หัดรู้เรื่อง งบการเงิน
- kenne
- Verified User
- โพสต์: 40
- ผู้ติดตาม: 0
หัดรู้เรื่อง งบการเงิน
โพสต์ที่ 91
ขอบคุณ ที่ตั้งกระทุ้ดีๆ ที่ให้ความรู้แก่เพื่อนๆพี่ๆน้อง
ยังไงรบกวนๆพี่ๆเซียนๆทั้งหลาย ช่วยเข้ามาชี้แจงแถลงไข จะได้มุมมองที่หลากหลายมากขึ้นอีกครับ
สงสัย ว่า น่าจะได้เข้า ห้องกระทู้คุณค่าแน่ๆๆๆ สนับสนุนอีกหนึ่งเสียง
เพราะยังไงก็ถือว่าเป็นกระทู้ดี มีประโยชน์ เมื่อกาลเวลาผ่านไป จะได้
เปิดกลับเข้าอ่านกันได้อีกเรื่อยๆ เหมือนหนังสือดีๆ ที่อ่านกี่ทีๆ ก็ยังได้สาระ ครบถ้วนครับ
ยังไงรบกวนๆพี่ๆเซียนๆทั้งหลาย ช่วยเข้ามาชี้แจงแถลงไข จะได้มุมมองที่หลากหลายมากขึ้นอีกครับ
สงสัย ว่า น่าจะได้เข้า ห้องกระทู้คุณค่าแน่ๆๆๆ สนับสนุนอีกหนึ่งเสียง
เพราะยังไงก็ถือว่าเป็นกระทู้ดี มีประโยชน์ เมื่อกาลเวลาผ่านไป จะได้
เปิดกลับเข้าอ่านกันได้อีกเรื่อยๆ เหมือนหนังสือดีๆ ที่อ่านกี่ทีๆ ก็ยังได้สาระ ครบถ้วนครับ
"หุ้นถูกเป็นสิ่งพิเศษสำหรับนักลงทุนพันธ์แท้ เราไม่ได้มองการตกลงของตลาดเป็นหายนะ แต่มองเป็นโอกาสที่จะนำไปสู่ความร่ำรวย"
-
- Verified User
- โพสต์: 241
- ผู้ติดตาม: 0
หัดรู้เรื่อง งบการเงิน
โพสต์ที่ 92
[quote="m_mummie"][quote="sattaya"]มาถึง การวิเคราะห์งบการเงิน แต่ละงบครับ
"สุขใดยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี"
-
- Verified User
- โพสต์: 241
- ผู้ติดตาม: 0
หัดรู้เรื่อง งบการเงิน
โพสต์ที่ 93
[quote="m_mummie"][quote="sattaya"]มาถึง การวิเคราะห์งบการเงิน แต่ละงบครับ
"สุขใดยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี"
-
- Verified User
- โพสต์: 241
- ผู้ติดตาม: 0
หัดรู้เรื่อง งบการเงิน
โพสต์ที่ 94
ขอโทษครับ กดไปรอบแรกค้างไปเลยนึกว่าไม่ขึ้น เลยพิมพ์เพิ่มแล้วกดอีกรอบ :8)
"สุขใดยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี"
-
- Verified User
- โพสต์: 241
- ผู้ติดตาม: 0
หัดรู้เรื่อง งบการเงิน
โพสต์ที่ 96
ผมก็ยังไม่เก่งครับ จะช่วยเสริมเท่าที่รู้
แต่ตอนนี้ผมมีเรื่องมาถามครับ คือ ผมลองเสิร์ทกระทู้เกี่ยวกับการคำนวณ Working capital แล้ว แต่ว่าตอนนี้ยังมีข้อสงสัยอยู่ว่า
สมมติผมจะคำนวณหา ∆WC ใน งวดไตรมาสที่2 ปี53(ต่อไปขออนุญาตใช้ Q2 นะครับ) สมมติว่าบริษัทแห่งนี้ปิดงบปีปรกติของบริษัททั่วไปโดยปิดงบปีเดือนธันวาคม
ผมก็ไปเปิดงบกระแสเงินสดสำหรับงวด6เดือนของบริษัท Q2ปี53 แล้วก็ไปดึงรายการ ลูกหนี้การค้า-สินค้าคงเหลือ+เจ้าหนี้การค้า มาคำนวณ ก็จะได้ WC สำหรับงวด 6เดือนของQ2ปี53มา แล้วเวลาผมจะต้องการหาปีที่ต้องมาเปรียบเทียบผมสงสัยว่าเวลาไปดึงWCมา เราก็ไปดูงบกระแสเงินสดของงวดไหนครับ ที่ผมคิดก็มีหลายกรณีดังนี้
1.เราไม่ต้องไปดูใช้ตัวเลขที่คำนวณมาจากงบกระแสเงินสดสำหรับงวด6เดือนของบริษัท Q2ปี53 ได้เลย เพราะว่างบกระแสเงินสดเป็นช่วงเวลาอยู่แล้ว คำนวณออกมาได้ก็คือเป็นส่วนที่เพิ่มขึ้นมาในช่วงเวลานั้นอยู่แล้ว
2.สำหรับงวด6เดือนQ2ปี52<<<อันนี้ที่ผมคิดแบบนี้เพราะผมดูสูตร ∆WC คือเอาพวกสินทรัพย์หมุนเวียน-หนี้สินหมุนเวียน โดยเอางวดปัจจุบันตั้งแล้วก็ลบกับงวดก่อน
หมายเหตุ:คือกรณีข้อ 2. นี้ที่ผมคิดถ้าเราจะใช้สูตรนี้ก็หมายถึงว่าเราไปดึงลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ และเจ้าหนี้การค้า มาจากงบดุลใช่หรือเปล่าครับ
ตอนนี้ผมคิดว่าน่าจะเป็นกรณีที่ 1 มากกว่า เพราะคิดว่าถ้าดึงรายการมาจากงบกระแสเงินสดมันเป็นช่วงเวลาส่วนต่างของสินทรัพย์หมุนเวียนกับหนี้สินหมุนเวียนที่คิดมาได้ก็คือที่เพิ่มและลดลงในช่วงเวลานั้นก็น่าจะเป็น ∆WC ได้เลย แบบนี้ถูกไหมครับ
แต่ตอนนี้ผมมีเรื่องมาถามครับ คือ ผมลองเสิร์ทกระทู้เกี่ยวกับการคำนวณ Working capital แล้ว แต่ว่าตอนนี้ยังมีข้อสงสัยอยู่ว่า
สมมติผมจะคำนวณหา ∆WC ใน งวดไตรมาสที่2 ปี53(ต่อไปขออนุญาตใช้ Q2 นะครับ) สมมติว่าบริษัทแห่งนี้ปิดงบปีปรกติของบริษัททั่วไปโดยปิดงบปีเดือนธันวาคม
ผมก็ไปเปิดงบกระแสเงินสดสำหรับงวด6เดือนของบริษัท Q2ปี53 แล้วก็ไปดึงรายการ ลูกหนี้การค้า-สินค้าคงเหลือ+เจ้าหนี้การค้า มาคำนวณ ก็จะได้ WC สำหรับงวด 6เดือนของQ2ปี53มา แล้วเวลาผมจะต้องการหาปีที่ต้องมาเปรียบเทียบผมสงสัยว่าเวลาไปดึงWCมา เราก็ไปดูงบกระแสเงินสดของงวดไหนครับ ที่ผมคิดก็มีหลายกรณีดังนี้
