UPDATE มาตรฐานบัญชีใหม่ ....สรุปจากเรียนอ่านงบ อ.วรศักดิ์
- Sorgios
- Verified User
- โพสต์: 368
- ผู้ติดตาม: 0
UPDATE มาตรฐานบัญชีใหม่ ....สรุปจากเรียนอ่านงบ อ.วรศักดิ์
โพสต์ที่ 1
ก่อนอื่นเลยขอขอบคุณพี่วิชาญอีกครั้งสำหรับการจัดงานนี้ขึ้นมาครับ
ขอบคุณอาจารย์วรศักดิ์สำหรับความรู้และเสียงหัวเราะ (ฮามาก)
ขอบคุณพี่ๆเพื่อนๆที่ได้ช่วยถามอ. ทำให้ได้ความรู้มากขึ้น
ขอบคุณพี่ๆที่แชร์ข้อมูลและแนะนำหนังสือให้ครับ
เกริ่นนำก่อนนะครับ
อ.เล่าให้ฟังว่า ปีหน้าจะมีมาตรฐานทางบัญชีใหม่ๆมาเพื่อควบคุม บจ. และ ช่วยเหลือการตัดสินใจของนักลงทุน
มาตรฐานใหม่นี้อาจส่งผลให้ตัวเลขต่างๆในงบการเงินที่เราจะนำมาวิเคราะห์นั้นเปลี่ยนแปลงไปพอสมควร (บาง บจ.)
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขนี้ไม่ได้มีผลกับการดำเนินงานของบริษัทโดยตรง แต่เป็นตัวช่วยให้เห็นสถานะของบจ.ได้ถูกต้องตามความเป็นจริงมากขึ้น โดยบางส่วนอาจทำให้การจ่ายปันผลลดลงได้ครับ
มีทั้งหมด 6 ข้อ ครับ
แต่น แตน แต๊น
ขอบคุณอาจารย์วรศักดิ์สำหรับความรู้และเสียงหัวเราะ (ฮามาก)
ขอบคุณพี่ๆเพื่อนๆที่ได้ช่วยถามอ. ทำให้ได้ความรู้มากขึ้น
ขอบคุณพี่ๆที่แชร์ข้อมูลและแนะนำหนังสือให้ครับ
เกริ่นนำก่อนนะครับ
อ.เล่าให้ฟังว่า ปีหน้าจะมีมาตรฐานทางบัญชีใหม่ๆมาเพื่อควบคุม บจ. และ ช่วยเหลือการตัดสินใจของนักลงทุน
มาตรฐานใหม่นี้อาจส่งผลให้ตัวเลขต่างๆในงบการเงินที่เราจะนำมาวิเคราะห์นั้นเปลี่ยนแปลงไปพอสมควร (บาง บจ.)
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขนี้ไม่ได้มีผลกับการดำเนินงานของบริษัทโดยตรง แต่เป็นตัวช่วยให้เห็นสถานะของบจ.ได้ถูกต้องตามความเป็นจริงมากขึ้น โดยบางส่วนอาจทำให้การจ่ายปันผลลดลงได้ครับ
มีทั้งหมด 6 ข้อ ครับ
แต่น แตน แต๊น
CHIN UP, Do not give up !!!
