากเราน้อยลง อนาคตอันใกล้ยุโรปแย่ เราจะขายของได้น้อยลงไปอีก
อะไรจะเกิดขึ้นตามมา...อย่าฝันหรูว่าไทยยังมีตลาดหลักให้ขายของได้อยู่ อาเซียน, ญี่ปุ่น, จีน
เพราะตลาดเหล่านี้มีสถานะไม่ต่างกับเรา สหรัฐฯไม่ฟื้น ยุโรปจนลง เขาก็ขายของได้น้อยลง...เงินมีน้อยลง ก็ต้องซื้อของจากเราน้อยลง
ดร.สมภพ ชี้ว่า ในอนาคตข้างหน้า ตลาดเดียวที่จะช่วยต่อลมหายใจเศรษฐกิจของไทยได้ ก็คือ...ตลาดภายในประเทศ
ทำยังไงให้คนไทยมีเงินมากขึ้น ซื้อของในประเทศมากขึ้น
แต่ถ้ายังทะเลาะชิงอำนาจกันไม่เลิกอย่างนี้...เลิกฝัน เราจะฝ่าสึนามิเศรษฐกิจลูกนี้ได้.
ไทยรัฐออนไลน์
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
26 พฤษภาคม 2553, 05:00 น.
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
853 ข่าว
ไม่มีรูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีข้อมูลบุคคลที่เกี่ยวข้อง
tags:
สกู๊ปหน้า 1 หมู 4 ตัว แฮมเบอร์เกอร์ สหรัฐอเมริกา
26 พฤษภาคม 2553, 05:00 น.
ดร.สมภพ มานะรังสรรค์
วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ที่เกิดในสหรัฐอเมริกายังไม่ฟื้นดี...วิกฤติเศรษฐกิจรอบใหม่ในยุโรปเกิดขึ้นมาอีกจุด
เกิดขึ้นในขณะที่วิกฤติชิงอำนาจทางการเมืองของบ้านเรายังยากจบได้ง่าย...อนาคตของประเทศจะฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจระลอกใหม่ได้หรือ
เพราะวิกฤติหนนี้ ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ นักเศรษฐศาสตร์มหภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้ว่า...ไม่ธรรมดา
วิกฤติซ้ำวิกฤติ...จะกระชากลากถูให้วิกฤติหนักหนาสาหัส และถ้าประเทศ ไทยยังวุ่นไม่เลิก เศรษฐกิจของไทยที่เพิ่งโงหัวขึ้นมาจะดำดิ่งภายในเร็ววัน
"ไม่น่าเกิน 1 ปี วิกฤติหมู 4 ตัวที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจไปทั่วทั้งโลก ไตรมาสที่ 3-4 ของปีนี้ก็น่าจะเห็นอาการแล้ว"
วิกฤติหมู 4 ตัว ในความหมายของ ดร.สมภพ ก็คือ...PIGS
P= โปรตุเกส (Portugal)
I= อิตาลี (Italy)
G= กรีซ (Greece)
S= สเปน (Spain)
หมู 4 ตัว...4 ประเทศนี้กำลังอยู่ในภาวะมีหนี้สินล้นพ้นตัวด้วยกันทั้งสิ้น
ตามข้อกำหนดของสหภาพยุโรป เพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก ได้ตั้งกติกาไว้ว่า หนี้สาธารณะที่รัฐบาลแต่ละประเทศก่อขึ้น ไม่ควรจะเกิน 60% ของจีดีพี หรือรายได้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
แต่สเปนมีหนี้สาธารณะ 90% ของจีดีพี
โปรตุเกส 91% ของจีดีพี
กรีซ 123% ของจีดีพี
อิตาลี มีหนี้สาธารณะมากถึง 127% ของจีดีพี
กรีซมีหนี้สาธารณะมากเป็นอันดับ 4 ของโลก...อิตาลีมีหนี้สาธารณะมากเป็นอันดับ 3 ของโลก
