20 อันดับ แบรนด์ที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก
- sai
- Verified User
- โพสต์: 4090
- ผู้ติดตาม: 0
20 อันดับ แบรนด์ที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก
โพสต์ที่ 1
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก live.gdgt.com
เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคมที่ผ่านมา นิตยสาร ฟอร์บส ได้จัดอันดับ 20 แบรนด์ดังที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก ซึ่งแบรนด์ที่ครองแชมป์ครั้งนี้ได้แก่ แอปเปิล (Apple) บริษัทที่แม้ว่าเพิ่งจะมีปัญหาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ไป แต่ก็ยังคงเป็นแบรนด์ที่มูลค่ามากที่สุดอย่างไม่มีใครแทนที่ได้อยู่ดี และอันดับทั้ง 20 อันดับ เป็นดังนี้
1. Apple สหรัฐอเมริกา มูลค่าแบรนด์ 57,400 ล้านดอลลาร์
2. Microsoft สหรัฐอเมริกา มูลค่าแบรนด์ 56,600 ล้านดอลลาร์
3. Coca-Cola สหรัฐอเมริกา มูลค่าแบรนด์ 55,400 ล้านดอลลาร์
4. IBM สหรัฐอเมริกา มูลค่าแบรนด์ 43,000 ล้านดอลลาร์
5. Google สหรัฐอเมริกา มูลค่าแบรนด์ 39,700 ล้านดอลลาร์
6. Mcdonald สหรัฐอเมริกา มูลค่าแบรนด์ 35,900 ล้านดอลลาร์
7. General Electric สหรัฐอเมริกา มูลค่าแบรนด์ 33,700 ล้านดอลลาร์
8. Marlboro สหรัฐอเมริกา มูลค่าแบรนด์ 29,100 ล้านดอลลาร์
9. Intel สหรัฐอเมริกา มูลค่าแบรนด์ 28,600 ล้านดอลลาร์
10. Nokia ฟินแลนด์ มูลค่าแบรนด์ 27,400 ล้านดอลลาร์
11. Toyota ญี่ปุ่น มูลค่าแบรนด์ 24,100 ล้านดอลลาร์
12. Cisco สหรัฐอเมริกา มูลค่าแบรนด์ 23,900 ล้านดอลลาร์
13. Vodofone สหราชอาณาจักร มูลค่าแบรนด์ 23,500 ล้านดอลลาร์
14. HP สหรัฐอเมริกา มูลค่าแบรนด์ 23,400 ล้านดอลลาร์
15. AT@T สหรัฐอเมริกา มูลค่าแบรนด์ 22,000 ล้านดอลลาร์
16. BMW เยอรมนี มูลค่าแบรนด์ 19,900 ล้านดอลลาร์
17. Oracle สหรัฐอเมริกา มูลค่าแบรนด์ 19,800 ล้านดอลลาร์
18. Louis Vuitton ฝรั่งเศส มูลค่าแบรนด์ 19,000 ล้านดอลลาร์
19. Mercedes เยอรมนี มูลค่าแบรนด์ 18.800 ล้านดอลลาร์
20. Disney เยอรมนี มูลค่าแบรนด์ 18,500 ล้านดอลลาร์
ของเมืองไทยมีแบรนด์ไหนบ้างครับที่เพื่อนเพื่อนคิดว่า มีมูลค่าแบรนด์ติดอันดับ 1-20 ของเมีองไทยบ้างครับ
Small Details Make a Big Difference
- PRO_BABY
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1584
- ผู้ติดตาม: 0
- SupachaiZ594
- Verified User
- โพสต์: 834
- ผู้ติดตาม: 0
Re: 20 อันดับ แบรนด์ที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก
โพสต์ที่ 3
ขาด กระทิงแดง Red Bull ไปครับ น่าจะอันดับต้น ๆ ด้วยPRO_BABY เขียน:เมืองไทย
PTT
เครือซีเมนต์ไทย
ช้าง
สิงห์
ธนาคารกรุงเทพ
ธนาคารกสิกร
ธนาคารไทยพาณิชย์
7-11
ais
dtac
true
ไม่แน่ใจว่าใช่ตามนี้ไหม
- leaderinshadow
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
20 อันดับ แบรนด์ที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก
โพสต์ที่ 5
ต้มยำกุ้ง ครับ ขึ้นชื่อสุดๆ เลย ฝรั่งบอก Hot ... :lol:
แกงเขียวหวาน อันนี้ อันดับหนึ่งในญี่ปุ่นเลย แซง แกงกะหรี่ไก่ ไปแล้ว
แล้วก็ JAS คับ Jasmine Rice
แกงเขียวหวาน อันนี้ อันดับหนึ่งในญี่ปุ่นเลย แซง แกงกะหรี่ไก่ ไปแล้ว
แล้วก็ JAS คับ Jasmine Rice
- SunShine@Night
- Verified User
- โพสต์: 2196
- ผู้ติดตาม: 0
Re: 20 อันดับ แบรนด์ที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก
โพสต์ที่ 7
Central ด้วยครับPaul VI เขียน: ถ้าสำหรับ ประเทศไทยนะ
ผมขอเพิ่ม MK สุกี้ ลิโพวิตัน ดี
โอสถสภา
VI ฝึกหัด สำนักปีเตอร์ ลินช์
หวังผลต่อแทนทบต้นมากกว่า 15% ต่อปี
หวังผลต่อแทนทบต้นมากกว่า 15% ต่อปี
-
- Verified User
- โพสต์: 53
- ผู้ติดตาม: 0
20 อันดับ แบรนด์ที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก
โพสต์ที่ 9
ขอเพิ่ม KUBOTA
- manza125
- Verified User
- โพสต์: 92
- ผู้ติดตาม: 0
20 อันดับ แบรนด์ที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก
โพสต์ที่ 12
พี่ไทยหน่ะหรอ น่าจะคล้ายๆกันกับข้อมูลนี้นะครับ ไม่ได้บ่งบอกถึงแบรนด์แต่บ่งบอกถึงความรวยของเจ้าของ