- Sorgios
- Verified User
- โพสต์: 368
- ผู้ติดตาม: 0
1.แต้มสะสม
โพสต์ที่ 4
1. Customer royalty program
ปัจจุบัน หลายๆ บจ.มีการทำการตลาดโดยให้มีบัตรสะสมแต้ม เพื่อให้นำมาเพื่อใช้ แลก ลด หรือใช้ซื้อสินค้า
กลุ่มธุรกิจที่ใช้แต้มสะสมนี้ได้แก่....(ใครมีอะไรเพิ่มเติม ขอเชิญนะครับ )
- ค้าปลีก : CPALL, SE-ED, ROBINS, BIGC, HMPRO etc. (บัตรสะสมแต้ม)
- ธนาคาร+บัตรเครดิต : การนำแต้มเพื่อแลกรางวัล
- การบิน : การสะสมไมล์
- อาหาร : อันนี้ผมคิดเอง อย่างบัตรเด็กเส้นของโออิชิ
ปัจจุบัน เมื่อลูกค้ามีแต้มสะสม ลูกค้าก็อาจนำแต้มมาเพื่อซื้อสินค้า
โดยเดิมนั้น มูลค่าสินค้าที่ลูกค้าซื้อโดยใช้แต้มสะสม จะถูกนำมาลงบัญชีเป็นยอดขาย
มาตรฐานใหม่ ให้คิดว่า ส่วนลดนั้นเป็นต้นทุนของการขาย เมื่อมีการซื้อสินค้าด้วยแต้มสะสม หรือ ใช้เพื่อลดราคาสินค้า ให้นำตัวเลขนั้นมาลงเป็นหนี้สินแทน
ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ว่ายอดขายของบางบจ.ใน Q1 ปีหน้าเป็นต้นไป อาจลดลงได้ แต่การลดลงนี้ไม่ได้แปลว่าขายของได้ลดลงครับ การสร้างกระแสเงินสดก็ยังเหมือนเดิมเช่นกัน เพียงแต่เป็นตัวช่วยให้บริษัทแข็งแกร่งขึ้น เพราะยอดขายลดลง(ทางบัญชี) กำไรทางบัญชีก็น่าจะลดลง การจ่ายปันผลก็อาจลดลงไปด้วย (แต่เงินในมือก็เท่าเดิม)
ทั้งนี้ ในปีนี้งบของบจ.ส่วนใหญ่ ยังคิดบัญชีตามแบบเดิมอยู่ ปีหน้าคาดว่าน่าจะเห็นการเปลี่ยนแปลงครับ
ปัจจุบัน หลายๆ บจ.มีการทำการตลาดโดยให้มีบัตรสะสมแต้ม เพื่อให้นำมาเพื่อใช้ แลก ลด หรือใช้ซื้อสินค้า
กลุ่มธุรกิจที่ใช้แต้มสะสมนี้ได้แก่....(ใครมีอะไรเพิ่มเติม ขอเชิญนะครับ )
- ค้าปลีก : CPALL, SE-ED, ROBINS, BIGC, HMPRO etc. (บัตรสะสมแต้ม)
- ธนาคาร+บัตรเครดิต : การนำแต้มเพื่อแลกรางวัล
- การบิน : การสะสมไมล์
- อาหาร : อันนี้ผมคิดเอง อย่างบัตรเด็กเส้นของโออิชิ
ปัจจุบัน เมื่อลูกค้ามีแต้มสะสม ลูกค้าก็อาจนำแต้มมาเพื่อซื้อสินค้า
โดยเดิมนั้น มูลค่าสินค้าที่ลูกค้าซื้อโดยใช้แต้มสะสม จะถูกนำมาลงบัญชีเป็นยอดขาย
มาตรฐานใหม่ ให้คิดว่า ส่วนลดนั้นเป็นต้นทุนของการขาย เมื่อมีการซื้อสินค้าด้วยแต้มสะสม หรือ ใช้เพื่อลดราคาสินค้า ให้นำตัวเลขนั้นมาลงเป็นหนี้สินแทน
ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ว่ายอดขายของบางบจ.ใน Q1 ปีหน้าเป็นต้นไป อาจลดลงได้ แต่การลดลงนี้ไม่ได้แปลว่าขายของได้ลดลงครับ การสร้างกระแสเงินสดก็ยังเหมือนเดิมเช่นกัน เพียงแต่เป็นตัวช่วยให้บริษัทแข็งแกร่งขึ้น เพราะยอดขายลดลง(ทางบัญชี) กำไรทางบัญชีก็น่าจะลดลง การจ่ายปันผลก็อาจลดลงไปด้วย (แต่เงินในมือก็เท่าเดิม)
ทั้งนี้ ในปีนี้งบของบจ.ส่วนใหญ่ ยังคิดบัญชีตามแบบเดิมอยู่ ปีหน้าคาดว่าน่าจะเห็นการเปลี่ยนแปลงครับ
CHIN UP, Do not give up !!!