"แม้จะไม่มีหนี้สาธารณะสูงเป็นอันดับ 1 เหมือนญี่ปุ่น ที่มีหนี้สาธารณะสูงถึง 200% ของจีดีพีก็ตาม แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่เหมือนกัน
ญี่ปุ่นมีหนี้สาธารณะมากก็จริง แต่เป็นหนี้ที่เกิดจากการกู้ยืมแบบอัฐยายซื้อขนมยาย รัฐบาลญี่ปุ่นไม่มีเงิน แต่ประชาชนคนญี่ปุ่นมีเงิน รัฐบาลญี่ปุ่นเลยก่อหนี้สาธารณะ ด้วยการออกพันธบัตรกู้ยืมเงินจากคนญี่ปุ่นด้วยกัน ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเศรษฐกิจก็เลยไม่มาก"
ไม่เหมือนกับกลุ่มประเทศหมู 4 ตัว หนี้สาธารณะที่รัฐบาลก่อขึ้น จากการกู้ยืมคนอื่น...กู้ยืมต่างประเทศ ปัญหาจะต่างกัน
มีหนี้ขนาดนี้ ปัญหาจะมากขนาดไหน ดร.สมภพ ยกตัวอย่างเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดยิ่งขึ้น...ตอนเกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง เมื่อปี 2540 ประเทศไทยมีหนี้สาธารณะอยู่ประมาณ 62-63% ของจีดีพี
ตอนนั้นปัญหาบ้านเราหนักขนาดไหน...กลุ่มประเทศหมู 4 ตัว มีหนี้มากกว่าเรา ปัญหาจะหนักแค่ไหน
หรือจะให้เห็นตัวอย่างใหม่หมาดๆ สัดส่วนตัวเลขหนี้พอๆกัน วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ที่ยังแก้กันไม่เสร็จ...สหรัฐอเมริกามีหนี้สาธารณะ 92.4% ของจีดีพี
หนี้สาธารณะ คือหนี้ที่รัฐบาลก่อขึ้น เพื่อนำมาใช้จ่ายในการบริหารและพัฒนาประเทศ ในยามที่รัฐบาลเก็บภาษี หารายได้ไม่พอกับความต้องการใช้จ่าย
รัฐบาลไหนมีวินัยการเงินการคลังดี จะกู้หนี้มาใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น... รัฐบาลไหนไร้วินัยการเงินการคลัง ทำตัวเป็นเพลย์บอย จะกู้หนี้มาใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่าย ไม่ระมัดระวัง
"กลุ่มประเทศ PIGS มีหนี้สาธารณะล้นพ้นตัว สาเหตุสำคัญมาจากความไม่พอเพียง ใช้จ่ายเกินตัว เกินฐานะรายได้ของตัวเอง ตัวอย่างที่เห็นชัดสุดก็คือ กรีซ กู้เงินมาลงทุนเกินตัวในเรื่องเป็นเจ้าภาพจัดแข่งขันกีฬาโอลิมปิก หมดเงินไปมากมายมหาศาล ผ่านไปแล้ว 6 ปี วันนี้ยังใช้หนี้ไม่หมดเลย"
นโยบายประชานิยม ขึ้นเงินเดือน แจกโบนัสข้าราชการ เพิ่มเงินบำเหน็จบำนาญให้กับคนชรา ฯลฯ เป็นอีกเหตุผลที่รัฐบาลประเทศเหล่านี้มีปัญหาต้องก่อหนี้มากขึ้น เพราะประชานิยมทำให้รัฐมีภาระค่าใช้จ่ายมากขึ้น ทั้งที่รายได้ไม่เพิ่มขึ้น จนต้องไปกู้เงินมาพยุงฐานะ
แทนที่จะกู้เงินมาใช้จ่ายในการพัฒนาประเทศ ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลก เพราะนับแต่ สหภาพโซเวียตล่มสลาย มีประเทศเกิดใหม่ในยุโรปตะวันออกเกิดขึ้นมากมาย
เกิดมาเป็นคู่แข่งในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการผลิตสินค้าเกษตร อุตสาหกรรม แม้กระทั่งการท่องเที่ยว
