เงินบาทแข็ง
- thaloengsak
- Verified User
- โพสต์: 2716
- ผู้ติดตาม: 1
เงินบาทแข็ง
โพสต์ที่ 2
หลักๆ คือพวกนำเข้าและส่งออก
แต่ควรศึกษาธุรกิจให้ดีก่อนตัดสินใจนะ
แต่ควรศึกษาธุรกิจให้ดีก่อนตัดสินใจนะ
ลงทุนเพื่อชีวิต
-
- Verified User
- โพสต์: 993
- ผู้ติดตาม: 0
เงินบาทแข็ง
โพสต์ที่ 3
อีกพวกนึงน่าจะดีเป็น บ. ที่มีหนี้เป็นdollarเยอะๆ ถ้าจ่ายคือได้อะนะ
เริ่มนับหนึ่ง...
- Paul VI
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 10548
- ผู้ติดตาม: 1
เงินบาทแข็ง
โพสต์ที่ 5
เงินบาทแข็ง ธุรกิจที่ต้องนำเข้าวัตถุดิบ จะได้เปรียบครับ ขณะที่ตรงข้ามกันก็คือ ส่งออก ก็จะแย่ลง เพราะ ได้เงิน เป็น ดอลลาร๋ หรือ ยูโร หรือ เยน อะไรก็แล้วแต่ มาแลกกลับเป็นเงินไทยก็ได้น้อยลงครับ
แล้ว ถ้ายิ่งนำเข้ามาแล้ว ผลิตขาย ในประเทศเป็นหลัก ก็จะยิ่งได้ประโยชน์ เลยครับ
แล้ว ถ้ายิ่งนำเข้ามาแล้ว ผลิตขาย ในประเทศเป็นหลัก ก็จะยิ่งได้ประโยชน์ เลยครับ
- thaloengsak
- Verified User
- โพสต์: 2716
- ผู้ติดตาม: 1
เงินบาทแข็ง
โพสต์ที่ 6
ต้องสัญญาซื้อขายล่วงหน้าป้องกันกำไรขาดทุนจากอัตรแลกเปลี่ยนแค่ไหน
ลงทุนเพื่อชีวิต
-
- Verified User
- โพสต์: 807
- ผู้ติดตาม: 0
เงินบาทแข็ง
โพสต์ที่ 7
[quote="Paul VI"]เงินบาทแข็ง ธุรกิจที่ต้องนำเข้าวัตถุดิบ จะได้เปรียบครับ ขณะที่ตรงข้ามกันก็คือ ส่งออก ก็จะแย่ลง เพราะ ได้เงิน เป็น ดอลลาร๋ หรือ ยูโร หรือ เยน อะไรก็แล้วแต่
อย่ายอมแพ้
-
- Verified User
- โพสต์: 760
- ผู้ติดตาม: 0
เงินบาทแข็ง
โพสต์ที่ 8
ขอถามนักเศรษฐศาสตร์ด้วยครับว่า มาตรการยับยั้งเงินบาทแข็งมันมีอะไรบ้าง และได้ผลแค่ไหน และข้อดีข้อเสียของการกีดกั้นค่าเงินมีข้อดีข้อเสียอะไรบ้าง กรุณาช่วยชี้แนะด้วยครับ
- จุดแข็งทางธุรกิจที่เลียนแบบได้ยาก มักต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการสร้างและเพาะบ่มเสมอ ไม่สามารถเนรมิตได้ด้วยเงิน (สุมาอี้)
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 760
- ผู้ติดตาม: 0
เงินบาทแข็ง
โพสต์ที่ 9
พอดีอ่านเจอข่าวตามนี้ครับ ให้ความรู้เรื่องเศรษฐศาสตร์ดี
เอกชนเร่งรัฐบาลหามาตรการสกัดบาทแข็ง
Posted on Friday, September 10, 2010
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) บอกว่า ต้องการให้รัฐบาลส่งสัญญาณที่แรงและชัดเจนในการดูแลเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้เงินบาทแข็งค่าเร็วกว่าประเทศคู่แข่ง หลังจากเห็นว่า ช่วงที่ผ่านมารัฐบาลยังไม่มีความชัดเจนในการดูแลค่าเงินบาท ส่งผลให้ภาคเอกชนปรับตัวไม่ทัน
นายพยุงศักดิ์บอกอีกว่า ภาคเอกชนต้องการเสนอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เข้ามาแทรกแซงค่าเงินบาทไม่ให้ผันผวน และให้สอดคล้องกับเงินสกุลอื่นๆในภูมิภาค พร้อมกับต้องการให้รัฐมีมาตรการฉุกเฉิน ป้องกันเงินทุนต่างชาติที่จะเข้ามาเก็งกำไร รวมทั้งต้องการให้ลดค่าใช้จ่ายให้กับผู้ประกอบการ เช่น การลดค่าธรรมเนียมศุลกากร เป็นเวลา 3 เดือน และขอให้รัฐบาลยอมให้ผู้ส่งออกสามารถชำระค่าระวางเรือเป็นเงินสกุลเงินต่างประเทศ
ด้านนายธนิต โสรัตน์ รองประธานส.อ.ท. บอกว่า เงินบาทนับจากต้นปีที่ผ่านมาแข็งค่าแล้วประมาณ 7% ซึ่งหากรัฐบาลยังไม่มีมาตรการในการดูแล อาจทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นเฉลี่ยเดือนละ 1% และทำให้ในช่วงเดือนตุลาคมนี้เงินบาทอาจแข็งค่าแตะระดับ 29.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐได้ ซึ่งจะยิ่งกระทบกับผู้ประกอบการส่งออก
นายธนิตบอกอีกว่า ธปท. ไม่ควรขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกในปีนี้ เนื่องจากขณะนี้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยที่ระดับ 1.75% ถือว่าอยู่ในระดับที่สูงมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในภูมิภาคเอเชีย เช่น จีนที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 0.65% , ญี่ปุ่นอยู่ที่ 0.1% จึงเป็นเหตุให้มีเงินทุนต่างชาติไหลเข้ามาเก็งกำไรอย่างต่อเนื่อง
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมผู้ส่งข้าวออกไทย ที่เห็นว่า เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องได้ส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกอย่างมาก ดังนั้นรัฐบาลจึงควรออกมาตรการ เพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออก โดยเฉพาะการควบคุมเงินทุนไหลเข้า ออก ด้วยการกำหนดระยะเวลาในการไหลเข้าของเงินทุน และต้องการให้แบงก์ชาติส่งสัญญาณให้ชัดเจนว่า จะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอีก 6 เดือนข้างหน้า เพื่อไม่ให้เงินบาทแข็งค่าเร็วเกินไป โดยเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในขณะนี้ได้ส่งผลกระทบต่อมูลค่าการส่งออกข้าวของไทยในรูปของเงินดอลลาร์สหรัฐแล้วประมาณ 6% และในรูปของเงินบาทลดลงประมาณ 10% พร้อมกับคาดว่าในปีหน้าสถานการณ์
ส่งออกข้าวไทยจะประสบปัญหามาก หลังจากขณะนี้ราคาข้าวไทยกับเวียดนามห่างกันมาก แต่คาดว่า ภายในสิ้นเดือนกันยายนนี้ไทยจะสามารถส่งออกข้าวได้ 6 ล้านตัน และเฉลี่ยทั้งปีนี้จะสามารถส่งออกได้ตามเป้าหมายที่ 8.5 ล้านตัน แม้ตลาดแอฟริกาจะเริ่มชะลอตัวลง เนื่องจากราคาข้าวค่อนข้างแพง และหันไปบริโภคธัญญาหารชนิดอื่น เช่น ข้าวโพด ลูกเดือย มากขึ้น
ด้านนางสาวอุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ส (ไทย) บอกว่า ขณะนี้มีทุนเงินต่างชาติไหลเข้ามายังประเทศไทยแล้วกว่า 1 แสนล้านบาท จึงกดดันให้เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเห็นว่า ภาครัฐควรใช้นโยบายการสร้างสมดุลของการไหลเข้า ออก ของเงินทุนมากกว่าการใช้มาตรการแทรกแซงค่าเงิน ควบคู่ไปกับการออกนโยบายกระตุ้นให้นักลงทุนไทยไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น
ขณะที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. ควรชะลอการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในช่วงปลายปีนี้ เพื่อลดการแข็งค่าของเงินบาทในระยะยาว เพราะมีแนวโน้มที่เงินบาทจะแข็งค่าขึ้นในอีก 6 - 9 เดือน
นางสาวอุสรา บอกด้วยว่า กระแสเม็ดเงินไหลเข้าไทยนั้น ส่วนใหญ่เข้ามาเก็งกำไรในตลาดพันธบัตร เห็นได้จากที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น 7% เทียบจากปี 2552 ที่ขยายตัวเพียง 2%
ขณะที่นายกวี ชูกิจเกษม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.กสิกรไทย บอกว่า ในสิ้นปี 2553 มีแนวโน้มที่ค่าเงินบาทจะแข็งค่าแตะ 30.20 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่า ในปีหน้าจะแข็งค่าแตะระดับ 29.50 บาทต่อ
ดอลลาร์ พร้อมกับคาดว่า เงินบาทมีโอกาสที่จะแข็งค่าไปแตะระดับ 25 บาทเช่นเดียวกับช่วงก่อนวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 เนื่องจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจไทย และเอเชียมีความแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจในยุโรปและอเมริกาที่ยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจน
นายกวี บอกด้วยว่า มาตรการที่ธปท.เริ่มส่งสัญญาณในการดูแลค่าเงินบาท จะส่งผลให้มีการสกัดกั้นการไหลเข้าของเงินต่างประเทศไทยระยะสั้นเท่านั้น เพราะปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยยังแข็งแกร่ง และมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ ซึ่งหากภาครัฐเน้นการปรับโครงสร้างภาษีเพื่อส่งเสริมการนำเข้าสินค้าทุนจากต่างประเทศ จะเป็นการลดแรงกดดันการแข็งค่าเงินบาทในระยะยาว
จบข่าวครับ
ทีนี้ความเห็นส่วนตัว
เวลาbubble ค่าเงินบาทแตกถือครองทรัพย์สินต่อไปนี้น่าจะได้ประโยชน์สูงสุดหรือเปล่า ไม่แน่ใจเหมือนกันครับ ช่วยวิจารณ์ด้วย
1 หุ้นกลุ่มส่งออก เพราะตอนค่าเงินแข็งสุดๆ กลุ่มนี้ผลประกอบการน่าจะแย่สุด พอค่าเงินตกฮวบฮาบ กลุ่มส่งออกน่าน่าจะพลิกกลับมาดี
2 เรื่องสกุลค่าเงิน ให้ซื้อสกุลค่าเงินที่คิดว่าจะไม่ตกไปพร้อมกับค่าเงินบาทไว้ตอนเงินบาทแข็งสุดๆ เดาว่าเป็นUS dollarหรือ เงินหยวน พอค่าเงินบาทลดมากๆ ก็ให้ขายเงินสกุลอื่นทิ้งกลับมาแลกเป็นเงินไทย ดูกฎหมายด้วยนะครับว่าทำได้ไหม ผิดกฎหมายหรือเปล่าอย่างนี้ แต่ถ้าเงินน้อยๆคงไม่น่าจะเป็นไร
3 ล่อเป้านิดหนึ่งครับ สมัยเปลี่ยนค่าเงินบาทเป็นลอยตัว เขาว่า มีคนรู้ข่าววงในก่อนจะเกิดเหตูการณ์นี้ แล้วทำให้รวยมหาศาล จริงหรือเปล่าก็ไม่รู้ และเขาทำอย่างไรกัน อยากรู้บ้าง จะได้รวยมากๆกับเขาบ้าง ใครรู้ช่วยบอกทีครับ
เอกชนเร่งรัฐบาลหามาตรการสกัดบาทแข็ง
Posted on Friday, September 10, 2010
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/New ... fault.aspx
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) บอกว่า ต้องการให้รัฐบาลส่งสัญญาณที่แรงและชัดเจนในการดูแลเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้เงินบาทแข็งค่าเร็วกว่าประเทศคู่แข่ง หลังจากเห็นว่า ช่วงที่ผ่านมารัฐบาลยังไม่มีความชัดเจนในการดูแลค่าเงินบาท ส่งผลให้ภาคเอกชนปรับตัวไม่ทัน
นายพยุงศักดิ์บอกอีกว่า ภาคเอกชนต้องการเสนอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เข้ามาแทรกแซงค่าเงินบาทไม่ให้ผันผวน และให้สอดคล้องกับเงินสกุลอื่นๆในภูมิภาค พร้อมกับต้องการให้รัฐมีมาตรการฉุกเฉิน ป้องกันเงินทุนต่างชาติที่จะเข้ามาเก็งกำไร รวมทั้งต้องการให้ลดค่าใช้จ่ายให้กับผู้ประกอบการ เช่น การลดค่าธรรมเนียมศุลกากร เป็นเวลา 3 เดือน และขอให้รัฐบาลยอมให้ผู้ส่งออกสามารถชำระค่าระวางเรือเป็นเงินสกุลเงินต่างประเทศ
ด้านนายธนิต โสรัตน์ รองประธานส.อ.ท. บอกว่า เงินบาทนับจากต้นปีที่ผ่านมาแข็งค่าแล้วประมาณ 7% ซึ่งหากรัฐบาลยังไม่มีมาตรการในการดูแล อาจทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นเฉลี่ยเดือนละ 1% และทำให้ในช่วงเดือนตุลาคมนี้เงินบาทอาจแข็งค่าแตะระดับ 29.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐได้ ซึ่งจะยิ่งกระทบกับผู้ประกอบการส่งออก
นายธนิตบอกอีกว่า ธปท. ไม่ควรขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกในปีนี้ เนื่องจากขณะนี้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยที่ระดับ 1.75% ถือว่าอยู่ในระดับที่สูงมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในภูมิภาคเอเชีย เช่น จีนที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 0.65% , ญี่ปุ่นอยู่ที่ 0.1% จึงเป็นเหตุให้มีเงินทุนต่างชาติไหลเข้ามาเก็งกำไรอย่างต่อเนื่อง
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมผู้ส่งข้าวออกไทย ที่เห็นว่า เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องได้ส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกอย่างมาก ดังนั้นรัฐบาลจึงควรออกมาตรการ เพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออก โดยเฉพาะการควบคุมเงินทุนไหลเข้า ออก ด้วยการกำหนดระยะเวลาในการไหลเข้าของเงินทุน และต้องการให้แบงก์ชาติส่งสัญญาณให้ชัดเจนว่า จะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอีก 6 เดือนข้างหน้า เพื่อไม่ให้เงินบาทแข็งค่าเร็วเกินไป โดยเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในขณะนี้ได้ส่งผลกระทบต่อมูลค่าการส่งออกข้าวของไทยในรูปของเงินดอลลาร์สหรัฐแล้วประมาณ 6% และในรูปของเงินบาทลดลงประมาณ 10% พร้อมกับคาดว่าในปีหน้าสถานการณ์
ส่งออกข้าวไทยจะประสบปัญหามาก หลังจากขณะนี้ราคาข้าวไทยกับเวียดนามห่างกันมาก แต่คาดว่า ภายในสิ้นเดือนกันยายนนี้ไทยจะสามารถส่งออกข้าวได้ 6 ล้านตัน และเฉลี่ยทั้งปีนี้จะสามารถส่งออกได้ตามเป้าหมายที่ 8.5 ล้านตัน แม้ตลาดแอฟริกาจะเริ่มชะลอตัวลง เนื่องจากราคาข้าวค่อนข้างแพง และหันไปบริโภคธัญญาหารชนิดอื่น เช่น ข้าวโพด ลูกเดือย มากขึ้น
ด้านนางสาวอุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ส (ไทย) บอกว่า ขณะนี้มีทุนเงินต่างชาติไหลเข้ามายังประเทศไทยแล้วกว่า 1 แสนล้านบาท จึงกดดันให้เงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเห็นว่า ภาครัฐควรใช้นโยบายการสร้างสมดุลของการไหลเข้า ออก ของเงินทุนมากกว่าการใช้มาตรการแทรกแซงค่าเงิน ควบคู่ไปกับการออกนโยบายกระตุ้นให้นักลงทุนไทยไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น
ขณะที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. ควรชะลอการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในช่วงปลายปีนี้ เพื่อลดการแข็งค่าของเงินบาทในระยะยาว เพราะมีแนวโน้มที่เงินบาทจะแข็งค่าขึ้นในอีก 6 - 9 เดือน
นางสาวอุสรา บอกด้วยว่า กระแสเม็ดเงินไหลเข้าไทยนั้น ส่วนใหญ่เข้ามาเก็งกำไรในตลาดพันธบัตร เห็นได้จากที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น 7% เทียบจากปี 2552 ที่ขยายตัวเพียง 2%
ขณะที่นายกวี ชูกิจเกษม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.กสิกรไทย บอกว่า ในสิ้นปี 2553 มีแนวโน้มที่ค่าเงินบาทจะแข็งค่าแตะ 30.20 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่า ในปีหน้าจะแข็งค่าแตะระดับ 29.50 บาทต่อ
ดอลลาร์ พร้อมกับคาดว่า เงินบาทมีโอกาสที่จะแข็งค่าไปแตะระดับ 25 บาทเช่นเดียวกับช่วงก่อนวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 เนื่องจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจไทย และเอเชียมีความแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจในยุโรปและอเมริกาที่ยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจน
นายกวี บอกด้วยว่า มาตรการที่ธปท.เริ่มส่งสัญญาณในการดูแลค่าเงินบาท จะส่งผลให้มีการสกัดกั้นการไหลเข้าของเงินต่างประเทศไทยระยะสั้นเท่านั้น เพราะปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยยังแข็งแกร่ง และมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ ซึ่งหากภาครัฐเน้นการปรับโครงสร้างภาษีเพื่อส่งเสริมการนำเข้าสินค้าทุนจากต่างประเทศ จะเป็นการลดแรงกดดันการแข็งค่าเงินบาทในระยะยาว
จบข่าวครับ
ทีนี้ความเห็นส่วนตัว
เวลาbubble ค่าเงินบาทแตกถือครองทรัพย์สินต่อไปนี้น่าจะได้ประโยชน์สูงสุดหรือเปล่า ไม่แน่ใจเหมือนกันครับ ช่วยวิจารณ์ด้วย