1.เราไม่ต้องไปดูใช้ตัวเลขที่คำนวณมาจากงบกระแสเงินสดสำหรับงวด6เดือนของบริษัท Q2ปี53 ได้เลย เพราะว่างบกระแสเงินสดเป็นช่วงเวลาอยู่แล้ว คำนวณออกมาได้ก็คือเป็นส่วนที่เพิ่มขึ้นมาในช่วงเวลานั้นอยู่แล้ว
2.สำหรับงวด6เดือนQ2ปี52<<<อันนี้ที่ผมคิดแบบนี้เพราะผมดูสูตร ∆WC คือเอาพวกสินทรัพย์หมุนเวียน-หนี้สินหมุนเวียน โดยเอางวดปัจจุบันตั้งแล้วก็ลบกับงวดก่อน
หมายเหตุ:คือกรณีข้อ 2. นี้ที่ผมคิดถ้าเราจะใช้สูตรนี้ก็หมายถึงว่าเราไปดึงลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ และเจ้าหนี้การค้า มาจากงบดุลใช่หรือเปล่าครับ
ตอนนี้ผมคิดว่าน่าจะเป็นกรณีที่ 1 มากกว่า เพราะคิดว่าถ้าดึงรายการมาจากงบกระแสเงินสดมันเป็นช่วงเวลาส่วนต่างของสินทรัพย์หมุนเวียนกับหนี้สินหมุนเวียนที่คิดมาได้ก็คือที่เพิ่มและลดลงในช่วงเวลานั้นก็น่าจะเป็น ∆WC ได้เลย แบบนี้ถูกไหมครับ
"สุขใดยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี"
-
- Verified User
- โพสต์: 241
- ผู้ติดตาม: 0
หัดรู้เรื่อง งบการเงิน
โพสต์ที่ 97
ขอเพิ่มคำถามจากข้างบน ในกรณีที่2 นะครับ โดยข้างบนจะคิดจากงบกระแสเงินสดอย่างเดียวไม่ได้ดึงมาจากในงบดุล
แต่...
ถ้าผมดึงข้อมูลในการคำนวณมาจากงบดุล โดยจะคำนวณ∆WC ของQ2ปี53 ผมก็ไปดึงรายการสินทรัพย์หมุนเวียน-หนี้สินหมุนเวียนในงบดุล ณ Q2ปี53 มา แล้วก็ไปดูสินทรัพย์หมุนเวียน-หนี้สินหมุนเวียนในงวดก่อนซึ่งก็จะเป็นงบดุล ณ สิ้นปี52 คือ Q4ปี52 (เหตุผลที่ผมคิดว่าใช้อันนี้ เพราะว่ากำไรที่เรานำมาใช้คำนวณFCFมาจาก งบกำไรขาดทุนสำหรับงวด 6 เดือน Q2 ปี53) คิดแบบนี้ถูกไหมครับ
คือ ที่ผมสงสัยจริงๆ คือ ถ้าเราดึงข้อมูลกำไรมาคำนวณโดยใช้ช่วงเวลาไหน เราก็ต้องเอาข้อมูลในงบดุลในช่วงนั้นมาใช้ เช่น ถ้าเราดึงข้อมูลในงบกำไรขาดทุนช่วง 6 เดือน คือ Q2ปี53มา ช่วงเวลาก็จะเป็นรูปแบบนี้
ต้นปี53>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>สิ้นเดือนมิถุนายนปี53
เพราะฉะนั้นถ้าเราจะใช้ข้อมูลในงบดุลมาคำนวณ ∆WC ก็จะต้องเอาข้อมูลในงบดุล ณ วันที่นี้มาคำนวณแบบนี้
งบดุล ณ สิ้นปี52>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>งบดุลสิ้นสุด ณ Q2ปี53
แบบนี้ถูกหรือเปล่าครับ
เพราะว่าผมเห็น FCF คำนวณกันเป็นรายปี แต่ผมจะคำนวณเป็นช่วงเวลาที่สั้นกว่า1ปี ก็เลยสงสัยว่าที่ผมใช้ข้อมูล ณ เวลาแบบนี้มาเปรียบเทียบกันถือว่าถูกต้องไหมครับ
แต่...
ถ้าผมดึงข้อมูลในการคำนวณมาจากงบดุล โดยจะคำนวณ∆WC ของQ2ปี53 ผมก็ไปดึงรายการสินทรัพย์หมุนเวียน-หนี้สินหมุนเวียนในงบดุล ณ Q2ปี53 มา แล้วก็ไปดูสินทรัพย์หมุนเวียน-หนี้สินหมุนเวียนในงวดก่อนซึ่งก็จะเป็นงบดุล ณ สิ้นปี52 คือ Q4ปี52 (เหตุผลที่ผมคิดว่าใช้อันนี้ เพราะว่ากำไรที่เรานำมาใช้คำนวณFCFมาจาก งบกำไรขาดทุนสำหรับงวด 6 เดือน Q2 ปี53) คิดแบบนี้ถูกไหมครับ
คือ ที่ผมสงสัยจริงๆ คือ ถ้าเราดึงข้อมูลกำไรมาคำนวณโดยใช้ช่วงเวลาไหน เราก็ต้องเอาข้อมูลในงบดุลในช่วงนั้นมาใช้ เช่น ถ้าเราดึงข้อมูลในงบกำไรขาดทุนช่วง 6 เดือน คือ Q2ปี53มา ช่วงเวลาก็จะเป็นรูปแบบนี้
ต้นปี53>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>สิ้นเดือนมิถุนายนปี53
เพราะฉะนั้นถ้าเราจะใช้ข้อมูลในงบดุลมาคำนวณ ∆WC ก็จะต้องเอาข้อมูลในงบดุล ณ วันที่นี้มาคำนวณแบบนี้
งบดุล ณ สิ้นปี52>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>งบดุลสิ้นสุด ณ Q2ปี53
แบบนี้ถูกหรือเปล่าครับ
เพราะว่าผมเห็น FCF คำนวณกันเป็นรายปี แต่ผมจะคำนวณเป็นช่วงเวลาที่สั้นกว่า1ปี ก็เลยสงสัยว่าที่ผมใช้ข้อมูล ณ เวลาแบบนี้มาเปรียบเทียบกันถือว่าถูกต้องไหมครับ
"สุขใดยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี"
-
- Verified User
- โพสต์: 362
- ผู้ติดตาม: 0
หัดรู้เรื่อง งบการเงิน
โพสต์ที่ 98
แห่ม กำลังติดตามดูดความรู้ในการดูงบอย่างเมามันส์เลยครับ
แต่เผอิญดันมีงานเข้า ต้องทำ ประมาณการงบกำไรขาดทุน งบดุล งบกระแสเงินสด ซึ่งผมไม่ได้จบทางด้านการเงิน แต่ดันมาทำงานในสายการเงิน (555)
ปกติอ่านงบ วิเคราะห์งบ ดูอัตราส่วนยังพอถูๆไถๆ ไปได้ แต่ที่นี้บริษัทดันมีโปรเจคต้องทำประมาณการงบทั้งสามงบข้างต้น เลยไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร
ไม่ทราบว่ามีใคร พอจะแนะนำหนังสือเกี่ยวกับการจัดประมาณการงบต่างๆ หรือหลักคิดในการจัดทำ ได้มั่งไหมครับ
ขอบคุณมากครับ
แต่เผอิญดันมีงานเข้า ต้องทำ ประมาณการงบกำไรขาดทุน งบดุล งบกระแสเงินสด ซึ่งผมไม่ได้จบทางด้านการเงิน แต่ดันมาทำงานในสายการเงิน (555)
ปกติอ่านงบ วิเคราะห์งบ ดูอัตราส่วนยังพอถูๆไถๆ ไปได้ แต่ที่นี้บริษัทดันมีโปรเจคต้องทำประมาณการงบทั้งสามงบข้างต้น เลยไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร
ไม่ทราบว่ามีใคร พอจะแนะนำหนังสือเกี่ยวกับการจัดประมาณการงบต่างๆ หรือหลักคิดในการจัดทำ ได้มั่งไหมครับ
ขอบคุณมากครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1223
- ผู้ติดตาม: 0
หัดรู้เรื่อง งบการเงิน
โพสต์ที่ 100
วันนี้ผมมีโอกาสดูคลิ๊ปรายการ มันนี่ ทอร์ค
ตอนที่ให้ความรู้เกี่ยวกับงบการเงิน เห็นว่าน่าสนใจดี
ขอเอาลิ้งมาแปะไว้ในกระทู้นี้น๊ะครับ
(ท่านใดดูแล้วก็ขออภัยด้วยครับ)
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
ตอนที่ให้ความรู้เกี่ยวกับงบการเงิน เห็นว่าน่าสนใจดี
ขอเอาลิ้งมาแปะไว้ในกระทู้นี้น๊ะครับ
(ท่านใดดูแล้วก็ขออภัยด้วยครับ)
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/Mon ... fault.aspx
ซื้อหุ้นตัวที่เมื่อมองไปในอนาคตแล้ว ที่ปัจจุบันราคายัง undervalue ที่สุด
- Coca-Cola
- Verified User
- โพสต์: 326
- ผู้ติดตาม: 0
หัดรู้เรื่อง งบการเงิน
โพสต์ที่ 101
ขอขอบคุณเป็นอย่างสูง
ผมได้รับความรู้เป็นอย่างดีมาก... จากกระทู้นี้
แม้ว่าผม จะเป็นคนไม่ค่อยชอบอ่านหนังสือเอาอย่างมาก
และเห็นว่ามันเป็นยาพิษที่ร้ายแรงที่สุดในโลก
แต่ผม... ก็ยังขอบคุณ
เพราะผมได้อ่านในหน้าแรก และพบว่าน้ำถูกสลัดทิ้ง
คงไว้แต่เนื้อแท้ทั้งสิ้น ผมจึงรู้สึกว่า ได้ประโยชน์อย่างมาก
และคาดหวังว่า ตัวเองจะอ่านต่อไปได้จนจบ
ผมนิสัยเสียอย่างมาก ที่เป็นคนไม่ค่อยชอบอ่านหนังสือ
ทำให้ผมเสียโอกาสการเรียนรู้ในเรื่องหุ้นไปอย่าง "ถึงพริก ถึงขิง"
ซึ่งน่าเสียดาย... นานๆ ที ผมจึงอยากจะลองหยิบของใครมาอ่านบ้าง
จังหวะเหมาะพอดี ที่ตอนนี้ผมอยากเพิ่มพูนความรู้ และเปิดช่องทาง
ให้ตัวเองต้องขวนขวายจากหนังสือเท่านั้น แล้วผมก็มาเจอคุณ...
แต่ก่อนแต่ไร ในการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์แต่ละครั้ง
ผมมักจะใช้สัญชาติญาณเป็นตัวนำทางให้เสมอ และใช้หลักของ Biz Model
เป็นตัวนำทางแต่เพียงเล็กน้อย และหลักการบัญชีขอละไว้ ให้อยู่ในมุมที่มืดดำ (สัญชาติญาณ 00.01% , Biz Model 99.99%)
โชคดีว่า ผมทำกำไรได้ทุกครั้ง และอย่างงาม แต่นั่นแหละ
จากเครื่องมือที่ไม่พร้อม มันทำให้ผม "นอนไม่หลับ" และผมกลัวว่า
สักวันผมจะเป็นเหมือน "The Machinist" ซึ่งค่อนข้างจะอันตรายต่อสุขภาพ สักเล็กน้อย
ผมคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผมจะขยันอ่านจนจบ และภาวนาให้ตัวเองเช่นนั้น
เหนืออื่นใด ผมขอร้องคุณ sattaya ให้ภาวนาให้ผมอ่านจนจบด้วยเช่นกัน
เอาหละ.. คืนนี้ ตอนประมาณ 5 ทุ่ม ผมจะภาวนาที่บ้านผม และผมหวังว่า
คุณจะเริ่มภาวนาให้ผม (แน่นอน ที่ๆ คุณภาวนา เป็นที่บ้านของคุณ)
ด้วยเช่นกัน ในเวลาที่ใกล้เคียง +/-2 นาที
ผมเกรงว่า ถ้าเวลาเลื่อนไปกว่านี้ คำภาวนาของเราทั้งสอง จะไม่ประสาน
หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งผมเกรงว่า แรงศรัทธา จะส่งไปไม่ถึง... เบื้องบน
เช่นนั้นแล้ว.... อย่าสาย (ผมเกรงว่า ผมจะให้ใบแดง ได้ง่ายกว่าใบเหลืองเสียด้วยซิ.. )
อีกครั้ง... ที่ผมจะกล่าวคำว่า "ขอบคุณ"
กับการแบ่งปันอันมากมายยิ่ง
ผมได้รับความรู้เป็นอย่างดีมาก... จากกระทู้นี้
แม้ว่าผม จะเป็นคนไม่ค่อยชอบอ่านหนังสือเอาอย่างมาก
และเห็นว่ามันเป็นยาพิษที่ร้ายแรงที่สุดในโลก
แต่ผม... ก็ยังขอบคุณ
เพราะผมได้อ่านในหน้าแรก และพบว่าน้ำถูกสลัดทิ้ง
คงไว้แต่เนื้อแท้ทั้งสิ้น ผมจึงรู้สึกว่า ได้ประโยชน์อย่างมาก
และคาดหวังว่า ตัวเองจะอ่านต่อไปได้จนจบ
ผมนิสัยเสียอย่างมาก ที่เป็นคนไม่ค่อยชอบอ่านหนังสือ
ทำให้ผมเสียโอกาสการเรียนรู้ในเรื่องหุ้นไปอย่าง "ถึงพริก ถึงขิง"
ซึ่งน่าเสียดาย... นานๆ ที ผมจึงอยากจะลองหยิบของใครมาอ่านบ้าง
จังหวะเหมาะพอดี ที่ตอนนี้ผมอยากเพิ่มพูนความรู้ และเปิดช่องทาง
ให้ตัวเองต้องขวนขวายจากหนังสือเท่านั้น แล้วผมก็มาเจอคุณ...
