ถามชาวเรือครับ TTA และ PSL
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
ถามชาวเรือครับ TTA และ PSL
โพสต์ที่ 1
ได้อ่านกระทู้ในร้อยคนร้อยหุ้น เกี่ยวกับบริษัทเรือเทกอง
ก็เลยมีข้อสงสัย อยากจะขอความรู้จากชาวเรือหน่อยครับ...
1. TTA PSL แข่งขันกันเองหรือเปล่าครับ ในเมื่อเป็นเรือเทกองเหมือนกัน ขนาดเรือก็เท่าๆกัน อย่างนี้แข่งขันกันหาลูกค้า แข่งขันกันซื้อเรือมือสองหรือเปล่า
2.ทำไมตลาดให้ PSL มี premium สูงกว่า TTA ครับ ดูข้อมูลคร่าวๆ PSL มีพีอี และมูลค่าทางบัญชี สูงกว่า ในขณะที่จ่ายปันผลต่ำกว่า TTA มาก
3.ในเมื่อค่าระวางสูงขนาดนี้ และมีแนวโน้มที่เรือจะลดลงอีก ทำไมมีคำสั่งต่อเรือใหม่น้อยครับ จ้างอู่ต่อเรือแพงๆ หน่อยก็น่าจะคุ้มนี่ครับ
4.ถ้าฟองสบู่ประเทศจีนแตก ค่าระวางเรือจะเป็นอย่างไรครับ เพราะที่ค่าระวางสูงขนาดนี้ส่วนใหญ่เกิดจากอุปสงค์ลูกโซ่จากจีนนี่ครับ ค่าระวางจะกลับไปต่ำเหมือนเดิมหรือเปล่า
5.เรือมีอายุการใช้งานจำกัด หากมีการซื้อเรือใหม่ ในภาวะที่ค่าระวางสูง จะทำให้กำไรขั้นต้นลดลงหรือเปล่า
6.ทั้งสองบริษัทมีเรืออายุเฉลี่ยกี่ปีครับ หลังจากนั้นต้องซื้อเรือใหม่ราคาแพงหรือเปล่า
ไม่ได้บอกว่าบริษัทเรือไม่ดีนะครับ แต่อยากขอความรู้คนที่เป็นเจ้าของเรือหน่อยครับ...
ก็เลยมีข้อสงสัย อยากจะขอความรู้จากชาวเรือหน่อยครับ...
1. TTA PSL แข่งขันกันเองหรือเปล่าครับ ในเมื่อเป็นเรือเทกองเหมือนกัน ขนาดเรือก็เท่าๆกัน อย่างนี้แข่งขันกันหาลูกค้า แข่งขันกันซื้อเรือมือสองหรือเปล่า
2.ทำไมตลาดให้ PSL มี premium สูงกว่า TTA ครับ ดูข้อมูลคร่าวๆ PSL มีพีอี และมูลค่าทางบัญชี สูงกว่า ในขณะที่จ่ายปันผลต่ำกว่า TTA มาก
3.ในเมื่อค่าระวางสูงขนาดนี้ และมีแนวโน้มที่เรือจะลดลงอีก ทำไมมีคำสั่งต่อเรือใหม่น้อยครับ จ้างอู่ต่อเรือแพงๆ หน่อยก็น่าจะคุ้มนี่ครับ
4.ถ้าฟองสบู่ประเทศจีนแตก ค่าระวางเรือจะเป็นอย่างไรครับ เพราะที่ค่าระวางสูงขนาดนี้ส่วนใหญ่เกิดจากอุปสงค์ลูกโซ่จากจีนนี่ครับ ค่าระวางจะกลับไปต่ำเหมือนเดิมหรือเปล่า
5.เรือมีอายุการใช้งานจำกัด หากมีการซื้อเรือใหม่ ในภาวะที่ค่าระวางสูง จะทำให้กำไรขั้นต้นลดลงหรือเปล่า
6.ทั้งสองบริษัทมีเรืออายุเฉลี่ยกี่ปีครับ หลังจากนั้นต้องซื้อเรือใหม่ราคาแพงหรือเปล่า
ไม่ได้บอกว่าบริษัทเรือไม่ดีนะครับ แต่อยากขอความรู้คนที่เป็นเจ้าของเรือหน่อยครับ...
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3645
- ผู้ติดตาม: 1
ถามชาวเรือครับ TTA และ PSL
โพสต์ที่ 4
ผมตามแต่ psl นะครับ ...
1. อยู่ใน segment เดียวกันยังไงก็ต้องแข่งกันครับ ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ส่วนเรื่องแย่งกันซื้อเรือมือสองนั้นของ tta ผมไม่ทราบ แต่ psl จะเน้นซื้อทีละหลายๆลำมากกว่าค่อยๆซื้อทีละลำครับ แต่ยังไงปัญหาแย่งกันซื้อเรือคงไม่เกิดขึ้นในหนึ่งถึงสองปีต่อจากนี้เพราะอย่างน้อย psl ก็หยุดซื้อแล้วครับ
2. ผมคิดว่าผู้บริหารน่าจะมีส่วนสำคัญครับ ส่วนเรื่องคำนวณมูลค่าหุ้นจากปันผลผมว่าใช้กับธุรกิจนี้ไม่น่าจะได้เพราะวัฏจักรขึ้นลงค่อนข้างผันผวนและนโยบายการบริหารเงินต่างกันครับ
3. อู่ต่อเรือมีงานล้นมือและการรับต่อเรือขนาดใหญ่กว่าจะให้กำไรแก่อู่ต่อเรือมากกว่าครับ และตอนนี้ราคาเหล็กอยู่ในระดับสูงก็มีแนวโน้มที่อู่จะกำไรน้อยลงหรืออาจขาดทุนเนื่องจากราคานั้นตกลงไว้แล้วแต่ต้นทุนเหล็กสูงขึ้นมาก ทำให้ต่อจากนี้อู่เรือคงอยากต่อแต่เรือที่ให้ margin สูงๆมากขึ้นครับ
4. ถ้าฟองสบู่ที่จีนแตก ธุรกิจส่วนใหญ่ทั่วโลกคงไม่มีใครเลี่ยงผลกระทบนี้ได้ครับ เช่นเดียวกันกับเรือเทกองคงจะได้รับผลกระทบอย่างมาก แต่เรื่องฟองสบู่จีนแตกนั้นเป็นความเสี่ยงที่ทุกคนในโลกแห่งการลงทุนน่าจะตระหนักอยู่แล้ว
5. แน่นอนครับ ด้วยเหตุนี้ทั้งสองบริษัทจึงพยายามไม่ซื้อเรือในช่วงที่ค่าระวางระดับสูงๆครับ
6.ไม่แน่ใจตัวเลขครับน่าจะหาจาก 56-1 ของทั้งสองบริษัทได้ของ psl รู้สึกจะอยู่ประมาณ 17 ปีมั๊งครับ หาอ่านได้ในร้อยคนร้อยหุ้นครับ (อายุเรืออย่างน้อย 27 ปี) แต่ถ้าคิดแบบ weighted average จะลดลงอีกครับ ส่วนเรื่องการซื้อเรือเพื่อทดแทนเรือเก่าที่ใกล้ปลดนั้นอยู่ในแผนการของบริษัทเรือทั่วๆไปอยู่แล้วครับ ของ psl นี่เพิ่งจะเสร็จสิ้นกระบวนการขยายกองเรือครั้งใหญ่คงอีกหลายปีกว่าจะเริ่มซื้อทีละมากๆอีกครั้ง และเรือที่จะปลดช่วงนี้คงมีน้อยมากครับ ...