1 หุ้นกลุ่มส่งออก เพราะตอนค่าเงินแข็งสุดๆ กลุ่มนี้ผลประกอบการน่าจะแย่สุด พอค่าเงินตกฮวบฮาบ กลุ่มส่งออกน่าน่าจะพลิกกลับมาดี
2 เรื่องสกุลค่าเงิน ให้ซื้อสกุลค่าเงินที่คิดว่าจะไม่ตกไปพร้อมกับค่าเงินบาทไว้ตอนเงินบาทแข็งสุดๆ เดาว่าเป็นUS dollarหรือ เงินหยวน พอค่าเงินบาทลดมากๆ ก็ให้ขายเงินสกุลอื่นทิ้งกลับมาแลกเป็นเงินไทย ดูกฎหมายด้วยนะครับว่าทำได้ไหม ผิดกฎหมายหรือเปล่าอย่างนี้ แต่ถ้าเงินน้อยๆคงไม่น่าจะเป็นไร
3 ล่อเป้านิดหนึ่งครับ สมัยเปลี่ยนค่าเงินบาทเป็นลอยตัว เขาว่า มีคนรู้ข่าววงในก่อนจะเกิดเหตูการณ์นี้ แล้วทำให้รวยมหาศาล จริงหรือเปล่าก็ไม่รู้ และเขาทำอย่างไรกัน อยากรู้บ้าง จะได้รวยมากๆกับเขาบ้าง ใครรู้ช่วยบอกทีครับ
- จุดแข็งทางธุรกิจที่เลียนแบบได้ยาก มักต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการสร้างและเพาะบ่มเสมอ ไม่สามารถเนรมิตได้ด้วยเงิน (สุมาอี้)
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
- freedomlife
- Verified User
- โพสต์: 214
- ผู้ติดตาม: 0
เงินบาทแข็ง
โพสต์ที่ 11
สำหรับการจัดการกับบาทแข็งนะ ในความคิดผม คิดว่าต้องทำประมาณนี้
1. การส่งเสริมการลงทุนต่างประเทศของภาคเอกชน ให้ไปซื้อกิจการหรืออะไรต่าง ๆ เอาเงินออกนอกประเทศได้มากขึ้น หรือพวกแนว M&A เยอะ ๆ ขึ้น
2. สนับสนุนบริษัท ที่นำเข้าสินค้าเพื่อการลงทุน หรือซื้อเครื่องจักรลดหยอ่นภาษีนำเข้า ให้เขาซื้อได้เต็มที่
3. การไม่ขึ้นดอกเบี้ยอีกจนกว่าจะปีหน้า อันนี้ คงมีผลไม่ค่อยเยอะเท่าไร หรืออาจจะไม่ได้ผล
4. มาตรการกันสำรองที่เคยใช้ปี 2549 แต่อันนี้โหดไปหน่อย ไม่ควร
5. รัฐบาลกู้เงิน USD มาก ๆ หนอ่ย แต่เป็นระยะสั้นไปสร้าง โครงการต่าง ๆ และกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ
ตามที่กล่าวมาจะทำให้ไทยขาดดุลการค้า แล้วเงินบาทจะอ่อนค่าตามมาครับ แต่ในระยะยาว ควรปรับให้กลับมาสมดุลครับ
1. การส่งเสริมการลงทุนต่างประเทศของภาคเอกชน ให้ไปซื้อกิจการหรืออะไรต่าง ๆ เอาเงินออกนอกประเทศได้มากขึ้น หรือพวกแนว M&A เยอะ ๆ ขึ้น
2. สนับสนุนบริษัท ที่นำเข้าสินค้าเพื่อการลงทุน หรือซื้อเครื่องจักรลดหยอ่นภาษีนำเข้า ให้เขาซื้อได้เต็มที่
3. การไม่ขึ้นดอกเบี้ยอีกจนกว่าจะปีหน้า อันนี้ คงมีผลไม่ค่อยเยอะเท่าไร หรืออาจจะไม่ได้ผล
4. มาตรการกันสำรองที่เคยใช้ปี 2549 แต่อันนี้โหดไปหน่อย ไม่ควร
5. รัฐบาลกู้เงิน USD มาก ๆ หนอ่ย แต่เป็นระยะสั้นไปสร้าง โครงการต่าง ๆ และกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ
ตามที่กล่าวมาจะทำให้ไทยขาดดุลการค้า แล้วเงินบาทจะอ่อนค่าตามมาครับ แต่ในระยะยาว ควรปรับให้กลับมาสมดุลครับ
- freedomlife
- Verified User
- โพสต์: 214
- ผู้ติดตาม: 0
เงินบาทแข็ง
โพสต์ที่ 12
บริษัททีจะได้รับผลดีจากบาทแข็ง
พวกมีหนี้ต่างประเทศ อันนี้ลองไปอ่านดูนะครับ ตามรายงานประจำปี หรือตามบทสัมภาษที่เขาให้ไว้ เช่น เราไม่กังวลเพราะเรามีทั้งซื้อวัตถุดิบเป็นเงินต่างประเทศ และ ขายต่างประเทศ และมีหนี้สินเงินต่างประเทศ อันนี้ก็ช่วยให้ กำไรสุทธิดีขึ้นด้วยครับ
พวกนำเข้าผลิตจะดีมาก นำเข้าทอง นำเข้าเพชร นำเข้าถั่วเหลือง อื่น ๆ
พวกมีหนี้ต่างประเทศก็ดี หนี้ พวก EURO and USD เพราะพวกนี้อ่อน ไป เรื่อย แต่ส่วนมากเขาเป็นหนี้ USD กันเพราะ USD คือสกุลเงินโลก เหมือนกับ ภาษาอังกฤษ เป็นภาษาโลก
พวกมีหนี้ต่างประเทศ อันนี้ลองไปอ่านดูนะครับ ตามรายงานประจำปี หรือตามบทสัมภาษที่เขาให้ไว้ เช่น เราไม่กังวลเพราะเรามีทั้งซื้อวัตถุดิบเป็นเงินต่างประเทศ และ ขายต่างประเทศ และมีหนี้สินเงินต่างประเทศ อันนี้ก็ช่วยให้ กำไรสุทธิดีขึ้นด้วยครับ
พวกนำเข้าผลิตจะดีมาก นำเข้าทอง นำเข้าเพชร นำเข้าถั่วเหลือง อื่น ๆ
พวกมีหนี้ต่างประเทศก็ดี หนี้ พวก EURO and USD เพราะพวกนี้อ่อน ไป เรื่อย แต่ส่วนมากเขาเป็นหนี้ USD กันเพราะ USD คือสกุลเงินโลก เหมือนกับ ภาษาอังกฤษ เป็นภาษาโลก
-
- Verified User
- โพสต์: 115
- ผู้ติดตาม: 0
เงินบาทแข็ง
โพสต์ที่ 13
3 ล่อเป้านิดหนึ่งครับ สมัยเปลี่ยนค่าเงินบาทเป็นลอยตัว เขาว่า มีคนรู้ข่าววงในก่อนจะเกิดเหตูการณ์นี้ แล้วทำให้รวยมหาศาล จริงหรือเปล่าก็ไม่รู้ และเขาทำอย่างไรกัน อยากรู้บ้าง จะได้รวยมากๆกับเขาบ้าง ใครรู้ช่วยบอกทีครับ
เท่าที่ผมทราบ ตอนช่วงนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นคนวงในนะครับที่รู้ข่าว คนไทยเนี่ยแหละ ทุกคนที่รู้ข่าว ซื้อดอลล่าร์แล้วก็เทขายบาทออกมาอย่างหนัก กันทั้งนั้น ....เหตุผลก็ง่ายนิดเดียว เงินประเทศชาติ ไม่ใช่เงินตัวเอง
ปล.ตอนนั้นยังกินนมกล่องอยู่เลยครับ ก็เลยไม่เจอกับตัว อาศัยถามคนอื่นเอา
เท่าที่ผมทราบ ตอนช่วงนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นคนวงในนะครับที่รู้ข่าว คนไทยเนี่ยแหละ ทุกคนที่รู้ข่าว ซื้อดอลล่าร์แล้วก็เทขายบาทออกมาอย่างหนัก กันทั้งนั้น ....เหตุผลก็ง่ายนิดเดียว เงินประเทศชาติ ไม่ใช่เงินตัวเอง
ปล.ตอนนั้นยังกินนมกล่องอยู่เลยครับ ก็เลยไม่เจอกับตัว อาศัยถามคนอื่นเอา
An investment operation is one which, upon thorough analysis, promises safety of principal and an adequate return. Operations not meeting these requirements are speculative
-
- Verified User
- โพสต์: 144
- ผู้ติดตาม: 0
เงินบาทแข็ง
โพสต์ที่ 14
มาตรการกันสำรองเมื่อปี 49 ที่่ทำให้ set ตกอย่างหนัก ไม่ทราบว่าหุ้นทุกตัวตกหมดเลย หรือว่าเป็นเฉพาะกลุ่มครับ และมีกลุ่มไหนบ้างหรือไม่ครับที่ยังยืดหยัดอยู่ได้ครับfreedomlife เขียน:สำหรับการจัดการกับบาทแข็งนะ ในความคิดผม คิดว่าต้องทำประมาณนี้
1. การส่งเสริมการลงทุนต่างประเทศของภาคเอกชน ให้ไปซื้อกิจการหรืออะไรต่าง ๆ เอาเงินออกนอกประเทศได้มากขึ้น หรือพวกแนว M&A เยอะ ๆ ขึ้น
2. สนับสนุนบริษัท ที่นำเข้าสินค้าเพื่อการลงทุน หรือซื้อเครื่องจักรลดหยอ่นภาษีนำเข้า ให้เขาซื้อได้เต็มที่
3. การไม่ขึ้นดอกเบี้ยอีกจนกว่าจะปีหน้า อันนี้ คงมีผลไม่ค่อยเยอะเท่าไร หรืออาจจะไม่ได้ผล
4. มาตรการกันสำรองที่เคยใช้ปี 2549 แต่อันนี้โหดไปหน่อย ไม่ควร
5. รัฐบาลกู้เงิน USD มาก ๆ หนอ่ย แต่เป็นระยะสั้นไปสร้าง โครงการต่าง ๆ และกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ
ตามที่กล่าวมาจะทำให้ไทยขาดดุลการค้า แล้วเงินบาทจะอ่อนค่าตามมาครับ แต่ในระยะยาว ควรปรับให้กลับมาสมดุลครับ
The rich person is not one who have most but one who need least
-
- Verified User
- โพสต์: 495
- ผู้ติดตาม: 0
เงินบาทแข็ง
โพสต์ที่ 15
มองๆ บริษัทที่มีเงินสดเหลือเยอะ แล้วต้องการขยายกิจการ ไปต่างประเทศด้วยก็ดีนะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 144
- ผู้ติดตาม: 0
เงินบาทแข็ง
โพสต์ที่ 16
เปิดโผหุ้นรับผลดี-ผลเสียบาทแข็งค่า
เงินบาทยังแข็งค่าต่อเนื่อง หลัง Fed ปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน หนุนเงินไหลเข้า กรณ์'ลั่นไม่พบการเก็งกำไรค่าบาทผ่านตลาดหุ้น สั่งธปท.จับตาตลาดบอนด์ใกล้ชิด กูรูชี้อสังหาฯ -รับเหมา-วัสดุ รับอานิสงส์บาทแข็งค่า ส่วนชิ้นส่วนอิเลคฯ -อาหาร กระทบหนักสุด เตือนระวังแรงขายหุ้น หากเงินบาทแตะ 29 บาท/ดอลล์