คู่แข่งเกิดมามากมาย แต่รัฐบาลไม่ได้คิดวางแผนปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ เพื่อรับการแข่งขัน...ในที่สุดค้าขายแข่งกับประเทศเกิดใหม่ที่มีต้นทุนต่ำกว่าไม่ได้
และเงินที่กู้มาคิดว่าจะหาเงินมาใช้หนี้ได้...ไม่มีเงินพอไปใช้หนี้
ที่ผ่านมารัฐบาลประชานิยมใช้วิธีแก้ผ้าเอาหน้ารอด กู้หนี้มาใช้หนี้...หนี้ก็เลยสะสมกลายเป็นดินพอกหางหมู
นี่คือปัญหาใหญ่ของวิกฤติเศรษฐกิจระลอกใหม่
"ประเทศที่มีปัญหาหนี้สินล้นพ้น เพราะใช้จ่ายเกินตัว แนวทางที่แก้ปัญหาให้ได้ผลในเร็ววัน ก็คือ ต้องรัดเข็มขัด ประหยัด ใช้จ่ายให้น้อยลง ตามโปรแกรมของ IMF ที่เคยใช้กับเราเมื่อตอนเกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง
กรณีของกลุ่มประเทศ PIGS นี่ก็เหมือนกัน IMF ตั้งใจจะให้กรีซเป็นประเทศต้นแบบให้ประเทศอื่นเอาอย่าง แต่ปรากฏว่าทำไม่ได้ ด้วยประชาชนนิสัยเสียไปกับนโยบายประชานิยม รับไม่ได้กับการถูกตัดโบนัส ลดเงินเดือน ชุมนุมประท้วงทั่วประเทศ"
สหภาพยุโรปที่หนุนหลังเลยต้องแก้ปัญหาแบบเดิมๆ อัดฉีดเม็ดเงินเข้าไปช่วยเหลือกรีซ ให้กรีซกู้หนี้ไปใช้หนี้ เป็นดินพอกหางหมู
ที่สำคัญ ประเทศที่เข้าไปช่วยเหลืออุ้มชู ปล่อยกู้ให้กรีซกู้ ไม่ว่าจะเป็นเยอรมนี ฝรั่งเศส ที่ภายนอกดูเหมือนเป็นชาติยักษ์ใหญ่ ฐานะร่ำรวย ที่ไหนได้มีหนี้ล้นพ้นตัวไม่แพ้กัน
เยอรมนี มีหนี้สาธารณะ 82% ของจีดีพี...ฝรั่งเศส 92.5%
แค่นั้นไม่พอยังมีการไปขอให้ธนาคารกลางสหรัฐฯที่บักโกรกอยู่ช่วยปั๊มเงินมาให้กู้อีกต่างหาก
การแก้ปัญหาแนวทางนี้ ดร.สมภพ มองว่า ไม่ต่างอะไรกับเตี้ยอุ้มค่อม... ต่างเอาตัวกันไม่รอด จะกอดคอพากันล่มจม
"นี่จะเป็นปรากฏการณ์ครั้งแรกของประวัติศาสตร์โลก ที่ประเทศ เจริญแล้วจะมีหนี้สินล้นพ้นตัว กลายเป็นประเทศคนเคยรวย เพราะในอดีตมีแต่ประเทศด้อยพัฒนาเท่านั้นที่มีปัญหาแบบนี้"
เมื่อประเทศลูกหนี้เจ้าหนี้เหล่านี้กอดคอกันถดถอย สิ่งที่ตามมาจะฉุดกระชากลากให้เศรษฐกิจประเทศอื่นๆ ในยุโรปพลอยล้มตามเป็นโดมิโน...ผลกระทบจะมาถึงบ้านเราอย่างยากจะหลีกหนี
เพราะเศรษฐกิจไทยพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก...ก่อนหน้านี้สหรัฐฯบ่จี๊ซื้อของจากเราน้อยลง อนาคตอันใกล้ยุโรปแย่ เราจะขายของได้น้อยลงไปอีก
อะไรจะเกิดขึ้นตามมา...อย่าฝันหรูว่าไทยยังมีตลาดหลักให้ขายของได้อยู่ อาเซียน, ญี่ปุ่น, จีน
เพราะตลาดเหล่านี้มีสถานะไม่ต่างกับเรา สหรัฐฯไม่ฟื้น ยุโรปจนลง เขาก็ขายของได้น้อยลง...เงินมีน้อยลง ก็ต้องซื้อของจากเราน้อยลง
ดร.สมภพ ชี้ว่า ในอนาคตข้างหน้า ตลาดเดียวที่จะช่วยต่อลมหายใจเศรษฐกิจของไทยได้ ก็คือ...ตลาดภายในประเทศ
ทำยังไงให้คนไทยมีเงินมากขึ้น ซื้อของในประเทศมากขึ้น
แต่ถ้ายังทะเลาะชิงอำนาจกันไม่เลิกอย่างนี้...เลิกฝัน เราจะฝ่าสึนามิเศรษฐกิจลูกนี้ได้.
