เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยสำหรับเมืองไทยครับ "คุกเอกชน"
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.a ... 0000009294
เอาแน่!คุกเอกชนตั้งเป้าปี 51 ผุด1แห่ง
กรมราชทัณฑ์ใช้งบ 4.5 ล้านบาท จ้างสถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ ศึกษารูปแบบการจัดตั้งเรือนจำเอกชนในไทย เน้นประโยชน์สูงสุดของสังคม ลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐในการถ่ายโอนกิจการบางประเภทที่ไม่รุนแรงให้เอกชนดำเนินการ สร้างระบบการแข่งขันของเรือนจำเอกชนกับเรือนจำรัฐ ให้เปลี่ยนพฤตินิสัยนักโทษคืนสู่สังคม วางเป้าหมายในปี 2551 มีเรือนจำเอกชนอย่างน้อย 1 เรือนจำ
นายนัทธี จิตสว่าง อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ลงนามในสัญญาจ้างที่ปรึกษาโครงการศึกษาเพื่อจัดตั้งเรือนจำเอกชน โดยว่าจ้างสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ศึกษา ในวงเงินงบประมาณ 4.5 ล้านบาท กำหนดระยะเวลาโครงการถึงปี 2551 พร้อมตั้งเป้าให้มีเรือนจำเอกชนเกิดขึ้นอย่างน้อย 1 แห่ง ในปี 2551
นายนัทธี กล่าวว่า แนวทางการศึกษาวิจัยนี้ จะเปิดกว้างเพื่อหารูปแบบที่เหมาะสมกับประเทศไทยที่สุด โดยศึกษาทั้งจากรูปแบบเรือนจำเอกชนที่ใช้ในประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะออสเตรเลีย อังกฤษ อเมริกา โดยรูปแบบที่จะศึกษา อาจเป็นทั้งให้เอกชนเข้ามาบริหารบางส่วนรับเงินจากรัฐ ให้เอกชนลงทุนสร้างบริหารทั้งหมดรับเงินจากรัฐ ให้เอกชนลงทุนสร้างบริหารทั้งหมดแล้วเรียกเก็บเงินจากผู้ต้องขัง หรือรูปแบบอื่น ๆ ที่จะเหมาะกับประเทศไทย โดยเน้นประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุดที่จะช่วยผู้ต้องขังให้กลับเข้าสู่สังคม และจากข้อมูลที่ต่างประเทศใช้บริการเรือนจำเอกชน พบว่าช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของภาครัฐในการบริหารจัดการเรือนจำ และยังสร้างระบบการแข่งขันเปรียบเทียบระหว่างเรือนจำของรัฐที่ต้องพัฒนาตนเอง และเรือนจำเอกชนแต่ละแห่ง
นายนัทธี กล่าวอีกว่า การศึกษานี้เป็นการนำเสนอนวัตกรรมใหม่เข้ามาใช้ในการปฏิรูประบบของเรือนจำ ซึ่งกลุ่มนักโทษที่จะเข้าข่ายไปอยู่ในเรือนจำเอกชนจะเป็นกลุ่มประเภทผู้ต้องขังที่อยู่ระหว่างการพิจารณาคดี หรือคดีที่ยังไม่ตัดสิน ซึ่งตามหลักการแล้ว นักโทษกลุ่มนี้ไม่ควรถูกควบคุมให้อยู่กับนักโทษความผิดเด็ดขาด แต่แม้จะเป็นนักโทษที่คดียังไม่สิ้นสุด หากเป็นคดีร้ายแรงก็จะยังอยู่ในการควบคุมดูแลของเรือนจำรัฐที่มีความมั่นคงสูง
ทั้งนี้ ในการประเมินผลเชิงแข่งขันของเรือนจำเอกชน จะประเมินในแง่ประสิทธิภาพ ทั้งมิติด้านการควบคุม เช่น การหลบหนี และมิติด้านการอบรมพฤตินิสัยของนักโทษคืนสู่สังคม ซึ่งดูทั้งในเรื่องค่าใช้จ่ายต่อหน่วย การไม่กระทำผิดซ้ำ ความโปร่งใสและการมีส่วนร่วม อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษา รายละเอียดจึงยังไม่ชัดเจน แต่การดำเนินการของเอกชนจะมีเป้าชัดเจนเปรียบเทียบต่อค่าใช้จ่ายในแต่ละหน่วย ซึ่งประเมินผลได้ สำหรับรูปแบบในต่างประเทศ เรือนจำเอกชนจะเกิดจากกลุ่มบริษัทที่รวมตัวขึ้นมาดำเนินการ โดยมีการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ตั้งบริษัทขึ้นมาแข่งขัน