แต่ก่อนแต่ไร ในการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์แต่ละครั้ง
ผมมักจะใช้สัญชาติญาณเป็นตัวนำทางให้เสมอ และใช้หลักของ Biz Model
เป็นตัวนำทางแต่เพียงเล็กน้อย และหลักการบัญชีขอละไว้ ให้อยู่ในมุมที่มืดดำ (สัญชาติญาณ 00.01% , Biz Model 99.99%)
โชคดีว่า ผมทำกำไรได้ทุกครั้ง และอย่างงาม แต่นั่นแหละ
จากเครื่องมือที่ไม่พร้อม มันทำให้ผม "นอนไม่หลับ" และผมกลัวว่า
สักวันผมจะเป็นเหมือน "The Machinist" ซึ่งค่อนข้างจะอันตรายต่อสุขภาพ สักเล็กน้อย
ผมคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผมจะขยันอ่านจนจบ และภาวนาให้ตัวเองเช่นนั้น
เหนืออื่นใด ผมขอร้องคุณ sattaya ให้ภาวนาให้ผมอ่านจนจบด้วยเช่นกัน
เอาหละ.. คืนนี้ ตอนประมาณ 5 ทุ่ม ผมจะภาวนาที่บ้านผม และผมหวังว่า
คุณจะเริ่มภาวนาให้ผม (แน่นอน ที่ๆ คุณภาวนา เป็นที่บ้านของคุณ)
ด้วยเช่นกัน ในเวลาที่ใกล้เคียง +/-2 นาที
ผมเกรงว่า ถ้าเวลาเลื่อนไปกว่านี้ คำภาวนาของเราทั้งสอง จะไม่ประสาน
หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งผมเกรงว่า แรงศรัทธา จะส่งไปไม่ถึง... เบื้องบน
เช่นนั้นแล้ว.... อย่าสาย (ผมเกรงว่า ผมจะให้ใบแดง ได้ง่ายกว่าใบเหลืองเสียด้วยซิ.. )
อีกครั้ง... ที่ผมจะกล่าวคำว่า "ขอบคุณ"
กับการแบ่งปันอันมากมายยิ่ง
CI(Celebrity Investment) <----- oh! My GOD ผมเกิดมาเพื่อสิ่งนี้
-
- Verified User
- โพสต์: 1372
- ผู้ติดตาม: 1
หัดรู้เรื่อง งบการเงิน
โพสต์ที่ 104
ค่าเสื่อมจะรวมอยู่ในต้นทุนขายครับ แต่เนื่องจากค่าเสื่อมเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้จ่ายด้วยเงินสดในงวดบัญชีนั้นๆ จึงไปเห็นในงบกระแสเงินสดอีกครั้งด้วยการนำไปบวกกลับในส่วนของกระแสเงินสดจากการดำเนินงานอ.เอง เขียน:ขอบคุณครับ อธิบายได้เข้าใจง่ายทีเดียวเลยครับ
แต่อยากจะให้อธิบายส่วนของ ค่าเสื่อม สักหน่อยครับ
ว่าจะมาเกี่ยวข้องกับ งบการเงิน ส่วนไหนและยังไงบ้างครับ
สติมา ปัญญาเกิด
-
- Verified User
- โพสต์: 1372
- ผู้ติดตาม: 1
หัดรู้เรื่อง งบการเงิน
โพสต์ที่ 107
[quote="sakana_sushi"]ผมก็ยังไม่เก่งครับ จะช่วยเสริมเท่าที่รู้
แต่ตอนนี้ผมมีเรื่องมาถามครับ คือ ผมลองเสิร์ทกระทู้เกี่ยวกับการคำนวณ Working capital แล้ว แต่ว่าตอนนี้ยังมีข้อสงสัยอยู่ว่า
สมมติผมจะคำนวณหา ∆WC ใน งวดไตรมาสที่2 ปี53(ต่อไปขออนุญาตใช้ Q2 นะครับ) สมมติว่าบริษัทแห่งนี้ปิดงบปีปรกติของบริษัททั่วไปโดยปิดงบปีเดือนธันวาคม
ผมก็ไปเปิดงบกระแสเงินสดสำหรับงวด6เดือนของบริษัท Q2ปี53
แต่ตอนนี้ผมมีเรื่องมาถามครับ คือ ผมลองเสิร์ทกระทู้เกี่ยวกับการคำนวณ Working capital แล้ว แต่ว่าตอนนี้ยังมีข้อสงสัยอยู่ว่า
สมมติผมจะคำนวณหา ∆WC ใน งวดไตรมาสที่2 ปี53(ต่อไปขออนุญาตใช้ Q2 นะครับ) สมมติว่าบริษัทแห่งนี้ปิดงบปีปรกติของบริษัททั่วไปโดยปิดงบปีเดือนธันวาคม
ผมก็ไปเปิดงบกระแสเงินสดสำหรับงวด6เดือนของบริษัท Q2ปี53
สติมา ปัญญาเกิด
-
- Verified User
- โพสต์: 1372
- ผู้ติดตาม: 1
หัดรู้เรื่อง งบการเงิน
โพสต์ที่ 108
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
รายการที่ควรตรวจสอบในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เช่น ที่ดิน อาคาร หรือเครื่องจักรที่บริษัทมีไว้โดยไม่ได้ใช้ประโยชน์ (รายการดังกล่าวได้ถูกแยกออกจากที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ ในงบดุลให้เห็นได้ชัด) เนื่องจากรายการดังกล่าวเป็นสินทรัพย์ทุน ที่ต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างมาก การที่บริษัทซื้อไว้โดยไม่ได้ทำประโยชน์เท่ากับนำเงินของบริษัทไปจมกับสินทรัพย์ดังกล่าว รายการนี้นอกจากจะไม่สร้างรายได้แล้วยังอาจเป็นภาระของบริษัทอีกด้วย
การเปรียบเทียบ ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์สุทธิระหว่างปีปัจจุบันกับปีก่อน สามารถบอกเราได้ว่า บริษัทมีการ ซื้อหรืิอขาย ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์หรือไม่ หากมีเพิ่มขึ้นอาจบอกได้เป็นนัยๆว่า บริษัทอาจมีการลงทุนเพิ่มหรือกำลังจะขยายกิจการ หรือเพิ่มกำลังผลิต
การเพิ่มขึ้นของที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ผมยกตัวอย่าง 2 ลักษณะ
1. การเพิ่มกำลังผลิต ขยายโรงงาน หรือเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่ กรณีบริษัทเป็นผู้ผลิตสินค้า เป็นสิ่งดีในระยะยาว แต่ระยะสั้น ผมเห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นภาระของบริษัท และเมื่อโรงงานหรือสายการผลิตใหม่เสร็จ จะต้องมีการฝึกอบรมพนักงาน ทดสอบเครื่องจักร กว่าสินค้าจะผลิตออกขายได้ค่าใช้จ่ายก็ได้รับรู้ไปแล้ว เพราะค่าใช้จ่ายและค่าเสื่อมราคามักจะมาก่อนรายได้เสมอ
2. การขยายสาขาของร้านค้าปลีก กรณีนี้เป็นในทางตรงกันข้ามเนื่องจากเมื่อมีการก่อสร้างสาขาใหม่และจัดสินค้าเสร็จ สาขาใหม่สามารถเปิดขายได้ทันที และสินค้าที่นำมาวางขายส่วนใหญ่บริษัทก็ได้รับเครดิตจากผู้ผลิต ซึ่งเท่ากับว่า รายได้และค่าใช้จ่ายจากสาขาใหม่เกิดขึ้นเกือบพร้อมๆกันจึงเป็นประโยชน์มากกว่ากรณีแรก