ไทยรัฐออนไลน์
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
26 พฤษภาคม 2553, 05:00 น.
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
853 ข่าว
ไม่มีรูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีข้อมูลบุคคลที่เกี่ยวข้อง
tags:
สกู๊ปหน้า 1 หมู 4 ตัว แฮมเบอร์เกอร์ สหรัฐอเมริกา
-
- Verified User
- โพสต์: 4395
- ผู้ติดตาม: 0
วิกฤติ...หมู 4 ตัว วิกฤติโลกซ้ำวิกฤติไทย
โพสต์ที่ 6
ถอดบทเรียนวิกฤตหนี้
28 พฤษภาคม 2553 เวลา 10:40 น.
* สมัครสมาชิก
* เข้าสู่ระบบ
ตั้งเป็นหน้าแรก | I-Post Today
29 พฤษภาคม 2553 เวลา 10:59 น.รอบโลก » อะตอมความคิด
ถอดบทเรียนวิกฤตหนี้
28 พฤษภาคม 2553 เวลา 10:40 น.
วิกฤต ยูโรโซนยังเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก ล่าสุดบทบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์อาซาฮี ในญี่ปุ่น แสดงความเห็นว่า ขณะนี้ทั่วโลกยังพุ่งความสนใจไปที่วิกฤตหนี้ของกรีซ
ทั้งนี้ อาซาฮี ระบุว่า ความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตหนี้ของกรีซนั้น ไม่ได้ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนานาชาติเกี่ยวกับสกุลยูโรเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อความเชื่อมั่นของสถาบันการเงินในยุโรป ทำให้ตลาดการเงินทั่วโลกตกอยู่ในภาวะสับสน
บทบรรณาธิการดังกล่าว ระบุถึงต้นตอปัญหาของกรีซว่า เป็นผลจากปัญหาเศรษฐกิจที่เรื้อรังมาหลายปี เนื่องจากมีนักการเมืองที่คอร์รัปชัน การดำเนินงานที่ขาดความโปร่งใสของรัฐบาล การเลี่ยงภาษี และความล้มเหลวของรัฐบาลในการจัดการกับปัญหา
อย่างไรก็ตาม อาซาฮี ได้เสนอแนวทางในทางแก้ปัญหาดังกล่าว โดยชี้ว่าในช่วงเริ่มต้นสิ่งที่สำคัญที่สุด คือการฟื้นฟูความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโลกให้กลับมาอีกครั้ง
โดยบทบรรณาธิการดังกล่าว เห็นว่าขณะนี้กลุ่มประเทศยูโรโซนไม่มีทางเลือกอีกแล้ว นอกจากอดทนกับมาตรการที่เจ็บปวด เพื่อลดการขาดดุลงบประมาณ
ขณะเดียวกันกลุ่มชาติยุโรปก็ต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในการกำหนดนโยบาย เพราะวิธีเดียวที่จะป้องกันไม่ให้วิกฤตนี้แพร่กระจายไปเป็นวิกฤตเศรษฐกิจโลก คือการฟื้นฟูเสถียรภาพและความเชื่อมั่นในสกุลยูโรกลับมาอีกครั้ง
นอกจากนี้ กลุ่มประเทศยุโรปจำเป็นต้องมีการบูรณาร่วมกันทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการตั้งกองทุนการเงินยุโรป (European Monetary Fund) รวมทั้งการสร้างระบบที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ประเทศสมาชิกมีวินัยทางการเงิน
บทบรรณาธิการยังกล่าวทิ้งท้ายว่า ญี่ปุ่นควรจะเรียนรู้บทเรียนวิกฤตหนี้ในครั้งนี้ ขณะที่รัฐบาลควรเร่งแก้ปัญหาการขาดดุลงบประมาณอย่างเร่งด่วน
28 พฤษภาคม 2553 เวลา 10:40 น.