จากปัจจัยเสี่ยงต่างๆทำให้ psl เน้นการทำสัญญาระยะยาว 1 ปีขึ้นไปเพื่อป้องกันความผันผวนของรายได้ ซึ่งอย่างน้อยก็น่าจะทำให้กำไรไม่ผันผวนมากเหมือนในอดีตอีกต่อไปครับ
ลองตอบดูเท่าที่พอทราบครับ
1. อยู่ใน segment เดียวกันยังไงก็ต้องแข่งกันครับ ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ส่วนเรื่องแย่งกันซื้อเรือมือสองนั้นของ tta ผมไม่ทราบ แต่ psl จะเน้นซื้อทีละหลายๆลำมากกว่าค่อยๆซื้อทีละลำครับ แต่ยังไงปัญหาแย่งกันซื้อเรือคงไม่เกิดขึ้นในหนึ่งถึงสองปีต่อจากนี้เพราะอย่างน้อย psl ก็หยุดซื้อแล้วครับ
2. ผมคิดว่าผู้บริหารน่าจะมีส่วนสำคัญครับ ส่วนเรื่องคำนวณมูลค่าหุ้นจากปันผลผมว่าใช้กับธุรกิจนี้ไม่น่าจะได้เพราะวัฏจักรขึ้นลงค่อนข้างผันผวนและนโยบายการบริหารเงินต่างกันครับ
3. อู่ต่อเรือมีงานล้นมือและการรับต่อเรือขนาดใหญ่กว่าจะให้กำไรแก่อู่ต่อเรือมากกว่าครับ และตอนนี้ราคาเหล็กอยู่ในระดับสูงก็มีแนวโน้มที่อู่จะกำไรน้อยลงหรืออาจขาดทุนเนื่องจากราคานั้นตกลงไว้แล้วแต่ต้นทุนเหล็กสูงขึ้นมาก ทำให้ต่อจากนี้อู่เรือคงอยากต่อแต่เรือที่ให้ margin สูงๆมากขึ้นครับ
4. ถ้าฟองสบู่ที่จีนแตก ธุรกิจส่วนใหญ่ทั่วโลกคงไม่มีใครเลี่ยงผลกระทบนี้ได้ครับ เช่นเดียวกันกับเรือเทกองคงจะได้รับผลกระทบอย่างมาก แต่เรื่องฟองสบู่จีนแตกนั้นเป็นความเสี่ยงที่ทุกคนในโลกแห่งการลงทุนน่าจะตระหนักอยู่แล้ว
5. แน่นอนครับ ด้วยเหตุนี้ทั้งสองบริษัทจึงพยายามไม่ซื้อเรือในช่วงที่ค่าระวางระดับสูงๆครับ
6.ไม่แน่ใจตัวเลขครับน่าจะหาจาก 56-1 ของทั้งสองบริษัทได้ของ psl รู้สึกจะอยู่ประมาณ 17 ปีมั๊งครับ หาอ่านได้ในร้อยคนร้อยหุ้นครับ (อายุเรืออย่างน้อย 27 ปี) แต่ถ้าคิดแบบ weighted average จะลดลงอีกครับ ส่วนเรื่องการซื้อเรือเพื่อทดแทนเรือเก่าที่ใกล้ปลดนั้นอยู่ในแผนการของบริษัทเรือทั่วๆไปอยู่แล้วครับ ของ psl นี่เพิ่งจะเสร็จสิ้นกระบวนการขยายกองเรือครั้งใหญ่คงอีกหลายปีกว่าจะเริ่มซื้อทีละมากๆอีกครั้ง และเรือที่จะปลดช่วงนี้คงมีน้อยมากครับ ...
จากปัจจัยเสี่ยงต่างๆทำให้ psl เน้นการทำสัญญาระยะยาว 1 ปีขึ้นไปเพื่อป้องกันความผันผวนของรายได้ ซึ่งอย่างน้อยก็น่าจะทำให้กำไรไม่ผันผวนมากเหมือนในอดีตอีกต่อไปครับ
ลองตอบดูเท่าที่พอทราบครับ
แก้ไขล่าสุดโดย Blueblood เมื่อ พฤหัสฯ. ม.ค. 06, 2005 3:16 pm, แก้ไขไปแล้ว 2 ครั้ง.
It's earnings that count
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3645
- ผู้ติดตาม: 1
ถามชาวเรือครับ TTA และ PSL
โพสต์ที่ 5
ข้อเสียเดียวที่ทำให้หุ้น psl และ tta ผันผวนอย่างมากในช่วงหลังนี้เนื่องจาก นักลงทุนเล่นหุ้นตามกราฟดัชนีค่าระวางครับ ... ซึ่งถ้าพิจารณาดีๆแล้วการทำสัญญาระยะยาวของทั้งสองบริษัทนั้นก็ต้องยอมลดราคาลงมาจาก spot rate มากอยู่แล้วดังนั้นการลดลงของค่าระวางใน spot rate เพียง 20-30 % นั้นไม่น่าจะกระทบอะไรมาก แต่ถ้ามากกว่านั้นเรือที่อายุมาก(อายุมากกว่า 27 ปี ที่พยายามยืดอายุการใช้งานต่อไปเนื่องจากรายได้สูง ซึ่งจริงๆสภาพเรือยําแย่มากแล้ว ใน segment นี้รู้สึกจะมีเรืออายุมากกว่า 27 ปีอยู่ 30-40 % ครับ)จะเริ่มมีรายได้ไม่คุ้มและต้องปลดระวางทำให้ supply จะเริ่มลดลงมากอีกครั้ง ... และวัฏจักรขาขึ้นก็จะเริ่มต้นใหม่ ...
It's earnings that count
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
ถามชาวเรือครับ TTA และ PSL
โพสต์ที่ 6
ขอบคุณชาวกลาสีเรือครับที่ช่วยใขสมอง :lol:
ผมคิดว่านักลงทุนส่วนใหญ่ ไม่แน่ใจในหุ้นกลุ่มนี้ครับ ก็เลยเทรดกันที่พีอีต่ำมากๆ หากดูจากค่าระวางเรือที่ขึ้นมาประมาณ 200% ในขณะที่กำไรสูงขึ้นหลายเท่าตัว ทำให้นักลงทุน รวมถึงผมด้วย ไม่แน่ใจว่าค่าระวางจะลดลงกลับมาที่จุดเดิมหรือเปล่า เพราะปกติหุ้นเหล่านี้เป็นหุ้นวัฤจักรที่ demand supply ไม่สอดคล้องกัน ทำให้เกิดการรุ่งเรืองตกต่ำสลับกันไป แต่ดูเหมือนว่าคราวนี้ วัฤจักรเรือจะยือยาวออกไปได้หลายปี ผมแค่สงสัยว่าอะไรที่ทำให้เป็นเช่นนั้น ทำไมไม่เหมือนในอดีตครับ
หากดูทางด้านอุปทาน จากอู่ต่อเรือ ผมไม่แน่ใจว่าทำไมเรือใหญ่ให้มาร์จินที่สูงกว่าเรือเล็กครับ ส่วนที่บอกว่าอู่ต่อเรือขาดทุนจากต้นทุนเหล็ก ผมมองว่าไม่ค่อยจะสมเหตุสมผล คือปกติหากอู่ทำสัญญาต่อเรือ ก็ต้องทำสัญญาจัดหาวัตถุดิบไปพร้อมๆกัน เพื่อปิดความเสี่ยง ดังนั้นการขาดทุนที่ต้องซื้อเหล็กแพง แต่ขายเรือถูก จึงไม่น่าจะเกิดขึ้นครับ...