อันดับ 1 นายเฉลียว อยู่วิทยา อายุ 76 ปี กลับมาเป็นบุคคลที่รวยที่สุดของไทยอีกครั้งหนึ่งหลังจากยอดจำหน่ายกระทิงแดง เครื่องดื่มบำรุงกำลังที่นายเฉลียว ร่วมกับนายดีทริช มาเตสชิทซ์ นักธุรกิจออสเตรียเริ่มผลิตขึ้นเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ในต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น ยอดขายเพิ่มจากปี 2547-2550 ถึงเกือบเท่าตัวเป็น 4,200 ล้านดอลลาร์ในปีที่ผ่านมา มีมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมด 4,000 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 136,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 500 ล้านดอลลาร์
อันดับ 2 นายเจริญ สิริวัฒนภักดี ผู้ก่อตั้งบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ เจ้าของธุรกิจวิสกี้และเบียร์ (เหล้าแม่โขง , เบียร์ช้าง ฯลฯ ) ที่เพิ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์เมื่อปี 2549 ทั้งยังเป็นเจ้าของกิจการโรงแรมพลาซ่า แอทธินี่ และไอเอ็มเอ็ม อีกด้วย มูลค่าทรัพย์สินรวม 3,900 ล้านดอลลาร์
อันดับ 3 ตระกูล “จิราธิวัฒน์” มีกิจการหลายอย่างตั้งแต่ธุรกิจค้าปลีก (ห้างเซ็นทรัล) ?,อสังหาริมทรัพย์ ,โรงแรม เป็นต้น มูลค่าทรัพย์สินสุทธิรวม 2,800 ล้านดอลลาร์
อันดับ 4 นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) กิจการเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี.) อายุ 69 ปี มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ์ 2,000 ล้านดอลลาร์
อันดับ 5 นายกฤตย์ รัตนรักษ์ ประธานและซีอีโอของบริษัท บางกอก บรอดคาสติ้ง แอนด์ ทีวี (บีบีทีวี) และครอบครัว ทรัพย์สินรวมถึงหุ้นในธนาคารกรุงศรีอยุธยา และปูนซิเมนต์นครหลวง มูลค่าทรัพย์สินรวม 1,000 ล้านดอลลาร์
?
อันดับ 6 คุณหญิงประณีตศิลป์ วัชรพล และครอบครัว เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ มูลค่าทรัพย์สินรวม 940 ล้านดอลลาร์
อับดับ 7 นายวิชัย มาลีนนท์ และครอบครัว เจ้าของกิจการ บีอีซีเวิร์ลด์ และไทยทีวีสีช่อง 3 มูลค่าทรัพย์สินรวม 880 ล้านดอลลาร์
อันดับ 8 นายจำนงค์ ภิรมย์ภักดี ประธานบริษัทบุญรอด บริวเวอรี่ (เบียร์สิงห์) และครอบครัว มูลค่าทรัพย์สินรวม 820 ล้านดอลลาร์
อันดับ 9 นายสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานเครือบริษัท ไทยซัมมิต ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ถือหุ้นส่วนหนึ่งอยู่ในเนชั่น มัลติมีเดียมูลค่าทรัพย์สินรวม 580 ล้านดอลลาร์
อันดับ 10 นายอนันต์ อัศวโภคิน ผู้ก่อตั้งบริษัท แลนด์ แอนด์ เฮาส์ มูลค่าทรัพย์สินรวม 525 ล้านดอลลาร์
ข้อมูลจาก http://it.siamhost4u.com/other/most-rich.html
(2551 เมื่อ 2ปีที่แล้ว)
แต่เอ๋... ไม่มี scc กับ ptt แหะ สงสัยจะไม่เกี่ยว 5555
ดูขำๆแล้วกันเผื่อคนไม่รู้
อันดับ 1 นายเฉลียว อยู่วิทยา อายุ 76 ปี กลับมาเป็นบุคคลที่รวยที่สุดของไทยอีกครั้งหนึ่งหลังจากยอดจำหน่ายกระทิงแดง เครื่องดื่มบำรุงกำลังที่นายเฉลียว ร่วมกับนายดีทริช มาเตสชิทซ์ นักธุรกิจออสเตรียเริ่มผลิตขึ้นเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ในต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น ยอดขายเพิ่มจากปี 2547-2550 ถึงเกือบเท่าตัวเป็น 4,200 ล้านดอลลาร์ในปีที่ผ่านมา มีมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมด 4,000 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 136,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 500 ล้านดอลลาร์
อันดับ 2 นายเจริญ สิริวัฒนภักดี ผู้ก่อตั้งบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ เจ้าของธุรกิจวิสกี้และเบียร์ (เหล้าแม่โขง , เบียร์ช้าง ฯลฯ ) ที่เพิ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์เมื่อปี 2549 ทั้งยังเป็นเจ้าของกิจการโรงแรมพลาซ่า แอทธินี่ และไอเอ็มเอ็ม อีกด้วย มูลค่าทรัพย์สินรวม 3,900 ล้านดอลลาร์
อันดับ 3 ตระกูล “จิราธิวัฒน์” มีกิจการหลายอย่างตั้งแต่ธุรกิจค้าปลีก (ห้างเซ็นทรัล) ?,อสังหาริมทรัพย์ ,โรงแรม เป็นต้น มูลค่าทรัพย์สินสุทธิรวม 2,800 ล้านดอลลาร์
อันดับ 4 นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) กิจการเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี.) อายุ 69 ปี มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ์ 2,000 ล้านดอลลาร์
อันดับ 5 นายกฤตย์ รัตนรักษ์ ประธานและซีอีโอของบริษัท บางกอก บรอดคาสติ้ง แอนด์ ทีวี (บีบีทีวี) และครอบครัว ทรัพย์สินรวมถึงหุ้นในธนาคารกรุงศรีอยุธยา และปูนซิเมนต์นครหลวง มูลค่าทรัพย์สินรวม 1,000 ล้านดอลลาร์
?
