จากการอ่านหนังสือ จิตวิทยาการลงทุน / ภาษีจากกำไรจากราคาหุ้น
- bangkokwu
- Verified User
- โพสต์: 71
- ผู้ติดตาม: 0
จากการอ่านหนังสือ จิตวิทยาการลงทุน / ภาษีจากกำไรจากราคาหุ้น
โพสต์ที่ 1
ผมซื้อหนังสือวันปีใหม่พอดีที่ร้านซีเอ็ดสาขาเทสโก้สระบุรี ตั้งอยู่ตรงหนังสือแนะนำและเหลืออยู่เล่มเดียวด้วย (กลับมากรุงเทพฯไปแวะดูที่ซีเอ็ดแถวบ้านกลับหาไม่เจอ สงสัยขายดีมาก)
ผมคิดว่าเป็นหนังสือที่คุ้มค่ามาก นักลงทุนท่านใดยังไม่มีน่าลงทุนซื้อนะครับ ผมจำได้ว่าเคยเห็นหนังสือเล่มนี้ฉบับภาษาอังกฤษที่ศูนย์หนังสือจุฬาฯเมื่อสัปปีกว่ามาแล้ว เล่มละเกือบแปดร้อยจึงทำใจซื้อไม่ได้ ต้องขอบคุณคุณ WEB ที่ทำให้มีหนังสือดีๆอ่านในราคาย่อมเยา
หลายๆคนที่ได้อ่านจนจบแล้วและไม่เคยรู้จักตลาดหุ้นอเมริกาคงจับความได้นะครับว่าในอเมริกามีการเก็บภาษีจากำไรจากการขายหุ้น (capital gain) ซึ่งตรงนี้บ้านเราไม่มี ตรงนี้เองทำให้คำแนะนำหลายๆอย่างในหนังสือ (ซึ่งเขียนโดยคนอเมริกัน) อาจไม่ตรงนักกับวิธีคิดภาษีในบ้านเราซึ่งไม่มีภาษีเก็บcapital gain
เลยนึกสงสัยขึ้นมาว่าภาษี capital gain นี้มันสมเหตุสมผลหรือไม่ แล้วทำไมบ้านเราไม่เก็บ เหตุผลที่พอนึกออกก็คือถือว่าเป็นตลาดใหม่ รัฐอยากสนับสนุนให้นักลงทุนเข้ามาในตลาดมากๆ จึงยกเว้น ซึ่งก็หมายความว่าสักวันหนึ่งก็คงจะมีการเก็บภาษี capital gain จะช้าหรือเร็วเท่านั้นเอง
ในหนังสือตอนหนึ่งกล่าวถึงว่า มันไม่สมเหตุผลที่บริษัทจะจ่ายเงินปันผลเพราะผู้ถือหุ้นสามรถทำเงินปันผลเทียมได้โดยขายหุ้นบางส่วนออกและไม่ต้องเสียภาษีสองเด้ง ข้อนี้ถือว่าไม่เกี่ยวกับบ้านเราถูกหรือไม่ครับ เพราะเราไม่ถูกภาษี capital gain อยู่แล้ว
อยากทราบความเห็นครับว่า ในฐานะนักลงทุนอย่างเรา ซึ่งอยู่ในตลาดที่ได้รับการยกเว้นภาษี capital gain เราจะ take advantage จากข้อสนับสนุนของรัฐนี้อย่างไรเพื่อผลตอบแทนสูงสุดครับ?