ผมคิดว่านักลงทุนส่วนใหญ่ ไม่แน่ใจในหุ้นกลุ่มนี้ครับ ก็เลยเทรดกันที่พีอีต่ำมากๆ หากดูจากค่าระวางเรือที่ขึ้นมาประมาณ 200% ในขณะที่กำไรสูงขึ้นหลายเท่าตัว ทำให้นักลงทุน รวมถึงผมด้วย ไม่แน่ใจว่าค่าระวางจะลดลงกลับมาที่จุดเดิมหรือเปล่า เพราะปกติหุ้นเหล่านี้เป็นหุ้นวัฤจักรที่ demand supply ไม่สอดคล้องกัน ทำให้เกิดการรุ่งเรืองตกต่ำสลับกันไป แต่ดูเหมือนว่าคราวนี้ วัฤจักรเรือจะยือยาวออกไปได้หลายปี ผมแค่สงสัยว่าอะไรที่ทำให้เป็นเช่นนั้น ทำไมไม่เหมือนในอดีตครับ
หากดูทางด้านอุปทาน จากอู่ต่อเรือ ผมไม่แน่ใจว่าทำไมเรือใหญ่ให้มาร์จินที่สูงกว่าเรือเล็กครับ ส่วนที่บอกว่าอู่ต่อเรือขาดทุนจากต้นทุนเหล็ก ผมมองว่าไม่ค่อยจะสมเหตุสมผล คือปกติหากอู่ทำสัญญาต่อเรือ ก็ต้องทำสัญญาจัดหาวัตถุดิบไปพร้อมๆกัน เพื่อปิดความเสี่ยง ดังนั้นการขาดทุนที่ต้องซื้อเหล็กแพง แต่ขายเรือถูก จึงไม่น่าจะเกิดขึ้นครับ...
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3645
- ผู้ติดตาม: 1
ถามชาวเรือครับ TTA และ PSL
โพสต์ที่ 7
เรื่องอู่ต่อเรือ ผมฟังมาจากผู้บริหารอีกทีครับ แต่การป้องกันความเสี่ยงนั้นจะทำกันทุกบริษัทรึเปล่าผมไม่แน่ใจครับ ถ้าทุกคนมีการประกันความเสี่ยงไว้หมดคงไม่เกิดเหตุการณ์แบบปี 40ลูกอิสาน เขียน:ขอบคุณชาวกลาสีเรือครับที่ช่วยใขสมอง :lol:
ผมคิดว่านักลงทุนส่วนใหญ่ ไม่แน่ใจในหุ้นกลุ่มนี้ครับ ก็เลยเทรดกันที่พีอีต่ำมากๆ หากดูจากค่าระวางเรือที่ขึ้นมาประมาณ 200% ในขณะที่กำไรสูงขึ้นหลายเท่าตัว ทำให้นักลงทุน รวมถึงผมด้วย ไม่แน่ใจว่าค่าระวางจะลดลงกลับมาที่จุดเดิมหรือเปล่า เพราะปกติหุ้นเหล่านี้เป็นหุ้นวัฤจักรที่ demand supply ไม่สอดคล้องกัน ทำให้เกิดการรุ่งเรืองตกต่ำสลับกันไป แต่ดูเหมือนว่าคราวนี้ วัฤจักรเรือจะยือยาวออกไปได้หลายปี ผมแค่สงสัยว่าอะไรที่ทำให้เป็นเช่นนั้น ทำไมไม่เหมือนในอดีตครับ
หากดูทางด้านอุปทาน จากอู่ต่อเรือ ผมไม่แน่ใจว่าทำไมเรือใหญ่ให้มาร์จินที่สูงกว่าเรือเล็กครับ ส่วนที่บอกว่าอู่ต่อเรือขาดทุนจากต้นทุนเหล็ก ผมมองว่าไม่ค่อยจะสมเหตุสมผล คือปกติหากอู่ทำสัญญาต่อเรือ ก็ต้องทำสัญญาจัดหาวัตถุดิบไปพร้อมๆกัน เพื่อปิดความเสี่ยง ดังนั้นการขาดทุนที่ต้องซื้อเหล็กแพง แต่ขายเรือถูก จึงไม่น่าจะเกิดขึ้นครับ...
ส่วนเรื่อง cycle ธุรกิจเดินเรือนั้นก็คงเป็นวัฎจักรเหมือนเดิมแหล่ะครับ เพียงแต่ขาลงนั้นโอกาสจะกลับไปที่เดิมคงจะยากเนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีผู้เล่นใหม่ที่สำคัญคือจีนและอินเดียเข้ามาเป็นตัวแปรสำคัญ
ป.ล. ก็ฟังหูไว้หูครับ
It's earnings that count
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
ถามชาวเรือครับ TTA และ PSL
โพสต์ที่ 8
น่าสนใจครับ
ผมคำนวณพีอีโดยใช้กำไรไตรมาสล่าสุดคูณ 4
PSL = 4.03
TTA = 4.54
RCL = 4.25
โดยที่พิจารณาจากงบดอลลาร์สำหรับ RCL PSL ค่าเงินที่ 38.75 บาท/เหรียญ
ส่วน TTA พิจารณาจากงบเงินบาท....
ดูเหมือนว่าตลาดให้ส่วนลดจากความผันผวนของค่าระวางพอสมควรแล้วครับ
ผมคำนวณพีอีโดยใช้กำไรไตรมาสล่าสุดคูณ 4
PSL = 4.03
TTA = 4.54
RCL = 4.25
โดยที่พิจารณาจากงบดอลลาร์สำหรับ RCL PSL ค่าเงินที่ 38.75 บาท/เหรียญ
ส่วน TTA พิจารณาจากงบเงินบาท....