****'กรณ์'เผยไม่พบการเก็งกำไรค่าบาทผ่านตลาดหุ้น สั่งธปท.จับตาตลาดบอนด์ใกล้ชิด
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ผ่านมายังไม่พบว่ามีการเข้ามาเก็งกำไรในตลาดหุ้นไทยเพื่อหวังส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยน แต่ในส่วนของตลาดตราสารหนี้ที่มีการซื้อขายเพิ่มขึ้นได้สั่งการให้ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)เข้าไปดูแลอย่างใกล้ชิด
'เก็งกำไรผ่านตลาดหลักทรัพย์ไม่มี เพราะถ้าจะมาเอากำไรจากแค่ส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยน มันยังมีความเสี่ยงเรื่องราคาหุ้น ไม่คุ้มที่จะลงทุน...ส่วนตราสารหนี้ที่เข้ามาซื้อขายเปลี่ยนมือมากขึ้น ก็ได้สั่งการให้ธนาคารแห่งประเทศไทย เข้าไปดูแลอย่างใกล้ชิด' นายกรณ์ กล่าว
ส่วนเงินบาทที่แข็งค่าขณะนี้ ยังไม่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออก ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) มีมาตรการในการดูแลเงินบาทอยู่แล้ว และมีอำนาจที่สามารถจะดำเนินการได้
'ตอนนี้แบงก์ชาติมีมาตรการที่จะเข้ามาดูแล ไม่ให้เงินบาทผันผวนมากเกินไปอยู่แล้ว ก็เป็นอำนาจหน้าที่โดยตรงของแบงก์ชาติ ที่สามารถดำเนินการได้' รมว.คลังกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตั้งแต่ต้นปีนี้ เงินบาทแข็งค่าขึ้นมาแล้วราว 8% เป็นอันดับ 3 ในภูมิภาครองจากเยน ญี่ปุ่น และ ริงกิต มาเลเซีย โดยล่าสุดเงินบาท/ดอลลาร์ อยู่ที่ 30.73/76
ซึ่งอยู่ในระดับแข็งค่าสุดในรอบ 13 ปี ขณะที่ดัชนีหุ้นไทยในปีนี้ปรับขึ้นมาแล้วกว่า 26% โดยเมื่อสัปดาห์ก่อน ขึ้นไปทำจุดสูงสุดในรอบเกือบ 14 ปี ที่ 944.64 และล่าสุดอยู่ที่ 936.54 จุด
****กูรูฟันธงเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่อง หลัง Fed ปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน หนุนเงินไหลเข้า
บทวิเคราะห์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส ระบุว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ(FOMC) มีมติล่าสุดให้คงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (fed funds rate) ไว้ที่ระดับ 0-0.25% และยังมีมติเห็นชอบมาตรการการนำรายได้จากตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยรองรับ (MBS) และตราสารที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันของเฟนนี เม และเฟรดดี แมคซึ่งครบกำหนดไถ่ถอนจำนวน 1.3-2 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐในระยะเวลานับจากนี้ไปซื้อพันธบัตรระยะยาวของรัฐบาล การดำเนินงานในครั้งนี้แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเงินครั้งสำคัญจากเดิมที่คณะกรรมการ Fed วางแผนที่จะใช้ยุทธศาสตร์ถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ(Exit Strategy) แบบค่อยเป็นค่อยไป สู่การตรึงอัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุดในประวัติการณ์ไปอีกช่วงระยะเวลาหนึ่ง การล่าช้าของการใช้อัตราดอกเบี้ยแบบปกติ (Interest rate normalization) ไปกว่าประเทศในภูมิภาคเอเชียหรือแม้กระทั่งในยุโรป จะนำไปสู่การอ่อนค่าของค่าเงินดอลลาร์เมื่อเปรียบเทียบกับสกุลเงินหลักในระยะเวลายาวนานและเร็วกว่าที่เราคาดการณ์ไว้ ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ รายงานฉบับนี้เราจึงได้ปรับคาดการณ์อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐเพื่อสะท้อนมุมมองต่อการอ่อนค่าของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเทียบกับค่าเงินบาท และทำให้เราเชื่อมั่นมากขึ้นต่อการไหลเข้าของเงินทุนโลกจะเข้าสู่ประเทศในเอเชีย
เมื่อหลายสัปดาห์ก่อนหน้าการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของสหรัฐฯ เจ้าหน้านี้ถกเถียงกันในเรื่องของการถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ใช้เมื่อคราวที่สหรัฐเผชิญวิกฤติการเงินครั้งใหญ่ อย่างไรก็ตามตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดได้บ่งชี้ว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวลงอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2010 อาทิ ตัวเลขการว่างงานในระดับสูงมากและการที่ตำแหน่งงานว่าจ้างใหม่ในระดับต่ำรวมไปถึงตัวเลขยอดขายบ้านใหม่ที่หดตัวลงล้วนเป็นปัญหาสำคัญที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขและอาจนำไปสู่การหดตัวของการใช้จ่ายภาคเอกชนและการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐมากยิ่งขึ้น ด้วยสาเหตุดังกล่าวการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐเมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2010 ด้วยเสียง 9 ต่อ 1 เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯยังคงต้องการการกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามคณะกรรมการฯยังคงมีความเชื่อว่าสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจในปัจจุบันและนโยบายการเงินที่จะทำดำเนินการต่อไปนี้จะช่วยไม่ให้สหรัฐฯประสบกับภาวะตกต่ำของเศรษฐกิจเป็นครั้งที่สองหรือแม้แต่ภาวะเงินฝืด ทั้งนี้คณะกรรมการยังมีมติเห็นชอบที่จะให้ใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขั้นต้นด้วยการใช้เงินที่จะได้จากการไถ่ถอนตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันและตราสารหนี้ของรัฐบาลไปลงทุนต่อในพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว ซึ่งหากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังคงอ่อนแอต่อไปอีก Fed ยังมีความพร้อมที่จะลงทุนเพิ่มในพันธบัตรระยะยาวเพิ่มเติม
ในวันก่อนหน้าที่ Fed จะประกาศนโยบายการเงิน ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐผันผวนอ่อนค่าลงมากน้อยตามตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐและยุโรปที่ประกาศออกมาในแต่ละสัปดาห์ แต่เนื่องจากความเป็นไปได้ที่สหรัฐจะถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าทรงตัวไม่สะท้อนถึงพื้นฐานเศรษฐกิจที่อ่อนแอลงทั้งจากยอดขาดดุลแฝด (Twin deficits), ภาวะหนี้ต่างประเทศที่มากขึ้น และภาวะตกต่ำของตลาดแรงงานที่มีอัตราการว่างงาน 10% เป็นต้น เราเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงนโยบายของ Fed ในครั้งนี้จะทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลหลัก ค่าเงินของประเทศในภูมิภาคเอเชียซึ่งรวมถึงค่าเงินบาทจะแข็งค่ามากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากนี้เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์เนื่องจากประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียเริ่มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว
ค่าเงินของประเทศในภูมิภาคเอเชียแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ สหรัฐเฉลี่ยราว 7.4% จากต้นปี โดยค่าเงินเยนญี่ปุ่นแข็งค่าขึ้น 9.4%YTD เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐซึ่งมากที่สุดในบรรดา 10 ประเทศที่เราทำการศึกษา ทั้งนี้ ค่าเงินริงกิตประเทศมาเลเซีย (+9.2%), ค่าเงินบาท (+7.4%), ค่าเงินรูเปี๊ยของอินโดนีเซีย (+5.3%), ค่าเงินเปโซ ฟิลิปปินส์ (+4.4%), ค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์ (+4.3%) แข็งค่าขึ้นเป็นอันดับ 2, 3, 4, 5 และ 6 ตามลำดับ ในส่วนของค่าเงินหยวนประเทศจีน ค่าเงินดอลลาร์ฮ่องกง ค่าเงินวอนเกาหลี และค่าเงินรูปีอินเดียไม่มากก็น้อยผูกติดกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้นค่าเงินของประเทศเหล่านี้จึงแข็งค่าน้อยกว่าค่าเงินประเทศอื่น
ฝ่ายกลยุทธ์ของเราได้ปรับคาดการณ์ค่าเงินบาทต่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเป็น 30.25 บาทในปี 2010 และเป็น 29.13 บาทในปี 2011 จากเดิมที่คาดการณ์ที่ 32.74 บาท และ 32 บาทตามลำดับ แม้ว่าค่าเงินบาทจะแข็งค่าแล้ว 7.4% YTD แต่มีแนวโน้มว่าเงินบาทยังจะแข็งค่าได้อีกต่อเนื่อง
****อสังหาฯ -รับเหมา-วัสดุ รับอานิสงส์บาทแข็งค่า
บทวิเคราะห์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส ระบุว่า เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอีก กลุ่มอสังหาฯ รับเหมา และวัสดุได้รับผลบวก
1)กลุ่มอสังหาฯ รับเหมา และวัสดุก่อสร้าง รายได้เป็นเงินบาททั้งหมด แต่มีการนำเข้าวัตถุดิบ เหล็ก และเครื่องจักรซึ่งจะนำเข้าได้ถูกลง หากพิจารณาจากราคาหุ้นปัจจุบัน LPN, SPALI, STEC, CK น่าสนใจเพราะราคาหุ้นได้ปรับฐานลงมาแล้ว
2) กลุ่มเหล็ก ส่วนใหญ่นำเข้าวัตถุดิบกึ่งสำเร็จรูปจากต่างประเทศทั้งหมด โดย SSI ได้รับผลบวกมากสุด แต่เนื่องจาก SSI ยังมีประเด็นเรื่องเพิ่มทุนรออยู่ข้างหน้า เราจึงไม่แนะนำ SSI ในขณะนี้ แต่เห็นว่า TSTH เป็นทางเลือกที่ดีกว่า
3)กลุ่มสื่อสาร รายได้ทั้งหมดเป็นเงินบาทแต่มีการนำเข้าอุปกรณ์โครงข่าย และโทรศัพท์มือถือจากต่างประเทศ จึงได้รับผลบวกเมื่อบาทแข็งค่า โดยเฉพาะ TRUE ซึ่งมีหนี้ต่างประเทศด้วย จึงได้รับผลบวกมากที่สุด
4)อื่นๆ TVO, TASCO
****เปิดโผหุ้นรับผลลบๆสุด หลังบาทแข็ง
บทวิเคราะห์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส ระบุว่า เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอีก มีกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบทางลบได้แก่
1)กลุ่มอิเล็คทรอนิคส์ ได้รับผลกระทบจำกัด เพราะแม้จะส่งออก 100% แต่ก็นำเข้าวัตถุดิบ 100% เช่นกัน และหลายบริษัทมีการทำประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนไว้บ้างแล้ว ผลกระทบจึงค่อนข้างจำกัด เราประเมินว่าทุกๆ 1 บาทที่แข็งค่าขึ้นจะกระทบกับกำไรของกลุ่มนี้ 2% - 8% หุ้น KCE, DELTA ยังเป็น Top picks ในกลุ่มนี้
2)กลุ่มอาหาร STA ได้รับผลกระทบทางลบมากสุดเพราะต้นทุนเป็นเงินบาททั้งหมด แต่ส่งออกประมาณ 80% ขณะที่ GFPT และ TUF ได้รับผลกระทบค่อนข้างจำกัด ส่วน CPF ไม่ได้รับผลกระทบเพราะ Natural hedge กันพอดี
3)กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี ได้รับผลกระทบจำกัด ทุกๆ 1 บาทที่แข็งค่า กำไรของกลุ่มนี้จะลดลงเพียง 2% - 4% หุ้นที่ราคามี upside เมื่อเทียบกับเป้าหมายของเราคือ PTTCH, PTTAR และ PTTEP
4)THCOM ได้รับผลกระทบทางลบมากสุดในกลุ่มสื่อสาร เพราะมีรายได้ในรูปดอลลาร์ถึงประมาณ 70%
5)อื่นๆ AOT, VNG
****โบรกฯเตือนระวังต่างชาติเทขายหุ้น หากเงินบาทแตะ 29 บาท/ดอลล์
นายพิชัย เลิศสุพงษ์กิจ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายการตลาด บล. ธนชาต กล่าวว่า สาเหตุการแข็งค่าของค่าเงินบาทขณะนี้ เนื่องจากดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศเกินดุลอย่างต่อเนื่อง สะท้อนได้ว่ามีเงินทุนจากต่างชาติไหลเข้ามาลงทุนสินทรัพย์ในประเทศไทยมากขึ้น เป็นไปตามทิศทางเดียวกับประเทศในแถบภูมิภาคเอเชีย หลังจากที่เศรษฐกิจไทยและประเทศเอเชียขยายตัวดีกว่าประเทศกลุ่มหลัก ได้แก่ ประเทศยุโรป และประเทศสหรัฐฯ จึงทำให้รัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ต้องมีมาตรการมาควบคุมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย เพราะเกรงว่าภาวะเงินเฟ้อจะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อภาพรวมเศรษฐกิจ ดังนั้น ผลตอบแทนจึงเพิ่มมากขึ้นทำให้เงินทุนต่างชาติไหลเข้ามาลงทุนในสินทรัพย์ในประเทศไทยสูง ขณะที่ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยเติบโตเป็นที่น่าพอใจ ทำให้เม็ดเงินดังกล่าวเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ แต่จากการประเมินเม็ดเงินดังกล่าวส่วนใหญ่จะเข้ามาลงทุนในตลาดตราสารหนี้
สำหรับปัจจัยบวกจากเงินทุนต่างชาติไหลเข้า ส่งผลบวกต่อหุ้นกลุ่มหลัก อาทิ กลุ่มพลังงาน กลุ่มธนาคารพานิชย์ ส่วนบริษัทฯที่ทำธุรกิจส่งออกและนำเข้าในตลาดฯมีจำนวนไม่มากนัก ดังนั้น ภาพรวมการได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งจึงยังมีไม่มากนัก
อย่างไรก็ตาม แนวโน้มค่าเงินบาทยังมีสัญญาณที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่อง โดยหากค่าเงินบาทแข็งค่าหลุด 30 บาท จนอยู่ระดับแถวๆ 29 บาทกว่า ซึ่งเชื่อว่านักลงทุนต่างชาติจะเริ่มทยอยขายหุ้นออกมาเพื่อทำกำไร แม้ว่าแนวโน้มค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้น แต่หากยังไม่แข็งค่าอย่างรวดเร็วจนเกินไป การลงทุนในตลาดหุ้นก็ยังน่าสนใจอยู่เนื่องจากประเมินว่าดัชนีฯยังอยู่ในช่วงขาขึ้น แต่ขณะเดียวกันหากแข็งค่ารวดเร็วจนเกินไป ก็จะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการลงทุน เพราะอาจจะเผชิญแรงเทขายจากนักลงทุนต่างชาติ ทั้งนี้ หากค่าเงินบาทแข็งค่ารวดเร็วจนเกินไปโดยแตะที่ระดับ 30 บาท ก็เชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะออกมาตรการออกมาดูแลค่าเงินบาท โดยเฉพาะกรณีการสกัดกั้นเงินทุนต่างชาติไหลเข้า ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาการลงทุนอย่างรอบคอบ
ด้านนายจักรกริช เจริญเมธาชัย รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.โกลเบล็ก กล่าวว่า จากแนวโน้มของค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องในส่วนของปัจจัยบวกประเมินว่าน่าจะส่งผลดีต่อกระแสเงินลงทุนจากต่างชาติ (Fund Flow) ให้ไหลเข้ามาเก็งกำไรทั้งในตลาดหุ้นและค่าเงิน รวมทั้งยังส่งผลดีต่อบริษัทที่นำเข้าให้มีความได้เปรียบแต่ยังถือภาคธุรกิจนำเข้ามีสัดส่วนน้อยเมื่อดูภาคธุรกิจอื่น