ผมคิดว่าเป็นหนังสือที่คุ้มค่ามาก นักลงทุนท่านใดยังไม่มีน่าลงทุนซื้อนะครับ ผมจำได้ว่าเคยเห็นหนังสือเล่มนี้ฉบับภาษาอังกฤษที่ศูนย์หนังสือจุฬาฯเมื่อสัปปีกว่ามาแล้ว เล่มละเกือบแปดร้อยจึงทำใจซื้อไม่ได้ ต้องขอบคุณคุณ WEB ที่ทำให้มีหนังสือดีๆอ่านในราคาย่อมเยา
หลายๆคนที่ได้อ่านจนจบแล้วและไม่เคยรู้จักตลาดหุ้นอเมริกาคงจับความได้นะครับว่าในอเมริกามีการเก็บภาษีจากำไรจากการขายหุ้น (capital gain) ซึ่งตรงนี้บ้านเราไม่มี ตรงนี้เองทำให้คำแนะนำหลายๆอย่างในหนังสือ (ซึ่งเขียนโดยคนอเมริกัน) อาจไม่ตรงนักกับวิธีคิดภาษีในบ้านเราซึ่งไม่มีภาษีเก็บcapital gain
เลยนึกสงสัยขึ้นมาว่าภาษี capital gain นี้มันสมเหตุสมผลหรือไม่ แล้วทำไมบ้านเราไม่เก็บ เหตุผลที่พอนึกออกก็คือถือว่าเป็นตลาดใหม่ รัฐอยากสนับสนุนให้นักลงทุนเข้ามาในตลาดมากๆ จึงยกเว้น ซึ่งก็หมายความว่าสักวันหนึ่งก็คงจะมีการเก็บภาษี capital gain จะช้าหรือเร็วเท่านั้นเอง
ในหนังสือตอนหนึ่งกล่าวถึงว่า มันไม่สมเหตุผลที่บริษัทจะจ่ายเงินปันผลเพราะผู้ถือหุ้นสามรถทำเงินปันผลเทียมได้โดยขายหุ้นบางส่วนออกและไม่ต้องเสียภาษีสองเด้ง ข้อนี้ถือว่าไม่เกี่ยวกับบ้านเราถูกหรือไม่ครับ เพราะเราไม่ถูกภาษี capital gain อยู่แล้ว
อยากทราบความเห็นครับว่า ในฐานะนักลงทุนอย่างเรา ซึ่งอยู่ในตลาดที่ได้รับการยกเว้นภาษี capital gain เราจะ take advantage จากข้อสนับสนุนของรัฐนี้อย่างไรเพื่อผลตอบแทนสูงสุดครับ?
- house
- Verified User
- โพสต์: 683
- ผู้ติดตาม: 0
จากการอ่านหนังสือ จิตวิทยาการลงทุน / ภาษีจากกำไรจากราคาหุ้น
โพสต์ที่ 2
ลองอ่านรายงานการวิจัยจาก tdri ดูครับมี การวิจัยเกี่ยวกับภาษีจากการลงทุนแบบต่างๆอยู่ มีการพูดถึงข้อดีข้อเสียของ capital gain ด้วย เอ้อ แต่ผมยังอ่านไม่จบนะ
ผมคิดว่าไม่เกี่ยวกับบ้านเราครับ เพราะของเราเงินปันผลก็เครดิตภาษีได้ แต่ของเขาไม่ได้ ก็เลยกลายเป็น 2 ต่อ
ผมคิดว่าไม่เกี่ยวกับบ้านเราครับ เพราะของเราเงินปันผลก็เครดิตภาษีได้ แต่ของเขาไม่ได้ ก็เลยกลายเป็น 2 ต่อ
ทำให้เต็มที่ เพื่อจะไม่เสียใจภายหลัง
- bangkokwu
- Verified User
- โพสต์: 71
- ผู้ติดตาม: 0
จากการอ่านหนังสือ จิตวิทยาการลงทุน / ภาษีจากกำไรจากราคาหุ้น
โพสต์ที่ 5
ขอบคุณครับคุณ House
ผมลองเข้าไปอ่านส่วนที่เกี่ยวข้องโดยตรงแล้ว
อันนี้มาจากบทสรุปนะครับ
