สมมุติว่า มีบริษัท A กับบริษัท B ทำงานในธุรกิจเดียวกัน
เนื่องจากอยู่ในวงการธุรกิจเดียวกัน จึงได้รับข่าวสารซึ่งกันและกันเสมอว่าบริษัทคู่แข่ง ช่วงไหนได้งานมากหรือน้อย
ลักษณะงานที่ทำเป็นงานประมูล จึงต้องมีการประมูลแข่งขันกันอยู่เสมอ ถ้าบริษัท A ไม่ได้งาน งานส่วนมาก B ก็จะได้งานแทน เนื่องจากเชียวชาญธุรกิจด้านนี้คล้ายกัน
ในกรณีที่ A ไม่ได้งาน แต่พบว่า B ได้งานในมูลค่าที่สูงจนมีนัยสำคัญ บริษัท A ซึ่งเสียงานไปให้บริษัท B แก้ลำโดยการ ไปถือหุ้นบริษัท B ผ่าน NDVR ซึ่งแน่นอนว่าการถือโดยผ่าน NDVR ตามเงื่อนไขจะไม่สามารถเข้าครอบงำการบริหารได้และสามารถถือหุ้นได้ในจำนวนที่มาก โดยไม่ต้องแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์เนื่องจากไม่ได้สิทธิในการเข้าไปบริหารงาน
โดยบริษัท A ได้รับข้อมูลเร็วกว่าตลาดรับรู้ (ทฤษฎีตลาดไม่มีประสิทธิภาพ) ราคาหุ้นในตอนนั้นยังไม่สะท้อนมูลค่างานที่บริษัท B ได้รับไป
คืองานนี้ B ไม่ได้ฮั็้๊วกับ A แต่ว่า A วืดงานประมูลให้ B จริงๆ เพราะ B ทำต้นทุนได้ต่ำกว่า จึงได้งานไป
การถือหุ้นผ่าน NDVR แบบนี้ ถือว่าผิดไหมและทำอย่างไรจะทำให้ A สามารถได้รับผลประโยชน์ร่วมกับ B ได้ทั้งๆที่ ประมูลงานไม่ได้นอกจากวิธีที่กล่าวไป
( A และ B ก็ยังต้องมีการประมูลงานแข่งกันเสมอ )
และคำถามต่อมา เรื่องการพัฒนาองค์ความรู้ของของบริษัท
ที่เคยเห็นเช่น ทีมฟุตบอลในต่างประเทศถูกเทคโอเวอร์ เจ้าของคนใหม่จึงคัดเด็กในประเทศตัวเอง ไปฝึกซ้อมใน อะคาเดมี่ ของทีม
,มีการสั่งซื้อเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ราคาสูง ทางบริษัทที่สั่งซื้อสินค้า ส่งคนไปเทรนการใช้งานที่บริษัทผู้ผลิตสินค้านั้น ตามเงื่อนไข ล่าสุดเป็นเครื่องบินรุ่นใหม่ของกองทัพอากาศไทย
บทประยุกต์คือ ถ้ามีบริษัทหนึ่งเล็งเห็นว่าความรู้ด้านเทคโนโลยีด้านนี้ของบริษัทยังมีไม่มากเท่าที่ควร จึงเข้าไปถือหุ้นในบริษัทอีกบริษัทหนึ่งซึ่งอยู่ต่างประเทศ หรือในประเทศ ในจำนวนที่มากพอที่จะส่งตัวแทนเข้าไปร่วมเป็นผู้บริหารได้ตามสัดส่วนการถือหุ้น แล้วสามารถส่งคนในบริษัทตัวเองไปเทรนในบริษัทที่ไปลงทุนได้หรือไม่ เนื่องจากเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ และถือหุ้นใหญ่ในบริษัท ที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษด้านที่สนใจ