อย่างไรก็ดี หากพิจารณาถึงปัจจัยเสี่ยงพบว่าการปรับตัวเพิ่มขึ้นของดัชนีฯในขณะนี้ถือว่าเกินปัจจัยพื้นฐานที่คาดว่าน่าจุดสูงสุดของปีนี้จะอยู่ที่ 950 จุดจาก Fund Flow ที่ไหลเข้ามาโดยขาดปัจจัยพื้นฐานรองรับมีโอกาสที่ดัชนีฯที่ปรับตัวขึ้นไปที่ระดับ 1,000 จุดได้ โดยในระยะสั้นหากค่าเงินบาทยังคงมีทิศทางแข็งค่าต่อเนื่องหลุดที่ลงไปต่ำกว่า 31 บาท มีโอกาสที่รัฐบาลอาจออกมาตรการแทรกแซงค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่ามากเกินไปจนส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของประเทศซึ่งภาคที่สัดส่วนสูงและส่งผลรวมต่อการขยายทางเศรษฐกิจ(GDP)ของประเทศ และยังกระทบต่อธุรกิจพลังงาน หลังจากที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นไปที่ระดับ 31.50 บาท เริ่มมีผู้ประกอบการส่งออกเริ่มออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลออกมาตรการดูแลเงินบาท ซึ่งหากรัฐบาลไม่มีนโยบายออกมาก็อาจส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาล
ประกอบกับหากเงินบาทยังคงแข็งค่าต่อไปอาจมีความกังวลที่จะส่งผลกระทบต่อดัชนีฯให้ปรับตัวลดลงได้ เนื่องจากประเด็นดังกล่าวอาจส่งผลพื้นฐานของบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่ที่มีสัดส่วรนการส่งออกสูง
กลยุทธ์การลงทุนจากทิศทางเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องถือเป็นจังหวะดีแนะนำทยอยขายลดพอร์ต ส่วนนักลงทุนที่ยังไม่มีหุ้นแนะนำให้เทรดดิ้งจบในวัน
เงินบาทยังแข็งค่าต่อเนื่อง หลัง Fed ปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน หนุนเงินไหลเข้า กรณ์'ลั่นไม่พบการเก็งกำไรค่าบาทผ่านตลาดหุ้น สั่งธปท.จับตาตลาดบอนด์ใกล้ชิด กูรูชี้อสังหาฯ -รับเหมา-วัสดุ รับอานิสงส์บาทแข็งค่า ส่วนชิ้นส่วนอิเลคฯ -อาหาร กระทบหนักสุด เตือนระวังแรงขายหุ้น หากเงินบาทแตะ 29 บาท/ดอลล์
****'กรณ์'เผยไม่พบการเก็งกำไรค่าบาทผ่านตลาดหุ้น สั่งธปท.จับตาตลาดบอนด์ใกล้ชิด
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ผ่านมายังไม่พบว่ามีการเข้ามาเก็งกำไรในตลาดหุ้นไทยเพื่อหวังส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยน แต่ในส่วนของตลาดตราสารหนี้ที่มีการซื้อขายเพิ่มขึ้นได้สั่งการให้ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)เข้าไปดูแลอย่างใกล้ชิด
'เก็งกำไรผ่านตลาดหลักทรัพย์ไม่มี เพราะถ้าจะมาเอากำไรจากแค่ส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยน มันยังมีความเสี่ยงเรื่องราคาหุ้น ไม่คุ้มที่จะลงทุน...ส่วนตราสารหนี้ที่เข้ามาซื้อขายเปลี่ยนมือมากขึ้น ก็ได้สั่งการให้ธนาคารแห่งประเทศไทย เข้าไปดูแลอย่างใกล้ชิด' นายกรณ์ กล่าว
ส่วนเงินบาทที่แข็งค่าขณะนี้ ยังไม่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออก ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) มีมาตรการในการดูแลเงินบาทอยู่แล้ว และมีอำนาจที่สามารถจะดำเนินการได้
'ตอนนี้แบงก์ชาติมีมาตรการที่จะเข้ามาดูแล ไม่ให้เงินบาทผันผวนมากเกินไปอยู่แล้ว ก็เป็นอำนาจหน้าที่โดยตรงของแบงก์ชาติ ที่สามารถดำเนินการได้' รมว.คลังกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตั้งแต่ต้นปีนี้ เงินบาทแข็งค่าขึ้นมาแล้วราว 8% เป็นอันดับ 3 ในภูมิภาครองจากเยน ญี่ปุ่น และ ริงกิต มาเลเซีย โดยล่าสุดเงินบาท/ดอลลาร์ อยู่ที่ 30.73/76
ซึ่งอยู่ในระดับแข็งค่าสุดในรอบ 13 ปี ขณะที่ดัชนีหุ้นไทยในปีนี้ปรับขึ้นมาแล้วกว่า 26% โดยเมื่อสัปดาห์ก่อน ขึ้นไปทำจุดสูงสุดในรอบเกือบ 14 ปี ที่ 944.64 และล่าสุดอยู่ที่ 936.54 จุด
****กูรูฟันธงเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่อง หลัง Fed ปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน หนุนเงินไหลเข้า
บทวิเคราะห์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส ระบุว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ(FOMC) มีมติล่าสุดให้คงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น (fed funds rate) ไว้ที่ระดับ 0-0.25% และยังมีมติเห็นชอบมาตรการการนำรายได้จากตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยรองรับ (MBS) และตราสารที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันของเฟนนี เม และเฟรดดี แมคซึ่งครบกำหนดไถ่ถอนจำนวน 1.3-2 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐในระยะเวลานับจากนี้ไปซื้อพันธบัตรระยะยาวของรัฐบาล การดำเนินงานในครั้งนี้แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเงินครั้งสำคัญจากเดิมที่คณะกรรมการ Fed วางแผนที่จะใช้ยุทธศาสตร์ถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ(Exit Strategy) แบบค่อยเป็นค่อยไป สู่การตรึงอัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุดในประวัติการณ์ไปอีกช่วงระยะเวลาหนึ่ง การล่าช้าของการใช้อัตราดอกเบี้ยแบบปกติ (Interest rate normalization) ไปกว่าประเทศในภูมิภาคเอเชียหรือแม้กระทั่งในยุโรป จะนำไปสู่การอ่อนค่าของค่าเงินดอลลาร์เมื่อเปรียบเทียบกับสกุลเงินหลักในระยะเวลายาวนานและเร็วกว่าที่เราคาดการณ์ไว้ ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ รายงานฉบับนี้เราจึงได้ปรับคาดการณ์อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐเพื่อสะท้อนมุมมองต่อการอ่อนค่าของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเทียบกับค่าเงินบาท และทำให้เราเชื่อมั่นมากขึ้นต่อการไหลเข้าของเงินทุนโลกจะเข้าสู่ประเทศในเอเชีย
เมื่อหลายสัปดาห์ก่อนหน้าการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของสหรัฐฯ เจ้าหน้านี้ถกเถียงกันในเรื่องของการถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ใช้เมื่อคราวที่สหรัฐเผชิญวิกฤติการเงินครั้งใหญ่ อย่างไรก็ตามตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดได้บ่งชี้ว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวลงอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2010 อาทิ ตัวเลขการว่างงานในระดับสูงมากและการที่ตำแหน่งงานว่าจ้างใหม่ในระดับต่ำรวมไปถึงตัวเลขยอดขายบ้านใหม่ที่หดตัวลงล้วนเป็นปัญหาสำคัญที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขและอาจนำไปสู่การหดตัวของการใช้จ่ายภาคเอกชนและการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐมากยิ่งขึ้น ด้วยสาเหตุดังกล่าวการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐเมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2010 ด้วยเสียง 9 ต่อ 1 เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯยังคงต้องการการกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามคณะกรรมการฯยังคงมีความเชื่อว่าสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจในปัจจุบันและนโยบายการเงินที่จะทำดำเนินการต่อไปนี้จะช่วยไม่ให้สหรัฐฯประสบกับภาวะตกต่ำของเศรษฐกิจเป็นครั้งที่สองหรือแม้แต่ภาวะเงินฝืด ทั้งนี้คณะกรรมการยังมีมติเห็นชอบที่จะให้ใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขั้นต้นด้วยการใช้เงินที่จะได้จากการไถ่ถอนตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันและตราสารหนี้ของรัฐบาลไปลงทุนต่อในพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว ซึ่งหากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังคงอ่อนแอต่อไปอีก Fed ยังมีความพร้อมที่จะลงทุนเพิ่มในพันธบัตรระยะยาวเพิ่มเติม