ดูเหมือนว่าตลาดให้ส่วนลดจากความผันผวนของค่าระวางพอสมควรแล้วครับ
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
- สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 1
ถามชาวเรือครับ TTA และ PSL
โพสต์ที่ 11
:lol: :lol: :lol: :lol:
ประเด็นคู่แข่งสำหรับเรือเทกองที่มีขนาดเล็กพอๆกับ PSL ผมไม่ค่อยห่วงนะครับ ( ดูรายละเอียดจากร้อยคนร้อยหุ้นนะครับ ) เพราะจะมีเรือที่ถึงกำหนดปลดระวางมากถึง 43.8 % ของเรือทั้งโลก ( นับจากปี 2547-2550 ) ในขณะที่เรือใหม่จะเพิ่มขึ้นมาแค่ 3.8 % เท่านั้นเอง รุ่นใหญ่ขึ้นไปหน่อยคือรุ่น handymax ก็ถึงกำหนดปลดระวางอีก 40.0 % มีเรือใหม่เข้ามาแค่ 13.4 %
ที่น่าห่วงคือเรือยักษ์ ( ซึ่งสามารถแย่งลูกค้ากันได้แต่ก็จะมีข้อจำกัดบางประการที่ทำให้แย่งกันไม่ได้ทั้งหมด ) โดยเฉพาะรุ่น super handymax กับ capesize ส่วนรุ่น panamax เพิ่มไม่เท่าไหร่
ประเด็นที่ผมห่วงจริงๆคือ ฟองสบู่จากประเทศจีนครับ แต่ก็เกินความสามารถอันน้อยๆของผมที่จะวิแคะ ก็เลยนึกถึงคำพูดของคุณ invisible hand บวก jurassic park ที่ว่า the life has the way ชีวิตย่อมมีหนทางของมัน และสำหรับว่าที่มหาอำนาจของโลกแบบจีนถ้าปล่อยให้ประเทศตัวเองเจ๊ง ผมก็พร้อมที่จะเจ๊งด้วยครับ
:lol: :lol: :lol: :lol:
ประเด็นคู่แข่งสำหรับเรือเทกองที่มีขนาดเล็กพอๆกับ PSL ผมไม่ค่อยห่วงนะครับ ( ดูรายละเอียดจากร้อยคนร้อยหุ้นนะครับ ) เพราะจะมีเรือที่ถึงกำหนดปลดระวางมากถึง 43.8 % ของเรือทั้งโลก ( นับจากปี 2547-2550 ) ในขณะที่เรือใหม่จะเพิ่มขึ้นมาแค่ 3.8 % เท่านั้นเอง รุ่นใหญ่ขึ้นไปหน่อยคือรุ่น handymax ก็ถึงกำหนดปลดระวางอีก 40.0 % มีเรือใหม่เข้ามาแค่ 13.4 %
ที่น่าห่วงคือเรือยักษ์ ( ซึ่งสามารถแย่งลูกค้ากันได้แต่ก็จะมีข้อจำกัดบางประการที่ทำให้แย่งกันไม่ได้ทั้งหมด ) โดยเฉพาะรุ่น super handymax กับ capesize ส่วนรุ่น panamax เพิ่มไม่เท่าไหร่
ประเด็นที่ผมห่วงจริงๆคือ ฟองสบู่จากประเทศจีนครับ แต่ก็เกินความสามารถอันน้อยๆของผมที่จะวิแคะ ก็เลยนึกถึงคำพูดของคุณ invisible hand บวก jurassic park ที่ว่า the life has the way ชีวิตย่อมมีหนทางของมัน และสำหรับว่าที่มหาอำนาจของโลกแบบจีนถ้าปล่อยให้ประเทศตัวเองเจ๊ง ผมก็พร้อมที่จะเจ๊งด้วยครับ
:lol: :lol: :lol: :lol:
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3645
- ผู้ติดตาม: 1
ถามชาวเรือครับ TTA และ PSL
โพสต์ที่ 12
เป็นไปได้ครับ แต่สำหรับกำไรในปี 2005 นี้ของ psl จะเอาไตรมาสสี่ที่จะออกมานี้คูณ 4 ไปเลยผมว่าก็น่าจะได้ค่าใกล้เคียงของจริงเนื่องจากปีหน้าล็อคไว้มากแล้ว แต่ผมไม่แน่ใจว่าครบหมดรึยังเพราะยังมีเรือเก่าที่ค่อยๆหมดสัญญาระยะสั้นประเภท 3-6 เดือนเตรียมต่ออีกเรื่อยๆคนเรือ VI เขียน:กำไรไตรมาสล่าสุดเป็น peak period นะครับพี่ ประมาณ x 1.3 ได้ครับ
ป.ล. ประเด็นที่น่าสนใจอีกอย่างนึงก็คือเรื่องค่าเงินครับ เพราะถึงแม้ไม่กระทบกับธุรกิจมากนัก แต่เงินที่เราใช้ซื้อหุ้นเป็นบาท ดังนั้นถ้าบางแข็งมากๆกำไรในรูปบาทคงลดลง ... ทำให้เวลาคำนวณมูลค่าหุ้นคงลดลงอีกครับ
It's earnings that count
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
ถามชาวเรือครับ TTA และ PSL
โพสต์ที่ 13
- ธุรกิจตัวแทนเรือคนเรือ VI เขียน:ผมเข้าใจว่า ธุรกิจส่วนหนึ่งของ TTA เป็น agent เรือตู้นะครับ จากที่เคยอ่านใน LM (logistics manager)
เรือตู้คงต้องระวัง supply side หน่อยครับ
โทรีเซนเป็นกลุ่มบริษัทตัวแทนเรือที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยเป็นตัวแทนเรือทุกประเภทยกเว้นเรือบรรทุกคอนเทนเนอร์ ในประเทศไทยธุรกิจตัวแทนเรือในกลุ่มบริษัทโทรีเซนจะดำเนินการโดยบริษัท ไอเอสเอส โทรีเซน เอเยนต์ซีส์ จำกัด (บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นร้อยละ 100) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายในกลุ่มไอเอสเอส ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทตัวแทนเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลก และดำเนินการโดยบริษัท กัลฟ เอเจนซี่ คัมปะนี (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัทโทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) (ถือหุ้นร้อยละ 51) และ กัลฟ เอเจนซี่ (ถือหุ้นร้อยละ 49) ซึ่งเป็นบริษัทตัวแทนเรือที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองของโลก
อันนี้ผมเอามาจากแบบ 56-1 ล่าสุดของ TTA ครับ ไม่แน่ใจว่าเข้าใจถูกต้องหรือเปล่า
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
-
- Verified User
- โพสต์: 532
- ผู้ติดตาม: 0
ถามชาวเรือครับ TTA และ PSL
โพสต์ที่ 15
I think when Baht strengthens, earning of TTA and PSL should be better as they will make profit from forex. I understand they booked their loan at exchange rate of about 39 Baht/US$. That's why they booked their exchange loss in last few quartersBlueblood เขียน: เป็นไปได้ครับ แต่สำหรับกำไรในปี 2005 นี้ของ psl จะเอาไตรมาสสี่ที่จะออกมานี้คูณ 4 ไปเลยผมว่าก็น่าจะได้ค่าใกล้เคียงของจริงเนื่องจากปีหน้าล็อคไว้มากแล้ว แต่ผมไม่แน่ใจว่าครบหมดรึยังเพราะยังมีเรือเก่าที่ค่อยๆหมดสัญญาระยะสั้นประเภท 3-6 เดือนเตรียมต่ออีกเรื่อยๆ
ป.ล. ประเด็นที่น่าสนใจอีกอย่างนึงก็คือเรื่องค่าเงินครับ เพราะถึงแม้ไม่กระทบกับธุรกิจมากนัก แต่เงินที่เราใช้ซื้อหุ้นเป็นบาท ดังนั้นถ้าบางแข็งมากๆกำไรในรูปบาทคงลดลง ... ทำให้เวลาคำนวณมูลค่าหุ้นคงลดลงอีกครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 532
- ผู้ติดตาม: 0
ถามชาวเรือครับ TTA และ PSL
โพสต์ที่ 16
One good illustration about market is Panamax. The timecharter for Panamax peaked in December 2004 at US$55,000/day. During Nov and first half December, big commodities traders have booked period charter for Panamax for 12 - 36 months at daily rate about $35 - 40,000. After spot daily rate rose to $55000/day, it had come down to $35,000/day in the first few days of 2005, however, it has firmed up to $39/40,000 today
The period charter explained that shipowners were happy to fix their earning for 12 - 36 months at rate even much lower than spot rate. The rate had given very fat profit for owners
Same explained that the commodities traders want to secure their shipping cost, fearing that rate will be higher
This message is trying to explain to all friends that though when spot rate decreased during last few weeks, TTA/PSL have already booked fat profit
for 2005.