ผมลองมานั่งนึกดูแล้วผมว่าบทสรุปนี้ไม่ค่อยถูกต้องนักนะครับ
ยกตัวอย่างนะครับ
ผมในฐานะนักลงทุน มีหุ้นอยู่หนึ่งตัวราคา 110 บาท ซึ่งประกาศจ่ายเงินปันผลแล้ว 10 บาท สมมติว่าพรุ่งนี้จะ XD วันนี้ผมมีทางเลือกสองทางนะครับ (สมมติว่าผมตัดสินใจแล้วว่าผมต้องการเป็นผู้ถือหุ้นนี้ในระยะยาว) คือ
1. ขายหุ้นไปที่ 110 แล้ว วันพรุ่งนี้ซื้อคืนที่ 100 บาท
กรณีนี้ เหมือนผมได้ปันผลเสมือน 10 บาททันที ไม่ต้องจ่ายภาษีใดๆ
2. ผมถือต่อไป ไม่ขาย
กรณีนี้ เมื่อถึงวันรับเงิน ผมจะได้เงินปันผล ซึ่งถูกหักไว้ 1 บาท จึงได้รับเงินสดมา 9 บาท
อย่างไรก็ดี ผมจะต้อง (1)จ่ายภาษีจากเงินปันผลที่ได้รับ และ (2)ได้รับเครดิตภาษีคืนดังนี้
[ขอสมมติว่า marginal tax rate ของผมเป็น 20% และบริษัทจ่ายภาษีนิติบุคคลในอัตรา 30%]
(1)จ่ายภาษีจากเงินปันผลที่ได้รับ 10บาท x 20% = 2 บาท
(2) ได้รับเครดิตภาษีคืน10บาท x 30%/70% ~ 4.28 บาท
สรุปในกรณีที่สองแล้ว ผมจะได้เงินปันผล หักภาษี บวกกลับผลประโยชน์จากเครดิตภาษีเท่ากับ 10 -2 + 4.28 = 12.48 บาท
ซึ่งมากกว่ากรณีที่หนึ่ง เป็นจำนวน 2.48 บาท (ถึงแม้ผมจะเสียภาษีในอัตรสูงสุด อัตรา 37% ก็ยังได้มากกว่า 10 บาท (ซึ่งไม่ต้องเสียภาษีเลยเพราะเป็นเงินปันผลเสมือน) ตราบใดที่บริษัทจ่ายภาษีในอัตราปรกติที่ 30%)
ขอความรู้หน่อยครับว่าผมคิดผิดตรงไหนหรือเปล่า? ความรู้เรื่องการคำนวณเครดิตภาษีผมก็อ่านมาจากใน TVI ห้อง Value Account นี่แหละครับ ในการลงทุนของผมผมมองผลประโยชน์ตรงนี้มาตลอด พอมาอ่านเจอรายงานของ TDRI ชิ้นนี้เข้าเลยชักไม่แน่ใจว่าตัวเองเข้าใจผิดมาตลอดหรือเปล่า
ผมลองเข้าไปอ่านส่วนที่เกี่ยวข้องโดยตรงแล้ว
อันนี้มาจากบทสรุปนะครับ
10.1 สรุปผลการศึกษาการออมการลงทุน
โครงสร้างภาษีเงินได้ของไทย มีลักษณะที่มีความไม่เป็นกลางในส่วนของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามากกว่านิติบุคคล โดยภาระภาษีในรายได้ประเภทต่างๆ จากการลงทุนทางการเงินของนิติบุคคลจะเท่ากันเป็นส่วนใหญ่
ความแตกต่างสํ าคัญของภาษีเงินได้นิติบุคคล คือ บริษัทจํ ากัดที่มิได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ จะไม่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องนํ ารายได้จากเงินปันผลมาคํ านวณเป็นรายได้ ทํ าให้มีภาระภาษีของเงินปันผลสูงกว่าบริษัทจดทะเบียน