รายการที่ควรตรวจสอบในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เช่น ที่ดิน อาคาร หรือเครื่องจักรที่บริษัทมีไว้โดยไม่ได้ใช้ประโยชน์ (รายการดังกล่าวได้ถูกแยกออกจากที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ ในงบดุลให้เห็นได้ชัด) เนื่องจากรายการดังกล่าวเป็นสินทรัพย์ทุน ที่ต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างมาก การที่บริษัทซื้อไว้โดยไม่ได้ทำประโยชน์เท่ากับนำเงินของบริษัทไปจมกับสินทรัพย์ดังกล่าว รายการนี้นอกจากจะไม่สร้างรายได้แล้วยังอาจเป็นภาระของบริษัทอีกด้วย
การเปรียบเทียบ ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์สุทธิระหว่างปีปัจจุบันกับปีก่อน สามารถบอกเราได้ว่า บริษัทมีการ ซื้อหรืิอขาย ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์หรือไม่ หากมีเพิ่มขึ้นอาจบอกได้เป็นนัยๆว่า บริษัทอาจมีการลงทุนเพิ่มหรือกำลังจะขยายกิจการ หรือเพิ่มกำลังผลิต
การเพิ่มขึ้นของที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ผมยกตัวอย่าง 2 ลักษณะ
1. การเพิ่มกำลังผลิต ขยายโรงงาน หรือเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่ กรณีบริษัทเป็นผู้ผลิตสินค้า เป็นสิ่งดีในระยะยาว แต่ระยะสั้น ผมเห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นภาระของบริษัท และเมื่อโรงงานหรือสายการผลิตใหม่เสร็จ จะต้องมีการฝึกอบรมพนักงาน ทดสอบเครื่องจักร กว่าสินค้าจะผลิตออกขายได้ค่าใช้จ่ายก็ได้รับรู้ไปแล้ว เพราะค่าใช้จ่ายและค่าเสื่อมราคามักจะมาก่อนรายได้เสมอ
2. การขยายสาขาของร้านค้าปลีก กรณีนี้เป็นในทางตรงกันข้ามเนื่องจากเมื่อมีการก่อสร้างสาขาใหม่และจัดสินค้าเสร็จ สาขาใหม่สามารถเปิดขายได้ทันที และสินค้าที่นำมาวางขายส่วนใหญ่บริษัทก็ได้รับเครดิตจากผู้ผลิต ซึ่งเท่ากับว่า รายได้และค่าใช้จ่ายจากสาขาใหม่เกิดขึ้นเกือบพร้อมๆกันจึงเป็นประโยชน์มากกว่ากรณีแรก
สติมา ปัญญาเกิด
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
หัดรู้เรื่อง งบการเงิน
โพสต์ที่ 111
นั่งดูแล้วพี่ตี๋นี้ก็เริ่มเข้าสู่ระดับสูงขึ้นแล้วล่ะ
อ่านแล้วดูดีเลย
กะว่ามาอ่านอย่างเดียวเลยล่ะเราตอนหลัง
ตอนหลังไม่ค่อยได้ดูงบเท่าไร เพราะดูว่า Confirm ในสิ่งที่คิดหรือตามที่ผู้บริหารบอกหรือเปล่าเท่านั้นเอง
เข้าเรื่องดีกว่า มีหลายประเด็นที่น่าให้คิด
เช่นเรื่องที่บอกว่า มากหรือน้อยดีในรายการงบการเงิน
,ทำไมกระแสเงินสดถึงบอกได้ว่าดีหรือไม่ดี
,มีอะไรซ่อนสามารถบอกอนาคตได้หรือไม่จากงบการเงิน
เป็นต้น
ถึงจุดนี้ผมไม่ขอเสริมล่ะกัน
แต่ผมบอกเรื่องหนึ่งที่ไม่ค่อยมีคนบอกกล่าวกันคือเรื่องของกระแสเงินสด
เรื่องนี้อาจจะเป็นเรื่องของฝ่ายบัญชีคือ กระแสเงินสดนี้เกิดจากรายการ
หักลบกันของงบดุล แล้วจัดการ Grouping รายการเข้าด้วยกัน
กระแสเงินสดจากการดำเนินการเกิดจากงบดุลของสินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียน
กระแสเงินสดจากการลงทุนเกิดจากสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
กระแสเงินสดจากจัดหาเกิดจากหนี้สินไม่หมุนเวียน และส่วนของผู้ถือหุ้น
หากเข้าใจหลักตรงนี้แล้ว สามารถเอางวดของบัญชีนี้ลบงวดก่อนหน้า แล้วดูว่ามีรายการไหน ไม่ตรงกับกิจกรรมหรือเปล่า เป็นตัวช่วยตัวหนึ่ง
ตามมาด้วยต้องขยันทำ Trend analysis หน่อย
ปีนี้ผมทำ trend Analysis เจ้า GFM เสียเวลาไปหลายวันกว่าทำเสร็จ
ผมเห็นอะไรแปลกๆของเ้จ้า GFM ที่ผมทำด้วย ลองไปทำดูแล้วจะรู้
อีกเรื่องหนึ่งที่ฝากหน่อย
มาตราฐานทางบัญชีเปลี่ยนแปลงบ่อยมาก ต้อง update ความรู้ล่ะครับ
เพราะเปลี่ยนมาตราฐานที่การคิดก็เปลี่ยนแปลงล่ะ
จุดนี้ต้องระวังไว้ให้มากล่ะครับ
ส่งท้าย กระทู้นี้น่าไปเก็บไว้ในคลังความรู้ประจำ TVI จังเลย
อ่านแล้วดูดีเลย
กะว่ามาอ่านอย่างเดียวเลยล่ะเราตอนหลัง
ตอนหลังไม่ค่อยได้ดูงบเท่าไร เพราะดูว่า Confirm ในสิ่งที่คิดหรือตามที่ผู้บริหารบอกหรือเปล่าเท่านั้นเอง
เข้าเรื่องดีกว่า มีหลายประเด็นที่น่าให้คิด
เช่นเรื่องที่บอกว่า มากหรือน้อยดีในรายการงบการเงิน
,ทำไมกระแสเงินสดถึงบอกได้ว่าดีหรือไม่ดี
,มีอะไรซ่อนสามารถบอกอนาคตได้หรือไม่จากงบการเงิน
เป็นต้น
ถึงจุดนี้ผมไม่ขอเสริมล่ะกัน
แต่ผมบอกเรื่องหนึ่งที่ไม่ค่อยมีคนบอกกล่าวกันคือเรื่องของกระแสเงินสด
เรื่องนี้อาจจะเป็นเรื่องของฝ่ายบัญชีคือ กระแสเงินสดนี้เกิดจากรายการ
หักลบกันของงบดุล แล้วจัดการ Grouping รายการเข้าด้วยกัน
กระแสเงินสดจากการดำเนินการเกิดจากงบดุลของสินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียน
กระแสเงินสดจากการลงทุนเกิดจากสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
กระแสเงินสดจากจัดหาเกิดจากหนี้สินไม่หมุนเวียน และส่วนของผู้ถือหุ้น