อันดับ 6 คุณหญิงประณีตศิลป์ วัชรพล และครอบครัว เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ มูลค่าทรัพย์สินรวม 940 ล้านดอลลาร์
อับดับ 7 นายวิชัย มาลีนนท์ และครอบครัว เจ้าของกิจการ บีอีซีเวิร์ลด์ และไทยทีวีสีช่อง 3 มูลค่าทรัพย์สินรวม 880 ล้านดอลลาร์
อันดับ 8 นายจำนงค์ ภิรมย์ภักดี ประธานบริษัทบุญรอด บริวเวอรี่ (เบียร์สิงห์) และครอบครัว มูลค่าทรัพย์สินรวม 820 ล้านดอลลาร์
อันดับ 9 นายสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานเครือบริษัท ไทยซัมมิต ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ถือหุ้นส่วนหนึ่งอยู่ในเนชั่น มัลติมีเดียมูลค่าทรัพย์สินรวม 580 ล้านดอลลาร์
อันดับ 10 นายอนันต์ อัศวโภคิน ผู้ก่อตั้งบริษัท แลนด์ แอนด์ เฮาส์ มูลค่าทรัพย์สินรวม 525 ล้านดอลลาร์
ข้อมูลจาก http://it.siamhost4u.com/other/most-rich.html
(2551 เมื่อ 2ปีที่แล้ว)
แต่เอ๋... ไม่มี scc กับ ptt แหะ สงสัยจะไม่เกี่ยว 5555
ดูขำๆแล้วกันเผื่อคนไม่รู้
------------------------------
การพูด คือ อาหารของนักการเมือง
การวิเคราห์ คือ อาหารของวีไอ
การพูด คือ อาหารของนักการเมือง
การวิเคราห์ คือ อาหารของวีไอ
- PRO_BABY
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1584
- ผู้ติดตาม: 0
20 อันดับ แบรนด์ที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก
โพสต์ที่ 14
[quote="manza125"]พี่ไทยหน่ะหรอ น่าจะคล้ายๆกันกับข้อมูลนี้นะครับ ไม่ได้บ่งบอกถึงแบรนด์แต่บ่งบอกถึงความรวยของเจ้าของ
อันดับ 1 นายเฉลียว อยู่วิทยา อายุ 76 ปี กลับมาเป็นบุคคลที่รวยที่สุดของไทยอีกครั้งหนึ่งหลังจากยอดจำหน่ายกระทิงแดง
อันดับ 1 นายเฉลียว อยู่วิทยา อายุ 76 ปี กลับมาเป็นบุคคลที่รวยที่สุดของไทยอีกครั้งหนึ่งหลังจากยอดจำหน่ายกระทิงแดง
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
20 อันดับ แบรนด์ที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก
โพสต์ที่ 16
[quote="PRO_BABY"][quote="manza125"]พี่ไทยหน่ะหรอ น่าจะคล้ายๆกันกับข้อมูลนี้นะครับ ไม่ได้บ่งบอกถึงแบรนด์แต่บ่งบอกถึงความรวยของเจ้าของ
อันดับ 1 นายเฉลียว อยู่วิทยา อายุ 76 ปี กลับมาเป็นบุคคลที่รวยที่สุดของไทยอีกครั้งหนึ่งหลังจากยอดจำหน่ายกระทิงแดง
อันดับ 1 นายเฉลียว อยู่วิทยา อายุ 76 ปี กลับมาเป็นบุคคลที่รวยที่สุดของไทยอีกครั้งหนึ่งหลังจากยอดจำหน่ายกระทิงแดง
-
- Verified User
- โพสต์: 1288
- ผู้ติดตาม: 0
20 อันดับ แบรนด์ที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก
โพสต์ที่ 17
18. Louis Vuitton ฝรั่งเศส มูลค่าแบรนด์ 19,000 ล้านดอลลาร์
อันนี้น่าสนใจ ได้มูลค่ามากขนาดนี้ สินค้าเชิงศิลปะ สวยงาม น่าสนใจดีครับ
การประเมินมูลค่าแบรนด์ เค้าหาได้นี่...คงใช้ศาสตร์และศิลปพอตัว....มีใครเคยลองหาบ้างไหมครับ
http://www.brandchannel.com/papers_review.asp?sp_id=357
http://www.intangiblebusiness.com/Brand ... l~310.html
อันนี้ของแถม
http://www.forbes.com/2010/02/03/most-p ... rands.html
อันนี้น่าสนใจ ได้มูลค่ามากขนาดนี้ สินค้าเชิงศิลปะ สวยงาม น่าสนใจดีครับ
การประเมินมูลค่าแบรนด์ เค้าหาได้นี่...คงใช้ศาสตร์และศิลปพอตัว....มีใครเคยลองหาบ้างไหมครับ
http://www.brandchannel.com/papers_review.asp?sp_id=357
http://www.intangiblebusiness.com/Brand ... l~310.html
อันนี้ของแถม
http://www.forbes.com/2010/02/03/most-p ... rands.html
^
"เมื่อคุณเริ่มทำสิ่งที่รักแล้ว วันต่อๆไปก็จะไม่ใช่การทำงาน"..Brian Tracy
state exact goal/then analyze what fail the goal/then act/if you don't start/dream still be a dream
หุ้นไม่ใช่แค่เศษกระดาษ มันมีคนทำงานจริง
"เมื่อคุณเริ่มทำสิ่งที่รักแล้ว วันต่อๆไปก็จะไม่ใช่การทำงาน"..Brian Tracy
state exact goal/then analyze what fail the goal/then act/if you don't start/dream still be a dream
หุ้นไม่ใช่แค่เศษกระดาษ มันมีคนทำงานจริง
-
- Verified User
- โพสต์: 272
- ผู้ติดตาม: 0
20 อันดับ แบรนด์ที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก
โพสต์ที่ 19
20 อันดับแรก ส่วนใหญ่เป็นแบรนด์เก่าแก่ทั้งนั้นเลยนะครับ แบรนด์ที่อายุน้อยสุด น่าจะเป็นอากู๋
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: 20 อันดับ แบรนด์ที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก
โพสต์ที่ 20
หุ้น Nokia ตกต่ำสุดในรอบ 15 ปี โดนลดระดับหุ้นเหลือเเค่ "ขยะ"sai เขียน:
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก live.gdgt.com
เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคมที่ผ่านมา นิตยสาร ฟอร์บส ได้จัดอันดับ 20 แบรนด์ดังที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก ซึ่งแบรนด์ที่ครองแชมป์ครั้งนี้ได้แก่ แอปเปิล (Apple) บริษัทที่แม้ว่าเพิ่งจะมีปัญหาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ไป แต่ก็ยังคงเป็นแบรนด์ที่มูลค่ามากที่สุดอย่างไม่มีใครแทนที่ได้อยู่ดี และอันดับทั้ง 20 อันดับ เป็นดังนี้
....