- Sorgios
- Verified User
- โพสต์: 368
- ผู้ติดตาม: 0
2.เงินชดเชย พนักงาน
โพสต์ที่ 5
2. การสำรองเงินเพื่อเป็นเงินชดเชยสำหรับพนักงาน
ตาม กม.แรงงาน เมื่อลูกจ้างทำงานมาครบ 10 ปี จะมีสิทธ์ได้รับเงินชดเชยเมือเกษียณ หรือ ออกจากงาน
โดยปัจจุบัน บริษัทจะลงบัญชีเงินชดเชยเป็นค่าใช้จ่าย ก็ต่อเมื่อต้องมีการจ่ายจริง คือ พนง.ออก --> จ่ายเงิน --> ลงเป็น คชจ. เป็นจำนวนเมื่อสิ้นปี
แต่มาตรฐานใหม่ มองว่า บจงควรมีการตั้งประมาณหนี้สินสำหรับเงินชดเชย สำหรับพนง.ที่ทำงานเกิน10ปี และ ให้ค่อยๆทยอยมีการรับรู้หนี้สิน (ที่น่าจะเกิดแน่นอน)
ส่วนนี้จะส่งผลกระทบกับบริษัทใหญ่ (ที่พนง.รักและอยากอยู่นานๆ)
ตัวอย่างเช่น
- PTT, SCC, BBL, เครือสหพัฒน์
ประมาณการหนี้สินนี้ต้องตั้งลงที่ค่าใช้จ่าย ส่งผลให้กำไรลดลง ซึ่งอาจส่งผลต่อการปันผลเช่นกัน อย่างไรก็ตาม เงินสดที่ตั้งสำรองนี้ (ควรจะ) ตั้งไว้ในสินทรัพย์อีกหัวข้อหนึ่ง ที่ไม่ใช่เงินสดหรือเทียบเท่าเงินสด
โดยให้ บจ.มีทางเลือกคือ
- รับรู้ทั้งจำนวน : บาง บจ.อาจตั้งเลย หาก Qนั้นๆกำไรดีมากๆๆๆ (งบจะได้ไม่น่าตกใจนัก)
- ทยอย รับรู้ โดยให้เฉลี่ยได้ไม่เกิน 5 รอบบัญชี
ซึ่งเชื่อว่างบของบางบจ.ปีหน้า เมื่อมีการตั้งสำรองตรงนี้แล้ว อาจทำให้น่ารักน้อยลงได้
อ.เล่าว่าบางบริษัท ที่มีมาตรฐานบัญชีที่ดี (เร็วตามบจ.ของต่างประเทศ ได้มีการตั้งสำรองมาได้ระยะหนึ่งแล้ว)
บจ.ที่ตั้งสำรองส่วนนี้แล้วได้แก่ MAKRO, SINGER, BJC, OHTL, PS, BANPU, PTTEP, SCB (ตั้งมา 2ปี), LPN (ลองเริ่มตั้งบ้างแล้ว)
ตาม กม.แรงงาน เมื่อลูกจ้างทำงานมาครบ 10 ปี จะมีสิทธ์ได้รับเงินชดเชยเมือเกษียณ หรือ ออกจากงาน
โดยปัจจุบัน บริษัทจะลงบัญชีเงินชดเชยเป็นค่าใช้จ่าย ก็ต่อเมื่อต้องมีการจ่ายจริง คือ พนง.ออก --> จ่ายเงิน --> ลงเป็น คชจ. เป็นจำนวนเมื่อสิ้นปี
แต่มาตรฐานใหม่ มองว่า บจงควรมีการตั้งประมาณหนี้สินสำหรับเงินชดเชย สำหรับพนง.ที่ทำงานเกิน10ปี และ ให้ค่อยๆทยอยมีการรับรู้หนี้สิน (ที่น่าจะเกิดแน่นอน)
ส่วนนี้จะส่งผลกระทบกับบริษัทใหญ่ (ที่พนง.รักและอยากอยู่นานๆ)
ตัวอย่างเช่น
- PTT, SCC, BBL, เครือสหพัฒน์