ในวันก่อนหน้าที่ Fed จะประกาศนโยบายการเงิน ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐผันผวนอ่อนค่าลงมากน้อยตามตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐและยุโรปที่ประกาศออกมาในแต่ละสัปดาห์ แต่เนื่องจากความเป็นไปได้ที่สหรัฐจะถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าทรงตัวไม่สะท้อนถึงพื้นฐานเศรษฐกิจที่อ่อนแอลงทั้งจากยอดขาดดุลแฝด (Twin deficits), ภาวะหนี้ต่างประเทศที่มากขึ้น และภาวะตกต่ำของตลาดแรงงานที่มีอัตราการว่างงาน 10% เป็นต้น เราเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงนโยบายของ Fed ในครั้งนี้จะทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลหลัก ค่าเงินของประเทศในภูมิภาคเอเชียซึ่งรวมถึงค่าเงินบาทจะแข็งค่ามากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากนี้เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์เนื่องจากประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียเริ่มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว
ค่าเงินของประเทศในภูมิภาคเอเชียแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์ สหรัฐเฉลี่ยราว 7.4% จากต้นปี โดยค่าเงินเยนญี่ปุ่นแข็งค่าขึ้น 9.4%YTD เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐซึ่งมากที่สุดในบรรดา 10 ประเทศที่เราทำการศึกษา ทั้งนี้ ค่าเงินริงกิตประเทศมาเลเซีย (+9.2%), ค่าเงินบาท (+7.4%), ค่าเงินรูเปี๊ยของอินโดนีเซีย (+5.3%), ค่าเงินเปโซ ฟิลิปปินส์ (+4.4%), ค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์ (+4.3%) แข็งค่าขึ้นเป็นอันดับ 2, 3, 4, 5 และ 6 ตามลำดับ ในส่วนของค่าเงินหยวนประเทศจีน ค่าเงินดอลลาร์ฮ่องกง ค่าเงินวอนเกาหลี และค่าเงินรูปีอินเดียไม่มากก็น้อยผูกติดกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้นค่าเงินของประเทศเหล่านี้จึงแข็งค่าน้อยกว่าค่าเงินประเทศอื่น
ฝ่ายกลยุทธ์ของเราได้ปรับคาดการณ์ค่าเงินบาทต่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเป็น 30.25 บาทในปี 2010 และเป็น 29.13 บาทในปี 2011 จากเดิมที่คาดการณ์ที่ 32.74 บาท และ 32 บาทตามลำดับ แม้ว่าค่าเงินบาทจะแข็งค่าแล้ว 7.4% YTD แต่มีแนวโน้มว่าเงินบาทยังจะแข็งค่าได้อีกต่อเนื่อง
****อสังหาฯ -รับเหมา-วัสดุ รับอานิสงส์บาทแข็งค่า
บทวิเคราะห์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส ระบุว่า เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอีก กลุ่มอสังหาฯ รับเหมา และวัสดุได้รับผลบวก
1)กลุ่มอสังหาฯ รับเหมา และวัสดุก่อสร้าง รายได้เป็นเงินบาททั้งหมด แต่มีการนำเข้าวัตถุดิบ เหล็ก และเครื่องจักรซึ่งจะนำเข้าได้ถูกลง หากพิจารณาจากราคาหุ้นปัจจุบัน LPN, SPALI, STEC, CK น่าสนใจเพราะราคาหุ้นได้ปรับฐานลงมาแล้ว
2) กลุ่มเหล็ก ส่วนใหญ่นำเข้าวัตถุดิบกึ่งสำเร็จรูปจากต่างประเทศทั้งหมด โดย SSI ได้รับผลบวกมากสุด แต่เนื่องจาก SSI ยังมีประเด็นเรื่องเพิ่มทุนรออยู่ข้างหน้า เราจึงไม่แนะนำ SSI ในขณะนี้ แต่เห็นว่า TSTH เป็นทางเลือกที่ดีกว่า
3)กลุ่มสื่อสาร รายได้ทั้งหมดเป็นเงินบาทแต่มีการนำเข้าอุปกรณ์โครงข่าย และโทรศัพท์มือถือจากต่างประเทศ จึงได้รับผลบวกเมื่อบาทแข็งค่า โดยเฉพาะ TRUE ซึ่งมีหนี้ต่างประเทศด้วย จึงได้รับผลบวกมากที่สุด
4)อื่นๆ TVO, TASCO
****เปิดโผหุ้นรับผลลบๆสุด หลังบาทแข็ง
บทวิเคราะห์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส ระบุว่า เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอีก มีกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบทางลบได้แก่
1)กลุ่มอิเล็คทรอนิคส์ ได้รับผลกระทบจำกัด เพราะแม้จะส่งออก 100% แต่ก็นำเข้าวัตถุดิบ 100% เช่นกัน และหลายบริษัทมีการทำประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนไว้บ้างแล้ว ผลกระทบจึงค่อนข้างจำกัด เราประเมินว่าทุกๆ 1 บาทที่แข็งค่าขึ้นจะกระทบกับกำไรของกลุ่มนี้ 2% - 8% หุ้น KCE, DELTA ยังเป็น Top picks ในกลุ่มนี้
2)กลุ่มอาหาร STA ได้รับผลกระทบทางลบมากสุดเพราะต้นทุนเป็นเงินบาททั้งหมด แต่ส่งออกประมาณ 80% ขณะที่ GFPT และ TUF ได้รับผลกระทบค่อนข้างจำกัด ส่วน CPF ไม่ได้รับผลกระทบเพราะ Natural hedge กันพอดี
3)กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี ได้รับผลกระทบจำกัด ทุกๆ 1 บาทที่แข็งค่า กำไรของกลุ่มนี้จะลดลงเพียง 2% - 4% หุ้นที่ราคามี upside เมื่อเทียบกับเป้าหมายของเราคือ PTTCH, PTTAR และ PTTEP
4)THCOM ได้รับผลกระทบทางลบมากสุดในกลุ่มสื่อสาร เพราะมีรายได้ในรูปดอลลาร์ถึงประมาณ 70%
5)อื่นๆ AOT, VNG
****โบรกฯเตือนระวังต่างชาติเทขายหุ้น หากเงินบาทแตะ 29 บาท/ดอลล์
นายพิชัย เลิศสุพงษ์กิจ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายการตลาด บล. ธนชาต กล่าวว่า สาเหตุการแข็งค่าของค่าเงินบาทขณะนี้ เนื่องจากดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศเกินดุลอย่างต่อเนื่อง สะท้อนได้ว่ามีเงินทุนจากต่างชาติไหลเข้ามาลงทุนสินทรัพย์ในประเทศไทยมากขึ้น เป็นไปตามทิศทางเดียวกับประเทศในแถบภูมิภาคเอเชีย หลังจากที่เศรษฐกิจไทยและประเทศเอเชียขยายตัวดีกว่าประเทศกลุ่มหลัก ได้แก่ ประเทศยุโรป และประเทศสหรัฐฯ จึงทำให้รัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ต้องมีมาตรการมาควบคุมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย เพราะเกรงว่าภาวะเงินเฟ้อจะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อภาพรวมเศรษฐกิจ ดังนั้น ผลตอบแทนจึงเพิ่มมากขึ้นทำให้เงินทุนต่างชาติไหลเข้ามาลงทุนในสินทรัพย์ในประเทศไทยสูง ขณะที่ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยเติบโตเป็นที่น่าพอใจ ทำให้เม็ดเงินดังกล่าวเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ แต่จากการประเมินเม็ดเงินดังกล่าวส่วนใหญ่จะเข้ามาลงทุนในตลาดตราสารหนี้
สำหรับปัจจัยบวกจากเงินทุนต่างชาติไหลเข้า ส่งผลบวกต่อหุ้นกลุ่มหลัก อาทิ กลุ่มพลังงาน กลุ่มธนาคารพานิชย์ ส่วนบริษัทฯที่ทำธุรกิจส่งออกและนำเข้าในตลาดฯมีจำนวนไม่มากนัก ดังนั้น ภาพรวมการได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งจึงยังมีไม่มากนัก
อย่างไรก็ตาม แนวโน้มค่าเงินบาทยังมีสัญญาณที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่อง โดยหากค่าเงินบาทแข็งค่าหลุด 30 บาท จนอยู่ระดับแถวๆ 29 บาทกว่า ซึ่งเชื่อว่านักลงทุนต่างชาติจะเริ่มทยอยขายหุ้นออกมาเพื่อทำกำไร แม้ว่าแนวโน้มค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้น แต่หากยังไม่แข็งค่าอย่างรวดเร็วจนเกินไป การลงทุนในตลาดหุ้นก็ยังน่าสนใจอยู่เนื่องจากประเมินว่าดัชนีฯยังอยู่ในช่วงขาขึ้น แต่ขณะเดียวกันหากแข็งค่ารวดเร็วจนเกินไป ก็จะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการลงทุน เพราะอาจจะเผชิญแรงเทขายจากนักลงทุนต่างชาติ ทั้งนี้ หากค่าเงินบาทแข็งค่ารวดเร็วจนเกินไปโดยแตะที่ระดับ 30 บาท ก็เชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะออกมาตรการออกมาดูแลค่าเงินบาท โดยเฉพาะกรณีการสกัดกั้นเงินทุนต่างชาติไหลเข้า ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาการลงทุนอย่างรอบคอบ
