==กลวิธีกระตุ้นเศรษฐกิจ : ประชานิยมที่หลงทาง==

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

ล็อคหัวข้อ
คลื่นกระทบฝั่ง
Verified User
โพสต์: 96
ผู้ติดตาม: 0

==กลวิธีกระตุ้นเศรษฐกิจ : ประชานิยมที่หลงทาง==

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ในห้วงเวลาแห่งวิกฤตเศรษฐกิจ รัฐจำเป็นต้องมีบทบาทสูงในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ทั้งส่วนที่เป็นต้นเหตุแห่งวิกฤตและส่วนที่เป็นผลกระทบสืบเนื่อง ความต้องการที่จะให้มีการกระตุ้นเศรษฐกิจ "อย่างรวดเร็ว" และ "เบ็ดเสร็จ" ย่อมมีนัยทางการเมืองและมีผลต่อแนวทางในการแก้ไขปัญหาของรัฐ

นักการเมืองจำนวนไม่น้อยคาดคะเนว่าเศรษฐกิจไทยกำลังอยู่ในทิศทางขาขึ้น เพราะได้ผ่านสถานการณ์ที่ยากลำบากมากเป็นเวลากว่า 5 ปีแล้ว และนี่ย่อมหมายถึงโอกาสอันงดงามในทางการเมืองด้วยแรงจูงใจที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างครึกโครมจึงอาจเกิดขึ้นพร้อมๆ ไปกับการมุ่งใช้มาตรการต่างๆ ในทางเศรษฐกิจเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเมือง โดยมิได้ตระหนักถึงข้อจำกัดของประเทศ และความลึกซึ้งของปัญหา
แก้ไขล่าสุดโดย คลื่นกระทบฝั่ง เมื่อ เสาร์ ม.ค. 08, 2005 11:17 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
คลื่นกระทบฝั่ง
Verified User
โพสต์: 96
ผู้ติดตาม: 0

==กลวิธีกระตุ้นเศรษฐกิจ : ประชานิยมที่หลงทาง==

โพสต์ที่ 2

โพสต์

แม้ว่าการเมืองกับเศรษฐกิจจะเชื่อมโยงกัน แต่วัตถุประสงค์ทางการเมืองที่มีน้ำหนักมากเกินไปจะทำให้แนวทางการกระตุ้นเศรษฐกิจบิดเบี้ยวไปจากหน้าที่ที่พึงเป็น มาตรการที่ดีกว่าอาจถูกละเลยในขณะที่มาตรการที่สร้างผลเสียระยะยาวหรือไม่ตรงจุดได้รับการบังคับใช้

นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยพื้นฐานแล้วเป็นนโยบายที่ให้ผลในระยะสั้นและต้องดำเนินการด้วยความรอบคอบเพื่อมิให้เป็นปัญหาในอนาคต แต่ทว่าหลายครั้งทีเดียวที่ประเทศต่างๆ ประสบความล้มเหลวในการบริหารเศรษฐกิจ เนื่องจากผู้นำทางการเมืองตัดสินใจบนพื้นฐานของคะแนนนิยม โดยหันหลังให้กับวินัยในทางเศรษฐกิจ
คลื่นกระทบฝั่ง
Verified User
โพสต์: 96
ผู้ติดตาม: 0

==กลวิธีกระตุ้นเศรษฐกิจ : ประชานิยมที่หลงทาง==

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ประเทศส่วนใหญ่ในละตินอเมริกาอ่อนแอลงอย่างเห็นได้ชัด ภายหลังจากที่รัฐบาลใช้นโยบายเศรษฐกิจเพื่อสร้างคะแนนนิยมทางการเมืองแบบง่ายๆ แม้ว่าจะมีเหตุผลทางสังคมที่ดีเช่น การกระจายรายได้ การสังคมสงเคราะห์ และการสร้างกระแสพึ่งตนเอง ตลอดหลายทศวรรษละตินอเมริกาจึงมีบทเรียนทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองมากมายจากนโยบายประชานิยม ที่ในท้ายที่สุดไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่กล่าวอ้างไว้ หากแต่กลับนำไปสู่ความยากจนที่มากขึ้น ประชาชนพึ่งตนเองไม่ได้ สังคมแตกแยก และการเมืองไร้เสถียรภาพ นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจกลับนำไปสู่ภาวะชะลอตัวอย่างรุนแรงภายหลังภาวะเติบโตเพียง 3-5 ปี