ประมาณการหนี้สินนี้ต้องตั้งลงที่ค่าใช้จ่าย ส่งผลให้กำไรลดลง ซึ่งอาจส่งผลต่อการปันผลเช่นกัน อย่างไรก็ตาม เงินสดที่ตั้งสำรองนี้ (ควรจะ) ตั้งไว้ในสินทรัพย์อีกหัวข้อหนึ่ง ที่ไม่ใช่เงินสดหรือเทียบเท่าเงินสด
โดยให้ บจ.มีทางเลือกคือ
- รับรู้ทั้งจำนวน : บาง บจ.อาจตั้งเลย หาก Qนั้นๆกำไรดีมากๆๆๆ (งบจะได้ไม่น่าตกใจนัก)
- ทยอย รับรู้ โดยให้เฉลี่ยได้ไม่เกิน 5 รอบบัญชี
ซึ่งเชื่อว่างบของบางบจ.ปีหน้า เมื่อมีการตั้งสำรองตรงนี้แล้ว อาจทำให้น่ารักน้อยลงได้
อ.เล่าว่าบางบริษัท ที่มีมาตรฐานบัญชีที่ดี (เร็วตามบจ.ของต่างประเทศ ได้มีการตั้งสำรองมาได้ระยะหนึ่งแล้ว)
บจ.ที่ตั้งสำรองส่วนนี้แล้วได้แก่ MAKRO, SINGER, BJC, OHTL, PS, BANPU, PTTEP, SCB (ตั้งมา 2ปี), LPN (ลองเริ่มตั้งบ้างแล้ว)
CHIN UP, Do not give up !!!
- Sorgios
- Verified User
- โพสต์: 368
- ผู้ติดตาม: 0
3. Component Approach
โพสต์ที่ 7
3. การคิดค่าเสื่อมราคาวิธีใหม่ (Component Approach)
การคิดค่าเสื่อมราคาแบบเดิมนั้น ใช้วิธี lump-sum approach :shock:
ซึ่งคิดค่าเสื่อมอุปกรณหลักในการดำเนินกิจการแบบเหมาชิ้น
เช่น เครื่องบินทั้งลำ ตีค่าเสื่อม 20 ปี, โกดังทั้งโกดัง คิด 10 ปี, อาคารสำนักงานทั้งตึก 25 ปี เป็นต้น
แต่การคิดค่าเสื่อมแบบใหม่นี้ให้คิดแยกชิ้นส่วนตามความเป็นจริง
เช่น เบาะเครื่องบิน 8 ปี, ลิฟท์ขนสินค้า 5 ปี เป็นต้น (เลขสมมุติทั้งนั้นนะครับ)
ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการคิดค่าเสื่อมในปัจจุบัน(ซึ่งไม่ละเอียด)จะคิดราคาไว้ค่อนข้างต่ำ อุปกรณ์หรือชิ้นส่วนบางอย่างต้องเปลี่ยนใหม่เร็วกว่าที่ตีราคาแบบเหมาๆ
ดังนั้นอาจได้เห็นค่าเสื่อมราคาในงบการเงินใหม่ปีหน้าสูงขึ้นครับ
ซึ่งอาจส่งผลคือ ตัวเลขต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ตัวเลขกำไรลดลง เป็นต้นครับ
กลุ่มบจ.ที่อาจได้รับผล คือ บจ.ที่มีการลงทุนในเครื่องจักรที่มีราคาสูงมากๆ เช่น กลุ่มพลังงาน, รับเหมา (อุปกรณ์), และ อาคารให้เช่าเป็นต้น
การคิดค่าเสื่อมราคาแบบเดิมนั้น ใช้วิธี lump-sum approach :shock:
ซึ่งคิดค่าเสื่อมอุปกรณหลักในการดำเนินกิจการแบบเหมาชิ้น
เช่น เครื่องบินทั้งลำ ตีค่าเสื่อม 20 ปี, โกดังทั้งโกดัง คิด 10 ปี, อาคารสำนักงานทั้งตึก 25 ปี เป็นต้น