10. Nokia ฟินแลนด์ มูลค่าแบรนด์ 27,400 ล้านดอลลาร์
...
ของเมืองไทยมีแบรนด์ไหนบ้างครับที่เพื่อนเพื่อนคิดว่า มีมูลค่าแบรนด์ติดอันดับ 1-20 ของเมีองไทยบ้างครับ
จากการประกาศผลประกอบการไตรมาสเเรกของ Nokia ที่ขาดทุนสุทธิไปรวมถึง 590 ล้านยูโรนั้นทำให้เกิดผลกระทบต่อสถานการณ์ด้านตลาดการเงินเเล้ว โดยทำให้นักลงทุนเทขายหุ้นของ Nokia จนมูลค่าของหุ้นต่ำสุดในรอบ 15 ปี เเละสถาบันจัดอันดับเรตติ้งหุ้น Fitch ratings ได้ลดความน่าเชื่อถือในการลงทุนของ Nokia ลงเหลือเเค่ "ขยะ" หรือไม่น่าลงทุนอีกต่อไป ในขณะที่ Moody นั้นยังให้ก่อนถึงระดับ 1 ขั้นก่อนที่จะถึงระดับไม่น่าลงทุน
โดยสถาบันการเงินต่างๆ เห็นว่าการนำ Windows Phone มาทดเเทนยอดขายของ Symbian นั้นไม่สามารถทำให้บริษัทกลับมามีกำไรได้ในปัจจุบัน เเละอนาคตของ Windows Phone นั้นยังไม่มีเเรงผลักดันให้ Nokia ขายโทรศัพท์ได้มากพอที่จะชดเชยในภาวะที่ขายมือถือ Symbian ได้น้อยลงเรื่อยๆ โดยถ้าภายใน 6 เดือนนี้ Nokia ไม่สามารถพลิกสถานการณ์ให้ดีกว่าเดิมได้ในปัจจุบันจะส่งผลต่ออนาคตของ Nokia มาก โดย Nokia จะต้องมีการเปลี่ยนเเปลงที่ใหญ่พอที่จะเพิ่มยอดขายของ Lumia ให้มากกว่านี้ถ้ายังยึดกับเเผนการของ Windows Phone ต่อไป
หลังจากที่ Fitch rating ได้ลดระดับความน่าลงทุนของ Nokia ลงก็ได้ออกมาให้ความเห็นว่า Nokia กำลังอยู่ในภาวะเปลี่ยนผ่าน เเละ Nokia กำลังเเก้ปัญหาระดับรากฐานอย่างการลดต้นทุนด้านโครงสร้างของบริษัทเพื่อที่จะเพิ่มกระเเสเงินสดให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้ ซึ่งผลประกอบการน่าจะดีขึ้นในช่วงหลังกลางปีนับจากนี้
ที่มา : Source : http://www.bloggang.com/mainblog.php?id ... 6&gblog=18
แนบไฟล์
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1123
- ผู้ติดตาม: 0
Re: 20 อันดับ แบรนด์ที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก
โพสต์ที่ 21
nokia มีสินทรัพย์ที่ซ่อนอยู่ที่เค้ายังไม่นำมันออกมาใช้
ตอนนี้โทรศัพท์มือถือของเค้าล้าหลัง และไม่น่าสนใจเท่าsmart phone ต่างๆ
แต่สิ่งที่nokiaมี คือความเชื่อถือของลูกค้า ในความคงทนของสินค้าและชื่อเสียงbrandที่สั่งสมมานานในความน่าเชื่อถือ
และอาจจะมีอย่างอื่นซ่อนอยู่อีก
ประเด็นคือ nokia ถึงเวลาแล้ว ที่จะ adapt ......or die
ถ้าnokia ปรับตัวตั้งแต่ตอนนี้ ผมเชื่อว่า nokia จะรอดตายได้
ผมคนนึงที่ยังคงชื่นชอบ และเชื่อถือnokia
ตอนนี้โทรศัพท์มือถือของเค้าล้าหลัง และไม่น่าสนใจเท่าsmart phone ต่างๆ
แต่สิ่งที่nokiaมี คือความเชื่อถือของลูกค้า ในความคงทนของสินค้าและชื่อเสียงbrandที่สั่งสมมานานในความน่าเชื่อถือ
และอาจจะมีอย่างอื่นซ่อนอยู่อีก
ประเด็นคือ nokia ถึงเวลาแล้ว ที่จะ adapt ......or die
ถ้าnokia ปรับตัวตั้งแต่ตอนนี้ ผมเชื่อว่า nokia จะรอดตายได้
ผมคนนึงที่ยังคงชื่นชอบ และเชื่อถือnokia
ความยากจนในจิตใจ คือความยากจนที่แท้จริง
-
- Verified User
- โพสต์: 1252
- ผู้ติดตาม: 0
Re: 20 อันดับ แบรนด์ที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก
โพสต์ที่ 24
ผมก็ปลื้มLouis Vuitton เหมือนเดิมคับ
nokiaส่วนต้วคิดว่าเป็นธุรกิจที่ลูกค้าคาดหวังเรื่องนวัตกรรมที่ดีกว่าเดิมถ้าเลือกพัฒนานวัตกรรมไปผืดทางกับความคาดหวังของลูกค้าแบบที่เป็นอยู่ตอนนี้ก็จะทำให้ความนิยมของลูกค้าลดลงไปอย่างรวดเร็วคับ
nokiaส่วนต้วคิดว่าเป็นธุรกิจที่ลูกค้าคาดหวังเรื่องนวัตกรรมที่ดีกว่าเดิมถ้าเลือกพัฒนานวัตกรรมไปผืดทางกับความคาดหวังของลูกค้าแบบที่เป็นอยู่ตอนนี้ก็จะทำให้ความนิยมของลูกค้าลดลงไปอย่างรวดเร็วคับ
สิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดบนโลกใบนี้คือความว่างเปล่า สูงจากว่างเปล่าคือก่อเกิดเปลี่ยนแปลง
http://www.fungdham.com/sound/popup-sou ... up-75.html
http://goo.gl/VjQ4cG
http://www.fungdham.com/sound/popup-sou ... up-75.html
http://goo.gl/VjQ4cG
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: 20 อันดับ แบรนด์ที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก
โพสต์ที่ 26
ถอดบทเรียนลงทุน 2 ขั้ว 'แอปเปิล' vs 'เฟซบุ๊ค'
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์, วันที่ 30 สิงหาคม 2555