เมื่อภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและปัญหาการว่างงานเริ่มเกิดขึ้นอย่างรุนแรงในช่วงปี 1979-80 สหรัฐอเมริกาก็เคยประสบกับปัญหา อันเนื่องมาจากการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างไม่เหมาะสม ซึ่งประธานาธิบดีเรแกน ได้ตัดสินใจลดภาษีครั้งใหญ่ระหว่างปี ค.ศ.1981-83 ด้านหนึ่งนั้นเป็นการหวังผลกระตุ้นการผลิตและการลงทุนให้เป็นที่ประจักษ์ และในอีกด้านหนึ่งก็เป็นการลดอิทธิพล ของสภาคองเกรสที่มีต่องบประมาณรายจ่าย แนวทางของเรแกนได้รับการเตือนจากนักเศรษฐกิจที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก เนื่องจากสหรัฐอเมริกาในขณะนั้น กำลังเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันโลกสูง ดังนั้น การดำเนินนโยบายดอกเบี้ยสูงของธนาคารกลาง เพื่อลดภาวะเงินเฟ้อ จึงทำให้นโยบายการลดภาษีนำไปสู่ปัญหาการขาดดุลงบประมาณและการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างรุนแรง ปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวที่เคยคาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงสั้นๆ กลับต้องยาวนานออกไป
คลื่นกระทบฝั่ง
Verified User
โพสต์: 96
ผู้ติดตาม: 0

==กลวิธีกระตุ้นเศรษฐกิจ : ประชานิยมที่หลงทาง==

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ที่จริงแล้วประเทศไทยและหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเคยประสบภาวะชะลอตัวคล้ายคลึงกับสหรัฐอเมริกา และละตินอเมริกา ในช่วงวิกฤตการณ์น้ำมันโลกครั้งที่สอง แต่รัฐบาลในสมัยนั้นตัดสินใจถูกต้องที่บริหารเศรษฐกิจภายใต้ภาวะความเสี่ยงต่างๆ ด้วยความรอบคอบรัดกุม และมีนโยบายที่ยึดมั่นในวินัยทางเศรษฐกิจ ดังนั้น เมื่อราคาน้ำมันโลกอ่อนตัวลงอย่างรวดเร็ว ประเทศไทยและเอเชียตะวันออกก็สามารถฟื้นตัวได้ด้วยพื้นฐานที่เข้มแข็ง ในขณะเดียวกันนั้น เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา กลับไม่สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ ส่วนละตินอเมริกาก็ประสบกับวิกฤตเหตุการณ์หนี้สินอย่างหนัก และต้องทนทุกข์กับนโยบายที่ผิดพลาดจนกระทั่งทุกวันนี้
คลื่นกระทบฝั่ง
Verified User
โพสต์: 96
ผู้ติดตาม: 0

==กลวิธีกระตุ้นเศรษฐกิจ : ประชานิยมที่หลงทาง==

โพสต์ที่ 5

โพสต์

อย่างไรก็ตาม กลวิธีกระตุ้นเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันดูเหมือนจะกำลังดำเนินรอยตามละตินอเมริกา ทั้งในแง่ของแนวทาง ทางการเมืองที่มุ่งสร้างภาพลักษณ์ให้ผู้นำประเทศเป็นศูนย์กลางของการบริหารจัดการและการสงเคราะห์ประชาชน ทั้งในแง่ของการมุ่งสร้างการสนับสนุนทางการเมืองจากประชาชนโดยตรงไม่ผ่านกระบวนการอื่นๆ ทั้งในแง่ของการดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจทับซ้อนกับการสงเคราะห์ผู้ยากไร้และการกระจายรายได้ ทั้งในแง่ของการละเลยหลักวินัยทางการเงิน-การคลัง ในภาวะที่ประเทศต้องเผชิญกับปัญหาหนี้สินและประชาชนก็ยังยากจนอยู่มาก
คลื่นกระทบฝั่ง
Verified User
โพสต์: 96
ผู้ติดตาม: 0