ส่วนบุคคลธรรมดามีภาระภาษีที่แตกต่างกันในรายได้จากการลงทุนหลายประเภท เนื่องจากมีข้อยกเว้นในการเสียภาษีหลายประการ
กรณีภาระภาษีเงินได้จากเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกํ าไรเปรียบเทียบกับเงินได้กํ าไรจากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ การจ่ายเงินปันผลมีภาระภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดาระหว่างร้อยละ 5-37 ในขณะที่เงินได้กํ าไร
จากการขายหลักทรัพย์จดทะเบียนจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งสภาพความไม่เท่ากันของภาระภาษีเช่นนี้อาจทํ าให้เกิดการบิดเบือนเพื่อไม่เสียภาษีเงินได้ โดยการขายหลักทรัพย์ก่อนการจ่ายเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกําไร ซึ่งปกติราคาหลักทรัพย์จะสูงขึ้นในช่วงก่อนการจ่ายเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกํ าไร เพื่อได้ประโยชน์จากกําไรจากการขาย โดยไดร้ ับการยกเว้นภาษีเงินได ้ และซื้อคืนกลับมาเมื่อมีการจ่ายปันผลแล้ว ในราคาที่ต่ำ กว่าราคาที่ขายไปในตอนแรก (โดยปกติราคาหลักทรัพย์จะลดลงเมื่อมีการจ่ายปันผลแล้ว) ซึ่งธุรกรรมเช่นนี้จะทํ าให้ไม่มีภาระภาษีเงิน ได้จากการลงทุนเลยโครงสร้า้งภาษีเงินได้ลักษณะนี้ ผลู้ งทนุ จะไดป้ ระโยชนน์ อ้ ยลงหากกองทนุ ใหผ้ ลตอบแทนเปน็ สว่ นแบง่ ก าํ ไรเพราะผู้รับมีภาระภาษีสูงกว่ากรณีที่ได้กํ าไรจากการขายหน่วยลงทุน กองทุนให้ผลตอบแทนในรูปเป็นกํ าไรจากการขายหนว่ ยลงทนุ จะเป็นประโยชนแ์ กผ่ ลู้ งทนุ มากกวา่ โดยการที่กองทุนไม่จ่ายส่วนแบ่งกํ าไรแต่น าํ เงนิ ไปลงทนุ ใหผลตอบแทนทดี่ จี ะท าํ ให NAV สงู ขนึ้ นักลงทุนมีก าํ ไรจากการขายหน่วยลงทุน
การศึกษาพบว่าโครงสร้างภาษีไม่มีความแตกต่างของกลุ่มตราสารการเงินประเภทเดียวกัน (ตราสารหุ้น ตราสารหนี้ตราสารการเงิน) ความแตกต่างเป็นไปตามประเภทของรายได้จากตราสารต่างๆ ที่มีภาระต่อผู้ออมผู้ลงทุนต่างกัน
โครงสรา้ งภาษเี งินได้เอื้อต่อการลงทุนในรูปของดอกเบี้ยในตลาดเงิน มากกว่าการลงทุนเพื่อให้ได้เงินปันผลในตลาดหุ้น โดยภาระภาษีตราสารหนี้และเงินฝาก คือร้อยละ 5-15 สํ าหรับบุคคลธรรมดา ในขณะที่รายได้ประเภท