The period charter explained that shipowners were happy to fix their earning for 12 - 36 months at rate even much lower than spot rate. The rate had given very fat profit for owners
Same explained that the commodities traders want to secure their shipping cost, fearing that rate will be higher
This message is trying to explain to all friends that though when spot rate decreased during last few weeks, TTA/PSL have already booked fat profit
for 2005.
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3645
- ผู้ติดตาม: 1
ถามชาวเรือครับ TTA และ PSL
โพสต์ที่ 17
หวัดดีครับพี่ลิ้นจี่ หายไปเลยนะครับ สถานการณ์เรือตอนนี้พี่มีความเห็นยังไงบ้างครับ JEHSI ลงมาหลายสัปดาห์แล้วนอกจากท่าเรือที่บราซิลมีเรื่องอื่นอีกป่าวครับlychee เขียน: I think when Baht strengthens, earning of TTA and PSL should be better as they will make profit from forex. I understand they booked their loan at exchange rate of about 39 Baht/US$. That's why they booked their exchange loss in last few quarters
ป.ล. ข้างบนนี้ผมมองในแง่กำไรปกติน่ะครับพี่
It's earnings that count
-
- Verified User
- โพสต์: 532
- ผู้ติดตาม: 0
ถามชาวเรือครับ TTA และ PSL
โพสต์ที่ 18
Shipbuilders' order book have been full till 2008, thus they will choose accept new order from regular reputable players only, and delivery time will take longer.
Bigger size vessels - Panamax, Capesize, very large containerships, tankers, are giving better margin to shipbuilders than handysize vessels. Larger vessel used more steel and bigger engine, but do not use much more labour cost (when considering unit cost), thus it will give better margin. Demand for building large vessels also forced shipowners to pay higher price. Larger vessels always built by bigger and more reliable shipbuilders, i.e. Japanese, German, price of which is higher than Chinese builders or some Korean builders
Bigger size vessels - Panamax, Capesize, very large containerships, tankers, are giving better margin to shipbuilders than handysize vessels. Larger vessel used more steel and bigger engine, but do not use much more labour cost (when considering unit cost), thus it will give better margin. Demand for building large vessels also forced shipowners to pay higher price. Larger vessels always built by bigger and more reliable shipbuilders, i.e. Japanese, German, price of which is higher than Chinese builders or some Korean builders
-
- Verified User
- โพสต์: 532
- ผู้ติดตาม: 0
ถามชาวเรือครับ TTA และ PSL
โพสต์ที่ 19
Shipping indice came down since before Christmas due to the fact that they had been not much activity in the market as most of the people went out of market. Now they are back on their desks, actual spot rate has consolidated and rebound as mentioned earlier.
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
ถามชาวเรือครับ TTA และ PSL
โพสต์ที่ 20
ขอบคุณครับท่านผู้รู้ครับ
ชัดเจนขึ้นหลายประเด็นเลยครับ ได้พี่ลิ้นจี่ช่วยใขข้อสงสัย
ผมสรุปเอาเองว่าที่ค่าระวางเรือเทกอง เพิ่มขึ้นมากและมีทีท่าว่าจะไม่ลดลงง่ายเพราะว่า...
-ด้านอุปทานเรือมีน้อยเนื่องจากผลของการต่อเรือใหม่ที่ลดลงตลอดทศวรรตที่ผ่านมา แต่ไม่สามารถเพิ่มได้เต็มที่เพราะข้อจำกัดของอู่ต่อเรือ บริษัทผลิตเครื่องยนต์เรือ
-ด้านอุปสงค์เรือ หลังจากความต้องการเรือเทกอง ทรงตัวหรือลดลงตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ก็เริ่มมีจุดพลิกผัน จากการขยายตัวของเศรษกิจจีนและอินเดีย ทำให้ความต้องการเรือสูงเพิ่มขึ้นมาก
ความไม่สอดคล้องของอุปสงค์-อุปทาน ทำให้อนาคตของเรือเทกองยังดูสดใสครับ..
ชัดเจนขึ้นหลายประเด็นเลยครับ ได้พี่ลิ้นจี่ช่วยใขข้อสงสัย
ผมสรุปเอาเองว่าที่ค่าระวางเรือเทกอง เพิ่มขึ้นมากและมีทีท่าว่าจะไม่ลดลงง่ายเพราะว่า...
-ด้านอุปทานเรือมีน้อยเนื่องจากผลของการต่อเรือใหม่ที่ลดลงตลอดทศวรรตที่ผ่านมา แต่ไม่สามารถเพิ่มได้เต็มที่เพราะข้อจำกัดของอู่ต่อเรือ บริษัทผลิตเครื่องยนต์เรือ
-ด้านอุปสงค์เรือ หลังจากความต้องการเรือเทกอง ทรงตัวหรือลดลงตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ก็เริ่มมีจุดพลิกผัน จากการขยายตัวของเศรษกิจจีนและอินเดีย ทำให้ความต้องการเรือสูงเพิ่มขึ้นมาก
ความไม่สอดคล้องของอุปสงค์-อุปทาน ทำให้อนาคตของเรือเทกองยังดูสดใสครับ..