แต่การคิดค่าเสื่อมแบบใหม่นี้ให้คิดแยกชิ้นส่วนตามความเป็นจริง
เช่น เบาะเครื่องบิน 8 ปี, ลิฟท์ขนสินค้า 5 ปี เป็นต้น (เลขสมมุติทั้งนั้นนะครับ)
ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการคิดค่าเสื่อมในปัจจุบัน(ซึ่งไม่ละเอียด)จะคิดราคาไว้ค่อนข้างต่ำ อุปกรณ์หรือชิ้นส่วนบางอย่างต้องเปลี่ยนใหม่เร็วกว่าที่ตีราคาแบบเหมาๆ
ดังนั้นอาจได้เห็นค่าเสื่อมราคาในงบการเงินใหม่ปีหน้าสูงขึ้นครับ
ซึ่งอาจส่งผลคือ ตัวเลขต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ตัวเลขกำไรลดลง เป็นต้นครับ
กลุ่มบจ.ที่อาจได้รับผล คือ บจ.ที่มีการลงทุนในเครื่องจักรที่มีราคาสูงมากๆ เช่น กลุ่มพลังงาน, รับเหมา (อุปกรณ์), และ อาคารให้เช่าเป็นต้น
CHIN UP, Do not give up !!!
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 264
- ผู้ติดตาม: 1
UPDATE มาตรฐานบัญชีใหม่ ....สรุปจากเรียนอ่านงบ อ.วรศักดิ์
โพสต์ที่ 10
เข้าใจว่าการเปลี่ยนมาตรฐานบัญชีนั้น ทางบริษัทต้อง Restate งบของปีที่แล้วด้วย เพื่อให้งบของทั้ง 2 ปีเปรียบเทียบกันได้ ซึ่งตามความคิดผมนั้นไม่น่าจะมีผลอะไรมากครับ
ป.ล. ผิดถูกยังไงรอพี่ๆมาชี้แจงครับ
ป.ล. ผิดถูกยังไงรอพี่ๆมาชี้แจงครับ
"If the day were the last day of my life, what i want to do what i am about to do today? and whenever the answer has been "No" for to many day in a row, i know i need to change something" Steve Jobs
- MO101
- Verified User
- โพสต์: 3226
- ผู้ติดตาม: 1
UPDATE มาตรฐานบัญชีใหม่ ....สรุปจากเรียนอ่านงบ อ.วรศักดิ์
โพสต์ที่ 14
ขอบคุณครับ
- unnop.t
- Verified User
- โพสต์: 924
- ผู้ติดตาม: 1
UPDATE มาตรฐานบัญชีใหม่ ....สรุปจากเรียนอ่านงบ อ.วรศักดิ์
โพสต์ที่ 26
ขอบคุณครับ
หนังสือของตลท เล่มนี้น่าจะมีรายละเอียด และตัวอย่าง ยังไม่ได้ซื้อเหมือนกัน
http://www.setfinmart.com/shop.do?cID=5&pID=177
หนังสือของตลท เล่มนี้น่าจะมีรายละเอียด และตัวอย่าง ยังไม่ได้ซื้อเหมือนกัน
http://www.setfinmart.com/shop.do?cID=5&pID=177
ตลาดหุ้นมักจะหลอกเราด้วย ความโลภ และความกลัว.....