หากเข้าใจหลักตรงนี้แล้ว สามารถเอางวดของบัญชีนี้ลบงวดก่อนหน้า แล้วดูว่ามีรายการไหน ไม่ตรงกับกิจกรรมหรือเปล่า เป็นตัวช่วยตัวหนึ่ง
ตามมาด้วยต้องขยันทำ Trend analysis หน่อย
ปีนี้ผมทำ trend Analysis เจ้า GFM เสียเวลาไปหลายวันกว่าทำเสร็จ
ผมเห็นอะไรแปลกๆของเ้จ้า GFM ที่ผมทำด้วย ลองไปทำดูแล้วจะรู้
อีกเรื่องหนึ่งที่ฝากหน่อย
มาตราฐานทางบัญชีเปลี่ยนแปลงบ่อยมาก ต้อง update ความรู้ล่ะครับ
เพราะเปลี่ยนมาตราฐานที่การคิดก็เปลี่ยนแปลงล่ะ
จุดนี้ต้องระวังไว้ให้มากล่ะครับ
ส่งท้าย กระทู้นี้น่าไปเก็บไว้ในคลังความรู้ประจำ TVI จังเลย
-
- Verified User
- โพสต์: 1372
- ผู้ติดตาม: 1
หัดรู้เรื่อง งบการเงิน
โพสต์ที่ 114
ขอบคุณพี่มิที่เข้ามาช่วยแจมครับ อย่าอ่านอย่างเดียวเลยครับพี่ ผมยังอ่อนด้อย เข้ามาช่วยผมเรื่อยๆจะเป็นพระคุณยิ่งmiracle เขียน:นั่งดูแล้วพี่ตี๋นี้ก็เริ่มเข้าสู่ระดับสูงขึ้นแล้วล่ะ
อ่านแล้วดูดีเลย
กะว่ามาอ่านอย่างเดียวเลยล่ะเราตอนหลัง
เรื่อง trend analysis ผมชอบมาก ปกติผมสนใจบริษัทไหนผมจะทำเจ้า trend นี่แหละ ผิดกับการวิเคราะห์ด้วย ratio ต่างๆ เมื่อก่อนผมจะใช้ประจำเดี๋ยวนี้ไม่ค่อยสนใจมันแล้วตามมาด้วยต้องขยันทำ Trend analysis หน่อย
ปีนี้ผมทำ trend Analysis เจ้า GFM เสียเวลาไปหลายวันกว่าทำเสร็จ
ผมเห็นอะไรแปลกๆของเ้จ้า GFM ที่ผมทำด้วย ลองไปทำดูแล้วจะรู้
เรื่องนี้ถูกต้องอย่างยิ่งครับ ด้วยมาตรฐานที่เปลี่ยนบ่อยทำให้ นักบัญชียังงงอีกเรื่องหนึ่งที่ฝากหน่อย
มาตราฐานทางบัญชีเปลี่ยนแปลงบ่อยมาก ต้อง update ความรู้ล่ะครับ
เพราะเปลี่ยนมาตราฐานที่การคิดก็เปลี่ยนแปลงล่ะ
จุดนี้ต้องระวังไว้ให้มากล่ะครับ
สติมา ปัญญาเกิด
-
- Verified User
- โพสต์: 1372
- ผู้ติดตาม: 1
หัดรู้เรื่อง งบการเงิน
โพสต์ที่ 115
จริงๆแล้วเรื่องนี้ผมตั้งใจจะไว้พูดเป็นเรื่องท้ายๆแต่เมื่อพี่มิเกริ่นถึงและพี่ pawiz ถามผมขอแทรกไว้ตรงนี้เลยpawiz เขียน:รบกวนอธิบายเพิ่มเติมและจุดที่ควรสังเกตุในการทำtrend analysisด้วยได้ไหมครับ น่าจะเป็นการศึกษาที่ดีอีกอย่างของงบการเงิน
วิธี trend analysis นี่เป็นวิธีที่ผมคิดว่าดีมากแต่จะเสียเวลาทำค่อนข้างมาก
ทำได้โดยก่อนอื่นต้องโหลดงบการเงินย้อนหลังรายไตรมาสโหลดมาให้หมดเท่าที่เค้ามี (หาโหลดได้ที่เวปไซดของ กลต. http://capital.sec.or.th/webapp/corp_fi ... ntent_id=1 )
จากนั้นจับงบการเงินที่ได้เหล่านั้นมาเรียงกันให้รายการชนรายการ โดย
งบดุลและงบกระแสเงินสด ผมจะใช้งบรายปีมาเรียง
งบกำไรขาดทุน ผมจะใช้งบแต่ละไตรมาสมาเรียงกัน ถ้าใครทำจะเห็นว่าไตรมาสที่ 4 จะเป็นงบปี ผมก็ปรับมันให้เป็นงบไตรมาสซะด้วยวิธีมักง่าย คือเอางบปีไปหักออกด้วยแต่ละรายการของแต่ละไตรมาส ด้วยความมักง่ายผมจึงไม่ได้ปรับปรุงงบแต่ละปีก่อนการเปรียบเทียบ :oops: ผมคิดว่า
1. เราต้องการรู้แนวโน้มอย่างคร่าวๆ หากมาตรฐานบัญชีมีการเปลี่ยนแปลงปีไหนก็จะกระทบต่องบของปีนั้นและปีก่อนหน้า
2. ถ้าปรับปรุงจะกลายเป็นผิดพลาดกว่าเดิมเพราะความไม่รู้จริง
หลังจากจัดเรียงเสร็จผมจะทำแต่ละรายการเป็นกราฟเส้น ก็จะเห็นแนวโน้มของแต่ละรายการรวมถึงมองเห็นวัฎจักรของบริษัทนั้นๆ(หากวัฎจักรไม่ยาวเกินปีที่จัดทำ)
สติมา ปัญญาเกิด
-
- Verified User
- โพสต์: 1372
- ผู้ติดตาม: 1
หัดรู้เรื่อง งบการเงิน
โพสต์ที่ 116
เงินลงทุนต่าๆที่เป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เป็นเงินลงทุนที่บริษัทคาดว่ามีระยะเวลาการถือครองเกินกว่า 1 ปี
เงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขายเช่น หุ้นของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ กองทุนต่างๆ
เงินลงทุนในบริษัทย่อย บริษัทร่วม
รายการเหล่านี้เป็นได้ทั้งบแหล่งที่มาของรายได้และภาระของบริษัท จึงต้องตรวจสอบให้ดี เช่น การถือกองทุนหรือหุ้นกู้ ของบริษัทต่างๆ ที่ได้รับผลตอบแทนสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก แต่แลกมาด้วยความเสี่ยงที่สูงกว่า หรือหลายบริษัทที่มีบริษัทย่อยเป็นลูกกตัญญู คือจ่ายเงินปันผลให้บริษัทแม่ทุกปี แต่หลายบริษัทมีบริษัทย่อยที่แบมือขอเงินแม่ตลอดเวลา เป็นต้น
เงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขายเช่น หุ้นของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ กองทุนต่างๆ
เงินลงทุนในบริษัทย่อย บริษัทร่วม
รายการเหล่านี้เป็นได้ทั้งบแหล่งที่มาของรายได้และภาระของบริษัท จึงต้องตรวจสอบให้ดี เช่น การถือกองทุนหรือหุ้นกู้ ของบริษัทต่างๆ ที่ได้รับผลตอบแทนสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก แต่แลกมาด้วยความเสี่ยงที่สูงกว่า หรือหลายบริษัทที่มีบริษัทย่อยเป็นลูกกตัญญู คือจ่ายเงินปันผลให้บริษัทแม่ทุกปี แต่หลายบริษัทมีบริษัทย่อยที่แบมือขอเงินแม่ตลอดเวลา เป็นต้น
สติมา ปัญญาเกิด
- luckyman
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2203
- ผู้ติดตาม: 0
หัดรู้เรื่อง งบการเงิน
โพสต์ที่ 117
registered krub (^ ^), but I don't read it all krub.