ด้านนายจักรกริช เจริญเมธาชัย รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.โกลเบล็ก กล่าวว่า จากแนวโน้มของค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องในส่วนของปัจจัยบวกประเมินว่าน่าจะส่งผลดีต่อกระแสเงินลงทุนจากต่างชาติ (Fund Flow) ให้ไหลเข้ามาเก็งกำไรทั้งในตลาดหุ้นและค่าเงิน รวมทั้งยังส่งผลดีต่อบริษัทที่นำเข้าให้มีความได้เปรียบแต่ยังถือภาคธุรกิจนำเข้ามีสัดส่วนน้อยเมื่อดูภาคธุรกิจอื่น
อย่างไรก็ดี หากพิจารณาถึงปัจจัยเสี่ยงพบว่าการปรับตัวเพิ่มขึ้นของดัชนีฯในขณะนี้ถือว่าเกินปัจจัยพื้นฐานที่คาดว่าน่าจุดสูงสุดของปีนี้จะอยู่ที่ 950 จุดจาก Fund Flow ที่ไหลเข้ามาโดยขาดปัจจัยพื้นฐานรองรับมีโอกาสที่ดัชนีฯที่ปรับตัวขึ้นไปที่ระดับ 1,000 จุดได้ โดยในระยะสั้นหากค่าเงินบาทยังคงมีทิศทางแข็งค่าต่อเนื่องหลุดที่ลงไปต่ำกว่า 31 บาท มีโอกาสที่รัฐบาลอาจออกมาตรการแทรกแซงค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่ามากเกินไปจนส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของประเทศซึ่งภาคที่สัดส่วนสูงและส่งผลรวมต่อการขยายทางเศรษฐกิจ(GDP)ของประเทศ และยังกระทบต่อธุรกิจพลังงาน หลังจากที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นไปที่ระดับ 31.50 บาท เริ่มมีผู้ประกอบการส่งออกเริ่มออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลออกมาตรการดูแลเงินบาท ซึ่งหากรัฐบาลไม่มีนโยบายออกมาก็อาจส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาล
ประกอบกับหากเงินบาทยังคงแข็งค่าต่อไปอาจมีความกังวลที่จะส่งผลกระทบต่อดัชนีฯให้ปรับตัวลดลงได้ เนื่องจากประเด็นดังกล่าวอาจส่งผลพื้นฐานของบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่ที่มีสัดส่วรนการส่งออกสูง
กลยุทธ์การลงทุนจากทิศทางเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องถือเป็นจังหวะดีแนะนำทยอยขายลดพอร์ต ส่วนนักลงทุนที่ยังไม่มีหุ้นแนะนำให้เทรดดิ้งจบในวัน
The rich person is not one who have most but one who need least
-
- Verified User
- โพสต์: 144
- ผู้ติดตาม: 0
เงินบาทแข็ง
โพสต์ที่ 17
'กรณ์' เผย ธปท. เสนอ 5 มาตรการดูแลค่าเงินบาท เบื้องต้น เล็งใช้ 3 มาตรการดูแล
ระบุ จะคำนึงถึงความเหมาะสม
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ธนาคารแห่ง
ประเทศได้นำเสนอมาตรการ ดูแลปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่า ให้กระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว
5 มาตรการเบื้องต้น จะใช้มาตรการ 3 ใน 5 มาตรการเข้ามาดูแลค่าเงินบาท โดยจะพิจารณาถึง
ในแง่ของความเหมาะสมในการช่วยลดแรงกดดันในส่วนของอัตราแลกเปลี่ยน
'ทั้ง 5 มาตรการ ธปท.ได้เสนอมาให้กระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว ซึ่งโดยหลัก
การไม่ได้มีปัญหาอะไร โดยเบื้องต้นจะนำ 3 มาตรการภายใน 5 มาตรการออกมาใช้เพื่อมาดูแล
ค่าเงินบาท โดยจะคำนึงในเรื่องของความเหมาะสมเพื่อลดความกดดันในเรื่องของอัตราแลก
เปลี่ยน โดยที่ผ่านมาแบงก์ชาติได้ดำเนินการอยู่แล้ว' รมว.คลัง กล่าว
นายกรณ์ กล่าวต่อว่า การที่ค่าเงินบาทแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลดอลลาร์ เนื่องจาก
เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ยังมีความอ่อนแอกว่าพื้นฐานของเศรษฐกิจไทย ดังนั้นจึงส่งผลให้อัตรา
แลกเปลี่ยนสกุลเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง
อนึ่ง 5 มาตรการดูแลค่าเงินบาท ที่ ธปท. นำเสนอกระทรวงการคลัง
1 การพิจารณาให้นิติบุคคลหรือบุคคลไทยลงทุนในบริษัทที่อยู่ในต่างประเทศได้
มากขึ้น
2 การให้นิติบุคคลหรือบุคคลไทยสามารถให้นิติบุคคลหรือบุคคลที่อยู่ต่างประเทศ
กู้ยืมเงินเป็นสกุลต่างประเทศในจำนวนมากขึ้น เพื่อทำให้เงินทุนต่างประเทศไหลออกเพื่อลดแรง
กดดันอัตราแลกเปลี่ยน
3 การพิจารณาที่จะเพิ่มวงเงินที่นิติบุคคลหรือบุคคลโอนออกไปซื้ออสังหาริมทรัพย์
ในต่างประเทศ จากเดิมที่จำกัดไว้ที่ 5 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีข้อเสนอจาก ธปท.เพื่อเพิ่มเพดาน
เป็น 10 ล้านเหรียญสหรัฐ
4 การให้นิติบุคคลและบุคคลธรรมดามีความคล่องตัวในการฝากเงินสกุลเงินตรา
ต่างประเทศไว้กับสถาบันการเงินในประเทศ ให้มียอดเงินคงค้างในบัญชีได้สูงถึง 5 แสนเหรียญ
สหรัฐ
5 มาตรการขยายวงเงินค่าสินค้าส่งออกที่ไม่จำเป็นต้องนำกลับมาในประเทศเพิ่มขึ้น
จาก ณ ปัจจุบัน 2 หมื่นเหรียญสหรัฐ เป็น 5 หมื่นเหรียญสหรัฐ
ระบุ จะคำนึงถึงความเหมาะสม
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ธนาคารแห่ง
ประเทศได้นำเสนอมาตรการ ดูแลปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่า ให้กระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว
5 มาตรการเบื้องต้น จะใช้มาตรการ 3 ใน 5 มาตรการเข้ามาดูแลค่าเงินบาท โดยจะพิจารณาถึง
ในแง่ของความเหมาะสมในการช่วยลดแรงกดดันในส่วนของอัตราแลกเปลี่ยน
'ทั้ง 5 มาตรการ ธปท.ได้เสนอมาให้กระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว ซึ่งโดยหลัก
การไม่ได้มีปัญหาอะไร โดยเบื้องต้นจะนำ 3 มาตรการภายใน 5 มาตรการออกมาใช้เพื่อมาดูแล
ค่าเงินบาท โดยจะคำนึงในเรื่องของความเหมาะสมเพื่อลดความกดดันในเรื่องของอัตราแลก
เปลี่ยน โดยที่ผ่านมาแบงก์ชาติได้ดำเนินการอยู่แล้ว' รมว.คลัง กล่าว
นายกรณ์ กล่าวต่อว่า การที่ค่าเงินบาทแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลดอลลาร์ เนื่องจาก
เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ยังมีความอ่อนแอกว่าพื้นฐานของเศรษฐกิจไทย ดังนั้นจึงส่งผลให้อัตรา
แลกเปลี่ยนสกุลเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง
อนึ่ง 5 มาตรการดูแลค่าเงินบาท ที่ ธปท. นำเสนอกระทรวงการคลัง
1 การพิจารณาให้นิติบุคคลหรือบุคคลไทยลงทุนในบริษัทที่อยู่ในต่างประเทศได้
มากขึ้น
2 การให้นิติบุคคลหรือบุคคลไทยสามารถให้นิติบุคคลหรือบุคคลที่อยู่ต่างประเทศ
กู้ยืมเงินเป็นสกุลต่างประเทศในจำนวนมากขึ้น เพื่อทำให้เงินทุนต่างประเทศไหลออกเพื่อลดแรง
กดดันอัตราแลกเปลี่ยน
3 การพิจารณาที่จะเพิ่มวงเงินที่นิติบุคคลหรือบุคคลโอนออกไปซื้ออสังหาริมทรัพย์
ในต่างประเทศ จากเดิมที่จำกัดไว้ที่ 5 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีข้อเสนอจาก ธปท.เพื่อเพิ่มเพดาน
เป็น 10 ล้านเหรียญสหรัฐ
4 การให้นิติบุคคลและบุคคลธรรมดามีความคล่องตัวในการฝากเงินสกุลเงินตรา
ต่างประเทศไว้กับสถาบันการเงินในประเทศ ให้มียอดเงินคงค้างในบัญชีได้สูงถึง 5 แสนเหรียญ
สหรัฐ
5 มาตรการขยายวงเงินค่าสินค้าส่งออกที่ไม่จำเป็นต้องนำกลับมาในประเทศเพิ่มขึ้น
จาก ณ ปัจจุบัน 2 หมื่นเหรียญสหรัฐ เป็น 5 หมื่นเหรียญสหรัฐ
The rich person is not one who have most but one who need least