- Sorgios
- Verified User
- โพสต์: 368
- ผู้ติดตาม: 0
4. ประมาณการหนี้สินรื้อถอน
โพสต์ที่ 27
4. การตั้งประมาณการหนี้สินรื้อถอน/บูรณะ
หัวข้อนี้จะส่งผลต่อการที่ บจ.มีการก่อสร้างอาคาร อุปกรณ์ถาวร บนที่ดินของคนอื่น (เช่าที่แล้วสร้างตึกบนที่คนื่น) สินทรัพย์ถาวรที่สร้างขึ้นนั้น ณ ปัจจุบันยังไม่มีการตั้งประมาณการหนี้สินที่ต้องสำรองมาเป็น คชจ.ในการรื้อถอน/บูรณะเมื่อครบสัญญา
ยกตัวอย่างเช่น บจ.XXX สร้างอาคารสำนักงานบนที่ดินเปล่าที่เช่ามา มีสัญญา 10 ปี เมื่อครบปีที่ 10 ต้องบูรณะ (หรือรื้อถอนถ้าไม่ต่อสัญญา)
ซึ่งตรงนี้ ชัดเจนว่า เมื่อครบสัญญา บจ.XXX ต้องเตรียมเงินมาจ่ายแน่นอน แต่บัญชีปัจจุบัน อาจยังไม่มีการรับรู้ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้
อ. เล่าว่า มาตรฐานนี้ส่งผลต่อบจ.ในกลุ่มธุรกิจดังนี้
- CPN, BIGC, HMPRO, MBK, CPALL(?) (อาคาร)
- ปตทสผ, (ติดตั้งที่ขุดเจาะ)
- BANPU
- TRUE , DTAC, ADVANCE, TT&T (บูรณะเสาสัญญาณ)
โดยในฝั่ง Credit จะมีค่าประมาณการหนี้สินเพิ่มขึ้นมา
อย่างไรก็ตาม BANPU และ ปตทสผ ไม่ได้รับผลกระทบส่วนนี้ เนื่องจากใช้มาตรฐานบัญชีใหม่มาก่อนหน้าแล้ว (บัญชีที่เห็นวันนี้มีการตั้งประมาณหนี้สินไปแล้ว)
หัวข้อนี้จะส่งผลต่อการที่ บจ.มีการก่อสร้างอาคาร อุปกรณ์ถาวร บนที่ดินของคนอื่น (เช่าที่แล้วสร้างตึกบนที่คนื่น) สินทรัพย์ถาวรที่สร้างขึ้นนั้น ณ ปัจจุบันยังไม่มีการตั้งประมาณการหนี้สินที่ต้องสำรองมาเป็น คชจ.ในการรื้อถอน/บูรณะเมื่อครบสัญญา
ยกตัวอย่างเช่น บจ.XXX สร้างอาคารสำนักงานบนที่ดินเปล่าที่เช่ามา มีสัญญา 10 ปี เมื่อครบปีที่ 10 ต้องบูรณะ (หรือรื้อถอนถ้าไม่ต่อสัญญา)
ซึ่งตรงนี้ ชัดเจนว่า เมื่อครบสัญญา บจ.XXX ต้องเตรียมเงินมาจ่ายแน่นอน แต่บัญชีปัจจุบัน อาจยังไม่มีการรับรู้ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้
อ. เล่าว่า มาตรฐานนี้ส่งผลต่อบจ.ในกลุ่มธุรกิจดังนี้
- CPN, BIGC, HMPRO, MBK, CPALL(?) (อาคาร)
- ปตทสผ, (ติดตั้งที่ขุดเจาะ)
- BANPU
- TRUE , DTAC, ADVANCE, TT&T (บูรณะเสาสัญญาณ)
โดยในฝั่ง Credit จะมีค่าประมาณการหนี้สินเพิ่มขึ้นมา
อย่างไรก็ตาม BANPU และ ปตทสผ ไม่ได้รับผลกระทบส่วนนี้ เนื่องจากใช้มาตรฐานบัญชีใหม่มาก่อนหน้าแล้ว (บัญชีที่เห็นวันนี้มีการตั้งประมาณหนี้สินไปแล้ว)
CHIN UP, Do not give up !!!