I will try to read all pages, and thank you very much for knowledge sharing krub.
I will try to read all pages, and thank you very much for knowledge sharing krub.
website for the value investor
=> https://hoonapp.com
=> https://hoonapp.com
-
- Verified User
- โพสต์: 1372
- ผู้ติดตาม: 1
หัดรู้เรื่อง งบการเงิน
โพสต์ที่ 118
หนี้สินหมุนเวียน
ส่วนตัวผมเองแบ่งหนี้สินอย่างหยาบเป็น 2 ชนิดคือ หนี้สินพวกที่เป็นภาระ คือมีดอกเบี้ย กับหนี้สินพวกที่ไม่มีดอกเบี้ย
หนี้สินที่มีดอกเบี้ยยิ่งมีมากยิ่งบั่นทอนกำไรไปจากผู้ถือหุ้น และอาจกระทบต่อสภาพคล่องของบริษัท ทั้งนี้ต้องพิจารณาควบคู่กับรูปแบบการดำเนินธุรกิจของแต่ละบริษัทด้วย
หนี้ที่ไม่มีดอกเบี้ย หนี้เหล่านี้ผมคิดว่าเป็นส่วนที่ดี ที่ช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับบริษัท อย่างไรก็ตามหนี้ก็ยังเป็นภาระที่ต้องจ่าย
การพิจารณาหนี้สินแต่ละรายการผมเปรียบเทียบ 2 ลักษณะ
1. เปรียบเทียบรายการเจ้าหนี้การค้ากับ สินค้าคงเหลือ ต้นทุนขาย ยอดขาย ว่ามีการเติบโตในทิศทางเดียวกัน หรือไม่ การที่มียอดขายเพิ่มขึ้น เจ้าหนี้การค้าและสินค้าคงเหลือ มัก เพิ่มขึ้นด้วย แต่ก็ไม่เสมอไป
2. เปรียบเทียบกับอัตราในอดีต
ส่วนการเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมหรือคู่แข่ง ผมไม่นำมาเปรียบเทียบเนื่องจากผมเห็นว่า ธรรมชาติของแต่ละบริษัทไม่เหมือนกัน ถึงแม้จะเป็นคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกันก็ตาม ทำให้การเปรียบเทียบดังกล่าวไม่อาจบอกได้ว่าบริษัท ก. ที่มีหนี้น้อยกว่าจะดีกว่าบริษัท ข. เสมอไป
ส่วนตัวผมเองแบ่งหนี้สินอย่างหยาบเป็น 2 ชนิดคือ หนี้สินพวกที่เป็นภาระ คือมีดอกเบี้ย กับหนี้สินพวกที่ไม่มีดอกเบี้ย
หนี้สินที่มีดอกเบี้ยยิ่งมีมากยิ่งบั่นทอนกำไรไปจากผู้ถือหุ้น และอาจกระทบต่อสภาพคล่องของบริษัท ทั้งนี้ต้องพิจารณาควบคู่กับรูปแบบการดำเนินธุรกิจของแต่ละบริษัทด้วย
หนี้ที่ไม่มีดอกเบี้ย หนี้เหล่านี้ผมคิดว่าเป็นส่วนที่ดี ที่ช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับบริษัท อย่างไรก็ตามหนี้ก็ยังเป็นภาระที่ต้องจ่าย
การพิจารณาหนี้สินแต่ละรายการผมเปรียบเทียบ 2 ลักษณะ
1. เปรียบเทียบรายการเจ้าหนี้การค้ากับ สินค้าคงเหลือ ต้นทุนขาย ยอดขาย ว่ามีการเติบโตในทิศทางเดียวกัน หรือไม่ การที่มียอดขายเพิ่มขึ้น เจ้าหนี้การค้าและสินค้าคงเหลือ มัก เพิ่มขึ้นด้วย แต่ก็ไม่เสมอไป
2. เปรียบเทียบกับอัตราในอดีต
ส่วนการเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมหรือคู่แข่ง ผมไม่นำมาเปรียบเทียบเนื่องจากผมเห็นว่า ธรรมชาติของแต่ละบริษัทไม่เหมือนกัน ถึงแม้จะเป็นคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกันก็ตาม ทำให้การเปรียบเทียบดังกล่าวไม่อาจบอกได้ว่าบริษัท ก. ที่มีหนี้น้อยกว่าจะดีกว่าบริษัท ข. เสมอไป
สติมา ปัญญาเกิด
-
- Verified User
- โพสต์: 1372
- ผู้ติดตาม: 1
หัดรู้เรื่อง งบการเงิน
โพสต์ที่ 119
หนี้สินระยะยาว
ผมแบ่งหนี้สินระยะยาวออกเป็น 2 ชนิดเหมือนกับหนี้สินระยะสั้น
Ratio ที่เกี่ยวข้องกับหนี้สินที่น่าสนใจคือ D/E Ratio
D/E Ratio (เท่า) = หนี้สินรวม/ส่วนของผู้ถือหุ้น
D/E แสดงถึงสัดส่วนของหนี้สินต่อเงินทุน(ส่วนของผู้ถือหุ้น) ของบริษัท อัตราส่วนนี้มีความหมายว่าบริษัทมีหนี้เป็นกี่เท่าของส่วนของผู้ถือหุ้น ค่า D/E ยิ่งสูงหมายถึงบริษัทยิ่งมีความเสี่ยงสูง แต่บางบริษัทมีหนี้สินมากจริงแต่เป็นหนี้ที่ไม่มีดอกเบี้ย เช่น เจ้าหนี้การค้า บริษัทที่มีเจ้าหนี้การค้าสูงส่วนมากเป็นบริษัทที่มีศักยภาพในการต่อรองกับซัพพลายเออร์ได้สูง D/E เท่าไรถึงสูงนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละอุตสาหกรรม
ผมมักคำนวณ D/E เป็น 2 แบบ
1. D/E ปกติ
2. D/E ที่ debt ตัดหนี้สินที่ไม่มีดอกเบี้ยออก
เมื่อเปรียบเทียบ ค่า D/E ทั้ง 2 แล้ว
1. ถ้า D/E ต่างกันเล็กน้อยหมายความว่า บริษัทมีหนี้ส่วนที่มีดอกเบี้ยที่ค่อนข้างสูง
2. ถ้า D/E ต่างกันมากหมายความว่า บริษัทมีหนี้ส่วนที่ไม่มีดอกเบี้ยค่อนข้างสูง