==กลวิธีกระตุ้นเศรษฐกิจ : ประชานิยมที่หลงทาง==

โพสต์ที่ 6

โพสต์

การกระตุ้นเศรษฐกิจโดยผ่านการก่อหนี้ของภาครัฐเริ่มประสบกับขีดจำกัด เพราะกำลังนำไปสู่ความไม่เชื่อมั่นของนักลงทุน ที่จะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต รัฐบาลกำลังจ้องจัดเก็บภาษีประเภทใหม่ๆ มากขึ้นเพื่อชดเชยรายจ่ายที่มุ่งตอบสนอง "ยุทธศาสตร์ใหม่ของรัฐบาล" รวมทั้งคำมั่นสัญญาในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง แต่ภายใต้การเก็บภาษีที่เพิ่มขึ้นนี้ ประเทศไทยก็จะกลายเป็นประเทศที่มีภาษีสูงมากอันเป็นการบั่นทอนศักยภาพในการแข่งขันบนเวทีโลก
คลื่นกระทบฝั่ง
Verified User
โพสต์: 96
ผู้ติดตาม: 0

==กลวิธีกระตุ้นเศรษฐกิจ : ประชานิยมที่หลงทาง==

โพสต์ที่ 7

โพสต์

แนวทางเศรษฐกิจที่ส่งเสริมการก่อหนี้ของภาคครัวเรือนก็กำลังทวีบทบาทอย่างน่าเป็นห่วง และแม้ว่าแนวทางนี้จะให้ผลที่ง่ายและรวดเร็ว เนื่องจากทางการไม่จำเป็นต้องพัฒนาโครงการรายจ่ายขึ้นมารองรับ แต่จะเป็นกลวิธีที่ส่งผลต่อรายจ่ายรวมในช่วงเวลาที่จำกัด ผลด้านลบของการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยอาศัยการก่อหนี้ภาคครัวเรือนนั้นมีหลายประการ
คลื่นกระทบฝั่ง
Verified User
โพสต์: 96
ผู้ติดตาม: 0

==กลวิธีกระตุ้นเศรษฐกิจ : ประชานิยมที่หลงทาง==

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ประการแรก ในขณะที่ความยากจนและความด้อยโอกาสของผู้มีรายได้น้อยหมายถึงข้อจำกัดด้านสภาพคล่องหรือสินเชื่อ แต่การก่อหนี้เพิ่มขึ้นโดยง่ายจะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี เว้นเสียแต่ว่าประชาชนจะนำสินเชื่อดังกล่าวไปใช้ในโครงการลงทุนที่มีอนาคตเท่านั้น
คลื่นกระทบฝั่ง
Verified User
โพสต์: 96
ผู้ติดตาม: 0

==กลวิธีกระตุ้นเศรษฐกิจ : ประชานิยมที่หลงทาง==

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ประการที่สอง เรามักเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าปัญหาหนี้เสียเป็นปัญหาของนักธุรกิจมิใช่ปัญหาของเกษตรกรและประชาชนทั่วไป จากข้อมูลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติชี้ให้เห็นว่าภาคครัวเรือนของไทยนั้นมีหนี้สินจนน่าเป็นห่วง และก็กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วในอัตราเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 12.6 ต่อปี ในปี พ.ศ.2545 หนี้สินต่อรายได้ของครัวเรือนอยู่ในอัตรา 6.2 เท่า โดยการก่อหนี้เพิ่มขึ้นในแต่ละปีก็อยู่ในเกณฑ์ที่สูงมากคือสูงถึงร้อยละ 65.7 ของรายได้ในแต่ละปี หรือร้อยละ 93.7 ของรายได้สำหรับครัวเรือนในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง
คลื่นกระทบฝั่ง
Verified User
โพสต์: 96
ผู้ติดตาม: 0