- Sorgios
- Verified User
- โพสต์: 368
- ผู้ติดตาม: 0
5. การรับรู้รายได้ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
โพสต์ที่ 28
5. การรับรู้รายได้ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
เดิมนั้น การรับรู้รายได้ของธุรกิจอสังหา(บ้านจัดสรร, นิคมอุต)นั้น ทำได้3วิธี
- ตาม % ของงานที่สร้างเสร็จ
- เงินค่างวดที่ได้รับเมื่อถึงกำหนดชำระ
- รับรู้รายได้เมื่อมีการโอนสินทรัพย์
ซึ่งทำให้หลายๆบจ.มีรายได้ทยอยๆมาแล้วแต่ว่าจะคิดแบบใด
แต่มาตรฐานใหม่ ให้รับรู้รายได้วิธีเดียว คือ รับรู้เมื่อโอนเท่านั้น
ดังนั้นรายได้ของบางบจ.ในมาตรฐานใหม่นี้อาจลดลงในบางไตรมาสในปีหน้าได้ (รับเงินจองมาแล้วแต่ยังลงเป็นรายได้ไม่ได้)
โดยในบัญชี(ใหม่)อาจเห็นว่า รายได้ลด สินค้าคงเหลือเพิ่ม เป็นต้น
อย่างไรก็ตามในส่วนนี้ไม่มีผลกับผู้รับเหมาก่อสร้าง ซึ่งยังให้รับรู้รายได้ตาม %ของงานดังเดิม
แฟนๆของ LH, QH สบายใจได้เพราะบจ.ทำเสร็จแล้วค่อยขายอยู่แล้ว ส่วนของ PF, PS, SPALI, LPN ก็ฟังมาว่าไม่ค่อยส่งผล เพราะได้คิดตามมาตรฐานใหม่แล้วมั้งครับ (อันนี้จดมา ไม่ชัวร์นะครับ แต่ฟังมาอย่างนี้ :lol: )
เดิมนั้น การรับรู้รายได้ของธุรกิจอสังหา(บ้านจัดสรร, นิคมอุต)นั้น ทำได้3วิธี
- ตาม % ของงานที่สร้างเสร็จ
- เงินค่างวดที่ได้รับเมื่อถึงกำหนดชำระ
- รับรู้รายได้เมื่อมีการโอนสินทรัพย์
ซึ่งทำให้หลายๆบจ.มีรายได้ทยอยๆมาแล้วแต่ว่าจะคิดแบบใด
แต่มาตรฐานใหม่ ให้รับรู้รายได้วิธีเดียว คือ รับรู้เมื่อโอนเท่านั้น
ดังนั้นรายได้ของบางบจ.ในมาตรฐานใหม่นี้อาจลดลงในบางไตรมาสในปีหน้าได้ (รับเงินจองมาแล้วแต่ยังลงเป็นรายได้ไม่ได้)
โดยในบัญชี(ใหม่)อาจเห็นว่า รายได้ลด สินค้าคงเหลือเพิ่ม เป็นต้น
อย่างไรก็ตามในส่วนนี้ไม่มีผลกับผู้รับเหมาก่อสร้าง ซึ่งยังให้รับรู้รายได้ตาม %ของงานดังเดิม
แฟนๆของ LH, QH สบายใจได้เพราะบจ.ทำเสร็จแล้วค่อยขายอยู่แล้ว ส่วนของ PF, PS, SPALI, LPN ก็ฟังมาว่าไม่ค่อยส่งผล เพราะได้คิดตามมาตรฐานใหม่แล้วมั้งครับ (อันนี้จดมา ไม่ชัวร์นะครับ แต่ฟังมาอย่างนี้ :lol: )
CHIN UP, Do not give up !!!