ภาพที่เห็นชินตาทุกวันนี้ หนีไม่พ้นการที่ผู้คนหยิบ "ไอโฟน" ขึ้นมาเช็คความเคลื่อนไหวใน "เฟซบุ๊ค" แต่ชะตากรรมของ 2 บริษัทที่ยิ่งใหญ่แห่งโลกไอทีกลับแตกต่าง
ไม่กี่เดือนมานี้ ชะตากรรมของทั้ง 2 บริษัทยิ่งสะท้อนเส้นทางที่แตกต่างชัดเจนขึ้น ในขณะที่แอปเปิลขึ้นแท่นบริษัทอเมริกันขนาดใหญ่สุด เมื่อวัดในแง่มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (market capitalization) ทุบสถิติสูงสุดตลอดกาลด้วยมูลค่ากว่า 6 แสนล้านดอลลาร์ แต่เฟซบุ๊คที่เคยเป็นดาวรุ่งพุ่งแรง กลับต้องเผชิญกับราคาหุ้นที่ร่วงหนักเกือบครึ่งหนึ่ง เมื่อเทียบกับวันที่ทำไอพีโอในเดือนพฤษภาคม
ช่องว่างเรื่องมูลค่าตามราคาตลาดของแอปเปิลที่อยู่ที่ 6.21 แสนล้านดอลลาร์ และเฟซบุ๊คที่อยู่ที่ 4.2 หมื่นล้านดอลลาร์ แตกต่างกันมหาศาล หรือเท่าๆ กับขนาดเศรษฐกิจของแอฟริกาใต้ทั้งประเทศ
น่าสนใจว่า ความแตกต่างของทั้ง 2 บริษัทที่สะท้อนผ่านตลาดหุ้นสหรัฐ ยังบ่งบอกถึงความคิดความอ่านของนักลงทุนที่มีต่อบริษัททั้งสองแห่ง ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 เรื่องที่สำคัญ
เรื่องแรก คือ ความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นมากมายในโลก ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำมาก ส่งผลให้ตลาดมองในระยะยาวมากขึ้น เมื่อประเมินถึงมูลค่ามหาศาลของค่ายแอปเปิล นักลงทุนจึงเลือกที่จะเดิมพันกับแอปเปิล ซึ่งยังกระปรี้กระเปร่า และมีอนาคตที่ดีในระยะยาว
ไม่เพียงแต่ใช้ปฏิกิริยาในการตัดสินใจที่เรียกว่า gut reaction แต่นักลงทุนยังเชื่อมั่นว่าแอปเปิลน่าจะมีศักยภาพที่จะสร้างผลกำไรได้อย่างต่อเนื่อง ส่วนอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำจะมีส่วนช่วยกระตุ้นการลงทุนดังกล่าว เพราะเมื่อเทียบกับดอกเบี้ยที่ได้จากแบงก์เพียงน้อยนิด การลงทุนในตลาดหุ้นจึงเป็นสิ่งที่น่าจะสร้างผลตอบแทนในอนาคตมากกว่า
อาจารย์ด้านการเงินและกฎหมายจากมหาวิทยาลัยซานดิเอโก "แฟรงค์ พาร์ตนอย" ระบุว่า สิ่งที่เห็นเบื้องหลังหุ้นแอปเปิลที่พุ่งทะยาน และหุ้นเฟซบุ๊คที่ร่วงหนัก คือ ภาพในระยะยาว ซึ่งนักลงทุนกำลังมองโมเดลธุรกิจทั้ง 2 แบบ โดยแอปเปิลน่าจะยังอยู่ยงคงกระพันต่อไป ในขณะที่เฟซบุ๊คอาจจะยังอยู่หรือไม่อยู่แล้วก็ได้ในอนาคตข้างหน้า
ถึงแม้แนวคิดที่ว่าเฟซบุ๊คจะล้มหายตายจาก อาจเป็นเรื่องที่ดูไม่น่าเชื่อ แต่หากลองมองย้อนกลับไปในอดีต บริษัทเทคโนโลยีหลายแห่งที่เคยบูมมากๆ ก็มีอันเลือนหายไปจากโลกธุรกิจ ตั้งแต่ "เน็ตสเคป" ไปจนถึง "มายสเปซ" เช่นเดียวกับอีกหลายบริษัทที่เคยยิ่งใหญ่ก็กำลังเจ็บหนัก ไม่ว่าจะเป็นโนเกีย ฮิวเลตต์-แพคการ์ด (เอชพี) และรีเสิร์ช อิน โมชั่น (ริม)
แอปเปิลเองก็อาจจะหนีไม่พ้นเส้นทางขาลง แต่ดูเหมือนนักลงทุนยังมีเรื่องดีๆ ให้คิด ทั้งแบรนด์ที่แข็งแกร่ง สิทธิบัตรที่มีความโดดเด่น เงินสดมากมายในหีบสมบัติ รวมทั้งนวัตกรรมและขีดความสามารถในการผลิตที่ดี โดยเฉลี่ยแล้วพนักงานแอปเปิลสร้างรายได้ให้บริษัทได้มากกว่าพนักงานเฟซบุ๊ค 64%
เรื่องที่ 2 ความเชื่อมั่นที่มีต่อทีมบริหาร ซึ่งทั้งแอปเปิลและเฟซบุ๊คต่างก็พึ่งพาซีอีโอมือใหม่ในการขับเคลื่อนองค์กร สิ่งที่แตกต่างประการเดียวระหว่างทั้งสองบริษัทอยู่ที่ "ทิม คุก" ซีอีโอของแอปเปิล เป็นผู้บริหารที่ก้าวขึ้นมารับช่วงต่อจาก "สตีฟ จ็อบส์" ตำนานแห่งโลกเทคโนโลยีที่ล่วงลับไปแล้ว ส่วน "มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก" เจ้าพ่อเครือข่ายสังคมออนไลน์เป็นผู้ก่อตั้งบริษัทที่ยังรั้งเก้าอี้ซีอีโอในปัจจุบัน
แต่ทั้งที่สตีฟ จ็อบส์ จากโลกนี้ไปแล้ว ราคาหุ้นของแอปเปิลยังคงเพิ่มขึ้นถึง 78% ผิดกับซักเคอร์เบิร์กที่นำพาบริษัทเข้าสู่เส้นทางมหาชน แต่กลับทำผลงานไม่น่าประทับใจ ราคาหุ้นเฟซบุ๊คร่วงลงถึง 49%
อาจารย์ด้านการบริหารจัดการจากมหาวิทยาลัยเยล "เจฟฟรีย์ ซันเนนเฟลด์" มองว่า ภาพโฆษณาที่ดูดีเกินจริงก่อนทำการเสนอขายหุ้นครั้งแรกต่อสาธารณะ หรือไอพีโอ ได้บดบังการตัดสินใจของทีมผู้บริหาร
เรื่องที่ 3 ราคาหุ้นที่รุ่งทุบสถิติของแอปเปิล กับราคาหุ้นที่ร่วงหนักของเฟซบุ๊ค อาจเป็นเพียงสัญญาณการซื้อและขาย ตามคติของคุณปู่นักลงทุน "วอร์เรน บัฟเฟตต์" ที่ให้ละโมบในจังหวะเวลาที่คนอื่นๆ หวาดกลัว