* สมัครสมาชิก
* เข้าสู่ระบบ
ตั้งเป็นหน้าแรก | I-Post Today
29 พฤษภาคม 2553 เวลา 10:59 น.รอบโลก » อะตอมความคิด
ถอดบทเรียนวิกฤตหนี้
28 พฤษภาคม 2553 เวลา 10:40 น.
วิกฤต ยูโรโซนยังเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก ล่าสุดบทบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์อาซาฮี ในญี่ปุ่น แสดงความเห็นว่า ขณะนี้ทั่วโลกยังพุ่งความสนใจไปที่วิกฤตหนี้ของกรีซ
ทั้งนี้ อาซาฮี ระบุว่า ความกังวลเกี่ยวกับวิกฤตหนี้ของกรีซนั้น ไม่ได้ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนานาชาติเกี่ยวกับสกุลยูโรเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อความเชื่อมั่นของสถาบันการเงินในยุโรป ทำให้ตลาดการเงินทั่วโลกตกอยู่ในภาวะสับสน
บทบรรณาธิการดังกล่าว ระบุถึงต้นตอปัญหาของกรีซว่า เป็นผลจากปัญหาเศรษฐกิจที่เรื้อรังมาหลายปี เนื่องจากมีนักการเมืองที่คอร์รัปชัน การดำเนินงานที่ขาดความโปร่งใสของรัฐบาล การเลี่ยงภาษี และความล้มเหลวของรัฐบาลในการจัดการกับปัญหา
อย่างไรก็ตาม อาซาฮี ได้เสนอแนวทางในทางแก้ปัญหาดังกล่าว โดยชี้ว่าในช่วงเริ่มต้นสิ่งที่สำคัญที่สุด คือการฟื้นฟูความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโลกให้กลับมาอีกครั้ง
โดยบทบรรณาธิการดังกล่าว เห็นว่าขณะนี้กลุ่มประเทศยูโรโซนไม่มีทางเลือกอีกแล้ว นอกจากอดทนกับมาตรการที่เจ็บปวด เพื่อลดการขาดดุลงบประมาณ
ขณะเดียวกันกลุ่มชาติยุโรปก็ต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในการกำหนดนโยบาย เพราะวิธีเดียวที่จะป้องกันไม่ให้วิกฤตนี้แพร่กระจายไปเป็นวิกฤตเศรษฐกิจโลก คือการฟื้นฟูเสถียรภาพและความเชื่อมั่นในสกุลยูโรกลับมาอีกครั้ง
นอกจากนี้ กลุ่มประเทศยุโรปจำเป็นต้องมีการบูรณาร่วมกันทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการตั้งกองทุนการเงินยุโรป (European Monetary Fund) รวมทั้งการสร้างระบบที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ประเทศสมาชิกมีวินัยทางการเงิน
บทบรรณาธิการยังกล่าวทิ้งท้ายว่า ญี่ปุ่นควรจะเรียนรู้บทเรียนวิกฤตหนี้ในครั้งนี้ ขณะที่รัฐบาลควรเร่งแก้ปัญหาการขาดดุลงบประมาณอย่างเร่งด่วน