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
-
- Verified User
- โพสต์: 532
- ผู้ติดตาม: 0
ถามชาวเรือครับ TTA และ PSL
โพสต์ที่ 21
เพิ่งได้อ่านรายงานจากนายหน้าเช่าเรือ วันที่ 6 มกราฯ ค่าเช่าเรือ spot rate ของเรือ Panamax LME Type (น่าจะขนาดประมาณ 76000+DWT) แพงขึ้น $7000/day
บริษัทค้าโภคภัณฑ์รายใหญ่ของโลก กำลังพยายามเช่าเรือระยะยาวสำหรับเรือ Panamax ที่ค่าเช่า $40,000/day (1 year), $30,000/day (2 years), and $23,500/day (3 years)
มีเรือสินค้าของเวียดนามสร้างปี 1990 จะถึงเกาะสีชังสิ้นเดือนมกราฯ และพร้อมรับสินค้าต้นเดือนกุมภาฯ ปรากฎว่าได้ถูกจองไปแล้ว
นี่เป็นตัวอย่างข้อมูลแสดงให้เห็นตลาดเช่าเรือ ยังมีความหวังอยู่ครับ
ข้อมูลไว้แบ่งปันนะครับ ส่วนการลงทุน กรุณาใช้วิจารณญานของท่างเองครับ
ลืมบอกไปว่า เครื่องที่บ้านพิมพ์ไทยไม่ได้ ไม่ใช่อยากจะอวดภาษาอังกฤษนะครับ
บริษัทค้าโภคภัณฑ์รายใหญ่ของโลก กำลังพยายามเช่าเรือระยะยาวสำหรับเรือ Panamax ที่ค่าเช่า $40,000/day (1 year), $30,000/day (2 years), and $23,500/day (3 years)
มีเรือสินค้าของเวียดนามสร้างปี 1990 จะถึงเกาะสีชังสิ้นเดือนมกราฯ และพร้อมรับสินค้าต้นเดือนกุมภาฯ ปรากฎว่าได้ถูกจองไปแล้ว
นี่เป็นตัวอย่างข้อมูลแสดงให้เห็นตลาดเช่าเรือ ยังมีความหวังอยู่ครับ
ข้อมูลไว้แบ่งปันนะครับ ส่วนการลงทุน กรุณาใช้วิจารณญานของท่างเองครับ
ลืมบอกไปว่า เครื่องที่บ้านพิมพ์ไทยไม่ได้ ไม่ใช่อยากจะอวดภาษาอังกฤษนะครับ
- สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 1
ถามชาวเรือครับ TTA และ PSL
โพสต์ที่ 22
:lol: :lol: :lol: :lol:
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 1972 06 ม.ค. - 08 ม.ค. 2548
มองนโยบายจีน & สหรัฐ ในอีก 4 ปีข้างหน้า
รศ. ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ ผู้อำนวยการ ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้มุมมองเปรียบเทียบวิสัยทัศน์ระหว่าง หู จิ่น เทา ประธานาธิบดีจีน และ จอร์จ ดับเบิลยู บุช ประธานาธิบดีสหรัฐ ถึงแนวทางการบริหารประเทศในระยะ 4 ปีต่อจากนี้ไปอย่างน่าสนใจ ว่า หู จิ่น เทา นั้นวางนโยบายหลักในการบริหารประเทศไว้ 2 ระดับ คือ นโยบายในประเทศ ที่มุ่งนำพาเศรษฐกิจจีนไปสู่แนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนขึ้น
เพราะในช่วงที่ผ่านมาจีนมีอาการของความร้อนแรงและฟองสบู่ในทุกอุตสาหกรรมต้นน้ำ และอุตสาหกรรมรถยนต์ เป็นต้น และยังเป็นตัวแปรป่วนราคาโลก และอาจทำให้มีปัญหาทางสังคมที่จะนำไปสู่ปัญหาทางการเมืองได้ ซึ่งขณะนี้สถานการณ์หลายๆอย่างของจีนไม่น่าไว้วางใจ เช่น การรุกฮือ การเดินขบวนของชาวนาที่ถูกไล่ที่ ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เหมือนกับเป็นการท้าทายอำนาจรัฐในยุคผู้นำรุ่นที่ 4
นอกจากนี้จีนยังประกาศชัดเจนว่าจะรุกการส่งออกสินค้าเกษตรเข้าสู่ตลาดโลกด้วยย่างก้าวที่หนักแน่น ซึ่งที่ผ่านมาจีนส่งออกสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปประมาณ 20,000 ล้านดอลล่าร์ต่อปี และประกาศว่าในอีก 10 ปีข้างหน้าจะส่งออกสินค้าเหล่านี้เพิ่มขึ้นอีกสองเท่า หรือ 40,000 ล้านดอลล่าร์ เกือบครึ่งหนึ่งของยอดส่งออกสินค้าไทย โดยกำหนดตลาดเป้าหมายได้แก่ สหรัฐ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป(อียู) รวมทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(อาเซียน)ด้วย
"จุดนี้จะทำให้ประเทศที่ผลิตสินค้าเกษตร เกษตรแปรรูป ต้องตระหนักถึงเรื่องนี้ เพราะต่อไปจีนคงไม่ใช่แหล่งที่จะส่งสินค้าเข้าไปขาย แต่จีนจะย่างก้าวออกมาสู่โลกภายนอกด้วย เพราะการพัฒนาภาคเกษตร คือ เครื่องมือสำคัญที่จะลดปัญหาความยากจน ที่จีนยังมีเกษตรกรอยู่ในภาคเกษตรถึง 64% หรือ กว่า 800 ล้านคนจะต้องทำให้คนกลุ่มนี้ลืมตาอ้าปากได้อย่างจริงจัง"
รวมไปถึงนโยบาย เร่งความเจริญเติบโตส่วนที่เรียกว่า Provincial Growth Pole หรือ ศูนย์กลางความเจริญเติบโต คือ เร่งกระบวนการขยายตัวของภาคเมืองในมณฑลต่างๆที่เป็นมณฑลด้านกลางและด้านในของจีน เพื่อช่วยตรึงให้คนอยู่ในชนบทไม่อพยพออกมา ด้วยการสร้างกิจกรรมเชิงธุรกิจและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม( SME )เพื่อช่วยดูดคนออกจากภาคเกษตรและสร้างรายได้เพิ่ม เมื่อจีนเร่งตรงนี้ขึ้นมาได้ต้องมองต่อไปว่า ถ้าจีนรุกคืบออกมา นโยบาย SME ของประเทศอื่นๆ เช่นนโยบายอุตสาหกรรมชุมชน อาทิ OTOP ของไทย มีความสามารถในการแข่งขันอย่างไร
ขณะที่ด้าน การเมือง คงจะต้องดูว่าหูจะปฏิรูปการเมืองอย่างไร หรือขยายฐานของการเลือกตั้งให้มากไปกว่าระดับทีเป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ และทำให้เกิดการเคลื่อนไหวด้านการเมืองมากขึ้น โดยเฉพาะการเป็นประชาธิปไตยที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การต่อต้านในพรรคหรือไม่ และจะนำไปสู่การขัดแย้งหรือไม่