เมื่อตรวจสอบจากภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น "แอปเปิล" ยังมีขนาดเล็กกว่าไมโครซอฟท์ เจนเนอรัล อิเล็กทริก โค. ซึ่งฝ่ายมองบวกมองว่า แอปเปิลยังมีที่ทางในการขยายธุรกิจ แต่ฝ่ายมองลบเห็นว่าความยิ่งใหญ่ของแอปเปิลในตอนนี้อาจสะท้อนความกังวลต่อธุรกิจที่อาจชะลอตัว เนื่องจากผลิตภัณฑ์สุดไฮเทคที่พัฒนาในยุคของสตีฟ จ็อบส์ อาจหมดเวลาเจิดจรัส
ขณะที่ตัวเลขอัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรสุทธิ (P/E ratio) ของแอปเปิลอยู่ที่ไม่ถึง 13 เท่า แต่เฟซบุ๊คมีอัตราส่วนดังกล่าวอยู่ที่ 30 เท่า ซึ่งอัตราส่วนนี้จะเป็นตัวบ่งบอกว่าราคาหุ้นถูกหรือแพง โดยหุ้นที่มี P/E ratio มากกว่า เท่ากับแพงกว่าหุ้นที่มีอัตราส่วนต่ำกว่า ในกรณีของแอปเปิลและเฟซบุ๊ค หมายความว่าหุ้นของเฟซบุ๊คมีราคาแพงกว่าแอปเปิล
แม้ว่านักลงทุนจะเป็นเผ่าพันธุ์ที่ขึ้นชื่อเรื่องความกระปรี้กระเปร่าอย่างไม่มีเหตุผล (irrational exuberance) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ความรู้สึกที่ทำให้ราคาหุ้นพุ่งขึ้นตามความเห็นของผู้บัญญัติศัพท์ที่มีดีกรีถึงอดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐ "อลัน กรีนสแปน" และเป็นพวกที่มักมองความเปลี่ยนแปลงในระยะสั้น แต่ตลาดยังคงใจเย็นและมองระยะไกลในการตัดสินใจลงทุนในบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ทั้งสอง ที่ต่างมีบทบาทในการกำหนดนิยามแห่งยุคสมัย
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์, วันที่ 30 สิงหาคม 2555
ภาพที่เห็นชินตาทุกวันนี้ หนีไม่พ้นการที่ผู้คนหยิบ "ไอโฟน" ขึ้นมาเช็คความเคลื่อนไหวใน "เฟซบุ๊ค" แต่ชะตากรรมของ 2 บริษัทที่ยิ่งใหญ่แห่งโลกไอทีกลับแตกต่าง
ไม่กี่เดือนมานี้ ชะตากรรมของทั้ง 2 บริษัทยิ่งสะท้อนเส้นทางที่แตกต่างชัดเจนขึ้น ในขณะที่แอปเปิลขึ้นแท่นบริษัทอเมริกันขนาดใหญ่สุด เมื่อวัดในแง่มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (market capitalization) ทุบสถิติสูงสุดตลอดกาลด้วยมูลค่ากว่า 6 แสนล้านดอลลาร์ แต่เฟซบุ๊คที่เคยเป็นดาวรุ่งพุ่งแรง กลับต้องเผชิญกับราคาหุ้นที่ร่วงหนักเกือบครึ่งหนึ่ง เมื่อเทียบกับวันที่ทำไอพีโอในเดือนพฤษภาคม
ช่องว่างเรื่องมูลค่าตามราคาตลาดของแอปเปิลที่อยู่ที่ 6.21 แสนล้านดอลลาร์ และเฟซบุ๊คที่อยู่ที่ 4.2 หมื่นล้านดอลลาร์ แตกต่างกันมหาศาล หรือเท่าๆ กับขนาดเศรษฐกิจของแอฟริกาใต้ทั้งประเทศ
น่าสนใจว่า ความแตกต่างของทั้ง 2 บริษัทที่สะท้อนผ่านตลาดหุ้นสหรัฐ ยังบ่งบอกถึงความคิดความอ่านของนักลงทุนที่มีต่อบริษัททั้งสองแห่ง ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 เรื่องที่สำคัญ
เรื่องแรก คือ ความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นมากมายในโลก ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำมาก ส่งผลให้ตลาดมองในระยะยาวมากขึ้น เมื่อประเมินถึงมูลค่ามหาศาลของค่ายแอปเปิล นักลงทุนจึงเลือกที่จะเดิมพันกับแอปเปิล ซึ่งยังกระปรี้กระเปร่า และมีอนาคตที่ดีในระยะยาว
ไม่เพียงแต่ใช้ปฏิกิริยาในการตัดสินใจที่เรียกว่า gut reaction แต่นักลงทุนยังเชื่อมั่นว่าแอปเปิลน่าจะมีศักยภาพที่จะสร้างผลกำไรได้อย่างต่อเนื่อง ส่วนอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำจะมีส่วนช่วยกระตุ้นการลงทุนดังกล่าว เพราะเมื่อเทียบกับดอกเบี้ยที่ได้จากแบงก์เพียงน้อยนิด การลงทุนในตลาดหุ้นจึงเป็นสิ่งที่น่าจะสร้างผลตอบแทนในอนาคตมากกว่า
อาจารย์ด้านการเงินและกฎหมายจากมหาวิทยาลัยซานดิเอโก "แฟรงค์ พาร์ตนอย" ระบุว่า สิ่งที่เห็นเบื้องหลังหุ้นแอปเปิลที่พุ่งทะยาน และหุ้นเฟซบุ๊คที่ร่วงหนัก คือ ภาพในระยะยาว ซึ่งนักลงทุนกำลังมองโมเดลธุรกิจทั้ง 2 แบบ โดยแอปเปิลน่าจะยังอยู่ยงคงกระพันต่อไป ในขณะที่เฟซบุ๊คอาจจะยังอยู่หรือไม่อยู่แล้วก็ได้ในอนาคตข้างหน้า
ถึงแม้แนวคิดที่ว่าเฟซบุ๊คจะล้มหายตายจาก อาจเป็นเรื่องที่ดูไม่น่าเชื่อ แต่หากลองมองย้อนกลับไปในอดีต บริษัทเทคโนโลยีหลายแห่งที่เคยบูมมากๆ ก็มีอันเลือนหายไปจากโลกธุรกิจ ตั้งแต่ "เน็ตสเคป" ไปจนถึง "มายสเปซ" เช่นเดียวกับอีกหลายบริษัทที่เคยยิ่งใหญ่ก็กำลังเจ็บหนัก ไม่ว่าจะเป็นโนเกีย ฮิวเลตต์-แพคการ์ด (เอชพี) และรีเสิร์ช อิน โมชั่น (ริม)
แอปเปิลเองก็อาจจะหนีไม่พ้นเส้นทางขาลง แต่ดูเหมือนนักลงทุนยังมีเรื่องดีๆ ให้คิด ทั้งแบรนด์ที่แข็งแกร่ง สิทธิบัตรที่มีความโดดเด่น เงินสดมากมายในหีบสมบัติ รวมทั้งนวัตกรรมและขีดความสามารถในการผลิตที่ดี โดยเฉลี่ยแล้วพนักงานแอปเปิลสร้างรายได้ให้บริษัทได้มากกว่าพนักงานเฟซบุ๊ค 64%