เงินปันผลต้องเสียภาษีร้อยละ 5-37 เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยด้านอื่นๆ เช่นการคํ้ าประกันเงินฝากของรัฐบาล ความเสยี่ งและปัญหาด้านความไม่สมมาตรของข่าวสารข้อมูล (Asymmetric Information) จากการลงทนุ ในตลาดหนุ้ จึงไม่น่าแปลกใจที่การลงทุนในรูปเงินฝากจะมีสัดส่วนที่สูงกว่าการลงทุนในตลาดหุ้นมาก
ผมลองมานั่งนึกดูแล้วผมว่าบทสรุปนี้ไม่ค่อยถูกต้องนักนะครับ
ยกตัวอย่างนะครับ
ผมในฐานะนักลงทุน มีหุ้นอยู่หนึ่งตัวราคา 110 บาท ซึ่งประกาศจ่ายเงินปันผลแล้ว 10 บาท สมมติว่าพรุ่งนี้จะ XD วันนี้ผมมีทางเลือกสองทางนะครับ (สมมติว่าผมตัดสินใจแล้วว่าผมต้องการเป็นผู้ถือหุ้นนี้ในระยะยาว) คือ
1. ขายหุ้นไปที่ 110 แล้ว วันพรุ่งนี้ซื้อคืนที่ 100 บาท
กรณีนี้ เหมือนผมได้ปันผลเสมือน 10 บาททันที ไม่ต้องจ่ายภาษีใดๆ
2. ผมถือต่อไป ไม่ขาย
กรณีนี้ เมื่อถึงวันรับเงิน ผมจะได้เงินปันผล ซึ่งถูกหักไว้ 1 บาท จึงได้รับเงินสดมา 9 บาท
อย่างไรก็ดี ผมจะต้อง (1)จ่ายภาษีจากเงินปันผลที่ได้รับ และ (2)ได้รับเครดิตภาษีคืนดังนี้
[ขอสมมติว่า marginal tax rate ของผมเป็น 20% และบริษัทจ่ายภาษีนิติบุคคลในอัตรา 30%]
(1)จ่ายภาษีจากเงินปันผลที่ได้รับ 10บาท x 20% = 2 บาท
(2) ได้รับเครดิตภาษีคืน10บาท x 30%/70% ~ 4.28 บาท
สรุปในกรณีที่สองแล้ว ผมจะได้เงินปันผล หักภาษี บวกกลับผลประโยชน์จากเครดิตภาษีเท่ากับ 10 -2 + 4.28 = 12.48 บาท
ซึ่งมากกว่ากรณีที่หนึ่ง เป็นจำนวน 2.48 บาท (ถึงแม้ผมจะเสียภาษีในอัตรสูงสุด อัตรา 37% ก็ยังได้มากกว่า 10 บาท (ซึ่งไม่ต้องเสียภาษีเลยเพราะเป็นเงินปันผลเสมือน) ตราบใดที่บริษัทจ่ายภาษีในอัตราปรกติที่ 30%)
ขอความรู้หน่อยครับว่าผมคิดผิดตรงไหนหรือเปล่า? ความรู้เรื่องการคำนวณเครดิตภาษีผมก็อ่านมาจากใน TVI ห้อง Value Account นี่แหละครับ ในการลงทุนของผมผมมองผลประโยชน์ตรงนี้มาตลอด พอมาอ่านเจอรายงานของ TDRI ชิ้นนี้เข้าเลยชักไม่แน่ใจว่าตัวเองเข้าใจผิดมาตลอดหรือเปล่า
- house
- Verified User
- โพสต์: 683
- ผู้ติดตาม: 0
จากการอ่านหนังสือ จิตวิทยาการลงทุน / ภาษีจากกำไรจากราคาหุ้น
โพสต์ที่ 6
ผมเชื่อว่าผลสรุปนี้ถูกต้องครับ เพราะโครงสร้างภาษีนี้ ก่อให้เกิดการบิดเบือนอย่างเห็นได้ชัดเจนในการลงทุนผ่านกองทุนรวม ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ กองทุนวรรณ ต้องออกกองทุนรวมแบบขายคืนอัติโนมัติ เพื่อให้ผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนรวมไม่ต้องเสียภาษี ต้องอ่านแบบเต็มๆ ในหลายๆบทครับ อ่านแค่บทสรุปอาจเข้าใจผิดได้ ความหมายคือ หากเป็นบุคคลประเภทเดียวกัน มีเงินได้ทางเดียวกัน(จากการลงทุน) ต้องเสียภาษีเท่ากัน(กองทุนรวมเครดิตภาษีไม่ได้)