==กลวิธีกระตุ้นเศรษฐกิจ : ประชานิยมที่หลงทาง==

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ประการที่สาม แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันจะอยู่ในระดับที่ต่ำมาก แต่ความเสี่ยงทางด้านอัตราดอกเบี้ยและรายได้ในอนาคตอาจทำให้ประชาชนไม่สามารถจ่ายหนี้บางส่วน และกลายเป็นความล้มเหลวในระดับครัวเรือน ความจริงแล้วภาคครัวเรือนมีความจำเป็นต้องประหยัดค่าใช้จ่ายและเพิ่มพูนการออม เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ซึ่งรายจ่ายชำระหนี้จะมีสัดส่วนที่สูงขึ้น ในขณะที่การออมโดยรวมของประเทศก็อาจไม่เพียงพอต่อการลงทุน จนกระทั่งนำไปสู่การพึ่งพาเงินกู้จากต่างประเทศเหมือนเช่นในอดีต
คลื่นกระทบฝั่ง
Verified User
โพสต์: 96
ผู้ติดตาม: 0

==กลวิธีกระตุ้นเศรษฐกิจ : ประชานิยมที่หลงทาง==

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ประการที่สี่ การก่อหนี้เพิ่มของภาคครัวเรือนเกิดขึ้นโดยผูกกับการให้เงินอุดหนุนและสถาบันการเงินของรัฐ ยกตัวอย่างเช่นโครงการบ้านเอื้ออาทร ซึ่งผูกพันงบประมาณจากรัฐสูงถึง 80,000 ล้านบาท ภาระทางการเงินส่วนนี้ในท้ายที่สุด ย่อมต้องมีที่มาจากประชาชนผู้เสียภาษีอากร อย่างไรก็ตาม ถ้าในอนาคตเศรษฐกิจไทย ไม่สามารถแข่งขันกับต่างประเทศ และรัฐไม่สามารถจัดเก็บภาษีได้เพียงพอ ภาคครัวเรือนและสถาบันการเงินของรัฐก็จะประสบปัญหาที่รุนแรงตามไปด้วย

การกระตุ้นการก่อหนี้ของภาคครัวเรือนจึงกลายเป็นนโยบายเศรษฐกิจที่ขาดความเบ็ดเสร็จ เนื่องจากเดินสวนทางกับการปฏิรูปในทางโครงสร้าง

ภายใต้สถานการณ์ที่เศรษฐกิจไทยมีการฟื้นตัวเป็นลำดับ รัฐบาลปัจจุบันจะประสบความสำเร็จทางการเมืองได้ไม่นานนัก ถ้าดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างพอเหมาะ ถูกวิธี และไม่มุ่งสร้างฐานการเมืองที่กว้างเกินไป




ทั้งนี้ เพราะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่มีความสม่ำเสมอและยั่งยืนต่างหากที่จะสร้างคะแนนนิยมได้อย่างแท้จริง
คลื่นกระทบฝั่ง
Verified User
โพสต์: 96
ผู้ติดตาม: 0

==กลวิธีกระตุ้นเศรษฐกิจ : ประชานิยมที่หลงทาง==

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ขอขอบคุณ รศ.ดร.ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์ ด้วยครับ
Jaturont
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 273
ผู้ติดตาม: 0

==กลวิธีกระตุ้นเศรษฐกิจ : ประชานิยมที่หลงทาง==

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ผมว่าที่หนี้สินภาคครัวเรือนเพิ่ม เพราะหนี้นอกระบบเข้ามาอยู่ในระบบมากขึ้นรึเปล่าครับ ถ้าเป็นแบบที่ผมคิดจิงก็ดีนะครับ
My way, or the highway
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 1

==กลวิธีกระตุ้นเศรษฐกิจ : ประชานิยมที่หลงทาง==

โพสต์ที่ 14

โพสต์

คลื่นกระทบฝั่ง เขียน: ทั้งในแง่ของการละเลยหลักวินัยทางการเงิน-การคลัง ในภาวะที่ประเทศต้องเผชิญกับปัญหาหนี้สินและประชาชนก็ยังยากจนอยู่มาก
ละเลยหลักวินัยทางการเงิน-การคลังตรงจุดไหนครับ

แล้วที่บอกว่าประเทศยังคงมีปัญหาหนี้สินอยู่นะ ที่จริงแล้วเราเป็นประเทศที่มีเงินมากกว่าหนี้แล้วไม่ใช่หรือครับ
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 1