เรื่องที่ 2 ความเชื่อมั่นที่มีต่อทีมบริหาร ซึ่งทั้งแอปเปิลและเฟซบุ๊คต่างก็พึ่งพาซีอีโอมือใหม่ในการขับเคลื่อนองค์กร สิ่งที่แตกต่างประการเดียวระหว่างทั้งสองบริษัทอยู่ที่ "ทิม คุก" ซีอีโอของแอปเปิล เป็นผู้บริหารที่ก้าวขึ้นมารับช่วงต่อจาก "สตีฟ จ็อบส์" ตำนานแห่งโลกเทคโนโลยีที่ล่วงลับไปแล้ว ส่วน "มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก" เจ้าพ่อเครือข่ายสังคมออนไลน์เป็นผู้ก่อตั้งบริษัทที่ยังรั้งเก้าอี้ซีอีโอในปัจจุบัน
แต่ทั้งที่สตีฟ จ็อบส์ จากโลกนี้ไปแล้ว ราคาหุ้นของแอปเปิลยังคงเพิ่มขึ้นถึง 78% ผิดกับซักเคอร์เบิร์กที่นำพาบริษัทเข้าสู่เส้นทางมหาชน แต่กลับทำผลงานไม่น่าประทับใจ ราคาหุ้นเฟซบุ๊คร่วงลงถึง 49%
อาจารย์ด้านการบริหารจัดการจากมหาวิทยาลัยเยล "เจฟฟรีย์ ซันเนนเฟลด์" มองว่า ภาพโฆษณาที่ดูดีเกินจริงก่อนทำการเสนอขายหุ้นครั้งแรกต่อสาธารณะ หรือไอพีโอ ได้บดบังการตัดสินใจของทีมผู้บริหาร
เรื่องที่ 3 ราคาหุ้นที่รุ่งทุบสถิติของแอปเปิล กับราคาหุ้นที่ร่วงหนักของเฟซบุ๊ค อาจเป็นเพียงสัญญาณการซื้อและขาย ตามคติของคุณปู่นักลงทุน "วอร์เรน บัฟเฟตต์" ที่ให้ละโมบในจังหวะเวลาที่คนอื่นๆ หวาดกลัว
เมื่อตรวจสอบจากภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น "แอปเปิล" ยังมีขนาดเล็กกว่าไมโครซอฟท์ เจนเนอรัล อิเล็กทริก โค. ซึ่งฝ่ายมองบวกมองว่า แอปเปิลยังมีที่ทางในการขยายธุรกิจ แต่ฝ่ายมองลบเห็นว่าความยิ่งใหญ่ของแอปเปิลในตอนนี้อาจสะท้อนความกังวลต่อธุรกิจที่อาจชะลอตัว เนื่องจากผลิตภัณฑ์สุดไฮเทคที่พัฒนาในยุคของสตีฟ จ็อบส์ อาจหมดเวลาเจิดจรัส
ขณะที่ตัวเลขอัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรสุทธิ (P/E ratio) ของแอปเปิลอยู่ที่ไม่ถึง 13 เท่า แต่เฟซบุ๊คมีอัตราส่วนดังกล่าวอยู่ที่ 30 เท่า ซึ่งอัตราส่วนนี้จะเป็นตัวบ่งบอกว่าราคาหุ้นถูกหรือแพง โดยหุ้นที่มี P/E ratio มากกว่า เท่ากับแพงกว่าหุ้นที่มีอัตราส่วนต่ำกว่า ในกรณีของแอปเปิลและเฟซบุ๊ค หมายความว่าหุ้นของเฟซบุ๊คมีราคาแพงกว่าแอปเปิล
แม้ว่านักลงทุนจะเป็นเผ่าพันธุ์ที่ขึ้นชื่อเรื่องความกระปรี้กระเปร่าอย่างไม่มีเหตุผล (irrational exuberance) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ความรู้สึกที่ทำให้ราคาหุ้นพุ่งขึ้นตามความเห็นของผู้บัญญัติศัพท์ที่มีดีกรีถึงอดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐ "อลัน กรีนสแปน" และเป็นพวกที่มักมองความเปลี่ยนแปลงในระยะสั้น แต่ตลาดยังคงใจเย็นและมองระยะไกลในการตัดสินใจลงทุนในบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ทั้งสอง ที่ต่างมีบทบาทในการกำหนดนิยามแห่งยุคสมัย
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: 20 อันดับ แบรนด์ที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก
โพสต์ที่ 28
The Nokia effect
Finland’s fortunes are affected by one firm. What about other countries?
Aug 25th 2012 | from the print edition
http://www.economist.com/node/21560867
NOKIA contributed a quarter of Finnish growth from 1998 to 2007, according to figures from the Research Institute of the Finnish Economy (ETLA). Over the same period, the mobile-phone manufacturer’s spending on research and development made up 30% of the country’s total, and it generated nearly a fifth of Finland’s exports. In the decade to 2007, Nokia was sometimes paying as much as 23% of all Finnish corporation tax. No wonder that a decline in its fortunes—Nokia’s share price has fallen by 90% since 2007, thanks partly to Apple’s ascent—has clouded Finland’s outlook.
Are any other economies so reliant on one company? The researchers at ETLA calculate Nokia’s value-added to work out its importance to Finland, but such data are not widely available. A look at firms’ sales as a percentage of GDP (see table) offers a cruder indication of clout. We used the Dow Jones Global Index to identify firms whose revenues ranked highest in the country of their listing.
In this section