ที่ผมถูกใจที่สุดคือ จะมีตอนหนึ่งบอกว่า รัฐบาลนึกจะให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีก็ให้ โดยไม่เคยคำนึงถึงผลกระทบรวมเลย ทำให้โครงสร้างภาษีผิดเพี้ยนมาก จริงๆเขาเสนอวิธีแก้ไขไว้ด้วยแต่ผมว่าไม่กล้าทำหรอก
ที่ผมถูกใจที่สุดคือ จะมีตอนหนึ่งบอกว่า รัฐบาลนึกจะให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีก็ให้ โดยไม่เคยคำนึงถึงผลกระทบรวมเลย ทำให้โครงสร้างภาษีผิดเพี้ยนมาก จริงๆเขาเสนอวิธีแก้ไขไว้ด้วยแต่ผมว่าไม่กล้าทำหรอก
ทำให้เต็มที่ เพื่อจะไม่เสียใจภายหลัง
- bangkokwu
- Verified User
- โพสต์: 71
- ผู้ติดตาม: 0
จากการอ่านหนังสือ จิตวิทยาการลงทุน / ภาษีจากกำไรจากราคาหุ้น
โพสต์ที่ 7
ขอบคุณคุณ house อีกทีครับที่เข้ามาตอบ
ผมยังไม่ค่อยกระจ่างเท่าไหร่
ตามความเข้าใจผมนี่ กองทุนรวมนั้นหากมีการจ่ายปันผลจะนำมาเครดิตภาษีไม่ได้ แต่ในทางกลับกันรายได้จากปันผลตรงนี้ต้องถูกคิดภาษีด้วย ตรงนี้ทำให้สรุปได้ไหมว่าหากลงทุนในกองทุนรวม ไม่ควรเลือกกองทุนที่จ่ายปันผล หากอยากได้ปันผลควรใช้วิธีขายกองทุนออกไปบางส่วนเอง (เข้าใจว่า บลจ.วรรณทำอย่างนี้ คือขายกองทุนบางส่วนคืนให้ผู้ถือโดยอัตโนมัติ แต่ไม่จ่ายปันผล ใช่ไหมครับ)
รายงานของทาง TDRI อยู่ที่นี่ครับ เผื่อท่านอื่นๆสนใจ
http://www.info.tdri.or.th/reports/publ ... ontent.pdf
ผมยังไม่ค่อยกระจ่างเท่าไหร่
ตามความเข้าใจผมนี่ กองทุนรวมนั้นหากมีการจ่ายปันผลจะนำมาเครดิตภาษีไม่ได้ แต่ในทางกลับกันรายได้จากปันผลตรงนี้ต้องถูกคิดภาษีด้วย ตรงนี้ทำให้สรุปได้ไหมว่าหากลงทุนในกองทุนรวม ไม่ควรเลือกกองทุนที่จ่ายปันผล หากอยากได้ปันผลควรใช้วิธีขายกองทุนออกไปบางส่วนเอง (เข้าใจว่า บลจ.วรรณทำอย่างนี้ คือขายกองทุนบางส่วนคืนให้ผู้ถือโดยอัตโนมัติ แต่ไม่จ่ายปันผล ใช่ไหมครับ)
รายงานของทาง TDRI อยู่ที่นี่ครับ เผื่อท่านอื่นๆสนใจ
http://www.info.tdri.or.th/reports/publ ... ontent.pdf
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
จากการอ่านหนังสือ จิตวิทยาการลงทุน / ภาษีจากกำไรจากราคาหุ้น