ผมแบ่งหนี้สินระยะยาวออกเป็น 2 ชนิดเหมือนกับหนี้สินระยะสั้น
Ratio ที่เกี่ยวข้องกับหนี้สินที่น่าสนใจคือ D/E Ratio
D/E Ratio (เท่า) = หนี้สินรวม/ส่วนของผู้ถือหุ้น
D/E แสดงถึงสัดส่วนของหนี้สินต่อเงินทุน(ส่วนของผู้ถือหุ้น) ของบริษัท อัตราส่วนนี้มีความหมายว่าบริษัทมีหนี้เป็นกี่เท่าของส่วนของผู้ถือหุ้น ค่า D/E ยิ่งสูงหมายถึงบริษัทยิ่งมีความเสี่ยงสูง แต่บางบริษัทมีหนี้สินมากจริงแต่เป็นหนี้ที่ไม่มีดอกเบี้ย เช่น เจ้าหนี้การค้า บริษัทที่มีเจ้าหนี้การค้าสูงส่วนมากเป็นบริษัทที่มีศักยภาพในการต่อรองกับซัพพลายเออร์ได้สูง D/E เท่าไรถึงสูงนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละอุตสาหกรรม
ผมมักคำนวณ D/E เป็น 2 แบบ
1. D/E ปกติ
2. D/E ที่ debt ตัดหนี้สินที่ไม่มีดอกเบี้ยออก
เมื่อเปรียบเทียบ ค่า D/E ทั้ง 2 แล้ว
1. ถ้า D/E ต่างกันเล็กน้อยหมายความว่า บริษัทมีหนี้ส่วนที่มีดอกเบี้ยที่ค่อนข้างสูง
2. ถ้า D/E ต่างกันมากหมายความว่า บริษัทมีหนี้ส่วนที่ไม่มีดอกเบี้ยค่อนข้างสูง
สติมา ปัญญาเกิด
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
หัดรู้เรื่อง งบการเงิน
โพสต์ที่ 120
ไหนพี่ตี๋เป็นเจ้าของกระทู้
ผมก็แจมล่ะกัน พอดีอยู่ในระหว่างการติดอาุวุธเพิ่มเติมมาล่ะคร้าบ
ตอนนี้ได้ใช้อาวุธเพิ่มเติมขึ้นอีกหน่อยหนึ่ง แต่ยังติดไม่ครบถ้วนล่ะคร้าบ
ใช้เวลาติดอาวุธดังกล่าวอีกซักระยะใหญ่เลย
เข้าเรื่องดีกว่าไหนพี่ตี๋เข้าเรื่องของ D/E Ratio อันนี้
ผมต่อด้วยว่า D/E มันบอกว่า ใครได้ประโยชน์จากตัวบริษัทด้วย
ถ้า D/E สูงๆ บอกเราว่า บริษัทนั้นมีโครงสร้างของเงินทุนเป็นเ่ช่นไร
ใครได้ประโยชน์ เจ้าหนี้หรือเจ้าของ
ถ้าเป็นเจ้าหนี้ได้ประโยชน์ เป็นประเภทไหน ถ้าหากเป็นประเภทเจ้าหนี้การค้า ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย จำพวกนี้ขอให้ปล่อยผ่าน(จุดนี้หลายคนงงว่าแล้วกิจการบ้างตัวมันไม่ีมีทำอย่างไง คุณต้องไปอ่านเพิ่มเติมว่า ตัวไหนที่เป็นตัว Core Biz)
แต่ถ้าเป็น เงินกู้ระยะสั้น หุ้นกู้ หุ้นบุริมสิทธิ์ จำพวกนี้ เงินที่ได้มานั้น จ่ายออกในรูปของดอกเบี้ย และมีการ Refinance หรือเปล่า อัตราดอกเบี้ยเท่าไรที่จ่าย (ตัวนี้ไม่ค่อยบอกกันแต่หาได้คร่าว ถ้าออกแรงก็มีบอกไว้อยู่ ไม่พ้น MRR จำพวกนี้หรอก หรือไปดูที่ BEX เอา)
ส่วนเจ้าของอันนี้หนีไม่พ้น เงินปันผล และ ส่วนต่างของราคาหุ้น
ตัวแรกนี้ได้จากการดำเนินงานปกติของกิจการมันจะดีมากๆ ถ้าได้จากรายการพิเศษ งานนี้เตรียมใจว่า ปีหน้ามันแฟ้บแน่นอน
ส่วนอีกตัวได้จาก การคำนวณหาอัตราปันผลล่วงหน้า
อีกวิธีคือทำงบล่วงหน้าแล้วหาราคาปัจจุบัน
ผมก็แจมล่ะกัน พอดีอยู่ในระหว่างการติดอาุวุธเพิ่มเติมมาล่ะคร้าบ
ตอนนี้ได้ใช้อาวุธเพิ่มเติมขึ้นอีกหน่อยหนึ่ง แต่ยังติดไม่ครบถ้วนล่ะคร้าบ
ใช้เวลาติดอาวุธดังกล่าวอีกซักระยะใหญ่เลย
เข้าเรื่องดีกว่าไหนพี่ตี๋เข้าเรื่องของ D/E Ratio อันนี้
ผมต่อด้วยว่า D/E มันบอกว่า ใครได้ประโยชน์จากตัวบริษัทด้วย
ถ้า D/E สูงๆ บอกเราว่า บริษัทนั้นมีโครงสร้างของเงินทุนเป็นเ่ช่นไร
ใครได้ประโยชน์ เจ้าหนี้หรือเจ้าของ
ถ้าเป็นเจ้าหนี้ได้ประโยชน์ เป็นประเภทไหน ถ้าหากเป็นประเภทเจ้าหนี้การค้า ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย จำพวกนี้ขอให้ปล่อยผ่าน(จุดนี้หลายคนงงว่าแล้วกิจการบ้างตัวมันไม่ีมีทำอย่างไง คุณต้องไปอ่านเพิ่มเติมว่า ตัวไหนที่เป็นตัว Core Biz)
แต่ถ้าเป็น เงินกู้ระยะสั้น หุ้นกู้ หุ้นบุริมสิทธิ์ จำพวกนี้ เงินที่ได้มานั้น จ่ายออกในรูปของดอกเบี้ย และมีการ Refinance หรือเปล่า อัตราดอกเบี้ยเท่าไรที่จ่าย (ตัวนี้ไม่ค่อยบอกกันแต่หาได้คร่าว ถ้าออกแรงก็มีบอกไว้อยู่ ไม่พ้น MRR จำพวกนี้หรอก หรือไปดูที่ BEX เอา)
ส่วนเจ้าของอันนี้หนีไม่พ้น เงินปันผล และ ส่วนต่างของราคาหุ้น
ตัวแรกนี้ได้จากการดำเนินงานปกติของกิจการมันจะดีมากๆ ถ้าได้จากรายการพิเศษ งานนี้เตรียมใจว่า ปีหน้ามันแฟ้บแน่นอน
ส่วนอีกตัวได้จาก การคำนวณหาอัตราปันผลล่วงหน้า
อีกวิธีคือทำงบล่วงหน้าแล้วหาราคาปัจจุบัน