ส่วนด้านนโยบายต่างประเทศ นับได้ว่าจีนขณะนี้รุกคืบออกมานอกประเทศด้วยย่างก้าวที่หนักแน่นและมีประสิทธิภาพกว่าสหรัฐมากเพราะจีนมองตัวแปรหลายด้านที่ทำให้มีโอกาสรุกคืบมาสู่ภายนอกได้มาก คือ หนึ่ง เวที องค์การการค้าโลก(WTO) ที่เอื้ออำนวยให้จีนสามารถประสานสามัคคีกับประเทศกำลังพัฒนาซึ่งเป็นสมาชิก WTO ส่วนมากได้ และสอง การสร้างความร่วมมือในระดับภูมิภาค(Regional Cooperation) ซึ่งเป็นการดำเนินนโยบายการทูตแบบได้ประโยชน์สองต่อ คือ ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ที่ขยายไปถึงการรุกคืบออกมาลงทุน ภายใต้เงินทุนที่จีนมีอยู่จำนวนมาก ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้อเมริกาค่อนข้างขาด
บุช 2 .กร้าวกว่าเดิม
สำหรับสหรัฐอเมริกา รศ.ดร. สมภพ กล่าวว่าแแม้ จอร์จ ดับเบิลยู บุช ที่ชนะการเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 เมื่อดูการวางตัวทีมงานแล้วเชื่อว่านโยบายของบุช ด้านการบริหารสัมพันธ์ระหว่างประเทศ(International Relations = IR) คงไม่เปลี่ยนไปจากเดิม และอาจจะยิ่งหนักกว่าเดิม เห็นได้ชัดเจนว่าสหรัฐใช้ตัวแปรทางเศรษฐกิจในด้าน IR ด้วย 2 กลุ่มหลัก คือ ภาคบริการ เช่น ธุรกิจค้าปลีก บันเทิง สื่อสาร ประกันภัย ประกันชีวิต การแพทย์ การศึกษา เป็นตัวแปรรุกคืบไปสู่การเปิดเสรีภาคบริการกับประเทศต่างๆอย่างกว้างขวางขึ้น โดยเฉพาะ การทำข้อตกลงการค้าเสรี(Free Trade Agreement= FTA)
สำหรับภาคการเงิน หรือ การหาประโยชน์จากตลาดเงินและตลาดทุน เช่น การซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตรา เชื่อว่าสหรัฐจะนำมากดดันจีนเรื่องค่าเงินหยวนอย่างหนักหน่วง และมากยิ่งขึ้น ที่อาจกลายเป็นความขัดแย้งได้ เพราะสหรัฐต้องค้าเงินเป็นตัวแปรหลักในการรักษา จีดีพี ซึ่งทำกำไรได้ง่ายเร็ว จึงมั่นใจได้ว่าปัญหาของอัตราแลกเปลื่ยนจะไม่มีทางหยุดนิ่งแต่จะยิ่งขยายไปสู่รูปแบบการเก็งกำไรอื่นๆ จากตลาดเงินสู่ตลาดทุน เช่น ตลาดหุ้น ตลาดตราสารหนี้ หรือสินค้าทางการเงินใหม่ๆเพราะเศรษฐกิจสหรัฐทุกวันนี้อยู่ได้ด้วยเศรษฐกิจภาคบริการ และการเก็งกำไรที่จะออกมาสัมพันธ์กับโลกมากขึ้นเพราะเป็นกลุ่มที่สหรัฐได้เปรียบ
"สิ่งที่สหรัฐได้เปรียบมาก คือ เศรษฐกิจในประเทศที่มีความยืดหยุ่นสูงและใหญ่โตมาก ที่สามารถต้านแรงเสียดทานการเสียศูนย์ของระบบทุนนิยมได้สูง และยังสามารถถ่ายโอนภาระหนักของตัวเองไปให้ประเทศอื่นได้ โดยผ่านทางภาคการเงิน การคลัง เช่นเมื่อเศรษฐกิจย่ำแย่ก็ปรับให้ค่าเงินอ่อนค่าลง เป็นต้น ซึ่งจะใช้ตัวแปรเรื่องเก็งกำไร และใช้เครือข่ายของภาคการเงินที่มีความเข็มแข็งและมีอยู่ทั่วโลก ดังนั้นสหรัฐจึงมีมีความได้เปรียบทั้งความยืดหยุ่น หรือ แรงต้านต่อวิกฤตได้ดี "
ไทย: พันธมิตรการเมือง
รศ. ดร. สมภพ กล่าวเสริมด้วยว่า จีนนั้นให้ความสนใจไทยในเรื่องการเมืองมากกว่าเศรษฐกิจ เพราะเทียบการค้าระหว่างไทย-จีน แล้วสินค้าไทยและจีนในตลาดโลกแข่งขันกันเกือบ 80% จึงมีความเป็นคู่แข่งมากกว่าในประเทศที่ 3 ทำให้ในทางเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ขณะนี้ไทยจึงไม่น่าดึงดูด นอกจากว่ารัฐบาลไทย และนักธุรกิจไทยปรับยุทธศาสตร์ตัวเองได้
ขณะเดียวกันก็ต้องไม่ทำลายศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางในอาเซียน เพราะจีนหวังไทยเป็นกระดาษหกในการเชื่อมโยงกับอาเซียนอื่น ๆทั้งด้านความมั่นคงและการเมือง หากไทยเองเป็นคนทำลายความน่าเชื่อถือ หรือเครดิตด้านการเมือง ในเวทีตั้งแต่อาเซียนจนถึงสากล ในท้ายที่สุดแล้วจะทำให้อำนาจต่อรองลดน้อยลงไป เพราะเศรษฐกิจของไทยไปซ้ำกับจีนซึ่งสามารถหาจากที่อื่นได้ทั้งหมด ทำให้การบริหารการเมืองและความมั่นคงของไทยเป็นตัวแปรที่สำคัญที่จะต้องสร้างและรักษาความน่าเชื่อถือเอาไว้ให้ได้
:lol: :lol: :lol: :lol:
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 1972 06 ม.ค. - 08 ม.ค. 2548
มองนโยบายจีน & สหรัฐ ในอีก 4 ปีข้างหน้า
รศ. ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ ผู้อำนวยการ ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้มุมมองเปรียบเทียบวิสัยทัศน์ระหว่าง หู จิ่น เทา ประธานาธิบดีจีน และ จอร์จ ดับเบิลยู บุช ประธานาธิบดีสหรัฐ ถึงแนวทางการบริหารประเทศในระยะ 4 ปีต่อจากนี้ไปอย่างน่าสนใจ ว่า หู จิ่น เทา นั้นวางนโยบายหลักในการบริหารประเทศไว้ 2 ระดับ คือ นโยบายในประเทศ ที่มุ่งนำพาเศรษฐกิจจีนไปสู่แนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนขึ้น
เพราะในช่วงที่ผ่านมาจีนมีอาการของความร้อนแรงและฟองสบู่ในทุกอุตสาหกรรมต้นน้ำ และอุตสาหกรรมรถยนต์ เป็นต้น และยังเป็นตัวแปรป่วนราคาโลก และอาจทำให้มีปัญหาทางสังคมที่จะนำไปสู่ปัญหาทางการเมืองได้ ซึ่งขณะนี้สถานการณ์หลายๆอย่างของจีนไม่น่าไว้วางใจ เช่น การรุกฮือ การเดินขบวนของชาวนาที่ถูกไล่ที่ ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เหมือนกับเป็นการท้าทายอำนาจรัฐในยุคผู้นำรุ่นที่ 4
นอกจากนี้จีนยังประกาศชัดเจนว่าจะรุกการส่งออกสินค้าเกษตรเข้าสู่ตลาดโลกด้วยย่างก้าวที่หนักแน่น ซึ่งที่ผ่านมาจีนส่งออกสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปประมาณ 20,000 ล้านดอลล่าร์ต่อปี และประกาศว่าในอีก 10 ปีข้างหน้าจะส่งออกสินค้าเหล่านี้เพิ่มขึ้นอีกสองเท่า หรือ 40,000 ล้านดอลล่าร์ เกือบครึ่งหนึ่งของยอดส่งออกสินค้าไทย โดยกำหนดตลาดเป้าหมายได้แก่ สหรัฐ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป(อียู) รวมทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(อาเซียน)ด้วย