โพสต์ที่ 8
การเก็บภาษีกำไรจากการขายหุ้น Capital Gain Tax ถ้ามีเรื่องนี้เมื่อไรตลาดตกวายปวงครับ ตลาดหลักทรัพย์ บริษัทนายหน้า และนักเก็งกำไรรายนาที รายชั่วโมง รายวัน คงไม่ชอบแน่ๆครับ และสำหรับ DSMer ก็คงไม่ชอบครับ
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
- house
- Verified User
- โพสต์: 683
- ผู้ติดตาม: 0
จากการอ่านหนังสือ จิตวิทยาการลงทุน / ภาษีจากกำไรจากราคาหุ้น
โพสต์ที่ 9
จริงๆแล้วผมอยากให้เก็บนะ เสถียรภาพของตลาดจะมาทันทีเลย และเงินนอกก็จะปั่นขึ้นลงตามใจไม่ได้แล้ว ถือน้อยกว่าปี เก็บซัก 20% นี่ก็เดี้ยงแล้ว รายย่อยอาจเซ็งหน่อยช่วงแรกๆ แต่เจ้ามือน่าจะได้รับผลกระทบมากกว่า
ตลาดตกก็ช่วงแรกๆแหละครับ นายตลาดลืมง่าย ส่วนพวกเราไม่เกี่ยวอยู่แล้ว เราซื้อธุรกิจนี่ครับ ไม่ได้ซื้อหุ้น
จริงๆถ้าใช้ร่วมกับมาตรการที่ รู้สึกจะคุณอยากเชือกโพสต์ไว้ที่พันทิปนี่ จะชะงัดมากครับ คือห้ามยกเลิกรายการซื้อขายที่เท่ากับราคาจับคู่ การตั้งหลอก เป็นล้านหุ้นแล้วยกเลิกไม่ได้นี่ ผมว่าเจ้ามือหนาวล่ะ
เฮ้อ แต่ก็รู้ๆกันว่าทำไมทำกันไม่ได้
ตลาดตกก็ช่วงแรกๆแหละครับ นายตลาดลืมง่าย ส่วนพวกเราไม่เกี่ยวอยู่แล้ว เราซื้อธุรกิจนี่ครับ ไม่ได้ซื้อหุ้น
จริงๆถ้าใช้ร่วมกับมาตรการที่ รู้สึกจะคุณอยากเชือกโพสต์ไว้ที่พันทิปนี่ จะชะงัดมากครับ คือห้ามยกเลิกรายการซื้อขายที่เท่ากับราคาจับคู่ การตั้งหลอก เป็นล้านหุ้นแล้วยกเลิกไม่ได้นี่ ผมว่าเจ้ามือหนาวล่ะ
เฮ้อ แต่ก็รู้ๆกันว่าทำไมทำกันไม่ได้
ทำให้เต็มที่ เพื่อจะไม่เสียใจภายหลัง
-
- Verified User
- โพสต์: 674
- ผู้ติดตาม: 0
จากการอ่านหนังสือ จิตวิทยาการลงทุน / ภาษีจากกำไรจากราคาหุ้น
โพสต์ที่ 10
อันนี้ไม่ถูกต้องแน่นอนครับ(ถึงแม้ผมจะเสียภาษีในอัตรสูงสุด อัตรา 37% ก็ยังได้มากกว่า 10 บาท (ซึ่งไม่ต้องเสียภาษีเลยเพราะเป็นเงินปันผลเสมือน) ตราบใดที่บริษัทจ่ายภาษีในอัตราปรกติที่ 30%
เครคิตภาษีเงินปันผลถือเป็นรายได้ต้องนำมาคำนวณภาษีด้วย
ถ้า ฐานภาษีก่อนรวมปันผล 37% ไปแล้ว ยื่นหรือไม่ยื่นมีค่าเท่ากัน
ยิ่งถ้าเป็นปันผลที่จ่ายจากกิจการที่เสียภาษีน้อยกว่า 30%
จะทำให้เสียภาษีเพิ่มขึ้นด้วย
อันที่จริงรู้สึกว่าเงินได้พึงประเมินประเภท 4 ประเภทดอกเบี้ย และ เงินปันผล
ถ้านำมารวมคำนวณภาษีต้องรวมทุกรายการครับ จะเลือกเฉพาะบางอันไม่ได้