==กลวิธีกระตุ้นเศรษฐกิจ : ประชานิยมที่หลงทาง==

โพสต์ที่ 15

โพสต์

คลื่นกระทบฝั่ง เขียน:จากข้อมูลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติชี้ให้เห็นว่าภาคครัวเรือนของไทยนั้นมีหนี้สินจนน่าเป็นห่วง และก็กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วในอัตราเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 12.6 ต่อปี ในปี พ.ศ.2545 หนี้สินต่อรายได้ของครัวเรือนอยู่ในอัตรา 6.2 เท่า โดยการก่อหนี้เพิ่มขึ้นในแต่ละปีก็อยู่ในเกณฑ์ที่สูงมากคือสูงถึงร้อยละ 65.7 ของรายได้ในแต่ละปี หรือร้อยละ 93.7 ของรายได้สำหรับครัวเรือนในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง
หนี้ที่เพิ่มเป็นการรวมหนี้นอกระบบที่เข้ามาสู่ในระบบด้วยหรือไม่ ในอดีตอาจจะสูงกว่านี้ก็ได้นะครับ หนี้นอกระบบดอกเบี้ยยิ่งสูงกว่าในระบบมากนัก

แล้วที่บอกว่าหนี้สินต่อรายได้ของครัวเรือนอยู่ในอัตรา 6.2 เท่า ผมว่าไม่สูงนะครับ คนมีรายได้ปีละล้านบาท มีหนี้ 6.2 ล้านบาท แต่ผมก้ไม่เคยเห็นใครเปรียบเทียบหนี้กับรายได้นะ มีแต่หนี้กับสินทรัพย์รวม หรือหนี้กับส่วนของเจ้าของ ถ้าจะทำเปรียบเทียบกับรายได้ควรจะทำจำนวนเงินผ่อนต่อปีมากกว่านะ
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 1

==กลวิธีกระตุ้นเศรษฐกิจ : ประชานิยมที่หลงทาง==

โพสต์ที่ 16

โพสต์

คลื่นกระทบฝั่ง เขียน:ประการที่สาม แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันจะอยู่ในระดับที่ต่ำมาก แต่ความเสี่ยงทางด้านอัตราดอกเบี้ยและรายได้ในอนาคตอาจทำให้ประชาชนไม่สามารถจ่ายหนี้บางส่วน และกลายเป็นความล้มเหลวในระดับครัวเรือน ความจริงแล้วภาคครัวเรือนมีความจำเป็นต้องประหยัดค่าใช้จ่ายและเพิ่มพูนการออม เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ซึ่งรายจ่ายชำระหนี้จะมีสัดส่วนที่สูงขึ้น ในขณะที่การออมโดยรวมของประเทศก็อาจไม่เพียงพอต่อการลงทุน จนกระทั่งนำไปสู่การพึ่งพาเงินกู้จากต่างประเทศเหมือนเช่นในอดีต
จริงๆแล้ว ปัจจุบันสภาพคล่องในประเทศยังคงมีอยู่สูงมากไม่ใช่หรือครับ การกลัวเรื่องการพึงพาเงินกู้จากต่างประเทศเพราะการออมไม่พอต่อการลงทุนก็เป็นเรื่องดีครับ แต่ผมว่าคงกลัวกันมากเกินไป
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 1

==กลวิธีกระตุ้นเศรษฐกิจ : ประชานิยมที่หลงทาง==

โพสต์ที่ 17

โพสต์

คลื่นกระทบฝั่ง เขียน:การกระตุ้นเศรษฐกิจโดยผ่านการก่อหนี้ของภาครัฐเริ่มประสบกับขีดจำกัด เพราะกำลังนำไปสู่ความไม่เชื่อมั่นของนักลงทุน ที่จะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต รัฐบาลกำลังจ้องจัดเก็บภาษีประเภทใหม่ๆ มากขึ้นเพื่อชดเชยรายจ่ายที่มุ่งตอบสนอง "ยุทธศาสตร์ใหม่ของรัฐบาล" รวมทั้งคำมั่นสัญญาในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง แต่ภายใต้การเก็บภาษีที่เพิ่มขึ้นนี้ ประเทศไทยก็จะกลายเป็นประเทศที่มีภาษีสูงมากอันเป็นการบั่นทอนศักยภาพในการแข่งขันบนเวทีโลก
เอเท่าที่เห็น รัฐบาลก็มีแต่การผ่อนผันการเก็บภาษีกับบุคคลที่มีรายได้น้อยอยู่ไม่ใช่หรือครับ มีภาษีประเภทใหม่ๆอะไรบ้างที่รัฐบาลจ้องเก็บมากขึ้นครับ ผมเห็นแต่ว่ารัฐบาลจัดเก็บภาษีได้มากกว่าเป้า จากการเติบโตของเศรษฐกิจและเก็บจากพวกที่ชอบหลบภาษีในอดีตนะครับ พวกที่ทำธุรกิจมีกำไรแต่ชอบแต่งงบขาดทุนเพื่อหลบภาษี ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในสังคมไทย
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 1