Firms like ArcelorMittal, Essar Energy and China Mobile make the top ten because of their choice of domicile; their economic activity mainly takes place elsewhere. Oil-and-gas firms feature heavily, although that may simply show that certain economies are dependent on a certain type of activity rather than a specific firm. Lower down the list the presence of Sands China, a casino developer and operator whose sales are 13% of Macao’s GDP, reflects the importance of gambling to the territory.
Strip these sorts of firms from the list and only one resembles Nokia: Taiwan’s Hon Hai, an electronics manufacturer. Yet Nokia made 27% of Finnish patent applications last year; the corresponding figure for Hon Hai was 8%. Although numbers are falling, Finland is home to the greatest number of Nokia employees; Hon Hai’s staff is mostly in China. It is a similar story with other firms. Sales of Nestlé, a consumer-goods company, weigh in at 15% of Swiss GDP but its share of Swiss jobs is punier than Nokia’s in Finland. Samsung, whose revenues are twice Nokia’s, has half its clout as a share of GDP: South Korea’s economy is more diversified. The importance of Nokia to Finland looks like a one-off.
Finland’s fortunes are affected by one firm. What about other countries?
Aug 25th 2012 | from the print edition
http://www.economist.com/node/21560867
NOKIA contributed a quarter of Finnish growth from 1998 to 2007, according to figures from the Research Institute of the Finnish Economy (ETLA). Over the same period, the mobile-phone manufacturer’s spending on research and development made up 30% of the country’s total, and it generated nearly a fifth of Finland’s exports. In the decade to 2007, Nokia was sometimes paying as much as 23% of all Finnish corporation tax. No wonder that a decline in its fortunes—Nokia’s share price has fallen by 90% since 2007, thanks partly to Apple’s ascent—has clouded Finland’s outlook.
Are any other economies so reliant on one company? The researchers at ETLA calculate Nokia’s value-added to work out its importance to Finland, but such data are not widely available. A look at firms’ sales as a percentage of GDP (see table) offers a cruder indication of clout. We used the Dow Jones Global Index to identify firms whose revenues ranked highest in the country of their listing.
In this section
Firms like ArcelorMittal, Essar Energy and China Mobile make the top ten because of their choice of domicile; their economic activity mainly takes place elsewhere. Oil-and-gas firms feature heavily, although that may simply show that certain economies are dependent on a certain type of activity rather than a specific firm. Lower down the list the presence of Sands China, a casino developer and operator whose sales are 13% of Macao’s GDP, reflects the importance of gambling to the territory.
Strip these sorts of firms from the list and only one resembles Nokia: Taiwan’s Hon Hai, an electronics manufacturer. Yet Nokia made 27% of Finnish patent applications last year; the corresponding figure for Hon Hai was 8%. Although numbers are falling, Finland is home to the greatest number of Nokia employees; Hon Hai’s staff is mostly in China. It is a similar story with other firms. Sales of Nestlé, a consumer-goods company, weigh in at 15% of Swiss GDP but its share of Swiss jobs is punier than Nokia’s in Finland. Samsung, whose revenues are twice Nokia’s, has half its clout as a share of GDP: South Korea’s economy is more diversified. The importance of Nokia to Finland looks like a one-off.
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."