กรณีของเรือนจำเอกชน หากทำผิดสัญญา โดยรับเงินสินบนจากนักโทษหรืออื่น ๆ รัฐก็จะเลิกสัญญาสัมปทานได้ทันที เรื่องนี้ทำให้บริษัทที่จะเข้ามาทำต้องเข้มงวดและคำนึงถึงเพื่อไม่ให้ขาดทุน นอกจากนี้ คณะศึกษาจะต้องดูในส่วนของกฎหมายที่จะมีการปรับปรุงแก้ไขด้วย โดยการศึกษาจะใช้เวลาประมาณ 7-8 เดือนแล้วเสร็จ แล้วจะมีการประชาพิจารณ์รับฟังความเห็นจากประชาชน อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าว และว่า เรื่องนี้หลายประเทศก็ทำแล้วสำเร็จ หลายแห่งก็ไม่สำเร็จ ตอนนี้จึงอยู่ระหว่างให้ศึกษารูปแบบที่เหมาะสมกับไทยในทุกมิติ แล้วจึงตัดสินใจว่าจะทำได้หรือไม่ โดยดูประโยชน์สูงสุดของสังคม กรมราชทัณฑ์ก็เป็นหน่วยงานรัฐที่มีหลักการในการถ่ายโอนภารกิจบางส่วนไปให้เอกชนดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล ซึ่งมีหลายเรื่องที่สามารถถ่ายโอนได้ เช่น การฝึกวิชาชีพผู้ต้องขังที่ประเทศสิงคโปร์ได้จ้างเอกชนดำเนินการแทนรัฐ หรือเรื่องการขนย้ายผู้ต้องขังไปศาล เป็นต้น
นายนัทธี กล่าวว่า ในต่างประเทศมีการตั้งเรือนจำเอกชนแล้วประหยัดกว่า แต่ในไทยอาจไม่เป็นเช่นนั้นก็ได้ จึงต้องทำการศึกษาก่อน เพราะต่างประเทศจ้างผู้คุมของรัฐในราคาสูง แต่เจ้าหน้าที่คุมนักโทษของไทยได้ค่าจ้างถูกกว่าต่างประเทศ ดังนั้น ไม่แน่ว่าศึกษาแล้วรูปแบบเรือนจำเอกชนของไทยอาจแพงกว่าของรัฐก็ได้ อย่างไรก็ตาม หากมีรูปแบบที่เหมาะสมจะตั้งเรือนจำเอกชนในไทย ก็จะเริ่มจากเรือนจำในกรุงเทพฯ ก่อน แล้วขยายไปยังเรือนจำต่างจังหวัด
ด้าน ผศ.สุวัฒนา ธาดานิติ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ กล่าวว่า การศึกษานี้จะยืนอยู่บนพื้นฐานของความเป็นธรรมในสังคม สิทธิมนุษยชน เสรีภาพทางวิชาการและการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกขั้นตอน ซึ่งทีมงานที่ศึกษาจะเป็นผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ ทัณฑวิทยา สถาปัตยกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และสังคมวิทยา ทั้งนี้ ขั้นตอนการดำเนินการหลังจากลงนามสัญญาวันนี้ คณะทำงานวิจัยจะดำเนินการศึกษารูปแบบเรือนจำเอกชนภายนอกประเทศ และดำเนินการศึกษาเพื่อคัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมจัดตั้งเรือนจำเอกชนของไทย โดยวิเคราะห์สภาพแวดล้อม สภาพภูมิทัศน์ ความเป็นไปได้ในการกำหนดพื้นที่จริง วิเคราะห์ ประมวลผล และสรุปผลการศึกษาเสนอในรูปแบบการสัมมนา
หลังจากนั้นจึงจัดทำประชาพิจารณ์ เพื่อรับฟังความเห็นประชาชน และในปีงบประมาณ 2549-2550 คณะทำงานจัดทำข้อเสนอรูปแบบเรือนจำเอกชนที่เหมาะสมกับไทย และข้อเสนอในการแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการจัดตั้งเรือนจำเอกชน รวมถึงงบประมาณที่จะใช้ในการตั้งนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา เมื่อให้ความเห็นชอบและอนุมัติให้ดำเนินการจัดตั้ง ในปี 2551 ก็จะมีการประกาศแจ้งหน่วยงานภาคเอกชนที่สนใจเข้ามาลงทุนดำเนินการ โดยกรมราชทัณฑ์คัดเลือกและติดตามประเมินผลการบริหารจัดการทำรายงานผลความคุ้มค่าและความสำเร็จของโครงการเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยสำหรับเมืองไทยครับ "คุกเอกชน&quo
-
- ผู้ติดตาม: 0
เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยสำหรับเมืองไทยครับ "คุกเอกชน&quo
โพสต์ที่ 2
น่าลงทุนครับ ผมว่ากำไรดี เคยได้ยินว่าข้าวผัดจานละห้าพัน!!