==กลวิธีกระตุ้นเศรษฐกิจ : ประชานิยมที่หลงทาง==

โพสต์ที่ 18

โพสต์

คลื่นกระทบฝั่ง เขียน: ทั้งนี้ เพราะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่มีความสม่ำเสมอและยั่งยืนต่างหากที่จะสร้างคะแนนนิยมได้อย่างแท้จริง
การที่จะให้ไทยมีเศรษฐกิจที่มั่นคงก็คือการพึงพิงเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจภายในในอัตราส่วนที่เท่าๆกัน ไม่เหมือนในอดีตที่เราพึงพาการส่งออกมากถึง 70%-80%
ภาพประจำตัวสมาชิก
saun
Verified User
โพสต์: 27
ผู้ติดตาม: 0

==กลวิธีกระตุ้นเศรษฐกิจ : ประชานิยมที่หลงทาง==

โพสต์ที่ 19

โพสต์

เจ้าของกระทู้เข้าไปเกือบทุกบอร์ด ดูเหมือนว่าจะมีความพยายามเคลือบแฝง

ดูเหมือนเดี๋ยวนี้มีการพยายามโจมตีดิสเครดิตรัฐบาลชุดก่อนกันทางเว็บบอร์ดมากขึ้น หลังจากที่ปรึกษาพรรคการเมืองเก่าแก่พรรคหนึ่งถูกถล่มเละ หลังจากโยงเหตุการสึนามิมาโจมตีรัฐบาล

8) 8) 8)
" ซ็อน " ครับผม!..
ภาพประจำตัวสมาชิก
Golden Stock
Verified User
โพสต์: 615
ผู้ติดตาม: 0

==กลวิธีกระตุ้นเศรษฐกิจ : ประชานิยมที่หลงทาง==

โพสต์ที่ 20

โพสต์

คุณ chatchai ตอบได้เยี่ยมครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
harry
Verified User
โพสต์: 4200
ผู้ติดตาม: 0

==กลวิธีกระตุ้นเศรษฐกิจ : ประชานิยมที่หลงทาง==

โพสต์ที่ 21

โพสต์

เห็นด้วยครับ เป็นใครกันแน่นะ
Expecto Patronum!!!!!!
Viewtiful Investor
Verified User
โพสต์: 1477
ผู้ติดตาม: 0

==กลวิธีกระตุ้นเศรษฐกิจ : ประชานิยมที่หลงทาง==

โพสต์ที่ 22

โพสต์

นั่นดิ เพิ่ง join มาไม่กีวันเอง Post ไป 82 หนนี่มันแปลกๆนา web นี้คงหาหมูยากหน่อยนะครับ
I do not sleep. I dream.
genie
Verified User
โพสต์: 1474
ผู้ติดตาม: 0

==กลวิธีกระตุ้นเศรษฐกิจ : ประชานิยมที่หลงทาง==

โพสต์ที่ 23

โพสต์

จริงๆแล้วถ้าเราอ่านยังไม่มีอคติผมว่าก็สนุกดีนะ แต่ผมยังเชื่อในนโยบายการคลังมากกว่านโยบายการเงินในภาวะปัจจุบัน แต่ที่ผมกังวลในรัฐฯชุดนี้ก็คือมัยไม่มีเบรค คือง่ายๆตัวถ่วงดุลไม่ค่อยมีอำนาจเท่าที่ควร ทั้งBOT สว โดนแทรกแซงหมด แถวฝ่ายค้ายก็ไม่มีpowerอีกตะห่าง ตรวนี้แหละครับที่รู้สึกเป็นกังวล
ล็อคหัวข้อ