"จุดนี้จะทำให้ประเทศที่ผลิตสินค้าเกษตร เกษตรแปรรูป ต้องตระหนักถึงเรื่องนี้ เพราะต่อไปจีนคงไม่ใช่แหล่งที่จะส่งสินค้าเข้าไปขาย แต่จีนจะย่างก้าวออกมาสู่โลกภายนอกด้วย เพราะการพัฒนาภาคเกษตร คือ เครื่องมือสำคัญที่จะลดปัญหาความยากจน ที่จีนยังมีเกษตรกรอยู่ในภาคเกษตรถึง 64% หรือ กว่า 800 ล้านคนจะต้องทำให้คนกลุ่มนี้ลืมตาอ้าปากได้อย่างจริงจัง"
รวมไปถึงนโยบาย เร่งความเจริญเติบโตส่วนที่เรียกว่า Provincial Growth Pole หรือ ศูนย์กลางความเจริญเติบโต คือ เร่งกระบวนการขยายตัวของภาคเมืองในมณฑลต่างๆที่เป็นมณฑลด้านกลางและด้านในของจีน เพื่อช่วยตรึงให้คนอยู่ในชนบทไม่อพยพออกมา ด้วยการสร้างกิจกรรมเชิงธุรกิจและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม( SME )เพื่อช่วยดูดคนออกจากภาคเกษตรและสร้างรายได้เพิ่ม เมื่อจีนเร่งตรงนี้ขึ้นมาได้ต้องมองต่อไปว่า ถ้าจีนรุกคืบออกมา นโยบาย SME ของประเทศอื่นๆ เช่นนโยบายอุตสาหกรรมชุมชน อาทิ OTOP ของไทย มีความสามารถในการแข่งขันอย่างไร
ขณะที่ด้าน การเมือง คงจะต้องดูว่าหูจะปฏิรูปการเมืองอย่างไร หรือขยายฐานของการเลือกตั้งให้มากไปกว่าระดับทีเป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ และทำให้เกิดการเคลื่อนไหวด้านการเมืองมากขึ้น โดยเฉพาะการเป็นประชาธิปไตยที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การต่อต้านในพรรคหรือไม่ และจะนำไปสู่การขัดแย้งหรือไม่
ส่วนด้านนโยบายต่างประเทศ นับได้ว่าจีนขณะนี้รุกคืบออกมานอกประเทศด้วยย่างก้าวที่หนักแน่นและมีประสิทธิภาพกว่าสหรัฐมากเพราะจีนมองตัวแปรหลายด้านที่ทำให้มีโอกาสรุกคืบมาสู่ภายนอกได้มาก คือ หนึ่ง เวที องค์การการค้าโลก(WTO) ที่เอื้ออำนวยให้จีนสามารถประสานสามัคคีกับประเทศกำลังพัฒนาซึ่งเป็นสมาชิก WTO ส่วนมากได้ และสอง การสร้างความร่วมมือในระดับภูมิภาค(Regional Cooperation) ซึ่งเป็นการดำเนินนโยบายการทูตแบบได้ประโยชน์สองต่อ คือ ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ที่ขยายไปถึงการรุกคืบออกมาลงทุน ภายใต้เงินทุนที่จีนมีอยู่จำนวนมาก ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้อเมริกาค่อนข้างขาด
บุช 2 .กร้าวกว่าเดิม
สำหรับสหรัฐอเมริกา รศ.ดร. สมภพ กล่าวว่าแแม้ จอร์จ ดับเบิลยู บุช ที่ชนะการเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 เมื่อดูการวางตัวทีมงานแล้วเชื่อว่านโยบายของบุช ด้านการบริหารสัมพันธ์ระหว่างประเทศ(International Relations = IR) คงไม่เปลี่ยนไปจากเดิม และอาจจะยิ่งหนักกว่าเดิม เห็นได้ชัดเจนว่าสหรัฐใช้ตัวแปรทางเศรษฐกิจในด้าน IR ด้วย 2 กลุ่มหลัก คือ ภาคบริการ เช่น ธุรกิจค้าปลีก บันเทิง สื่อสาร ประกันภัย ประกันชีวิต การแพทย์ การศึกษา เป็นตัวแปรรุกคืบไปสู่การเปิดเสรีภาคบริการกับประเทศต่างๆอย่างกว้างขวางขึ้น โดยเฉพาะ การทำข้อตกลงการค้าเสรี(Free Trade Agreement= FTA)
สำหรับภาคการเงิน หรือ การหาประโยชน์จากตลาดเงินและตลาดทุน เช่น การซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตรา เชื่อว่าสหรัฐจะนำมากดดันจีนเรื่องค่าเงินหยวนอย่างหนักหน่วง และมากยิ่งขึ้น ที่อาจกลายเป็นความขัดแย้งได้ เพราะสหรัฐต้องค้าเงินเป็นตัวแปรหลักในการรักษา จีดีพี ซึ่งทำกำไรได้ง่ายเร็ว จึงมั่นใจได้ว่าปัญหาของอัตราแลกเปลื่ยนจะไม่มีทางหยุดนิ่งแต่จะยิ่งขยายไปสู่รูปแบบการเก็งกำไรอื่นๆ จากตลาดเงินสู่ตลาดทุน เช่น ตลาดหุ้น ตลาดตราสารหนี้ หรือสินค้าทางการเงินใหม่ๆเพราะเศรษฐกิจสหรัฐทุกวันนี้อยู่ได้ด้วยเศรษฐกิจภาคบริการ และการเก็งกำไรที่จะออกมาสัมพันธ์กับโลกมากขึ้นเพราะเป็นกลุ่มที่สหรัฐได้เปรียบ
"สิ่งที่สหรัฐได้เปรียบมาก คือ เศรษฐกิจในประเทศที่มีความยืดหยุ่นสูงและใหญ่โตมาก ที่สามารถต้านแรงเสียดทานการเสียศูนย์ของระบบทุนนิยมได้สูง และยังสามารถถ่ายโอนภาระหนักของตัวเองไปให้ประเทศอื่นได้ โดยผ่านทางภาคการเงิน การคลัง เช่นเมื่อเศรษฐกิจย่ำแย่ก็ปรับให้ค่าเงินอ่อนค่าลง เป็นต้น ซึ่งจะใช้ตัวแปรเรื่องเก็งกำไร และใช้เครือข่ายของภาคการเงินที่มีความเข็มแข็งและมีอยู่ทั่วโลก ดังนั้นสหรัฐจึงมีมีความได้เปรียบทั้งความยืดหยุ่น หรือ แรงต้านต่อวิกฤตได้ดี "
ไทย: พันธมิตรการเมือง
รศ. ดร. สมภพ กล่าวเสริมด้วยว่า จีนนั้นให้ความสนใจไทยในเรื่องการเมืองมากกว่าเศรษฐกิจ เพราะเทียบการค้าระหว่างไทย-จีน แล้วสินค้าไทยและจีนในตลาดโลกแข่งขันกันเกือบ 80% จึงมีความเป็นคู่แข่งมากกว่าในประเทศที่ 3 ทำให้ในทางเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ขณะนี้ไทยจึงไม่น่าดึงดูด นอกจากว่ารัฐบาลไทย และนักธุรกิจไทยปรับยุทธศาสตร์ตัวเองได้
ขณะเดียวกันก็ต้องไม่ทำลายศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางในอาเซียน เพราะจีนหวังไทยเป็นกระดาษหกในการเชื่อมโยงกับอาเซียนอื่น ๆทั้งด้านความมั่นคงและการเมือง หากไทยเองเป็นคนทำลายความน่าเชื่อถือ หรือเครดิตด้านการเมือง ในเวทีตั้งแต่อาเซียนจนถึงสากล ในท้ายที่สุดแล้วจะทำให้อำนาจต่อรองลดน้อยลงไป เพราะเศรษฐกิจของไทยไปซ้ำกับจีนซึ่งสามารถหาจากที่อื่นได้ทั้งหมด ทำให้การบริหารการเมืองและความมั่นคงของไทยเป็นตัวแปรที่สำคัญที่จะต้องสร้างและรักษาความน่าเชื่อถือเอาไว้ให้ได้
:lol: :lol: :lol: :lol: